แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการบรรยายครั้งแรกนี้ เห็นว่า ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า ทำความเข้าใจถึงคำว่า พุทธศาสนา หรือ Buddhism นั่นแหละ ให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งกันเสียก่อนจะดีกว่า คำว่า ism นี้ มันมีความหมายดิ้นได้หลายอย่างนัก communism, socialism, ism เหล่านั้นจะไม่มีความหมายอย่างเดียวกันกับ ism ของ Buddhism นี่จะต้องทำความเข้าใจกันบ้างจะดีกว่า Buddhism มี ism ตอนท้ายเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ism อย่างอื่นนั้น ดูจะเป็นเรื่องบัญญัติขึ้นเอง คือเป็นที่เรียกว่า man made คนทำขึ้น แต่ ism ของ Buddhism นี้ ไม่ใช่ man made ไม่ใช่ใครทำขึ้น มันเป็นกฎของธรรมชาติที่ค้นพบ นี่มันต่างกันอย่างนี้ แล้ว ism ของ Buddhism นี้ไม่ผูกขาด ไม่ประสงค์ authority ใด ๆ หมด ทิ้งไว้เป็นอิสระตามธรรมชาติให้ศึกษา ให้พิสูจน์ นี่ขอให้เข้าใจคำว่า Buddhism ในลักษณะอย่างนี้ก่อน
ขอร้องให้ท่านทั้งหลายนึกถึงคำว่า fact, truth, law เหล่านี้ แล้วก็เป็น fact เป็น truth เป็น law ของธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างไร บุคคลคนหนึ่งได้ค้นพบ แล้วนำมาเปิดเผยว่าจะใช้กฎเกณฑ์นั้นอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไร แล้วก็จะดับทุกข์ได้ Buddhism เป็นอย่างนี้
คำเดิมที่ใช้เรียกพระพุทธศาสนานั้นก็ไม่ใช่คำว่า ศาสนา ไม่ใช่คำว่า ศาสนา ที่ตรงกับคำว่า religion อย่างบัดนี้ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า พรหมจรรย์ ๆ แปลว่า ระบบการปฏิบัติที่ประเสริฐ ที่แก้ปัญหาของมนุษย์ได้ ระบบการปฏิบัติที่ประเสริฐที่แก้ปัญหาของมนุษย์ได้ เรียกว่า พรหมจรรย์ นี่คือตัวสิ่งนี้ ที่เดี๋ยวนี้เรามาเรียกว่า ศาสนา และไปเกี่ยวข้องกับคำว่า religion เข้าด้วย มันก็ยิ่งฟังยากเพราะฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายนึกถึงคำว่า fact ว่า truth ว่า law ของธรรมชาติไว้เสมอไป แล้วก็พึงทราบ ไว้ด้วยว่า ท่านเอาความจริงเหล่านี้มาเป็นหลัก แล้วปฏิบัติอย่างนี้ จะถูกตามกฎธรรมชาติ แล้วก็จะแก้ปัญหาทั้งปวงได้
มันไม่เกี่ยวกับ authority ท่านไม่ต้องมาจดทะเบียนเป็นพุทธบริษัท ท่านจะนับถือศาสนาของท่านตามเดิม ๆ แล้วแต่ถือศาสนาอะไร ๆ อยู่ก็ได้ แล้วก็สามารถที่จะศึกษาและปฏิบัติ Buddhism นี่ได้ เอาไปใช้ในลักษณะอย่างที่ว่า มันเป็น way of life หรือ พรหมจรรย์ supreme way of life นั่นแหละคือคำว่า พรหมจรรย์ ดังนั้นมันจึงไม่เกี่ยวกับการผูกขาดว่า ต้องเป็นศาสนานั้นเป็นศาสนานี้ ขอยืนยันว่าท่านจะยังคงนับถือศาสนาอะไรของท่านก็ได้ แต่ขอให้มาศึกษา แล้วก็รู้ แล้วก็ปฏิบัติทดลองดูด้วยตนเอง นี่ก็จะพบตัวพุทธศาสนา
วิธีที่ง่ายที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความหมายของคำว่า พุทธะ ๆ นั่นเอง คำนี้แปลว่า ตื่นนอน ตื่นจากหลับ ถ้ายังหลับอยู่นั่น เป็นไสยะ ถ้าตื่นนอนขึ้นมาก็เป็นพุทธะ ท่านจงนึกเอาความหมายของคำว่า ตื่นจากหลับ ขึ้นมา เป็นผู้ตื่น แล้วก็จะเห็นทุกอย่างตามที่เป็นจริง ถ้าเรายังหลับอยู่ เราไม่อาจจะเห็น เพราะฉะนั้นขอให้ทำเหมือนกับว่าเป็นผู้ตื่นนอน พยายามที่จะตื่นนอน และใช้ความตื่นนั่นแหละ เห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง นี่จะได้ความหมายของคำว่า Buddhism
หลังจากตื่นแล้วก็เป็นผู้รู้ เป็นผู้รู้ทุกสิ่งตามที่เป็นจริง หลังจากรู้ ก็เป็นผู้บาน เบิกบาน bloom เบิกบานออกไป ฉะนั้นจึงมีความหมาย เป็นผู้รู้ แล้วก็เป็นผู้ตื่น แล้วก็เป็นผู้เบิกบาน นี่เรียกว่า ใจความสำคัญของคำว่า พุทธะ
ทีนี้เรื่องเล็กน้อย ๆ อย่าเอามาเป็นปัญหา เช่นว่า มี god หรือไม่มี god มันต้องรู้ว่าเราก็มี god แต่เป็นอย่างอื่น ซึ่งไม่เหมือนกับที่เขามีกันอยู่ก่อน เขาก็เลยหาว่าไม่มี god เช่น Buddhism นี้ ถูกจัดไว้ว่าเป็น atheism เพราะเขาเห็นว่าไม่มี god มันไม่ถูก เราก็มี god แต่ god อีกชนิดหนึ่ง คือ god อย่างที่ไม่ใช่เป็นบุคคล ไม่ใช่เป็นวิญญาณรู้สึกอย่างบุคคล ฉะนั้นจึงขอให้รู้ว่า มี god โดยไม่ต้องเหมือนกับ god ที่เขามี ๆ กัน คือเป็น impersonal god นี่อย่าเอาข้อเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้มาเป็นเครื่องขัดขวาง และเห็นว่ามันรับไม่ไหว หรือว่ามันเป็นเครื่องที่มันเข้ากันไม่ได้กับคำว่า ศาสนาที่มี god ขอให้มุ่งหมายแต่ว่าจะดับทุกข์ หรือหมดปัญหาแห่งชีวิต เป็นชีวิตที่เบิกบาน bloom เบิกบานถึงที่สุด ก็พอแล้ว
เราจะถือเอาความหมายของคำว่า religion เป็นหลัก คำว่า religion นั่นในที่สุดก็ตกลงว่า มีความหมาย คือการประพฤติปฏิบัติระบบหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความผูกพันกันกับสิ่งสูงสุด ขอใช้คำว่า สิ่งสูงสุด ไม่ใช้คำว่า god ศาสนาที่เขาถือพระเจ้าอย่างบุคคล เขาก็ว่า ปฏิบัติเพื่อผูกพันกันกับ god ซึ่งเป็นบุคคล นี้ถ้าเป็นอย่างพุทธศาสนา ก็ปฏิบัติเพื่อให้เกิดผูกพันกันกับสิ่งที่สูงสุด แต่ก็มิใช่ god ก็ได้ หรือจะเรียกว่า god อีกชนิดหนึ่งก็ตามใจ นั่นคือภาวะที่มันหมดปัญหา หมดความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง แล้วเรียกว่า สิ่งสูงสุด ใช้คำว่า การปฏิบัติที่ให้เกิดการผูกพันกันเข้ากับสิ่งสูงสุด นี่เป็นถูกต้อง สำหรับจะใช้กับพุทธศาสนา
Supreme thing ของศาสนาอื่น ๆ หลาย ๆ ศาสนา จะเป็น god ก็ได้ ตามใจ แต่ supreme thing ของ Buddhism นี้ก็คือ นิพพาน Nibbana, Nirvana or นิพพาน เป็นไทย นิพพาน นิพพาน สิ้นสุดแห่งความทุกข์ หรือความร้อน เป็นความเย็น เป็นความเย็นแห่งชีวิตโดยแท้จริง นี่เรียกว่า นิพพาน quenching of the thirst / the hot นั่นแหละคือ สิ่งสูงสุดในพุทธศาสนา เราก็เลยไม่ต้องใช้คำว่า god ก็ได้ แต่ถ้าท่านยังชอบใจคำว่า god ในภาษาไทยเราก็มีคำ ๆ หนึ่ง ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือว่า สั้นเข้ามา shorten มันเข้ามา god กลายเป็นกฎ god กฎนี้คือ the law natural law ที่จะปฏิบัติแล้วดับความทุกข์ได้ เราจะมี god อย่างนี้ก็ได้ กฎ หรือ law ตามธรรมชาตินั่นแหละจะทำหน้าที่ สร้างโลกก็ได้ ควบคุมโลกก็ได้ ทำลายโลก เลิกเป็นคราว ๆ ก็ได้ อย่างเดียวกับที่กล่าวไว้สำหรับ god ที่เป็นบุคคลนั่นเหมือนกัน ดังนั้นขอให้หมดความข้องใจ รังเกียจ หรือแคลงใจว่า เราเข้ากันไม่ได้ ถ้าถือศาสนาอื่นอยู่จะเข้ากันไม่ได้กับพุทธศาสนา ขอให้ทำความเข้าใจอย่างนี้เถิด จะเข้ากันได้ทุกศาสนา มาหาวิธีที่จะดับทุกข์ทั้งปวง ให้ทุกข์ทั้งปวงหมดไป ตามวิธีของตน ๆ แต่เมื่อท่านทั้งหลายต้องการจะศึกษาพุทธศาสนา ก็ต้องมาศึกษาข้อนี้อย่างนี้ก่อน
เรามีสิทธิที่จะเลือก เพราะฉะนั้นเราเอามากี่อย่าง ๆ ก็ได้ มาเพื่อเลือกตามที่เราจะพอใจ ทดลองดู ดับทุกข์ได้ก็ถือเอา พุทธศาสนานี้เป็น evolutionist ถือว่าอะไร ๆ โลกทั้งปวงนี้มันเกิดขึ้นโดย evolution ของธรรมชาติ แต่พวกหนึ่งที่เป็น creationist ศาสนาที่เป็น creationist ถือว่า พระเจ้าสร้าง ๆ ๆ นี่เราก็มีทางที่จะเลือก เลือกเอาที่ว่า อย่างไหนมันจะเป็นที่พอใจแก่เรา อย่างไหนมันจะดับทุกข์ได้ ควรรู้ไว้ว่า พุทธศาสนาเป็น evolutionist ตามกฎของธรรมชาติ ท่านรู้กฎของธรรมชาติ รู้กฎของ evolution แล้วก็สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติ หรือกระทำให้ความทุกข์นั้นออกไป ตามกฎของธรรมชาติ เมื่อเรามามองเห็นด้วยเหตุผล พอใจที่จะถือหลัก evolutionism เราก็เอากฎของ evolution นั่นแหละ เป็น god ได้ไม่มีขัดข้องอะไร ถ้าเราถืออย่าง evaluation เราก็เอากฎของนี้เป็น god เดี๋ยวนี้เราถือกฎของธรรมชาติ หรือ natural law เป็นหลัก นี้ก็เลยทราบเสียว่า ตามหลักธรรมะแบ่ง ธรรมชาติ ๆ เป็น ๔ categories สำหรับจะศึกษา อันที่ ๑ คือตัวธรรมชาติแท้ ๆ ก็ต้องศึกษา อันที่ ๒ คือกฎของธรรมชาติ ก็ต้องศึกษา อันที่ ๓ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ก็ต้องศึกษา แล้วในที่สุดก็ ผลจะเกิดขึ้นมาอย่างไร ก็ต้องศึกษา ตัวธรรมชาติ ตัวกฎของธรรมชาติ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ตัวผลที่จะเกิดจากหน้าที่ ถ้าศึกษาครบทั้ง ๔ อย่างนี้แล้วเรียกว่า เรารู้จักธรรมชาติโดยสมบูรณ์
คำว่า duty ตรงกับคำว่า ธรรมะ Dhamma ในพุทธศาสนา เมื่อรู้จัก duty to the law of nature เราก็สามารถปฏิบัติ duty ที่ถูกต้อง duty ที่ถูกต้องต่อกฎของธรรมชาติ นั่นแหละคือ ธรรมะ ๆ ๆ ในพระพุทธศาสนา หรือตัวพุทธศาสนาก็ได้ ถ้าท่านปฏิบัติตาม law of nature จนดับทุกข์ได้ นั่นแหละคือท่านปฏิบัติพุทธศาสนา
ทีนี้ก็มาถึงปัญหาของคำว่า faith ซึ่งในพุทธศาสนาเรียกว่า ศรัทธา ถ้าเป็น faith ในพุทธศาสนา ต้องมาทีหลังของ wisdom หรือ ปัญญา faith คือความเชื่อโดยไม่ได้มาจากปัญญานั่นไม่เรียกว่า faith หรือ ศรัทธาในพุทธศาสนา มันมีเป็น ๒ faith ๒ ศรัทธาอยู่ พวกหนึ่งก่อน wisdom พวกหนึ่งทีหลัง wisdom มันอาจจะจำเป็นต้องมีทั้ง ๒ อย่าง สำหรับผู้ไม่รู้ สำหรับเด็ก ๆ อาจจะต้องใช้ faith ก่อนปัญญา แต่ถ้าว่ามีอายุมากพอที่จะเข้าใจได้แล้วมันจะต้องใช้ faith ที่มาทีหลัง wisdom หรือปัญญา ถ้ารู้จัก จัดกันอย่างนี้แล้วสิ่งที่เรียกว่า faith จะไม่มีปัญหาใด ๆ
เราควรจะนึกถึงคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า confidence ซึ่งหมายถึง ความแน่ใจ ๆ ถ้าเรายังไม่มีปัญญา หรือความรู้ที่เพียงพอ เราไม่อาจจะแน่ใจ ฉะนั้นศรัทธาที่เป็นความแน่ใจ ต้องมาทีหลังของปัญญา แล้ว faith โดยไม่ต้องมีเหตุผล โดยไม่ต้องมีอะไร เพียงแต่บอกให้เชื่อ แล้วก็เชื่ออย่างนี้ มันเป็นอีกอันหนึ่ง ขอให้แยกกันให้ดี ๆ ถ้าจะเป็น Buddhism ต้องเป็น confidence ที่มาจากปัญญา แล้วจะมาเรียกว่า faith ก็ได้เหมือนกัน มันมีสิ่ง ๓ สิ่ง หรือ ๓ คำ ที่ต้องเข้าใจรู้ไว้แต่ทีแรก คือคำว่า ศรัทธา หรือความเชื่อ หรือ faith นี่คำหนึ่ง แล้วก็มีคำว่า วิริยะ ๆ หรือ energy ที่จะใช้ปฏิบัติตามศรัทธา วิริยะ หรือ energy เราต้องมี energy เพื่อใช้ปฏิบัติตามศรัทธา แล้วมีอันที่ ๓ คือ wisdom หรือ ปัญญาที่จะควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้มันถูกต้อง นี่เราต้องมีถึง ๓ นี่ มีศรัทธา faith มีวิริยะ energy แล้วก็มีปัญญา หรือ wisdom ท่านต้องมี ๓ อย่างนี้ จึงจะปฏิบัติศาสนาใด ๆ ได้ แต่เดี๋ยวนี้มันมีปัญหาว่า ศาสนาบางศาสนายกเอา faith เป็นสำคัญ บางศาสนายกเอาวิริยะ กำลังใจนี่ เป็นสำคัญ บางศาสนา ยกเอาปัญญาเป็นสำคัญ เรียกว่า ออกหน้า เป็นเบื้องหน้า เป็นสำคัญ เป็นหลักสำคัญนี้ พุทธศาสนานี้อยู่ในพวกที่เอาปัญญาออกหน้า และเป็นหลักสำคัญ จึงเรียกว่า พุทธะ รู้ หรือตื่นนอน หรือเบิกบาน แม้พุทธศาสนาจะมีปัญญาเป็นหลักเป็นสำคัญ ก็ยังต้องใช้ศรัทธาหรือ faith ด้วย และใช้วิริยะหรือ energy ด้วยเหมือนกัน มันก็จะยกเอาศรัทธาเป็นสำคัญ ทีนี้ศาสนาที่เขามี faith เป็นสำคัญนี่ มันเป็นปัญหา เขาจะ ใช้ energy สักเท่าไร ใช้ wisdom สักเท่าไร นี้เป็นปัญหา แต่ถ้าจะไม่ใช้ energy ไม่ใช้ wisdom เลย แล้วคงจะเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่าใช้น้อยเกินไป แล้วไม่ยกขึ้นมาเป็นหลักสำคัญ ยก faith เป็นสำคัญ เลยได้ชื่อว่า ศาสนาแห่งความเชื่อ ความเชื่อ ถือความเชื่อเป็นที่พึ่ง ทีนี้บางศาสนา ไม่ถือเชื่อ แต่ว่าถือ กำลังจิต สะสมกำลังจิตด้วยฌาน ด้วยสมาธิ ด้วยภาวนานี่ energy ของ mind เอาอันนี้เป็นเครื่องกำจัดความทุกข์ออกไป เขาก็มีตามแบบของเขา พุทธศาสนา ก็ใช้วิธีอย่างนี้ในบางกรณี แล้วก็มามีปัญญาเป็นเครื่องควบคุมให้มันเกิดความถูกต้อง หรือ ท่านเลือกเอาเอง ๆ ว่าจะถือศาสนาไหน ที่มีอะไรเป็นหลักสำคัญ
ทีนี้มาพิจารณากันถึง บุคคลเพียงคนเดียว ๆ ดีกว่า เขาก็จะต้องมีศรัทธาตามสมควร ในกรณีที่ต้องใช้ศรัทธา เขาต้องมีวิริยะตามสมควร ในกรณีที่จะต้องใช้ energy แล้วเขาก็จะต้องมีปัญญา หรือ wisdom ตามสมควรในกรณีที่ต้องใช้ปัญญา ท่านจงรู้จักตัวเองว่า ในกรณีอย่างไรจะใช้ ศรัทธา ในกรณีอย่างไรจะใช้วิริยะ ในกรณีอย่างไรจะใช้ปัญญา นี่ก็แปล ท่านได้ เครื่องมือ ๆ ที่จะใช้กำจัดทุกข์ออกมาได้จากทุกศาสนาเลย
ในประเทศอินเดีย อันเป็นบ่อเกิดแห่งศาสนาต่าง ๆ หลายศาสนา รวมทั้งพุทธด้วยนี้ ตลอดเวลาที่ยาวนาน เขายอมรับ ยอมรับเข้ากันได้ทั้งหมดว่า บางศาสนา หรือพระศาสดาบางองค์ ถือศรัทธาเป็นหลัก บางศาสนา หรือศาสดาบางองค์ ยกเอาวิริยะเป็นหลัก บางศาสนาหรือบางศาสดา เอาปัญญาเป็นหลัก ใช้ได้กันทั้งนั้น ไม่ปฏิเสธ แล้วก็ไม่จัดอันนี้ผิดหรือถูก หรือดีหรือเลว อะไร มันเป็นเรื่องที่ใช้ได้ คล้าย ๆ กับว่า เขามองเห็นสถานการณ์อื่น ๆ เป็นความเหมาะสมที่จะใช้อันไหน ประชาชนโดยพื้นฐานมีวัฒนธรรมอย่างไร มีธรรมชาติอย่างไร มีอะไรอย่างไร มันเหมาะกับอันไหน นี่ถึงยอมรับ เพราะฉะนั้นเราไม่มีปัญหาที่จะต้อง เกลียดชังศาสนาอื่น หรือจัดศาสนาอื่นว่าผิด เราถูกแต่ฝ่ายเดียว ขอให้เรารู้เรื่องนี้ไว้อย่างนี้ ขอให้คิดดูอีกครั้งหนึ่งว่า ในบุคคลคนเดียว ต้องใช้ทั้งศรัทธา ต้องใช้ทั้งวิริยะ ต้องใช้ทั้งปัญญาอยู่แล้ว ทำไมจะต้องไปรังเกียจว่า ศาสนานี้มีศรัทธาเป็นหลัก ศาสนานี้มีอะไรเป็นหลัก เราก็สามารถที่จะจัดมัน จะ arrange มันให้ได้ถูกต้องตามเรื่อง ตามปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ขอให้รับเอาไว้ทั้ง ๓ อย่าง ทีนี้เราก็จะศึกษาพุทธศาสนาที่มีปัญญาเป็นเบื้องหน้าต่อไป
เมื่อพูดถึงพุทธศาสนา ชื่อก็บอกอยู่แล้ว พุทธะ ๆ คือความตื่น รู้ แล้วก็เบิกบาน ไม่ได้ยกเอาศรัทธาเป็นเบื้องหน้า แต่ก็มีศรัทธาตามสมควร มีวิริยะตามสมควร พุทธะ the Buddha เป็นบุคคลนั่นนะ เขาเป็นบุคคลที่มีปัญญา ใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา พุทธะก็คือ ผู้ที่มีปัญญา ที่จะแก้ปัญหา ธรรมะ ๆ ก็คือระบบปัญญา ที่มีไว้สำหรับแก้ปัญหา ซึ่งได้รับแนะนำมาจากพระพุทธะ แล้วสังฆะ ก็คือผู้ยอมปฏิบัติตาม คือใช้ระบบปัญญาในการที่จะแก้ปัญหา เมื่อเป็นดังนี้ ทั้งพุทธะ ทั้งธรรมะ ทั้งสังฆะ ก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกันอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า ปัญญา
ถ้าเราใช้คำว่า ศรัทธา คือเชื่อนะ มันก็ต้องมีอีกสิ่งหนึ่ง ๆ หรืออีกบุคคลหนึ่งที่เราเชื่อ ต้องมีสิ่งหรือบุคคลอะไรที่เราเชื่อ ถ้าเราใช้คำว่า ศรัทธา นี้ศรัทธามันจึงเอียงไปในทาง พึ่งหรืออาศัยผู้อื่น แต่ถ้าเราอาศัย วิริยะ มันต้องทำเอง ก็เลยไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ก็พึ่งตัวเอง ถ้าเราอาศัยปัญญา ๆ แล้ว ยิ่งต้องพึ่งตัวเอง ยิ่งเป็นของเฉพาะตน ยิ่งพึ่งตนเอง ศรัทธานั้นมีส่วนที่จะเชื่อผู้อื่นหรือพึ่งผู้อื่น แต่ถ้าวิริยะ หรือปัญญาแล้วมันพึ่งตัวเอง ช่วยตัวเอง ดังนั้นในพุทธศาสนาจึงสอนเรื่อง พึ่งตัวเอง ๆ
ทีนี้ก็มามองดูว่า พึ่งตนเอง พึ่งตัวเองนะ มันมี synonym ที่ใช้แทนกันได้ ก็คือ พึ่งธรรมะ ที่เกิดขึ้นโดย energy ของตนเอง ก็เลยกลายเป็นพึ่ง duty พึ่งตัวเอง คือพึ่งธรรมะ หรือพึ่ง duty ซึ่งมันล้วนแต่ทำเอง เป็นของตนเอง ด้วยตนเอง โดยตนเอง เราจึงเรียกว่า พึ่งตัวเอง ถ้าจะมี god ที่จะช่วย ก็คือหน้าที่ หรือธรรมะที่ถูกต้องนั่นแหละ เป็น god ผู้ช่วย ในหมู่บุคคลผู้ถือพุทธศาสนา คือพึ่งปัญญา จะเอาปัญญาเป็น god ก็ได้ ธรรมะหรือหน้าที่ที่เกิดมาจากปัญญานั่นแหละคือ god ในพุทธศาสนา
ทีนี้ก็มาถึงข้อที่ว่า ปัญหา ๆ มาจากอะไร โดยเฉพาะความสุขหรือความทุกข์ นี่มาจากอะไร เราจะต้องรู้ ในฝ่ายพุทธศาสนาถือว่า สุขหรือทุกข์ มิได้มาจาก personal god มิได้มาจากกรรมเก่าในชาติเก่า ในชาติก่อน แต่ว่ามันมาจากการ กระทำผิด หรือ การกระทำถูกต่อกฎอิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นเรื่องยืดยาวจะต้องไว้วันหลัง เราต้องมีปัญญารู้จักกฎอิทัปปัจจยตา ปฏิบัติถูกต้องตามกฎอิทัปปัจจยตา ความทุกข์ไม่เกิด ปัญหาไม่เกิด นี่ขอให้รู้เรื่องที่ว่า สุขหรือทุกข์ ปัญหานี่มาจากอะไร มิได้มาจากกรรมเก่า หรือไม่ได้มาจาก god, personal god แต่มาจากการปฏิบัติผิดหรือถูกต่อกฎ หรือ god อิทัปปัจจยตา ซึ่งเราจะต้องรู้ด้วยปัญญา
ดูต่อไปว่า ต้องมีปัญญารู้ว่า ความทุกข์นี้เกิดมาจากอะไร ความทุกข์นี้เกิดอยู่ตลอดเวลาหรือว่าเกิดเป็นคราว ๆ หรือว่ามันเพิ่งเกิดเมื่อมีการทำผิดต่อกฎอิทัปปัจจยตา ถ้าเรามีปัญญา เรารู้เรื่องนี้โดยถูกต้องแล้ว เราสามารถจะดับทุกข์หรือแก้ปัญหาได้ ความทุกข์มิได้เกิดอยู่ตลอดเวลา มันเกิดเป็นระยะ ๆ ๆ ดังนั้นเราจึงมีเวลาหรือระยะที่เราจะป้องกัน หรือป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่า ด้วยปัญญาอีกนั่นเอง แล้วก็มีหลักอีกส่วนหนึ่งคือ เหตุและผล ๆ cause and effect ทุกอย่างที่มีเหตุ ก็เป็นไปตามเหตุ แล้วก็มีผลเกิด เพราะมีเหตุ พุทธศาสนาสอนพุ่งไปที่เหตุ คือการผิดหรือถูกตามกฎ อิทัปปัจจยตา ไม่ถือเอา personal god เป็นเหตุ หรือกรรมในชาติก่อน ๆ โน้น เป็นเหตุ ถือว่าเหตุมันอยู่ที่ตรงนี้ ที่ไม่มีปัญญา คือโง่ไป แล้วก็ทำผิดต่อกฎอิทัปปัจจยตา ทุกข์มันก็เกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องมีปัญญา รู้กฎอิทัปปัจจยตา เราก็ไม่ทำผิดต่อกฎอิทัปปัจจยตา ความทุกข์มันก็ไม่อาจจะเกิด นี้เราจึงจัดการกับความทุกข์ได้ ดีที่สุดเพราะเหตุนี้
ข้อนี้เป็นข้อที่เราจะต้อง สังเกตให้ดี ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า มันมี cause เพราะว่า สิ่งที่เราต้องจัดการนั้น จัดการที่ cause ไม่จัดการที่ effect เราต้องจัดการที่ cause คืออยากจะให้ท่านทั้งหลายได้ทราบคำภาษิตในภาษาไทยสักคำหนึ่ง แม้ว่ามันหยาบคายไม่น่าจะฟัง ก็ฟังไว้ดี จะได้ความรู้ คือคำว่า ไม่เอาไม้สั้นไปรันขี้ ถ้าเอาไม้สั้นไปรันขี้ มันก็เลอะ เราไม่ทำอย่างนั้น เราจะไปทำที่เหตุ หรือ cause ของมัน ไม้สั้นไปรันขี้ นี้ถือว่าเป็นหลักในหมู่คนไทยทั่วไป ทำไม่ได้ เหมือนอย่างว่าถ้าเราจะดับไฟ เราอย่าไปดับที่ไฟ เราจงไปดับที่ต้นเหตุที่ให้เกิดไฟ นี่คือหลักพุทธศาสนา ถ้าดับที่ไฟก็เหมือนเอาไม้สั้นไปรันขี้ มันลำบาก หรือเสียหาย หรือทำไม่ได้ นี่ศาสนาแห่งเหตุและผลนี่ สอนให้จัดการที่เหตุ มันมีเหตุ แล้วก็จัดการที่เหตุ แล้วก็จะได้รับผลตามที่เราต้องการ นี้ก็เป็นหลักสำคัญด้วยเหมือนกันว่า เหตุและผล จัดการที่เหตุ ไม่จัดการที่ผล
มันมีคำกล่าวที่น่าสนใจ จะจริงหรือไม่จริงนั้นก็ไม่เป็นไร แต่ว่าควรจะสนใจ คือเขากล่าวกันว่า ถ้าคนเอาไม้ไปแหย่ ไม้ยาว ๆ ไปแหย่ ที่สุนัข สุนัขก็จะกัดที่ไม้ ที่ปลายของไม้ แต่ถ้าไปแหย่ที่ lion สิงโต มันไม่กัดที่ปลายไม้ มันจะมากัดคนที่ถือไม้ นี่แสดงว่าอันหนึ่งมันมีปัญญา อันหนึ่งมันไม่มีปัญญา ใช่ไหม นี่เราจะเป็นสุนัข หรือจะเป็น lion ก็คิดดูเองก็แล้วกัน ถ้าจะถือหลักอย่างนี้แล้วก็ว่า ต้องจัดการที่ต้นเหตุ นั่นแหละจะเป็นผู้ที่เป็นพุทธะ หรือมีความรู้ หรือตื่น หรือฉลาด เรามีหลักเกณฑ์ที่ว่าจะมีปัญญาจัดการที่เหตุ มีปัญญา จัดการที่เหตุ ไม่จัดการที่ผล
เมื่อพุทธศาสนามีหลักการ คือ มีเหตุผล และเป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุผล ทุกอย่างมีเหตุ เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงมีหลักการหรือวิธีการอย่างเดียวกับวิทยาศาสตร์ ค้นหาเหตุ จัดการที่เหตุ แล้วก็ได้ผลตามที่ต้องการ เราต้องการความรู้จริง ทำจริง ลงไปที่ตัวเหตุ เราไม่ใช้วิธีการอย่าง philosophy หรือ logic อะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นการคำนวณ ๆ มี hypothesis ขึ้นมา แล้วก็หาเหตุผลว่ามันจริงตาม hypothesis หรือไม่ อย่างนี้ไม่ใช้กับพุทธศาสนา พุทธศาสนา มีเหตุ มีปัจจัยโดยตรง เพราะฉะนั้นก็ต้องศึกษาที่ตัวเหตุของมัน แล้วหาวิธีที่จะกำจัดเหตุของมันโดยไม่มีการคำนวณอีกต่อไปแล้ว นี่ขอให้ถือว่าเป็นยุควิทยาศาสตร์แล้ว พุทธศาสนานี้จะมีหลักการเดียวกับวิทยาศาสตร์ และจะเหมาะกับยุควิทยาศาสตร์ คือการจัดการกับตัวเหตุ แล้วก็จะได้รับผลตามที่เราต้องการ
ทีนี้เรามาดูกันถึง ลำดับ ๆ ที่เราจะต้องทำ เรามีการเรียน ให้รู้ เรียนให้รู้ แล้วเราก็มีการกระทำ ๆ ตามที่เรียน แล้วเราก็ได้รับผลตามสมควรแก่การกระทำ เราเรียนให้รู้ แล้วเราก็ปฏิบัติ แล้วก็เราได้รับผลของการปฏิบัติ เป็น ๓ ขั้นตอนอยู่ แต่แล้วทุกขั้นตอนต้องมีรากฐานอยู่บนเหตุผล ตั้งอยู่บนเหตุผล มีอำนาจ เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุผล อย่าใช้อย่างอื่นเลย จะเรียน ก็ต้องรู้ว่า เหตุผลอย่างไรจึงต้องเรียนสิ่งนี้ แล้วก็เรียนสิ่งนี้ ก็เรียนด้วยเหตุผลว่า มันจะจริงอย่างนั้นหรือไม่ ทีนี้พอปฏิบัติก็ต้องมีเหตุผลว่า ทำไมจึงจะต้องปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างนี้ ๆ จะต้องมีเหตุผลอย่างไร ถ้าจะรับผล จะได้รับผล ก็มันก็สมควรแก่การปฏิบัติ จะรับผลแห่งการปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลนั้น ไม่ได้ ดังนั้นมันจึงมีการกระทำที่มีเหตุผล ตั้งอยู่บนหลักการแห่งเหตุผล ไม่ว่าการเรียน ไม่ว่าการปฏิบัติ ไม่ว่าการรับผลของการปฏิบัติ เมื่อต้องการมีเหตุผล มันก็ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ดังนั้นเราจะต้องพยายามมาก พยายามหนักมาก ในการที่จะให้เกิดปัญญา แล้วก็ถือเป็นหลักสำหรับจะปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์แห่งเหตุผล นี่คือเป็นหัวใจในการปฏิบัติพระพุทธศาสนา
เรื่องถัดไปอีก ต่อไปอีก ก็คือเรื่อง เสรีภาพ หรืออิสรภาพ พูดไว้ล่วงหน้าเลยก็ได้ว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่มีการบังคับให้เชื่อ ดังนั้น dogmatic system ไม่มีในพุทธศาสนา แล้วก็ไม่ยอมรับ เพราะเป็นศาสนาแห่งปัญญา มีเสรีภาพที่จะคิด ที่จะพิสูจน์ ที่จะค้นคว้า ที่จะทดลอง ถ้ามีการบังคับให้เชื่อ รับเอาไปทั้งที่ไม่มีการพิสูจน์ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ใช่พุทธศาสนา ข้อนี้ถือเป็นหลักไว้ด้วย เรามีหลักที่ให้ถืออย่างนั้นจากพระพุทธภาษิต เรียกว่า กาลามสูตร ซึ่งให้เสรีภาพ อิสรภาพอย่างยิ่ง ขอให้ถือเป็นหลักไว้ก่อนว่า เป็นศาสนาแห่งเสรีภาพ และอิสรภาพ ในการเรียนก็ดี ในการปฏิบัติก็ดี ในการรับผลก็ดี ต้องมีเสรีภาพ มีศาสนาไหนบ้างที่บัญญัติว่า ท่านไม่ต้องเชื่อ โดยเหตุที่ว่า ผู้พูดนั้นเป็นศาสดาของเรา ไม่ต้องเชื่อแม้ ผู้นั้นเป็นศาสดาของเรา พูดออกมา ยังไม่ต้องเชื่อ ๆ ยังไม่ต้องมี faith ที่จะรับเอา แต่จะต้องดูก่อนว่า ถ้าทำตามนั้นแล้วมันจะมีผลเกิดขึ้นอย่างไร คือมันจะดับทุกข์ได้หรือไม่ ถ้าเห็นว่ามันจะดับทุกข์ได้ จึงค่อยลองดู ๆ อ้อ, ดับทุกข์ได้จริง จึงค่อยเชื่อ มีศาสนาไหนบ้างที่กล่าวว่า ไม่ต้องเชื่อตามคำพูดแม้จากพระศาสดาของตน
ใจความของกาลามสูตร เขามีอย่างนี้ ข้อแรกว่า อย่ารับเอามาเชื่อ เพราะเหตุว่า เขาสอน สอนต่อ ๆ กันมา นี้ก็ไม่เชื่อ เพราะว่าเขาทำ กระทำ ๆ ตาม ๆ กันมา นี้ก็ไม่ยอมเชื่อทันที เขาเล่าลือ ๆ กันอยู่ทั้งโลก ก็เราไม่เชื่อ แม้ว่ามีอยู่ใน Scripture เราก็ยังไม่เชื่อ นอกจากจะได้พิสูจน์ ทดลองก่อน แม้ว่าจะถูกต้องตามวิธี พิสูจน์ทาง logic ก็ไม่เชื่อ แม้ว่าจะถูกต้องตามวิธีทาง philosophy ก็ไม่เชื่อ แม้ว่ามันจะตรงกับ common sense ของเรา ก็ไม่เชื่อ แม้ว่าความคิดของเราก็เป็นอย่างนั้นเอง เราก็ยังไม่เชื่อ เราจะต้องพิสูจน์ดูก่อน ผู้พูดมี credit มีปริญญา มีอะไรน่าเชื่อ ก็ยังไม่เชื่อ กระทั่งว่าไม่เชื่อต่อผู้พูดที่เป็นพระศาสดาของเราเอง นี่คือหลักใจความของกาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ถือปฏิบัติ นี่พุทธศาสนามีเสรีภาพอย่างนี้
กฎเกณฑ์อันนี้ เราจะต้องใช้แม้กับลูกเด็ก ๆ ลูกเด็ก ๆ ทารก เราจะไม่ถือไม้เรียวขึ้นมาบอกลูก แกต้องเชื่ออย่างนี้ แกต้องทำอย่างนี้ เราจะไม่บอกอย่างนั้น แต่เราจะบอกลูกเด็ก ๆ ว่า คิดดูสิ ถ้าทำอย่างนี้ ๆ จะเกิดขึ้น ถ้าทำอย่างนี้ ๆ จะเกิดขึ้น ถ้าทำอย่างนี้ ๆ จะเกิดขึ้น แกจะเลือกเอาอย่างไหน ไม่บังคับ ไม่ต้องใช้ไม้เรียวบังคับ ให้เด็ก ๆ ทารกเขาคิดเอาเอง แล้วก็ทำอย่างนี้ อะไรมันจะเกิดขึ้น ทำอย่างนี้อะไรมันจะเกิดขึ้น แล้วเขาก็เลือกเอาเอง เขาก็เลือกเอาฝ่ายที่มันจะได้ประโยชน์ นี่ขอให้เข้าใจว่า แม้แต่กาลามสูตรนี้ ใช้แม้แต่กับเด็ก ๆ นะ นี่คนเขาเข้าใจผิด เขาเอามาใช้ไม่ได้ ใช้กับคนเดี๋ยวนี้ไม่ได้ ใช้กับคนโง่ไม่ได้ เขาคัดค้าน แต่ความจริงมันมีอยู่อย่างนี้ ขอให้เราให้เสรีภาพอย่างสูงสุด แก่ผู้ฟัง แก่ผู้ที่จะปฏิบัติตาม ขอให้เข้าใจไว้ว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเสรีภาพ ในทางการกระทำ และความคิดนึก และสติปัญญา
พุทธศาสนาคืออะไร ยังไม่จบ พูดได้สักครึ่งหนึ่งเท่านั้น เวลาก็หมดแล้ว ขอไว้พูดในวันหลัง วันนี้ขอยุติการบรรยาย ขอบใจที่เป็นนักฟังที่ดี