แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ณ บัดนี้อาตมาภาพ จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนา เป็นเครื่องสดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา ความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าขึ้นไป ในทางแห่ง พระพุทธศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย กว่าจะยุติลง ด้วยความสมควรแก่เวลา
ธรรมเทศนาในวันนี้ เป็นธรรมเทศนา ปรารภมาฆบูชา ดังที่ท่านทั้งหลาย อ่า, ก็ทราบกันอยู่ ได้แล้ว เป็นอย่างดี ว่าเรามาพร้อมกันในวันนี้ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา อ่ะ, เป็นอภิรักษ์จิตสมัย สำหรับพุทธบริษัท จะได้ประกอบกระทำ เป็นประจำปี เพื่อให้เกิดความระลึกนึกถึง เหตุการณ์อันสำคัญ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อ่า, เป็นการย้ำ เออ, ความเชื่อ ความเลื่อมใส เออ, ย้ำความเข้าใจ ย้ำสติปัญญา เออ, ให้แน่นแฟ้น และจะได้เป็นที่เข้าใจ สำหรับผู้ที่แน่นแฟ้นอยู่แล้ว ในส่วนที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เรื่องของวันมาฆบูชา เป็นอย่างไร นี่ก็ พูดกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทุกปี คงจะเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี ว่าเป็นวัน พิเศษวันหนึ่ง ซึ่งมีเพียงวันเดียว ในพระพุทธศาสนานี้ ที่บังเอิญพระอรหันต์ ๑๒๕๐รูป มาถึงพร้อมกันเข้า ณ ที่แห่งหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าประทับเป็นประธาน ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ความน่าอัศจรรย์ ก็มีอยู่ที่ว่า พระอรหันต์ทุกพระองค์เป็นเอหิภิกขุ คือ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระผู้มีพระภาคย์เจ้าเอง และทุกองค์ก็เป็นพระอรหันต์ และความที่ไม่ได้นัดหมายกัน อ่า, และก็วันนี้ ก็เป็นวันเพ็ญ มาฆะฤกษ์ พระจันทร์ เสวยมาฆะฤกษ์ แล้วพระองค์ก็ทรงประทับเป็นประธาน เพื่อกระทำสิ่งซึ่งเรียกกันว่า มหาสังกสันนิบาต (นาทีที่ 04:07 ) ประกาศโอวาทปาติิิโมกข์ คือ ประธานแห่งโอวาททั้งหลายทั้งปวง ข้อความก็มีอยู่หลายประโยค ตั้งแต่ ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา (นาทีที่ 04:29 ) เป็นต้น ขึ้นไป
แต่ใจความสำคัญนั้น ก็มีอยู่เพียง ๔ ประโยค หรือ ๑ คาถา ดังที่ได้ยกขึ้นมาเป็นหัวข้อ นิเขคะบท (นาทีที่ 04:40 ) ข้างต้นว่า สัพพปา ปัสสะ อกรณัง (นาทีที่ 04:45 ) “การไม่กระทำบาปทั้งปวง” กุสลสู ปสัมปทา (นาทีที่ 04:50 ) “การทำกุศลให้ถึงพร้อม” สจิตตะปริโยทปนัง (นาทีที่ 04:54 ) “การทำจิตให้ขาวรอบ” เอตัง พุทธานะ สาสนัง (นาทีที่ 05:00 ) ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอน อ่ะ, ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่นแหละ เป็นใจความสำคัญ ที่ควรจะรู้ ที่ควรจะเข้าใจ ในฐานะที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา นั้นเดี๋ยวนี้ ก็มีคนบางคนไม่เข้าใจ อ่ะ, แม้จะ ฟังมาตั้ง ๑๐ ครั้ง ๒๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง แล้วก็ได้ ไม่เข้าใจในข้อที่ว่า เมื่อไม่ทำบาปทุกอย่าง ทำกุศล คือ ความดี ทุกอย่าง แล้วทำไมจะต้องมาทำจิตใจให้ผ่องใสเล่า อือ, เพราะว่าการทำจิตใจผ่องใสก็เป็นความดี กุศลอย่างหนึ่ง อยู่แล้ว นี่เป็นเหตุไม่ให้เข้าใจ ประโยค ข้อความในประโยคหลัง ที่ว่า ทำจิตให้ขาวรอบ ก็มันหมายความว่า แม้จะทำดี ทำกุศลทุกอย่างแล้ว จิตมันก็ยังไม่ขาวรอบนั่นเอง
ขอให้นึกถึงความข้อนี้ ที่ว่า แม้จะทำกุศลทุกอย่างแล้ว จิตมันก็ยังไม่ขาวรอบ แล้วก็ไม่รู้ก็ไม่เข้าใจ มันยังคิดอยู่ว่า ไม่ทำชั่วทำแต่ดีก็พอแล้ว นี่พุทธบริษัทโดยมากยังเป็นอยู่อย่างนี้ แม้ที่ว่า เรียนจบมหาวิทยาลัย แล้วด้วยซ้ำไป มันก็ยังเข้าใจอยู่อย่างนี้ มันไม่เข้าใจไอ้คำว่า บาป ว่าบุญ ว่านิพพาน นั่นเอง โดยถือเสียว่า ถ้าทำดี ทุกอย่างแล้ว มันก็หมดจบเรื่อง ต้องขอใช้คำหยาบคายว่า มันยังโง่อยู่นั่นแหละ เพราะมันยังมีสิ่งที่ยิ่งขึ้น ไปกว่า เหนือความดี เหนือความดีทั้งปวงขึ้นไป ก็คือ การทำจิตให้ขาวรอบ
ทีนี้มันก็มีปัญหา อยู่ตรงที่ จิตขาวรอบนั่นคืออย่างไร ทำไมขาว แล้วยังต้องมีรอบ นี่จะต้องฟังให้ดี คำว่า ขาว ในภาษาบาลี ก็มีอยู่ อย่างน้อย ๒ คำ เช่นว่า สุก (นาทีที่ 07:26 )ก็แปลว่าขาว โอทาตะ (นาทีที่ 07:30) ก็แปลว่า ขาว แต่มันจะแปลผิด หรือถูกก็ไม่รู้อ่ะ แต่มันแปลกันอย่างนั้น โอทาตะ(นาทีที่ 07:37) มันก็แปลว่า ขาว สุก(นาทีที่ 07:40 ) มันก็แปลว่า ขาว แล้วโอทาตะ(นาทีที่ 07:43 )นี้ คราวนี้ ในที่นี้ไม่พอ ยังใส่ปริเข้าไปอีก ปริโอทาตะ(นาทีที่ 07:48) เข้ามาอีก นั้นมันก็ต้อง ไม่ใช่อย่างเดียวกับ สุก(นาทีที่ 07:59) คือขาว ขาวในภาษาไทย เรานี้ ก็กำกวมเหมือนกัน ขาวอย่างเสื้อสีขาวนี้ ก็เรียกว่า ขาว มันมีสีขาว แต่ถ้ามันไม่มีสี มันขาว ชนิดที่มันไม่มีสี ขาวว่างไม่มีสี ก็ยังเรียกว่า ขาวอยู่นั่นแหละ เป็นภาษาที่ไม่ถูก รู้ไว้เถอะว่า เรายังพูดภาษา ไม่ถูกเอง แล้วก็เข้าใจคำ พระบาลีนี้ไม่ถูก มันก็เป็นธรรมดา
จงนึกถึงภาษาไทยเรา ที่ว่า ขาว ขาว เช่น สีขาวนี่ มันยังมีสี คือ สีขาว มันยังมีสี มันยังไม่ปราศจากสีน่ะ งั้นถ้าว่ามีขาวอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ควรจะเรียกว่า ขาวแต่ไม่รู้จะเรียกว่า อะไรก็ต้องเรียกว่า ขาวอีกนั่นแหละ คือ มันปราศจากสี นี่ความต่างของคำว่า สุก(นาทีที่ 09:07 ) ขาว กับโอทาตะ(นาทีที่ 09:09) และปริโอทาตะ(นาทีที่ 09:12) อ่า, ก็ขาว ๒ ขาว นี่มันต่างกันอย่างไร ขอให้เข้าใจ ขาว ในคำว่าปริโอทาตะ ปริโย ทะปะนะ (นาทีที่ 09:20 ) ทำให้มันเป็น ปริโอทาตะ(นาทีที่ 09:23) สะจิตตะ ปริโย ทะปะนะ ปริโอ ทาปะนะ (นาทีที่ 09:28 )ทำให้มันขาว ทำให้มันปริโอทาตะ(นาทีที่ 09:34 ) ก็คือ ทำให้มันไม่มีสีนั่นแหละ แต่ก็ไม่เรียกว่า ดำหรือว่ามืดไม่มีสี มันเป็นสี ซึ่งไม่มีคำจะเรียก ก็ต้องขอเรียกกันอย่างนี้ ตามที่เขาเรียกกันมา แต่ก่อนว่า ปริโอทาตะ(นาทีที่ 09:54 ) ถ้าจะเรียก เป็นภาษาไทย ก็มันขาวอย่างไม่มีสี นั่นแหละ จะเข้าใจคำว่า บาปไม่ทำ แล้วก็ทำกุศล ทำความดีอย่างยิ่ง แล้วยังจะต้องทำอีกทีหนึ่ง ให้จิต นี้จิต อ่ะ, ขาวรอบ ไม่ทำบาปคือ ไม่ทำกรรมที่เป็นบาป ทำกุศลให้ขาวรอบนั้น ทำกรรมที่เป็นกุศลหรือเป็นดี มันเป็นการทำที่กรรมทั้งสองอย่างแหละ ทำบาปหรือทำกุศล มันเป็นการกระทำที่ เป็นกรรม
แต่พอมาถึงปริโยทาตะ(นาทีที่ 10:42) ไม่มีสีนี่ กลายเป็นจิตของตน ให้ปริโอทาตะ(นาทีที่ 10:47 ) อือ, ในภาษาไทย มันก็หลอกอย่างนี้ ภาษามันก็หลอกอย่างนี้ มันก็ยุ่ง คนที่ไม่ศึกษาให้จริง ๆ มันก็ไม่รู้ มันก็งง มันก็ถือกันอย่างงง ๆ ไปอย่างนั้นเอง ก็ต้องเข้าใจให้ชัดลงไป ว่าเมื่อทำ เมื่อไม่ทำบาปเสร็จแล้ว แล้วก็มาทำบุญ หรือทำกุศลเต็มที่แล้ว ยังจะทำ ต้องทำอะไรให้เหนือนั่นขึ้นไป อีกทีหนึ่ง คือ เหนือบาป เหนือบุญนั่นเอง จนมิใช่บาป มิใช่บุญ มันเหนือบุญขึ้นไปนี่ จึงจะเรียกว่า มันเป็นขาวรอบ คือ ขาวจนไม่มีสี มันก็เลยได้ความว่า เหนือบาปก็มาถึงบุญ เหนือบุญก็มาถึง ไอ้ที่ว่านี่ ซึ่งเรียกว่า จริง ๆ ที่แท้ก็ เรียกว่า นิพพาน เรียกว่านิพพาน เหนือบาป เหนือบุญ ถ้าพูดเป็นภาษาวัตถุ ก็ต้องพูดว่า จากบาปก็มาถึงบุญ หรือกุศล หรือดี จากชั่วก็มาถึงดีนี่ เหนือดีขึ้นไป ก็คือ ถึงว่าง ว่าง ว่าง ว่างจากชั่ว อ่ะ, ว่างจากดี
นี่ขอให้เข้าใจไว้เถอะว่า เหนือดีนี้ขึ้นไป มันยังมีอีกทีหนึ่งคือ ว่าง เมื่อถึงว่างนี่ จึงจะถึงที่สุดแห่งปัญหา คือ จะไม่มีความทุกข์เลย ถ้ายังเพียงหยุดอยู่แค่ดี มันไม่จบ เพราะว่า ไอ้สิ่งที่เรียกว่า ดีนั้น มันเป็นกรรม เป็นการกระทำ มันก็มีการปรุงแต่ง คือ มันเป็นสังขาร สังขารการปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่ง ผู้ปรุงแต่ง ไอ้ดี ดี นี้มันยัง เป็นที่ปรุงแต่ง ผู้ปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่ง มันก็ปรุงแต่ง ปรุงแต่งให้ยุ่ง ให้วุ่นไปตามดี ตามแบบที่เรียกว่า ดี ไอ้บาป ก็เป็นสังขารที่ปรุงแต่งให้ยุ่ง ไปตามแบบบาปหรือชั่ว ไอ้บุญก็ปรุงแต่งไปตามแบบบุญ ให้มันยุ่งไปตาม แบบบุญหรือแบบดี จึงมีคนเป็นอันมาก อ่า, บ้าดี เมาดี หลงดี บ้าบุญ เมาบุญ หลงบุญ บ้าสุข เมาสุข หลงสุข มันจึงไม่ถูก มันจึงไม่พอ มันจึงต้องเหนือนั่นขึ้นไปอีก คือ ไม่บ้าในสิ่งที่มันได้ถึงที่สุด อ่า, ตามที่ตัวต้องการแล้ว นั้นเมื่อได้ความสุข ละความทุกข์ มาได้ความสุขแล้ว ก็อย่าบ้าความสุข ฟังดูให้ดี ๆ มันก็ไม่ยากเกินไปล่ะ
เมื่อพ้นความยากจนนะ มาสู่ความร่ำรวยนะ แล้วก็อย่าบ้าความร่ำรวย อย่าบ้าความร่ำรวย เออ, มันก็ไม่มี ปัญหาอะไร ถ้ามันบ้าความร่ำรวย มันก็มีปัญหาขึ้นมาทันที มันยุ่งและมันวุ่นวาย เป็นทุกข์ขึ้นมา ทันที หรือว่า คนที่มันอยากสวย อ่า, มัน ๆ ไม่สวย มันปลุกปล้ำตบแต่งจนมันสวย ครั้นได้สวยมาแล้ว ก็อย่าบ้าสวยสิ อย่าบ้าสวยสิ สวยแล้วก็อย่าบ้าสวยสิ นี่คือ ว่ามันเป็นอันสุดท้าย นี้มัน ๆๆ เข้าใจยากสักหน่อย สร้างอำนาจ ได้อำนาจขึ้นมาแล้ว ก็อย่าบ้าอำนาจ อย่าหลงอำนาจ อย่าเมาอำนาจ สรุปความว่า อะไรที่ว่าดี ๆๆ ดีน่ะทำให้ได้ ๆ ได้มาแล้ว ก็อย่าไปบ้า อย่าไปหลง อย่าไปเมากับมัน นี่ใจความสำคัญของพระพุทธภาษิต ที่เป็นหัวใจของ พระพุทธศาสนา มันมีอย่างนี้
ใครได้รับประโยชน์อันนี้บ้าง อือ, ยังบ้าดี บ้ารวย บ้าสวย เมาบุญ บ้าบุญ หลงบุญ บ้าดี เมาดี หลงดีกันอยู่ แล้วก็โง่ โง่ถึงสุดขีด จนเอาพระนิพพาน ลงมาเป็นเรื่องดี เอาพระนิพพานลงมาเป็นเรื่องดี พระนิพพานเหนือดี พ้นดี พ้นกุศล พ้นอะไรไปหมดแล้ว ก็ดึงเอามาเป็นเรื่องดี นั่นก็บ้านิพพาน ในฐานะที่เป็นความดี ในความหมาย ที่เป็นความดี อย่างนี้มันก็ผิดหลักพระพุทธศาสนา อยากจะขอเตือนกันไว้ ในข้อนี้แหละ
ไหน ๆ ก็พูดกันมา เรื่องนี้ หลาย ๑๐ ครั้ง เต็มทีแล้ว เรื่องมาฆบูชานี่ อยากจะให้จับใจความสำคัญ ของเรื่องนี้ให้ได้สักที ช่วยจำไว้อย่างนี้แหละว่า “จากชั่วมาถึงดี จากดีก็ถึงว่าง” อือ, คือ เหนือชั่วเหนือดีก็ได้ จากชั่วก็มาถึงดี เหนือดีขึ้นไปอีก ก็คือ เหนือดี เหนือชั่ว คือ ว่าง ว่าง ว่างนั่นแหละ คือ พระนิพพาน เรียกว่า สุญญ สุญญ แปลว่า ว่าง อ่อ, ออกเสียงเป็นภาษาไทยว่า สูญ แต่พวกบัณฑิตโง่ ๆ ขอใช้คำหยาบคาย ขออภัยนะ ใช้คำหยาบคาย ไอ้บัณฑิตโง่ ๆ ทั้งหลายยังมีอยู่มาก มันแปล สุญญ ว่าสูญเปล่าโน้น สุญญ สูญ สุญญ ว่าสูญเปล่า โน้น มันแปลซะอย่างนั้น สูญเปล่าจนไม่มีอะไร แล้วเป็นโทษ เป็นอันตรายไปซะอีก เสียเปล่า ๆ ชั้นบัณฑิต ชั้นนักปราชญ์ในประเทศไทยนี่ ไม่ต้องออกชื่อหรอก มันยังแปล สุญญ นี่ว่า สูญเปล่า ไม่แปลว่า ว่าง ว่าง ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่างจากการปรุงแต่ง ว่างจากการว่ายเวียน ว่างก็แล้วกัน สุญญ อย่าแปลว่า สูญเปล่า
คนทั้งหลายคนแก่ คนเฒ่า ได้ยินว่าสุญญ แล้วก็มักจะแปลว่า สูญเปล่า สูญเปล่า ถ้าอย่างนั้น พระนิพพาน ก็สูญเปล่าแหละ เพราะว่างที่สุด คือ พระนิพพาน นั้นไม่ใช่สูญเปล่า แต่มันว่าง นี่มันว่างจากวุ่น มันไม่มีความวุ่น แม้แต่สักนิดหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องชั่ว เรื่องบาป มันก็วุ่นไปตามแบบชั่ว วุ่นอย่างชั่ว ถ้ามันดี มันก็วุ่นหรือปั่นป่วนไป ตามแบบดี มันไม่หยุด มันไม่สงบ นั้นจึงต้องเป็นเรื่องไม่วุ่น จึงจะเป็นเรื่องว่าง อ่า, คนชั่วก็วุ่นไปตามแบบคนชั่ว คนดีก็วุ่นไปตามแบบคนดี ถ้าคนว่างอ่ะ, เหนือชั่วเหนือดี มันจึงจะไม่วุ่น ไปตามแบบไหนหมด
อ่ะ, ขอให้เข้าใจกันไว้อย่างนี้ ว่ามันเป็นหลักสำคัญ ในข้อที่ว่า เมื่อมาถึงสิ่ง เมื่อขึ้นมาถึงสิ่งที่ ตนปรารถนาแล้ว อย่าได้ไปบ้ากับไอ้สิ่งนั้น อย่าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น อย่าไปหมายมั่นสิ่งนั้น ให้เป็นของกู เป็นตัวกูขึ้นมา จำไว้เป็นหลักทั่วไป หลักที่กลางถนน กลางบ้าน กลางเรือนก็ได้ ว่าได้อะไรมา เป็นที่ถูกใจ ของตนแล้ว ก็อย่าบ้า อย่าหลงกับสิ่งนั้น ได้เงิน ได้ของ ได้ควาย ได้ไร่ ได้นา ได้สวน ได้อะไรมาแล้ว ก็อย่าบ้ากับ สิ่งนั้น ไม่มีรถยนต์ ไปซื้อรถยนต์มา ได้ถูกใจแล้วก็บ้ารถยนต์ นี่ไอ้คนบ้า ไม่มีเงินปลุกปล้ำจนได้เงิน แล้วก็บ้าเงิน หลงเงิน นี่ก็เป็นคน เป็นคนบ้า ไม่มีอำนาจ ทำจนมีอำนาจวาสนาขึ้นมา แล้วก็บ้าอำนาจวาสนา หลงอำนาจวาสนา มันคนบ้า
อื้อ, ขอให้ สรุปเป็นใจความสั้น ๆ ว่าต้องการอะไร ปรารถนาอะไร อือ, ในฐานะที่พอใจ ต้องการที่สุด อือ, แล้วก็ได้มา ครั้นได้มาแล้วทีนี้เป็นอย่างไร ได้มารักได้มาหวง ได้มายึดมั่นถือมั่น ได้มาวิตกกังวลนอนไม่หลับ นั่นมัน ๆๆ มันจะเลวยิ่งกว่าไม่ได้เสียอีก นั้นต้องไม่หลง ต้องไม่หลง ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับ สิ่งที่ตนรัก ตนพอใจที่ปลุกปล้ำจนได้มา นี่ควรจะจำไว้เถิด จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์ เสียเปล่า ๆ อยากได้อะไรมา เหมือนใจจะขาด อือ, ได้มาแล้วก็มารักมาหลง วุ่นวายไปหมด ข้อนี้ ก็อยากจะให้ทุกคนย้อนระลึกถึงความหลัง ที่เคยได้มาแล้ว อาตมาก็เคยบ้า บอกตัวเองว่าก็เคยบ้า ครั้งแรกที่สุด เมื่อยังแรกบวชเต็มที อ่า, อยากได้พิมพ์ดีด พอไปได้เครื่องพิมพ์ดีดมา วันนั้นพิมพ์สว่างเลย ดูสิ เพราะความที่มันบ้า นอนไม่หลับ พิมพ์กันสว่างเลย แล้วก็พิมพ์กันดึก ๆ อยู่หลาย ๆ คืน จนกว่าจะค่อย ๆ ทีนี้ไม่ต้องแล้ว นี่ตัวอย่างที่ว่า อะไรที่มันอยากได้แล้ว มันก็ได้มา ก็อย่าไปหลงกับมัน อย่าไปหลงกับมัน ให้ปกติให้ได้
แต่คงจะลำบากแหละ ที่ว่ามันได้เมียใหม่ ๆ ได้ผัวใหม่ ๆ จะให้มันไม่หลงนี้ มันคงจะลำบาก ก็ให้อภัย กันไปตามเรื่อง แต่ว่าอย่าหลงนั่นแหละดี อย่าหลงนั่นแหละดี หัวใจพระพุทธศาสนา มันมีอย่างนี้นะ อ่อ, เมื่อละชั่วไปแล้ว ก็ทำดี แล้วก็ได้ดีมา แล้วก็อย่าหลงดี ให้หยุดว่าง มีความดี โดยที่ไม่ต้องหลงความดี เหมือนกับ ว่ามีเงินมา ก็ไม่ต้องหลงเงิน ไม่ต้องงกเงิน ไม่ต้องนอนไม่หลับเพราะเงิน ก็ใช้เงินไปได้ ได้ของอะไร มาก็ใช้สอยไปได้ โดยที่ไม่ต้องหลง ไม่ต้องหลงกับมัน เป็นใจความสั้น ๆ นิดเดียวว่า ได้อะไรที่ถูกใจ ที่เรียกว่า ดีที่สุด แล้วอย่าหลง เท่านี้เอง เท่านี้เอง หัวใจสำคัญของโอวาทปาติิโมกข์ว่า ได้อะไรที่ดีที่สุดมาแล้ว อย่าหลงกับมัน จิตมันจึงจะขาวรอบ จิตมันจึงจะขาวรอบ เป็นปริโอทาตะ(นาทีที่ 22:52 )
จำไว้ แม้ไม่ใช่เรื่องไปนิพพานน่ะ เรื่องอยู่ที่บ้านที่เรือน ได้ควายก็อย่าหลงควาย ได้นาก็อย่าหลงนา ได้ข้าวเปลือกก็อย่าหลงข้าวเปลือก ได้เงินก็อย่าหลงเงิน ได้เกียรติยศชื่อเสียง ก็อย่าไปหลงเกียรติยศชื่อเสียง ได้อำนาจวาสนาก็อย่าหลงอำนาจวาสนา จะดีไหม ช่วยกันคิดหน่อย ทุกคนดีไหม ถ้าว่ามันไม่มีการหลงสิ่งเหล่านี้ แล้วโลกนี้มันจะดีไหม ถ้ามันไปหลงไอ้สิ่งเหล่านี้เข้า มันจะเป็นอย่างไร ทีนี้ล่ะมันจะกอบโกย มันจะขูดรีด มันจะฉ้อฉล มันจะเอามากขึ้นไปอีก เพราะมันหลง โดยสรุปความสั้นว่า ได้อะไรมาถูกใจแล้ว อย่าไปหลงกับมัน อย่าไปหลงกับมัน มีทุกข์ละทุกข์แล้วได้สุข ได้สุขแล้วอย่าหลงกับมัน มีเท่านั้นแหละ อย่าหลงกับมัน แล้วจิตมัน ก็จะขาวรอบ สัพพ ปาปัสสะ อกรณัง (นาทีที่ 24:02) “ไม่ทำบาปทั้งปวง” กุสลสู ปสัมปทา (นาทีที่ 24:06) “ทำกุศลให้ถึงพร้อม” สจิตตะ ปริโย ทปนัง (นาทีที่ 24:11) อย่า เออ “เออ, ทำจิตให้ขาวรอบ ทำจิตให้ขาวรอบ คือ ไม่ไปหลง กับที่ว่ากุศลทั้งหลายที่ได้มา”
ทีนี้ ในวันนี้ อ่ะ, ตั้งใจจะพูด เรื่องที่สำคัญที่สุด ในพระพุทธศาสนา เป็นคำใหม่ ที่ท่านทั้งหลาย อาจจะ ไม่เคยได้ยินก็ได้ แม้แต่พวกพระอยู่ในวัดเป็น ๑๐ ๆ ปีมันก็ยังไม่เคยได้ยิน เป็นมหาเปรียญ มันก็ยังไม่สนใจ อยากจะอวดสักหน่อยนะว่า เรานี่ เราได้ทำให้มีคำพูด หลายคำ ออกมาใช้พูดกันอยู่ ซึ่งแต่ก่อนไม่มีพูด ไม่ใช้พูด เช่น คำว่า อิทัปปัจจยตา ก่อนโน้น ไม่มีใครรู้จักคำนี้ หรือพูดคำนี้ อ่ะ, พอเอามาใช้พูดกัน เดี๋ยวนี้ ก็พูดกันเยอะ ทั่วไป ทั่ว ๆ ไปก็พูด อิทัปปัจจยตาเป็นทั้งนั้น แล้วคำว่า สุญตา สุญตา ว่าง เดี๋ยวนี้ ก็พูดเป็นกัน หลายคนแล้ว คำว่า ตถาตา ตถตา ตถาตา ก็เดี๋ยวนี้ ก็พูดเป็นกันหลายคนแล้ว ก็ดี รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทำให้ได้ ให้มันเป็น อิทัปปัจจยตา เช่นนั้นเอง ไม่หลงรัก หลงเกลียด หลงกลัว แล้วมันก็เป็น สุญตา มันว่างจากตัวตน มันเป็นตถาตา เป็นเช่นนั้นเอง ตามเหตุตามปัจจัย หรือว่าตามที่มันไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย มันก็เป็นตาม ที่มันไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
ทีนี้จะบอก คำอีกคำหนึ่ง ซึ่งคอยฟังให้ดีนะ คอยฟังให้ดีนะ ยิ่งกว่าเพชรพลอยนะ แล้วไม่เคยได้ยินนะ คือคำว่า อตัมมยตา ใครเคยได้ยิน อตัมมยตา อตัมมยตา อตัมมยตา ใครเคยได้ยิน นี่ในพระไตรปิฎกก็มี ในพระไตรปิฎกก็มีคำนี้อยู่ แต่น่าสงสารที่ว่า คงจะเป็นเพราะ ไม่เข้าใจความหมายของคำ ๆ นี้ เลยเลอะหมด ในพระไตรปิฎกเลอะหมด เพราะไม่รู้คำ ๆ นี้ว่าโดยคือว่า คืออะไร อยากจะพูดว่า แม้แต่ พวกอรรถกถาก็ไม่รู้ เลยอธิบายไว้ต่าง ๆ กัน มันเลยเลอะเลือน เลอะเลือน คำนี้ในที่บางแห่ง หรือบางสูตร มันกลายเป็นอตัมมยตา เสียก็มี ในบางที่บางแห่ง บางสูตร มันกลายเป็นอคัมมยตา(นาทีที่ 26:56) ไปเสียก็มี ที่ถูกที่แท้มันเป็นอตัมมยตา ถ้าเป็นตัวขอม ถ้าหัวมันเล็ก อ่อ, ถ้าไม่มีหัวมัน ก็เป็น อกัมมยตา(นาทีที่ 27:09) โค้ง ๆ ไม่มีหัว ก็อ่านเป็นตัว ก โค้งมีหัวนิดเดียว มันก็เป็นตัว ค ถ้าโค้งนั้น มีหัวใหญ่ มันก็เป็นตัว ต เพราะฉะนั้น มันจึงเกิดเป็นอกัมมยตา อคัมมยตา(นาทีที่ 27:22) อตัมมยตา เหลืออยู่ ๓ คำ ยุ่งไปหมด ในพระบาลี ในพระไตรปิฎกเอง มีถึง ๓ คำ ทำสังคยานากันมากี่ครั้งแล้ว ก็ไม่เคยเห็นมีใครแก้ หรือไม่มีใครกล้าแก้มัน มันจึงเหลืออยู่ทั้ง ๓ คำ อย่างที่ไม่รู้ว่า จะเอาคำไหนแน่
เรามาศึกษาทบทวนแล้ว ก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ก็ต้องเป็น อตัมมยตา อตัมมยตาคำนี้ มีมากในที่ หลายแห่ง ส่วนอกัมมยตา(นาทีที่ 27:55) หรืออคัมมยตา(นาทีที่ 27:57) มีน้อย มีบางแห่ง นั่นมันไม่ถูก เออ, ขอให้จำว่า อตัมมยตา อตัมมยตา แปลว่า ไม่สำเร็จมาจากสิ่งนั้น ฟังว่ายาก ใช่ไหม ไม่สำเร็จมาจากสิ่งนั้น ไม่สำเร็จมาจากปัจจัยอันนั้น ไม่สำเร็จมา ไม่ต้องสำเร็จมาจากปัจจัยที่เคยปรุงแต่ง อีกต่อไป คือ บรรดาปัจจัย ทั้งหลาย ที่มันเคยปรุงแต่งอย่างไร วุ่นวายไปหมดนั้น เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับ ปัจจัยนั้นอีกต่อไป ไม่สำเร็จ มาแต่ปัจจัยนั้นอีกต่อไป อ่า, ก่อนนี้ก็สำเร็จมา แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดกิเลสนั่นนี่ เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดอะไรต่าง ๆ ยุ่งไปหมด เพราะสำเร็จแต่ปัจจัยนั้น ๆ คือ มนุษย์เรา เมื่อยังไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร หรือจาก กองทุกข์ มันก็ผูกพันหรือเนื่องกันอยู่กับปัจจัยนั้น ๆ เออ, จนกว่าจะเห็นสุญตา เห็นสุญตา โอ้ว, มันว่าง จากตัวตน เห็นตถาตา เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง ไม่ไปติดกับ ไม่ไปติดพันกับสิ่งใด มันจึงจะเกิดอาการ ที่ว่า ไม่สำเร็จมาจากปัจจัยนั้น ๆ อีกต่อไป
เพราะฉะนั้น หัวใจลึกซึ้งสูงสุด ของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีใครเอามาพูด ไม่มีใครเอามาใช้ เรานี่ จะเอา มาพูด เอามาใช้ ด้วยว่า มันมีประโยชน์ที่สุด มันเป็นหัวใจที่สุด มันเป็นคำที่มีค่า มีความหมายที่สุด อตัมมยตา หลังจากเห็นไอ้ความจริง ทั้งหลายแล้ว เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นธรรมทิฐิตา ธรรมนิยามตา(นาทีที่ 29:53 ) อิทัปปัจจยตา เห็นสุญตา เห็นตถาตา เห็นความจริงมาหมดแล้ว มันจะเกิดอาการ ที่เรียกว่า อตัมมยาตา ไม่ต้อง สำเร็จอยู่ หรือสำเร็จมา สำเร็จกับสิ่งนั้นอีกต่อไป ถ้าพูดให้หยาบคาย หยาบคายหน่อย ก็พูดว่า กูไม่เอากับมึงอีก ต่อไป นี่คุณลองฟังดู ว่ากูไม่เอากับมึงอีกต่อไป เหตุปัจจัย บุญกุศล บาปบุญอะไรต่าง ๆ ที่มันเคย ทำให้ยุ่งวุ่นวาย มาหมดไม่รู้สิ้นรู้สุดนั่น เดี๋ยวนี้ว่า กูไม่เอากับมึง อีกต่อไป คำนี้คือ ความหมายของคำว่า อตัมมยตา
ขอให้ถือว่า วันนี้ เราได้รู้จักคำวิเศษสูงสุด ดูจะสูงสุด ไม่มีอะไรยิ่งกว่าไปอีกแล้ว ในพุทธศาสนาคือ คำว่า อตัมมยตา ในความหมายว่า ต่อไปนี้กูจะไม่เอากับมึงอีกต่อไป อ่า, ใครมีปัญญาเข้าใจ เอาไปใช้ เป็นประโยชน์ได้ จะประเสริฐที่สุด รู้ธรรมะถึงที่สุดได้ ได้จริง อ่ะ, ทำเป็นความรู้สึกที่แท้จริง ว่ากูไม่เอากับมึง อีกต่อไป ก็เป็น อตัมมยตาที่สูงสุด นี่ช่วยจำเอาไว้ จะได้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา ควายมันทำให้กู ยุ่งยากลำบากหัวใจ มาไม่มีที่สิ้นสุด เดี๋ยวนี้กูไม่เอากับมึงอีกต่อไป นามันทำให้ยุ่งยากลำบาก หัวใจไม่มีที่สิ้นสุด เดี๋ยวนี้กูไม่เอากับมึง อีกต่อไป อะไร ๆ ก็ตาม เงินทองข้าวของ ทำให้ยุ่งหัวใจ ไม่มีที่สิ้นสุด เดี๋ยวนี้กูไม่เอากับมึงอีกต่อไป ขออภัย ที่มันจะต้องใช้ได้กับ ผัวกับเมียก็ได้ ถ้ามันยุ่งยากนัก หย่ากันนะ กูไม่เอากับมึงอีกต่อไป มันก็คำเดียวกัน ในความหมายเดียวกันน่ะ สิ่งใดที่มันทำความยุ่งยากลำบาก ให้ไม่มีที่สิ้นสุด มองเห็นชัดแล้ว ตัดขาดออกไป กูไม่เอากับมึงอีกต่อไป นั่นแหละ คือ ความหมายของคำว่า อตัมมยตา อตัมมยตา
อ่า, ถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญ สำหรับพวกเราอีกวันหนึ่ง คือ ประกาศใช้คำว่า อตัมมยตา ให้จำไป ให้ไปใช้ ใช้จนเป็นคำธรรมดา เหมือนกับคำว่า สุญตา ตถาตา อิทัปปัจจยตา อะไรต่าง ๆ ที่เราได้เคยทำกันมาแล้ว วันนี้ขอให้คำพิเศษและสูงสุด และดูจะไม่มีคำอะไรที่จะสูงสุดกว่าคำ ๆ นี้ไปแล้ว ในฐานะฝ่ายที่เป็นธรรมฐิติญาณ (นาทีที่ 32:40) คือ ฝ่ายความจริงของธรรมชาติ ถ้าจะมีต่อไป ก็เป็นฝ่ายนิพพานญาณ ผลที่ได้รับ ไปโน้นเลย เช่น คำว่า ไกยวัลยตา(นาทีที่ 32:49 ) เป็นต้น นั่นก็เป็นเรื่องของนิพพานไป
แต่ถ้าในฝ่าย เรื่องความจริงของธรรมชาติที่เป็นเหตุ ให้ยึดมั่นถือมั่นแล้ว คำนี้สูงสุดคือ อตัมมยตา อตัมมยตา เอาไปไว้ใช้ อ่า, ไว้ใช้ในทุกกรณี ที่ว่าได้อะไร มายึดมั่นถือมั่น รึงรัดหัวใจ อยู่ตลอดกาลนานแล้ว เดี๋ยวนี้มาเห็นว่า โอ้ว, มัน มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสุญตา เช่นนั้นเอง และตอนนี้ ต่อไปนี้ กูจะไม่ยุ่งกับมึงอีกต่อไป ต่อไปนี้มึงจะไม่ทำลายหัวใจ ของกูให้ลำบากได้อีกต่อไป ความรู้สึกอันนั้นแหละ คือ อตัมมยตา หัวใจของพุทธศาสนา ในฝ่ายธรรมฐิติญาณ(นาทีที่ 33:37) คือ ญาณที่แสดงความจริง ของสังขาร ทั้งหลาย ว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นจริงถึงที่สุดในเรื่องนี้แล้ว มันจะปล่อยวางได้เร็ว มันก็จะขึ้นไปสู่ นิพพานญาณ
ขอให้รู้ไว้เถอะว่า ญาณ ๆ เยอะแยะ ตั้งร้อยชื่อ พันชื่อ มันมีอยู่ ๒ พวกเท่านั้น พวกหนึ่งเป็น ธรรมฐิติญาณ (นาทีที่ 33:59) บอกให้รู้ความจริงของสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงว่าเป็นอย่างไร ครั้นรู้แล้ว มันก็เกิดนิพพานญาณ คือ ปล่อยวางหลุดพ้น เป็นสุขสงบเย็น นี้เป็นนิพพานญาณ ธรรมฐิติญาณ(นาทีที่ 34:16) ก็มีหลายสิบชื่อ นับตั้งแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้นไป ตั้งแต่ว่า ไม่น่ายึดถือไปทุกอย่าง ส่วนนิพพานญาณ ก็เอาตั้งแต่ วิราคะขึ้นไป หรือนิพพิทาก็ได้ นิพพิทาแล้วก็วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ์ ขึ้นไปหานิพพาน สูงสุดของ ธรรมฐิติญาณ(นาทีที่ 34:40) คือ ที่ว่าจะหยุด จะหย่าขาดจากกัน กับสังขารทั้งปวงคือ อตัมมยตา ความที่ไม่ต้อง อาศัย เหตุปัจจัยนั้นอีกต่อไป ความที่ไม่ต้องผูกพันหลงใหล อยู่กับเหตุปัจจัยนั้นอีกต่อไป
เหมือนกับว่า ละจากบาปมาสู่บุญ แล้วก็หลงบุญ บ้าบุญ วนเวียนอยู่กับบุญ อยู่ตรงนี้ออกไปไม่ได้ จะเอา แต่บุญเรื่อยไป นั้นต่อมาเห็นว่า โอ้ว, ไอ้บุญนี้มันก็ไม่เที่ยงโว้ย, ยึดถือเข้าแล้วก็เป็นทุกข์โว้ย, เป็นอนัตตาโว้ย, เป็นสุญตา อ่า, ไม่เอากับมึง อีกต่อไปแล้ว นั่นน่ะ มันจะเกิด อตัมมยตา ฟังมันก็ยาก เพราะมัน เป็นภาษาแขก ภาษาอินเดีย ภาษาโบรมโบราณ ในครั้งพุทธกาล อะ แปลว่า ไม่ ตัม แปลว่า นั้น มยะ แปลว่า สำเร็จ ตา แปลว่า ความ ความที่ไม่ต้องสำเร็จ มาจากเหตุปัจจัยนั้นอีกต่อไป
ก็ดูให้ดีสิ ที่แล้วมา แล้ว ๆ มา เรามันอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นะ มันอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นะ ด้วยความรัก ด้วยความพอใจ ด้วยความยึดมั่น แม้ที่สุดแต่ว่า จำเป็นที่จะต้องอาศัย เรื่องที่จำเป็นจะต้องอาศัย แต่มันไม่ได้ อาศัยด้วยสติปัญญา มันอาศัยด้วยอวิชชา มันยึดมั่นถือมั่น มันเลยยึดมั่นถือมั่นไปหมด อ่ะ, ทรัพย์สมบัติ ข้าวของ เงินทอง บุตร ภรรยา สามี แม้แต่บ้านเรือน ข้าวปลาอาหาร เครื่องใช้ไม้สอย ก็ต้องอาศัยมันอยู่ ต้องติดพันมันอยู่ ต้องผูกจิตผูกใจกับมันอยู่ สลัดออกไปไม่ได้ ครั้นมาถึงจุดนี้ จิตน่ะ จิตโดยจิตน่ะ มันไม่ มันไม่ อีกต่อไปแล้ว มันไม่หวังที่จะผูกพัน ไม่หวังที่จะยึดมั่น แม้ว่าร่างกายมันยังจะต้องทำอยู่ แต่จิตมันไม่ยึดมั่น มันเป็นเรื่องของจิต
อ่ะ, สมมติว่า เมื่อก่อนเรากินข้าวแล้ว ก็หลงใหลในข้าวพอใจ ในข้าว มีอุปาทานในข้าวที่กิน มันก็เป็น คนธรรมดา เดี๋ยวนี้ไม่หลงใหล ไม่ยึดมั่นถึงขนาดนั้น แม้ว่าจะยังกินข้าวอยู่ อ่ะ, ก็ไม่หลงใหล ว่าอย่างนั้น กู กูไม่ กูไม่เป็นทาสของมึงอีกต่อไป กูไม่ผูกพันกับมึงอีกต่อไป ไม่เห็นความจำเป็น ที่จะต้องผูกพันกับมึงอีกต่อไป ก็เรียกว่า อตัมมยตา แม้ว่าจิตใจมันจะหลุดพ้นไปแล้ว ร่างกายนี่ มันต้องกิน ต้องใช้ ต้องอาศัยอยู่ ต้องอาศัย บ้านเรือน เงินทอง ข้าวของอยู่ แต่จิตใจก็ไม่ได้ผูกพัน ไม่ได้ผูกพัน อตัมมยตา นี่เป็นอันสุดท้าย ของการละไป ตามลำดับ ละสิ่งที่เป็นอุปาทาน ที่ตั้งตามลำดับ
ละอันสุดท้าย คือ ละอุเบกขา อุเบกขาชั้นสูงสุด เมื่อมันละดีละชั่ว มายึดติดอยู่ที่อุเบกขา มันยังละ อุเบกขานั้นเป็นอันที่สุด พวกกามาวจร ก็เป็นเครื่องผูกพัน แล้วก็อุเบกขาไม่ได้ ขึ้นมาถึงรูปาวจร มีปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน นี้ก็ควบคุมอุเบกขาได้ ในการกามารมณ์หรือบาปอกุศล ก็อุเบกขาได้ แต่ก็มันยังหลายอย่าง ฟุ้งซ่านอยู่หลายอย่าง เรียก นานัตตาอุเบกขา(นาทีที่ 38:21) ขึ้นมาถึงอรูปฌาน กระทั่งถึง อาจิน จััญญา ยตนะ (นาทีที่ 38:26 ) ไม่มีอะไร นี่ก็เรียกว่า เอกัคคอุเบกขา(นาทีที่ 38:30) ละไม่ได้ ละยากที่สุด ติดอยู่ที่ตรงนี้แหละ อุทกดาบส รามบุตรติดอยู่ที่ตรงนี้ละไม่ได้ แล้วมาสอนให้พระพุทธเจ้าทำอย่างนั้นด้วย พระองค์ก็ไม่เอา พระองค์ก็ออกไปหาของพระองค์เอง ธรรมะชื่อ อตัมมยตา นี่จะละอุเบกขา อันสุดท้ายที่เรียกว่า เอกัคคอุเบกขา (นาทีที่ 38:52) เหลืออันเดียว ข้อเดียว นิดเดียว จุดเดียว ละได้ด้วย อตัมมยตา เป็นว่าตัดบทหมดเลย กูไม่เอากับมึง ทุกอย่างเลย ทุกอย่างต่อจากนี้ไม่เอากับมึง ใคร ๆๆ มีความรู้สึกอย่างนี้ ใครเห็นอย่างนี้ ใครกล้าพูดอย่างนี้ ต่อไปนี้ จะไม่ถูกผูกพันอยู่กับสิ่งใด นี่จะไม่หลงใหล มัวเมา ยึดมั่นถือมั่น อยู่กับสิ่งใดนั่นแหละ คือ อตัมมยตา
พวกที่อยู่ในกามาวจร ก็ผูกพันอยู่กับกามาวจร ที่อยู่ในรูปาวจร ก็ผูกพันอยู่กับรูปาวจร อรูปาวจร ก็ผูกพัน อยู่กับอรูปาวจร ในภพทั้ง ๓ เหล่านั้น เดี๋ยวนี้ ไม่เอาสักอย่างเดียว ออกมาเสียจากภพ คือ ไม่ผูกพัน อยู่กับสิ่งนั้น ไม่สำเร็จมาแต่เหตุปัจจัยเหล่านั้น และอันนี้แหละ เป็นหลักธรรมะสำคัญ เป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำจิตให้ขาวรอบ ในโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งมีหลักสำคัญว่า ไม่ทำบาป ทำกุศล ทำจิตให้ขาวรอบ จิตจะขาวรอบได้ ก็โดยมี อตัมมยตา ละชั่วมาอยู่ที่ดี จิตดี อาศัยดี ผูกพันอยู่กับดี อาศัยดี เป็นสังขารปรุงแต่ง อย่างนั้นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ จะออกไปเสีย จากดีอันนี้ คือ เป็นอตัมมยตา ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัย คือ ความดีอีกต่อไป หลุดพ้นเป็นนิพพาน
นี้การจะทำจิตให้ขาวรอบได้ ตามหลักของโอวาทปาติโมกข์อันสูงสุดนั้น จะต้องมี อตัมมยตา อาตมา ออกชื่อมา เกือบ ๒๐ ครั้งแล้วนะ จำได้ไหม จำได้หรือยัง หรือพอพูดจบก็ลืม อตัมมยตา อตัมมยตา ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไว้ในใจ ว่ากูไม่เอากับมึงอีกต่อไป อตัมมยตา ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยนั้น ๆ อีกต่อไป ฉันไม่เอากับแกแล้ว บุญก็ไม่ไหว บาปก็ไม่ไหว ดีก็ไม่ไหว ชั่วก็ไม่ไหว สุขก็ไม่ไหว ทุกข์ก็ไม่ไหว ไม่ไหว ทั้งนั้น ที่ไปเอากับมัน ไปผูกพันอยู่กับมัน จะหลุดออกจาก ทุกสิ่งทุกอย่างอย่างนี้ นี่เรียกว่า ไม่สำเร็จอยู่กับ หรือไม่สำเร็จมาจาก หรือไม่ผูกพันอยู่ด้วย อ่ะ, กับสิ่งนั้น ๆ อีกต่อไป
ก็ดูว่าเดี๋ยวนี้ มันก็มีอะไร ที่ผูกพัน ผูกพันจิตใจอยู่ด้วย ทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าพระ ไม่ว่าฆราวาส ยิ่งมีการงานมาก การงานนั้นแหละ เป็นสิ่งที่ผูกพันจิตใจไว้ หวังจะดี จะเด่นจะดัง จะโก้จะหรู จะอวดดี ทั้งนั้นเลย สิ่งนั้นแหละผูกพัน ถ้าออกมาเสียได้จากสิ่งเหล่านั้นนั่น คือ อตัมมยตา สูงสุดในพระพุทธศาสนา ส่วนที่เป็นการปฏิบัติ ปฏิบัติ
เอาละ เป็นอันว่า เราได้พูดกันถึงธรรมสูงสุด ในพระพุทธศาสนา ที่สามารถจะช่วยให้ มีจิตขาวรอบได้ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ เดี๋ยวนี้ คนทั้งโลกไม่เป็นอย่างนี้ มีอะไรที่ผูกพัน มั่นหมาย เป็นเหตุให้หลงใหลอยู่กับสิ่งนั้น แล้วก็เป็นเหตุให้ ทำทุกอย่างเพื่อสิ่งนั้น ยึดถือเป็นตัวของกู เป็นตัว ของกู เป็นตัวกู เป็นตัวของกู กันอยู่ทั้งนั้น ทั้งโลก ไม่มีใครสนใจ ที่จะหย่าขาดจากสิ่งที่หลงรัก หรือรู้พอใจอยู่ ในขณะนี้ นี่คือ ความไม่มีอิทัปปัจจยตา ไม่มีอตัมมยตาทำเรื่องให้ติดต่อกันให้ดี ว่าเราถือหลักโอวาทปาติโมกข์ ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ขาวรอบ จะทำจิตให้ขาวรอบนี้ มันจะต้องอยู่ เหนือชั่ว เหนือดี เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์
อ่า, ถ้าพูดเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่หน่อย ก็ว่าเหนือบวก เหนือลบ เหนือความเป็นบวก เหนือความ เป็นลบ เหนือ Positive เหนือ Negative เหนือที่เป็นคู่ ๆ เป็นบวกเป็นลบอะไรน่ะ แล้วมันก็จะขาวรอบ จิตมันจะ ขาวรอบ ถ้าว่ามันเพียงแต่ละชั่วมา ก็มันเหมือนกับว่า ละสีสกปรกต่าง ๆ มา เหลืออยู่เป็นสีขาว ทีนี้ละสีขาวนั้น เสียอีกทีหนึ่ง จนไม่มีสี นั่นจึงจะ เรียกว่า มันขาวถึงที่สุด ขาวถึงที่สุด เดี๋ยวนี้ทุกคน มันหลงดี ใครบ้างที่กล้าพูดว่า ไม่ชอบดี หรือไม่บ้าดี ถึงมันกำลังบ้าดี มันก็ละอาย มันก็ไม่กล้าพูดว่า กูบ้าดี มันก็ไม่พูด ให้ใครรู้ นั่นแหละ รู้กันเอง รู้ของตัวเอง ว่ากำลังบ้าดี หลงดี อะไรคิดว่าดี ก็หลงสิ่งนั้นแหละ สิ่งนั้นน่ะ มันก็ผูกพันจิตใจ เป็นเครื่อง กระตุ้น เป็นเครื่องผลักดันให้กระทำ ยังอยู่ในขอบเขตของตัณหา อุปาทาน หรืออำนาจของอวิชชา โดยหลงไปว่า มีสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรเป็นตัวตน อือ, หมดอวิชชา มันก็จะหมดความหลง อย่างนี้ มันจึงจะอิสระ จะหลุดออกไปได้
การที่จะหลุดออกไปได้ จากสิ่งใด มันก็ต้องหย่าขาดกับสิ่งนั้น ไอ้อาการที่หย่าขาดกับสิ่งนั้น น่ะแหละ คือ อตัมมยตามีภาพปริศนาธรรมที่ว่า สามีคนหนึ่ง เขาหลงรักภรรยามาก ต่อมาเขาเห็นว่า ภรรยา เป็นคนไม่ดี มีชู้ มีอะไร เขาก็หย่าขาดจากภรรยาคนนั้น มันก็อยู่ที่ว่า จิตใจมันหย่าขาดหรือไม่ มันมีอตัมมยตาหรือไม่ ถ้ามันไม่มี มันหย่าขาดแล้ว แต่มันยังรักนั่นแหละ จริงหรือไม่จริงไปคิดดู ทั้งหย่ากันแล้ว ตามกฎหมาย แล้วมันก็ยังรักอยู่นั่นแหละ มันสลัดไม่ได้ มันไม่ได้หย่าขาด ทั้งโดยภายนอกและภายใน แต่ถ้ามันเป็นอิทัปปัจจย อตัมมยตา แล้วมันหย่าขาด โดยประการทั้งปวง
นี่เราเคยหลงรัก สิ่งต่าง ๆ ที่เราเคยหลงรัก หลงรักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ เคยหลงรักมาเท่าใด นี้จะตัดขาดออกไปได้อย่างไรนี่ มันก็อย่างเดียวกัน มันรู้จักสิ่งเหล่านี้จริงหรือไม่ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา เห็นว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ นี้ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาโดยแท้จริง ไปยึดถือแล้วกัดทุกที ถ้าอย่างนี้ มันก็หย่าขาดกันได้
แต่เดี๋ยวนี้ มันไม่อย่างนั้นใช่ไหม เดี๋ยวนี้มันไม่อย่างนั้นใช่ไหม มันไม่รู้จักแม้แต่ว่า รูปคืออะไร เวทนาคืออะไร สัญญาคืออะไร สังขารคืออะไร วิญญาณคืออะไร มันก็ยังไม่รู้นี่ มัน ๆ ก็ยังไม่รู้จัก แม้แต่ตัว ขันธ์ทั้ง ๕ นี่ แล้วจะไปรู้ว่าขันธ์ ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างไร นั่นมันยังอีกไกลนักใช่ไหม ไม่รู้จักแม้ แต่ตัวขันธ์ ๕ นะ ใครบ้างก็ลองสอบสวนตัวเองดู ว่าขันธ์ ๕ คืออะไร รู้จักจริงไหม ถ้าไม่รู้จักแม้แต่ ตัวขันธ์ทั้ง ๕ แล้วจะไปรู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้อย่างไร มันก็เป็นไปไม่ได้ ต้องรู้จักตัวนั้นจริง ๆ สิ่งนั้นจริง ๆ จึงจะเห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นของ ธรรมชาติ พอไปเอามา เป็นตัวกู เป็นของกูมันก็กัดเอา มันก็กัดเอา มันก็เจ็บปวดนี่ ถ้ารู้สึกอย่างนี้แล้ว มันก็จะละได้ จะไม่อยากที่จะผูกพันอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นว่าตัวกูหรือของกูอีกต่อไป
ให้มันมีอยู่ตามธรรมชาติ ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยแห่งชีวิตจิตใจตั้งอยู่ แล้วก็อาศัยทำ ไปให้ถูกต้อง อย่าให้มีความยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเลย ทุกขันธ์เลย ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ด้วยอุปาทาน นี้ก็ คือ หัวใจของพุทธศาสนา ไม่ต้องไปเสียเวลา ศึกษาพุทธศาสนานิกายนั้นนิกายนี้ เมืองนั้นเมืองนี้ เมืองโน้น ให้ ให้อะไร ให้มันเสียเวลา ให้มันบ้า ให้มันหลง ไม่ว่าพุทธศาสนานิกายไหน ที่ไหน สำนักไหน ถ้ามันถูกต้องนะ มันจะสอนเรื่อง ละความยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้ง ๕ ทั้งนั้นแหละ ถ้ามันถูกต้องแล้ว มันต้องไปจบลงที่ ละความ ยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้ง ๕ ทั้งนั้น จนเป็นกรรมฐานวิปัสสนาแบบไหน ถ้ามันถูกต้องมันต้องไป ๆ ไปจนถึง ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ แล้วก็ได้ผลจริงตามหลักแห่งพุทธศาสนา ถ้ามันไปติดตามอยู่ที่อื่น มันไม่ใช่พุทธศาสนา มันไม่ใช่พุทธศาสนา ขอให้รู้ไว้อย่างนี้
รู้จักขันธ์ ๕ เออ, ว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของธรรมชาติ และอวิชชาของจิต ไปเอามา มายึดถือ เป็นตัวเราของเรา แล้วมันก็กัดให้ เกิดความเจ็บปวดแก่จิต เดี๋ยวนี้จิตมันเห็น ความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว มันรู้สึก โอ้ว, กูไม่เอากับมึงอีกต่อไป นี่คือ อตัมมยตา ขอให้สนใจคำ ๆ นี้ แล้วคอยสังเกต ให้ดี ว่ามันมีอยู่จริงใน ใน ๆ แง่ไหน มันจริงในแง่ไหน มันจริงในแง่ที่ยึดมั่นถือมั่น หรือมันจริงในแง่ที่จะปล่อยวาง ถ้ามีอตัมมยตา ก็เป็นอันว่า แน่นอนที่จะเป็นพระอรหันต์ จะไม่แค่โสดาบัน สกิทาคา จะเป็นพระอรหันต์เลย ถ้ามีอตัมมยตา เห็นความจริง ในทุกสิ่งทุกขั้นตอนของสังขาร ของนามรูปแล้ว มันจะเกิด จะเกิดอาการอันนี้ คือ จะมีจิตใจหน่าย หน่าย เบื่อหน่าย สลายออกจากกัน คลายความ ยึดมั่นถือมั่นที่เรียกว่า ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทานนั่นน่ะ มันต้องด้วย อำนาจของสติปัญญาชนิดที่เป็นอตัมมยตา
จะสรุปใส่ลงในแนว ในแถวของพระธรรม อือ, ให้เป็นเครื่องสังเกต ศึกษากันอีกต่อไป อ่า, ขอให้ตั้งใจ ฟังและจำอีกครั้งหนึ่งว่า เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ อย่างนี้ เป็นจุดตั้งต้น ชุดแรก คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้ค้นพบ แล้วสอนพระธรรม คือ คำสอน หลักปฏิบัติ ที่มาสอน อ่อ, พระสงฆ์ คือ ผู้ปฏิบัติ ทีนี้ เมื่อมีการปฏิบัติ มีการปฏิบัติก็เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ชุดที่ ๒ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ออกมาจากพระธรรม ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญาถูกต้องแล้ว ผลของปัญญาจะออกมาเป็นความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๓ อย่าง อีกเหมือนกัน ถ้าปัญญาเป็นไปถึงที่สุด มันจะออกมาเป็นความรู้ ๓ อย่างว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๓ อย่างอีก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทีนี้มันก็เป็นความจริง ที่ว่าสิ่งเหล่านี้ มันเป็นธรรมทิฐิตา เป็นธรรมนิยามตา (นาทีที่ 51:54) เป็น อิทัปปัจจยตา ๓ อย่างอีกแหละ เป็นธรรมทิฐิตา(นาทีที่ 51:59) คือ ตั้งอยู่ตามธรรมดา ธรรมชาติอย่างนี้ และเป็น ธรรมนิยาม(นาทีที่ 52:06) คือ มันมีกฎเกณฑ์อย่างนี้ แล้วมันเป็นอิทัปปัจจยตา คือ ความที่อาศัยซึ่งกันและกัน แล้วเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยนั้น ๆ อ่ะ, ก็ได้ชุด ๑ ๓ อย่างอีกแล้วว่า ธรรมทิฐิตา ธรรมนิยามตา (นาทีที่ 52:19) อิทัปปัจจยตา อือ, ครั้นได้ ๓ อย่างนี้มาแล้ว อิทัปปัจจยตา จะทำให้เห็นสุญตา โอ้ว, ไม่มีตัวตน มีกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา มันก็จะเห็นตถาตา อือ, เพราะว่ามันว่างจากตัวตน แล้วมันก็เห็นว่า เป็นเช่นนั้นเอง คือ ตถาตา เมื่อเห็นสุญตา ตถาตา เช่นนั้นเองเพียงพอแล้ว มันจะเกิดความรู้ชัด อตัมมยตา เอาไว้เป็นชุดว่าชุด ๓ เหมือนกันว่า สุญตา ตถาตา อตัมมยตา สิ้นสุดของธรรมฐิติญาณ(นาทีที่ 53:05)ตรงนี้ คือ ความจริงของ ธรรมชาติ ของสังขาร ที่มันหลอกลวงเรา มันสิ้นสุดลงตรงนี้ เรียนรู้แจ้งแล้ว ต่อไปนี้ก็เป็น นิธิคาวิราคะ(นาทีที่ 53:14) เบื่อหน่ายจากสิ่งเหล่านั้น หย่าขาดจากสิ่งเหล่านั้น ดับสนิท แห่งความทุกข์หลุดพ้นไป บริสุทธิ์จากกิเลส และความทุกข์โดยประการทั้งปวง สงบระงับ เยือกเย็น เป็นพระนิพพาน
ขอทิ้งไว้สักคำ คำสุดท้าย ยังไม่อธิบายว่า ไกยวัลยตา(นาทีที่ 53:35 ) เป็นภาษาสันสฤต ถ้าเป็นบาลีก็ เกภริตา เกภริตา(นาทีที่ 53:42) ความเป็นเกภรี (นาทีที่ 53:44) ความเป็นทั้งหมด ความเป็นไม่มี อะไรเหลือ นั่นแหละ คือ สภาพนิรันดรของพระนิพพาน เป็นทั้งหมด เป็นไกรวัลย์ แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นน่ะ มันก็เป็นของ ธรรมชาติ แต่เรารู้ไว้ก็ดี ว่าถ้ามันสลัดทิ้งออกไปหมด ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็มีแต่ความเป็นเช่นนั้นเอง โดยไกวัลย์ (นาทีที่ 54:08) เป็นทั้งหมด เป็นทั้งหมด เป็นเพียง ไม่มีอะไรเป็นตัวตน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทำให้เกิด ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญาทำให้เกิดไตรลักษณ์ อนิจตา ทุขตา อนัตตา ไตรลักษณ์ทำให้ เกิด ธรรมทิฐิตา ธรรมนิยามตา (นาทีที่ 54:34) อิทัปปัจจยตา ทีนี้ก็ทำให้เกิด สุญตา ตถาตา และอตัมมยตา ต่อจากนั้นก็ทำให้เกิดพระนิพพาน พอแล้วหมดแล้ว สำหรับความหมายอันลึกซึ้ง เออ, สูงสุดในพระพุทธศาสนา
เป็นอันว่า วันนี้ เราได้มาขยายใจความสำคัญของโอวาทปาติโมกข์ ให้ชัดเจน ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ว่าทำจิตให้ขาวรอบ นั้นทำอย่างไร คือ ทำให้อยู่เหนือดี เหนือชั่ว เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือบวก-เหนือลบ เหนือได้-เหนือเสีย เหนือแพ้-เหนือชนะ เหนือกำไร-เหนือขาดทุน กระทั่งเหนือความ เป็นหญิง เหนือความเป็นชาย เหนืออะไรที่เป็นคู่ ๆๆ ทั้งหมดเลย จิตมันจึงจะขาวรอบ มันจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็เพราะมองเห็นสิ่งทั้งปวง ตามที่เป็นจริง ว่าเป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ ยึดถือไม่ได้กัดทั้งนั้น พอยึดถือแล้วกัดทั้งนั้น พอไปจับยึด เอามาเป็นเจ้าของแล้ว กัดทั้งนั้นเลย ทีนี้กูไม่เอากับมึง กูไม่เอากับมึง นี่เป็นอตัมมยตา อ่อ, ถ้าถือคาถานี้ได้แล้ว ก็รอดตัว ไม่มีความทุกข์แน่ กูไม่เอากับมึงแน่ ขลังกว่าอิทัปปัจจยตาเสียอีก
เป็นอันว่า อาตมาได้บอก ให้ทราบคำสุดท้ายสูงสุด ที่สุดลึกซึ้งที่สุด ของพุทธศาสนา คือ คำว่า อตัมมยตา ในวันนี้ เออ, วันเพ็ญมาฆมาศ บนเขาครุฑทอง(นาทีที่ 56:48) เออ, เวลา ๐๔.๒๕น. ได้บอกสิ่งสูงสุด ทางธรรมะ คำสูงสุด คือ อตัมมยตา แก่ท่านทั้งหลาย เออ, เดี๋ยวนี้ ก็เหนื่อยแล้ว หมดแรงพูดแล้ว ขอร้องแต่ว่า ให้ช่วยทำความเข้าใจ ให้ดีจำให้ดี เอาไปใช้ประโยชน์ให้ได้ โดยคาถาว่า ต่อไปนี้กูไม่เอากับมึง คือ ทุกอย่างที่ทำให้ กูเป็นทุกข์ ให้ยุ่งให้วุ่น ต่อไปนี้กูไม่เอากับมึง นั่นแหละ คือ อตัมมยตา
เออ, เอาละ เป็นอันว่า ขอยุติการบรรยาย ถ้าท่านทั้งหลาย จดจำข้อความนี้ไว้ได้ ก็จะมีประโยชน์ที่สุด ถึงหัวใจที่สุด รวบรัดให้สั้นเข้ามาทุกที ทุกทีแล้ว อ่ะ, จะได้หยุดการแสดงธรรม แล้วก็ทำพิธีเวียนเทียนต่อไป มีคนขอร้องว่า เขาจะถ่ายทีวี ขอให้ทำเสียตั้งแต่ยังมีแดด เลยต้องหยุดบรรยาย อ่ะ, ขอยุติการบรรยาย ธรรมเทศนา ในวันนี้ ไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้