แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เราจะเริ่มพูดกันถึง จะเริ่มพูดด้วยหัวข้อว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์ ถ้าท่านไม่มีความทุกข์ ก็ไม่มีเรื่องที่จะต้องพูด พระพุทธศาสนาก็มีพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ ถ้าท่านไม่มีความทุกข์แล้วก็ไม่ต้องพูด ถ้าท่านมีความทุกข์นั่นแหละ เราจึงจะมีเรื่องที่จะต้องพูดกัน จะในแง่ของ Sufferring โดยเฉพาะ หรือว่าจะในแง่ของ Dissatisfactoryness ทั่ว ๆ ไปก็ได้ เรียกว่า ความทุกข์
ที่ควรรู้ต่อไปอีกก็คือว่า ใครหรืออะไร ที่เป็นทุกข์ โดยหลักพุทธศาสนานี้ ไม่มี soul ไม่มีego หรือ soul มีแต่จิต และก็มีร่างกายพร้อมด้วยระบบประสาทอะไรครบถ้วน มีแต่ร่างกายกับจิต จิตกับร่างกาย รวมกัน ทำหน้าที่ได้อย่างประหลาด ๆ จนเราโง่ไปเองว่ามันเป็น soul หรือเป็นตัวตน ที่แท้ไม่มี soul มีแต่กายกับจิต จิตนั่นแหละเป็นผู้รู้สึกทุกข์ และก็ขอให้ทราบว่ามันทำงานร่วมกัน จนเป็นสิ่งเดียวกัน เราจะเรียกว่า body mind, mind body ก็ขอให้หมายความว่า สิ่งเดียวกัน ถ้าไม่มีจิต ร่างกายก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่มีร่างกาย จิตก็ทำอะไรไม่ได้ มันต้องรวมกันทั้ง ๒ อย่าง มันจึงจะทำอะไรได้ และทำได้แปลก ๆ จนเข้าใจไปว่ามัน เป็น soul เป็น self
ทีนี้ก็รู้ต่อไปว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตล้วน ๆ จิตล้วน ๆ ไม่มีความทุกข์ จิตล้วน ๆ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความรู้สึกที่เป็นทุกข์ จิตเดิมแท้ล้วน ๆ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ แต่แล้วมันก็เป็นทุกข์ เพราะมันมีสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ได้ เกิดขึ้นมาใหม่ ๆ แล้วจิตก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่มีกิเลสจิตก็ไม่เป็นทุกข์ จิตล้วน ๆ ไม่เป็นทุกข์ ทีนี้ตามธรรมดาทั่วไป มันมีกิเลสเกิด จึงเป็นทุกข์ ที่เรารู้ธรรมะ ก็เพื่อรู้วิธีที่จะทำไม่ให้กิเลสเกิด เมื่อกิเลสไม่เกิด มันก็ไม่เป็นทุกข์ เรื่องมันก็มีเท่านั้น
อย่างนั้นขอให้พยายามทำความเข้าใจว่า จิตมันคืออะไร กิเลสมันคืออะไร และมันทำให้เป็นทุกข์ได้อย่างไร สิ่งที่เรียกว่า self หรือ soul นั้น ไม่มี มันโง่ไปคิดว่ามี มันก็เป็นเรื่องไม่มี มันมีหลอก ๆ ทำความเข้าใจเรื่อง จิต ให้ดี และเรื่องกิเลส ที่จะเกิดกับจิตให้ดี และความทุกข์มันจะเกิดขึ้น ๓ คำนี้ สนใจให้มากเป็นพิเศษ คือจิต คือกิเลส คือความทุกข์
จิตล้วน ๆ ที่ไม่มีกิเลสนั้นนะ ก็พอจะสังเกตได้ แต่เราก็ไม่สังเกต บางทีเราก็ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า กิเลส และก็พอใจกิเลสไปเสียอีก แทนที่จะพอใจจิตล้วน ๆ ที่ไม่เป็นทุกข์ ขอให้พยายามสังเกตดูให้ดี เวลาที่จิตใจไม่รู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่มีอารมณ์อะไรมารบกวนจิตใจนี้ จิตนี้เรียกว่า มันยังเดิม ๆ อยู่ แต่มันมีขณะน้อยมาก เพราะว่ากิเลสมันมักจะเกิดขึ้นไปเสียเกือบจะตลอดเวลา ขอให้พยายามสังเกตว่า จิตล้วน ๆ จิตล้วน ๆ ไม่มีกิเลสนั้นเป็นอย่างไร ให้เข้าใจยิ่งขึ้นไป แล้วก็จะพอใจ และก็พยายาม รักษาไว้ ๆ ให้จิตมีสภาพอย่างนั้นเรื่อยไป ธรรมะจะช่วยได้ในข้อนี้ ช่วยรักษาจิตในสภาพเดิมไว้ได้ คือไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดทุกข์
ทีนี้เราก็จะมาพิจารณากันถึงข้อที่ว่า กิเลสเกิดขึ้นได้อย่างไร ๆ สมมติว่าเดี๋ยวนี้เรามีจิตว่าง ไม่มีกิเลส ทีนี้มันก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่างนี้ ในร่างกายนี้ ๖ อย่างนี้ ก็มีหน้าที่รับอารมณ์ข้างนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เข้ามา ยกตัวอย่างในทางตา พอตาเห็นรูป ก็เกิดการเห็นทางตาคือ จักษุวิญญาณ ๓ อย่างนี้ คือ ตากับรูป และจักษุวิญญาณ ทำงานร่วมกันอยู่ ก็เรียกว่า ผัสสะ ถ้าผัสสะไม่มีสติปัญญา นี่กิเลสจะเกิด ถ้าผัสสะมีสติปัญญา ไม่เกิด นี่หัวข้อย่อ ๆ อย่างนี้
เมื่อผัสสะไม่มีสติปัญญา มันก็เป็นผัสสะโง่ ผัสสะโง่มันก็คลอดเวทนา คือวิ่งออกมา เป็นเวทนาโง่ มันก็โง่กันหมด เพราะมันไม่มีสติปัญญา เมื่อผัสสะก็โง่ เมื่อเวทนามันก็โง่ นี่จิตมันไม่สติปัญญา มันก็ไม่รู้ มันก็หลงรัก เวทนาที่น่ารัก หลงเกลียด เวทนาที่ไม่น่ารัก ถ้าไม่น่ารัก หรือไม่น่าเกลียด มันก็สงสัย ไม่เข้าใจ มันโง่ นี่ความรัก ความไม่รัก หรือความหลง นี่เรียกว่า กิเลส มันเกิดมาจากผัสสะโง่ และเวทนาโง่ ขอให้รู้จักให้ดีที่สุด
จากเวทนาที่น่ารัก ก็เกิดกิเลสที่เราเรียกว่า ตัณหา ตัณหาก็ได้ ราคะ โทสะ โมหะก็ได้ พูดถึงว่า เวทนาที่น่ารัก มันก็เกิดกิเลส คือความรัก ที่เรียกว่าราคะ หรือโลภะ ถ้าว่ามันเป็นเวทนาที่ไม่น่ารัก มันก็เกิดกิเลส หรือตัณหาประเภทที่มันไม่รัก มันเกลียด มันโกรธ เรียกว่าโทสะบ้าง โกธะบ้าง ถ้ามันยังไม่แน่ว่าน่ารัก หรือไม่น่ารัก มันก็โง่ มันก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร มันก็สงสัย พะวงหลงใหลอยู่นั่นแหละ ก็เรียกว่าโมหะ โง่ หลงไม่รู้ เรียกว่า โมหะนี่ ราคะหรือโลภะนี่ มันรับเอามาเป็น positive โทสะ โกธะมันไม่รับเข้ามา มันผลักออกไปเป็น negative แล้วถ้ามันเป็น ไม่แน่ เป็นสงสัย มันก็เป็นระคนกันทั้ง positive และ negative จนไม่รู้ว่าจะเอาอะไร เหล่านี้เราเรียกว่ากิเลส แล้วกิเลสนี่จะทำให้จิตเป็นทุกข์
เมื่อเราเกิดกิเลสประเภทบวก คือ ประเภทราคะ หรือโลภะ มีความรัก มีความอยาก มีความต้องการนี่ มันจะเกิดความรู้สึกอีกอันขึ้นมา เรียกว่า กูผู้อยาก นี่ มายาล้วน ๆ ไม่มีตัวจริง แต่มีในความรู้สึกว่า กูผู้อยาก กูผู้รัก ถ้ามันเกิดกิเลสประเภทโทสะหรือโกธะ มันไม่ชอบ มันจะทำลาย มันจะตีให้ตาย มันมีความโกรธหรือโทสะเกิดขึ้น มันก็เกิดความรู้สึกว่า กู ๆ ๆ ผู้ไม่ชอบ ผู้โกรธ ผู้เกลียด ผู้อยากจะทำลาย ถ้ามันเกิดประเภทสงสัย ไม่รู้อะไรตามที่เป็นจริง มันก็เกิดกูผู้สงสัย ผู้ไม่รู้จะทำอะไร นี้เรียกว่าเกิดอุปาทาน เมื่อตัณหาเกิดแล้ว อุปาทานก็เกิด มันเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว มันจะเกิดความรู้สึก ผู้รู้สึก อย่างนั้นขึ้นมา อย่างลม ๆ แล้ง ๆ เกิดความรักขึ้นมา ก็เกิดผู้รักเกิดความโกรธขึ้นมา ก็เกิดผู้โกรธ เกิดความสงสัยขึ้นมา ก็เกิดกูผู้สงสัยขึ้นมา นี่เรียกว่า ตัณหาให้เกิดอุปาทาน
โดยสรุปก็มี ๓ กิเลสก็มี ๓ พวกแรก ราคะหรือโลภะ นี่มีอาการดึงดูดเข้ามา ดึงอารมณ์เข้ามา พวกที่ ๒ โทสะหรือโกธะนี่ ผลักออกไป ๆ ประเภทที่ ๓ มันไม่รู้ มันก็เลยวิ่งอยู่รอบ ๆ วิ่งอยู่รอบ ๆ จิตของเราที่เคยหยุด เคยสงบ เคยนิ่ง เดี๋ยวนี้มันต้องทำหน้าที่ ดูดเข้ามาบ้าง ผลักออกไปบ้าง วิ่งรอบ ๆ บ้าง นี้คือตัวความทุกข์ มันเป็นภาระหนักขึ้นมาที่จะต้อง ดูดเข้ามา หรือผลักออกไป หรือวิ่งอยู่รอบ ๆ แล้วแต่ว่ากิเลสอะไรนี่ ปัญหาถึงได้เกิดขึ้น จิตไม่เป็นอิสระแล้ว จิตต้องทำงานอย่างนี้แล้ว การทำงานอย่างนี้ เป็นความหนัก หรือเป็นความทุกข์
ในเวลาเดียวกับที่จิตมีกิเลสดึงดูด หรือผลักออก หรือวิ่งอยู่รอบ ๆ นั้น ในเวลาเดียวกันนั้นนะ มันมีความร้อน มันเป็นไฟ ร้อนเหมือนไฟ แต่ทางวิญญาณ กิเลสพวกที่ ๑ คือ ราคะที่ดูดเข้ามานี่ก็เป็นไฟเรียกว่า ไฟราคะ กิเลสที่ผลักออกไปนี่ก็เป็นไฟ เรียกว่า ไฟโทสะ กิเลสที่วิ่งรอบ ๆ ก็เป็นไฟคือไฟโมหะ ราคะ โทสะ โมหะ นี่เป็นไฟด้วยกันทั้ง ๓ อย่าง
ไฟจากราคะ คือความรัก เราจะเรียกมันว่า ไฟเปียก ๆ ยิ่งไหม้ ยิ่งชอบ ยิ่งไหม้ ยิ่งสนุก ยิ่งไหม้ ยิ่งพอใจ มันก็หลอกได้ง่ายยิ่ง ๆ ขึ้นไป เราเรียกมันว่าไฟเปียก ท่านจงดูเมื่อเวลาที่มีความรักพยายามรู้จักมันให้ดีที่สุด เมื่อท่านกลัดกลุ้มด้วยความรัก
ไฟที่ ๒ โทสะหรือ ผลักออกนั้น เราจะเรียกว่า ไฟแห้ง ๆ ตรงกันข้ามกับไฟเปียก ไฟแห้งเมื่อลุกไหม้ หรือเดือด ๆ ๆ มันเดือดด้วยความร้อน ด้วยความเดือด มันโกรธ มันรู้สึกอร่อย ทีแรกโกรธนะเสร็จแล้วมันเดือดร้อนทีหลัง มันเป็นทุกข์ทีหลัง มันหวานทีแรก แต่มันขมทีหลัง นี่ไฟโทสะเรียกว่าไฟแห้ง พยายามรู้จักมันให้ดี เมื่อท่านกลัดกลุ้มอยู่ด้วยความโกรธ ความไม่ชอบ ความขัดใจ จะรู้จักไฟนี้
ทีนี้ ไฟที่ ๓ โมหะ delusion โมหะ เราจะเรียกมันว่า ไฟมืด ๆ มันเต็มไปด้วยความไม่รู้ ความสงสัย แล้วก็นำมาซึ่งความหวาดกลัว ความวิตกกังวล สารพัดอย่างนี่ มันมืด มันทำให้ ทำผิดมากขึ้น ๆ ไฟมืดนี่ แล้วมันไปเพิ่มไฟอื่นด้วย ให้มากขึ้น ๆ นี่ เราเรียกว่า ไฟที่ ๓ หรือไฟมืด
มันจะเรียกว่าไฟเปียก หรือไฟแห้ง หรือไฟมืด ก็ตามเถอะ มันเผาทั้งนั้น มันร้อนทั้งนั้น ไฟเปียกเมื่อรัก เผาเท่าไหร่ คุณก็รู้เอาเอง ไฟแห้งเมื่อโกรธ มันเผาเท่าไหร่ คุณก็รู้เอาเอง ไฟมืดเมื่อโง่มันเผาเท่าไหร่ คุณก็รู้ได้เอง เมื่อเราอยากจะทำอะไร แล้วมันทำไม่ได้ มันโง่นี่ มันเผาเท่าไหร่ นี่ไฟโง่ ไฟเปียกก็เผา ไฟแห้งก็เผา ไฟมืดก็เผา นี่มันร้อนทั้ง ๓ ไฟ
จิตเดิม ไม่มีความทุกข์ เดี๋ยวนี้ไฟได้เกิดขึ้นแล้ว เกิดความโง่เข้าไปปรุงเข้าขึ้นมา โง่เมื่อผัสสะ โง่เมื่อเวทนา มันปรุงไฟขึ้นมา เป็นไฟแห้ง ไฟเปียก ไฟมืด เผาจิต จิตก็เป็นทุกข์เพราะไฟ จิตเป็นทุกข์เพราะไฟเผา ถูกเผานั่นคือความทุกข์ ความทุกข์ไม่ได้มาจากพระเจ้า พระเป็นเจ้าทำให้ทุกข์ไม่ได้ ถ้าไม่มีกิเลส ความทุกข์มันมาจากไฟที่เผา ไม่ได้มาจากพระเจ้า ไม่ได้มาจากพระเป็นเจ้า อย่าไปโทษพระเจ้า อย่าไปยกบาปให้พระเจ้า พระเจ้าไม่ได้ทำหรอก จงรู้ว่าเพราะกิเลสมันเกิดขึ้นแล้วไฟมันเผา ๆ ๆ จนเป็นทุกข์ จงรู้จักว่าเหตุนี้แหละ จึงเป็นทุกข์
พระเจ้าไม่ได้ทำให้เกิดกิเลส ไม่ได้ทำให้เกิดไฟ ความโง่ของเรา ความไม่รู้ของเรานั่นแหละ ทำให้เกิดกิเลสหรือเกิดไฟ เราโง่เมื่อผัสสะ เราโง่เมื่อเวทนา นั่นมันทำให้เกิดกิเลส และเกิดไฟ เมื่อความทุกข์ไม่ได้มาจากพระเป็นเจ้า แล้วทำไมจะต้องไปขอให้พระเป็นเจ้าช่วย ความทุกข์มันเกิดมาจากโง่ของเราเอง เราจะต้องกำจัดความโง่นี่เสีย ถ้าเราจะขอร้องความช่วยเหลือจากพระเจ้าบ้าง ก็มาช่วยกำจัดความโง่ มากำจัดความโง่ แต่ความโง่มันก็เกิดเพราะเราเอง เกิดจากที่เราทำผิดเอง เราก็ต้องทำเสียให้ถูก นี่เราต้อง ศึกษาธรรมะ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดโง่ ไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ให้เกิดไฟ ต้องศึกษาธรรมะ
เราเป็นทุกข์ เพราะความโง่ของเรา ทำให้เกิดกิเลสขึ้นมา เมื่อเราจะดับทุกข์ เราต้องดับความโง่ สิ่งใดที่ช่วยดับความโง่ นั่นแหละคือช่วยดับทุกข์ ในที่นี้หมายถึง ธรรมะที่เราจะศึกษาฉะนั้นธรรมะมีหน้าที่เหมือนกับ God หรือว่าจะช่วยเหมือนกับ God นี่ ธรรมะนี่จะช่วยดับโง่ ถ้า God ช่วยดับโง่ได้ ก็ได้ แต่นี่ความโง่ของเรานี่ คิดดู ใครจะมาช่วยดับ เราต้องดับเองดีกว่า ถึงต้องเรียนธรรมะ เพื่อ ให้ฉลาด ๆ ให้มีสติ มีปัญญา และจะไม่โง่เมื่อผัสสะ ไม่โง่เมื่อเวทนา นี่ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส และไม่ให้เกิดความทุกข์ ท่านมาสวนโมกข์นี้ ไม่มีอะไรนอกจากมาศึกษาธรรมะเพื่อรู้วิธีที่จะไม่โง่ให้เกิดกิเลส และท่านก็จะไม่มีความทุกข์
การทำผิด ที่เกิดมาจากความโง่ของเรา นั่นแหละคือบาป บาปหรือ sin คือการกระทำผิด เนื่องมาจากความโง่ของเรา ความโง่ของเรามันทำให้เกิดบาป เราต้องกำจัดความโง่ของเราก็เป็นอันว่ากำจัดบาปได้ ก็คือกำจัดความทุกข์ได้ ไม่ต้องไปรบกวนพระเจ้า ๆ ให้ลำบากหรอก เพราะว่ามันเกิดมาจากความโง่ของเรา เรากำจัดความโง่ออกไป ไม่มีความโง่ แล้วก็ไม่ทำกิเลส ไม่ทำบาป ไม่ทำทุกข์ ขอให้สนใจข้อนี้ให้มาก
ซาตาน หรือ Satan ที่ใหญ่หลวง ที่อย่างยิ่งนะ คือ ความโง่ของเรา อวิชา ความโง่ของเรานั่นแหละ คือซานตาน ใหญ่หลวงอย่างยิ่ง ถ้าเราฆ่าอวิชชานี้ได้ก็เท่ากับฆ่าซาตานได้ ปัญหาหมด มาสวนโมกข์ มาหาความรู้ เพื่อกำจัดอวิชชา เพื่อฆ่าซาตาน นี่จะหมดปัญหาเพราะซาตานตายหมด ไม่โง่ ไม่ทำผิด เมื่อผัสสะ เมื่อเวทนาอีกต่อไป
เรื่องของผัสสะหรือเวทนานะ ทางตาเป็นอย่างไร ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างให้ฟังเพียงเรื่องเดียวว่าทางตา แล้วท่านก็ไปเข้าใจได้เอง เรื่องทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็อย่างเดียวกัน อย่าโง่เมื่อมีผัสสะ หรือเวทนา ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อีกต่อไป เพราะว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรามันทำหน้าที่อยู่เสมอ อย่าโง่ในขณะผัสสะ และเวทนา เมื่อมันทำหน้าที่ นี่จะไม่ทำให้เกิดความทุกข์เลย
การที่เราไม่โง่ ให้เกิดกิเลสเมื่อผัสสะ และเวทนา ทางตา หู อะไรก็ตามนี่ เราไม่โง่ให้กิเลสเกิดขึ้นนี่ มีเรียกชื่อว่า อตัมมยตา คำนี้วิเศษ แปลกประหลาดที่สุด ขอให้ช่วยจำเถอะ ถึงยังไม่เข้าใจเดี๋ยวนี้ก็ได้ ขอให้ช่วยจำไว้เถอะ อตัมมยตา ไม่โง่ ให้เกิดกิเลส เมื่อผัสสะ หรือเวทนา ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดความโง่ขึ้นมาปรุงแต่งจิตใจให้มันโง่ จิตใจของเราไม่โง่ โง่ไม่ได้ เมื่อมีผัสสะ หรือเวทนา นั่นแหละ นี่ความที่อะไร ๆ ทำจิตใจให้โง่ ให้เป็นทุกข์ไม่ได้ เราเรียกว่า อตัมมยตา คำสูงสุดในพระพุทธศาสนา
อตัมมยตานั่นแหละมีค่า มีความหมายเท่ากับ God ถ้าจะมี God ในพุทธศาสนาก็มี เรียกว่า อตัมมยตา คือ ความที่ไม่ให้เกิดโง่ จนปรุงกิเลสขึ้นมา ในการสัมผัสอารมณ์ คุ้มครองไม่ให้เกิดการปรุงแต่งด้วยความโง่ ไม่มีความทุกข์ นี่คุ้มครองเหมือนกับ God เท่ากับ God แหละ คุ้มครองไม่ให้ความทุกข์เกิดมาได้เลย โดยสิ่งที่เรียกว่า อตัมมยตา ขอให้คุณพยายามมีให้มาก ฝึกอานาปานสติสำเร็จ แล้วคุณจะมีอตัมมยตาพอใช้
ถ้ามีอตัมมยตา เพียงพอ ก็หมายความว่า ไม่โง่เมื่อผัสสะ ไม่โง่เมื่อเวทนา ไม่ปล่อยให้เกิดตัณหา ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน ก็ไม่เกิดความทุกข์ นี่อตัมมยตา คือมีสติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมบูรณ์จนไม่มีทางที่จะเกิดกิเลส ไม่เกิดกิเลสได้ นี่แหละ คุณค่าอันนี้เราเรียกว่า อตัมมยตา
ยิ่งกว่านั้น อตัมมยตา มันจะสามารถทำให้เวทนา หรือ Feeling ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ ๆ ขึ้นมาได้ มันก็ไม่เกิดกิเลสได้
สติก็ดี ปัญญาก็ดี สัมปชัญญะก็ดี สมาธิก็ดี เราหาได้จากอานาปานสติ และก็มีไว้ในลักษณะที่เป็น อตัมมยตา ไม่มีทางที่จะเกิดทุกข์ได้อีกต่อไป
เวลาที่เหลือนี้เราจะพูดกันถึง outline หรือ bird eye view ของอานาปานสติ คือ เรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต เรื่องธรรม
หมวดที่ ๑ เรียกว่า กายานุปัสสนา มีความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับกาย เกี่ยวกับร่างกาย เราสามารถทำร่างกายให้สงบ ระงับด้วยการหายใจที่ถูกต้อง ทำกายให้ สงบระงับ ด้วยการหายใจที่ถูกต้อง นี่ใจความของ กายานุปัสสนา
อานะ หรือ อาปานะ นี่ หายใจเข้า หายใจออก ปานะ ๆ นี่ ภาษาอินเดียเขาเรียกว่า ปราณ ภาษาบาลีก็ ปานะ คำว่า ปราณ นี่ ถือมาตั้งแต่บรมโบราณในอินเดียว่า คือ ชีวิต การที่เราหายใจ ลมหายใจเข้าไปน่ะ คือหายใจเอาปราณเข้าไป เอาชีวิตในธรรมชาติทั่ว ๆ ไปนี่ เข้าไปเพิ่มให้ชีวิตของเรา ชีวิตก็มีปราณมากขึ้น ก็เป็นชีวิตที่สดชื่น แจ่มใส เยือกเย็น นี่เราทำได้ด้วยการหายใจที่ถูกวิธี ถ้าคุณไม่เชื่อคุณก็อาจจะคิดได้ว่า เอาออกซิเจนเข้าไปอย่างถูกต้อง เพียงพอที่สุด โดยวิธีถูกต้อง เพียงพอที่สุด เอาออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง ก็ได้เหมือนกันแหละ จะเรียกอย่างนั้นว่าปราณก็ได้เหมือนกัน แต่ทีนี้เราเรียก ปานะ อาปานะ คือ ปราณ เรามีวิธีที่จะหายใจเอาปราณเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างถูกต้องที่สุด ดีที่สุด นี่หมวดที่ 1 คือ กายานุปัสสนา
พูดถึงคำว่าปราณ ๆ ก็อยากจะให้นึกถึงข้อความในไบเบิ้ล เมื่อพระเจ้าเอาดินมาปั้น ปั้นเป็นรูปคนแล้ว พระเจ้าก็หายใจ ปราณนะ หายใจ พระเจ้าหายใจเข้าไปในก้อนดิน คือใส่ปราณเข้าไปในก้อนดิน ก้อนดินก็กลายเป็น อดัมส์กับอีฟขึ้นมา ดูความหมายของคำว่าปราณ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี ปราณนี่หมายความว่าอย่างนั้น เดี๋ยวนี้เราจะมีปราณของธรรมชาติ ในธรรมชาติ ที่อยู่ตามธรรมชาติ เอามาหล่อเลี้ยงร่างกายนี้ให้ดีที่สุด ให้มากที่สุด ให้เป็นร่ายกายที่มีสมรรถนะที่ดีที่สุด ด้วยการปฏิบัติ อานาปานสติ ข้อที่ 1
ทีนี้ อานาปานสติ หมวดที่ ๒ เราฝึก จนเรามี เวทนา ๆ ที่ดี ที่น่าปรารถนาที่สุด คือ ปีติกับความสุข ปีติ พอใจ ความสุข ก็เป็นสุข นี่เป็นยอดของเวทนา เราได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ในความรู้สึกของการปฏิบัติหมวดที่ ๒ แล้วก็เรารู้เท่าทันมัน จนไม่ให้มันหลอกเราได้อีกต่อไป สรุปความว่า เรารู้จักเวทนาดีที่สุด จนเวทนาหลอกเราไม่ได้อีกต่อไป นี่หมวดที่ ๒ เดี๋ยวนี้เรารู้จัก nature ของเวทนาอย่างดีที่สุด จนมันหลอกเราไม่ได้อีกต่อไป ทั้งในแง่ของ positive และ negative
ที่นี้ อานาปานสติ หมวดที่ ๓ เรื่องจิต เราจะศึกษาให้รู้จัก จิตทุกชนิด ๆ และเราสามารถบังคับมันให้เป็นแต่ในทางที่เราต้องการ เราบังคับจิตได้ตามที่เราต้องการ นี่คือหมวดที่ ๓
ที่นี้ กลุ่มที่ ๔ กลุ่มสุดท้าย คือ ศึกษาเกี่ยวกับธรรมะ หรือ Truth Natural truthทุกอย่าง ทุกประการใน Natural truth นี่ จนเรารู้จักมันตามที่เป็นจริง จนมันหลอกเราไม่ได้ เราเห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา ความเป็นอิทัปปัจจยตา ของมัน จนเราไม่ไปหลงให้มัน เราก็เลิกยึดถืออะไรในมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลิกยึดถือใน self ใน soul ก็เลยไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ เพราะรู้ natural truth universal truth คือธรรมะ นี่คือหมวดที่ ๔
มันมี ๔ กรุ๊ป กรุ๊ป ละ ๔ สเต็ป ๑๖ สเต็ป เท่านั้นแหละ ขอให้คุณพยายาม อย่างให้ ความพยายามดีที่สุดของคุณ ปฏิบัติมันให้ได้ แล้วคุณจะได้สิ่งประเสริฐสุด ที่จะแก้ปัญหาทั้งปวงได้ คือ อตัมมยตา ทีนี้จะไม่มีความทุกข์ ไม่โง่เมื่อผัสสะ ไม่โง่เมื่อเวทนา ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน ไฟไม่มีแก่จิตใจอีกต่อไป ไม่มีความร้อน ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความทุกข์ เพราะปฏิบัติอานาปานสติสำเร็จ แล้วได้เครื่องมือที่ดี มาตัดต้นเหตุของความทุกข์เสีย เรื่องก็จบ
ขอให้คุณทุกคนประสบความสำเร็จ ในการปฏิบัติอานาปานสติ และก็มีอตัมมยตา ก็ฆ่าซาตานตายหมด ถ้าทุกคนมี อตัมมยตา ในโลกนี้ก็ไม่มีซาตาน ขอยุติการบรรยายในวันนี้