แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การพูดกันเรื่องธรรมะกับมนุษย์ เป็นครั้งที่ ๗ ในวันนี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่า ความเห็นแก่ตัว คือศัตรูร้ายกาจที่สุดของมนุษย์ เมื่อมีความเห็นแก่ตัว มันก็รู้สึกพอใจ เพราะกิเลสมันรู้สึก มันก็พอใจเห็นแก่ตัว ยิ่งได้แก่ตัวตามที่ตัวพอใจ ก็ยิ่งพอใจ พอใจ ดังนั้นตามปกติก็เลยไม่มีใครรังเกียจความเห็นแก่ตัว กลับจะชอบ แล้วก็ทำกันมากขึ้น มากขึ้น ด้วยความเป็นผู้เห็นแก่ตัว แต่ดูให้ดีเถิด ในส่วนเลวร้ายของมันนั่นน่ะมันมีมาก ส่วนดีมันดีสำหรับอันธพาล มันไม่ดีสำหรับวิญญูชน ได้เคยพูดมาแล้วว่าเรา สิ่งที่มีชีวิตนี่มันมีสัญชาตญาณว่าตัวตน ตัวตน เพื่อจะถนอมตัวตนรักษาตัวตน แต่แล้วมันควบคุมไม่อยู่มันเลยเขต เลยขอบเขตมันไป กลายเป็นกิเลส เป็นความเห็นแก่ตน สัญชาตญาณธรรมดาสามัญกลายเป็นเห็นแก่ตน ยากที่จะเปลี่ยนไปในทางถูกต้อง คือโพธิ เห็นว่าไม่มีตน ไม่ควรเห็นแก่ตนอย่างนี้เป็นต้น เดี๋ยวนี้มันก็เห็นแก่ตน มันก็เกิดความหนักอย่างยิ่งขึ้นมา ในจิตใจ วิตกกังวล ระวัง ระวัง ระแวงสงสัยอะไรต่างๆ นาๆ เป็นความหนักอกหนักใจสารพัดอย่างแหละ ถ้ามันนอนก็ไม่ค่อยหลับหวาดผวา อยู่คนเดียวก็เป็นทุกข์ ทีนี้ถ้าไปเกี่ยวข้องกับผู้อื่นก็ด้วยความเห็นแก่ตัว มันก็เอาเปรียบผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่นพลอยเดือดร้อนกันไปหมด แล้วมันก็จะคุมพวก ต่างฝ่ายต่างคุมพวก เป็นพวกใหญ่เพื่อต่อสู้กันด้วยความเห็นแก่ตัว แล้วมันจะเป็นยังไงก็ลองคิดดู ขอพูดซ้ำอีกสักนิดหนึ่งว่า ไอ้โลกทั้งโลกปัจจุบันนี้มันกำลังเดือดร้อน อยู่ด้วยความเห็นแก่ตัว ทำให้แสวงหาความสนุกสนานเอร็ดอร่อยเพลิดเพลินทางเนื้อทางหนังมากยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น เกินกว่าความจำเป็น ซึ่งคราวนี้มันก็เดือดร้อนเฉพาะคน ส่วนบุคคลนั้นมากแล้ว เมื่อไม่ได้อย่างใจ หรือไม่เพียงพอแก่กิเลส มันก็เบียดเบียนผู้อื่นแย่งชิงผู้อื่น ต้องการเอาประโยชน์ ของผู้อื่นมาเป็นของตน แม้แต่การฆ่ากันก็ดี ก็มันเห็นแก่ตัว การลักขโมยกันก็ดี เพราะมันเห็นแก่ตัว การล่วงละเมิดของรักใคร่ทางกามแก่กัน ก็เพราะเห็นแก่ตัว พูดเท็จมันก็เห็นแก่ตัว ไอ้ดื่มของเมานั่นแหละเห็นแก่ตัวของความโง่ เพื่อให้ตัวได้เอร็ดอร่อยในทางนั้น ได้เมาให้อร่อย ทำลายสติสัมปชัญญะ สัมปะดีเสียหมด พื้นฐานของมนุษย์ในทางศีลธรรม ก็เสียหายหมดเพราะความเห็นแก่ตัว แล้วก็สร้างปัญหารอบด้าน ต้องการเหยื่อหรือเหตุหรือปัจจัยที่มาส่งเสริมความเอร็ดอร่อยอย่างนี้ มันก็เลยพอใจยินดีที่จะแสวงหาเหยื่อมาบำรุงกิเลส ไอ้เรื่องเหยื่อบำรุงกิเลส จึงขายดีมีผู้ต้องการมาก ไอ้คนที่มีสติปัญญาในทางนั้นมันก็ผลิตขึ้นมาขายร่ำรวยเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเต็มไปทั้งโลก ขายสิ่งที่ยั่วยวน แก่ความความเพลิดเพลินมันก็ขายหมด ขายหมดยิ่งกว่าสิ่งใดเพราะทำให้ดีขึ้นสวยขึ้น สะดวกขึ้น อะไรขึ้น ก็เลยเป็นผู้มอมเมามึนเมาตัวเอง มอมเมาตัวเองให้มึนเมาด้วยความเห็นแก่ตัว สังเกตดูให้ดี จะพบว่ายิ่งชอบความเอร็ดอร่อยมึนเมาเหล่านี้เท่าไรจะยิ่งเห็นแก่ตัวมากเข้าเท่านั้น ใครก็ตามถ้ามันชอบความเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังเท่าไหร่ มันจะยิ่งเห็นแก่ตัวมาเข้าเท่านั้น แล้วมันพอได้เข้ามา มันก็ไม่บรรเทาความเห็นแก่ตัว ได้มามันก็ไม่บรรเทาความเห็นแก่ตัว มันกลับเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้ขยายออกไป ขยายออกไป มันจึงเกิดลัทธิผู้เห็นแก่ตัว ผู้กอบโกยประโยชน์ ผู้อะไรขึ้นมาใหม่ๆ เป็นลัทธิที่เราเรียกกันว่าลัทธินายทุน มีปัญญามีอำนาจ มีอะไรที่จะดำเนินกิจการให้เกิดประโยชน์แก่ตนข้างเดียว ท่าเดียว ก็เกิดฝ่ายที่ต่อต้าน ทนอยู่ไม่ได้ คือฝ่ายชนกรรมาชีพ ผู้รู้สึกว่าเสียประโยชน์ ก็ต่อต้านกัน เกิดอาฆาตมาดร้ายฆ่าฟันกัน ทำลายล้างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนเต็มไปทั้งโลก จนแบ่งโลกออกเป็นสองซีก คือพวกหนึ่งเป็นพวกที่พอใจลัทธินายทุน พวกหนึ่งพอใจลัทธิชนกรรมาชีพ นั่นมันก็มีอำนาจขนาดครองโลกกันคนละครึ่งเลยเดี๋ยวนี้มันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง สันติภาพไม่รู้อยู่ที่ไหน จะพูดจากันเท่าไรมันก็ไม่รู้เรื่อง เพราะความเห็นแก่ตัว ต่างฝ่ายต่างเห็นแก่ตัวจัด แล้วมันจะพูดกันรู้เรื่องได้อย่างไร มันจะทำความเข้าใจกันได้อย่างไร โลกนี้ก็มีแต่ความจองล้างจองผลาญ เบียดเบียนกันระหว่าง ๒ ลัทธินี้ เห็นแก่ตัวแล้วกอบโกย เห็นแก่ตัวแล้วอาฆาตมาดร้าย แก้แค้นต่อต้าน ล้วนแต่เป็นการกระทำของทั้งสองฝ่าย ใครจะถูกมากถูกน้อย ผิดมาผิดน้อยไม่ต้องไปวินิจฉัย แต่ว่ามันเห็นกันได้ชัดๆ ว่าโลกเรากำลังเดือดร้อนอย่างยิ่งอยู่เพราะความเห็นแก่ตัว มาจากสัญชาตญาณพื้นฐานที่ควบคุมไว้ไม่ได้นี่เป็นข้อแรก แล้วมาจากการที่โลกนี้มันส่งเสริมปัจจัยให้เห็นแก่ตัวนี่มากขึ้น มากขึ้น จนเขาผลิตกันเป็นอุตสาหกรรมไปเลย แล้วมันก็มีหวังจะครองโลก จะเป็นฝ่ายชนะหมดก็จะครองโลกเอาฝ่ายเดียว เป็นสิ่งที่ยั่วยุอยู่ก็เลยตกลงกันไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวนี้ขอให้ดูให้ดีละเอียดลงไป มันจะพบว่าเห็นแก่กิเลส เพราะคำว่าตัว ตัว ตัว นี้ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นความคิดขึ้นมาทั้งนั้นว่าเป็นตัว ความคิดที่โง่เขลาชนิดนั้นคือกิเลส เห็นแก่ตัวคือเห็นแก่กิเลส ตัวคือกิเลส กิเลสนี่คือตัว จะมองไปทางไหนก็ได้ กิเลสทำให้เกิดความคิดว่าเป็นตัว เป็นของตัว เห็นแก่ตัวก็คือเห็นแก่กิเลส เห็นแก่กิเลสก็คือเห็นแก่ตัว ทีนี้มันให้ความเอร็ดอร่อย กิเลสในการเห็นแก่กิเลส การทำไปตามอำนาจกิเลสนี้มันให้ความเอร็ดอร่อย ซึ่งเข้าใจกันได้ทุกคนว่าได้ตามกิเลสแล้วมันก็อร่อยที่สุด มันก็ไม่รักผู้อื่น ควรจะต้องมองเขยิบกันออกไป เมื่อเห็นแก่ตัว เห็นแก่กิเลส มันก็ไม่เห็นแก่ผู้อื่น มันก็ไม่ได้รักผู้อื่น มันจึงทำลายผู้อื่นได้อย่างเลือดเย็น อย่างลงคอ เพื่อจะเอาประโยชน์ของเขามาเป็นประโยชน์ของตน เห็นแก่ตัว เห็นแก่กิเลส และก็ไม่รักผู้อื่น ทีนี้อีกทางหนึ่งมันก็คือไม่เห็นแก่ธรรมะ เมื่อเห็นแก่ตัว เห็นแก่กิเลส ไม่รักผู้อื่น คือไม่เห็นแก่ธรรมะ ไม่เห็นแก่ความถูกต้อง บางทีมันก็มีสติปัญญา เห็นอยู่อันนี้ไม่ถูกต้อง แต่ความรักที่จะได้ประโยชน์แก่กิเลสมันมากกว่า มันก็ทำไปทั้งที่ฝืนความรู้สึก บางทีเชื่อได้ว่าอันธพาลเลวร้าย มันก็รู้อันนี้ไม่ถูก อันนี้มันก็ไม่ถูก เสร็จแล้วมันเป็นประโยชน์ของกู มันก็ให้ถูก มันก็เอาไป ก็ทำไป แม้ว่าอันธพาลใหญ่ในโลกก็เหมือนกัน การฆ่าฟันกัน ทำลายล้างกัน ไม่เห็นว่าถูกแต่ว่ามันก็มีความพอใจหรือเห็นเป็นความจำเป็นด้วยซ้ำไป ที่ว่าจะทำลาย ฝ่ายตรงกันข้ามเสีย อย่างนี้ก็เรียกว่าไม่เห็นแก่ธรรม ไม่เห็นแก่ความถูกต้องความยุติธรรมหรือความเป็นธรรม ไม่อาจจะมีความคิดว่า ทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ก็จะมีการคิดว่ามึงก็มึง กูก็กู ประโยชน์ของกูก็แล้วกัน มันมีความเห็นแก่ตัว ไม่มีทางที่จะรักผู้อื่น มีแต่ว่าจะกอบโกยประโยชน์จากผู้อื่น โดยวิธีซึ่งหน้า โดยวิธีลึกลับ โดยวิธีใต้ดิน โดยวิธีบนดิน แล้วแต่ตามที่เขาทำกันอยู่ หากใครมองเห็นโดยชัดว่านี่คือสิ่งเลวร้ายที่สุด ศัตรูอันร้ายกาจที่สุดของมนุษย์เรา คือความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวที่มันออกไปจากมนุษย์ หรือคนนั่นแหละ มันกลายเป็นศัตรูเลวร้ายที่สุดขึ้นมา อย่าลืมว่ามันมีความจริงที่สุดว่ามันอยู่คนเดียวมันก็เป็นทุกข์อยู่คนเดียวนั่นแหละไอ้ความเห็นแก่ตัวมันนอนเป็นทุกข์ นอนหนักอกหนักใจ นอนวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ นอนเจ็บแค้นอะไรอยู่คนเดียว พอไปเกี่ยวข้องกับอีกฝ่ายหนึ่งก็ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ด้วย มันเลยทำลายทั้งฝ่ายตัวเอง และฝ่ายผู้อื่น
ทีนี้เราก็จะพูดถึงเรื่องตรงกันข้าม ความไม่เห็นแก่ตัว สิ่งสูงสุดของมนุษย์ คุณธรรมสูงสุดของมนุษย์คือไม่เห็นแก่ตัว เพราะไม่เห็นแก่ตัวแล้วมันมีแต่สงบสุขหรือสันติภาพ ทุกศาสนาไม่ว่าศาสนาไหนมันจะต่างกันอย่างไร มันดูหน้ากันไม่ได้ แต่มันก็มุ่งหมายทำลายความเห็นแก่ตัวกันทั้งแหละ ทุกศาสนาเลย จะเป็นศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า หรือศาสนาที่ไม่มีพระเป็นเจ้า ต่างกันอย่างนี้ แต่ก็มุ่งหมายความไม่เห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเป็นศาสนาที่มีพระเป็นเจ้าเขาก็สอนให้นับถือพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าต้องการให้รักผู้อื่น ให้ไม่เห็นแก่ตัว แต่นี้ก็อาศัยอำนาจเกรงกลัวพระเป็นเจ้า จึงไม่เห็นแก่ตัวหรือจึงรักผู้อื่นขึ้นมา ตามความต้องการของพระเป็นเจ้า ผลก็อย่างเดียวคือไม่เห็นแก่ตัว จะมีศาสนาอีกพวกนึงตรงกันข้าม ไม่มีพระเป็นเจ้า ไม่มีพระเป็นเจ้าอะไร แต่มีความรู้ รู้ความจริงว่ามันไม่มีตัว มันเป็นอนัตตา ไอ้ตัวนี้แหละความรู้สึกของกิเลส ถ้ามองเห็นความไม่มีตัว มันก็ไม่เห็นแก่ตัวได้เหมือนกัน ใครเข้าใจเรื่องความไม่มีตัว มันจะไปเห็นแก่ตัวได้อย่างไร เพราะมันไม่มีตัว ดังนั้นพุทธศาสนาเรา พวกที่ไม่มีพระเป็นเจ้า ก็ไม่เห็นแก่ตัว เพราะเห็นความไม่มีตัว ถ้าเขามีพระเจ้า เขามีตัว เขาก็ต้องเชื่อพระเจ้า เห็นแก่พระเจ้า เขาก็ไม่กล้าเห็นแก่ตัว นับว่าเป็นสุขได้ด้วยกันทั้งนั้น จึงกล้ากล่าวได้ว่าทุกศาสนามุ่งหมายทำลายความเห็นแก่ตัว เพื่อสันติภาพของมนุษย์ทั้งหมดทั้งสิ้นในโลก ความไม่เห็นแก่ตัว อยู่คนเดียวก็สบายใจ เบาใจ โปร่งใจ ไม่วิตกกังวลอะไร ไม่กลัวอะไร ไม่หวาดระแวงอะไร ไม่สงสัยอะไร และก็ไม่ไปทำใครเดือดร้อนได้ เพราะไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เห็นแก่ตัว ตรงกันข้ามอย่างนี้ เมื่อไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิเลส มันก็รักผู้อื่นได้โดยอัตโนมัติ ขอเน้นว่าโดยอัตโนมัติ ถ้ามันไม่เห็นแก่ตัวนะ จิตใจมันก็ไปรักผู้อื่นโดยอัตโนมัติเลย มันทำลายความเห็นแก่ตัวให้หมดสิ้นไป มันก็รักผู้อื่นได้โดยอัตโนมัติ ไม่เห็นแก่ตัวมันก็เห็นแก่ธรรมะ เมื่อเห็นแก่ตัวมันก็เกลียดธรรมะ เพราะธรรมะสอนเรื่องให้รักผู้อื่น หรือให้ไม่เห็นแก่ตัว ทีนี้หมดความเห็นแก่ตัว มันก็เห็นแก่ธรรมะเห็นแก่ความถูกต้อง ความยุติธรรม ความเป็นธรรม มันก็เลยไปถึงจะรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวงหรือของธรรมชาติ เพราะการที่รู้ว่าไม่มีตัวนี่ เป็นการรู้ธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง อย่างลึกซึ้งแล้วมันก็รู้เรื่องความจริงของธรรมชาติในแง่อื่นข้ออื่น ต่อไป ต่อไป จนครบถ้วน มันก็รู้เรื่องธรรมชาติได้ครบถ้วน รู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างไร กฎของธรรมชาติเป็นอย่างไร หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติเป็นอย่างไร ผลที่จะเกิดจากหน้าที่นั้นเป็นอย่างไร มันก็สามารถทำได้ มันได้รับผลจากการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ นี่เป็นสิ่งที่เป็นความสงบสุข แก่ทุกคนทุกฝ่ายหรือทั้งโลก ถ้าทั้งโลกไม่มีความเห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ธรรมะแล้ว ก็อยู่กันอย่างสงบสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือรู้จักความพอดี เพราะมันไม่มีกิเลสมาเป็นผู้เลือก เห็นแก่ตัวก็มีกิเลส ในบางกรณีก็ทำให้เกิดโลภะ อยากได้สุดเหวี่ยง ด้วยความโง่เพราะเห็นแก่ตัว ในบางกรณีก็เกิดโทสะ ทำร้ายผู้อื่นได้ลงคอเพราะความเห็นแก่ตัว ในบางกรณีก็เกิดโมหะ มัวเมาสงสัย สะเพร่าอะไรก็ตามด้วยความไม่รู้เป็นโมหะ เพราะความเห็นแก่ตัว คอยมองดูให้ดีๆ ว่าโมหะชนิดที่เป็นความสะเพร่าเลินเล่อมันก็มาจากความเห็นแก่ตัว มันจึงได้สะเพร่า มันจึงได้เลินเล่อความเห็นแก่ตัวทำให้เกิดกิเลสได้ทุกชนิดโดยแม่บทกิเลสมันมี๓ชนิดรักโลภ เป็นชนิดแรก เป็นกิเลสประเภทบวก จะเอาเข้ามา จะเอาเข้ามา คืออยากได้ กิเลสประเภทที่ ๒ เป็นโทสะ และโกธะ เป็นฝ่ายจะทำลาย จะทำลายจะผลักออกไปจะตีออกไปกิเลสประเภทที่๓โง่วิ่งอยู่รอบๆวิ่งอยู่รอบๆไม่ดึงดูดไม่ผลักออกกิเลสที่ในความรู้สึกของคนเป็นอย่างนี้ แต่แม้มันจะต่างกันเป็น ๓ อย่างอย่างนี้ ทั้งหมดก็มาจากความเห็นแก่ตัว มันมีกิเลสเสียแล้ว มันก็เป็นความต้องการของกิเลส หากขึ้นชื่อว่ากิเลส มันก็มีรากเหง้ามาจากความโง่ คือ อวิชชา อวิชชา มีอวิชชาแล้วก็มีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง มันก็ไม่รู้ความถูกต้อง ดูให้ดีตรงนี้มันเป็นปัญหาสำคัญ เมื่อมันเป็นอวิชชา เป็นความโง่เกิดกิเลสอย่างนี้เสียแล้วมันก็ไม่รู้ว่าถูกต้องที่ตรงไหน สำหรับความโลภมันก็ถูกต้องที่กูได้ กูได้ นี่คือความถูกต้อง สำหรับโทสะ ความถูกต้องคือตีมันให้ตาย ฆ่ามันให้ตายนี่คือความถูกต้อง โมหะก็วนเวียนมัวเมาหลงใหลอยู่อย่างนี้คือความถูกต้อง มันก็ไม่พบความถูกต้อง แล้วมันก็ไม่พบสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่งคือความพอดี พอดี คุณมีชีวิตครองเรือน คุณพบความพอดีไหม อย่างไรเรียกว่ากินอยู่พอดี อย่างไรเรียกว่านุ่งห่มพอดี อย่างไรเรียกว่ามีบ้านเรือนเครื่องใช้ไม้สอยพอดี อย่างไรเรียกว่ามีการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บพอดี มันไม่มี คิดดูมันไม่มี มันไม่รู้ว่าพอดีที่ตรงไหน มีแต่น้อยไป มากไป มันก็จะมากไปตามทางของกิเลส เพราะกิเลสต้องการ ถ้ามันน้อยไป ก็มันน้อยเพราะอำนาจของกิเลสมันไม่ต้องการ เราจึงไม่รู้จักความถูกต้อง ซึ่งเป็นรากฐานของความพอดี ไม่รู้จักความพอดีเป็นอย่างไร ก็คืออันตราย เรื่องอาหารการกินมันก็ไม่พอดี กินมากไป กินดีเกินไป หลงใหลในการกินเกินไป ในการนุ่งห่มก็แต่งเนื้อแต่งตัวมากเกินไป หลงใหลมากเกินไป เครื่องใช้ไม้สอยบ้านเรือนนี่ก็จะดีเกินไป ไม่มีขอบเขต เรื่องโรคภัยไข้เจ็บก็ไม่รู้ความถูกต้องว่าจะรักษาบรรเทากันอย่างไร มีแต่เกินมากกว่าขาด กินยาจนให้โทษ อย่างนี้ก็มีอยู่มาก ไปคิดเอาเองเถิดว่า ปัจจัยทั้งสี่ที่จำเป็นแก่ชีวิตมนุษย์ มันเป็นสิ่งที่ตกลงรองรับกันไว้ ๔ อย่างนี่สำคัญนะ คืออาหารการกิน คือเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยเครื่องใช้ไม่สอย และก็วิธีการบำบัดโลกจากปัจจัย ๔ มันก็ไม่รู้จักความพอดี แล้วมันจะทุ่มเทเงินทองเพื่อความต้องการอันยิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป ไม่รู้อิ่มไม่รู้พอ ไม่รู้ความพอดี บางอย่างที่จำเป็นที่เหมาะสมกลับไม่ได้มีเสียอีก เพราะมันโง่ มันจึงมีไปแต่ไปในทางเกิน
ทีนี้อยากจะขอพูดแซมแทรกไว้ตรงนี้เลยว่า ปัจจัย ๔ มันเพียงเรื่องทางฝ่ายร่างกายเท่านั้นนะ ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ ที่ว่าสำคัญที่สุด ก็สำคัญจริง แต่มันเป็นเรื่องเพราะฝ่ายร่างกายเท่านั้นแหละ ฝ่ายจิตใจมันไม่ได้ต้องการอย่างนั้นน่ะที่มันถูกต้อง จิตใจที่ถูกต้อง มันไม่ต้องการปัจจัย ๔ โง่เขลาอย่างที่กิเลสต้องการ มันต้องการปัจจัยที่ ๕ คือธรรมะ ธรรมะ มีความถูกต้องแก่จิตใจ จิตใจเจริญ มีความผิดพลาดแก่จิตใจ จิตใจเสื่อมสลาย ส่วนจิตใจที่ต้องการปัจจัยอีกอันหนึ่ง เราจะขอเรียกมันว่าปัจจัยที่ ๕ คือธรรมะ คือความถูกต้องแก่ความรอด ความสงบสุข ความเยือกเย็นของจิตใจ ผมอยากจะท้าทายว่าคุณไม่เคยได้ยินคำว่าปัจจัยที่ ๕ เอาสิ แต่ขอบอกว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ปัจจัยที่ ๕ คือปัจจัยที่หล่อเลี้ยงชีวิตด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา ด้านวิญญาณ ให้มีความถูกต้อง ให้มีความถูกต้อง ขอให้มีหลักเกณฑ์กันเสียใหม่ว่าเราจะมีปัจจัยที่๕ แล้วก็ถูกต้อง และพอดีเหมือนกับปัจจัยทั้ง ๔ เกิดความเห็นแก่ตัวขึ้นมาเมื่อไร ปัจจัยทั้ง ๔ ก็ไม่ถูกต้อง ปัจจัยที่ ๕ มันจะยิ่งไม่ต้องการ ความเห็นแก่ตัวมันจะยิ่ง ไม่ต้องการธรรมะ หรือปัจจัยที่ ๕ ธรรมะมันจึงไม่ค่อยมีในหมู่มนุษย์สามัญผู้มีความเห็นแก่ตัว มันบูชาตัว บูชากิเลสเสียแล้ว ธรรมะไม่สนใจ ไม่สนใจธรรมะ ธรรมะมันก็ไม่มีปัจจัยที่ ๕ มันก็ไม่มีจิตในด้านสูง มันก็เลย ไม่เจริญ เรียกว่าด้านวิญญาณก็แล้วกัน มันขาดปัจจัยมันก็ไม่เจริญ ปัจจัยมันให้ความพอใจด้วย ให้ความพอใจด้วย ถ้ามันเกินมันก็บ้า เป็นความพอใจที่บ้า มันต้องมีความถูกต้อง ให้ความพอใจในตัวปัจจัยนั้น ในเมื่อมันเป็นปัจจัยที่ถูกต้อง และพอดี พอดี เรียกว่าไม่บวกหรือไม่ลบ ทีนี้มันก็เป็นเรื่องที่สูงละเอียดขึ้นไปว่ามันเป็นเรื่องที่คนธรรมดาไม่สนใจ ปัจจัยแห่งความสงบ ปัจจัยแห่งความสงบ ปัจจัยทั้ง ๔ อาหารเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น จะสงบได้ก็เพียงทางร่างกาย พอไม่ถูกต้องก็กำเริบหมด ร่างกายผิดพลาด อะไรเสียหายหมด ปัจจัยที่ ๕ เกิดความสงบทางใจ เยือกเย็น ถ้าไม่ถูกต้องมันก็มีไม่ได้ มันต้องมีคำว่าถูกต้อง ถูกต้อง เข้ามาถือเป็นหลัก แต่ว่าไม่ใช่ถืออย่างยึดมั่นถือมั่น ถืออย่างพอดีมีสติปัญญา ว่ามันถูกต้อง ถูกต้อง ผมกลัวว่า คำว่า ถูกต้องจะไม่เป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไปนัก เพราะกิเลสมันเป็นใหญ่มันก็ถูกต้องของกิเลสไปเสียหมดทั้งนั้น อย่างที่กล่าวมาแล้ว ถูกต้องของโลภะ กูได้แล้วก็ดี ถูกต้องของโทสะ ได้ฆ่ามึงแล้วก็ดี ถูกต้องของโมหะ ได้มัวเมา มัวเมาตามพอใจแล้วก็ดีอย่างนี้ จะรู้สึกว่าถูกต้องของกิเลสทั้งนั้น ก็โดยมากก็เป็นอย่างนั้น เป็นกิเลสน้อยๆ ถึงกับไม่เป็นพิษอะไรรุนแรง แต่มันก็เป็นการถูกต้องของกิเลส ไม่ใช่ถูกต้องของธรรมะ หรือความถูกต้องที่แท้จริง คำว่าถูกต้อง ถูกต้องเลยเป็นปัญหา พวกเรียนปรัชญา อปรัชญา อย่าง philosophy นี่ก็ขอบอกให้รู้เสียด้วยว่า ถ้าพูดว่าปรัชญาในภาษาโลกหมายถึง philosophy ถ้าพูดว่าปรัชญาในภาษาอินเดียเดิมๆ แท้ของเขาคำว่าปรัชญาหมายถึงความถูกต้องสูงสุดของปัญญา ถ้าปรัชญาอย่างชาวบ้านที่เอามาพูดกันใหม่ๆ นี่เป็นความถูกต้องตามการคำนวณ ใช้เหตุผลทางปรัชญา ซึ่งไม่มียุติ ซึ่งไม่ค่อยจะยุติ มันเป็นไปตามสมมติฐานที่มากมายสับสน เราไม่เอาความถูกต้องทาง philosophy ก็ไม่เอา ความถูกต้องทาง logic ก็ไม่เอา common sense อะไรก็ยังไม่เอา ถ้าจะเอาผลที่แน่นอนลงไปว่า มันไม่ทำร้ายฝ่ายใด และมีแต่ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ถ้ามันไม่ทำร้ายแก่ฝ่ายใด เป็นโทษเป็นภัยแก่ฝ่ายใด และมันก็เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายนี่คือถูกต้อง แม้ผลการคำนวณทางปรัชญาทาง logic จะออกมาอย่างไรไม่รู้ไม่ชี้ แต่จะเอาถือหลักอย่างนี้เป็นหลักทางศาสนา ถูกต้องหรือดีจริง คือไม่ทำอันตรายกับฝ่ายใด มีแต่ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ขอให้ถือหลักไว้อย่างนี้ แล้วก็ไม่มีทางผิด เอาเหตุผลทาง logic มาฟัดกันเดี๋ยวก็ไปอย่างนั้นมาอย่างนี้ ยุ่งจนเวียนหัว แล้วก็มีเหตุผลที่จะเถียงจะอะไรทั้งนั้นเลย พูดให้มันเกินขอบเกินจำเป็นได้เรื่อยไป มีความถูกต้องที่เป็นทางปฏิบัติ ก็มันถูกต้องแก่ความดับทุกข์ ถูกต้องแก่ความดับทุกข์ สิ่งที่ถูกต้องแก่ความดับทุกข์ คือความถูกต้อง ทีนี้พอมาดูอีกรูปหนึ่ง อีกรูปหนึ่ง มุมหนึ่ง มันกลายเป็นความพอดี พอดี ถูกต้องแต่พอดี ไม่ขาดไม่เกิน ถ้าไม่อย่างนั้นจะผิดจะไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าจึงตรัสหลักแห่งความถูกต้องหรือพอดีไว้เป็นหลักในการดับทุกข์ คืออริยะมรรคมีองค์แปด ผมเข้าใจว่าทุกองค์เรียนรู้มาแล้วล่ะมั้ง ว่าองค์แปด คืออะไรบ้าง แต่ขอแยกแยะให้เห็นความหมายลึกซึ้งของความหมายของมันที่ว่าถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ให้ดีๆ เถิด สัมมาแปลว่าถูกต้อง ในภาษาไทยเราสังเกตได้ง่ายๆ คือมันพอดีไม่ขาดไม่เกิน ไม่ตึงไม่หย่อน ไม่เป็นคู่ตรงกันข้าม แล้วมันก็พอดี มีคำที่ควรจะสนใจอีกคำคือคำว่า มัธยัสถ์ มัธยัสถ์ คำนี้เอามาใช้ผิดความหมาย คือว่า กระเหม็ดกระแหม่ เก็บหอมรอมริบ เรียกว่ามัธยัสถ์ มันไม่ถูก คำว่า มัธยัสถ์ ตัวหนังสือแท้ๆ แยกออกได้เป็นสองคำว่า ตั้งอยู่ตรงกลาง มัธย ตรงกลาง อัสถ ตั้งอยู่ มัธยัสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง เรียกว่ามัธยัสถ์ อย่าเอาคำว่ามัธยัสถ์ไปหมายถึงเก็บหอมรอมริบ กระเหม็ดกระแหม่ ต้องให้มันอยู่ตรงกลางที่ถูกต้อง ไม่สุรุ่ยสุร่าย แล้วก็ไม่ขี้เหนียวขี้ตืด ตั้งอยู่ตรงกลางเรียกว่ามัธยัสถ์ จะใช้คำว่ามัธยัสถ์ก็ได้ คือตั้งอยู่ตรงกลางก็คือความพอดี ความพอดีเลยมีอะไรที่เป็นความหมายลึกมากทีเดียว ถ้าไม่เกิดปัญหาก็ถูกต้องและพอดี ถ้ามันผิดไปนิดเดียวมันต้องมีปัญหา ก็ขัดแย้งอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาไม่ใช่ความถูกต้อง ทางสายกลางก็เรียกมัชฌิมาปฏิปทา เรียกว่าทางสายกลาง ถ้าเรียกว่าอริยมรรคก็แปลว่า มรรคาของพระอริยเจ้า ถ้าเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ก็แปลว่าทางสายกลาง จะกินความไปสูงสุดถึงเรื่องที่มนุษย์ไม่ค่อยจะสนใจ อย่างจะใช้คำว่าถ้ามันเป็นกลางเป็นทางสายกลางนั่นมันไม่เป็น คู่ตรงกันข้าม คือมันไม่บวกและมันไม่ลบไม่บวกเป็น positivism ไม่ลบเป็น negativism เดี๋ยวนี้มนุษย์เรามันชอบ positivism จนหลงใหล หลงใหล ก็เกลียด negativism เข้ากระดูก มันก็ไม่ตรงกลาง มันต้องไม่ positiveไม่ negative คือไม่บวกและไม่ลบ จิตมันจึงจะอยู่ตรงกลาง คือสงบหรือจะเรียกว่าพักผ่อนก็ได้ บวกก็ตื่นเต้นไปตามบวก ลบก็เดือดร้อนไปตามลบ มันเลยขึ้นมาถึงคำว่าดีชั่ว ว่าดีว่าชั่วนี้ไม่ใช่กลาง ดีก็ไปแบบหนึ่ง ชั่วก็ไปแบบหนึ่ง ตื่นเต้นไปตามแบบของมัน ไม่ดีไม่ชั่วอยู่ตรงกลาง มันก็ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะว่าสุขมันก็เหน็ดเหนื่อยไปตามแบบสุข ทุกข์ก็ลำบากไปตามแบบทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อยู่ตรงกลาง ก็เลยถึงกับไม่บุญไม่บาปอยู่ตรงกลาง บุญก็บ้าบุญไปตามเรื่อง บาปก็ทนทุกข์ไปตามเรื่อง ไม่บุญไม่บาปอยู่ตรงกลางสบายที่สุด ต้องอยู่ที่ตรงกลาง พระพุทธเจ้าท่านจึงเอามาใช้เป็นหลักดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือมัชฌิมาปฏิปทา มันอยู่ตรงกลาง แต่ถ้าฟังไม่ถูกก็ฟังไม่ถูกนะ อาจจะเห็นว่าสอนให้ ไม่ให้รักดี รักบุญ รักถูกไปเสียอีก เราต้องการความสงบสุขแล้วมันจะต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป อย่างพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เพราะอยู่ตรงกลางในที่นี้มันหมายถึงถูกต้อง ถูกต้อง แก่ความดับทุกข์ มีทิฐิ ความคิดความเห็นที่ถูกต้อง มันไม่เป็นบวกเป็นลบ ไม่เป็นคู่ไหนหมด มันอยู่ตรงกลางมันรู้ความจริงก็เป็นสัมมาทิฐิดับทุกข์ได้ สังกัปปะ ความต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ มีสติปัญญาต้องการ ไม่ต้องการบวกไม่ต้องการลบ ต้องการอยู่ตรงกลาง ต้องการความสงบระงับก็เป็นสัมมาสังกัปปะ ไม่บ้าดี ไม่บ้าชั่ว ไม่บ้าบุญ ไม่บ้าบาป ไม่อะไรหมดเรียกว่ามีความต้องการที่ถูกต้องเพื่อจะอยู่ตรงกลาง สัมมาวาจา การพูดจาที่ถูกต้อง มันไม่ให้เกิดความทุกข์ มันมีลักษณะที่ถูกต้องไม่เอียงไปทางสูงทางต่ำทางขาดทางเกินทางไหน ถูกต้องแก่การดับทุกข์เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ทำการงานโดยถูกต้อง ไม่เอียงไปฝ่ายไหน แต่ที่เขาบัญญัติไว้ให้ว่าอย่าทำอย่างนั้นจงทำอย่างนี้ เพื่อประโยชน์ทางศีลธรรมง่ายๆ สำหรับคนแรกศึกษา ให้รักดีเข้าไว้ ตรงนี้อยากจะบอกว่าสำหรับเด็กๆ หรือปัญญาอ่อน ให้มันรักดีเข้าไว้ให้มันรักบวกเข้าไว้ มันทำไม่ได้หรอกที่มันจะเหนือดีหรือเหนือชั่ว มันทำไม่ได้ ไอ้ลูกเด็กๆ รักดีมีตัวตนไปก่อน ฟังแล้วก็ค่อยๆ สูงขึ้น สูงขึ้น มันก็เหนือดี พ้นดี มันก็เป็นกลางได้ แต่ถ้ามีสติปัญญาเดี๋ยวนี้แล้วก็ดูเถิด ดีก็ยุ่งไปแบบดี ชั่วก็ยุ่งไปแบบชั่ว บุญก็ยุ่งแบบบุญ บาปก็ยุ่งไปแบบบาป ถ้าไม่ดีไม่ชั่ว ไม่บุญไม่บาป ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ ไม่กำไรไม่ขาดทุนไม่อะไร เหล่านี้มันคือสงบคืออยู่ตรงกลาง แต่เขาก็ไม่ค่อยคิดกัน เขาชอบฝ่ายได้ฝ่ายบวก ชอบความเห็นแก่ตัว มันเป็นพื้นฐานขอให้เรารู้หลักธรรมะนี้ ความเห็นแก่ตัวมันทำให้เอียงไปตามความรู้สึกของตัวคือกิเลส มันจึงชอบฝ่ายบวก หลงใหลฝ่ายบวก เมื่อควบคุมไว้ไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวนั้น ก็ทำร้ายทำอันตรายตัวเอง ทำอันตรายผู้อื่น ฝรั่งเขาไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อผมบอกเขาว่า ธรรมะ ธรรมะนี้ เพื่อทำจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจของบวกของลบ ทำจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจ ของ positivism และ negativism พวกฝรั่งเขาจะไม่เข้าใจ แล้วเขาจะไม่เชื่อว่ามันทำได้ ทำจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจของ positivismซึ่งคนทั้งหลายทั้งโลกเขาบูชากันทำไม่ได้ แต่เราบอกเขาว่าธรรมะในพุทธศาสนาต้องการอย่างนี้ ต้องการอย่างนี้ ให้ positivism มันใส่หัวไปทำตามอำนาจของกิเลส อย่างที่มันเห็นๆ กันอยู่ นอนไม่หลับจนฆ่าตัวตายก็เพราะบูชา positivism ถ้าเราเป็นพุทธบริษัทเราก็รู้เรื่องนี้ เราต้องรู้เรื่องนี้ เราควรจะรู้เรื่องนี้ว่าเรา จะอยู่ตรงกลาง นั่นแหละคือชนะ อยู่เหนือมันหมด เหนือดีเหนือชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือได้เหนือเสีย เหนือกำไรเหนือขาดทุน เหนือแพ้เหนือชนะ แต่มันก็ถูกด่า เมื่อพูดอย่างนี้มันก็ถูกด่า ว่าเอาเรื่องบ้าบอเกินความจำเป็นเกินขอบเขตที่ควรรู้มาพูด ผมก็ถูกด่ามามากมายว่าขาดว่าเอาเรื่องที่เกินจำเป็นมาพูด แต่เดี๋ยวนี้มันต้องคัดจะพูดหลักแท้จริงของพุทธศาสนา คำว่าทางสายกลาง คำว่าอยู่ตรงกลาง มันก็เป็นอย่างนี้ จะเรียกว่า สัมมา สัมมา ไปทุกองค์เห็นไหม ทำไมจึงเป็นสัมมา คุณต้องรู้ว่าทำไม เอาสัมมาเข้ามาใส่ เพราะมันถูกต้องแก่การดับทุกข์ จึงได้เรียกว่าสัมมา ถ้าไม่อย่างนั้นมันเรียกตามชื่อเฉยๆ เรียกว่าทิฐิ เรียกว่าสังกัปปะ เรียกวาจากัมมันตะ อาชีวะวายามะ สติสมาธิไปเฉยๆ ไม่มีคำว่าสัมมา ต่อเมื่อใดมันถูกต้องแก่ความดับทุกข์ เมื่อนั้นจึงมีคำว่า สัมมา สัมมา สัมมา เติมเข้ามา แม้ที่เรียกว่าสัมมา สัมมา มันก็ยังเป็นระดับอยู่นะ ถ้ามันระดับที่จะไปสู่นิพพาน แล้วก็ต้องเติมคำว่า อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ นี่เติมเข้าไปอีก สัมมาทิฐิทั่วๆ ไป ไม่ถึงระดับเพื่อบรรลุนิพพานก็เรียกว่าสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาอะไรไปตามเรื่อง แต่ถ้ามันสูงถึงขนาดที่จะบรรลุนิพพาน ต้องมีคำว่าสัมมาทิฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ สัมมาสังกัปปะที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ อย่างนี้เป็นต้น มันอยู่เป็นชั้นๆ อย่างนี้ แต่เราพูดกันตามธรรมดา มันปนกันยุ่งไปหมด คำว่าทิฐิ ทิฐิ หมายถึงทางดีก็ได้ทางชั่วก็ได้ และส่วนใหญ่ก็หมายถึงทางชั่วมีทิฐิมานะ ต้องมีคำว่าสัมมาเข้ามาประกอบให้เป็นทิฐิที่ถูกต้อง ถูกต้องแล้วยังต้องถึงขนาดที่ว่าอาศัยวิราคะ วิเวก นิโรธะ คือเป็นไปเพื่อนิพพานนั่นแหละ วิเวก วิราคะ นิโรธะ เป็นไวพจน์ของนิพพานทั้งนั้น มันถูกต้องถึงขนาดที่จะเป็นไปเพื่อนิพพาน ดู ดูเถอะ มันจะไม่มีความเห็นแก่ตัวเหลืออยู่เลย ถ้ามันมีความเห็นแก่ตัวอยู่สักนิดมันเป็นถูกต้องไม่ได้ เป็นของโมหะ ของอวิชชา จึงไม่ปรารภว่าเพื่อตัวกู เพื่อของกู แต่ปรารภความถูกต้อง เป็นไปเพื่อวิเวก เป็นไปเพื่อวิราคะ เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจะมีความถูกต้อง ของทั้งแปดองค์นั่นแหละ ทิฐิความคิดเห็นถูกต้อง สังกัปปะความปรารถนาใฝ่ฝันถูกต้อง วาจาการพูดจาถูกต้อง กัมมันตะการงานถูกต้อง อาชีวะ ดำรงชีวิตถูกต้อง วายามะพากเพียรถูกต้อง สติระลึกถูกต้อง สมาธิตั้งใจมั่นถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้องนี้ อยู่เหนือบวกเหนือลบ ไม่เอียงไปบวกไม่เอียงไปลบ ที่ตัวบาลีเขาว่าไม่เอียงไปในทางกามวัตถุขัลลิกานุโยค ความบ้ากาม ไม่เอียงไปทางอัตตกิลมถานุโยค บ้าทรมานกาย มันไม่เอียงฝ่ายบวกไม่เอียงฝ่ายลบอย่างนี้ บางทีก็มีคำใช้ว่าไม่เปียกแฉะและไม่ไหม้เกรียมเป็นไปเพื่อกามสุขัลลิกานุโยค คือเปียกแฉะด้วยความรู้สึกในกามเป็นไปเพื่อความไหม้เกรียม ก็คือทำตนให้ลำบากโดยไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากโง่มีทิฐิ และก็คิดเอาว่าดี คิดเอาว่าดี อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นไปเพื่อความไหม้เกรียม เปียกก็ใช้ไม่ได้ แห้งจนไหม้ก็ใช้ไม่ได้ แต่มันอยู่เหนือเปียกเหนือแห้ง จึงจะถูกต้อง คุณจะเห็นได้ว่ามันลึกซึ้งอย่างไร อย่าไปทำเล่นกับธรรมะด้วยความอวดดี ทำตัวว่าดูนิดๆ หน่อยๆ ก็เข้าใจได้ ที่จริงมันเข้าใจไม่ได้ มันจะเข้าใจได้จริง คือรู้ได้จริงก็ต่อเมื่อมันบรรลุธรรมะเหล่านั้นแล้วทั้งนั้นแหละ เรามาพูดมาฟังมาสอน มาอบรมกันอย่างนี้ มันก็เข้าใจแต่บางส่วน บางระดับ จะเข้าใจเห็นแจ้งโดยประจักษ์ มันก็ต่อเมื่อบรรลุธรรมะเหล่านั้นแล้ว และมีผลปรากฏอยู่ในใจ รู้สึกอยู่นี้ จึงจะเรียกว่าเข้าใจแจ่มแจ้ง คือรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่เรียกว่าความถูกต้อง ถ้ามันมาถึงความถูกต้องคืออยู่ตรงกลาง แล้วมันก็หมดปัญหาแหละ ความเห็นแก่ตัวไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนหมด มันไม่มีตัว ไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัว คำว่าอยู่ตรงกลางนั่นนะ ต้องเข้าใจไปถึงว่ามันอยู่เหนือนะ ไม่ใช่อยู่ตรงระหว่างกลาง แต่มันอยู่เหนือ เหนือดีเหนือชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือแพ้เหนือชนะ เหนือได้เหนือเสีย อยู่เหนือ เหนือความหมายของสิ่งเหล่านั้น แม้สิ่งเหล่านั้นจะมีอยู่ในโลก ในบ้านเมือง หรือว่ามาเกี่ยวข้องกับเรา แต่จิตของเราอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น แม้ว่าความแพ้หรือความชนะจะมาเกี่ยวข้องกับเรา แต่จิตของเราก็อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น เช่นว่าเราเป็นความแพ้ ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นร้อนเพราะมันอยู่เหนือความรู้สึกว่าแพ้ เป็นความชนะ ชนะคดี ก็ไม่ดีใจว่าชนะเลย เพราะมันอยู่เหนือ อย่างนี้เรียกว่าอยู่เหนือ ถ้าอยู่ระหว่างกลางมันอธิบายยาก ความหมายคับแคบอยู่ในระหว่างการเบียดของของสองสิ่งนี้ไม่ถูก อยู่เหนือเลยตรงกลางอยู่เหนือ ทีนี้มันก็อยู่เหนืออะไร เหนือกิเลส กิเลสบังคับบัญชาใส่หัวไม่ได้อีกต่อไป ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ที่ว่ามันบังคับไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวมันบังคับเราไม่ได้เพราะว่าทำลายมันไปหมดแล้ว ถ้ามันมีความเห็นแก่ตัวมันก็บังคับได้อยู่ตามเดิมนั่นแหละ ถ้าเพิกถอนความเห็นแก่ตัวเสียได้ มันอยู่เหนือความเห็นแก่ตัว ควบคุมจิตได้ ไม่เกิดความรู้สึกคิดนึกหมายมั่นว่าตัวหรือว่าของตัวนี้เรียกว่าควบคุมจิตได้ ก็คือควบคุมตัวได้ จิตไม่อาจจะคลอดความเห็น ความรู้สึกว่าตัวหรือว่าของตัวออกมา จิตไม่อาจจะคลอดกิเลสออกมา ก็เรียกว่าควบคุมกิเลสได้ ควบคุมความเห็นแก่ตัวได้ ควบคุมกิเลสได้ก็คือเรื่องเดียวกัน ทีนี้ทั้งวัน ทั้งวัน เราพ่ายแพ้แก่กิเลส หรือพ่ายแพ้แก่ความเห็นแก่ตัว พ่ายแพ้ให้ลึกซึ้งเพราะว่าเราไม่รู้จักมัน ไม่ได้คิดจะควบคุมมันด้วยซ้ำไป แล้วก็ยังพอใจในรสอร่อยของกิเลส และของความเห็นแก่ตัว มันหลอกกันหลายชั้นอย่างนี้ กิเลสมีรสอร่อยมากแก่กิเลส แก่จิตที่มีกิเลส แล้วจะไปควบคุมมันยังไง เมื่อจิตมันเป็นกิเลสมันมีกิเลสเป็นตัว เมื่อจิตไม่มีกิเลสเป็นธรรมะ มันก็มีธรรมะเป็นตัวที่จะนั่งควบคุมจิตให้กิเลสเกิดขึ้น กิเลสก็ควบคุมจิต ให้ธรรมะคือความถูกต้องเกิดขึ้น ธรรมะก็ควบคุมจิต แล้วก็ไปชำระสะสางสังเกตดูอะไรกำลังควบคุมจิตของเรา กิเลสควบคุมจิต กิเลสอะไร เท่าไร ความเห็นแก่ตัวชนิดไหนมีมากเท่าไรกำลังควบคุมเรา เราก็มีความทุกข์เพราะเหตุนั้น ไม่พอใจในความถูกต้อง มันก็เลือกเอาแต่สิ่งที่กิเลสพอใจหรือต้องการ โดยมากมันเป็นอย่างนี้แหละ มันเป็นอย่างนี้ ที่มันดำเนินชีวิตไม่ถูกต้อง เพราะว่ากิเลสมันเป็นผู้ดำเนิน ดำเนินมันก็ถลำเข้าไปในความผิดพลาด ก็แก้ไม่ได้ ลึกจนแก้ไม่ได้ จนฆ่าตัวตาย เกิดมาทีหนึ่งก็เลยไม่ได้อะไร เกิดมาชาติหนึ่งก็ไม่ได้อะไร ไม่ประสบความสำเร็จในอะไร ศึกษาให้รู้จักธรรมชาติของชีวิตจิตใจของกิเลส ของความมีตัว ของความเห็นแก่ตัว หรืออีกทางหนึ่งมันกลายเป็นโพธิ แล้วมันก็ทำลายความเห็นแก่ตัว มันก็ไม่มีความเห็นแก่ตัว จิตนี้มีคุณสมบัติกลางๆ คือรู้ รู้ รู้ ถ้ารู้ผิดก็เป็นกิเลสไป รู้ถูกก็เป็นโพธิ ความรู้เป็นสมบัติกลางเป็นสัญชาตญาณ ถ้าไม่รู้ผิดมันก็ไปทางฝ่ายผิด กระแสผิด ทำถูกก็ไปในทางถูกกระแสถูก แต่มันน่าขอบใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ไอ้ความผิดนะมันทำให้เกิดทุกข์ แล้วมันลงโทษ ลงโทษ ลงโทษ มันก็พลอยรู้ขึ้นมา อ้าว,นี่ผิดลงโทษ เจ็บปวดอยู่อย่างนี้ จนรู้สึกว่าอันนี้ผิด ไม่เอากับมันอีกต่อไป ความทุกข์มันสอนอย่างนี้นะ ความทุกข์สอนดีกว่าความสุข ความสุขก็มัวเมาเพลิดเพลินเป็นบ้าไปเลย แต่ความทุกข์เมื่อมันบีบคั้นหนักเข้าหนักเข้ามันทำให้คนคิด รู้จักความทุกข์ รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ แล้วก็รู้วิธีที่จะดับทุกข์ขึ้นมาตามลำดับ ตามลำดับ ไม่เป็นไรไอ้ความทุกข์นี่ มันก็ช่วยให้ฉลาดขึ้นทั้งนั้นแหละ ขอให้ต้อนรับความทุกข์ให้ถูกต้อง แล้วมันจะสอนให้อย่างดีกว่าความสุข ซึ่งจะทำให้เพลิดเพลินหลงใหล ในที่สุดมันก็ไปสู่ความรู้อันสูงสุด ความรู้สูงที่สุดคือรู้ว่า ไม่มีตัว ไม่มีตัวตน ไม่มีตัว มีแต่ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ พอจิตโง่ ก็คิดว่ามีตัว มันก็มีตัวขึ้นมา พอจิตฉลาดมันก็รู้ว่าไม่มีตัว มันก็ไม่มีตัว ที่จิตนี่ไม่มีใครมาช่วยได้นอกจากตัวเอง มันต่อสู้ดิ้นรนไปตามลำพังตัวมีความทุกข์ ก็รู้เรื่องทุกข์ มีความสุขก็หลงใหลในความสุข จนกว่าจิตมันจะรู้ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร นี่เรียกว่ามันพึ่งตัวเอง มันพึ่งตัวเอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า มันพึ่งตัวเอง คือจิตดวงเดียวนั้นมันทำผิดแล้วมันก็รู้ รู้แล้วมันก็ทำถูก ก็เรียกว่ามันพึ่งตัวเอง ที่สอนสอนกันนี่มันเป็นเพียงไปให้รู้วิธีที่จะไปควบคุมจิตให้มันถูกต้อง ที่จะไปช่วยแก้ไขโดยล้างให้โดยเปลี่ยนให้โดยตรงนี่ทำไม่ได้ แต่เพียงให้จิตนี่มันรู้จักแก้ไขด้วยตัวมันเองนี่ทำได้ อย่างที่เราพูดกันเป็นวรรคเป็นเวร ยืดยาวนี่ก็เพื่อจะรู้วิธีที่จะไปควบคุมจิตแล้วจิตมันก็จะรู้จักแก้ไขของมันเอง กลายเป็นพึ่งตัวเองได้สำเร็จ แล้วก็ประสบความสำเร็จในข้อที่ว่า ตัวเองเป็นที่พึ่งแก่ตัวเอง ตัวเองในที่นี้ก็หมายถึง ความรู้ทางสติปัญญา ค่อยๆ ดีขึ้น มีตัวเอง มีตัวเอง จนกระทั่ง รู้ว่าไม่มีตัวเองนั่นแหละสูงสุด ทีแรกมันไม่รู้อะไรเลย มันก็เกิดตัวเองอย่างผิดๆ ตัวเองของกิเลส ตัวเองของความโง่เดินไปผิดๆ ต่อมาความผิด ความเลวความทุกข์ลงโทษให้ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองอย่างนั้นผิด มาเอาตัวเองอย่างที่ไม่ผิดคือ ถูก ถูก ถูก ต่อมาอีก ไอ้ความถูกก็ยังยุ่ง ยังยุ่ง ยังไม่จบ ก็เหนือตัวเอง คือเหนือถูก เหนือตัวเอง ไม่มีตัวเองก็ไม่มีปัญหาอะไรแก่ตัวเอง เรียกว่าโง่ เกิดมาโง่ ก็มีตัวเองที่เลว ต่อมามันลงโทษให้ก็รู้จักตัวเองที่ดี มันก็ยังลงโทษให้ คือทนทรมานด้วยความดี มันก็ขึ้นเหนือความมีตัวเองที่ดี เหนือดี ไม่มีตัวเอง คือไม่มีตัวเอง ก็เหนือชั่วเหนือดี เรื่องอย่างนี้ขอพูดว่าเข้าใจยาก คนโง่ไม่อาจจะเข้าใจ คนโง่จะต้องถือไสยศาสตร์ไปก่อน จะบูชาบวงสรวงอ้อนวอนให้ดีให้ได้ให้อะไรไปก่อน ที่จะมารู้ถึงขนาดนี้มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นพุทธศาสตร์ มันเป็นศาสตร์ของคนตื่น ไม่ใช่ศาสตร์ของคนหลับ ขอให้กำหนดไว้อย่างนี้ จะได้เดินทางไปถูกทางของพุทธศาสตร์ คือทำลายความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวเอง ว่าตัวกู แล้วก็หมดตัวกู มันก็ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่สักนิด มีแต่ความสงบสุขเยือกเย็น ทั้งส่วนตัวเองและส่วนรวม หรือจะทั้งโลก เรื่องความไม่เห็นแก่ตัวมีอยู่อย่างนี้ ที่ตรงข้ามคือความเห็นแก่ตัว ขอให้สังเกตใคร่ครวญอย่างละเอียด พิจารณาดูให้ดี ควบคุมไว้ให้ได้ คือให้ถูกต้องยิ่งขึ้นไป จนอยู่เหนือดี เหนือถูกต้อง ว่างไปเลย ว่างไปเลย สูงสุดเป็นนิพพาน การบรรยายวันนี้ก็หมดเวลาตามที่กำหนดไว้ ขอยุติการบรรยายนี้ไว้เพียงเท่านี้ เรื่องความไม่เห็นแก่ตัวนอย่างไร เหตใหนนฯ