แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เป็นวันสุดท้าย อาตมาขอแสดงความยินดีและความหวังว่าท่านคงจะประสบความสำเร็จทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งมีความรู้ในธรรมะ และสามารถปฏิบัติจิตภาวนาให้ได้ทั้ง ๒ อย่างตามสมควร
ขอให้ท่านสังเกตดูให้ดีว่าเราต้องมีทั้ง ๒ อย่าง พร้อมกันทั้ง ๒ อย่าง ให้มีความรู้ทางธรรมะในการที่จะทำให้จิตใจสงบเย็นอย่างหนึ่ง แล้วมันทำไม่ได้ เราก็ต้องมีความรู้ในการปฏิบัติจิตนั้นให้มันทำได้ มันจึงจะมีความสงบเย็น ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้ทั้ง ๒ อย่างคือความรู้หลักธรรมะ และความรู้ทำจิตให้เป็นสมาธิ
ขอให้รู้จักแยกออกเป็น ๒ เรื่อง ท่านได้ฟังธรรมะเรื่องอริยสัจ เรื่องปฎิจจสมุปบาท เรื่องสุญญตา ตถาตา เป็นต้น นี่เป็นเรื่องส่วนธรรมะคือความรู้ ความจริงของธรรมชาติ และก็ปฏิบัติอานาปานสติภาวนาเพื่อฝึกฝนจิต บังคับจิตให้สามารถทำเช่นนั้นได้ มันต้องเป็นคู่กันอยู่อย่างนี้เสมอ ถ้ามิเช่นนั้นแล้วมันไม่อาจจะเป็นไปได้
ขอให้ท่านทราบไว้ว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมะ” ธรรมะนี่เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่จะต้องมี เมื่อโลกเราได้เจริญขึ้นมาถึงจุดสูงสุดแห่งยุคอุตสาหกรรม ยุคอุตสาหกรรมของโลกได้ขึ้นถึงจุดสูงสุด มันก็ยิ่งต้องมีธรรมะที่จะควบคุมสิ่งเหล่านั้นไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ เดี๋ยวนี้เรากำลังจะนอนไม่หลับ กำลังจะเป็นทุกข์ กำลังเป็นภาระหนักแห่งชีวิตเพราะความเจริญด้วยอุตสาหกรรมมันสูงสุดน่ะ จึงพูดว่าธรรมะจำเป็นที่สุดในเมื่อยุคอุตสาหกรรมของโลกมันขึ้นถึงจุดสูงสุด
ขอให้เรามองดูความหมายของคำว่าความเจริญสูงสุดแห่งยุคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมคืออะไร มันคือเครื่องมือที่จะให้เราได้สิ่งที่เราต้องการและเป็นอยู่อย่างสะดวกมากมายมหาศาล แต่แล้วมันก็มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ไม่พูดถึงการค้าหาทรัพย์สมบัติ หาอะไร แม้แต่การเป็นอยู่ในบ้านเรือน เรามีเครื่องซักผ้าซึ่งเท่ากับคนหลายสิบคนซัก เรามีเครื่องดูดฝุ่นซึ่งต้องมีคนหลายสิบคนจึงทำงานได้เท่านั้น แม้แต่การเป็นอยู่ในชีวิต มันก็ยังเป็นเรื่องอุตสาหกรรม และเราก็มีเงินมาก มีอะไรมาก มีสิ่งส่งเสริมไอ้ความต้องการของเรามาก แล้วมันจบลงด้วยอะไร มันจบ ๆ ลงด้วยความสงบเย็นหรือว่าการปวดศีรษะ
ขอให้สังเกตดูสักนิดว่าเมื่อยังไม่ถึงยุคเจริญด้วยอุตสาหกรรมน่ะ คนฆ่าผู้อื่นตาย ฆ่าผู้อื่นตายมาก ทำไมเมื่อถึงยุคเจริญด้วยอุตสาหกรรม คนฆ่าตัวเองตายมาก นี่ ขอให้เปรียบเทียบข้อนี้เป็นหลักสำคัญ
เรายิ่งมีสิ่งสนองความอยาก ใช้เรียกรวม ๆ กันว่าสิ่งสนองความอยากมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความรัก ความหลงใหล ความเป็นห่วง ความวิตกกังวล หรือเรียกว่าความยึดมั่นถือมั่นมากเท่านั้น มันเป็นการถือไว้ด้วยจิตใจ แบกหามถือไว้ด้วยจิตใจ ความหนักแห่งจิตใจมันก็มีมากขึ้น ๆ เท่าที่เรามีสิ่งสนองความอยากมากขึ้น แล้วสิ่งสนองความอยากเหล่านั้นก็ทำให้เรามีปัญหาทางจิตใจมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็นอนไม่ค่อยจะหลับ ก็จะปวดศีรษะ ก็จะไม่รู้ว่าจะสงบเย็นได้อย่างไร ต้องเที่ยวหากันจนไม่รู้จะไปหาที่ไหนหรอก เดี๋ยวนี้กำลังจะหาความสงบเย็น ไม่รู้จะหาที่ไหน ยิ่งมีสิ่งสนองความอยากมาก ยิ่งมีปัญหาแก่จิตหรือแก่วิญญาณมาก จึงต้องมีธรรมะสำหรับแก้ไข
สรุปความว่ายิ่งมีสิ่งสนองความอยากมากเท่าไรก็ยิ่งมีปัญหามาก มีปัญหาทางจิตทางวิญญาณ หรือburden of life มากขึ้นเท่านั้น ทีนี้เราจะต้องมีอย่างพอดี ไม่เฟ้อ ไม่เกิน แต่เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้อยากมากเกินพอดี ไม่เฟ้อ ไม่เกิน ถ้าเราไม่มีความรู้รู้เรื่องนี้ และเราก็ยังอยากจะมีมากจนไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งกว่าเฟ้อ ยิ่งกว่าเกินในจิตใจของท่านทั้งหลายน่ะ สังเกตดูให้ดีว่าการต้องการ ความต้องการสิ่งเหล่านี้มันยังไม่หยุด มันมีแต่จะมาก จะเฟ้อ จะเกิน ทำอย่างไรจึงจะมีแต่พอดี ความรู้ทางธรรมะจะช่วยได้ ให้เรามีแต่พอดี มีแต่ความสงบเย็น ความรู้ทางธรรมะจะช่วยได้
เราจงมองดูของเพื่อน เพื่อนของเรา-เพื่อนของเรา เขากำลังเข้าใจ เห็นสิ่งที่เฟ้อ ที่เฟ้อที่เกินไอ้ luxurious ทั้งหลายนี่ว่าเป็นของที่พอดี ๆ หรือว่ากิเลส เพื่อนของเราเป็นอย่างนั้นเราเห็นโดยง่าย แต่ทีตัวเราเองเป็นอย่างนั้นเรากลับไม่เห็น ฉะนั้นขอให้เราดูตัวเองให้มาก ๆ เรากำลังหลงไอ้สิ่งเฟ้อสิ่งเกินนั้นว่าเป็นความพอดีด้วยหรือเปล่า
ถ้าเรามีอวิชชา อวิชชา-ignorance เราจะไม่เห็น เราจะเห็นไอ้ที่เกิน ๆ นั้นว่าพอดี พอดีร่ำไป ถ้าเรามีอวิชชาเราจะต้องเอาอวิชชานี้ออกไป เราต้องรู้ธรรมะที่กำจัดอวิชชานี้ออกไปแล้วก็จะเห็นอย่างถูกต้อง ถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร แล้วเราก็จะรู้ว่าอะไรเกินหรืออะไรพอดี หรืออะไรจำเป็น ขอให้มีธรรมะกำจัดอวิชชาออกไปเสีย
อวิชชาให้เกิดความอยากอย่างโง่เขลา ต้องใช้คำว่าความอยากอย่างโง่เขลาหรือ desire ก็เป็นความอยากอย่างโง่เขลา ถ้าว่ามันเป็นความต้องการอย่างถูกต้องด้วยสติปัญญาไม่เป็นไร เรามีความอยากอย่างโง่เขลามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องการส่วนที่เฟ้อที่เกินมากขึ้นเท่านั้นจนไม่มีจุดจบ เราก็หิวตลอดเวลา
คำสำคัญคือคำว่า “รู้ตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ” รู้ตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ ที่เราเรียนรู้กันในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยนี่มันไม่ไปตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ เราเรียนในมหาวิทยาลัยเพียงแต่ให้ฉลาด ๆ ๆ เท่านั้นล่ะ ก็ไม่รู้ตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ ฉลาดสำหรับจะหาสิ่งที่เราต้องการ เมื่อเราไม่ได้เรียนการควบคุมความฉลาดก็เฟ้อเกินต้องการ ไปหาแต่สิ่งที่เกินต้องการ ฉะนั้นการศึกษาอย่างนี้ที่เรามี ๆ กันอยู่มันช่วยไม่ได้ เราต้องมาสู่การศึกษาที่ทำให้รู้ตามที่เป็นจริง ตามธรรมชาติแท้จริง
รู้ธรรมะ-รู้ธรรมะ ก็คือรู้อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ นี้เรียกว่ารู้ธรรมะ ธรรมะในธรรมะนั้นมีความหมายรวมอยู่หลายอย่างทีเดียว ในธรรมะนั้นน่ะมีพระเจ้า มี God มีพระเจ้าอยู่ในคำว่าธรรมะ เราไม่ต้องมีพระเจ้าอีกองค์สำหรับขอร้องอ้อนวอนอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่ต้องมี ในสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ธรรมะน่ะมี God อยู่แล้ว เราประพฤติให้ตรงตามความต้องการของ God คือธรรมะ คือความรู้ทางธรรมะ มีหน้าที่เดียว หน้าที่-หน้าที่ประพฤติให้ถูกต้องตามธรรมะ ไม่ต้องมี God อีกองค์หนึ่งสำหรับไว้อ้อนวอน ไม่ต้องมี ธรรมะ-ธรรมะ คือรู้ตามที่เป็นจริง ให้เราคิดพูดทำถูกต้องไปหมด แล้วปัญหามันก็หมด
รู้ตามที่เป็นจริงนี้ เป็นความหมายของธรรมะ รู้ตามที่เป็นจริงนั้นมันรวมอยู่ว่าเรารู้ว่าเราจะต้องทำอย่างไร นี่รู้ตามที่เป็นจริง รู้สิ่งทุกสิ่งว่าเป็นอย่างไรรอบตัวเราแล้วเรารู้ว่าเราจะต้องทำอย่างไร นี่รู้ตามที่เป็นจริงอย่างสูงสุด แล้วก็เราทำให้ถูกต้องตามที่มันเป็นจริง นี่เรียกว่ารู้ธรรมะ คือรู้ว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็นอยู่จริง รู้ธรรมะคืออย่างนี้
ถ้าจะกล่าวโดยทางภาษา ทางภาษาพูดนี่ คำว่าธรรมะนี่ ธรรมะนี่แปลว่าหน้าที่ แปลว่าหน้าที่ หรือ duty ท่านอาจจะเห็นว่าไม่น่าสนใจ ไม่สูง ไม่ประหลาด ไม่อะไร duty-duty แต่ว่าคำว่าธรรมะ-ธรรมะนี่แปลว่า duty-หน้าที่ หน้าที่นั้นแหล่ะเป็นสิ่งสูงสุด เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่มีหรือมีไม่ถูกต้องเราก็ตาย แล้วเราก็เป็นทุกข์ รู้ธรรมะคือรู้หน้าที่ที่เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อเราจะต้องไม่ต้องตายและไม่เป็นทุกข์เลย ธรรมะคือ duty อย่างนี้
เราพูดได้เลยอย่างถูกต้องว่าหน้าที่-หน้าที่นั้นแหล่ะคือพระเจ้า-God หรือ creator ก็คือ duty, God-The preserver ก็คือ duty, God-The destroyer ก็คือ duty จะเป็น God ในความหมายไหนนั้นก็คือ duty-duty นี้มีการสร้างขึ้นมาและควบคุมให้ถูกต้อง แล้วก็ทำลายเลิกไปตามที่ควรจะทำลายหรือเลิกเพื่อสร้างขึ้นใหม่ พอเรามี duty มี ๆ หน้าที่ถูกต้อง เราก็มี God อยู่กับเรา ที่ช่วยเราเต็มที่ ช่วยเราให้ประสบความสำเร็จ ขอยืนยันในข้อนี้
หน้าที่-หน้าที่น่ะคือชีวิต เมื่อไม่มีหน้าที่ก็ไม่มีชีวิต พอหยุดหน้าที่ก็คือตาย ขอให้คิดดูเถิดว่าไอ้เซลล์ ทุก ๆ เซลล์ ทุก ๆ เซลล์มันทำหน้าที่-หน้าที่ เราจึงไม่ตาย ถ้าเซลล์มันหยุดทำหน้าที่ มันก็ตายวูบเดียว ชีวิตอยู่ด้วยหน้าที่ และต้องมีอวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ เราต้องกิน ต้องอาบ ต้องถ่าย ต้องทำหน้าที่ ถ้าไม่ทำหน้าที่ก็คือตาย คนก็ตาย สัตว์ก็ตาย ต้นไม้ก็ตายถ้ามันไม่ทำหน้าที่
ต้นไม้ทำหน้าที่อยู่ทุกวินาทีทั้งวันทั้งคืน ถ้าไม่ทำมันก็ตาย ท่านไปศึกษา biology ดูก็จะรู้ว่าต้นไม้ทำหน้าที่อยู่ทั้งวันทั้งคืน แม้จะต่างกันกลางวันกับกลางคืนแต่มันก็ทำหน้าที่ทั้งนั้นล่ะ มันจึงรอดอยู่ได้ มันรอดอยู่ได้ด้วยหน้าที่ หรือหน้าที่เป็นความรอด สัตว์ทั้งหลาย สัตว์เดรัจฉานน่ะทั้งหลายก็เหมือนกันล่ะ มันอยู่ด้วยหน้าที่ที่มันถูกต้องตามหน้าที่ ทุกหน้าที่มันก็รอด คนเราก็เหมือนกัน มีหน้าที่ทุกหน้าที่ ก็รอด ๆ ๆ รอดทั้งทางกาย รอดทั้งทางจิต รอดทั้งทาง spiritual หน้าที่คือความอยู่รอด คือตัวความอยู่รอด
ท่านเรียกมันในภาษาอังกฤษว่า duty ชาวอินเดียโบราณเรียกมันว่า “ธรรมะ” หรือภาษาไทยจะเรียกว่าหน้าที่ มันก็สิ่งเดียวกัน จะเรียกว่าหน้าที่ หรือ duty หรือธรรมะ นั่นคือสิ่งเดียวกัน มันก็คือหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดและไม่เป็นทุกข์ อยู่รอดไม่เป็นทุกข์ อยู่รอดไม่เป็นทุกข์ น่ะ ๒ อย่าง
มนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์โบราณที่สุด เลยยุคหินมาหน่อยก็ได้ มันก็รู้จักสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ไม่ทำแล้วก็ตาย คือที่เราเรียกว่า duty น่ะ เขารู้จักทีแรกในระดับต่ำแต่ก็เรียกมันว่าหน้าที่หรือธรรมะ และเขาก็รู้ คนป่าเหล่านั้นน่ะ คนป่าน่ะก็รู้ว่านี่ไม่ทำไม่ได้ ไม่ทำแล้วก็ตาย แล้วก็เรียกว่าธรรมะ-ธรรมะ ภาษาธรรมดา ๆ คือ duty แล้วก็บอกทุกคนให้ทำ สอนทุกคนให้ทำให้ดีขึ้น ๆ ๆ เป็น duty ที่สูงขึ้นๆ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอน duty ที่สูงสุดคือดับทุกข์สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น duty คือทั้งหมดของชีวิตและความรอด เราเรียกมันว่า “ธรรมะ”
เราจึงเห็นชัดโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น เราเห็นชัดด้วยตนเองว่า duty, duty นี่คือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ต้องทำเท่านั้นเอง duty คือธรรมะ ธรรมะก็คือสิ่งที่ต้องทำ ขอให้ท่านทั้งหลายรู้จักสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ-ธรรมะน่ะว่าสิ่งที่ต้องทำ ในความหมายเดียวกับคำว่า duty-duty คือสิ่งที่ต้องทำ ต้องทำในที่นี้หมายถึงต้องรู้ให้ถูกต้อง แล้วก็ทำให้ถูกต้อง เรียกว่าต้องทำ duty คือสิ่งที่ต้องทำ
หน้าที่หรือ duty เป็นสิ่งที่ต้องทำ นี่เป็นใจความสำคัญ แล้วมันก็ประกอบอยู่ด้วยความหมายว่าเป็นสิ่งที่ต้องรู้ รู้แล้วก็ต้องทำ ทำให้มันมีไว้ แล้วต้องใช้มัน ใช้มัน ใช้มัน ยิ่งใช้มันยิ่งมีมาก สิ่งที่ต้องรู้ต้องทำให้มี มีแล้วใช้นี่คือธรรมะ ธรรมะหรือ duty จำเป็นที่สุด ไม่มีอะไรที่จำเป็นกว่าสิ่งนี้ว่าต้องทำ
สิ่งที่เราต้องรู้ ต้องทำ ต้องมี และต้องใช้ เรียกว่า duty นี่ต้องจำกัดชัดลงไปว่าต้องถูกต้องหรือที่ถูกต้องเท่านั้นแหล่ะ ที่ไม่ถูกต้องใช้ไม่ได้ แล้วอะไรที่เรียกว่าถูกต้อง-ถูกต้องในทางธรรมะน่ะ อย่าพูดทาง logic ทาง philosophy ไม่เอาหรอก เอาแต่ทางธรรมะนี่ ถูกต้องต่อการที่มันดับทุกข์ได้ การมี การรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ มีธรรมะ ใช้ธรรมะอย่างถูกต้อง ถูกต้องต่อการที่มันจะดับทุกข์ได้เท่านั้นล่ะเราจึงจะเรียกว่าถูกต้อง
ท่านเคยได้ฟัง ได้ศึกษาเรื่อง Noble Eightfold Path มาแล้ว Noble Eightfold Path น่ะ ท่านจงศึกษาให้ดี ท่านจะรู้ว่านั่นน่ะคือ correct duty-correct duty เป็นที่ประมวล เป็น code เป็นประมวลของ duty ทั้งหมด จะศึกษากันง่าย ๆ อย่างศึกษา Eightfold Path, Noble Eightfold Path แล้วก็จะรู้ duty ทั้งหมด ๘ ชนิด รวมกันเป็นถูกต้อง นั่นน่ะคือธรรมะ คือหน้าที่ ที่เราศึกษาธรรมะปฏิบัติจิตภาวนาน่ะ มันจะรวมอยู่ใน Eightfold Path ทั้งนั้น ไปแยกดูทั้ง ๘ อย่าง มันจะรวมที่เรากำลังพูดนี่ทั้งหมด ฉะนั้นให้สนใจ Eightfold Path ในฐานะเป็นที่ประชุมแห่ง duty ที่ถูกต้อง ที่จะทำให้รอด เป็นหนทางแห่งความรอด
Factor ที่ ๑ ก็คือ สัมมาทิฐิ รู้ถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง คิดถูกต้อง เห็นถูกต้อง เชื่อถูกต้อง นี่เหล่านี้รวมหมดก็เรียกว่า view, right view เมื่อมีถูกต้องใน view อย่างนี้ มันก็ปรารถนาถูกต้อง aspiration, right เอ้ย! สัมมาสังกัปปะน่ะ ปรารถนาถูกต้อง ต้องการถูกต้อง ไม่ต้องการผิด ๆ อย่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน เห็นถูกต้องแล้วก็ต้องการถูกต้อง นี่ factor ที่ ๑ ที่ ๒
กลุ่มที่ ๒ มี ๓ factors พูดจาถูกต้อง ทำการงานถูกต้อง ดำรงชีวิตถูกต้อง ๓ factors
Group ที่ ๓ ก็ ๓ factors พยายาม พากเพียร บุกบั่นถูกต้อง แล้วก็มีสติ-mindfulness ถูกต้องอย่างที่เรากำลังปฏิบัติกันอยู่ แล้วเราก็จะมีสมาธิ-สมาธิ ความตั้งใจมั่นอย่างถูกต้องที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ นี่ ๓ factors นี่ก็เป็นกลุ่มที่ ๓ รวมกันเป็น ๘ ถูกต้องทั้ง ๘ รวมกันเป็นถูกต้องทั้งหมด เป็นหนทางที่ถูกต้อง
Eightfold Path คือหน้าที่ที่ถูกต้อง ๘ ประการ แล้วรวมกันเป็น path เป็น pass หรือ path (53.00) ทางที่จะไปนี่ นั่นแหล่ะจึงจะเป็นหน้าที่ใหญ่ที่ต้องมีความถูกต้อง ๘ ประการ เมื่อนึกถึงธรรมะแล้วก็ขอให้นึกถึงไอ้หน้าที่ หน้าที่ถูกต้อง ๘ ประการนั่นล่ะคือตัวธรรมะ ตัวหน้าที่ เป็นรวมหมดอยู่ที่นั่น ธรรมะคือความถูกต้องที่ช่วยให้รอด ถูกต้องที่ถูกต้อง ถูกต้องต่อความรอด
ที่นี้มันก็มีปัญหาอยู่ว่า เรารู้ว่าถูกต้อง ๆ ๆ ทุกอย่างแล้ว แต่เราทำไม่ได้ เพราะเราบังคับจิตกายให้ทำไม่ได้ เราบังคับ my body ให้ทำไม่ได้ เราบังคับไม่ได้ แล้วก็ไม่ได้ทำอย่างที่ถูกต้อง และถ้ากิเลสเข้ามาเราก็ทำอย่างผิด ๆ ฉะนั้นเราต้องบังคับร่างกายและใจนี่ให้มันทำให้ถูกต้องให้จนได้ การบังคับตัวเอง บังคับตัวเอง บังคับตัวเองนี่สำคัญที่สุด แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าให้พึ่งตัวเอง ให้เอาตัวเองเป็นที่พึ่งด้วยการกระทำที่ถูกต้อง เราจะต้องบังคับตัวเองให้ได้แล้วจึงจะมีการกระทำที่ถูกต้อง
ทีนี้อานาปานสติ การทำอานาปานสติ system นี้ system ที่เรากำลังเรียนกำลังสอนกันอยู่นี่ ถูกต้องและแก้ปัญหาได้หมด คือแก้ปัญหาที่เราไม่รู้ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็รู้ และปัญหาที่บังคับจิตให้ทำไม่ได้ ก็บังคับจิตให้ทำได้โดยอานาปานสติ system เดียวนี่จะสามารถรู้และสามารถบังคับจิตให้ทำตามที่รู้ได้ด้วย แล้วเราก็รอด อานาปานสติมีความดีหรือวิเศษอย่างนี้ ขอให้สนใจให้ถึงที่สุด
ถ้าเราไม่มีหน้าที่ที่ถูกต้อง พระเจ้าสักร้อยหนึ่งก็ช่วยเราไม่ได้ ขออภัยต้องพูดตรง ๆ อย่างนี้ ไม่ใช่ดูถูกดูหมิ่นนะ ขออภัยที่พูดตรง ๆ นะ ถ้าเราไม่ทำหน้าที่ที่ถูกต้อง พระเจ้าจะมาสักร้อยหนึ่งก็ช่วยเราไม่ได้ และท่านก็รู้อยู่ดีแล้วว่าพระเจ้าไม่ช่วยคนที่ไม่ทำหน้าที่ ท่านก็รู้อยู่แล้ว ฉะนั้นเราต้องทำหน้าที่ แล้วหน้าที่นั้นจะช่วยเรา เลยกลายเป็นว่าเราต้องช่วยตัวเราเองด้วยการทำหน้าที่ที่ถูกต้อง เราต้องช่วยตัวเองด้วยการทำหน้าที่ที่ถูกต้อง
พอเราทำหน้าที่ถูกต้อง หน้าที่ถูกต้องจะกลายเป็นพระเจ้าขึ้นมาทันที แล้วก็ช่วยเราเสร็จแล้วด้วย เป็นพระเจ้าช่วยเราเสร็จแล้วด้วย หน้าที่กลายเป็นพระเจ้าทันที ช่วยเราเสร็จแล้วด้วย ฉะนั้นพระเจ้าที่แท้จริงก็คือหน้าที่ที่ถูกต้อง พุทธบริษัทจึงมีธรรมะหรือหน้าที่นั่นล่ะเป็นพระเจ้าผู้ช่วย
เป็นอันว่าในพุทธศาสนานี้ หน้าที่หรือธรรมะ ธรรมะหรือหน้าที่น่ะคือผู้ช่วย และก็ทำเอง ก็หมายความว่าเราต้องช่วยตัวเองทำหน้าที่ที่ถูกต้อง ในคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือ picture ทั้งหมดในพุทธศาสนานี้ พระไตรปิฎกไม่มีที่ตรงไหนที่สอนว่าให้พึ่งพระพุทธเจ้า ให้พึ่งพระธรรม ให้พึ่งพระสงฆ์ นี่ไม่มี ๆ มีแต่ว่าพึ่งตนเองคือพึ่งธรรมะ พระพุทธเจ้ามีแต่ช่วยให้เรารู้ธรรมะแล้วก็พึ่งตนเอง ที่เราว่าพึ่งพระพุทธเจ้า พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์เป็นสรณะ...(01.01.14) ที่เอามาใช้ในพิธี นี่เราว่าเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้ว่า แล้วท่านก็ไม่ได้สั่งให้พึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่พึ่งตัวเองซึ่งมีธรรมะ ปฏิบัติเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเสียเลย ขอให้ถือว่าพึ่งตัวเองคือพึ่งหน้าที่ หน้าที่ที่มีอยู่นั้นมันจะช่วยตัวเอง ท่านต้องมีพร้อมที่จะช่วยตัวเองด้วยการมีธรรมะ ดังนั้นจึงต้องศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะ
ไม่ต้องยกบาลี พูดไทย ๆ แปลแล้วเสร็จว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงมีตนเองเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมะเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง นั่นคือการปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็คืออานาปานสติที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ เมื่อปฏิบัติอานาปานสติ ก็คือปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั่นจะเป็นการพึ่งตัวเองและพึ่งธรรมะ คือหน้าที่
เป็นอันว่าเรากล่าวได้ว่า ตามหลักพุทธศาสนา สิ่งสูงสุด supreme ยิ่งกว่าสิ่งใดนั้นคือ duty คือหน้าที่ พระพุทธเจ้าเองท่านก็ประกาศว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เคารพหน้าที่ พระพุทธเจ้าทุกองค์ ทุกองค์เคารพหน้าที่ พระพุทธเจ้าเคารพหน้าที่คือเคารพธรรมะ และท่านก็ปฏิบัติอย่างนั้นจริง นี่เรียกว่าหน้าที่หรือธรรมะนั้นยังสูงไปกว่าพระพุทธเจ้าจนพระพุทธเจ้าเคารพ เพราะฉะนั้นขอให้เราเคารพหน้าที่หรือธรรมะเป็นสิ่งสูดสุดและมีมันให้ครบให้บริบูรณ์
อานาปานสติภาวนาที่เรากำลังเรียนกำลังปฏิบัติอยู่นี้ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีหน้าที่ มี duty ครบทั้ง ๒ อย่าง อย่างที่ว่ามาแล้ว จำเป็นที่สุดที่มนุษย์จะต้องมี ยิ่งยุคเจริญด้วยอุตสาหกรรมแล้วยิ่งจะต้องมี ไม่เช่นนั้นจะเป็นบ้าหมด ฉะนั้นมีความวิเศษประเสริฐอย่างนี้ พวกเราที่นี่จะพยายามช่วยเหลือท่านทั้งหลายให้มีความรู้และปฏิบัติอานาปานสติให้ได้ แม้จะต้องช่วยกันอีกกี่ครั้ง ๆ ก็ยอม ก็ยินดีที่จะช่วยท่านทั้งหลายรู้อานาปานสติ เพื่อความสมบูรณ์แห่งหน้าที่หรือธรรมะ
ขอแสดงความยินดีว่าท่านได้มาศึกษา ท่านได้ปฏิบัติอานาปานสติแล้วตามสมควร ขอให้สำเร็จประโยชน์ตามนั้น ขอยุติการบรรยายในวันนี้