แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เพื่อให้รู้จักว่า พุทธศาสนาคืออะไร ต่อไปอย่างสมบูรณ์ เราก็ควรจะทราบเรื่องต่อไปนี้ ประโยชน์ของความมีเสรีภาพ ในการศึกษาพุทธศาสนานั้น มีมาก เพราะว่า เวลาก็ล่วงมาเป็นพัน ๆ ปี ก็มีอะไรที่จะมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติม หรือจำกันมาอย่างเลอะเลือน เราก็มีอิสรภาพในการที่จะพิสูจน์ ตีความอย่างเป็นอิสระ แม้แต่พระไตรปิฎกนั่นเอง ไม่ต้องพูดถึงอรรถกถา ฎีกาลงมา นี่เราก็มีอิสระที่จะตีความแม้ในพระบาลี พระไตรปิฎก ดังนั้นเราจึงไม่ต้องกลัวว่า จะมีอะไรที่ผิดพลาดเพราะเวลาล่วงมานาน เป็นต้น
เราได้พูดมาข้างต้นแล้วว่า เราจะเรียนพุทธศาสนาอย่างเรียนวิทยาศาสตร์ แต่มันเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ทางวิญญาณ คือ Spiritual Science สิ่งนี้จะต้องเรียนจาก Spiritual Experience ที่มันมีอยู่ในจิตใจจริง ๆ ไม่ใช่จากพระคัมภีร์ หรือ scripture ทั้งหลาย ต้องเรียนจากตัวความทุกข์ ตัวความทุกข์ที่รู้สึกอยู่จริง ๆ เอาสิ่งนั้นเป็นบทเรียน แล้วเรียนคลำหาเหตุ แล้วก็จะดับเสียซึ่งเหตุ นี่เราจึงไม่กลัวที่ว่า พระคัมภีร์จะผิดเพี้ยน หรือจะผิดเพี้ยนเพราะความนาน เป็นต้น ขอให้จำไว้ว่า เราจะต้องเรียนมันจาก Spiritual Experience ที่มีอยู่ในใจจริง ๆ นั่นเอง
อีกสิ่งหนึ่งก็คือ เรื่องแวดล้อม ๆ ๆ ความจริง ไม่ต้องเรียนกันมากนัก อย่างพวกฝรั่งจะศึกษาพุทธศาสนาอย่างนี้ เขาก็เรียนเรื่องประเทศอินเดีย โดยภูมิศาสตร์ โดยเศรษฐกิจ โดยการเมือง โดยปรัชญาอะไรต่าง ๆ นี่ มันมากไปนัก กระทั่งเรียนจิตวิทยาเปรียบเทียบอะไรกันก่อน อย่างนี้ ไม่จำเป็นหรอก มันเสียเวลา เพราะว่า เราจะต้องเรียนจาก Spiritual Experience โดยตรง อยากจะพูดว่าแม้แต่พุทธประวัตินี่ ก็ไม่ต้องเรียนก็ได้ ยังไม่ต้องเรียนก็ได้ ครั้งพุทธกาลเขาไม่ได้เรียนพุทธประวัตินะ แม้ว่าพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ที่พวกฝรั่งชอบอ่านกันนัก พุทธศาสนาในเมืองจีน พุทธศาสนาในทิเบต ในลังกา ในพม่า นั่นไม่ใช่พุทธศาสนาแท้หรอก พุทธศาสนามีเปลือก คือวัฒนธรรมของประเทศนั้นหุ้มอยู่มาก ก็ยังไม่ต้องเรียน เก็บไว้ก่อนเถิด มาเรียนที่ตัวความทุกข์ เอาตัวความทุกข์ในใจขึ้นมาเป็นบทเรียนแล้วก็เรียนลงไปที่นั่น คือเรียนจาก Spiritual Experience ที่กล่าวแล้ว
ที่นี้เราก็ไม่ได้เรียน หรือไม่ได้ถือว่า ธรรมะนี้ เป็น revelation จากพระเจ้า ไม่ต้องอ้างถึงพระเจ้าหรือ revelation จากพระเจ้า เพราะว่าเ ราจะเรียนจากภายในตัวเราเอง Spiritual Experience ภายในตัวเราเอง จึงต้องเรียนด้วยวิธีที่เรียกว่า สิกขา ๆ ตามภาษาบาลี แม้จะแปลว่า ศึกษา ก็ต้องเป็นศึกษาตามภาษาบาลี คือ ดูตัวเอง ข้างในตัวเอง เห็นตัวเอง แล้วก็รู้จักตัวเอง ดูตัวเอง เห็นตัวเอง รู้จักตัวเอง แล้วก็เรียนจากสิ่งเหล่านี้แหละ แล้วก็จะรู้พุทธศาสนา จะได้ตัวแท้ของพุทธศาสนา นี่เรียกว่า เรียนจากความทุกข์หรือปัญหาที่มีอยู่ในภายใน
เรียนลงไปที่ตัวความทุกข์โดยตรง แล้วก็เรียนเหมือนกับการผ่าตัดของหมอ หมอผ่าตัด ค้นหาต้นเหตุของโรค แก้ไขเยียวยาถูกตรงที่ต้นเหตุของโรค นี่เรียนอย่างหมอผ่าตัด เราจะต้องเรียนพุทธศาสนาโดยวิธีนั้น เรียกว่า เรียนอย่างวิธีวิทยาศาสตร์ เรียนอย่างหมอผ่าตัด เอาตัวความทุกข์มาผ่าดู ว่า คืออะไร ๆ อย่างไร ๆ มีเหตุมาอย่างไร ๆ จะทำให้มันตรงกันข้ามได้อย่างไร โดยวิธีใด นี่ขอให้เรียนอย่างนี้ คือเรียนอย่างหมอผ่าตัด
การเรียนพุทธศาสนา หรือสิกขานั้น คือการปฏิบัติ มันไม่ใช่ Study หรือ Learning อะไรทำนองนั้น แต่มันเป็นการเรียน การปฏิบัติ เป็น Practice เป็น Operation เป็นอะไรลงไปตรง ๆ เรียกว่า การปฏิบัตินั่นแหละคือการเรียน ปฏิบัติอยู่ด้วยชีวิต ชีวิตเป็นอยู่อย่างไร หาความจริงของสิ่งนั้น ๆ จึงเป็นการเรียนจาก Spiritual Experience ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีหนังสือก็ได้ ไม่มีโรงเรียนก็ได้ ไม่มีพระไตรปิฎกก็ได้ ในครั้งพุทธกาลเขาไม่มีสิ่งเหล่านี้ ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย อุปกรณ์เหล่านี้ไม่มี เขาก็เรียนลงไปที่ตัวชีวิต และการเรียนนั้นคือการปฏิบัติ ๆ ๆ ลงไปตรง ๆ ต่อสิ่งที่มันเป็นปัญหา การแก้ปัญหานั่นแหละ คือการเรียน การศึกษา
ทีนี้ก็มาถึงคำว่า ความรู้ ๆ ซึ่งเรียกว่า Knowledge ซึ่งในบาลีเราเรียกว่า ญาณะ ๆ ความรู้ ๆ นี้ ก็มีตั้งหลายชั้น อย่างน้อยขอให้ทราบว่า มันมีอยู่ ๓ ชั้น ความรู้ที่เรียกว่า สุตตะ นี้ก็เรียน ๆ จากโรงเรียน เรียนจากหนังสือ เรียนจากอะไรเหล่านี้ จากการได้ยินได้ฟัง การอ่าน นี่เรียกว่า ความรู้ที่เป็นสุตตะ ทีนี้ความรู้ขั้นที่ ๒ เรียกว่า จินตา นี้เรียนด้วยการคิดนึก คิดค้น หรือ Reasoning มันก็ได้ความรู้อีกขั้นหนึ่งซึ่งสูงขึ้นไปเป็น Understanding เป็นอะไรไปทำนองโน้น แล้วก็มาถึงความรู้ขั้นสุดท้ายคือ ภาวนา ปัญญา นี่เป็น Realization ซึ่งต้องเรียนจาก Spiritual Experience สุตตะ เราเรียนจากหนังสือ โรงเรียน จินตาเราเรียนจาก Reasoning ส่วนภาวนานี่ เราเรียนจาก Spiritual Experience โดยตรง มันต่างกันมาก มันต่างกันเหลือประมาณ ถ้าจะเรียนพระพุทธศาสนาให้รู้ จงเรียนอย่างความรู้ที่ ๓ คือมีความรู้ที่ทำให้มี Realization ในสิ่งนั้น ๆ โดยตรง ขอให้ทราบว่าความรู้มีอยู่ ๓ ขั้นอย่างนี้ และจงปรับปรุงความรู้ของเราให้ดำเนินไปให้ครบทั้ง ๓ ขั้น
เดี๋ยวนี้ในโลกเรา เรียนกันแต่วิธีที่เรียกว่า สุตตะ ๆ Learning เรามีโรงเรียน เรามีมหาวิทยาลัย เรามีห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่มีหนังสือเป็นล้าน ๆ เล่ม อย่างนี้ไม่อาจจะช่วยให้เข้าถึงพุทธศาสนาชั้นหัวใจได้ มันเป็นแต่เพียงเรียน ๆ เรื่องบันทึก ๆ ต่าง ๆ เราก็ต้องรู้ไว้ว่า เราไม่เรียนอย่างนั้น ทีนี้เรามาเรียนอย่าง Reasoning อย่างวิธีวิทยาศาสตร์ ก็ได้ ดูว่า อะไรเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ๆ หามันให้พบ เพื่อเราจะได้ตัดต้นเหตุนั้นเสีย แล้วในที่สุดก็ขอให้ไปถึง Realization เฉพาะตน ๆ เป็นของเฉพาะตน มันจะเรียนแทนกันก็ไม่ได้ จะสอนกันก็ไม่ได้ Realization นี้ จะสอนกันก็ไม่ได้ มันต้องค้นหาเอง พบเอง ค้นคว้าเอง อย่างเรียนวิทยาศาสตร์นั่นแหละ แล้วก็จะได้พบความรู้ชนิดที่เป็นภาวนาปัญญา Realization Enlightenment ที่มันเกิดมาจากสิ่งนี้ ขอให้ปรับปรุงว่า เราจะเรียนกันอย่างไร อะไรสำคัญที่สุด เราก็จะเรียนอย่างนั้น
เราอย่าอาศัยสิ่งภายนอก อย่าไปฝากไว้กับสิ่งภายนอก เราจะต้องจัดขึ้นในภายใน เราจะมีห้องเรียนภายในตัวเรา เราจะมีห้องสมุดมหาศาลภายในตัวเรา ภายในระบบ Spiritual Experience นั่นเอง ในนั้นเรียกว่า ในภายใน มีที่นั่น เราไม่ต้องอ่านหนังสือในห้องสมุดเป็นล้านเล่ม พันเล่ม หมื่นเล่ม แม้แต่ร้อยเล่ม หรือไม่กี่สิบเล่มหรอก ท่านคิดว่าจะเรียนพุทธศาสนาได้จากผู้อื่นหรือจากภายนอก จึงมาจากยุโรปบ้าง อเมริกาบ้าง ออสเตรเลียบ้าง มาเพื่อจะศึกษาพุทธศาสนา ข้อนี้ขอให้รู้ว่า รู้แต่เพียงว่ามันหาวิธีที่จะศึกษาพุทธศาสนาเท่านั้นแหละ จะไม่ถูกตัวพุทธศาสนา ท่านต้องนั่งลง ๆ แล้วก็เปิดการเรียนขึ้นในภายใน ที่ตรงไหนก็ได้ ถ้ามาเรียนพุทธศาสนาที่นี่ ก็หมายความว่าจะเรียนวิธีที่จะไปนั่งลง แล้วศึกษาพุทธศาสนาจากภายใน นี่เรียนจากภายใน เรียกว่า สันทิฏฐิโก เรียน เรียนแล้วก็รู้จากภายในด้วยตนเอง นี่ขอให้จำคำว่า เรียนจากภายใน
พูดโดยสรุปความ ก็เรียกว่า เรียน เรื่องจิต ๆ เราจะเรียกว่า เรียนเรื่องจิตวิทยา หรือ Psychology ก็ได้เหมือนกัน แต่มันไม่ใช่ Psychology อย่างที่กำลังเรียนกันอยู่ในโลก เรียน Psychology อย่างที่เรียนกันอยู่ในโลกนั้น เรียนเพื่อ จะหาประโยชน์ ๆ จากทุกทิศทุกทาง โดยใช้ความฉลาดของจิต นี่ Psychology ที่ทั่วไป แต่ถ้า Psychology ในทางพุทธศาสนานี้ มันเรียนเพื่อจะช่วยจิตให้หลุดพ้น จะเปลื้องจิตจากสิ่งผูกพัน ๆ ให้หลุดพ้นจากสิ่งผูกพัน แล้วจะไม่เป็นทุกข์ นี่เป็น Psychology ที่จะใช้กับพุทธศาสนา อย่าเอา Psychology ในความหมายธรรมดา อย่ามาใช้กับ Psychology ในทางพุทธศาสนาเลย เราเรียนเรื่องจิต ไม่ใช่เพื่อหาประโยชน์ แต่เราเรียนเเรื่องจิต เพื่อจะช่วยจิตให้หลุดพ้นจากปัญหาทั้งปวง และจะไปใช้ประโยชน์อะไรก็ได้ทีหลัง ใช้ประโยชน์อะไรก็ได้
จิตวิทยาของเรา เรียนเพื่อ ช่วยจิต ๆ ให้รอด หรือปลดปล่อยจิตให้พ้นจากความเป็นนักโทษ จิตของเราติดคุกติดตารางอย่างลึกซึ้ง คุกตารางแห่งความหลงใน Positive ใน Negative นี่เรียกว่า ติดคุกตาราง เราจะช่วยให้จิตหลุดพ้นออกมาเสียจากคุกตาราง ความผูกพันหรือปัญหาที่เกิดมาจากความเป็นบวกหรือเป็นลบในโลกนี้ นี่ปลดปล่อยจิตให้พ้นจากคุกตารางของจิต นี่คือจิตวิทยา ในพระพุทธศาสนา
เมื่อเราเป็นนักโทษของความเป็นบวก หรือ Positiveness เราก็มีตนบวก ตัวตนที่เป็นบวก ก็ติดคุกบวก เมื่อเราไปยึดถือในฝ่ายลบ หรือ Negativeness เราก็มีตัวตนที่เป็นลบ เราก็ติดคุกที่เป็นลบ ดูให้ดี บวกก็เป็นทุกข์ ลบก็เป็นทุกข์ เพราะล้วนแต่เป็นการผูกพัน ให้ติดอยู่กับสิ่งนั้น แล้วก็มีปัญหา แล้วก็มีความทุกข์ เราจึงเรียกมันว่า คุก เราอย่าติดคุก ทั้งคุกบวกและคุกลบ ทั้ง ๒ อย่างเลย
การศึกษาของเรา จะนำเราหรือนำจิต นำจิตไปสู่ ความจริง ๆ เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวง ไม่หลอกเรา ไม่โกหกเรา โดยความเป็นบวกบ้าง เป็นลบบ้าง ขึ้นชื่อว่า ความจริง ๆ แล้วไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบ เดี๋ยวนี้เรามาหลงความเป็นบวก ความเป็นลบ Concept เรื่องบวก เรื่องลบ มันก็เกิดขึ้น เป็น Positive เป็น Negative เป็นดีบ้าง เป็นชั่วบ้าง ใช้ไม่ได้ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ก็ใช้ไม่ได้ เป็นได้กำไรหรือขาดทุนบ้าง ล้วนแต่คู่ ๆ ๆ ๆ ใช้ไม่ได้ กระทั่งแม้ว่า นรกกับสวรรค์ คู่นี้ เราก็ไม่เอาหรอก มันเป็น Positive เป็น Negative เราจะอยู่เหนือความหมายของนรกและสวรรค์ ด้วยซ้ำไป นี่ความเป็นอิสระของจิต พ้นจากอำนาจของสิ่งที่เป็นคู่ ๆ ที่มันหลอกลวงเรา นี่การศึกษาของเรามุ่งหมายอย่างนี้
ในคัมภีร์ไบเบิ้ลของเรา ตอน Old testament นะ ก็มีคำสอนเรื่องนี้คือ อยู่เหนืออิทธิพลของ Good and Evil God ห้ามไม่ให้บรรพบุรุษคนแรก อดัมกับอีฟ อย่าไปกินผลไม้ ที่ทำให้รู้ Good and Evil แล้วมันก็จะ Attach Good and Evil แล้วมันก็ต้อง วนเวียน ๆ เวียน ๆ อยู่ใน Good and Evil มันก็จะเป็นทุกข์ นี่เขาก็มีความรู้เรื่องนี้กันมาหลายพันปีเต็มทีแล้ว การไม่ให้ตกเป็นทาสของความหลอกลวงของ Good and Evil นั่นแหละ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ถ้ารู้เรื่องนี้ ก็คือ รู้ทั้งหมด จะหลุดออกมาจากความทุกข์โดยประการทั้งปวง ออกมาเสียจากอิทธิพลของ Good and Evil Positive and Negative นั่นแหละคือ ความมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของการศึกษาของเรา
ความยากลำบากในเรื่องนี้ของพวกเรา ก็เพราะว่า บรรพบุรุษคนแรกของเรามันได้กินผลไม้ ที่ Attach ต่อ Good and Evil เข้าไปแล้ว มันเป็น Original Sin ตั้งแต่นั้นมา จนกลายเป็น Universal Sin ทั่วไปหมดทุกคน ฉะนั้นเราทุกคนจึง Attach ต่อ Good and Evil คือ Positiveness and Negativeness ความลำบากของเรามันอยู่ที่ตรงนี้ เราก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้แหละว่า ลำบากเหลือเกิน ที่จะทำจิตใจให้ออกมาเสีย หรือว่าอยู่เหนือบวกและลบ นี่เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ให้ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา เราก็จะอยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและความเป็นลบโดยแน่นอน
เดี๋ยวนี้เราก็รู้ว่า มันเป็นปัญหาหรือเป็นความทุกข์ ในการที่ Attach ต่อบวกหรือลบ แต่แล้วเราก็ไม่ออกมาจากอิทธิพลของมันได้ เช่น ความรัก เรารู้ว่ามันเป็นปัญหา เป็นความทุกข์ เป็นทรมาน แต่เราก็ไม่อาจจะออกมาเสียจากอิทธิพลของความรัก ความไม่รัก หรือความโกรธ ความเกลียด เราก็รู้ว่า มันไม่ไหว แต่เราก็ออกมาจากอิทธิพลของมันไม่ได้ เราจึงมีความรัก ความเกลียด ความรัก ความเกลียด คือชอบและไม่ชอบ นี่อยู่เป็นประจำ แล้วก็มีปัญหาทางจิตใจ เหมือนกับว่า ตกนรกอยู่เดี๋ยวนี้เลย
ความเป็นบวกคือรัก ความเป็นลบคือเกลียด ๒ อย่างนี้ หรือ Good and Evil ๒ อย่างนี้ มันเป็นปัจจัยของปัญหาทั้งหมด เมื่อเราหลงบวกหรือหลงลบแล้ว เราก็มีความเห็นแก่ตัว เราจะทำลายสิ่งที่เราไม่ชอบ คิดจะฆ่าผู้อื่น เราจะเอาสิ่งที่เราชอบ ก็มีปัญหา ที่เหลือที่เราจะทำได้ เราก็มีความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น ในสิ่งต่าง ๆ วิตกถึงสิ่งที่ยังไม่มา อาลัยถึงสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว เต็มไปด้วยปัญหามากมาย ในโลกนี้ จึงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เบียดเบียนตัว เบียดเบียนผู้อื่นนี่ เพราะว่าเราติดคุกอยู่ในความเป็นบวก และความเป็นลบ ขอให้เราศึกษา จนเรามีความสามารถอยู่เหนือบวก เหนือลบ ซึ่งอาจจะเรียกว่า ชีวิตใหม่ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ แต่มันก็ชีวิตเก่า ชีวิตเดิมของคนที่รู้ ไม่ใช่ของใหม่ แต่มันใหม่สำหรับคนที่ยังไม่รู้ นี่เราจะศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตใหม่ อยู่เหนือบวกเหนือลบ โดยประการทั้งปวง
เมื่อเรามีความรู้สึก เป็นบวก มีตัวตนซึ่งเป็นบวก มันก็ ดึงเข้ามา ๆ ๆ เพื่อจะเอา เมื่อมีตัวตนที่เป็นลบ มันก็ ผลักออกไป ๆ ๆ ชีวิตของเรามันจึงเป็น Push and Pull อยู่ตลอดเวลา สนุกไหม ที่จะเป็น Push and Pull อยู่ตลอดเวลา มันเหลือประมาณ มันยุ่งยากลำบากยิ่งกว่าสิ่งใด เราต้องการจะมีชีวิตอิสระ ไม่เป็นชีวิต Push and Pull ขอให้มุ่งหมายอย่างนี้เถิด จะง่ายหรือจะเร็วที่จะศึกษาพุทธศาสนา
ความดีใจหรือความสุข ก็มิใช่การพักผ่อน มันวุ่น ๆ เป็นไดนามิกอย่างยิ่ง ความเสียใจหรือเป็นทุกข์มันก็ไม่ใช่การพักผ่อน สุขหรือทุกข์ก็ไม่ใช่การพักผ่อนด้วยกัน ต้องเหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือบวกเหนือลบ เหนือ Good and Evil แหล่ะ มันจึงจะเป็นการพักผ่อน ถ้าเราต้องการการพักผ่อน เราก็ต้องทำจิตให้อยู่เหนือบวกและเหนือลบ นี่คือจุดมุ่งหมายของการศึกษา
เราจะต้องรู้จักสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ๆ กันให้ดี ๆ ความรู้สึกที่เป็นบวก ก็ทำให้เกิดกิเลสที่เรียกว่า กิเลสบวก คือเป็นราคะ หรือ โลภะ Lust, Greediness นี่บวก พอเราไม่ชอบ มันก็เกิดกิเลสลบ แล้วมันก็จะ ผลักออกไป ๆ คือ โทสะ หรือโกธะ กิเลสบวกคือราคะ โลภะ กิเลสลบคือโทสะ โกธะ นี่ก็แย่มากแล้ว ก็ลำบากมากแล้ว บวกหรือลบ แต่นี่มันยังมีอีกกิเลสหนึ่ง สำหรับจะโง่ไม่รู้ว่าบวกหรือลบ ไม่แน่ใจว่าบวกหรือลบ กิเลสนี้ก็เป็นเหตุให้วิ่งอยู่รอบ ๆ วิ่งอยู่รอบ ๆ กิเลสบวกดึงเข้ามา กิเลสลบผลักออกไป กิเลสไม่บวกไม่ลบ ก็เอาให้วิ่งอยู่รอบ ๆ เราก็เหนื่อยเกือบตาย ไม่มีเวลาพักผ่อนเลย เพราะสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ๆ นี่รู้จักมันให้ดี
เราควรจะทราบไว้ว่า ชื่อ ๆ ของกิเลสนั้น มีมาก หลายสิบชื่อ หลายร้อยชื่อ หลายพันชื่อ ถ้าเราจะแยกออกไป มันก็ได้มากจนนับไม่ไหว แต่ถ้าเราจะสรุปเข้ามา สงเคราะห์เข้ามา มันก็จะเหลือแต่เพียง ๓เท่านั้นแหละ กิเลสสำหรับดึงเข้ามา กิเลสสำหรับผลักออกไป กิเลสสำหรับวิ่งอยู่รอบ ๆ กิเลสอย่างบวก ทำให้เรารัก จะดึงเข้ามา เราก็อยู่ด้วยความรัก กิเลสลบ เราไม่ชอบ มันก็ผลักออกไป เราก็อยู่ด้วยความไม่ชอบหรือเกลียด กิเลสที่ไม่บวกไม่ลบ ก็ทำให้เรา สงสัย ๆ คำนี้สำคัญมาก พุทธศาสนาต้องการจะตัดความสงสัย เพราะว่าความสงสัยนี่รบกวนที่สุด ถ้าเรายังสงสัยอยู่เรานอนไม่หลับ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ แต่สงสัยอยู่ จะบวกหรือจะลบ นี่เป็นกิเลสประเภทโมหะ ประเภทที่ ๓ ขอให้ทราบไว้ว่ามันมี ๓ พวก แต่จะเรียกชื่อมันแล้วก็ มากมายหลายสิบ หลายร้อย หลายพันชื่อ แล้วมันมีอยู่ในจิตใจคนเรา เราจะพูดว่า bad-tempered ทุกชนิด เล็กใหญ่หรืออะไรก็ตาม มันเป็นกิเลสทั้งนั้นแหละ มันหลายพันชื่อทีเดียว แต่แล้วเหลืออยู่เพียง ๓ พวก ๓ หมวด อย่างนี้
ขอให้ดู ให้ดี ๆ ดูให้มากที่สิ่งที่เรียกว่า ความสงสัย ๆ ความสงสัยนี่ มันทำให้เราหยุดความอยากไม่ได้ เราหยุดความต้องการไม่ได้ เพราะความสงสัยนี่ เราก็มีอยาก มีต้องการ มันก็ ต้องมีกิเลส ต้องมีความทุกข์ เราสงสัย ไม่รู้ว่าดีหรือยัง ผิดหรือถูก พอหรือยัง เราเป็นเศรษฐีมีเงินพันล้าน หมื่นล้านแล้ว เราก็ยังสงสัยว่าพอหรือยัง ดีหรือยัง ความสงสัยนี่ รบกวนที่สุด ตัดความสงสัยเสียได้ ก็เป็น Holy Man เป็นพระอรหันต์ มันจะทำให้อยู่เหนือบวก เหนือลบ ถ้าเรายังอยู่ใต้บวกหรือลบ เราไม่อาจจะละความสงสัย ฉะนั้นขอให้เราประกาศความเป็นศัตรูกับสิ่งที่เรียกว่า สงสัย เราต้องมีความรู้ ต้องมีปัญญา ต้องมีญาณะชั้นดีที่ตัดความสงสัยออกไปเสียได้ เรื่องมันจึงจะจบ ได้รับผลเป็นความเย็น หรือนิพพาน
ธรรมะสูงสุด ธรรมะที่ต้องรู้ ต้องมี ต้องถึง อันสูงสุดนั้น เรียกชื่อว่า อตัมมยตา คงจะแปลกหูมาก สำหรับท่าน เพราะมันมีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่มีใครเขาเอามาพูด เอามาสอนในโลกนี้ ว่าอย่างนี้ก็ได้ ยังไม่เอามาสอน แต่เป็นธรรมะสำคัญที่สุด อตัมมยตา คือ ความที่บวกหรือลบ ปรุงแต่งไม่ได้ จิตอยู่ในภาวะที่บวกหรือลบ ปรุงแต่งไม่ได้ นี่เราเรียกว่า อตัมมยตา ปรุงแต่งไม่ได้โดยบวกหรือลบ ถ้าเราหมดความสงสัยเท่านั้นแหละ มันจะไม่มีการปรุงแต่ง ถ้ายังไม่หมดความสงสัย จะต้องมีการปรุงแต่งด้วยบวกหรือลบอยู่เรื่อยไป ก็ไม่มีอตัมมยตา ภาวะจิตที่เป็นอิสระจนบวกหรือลบปรุงแต่งไม่ได้ มันต้องมี Condition Concoction โดยสิ่งนั้นสิ่งนี้สิ่งโน้นอยู่เรื่อยไป ขอให้มุ่งหมายจุดสุดท้ายคือว่า จิตอิสระ บวกลบปรุงแต่งไม่ได้ เรียกว่า อตัมมยตา
คุณสันติกโรบอกว่า อตัมมยตา คำนี้ ยังไม่มีใน Buddhist dictionary แต่ว่า คำนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎก ในฐานะเป็นของสำคัญอย่างยิ่ง ไม่มีใน Buddhist dictionary ก็แปลว่า ยังไม่รู้จักกัน ในโลกยังไม่เอามาสอนกัน ขอให้สนใจดี ๆ ว่า มันเป็นสิ่งสูงสุด ๆ ที่จะต้องไปถึงที่นั่น State of อตัมมยตา นั่นน่ะ มันเป็นภาวะของจิตที่บวกลบปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป ขอให้มุ่งหมายนั่นแหละ จะพบชีวิตใหม่ที่ประเสริฐที่สุดเลย
เมื่อเรามีอตัมมยตา ก็เหนืออิทธิพลของ บวกและลบ Concept ว่าตน ว่า Self ว่า Soul นั้นเกิดไม่ได้ ความรู้สึกที่เป็นบวก เป็นลบเกิดไม่ได้ ความรู้สึกว่า I ว่า Me ว่า Mine ว่า He ว่า Her มีไม่ได้ เพราะการเห็นแจ้ง ความจริงที่เรียกว่า อตัมมยตา เดี๋ยวนี้เรามีปัญหาจาก Ego จาก Self จากความรู้สึกว่า I ว่า Mine ว่า Me ว่า He ขอให้สนใจข้อนี้เป็นพิเศษ ปัญหาของทุกข์มันเกิดมาจาก Self , Concept of Self จนกระทั่งเกิด Selfishness มันมีมาจากการที่ไม่เห็นอตัมมยตา
เมื่อท่านไม่มีความรู้เรื่องอตัมมยตา ไม่มีอตัมมยตา ความอยู่เหนือบวกเหนือลบเอาเสียเลย ท่านก็จะเที่ยวไป รอบโลก ๆ ๆ ๆ กี่รอบ ๆ ท่านก็ไม่พบที่พักผ่อน ไม่พบความพักผ่อน ไม่พบที่ ๆ จะพักผ่อน เมื่อใดท่านมีอตัมมยตา ที่นี่ เดี๋ยวนี้ จะมีความพักผ่อน ความหยุด ความสงบ อยู่ในอตัมมยตา นี่ขอให้สนใจคำ ๆ นี้ให้มากเป็นพิเศษ คือ ความเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวง เหนือการปรุงแต่งของสิ่งทั้งปวง หัวใจของพระพุทธศาสนา คือสิ่งนี้
ขอให้ท่านนึกถึงให้มาก ถึงสิ่งที่เรียกว่า Resting Place of Struggling Soul Resting Place of Struggling Soul นั่นแหละคือ อตัมมยตา ชีวิตของเราหรือ Soul ของเรานี่ ดิ้นรนวุ่นวายเต็มไปด้วย Struggle ไม่พบที่หยุดที่พักผ่อน หาอตัมมยตาพบเมื่อไหร่ เราจะได้ที่หยุดที่พักผ่อนให้แก่ Soul แต่แทนที่จะเรียกเป็นพวก Negative อย่างนี้เราก็ไม่เรียกเป็น Negative มันอยู่เหนือ Positive เหนือ Negative นี่มันเป็นความว่าง ว่าง ๆ จากตัวตน เป็นที่พักผ่อนของ Soul ที่วุ่นวาย ที่ไม่หยุดไม่หย่อน อตัมมยตาเป็น Resting Place of Struggling Soul อย่างนี้
ถ้าเราจะพูดว่า รอด ไปอยู่ เป็นอันเดียวกับพระเจ้า นั้นมันมีลักษณะเป็น Positive ในพุทธศาสนาเราจึงมีจุดหมายปลายทางเรียกว่า วิมุตติ ๆ Liberation ออกไปเสียจากทุกสิ่ง วิมุตติไม่มีความหมายเป็น Positive หรือ Negative เหนือ ๆ ความหมายแห่ง Positive หรือ Negative วิมุตติ Liberation ท่านจงมุ่งหมายที่นั่น ที่สูงสุด ที่เหนือบวกและเหนือลบ ขอให้มีความรู้สูงไปถึงความอยู่เหนือบวกเหนือลบ ซึ่งจะต้องเรียกมันว่า ว่าง ๆ
ท่านจงสังเกตดูให้เห็นว่า Voidness หรือ ความว่าง นั้น ไม่มีมิติ ไม่มี Dimension ดังนั้นความว่างจึงไม่อาจจะเป็นบวกหรือเป็นลบ Positive หรือ Negative ความว่างไม่อาจจะเป็น Positive หรือ Negative เมื่อเรามีความว่างแห่งจิตใจ ก็คือไม่มีความเป็น Positive Negative ไม่ Attach to Positive หรือ Negative อย่างนี้เรียกว่า ความว่าง เราถือเอาความว่างเป็น Liberation สูงสุดทางความหมายในพุทธศาสนา ขอให้รู้จักคำว่า สุญญะ สุญญตา ความว่างไว้ดี ๆ คงจะหาคำแปลยาก แม้แต่ Voidness หรือ Emptiness ก็ไม่ค่อยถูกต้องโดยสมบูรณ์หรอก แต่ว่าพอจะต้องใช้คำนี้ไปก่อน แล้วไปหาเอาเองว่ามันควรจะเรียกว่าอะไร Voidness หรือ สุญญตา ไม่มีมิติ ไม่มีบวก ไม่มีลบ ในนั้น นั้นแหละ Free Liberation ที่สุด Voidness มันไม่มีบวกไม่มีลบ แล้วเป็น Liberation สูงสุด
ต่อจากสุญญตา หรือ Voidness เราก็มาถึงสิ่งที่เรียกว่า นิพพาน Nibbana บาลี Nirvana สันสกฤต or นิพพาน ๆ ในภาษาไทย เป็น summon bonum ของ Buddhism นิพพาน แต่ก็อีกนั่นแหละ คนทั่วไปพอได้ยินนิพพาน ก็เอาความหมายอย่าง Positiveness เข้าไปใส่ในนิพพานเลย ไม่ได้ ผิด มันผิดหมด ไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่เรียกว่า นิพพาน นี้จะต้องเหนือ Positive และ Negative คำว่า นิพพาน ขอให้จำไว้ว่า ว่าง เหนือ Positive เหนือ Negative มีสภาพอตัมมยตาเต็มที่เลย
ท่านอย่าไปเรียกมันว่า Utmost Goodness ถ้าไปเรียกมันว่า Utmost Goodness มันก็จะเป็น Positive ไปเสียอีก มันต้องเหนือ Positive และเหนือ Negative และเหนือ Good and Evil Beyond Goodness Beyond Utmost Goodness มันจึงจะเป็น Void หรือเป็น Nibbana เราจะต้องเข้าใจคำว่า Nibbana ไว้ให้ดี ๆ ว่า มันยังเหนือ Utmost Goodness แต่เราก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร เพราะเราต้องพูดกับคนทั่วไป Man in the road นี่ เราก็ต้องใช้คำว่า ดี หรือ สุข หรืออะไร อยู่นั่นเอง แต่ก็ขอให้รู้ว่า Utmost Goodness ซึ่งอยู่เหนือ Goodness ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง
เมื่อเรารู้สึกว่า Good มันก็กัด ๆ เมื่อเรารู้สึกว่า Bad มันก็กัด มันกัดคนละอย่าง แต่มันก็เป็นทุกข์ลำบากมากเท่ากัน ยิ่งรู้สึกว่า Good มันก็ยิ่ง Attach มาก มันชวน Attach มาก Attach มากมันก็ยิ่งกัดมาก และเป็นทุกข์มาก Attach ในสิ่งใดสิ่งนั้นแหละมันกัด อย่า Attach กับ Good อย่าAttach กับ Bad Beyond Good and Bad แล้วมันก็ไม่กัด แล้วก็เรียกว่า นิพพาน Nibbana in Buddhism
เมื่อไม่ถูกกัด ไม่ถูกกัดทั้งโดย Positiveness และ Negativeness แล้ว ก็เป็น Nibbana คำนี้แปลว่า เย็น ไม่ได้แปลว่า ตาย ถ้าท่านได้รับคำสั่งสอนมาว่า นิพพานแปลว่า ตาย แล้วก็ ให้ถือว่าไม่ถูก ผิด ๆ ด้วยประการทั้งปวง นิพพานไม่ได้แปลว่า ตาย นิพพานแปลว่า เย็น ๆ โดยไม่ต้องตาย เราไม่อาจจะมีนิพพานโดยฆ่าตัวตาย บ้า ฆ่าตัวตายนิพพานนี่มันบ้า มันไม่พบกับนิพพานหรือความเย็น นิพพานแปลว่า เย็น เมื่อไม่ถูกกัดโดย Positive และ Negative ขอให้สนใจนิพพานให้ถูกต้องอย่างนี้
Nibbana โดยศัพท์ literally แปลว่า เย็น ๆไม่ต้องตาย ถ้าตายแล้วก็เย็นไม่ได้ ความเย็น ภาวะแห่งความเย็น เรียกว่า นิพพาน เย็นชั่วคราวน้อย ๆ ก็นิพพานน้อย ๆ เย็นตลอดไปก็เป็นนิพพานนิรันดร เราต้องมีความหมายของนิพพานว่า เย็น ๆ ไม่ร้อนคือไม่เป็นทุกข์ ก็คือไม่ถูกกัดโดย Positive หรือ Negative ขอให้สนใจคำว่า นิพพาน ๆ จุดหมายปลายทาง มันก็คือ นิพพาน มีอตัมมยตา อะไรปรุงแต่งให้เป็น Positive, Negative ไม่ได้ มันก็เป็นนิพพาน ขอให้เข้าใจนิพพานให้ถูกต้อง แล้วก็จะมีจุดหมายที่ถูกต้อง มีแผนที่ที่ถูกต้อง ที่จะเดินไปอย่างถูกต้อง ขอให้สนใจเป็นพิเศษ ขอย้ำอย่างนี้
Positive มันก็กัด มันก็ร้อนหรือเป็นทุกข์ Negative มันก็กัด มันก็ร้อนหรือเป็นทุกข์ ใจความสำคัญมันอยู่ที่ Attachment คือ Attach ว่า Good Attach ว่า Evil Attach ว่า Positive Attach ว่า Negative นั้น ตัวจริงมันอยู่ที่ Attach ถ้าไม่มี Attach ไม่มี Good ไม่มี Evil Attach มาจาก Ignorance อวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชา ก็ไม่มี Attach เมื่อไม่มี Attach มันก็ไม่มี Good ไม่มี Evil นั่นนะจะพบกันกับความเย็น ไม่มีอิทธิพลของ Positive และ Negative มา seek upon us ขอให้รู้จักพระนิพพานอย่างนี้
37 1:35:27 แม้ว่าเรื่องนี้จะลึกซึ้งมาก เราก็อาจจะสอนลูกเด็ก ๆ ได้โดยแนะให้เขารู้จักสังเกตสิ่งที่มันกัดเขาอยู่ทุกวัน แม้จะลึก ก็สอนลูกเด็ก ๆ ได้ เราจะต้องบอกกันทีละอย่างแล้วเดี๋ยวนี้ๆเพราะมันมากอย่าง อย่างทีแรกก็บอกว่า ความรัก ให้เขาดูว่า ความรักมันกัดอย่างไร
อันที่ ๒ ความเกลียด พอเรามีความเกลียดแล้ว มันร้อนอย่างไร มันกัดอย่างไร ขอให้รู้จักสังเกต ให้ลูกเด็ก ๆ สังเกตความเกลียด
ความเกลียด แล้วทีนี้ก็มาถึง ความโกรธ เมื่อมีความโกรธขึ้มาแล้ว มันกัดอย่างไร
แล้วที่นี้ก็มาถึง ความกลัว ความกลัวเกิดขึ้นแล้วมันกัดอย่างไร ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่พักผ่อน ความกลัวมันกัด
ที่นี้ก็มาถึงความตื่นเต้น ๆ ไม่มีความสงบ มันตื่นเต้น ๆ Excite ไปหมด มันกัดอย่างไร มันกัดอย่างไร
ที่นี้ก็มาถึงความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่มา คืออนาคต หมายมั่นอนาคต วิตกกังวล นี่มันกัดอย่างไร