แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วๆ มา เราพูดกันถึงเรื่องในการศึกษาพุทธศาสนาให้ถึงหัวใจของพุทธศาสนา จะเป็นพุทธศาสนาแบบใดก็ได้ให้เราเข้าถึงหัวใจของแบบนั้นๆ แล้วก็จะเป็นพุทธศาสนาเดียวกัน ข้อนั้นก็คือศึกษาเห็นความไม่มีตัวตน หรือความไม่เป็นตัวตนของสิ่งที่เรียกว่าชีวิตนั่นเอง แล้วในวันนี้เราก็จะพูดกันโดยหัวข้อว่าศึกษาชีวิตกันไปเลยดีกว่า
คำว่าชีวิต ชีวิตที่เราพูดกันมาแล้ว มันก็พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือชีวิตที่ยังมีอีโก้อิซึม (egoism) (นาทีที่ 00.03.04) กับชีวิตที่ปราศจากอีโก้อิซึม (egoism) มีอยู่เป็น 2 ชนิดอย่างนี้ ถ้าตามธรรมดาเราก็มีชีวิตชนิดที่มีอีโก้อิซึม (egoism) อยู่เป็นประจำ มาศึกษาให้พบชีวิตชนิดที่ปราศจากอีโก้อิซึม (egoism) เมื่อพูดถึงการศึกษาชีวิตต้องเข้าใจว่าเราศึกษาที่ตัวชีวิต ที่ตัวชีวิตศึกษาลงไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง ไม่อาจจะศึกษาจากหนังสือ จากโรงเรียน จากมหาวิทยาลัย หรือจากอะไร ที่เราจะศึกษาได้จากหนังสือ จากมหาวิทยาลัยนั้นเป็นเพียงวิธีที่เราจะเอาไปศึกษาชีวิตโดยตรงที่ตัวชีวิต เดี๋ยวนี้เราไม่รู้ว่าจะศึกษาชีวิตอย่างไร เราก็ต้องศึกษาวิธีที่จะเอาไปศึกษาชีวิตแล้วก็ต้องศึกษาลงไปที่ตัวชีวิตโดยตรงดังนั้นเราจะต้องรู้จักไอ้ตัวสิ่งที่เรียกว่าชีวิตพอสมควรก่อน
ทีนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องตัวชีวิต ชีวิต ชีวิตคืออะไร ทีนี้มันเป็นของที่ลำบากอยู่ไม่น้อยทีเดียว ท่านคิดว่าท่านรู้จักสิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิต แล้ว แต่มันรู้น้อย รู้จักน้อยเกินไป เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าชีวิต เด็กๆ ก็รู้จักสิ่งที่เรียกว่าชีวิตแล้วมันก็รู้จักกลัวตาย นี้ชีวิตเพียงเท่านี้มันยังไม่ชัดเจนพอที่จะศึกษาจนกระทั่งว่าควบคุมได้ไม่ให้มีความทุกข์ เราจะต้องศึกษาไอ้ตัวชีวิตที่ลึกไปกว่านั้นซึ่งจะได้พูดกันต่อไป
ถ้าจะพูดโดยสรุปว่าที่เป็นอยู่จริงโดยพื้นฐานก็คือ ชีวิตก็คือตัวสิ่งที่เราจะเอามาเป็นตัวอีโก้ (ego) อีโก้นั่นเอง สิ่งที่เราจะเอามาเป็นตัวอีโก้ (ego) นั่นเอง คำว่าเรา เราในที่นี้ไม่ใช่ ไม่ใช่ตัวตนหรืออัตตาหรือ? หรือจิต (นาทีที่ 00.09.49) ดังนั้นชีวิตคือสิ่งที่จิตจะคิดว่าเป็นอีโก้ (ego) นั่นเอง
มันเป็นการยากลำบากตามที่ธรรมชาติมันจัดให้มา สิ่งใดมีชีวิต สิ่งนั้นก็จะมี instinct ประจำมาด้วยเลย แต่ว่า ฉัน มีฉัน เป็นฉัน เป็นของฉัน instinct นี้จะรู้สึกได้เองว่ามีตัวฉัน ในเมื่อมีตัวฉันมันก็ง่ายนิดเดียวที่จะมีอะไรๆ มาเป็นของฉัน เราจะยกตัวอย่างเรื่องเด็กเตะเก้าอี้อีกแหล่ะ เด็กไม่มีใครสอน มันก็รู้จักคิดเป็นตัวฉัน แล้วก็โกรธเก้าอี้ แล้วก็เตะเก้าอี้ มันก็มีตัวฉัน มีอีโก้ (ego) ขึ้นมาโดย instinct และเมื่อมีตัวฉันมันก็มีตัวของฉัน แล้วถ้ามีชีวิตก็มีชีวิตของฉัน ถ้ามีศัตรู ศัตรูก็มีศัตรูของฉัน ในของฉันมันจึงเกิดได้รอบด้านของไอ้สิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิตที่มีตัวฉันมีของฉันอย่างนี้มันเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ เราอาจจะมีชีวิตโดยต้องไม่ต้องมีความรู้สึกเป็นตัวฉันของฉัน คือมีชีวิตที่มีแต่ชีวิตกับสติปัญญา รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเป็นเช่นนั้นเองไม่ใช่ตัวฉัน แล้วก็จัดการกับชีวิตนั้นโดยไม่ต้องมีความหมายว่าตัวฉันหรือของฉัน เราก็ได้ชีวิตใหม่ที่ไม่มีความทุกข์เลย คือปราศจากอีโก้อิซึม (egoism)
เราไม่อาจจะเพิกถอน instinct เราไม่อาจจะเลิกร้างเพิกถอน instinct แต่ว่าเราอาจจะพัฒนา พัฒนาให้มันกลายเป็นสิ่งที่มีความรู้ถูกต้อง ถูกต้องขึ้นมา คือเราบรรจุ หรือเพิ่มเติมโพธิ โพธิคือปัญญา intuitive wisdom (นาทีที่ 00.16.17) คือผสมเข้าไปใน instinct instinct มันก็เปลี่ยน เปลี่ยนมาเป็นอะไรก็ได้ ก็แล้วแต่จะเรียก คือมันเป็นปัญญาที่พัฒนาแล้ว ที่ถูกต้องแล้ว มันก็มีความรู้สึกไปอีกอย่างหนึ่งขึ้นจะไม่เป็นปัญหา จะไม่สร้างความทุกข์อีกต่อไป ขอให้สนใจในการพัฒนา instinct ซึ่งเราเรียกกันในภาษาไทยว่าสัญชาติญาน คือความรู้ที่เกิดเองตามธรรมชาติ ให้มากลายเป็นภาวิตญาณ (นาทีที่ 00.17.06) คือความรู้ที่พัฒนาแล้ว รู้จักทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงแล้ว สามารถจะคิดจะนึกจะพูดจะทำอะไรต่างๆ ให้มันถูกต้องกว่าที่จะปล่อยไปตาม instinct นั่นเอง นี่เราไม่อาจจะเพิกถอน instinct แต่ว่าเราสามารถจะพัฒนา instinct แล้วก็ศึกษาส่วนนี้แหล่ะ
ที่เราทำวิปัสสนา ก็คือเราทำให้สัญชาตญาณนั่นมันกระทบพบกันเข้ากับความจริงของสิ่งต่างๆ ให้มันเห็นว่าเป็นอย่างไรตามที่เป็นจริง แล้วมันก็เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยนเป็นภาวิตญาณ ถ้าเราทำวิปัสสนาให้ดี ให้สำเร็จให้ถูกต้องเป็นจริง มันจะเปลี่ยน instinct มันไม่ได้เพิกถอน instinct แต่มันเปลี่ยน คือมันพัฒนา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่ามันเติมโพธิ เติมโพธิลงไป เติมลงไป เติมโพธิลงไปในสัญชาติญาณมันก็เปลี่ยนเป็นภาวิตญาณ ขอให้ตั้งใจทำให้ดีๆ ในสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนา ก็จะพัฒนาสัญชาตญาณเป็นภาวิตญาณ เลยรู้จักชีวิตตามที่เป็นจริง
ในที่สุดเราก็พบความจริงว่าเราจะต้องจับเอาตัวสิ่งที่เรียกว่าชีวิตมาศึกษา ชีวิตคืออะไร ชีวิตตามที่รู้สึกกันอยู่เองเองนี่ชีวิตคือยังไม่ตายอย่างนี้ไม่รู้ตัวอยู่ที่ไหน เป็นมายาไม่รู้จัก จับตัวมันมาได้ ดังนั้นจะต้องจับเอาตัวสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต หรือที่มันเป็นตัวชีวิตโดยแท้จริงมาดู มาดู นี่ถ้ากล่าวตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาก็ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า ร่างกายกับจิตใจ หรือนามรูป แต่ถ้าจะแจกแยกนามรูปสองอย่างนี้ออกให้ละเอียดออกไปมันก็ได้เป็นห้าอย่าง นั่นคือขันธ์ทั้งห้า เป็นรูปขันธ์หนึ่ง เป็นนามซะ 4 ขันธ์ นี่ถ้าดูว่าไอ้ขันธ์ทั้ง 5 เนี่ยมันจะเกิดมาจากอะไร หรือโดยอะไรมันทำขึ้นมา มันกลายเป็นความรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ 6 อย่างนี้ ไอ้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส 6 อย่างนี้แหล่ะ ถ้ามันเข้าใจว่าเป็นตัวตน เป็นตัวชีวิต เป็นตัวกูเป็นของกู นี่เราจะต้องศึกษาเรื่องนามรูป กายกับใจให้ละเอียดออกไปเป็นเรื่องขันธ์ 5 และขันธ์ 5 นี่ปรุงขึ้นมาจากสิ่งที่สัมผัสโดยรอบด้าน 6 ทิศทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยรูป เสียง กลิ่น รส โพฏทัพพะ ธัมมารมณ์ เข้ามาประกอบ ถ้าเราจะศึกษาสิ่งเหล่านี้แล้วเราก็จะรู้สึกพื้นฐานหรือรากฐานแห่งสิ่งที่เรียกว่าชีวิต แล้วเราจะศึกษามันให้ถูกต้องจนไม่โง่ ไม่หลงเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นอีโก้ (ego) อีกต่อไป
ใจความสำคัญก็คือจะศึกษาให้รู้ว่าไอ้สิ่งเหล่านั้นที่เราเข้าใจว่าเป็นชีวิตนี่ล้วนแต่เป็นเพียงสักว่าธาตุ ธาตุ ซึ่งมีความหมายที่เข้าใจได้ยาก ในทางธรรมะเราก็ถือว่าเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราแบ่งแยกออกเพื่อให้ดูให้เห็นว่าเป็นสิ่งสุดท้าย แล้วก็เห็นว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ของธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ไม่มีความหมายแห่งตัวเรา ของเรา นี่จะเห็นว่ามันเป็นธาตุตามธรรมชาติ ร่างกายรูปก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุตามธรรมชาติ จิตก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นธาตุตามธรรมชาติ ธาตุตามธรรมชาติถึงกันเข้าสามารถที่จะทำการคิด การนึก การรู้สึกต่างๆ ได้ ความรู้สึกคิดนึกเหล่านั้นก็ยังคงเรียกว่าธาตุตามธรรมชาติ แต่เราก็เอามาเป็นตัวเรา มาเป็นของเรา เป็นอีโก้อิซึม (egoism) ขึ้นมา เป็นตัวเราที่นั่น เป็นของเราที่นั่น ศึกษาให้รู้ว่าแม้แต่นามรูปก็เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ ขันธ์ 5 ทั้ง 5 ก็เหมือนกันแยกดูทีละขันธ์ก็เป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นนามธาตุ เป็นวิญญาณธาตุ ตามธรรมชาติเช่นนั้นเองไม่มีส่วนที่เป็นตัวเรา เป็นของเรา ส่วนเรื่องทางอายตนะ 6 ข้างในมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ ธัมมารมณ์ ก็เป็นตามธรรมชาติเป็นของตามธรรมชาติแต่ในนั้นมันทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่ามันเป็นตัวเรา เห็นรูปแล้วรู้สึก ฟังเสียงแล้วรู้สึก ดมกลิ่นแล้วรู้สึก ไอ้ความรู้สึกมันเลยเป็นตัวเรารู้สึก และรู้สึกเป็นของเรา นี่ศึกษาไอ้สิ่งที่เราเห็น เรารู้สึกเอาล่ะว่า เข้าใจเอาว่าเป็นชีวิต กระทั่งเป็นอีโก้ (ego) ว่ามันเป็นเพียงธาตุ ธาตุตามธรรมชาติ ของธรรมชาติ ตามธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ไม่มีความหมายแห่งตัวเราหรือของเรา นี่ก็คือการศึกษาให้เห็นว่าชีวิตนั้นมันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
เมื่อเราเป็นเด็ก ถ้าเปิดฝานาฬิกา เปิดหลังนาฬิกาขึ้นดู นาฬิกาอย่างแบบเก่าเป็นสปริงไม่ใช่ควอท์ (นาทีที่ 36.55) นะ เปิดฝานาฬิกาออกดูด้านหลังเราจะรู้สึกว่ามันมีชีวิต เด็กๆ ก็จะรู้สึกว่านาฬิกามีชีวิต ต่อมาเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว หรือเป็นช่างแก้นาฬิกาอย่างนี้เป็นต้นเปิดดูฝานาฬิกา หลังนาฬิกาหรือดูทางไหนก็ตามไม่อาจจะคิดว่านาฬิกามีชีวิต นี่ล่ะมันเป็นเรื่องของความไม่รู้ ไม่รู้ปราศจากความรู้คืออวิชชา อวิชชาแปลว่าภาวะที่ปราศจากความรู้ มันมีอวิชชาอยู่เราเป็นเด็กอยู่เปิดนาฬิกาดูเห็นว่าอ้าวรู้สึกว่าจะรู้สึกว่ามันมีชีวิต ครั้นต่อมาเรารู้เรื่องนาฬิกาดีจนกระทั่งเป็นช่างแก้นาฬิกา เราก็รู้ว่ามันไม่ใช่มีชีวิต มันไม่ได้มีชีวิต หรือว่าคนป่าเห็นรถยนต์ครั้งแรก ก็จะคิดว่ารถยนต์ครั้งแรกมีชีวิตเหมือนวัว เหมือนควาย ขับขี่ไล่ไปได้ จนถ้าเค้ามาศึกษามารู้เหมือนเราแล้ว มารู้เป็นช่างแก้รถยนต์แล้วมันก็จะรู้ว่ารถยนต์ไม่มีชีวิต นี่อวิชชาหรือวิชชา มันทำให้เกิดความรู้สึกต่างกันอย่างนี้ งั้นเรามาศึกษาให้มีวิชชา วิชชานี่เพื่อกำจัดอวิชชาออกไป นี่คือความหมายแท้จริงของคำว่าวิปัสสนา วิปัสสนาเห็นแจ้งตามความที่เป็นจริง จึงจะขอร้องให้ท่านทั้งหลายตั้งใจกระทำให้ดีๆ คือทำวิปัสสนาเพื่อกำจัดอวิชชา โดยมีวิชชาขึ้นมาแทน พอวิชชาเข้ามาอวิชชาก็ออกไป นี่เราจะต้องศึกษาชีวิตกันในลักษณะอย่างนี้
เดี๋ยวนี้เรา เราที่ยังไม่รู้ธรรมะ เราอ่ะ จึงจะมองเห็นนามรูป กายกับใจเหมือนเด็กๆ มองเห็นนาฬิกาครั้งแรก หรือเราจะมองเห็นขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ทั้ง 5 เหมือนกับเด็กๆ เห็นนาฬิกาครั้งแรก หรือจะมองเห็นอายตนะนอกในทั้ง 6 ทำงานกันนี่จะเห็นเหมือนกับเด็กๆ เห็นนาฬิกา นี้เรายังเป็นเด็ก เด็กฝ่าย spiritual เราเป็นอยู่อย่างนี้ (นาทีที่ 43.49) เห็นไอ้สิ่งที่ไม่ได้เป็นตัวตน ไม่ได้มีชีวิต ไม่ได้เป็นตัวตนมาเป็นชีวิตมาเป็นตัวตน มาเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ก็เรียกว่าเรายังเป็นเด็กทาง spiritual เราจะต้องเติบโตให้เป็นผู้ใหญ่ในทางนี้ ให้เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง แล้วเราก็จะได้รับประโยชน์ คำว่าเรา เราอย่างนี้ทุกคราวที่พูดขอว่าไม่ใช่ self ไม่ใช่อัตตา เป็นเพียงจิต หรือเราจะเรียกว่าชีวิตก็ได้ ไอ้ชีวิตนี้จะได้รับประโยชน์จากชีวิตเองในทางที่ไม่มีความทุกข์เลย ถ้าไม่มีความรู้อันนี้ชีวิตจะได้รับประโยชน์จากชีวิตเป็นความทุกข์เสมอไป
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการศึกษา ศึกษา การศึกษาเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อเราเป็นเด็กเราไม่รู้หนังสือ เราก็เรียนหนังสือ เรียนหนังสือจนเรารู้หนังสือ เดี๋ยวนี้เราเป็นคนธรรมดาเป็น layman เราไม่รู้ความจริงอันนี้ของธรรมะของธรรมชาติ เราก็ต้องเรียน เรียน เรียนจนกระทั่งเรารู้ มันเป็นการศึกษาฝ่าย spiritual นี่ต้องมีการศึกษา ต้องมีการศึกษาแน่นอนที่เราจะต้องมีการศึกษา คือ ทำให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ ที่ควรจะรู้ ที่รู้แล้วมีประโยชน์ที่สุดคือดับทุกข์ได้ เราจะได้สนใจคำว่าการศึกษากันต่อไป
ที่นี้ก็มาถึงคำว่าศึกษาในภาษาไทยซึ่งเป็นถอดรูปมาจากสันสกฤต ในบาลีในฝ่ายบาลีนี่เรามีคำว่าสิกขา สิกขาในสันสกฤตเป็นสิกขา ไทยก็เป็นศึกษา เราไม่ค่อยจะรู้ไอ้ความแตกต่างระหว่างการศึกษาไอ้ทางธรรมดา รู้วิชชา รู้หนังสือนี่ก็ศึกษา แต่ถ้าจะรู้ความจริงของธรรมชาติ ของอีโก้อิซึม (egoism) ของที่จะดับทุกข์ได้นี้ มันเป็นการศึกษาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งยากที่จะใช้คำคำเดียวกันกับการศึกษาอย่างธรรมดา ใช้คำว่า educate, study อะไรทำนองนี้ มันคนละอย่าง ก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร นอกจากคำว่า education เราก็ไม่รู้ว่ามีคำอะไรอีกที่จะใช้กันได้กับคำว่าศึกษาในฝ่ายธรรมะ นั้นขอให้ตั้งใจฟังว่า คำว่าศึกษา สิกขานี่ ให้มันประกอบขึ้นด้วยคำสองคำคือว่า สะ กับ อิกขะ (นาทีที่ 51.53) สะ แปลว่า เอง อิกขะ แปลว่า เห็น งั้นคำว่าสิกขา สิกขานี่มันก็แปลว่า ดู เห็นที่ตัวเอง ดูด้วยตนเอง แล้วก็เห็นตนเอง เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง มันเอนไปทางนั้น ต้องดูตัวเอง ก็ดูด้วยตนเอง แล้วก็เห็นตนเอง และเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง คำเหล่านี้รวมกันทั้งหมดแล้วก็เรียกว่าศึกษา เข้าใจว่าคงจะห่างไกลกับคำว่า education หรือ study ถ้ามันห่างกันเราก็ทำเป็นคำขึ้นมาใหม่ซิ มันเป็นเรื่องของ spiritual education แท้ๆ spiritual safety นี้อาจจะพอไปกันได้ สำหรับคำว่า สิกขา หรือศึกษา
คำว่าศึกษาหรือ education ที่มีอยู่ในโลกเวลานี้มันเป็นการศึกษาข้างนอก ดูข้างนอก เห็นข้างนอก รู้เรื่องข้างนอก แม้จะเป็น academic study ที่สุดมันก็ยังเป็นเรื่องข้างนอก เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนจากดูข้างนอกมาเป็นดูข้างใน ดูข้างใน ดูเข้าไปข้างใน เพราะปัญหามันอยู่ที่จิตใจที่อยู่ข้างใน ไอ้สิ่งที่เรียกว่า self หรือ เรียกว่า soul (นาทีที่ 57.00) มันอยู่ข้างใน อีโก้ (ego) มันอยู่ข้างใน เพราะฉะนั้นขอให้หมุนเป้าการศึกษามุ่งมาข้างใน ดูตัวมันเอง รู้จักตัวมันเอง และจะได้ผลแก่ตัวมันเอง เห็นเองเนี่ยสำคัญมาก จะผู้อื่นเห็นแล้วมาบอกอย่างนี้ไม่มี ไม่มีในการศึกษาธรรมะ มันมีคำว่าสันทิฏฐิโก สันทิฏฐิโก เห็นเอง เห็นตัวเอง เห็นได้เอง เห็นเพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง เห็นแทนกันไม่ได้ รู้แทนกันไม่ได้ รับประโยชน์แทนกันไม่ได้ คำว่าสันทิฏฐิโกนี่ควรจะจำไว้ ตลอดเวลาที่ยังไม่เห็นเองนี่มันไม่มีประโยชน์อะไร นี่เราจึงต้องทำวิปัสสนา วิปัสสนาดูตัวเองด้วยตนเอง เห็นตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง ดับทุกข์ของตัวเอง ทำตัวเองให้พ้นไปจากความทุกข์ นี่ขอให้จับใจความของคำว่าศึกษาให้ได้อย่างนี้เสียก่อน
เดี๋ยวนี้ท่านกำลังมีอะไรเป็นอีโก้ (ego) แต่ละคนละคนท่านกำลังมีอะไรเป็นตัวอีโก้ (ego) ที่ท่านคิดว่าเป็นตัวของท่าน ที่เป็นอีโก้ของฉันต้องดูที่ตัวนั้นแหล่ะ ต้องดูที่ตัวนั้นให้เห็นความจริงของสิ่งนั้น เราศึกษาชีวิตก็ต้องดูที่ตัวชีวิต ถ้าไปอ่านหนังสือ หนังสือเป็นบันทึกต่างๆ บันทึกไว้แต่เรื่องทางวัตถุ เป็นเรื่องภายนอกเพราะเรื่องที่เป็นภายในมันยากที่จะบันทึกโดยตรง มันได้แต่บันทึกวิธีที่ว่าถ้าไปทำอย่างนั้น อย่างนั้นแล้วท่านจะเห็น มันบันทึกการเห็นหรือผลของการเห็น หรือความรู้สึกโดยตรงไม่ได้ ได้แต่บันทึกว่าวิธีอย่างนี้ ไปทำเข้า ทำเข้าแล้วท่านจะเห็น เดี๋ยวนี้เราก็มาบอกกันถึงวิธีที่จะดูที่อีโก้ เรากำลังมีอะไรเป็นอีโก้ เป็น ?egoism (นาทีที่ 1.01.45) เป็นสิ่งนั้น ขอให้ถือหลักสั้นๆ ว่าศึกษาชีวิตต้องดูที่ตัวชีวิต ศึกษา egoism ก็ต้องดูที่ตัวอีโก้ เราก็มาศึกษาด้วยการดูให้เห็นเพราะไม่สามารถศึกษาโดยการอ่านหนังสือหรือคำบอกเล่าหรืออะไรทำนองนั้นซึ่งมันเป็นเรื่องข้างนอก เดี๋ยวนี้มันเป็นเรื่องข้างใน ฉะนั้นศึกษาด้วยการมองดูข้างใน แล้วเห็นตัวสิ่งที่มันเป็นปัญหา สิ่งที่มันเป็นปัญหาน่ะ คือสิ่งที่มันทำให้เกิดความทุกข์ เกิดความลำบาก ทนไม่ได้ต้องแก้ไข ดิ้นรน เหล่านี้เราเรียกว่าตัวปัญหา ต้องศึกษาที่ตัวปัญหานั้นเอง จึงจะเรียกว่าเป็นการศึกษาอย่างถูกต้อง
เมื่อดูโดยกว้างๆ เราจะพบว่ามันก็มีวิธีศึกษาได้เป็น 2 แบบ แบบหนึ่งจะศึกษาจากผลไปหาเหตุ ส่วนอีกแบบหนึ่งจะศึกษาจากเหตุมองออกไปหาผล แบบแรกที่ว่าศึกษาไปจากผล เราต้องดูความทุกข์ของชีวิต ชีวิตที่เป็นทุกข์ดูตัวความทุกข์ ดูตัวปัญหา มันเป็นความทุกข์ มีความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความวิตก ความกังวล อาลัย อาวรณ์ อิจฉาริษยา เป็นความทุกข์ทรมาน แล้วก็มาดูว่า เอ๊ะนี่มันมาจากอะไร เพราะว่ามันมาจากความยึดมั่น ถือมั่นว่ามีตัวตน ว่าของตนคืออุปาทาน ยึดมั่นอะไรเป็นตัวตนของตน แล้วมันก็เป็นห่วง วิตกกังวลกับสิ่งนั้น ในเมื่อมันไม่ได้ตามที่มันต้องการมันก็ต้องเป็นทุกข์ ให้เห็นว่าไอ้ความทุกข์นี้มันมาจาก egoism คือความไม่รู้ตามที่เป็นจริงจนมี egoism นี้ก็เรียกว่าศึกษาจากผลมาหาเหตุ เดี๋ยวนี้เรามักจะไม่มีหลักเกณฑ์เราจะศึกษามันอย่างไม่ต้องเป็นผลไม่ต้องเป็นเหตุมารวมๆ กันไป มันก็ไม่มีทางจะทำได้ ทีนี้เรามาศึกษาถึงเหตุอย่างที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ เราศึกษาจากข้างในลึกที่สุด แล้วก็มี egoism มีอุปาทาน แล้วจึงทำไปตามอวิชชา มันก็ผิด มันก็มีความทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าศึกษาผิดที่เหตุออกมาหาทุกข์ ออกมาหาผลคือทุกข์ ในการทำวิปัสสนานั้นน่ะเราศึกษาทบทวน ทบทวนทั้งสองอย่างแหล่ะ มันจึงสมบูรณ์ ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องมันก็จะสมบูรณ์ แล้วแต่ใครจะชอบศึกษาจากข้างในคือเหตุออกมาหาผลก่อนแล้วศึกษาข้างนอกคือผลกลับไปหาเหตุข้างในก็ได้ แต่เราต้องศึกษาครบถ้วนพร้อมกันจึงมีความรู้เพียงพอที่จะเห็นว่า egoism นี่ไม่ไหว ไม่ไหว เป็นตัวร้าย เป็นอันตราย เรียกว่าเป็นศัตรูของมนุษย์ มันก็น่าหัวที่จะมาเป็นศัตรูของมันเอง เรามี egoism เป็นตัวเราแล้ว egoism มันก็ทำร้ายเรา ทำอันตรายเรา นี่ขอให้เข้าใจหลักเกณฑ์กว้างๆ ว่าจะศึกษาจากผลไปหาเหตุหรือจะศึกษาจากเห็นมาหาผล แล้วมันก็รู้ครบถ้วน ขอให้ตั้งใจศึกษาอย่างครบถ้วนเช่นนี้แหล่ะ
เมื่อพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ท่านก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ แหล่ะยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ยังไม่รู้เรื่องจากข้างใน ท่านก็เริ่มจากศึกษามีปัญหาจากข้างนอก ความทุกข์ เมื่อก่อนออกบวชก็เห็นความทุกข์พอสมควร แล้วก็ออกไปศึกษาค้นคว้าว่าจะดับทุกข์ได้อย่างไร ท่านจึงตั้งต้นการศึกษาว่าความทุกข์ ความทุกข์เนี่ยมาจากอะไร ความทุกข์นานาชนิดเนี่ยรวมกันแล้วมาจากอะไร ท่านก็ค้นจนพบว่ามันมาจากความเกิด ความเกิดชาติแปลว่าความเกิด ความเกิดอันนี้เกิดทางวิญญาณ คือเกิดแห่งตัวกู เกิดแห่งของกู ทีนี้ความเกิดเนี่ยมาจากอะไร เกิดมาจากทะวะ existence (นาทีที่ 1.13.01) ความมีอยู่แห่งตัวกู ทะวะ existence มีอยู่แห่งตัวกู เกิดมาจากอะไร เกิดมาจากความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานะ อุปาทานะเกิดมาจากอะไร เกิดมาจากตัณหา ความอยากอย่างโง่เขลา ตัณหาเกิดมาจากอะไร เกิดมาจากเวทนา feeling ที่คนนั้นไม่รู้จักตามที่เป็นจริง เวทนาเกิดมาจากอะไร เกิดมาจากผัสสะ คือการกระทบระหว่างอายตนะ ทีนี้ผัสสะมาจากอะไร มาจากเพราะมีอายตะข้างนอกข้างในทั้ง 6 นี่ อายตนะนี้มาจากอะไร เพราะมีกายกับใจ เพราะมีกายกับใจ กายกับใจนี้มาจากอะไร เกิดมาจากวิญญาณธาตุ วิญญาณธาตุตามธรรมชาติที่ได้รับการปรุงแต่งตามธรรมชาติน่ะมีวิญญาณรู้สึกขึ้นมาในภายใน และไอ้วิญญาณธาตุก็มาจากการปรุงแต่งของธรรมชาติคือสังขาร คือการปรุงแต่งเนี่ยเกิดมาจากอะไร เกิดมาจากความไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ว่าไม่ควรจะปรุงแต่ง อวิชชาเป็นจุดตั้งต้นสุดอย่างนี้ พบอวิชชาว่าเป็นจุดตั้งต้น พบจากข้างนอกเข้ามาถึงข้างในต้นเหตุแล้วท่านก็ทบทวนจากข้างในออกไปหาข้างนอกอีก ทบทวนจากอวิชชานี่ไปจนถึงตามลำดับอย่างที่กล่าวไล่ไปจนถึงความทุกข์ แล้วก็ทบทวนจากความทุกข์เข้ามาหาอวิชชาข้างในอีกทบทวนอยู่อย่างนี้ ทบทวนไป ทบทวนมา ทั้งวันทั้งคืน นี้เรานี่โชคดีนะไม่ต้องตั้งต้น? (นาทีที่ 1.15.04) เพราะไม่รู้เอาเอง เพราะไม่รู้เอง ได้รับการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักคิดอย่างชนิดตั้งต้นจากข้างในไปหาข้างนอกก็ได้ จากข้างนอกมาหาข้างในก็ได้ เรียกว่าเราโชคดีมาก เราไม่ได้คิดค้นมากเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าค้นพบแล้วมาสอนให้เรารู้จักคิดทั้งสองวิธีนี้ ให้เรามารู้จักถือเอาประโยชน์ถ้าจะเดินตามรอยพระพุทธเจ้านะก็คิดจากข้างนอกเข้าไปหาข้างใน ไอ้ข้างนอกคือไปรู้สึกอยู่จริงมี experience อยู่จริงในเวลานี้ ที่นี่ เป็นความทุกข์อย่างนี้ และหาเท่าไหร่ว่ามันมาจากอะไร อันนั้นมาจากอะไร อันนั้นมาจากอะไร ทั้งหมดนี้เป็นภายในตัวเอง เป็นภายในตัวเอง ถ้าเป็นเรื่องนอกตัวเองมันก็ไม่มี เอามาคิดมันก็ไม่ใช่ความจริง ต้องเอาตัวที่มันเป็นความจริงคือมีอยู่จริง ก็คือมีอยู่ข้างใน เนี่ยเรียกว่าศึกษาภายใน ด้วยเรื่องในภายในจนเห็นครบถ้วนทุกอย่าง นี่คือวิธีการศึกษา
นี่ท่านจะเห็นได้แล้วว่าไม่อาจจะศึกษาจากหนังสือในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย แล้วก็เป็นการศึกษาชนิดที่เหมือนกับวิทยาศาสตร์แต่เป็นเรื่องทางจิตใจ คือไม่ต้องมี hypothesis มีตัวจริง ตัวจริง ตัวจริง ตัวจริง เป็นลำดับมาศึกษา ฉะนั้นเราจงเตรียมพร้อมเพื่อการศึกษาอย่างนี้ตลอดไป เราจะต้องทำจิตนี่ให้พร้อมที่จะศึกษา จิตตามธรรมดาวุ่นวาย เหลวไหลไม่พร้อมที่จะศึกษา ต้องจัดการกับจิตนี่ให้พร้อมที่จะศึกษา คือทำให้เป็นสมาธิ ครั้นเป็นสมาธิแล้วก็พร้อมที่จะศึกษา แล้วก็ศึกษาด้วย ดูให้เห็น คือวิปัสสนา สมาธิเป็นการเตรียมพร้อมจิต เป็นการเตรียมจิตให้พร้อมที่จะศึกษา วิปัสสนาคือการใช้จิตชนิดนั้นดูและเห็น ส่วนศีล ศีลนี่เป็นพื้นฐานให้ท่านมีชีวิต มีระบบการเป็นอยู่ประจำวัน ชีวิตให้ถูกต้อง มันจะสะดวกแก่การที่จิตจะเป็นสมาธิ ถ้าท่านตามใจตัวเองเกินไปในการเป็นอยู่ การอะไรก็ตามนี่ ไม่มีศีล ไม่มีศีลแล้ว ไม่พร้อมที่จะมีสมาธิ ฉะนั้นจึงขอร้องให้ว่ามีการอยู่ชนิดที่ถูกต้องเป็นศีล ศีลด้วย แล้วจะช่วยมีสมาธิง่ายขึ้น มีสมาธิแล้วก็สามารถที่จะมีวิปัสสนาเพื่อศึกษาด้วยตัวเอง พึ่งตัวเอง เห็นตัวเอง มีประโยชน์แก่ตัวเอง อย่างที่กล่าวมาแล้ว ขอให้เตรียมพร้อมเพื่อการศึกษาในลักษณะอย่างนี้ แล้วก็ขอยุติการบรรยายในวันนี้เพียงเท่านี้