แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการพูดครั้งที่ 3 นี้ จะพูดเรื่องวิธีที่จะได้มาซึ่งชีวิตใหม่ ครั้งแรกว่าชีวิตใหม่เป็นสิ่งที่เรามีได้ ครั้งที่สองว่าประโยชน์อานิสงส์ของมันเป็นอย่างไร ครั้งนี้ก็วิธีที่จะได้มาซึ่งชีวิตใหม่
วิธีที่จะได้มาซึ่งชีวิตใหม่นั้น มันเป็นเรื่องของความรู้แจ้งเห็นแจ้ง คำนี้มันมีความหมายพิเศษกว่าธรรมดา ถ้าเป็นภาษาไทยก็ว่ารู้แจ้งเห็นแจ้ง หรือที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าวิปัสสนา
ความรู้ของคนเรามีอยู่เป็นสามระดับ คือความรู้จากการอ่านการฟัง การศึกษาทั่ว ๆ ไปนี่ก็เรียกว่าความรู้ ที่เอามาคิดโดยวิธีการใช้เหตุผล (Reasoning) ทบทวนไปทบทวนมา ทบทวนไปทบทวนมา เกิดความเข้าใจก็เป็นความรู้ ก็เป็นความ... (นาที่ที่ 3:11) เรียกว่าความเข้าใจ ทีนี้ก็เอามาปฏิบัติดู มาปฏิบัติดู รู้จักมันโดยจิตใจ โดยจิตใจ เหนือเหตุผล เหนือความรู้ เหนือความเข้าใจ นี่เรียกว่าความรู้แจ้งเห็นแจ้ง บางทีก็เติมท้ายว่าแทงตลอด รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอด นี่คือความหมายของวิปัสสนา
กิริยาอาการของวิปัสสนา ก็มีลักษณะเหมือนกับว่า จุดแสงสว่างขึ้น จุดแสงสว่างขึ้น (Illuminate หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกเถอะ) แต่ว่าทำให้มันเกิดแสงสว่างขึ้นมาก็แล้วกัน เหมือนกับว่าเราจุดไฟขึ้นข้างนอก แล้วก็เห็น เห็น... (นาที่ที่ 6:31) แต่ถ้าเราจุดไฟขึ้นข้างใน เราก็เห็น เห็นอย่างที่เรียกว่าทางใจ เห็นด้วยใจ เห็นในแง่ของ Spirituality นี่เราเรียกว่าวิปัสสนา อาการของวิปัสสนา
โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้หรือเวลานี้ มีวิปัสสนาหลายแบบ หลายแบบเหลือเกิน เราต้องการแบบเดิมแท้ แบบเดิมแท้ที่พระพุทธเจ้าท่านเคยใช้ แล้วทำให้ท่านตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เราต้องการวิปัสสนาแบบนั้น
เดี๋ยวนี้เรามีวิปัสสนาแบบทิเบต แบบพม่า แบบลังกา แบบเซ็น หลาย ๆๆ แบบ จนไม่รู้ว่าจะเอาแบบไหนกัน ข้อนี้ไม่เป็นเรื่องที่... แก้ไขไม่ได้น่ะ เรามาศึกษาแบบเดิมแท้ เดิมแท้ ซึ่งจะได้พูดกันโดยเฉพาะ ไม่ต้องทำความเข้าใจว่าแบบไทย หรือแบบสวนโมกข์ หรือแบบอะไรที่ไหน การที่มันมีหลายแบบนั้นมันก็เป็นเพราะว่า เป็นความชอบใจของครูอาจารย์นั้น ๆ แล้วก็คิดเอาเอง ประดิษฐ์เอาเอง จนมีหลายแบบและมีหลายวิธี ขอให้สนใจโดยเฉพาะแบบเดิมแท้กันเถิด
ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่า แบบใหม่ๆ (Newly Developed) บางแบบต้องออกเสียง ออกเสียง บางแบบต้องทำท่าทาง ทำท่าทาง (Posture) ต่างๆ บางแบบต้องมีของมาช่วย พระพุทธรูปบ้างอะไรบ้าง ของภายนอกมาช่วย แล้วยังมีต่าง ๆ กันออกไปอีก แบบเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าอานาปานสติ ไม่ต้องออกเสียง ไม่ต้องทำท่าทาง ไม่ต้องมีของภายนอกเข้ามาช่วย นี่มันมองเห็นแล้วมันก็ชวนฉงน ชักชวนให้เกิดความไม่แน่ใจ แต่ไม่เป็นไร ขอให้สนใจหรือทดลองในแบบเดิมแท้ (Pristine Form of Vipassana) แบบเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเราจะได้ศึกษากันต่อไป
แต่มันก็มีทางที่จะทำความเข้าใจกันได้อย่างหนึ่ง คือว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม แบบไหนก็ตาม ถ้ามันทำให้เห็นแจ้งว่า ขันธ์ทั้งห้า ขันธ์ทั้งห้า หรือตัวชีวิต จะกายหรือใจ หรือขันธ์ทั้งห้า หรือตัวชีวิต นั้นเป็นอนัตตา ยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาไม่ได้ ดังนี้แล้วถูกทั้งนั้นเลย ถูก ใช้ได้ทุกแบบ แบบมหายานก็มีหัวใจอย่างนั้น สูตรสำคัญ ๆ ของมหายานจะจบลงด้วยเห็นขันธ์ห้าเป็นอนัตตา จะเป็นแบบแปลกประหลาดของทิเบต ของอะไร ๆ ก็ ในที่สุดมันจะต้องไปจบลงที่เห็นขันธ์ห้าเป็นอนัตตา ที่จริงแล้วก็ไม่มีมหายานไม่มีเถรวาทหรอก เพราะว่ามันมุ่งหมายที่จะเห็นขันธ์ห้าเป็นอนัตตาด้วยกันทั้งนั้น ถ้าได้ทำความเข้าใจอย่างนี้ก็จะปรับปรุงเข้ากันได้ไม่รังเกียจกัน
ในข้อปลีกย่อยภายนอกแตกต่างกันบ้างมันไม่เป็นไร จะยกตัวอย่างเช่นว่า ตามธรรมดาก็มักจะทำสมาธิแล้วจึงทำวิปัสสนา (ทำ Concentration แล้วจึงไปทำ Insight) อย่างนี้โดยมาก แต่แบบเซ็น แบบเซ็นน่ะมันไม่แยก มันไม่แยก เอามาทำทีเดียวกันเลย ทำพร้อมกันไป แล้วก็ระเบิดออกมาเป็นผล อย่างเรียกว่า Sudden... (นาทีที่ 20:49) เรียกว่าแบบเซ็น ทีนี้แบบงุ่มง่ามมันก็แยกกันสิ มันแยกกันมาก ทำศีลทีหนึ่ง ทำสมาธิทีหนึ่ง ทำปัญญาและวิปัสสนาอีกทีหนึ่ง แล้วก็ทำเป็นพิธี เป็นพิธี ทำเป็นแบบเป็นพิธีเป็นท่าทางแล้ว จะทำวิปัสสนาเดี๋ยวนี้ก็เอามารับศีล รับศีลกันเดี๋ยวนี้เลย แล้วถึงจะทำสมาธิ ทำสมาธิก็ทำตามแบบครบแบบ อาจารย์บอกว่าได้ล่ะก็ได้ ปัญญาก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน อย่างนี้ มัน มันไม่ ไม่น่าพอใจนะ แต่เราอยากจะเสนอแบบที่ว่าทำทีเดียวอย่างเดียว พร้อมกันหมดทั้งศีลทั้งสมาธิปัญญา คือแบบของพระพุทธเจ้า
ขอพูดอีกนิดหนึ่งเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ว่าแบบที่มีพิธีรีตองมากน่ะ กลับจะได้รับความนิยมหรือพอใจ อย่างเช่นว่ามาถึงต้องทำพิธีมอบตัว มอบกายถวายชีวิตแก่อาจารย์วิปัสสนา มอบตัว มอบชีวิต แล้วยังมีพิธีอ้อนวอน อ้อนวอน อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้วิปัสสนาเกิดขึ้นมาให้สำเร็จได้ แล้วก็ทำพิธีอย่างนั้นอย่างนี้ จะต้องทำพิธีรับศีล จะต้องทำพิธีอะไรบางอย่าง แม้แต่จะสมาทานสมาธิก็อ้อนวอนว่าให้เกิดสมาธิ ให้เกิดปีติ ให้เกิดตามลำดับ เหมือนกับอ้อนวอนพระเจ้าอย่างนี้ แต่แบบอย่างนี้กลับมีคนชอบ เพราะว่าดูมันก็ชวนให้สนใจ หรือชวนให้เป็นของขลังเป็นของศักดิ์สิทธิ์ อันนี้เรียกว่าแบบที่เรียกว่า... (นาทีที่ 25:10) มากขึ้นมากขึ้นจน จนไม่รู้ว่าจะไปทางไหน ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่าไอ้แบบที่ประดิษฐ์ ตกแต่ง ส่งเสริมขึ้นใหม่นี้เขามีอยู่ แต่... (นาทีที่ 25:29) เขาทำให้มันเกิดความเห็นแจ้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ในที่สุดก็ใช้ได้ ใช้ได้ ไม่เป็นไร มันจะมีพิธีมากไปหน่อยก็สุดแท้แต่ แต่ว่าถ้าในที่สุดมันทำให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ทั้งห้าได้ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ทีนี้เราจะพูดกันถึงวิปัสสนาที่เราต้องการ อยากจะพูดว่า วิปัสสนาที่แท้จริงต้องตั้งต้นด้วยการเห็นชีวิตเก่าที่มีอยู่แล้วนี่ว่าเป็นของน่าเบื่อ ชีวิตเก่า ๆ นี่เป็นของน่าเบื่อ คือทนทุกข์ โดยอุปมาอย่างที่ว่าแล้วว่า กังวลก็ผูกดึงเข้าไปข้างล่าง ก็ถูกดึงลงล่าง แล้วเอาไฟลนไว้ตรงกลาง ชีวิตเก่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่ออย่างนี้ นี่คือวิปัสสนาตัวแรกข้อแรกที่เราต้องการสอน เห็นชีวิตเก่าเป็นของที่น่าเบื่อ
ชีวิตเก่าเป็นชีวิตแห่งความยึดมั่นถือมั่น ท่านต้องเข้าใจคำนี้ให้ดีที่สุด ยึดมั่นถือมั่น ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษยุ่ง ๆ – Attach to, Cling to, Grasp at – ก็แล้วแต่ ที่เรียกว่าอุปาทาน ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ความโง่มันไปพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสุขสนุกสนาน เอร็ดอร่อย กามารมณ์ ก็ต้องไปยึดมั่นของเป็นคู่ ๆ – Positivism and Negativism – Attach, Attach, Attach – นั่นแหละคือสิ่งที่จะต้องมองให้เห็นว่ามีอยู่มากในชีวิตเก่า
ถ้าท่านไม่รู้จัก Attachment นี่แล้ว ไม่มีทางที่จะรู้จักชีวิตเก่าเป็นอย่างไร คือโดยทั่วไปมันก็มีอยู่เพียงสองอย่าง คือถือเอา เท็จจริงนี่ ถือเอา อย่างหนึ่งคือถือเอาด้วยความโง่ ก็เป็นอุปาทาน อุปาทาน ถ้าถือเอาด้วยความรู้ความฉลาดก็เป็นสมาทาน ซึ่งไม่รู้จะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แต่อุปาทานนี่ต้อง Attachment ที่มันไม่ใช่ Attachment น่ะมันถือเอาด้วยสติปัญญาความรู้ความสามารถ เรียกว่าสมาทาน ในภาษาไทยมันง่าย มันคือเอาคำสองคำนี้ไว้เป็นหลัก อุปาทานคำหนึ่ง สมาทานคำหนึ่ง ซึ่งควรจะเข้าใจ ต่อไปนี้จะเลิกถือเอาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความโง่ คืออุปาทาน แล้วจะถือเอาอย่างดีด้วยสติปัญญา วิชา ความรู้ หรือด้วยวิปัสสนานั่นเอง ให้รู้จักการถือเอาสองอย่างนี้ซะก่อนเถิด
จะพูดให้เข้าใจง่ายเหมือนอุปมาว่า ถ้าท่านไปถือเอาสิ่งใดด้วย Attachment หรืออุปาทานน่ะ มันจะกัดเอา มันจะกัดเอาทันทีเลย ถ้าถือเอาด้วยสมาทาน ด้วยปัญญา ด้วยวิชาอย่างถูกต้อง ไม่กัด แล้วก็ยอม ยอมให้ใช้ทุกอย่างตามที่ต้องการ นี่มันต่างกันอย่างนี้ ในชีวิตเก่าเรามีแต่ Attachment แล้วก็ถูกกัด ถูกกัด ถูกกัดอยู่ตลอดเวลา คือความทุกข์นั่นเอง ความทุกข์ที่เกิดมาจากการยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ให้เห็นชัดอย่างนี้เลย แล้วก็จะรู้จักชีวิตเก่า พอที่เราจะหยุดพอใจ หยุดดำเนินชีวิตแบบนั้น
ต้องวิปัสสนา โดยวิปัสสนาเท่านั้น ทางอื่นไม่มี ทางอื่นไม่มี ที่จะเห็นว่าไอ้ชีวิตเก่านั้นน่ะมันเต็มไปด้วยการยึดมั่นถือมั่น แล้วถูกกัด ถูกกัด ถูกกัดอยู่ตลอดเวลา จะเห็นไอ้ชีวิตเก่าอย่างถูกต้อง แล้วก็ต้องการจะแยก จะแยกกันเด็ดขาด เป็นเหมือนกับ Divorce เลย แยกกันเด็ดขาดจากไอ้ชีวิตเก่า ประโยชน์ของวิปัสสนาในข้อแรกคืออย่างนี้ ต้องมีเป็นข้อแรกอย่างนี้ ให้เห็นความทุกข์ ความทุกข์ที่มีอยู่เต็มไปหมดในชีวิตเก่า
พอมีวิปัสสนาในส่วนนี้ เห็นชีวิตเก่าอย่างนี้ เราก็เริ่มคลาย คลายออก คลายออก จะเป็นอังกฤษอะไรก็เถอะ คุณคิดเอาเอง คือมัน Loosen, Loosen คลายออก คลายออก โดยภาษาบาลีเรียกว่าวิราคะ วิราคะ นี่เป็นจุดตั้งต้นของนิพพาน บางทีคำว่าวิราคะเป็น Synonym ของนิพพานก็มี แต่อย่างน้อยเป็นจุดตั้งต้นของนิพพาน คือคลายออก คลายออก ของความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตเก่า
ในภาษาไทยเรามีคำที่เข้าใจได้ง่าย เห็นได้ง่าย คือคำว่าคลายออก จางออก ... (นาทีที่ 42:27) รู้ได้ด้วยอาการเช่นว่า สี สีที่เขาย้อมผ้าเนี่ย ที่เขาเอามาแช่น้ำ มาซักมาฟอกอะไรให้สีหลุดออกไป สีละลายออกไป ความเข้มของสีละลายออกไป ละลายออกไป อย่างนี้ในภาษาไทยเรียกว่า จาง คลาย จาง คลาย รู้กันดีที่สุด เป็นเหตุให้เข้าใจคำว่าวิราคะได้ง่ายที่สุด ถ้าไปสังเกตดูอาการที่ว่าไอ้ของที่ย้อม ย้อม เหมือนกับสีย้อม ถ้ามันจางออกคลายออก นั่นก็คือวิราคะ
ทีนี้ก็เห็นได้เอง เห็นได้เองว่าถ้ามันคลายออก คลายออก คลายออก จางออก จางออก เรื่อยไป เรื่อยไป มันจะเป็นอย่างไร มันก็จะหมด มันก็จะหมดสิ่งนั้น คือมันจะกลายเป็นความดับ หมด ของไอ้ความยึดมั่นถือมั่น อย่างน้อยเป็นสามระยะว่า เห็นความจริงของชีวิตเก่า นี่ขั้นหนึ่ง แล้วก็คลายความยึดมั่นถือมั่น จางออก จางออก จางออก ที่อีกขั้นหนึ่ง แล้วก็ขั้นสุดท้ายก็หมดเลย หมดความยึดมั่นถือมั่นเลย นี่คือความสมบูรณ์แห่งวิปัสสนา
ทีนี้ก็มีแถม ข้อสุดท้ายซึ่งไม่สำคัญอะไร ก็คือเห็นว่าเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้หลุดแล้ว พ้นแล้ว เป็นอิสระแล้ว เป็นขั้นที่แถม แต่ก็ยังจัดเป็นวิปัสสนาด้วยเหมือนกัน ขั้นที่หนึ่งเห็นจริง ขั้นที่สองคลายออก คลายออก ขั้นที่สามดับ ดับ ดับ พอแถมนี่ ขั้นที่สี่นี่แถม เป็น... (นาทีที่ 46:27) แถมว่าเดี๋ยวนี้เห็นแล้ว เห็นแล้วว่าหมด หมด หมดความยึดมั่นถือมั่นแล้ว หมดปัญหาแล้ว เราพ้นแล้ว นี่วิปัสสนาที่สมบูรณ์จะมีโครงสร้างอย่างนี้
เดี๋ยวนี้ศีลอยู่ที่ไหน ท่านจะตั้งปัญหาขึ้นมาว่าเดี๋ยวนี้ศีลอยู่ที่ไหน ไม่เห็นพูดถึงเลย ความบังคับตนเองให้ทำสิ่งที่ควรทำ ที่ต้องทำ ที่ควรทำ บังคับตัวเองได้ในข้อนี้นั่นแหละคือศีล พอเราลงมือทำวิปัสสนา ตั้งใจทำวิปัสสนาก็มีการบังคับตัวเองให้ทำ ข้อนี้เป็นศีล
เดี๋ยวนี้สมาธิอยู่ที่ไหน สมาธิอยู่ที่ไหน เมื่อตั้งใจทำวิปัสสนาที่จะให้เห็นจริง นั่นแหละสมาธิจะมีขึ้นมาโดยอัตโนมัติเลย สมาธิคือกำลังจิต รวมเป็น มี Focus ลงไปที่สิ่งสิ่งเดียว เรียกว่าเอกัคคตา ถ้าเราตั้งใจจะดูจะเห็นวิปัสสนา จิตก็รวมเป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ แล้วก็เพียงพอด้วย เหมือนอย่างว่าเราตั้งใจจะขว้างก้อนหินไปที่เป้าหมายอันใดอันหนึ่ง เราจงทำการขว้าง แล้วการรวมจิตให้มันเป็นสมาธินั้นมันจะเกิดโดยอัตโนมัติเมื่อเราตั้งใจจะขว้าง ... (นาทีที่ 49:54) สมาธิจะมีอยู่ในการทำวิปัสสนา พระพุทธเจ้าจึงกล่าวคำว่า สมาธิน่ะ ฌานน่ะ ไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่มีสมาธิ ถ้ามีปัญญาก็มีสมาธิ ถ้ามีสมาธิก็มีปัญญา สมาธิอย่างนี้พอดีไม่มากไม่น้อย มีพอดีมีพอใช้ พอตั้งใจที่จะทำการเห็น การดูการเห็น สมาธิก็เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ เหมือนกับตั้งใจจะยิงปืนเนี่ย สมาธิก็มีขึ้นมาเอง เป็นต้น จึงมีสมาธิอยู่ในวิปัสสนา
ทีนี้ศรัทธาอยู่ที่ไหน ศรัทธาความเชื่ออยู่ที่ไหน ในพุทธศาสนาหรือศาสนาอย่างนี้ ศาสนาอย่าง Evolutionist น่ะ ศรัทธามีอยู่ในวิปัสสนา คือในปัญญาในความรู้แจ้ง คือศรัทธาในพุทธศาสนานี่มันมาทีหลังปัญญา ถ้าในศาสนาอย่างอื่น พวก Christianism ศรัทธาจะมาก่อน มาก่อนปัญญา แต่เดี๋ยวนี้ศรัทธาที่ถูกต้องจะมาทีหลังปัญญาหรือวิปัสสนา วิปัสสนานิดนึงก็ได้ ... (นาทีที่ 54:07) ศรัทธา เท่ากับส่งเสริมปัญญา ก็มีศรัทธามากขึ้น ก็ส่งเสริมปัญญา ศรัทธาก็สมบูรณ์ด้านหนึ่ง ก็มีศรัทธาทีหลังปัญญา ไม่เหมือนในศาสนาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีศรัทธาก่อน หรือบังคับให้เชื่อ หรือว่าให้เชื่อก่อนโดยไม่ต้องมีวิปัสสนา เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องกลัว ถ้าเรามีวิปัสสนาแล้วก็จะมีศรัทธา ดังนั้นเราจึงมีศรัทธา มีศีล มีสมาธิอยู่ในวิปัสสนานั่นเอง
ทีนี้ถ้าเราสังเกตดูเห็นว่าอันไหนไม่พอ ก็ศึกษาหรือปฏิบัติเฉพาะส่วนนั้นให้พอก็ได้ เช่นศรัทธาไม่พอ ก็ปฏิบัติส่วนศรัทธา ศึกษา คิดนึกศึกษา ก็โดยวิปัสสนาอีกนั่นแหละ ถ้าศีลไม่พอ ก็ศึกษาเฉพาะศีล จะทำให้ศีลดีขึ้นก็ต้องอาศัยความรู้ของวิปัสสนา ศีลก็จะมีมากขึ้น ถ้าสมาธิไม่พอ ก็ฝึกสมาธิโดยเฉพาะ ก็ต้องโดยอาศัยความรู้ของวิปัสสนา สามารถทำให้สมาธิมีมากขึ้น จนเรามีศรัทธาเพียงพอ มีศีลเพียงพอ มีสมาธิเพียงพอ ก็เป็นวิปัสสนาที่สมบูรณ์
ในที่สุด ขอยืนยันว่า ปฏิบัติวิปัสสนาแบบอานาปานสติภาวนา สี่หมวด หมวดละสี่ขั้น เป็นสิบหกขั้น อานาปานสติแบบสิบหกขั้นนี่มีครบหมดทั้งศรัทธา ทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา นี่ขอให้สนใจอานาปานสติสิบหกขั้นโดยรายละเอียดต่อไป ศึกษาต่อไป ถือเอาระบบอานาปานสติภาวนานี้เป็นหลัก แล้วจะมีข้อปฏิบัติครบ ครบจนกระทั่งอันสุดท้ายว่ารู้แล้วว่าพ้นแล้ว รู้แล้วว่าจบแล้ว เสร็จหน้าที่แล้ว
ขอยุติการบรรยายในวันนี้เพราะฝนบังคับให้เราหยุดประชุม