แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการพูดกันครั้งนี้ ครั้งสุดท้ายนี้ จะพูดถึงการใช้อานาปานสติภาวนา ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
เพราะว่าถ้าใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันไม่ได้มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ฉะนั้นเราจะต้องพูดกันในข้อที่ว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ชีวิต เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
[[ English translator: ... ]]
ท่านจะต้องนึกถึงคำว่าภาวนาหรือdevelopment อานาปานสติภาวนา ภาวนาแปลว่าทำให้เจริญ ให้มาก คือให้มีความสามารถในการกระทำทุกอย่างเกี่ยวกับลมหายใจ หรือ ที่ถูกกว่านั้นก็คือว่าทำประโยชน์ทุกอย่างทั้งที่มีการหายใจ
[[ English translator: ... ]]
ณ บัดนี้ท่านก็ได้ทราบกันแล้วว่ามีอยู่สี่หมวด หมวดละสี่ขั้น เป็นสิบหกขั้น แบ่งเป็นสี่หมวด เราก็จะได้พูดกันทีละหมวด ทีละหมวด สำหรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร พูดกันทีละหมวดก่อน แล้วจึงค่อยพูดคราวเดียวรวมกันทั้งหมดอีกทีหนึ่ง
[[ English translator: ... ]]
หมวดที่หนึ่งเรียกว่า หมวดกาย เกี่ยวกับกาย ก็คือการรู้จักใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ เพราะกายนี้น่ะคือลมหายใจ เพราะเนื่องอยู่กับกายและปรุงแต่งกาย เราจะใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุดอย่างไร นี่เป็นเรื่องของหมวดนี้
[[ English translator: ... ]]
ลมหายใจเนื่องกันอยู่กับกาย ลมหายใจดีด กายก็ดีด เราจัดการที่ลมหายใจง่ายกว่าที่จะจัดการกับกายโดยตรง เราจึงมีวิธีฝึก ฝึกต่างๆ เกี่ยวกับลมหายใจ เพื่อให้ลมหายใจได้รับการปฎิบัติที่ถูกต้องที่สุด แล้วก็ทำให้กายนี้มีสมรรถภาพมากที่สุด เนี่ยคือใจความสำคัญ จัดการที่ลมหายใจก็มีผลที่ร่างกาย ให้เป็นร่างกายที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมที่สุดจะที่ทำงาน ที่จะทำสุข ที่จะ ทุกอย่างที่อยากจะใช้ร่างกายนี้ให้เป็นประโยชน์
[[ English translator: ... ]]
ข้อแรกเราจะนึกถึงว่า มันทำให้มีสุขภาพดี อนามัยดี ถ้าลมหายใจยาวนี่ทำให้สุขภาพดี ร่างกายดี พยายามที่จะให้มีลมหายใจยาว มีลมหายใจละเอียด รำงับ เท่านี้แหละก็จะทำให้สุขภาพดี เป็นเรื่องทางแพทย์ ทางอนามัยไปเลย ข้อแรก จงใช้ให้เป็นประโยชน์ในการที่จะทำให้มีสุขภาพอนามัยดี ก่อน
[[ English translator: ... ]]
ข้อต่อไปก็เช่นว่า เราจะสามารถระงับอารมณ์ร้าย อารมณ์ที่ร้ายออกไปได้ทันที พอรู้สึกมีอารมณ์ร้ายในใจ พยายามหายใจให้ยาว ให้ละเอียด ให้ระงับ มันก็จะขับไล่อารมณ์ร้ายที่มีอยู่ในใจ ที่เนื่องมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือความอะไรก็ตามที่เป็นอารมณ์ร้ายน่ะ ออกไปได้จากจิตใจ มันก็มีประโยชน์อย่างยิ่งแล้วในชีวิตประจำวัน
[[ English translator: ... ]]
ตัวอย่างในทางจิตใจ เช่น มีความกลัว กลัวอย่างยิ่งขึ้นมา ถ้าเราหายใจยาว หายใจละเอียด หายใจสงบรำงับ ก็จะขยับ ขับไล่ความกลัวนั้นให้หายไปได้ โดยไม่ต้องกินยาอะไรก็ได้ หรือว่าทางกาย สมมุติว่ามีแผลตัด เลือดออกมาก หายใจให้ยาวหายใจให้ละเอียดให้สงบรำงับนั้นจะช่วยให้เลือดออกน้อย หรือบางทีจะหยุดการออกของเลือดก็ได้ นี่ทางกาย ในเรื่องธรรมดาสามัญ ในชีวิตประจำวันเราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางใจและทางกายอย่างนี้
[[ English translator: ... ]] 12.30
ทีนี้ที่สำคัญ มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อเรามีความสามารถปฎิบัติในหมวดที่หนึ่งคือเกี่ยวกับกายเพียงหมวดเดียวเท่านั้นแหละ (นาทีที่ 13:48) เราจะมีสติ สัมปชัญญะ มีสมาธิ มีปัญญา พอตัว พอสมควรหรือพอตัวที่จะใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เมื่อใดมีความจำเป็นต้องใช้สติเราก็มีสติมากพอที่จะใช้ มีสัมปชัญญะมาก เมื่อใดมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สมาธิ สมาธิ เราก็มีสมาธิใช้อย่างเพียงพอในการปฎิบัติหน้าที่อะไรก็ตาม แล้วก็มีปัญญาเรื่อยๆ ไปเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่จะทำให้ไม่หวั่นไหว ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่เข้ามายั่วยวน ไอ้พวก (นาทีที่ 14:56) ทั้งหลายน่ะไม่สามารถจะดึงเราไปดึงเรามา เพราะว่าเรามีปัญญาเพียงพอ เรามีสติเพียงพอ มีสัมปชัญญะเพียงพอ มีปัญญามีสมาธิเพียงพอ มีปัญญาเพียงพอ ที่เคยพูดกันมาครั้งก่อนๆ แล้วว่าไอ้ธรรมะสำคัญสี่เกลอเหมือนกับเพื่อนสี่คนนี่มักจะมีครบเลยในการที่ปฎิบัติได้แม้แต่เพียงหมวดที่หนึ่งที่เกี่ยวกับกาย
[[ English translator: ... ]]
ในชีวิตประจำวันของทุกคน ทุกชนิดแห่งบุคคล สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องมีก็คือ สติ สติ พูดอย่างนี้อาจจะแปลกสำหรับท่านบางคนแต่ความจริงเป็นอย่างนี้ มัน มันไม่มัน มันต้องการไปซะทุกอย่างทุกๆ กรณีของหน้าที่การงาน มันเป็นสิ่งที่ควบคุมความถูกต้อง สติ สติ มันไม่ใช่เพียงแต่ระลึก ระลึก ในความหมายว่าระลึกๆ อย่างเดียว มันควบคุมความถูกต้อง ควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาด คำว่าระลึกได้น่ะมันคือระลึกได้ในการที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการผิดพลาด ทีนี้เราทำอะไรผิด ผิดบางอย่างเพราะขาดสิ่งที่เรียกว่าสติทั้งนั้นเลย ไม่มีความรู้สึกที่ถูกต้องและทันท่วงที ฉะนั้นในการที่มีความรู้สึกที่ถูกต้องมาทันท่วงทีอย่างรวดเร็วที่สุด เหมือนสายฟ้าแลบนี่จำเป็น เพราะถ้าช้าไปมันก็แก้ไขไม่ได้แล้ว มันต้องมาทันท่วงที สติปัญญา ปัญญาที่มาทันท่วงทีก็เพราะว่ามีสติให้รู้สึกความถูกต้องของเรื่องราวนั้นทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ นี่สติจำเป็นอย่างนี้ ต้องการทุกกรณีอย่างนี้
[[ English translator: ... ]]
ในภาษาบาลีคำว่า สติ มีความหมายว่า มีความหมายถึง ความเร็วแห่งลูกศร เป็นคำพูดคำเดียวกัน root ของคำว่า (นาทีที่ 23:18) คำเดียวกัน สติ กับ ศร ศะระ น่ะ คำว่าสติหมายถึงความเร็วแห่งลูกศร ในครั้งโบราณพุทธกาลเขาไม่ได้มีอาวุธปืนอะไรอย่างเดี๋ยวนี้ สิ่งที่เขาจะนึกได้ สังเกตุเห็นเป็นข้อแรกสำหรับความเร็วก็ลูกศร ก็เลยเอาคำๆ นี้มาใช้เป็นชื่อของธรรมะคือ สติ สติ มีคุณค่าโดยใจความที่สำคัญคือความเร็ว ถ้าความระลึกมันช้าไปมันก็ไม่ทันเหตุการณ์ มันก็เร็ว เร็วเหมือนกับลูกศร มันพอที่จะเปรียบเทียบกันได้ว่าความเร็วของลูกคลื่นหรือว่าของไอ้ (นาทีที่ 24:02) ไฟฟ้าที่ว่ามีความเร็ว มีความหมายอย่างเดียวกัน มีความเร็วขนาดนั้น นี่ถ้าขาดความเร็ว ไม่ใช่สติและก็ไม่มีประโยชน์ ปัญญาที่ไม่มาอย่างด้วยความเร็วอันนี้ มันไม่ทันจะใช้ หรือ ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นจึงต้องการความเร็วที่สุด แล้วก็ฝึกหัดให้มีสติ สติ สติ เพื่อให้มีความเร็วที่สุดเป็น conveyance(นาทีที่ 24:45) สำหรับขน ขนมานี่ที่เร็วที่สุด ดังนั้นขอให้ฝึกความเร็วที่สุดคือสติ เพื่อจะค้นเอาปัญญา ความรู้มาทันเหตุการณ์ จะใช้มันให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ รู้จักสติอย่างนี้ก่อนสิ ถ้าคุณนึกอะไรได้ช้า คิดอะไรได้ช้า รู้สึกอะไรได้ช้า คือไม่มีสติ ฝึกมันให้เร็วแต่มีสติ
[[ English translator: ... ]] 25.17
Proverb ที่ว่า Be wise in time นั่นน่ะ ต้องการสติอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีสติแล้วจะไม่ Be wise in time ได้ สติทำให้เราฉลาดทันเวลา กล่าวได้ว่าแม้จะมีปัญญา มีความรู้ มีความอะไรเท่าไร มากมายเท่าไร ถ้าขาดสติความรู้ก็ไม่มาทำประโยชน์ได้ ถ้าสติมันช้ามันน้อย ความรู้ก็มาไม่ทันเวลา มันก็จะทำให้สำเร็จประโยชน์ในเรื่อง Be wise in time ล่ะก็ขอให้มีสติ สติเท่านั้นที่จะช่วยให้เป็นอย่างนั้นได้ ขอให้ฝึกสติให้มากๆ ฝึกอานาปานสตินั่นแหละคือฝึกสติ
แล้วก็จะมีสติในส่วนที่เป็นสติมากพอ และยังมีส่วนอย่างอื่นๆ อีก แต่ว่าส่วนสตินี่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นที่สุด ต้องมาก่อนที่สุด ต้องมีไว้ให้พอ มิฉะนั้นไอ้ความรู้หรือสติปัญญาจะเป็นหมันใช้เป็นประโยชน์ไม่ได้ถ้าขาดสติ คือผู้ที่จะนำมาใช้ทันเวลา
[[ English translator: ... ]] 29.27
ยกตัวอย่างเราเข้าไปในป่า เผชิญหน้ากันเข้ากับเสือ เสือ ถ้าเรากลัวมันก็ไม่มีสติ มันไปกลัวเราก็ไม่มีสติ เราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ถ้าเรามีสติเราไม่กลัว เราก็รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เราจะสู้กับเสืออย่างไร วิ่งหนีขึ้นต้นไม้ก็ต้องมีสติ ถ้าเราไม่มีสติเราก็กลัวจนขึ้นต้นไม้ก็ไม่ได้ วิ่งหนีก็ไม่ได้ นี่จะขจัดปัญหาได้ แม้เราเผชิญหน้ากับศัตรูที่เขาถือปืนจ่อยิงมาที่เรา เราต้องมีสติ ถ้าเราไม่มีสติเราก็ทำผิดหมด ถ้าเรามีสติก็จะทำได้ดีที่สุดที่ว่าควรจะทำอย่างไร นี่ตัวอย่างธรรมดาสามัญที่สุด ว่าจะต้องมีสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญหน้ากับอันตราย
[[ English translator: ... ]] 32.00
มาพิจารณาดูกันถึงลูกศรอีกที ลูกศร ลูกศรนั่นก็คือแหลม แหลมและคม แต่ถ้ามันไม่มีความเร็วมันก็ไม่มีประโยชน์แม้จะแหลมจะคมอย่างไรถ้าไม่มีความเร็วที่เพียงพอมันก็แทงไม่ได้ ไอ้ความคมของลูกศรเหมือนกับปัญญา ถ้าไม่มีความเร็วของสติมันก็ทำหน้าที่ไม่ได้ ทำหน้าที่ไม่ได้ เราจะต้องมีความเร็วที่จะช่วยให้ความคมทำหน้าที่ได้ สติจึงช่วยให้ปัญญาทำหน้าที่ได้ ถ้าไม่มีสติก็จะมีสิ่งอื่นเข้ามาขัดขวางหมดถ้ามีความกลัวเข้ามาปัญญาก็ไม่มีประโยชน์ ขอให้มีความเร็วแห่งความรู้ ความรู้นั้นต้องมีความเร็วมาทันเวลา ความรู้นั้นจึงมีประโยชน์
[[ English translator: ... ]] 35.12
ไม่ต้องพูดถึงในป่า ที่ออฟฟิต ที่ทำงาน ที่ในบ้านในเมือง ถ้าเราไม่มีสติเราไม่สามารถจะปฎิบัติงานได้ พอมีงานเข้ามาหน้าที่ยื่นเข้ามาเราก็มีแต่ความกลัว มีแต่ความระแวง มีแต่ความฟุ้งซ่าน มีแต่ความลังเล มีแต่ความสงสัย ถ้าเรามีสติ ความรู้ที่เรามีอยู่จะถูกเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าเราไม่มีสติมันไม่มา มันไม่มาเพราะมันมีแต่ความกลัว ความไม่เชื่อตัวเอง ไม่ไว้ใจตัวเอง ความฟุ้งซ่าน ความอะไรไปหมด แม้แต่ที่ทำงาน ในบ้านในเมืองที่ออฟฟิส สิ่งแรกที่ต้องมีตลอดเวลาคือ สติ สติ
[[ English translator: ... ]] 37.28
แม้ที่สุดอย่างต่ำแต่การเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวประจำวัน เราจะนั่งเราจะนอนลง หรือ เราจะลุกขึ้นยืน หรือ เราจะเดินไป ถ้าไม่มีสติ ไม่มีทางที่จะทำได้ดี หรือไม่บางทีจะทำพลาด จะนั่ง ยืน เดิน นี่อย่างไม่ดี อย่างที่ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ ถ้ามีสติก็ทำได้ดีเต็มที่ แม้แต่จะกินอาหาร จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ จะอาบน้ำอย่างไร ก็ขอให้ทำด้วยความมีสติเถิด จะได้ผลดี แม้ที่สุดแต่ว่า ท่านจะออกไปจากห้อง ท่านจะต้องมีสติ ท่านจะไม่ลืมอะไรบางอย่าง บางทีก็ลืมล็อกกุญแจ แล้วก็เดือดร้อนทีหลัง หรือบางทีเข้าไปแล้ว ไปนอนแล้ว (นาทีที่ 39:45 – 39.50) หรือยังอย่างนี้เป็นต้น มันก็ล้วนแต่เป็นเรื่องของความไม่มีสติ ทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหวน่ะต้องทำด้วยสติ พร้อมกันนั้นการทำเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถน่ะเป็นโอกาสที่ฝึกสติอยู่ในตัวด้วย เพิ่มขึ้นไปอีก เพิ่มขึ้นไปอีก ทุกคราวที่เคลื่อนไหวน่ะขอให้เป็นการฝึกสติด้วย ที่ใช้ของเก่าก็ใช้ไป อบรมของใหม่มากขึ้นก็ทำด้วย นี่แหละการฝึกสติในชีวิตประจำวัน
[[ English translator: ... ]] 40.28
ผู้ที่ทำงานซึ่งต้องใช้ความเร็ว เป็นนักกีฬาเป็นต้นจะเป็นฟุตบอล หรือ นักมวย หรืออะไรก็ตาม ถ้าต้องใช้ความเร็วแล้วเขายิ่งจะต้องมีสติให้เท่ากับที่เขาจำเป็นจะต้องใช้ความเร็ว มิฉะนั้นเขาจะทำหน้าที่ของเขาให้ดีไม่ได้ ยิ่งต้องการใช้ความเร็วเท่าไรยิ่งต้องมีสติมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นขอให้มองให้ดีให้เห็นชัดโดยสรุปความได้ว่า ทุกการงานต้องมีสติ ต้องใช้สติทุกระยะ ทุกขั้นตอน ทุกหนทุกแห่ง หรือจะใช้คำว่าทุกกรณีต้องใช้สติ
[[ English translator: ... ]] 44.25
ทีนี้เมื่อมีสติ หรือว่าสติได้ทำหน้าที่แล้ว คือไปเอาปัญญามา ไปขนเอาปัญญามา มันก็กลายหน้าที่เป็นสัมปชัญญะ สติมันก็กลับกลายหน้าที่เป็นมีสัมปชัญญะ คือสติ in-function อย่างยิ่งในขณะนั้น เรียกว่าสัมปชัญญะ สติมันเพียงแต่ขนมาทีแรก แล้วมันจะหนีกลับไปซะอีก ต้องเอาให้อยู่ที่นี่ ทำหน้าที่อย่างดีอยู่ตลอดเวลา สติที่ทำหน้าที่อย่างดีอยู่ตลอดเวลา อยู่ หน้าที่การงานนั้นเรียกว่าสัมปชัญญะ สติไปเอาปัญญามาให้ปัญญามาเป็นผู้ควบคุมความถูกต้องก็กลายเป็นสัมปชัญญะ คือ มีปัญญาอยู่ตลอดเวลา สัมปชัญญะนี่เป็นทั้งสติ เป็นทั้งปัญญาก็ได้ ถ้าจะ ถ้าจะพูดให้ถูกต้อง สัมปชัญญะน่ะมันเป็นทั้งสติคือรู้สึกอยู่ และเป็นปัญญาก็ได้ถ้ามันรู้สึก รู้อยู่ เข้าใจอยู่ นี่สติกลายเป็นสัมปชัญญะ ถ้าเรามีสติมาก สัมปชัญญะก็มาก นี่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสัมปชัญญะรับช่วงจากสติมิฉะนั้นล้มเหลวหมด
[[ English translator: ... ]] 46.57
ในภาษาไทยก็มีภาษิตอยู่ว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด เข้าใจว่าในฝ่ายฝรั่ง ในภาษาฝรั่งก็คงจะมีภาษิตอย่างเดียวกัน ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด เราจะเรียนจบมหาวิทยาลัยมาสักสิบมหาวิทยาลัยก็เอาตัวไม่รอด เอาตัวไม่รอดถ้ามันขาดสติและสัมปชัญญะ ความรู้ไม่ช่วย ช่วยไม่ได้ ถ้ามันขาดสติและสัมปชัญญะ นี่ขอให้ไปคิดดู จริงหรือไม่จริง
[[ English translator: ... ]] 49.52
เดี๋ยวนี้เรามีสติ มีปัญญา มีสัมปชัญญะ ครบแล้ว ปัญหายังเหลืออีกอันหนึ่งก็คือว่ามีกำลังมากพอหรือไม่ ถ้ากำลังไม่มากพอ ปัญญาก็อ่อนกำลัง มันจึงต้องมีสิ่งที่สี่คือ สมาธิ กำลังจิตทั้งหมดรวมกันทั้งหมด ระดมลงไปที่จุดเดียว สมาธิก็ช่วยให้ปัญญา สติ สัมปชัญญะ ทำหน้าที่ถึงที่สุด ถึงที่สุดเพราะกำลังของสมาธิ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องการสมาธิ ในการฝึกอานาปนสติภาวนานี้แหละ แม้ว่าหมวดที่หนึ่งนี้แหละ ช่วยให้มีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งปัญญา ทั้งสมาธิ มันก็เลยจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกและใช้ในชีวิตประจำวัน
[[ English translator: ... ]] 52.47
สรุปความว่าอานาปนสติหมวดที่หนึ่งเกี่ยวกับกาย หรือ ลมหายใจนี่แหละ ทำให้เราสามารถมีอนามัย สุขภาพดี สามารถระงับอารมณ์ร้ายในจิตใจออกไปได้ทันที ทันที ทันที และจะให้เรามีสติ สัมปชัญญะ ปัญญา และสมาธิ เต็มที่ เท่านี้ก็เหลือเฟือแล้ว มีประโยชน์เหลือเกินแล้ว สำหรับหมวดที่หนึ่ง สำหรับหมวดที่หนึ่งรู้กันไว้อย่างนี้
[[ English translator: ... ]] 53.48
ทีนี้เราก็มาถึงอานาปนสติหมวดที่สอง เกี่ยวกับเวทนา เกี่ยวกับเวทนา เวทนานี่ก็คงจะแปลเป็นภาษาอังกฤษยากเหมือนกัน ถ้าให้เต็มตามความหมาย แต่ก็รู้ไว้เถิดว่าที่พูดกันอยู่นั่นก็ใช้ได้ ขอให้รู้ความหมายของคำว่า เวทนา เวทนา ให้เต็มที่ เวทนา เวทนา คือ สิ่งที่ สิ่งที่มีชีวิต มนุษย์ หรือ คน สัตว์ ก็ตาม สิ่งที่มีชีวิตนี่เป็นทาสของเวทนา ตกอยู่ใต้อำนาจของเวทนาตลอดเวลา เราเหน็ดเหนื่อยลำบากในการศึกษาเล่าเรียน ทำการงานอะไรก็ตามก็เพื่อประโยชน์แก่เวทนาที่เราต้องการ เราเป็นทาสของเวทนา เวทนาอย่างไรมันจูงเราให้ไปให้ไปทำให้ไปหาให้ไปแสวงหาให้ได้เวทนาอย่างนั้น พอได้มาแล้วก็หลง หลง หลง จนทำผิดต่อไปอีกได้ เอามาหลง เอาเวทนามาสำหรับหลง นี่เวทนาไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเพียงแต่ว่ารู้สึก รู้สึก ที่ร่างกายจิตใจแล้วก็หายไป ไม่ใช่ มันมีความหมายมากไปจนถึงว่ามันครอบงำจิตใจ ของสิ่งที่มีจิตใจ หรือ มีความรู้สึก เราต้องรู้จักเวทนาให้ดีที่สุด จนควบคุมเวทนาได้
[[ English translator: ... ]] 56.36
ท่านต้องสังเกตให้เห็นความจริงที่ลึกซึ้งที่สุดข้อหนึ่งว่า เวทนานี่เป็นต้นเหตุให้เกิดความคิด ให้เกิดความคิด จะเป็น thought จะเป็น concept หรืออะไรก็ตามที่เป็นความคิดนี่เวทนาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นมา มันรู้สึกเวทนาอย่างไร แล้วมันก็เกิดความคิดขึ้นตามเวทนานั้นๆ แล้วมันจึงมีคิดดีคิดไม่ดี คิดชั่วร้าย หรือ คิดมากเกินไป คิดน้อยเกินไปอะไรก็แล้วแต่เวทนา เรามีปัญหากันทุกคนที่ควบคุมความคิดไม่ได้ ไม่อยากจะคิดมันก็ยังคิด หรืออยากจะคิดดีๆ มันก็คิดไปในทางร้าย เราควบคุมความคิดไม่ได้เพราะว่า เราไม่ได้ควบคุมที่เวทนา ที่เป็นต้นเหตุของความคิด เราจึงต้องรู้จักเวทนา และควบคุมเวทนาให้ได้ ดังนั้นเราจึงต้อง จึงต้องปฎิบัติอานาปานสติหมวดที่สอง
[[ English translator: ... ]] 1.00.00
ทีนี้ถ้าจะควบคุมเวทนาให้ดีที่สุด มันต้องควบคุมมาตั้งแต่ผัสสะ ผัสสะที่ทำให้เกิดเวทนา ต้องสามารถควบคุมผัสสะ พอมีผัสสะก็อีกแล้วต้องมีสติ ต้องเอาสติสัมปชัญญะมาใช้อีกแล้ว พอมีผัสสะกระทบตาหูจมูกลิ้นกายใจ สิ่งใดก็ตามเป็นผัสสะ ต้องควบคุมผัสสะ โดยมีสติมีสัมปชัญญะควบคุมผัสสะ ให้เป็นผัสสะฉลาด อย่าเป็นผัสสะโง่ เมื่อผัสสะฉลาดมันก็เกิดเวทนาฉลาด คือเวทนาที่ไม่โง่ ที่เราจะควบคุมได้ สามารถนำไปให้ถูกทางได้ สรุปความว่าจะควบคุมเวทนาได้ดีต้องควบคุมมาตั้งแต่ผัสสะ แล้วก็อาศัยสติ สัมปชัญญะ สมาธิ อีกนั่นเอง แต่เดี๋ยวนี้มันแยกมาเป็นไอ้เวทนาเป็นตัวการร้าย ตัวร้ายกาจ จะมาควบคุมให้ได้ จึงต้องฝึกหมวดที่สองคือเวทนา
[[ English translator: ... ]] 1.03.25
นี่ดูให้ดีเราจะเห็นว่า เราควบคุมผัสสะได้ แล้วเราก็ควบคุมเวทนาได้ เมื่อเราควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมมูลเหตุแห่งความคิด สิ่งที่จะเกิดความคิดได้ ควบคุมผัสสะได้ ควบคุมเวทนาได้ ควบคุมมูลเหตุแห่งความคิดได้ ก็เท่ากับควบคุมชีวิตทั้งหมดได้ ควบคุมชีวิตทั้งหมดได้ ต้องใช้ความรู้ทั้งเวทนา อานาปานสตินี้ ควบคุมชีวิตโดยตรง
[[ English translator: ... ]] 1.06.28
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สาม หมวดที่สาม ที่จริงหมวดนี้จะสนใจหรือไม่สนใจก็ยังได้ แต่ว่าสนใจหรือรู้จักไว้ก็เป็นการดี หมวดที่สาม จิต การฝึกฝนจิต ควบคุมจิตให้ได้เป็นหมวดที่สาม เราจะรู้จักจิตทุกชนิดว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง กี่ชนิดมีอยู่ เราจะรู้จักมันทุกชนิด แล้วเราจะรู้จักเลือกว่าอันไหนเป็นโทษอันไหนไม่มีโทษ อันไหนมีประโยชน์ อันไหนไม่มีประโยชน์ เราจะเลือกเอาแต่ที่มีประโยชน์ เราก็จะควบคุมได้ ให้มีจิตอย่างนั้นให้คิดอย่างนั้น นี่หมวดที่สามฝึกแต่จะบังคับจิต ควบคุมจิต อย่างนี้ๆ ๆ ๆ ให้จิตบริสุทธิ์ ให้จิตตั้งมั่น ให้จิตปล่อยวางไม่ยึดถือ นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า เป็นปัญหาในชีวิตประจำวันเหมือน ถ้าเราควบคุมจิตไม่ได้ มันก็ไปตามกิเลส คือจิตเลว จิตผิด มันก็มีความทุกข์ มีปัญหา เกิดขึ้น ถ้าควบคุมจิตได้ มันก็มีแต่ทางถูกต้องอย่างเดียว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้นก็นับว่ามีประโยชน์มากในการที่จะฝึกจิต หรือควบคุมจิตให้ได้ ตามหลักการของอานาปานสติหมวดที่สาม
[[ English translator: ... ]] 1.09.32
ถ้าปฎิบัติอานาปานสติหมวดที่สามสำเร็จ หมวดจิตน่ะสำเร็จ เราจะได้รับรางวัลคือ มีจิตสูงสุด จนไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี มีจิตที่ดีที่สุด excellence แล้วก็จะใช้จิตชนิดนี้ จะเรียกว่าจิตอิสระก็ได้ดำเนินชีวิต เป็นประจำวัน ทุกวันเรามีจิตอิสระ ในการทำหน้าที่ประจำวัน จิตอิสระคือว่า บันเทิง จิตนี้บันเทิง ไม่มีกิเลสนะ ไม่ใช่บันเทิงเพราะกิเลส บันเทิงด้วยธรรมะ บันเทิง พอใจ รื่นเริง แล้วก็จิตนี้ก็บริสุทธิ์ไม่มีกิเลส แล้วจิตมันก็ตั้งมั่น มีกำลังมาก แล้วจิตนี้ก็ไม่เกาะจับ ติด ยึด อะไร แล้วก็ไม่ให้อะไรมาเกาะ จับ หรือยึด จิตก็ไม่จับอะไร ก็ไม่ปล่อยอะไรมาจับจิต นี่จิตออิสระ คุณจะทำงานได้ดี จะเป็นกรรมกรก็เป็นกรรมกรที่ดี จะเป็นเสมียนก็เป็นเสมียนที่ดี จะเป็นนักกีฬาก็เป็นนักกีฬาที่ดี ถ้ามีจิตอิสระเขาจะทำหน้าที่ของเขาได้ดี ดังนั้นเราจะต้องฝึกอานาปานสติข้อนี้เพื่อประโยชน์อันนี้
[[ English translator: ... ]] 1.13.21
จิตจะมีความรู้สึก เป็นสุข เป็นสุขที่แท้จริง เป็นสุขที่สุดต่อเมื่อมันเป็นจิตที่เป็นอิสระ อย่างที่กล่าวแล้ว ไม่มีอะไรมา attach จิต และ จิตก็ไม่ไป attach อะไร จิตไม่ attach อะไร และจิตก็ไม่มีอะไรมา attach จิต เรียกว่ามันเป็นอิสระ ขอให้สังเกตดูเถิดด้วยตนเองเถิด เวลานั้นมันสุขที่สุด สุขที่ถูกต้องที่สุด และเราก็ไม่รู้จัก เราไปรู้จักเมื่อได้มีไอ้สิ่งเย้ายวนกามารมณ์บ้าง อะไรบ้าง เราก็ไปหลงกันว่าเป็นสุขที่สุด เป็นความสุขที่สุดของมนุษย์ ที่หลงกันเป็นอันมาก หลงอยู่ในโลกนี้ ไม่รู้จักจิตที่เป็นอิสระ ก็เท่ากับว่าเขาหลงผิด เอาความสุขที่หลอกลวง หรือไม่ใช่ความสุขมาเป็นความสุข และจิตก็เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น เพราะว่าจิตมันโง่ ถ้าจิตมันฉลาดแล้วมันก็ไม่เอา นี่เราฝึกจิตให้รู้และทำให้จิตให้ปล่อยวางได้ เป็นจิตอิสระ นี่ประโยชน์ของการฝึกอานาปานสติ หมวดที่สาม
[[ English translator: ... ]] 1.17.28
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งซึ่งสูงสุด ไปอีกทางหนึ่งก็คือว่า ถ้าเราศึกษารู้จักจิตอย่างนี้ ควบคุมจิตได้ตามที่ต้องการอย่างนี้ เราก็จะรู้ความรู้ที่จริงสูงสุดข้อหนึ่งว่า โอ้ จิตเท่านั้นพอแล้ว ทำได้ทุกอย่าง จิตเท่านั้น จะเป็นทุกข์หรือไม่เป็นทุกข์ จะหลุดพ้น หรือ ไม่หลุดพ้น จิตเท่านั้นล่ะ ไม่ต้องมีสิ่งที่เขาหลงกันว่ามี คือ อัตตา อัตตา ที่เป็นเรื่องอะไรก็ไม่รู้ เรียกว่า soul, personal identity อะไรที่มันเป็น ที่ไม่ใช่จิตน่ะ ยึดถือกันมาก มีต้นตอมาจากอินเดีย แล้วก็จะระบาดไปทั่วโลก ถ่ายทอดกันไป ด้วยความคิดว่ามีอัตตา มีอาตมัน มีตัวตน อีกอันหนึ่งนอกไปจากจิต พุทธศาสนาเรา ไม่ ไม่ต้อง ไม่ต้องมีอัตตานั่นน่ะ จิตอย่างเดียวนี่มันจะรู้ มันจะไม่รู้ มันจะทำผิด มันจะทำถูก มันจะคิดถูกคิดผิด มันจะทำได้ทุกอย่างแหละ โดยที่ไม่ต้องมีอัตตา เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีอัตตา มีแต่จิตที่กำลังเป็นไปอย่างไร ถูกหรือผิด สุขหรือทุกข์ ส่วนร่างกายนี้เป็นเพียง เป็นเพียงภาชนะรองรับจิต ให้จิตได้ทำหน้าที่ เหมือนกับเป็นสำนักงานของจิต จิตไปอาศัยทำหน้าที่ มีแต่จิตพอแล้ว ถ้าเรารู้เรื่องจิตดี เราก็จะรู้ได้ทันทีว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่าอัตตา หรือ ตัวตน อย่างนี้ได้รับผลถึงที่สุดเลย จิตก็เป็นอิสระ ถึงความสุขอันแท้จริงและสูงสุด เป็นธรรมะสูงสุดในพุทธศาสนา เป็นความรู้ขั้นสุดยอดของมนุษย์ที่ไม่มีใครจะสอนให้ดีกว่านี้ไปอีกได้แล้ว ความรู้เรื่องไม่มีตัวตนนี่เป็นความรู้สุดยอดของมนุษย์ ไม่มีสูงกว่านี้อีกแล้ว จะรู้ความรู้ข้อนี้ได้ด้วยการฝึกจิตถึงที่สุดอย่างที่ว่ามาแล้ว จนรู้จักว่าจิตเป็นได้ถึงอย่างนี้ เป็นอิสระได้ถึงอย่างนี้ แม้นี่ก็ต้องมารู้อยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าอย่าให้จิตเป็นอัตตา เป็นอะไรขึ้นมา ให้จิตเป็นจิต ให้จิตเป็นสิ่งที่กระทำ ที่ได้รับผลของการกระทำ เป็นทุกอย่างก็พอแล้ว มีแต่จิตกับกายก็พอแล้ว ไม่ต้องมีสิ่งที่สามคืออาตมัน นี่เป็นความรู้อันเลิศ
[[ English translator: ... ]] 1.21.31
ทีนี้เราก็มาถึงหมวดที่สี่แห่งอานาปานสติ ท่านทั้งหลายก็คงจะได้ยินได้ฟังมาแล้วว่าข้อแรกของหมวดสี่ก็คือ อนิจจัง อนิจจัง ซึ่งมีความหมายว่าเปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย (นาทีที่ 1:25:21 – 1:25:30) ก็เคยสอนในฝ่ายซิกส์พร้อมๆ สมัยกับพุทธกาล (นาทีที่ 1:25:35 – 1:25:46) ไหลเรื่อยก็คืออนิจจัง (นาทีที่ 1:25:48 – 1:25:50) ก็ไหลเรื่อย หรือจะใช้คำว่าไม่แน่ ไม่เที่ยงก็ได้ แต่ว่ากิริยาอาการของมันก็คือไหลเรื่อย ไหลเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย เมื่อเรารู้จักความจริงของทุกสิ่ง เห็นชัดเรื่องไหลเรื่อย ไหลเรื่อย เราก็หายโง่ เราก็ไม่ทำอะไรผิดๆ กับสิ่งที่ไหลเรื่อยว่ามันเป็นสิ่งที่หยุดอยู่กับเรา เราไม่ทำกับสิ่งเหล่านั้นอย่างว่าสิ่ง เป็นสิ่งที่มันจะหยุดอยู่กับเรา เราก็ปฎิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวงนี่เป็นข้อแรกที่สุดและเห็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งปวง ที่จะดี ที่จะเรียกว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อะไรก็ตาม บุญก็ตาม บาปก็ตาม มันไหลเรื่อย แล้วเราก็จะไม่จับฉวยยึดมั่น สิ่งใดมันไหลเรื่อย นี่ประโยชน์ นี่ทำให้จิตเป็นอิสระ ไม่ตกไปเป็นทาสของความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นสิ่งนี้ นี่เป็นข้อแรก ไหลเรื่อย
[[ English translator: ... ]] 1.26.55
ดูให้เห็นชัดว่าไอ้ที่เราเรียกว่าเป็น positive ไหลเรื่อย negative ก็ไหลเรื่อย แล้วมันจะต่างกันที่ตรงไหน เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ไม่ไปหลงรัก positive หรือไม่ไปหลงเกลียด negative เราก็อยู่ตรงกลางเป็นอิสระได้ ดังนั้นจึงไม่มี positive และ negativeness แด่ผู้ที่เห็นอนิจจัง เราก็ไม่หลง positivism ก็เราไม่กลัวไง negativism ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่เลย เพราะการเห็นอนิจจัง
[[ English translator: ... ]] 1.29.30
เราไม่รู้ข้อนี้ เราก็เห็นเป็นคู่ๆ เป็นของคู่ ต่างกัน เป็น positive เป็น negative เป็น dualism มากมายหลายสิบคู่ โดยที่เราไม่เห็นไอ้ความที่ว่า มันไม่เที่ยงด้วยกัน ถ้าเราเห็นว่ามันไม่เที่ยงเหมือนกัน เราก็ไม่มีเป็นคู่สิ ไม่ต้องมีเป็นคู่ เป็นแต่สิ่งเดียวก็พอคือสิ่งที่ไหลเรื่อย อนิจจังเรื่อย ไม่ต้องมีเป็นคู่ๆ ให้รักข้างนี้ ให้เกลียดข้างนี้ ให้ชอบข้างนี้ ให้กลัวข้างนี้ ไม่มีเป็นคู่ๆ มันหมดปัญหา อย่างลึกซึ้ง ไม่มีของเป็นคู่มาหลอก มาล่อให้เราไปติดข้างนั้น ติดข้างนี้เป็น (นาทีที่ 1:25:32) ไม่ได้อยู่เหนือ ไม่ได้อยู่ตรงกลาง ไม่มี balance ถ้าเราเห็นอนิจจัง มันกลายเป็นไม่มี dualism สบายกระไร ไม่มีอาการจะดึงขึ้นไป ดึงลงมา แล้วก็เอาไฟลนอยู่ตรงกลาง ไม่มีอาการอย่างนั้น นั่นแหละประโยชน์ของการเห็นอนิจจัง เหมือนกันหมดทุกอย่าง
[[ English translator: ... ]] 1.32.00
ข้อที่หนึ่งเห็นอนิจจังของทุกสิ่ง compounded thing ทุกสิ่ง phenomena ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง คือไหลเรื่อย ไม่มี positive ไม่มี negative ทั้ง positive ทั้ง negative มันก็เป็นอนิจจัง นี่ข้อที่หนึ่ง ข้อที่สองก็มาถึง วิราคะ คลายออก คลายออก ลดลง ลดลงแห่งความยึดมั่นถือมั่น ต่อไอ้ dualism ทั้งหลาย ต่อ negative positive ที่เคยยึดมั่นเป็นอย่างนั้น อย่างนั้นน่ะมันคลายออก คลายออกในขั้นที่สอง เมื่อคลาย คลายๆๆๆ ไม่หยุด มันก็หมด จบ เป็น extinction of attachment ไม่มี attachment ก็ไม่มีปัญหา อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง รู้ว่าเราเดี๋ยวนี้ไม่มี attachment ไม่เป็นทาสของสิ่งใด เป็นอิสระที่สุด นี่วิธีการศึกษาหมวดที่สี่ของอานาปานสติ เป็นอย่างนี้
[[ English translator: ... ]] 1.35.46
เห็นอนิจจังเท่าไร attachment ก็หายไปเท่านั้น แล้วมันก็ลดไปลดลงๆ ๆ (นาทีที่ 1:37:11 – 1:37:13) จนกระทั่งมันหมด attachment มันหมด attachment นี่ประโยชน์ของข้อที่สี่ ทีนี้เราก็ free free จาก attachment ไม่มี attachment อะไร จะเป็นเงินเป็นทอง เป็นอำนาจวาสนา เป็นทรัพย์สมบัติ เป็นกามารมณ์ เป็นไอ้ อะไรในแง่ positive ก็ไม่ attach ในแง่ที่เคยเกลียดเคยกลัวเป็นnegative ก็ไม่เกลียด ไม่กลัว ไม่อะไรอยู่เฉย สบาย ไม่มีอะไรที่กลัว ไม่มีอะไรที่รบกวนความสงบ ของชีวิต จบเรื่อง จบเรื่อง ตรงที่ว่า non attachment ประโยชน์สูงสุดของข้อที่สี่จะต้องมีอยู่ในชีวิตประจำวัน คือมีชีวิตที่ไม่มี attachment ในตลอดวันๆ สบายดี
[[ English translator: ... ]] 1.38.09
อย่างนี้เราศึกษาทีละหมวด แยกดูทีละหมวด เห็นประโยชน์ทีละหมวด นำมาใช้ทีละหมวดๆ ทั้งสี่หมวด พอแล้ว ทีนี้มาดูทีเดียวพร้อมกันครบ ทีเดียวรวมกันทั้งสี่หมวด เป็นเรื่องเดียว เรื่องเดียวเรื่องอานาปานสติ เรื่องเดียว ไม่ดูเป็นหมวดๆ แล้ว ก็ขอให้ดูเถอะว่ามันสรุปความได้ว่าอย่างไร ปฎิบัติอานาปานสติทั้งสี่หมวดแล้วมันได้อะไร ข้อแรกขอบอกว่ามันได้ธรรมะที่จำเป็นอย่างยิ่งแก่ชีวิตคือธรรมะสี่เกลอ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ นี่มันจะช่วยให้มีเครื่องมือสำหรับดำรงค์ชีวิตที่มั่นคง ที่ถูกต้อง ที่ดีที่สุด ที่จะไม่มีความทุกข์ รวมกันทั้งสี่หมวดแล้วก็ให้ได้อันนี้เต็ม เต็ม ปัญญามาได้มากที่สุดในหมวดที่สี่ สมาธิได้มาตั้งแต่หมวดที่หนึ่ง แล้วก็ สติ สัมปชัญญะนี่ได้จากทุกหมวด ได้จากทุกหมวด ได้จากทุกหมวดเลย นี่อานาปานสติทั้งระบบ เป็นหนึ่งระบบมันทำให้ได้สิ่งนี้ ขอให้มองดูว่าจำเป็นอย่างไรในชีวิตประจำวัน
[[ English translator: ... ]] 1.42.46
เดี๋ยวนี้วิถีทางแห่งชีวิต way of liffe สมบูรณ์ แจ่มแจ้ง ชัดเจน เปิดเผยแก่เรา ทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ทั้งทางวิญญาณ spiritualism ทั้งสามทาง ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ ครบถ้วน หลังจากประสบความสำเร็จในอานาปานสติทั้งสี่ขั้น นี่ข้อหนึ่ง
[[ English translator: ... ]] 1.45.28
ที่จะมีการกระทำการงานในทางโลก ทางโลกๆ นี่ก็ดี ในทางธรรม ในทางศาสนาก็ดี มันก็ดีทั้งสองอย่าง เพราะว่ามีความรู้ครบถ้วนเพียงพอ ในอานาปานสติทั้งสี่หมวด งานทางโลกๆ โลกๆ อย่างชาวบ้านทั่วไปก็ดี งานทางธรรม ทางศาสนา ทางสูงขึ้นไปก็ดี มันก็จะหมดปัญหาแล้วสำหรับคนเรา
[[ English translator: ... ]] 1.46.52
ถ้าจะพูดด้วยคำพูดอีกคำหนึ่ง ที่ท่านอาจจะฉงนบ้างก็ได้ ว่าชีวิตนี้จะมีการเดินทางที่ดี ถ้าท่านไม่ทราบมาแต่ก่อนว่าชีวิตนี้เป็นการเดินทางก็จะฟังไม่ถูกก็ได้ ชีวิตนี้มีการเดินทางอยู่ตลอดเวลา ก็คือ develop นั่นเอง development ของชีวิตนี่ ขยับขึ้นไปๆ นี่เป็นการเดินทางของ evolution, development ของ evolution นี่เป็นการเดินทางของชีวิต ชีวิตสูงขึ้น ๆ ชีวิตสูงขึ้นจนไปถึงจุดหมายปลายทาง ถ้าเรามีอานาปานสติภาวนาครบทั้งสี่อย่างแล้วการเดินทางของชีวิตจะดีที่สุด ถูกต้องที่สุด รวดเร็วที่สุด จะถึงจุดสุดท้ายสูงสุดทันก่อนแต่ร่างกายตาย
[[ English translator: ... ]] 1.46.46
ทีนี้ดีไปกว่านั้นก็ว่า ในขณะที่เดินทางๆ เดินทางนั้นมีความสุขด้วย มีความสุขด้วยตลอดเวลาที่เดินทาง ถ้าปฎิบัติถูกต้องอยู่ในอานาปานสติ ทั้งชุดทั้งหมวด ทั้งสี่หมวดนี้แล้ว มีความสุขพร้อมกันไปกับที่ชีวิตเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง เราได้ชีวิตใหม่ที่แท้จริงตลอดเวลา นี่พอแล้วๆ ไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว ประโยชน์จากการใช้ให้เป็นประโยชน์ในอานาปานสติ ขอยุติการบรรยายในวันนี้ ขอบใจท่านที่เป็นผู้ฟังที่ดีทั้งสองชั่วโมง พอแล้ว