แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วมา เราได้พูดกันถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ส่วนในครั้งนี้ เราจะได้พูดกันถึงตัวธรรมะ เอง ขอให้ทำความเข้าใจให้มันเนื่องกัน เรารู้จักประโยชน์ของมันก่อนเพื่อให้สนใจ แล้วเราก็อยากจะรู้ยิ่งขึ้นไป จึงรู้ตัวธรรมะ และการที่จะปฏิบัติธรรมะต่อไปอีก
สิ่งที่แปลกประหลาดที่ท่านควรจะทราบไว้ด้วยก็คือว่า คำว่าธรรมะนี้ เราจะต้องเรียกโดยภาษาอินเดียโบราณ คือภาษาบาลีหรือสันสกฤต เมื่อเราไม่อาจจะแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอะไร ในปัจจุบัน แม้แต่ในภาษาไทยในเมืองไทยนี้ ก็ต้องเรียกว่า ธรรมะ ๆ ไม่แปล ขอให้รู้จักคำว่า ธรรมะ นี้ มันแปลเป็นภาษาอื่นได้ไม่สมบูรณ์ แม้จะแปลได้ก็ไม่สมบูรณ์ เลยเรียกว่า ธรรมะ ๆ ด้วยภาษาเดิมของเขา ความหมายของคำว่า ธรรมะ มันแปลว่า ทรงไว้ ๆ ยกขึ้นไว้ ถือขึ้นไว้ ทรงไว้ ที่นี้มันทรงไว้ ทั้วตัวมันเอง ทรงไว้ และก็มันทรงผู้ที่มีธรรมะด้วย ผู้ใดมีธรรมะ ธรรมะก็จะทรงตัวบุคคลนั้นไว้ด้วย แปลว่า ทรงไว้ ๆ ทรงไว้ทั้งตัวมันเอง และทรงไว้ทั้งตัวผู้ที่มีธรรมะ ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ท่านลองคิดดูสิว่า ทรงตัวเองด้วย ทรงผู้ที่มีธรรมะด้วย สิ่งนั้นจะเรียกใน ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน หรือภาษาอะไร ว่าอะไร ถ้าท่านสามารถจะหาคำมาได้ ก็ดี เดี๋ยวนี้เราไม่อาจจะหามาได้ เราใช้คำว่า ธรรมะ ๆ
ทีนี้ ที่ว่า ทรงไว้ ๆ มันหมายความทั้ง ๒ อย่าง คือทรงไว้ ไม่ให้ตาย ๆ เกอไว้ (นาทีที่ 6.35) นี่ก็ได้ ทีนี้ทรงไว้ ไม่ให้มีความทุกข์ คือไม่ให้พลัดลงไปในความทุกข์ นี่ก็เรียกว่า ทรงไว้ บางทีก็ใช้คำว่า ให้รอด รอด ก็เหมือนกันแหละ รอดตายด้วย รอดจากความทุกข์ ทรงไว้ไม่ให้ตาย ทรงไว้ ให้ไม่เป็นทุกข์ นี่ที่ว่าทรงไว้ ๆ คำนี้ มีความหมายอย่างนี้
ทีนี้เมื่อเรามองดูโดยภาษา โดยคำ โดยภาษา มันก็บอกได้แต่ประโยชน์ ๆ ของมัน ยังไม่ได้บอกให้ชัดลงไปว่า มันคืออะไร เราจะต้องรู้ว่า มันกว้างกว่านั้น มันกว้างกว่าที่กล่าวมาแล้วว่า ทรงไว้ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ธรรมะ ๆ คำนี้ เมื่อพูดถึงทรง มันทรงตัวมันเอง ๆ แล้ว มันก็หมายถึง ทุกสิ่ง ๆ ไม่ยกเว้นอะไร เพราะว่ามันทรงตัวมันเองไว้ได้ ถ้ามันเป็นชนิดที่ว่า มีเหตุมีปัจจัย มันก็อยู่ด้วยเหตุด้วยปัจจัย ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย มันก็อยู่ ทรงตัวเองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ถ้ามันเปลี่ยนแปลง มันก็มีการเปลี่ยนแปลง เป็นทรงตัวมันเอง ทรงตัวมันเองไว้อยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง มันก็ทรงไว้ด้วยการไม่เปลี่ยนแปลง จึงเห็นได้ว่าทุกอย่างไม่ยกเว้นอะไร จะเรียกมันว่า phenomena หรือ noumenon ก็สุดแท้เถอะ มันมีความหมายที่ว่า มันทรงตัวอยู่ทั้ง ๒ อย่าง ทรงตัวมันเองอยู่ได้ ไม่มีอะไรที่จะไม่รวมอยู่ในความหมายนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงหมายถึง ทุกสิ่ง ๆ ที่มนุษย์อาจจะรู้จักได้ ที่อยู่ในรูปลักษณะของวัตถุ ที่เป็นประเภท physical ก็ดี ที่อยู่ในรูปของจิตใจ mental ก็ดี ยิ่งไปกว่านั้น เป็นความละเอียด เป็นภาวะของสติปัญญา ของจิตใจ ที่จะเรียกว่า spiritual ก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ ก็ยังคงเรียกว่า ธรรมะ ๆ เสมอกัน แม้แต่สิ่งที่ไม่มีตัวมีตน ที่เราเรียกกันว่า เวลา ๆ นี้ ก็ยังรวมอยู่ในคำว่า ธรรมะ ๆ ด้วยเหมือนกัน เมื่อพูดถึงขนาด ไม่จำกัดขนาด เป็น Partical ของอะตอม หรืออะตอม หรืออะไร จนกระทั่งใหญ่ไปทั้งหมดจักรวาล จะเล็กจิ๋ว ก็อยู่ใน ความหมายเดียวกัน ความหมายอย่างเดียวกันว่า สิ่งซึ่งทรงตัวมันเองอยู่ได้ คือธรรมะ นั่นแหละเราจึง ไม่อาจจะแปล หรือหาคำแปลในภาษาใด ๆ มาใช้ให้ตรงกันได้ แต่เดี๋ยวนี้เราก็ฝืนใช้ ขอใช้ไปที คือใช้คำว่า Nature ท่านทั้งหลายจะรู้ได้ดีว่ามันไม่มีความหมายสมบูรณ์ ตามความหมายของคำว่า ธรรมะ ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่เราก็ต้องจำเป็นที่จะใช้คำว่า Nature
ท่านรู้อยู่ดีแล้วว่าในภาษาธรรมดาของท่านนั้น มันก็มี Nature บางทีก็มี Non Nature บางทีก็มี Super Nature อย่างนี้ไม่มีในภาษาธรรมะ เป็นธรรมะเสมือน เหมือนเท่ากันหมดเลย นี่ขอให้รู้ความหมายของธรรมะไว้อย่างนี้ ไม่มี super ไม่มี normal ไม่มีอะไร ถ้าท่านเห็นว่ามันเป็น Nature หรือธรรมะอย่างนี้แล้ว ท่านจะได้เห็นว่ามันมิใช่ soul หรือ self หรือ ego อะไรที่ไหน ไม่มี ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ego หรือว่า soul หรือว่า self ต้องการให้เห็นชัดลงให้หมดเลยว่า ทุกสิ่งเป็นสักแต่ว่า Nature nature หรือ ธรรมชาติ เราต้องการจะให้ท่านเห็นมันว่า มันเป็น nature หรือธรรมะ ทุกอย่าง อย่างนี้ เพื่อจะได้เห็นความจริงที่ว่า มันไม่มี soul คือ เป็นอนัตตา ๆ แม้จะเรียกมันว่า soul มันก็ not soul หรือจะเรียกอัตตา ก็ not อัตตา เป็นอนัตตา not self, not soul, not ego เพราะ ถ้าเห็นอย่างนี้แล้ว มีประโยชน์ที่สุด ท่านจะไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานว่า ตัวตน แล้วท่านจะ ไม่มีความทุกข์เลย ๆ เพราะเห็นตัวจริงของสิ่งที่เรียกว่าธรรมะหรือ nature pure nature อย่างความหมายนี้ จะต้องดับทุกข์ได้
เอาละ, เราจำเป็นที่จะต้องใช้คำนี้ ทั้งที่บอกมาแล้วว่า มันก็ไม่ถูกต้อง หรือสมบูรณ์นัก แต่เราจำเป็นจะต้องใช้คำว่า nature ไม่มีคำอื่นใช้ ขอให้คำว่า nature คำนี้ มีความหมายพิเศษ พิเศษก็แล้วกัน Bhuddist Nature อะไรก็แล้วแต่จะเรียก ขอเรียกว่า nature nature โดยไม่มีคำอื่นจะเรียก จึงเรียกธรรมะ ๆ ในความหมายแรกที่สุด คือหมายถึงสิ่งทั่วไปๆ ทั้งหมดว่า nature คำเดียว
ทีนี้ nature ที่เราจะต้องรู้จักมากเป็นพิเศษ ก็คือ nature ที่เป็นภายใน ๆ ตัวเรา จะเป็นภายนอก ไม่สำคัญ เอาไว้ก่อนก็ได้ ที่เป็นภายในของเรานี่ วัตถุร่างกาย นี้ก็ดี ระบบฟิสิกส์ ระบบ mentality แม้แต่ระบบ spirituality ก็เป็น nature หมด ดูให้ดี ทุกที่ตรงไหน ทางร่างกายนี้ หมด จิตใจ ก็หมด ความรู้ความคิด สติปัญญา อะไรก็ด้วย มันเป็น nature ไปหมด แล้วก็อยู่ภายในซึ่งจะต้องรู้จักก่อน ให้ดีที่สุด ภายนอกเก็บไว้ก่อน ซึ่งมีก็เหมือนกันแหละ ของเราเป็นอย่างไร ของผู้อื่นก็เป็นอย่างนั้น นี่คือ natureที่เป็นภายใน
ทีนี้เราก็จะให้เล็ง ถึงทั่วไปหมดทุกระดับ ระดับบุคคล มนุษย์นี้ก็ดี หรือว่าระดับเทวดาด้วยก็ได้ ถ้ามันมี มันไม่แปลกอะไร และก็ลงไปถึง ระดับสัตว์เดรัจฉาน และลงไปถึง ต้นไม้ ๆอย่างนี้ กระทั่งถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็น unanimated เช่น ดิน หิน อย่างนี้ เพราะมันเป็น nature nature ทั้งนั้น ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า nature ในความหมายที่ ๑ ๆ ซึ่งเราจะต้องกำหนดไว้
ทีนี้ ความหมายที่ ๒ ก็คือ law of nature ก็ยังคงเป็น nature หรือเกี่ยวข้องกับ nature แม้จะเป็น law of nature ก็ยังเป็นเรื่องของ nature เพราะความหมายที่ ๒ ของคำว่า ธรรมะก็คือ law of nature truth of nature ที่ควบคุม nature natural phenomenal ทั้งหลาย มันถูกควบคุมอยู่ด้วย law of nature ในพุทธศาสนาเราถือว่า เป็น law เป็นกฎ แม้แต่ law นี่ก็เป็นธรรมะ อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน พวกอื่นอาจจะว่าเป็นพระเจ้าก็ได้ เป็นพระเจ้าควบคุม หรือเป็นในฐานะ law of nature เป็นพระเจ้าไปเสียก็ตามใจเขา แต่ในธรรมะพุทธศาสนานี่ law of nature ก็เป็นของธรรมดา เป็น natureด้วยเหมือนกัน ธรรมะในความหมายที่ ๒ คือ law of nature
Nature ทั่วไป nature ในความหมายทั่วไป ชนิดไหนก็ตาม มันมี law of nature ควบคุมอยู่ เราไม่อาจจะหาพบ nature ซึ่งปราศจาก law of nature ควบคุมอยู่ ขอให้ท่านมองให้เห็นให้ชัดว่า ไม่มีnature ในรูปไหนที่ไม่มี law of nature ควบคุมอยู่ เราต้องรู้จัก law of nature ให้ดีที่สุดด้วย เมื่อทุกอย่างถูกควบคุมอยู่ด้วย law of nature อย่างนี้แล้ว มันก็เกิดความหมายที่ ๓ ขึ้นมา ความหมายที่ ๓ ซึ่งหมายถึง duty duty in accordance with law of nature duty toward law, duty in accordance with law of nature นี่คือความหมายที่ ๓ ของคำว่า ธรรมะ duty duty
ขอให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า duty ว่า ถ้าเราไม่มี duty ไม่ทำ duty เราตาย หรือว่าจะต้องเป็นทุกข์เหมือนกับตาย ถ้าไม่มี duty เราจะต้องตาย หรือว่าเป็นทุกข์เท่ากับตาย หรือตายเสียดีกว่า ฉะนั้น duty duty นี่เป็นความหมายที่ ๓ ของคำว่า ธรรมะ ซึ่งเราจะมาเรียน มาศึกษาปฏิบัติกันอยู่ตลอดเวลานี่ มันในความหมายที่ ๓ คือ duty นี่ ที่ถูกต้องตาม law of nature และเราก็สามารถที่จะมีชีวิต แล้วก็ไม่ตาย แล้วก็ไม่มีความทุกข์ เพราะเรามี duty ถูกต้อง
ทีนี้ duty มันก็จะต้องมี ผลที่เกิดขึ้นจาก duty ดังนั้นเราจึงถือโอกาสยอมรับผลของ duty จะเป็น result หรือเป็น benefit หรืออะไรตามของ duty นี่ ขึ้นมาเป็นธรรมะ อีกความหมายหนึ่ง เป็นความหมายที่ ๔ ของคำว่า ธรรมะ คือ result from duty in accordance with law of nature, fruit, fruit of duty นี่ความหมายที่ ๔ เราเลยได้เป็น ๔ ความหมาย การปฏิบัติอานาปานสติที่เรากำลังทำอยู่นี่ มันเป็น duty เพื่อจะเอาชนะความทุกข์ เมื่อเราปฏิบัติสำเร็จเราก็จะมีผล ออกมาจากอานาปานสติ นี่ก็เรียกว่า ผลของการปฏิบัติ เห็นได้ว่ามันเกี่ยวข้องกันอยู่กับคนเรา มนุษย์เรานี่ต้องเกี่ยวข้องกับธรรมะทั้ง ๔ ความหมาย แล้วก็อย่าลืมว่าทั้ง ๔ ความหมายมันก็อยู่ในเรา เราทั้งคนทั้งตัวนี่ จะมีครบทั้ง ๔ ความหมาย ที่เป็น nature ที่เป็น law of nature duty แล้วก็ fruit of duty มันมีอยู่ในตัวเรานี่ ขอให้มองให้เห็น ให้ปฏิบัติจนให้มองให้เห็น ว่าทั้ง ๔ ความหมายของคำว่า ธรรมะ มีอยู่ในตัวเรา
แม้จะลำบากบ้าง ก็อยากให้ได้ยินได้ฟังว่า ความหมายที่ ๑ เราเรียกว่า สภาวธรรม สภาวธรรมแปลว่า ธรรมชาติที่เป็นเอง สะ-เอง ภาวะ-เป็น สภาวะแปลว่า เป็นเอง เราเรียกว่า สภาวธรรม คือ ธรรมชาติทั้งหลาย nature ทั้งหลายทั้งปวง เป็นได้เอง ทรงตัวอยู่ได้เอง เลยเรียกว่า สภาวธรรม อันที่ ๒ เราเรียกว่า สัจธรรม หรือ truth The law of the truth of nature มันจะมีอยู่ในทุก ๆ nature และมันมี อำนาจ ๆ ที่จะบังคับให้สิ่งทั้งปวง ทำให้ถูกต้องตามกฎของมัน ก็เลยเรียกว่า หน้าที่ หรือ ปฏิปัติธรรม แปลว่า สิ่งที่ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ ไม่ยอม ไม่ยกเว้น ต้องทำ นี่เรียกว่าปฏิบัติธรรม ทำเสร็จแล้ว มันก็เกิดผลที่เรารู้ รู้ได้ด้วยตนเอง ที่ไปเรียนเข้าด้วยตนเอง เรียนแล้วด้วยตนเอง นี้ก็เรียกว่า ปฏิเวธธรรม แปลว่า รู้แจ้งได้ด้วยตนเอง ภาษาบาลี ๔ คำ มีความหมายมาก สภาวธรรม ธรรมชาติที่เป็นเอง สัจธรรม truth หรือกฎของธรรมชาติที่ควบคุมอยู่ และก็ปฏิบัติธรรม duty ที่ต้องปฏิบัติตามกฎ ปฏิเวธธรรม ผลที่ได้จะรับโดยประจักษ์แก่ใจนี่เรียกว่า ผล ธรรมะมี ๔ ความหมายอย่างนี้ ขอให้ท่านรู้จัก ธรรมะ ๆ ทั้ง ๔ ความหมาย หรือ ๔ ธรรมะ ก็เรียกได้ หรือ ๔ ความหมายของธรรมะ ก็เรียกได้ เพราะว่า มันเป็นสิ่งที่ เผชิญหน้า ๆ encounter เผชิญหน้ากันอยู่กับเราทุกคน ๆ ถ้าเราจัดการกับมันไม่ถูกต้อง เราจะต้องตาย ๆ ตายทางกาย หรือตายทางวิญญาณ ทางจิตใจ ก็ได้ เราจะต้องตาย เราต้องต่อสู้เพื่อจัดการกับธรรมะนี่ ทั้ง ๔ ความหมาย ให้หมดปัญหา ให้ลุล่วงไปด้วยดี ขอยืนยันว่า ความรู้ของอานาปานสติภาวนา จะช่วยให้หมดปัญหาได้ทั้ง ๔ ความหมาย
ลมหายใจ เป็นธรรมะ ข้อที่เรียกว่า เป็นธรรมชาติ ๆ เมื่อเราต้องหายใจ เรามีการหายใจที่หล่อเลี้ยงชีวิตเราอยู่ ไม่อย่างนั้นเราจะต้องตาย นี่เรารู้ความหมายที่ ๒ ของธรรมะ law of nature ในตัวเรา แล้วเราก็ต้อง บริหาร ๆ ให้ชีวิตร่างกายทุกสิ่งทุกอย่าง บริหารลมหายใจ บริหารร่างกายนี่ให้มันถูกต้อง ๆ ดีที่สุด ความหมายที่ ๓ จัดการอย่างนี้ แล้วเราก็มีความสบาย ความสุขความสบาย ความไม่มีปัญหาใด ๆ ปรากฏแก่เรา ขอให้เห็นชัดทั้ง ๔ ความหมาย แล้วเราก็ทำให้ได้ในความหมายที่จำเป็นที่จะต้องทำ คือ ผลของ duty จะต้องทำให้ได้ ต้องทำให้มีผลเกิดขึ้น เราจะมีชีวิตใหม่ ที่ไม่มีความทุกข์
พูดกลับอีกทีหนึ่ง ก็พูดว่า เมื่อท่านทำอานาปานสติได้ถูกต้อง ท่านจะรู้จักธรรมะทั้ง ๔ ความหมาย รู้จักธรรมชาติ รู้จักกฎของธรรมชาติ รู้จักหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ รู้จักผล ที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติอานาปานสติ ขอให้ตั้งใจให้ดี ให้รู้จักธรรมะทั้ง ๔ ความหมาย แล้วธรรมะทั้งปวงจะอยู่ในกำมือของท่าน จะมาอยู่ในอำนาจของเรา จะมาอยู่ในกำมือของเรา ที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ใช่ทำแต่เฉพาะเดี๋ยวนี้ เราจะต้องทำตลอดไป จนตลอดชีวิต เราจะต้องไม่มีปัญหาเกี่ยวกับธรรมะ ๔ ความหมาย ถ้าเรามี เรารู้ เราใช้ เราปฏิบัติถูกต้องครบทั้ง ๔ความหมาย ชีวิตของเราก็จะเป็นชีวิตที่อยู่เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ เหนืออะไรโดยประการทั้งปวง สมควรที่จะเรียกว่า ชีวิตที่เราพบใหม่ นี่คือวิถีทางแห่งชีวิตที่เราควรจะมี
ทีนี้ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องทราบไว้แต่เดี๋ยวนี้ ถือว่าเป็นการล่วงหน้า และขอร้องให้ท่านทั้งหลายสนใจว่า ธรรมะ ๆ ทั้ง ๔ ความหมาย ไม่มีความเป็นบวกหรือความเป็นลบ โดยธรรมชาติแท้ ๆ ธรรมะทั้งปวงไม่มีความเป็นบวกหรือมีความเป็นลบ มันเป็นธรรมชาติ ตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ที่มันเกิดความหมายเป็นบวกเป็นลบ นั่นมัน คน ๆ รู้สึก มนุษย์รู้สึก แล้วมนุษย์บัญญัติ แล้วก็ไปบัญญัติเอาที่ fruit of duty ว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ แต่ที่จริงมันไม่เป็นบวก มันไม่เป็นลบ แล้วคนเราว่าเอาเอง ถ้าถูกใจเรา เราว่าเป็นบวก ไม่ถูกใจเรา เราว่าลบ แล้วเราก็ ยึดบวกยึดลบ จนมีความทุกข์มากมาย ถ้าเราเข้าถึงความจริงของธรรมะ ๆ แล้วมันไม่มีบวกไม่มีลบ มันจะช่วยให้เราไม่ต้องมีบวกไม่ต้องมีลบ แล้วเราก็ไม่มีปัญหา ขอให้สนใจคำว่า ไม่มีบวกไม่มีลบในสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ หรือธรรมชาติ ขอให้ดูให้จริงจังที่ตัวเราเอง ถ้าเรายังโง่ ยังหลง ยังไม่รู้ หรือ ยังหลงต่อบวกหรือลบ เราก็จะไม่เป็นอิสระแก่ตัว เรียกว่า เป็นทาส ๆ ก็ได้ ของบวกของลบ เราจะต้องหัวเราะหรือร้องไห้ เราจะต้องดีใจหรือเสียใจ เราจะต้องชอบหรือไม่ชอบ อย่างที่ไม่มีอะไรจะช่วยได้ นี่คือเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของบวกและลบ ถ้าเราเข้าถึงความจริงของธรรมะ ข้าถึงตัวจริงของธรรมะแล้ว มันไม่มีความเป็นบวกเป็นลบ เราก็จะตัดความโง่ ความเข้าใจผิดเรื่องบวกเรื่องลบออกไป แล้วเราก็จะอยู่สบาย เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและลบ นี่สิ่งสูงสุดอยู่ที่นี่ บวกหรือลบ มันก็ทำให้เรา ร้องไห้หรือ หัวเราะ ให้ glad หรือ sad เพราะเรามันไปหลงบวก หลงลบ ถ้าเราเลิกโง่ ไม่หลงบวก หลงลบ สิ่งเหล่านี้ มันก็ไม่มี ก็มีความ ปกติ ๆ หรืออิสระ ไม่มีอะไรมาทำให้เรา glad หรือ sad หัวเราะหรือร้องไห้ ได้ ธรรมะนี่สูงสุดเรียกว่า อตัมมยตา ๆ แม้จะฟังยาก ก็ขอให้ช่วยจำไว้เถิด จำเป็นมากในอนาคต อตัมมยตา ภาวะของจิตที่ไม่มีอะไรมาทำให้บวกหรือลบ ได้อีกต่อไป ถ้าท่านไม่ต้องการ ๆ เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ถ้าท่านไม่ต้องการสิ่งนี้ ถ้าท่านต้องการสิ่งนี้ มาปฏิบัติธรรมะ มันก็มีให้อย่างนี้ ถ้าท่านไม่ต้องการความเหนือบวกเหนือลบ เราไม่รู้จะช่วยท่านอย่างไรหรือไปทำไม ขอให้เข้าใจข้อนี้ด้วย
ท่านทั้งหลายคงจะเคยได้ยินคำว่า holy man the holy man ท่านอาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้ตามใจ แต่เราจะให้ท่านรู้จัก the holy man คือ เป็นบุคคลที่มีอตัมมยตา ไม่มีความเป็นบวกหรือความเป็นลบ ไม่มีอะไรมาทำให้ท่านมีความรู้สึกเป็นบวกหรือความเป็นลบ ท่านจึงอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง เราจึงเรียกท่านว่า holy man ท่านอาจจะไม่ชอบเพราะเห็นว่ามันเกินไปนักก็ได้ แต่จำเป็นอย่างยิ่ง เราไม่มีทางอื่นเลือก เราต้องเดินตามไป เราจะต้องเดินตามรอย the holy man เพื่ออยู่เหนืออิทธิพลของบวกและลบ คือ มีอตัมมยตา เราเป็นคนธรรมดา common man เราก็อยู่ใต้อิทธิพลของบวกและลบ พอสิ่งที่น่ารัก มาให้เราเห็น เราก็รัก พอสิ่งที่ไม่น่ารักมาให้เราเห็น เราก็ไม่รัก เราโกรธ เราเกลียด ถ้าเราไปดูกายกรรมมันแปลกประหลาด เราก็ตื่นเต้น ๆ ถ้าเราไปดูซากศพ เราก็ เศร้าๆ นี่เดี๋ยว glad เดี๋ยว sad เดี๋ยว glad เดี๋ยว sad ถ้าเราเป็นคนธรรมดา ขอให้เราคิดเถิดว่า มันไม่มีทางอื่นหรอก ถ้าเราจะได้สิ่งที่ดีที่สุด เราจะต้องได้สิ่งนี้ คือความที่ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของบวกและลบ ขอให้เราเห็นธรรมะแท้ ๆ ว่า ไม่บวกไม่ลบ และเราก็จะไม่เกิดความรู้สึกที่จะทำให้เป็นบวกหรือลบ เราจะไม่ต้องหัวเราะไม่ต้องร้องไห้ และ ไม่ต้อง glad ไม่ต้อง sad ไม่ต้องมีปัญหา นี่มันมีอยู่อย่างนี้ จะชอบหรือไม่ชอบความจริงของธรรมะ มันมีอยู่อย่างนี้ ท่านจะพอใจหรือไม่พอใจ มันก็เป็นเรื่องของท่าน
มีคำพูดคำหนึ่ง ที่มีค่ามาก สูงมาก แต่อาจจะไม่มีใครชอบกันนัก ก็ได้ ขอให้ฟังไว้ เถิดว่ามีอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า คงที่ ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คงที่ ๆ นี่เป็น qualification ของ a holy man แหละ เปลี่ยนไม่ได้ จะไปรักไม่ได้ จะไปโกรธไม่ได้ จะไปเกลียดก็ไม่ได้ จะไปกลัวไม่ได้ จะเห็นสิ่งที่น่ารัก ก็ไม่รัก เห็นสิ่งน่าเกลียด ก็ไม่เกลียด สิ่งน่าเศร้า ก็ไม่เศร้า ก็มีความคงที่ ท่านอาจจะไม่ชอบ เพราะบางคนว่า นี่ abnormal เสียแล้ว ถ้าคงที่ เขาชอบให้มันเป็นไปตามบวกตามลบนั่นแหละ คือ ธรรมดา ถูกแล้ว พูดอย่างคนธรรมดา ไม่คงที่คือธรรมดา ถ้าคงที่ เป็นผิดธรรมดา แต่ที่แท้ ความที่ไม่คงที่นั้นแหละ มันคือไม่ใช่ธรรมดา ถ้าคงที่ มันจะไม่เปลี่ยนแปลง มันจะคงตัวอยู่ มันจะชอบหรือไม่ ถ้าคงที่ ๆ ไม่ต้องรักหรือเกลียด ไม่ต้องดีใจไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องรู้สึกว่าฉันแพ้ ฉันชนะ ฉันขาดทุน ฉันกำไร ไม่มีความรู้สึกทั้งนั้น คงที่ ในจิตใจเยือกเย็น เป็นอิสระอยู่เสมอ เราหลงบวกลบ เราก็สูญเสียความคงที่ เราไม่หลงบวกหลงลบ เราจะมีความคงที่ ถ้าชอบใจความคงที่ จงสนใจวิธีที่จะอยู่เหนือบวกเหนือลบ ที่เราจะได้ศึกษากันต่อไป คุณสันติกโร ช่วยอธิบายคำว่า คงที่ สำหรับคนธรรมดา ด้วยคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า equilibrium stillness นั่นมันน่ากลัวนะ ใช้คำธรรมดา อีกทีด้วยคำว่า equilibrium ลดลงมา ๆ ให้ธรรมดา เราเห็นผู้หญิงสวยหรือผู้ชายสวยเดินมา ก็ equilibrium เห็นซากศพ ก็ equilibrium ถ้าเราไม่มี equilibrium เราจะสูญเสียความคงที่ความทรงตัว เราจะสูญเสียสติสัมปชัญญะ เราจะคิดผิด ตัดสินใจผิด ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นขอให้รักษา equilibrium ไว้เป็นพื้นฐานสำหรับชีวิต ที่จะมีปกติสุข นี่ก็คือประโยชน์ของการที่ไม่มีความเป็นบวกหรือความเป็นลบ ถ้าเราต้องการ activeness กัมมนียภาวะ activeness ของจิตมาก ๆ จิตต้องมี equilibrium ถ้าไม่มี equilibrium activeness จะไม่มีหรือจะสูญหายไป หรือจะมีอย่างไม่ถูกต้อง มันไปมีเป็นบวกเป็นลบเสีย ขอให้เรามีคุณสมบัติดี ๆ ของจิต คือ activeness ด้วยการมี equilibrium ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของบวกหรือลบ เราก็จะคิดได้ดี พูดได้ดี ทำงานได้ดี ถูกต้อง มีความถูกต้องโดยง่าย มันมีประโยชน์เหลือเกิน ที่ไม่อยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของบวกหรือลบ ตัวธรรมะแท้ ๆ ธรรมะจริง ๆ ธรรมะล้วน ๆ ธรรมะแท้ ๆ ทั้ง ๔ ความหมาย ไม่มีความเป็นบวก ไม่มีความเป็นลบ ธรรมะคือ ความไม่เป็นบวก ความไม่เป็นลบ เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือ ความไม่เป็นบวก ความไม่เป็นลบ เราจงรู้จักธรรมะคือ ธรรมชาติให้ดี ๆ แล้วเราจะไม่หลงด้วยความเป็นบวกหรือเป็นลบ ไม่มีอะไรมาทำให้หลงเป็็นบวกหรือเป็นลบ เราก็จะมียิ่งกว่า equilibrium ไปเสียอีก เหนือ equilibrium ไปเสียอีก จึงขอเสนอให้ท่านทราบไว้แต่เดี๋ยวนี้ว่า ธรรมะคือ สิ่งที่ไม่มีความเป็นบวก เป็นลบ ขอให้เข้าถึงหัวใจของสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ เถิด เราก็จะได้ ประสิทธิภาพ efficiency ชนิดนี้มา ขอให้รู้จักธรรมะในฐานะที่ไม่มีความเป็นบวกและเป็นลบ
Positive หรือ negative นี่ มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นมายา เป็น delusive positive ของคนนี้ อาจจะไม่เป็นของคนนั้น อาจจะเป็น negative ของคนนั้น มันจึงไม่ใช่เป็นของจริง มันเป็นตามความรู้สึกของคน ที่ว่า เขาอบรมจิตใจมาอย่างไร มีวัฒนธรรมอย่างไร อบรมมาแต่เล็กอย่างไร มันจึงมีความเข้าใจเป็นของเขาโดยเฉพาะ เช่น ดนตรีอันไพเราะ มันก็เป็น positive สำหรับมนุษย์ แต่มันไม่เป็น positive สำหรับสุนัข มันอาจจะเป็น negative มันหนวกหูมัน มันไม่อยากฟัง มันก็เป็น negative ของสุนัข positive negative อย่าไปยึดมั่นหมายมั่นให้มันตายตัว มันเป็นเรื่องที่เราต้องไปโง่ให้มัน แล้วมันจึงจะ เป็นขึ้นมาได้ เราต้องไปโง่ให้มัน พอ ๆ กันกับมันถึงจะเป็น positive หรือเป็น negative ขึ้นมาได้ เรามาเป็นผู้ชนะ เป็นผู้อิสระอยู่เหนือสิ่งที่หลอกลวงเหล่านี้เถิด มาปฏิบัติธรรมะให้อยู่เหนือบวกและลบเถิด
สรุปความว่า ธรรมะทั้ง ๔ ความหมาย ไม่มีความเป็นบวกหรือเป็นลบ เราจงเข้าถึงธรรมะ รู้ธรรมะ เข้าถึงตัวธรรมะ เราก็จะพบความที่ไม่ต้องเป็นบวก ไม่ต้องเป็นลบ ครั้นเราไม่มีความเป็นบวกเป็นลบ ไม่อยู่ใต้อำนาจของบวกลบแล้ว เราก็อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง เหนือปัญหาทั้งปวง ไม่มีอะไรมาทำให้เราเป็นทุกข์ได้ ขอยุติการบรรยาย ขอบคุณที่เป็นผู้ฟังที่ดีตลอดเวลา