แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
ในการบรรยายครั้งแรกนี้ จะพูดโดยหัวข้อว่าธรรมะทำไมกัน ท่านทั้งหลายมาเพื่อจะศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะควรจะทราบว่าธรรมะทำไมกัน ท่านจะได้สะดวกในการที่จะศึกษาและการปฏิบัติให้ได้รับประโยชน์เต็มที่ หากท่านเคยได้ยินคำหลายคำเกี่ยวกับธรรมะนี้ เช่นคำว่า Buddhism เช่นคำว่า Teachings of the Buddha พุทธธรรมะ พุทธศาสนา ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจอาจไขว้เขวหรือถึงกับขัดแย้งก็ได้ ขอให้เข้าใจว่าคำว่าธรรมะ ธรรมะนั้น มันหมายถึงสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งจะเรียกชื่อด้วยด้วยชื่อต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ธรรมะโดยเนื้อแท้ก็คือ Natural Truth , Natural Truth ว่าด้วยหน้าที่เพื่อความรอดของสิ่งที่มีชีวิต Natural Truth ว่าด้วยหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิต ขอให้เข้าใจความหมายอันนี้เป็นหลักพื้นฐาน แม้จะเรียกว่า Buddhism ความรู้หรือความคิดหรือวิถีทางของพุทธบริษัทมันก็ไม่ใช่ของพุทธบริษัทมันเป็นของธรรมชาติเป็น Truth ของธรรมชาติแม้จะเรียกว่า Teachings of the Buddha มันก็ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้ามันเป็นของธรรมชาติ แต่ว่าพระพุทธเจ้าค้นพบความจริงอันนี้และนำมาสอน อย่าเข้าใจผิดว่ามันเป็นความคิด ความรู้ หรือการบัญญัติตั้งขึ้นมาของพระพุทธเจ้า หรือของพุทธบริษัท เค้าให้มองเห็นในฐานะเป็น Natural Truth ที่พระพุทธเจ้าค้นพบแล้วก็นำมาสอน ทีนี้ก็ดูต่อไปที่ว่า Natural Truth ของอะไรเรื่องอะไร Natural Truth คือความจริงเรื่องหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตที่จะต้องทำ สิ่งที่มีชีวิตจะต้องทำเพื่อความรอดของมันเอง Natural Truth เรื่องหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตซึ่งมันจะต้องทำเพื่อความรอดของมันเอง ขอให้กำหนดบทนิยามอันนี้ไว้ให้ชัดเจนแน่วแน่และถูกต้องเป็นพื้นฐาน เมื่อถามว่าหน้าที่อะไร หน้าที่อะไร ก็คือหน้าที่ในการอยู่รอด อยู่รอดในการและก็รอดอยู่อย่างเย็น เราต้องการความหมายของคำว่าเย็น ซึ่งเป็นคำแปลของคำว่า นิพพาน นิพพาน หากปราศจากนิพพานก็ไม่มีพุทธศาสนา คำว่านิพพานแปลว่าเย็น หน้าที่ในชีวิตคือทำให้เกิดความรอดและก็รอดอยู่อย่างเย็นไม่ใช่รอดอยู่อย่างร้อน ไม่ใช่รอดอยู่อย่างเต็มไปด้วยปัญหาภาระต่าง ๆ หน้าที่อย่างนี้ อันคำว่าเย็น เย็น ในที่นี้คืออย่างไร มีความหมายว่าปราศจากความร้อนเมื่อเรามีกิเลศก็ดี มีความทุกข์ก็ดี ชีวิตก็เป็นของร้อน เมื่อไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์เราเรียกว่าเย็นในภาษาไทยเราเรียกว่านิพพานในภาษาบาลีนิพพาน นิพพานเนี้ยเป็นจุดสูงสุดเป็น (นาทีที่ 11:26:03) ของพุทธศาสนามุ่งไปที่นั่นเป็นจุดสูงสุดและก็เรียกว่าภาวะที่เย็นหน้าที่เพื่อให้เกิดชีวิตเย็น เรียกว่าธรรมะหน้าที่ให้เกิดชีวิตเย็นเรียกว่าธรรมะ ยกตัวอย่างที่จะเห็นได้ง่าย ๆ ว่าเราเย็นต่อเมื่อเราไม่อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่บีบคั้นจิตใจ ซึ่งทำให้เรามีความรู้สึก 2 อย่าง คือพอใจกับไม่พอใจ พุทธศาสนาต้องการให้อยู่เหนือความรู้สึกของ 2 อย่างนี้ เพราะว่าพอใจยังไม่ใช่ความสงบ ไม่พอใจก็ยังไม่ใช่ความสงบ เราว่างจากทั้งพอใจและทั้งไม่พอใจเราจะต้องไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของ Positivism and Negativism ทั้งคู่เลยเนี้ยตัวอย่างความเย็น คือคำว่าธรรมะ ธรรมะ คือหน้าที่ คือหน้าที่ ที่สิ่งที่มีชีวิตจะต้องปฏิบัติถ้าไม่ปฏิบัติก็คือตาย หรือเป็นอยู่อย่างคนทุกข์ทรมาน หน้าที่นี้แหละคือธรรมะที่พระพุทธเจ้าค้นพบและก็นำมาสอนเราพยายามจะศึกษาจะปฏิบัติตามหน้าที่นี้เพื่อให้ได้พบชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่าชีวิตใหม่ก็ได้ เพื่ออยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งทั้งหลายที่จะบีบคั้นชีวิตนี้ให้มีความทุกข์ เป็นชีวิตที่ฟรี หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่การมีชีวิตที่เป็นอิสระคือฟรีจากปัญหาจากความทุกข์ ทุกอย่างทุกประการ ทีนี้เราก็จะดูกันต่อไปว่าไอ้หน้าที่ หน้าที่นี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าถือศาสนาชนิดที่เป็นมีพระเจ้า มีพระเจ้าเป็น Creationism จะตอบว่าพระเจ้ากำหนดไว้ พระเจ้ากำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามและพุทธศาสนาไม่ใช่ Creationism แต่เป็น Evolutionism พวกที่เป็น Evolutionism ก็ถือว่าหน้าที่มันเกิดมาจากกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ Natural Truth บัญญัติไว้อย่างไร กำหนดไว้อย่างนั้น กำหนดไว้อย่างนั้น ไม่มีความคิดนึกอย่างคนแต่มันกำหนดไว้อย่างนั้น อย่างนั้น กฎทั่วไป กฎวิทยาศาสตร์ กฎอะไรทั่วไป เป็นกฎของธรรมชาติกำหนดไว้ พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติขึ้นหรือไม่ได้ใช่ใครใครบัญญัติแต่งตั้งขึ้นมาเพียงแต่รู้ลึกลงไปถึงที่ธรรมชาติกำหนดไว้อย่างไร ก็นำเอามาสอนเราจึงถือว่าไอ้หน้านี้เกิดขึ้นมาจากกฎของธรรมชาติกำหนดไว้ให้สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดปฏิบัติตาม มิเช่นนั้นก็คือตายหรืออยู่อย่างเป็นทุกข์ทรมาน ความรู้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเกี่ยวกับคำคำว่าธรรมะนี้ เกี่ยวกับคำว่าธรรมะนี้ มีอยู่ซึ่งอยากจะขอให้สนใจความหมายของคำว่าธรรมะมีสี่ ความหมายธรรมะ ธรรมะในภาษาบาลี ธรรมะที่ท่านทั้งหลายคุ้นเคยในภาษาสันสกฤตมีสี่ ความหมายหมายถึงหนึ่งหมายถึงธรรมชาติตัวธรรมชาติเองก็เรียกว่าธรรมะ ความหมายที่สองหมายถึงกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติคือในตัวของธรรมชาติต้องมีกฎของธรรมชาติประจำอยู่ ไอ้ส่วนที่เป็นกฎนี้เรียกว่ากฎของธรรมชาติ ก็เรียกว่าธรรมะในภาษาบาลี ความหมายที่สามหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นี้ก็เรียกว่าธรรมะในภาษาบาลีผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติหน้าที่ก็เรียกว่าธรรมะในภาษาบาลี คำว่าธรรมะ ธรรมะคำเดียวมีถึงสี่ความหมายเราไม่อาจจะแปลเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งโดยตรงต้องใช้คำเดิมว่าธรรมะ ธรรมะ แล้วค่อยรู้ว่ามันมีสี่ความหมายอย่างนี้ และความหมายที่สำคัญที่สุดคือความหมายที่สาม คือคำว่าหน้าที่หรือ Duty, in the quadrant little law of nature (นาทีที่ 25:04:04) นั่นแหละคือตัวธรรมะ ธรรมะที่ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษาและมาก็เพื่อจะศึกษาอันนี้ท่านจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกก็ตามที่จริงท่านมาก็เพื่อจะศึกษาอันนี้ หน้าที่ของมนุษย์ตามกฎของธรรมชาติปฏิบัติแล้วอยู่เหนือความทุกข์นี้คือคำว่าธรรมะ ธรรมะ โดยตรงโดยสมบูรณ์ ท่านจะเห็นได้แล้วว่าความหมายทั้งสี่ความหมายของคำว่าธรรมะ ธรรมะนี้ มันหมายถึงธรรมชาติทั้งนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติทั้งนั้นเกี่ยวข้องกับธรรมชาติทั้งนั้น เป็นเรื่องของธรรมชาติเป็นเรื่องกฎของธรรมชาติไปยังหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติเป็นเรื่องผลจากหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่มีคำว่า พระเจ้าผู้สร้าง พระเจ้าผู้สร้าง พระเจ้าผู้ควบคุม พระเจ้าผู้ทำลายล้างนี้มันไม่มีอย่างเป็นบุคคลชนิดนั้น แต่ถ้าเราจะทำความเข้าใจแหกกันบ้างจะให้มีสิ่งที่เรียกว่าพระเจ้า เราก็ยึดเอาความหมายที่สองคือกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ในฐานะเป็นพระเจ้าจะสร้างโลกก็ดี จะควบคุมโลกก็ดี จะทำลายโลกก็ดี เราก็เห็นได้ทันทีว่ามันเป็น Impersonal God ไม่ใช่อย่างบุคคลแต่สามารถทำหน้าที่ได้อย่าง Personal God ตามที่เขาพูดกันเราจึงมี Personal God เป็นเรื่องของธรรมชาติเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์แห่งยุคปัจจุบัน ไม่ยากไม่ลำบากในการที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะมาศึกษาพระพุทธศาสนาและก็เข้าใจได้โดยง่าย ที่ว่ามีวิถีทางอย่างเดียวกับวิทยาศาสตร์กฎของธรรมชาติในพุทธศาสนาก็คือไม่มีพระเจ้าผู้สร้างตัวตนไม่มีตัวตนที่พระเจ้าสร้างมีแต่ Process of action and reaction , Process of action and reaction ตามธรรมชาติตามกฎของธรรมชาตินั้นเราจะต้องรู้แล้วเราจะต้องปฏิบัติให้ตรงตามเรื่องที่เราจะต้องการอะไรเราไม่ต้องการอะไรหรือเราต้องการอะไรเราจะต้องปฏิบัติให้ตรงตามกฎของ Process of action and reaction ที่เรียกในพระพุทธศาสนาว่า กฎอิทะปัตจะยะตา (นาทีที่ 34:59:04) มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ง่ายสำหรับนักวิทยาศาสตร์จะมาศึกษาพระพุทธศาสนา วิวัฒนาการตามธรรมชาติทำให้มีกฎ Process of action and reaction หน้าที่มันเกิดขึ้นมาแก่สิ่งที่มีชีวิตก็เพราะว่ามันมีกฎอันนี้เราจึงเรียกว่าหน้าที่นี้เกิดขึ้นโดยกฎของธรรมชาติ ทีนี้ก็จะให้ดูต่อไปว่ากฎของธรรมชาติทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้อย่างไร กฎของธรรมชาติตามธรรมชาติทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้อย่างไร ข้อนี้ขอให้ท่านทั้งหลายระลึกไปถึงสิ่งที่เรียกว่าสัญชาตญาณ หรือ Instinct ในภาษาไทยเราเรียกว่าสัญชาตญาณคือความรู้ที่เกิดเองมันมี Instinct ติดมาในชีวิตทุกชีวิตเพื่อจะให้มีความรู้สึกว่าตัวตน รักตัวตน ถนอมตัวตน ปฏิบัติเพื่อความอยู่รอดของตัวตน ไม่จำเป็นแก่สิ่งที่มีชีวิต แต่ว่าสัญชาตญาณอันนี้มันควบคุมไว้ไม่ได้มันเลยเกินไป เลยเกินไปจนมีตัวตนชนิดที่เห็นแก่ตัวตนอย่างนี้เราเรียกว่าสัญชาตญาณหรือ Instinct นั้นได้ทำให้เกิดกิเลส Instinct ที่ควบคุมไว้ไม่ได้ไม่อยู่ในความถูกต้องมิได้ทำให้เกิดกิเลส เป็นราคะ โทสะ โมหะ และก็เกิดความเห็นแก่ตัว เมื่อเกิดความเห็นแก่ตัวแล้วมันช่วยไม่ได้แล้วมันต้องเป็นทุกข์ อยู่คนเดียวมันก็วิตกกังวลหวาดกลัวเป็นห่วงมันก็เป็นทุกข์ เพราะความเห็นแก่ตัวแล้วไปเกี่ยวข้องกับผู้อื่นก็เบียดเบียนผู้อื่นทำผู้อื่นให้เป็นทุกข์เรียกว่า Instinct ตามธรรมชาติได้พัฒนาเกินหน้าที่จนกลายเป็นกิเลสเกิดความเห็นแก่ตัวแล้วก็เป็นทุกข์ Instinct ทำให้เกิดกิเลส ที่ธรรมชาติใช้กฎธรรมชาติให้เกิดความทุกข์ข้อแรกนั้น ที่กล่าวมาแล้วนั้นก็คือเราควบคุม Instinct ไม่ได้ ทีนี้เราก็ดูต่อไปถัดมาก็เรียกว่าเราควบคุมจิตในขณะแห่ง ขัสสะ (นาทีที่ 43:45:05) ไม่ได้ ขัสสะ (นาทีที่ 43:48:04) หรือ Contact นี่เป็นคำสำคัญมากที่ขอร้องให้ท่านทั้งหลายพยายามเฝ้าทำความเข้าใจให้ดีที่สุดที่เรียกว่า ขัสสะ (นาทีที่ 43:59:05) ถ้าเราควบคุมไม่ได้ปัญหาต้องเกิดขึ้นหรือว่ามันได้เกิดขึ้นทั่วโลกนี่เพราะว่าคนในโลกมันควบคุม ขัสสะ (นาทีที่ 44:08:05)ไม่ได้คือว่าตากระทบลูกหู กระทบเสียงจมูก กระทบกลิ่นลิ้น กระทบรสกาย กระทบสิ่งสัมผัสทางกายจิต สัมผัสอารมณ์เรียกว่า ขัสสะ ขัสสะ (นาทีที่ 44:21:03) ตอนนั้นเราควบคุมไม่ได้เพราะเราไม่มีความรู้หรือว่าเพราะเราไม่มีสติสัมปชัญญะพอที่จะใช้ความรู้ ส่วนมากมันก็ไม่มีความรู้ และก็มันไม่มีโอกาสที่จะใช้ความรู้ ขัสสะ ขัสสะ (นาทีที่ 44:41.09) Contact มันก็ปรุงเป็น Process ของกิเลสหรือความทุกข์คือ ขัสสะ (นาทีที่ 44:50:07) ให้เกิดเวทนาสำหรับจะรักหรือจะไม่รัก เวทนาโง่ ๆ ชนิดนี้มันเกิดขึ้นและก็ทำให้เกิดความอยาก อยากอย่างยิ่ง อยากได้ตามที่มันจารู้สึกอย่างไร ถ้าน่ารักก็อยากได้ ถ้าไม่น่ารักก็อยากทำลาย ความอยากเป็นไปอย่างแรงกล้าอย่างนี้ก็เรียกว่าเกิดกิเลสแล้วก็เป็นความทุกข์ ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราควบคุม ขัสสะ (นาทีที่ 45:20:04) ไม่ได้ ขัสสะ (นาทีที่ 45:23:05) มีอยู่เป็นประจำวันทุกวันมากมายเราควบคุมไม่ได้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นทุกวัน สรุปความว่าเรามีความทุกข์เพราะเราควบคุม ขัสสะ (นาทีที่ 45:32:06) ไม่ได้ ในประการที่สามอย่างที่สามเราจะพูดว่าเราควบคุม Egoism หรือ Egoistic Contact ไม่ได้เราควบคุมมันไม่ได้ มันก็ก็กลายเป็นความเห็นแก่ตัว เรื่องนี้อยากมากเพราะว่า Egoism เนี้ยมันเป็น Instinct ที่มันติดมากับชีวิตขอให้ท่านสนใจเรื่องนี้ให้ดีเพราะมันเป็นปัญหาของธรรมะ Egoism เนี้ยมันทำให้เกิดเป็นความคิดว่าตัวตน ของตน แล้วแก่เห็นแก่ตน แล้วก็เป็นทุกข์ มันเกิดตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณอย่างที่จะขอยกตัวอย่างว่าเด็ก ๆ เด็ก ๆ ทารกเล็ก ๆ เนี้ยมันเดินไปชนเก้าอี้มันก็คิดขึ้นมาได้เองว่าเก้าอี้เนี้ยเป็นศัตรูของเราเด็ก ๆ เค้าก็เลยชกเก้าอี้ เตะเก้าอี้ ในฐานะที่ว่าเป็นศัตรูของเรานี้คือปฏิกิริยาที่ออกมาจาก Egoism ว่าตัวตนว่าของตน ซึ่งเกิดได้ง่ายเกิดได้ตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอนแล้วก็มันมากขึ้น ๆ เข้มข้นขึ้น ๆ จนมาเป็นปัญหาอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้าเราควบคุมความรู้สึกที่เป็น Egoistic อย่างนี้ได้มันก็จะไม่มีปัญหาอะไรเลย จะไม่เกิดกิเลสใด ๆ จะไม่เกิดความเห็นแก่ตัวหมด ก็เลยอยู่สบายทั้งส่วนตัวและส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น ธรรมชาติมันให้มี Instinct มาสำหรับให้ Egoism แล้วก็เกิด (นาทีที่ 52:25:04) แล้วมันก็มีปัญหา ซึ่งเราปัดเป่ากันไม่ค่อยจะหวาดไหวในวันหนึ่ง ๆ ขอให้ท่านรู้จักสิ่งนี้ว่าควบคุมไม่ได้ก็เกิดปัญหา ความรู้ทางธรรมะจะช่วยให้สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ก็คือจะช่วยแก้ปัญหานั่นเอง ที่นี้ก็มาดูในฝ่ายตรงกันข้าม ตามกฎของธรรมชาติ โดยกฎของธรรมชาติจะดับทุกข์ได้อย่างไรที่แล้วมาพูดให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร เดี๋ยวนี้จะพูดว่าจะดับทุกข์ได้อย่างไร นั้นก็คือนัยอันตรงกันข้ามคือการพัฒนาสัญชาตญาณให้เป็น โพธิ (นาทีที่ 57:02:03) เมื่อตะกี้สัญชาตญาณไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องมันไปตามบุญตามกรรรมก็ไปเป็นกิเลส ความมีตัวตนเป็นสัญชาตญาณไม่ได้รับการควบคุม ไม่พัฒนาที่ถูกต้องมันก็กลายเป็นกิเลสคือเห็นแก่ตนเป็นกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นนะมันไม่ได้พัฒนามันก็เป็นกิเลส ที่นี้ความมีตัวตนเนี้ยทำให้มีการพัฒนาที่ดีให้มีตัวตนที่ถูกต้องคือให้มีตัวตนที่มี โพธิ (นาทีที่ 57:36:08) มีปัญญารู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะรู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร ทางถึงความดับทุกข์เป็นอย่างไรสัญชาตญาณนี้ก็กลายเป็น โพธิ (นาทีที่ 57:48:08) นี่มันจะมาในทางที่ว่าจะดับทุกข์ ถ้าเป็นไปทางกิเลสมันก็เป็นไปในที่จะเกิดทุกข์มากขึ้น ถ้าเป็นไปในทาง โพธิ (นาทีที่ 57:59) มันก็จะดับทุกข์ได้มากขึ้นเรามีวิชาเรียกว่าธรรมะ ธรรมะ หรือปฏิบัติธรรมะเนี้ย จะควบคุมสัญชาตญาณไว้ถูกต้องหรือว่าพัฒนามัน พัฒนามันให้กลายมาเป็น โพธิ (นาทีที่ 58:17:07) รู้อย่างครบถ้วนทั่วถึงว่าเรามีหน้าที่อย่างไร ปฏิบัติอยู่อย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์เนี้ยอาศัยกฎของธรรมชาติอีกเหมือนกันโดยการพัฒนาสัญชาตญาณให้เป็น โพธิ(นาทีที่ 58:38:06) ทีนี้เราก็จะย้อนไปดูไอ้คำว่าหน้าที่หรือธรรมะอีกทีหนึ่งเป็นการสรุปความ ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ ก็ให้มองเห็นชัดว่ามันเป็นอย่างนั้น ที่จะดูว่าหน้าที่ หน้าที่นี้มีความสำคัญหรือมีคุณค่าอย่างไร พูดตามสำนวนภาษาไทยก็เรียกว่าทำให้ไม่เสียชาติเกิดสำนวนไทยว่าไม่เสียชาติเกิดหรือคุ้มค่าที่ได้เกิดมาเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีชีวิตเราถือว่ามีค่า มีค่า ฉะนั้นเรามีชีวิตนี้จะต้องได้อะไร จะต้องมีอะไร จะต้องทำอะไร จึงจะมีค่าหรือคุ้มค่าของการที่ได้มีชีวิตและไม่เสียชาติเกิด มิเช่นนั้นก็เท่ากับไม่ได้เกิด คือเกิดมาอย่างไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร มันก็ทำไปตามกิเลสหรือความโง่ของสัญชาตญาณก็ไม่ได้อะไรดีพอที่จะเรียกว่ามนุษย์มันเป็นเพียง (นาทีที่ 01:03.06) ตัวหนึ่งเท่านั้นมันไม่ได้มีความเป็นมนุษย์หรือ Human Being ขอให้มองเห็นว่าค่าของหน้าที่นี้เราปฏิบัติแล้วทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (นาทีที่ 01:03:17) ขึ้นมา ทีนี้คุณค่า คุณค่าของชีวิตที่เราจะต้องมองต่อไปเป็นสองอย่างคือฝ่ายเราเองก็จะมีชีวิตรอดอยู่อย่างเย็น รอดชีวิตอยู่อย่างเย็นเนี้ยค่าฝ่ายตัวเราเอง ที่เกี่ยวกับผู้อื่นก็เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เราเองได้มีชีวิตรอดคือไม่ตาย และก็รอดอยู่อย่างเย็นไม่มีปัญหาไม่มีความทุกข์มีความเป็นอิสระ มีความสงบรวม ๆ กันแล้วก็คือความรอดที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของทุกศาสนาเรามีชีวิตเย็นตลอดไปนี้เรื่องของเรา ทีเรื่องของผู้อื่น เรามีชีวิตที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เรามีความรู้ มีความสามารถเอาตัวรอดได้อย่างไรเราก็ช่วยให้ผู้อื่นมีชีวิตรอดได้อย่างนั้น นี่เรียกว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น อันนี้สำคัญเพราะว่าธรรมชาติ ธรรมชาติหรือกฎของธรรมชาติกำหนดมาอย่างนั้น คือกำหนดมาสำหรับเรามิได้อยู่คนเดียวในโลกธรรมชาติกำหนดสำหรับเรามาอยู่ด้วยกันมาก ๆ การที่เราจะมาอยู่ด้วยกันมาก ๆ ได้นั้นเราต้องมีอะไรที่เป็นเครื่องประสานกันให้อยู่กันได้มันก็คือประโยชน์นั่นเอง ต่างฝ่ายต่างทำประโยชน์แก่กันมันเป็นการประสานกันอย่างดีมันก็อยู่กันได้เพราะมีธรรมะถูกต้อง มีหน้าที่ถูกต้อง ที่จริงโลกนี้ยังจะอยู่ได้อีกมากถ้าว่าทุกคนมีธรรมะมีความถูกต้องเป็นประโยชน์แก่กันและกันโลกนี้จะบรรจุคนได้มากกว่านี้ไม่ต้องคุมกำเนิดก็ได้ แต่นี่เดี๋ยวนี้มันอยู่กันอย่างไม่ถูกต้อง ไม่รักกัน ไม่เอื้อเฟื้อกัน ไม่ช่วยเหลือกัน เลยมีปัญหาว่าคนมันมากเสียแล้ว จะต้องลดจำนวนคนต้องคุมกำเนิดอย่างนี้มันไม่ได้ถูกตามที่กฎธรรมชาติกำหนดมา เราจะต้องมีชีวิตที่มีคุณค่าแก่ตัวเราเองมีชีวิตเย็นมันก็มีคุณค่าที่ทำประโยชน์เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นทุกคนในโลกด้วยนี่ก็เรียกว่าประโยชน์ของธรรมะประโยชน์ของหน้าที่คือธรรมะนั่นเอง ดูต่อไปถึงคุณค่าของธรรมะหรือหน้าที่ถ้าเรามีหน้าที่ถูกต้อง มีธรรมะถูกต้อง แล้วจะมีพระเจ้าที่ช่วยเราได้จริง ๆ ก็พูดกันแล้วว่าพุทธศาสนามีแต่ Impersonal God แม้จะเป็น Impersonal God เป็นเพียงกฎของธรรมชาติก็จะเป็นพระเจ้าที่ช่วยเราได้จริง God The Savior , The Savior จะช่วยได้จริงคือธรรมะหรือหน้าที่ที่ถูกต้อง เมื่อเราทำหน้าที่ที่ถูกต้อง หน้าที่ที่ถูกต้องจะกลายเป็น God The Savior ช่วยผู้นั้นทันที ถ้าผู้นั้นไม่ทำหน้าที่ที่ถูกต้องไม่มี God ชนิดไหนช่วยได้ God จะมาสักฝูงก็ช่วยไม่ได้ ถ้ามันไม่ทำหน้าที่ที่ถูกต้อง ถ้าเราทำหน้าที่ที่ถูกต้อง หน้าที่ที่ถูกต้องก็ God แม้จะเป็น Impersonal God มันก็จะช่วยได้จริง ช่วยได้แท้จริง หน้าที่และธรรมะที่ถูกต้องนั้นจะทำให้เรามี God ที่ช่วยเราได้จริง ในที่สุดขอให้ท่านมองเห็นว่าศาสนาทั้งหลายมีอยู่มากในโลกทั้งหมดนี้แบ่งออกเป็นสองพวก พวกนึงเชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้าง เราเรียกกันรวม ๆ ว่าพวก Creationism ผู้ที่ถือว่ามีพระเจ้าเป็นผู้สร้างและก็มีหลายศาสนา ศาสนาอีกพวกนึงไม่เชื่ออย่างนั้นไม่ถือว่ามีพระเจ้าผู้สร้างมีแต่กฎของธรรมชาติเป็นกฎของวิวัฒนาการ เราเรียกพวกนี้ว่า Evolutionism ท่านจำคำสองคำนี้ไว้ให้ดีว่า Creationism จะมีพระเจ้าอย่างบุคคลและก็ Evolutionism จะไม่มีพระเจ้าอย่างบุคคลแต่ก็กล่าวได้ว่ามีพระเจ้าอย่างที่เป็น Impersonal God คือกฎของธรรมชาติ เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลายกำลังมาศึกษาศาสนาของพวก Evolutionism คือพุทธศาสนาท่านก็ต้องเข้าใจว่ามันมีหลักเกณฑ์อย่างนี้มันมี Duty หรือมีธรรมะนั้นแหละเป็น God เป็น Impersonal God ท่านปฏิบัติตามแล้วหน้าที่นั้นก็กลายเป็น God และก็ช่วยจริงช่วยทันที ช่วยไม่จำกัดเวลาไม่ต้องรอต่อตายแล้ว ไม่ต้องรอต่อตายแล้วไม่จำเป็นทำทันที ช่วยทันที ทำทันที ช่วยทันที ให้ถูกต้องตามกฎของ อิทะปัตจะยะตา(นาทีที่ 01:21:38) คือ The Perfect of Action and Reaction แล้วมันก็มีความรอด มีความรอด มีคุณค่าของหน้าที่ คุณค่าของธรรมะทำให้เรามีพระเจ้าที่แท้จริงช่วยเราอย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้เราจะมาประสมประสานกัน กลมเกลียวกันระหว่างสองฝ่ายคือ Creationism และ Evolutionism เราก็พอจะอธิบายกันได้ว่ากฎธรรมชาตินั่นแหละคือพระเจ้าผู้สร้างธรรมะคือกฎธรรมชาติ ธรรมะคือกฎธรรมชาติคือพระเจ้าผู้สร้าง ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาตินั่นแหละถือพระเจ้าผู้ช่วย เราก็มีข้อมูลกันทั้งสองฝ่ายทุก ๆ ฝ่ายมีพระเจ้าผู้สร้าง มีพระเจ้าผู้ช่วย เราจะต้องทะเลาะกันทำไม แต่ว่าถ้าจะต้องการศึกษาวิถีทางของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็น Evolutionism อย่างที่สุดนี่ก็ต้องศึกษาในข้อนี้ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ ธรรมะคือหน้าที่เป็นสิ่งสูงสุดที่พระพุทธเจ้าต้องเคารพค้นพบและเคารพแล้วเอามาสั่งสอน ท่านทั้งหลายจะมองเห็นประโยชน์หรือคุณค่าที่สุดของสิ่งที่เรียกว่าธรรมะในลักษณะนี้และก็จะตอบได้เองว่าธรรมะทำไมกัน ธรรมะทำไมกัน เห็นว่าธรรมะทำไมกันแล้วเรื่องของเราก็จบ ก็ขอยุติการบรรยายในวันนี้ไว้เพียงเท่านี้