แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ซึ่งสรุปความว่า จะทำให้เราอยู่เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ มีชีวิตที่สงบเย็น นี่คือหัวข้อที่ว่าธรรมะเพื่อประโยชน์อะไร
นี้วันที่ ๒ เราพูดถึงว่า ธรรมะคืออะไร ธรรมะคือ ธรรมชาติ ในทุกความหมาย มีความสงบ มีความคงที่ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ นี่คือ ธรรมะ ธรรมะคืออะไร ก็ตอบอย่างนี้
บัดนี้เราจะพูดด้วยหัวข้อว่า จะมีธรรมะได้โดยวิธีใด ก็คือโดยวิธีที่ ทำให้จิตใจของเรา ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ นั่นเอง ดังนั้นเราจะต้องมีความรู้ ในการที่จะควบคุมจิต ไม่ให้มันถูกปรุง ให้เป็นบวก หรือให้เป็นลบ ขึ้นมา ให้เป็นจิตปรกติ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ หรืออยู่เหนือบวกเหนือลบ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นก็ขอให้ท่าน ตั้งใจฟังให้ดี ๆ ซึ่งเราจะพูดกันเดี๋ยวนี้ว่า ธรรมะจะถูกปรุงให้เป็นบวกหรือเป็นลบได้อย่างไร
เรามีอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่าง และในโลกก็มีอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ๖ อย่าง มันก็เป็นคู่กัน เราอยู่ในโลก จะหลีกเลี่ยงการกระทบของสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ จะหลีกไปจากการกระทบของสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เราก็มีการกระทบกับสิ่งเหล่านี้ และเมื่อมีการกระทบกับสิ่งเหล่านี้ เราจะต้องฉลาดพอที่จะไม่ให้เกิดเป็นบวกเป็นลบขึ้นมา
ยกตัวอย่าง คู่แรกคือ ตากับรูป เมื่อตากับรูป มาเนื่องกันเข้า ๆ มาถึงกันเข้า ก็เกิดสิ่งใหม่ออกมาเรียกว่า การเห็นทางตา หรือจักษุวิญญาณ วิญญาณทางตา ๓ อย่างนี้ คือ ตา รูป และ การเห็นทางตา นี้ทำงานร่วมกันอยู่ เราก็เรียกว่า ผัสสะ ๆ ทีนี้ก็ผัสสะทางตา ถ้าเราควบคุมผัสสะไม่ได้ มันจะเกิดความเป็นบวกเป็นลบขึ้นมา
ในขณะแห่งผัสสะ เราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เรามีอวิชชา เราเป็นคนมีอวิชชา เราก็ปล่อยมันไปตามที่ไม่รู้ ตามความไม่รู้ ผัสสะก็ให้เกิด เวทนาเป็น Feeling ขึ้นมา ถ้าถูกใจเรา เราที่โง่นะ ก็ถือเป็นบวก เป็น Positive ไม่ถูกใจเรา ถือเป็นลบ นี่ความเป็นบวกหรือความเป็นลบเกิดขึ้น เพราะเราไม่มีปัญญา รู้จักรู้แจ้งต่อสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ ที่มันได้คลอดเวทนาออกมา เป็นบวกและเป็นลบ ในกรณีนี้ เรามีผัสสะโง่ Ignorant ผัสสะโง่ มันก็ให้เกิดเวทนาโง่ ไปตามจะแยกเป็นบวกเป็นลบ เวทนาโง่ มันก็ให้เกิดความอยากหรือความต้องการที่โง่ ในเวทนาที่มันเป็นบวก เราก็อยากได้ อยากมี อยากเอา อยากสะสม เวทนาที่เป็นลบ ก็อยากจะทำลาย ๆ อยากจะกำจัด อย่างนี้ ทีนี้มันเกิดความอยากที่โง่ขึ้นมาแล้ว เรียกว่า ความอยากโง่ หรือตัณหาโง่ นี่ในขั้นนี้เป็นอย่างนี้
ความอยากที่โง่ ในสิ่งที่เป็นบวก มันก็อยากได้อย่างโง่ แล้วก็ทำให้เกิดกิเลสประเภท ราคะหรือโลภะ ขึ้นมา ทีนี้ถ้ามันเป็นความอยากในสิ่งที่ลบคือ ไม่ชอบ มันก็เกิดกิเลสที่เรียกว่า โทสะหรือ โกธะขึ้นมา ถ้ามันไม่แน่ว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ มันก็เกิด โมหะ ๆ คือ ความโง่ ความหลง ต่อไปตามเดิม นี่กิเลสมันเกิดขึ้นมาอย่างนี้
กิเลสเหล่านี้ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตน ที่ว่าเราเกิดประเภทโลภะ อยากจะได้ ราคะ กำหนัดยินดี เกิดความรู้สึกเท่านั้นแหละ ความรู้สึกอันนั้นจะทำให้เกิด Concept อันใหม่ขึ้นมาว่า ฉันหรือกู ผู้ยินดี หรือผู้โลภ ผู้กำหนัด ทีนี้ถ้าว่ามันเป็นเรื่องของโทสะ Anger เป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว มี Concept ว่า กู I นี่เป็นผู้มีความโกรธ ถ้าหลง ๆ มันก็มีความรู้สึกว่า กู มีปัญหายุ่งไปหมด หลงจนไม่รู้จะทำอะไร Concept ว่า I ว่าฉัน ว่าตัวกู นี่มันเกิดขึ้นมาจากกิเลสเหล่านั้นคือ ความอยากที่โง่ ความรู้สึกที่โง่ จนเป็นกิเลสนั่นเอง
มาถึงตรงนี้ ท่านอาจจะฉงนสงสัยว่า มันผิด Logic เสียแล้ว ทำไมผู้กระทำ จึงมาทีหลังการกระทำ การกระทำมีมาก่อน แล้วผู้กระทำมันจึงมี เช่นว่า มันเกิดโลภ เกิดความรักขึ้นมาแล้ว เกิด Feeling Emotion นี้ แล้วมันเกิด concept ว่า I ฉัน ผู้ นี่มาทีหลัง นี่มันเป็นธรรมชาติ นี่มันเป็นความจริงมันไม่ใช่ผิด Logic ก็เพราะว่า I หรือ ฉัน นั้น มันไม่มีตัวจริง ๆ มันเป็นเพียง Concept เพราะฉะนั้นมันจึงเกิดทีหลัง ทีหลังการกระทำ ได้ ผู้กระทำเกิดมาจากการกระทำ นี่ไม่ผิด Logic ขอให้รู้ไว้ มันเป็นอย่างนี้ เป็นความจริง เป็นธรรมชาติอย่างนี้
*19:33 เสียงขาดหาย เนื้อความไม่ต่อเนื่อง ตัวฉัน ผู้ นี้ขึ้นมา เป็นอุปาทานแล้ว
เมื่อมีดบาดมือ มีดตัดมือ เรารู้สึกความเจ็บ รู้สึกเป็นความเจ็บ และความรู้สึก กู ผู้เจ็บ เกิดทีหลัง ต่อเมื่อความเจ็บเกิดแล้ว ความรู้สึกว่า กูผู้เจ็บนั่นนะ จะเกิดทีหลัง นี่ขอให้เข้าใจว่ามันเป็นเพียง illusive concept ว่า ไม่มีตัวจริง นี้จะเป็นความรู้เรื่อง อนัตตา ที่ดีที่สุด ขอให้สังเกตไว้
เมื่อเรารู้สึกเจ็บหรือความเจ็บ เราไม่คิด เราไม่รู้สึกว่าเจ็บที่ระบบประสาท รู้สึกที่ระบบประสาท เราไม่รู้สึกอย่างนั้น แต่เรามารู้สึกว่า เจ็บที่กู ๆ ๆ ขอให้สังเกตดูให้ดีข้อนี้
ดังนั้นขอให้เห็นให้ชัดว่า ความคิดว่า ตัวกู ๆ มันเป็นเพียงอุปาทาน ที่อวิชชาปรุงขึ้นมา ไม่ใช่ของจริง เดี๋ยวนี้เราก็มีตัวตน มีตัวกู ๆ มีอุปาทาน มี Egoistic Concept มี soul มีอะไรขึ้นมาที่ตัวว่า มีตัวกูนี่ มันเกิดได้เอง ไม่ต้องมีใครสอน มันเกิดได้เอง อย่างเด็ก ๆ เขาเดินไปชนเก้าอี้ เขาก็เจ็บ เขาก็เกิดความรู้สึกว่า กูเจ็บ เป็นอัตตาฝ่ายนี้ เป็น soul ฝ่ายนี้ แล้วเก้าอี้ก็เป็นอัตตา หรือเป็น soul อีกฝ่ายหนึ่ง เขาก็เตะเก้าอี้ เมื่อความคิดว่า กู ๆ เกิดขึ้นฝ่ายนี้หรือเกิดขึ้นฝ่ายนั้นก็ตาม เกิดได้ ๆ ทั้ง ๒ ฝ่าย อย่างไม่มีความจริง อย่างไม่ใช่ตัวจริง
ขอให้สังเกต ให้มองเห็น ให้จำไว้อย่างแม่นยำว่า จุดนี้สำคัญที่สุด คืออุปาทานหรือ Attachment ที่เกิด I ขึ้นมา I นั้นแหละ คือตัวอุปาทาน อุปาทานนี้จะเป็นที่เกิดแห่งความทุกข์ทั้งปวง เพราะว่าอะไร ๆ มันก็จะเข้ามาลงอยู่บนอุปาทานว่า I ข้าพเจ้าเห็น ข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้ารู้สึก ข้าพเจ้าอร่อย ข้าพเจ้าพ่ายแพ้ ข้าพเจ้าชนะ ข้าพเจ้าได้เปรียบ ข้าพเจ้าเสียเปรียบ ทุก ๆ อย่าง เป็นความคิดบวกหรือลบก็จะเกิดขึ้นที่ Concept ของ I
ถ้ามันมี I หรืออัตตา แล้วมันก็ต้องมี Mine หรืออัตตนียา ถ้ามี I ก็ต้องมี Mine อัตตาที่ไปรับอะไร ๆ เข้ามาเป็น Mine ความรักของฉัน คู่รักของฉัน ทรัพย์สมบัติของฉัน ความเจ็บไข้ของฉัน ความตายของฉัน นี่ มันมีฉันเป็นที่นั้นแล้วก็มันเอามาเป็นของฉัน ฉะนั้นมันเป็นคู่กัน อัตตา กับ อัตตนียา I หรือ Mine อุปาทานด้วยกันทั้งนั้น
เมื่อมีอัตตา หรือ I ยังอยู่ อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็เห็นเป็น ของ I เป็น Mine ขึ้นมา เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นของธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้ามันมี I หรืออวิชชาแล้ว มันก็เอามาเป็นของฉัน ความเกิดของฉัน ความแก่ของฉัน ความเจ็บของฉัน ความตายของฉัน ความทุกข์ของฉัน แม้ที่สุดความทุกข์ ก็เอามาเป็นของฉัน ความทุกข์จึงเกิดด้วยมีอุปาทาน ถ้าไม่มีอุปาทาน ไม่มีที่ตั้งแห่งความทุกข์ อุปาทานว่า I ก็ดีว่า Mine ก็ดี เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ความทุกข์จะมาลงอยู่บนนี้ เป็นอุปาทานว่า I ว่า Mine
ในที่สุด มันก็มารวมอยู่ที่คำว่า ชีวิต ชีวิตนี้ของฉัน หรือ ตัวฉันนั่นแหละของฉัน ตัวฉันนี่ ก็กลายเป็นของฉัน ตัวฉันของฉัน นี่เป็นที่รวมหมด ฉะนั้นจะอะไร ๆ ที่มันเนื่องกับของฉัน หรือ ตัวฉัน มันก็มารวมอยู่ที่นี่หมด มันจึงเป็นที่รับรองแห่งความทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ทั้งปวงเกิดมาจากอุปาทาน ถ้าเราไม่มีอุปาทาน ไม่มีความทุกข์ใด ๆ เกิดได้ คือมันไม่มีความคิดที่เป็นตัวฉัน ที่จะไปเอามาเป็นทุกข์ มันไม่มีความคิดที่จะเป็นฉันที่จะไปเอามาเป็นทุกข์ มันคือไม่มีอุปาทาน ถ้ามีอุปาทาน มันคอยรับอยู่ว่าเป็นตัวฉัน คอยรับอยู่เอามาเป็นของฉัน ความทุกข์มันก็มี ความทุกข์จะมีอยู่กี่ร้อยอย่างกี่พันอย่าง ก็มารวมอยู่ที่อุปาทานว่า ตัวฉัน ในฐานะเป็นความทุกข์ของฉัน
เพราะเรา มี I มีฉัน มันจึงมีผู้ที่จะรับเอาสิ่งที่เข้ามากระทบ สำหรับจะถูกใจฉัน ก็เป็นบวก ไม่ถูกใจฉัน ก็เป็นลบ บวกหรือลบมีได้ เพราะมีฉัน ถ้าไม่มีฉัน จะไม่มีความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ ธรรมชาติ ธรรมะแท้ ๆ ธรรมชาติล้วน ๆ ไม่มีบวกไม่มีลบ เราไปให้ความหมายเป็นบวกหรือเป็นลบ เพราะอวิชชาของเรา นี่ถ้าว่า เรารู้จริงเข้าไปถึงธรรมะจริง ตัวธรรมะจริงที่ว่า ไม่มีบวกไม่มีลบ ธรรมะนี้ มันจะช่วยได้ ให้เราไม่ต้องโง่ ให้มีตัวฉัน ให้เป็นบวกหรือให้เป็นลบ ฉะนั้นขอให้เราที่มีธรรมะนี้ที่ไม่มีบวกไม่มีลบ ขึ้นมาให้ได้ โดยที่เราจะต้องมีสิ่งสำคัญบางสิ่งที่เราจะต้องพูดต่อไป เดี๋ยวนี้เราจะต้องไม่มีบวกไม่มีลบ
ในชั้นนี้เราจะต้องย้อนกลับไปตรงขณะที่เรียกว่า ผัสสะ อีกทีหนึ่ง Starting pointed ของ I มันตั้งต้นที่ตรงนั้น ผัสสะ ที่พูดเมื่อสักครู่นี้ว่า ผัสสะโง่หรือผัสสะฉลาด ถ้าผัสสะโง่ มันก็มาอย่างที่ว่าจนเกิด I แล้วเกิด เป็นทุกข์ ถ้าผัสสะไม่โง่ ผัสสะเต็มไปด้วยวิชชา เต็มไปด้วยธรรมะแล้ว ผัสสะไม่โง่แล้ว เวทนาตัณหาอะไรไม่เกิด ไม่มี ไม่โง่ แล้วก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะไม่มี I นี่จงดูให้ดีว่าจะต้องจัดการให้ถูกในขณะแห่งผัสสะ
ในขณะแห่งผัสสะ เราจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า สติ ๆ สตินี่เป็นเหมือนเครื่องขนส่ง พาหนะเครื่องขนส่งอย่างเร็วเหมือนฟ้าแลบ ไปขนเอาวิชชาหรือปัญญามา เราจะมีปัญญาสะสมไว้ด้วยการด้วยการศึกษา หรือการทำอานาปานสติ อะไรก็ตาม เรามีปัญญาสต็อกไว้ มีสติในขณะแห่งผัสสะ วิ่งไปเอาปัญญามา เอาปัญญามาทำเป็นสัมปชัญญะ เผชิญหน้ากับสิ่งที่มากระทบ แล้วเรามี สมาธิ ๆ ให้ สัมปชัญญะหรือปัญญามี กำลังแรงมาก ๆ ที่จะเอาชนะอารมณ์นั้น ๆ ที่เรียกว่า ผัสสะ เราจะต้องมี สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ๔ อย่างนี้ ในขณะแห่งผัสสะ
ขอย้ำอีกทีหนึ่ง เผื่อท่านจะไม่เข้าใจหรือจับฉวยเอาไม่ได้ทันที ขอพูดซ้ำ ย้ำอีกทีหนึ่งว่า จะต้องมีสติ ๆ เป็นเครื่องขนส่ง ไปเอาปัญญามาโดยเร็วทันเวลา just in time เหมือนกับสายฟ้าแลบ มีปัญญามา ปัญญามาถึงก็ In Action ของมัน ก็ทำหน้าที่เป็นสัมปชัญญะ รู้ถูกต้อง ๆ ๆ ๆ อยู่ ทุกอย่าง ๆ แล้วก็มีกำลังให้มากด้วยสมาธิ กำลังของสมาธิ กำลังของปัญญาก็มาก กำลังของสติก็มาก ก็มากกันทุกอย่าง นี่มันจึงไม่เกิดผัสสะโง่ ไม่เกิดเกิดเวทนาโง่ ไม่เกิดตัณหาโง่ ไม่เกิดอุปาทานโง่ และไม่เกิดทุกข์ ๔ อย่าง นี้จะเข้าใจให้ดี ๆ
ทีนี้ก็มีปัญหาว่า ท่านจะเอาสิ่งที่มีค่าประเสริฐสูงสุด ๔ อย่าง นี้มาจากไหน จะเอามาจากไหน เราจะได้มาจากการเจริญอานาปานสติตามแบบฉบับที่มีอยู่ ถ้าเรามีความสำเร็จ ในการเจริญอานาปานสติ เราก็จะมีธรรมะ ๔ อย่างนี้ อย่างเหลือเฟือ อย่างพอใช้หรืออย่างเหลือเฟือ นี่เราหาได้ ธรรมะ ๔ อย่างนี้ เราหาได้จากการเจริญอานาปานสติ
ทีนี้เราก็จะดูกันถึง Outline ทั่ว ๆ ไปของอานาปานสติ เราเชื่อว่า ท่านทั้งหลาย หลายท่านนี่เคยเจริญอานาปานสติมาแล้ว ขอให้สังเกตดูว่า ในหมวดที่ ๑ กำหนด ลมหายใจ ๆ กายลมหายใจ และกายเนื้อ นี้เนื่องกัน เราทำให้นี่ระงับได้โดยการระงับแห่งลมหายใจ เราฝึกหมวดที่ ๑ อยู่อย่างนี้ เรามีสติ กำหนดลมหายใจอย่างยิ่ง เหมือนกับฝึกสติ เรามีสัมปชัญญะ รู้ทั่วถึง ๆ ลมหายใจอย่างยิ่ง แล้วเราก็มีปัญญา รู้เรื่องลมหายใจ รู้เรื่องกาย กระทั่งรู้เรื่องอนัตตาของลมหายใจ ของกาย นี่ก็เป็นปัญญา เราประสบความสำเร็จในขั้นที่ ๔ กายสังขารระงับได้ เราก็มีสมาธิมากพอ เพียงหมวดทีแรกของอานาปานสตินั่น เราก็จะได้ทั้ง ๔ อย่างนี้ มากบ้างน้อยบ้างทั้ง ๔ อย่างนี้ มาแล้ว
เราจะมองเห็นได้ตั้งแต่ตอนนี้เลยว่า ลมหายใจก็ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ กายนี้ก็ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ สิ่งต่าง ๆ ที่กำหนด เข้าใจหมดในหมวดที่ ๑ นี้ก็ไม่มีอะไรที่เป็นบวกและเป็นลบ เราก็เริ่มมีความรู้ที่ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ แล้วเรามาโง่เอามาทำให้มันเป็นบวกหรือเป็นลบทีหลัง เราจะเริ่มรู้เรื่อง ความไม่มีบวกไม่มีลบ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ ในสิ่งทั้งปวง หรือในธรรมะตามธรรมชาติได้ แม้ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ นี้
ทีนี้เราก็มาถึง หมวดที่ ๒ ๆ เวทนานุปัสสนา ทำการศึกษาลงในสิ่งที่เรียกว่า เวทนา หรือ Feeling เราจะรู้จักสิ่งที่ว่า บวกสูงสุด Positive ที่สูงสุด ว่าเป็นอย่างไร คือ ปีติ ๆ Feeling, Sukha Feeling มันเป็น Positive ทั้งนั้น เป็น Dynamic บ้าง เป็น Static บ้าง มันเป็น Positive ทั้งนั้น เรารู้จักมันสูงสุด ความเป็นPositive ที่คนทั้งโลกเขา หลงใหลกันนัก พอใจกันนัก บูชากันนัก นี่รู้จัก Positive ที่สูงสุด แล้วในหมวดนี้ เรารู้จักวิธี ทำให้มันลดกำลัง ให้มันถอยกำลัง เราก็ทำจิตตสังขารให้ระงับ เราก็มีปัญญา เราก็มีวิชชา เราก็มีหลายอย่าง ที่สามารถทำให้กำลังของปีติและสุข ลดลง ๆ ถ้าทำไม่ได้ Positive แรงร้าย ๒ อันนี้ มันจะปรุงให้ความคิดต่าง ๆ นานา สารพัดอย่าง เกินหรือยุ่งไปหมด ไม่มีความสงบเลย ถ้าเราต้องการจะควบคุมความคิด แล้วเราก็ต้องควบคุมปีติและสุขนี้ คือว่า ความพอใจหรือ Positive นี้ มันทำให้เกิด ความคิด ๆ ๆ คิด ๆ ๆ ๆ เราควบคุมได้ เราไม่ให้มันคิด ให้มันหยุดคิด ให้มันคิดแต่ที่ควรจะคิด นี่เรียกว่า เราสามารถควบคุม Positive สูงสุด โดยการปฏิบัติอานาปานสติหมวดที่ ๒ นี้
ขอให้เราสังเกตเห็น ข้อเท็จจริงที่กำลังมีอยู่เดี๋ยวนี้ว่า เราทุกคนในโลก ทุกคนในโลกนี่เป็นทาสของ Positive Positiveness นี่แล้วแต่มันจะพาเราไปไหน มันจะทำอะไรแก่เรา เราก็ต้องมีความทุกข์ เดี๋ยวนี้กลับกันเราจะเป็นนายบ้าง เราจะเป็นนายเหนือ Positive Positive จะไม่บังคับเรา แต่เราจะบังคับ influence ของ Positive ว่า อย่างนี้ ๆ ๆ นี่เรียกว่า รู้จักบวกรู้จักลบ ถึงขนาดที่จะ บังคับมันได้ทีเดียว ๆ
อิทธิพลของ Positive นั่นแหละ ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า กิเลส โลภะ โทสะ โมหะ พอได้อย่างใจ มันก็ โลภะ ราคะ พอไม่ได้อย่างใจ ไม่ได้อย่างที่ดี ที่เราต้องการ มันก็เกิดโทสะ พอมันไม่รู้ว่าอะไร มันก็โง่อยู่ตามเดิม มันอิทธิพลของ Positive โดยเฉพาะนี่มันให้ผลตลอดไปทั้งใน ที่ว่าดีใจ เสียใจ หรือกลาง ๆ มันรวมอยู่ที่อำนาจของ Positive ซึ่งเป็นศูนย์รวม เราจะต้องควบคุมมันให้ได้
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ ๓ อานาปานสติ จัดการกับสิ่งที่เรียกว่า จิต โดยตรง จนเราสามารถบังคับจิตได้ มันมีผลเนื่องมาจากหมวดที่ ๒ คือ เวทนา ๆ Positive Negative มันทำให้เกิดความคิดอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เรียกว่า จิตมันเกิดจากเวทนา เวทนาปรุงแต่งให้เกิดจิต หรือความคิด เมื่อเราควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมการเกิดทางจิตได้ เราควบคุมจิตได้ในที่สุด และเรายังสามารถที่จะควบคุมจิตไว้อยู่ในความถูกต้อง อย่าให้เป็นบวกอย่าให้เป็นลบ อย่าให้ความเป็นบวกหรือความเป็นลบมามีอิทธิพลเหนือจิต นี่เราก็มีจิตที่ดีที่สุด ที่อิสระที่สุด Active ที่สุด สามารถที่สุด เราก็ประสบความสำเร็จที่บังคับจิตได้ เดี๋ยวนี้เราเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต เป็นนายของจิต
เมื่อเราบังคับเวทนาได้ โดยเฉพาะ Positiveness ของเวทนาได้ เราก็บังคับจิตได้ เดี๋ยวนี้จิตอยู่ในอำนาจของเรา เราไม่ปล่อยให้จิตเป็น Positive หรือ Negative จิตเองไม่ปล่อยให้จิตเป็น Positive หรือ Negative ถ้ามีสิ่งเป็น Positive - Negative มา จิตสามารถที่จะขับไล่ออกไป สามารถจะเปลื้องตัวออกมาเสียจากอิทธิพลของ Positive หรือ Negative เราก็มีจิตที่ มั่นคงที่สุด จะเรียกว่า มี equilibrium ที่สุด ไม่หวั่นไหวตาม Positive หรือ Negative แล้วเราก็มีจิต เป็นอีกจิตนะ ไม่ใช่เรานะ จิตนะมีกำลังมากที่สุด เราสามารถที่จะให้ไม่มีอะไรมาครอบงำจิตได้ จิตเอง เดี๋ยวนี้มาถึงขนาดที่จะเป็นอิสระที่สุด จะเห็นได้ว่า กำลังสมาธิมีมากเหลือเกิน ในจิตอย่างนี้ สติก็มีมาก สัมปชัญญะก็มีมาก ปัญญาก็ไม่น้อย มาถึงขั้นนี้แล้ว เรามีธรรมะ ๔ อย่างนั้นไม่น้อยทีเดียว และจะมีมาก ต่อไปถึงขั้นสุดท้าย ที่สุดขั้นสุดท้าย
ทีนี้เราก็มาถึงหมวดที่ ๔ หมวดสุดท้าย ซึ่งเป็นหมวดที่สำคัญที่สุด หรือเป็นใจความสำคัญของ อานาปานสติทั้งหมด คือหมวดธรรมานุปัสสนา รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ๆ ๆ ทุกอย่าง ทุกแง่ทุกมุม เป็นปัญญาถึงที่สุด มีความรู้ที่เรียกว่าปัญญาถึงที่สุด เกี่ยวกับธรรมะทุกอย่างทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัจจธรรมะหรือ Law Nature นี่รู้อย่างยิ่ง เพราะว่าเราได้สังเกตความเป็น อนิจจัง ๆ ๆ มาตั้งแต่ต้น ของการทำอานาปานสติภาวนา ตั้งแต่หมวดที่ ๑ มาก็เห็นความอนิจจังของทุกสิ่ง ๆ ๆ มาเห็นอนิจจังกันให้แรงที่สุดในขั้นนี้ ปัญญามันจะสูงสุด
เดี๋ยวนี้ก็มาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า อนิจจัง ๆ Impermanent ให้ดี ๆ ให้รู้จักเป็นอย่างยิ่ง เป็นความจริงสูงสุด ของสิ่งทั้งปวง เราไม่ควรจะมองอนิจจัง Impermanent ว่าเป็น Positive เพราะมันไม่น่ารักอยู่แล้ว มันอนิจจัง มันไหลเรื่อย แต่เราก็ไม่ควรมองมันว่าเป็น Negative เพราะว่า เราแก้ไขได้ ความเป็นอนิจจังนี่ เราสามารถจะป้องกัน แก้ไข ต่อสู้ ต้านทาน ไม่ให้เกิดความทุกข์แก่เราได้ แม้แต่อนิจจังก็อย่าให้มองไปเป็น Positive หรือ Negative เลย ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ก็อย่าไปมองมันเป็น Positive หรือ Negative เลย นี่เรียกว่า เห็นอนิจจังที่ถูกต้องแล้ว มันจะเกิดความเฉยได้ ในทุกสิ่งที่จะมาหลอกให้เราเกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ เห็นอนิจจังให้ถึงที่สุดอย่างนี้
เราควรจะมองเห็นแง่ดี Optimistic view ของอนิจจัง ๆ กันบ้าง มันมีส่วนดี ถ้ามันไม่เปลี่ยนแปลง มันคงที่ เราก็เปลี่ยนไม่ได้ เปลี่ยนอะไรไม่ได้ เราก็เป็นทุกข์ตลอดการเปลี่ยนไม่ได้ หรืออะไร ๆ มันก็คงที่หมด มันเปลี่ยนไม่ได้ เราก็ทนไม่ไหวเหมือนกัน นี่เพราะมันเปลี่ยนได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนที่เราไม่ต้องการ ให้มันเป็นที่เราต้องการได้ นี่ก็ควรจะขอบใจอนิจจัง ที่ทำให้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ควรจะมีควรจะได้ ควรจะปรารถนาได้ คือเปลี่ยนจากทุกข์ ไปเป็นไม่มีความทุกข์ได้ นี่เห็นอนิจจังว่า มันก็มีค่า หรือมีความหมายในการช่วยเราสำเร็จในการที่เราจะเหนือ ชนะเหนือบวกและลบได้เหมือนกัน ถ้าตายตัวคงที่แล้ว เราก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วเราก็ไม่ต้องทำอะไร มันก็ไม่มีความหมายอะไร
ปัญญา ๆ มารู้เรื่องอนิจจัง แล้วก็เป็นปัญญาที่ถึงระดับสูงแล้ว ระดับสูงจะไปในสูงสุดได้โดยแน่นอน ปัญญาชั้นแรกจะต้องเห็นอนิจจัง คือเปลี่ยนเรื่อย ทุกอย่างเปลี่ยน และเราต้องอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยน เราต้องอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนเรื่อย มันก็มีปัญหาและมีความทุกข์ นี่เพราะเราต่อต้านไม่ได้ ไม่มีอะไรต่อต้านได้ มันต้องเป็นไปตามสิ่งที่เปลี่ยนและมีความทุกข์ นี่คือว่าไม่มีสิ่งที่ควรจะเรียกว่า ตัวตน ที่ต่อต้านอนิจจังและทุกขังได้ เพราะเหตุฉะนั้นจึงเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตน ขอย้ำสั้น ๆ ว่า มันเปลี่ยนเรื่อย อยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนเรื่อย มันเป็นความทุกข์ และเมื่อไม่มีอะไรที่จะไปต่อต้านมันได้ ก็เป็นอนัตตากันทั้งหมด แม้แต่จิตนี้มันก็ต่อต้านไม่ได้ มันก็เป็นอนัตตา นี่เห็นอนัตตาอย่างนี้ ยอดสุดของปัญญา ของการเห็นความจริงของ Natural Law, Natural Thing
เมื่อเราเข้าถึงอนัตตา เห็นแจ้งอนัตตา แล้วความเป็นบวกหรือความเป็นลบก็มีไม่ได้ ในความเป็นอนัตตา อนัตตาเป็นบวกไม่ได้เป็นลบไม่ได้ เราอยู่ในปัญญาเห็นอนัตตาและความเป็นบวกหรือเป็นลบ ก็ไม่ครอบงำจิตใจของเรา เดี๋ยวนี้เรามี อตัมมยตา คำสำคัญที่สุด จิตอยู่ในภาวะที่อะไรจะมาปรุงแต่งให้เป็นบวกเป็นลบไม่ได้เรียก อตัมมยตา จิตอยู่ในฐานะที่อะไรจะมาปรุงให้เป็นบวกเป็นลบไม่ได้นี่เราได้สิ่งนี้มา ปัญหาก็หมดแหละ ไม่มีความเป็นบวกเป็นลบอีกต่อไป
เดี๋ยวนี้เราก็เห็นได้แล้วว่า เรามีธรรมะ ๔ อย่าง จากอานาปานสติ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ทั้ง ๔ อย่าง มีครบบริบูรณ์ เพราะอานาปานสติ เราก็มี ๔ อย่างนี้ ไปใช้ในขณะแห่งผัสสะ ในระยะแห่งผัสสะ ไม่ให้ผัสสะโง่ ก็ไม่มีเวทนาโง่ ตัณหาโง่ ก็ไม่มีความทุกข์ นี่เรามีได้โดยอานาปานสติ ทำให้มี สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สติ ปัญญา สัมปชัญญะ วิริยะ ควบคุมกระแสแห่งความทุกข์ได้ นี่คือเรามีธรรมะได้โดยวิธีอย่างนี้ เรามีธรรมะได้โดยการกระทำอย่างนี้ แล้วก็จบการบรรยายในวันนี้ ขอขอบคุณการเป็นผู้ฟังที่ดีตลอดเวลา