แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
บรรดาท่านธรรมะจาริณี และท่านผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย ก่อนอื่นทั้งหมดนี้ก็จะบอก
ให้ทราบว่า จะแสดงธรรมในรูปของปาฐกถาธรรม ไม่ใช่เทศนา จึงไม่ต้องเป็นพิธีรีตองอะไรมาก พูดกันตรงไปตรงมา ประหยัดเวลา ฟังง่ายดี
ในเบื้องต้นนี้ก็ขออนุโมทนาในการมา ของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ ด้วยเจตนาที่จะศึกษา
ธรรมะ นี่เป็นการคิดที่ดี เป็นการกระทำที่ดี จึงขออนุโมทนา และจะสนองความประสงค์นั้น ตามที่ จะทำได้ โดยจะกล่าวธรรมะ โดยหัวข้อว่า “พระพุทธศาสนาที่เป็นความรู้ทั่วไปในเบื้องต้น” คือ ทำเสมือนหนึ่งว่า เรามาเริ่มศึกษาพุทธศาสนากันคราวนี้ ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี จะเป็น พื้นฐานที่ดี เมื่อมีพื้นฐานที่ดีมันก็มั่นคง มันก็ไปได้โดยสะดวกราบรื่นถูกต้อง จะต้องมีพื้นฐานที่ดี
ความรู้ที่เป็นเบื้องต้น หรือเป็นพื้นฐานที่ดีนั้น มันมาจาก มันมีมาจากการที่เรามอง เห็นปัญหาของชีวิต โดยตรงก่อนว่ามันมีอย่างไร ถ้ามันไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ก็จะมา ศึกษาธรรมะเพ้อ ๆ เห่อ ๆ มันก็เป็นความโง่ชนิดหนึ่ง เพราะงั้นจะต้องดูที่ตัวเองว่ามีปัญหา อะไร มีความทุกข์อย่างไร ถ้าไม่รู้ก็ต้องมาให้ช่วยบอก ว่าปัญหาของคนนี้มัน อยู่ที่ว่ามันไม่ได้ เรียนรู้มาจากในท้องแม่ มันไม่รู้อะไรมาจากท้องแม่ คลอดออกมามันก็ไม่รู้อะไร อือ! เอ้าสิ พอได้มาสัมผัสอะไร มันก็เกิดความคิดไปตามสิ่งที่มาสัมผัส เมื่อได้รับของพอใจ เอร็ดอร่อย สนุกสนาน มันก็พอใจ พอใจ พอใจ แล้วมันก็มีความอยากมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น นั้นก็มีความรู้สึกมีตัวกู ของกูขึ้น
เพื่อตัวกูเพื่อของกูนี้ก็มากขึ้น มากขึ้น จนกระทั่งเกิดความเห็นแก่ตัว โลภะจะเอา โทสะจะทำลาย โมหะจะสงสัยและข้องใจ มันก็มีอาการเหมือนกับไม่รู้อะไร หรือหลับตา มาทีเดียว พอมาพบของอร่อยก็พอใจ ไม่อร่อยก็โกรธ ก็เพิ่มนิสัยแห่งความพอใจและ ความโกรธมากขึ้น มากขึ้น นี่มันแบ่งแยกของมันเองแหละ เป็นฝ่ายดีที่มันชอบใจ เป็นฝ่าย ชั่วที่มันไม่ชอบใจ แล้วก็มันโง่จนเป็นปัญหาขึ้นมา ให้เป็นทุกข์ทรมาณใจ ฝ่ายที่มันรักมันพอใจ ก็อยากได้ใจจะขาด อาการที่ฝ่ายที่ไม่รักไม่พอใจ มันก็เกลียดมันก็กลัวจนไม่มีความสุข คนที่มัน ไม่รู้ว่าเป็นอะไรมันก็โง่ สงสัย หลงใหล อยู่ว่านี้มันจะเป็นอะไร นี่คืออาการที่มีอยู่จริง
มันก็ติดพอใจหลงใหลไปในฝ่ายดีหรือฝ่ายบวก ที่เรียกกันว่า ฝ่าย Positive Rhythm (นาทีที่ 04: 42)เป็นกันทั้งโลก เป็นทาสของฝ่ายบวก ฝ่าย Positive มันอยากได้ อยากได้ อยากได้ หิวกระหายอยู่ตลอดเวลา อยากจะได้ นี้ไอ้ฝ่ายที่มันไม่ถูกใจ ฝ่ายลบ ฝ่าย Negative(นาทีที่ 04: 57) นี้มันก็ทรมาน ทรมาน ดึงลงไปข้างล่าง ข้างบนเหมือนกับเอาเชือกผูกคอดึงขึ้นไปข้างบน ข้างล่างก็เอาเชือกผูกเท้าดึงลงไปข้างล่าง ดึงกันเต็มเหยียดอย่างนี้ และแถมเอาไฟลนที่ ตรงกลาง ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความวิตกกังวล ตื่นเต้น อาลัย อาวรณ์ ไฟลน ไฟลน อยู่ที่ตรงกลางนี้ ชีวิตจะเป็นอย่างนี้ ดูให้ละเอียดเถิด ถ้ายังโง่อยู่จะต้อง เป็นอย่างนี้
ฝ่ายรักฝ่ายพอใจฝ่ายอย่าง ฝ่ายไม่รักไม่พอใจฝ่ายอย่าง ฝ่ายที่ไม่รู้อะไรก็อีกฝ่าย อย่าง งั้นเราจึงมีปัญหาว่า เดี๋ยวจะต้องหัวเราะ เดี๋ยวจะต้องร้องไห้ เดี๋ยวจะต้องดีใจ เดี๋ยวจะต้อง เสียใจ ไม่มีความสงบ ดูให้ดี คนที่เคยดีใจมาก ๆ ก็เคยมาแล้ว พอกินข้าวไม่อร่อยกินข้าวไม่ลง ดีใจมาก เกินไปเหมือนจะบ้า กินข้าวไม่ลง เสียใจหนัก เสียใจหนักก็กินข้าวไม่ลง เหมือนกับบ้า ต่อเมื่อไม่ดีใจเสียใจอะไรนัก มันจึงจะปกติ จึงจะกินข้าวสบาย สะดวก อร่อยมีรสมีชาติหรือปกติดี เพียงแค่นี้ มันแสดงให้เห็นได้แล้วว่า ปัญหาเรื่องดีใจเสียใจเนี่ย มันรบกวนอยู่ตลอดเวลา ใช้คำ เป็นภาษาวิทยาศาสตร์ หน่อยก็บอกว่า บวกหรือลบ ฝ่ายบวกก็บ้าไปอย่าง ฝ่ายลบก็บ้า ไปอย่าง ฝ่ายดีใจมันก็บ้าไปอย่าง ฝ่ายเสียใจมันก็บ้าไปอย่าง มันมีปัญหาด้วยกันทั้ง 2 อย่าง ต่อเมื่อมันอยู่ตรงกลางหรืออยู่เหนือ คือ เป็นความสงบ นั่นน่ะจึงจะไม่มีปัญหา
เรื่องดีมันก็ยุ่งวุ่นวายไปตามแบบดี ฆ่าตัวตายไปตามแบบดีก็มี ไปดูให้ดีเหอะ มันยึดดี อะไรมากเกินไป ไม่ได้อย่างใจมันก็ฆ่าตัวตาย ชั่วนี้ก็ต้องฆ่าตัวตาย บางทีคนอื่นก็ช่วยฆ่าส่วนมาก ถ้าเหนือชั่วเหนือดีนั้นมันสบาย คิดดูให้ดีว่าเวลาไหนที่เราสบายที่สุด นั้นมันเป็นความรู้สึกอย่างไร ทุกคนเนี่ยคอยสังเกตตัวเอง เวลาไหนสักนาทีสองนาทีก็ตาม รู้สึกมั้ยสบายใจที่สุด ก็จะ พบว่า โอ้! เวลานี้ไม่มีเรื่องดี ไม่มีเรื่องชั่ว เรื่องได้-เรื่องเสีย เรื่องแพ้-เรื่องชนะ เรื่องกำไร-เรื่องขาดทุน มาเกิดในความรู้สึก ไม่มีความรู้สึกที่เป็นคู่ ๆ คู่ ๆ เหล่านั้น เอ้อ! มันสบาย มันว่าง มันโปร่ง ชนิดที่บอกไม่ถูก ถ้าดีมันก็รัว(นาทีที่ 07:52) ไปตามแบบดี ชั่วก็รัว(นาทีที่ 07:56) ไปตามแบบชั่ว ลบก็เป็น หดเหี่ยวหดหู่ไป บวกก็เพ้อเจ้อฟุ้งซ่าน หลงใหลเหลิงไป ไม่มี เป็นคู่ ๆ ไม่มีเป็นคู่ ๆ ไม่ดี-ไม่ชั่ว ไม่บวก-ไม่ลบ ไม่บุญ-ไม่บาป ไม่ทุกข์- ไม่สุข พอมาถึงคำนี้ คงจะ สงสัยไม่ทุก-ไม่สุข ได้ยังไง
ถ้ายังรู้สึกอยู่ไม่ใช่ความสงบ จิตใจเร้าร้อน ดิ้นรน กระวนกระวายไปตามความสุข ก็เม่ือ ไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ มันจึงจะสงบ จึงจะสงบ จำคำว่า สงบ ไม่ดี-ไม่ชั่ว ไม่บุญ-ไม่บาป ไม่สุข-ไม่ทุกข์ นั้นจึงเรียกว่า สงบ ถ้าเรียกให้ถูกกว่าน้ันไปอีก ก็เรียกว่า มันว่าง มันว่าง ถ้ายัง เป็นดี-เป็นชั่ว เป็นสุข-เป็นทุกข์ เป็นดี-เป็นเสีย เป็นแพ้-เป็นชนะ เป็นได้เปรียบ-เสีย เปรียบ เป็นกำไร-เป็นขาดทุน กระทั่งว่าเป็นหญิง-เป็นชาย เป็นอะไรอย่างนี้ก็ยังมี ความวุ่นวายอยู่ในใจ ไม่มีความสงบ นั้นเราจึงมารู้จักกันเสียเป็นข้อแรกว่า ไอ้ชีวิตนี้เมื่อ ปล่อยไปตามบุญตามกรรม ตามเรื่อง ตามราวของมัน มันเป็นอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “ชีวิตนี้เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์” แต่มันก็ เป็นสำหรับคนโง่เท่านั้น ยิ่งบรมโง่แล้วมันยิ่งจะ เป็นทุกข์มาก แล้วมันจะไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์ด้วย
ความทุกข์นี่มันมีไว้สำหรับชีวิตของคนโง่ ให้มารู้ธรรมะก็เพื่อให้หายโง่ เพื่อรู้ความจริง ของสิ่งท้ังปวง แล้วก็รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้น เองตามธรรมชาติ ตามกฏของธรรมชาติ ตามกฏ ที่เรียกชื่อยาก ๆ ว่า กฏอิทัปปัจจยตา บางคนจะไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำไป แต่นั้นก็คือ กฏของ ธรรมชาติ ที่สิ่งท้ังหลายทั้งปวง จะต้องเป็นไป จะต้องเป็นไป ตามกฏของธรรมชาติ ในที่สุดมันก็ อย่างที่ว่า เกิดมาจากในท้องแม่ ไม่มีความรู้อะไรเลย มันก็ออกมาสร้างความรู้สึกโง่ ๆ น่ารักก็รัก น่าเกลียดก็เกลียด น่ากลัวก็กลัว น่าอะไรก็น่า...น่า...น่า น่าไปทั้งนั้นน่ะ เนี่ยความโง่ได้มาจากชีวิตในท้องมารดา มันจะต้องมารู้ว่านี่มันเป็นอย่างไร นี้มันเป็น อย่างไร นี้มันเป็นความทุกข์อย่างไร มันจึงจะคิดหาลู่ทางที่ทำให้ฉลาด ทำให้ฉลาด และก็แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ไม่ต้องมีความทุกข์อีกต่อไป
เอ้า! ก็จะพูดกันเสียให้ชัดเจนว่า เกิดมาจากท้องแม่ จิตใจยังเป็นกลาง ๆ ไม่บวก-ไม่ลบ หรือจะเรียกว่า ไม่ฉลาดก็ได้ คือ มาเป็นกลาง ๆ พอออกมาจากท้องแม่แล้ว มันก็มี การสัมผัส ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางล้ิน ทางกาย ทางใจ เนี่ย! การสัมผัสนี้ มันให้เกิดรส เป็นเวทนาที่ทำให้พอใจ ไม่พอใจ หรือยังไม่รู้ว่าจะเป็นอะไรดี นี้มันจะยังเป็นจุดตั้งต้น ที่มันจะเกิดความโลภ ในสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจ แล้วเกิดความโกรธ ความเกลียด ในสิ่งที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ แล้วมันเกิดความโง่ ความหลง ในสิ่งที่ยังสงสัย ไม่รู้ว่าเป็นอะไร โลภะ โทสะ โมหะ ได้ตั้งต้นขึ้นในจิตใจ ของสัตว์ที่เกิดมาในโลก ไม่ทันไรก็มีแล้ว มีน้อย ๆ แล้วก็มีมากข้ึน
เด็กทารกเค้าไม่มีความรู้ว่า ไม่ควรจะพอใจหรือไม่ควรจะไม่พอใจ มันก็ไม่รู้ มันก็ ปล่อยไปตามเรื่อง เพราะมันเกิดขึ้นมาในใจเอง พอใจ...พอใจ...พอใจ อยาก...อยาก... อยาก หนักเข้า มันก็เกิดความรู้สึกว่า ตัวกู ตัวกู ผู้ได้ ผู้พอใจ ถ้าไม่พอใจมันก็อยากไปทางหนึ่ง มันเกิดตัวกู ตัวกู เป็นกู ไม่พอใจ ถ้ามันสงสัยหลงใหล มันก็มีตัวกูที่สงสัยและหลงใหล ล้วนแต่ มีตัวกูไปเสียทั้งนั้น ก็ต่อไป นี้ก็มีปัญหาที่ว่า จะต้องมีความลำเอียง มีความลำเอียง ไม่ปล่อยไว้ ตรงกลางได้แล้ว ที่ไม่พอใจ ก็เกลียดก็อยากฆ่าอยากทำลายเป็นฝ่ายลบ ที่พอใจ ก็รักก็หลง ใหลเป็นฝ่ายบวก
นี่เราเป็นอยู่อย่างนี้ ว่ามันเป็นทาส เป็นทาส...ทาส ขี้ข้า เป็นทาส..ทาสของฝ่ายบวกกันทั้ง โลก ทั้งโลกเลย ดิ้นรนขนขวายเพื่อฝ่ายบวก มันก็ต้องกระวนกระวายไปตาม นั้นนะ ถ้ามีธรรมะมัน ไม่ต้อง ไม่ต้องกระวน กระวาย มันก็รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร อะไรเป็นอย่างไร แล้วมันก็ทำไปด้วย สติปัญญา ตามที่ควรจะทำ ไม่ต้องกระวนกระวายใจ ถ้ามันรู้เรื่องนี้ดี มันก็ทำด้วยสติปัญญา ถ้ามันไม่รู้มันเป็นคนโง่ มันก็ทำด้วยกิเลส ตัณหา ไอ้คนเป็นอันมาก หรือถ้า ทั้งหมดมันหากิน ทำมาหากิน ด้วยกิเลส ตัณหา คือ ความอยาก ความหลงใหลใน เรื่อง บวก เรื่องได้ เรื่องดี เรื่องพอใจ แต่ถ้าคนที่มีสติปัญญา เค้าทำกันด้วยจิตใจที่เป็นกลาง รู้ว่าธรรมชาติมันเป็น อย่างนี้เอง ธรรมชาติมันเป็น ถ้าทำอย่างนี้จะได้ผลอย่างนี้ ถ้าทำอย่างนี้ จะได้ผลอย่างนี้ เค้าก็สามารถที่จะทำไป ในลักษณะที่ได้ผลตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์เลย
คนเป็นอันมากเหล่านี้ เมื่อเด็ก ๆ อาจจะได้รับการสั่งสอนในโรงเรียนว่า ทำด้วยความหวัง ทำด้วยความหวัง ที่ใดมีความหวัง มีความสำเร็จที่นั่น เด็ก ๆ ก็หวัง...หวัง...หวัง...หวัง หวังจนเป็น บ้าไม่รู้ตัว ต้องตายเพราะความหวัง ไม่ได้สมหวังนี้ก็มาก มันสอนให้โง่ มันสอนให้อยู่ด้วย ความหวัง เมื่อไม่ได้สมหวังหนักเข้า คนโง่บางคนมันก็ฆ่าตัวตาย แม้แต่ว่าสอบไล่ไม่ได้ บางทีก็ มันยังฆ่าตัวตาย แม้แต่ว่าไอ้คนรักของมันไม่จริง ไม่ซื่อตรง มันก็ยังฆ่าตัวตาย สมความโง่ของมัน มันมีความโง่ในการที่จะยึดมั่นถือมั่น ก็อย่างฝ่ายซ้ายหรืออย่างฝ่ายขวา คือ อย่างฝ่ายบวกหรือ อย่างฝ่ายลบ แล้วแต่กรณี ไม่ได้มีจิตใจอยู่เหนือ ความโง่เหล่านี้
มันมีสิ่งที่จะวัดดูได้ว่าเรายังมีปัญหาเท่าไร มีความทุกข์เท่าไร ก็จะขอยกตัวอย่าง มาให้ฟัง ฟังดูให้ดี ๆ แล้วกำหนดจดจำไปไว้ สอบไล่ตัวเองดู ว่ามันอยู่ในระดับไหน อันที่หนึ่ง มันมีความรัก รักอย่างโง่ อย่างหลับตา อย่างหน้ามืด มันก็ทรมานใจเท่าไร อย่างหนึ่งก็มีความเกลียด...เกลียด...เกลียดเข้ากระดูกดำ หาที่พอใจไม่ได้ ก็มีความทุกข์ อย่างไร ความกลัว กลัวอย่างโง่เขลาที่สุด กลัวแม้แต่จิ้งจก ตุ๊กแก มันมีความทุกข์เท่าไร มีความเกลียด เกลียดนั่นเกลียดนี่ อย่างที่ไม่มีอะไร ก็ไปเกลียด นิดหน่อยก็เกลียด ก็สร้างให้มัน เกลียดมากขึ้น มันก็อยู่ทรมานด้วยความเกลียด แต่ว่าคนที่เค้าไม่รู้สึก ก็ไม่มีปัญหาอะไร ไอ้คนโง่มันก็ถูกทรมาน ด้วยความเกลียดนั่น เกลียดนี่ เกลียดโน่นอยู่เรื่อยไป
ทีนี้ก็ความตื่นเต้น ๆ อะไรก็ตื่นเต้น ๆ เหมือนเด็ก ๆ ตื่นเต้น คนวัยรุ่นตื่นเต้น หนุ่มสาวก็ ตื่นเต้น พ่อบ้านแม่เรือนก็ยังตื่นเต้น ในสิ่งที่น่าตื่นเต้น ไปตามลำดับ...ลำดับ โดยไม่รู้ว่ามัน เป็นเช่นนั้นเอง มันก็ตื่นเต้น ถ้ามันเห็นว่าเช่นนั้นเอง ฝึกเข้า(นาทีที่ 16:16) มันก็ได้เช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรแปลก หรือว่าที่ว่าสวยนักก็ตื่นเต้น ไม่สวยก็ตื่นเต้น อย่างนี้มันก็โง่ ฉะนั้นเช่นนั้นเอง มันไม่มีอะไรที่ต้องตื่นเต้น จะไปดูการแสดง แข่งขันเล่นกีฬา กายกรรมวิเศษ เสร็จแล้ว (นาทีที่ 16:33) มันก็ไม่ตื่นเต้น เพราะมันเห็นว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง ฝึกเข้า(นาทีที่ 16:38) มันก็ทำได้ มันก็ไม่ตื่นเต้น ไม่มีอะไรมาทำให้ตื่นเต้น
แต่คนโง่ ๆ พอเห็นอะไรแปลกประหลาดหน่อย มันก็ตื่นเต้น บางทีมันก็อยากซื้ออยากหา มาในราคาแพง ของแปลกของไม่ค่อยจะมี มันก็ตื่นเต้น มันเป็นความโง่ เป็นความโง่ที่ทำให้พวก ทัศนาจรทั้งหลาย เที่ยวทัศนาจรไปทั่วประเทศ ทั่วโลก เพราะมันตื่นเต้นน่ะ ไปถึงมันตื่นเต้น ถ้าไปถึงเห็น โอ้! มันก็เช่นนี้เองอ่ะ แต่ก็อาจอย่างนั้น เช่นนี้เองตามธรรมชาติ มันก็ไม่ตื่นเต้น มันก็ไม่ต้องไปทัศนาจร เดี๋ยวนี้ต้องไปทัศนาจรทั่วโลก...ทั่วโลก หมดเปลืองเท่าไหร่ก็ลองคิดดู นี่ขอให้เรารู้ว่า ไอ้ความตื่นเต้นก็เป็นเครื่องทรมาน เห็นใครแต่งตัวสวยก็ทำให้ตื่นเต้น อะไรทำให้ ตื่นเต้น ก็คือ ความโง่ของคนอยากสวยนั้นเอง ทำให้ตื่นเต้น นี่แล้วมันสนุกมั้ย
ทีนี้ก็ความวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ วิตกกังวลล่วงหน้า ทำให้เป็นประสาท นอนไม่ หลับ อาลัยอาวรณ์สิ่งที่แล้วมาข้างหลัง ทำให้เป็นประสาท นอนไม่หลับ ทรมานใจ ความวิตก กังวล ความอาลัยอาวรณ์ ทรมานใจอย่างไร ก็คงจะเคยเป็นกันมาแล้ว ต้องไปคิดนึกถึงอีกที ว่านี่เป็นบทพิสูจน์ว่ายังโง่ ยังมีความทุกข์ ยังไม่มีธรรมะ
นี่ความอิจฉาริษยา อิจฉาริษยา ไม่อยากให้ใครดีกว่า ไม่อยากให้ใครสวยกว่า ไม่อยากให้ใครรวยกว่า ไม่อยากให้ใครบังหน้าอย่างนี้ ความอิจฉาริษยาทรมานใจมาก เดือดร้อนมาก ลงทุนมากด้วยความริษยา เพราะเป็นความโง่ คนที่เค้าถูกริษยาไม่รู้เรื่องอ่ะ ไม่รู้เรื่องอะไร ยังไม่รู้เรื่องอะไร แต่คนที่ริษยา ผู้ริษยานี้เป็นไฟอยู่ในใจตลอดเวลา ไฟริษยา กัดหัวใจ เผาหัวใจคนริษยาอยู่ตลอดเวลา แต่คนถูกริษยายังไม่รู้เรื่องอะไร ดูสิมันเป็นความโง่ เท่าไร ของคนที่มันมีความริษยา ความอิจฉาริษยา เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ายังโง่เท่าไร
ความหึง ความหวง ความหวง ความโง่เข้มข้นเข้า ก็เป็นความหึง หนังสือพิมพ์ลง เสมอ หึงยังฆ่าตัวตายน้ีมีบ่อย มันโง่สุดเหวี่ยง ความหวงมันก็ไม่มีความคิดนึก ที่จะแบ่งปัน ว่าเราอยู่ในโลกด้วยกัน เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ต้องคอยช่วยเหลือกัน ก็แบ่ง ปันและไม่หวง ให้ความหึงเป็นเรื่องส่วนตัว หวงจัด...หวงจัด ก็กลายเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่า ความหวงไปซะอีก แล้วมันก็แผดเผาจิตใจ นี้เป็นเรื่องของความทุกข์
ทีนี้ก็ความยกตนข่มท่าน หวงหรือหึงยังไม่พอ ก็ยกตนข่มท่าน กล่าวคำยกตนข่มท่าน แสดงกิริยายกตนข่มท่าน มีจิตใจยกตนข่มท่าน ทรมานจิตใจอยู่ตลอดเวลา กูดีกว่ามึงนะ หรือว่ากูดีกว่าทุกคน ใครแหลมออกมาไม่ได้ ก็จะพูดยำยี เสียดสีให้เสียหายไปเลย นี่เรียกว่า ยกตนข่มท่าน ในที่สุดมันก็ตื่นเต้นด้วยของเป็นคู่ ๆ อย่างที่ว่ามาแล้ว มันก็ถูกทรมานใจ ด้วยของที่เป็นบวกหรือน่ารัก ทรมานใจด้วยของที่เป็นลบไม่น่ารัก เข้าใจ(นาทีที่ 20:43)
ด้วยของที่เป็นกลาง ๆ ไม่รู้ว่าบวกหรือลบ คือ ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
เยอะแยะเห็นมั้ย ที่ยังเป็นโรค คือ ความทุกข์น่ะ ที่ต้องไปหาหมอ ถ้าเป็นโรคทางร่างกาย เจ็บป่วยตรงนั้นตรงนี้ ก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาลธรรมดาไปกินยา ไปผ่าตัด น่ะมันก็หายโรคทาง กาย แต่ถ้าเป็นโรคทางใจ อย่างที่ว่ามานี้ จะไปหาใคร ไปหาโรงพยาบาลไหน เป็นโรคมี ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น ความวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หรือหึงหวง ความโง่ต่อของที่เป็นคู่ ๆ นี้ จะต้องไปโรงพยาบาลไหน โรงพยาบาล โรคจิตที่สราญรมย์ ก็รักษาไม่ได้ ต้องไปหาโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง ที่มีธรรมะ ให้ ที่มีพระสงฆ์ที่สามารถเป็นผู้เยียวยารักษาเหมือนกับหมอ มีพระศาสนา มีสถาบันศาสนา เป็นตัวโรงพยาบาล มีพระผู้สามารถเป็นหมอ มีหยูกยา คือ ธรรมะ ธรรมะให้รู้ตามที่เป็น จริง ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามคำแนะนำสั่งสอน พระพุทธเจ้าเป็นยอดสุดของหมอ ในโรคทุก ๆ โรคทางจิตใจ ถ้าใครมีทั้งร่างกายและจิตใจ คนนั้นจะต้องรู้จักรักษาโรคทั้งทางกาย และจิตใจ
เดี๋ยวนี้มีคนเป็นอันมาก ไม่ค่อยรู้ว่ามีเรื่องทางจิตใจ รู้แต่เรื่องทางร่างกาย ก็รู้จักรักษา แต่เรื่องทางร่างกาย ไม่รู้จักรักษาเรื่องโรคทางจิตใจ มันก็เข้าใจว่า ที่อุตสาห์มาบวชเป็น ธรรมะจาริณีอะไรเหล่านี้ ก็เพื่อจะมาศึกษาเรื่องนี้ ให้รู้เรื่องโรคทางจิตใจ นั้นก็จะได้โอกาสรักษา ต่อไป ให้หายโรคทางจิตใจ เมื่อไม่มีโรคทั้งทางกายและทางจิตใจ มันก็มีความปกติสุขสูงสุด เท่าที่มนุษย์เราจะพึงได้ มันมีเท่านั้นแหละ มันไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น หมดโรคทางกาย ก็สบาย ไปส่วนกาย หมดโรคทางจิตใจ ทางสติปัญญา นั้นมันก็ไม่มีโรคทางจิตใจ
โรคทางจิตใจนี้ เรียกสั้น ๆ ว่า โรคโง่ โรคโง่ไปโลภเข้าก็มี โง่ไปโกรธเข้าก็มี โง่ไป หลงเข้าก็มี เลิกโง่เสีย ก็ต้องไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เรื่องโลภ เรื่องโกรธ เรื่องหลงนี้ มันเป็น เรื่อง ของความเห็นแก่ตัว มีตัวกู มีของกู แล้วก็เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความถูกต้อง ไม่เห็นแก่ ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ธรรมะ นี้เรียกว่า ความเห็นแก่ตัว พอมีความเห็นแก่ตัวเท่าน้ันแหละ มันก็ไม่ สบายแล้วแหละ อยู่คนเดียวไม่ต้องไปรังแกใคร เห็นแก่ตัวอยู่คนเดียวเท่านั้นแหละ จะนอนหลับ ยาก จะปวดร้าวในจิตใจ จะไม่มีความสุข นั้นจะต้องเลิกความเห็นแก่ตัว ได้มีธรรมะที่ ถูกต้อง ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะนั่นเอง
นั้นขอให้ทุกคนรู้ไว้ว่า เรื่องนี้มันเป็นเรื่องส่วนจิตใจ มันเรียนกันมาแต่ เรื่องทางกาย ทางวัตถุ รู้จักทำมาหากิน หาเงินหาทอง จนไม่รู้จะเอาไปไหน แล้วก็เอาไปมอมตัวเองให้โง่ แล้วก็ มันได้ความทุกข์ สมน้ำหน้ามัน ของคนโง่ที่มีเงินมาก มันไม่รู้จะใช้ยังไงถูก มันก็ไปใช้ในทางที่ให้ มันลำบาก ยุ่งยาก ไม่มีความสงบเลย ดูที่คนโง่ที่มีเงินมาก ๆ เค้าใช้เงินกันเถิด จะเห็นว่าไม่ได้รับ ความสงบสุข พอใจอะไรที่ไหนเลย มีแต่สร้างความยุ่งยากสับสน ปัญหามากมายเพิ่มขึ้น มันจะมี ประโยชน์อะไร ถ้ามันรู้จักเอามาใช้ทำให้จิตใจสงบ เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวเอง และแก่ผู้อื่น นั่นแหละจะเรียกว่า มันฉลาด มันมีทรัพย์สมบัติเป็นไปในทางที่ถูกต้อง ใช้ไปในทางที่ถูกต้อง ได้รับ ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย หรือทุกคน ที่เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตาย กันในโลกนี้
นั้นขอให้ทุกคนรู้ว่า ปัญหาโดยพื้นฐานทั่วไป ของคนเรามันเป็นอย่างนี้ ถ้าแก้ปัญหานี้ ไม่ได้ ก็จะต้องมีความทุกข์ ความทรมาน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตาย แล้วก็ตาย ตายไปกับความ ทุกข์นั้น ธรรมะมันจะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ ไม่ให้มีความทุกข์เลย นับตั้งแต่เด็ก ๆ ขึ้นไป จนถึง ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ตลอดชีวิตน่ะ ถ้ามีธรรมะ...ธรรมะ ให้ถูกต้องให้เพียงพอ และก็จะไม่มีความ ทุกข์เลย
เอาล่ะทีนี้ก็จะมาพูดกัน ถึงข้อที่ว่า ธรรมะ...ธรรมะโดยแท้จริงนั้น คืออะไร คืออย่างไร เท่าไร เพียงไหน ทุกแง่ทุกมุม คำว่า ธรรมะ...ธรรมะนี้ ดูจะพูดกันแต่ว่า คำสอนของ พระพุทธเจ้า ครูที่โรงเรียนสอนเพียงเท่าน้ัน แต่ไม่ได้สอนว่า สอนเรื่องอะไรอ่ะ พระพุทธเจ้าสอน เรื่องอะไรอ่ะ ก็สอนเรื่อง หน้าที่ที่จะทำความดับทุกข์ ข้อนี้ก็เพราะเหตุว่า คำว่า ธรรมะ...ธรรมะ นี้ มันมีอยู่ก่อน พระพุทธเจ้าเกิด มนุษย์รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ...ธรรมะ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ก็พูดกันมาว่า ธรรมะ...ธรรมะ...ธรรมะ เนี่ยก่อนพระพุทธเจ้าเกิด คือ หน้าที่ที่จะช่วยให้ดับ ทุกข์ได้
จะมีมนุษย์คนแรกสมัยไหนก็บอกไม่ได้ แต่ว่ามนุษย์คนแรก มันได้เริ่มสังเกตเห็นว่า โอ้! ไอ้สิ่งที่เราทำ ที่เป็นหน้าที่นั้นแหละ มันสำคัญมาก สำคัญมาก ไม่ทำก็คือ ตาย จึงเรียกชื่อ มันว่า ธรรมะ...ธรรมะ แปลว่า สิ่งที่จะทรงไว้ไม่ให้ตกลงไป ธรรมะ แปลว่า ทรงไว้ ทรงไว้ ไม่ให้ตกลงไป คือ ไม่ให้ตกลงไปในความตาย หรือในความทุกข์ เค้าก็เรียก ธรรมะ ธรรมะ แล้วก็บอกกันมาเรื่อย ๆ จะบอกสูงขึ้น ๆ เป็นธรรมะที่สูงขึ้น ๆ ว่า นอกจากจะไม่ตาย ไม่ตายแล้ว ต้องไม่เป็นทุกข์ด้วย ต้องไม่เป็นทุกข์ด้วย
เรื่องของธรรมะ ก็คือเรื่องมีชีวิตอยู่ อย่างที่ไม่ต้องเป็นทุกข์ อันนี้คือ หน้าที่ เรียก ในภาษาไทยว่า หน้าที่ เรียกภาษาอินเดียโบรงโบราณโน่นว่า ธรรมะ ธรรมะ แล้วก็ใช้มา จนบัดนี้ว่า ธรรมะ ธรรมะ สูงขึ้น ๆ หน้าที่สูงขึ้น หน้าที่สูงขึ้น สูงขึ้น จนเกิดพระพุทธเจ้า ท่านก็ยัง สอนธรรมะ เรื่องหน้าที่ แต่ว่าสูงสุด คือ บรรลุมรรคผลนิพพาน หน้าที่ปฏิบัติแล้วทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพาน นี้เป็นหน้าที่สูงสุด พระพุทธองค์ทรงนำมาสอน เลยเรียกว่า ธรรมะในชั้น นี้ และที่เป็นสูงสุดนี้ ก็เรียกว่า พุทธศาสนา
ธรรมะในพุทธศาสนา หรือว่าพุทธะธรรม ธรรมะของพุทธะ คือ ผู้รู้อันแท้จริง เรียกว่า ธรรมะของพุทธะ ขอให้มองเห็นว่า ธรรมะ ธรรมะนั้นน่ะ คือ หน้าที่ มองเห็นให้ลึก ลึก ลึกลงไป จนว่ามันเป็นที่ตั้งของชีวิตนะ ลองไม่ทำหน้าที่ดิ ใครอยู่ได้ คนไหนไม่ทำหน้าที่ แล้วคนนั้น อยู่ได้อย่างไร มันต้องทำหน้าที่ กินอาหาร ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำหน้าที่ทุกอย่างที่ ให้มันรอดอยู่ ได้ นั่นน่ะหน้าที่ หน้าที่ คือ ธรรมะ
ตีน มือ หู ตา ปาก จมูก ก็ต้องทำหน้าที่ ตีนก็เดินไป มือก็หยิบไป จมูกก็หายใจไป ตาก็ดู ไป หูก็ฟังไป ทำหน้าที่ทุกอย่างทุกประการ มันจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ แม้แต่ว่าไอ้ตัวเซลล์ตามที่เรา เล่าเรียนมา วิทยาศาสตร์บอกว่า มันตัวเซลล์ไม่รู้กี่ล้าน ล้าน ล้านตัวในหนึ่งร่างกายเนี้ย ทุกตัวมันทำหน้าที่ถึงรอดชีวิตอยู่ได้ ถ้าเซลล์เหล่านั้นไม่ทำหน้าที่ ก็คือตายหมด ตายทั้งตัว แต่นี่ว่าไอ้เซลล์ทุก ๆ เซลล์ทำหน้าที่มันก็รอดอยู่ได้ นี่หน้าที่ของชีวิตซะเลยก็ได้ หรือว่าหน้าที่ เป็นรากฐานของชีวิตก็ได้ เพราะมันไม่ทำหน้าที่ก็ตาย ที่เป็นคนนี้ก็ตาย ที่เป็นสัตว์เดรัจฉานที่ไม่ ทำหน้าที่นี้มันก็ตาย
เป็นต้นไม้ต้นไร่อย่างนี้ที่เห็นอยู่ ไม่ทำหน้าที่มันก็ตาย นี่มันอยู่นิ่ง ๆ อ่ะ แต่มันทำ หน้าที่ตลอดเวลา เวลาไหนควรทำอะไร เวลาไหนจะดูดน้ำขึ้นไป เวลาไหนจะดูดแร่ธาตุ ขึ้นไป เวลาไหนจะได้แสงแดด แล้วก็เปลี่ยนแปลงแร่ธาตุเหล่านั้น ให้เป็นเนื้อเป็นเยื่อ ที่จะเลี้ยงต้นไม้ เป็นต้น เป็นลำ เป็นต้น เป็นดอก เป็นใบ เป็นลูกอะไรต่อไป มันก็เลี้ยง อยู่นั้น สูบขึ้นไปแล้วก็ส่ง ไปเลี้ยงทั่วต้น ส่งขึ้นไปก็เลี้ยงทั่วต้นอยู่ตลอดเวลา มันทำหน้าที่ ของมันตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ ไม่เอาเปรียบ ไม่ขี้เกียจ
ไอ้ทีมนุษย์นี่มันเอาเปรียบ มันขี้เกียจ มันไม่อยากจะทำหน้าที่ แต่มันอยากจะได้ อะไร ๆ ตามที่มันต้องการ นี่มันไม่ถูก นั้นจึงเห็นธรรมะ ธรรมะนั้น ก็คือ หน้าที่ช่วยให้ รอดชีวิตในชั้นแรก แล้วก็ไม่ช่วยให้เป็นทุกข์ คือ ไม่พูดผิด คิดผิด ทำผิด รู้ผิด ไม่มีผิด ๆ นี้มันก็รู้จักทำให้ ถูก แล้วมันก็ ไม่เป็นทุกข์ แล้วก็ยิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป จนไม่ติดใน ของที่เป็นคู่ ๆ คือว่า ฝ่ายดีใจ-ฝ่ายเสียใจ ฝ่ายบวก-ฝ่ายลบ อะไรไม่ติดทั้งนั้น รู้หน้าที่ อันนี้แล้ว ก็มีความสุขส่วนลึกในทางจิตใจ
เพียงแต่ร่างกายไม่ตายนี้มันไม่พอนะ อย่าหลงให้มากอย่างนั้น เพียงแค่ร่างกายรอดชีวิต นี้ มันยังไม่พอ ถ้ามันรอดชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร หรือจะตายซะดีกว่า ถ้าไม่ ต้องเป็นทุกข์ รอดชีวิตอยู่อย่างเป็นทุกข์นี้ ไม่ดีอะไร ไม่วิเศษอะไร จะรอดชีวิตอยู่ อย่างไม่เป็นทุกข์ มันต้องรอดเรื่องนี้ รอดชีวิตอยู่โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ นั้นเราจึงมีธรรมะ หน้าที่ ชั้นสูง คือ ชั้นจิตใจ รู้แล้วสามารถดำรงตน ให้อยู่เหนือความทุกข์ โดยประการทั้งปวง ขอให้ทุกคนรู้กันถึงหน้าที่อันนี้ หน้าที่ที่จะควบคุมความเห็นแก่ตัว ควบคุมความโลภ ความโกรธ ความหลง ควบคุมความโง่ทุกระดับ ทุกขนาด
ถ้าจะพูดถึงปัญหาเฉพาะหน้าเดี๋ยวนี้แล้ว มันก็เรื่อง ความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ สำคัญกว่าอันอื่น ความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ มันทำให้เอาเปรียบผู้อื่น แล้วก็ความเห็นแก่ตัว นั้นแหละ ทำให้ขี้เกียจนอนเสียไม่ทำงาน มันเห็นแก่ตัวอย่างโง่เขลา จนว่ากูนอนดีกว่า แล้ว สบายกว่าไม่ต้องทำงาน เอากะความเห็นแก่ตัวสิ มันโง่มากได้ถึงอย่างนี้ แล้วมันก็จะทำทุกอย่าง ที่เห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น แล้วมันอยากจะได้มากไม่มีที่สิ้นสุด มันอยากจะครองโลกโน้น ผู้เห็นแก่ตัวนั้นมันอยากจะครองโลก เอาโลกทั้งหมดเป็นของ ๆ ตัว มันโง่ถึงขนาดนี้ คือ มันไม่รู้ว่า มันอยู่คนเดียวไม่ได้อ่ะ เค้าให้มันครองโลกอยู่คนเดียว มันก็อยู่ไม่ได้ แต่มันก็ โง่อยากจะครองโลกนะ
งั้นเราจะต้องอยู่ด้วยกันแหละ ทุกชีวิตจะต้องเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันแหละ และหาวิธีอยู่กันเป็นสุขทุก ๆ คนดีกว่า นี่คือ ไม่เห็นแก่ตัว แล้วมันก็สบาย ถ้าเห็นแก่ตัว มันก็ทำแต่เรื่องเห็นแก่ตัว เดี๋ยวมันก็อดสร้างนั่นสร้างนี่ เป็นปัญหาขึ้นมา สร้างเวร สร้างภัย สร้างอะไรขึ้นมา เห็นแก่ตัวอยู่คนเดียว ก็เป็นทุกข์อยู่คนเดียว ไปทำอะไรกับผู้อื่นเข้าก็ เป็นทุกข์ออก ขยายออกไปจนทั่วไปหมด เดี๋ยวนี้เค้าเห็นแก่ตัวกันมาก เค้าจะครองโลกกัน เค้าจะแบ่งกันครองโลก หรือจะแย่งเอาครองคนเดียวก็ตามใจ แล้วก็สร้างอาวุธที่จะทำลายกัน ชนิดมากมายทำลายโลกเสียเลย แล้วจะครองโลกกันที่ไหนอ่ะ มันโง่กันถึงขนาดนี้ มันมีอาวุธ มากพอ ที่จะทำลายโลกให้หมดไปถึง 2-3 หน แล้วมันจะใช้อาวุธนี้ เพื่อจะครองโลกคนเดียว จะครองอะไรก็มันทำลายซะหมดแล้ว นี่ความเห็นแก่ตัว มันโง่ถึงขนาดนี้
เราจงเตรียมตัวเป็นผู้ที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ โดยไม่ต้องเห็นแก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัวมัน ก็ต้องแบก แบกตัวเพราะเป็นของหนัก แบกของหนักก็ต้องเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภาราหะเว ปันจักขันทา(นาทีที่ 34:28) ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเนอะ” ภาระห้า โลจะ บุคคะโล(นาทีที่ 34:34) ที่มันโง่ว่าตัวกู ตัวกูน่ะเป็นผู้แบกภาระไป เค้าเรียกว่า บุคคล บุคคลมันไม่ได้มี มีแต่ตัวกูของความโง่ เรียกว่า บุคคล คนนั่นแหละมันแบกภาระของหนัก พาไป ภาระ นิเขปะนัง สุขัง(นาทีที่ 34:45) โยนภาระหนักทิ้งเสียแล้ว เป็นสุข คือ ไม่เป็น ทุกข์ นิขขิต ปัททะวา อะรุขะรัง นานาทียะ(นาทีที่ 34:51) สลัดทิ้งของหนักลงไปแล้ว อย่าไปหยิบของหนักอันอื่น ขึ้นมาแบกถือไว้อีก สะมุรัง กันหัง นิเคหะ นิขาโต นิปุโต(นาทีที่ 35:01) ถอดตัณหาขึ้นได้ กระทั่งรากมันก็หมดทุกข์ หมดร้อน หมดอะไรโดยประการทั้งปวง
แบกของหนักแล้วก็จะต้องเป็นทุกข์ แม้ที่เรียกว่า ดี...ดี...ดี ก็ต้องเป็นทุกข์เพราะดี ที่เรียกว่า ชั่ว...ชั่ว...ชั่วก็เป็นทุกข์เพราะชั่ว ให้ได้ง่าย ๆ ว่าเราแบกก้อนหิน อันนี้มันก็หนักสิ
เราแบกเพชรพลอย เพชรอย่างดีอะไรอย่างดี มันก็หนัก ที่ว่าแบกแล้วมันก็หนักทั้งนั้น งั้นที่จะ เป็นสุขเป็นสบาย คือ ไม่แบก นั้นอย่าแบก อย่าเอามาถือไว้ในใจ ให้คนโง่เอาเงินไปฝากไว้ ในธนาคาร แล้วก็เอามาสุมไว้บนหัว วิตกกังวล ยึดมั่นถือมั่น มันก็เป็นทุกข์ วิตกกังวล เป็นห่วง ทั้งที่อยู่ในธนาคารนั่นแหละ นี่อะไร อะไรก็ตามที่รักที่พอใจนั้นน่ะ เลิกเอามาทูลไว้บนหัว ทิ้งลงไว้ข้างเท้า ดีกว่าจะได้ไม่หนักหัว เรียกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ ก็จะไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เรียกว่า มีธรรมะชั้นสูงเลย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เอามาสุมทับอยู่บน จิตใจ มันก็ไม่ต้องเกิดวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ หวงหึงอะไรที่ไหน มันก็สบายดี
นี้ขอให้เรารู้จักธรรมะ ที่สรุปใจความสูงสุดว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด โดยความเป็น ตัวตน หรือเป็นของตน คือ ไม่เป็นตัวกูหรือไม่เป็นของกู ทำงานไปโดยไม่ต้องมีตัวกูของกู ให้มันเป็นตัวของธรรมชาติ นี้ที่เรารู้สึกอยู่เนี่ย เป็นตัวกูตัวเราเนี้ย ให้มันเป็นตัวของธรรมชาติ อย่าเป็นของความโง่ว่าตัวกู มันจะหนักอกหนักใจแก่จิตใจ มันจะทำให้จิตใจเป็นทุกข์ ถ้าจิตใจมันไปคิด ด้วยความโง่ว่า เป็นตัวกูของกู ถ้าจิตใจมันคิดว่าเป็นของธรรมชาติ ตาม ธรรมชาติไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกูมันก็ทำไปโดยไม่ต้องเป็นทุกข์ จะแสวงหาทรัพย์สมบัติ ก็ไม่เป็นทุกข์ จะได้มาก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้หนักใจ จะมีไว้ก็ไม่หนักใจ จะกินจะใช้ก็ไม่ หนักใจ เลยไม่มีความทุกข์ในทุกกรณี ในทุกเวลา ในทุกสถานที่ เพราะไม่แบกไว้ไม่ยึดไว้
ธรรมะมันมีอย่างนี้ มันมีสอนเพื่อไม่ให้ต้องเป็นทุกข์ ให้คนทุกคนอยู่ในโลกได้ ศึกษาเล่าเรียนก็ได้ ทำงานทำการเท่าไรก็ได้ แต่ไม่ต้องเป็นทุกข์ มิฉะนั้นมันจะเป็นทุกข์ แม้แต่จะมีอะไรสักนิดหนึ่ง มันก็ยังมีด้วยความเป็นทุกข์ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น ด้วยความหลง ใหล วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ นี่เรื่องของธรรมะหัวใจว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ไปโดยความ เป็นตัวตน หรือเป็นของตน แล้วก็ไม่ต้องเป็นทุกข์
หัวใจของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ยึดมั่นถือมั่นขันธ์ทั้งห้า ว่าเป็นของตน แต่ถ้า ไม่รู้จักขันธ์ห้าก็คงฟังไม่ถูก ชีวิตนี้แบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนแรก เป็นส่วนวัตถุที่ร่างกายส่วนหนึ่ง นอกนั้นเป็นส่วนจิตใจ แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้แบ่งเป็น 4 ส่วน เมื่อจิตใจรู้สึกสุขทุกข์ เป็นต้น นี่เรียกว่า เวทนา เมื่อจิตใจจำอะไรได้ มั่นหมายอะไร ได้ เรียกว่า สัญญา เมื่อจิตใจคิดนึกอะไรได้ เรียกว่า สังขาร เมื่อจิตใจรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เป็นเรื่องจิตใจ รวมเข้าเป็นสิ่งเดียว เรียกว่า จิตใจ รวมรูปเข้าอีกหนึ่ง เรียกว่า ขันธ์ห้า แต่ละอย่างละอย่างนั้น เป็นของ ธรรมชาติ เกิดตามธรรมชาติ ตามกฏอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ไม่มีอะไรที่เป็นตัวกู ของกู เข้าไปอยู่ในส่ิงเหล่านั้น กายและใจมันหน้าที่รู้สึกได้ นึกคิดได้ อยากจะทำได้ อยากจะให้ การกระทำก็ทำได้ เป็นความรู้สึกของจิตใจ ไม่ต้องมีความรู้สึกของอาตมัน ของวิญญาณตัวกู วิญญาณชนิดที่ เรียกว่า ตัวกู มีแต่วิญญาณชนิด รู้ทางขันธ์ห้าก็พอแล้ว ไม่ต้องมีวิญญาณตัวกู ตัวตน อาตมันอะไรที่ไหน ซึ่งได้สอนกันมาจนติดนิสัย สันดานถอดไม่ขึ้น เพราะว่าสิ่งนี้เค้านำเข้า มาสอนก่อน
รู้ไว้สักหน่อยว่า โดยทางประวัติศาสตร์นั่น ลัทธิฮินดูฝ่ายโน้น ฝ่ายที่ไม่ใช่พุทธ ฝ่ายพราหรณ์ ฝ่ายฮินดูที่ไม่ใช่พุทธน่ะ เค้ามาก่อน เค้าสอนก่อน เค้าสอนเรื่องมีตัวตน มีเจตภูต มีวิญญาณ มีอาตมันอย่างนั้น อย่างนั้นเหมือน ที่รู้กันอยู่ นั่นแหละ มันก็สอนอยู่ใน จิตใจของคน ก่อนพุทธศาสนามา พุทธศาสนาเข้ามาสอน เรื่องไม่มีตัวตน แหมลำบากมาก ลำบากมาก จนบันทึกว่าลำบากมาก ต้องแสดงปาฏิหาริย์ ต้องอะไรกันก็ไม่รู้ คือ ว่าสอนด้วย ความลำบากอ่ะ เพราะว่าคนมันหมายมั่น ความรู้เรื่องมีตัวกู ตัวตนเนี่ยไว้มั่นคง และก็ยัง เหลืออยู่จนบัดนี้ แม้รับพระพุทธศาสนาใหม่แล้ว ก็ยังละไม่ได้ ยังยึดถือตัวตน อยู่ในนิสัยสันดาน เพราะว่าข้อนี้มันไปตรงกับสัญชาตญาณ ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิต
ส่ิงที่มีชีวิตมันจะค่อยมีความโง่ โง่ขึ้น โง่ขึ้น เมื่อมีตัวตน มีตัวกู มีของกูเสมอ สัญชาตญาณ นั้นน่ะ มันเป็นเหตุให้เกิดตัวกูของกูได้ง่าย เมื่อเค้าสอนอย่างนั้นมันก็ยิ่งง่าย ยิ่งฝังแน่น ไอ้ความรู้ที่ จะมาสอนว่า ไม่มีตัวตนจึงยากและลำบาก คือ พุทธศาสนา ก็บอกว่า มีตัวกูมีตัวตนที่ไหน เมื่อไหร่ เท่าไหร่ก็มีความทุกข์ที่นั่น เมื่อนั้น เท่านั้น โดยไม่ต้องสงสัย นี่พยายามเรียนรู้ ให้มันรู้ว่าไม่มีตัวตนอันแท้จริง ตัวกูอันแท้จริง มีแต่ความคิดนึกของจิตที่โง่ ถ้าทำจิตให้ ฉลาดเสีย มันก็เห็นที่ตามเป็นจริงแล้ว มันจะไม่คิดว่ามีตัวตนหรือมีตัวกู มันไม่เห็นแก่ตัว มันก็ไม่มีความทุกข์อะไร
นี่หัวใจพุทธศาสนา คือ การสอนให้เห็นว่าขันธ์ทั้งห้า มิใช่ตัวตน จะเป็นศาสนา อย่างเถรวาทเรานี้ก็ดี ศาสนาอย่างมหายานทางเหนือโน้นก็ดี ศาสนาเซนใหม่ ๆ ก็ดี ล้วนแต่สอน เรื่อง มิใช่ตัวตนทั้งนั้นแหละ เป็นหัวใจของเร่ือง ส่วนเรื่องเบ็ดเตล็ดแปลก ๆ นั้นไม่ใช่หัวใจ มันเป็น เปลือก มันเป็นฝอย มันเป็นกระพี้ มันก็ช่วยกันไป แต่หัวใจของเรื่อง ไม่ว่าพุทธศาสนา นิกายไหน ประเทศไหน สอนที่ถูกที่แท้แล้วจะต้องสอนเรื่อง ไม่มีตัวตน ดังนั้นจึงไม่มีพุทธศาสนา อย่างไทย อย่างจีน อย่างทิเบต ลังกา พม่า อินเดีย ไม่มีพุทธศาสนาที่แปลก ๆ เป็นพวก ๆ อย่างนั้นไม่มี นั้นมันเปลือก ส่วนที่มันเป็นเปลือก
ส่วนที่เป็นเนื้อแท้หัวใจ คือ สอนเรื่องไม่มีตัวตน ขันธ์ห้ามิใช่ตัวตน ส่วนที่เป็น ตัวตนทั้งหลาย เป็นสังขารที่เปลี่ยนแปลงไปตาม กฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยกเว้น พระนิพพานเป็นวิสังขาร(นาทีที่ 42:46)อย่างเดียว นี่เรื่องหัวใจของพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ เรียกว่า หลักพื้นฐานถ้าเข้าใจแล้ว จะเข้าใจถูกต้องหมดทุกอย่างทุกประการ ไม่เข้าใจแล้วไขว้เขว จะผิด ๆ ถูก ๆ ปนกันยุ่งจนเวียนหัว แต่ว่าภาษาพูดมีอยู่ 2 ภาษา คือ ที่ถ้าพูดอย่างภาษาคน ก็ต้อง พูดอย่างธรรมดาว่ามีตัวตน ตามความรู้สึกของสัญชาตญาณ นั้นคนเราจึงพูดว่า ตัวตน ตัวตน เป็นมาตั้งแต่เกิด
พระพุทธเจ้าเองท่านก็พูด 2 ภาษา เมื่อท่านพูดภาษาคนชาวบ้าน ท่านก็พูดว่า มีตัวตน มีอะหัง เรา ฉันนี้ ถ้าพูดภาษาสูง ภาษาธรรมะ ท่านจึงจะพูดว่า ตถาคต คือ จิตที่ เห็นตะถา เห็นตะถาตา(นาทีที่ 43:40) ตถาคต แต่ถ้าต้องพูดกับชาวบ้านธรรมดา จะต้องพูดว่า อะหัง ฉันอย่างนั้น ฉันอย่างนี้ พูดเหมือนกับชาวบ้านพูด แต่ท่านมิได้ยึดถือความหมายแห่ง ตัวตน เหมือนที่ชาวบ้านยึดถือ ตถาคตก็พูดอย่างโลกิยโวหาร ภาษาชาวบ้าน ภาษาชาวเมือง แต่มิได้ยึดมั่นถือมั่น ว่ามีตัวตนอย่างชาวบ้านชาวเมือง เพียงแต่พูดภาษาชาวบ้านชาวเมือง เพื่อให้ฟังกันถูก ว่านี้ผู้พูดนั้นผู้ฟัง ต้องการอะไรอย่างไร ก็จะได้พูดกันรู้เรื่อง พระพุทธเจ้าท่าน พูดทั้ง 2 ภาษานะ ภาษาที่มีตัวตน มีฉันนี้ท่านก็พูด เมื่อต้องพูดอย่างนั้น แต่ถ้าพูดธรรมะสูงสุด แท้จริงแล้ว จะไม่พูดว่า มีฉันมีตัวตนจะใช้คำว่า ตถาคตแทน
เรารู้เรื่องความจริงของธรรมชาติว่า มันไม่เป็นตัวตนได้ แต่ความโง่ของคน ก็ไป พูดเอามาเป็นตัวตนจนได้ เช่น พูดว่า ฉัน ท่าน เรา เขา ขึ้นมาจนมีเรื่อง แล้วก็มาเป็น ของฉัน ของกู ของเรา จนมีเรื่องหนักขึ้นไปอีก ถ้ามีตัวกูมันก็ต้องมีของกูแหละ เพราะถ้าอะไร อะไรมันเข้า มาเนื่องกับตัวกู มันก็กลายเป็นของกู เพราะงั้นการที่มีตัวกูแล้ว มันก็ช่วยไม่ได้ มันต้องมี ของกู ไอ้ของกูนี้ละยาก ไม่ละไม่ได้ถ้าไม่ละตัวกูซะก่อน ต้องละตัวกูแล้วของกูก็หายไปเอง ถึงจะละของกูกันได้บ้างก็เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มันไม่ละถึงรากเหง้า คือ ตัวกู มองเห็นธรรมะ อันแท้จริงว่า มันไม่มีตัวกู แล้วมันก็ละความเห็นว่า ของกู หรือความเห็นว่าของกูมันก็เกิดขึ้นมา ไม่ได้
อะไรเข้ามาสู่ร่างกายนี้ ก็ตามธรรมชาติ เข้ามาถึงกับกายนี้ ก็เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ถ้าโง่ยึดถือเอาเป็นตัวตนก็เป็นทุกข์ ไม่โง่ไม่ยึดถือเอาเป็นตัวตนก็ไม่เป็นทุกข์
นั้นคนเราจะต้องมีสติสัมปชัญญะเพียงพอ มีสติสัมปะชัญญะเพียงพอ อย่าให้เผลอโง่ต่อไป รู้สึก เป็นตัวตนขึ้นมา ธรรมะอันละเอียดอันลึกซึ้ง ที่ถ้าจะเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ถ้าพยายามก็คงจะรู้ ถ้าไม่พยายามก็คงจะไม่รู้แน่ ซึ่งอธิบายไว้เป็นหลักว่า มีอายตนะภายในภายนอก ภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นคู่ ๆ
ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับสิ่งที่มากระทบกาย ใจคู่กับความ รู้สึกที่จะเกิดขึ้นในใจ
ยกตัวอย่างคู่แรก ตากับรูป ตาถึงกับรูป คือ เห็นรูป ตาถึงกันเข้ากับรูปก่อน ก็เกิด ความเห็นทางตา เรียกว่า วิญญาณทางตา หรือจักษุวิญญาณ เกิดเป็น 3 เรื่องขึ้นมาคือ ตาอันหนึ่ง รูปข้างนอกอันหนึ่ง และจักษุวิญญาณ ที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้อันหนึ่งเป็น 3 อัน 3 อันนี้ ถึงกันเข้าเรียกว่า ผัสสะ คือ วิญญาณจักษุวิญญาณเกิดขึ้น สัมผัสรูปโดยทางตา นี่ผัสสะ ผัสสะนี้ มี 3 ส่วน มักจะสอนกันว่ามีเพียง 2 ส่วน เพราะมันไม่รู้เรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ผัสสะมี 3 ส่วน จักษุวิญญาณที่จะเป็นผู้เห็นรูปโดยตา มีตา มีรูป มีจักษุวิญญาณ 3 ประการ กำลังทำงานร่วมกันอยู่นี้เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะนี้มีทุกวัน มีทุกคน วัน ๆ หนึ่งเยอะแยะ เดี๋ยวผัสสะทางตาบ้าง เดี๋ยวผัสสะทางหูบ้าง เดี๋ยวผัสสะทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง มีผัสสะอยู่วันหนึ่งนับไม่ไหว
ทีนี้ในขณะแห่งผัสสะนั้น ถ้ามันเป็นคนโง่ คือ ไม่มีปัญญา ไม่มีวิชา เป็นผัสสะของคนโง่ มันก็เกิดเวทนาโง่ เวทนาที่หลอกให้รัก มันน่ารัก เวทนาที่หลอกให้เกลียดให้กลัว เมื่อน่าเกลียด ไม่น่ารัก และเวทนาที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร คือ เป็นเวทนาที่ไม่รู้ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก เกิดเวทนาโง่ ขึ้นมาอย่างนี้ แล้วมันก็เกิดความอยากโง่ ๆ โง่ ๆ ไปตามเวทนานั้น เวทนาที่น่ารักมันก็อยากจะได้ อยากจะเอา อยากจะมี เวทนาที่ไม่น่ารัก มันก็อยากจะฆ่าเสีย ทำลายเสีย ไล่เสียออกไป นี้เวทนา ที่น่ารักและไม่น่ารัก ทั้งสองอย่าง มันก็ได้แต่สงสัยลังเลอยู่ว่านี้มันจะเป็นอะไร ก็ยังสงสัยลังเล หวังว่าจะเป็นอะไรที่กูควรจะได้ อย่างนี้ก็มีอยู่
เราก็มีเวทนาอย่างนี้ แล้วก็มีความอยากอย่างนี้ พอมีความอยากหนักเข้า แรงเข้า หนักเข้า มันก็เกิดความรู้สึกอันหนึ่งงอกขึ้นมาจากความอยาก คือ ความรู้สึกว่าตัวกู ตัวกู ผู้อยาก นั่นตัวกูมาที่หลังความอยาก ผู้อยากมาที่หลังความอยาก นี่มันเป็นเรื่องของธรรมะ ไม่ใช่เรื่องของวิทยาศาสตร์ วัตถุธรรมชาติ ที่ว่าผู้อยากต้องมีก่อน จึงจะเกิดความอยาก หรือว่าผู้ทำต้องมีก่อน จึงจะเกิดการกระทำ
ในเรื่องธรรมะไม่เป็นอย่างนั้น ขอให้มีความอยาก อยาก อยากเป็นแรงเกิด มันจะ เกิดความรู้สึกว่า กูผู้อยากขึ้นมาทันที นี่เรียกว่า เกิดความโง่ อยากอย่างโง่ แล้วก็เกิดผล คือ อุปาทาน เป็นตัวกูผู้อยาก เรียกว่า ตัณหา คือ ความอยาก ให้เกิดอุปาทาน คือ ยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นตัวกูของกู ก็เกิดภพขึ้นมา สำหรับจะเป็นตัวกูโดยสมบูรณ์ ครรภ์แก่ ภพก็ เหมือนครรภ์แก่ คลอดออกมาเป็นชาติ เป็นตัวกูของกูอย่างนั้น อย่างนี้อยู่ทุกวัน เรื่องนั้น เร่ืองนี้ เรื่องโน้น ล้วนแต่เป็นเรื่องตัวกูของกู
มีตัวกูแล้วมันก็ คว้าอะไรมาเป็นของกู ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความทุกข์ทั้งหลาย ก็เป็นของกูขึ้นมา มีความหมายขึ้นมา ไม่อยู่ตามธรรมชาติอีกแล้ว นี่ความลับสูงสุด ของ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เข้าใจได้ก็ดี แต่พระพุทธเจ้าท่าน ก็ตรัสว่า เป็นเรื่องลึก เป็นเรื่องเข้าใจยาก เป็นเรื่องเข้าใจยาก ขอให้สนใจกันไว้ว่า เรายังไม่รู้เรื่องนี้ จงพยายามศึกษา ติดตามศึกษาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ จนเข้าใจว่าสิ่งทั้งปวง เป็นไปตามธรรมชาติ
สิ่งท้ังหลายทั้งปวง เรียกว่า ธรรมชาติ ใน 4 ความหมาย เป็นธรรมชาติอยู่ตาม ธรรมชาติก็มี เป็นกฏของธรรมชาติ สิงอยู่ในธรรมชาติเหล่าน้ันก็มี เป็นหน้าที่ของ สิ่งมีชีวิต จะต้องปฏิบัติต่อธรรมชาติเหล่านั้น ให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ นี้สำคัญ ที่สุด เรียกว่า ความหมายที่สาม คือ หน้าที่ แล้วก็มีความหมายที่สี่ คือ ผล ผลที่เกิด มาจากทำหน้าที่ นี้ไม่ต้องสนใจก็ได้ ทำหน้าที่แล้วผลก็ต้องเกิดแหละ ทำผิดผลก็ผิด ทำถูกผลก็ ถูก ทำดีผลก็ดี ทำชั่วผลก็ชั่ว ทำเหนือดีเหนือชั่ว เป็นความสงบ ก็มีผลเป็นความสงบเป็นนิพพาน มีความหมายแห่งธรรมชาติ 4 ประการ จำไว้เป็นพื้นฐาน สำหรับศึกษาธรรมะทั้งหมด ทั้งสิ้น
บรรดาธรรมะในพระไตรปิฎกทั้งหมด เราอาจจะสรุปได้เป็น 4 ความหมายอย่างนี้ พวกหนึ่งตัวธรรมชาติ แสดงตัวธรรมชาติ เรียกว่า สภาวะธรรม เป็นรูป เป็นนาม เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม เป็นธาตุ เป็นอาสนะ ไปตามธรรมชาติ นี้ในธรรมชาติเหล่าน้ัน เรียกว่า มีสัจธรรม คือ กฏของธรรมชาติ ว่ามันต้องเป็นไปตามกฏนั้น คือ มีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันต้องเป็นไปตามกฏนั้น ๆ แล้วมันจะต้องเปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุตามปัจจัย มันทรงตัวมันเองอยู่ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ส่งเสริม กันไปเรื่อย ๆ นี้แหละ เรียกว่า กฏของธรรมชาติ มีอยู่ในตัวสิ่งที่เป็นธรรมชาติ
ทีนี้ที่สามก็คือ หน้าที่ หน้าที่ ที่ว่าจะต้องปฏิบัติให้ถูก ตามกฏของธรรมชาติ มิฉะนั้นจะต้องมีความทุกข์ หรือว่าตาย แตกสลายลงไปทันที เรามีหน้าที่ หน้าที่ ที่จะต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อรอดชีวิตอยู่ก็มี เรามีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อไม่ต้องเป็นทุกข์ก็มี นี่เรียกว่า ธรรมะ ความหมายที่สาม คือ ปติปัตติธรรม ปติปัตติธรรมะ ธรรมะที่ต้องปฏิบัติ
ให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ จงศึกษาส่วนนี้ให้รู้ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะได้ประพฤติ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฏของธรรมชาติ นี่ขอให้ทุกคนรู้จักหน้าที่ อันนี้แหละซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่สุด เป็นความหมายที่สามของธรรมะ แต่ก็สำคัญที่สุด ส่วนผลที่จะเกิดจากหน้าที่นั้น มันจะต้อง มีตามหน้าที่ที่ปฏิบัติแหละ สนใจปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง แล้วผลก็ถูกต้อง
แล้วเรามาพูดกันถึงหน้าที่ หน้าที่หรือธรรมะนี้จะดีกว่า ธรรมะ คือ หน้าที่ หน้าที่ คือ ธรรมะ เป็นสิ่งเดียวกัน แต่เรียกโดยภาษาไทยว่า หน้าที่ เรียกโดยภาษาอินเดียโบราณโน้น ว่า ธรรมะ หน้าที่ ก็คือ สิ่งที่จะยกชูหัว ยกชูไว้ไม่ให้เป็นทุกข์ ธรรมะ ก็คือ สิ่งที่ยกชูไว้ ยกชูไว้ ไม่ให้เป็นทุกข์ คือ ไม่ให้พลัดตกลงไปสู่กองทุกข์ นี่คือ หน้าที่ หรือมรรค นั้นพระพุทธเจ้า ท่านเคารพหน้าที่ หรือธรรมะอย่างสูงสุด เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ทรงฉงนพระทัยว่า ตรัสรู้แล้ว ต่อไปนี้ จะเคารพอะไร ใคร่ครวญไป ใคร่ครวญมาก็พบ นี่แหละธรรมะ ธรรมะ คือ หน้าที่ ธรรมะ คือ หน้าที่ ตัดสินพระทัยว่าเคารพ ธรรมะ คือ หน้าที่
แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ ก็เคารพหน้าที่ ที่ท่านประกาศอย่างนี้ จะมี พระพุทธเจ้าในอดีต อนาคตอะไรก็ตาม ล้วนแต่เคารพหน้าที่ เหมือนพระพุทธเจ้าในปัจจุบันนี้ เคารพหน้าที่ แล้วพระพุทธเจ้าท่านก็ เคารพหน้าที่จริง ๆ แต่พุทธบริษัททั้งหลายไม่ค่อยจะ เป็นอย่างนั้น พุทธบริษัททั้งหลายเคารพพระพุทธเจ้า ละเมอเพ้อฝันอย่างนั้นแหละ แล้วก็ ไม่ค่อยเคารพ สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพ มองดูให้ดี ๆ สิ พุทธบริษัทเหล่านี้ไม่เคารพ สิ่งที่พระพุทธเจ้าเคารพ ทั้งที่ตัวเองเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระพุทธเจ้า แต่ไม่เคารพสิ่งที่ พระพุทธเจ้าเคารพ มันหลับหูหลับตาสักเท่าไหร่
ถ้าเคารพพระพุทธเจ้า ก็ต้องเคารพหน้าที่ ที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพ พระพุทธเจ้า ท่านเคารพหน้าที่ครบวงจร ยกตัวอย่าง ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง วงจรเนี่ย ก่อนหัวรุ่ง ท่านใคร่ครวญสอดส่องไปว่า สว่างขึ้นวันนี้จะไปที่ไหน จะไปโปรดใคร จะไปพบปะใคร จะทรมานใคร จะอะไรก็ตาม เพราะท่านเห็น ๆ อยู่ว่า ที่ไหนเป็นอย่างไร เท่าที่ท่านเห็นอยู่ด้วย พระญาณเนี่ย ท่านก็พอที่จะรู้ว่า วันนี้จะไปบิณฑบาตทางไหน จะพบใครหรือว่าจะพูดเรื่องอะไร กัน ท่านก็ไปทางนั้น ไปโปรดชาวนา ไปโปรดข้าราชการ ไปโปรดพ่อค้า ไปโปรดใครก็ได้ คือว่า ให้ได้พบปะในรูปของการไปบิณฑบาต ไปบิณฑบาตอาหาร ก็เพื่อโอกาสได้พบปะ และสนทนา สนทนา สนทนาจนทำให้เจ้าของบ้านรู้ธรรมะ นี้เรียกว่า ไปโปรดสัตว์ ไม่ใช่ไปพอข้าวกินเฉย ๆ แล้วกลับวัดมานอน
นี่ท่านจะต้องพยายามให้ คนที่พบปะนั้นรู้ธรรมะ รู้ธรรมะ รู้ธรรมะ จะเป็นพูดกันจนสาย จนอะไรก็ได้ ถ้าไปหลายองค์ องค์หนึ่งจะอยู่ช่วยพูดแทนก็ได้ แต่ต้องพูดให้เจ้าของบ้าน ได้รับ ประโยชน์จนได้ ตอนเที่ยงพักผ่อนไปธรรมดา แล้วเพราะว่ามันเที่ยงมันร้อน พอตอนบ่ายก็สอน ประชาชน คนทั้งหลายที่ไปฟังถึงที่วัด ที่อารามนั่นก็สอนตอนบ่าย พอค่ำหัวค่ำ ท่านก็สอน พระสอนเณรที่อยู่ประจำวัด พอดึกเข้าก็สอนเทวดา มาจากเทวโลก หรือว่าเทวดาราชา มหากษัตริย์ในบ้านในเมืองไปหา ก็ล้วนแต่ไปหาเวลาดึกทั้งนั้นแหละ เนี่ยดึกสอนเทวดา พักผ่อนนิดหน่อย
เดี๋ยวก็หัวรุ่งอีกแล้ว ก็เล็งญาณส่องโลกอีกแล้ว ว่าวันนี้จะไปไหน นี่ครบวงจร อย่างนี้ ท่านทำหน้าที่อย่างนี้ เลยไม่มีเหน็ดเหนื่อย เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า ท่านจึงเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ก็ไม่เป็น พระพุทธเจ้า ก็รู้ ๆ กันอยู่ ท่านทำอย่างนี้จนตลอดชีวิตของท่าน ท่านต้องเดินเป็นโยชน์ ๆ เพราะ ไม่มีรถยนต์ และก็ดูท่านจะไม่ใช้รองเท้าด้วย แล้วก็ท่านไม่นั่งพาหนะ ที่เทียมด้วยสัตว์เป็น ๆ เช่น เกวียน เช่น รถม้าอะไร ท่านไม่นั่ง ท่านก็ต้องเดิน ท่านก็ต้องเดินเป็นโยชน์ ๆ จากเมืองนี้ สู่เมืองโน้น
ไอ้วันนั้น วันสุดท้าย ที่จะปรินิพพานอยู่แล้ว ท่านก็ยังต้องเดินเป็นโยชน์ ๆ น่ะ เพื่อไป นิพพานที่เมืองเล็กน้อย เมืองหนึ่งที่เรียกว่า เมืองกุสินารา ท่านตอนนั้นจะปรินิพพานแล้ว ก็ยัง เดินอยู่เป็นโยชน์ ๆ พวกเราทำอย่างนั้น มันจะพา(นาทีที่58:22)โรงพยาบาลมากกว่า แล้วค่ำลง แล้ว จะปรินิพพานอยู่หยก ๆ นี้แล้ว ก็ยังมีคนมาหาอีก มาขอให้สอนอีก พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เห็นว่าไม่สมควรแล้ว ท่านจะปรินิพพานแล้ว ก็ไล่ให้มันไปเสีย ท่านได้ยินเข้า อู้! อย่าไล่ อย่าไล่ บอกมันมา เข้ามา เข้ามาแล้วก็ท่านสอนโปรด ปริพาชกไอ้คนสุดท้ายนี้ จนได้รู้ธรรมะ จนได้เป็น พระอรหันต์ในที่สุด นั่นแหละ ต่อมาไม่กี่นาที ท่านก็ดับขันธ์ปรินิพพานไป
นี่คิด คิดอย่างนี้ ท่านทำหน้าที่จนวาระสุดท้ายของชีวิต พวกเราทำอย่างนี้ หรือเปล่า มีคิดแต่จะหาความสุข สนุกสนาน พอใจ เอร็ดอร่อย ตายแล้วก็จะไปนอน ในสวรรค์โน่น ไม่ใช่ว่าไปทำประโยชน์แก่ใคร ไปหาวิมาณทางกามารมณ์โน่น ทั้งพระ ทั้งฆราวาส ก็ยังหวังกันอยู่อย่างนี้ ก็มีนะ อย่างนี้มันไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า มันจะ ต้องเคารพหน้าที่ เคารพหน้าที่เพื่อช่วยตนเอง ให้รอดจากความทุกข์ท้ังปวง หรือช่วย ผู้อื่นให้รอดจากความทุกข์ทั้งปวง ช่วยตัวเองไม่ให้โง่ ไม่ให้หลงอยู่ในกามโลก เทวโลก รูปโลก พรหมโลกอะไร ไม่หลงอยู่ในโลก แต่จะอยู่เหนือโลกเป็นโลกุตระ นี่ธรรมะ ที่เป็นหน้าที่ที่พระพุทธเจ้าเคารพ ขอให้พวกเราทุกคนเคารพ สิ่งที่พระพุทธเจ้า ท่านเคารพเถิด อย่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า แต่ปากเลย ไม่ได้เคารพสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคารพ พระพุทธเจ้า เคารพสิ่งใด เราจงเคารพสิ่งนั้น
ทีนี้ก็มาถึงความหมายคำว่า เคารพ เคารพทำอย่างไร เคารพ เคารพนั้น คือ ปฏิบัติ ตาม ถ้าไม่มีการปฏิบัติ หรือปฏิบัติตาม ไม่เรียกว่า เคารพ ต้องมีการปฏิบัติตาม จึงจะเรียกว่า เคารพ หรือประพฤติธรรมะ ธรรมะนั้นคือ น่าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ถูกต้องแก่อะไร ถูกต้องแก่การที่มันจะดับทุกข์ได้ ถ้ามันไม่ได้ดับทุกข์ ก็ไม่ใช่ธรรมะในที่นี้ ธรรมะอื่น ไม่ใช่ธรรมะ ที่ต้องการ ที่เราต้องการในที่นี้คือ ธรรมะที่ดับทุกข์ได้ จงปฏิบัติธรรมะชนิดที่ดับทุกข์ได้ รู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ตามที่เป็นจริง ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน แล้วก็ ดับทุกข์ได้นี้คือ ธรรมะ ธรรมะที่แท้จริงดับทุกข์ได้
ต้องปฏิบัติจึงจะเป็นธรรมะ เพียงจะเรียน ๆ ท่อง ๆ ฟัง ฟัง ฟัง อย่างที่ฟังอยู่นี้ ก็ยังไม่ใช่ ธรรมะที่มุ่งหมาย ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติลงไป ด้วยกาย วาจา ใจ โดยถูกต้องแล้วมันดับทุกข์ได้ จึงจะเรียกว่า ธรรมะ มันช่วยให้รอดชีวิตอยู่ได้หนึ่ง แล้วมันช่วยให้ไม่มีความทุกข์ โดยประการ ทั้งปวง สองช่วยให้หมดปัญหาในที่สุด นี่คือ ธรรมะ ธรรมะ ต้องปฏิบัติลงไปด้วย กาย วาจา ใจ อย่างนี้ มีอยู่ที่เนื้อที่ตัว จึงจะเรียกว่า ธรรมะ
ถ้าไม่มีการปฏิบัติชนิดที่เพื่อความรอดแล้ว มันไม่มีธรรมะหรอกในโบสถ์บางโบสถ์ มีแต่นั่งสั่นเซียมซี พระพุทธรูปมีชื่อเสียงที่สุด แต่ในโบสถ์นั้นมีแต่ นั่งสั่นเซียมซี ไม่มีการ ปฏิบัติอะไร พูดได้ว่า ในโบสถ์นั้นไม่มีธรรมะเลย มีแต่นั่งสั่นเซียมซี เอาพระพุทธรูปเป็น ของศักดิ์สิทธิ์ บังคับให้เซียมซีศักดิ์สิทธิ์ จะศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่ก็รู้ แต่เราจะพูดว่าในโบสถ์ชนิดนั้น ไม่มีธรรมะเลย ในกลางนาไถนาอยู่ เหงื่อไหลไคล่ย้อยอยู่กลางแดดนั่นแหละ กลับจะมีธรรมะ คือ ชาวนากำลังทำหน้าที่ หน้าที่ที่จะช่วยให้รอด ไม่ตาย และพ้นทุกข์ และดับทุกข์ นั้นการกระทำ ของชาวนา นั้นเป็นธรรมะ
ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า ข้าราชการ กรรมกรอะไร ขอทานก็ได้ ปฏิบัติหน้าที่อยู่อย่าง ถูกต้อง แล้วก็เรียกว่า มีธรรมะทั้งนั้น ขอให้มีการกระทำที่ถูกต้อง ที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์เถิด ทำนาอยู่กลางแดด เหงื่อไหลไคลย้อย ทำสวนอยู่กลางแดด ก็ยังมีธรรมะที่แท้จริง ไม่มีในวัด ไม่มีในโบสถ์ ที่ไม่มีการทำหน้าที่ นั้นต้องทำหน้าที่ทั้งน้ันเลย ไม่ว่าในวัด ในโบสถ์ หรือกลาง ทุ่งนา หรือที่ออฟฟิส หรือที่ถนนหนทาง หรือที่ไหนก็ตาม ถ้ามีหน้าที่ถูกต้องแล้ว มีธรรมะหมด เป็นกรรมกรกวาดถนน แจวเรือจ้าง ล้างท่อถนนอะไรก็ได้ หน้าที่ตามถูกต้อง แล้วก็เป็นธรรมะหมด ธรรมะของกรรมกร ขอทานอย่างดี น่าเอ็นดูมีคนให้ จนรอดพ้นจากการ เป็นขอทาน ก็เป็นธรรมะของคนขอทาน
ทีนี้ก็จะเป็นพ่อค้า ก็ถูกต้อง ให้สมตามที่เป็นพ่อค้า ไม่ใช่ผู้ขูดรีด พ่อค้าที่ขูดรีดไม่ใช่เป็น พ่อค้าที่มีธรรมะ พ่อค้าที่ทำไปอย่างถูกต้อง ให้เกิดความสะดวกแก่สังคม ด้วยหน้าที่การค้า นี้ก็ยังเรียกว่า มีธรรมะของพ่อค้า ข้าราชการทำราชการ ปลดเปลื้องความยากลำบาก ของประชาชน ก็เรียกว่า มีธรรมะ แต่ถ้าเป็นข้าราชการกดขี่ข่มเหง ขูดรีดก็ไม่มีธรรมะด้วย เหมือนกัน ใครก็ตามที่ไม่มีธรรมะก็ มันก็ไม่มีธรรมะแหละ เพราะมันไม่มีการกระทำ ที่เป็น การช่วยดับความทุกข์
นั้นเราจงมีธรรมะ ธรรมะการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง อยู่ทุกเวลา บอกตัวเองได้ว่า ถูกต้อง ถูกต้องในหน้าที่ทุกหน้าที่ ไอ้หน้าที่ทั้งหลายเนี่ย ขอแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ หน้าที่ทำมาหากิน อาชีพเป็นหน้าที่หนึ่ง ทำมาค้าขาย ทำสวนทำนา ทำไรแล้วแต่ ออฟฟิส ข้าราชการไปก็เป็นอาชีพ อาชีพนี่อย่างหนึ่ง มาหมวดที่สอง บริหารร่างกาย บริหารร่างกายให้ ชีวิตนี้รอดถูกต้อง เป็นสุขสบาย มีประโยชน์ ในบริหารร่างกาย ตื่นขึ้นมา ล้างหน้าถูฟันก็ให้ ถูกต้อง อาบน้ำให้ถูกต้อง ถ่ายอุจจาระปัสสาวะให้ถูกต้อง กินอาหารให้ถูกต้อง ล้างถ้วยล้างจาน กวาดบ้านถูเรือนให้ถูกต้อง แม้แต่กระทั่งล้างส้วม นั้นจำไว้ทุกคนเถอะว่า แม้แต่ล้างส้วมถ้าทำดี ถูกต้องตามหน้าที่ ก็เป็นธรรมะ มีสติสัมปชัญญะล้างถ้วย ล้างจาน กวาดบ้านถูเรือน แม้แต่ ล้างส้วม ถ้าทำด้วยสติสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา แล้วก็เรียกว่า ธรรมะทั้งนั้น แม้แต่จะ ล้างจาน จะกวาดบ้าน จะถูเรือน
คนโง่มันทำไม่เป็น มันไม่ได้ทำ แล้วมันไม่ได้ประโยชน์ มันก็ทำอย่างกระฟัด กระเฟียด ไม่อยากทำอ่ะ ล้างถ้วยล้างจาน กวาดบ้านถูเรือน มันไม่อยากทำ ก็ทำด้วยจิตใจ เป็นโทสะ แล้วจะมีธรรมะอะไร ถ้าคนเป็นสัตตบุรุษ ฉลาดก็มีสติสัมปชัญญะ ล้างถ้วย ล้างจาน เป็นสมาธิอยู่ที่ น้ำมันล้างของสกปรกออกไป เป็นสมาธิอยู่ที่ปลายไม้กวาด ที่มันค่อย ๆ กวาด ของสกปรกออกไป มันเป็นสมาธิไปหมด ไม่ว่าเวลาไหน ถูฟันมีสมาธิ ล้างหน้าก็มีสมาธิ อาบน้ำก็มีสมาธิ ทุกระยะ ทุกระยะ เป็นสุขตลอดเวลาที่อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะก็ถูกต้อง พอใจเป็นสุข ตลอดเวลาที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ แต่คนโง่มันทำไม่ได้ มันทำ ไม่เป็น เพราะมันไม่รู้ว่าธรรมะ
จะกินอาหารนี่ทุกระยะ จะตักใส่จาน จะตักใส่ปาก จะเคี้ยว จะกลืนให้มีถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง พอใจ คนโง่มันทำไม่ได้ เพราะมันมัวไปทะเลาะกับอาหาร คำนี้อร่อย คำโน้นไม่อร่อย คำโน้นเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็ด่าแม่ครัว เดี๋ยวก็สรรเสริญแม่ครัว มันก็ยุ่งไปหมด มันไม่มีธรรมะ
ในการกินอาหาร นั้นขอให้มีธรรมะแม้ในการกินอาหาร ล้างถ้วยล้างจาน กวาดบ้านถูเรือน ทุกอย่างทุกประการ ที่สักว่าเคลื่อนไหว แล้วก็ให้ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง เห็นว่าถูกต้อง ก็พอใจ พอใจก็เป็นสุข เป็นสุข เมื่อเคลื่อนไหวอยู่ตลอดวัน ก็เป็นสุขตลอดวัน เพราะมัน เคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง และพอใจ ขอให้ท่านทั้งหลายมีธรรมะอย่างนี้อยู่ทุก ๆ การบริหารร่างกายชีวิตประจำวัน
ทีนี้เรื่อง หน้าที่ในการคบหาสมาคม มันอยู่ในโลกคนเดียวไม่ได้ ต้องมีสังคม บุคคล ที่สอง ออกไปเรียกว่า สังคม แบ่งเป็นส่วน ๆ ที่เรา จะต้องประพฤติปฏิบัติต่อนั้นถูกต้อง ข้างหน้ามีบิดามารดาปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้างหลังบุตรภรรยาปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้างซ้าย มีมิตรสหายต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้างขวามีครูบาอาจารย์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้างบน มีผู้อยู่เหนือ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้างล่างมีผู้อยู่ใต้ ใต้บังคับบัญชาก็ต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง 6 ทิศทางเหล่านี้แล้ว ก็เรียกว่า ปฏิบัติธรรมะต่อสังคม
ปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมอย่างถูกต้อง เป็นคนหมดตัณหา มีแต่ความสงบสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนถึงที่สุด คือ พระนิพพาน
ปฏิบัติธรรมะ ถูกต้องทุกประการ ทั้ง 3 หมวดนี้แล้ว ก็จะมีชีวิตเย็น ชีวิตเย็น เรียกว่า ชีวิตใหม่ก็ได้ ชีวิตเก่ามันเต็มไปด้วยความร้อน...ร้อน...ร้อนอย่างนั้น ร้อนอย่างโง้น ร้อนอย่างงี้ ชีวิตเก่าเบื่อกันที มาปฏิบัติธรรมะให้ถูกต้องนี้แล้ว จะพบชีวิตเย็น...เย็น...เย็น เย็นทาง ภายนอก เย็นทางภายใน เย็นกาย เย็นวาจา เย็นใจเย็นอะไร ก็เย็น...เย็น...เย็นน่ะ ชีวิตเย็น แล้วก็ชีวิตฉลาด...ฉลาด...ฉลาด ไม่ไปหลงบวก ไม่ไปหลงลบ ไม่ไปหลงดีหลงชั่ว หลงบุญ หลงบาป อะไรที่ไหน อยู่แต่กับความสงบอย่างเดียว
นี่ชีวิตใหม่ ชีวิตเย็น ชีวิตอยู่เหนือโลก แม้ร่างกายจะอยู่ในโลก แต่ว่าจิตใจอยู่เหนือ อำนาจของโลก นี่เค้าเรียกว่า เหนือโลก อย่าคิดว่าต้องเหาะลอยไปอยู่ที่ไหน สูงสุดอยู่ที่ไหน ถึงจะเรียกว่า เหนือโลก อยู่ที่นี่ อยู่ในโลกนี้ แต่ในโลกไม่ทำอะไรได้ ไม่มีอิทธิพลเหนือเรา เราไม่มีความทุกข์เพราะโลก เรียกว่า อยู่เหนือโลก นี่ชีวิตใหม่ ชีวิตเย็น
ขอให้ท่านทั้งหลายได้สนใจ ในเรื่อง ธรรมะ...ธรรมะที่หน้าที่...หน้าที่...หน้าที่ ทำหน้าที่ทุกอย่าง ทุกประการ ทุกอิริยาบท ทุกวินาที ด้วยสติสัมปชัญญะ พบแต่ความ ถูกต้อง...ถูกต้อง... ถูกต้อง... ถูกต้องและพอใจ...พอใจ...พอใจ เมื่อพอใจ พอใจมันก็เป็นสุข เท่าน้ันเอง เลยเป็นผู้มี ความสุข อยู่ทุกกระเบียดนิ้ว ทุกอิริยาบท ทุกเวลา ทุกนาที ทุกประการ ทุกกรณี นี่ผลของการที่มี ธรรมะอย่างถูกต้อง ปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างถูกต้อง อยู่กับความถูกต้อง อยู่กับความสงบสุข
ค่ำลงมาคิดดู วันนี้ทำอะไรบ้าง โอ้! ถูกต้องไปทั้งนั้น ยกมือไหว้ตัวเอง อยากจะท้าว่า ไม่มีใครยกมือไหว้ตัวเอง มันยังไม่มีใครดี จนยกมือไหว้ตัวเอง มองเห็นตัวเองโดยทั่วถึงแล้ว มันยังมีส่วนที่น่าขยะแขยง ไหว้ไม่ลงน่ะ มันยังไหว้ตัวเองไม่ได้ อย่างนี้แล้ว มันยังไม่มีสวรรค์ ที่แท้จริง มันต้องดีถูกต้อง จนยกมือไหว้ตัวเองได้ ก็เป็นสวรรค์แท้จริง เกลียดน้ำหน้า ขยะแขยง ตัวเองเมื่อไหร่ ก็เป็นนรกเมื่อนั้น...เมื่อนั้น...เมื่อนั้นแน่ะ ไหว้ตัวเองได้เมื่อไหร่ ก็เป็นสวรรค์เมื่อนั้น เมื่อนั่นน่ะ สวรรค์อย่างอื่น นรกอย่างอื่น ถ้าจะมีกี่อย่าง มันก็ขึ้นอยู่ที่นี่ สวรรค์ทั้งหลายขึ้นอยู่ที่ สวรรค์ยกมือไหว้ตัวเองได้ นรกทั้งหลายมารวมอยู่ที่ นรกที่เกลียดหน้าตัวเอง
นั้นขออย่าได้มี การเกลียดน้ำหน้าตัวเอง ที่ทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง ให้มีแต่ว่าพอใจ ตัวเอง ยกมือไหว้ตัวเองได้ จนสวรรค์อยู่เดี๋ยวนี้ แล้วก็จะเจริญขึ้นไป จนถึงพระนิพพาน เมื่อถึงที่สุดแห่งความดี รู้จักความดีว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นสังขารธรรม ตามธรรมดา เปลี่ยนแปลงไปตาม กฏอิทัปปัจจยตา ไม่ยึดมั่นหลงใหลในส่ิงใดผิด ก็สุข หลุดพ้น ปล่อยวาง เป็นพระนิพพาน เหนือสิ่งท้ังปวงนี้จบแล้ว ธรรมะโดยหลักพื้นฐานมีอยู่อย่างนี้
ถ้าเข้าใจจะดีมาก กลัวว่าจะไม่เข้าใจ เข้าใจสักครึ่งหนึ่งก็ไม่ได้ สักสิบเปอร์เซ็นต์ก็จะ ยังไม่ได้ม้ัง สำหรับบางคน ขอแสดงความเสียใจในส่วนนี้ ถ้าฟังไม่ได้ก็เป็นเป่าปี่ให้แรดฟัง มาจ้าง อาตมาเป็นผู้เป่าปี่ให้แรดฟัง แรดทั้งหลายมันฟัง ไม่ถูกเองตั้งหากเล่า นั้นขออย่าได้เป็นแรด อีกต่อไปเลย จงฟังถูก จงเข้าใจ จงประพฤติปฏิบัติ ให้ได้รับประโยชน์ในสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ให้สมกับที่เป็นพุทธบริษัท เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา แล้วเจริญงอกงามก้าวหน้า ในทางแห่งพระพุทธศาสนา อยู่ทุกทิภาราตรี