แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันแรก เราได้พูดถึงอันตรายหรือโทษของความเห็นแก่ตัว และต่อมาเราก็ได้พูดถึงต้นเหตุแห่งความเห็นแก่ตัว และที่ตั้งของความเห็นแก่ตัว ที่เรามา(นาทีที่ 00:23) เราก็ได้พูดเรื่องการดับความเห็นแก่ตัวเป็นอย่างไร ที่วันนี้ก็จะได้พูดถึง ประโยชน์ ผลประโยชน์หรือผลดี ของความไม่เห็นแก่ตัว เมื่อพูดถึงผล ผลประโยชน์นี่ อยากจะให้ท่านทั้งหลายได้ทราบคำในภาษาไทยคำหนึ่ง คือคำว่าอานิสงส์ อานิสังสะ(นาทีที่ 01:59) ในบาลี อานิสงส์ในภาษาไทย มีความหมายที่น่าสนใจ คือคำนี้โดยกลับ(นาทีที่ 02:09) ก็แปลว่าน้ำนมที่ไหลออกมา เมื่อเราเลี้ยงโคนม เรารีดน้ำนม มีน้ำนมไหลออกมา คำนี้เอามาใช้เป็นชื่อของการปฏิบัติ แล้วก็ได้ผลออกมาเรียกว่า อานิสงส์ คือน้ำนมที่ไหลออกมา ขอให้สนใจคำพูดซักคำหนึ่งนี่ก่อน
วันนี้เราจะพูดถึงอานิสงส์ของการดับความเห็นแก่ตัว ซึ่งก็พูดกันได้ตรงๆเลยว่าความสุข ความสุข มีความสุขเป็นอานิสงส์ แต่แเล้วเรายังจะต้องทำความเข้าใจกันให้ดี ในคำว่าความสุขเนี่ยมันกำกวม เลยต้องมาพูดกันให้หมดจดว่า ความสุขมันมีกี่อย่าง อย่างน้อยก็ 2 อย่าง คือโดยภาษาคน และโดยภาษาธรรม พูดถึงความสุขมันอย่างนี้ ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี ให้รู้จักแยกออกจากกันว่า ความสุขในภาษาคนเป็นอย่างไร ความสุขในภาษาธรรมเป็นอย่างไร ความสุขในภาษาคน ภาษาชาวบ้าน นั้นก็คือเป็นความสุขที่เมาได้ บ้าได้ หลงได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมันกัดเจ้าของ กัดเจ้าของ คือเน้นคำนี้อย่างมากๆ บ้าได้ เมาได้ หลงได้ และกัดเจ้าของ คือความสุขในภาษาคน ดูให้ดีก็จะเห็นว่า ความสุข สุขในภาษาคน หรือภาษาบ้านนั่นน่ะ ที่แท้มันเป็นเพียงความเพลิดเพลินที่หลอกลวง ความเพลิดเพลินๆ ไม่ใช่ตัวความสุข แต่เป็นความเพลิดเพลินที่หลอกลวง และคนทั่วไปก็มาเห็นเป็นความสุข นั่นจึงเป็นความสุขที่หลอกลวง เพราะว่าที่แท้มันเป็นเพียงความเพลิดเพลิน สนุกสนานอะไรตลอดที่หลอกลวง เนี่ยความสุขในภาษาคน ความสุขชนิดนี้ ความเพลิดเพลินที่หลอกลวงนี้ มันพร้อมที่จะกลายเป็นเหยื่อ กลายเป็นเหยื่อล่อ เหยื่อๆล่อ เหยื่อแบบตกเบ็ด ความสุขชนิดนี้กลายเป็นเหยื่อๆล่อ เหยื่อคน ทำคนให้หลง ดังนั้นชาวโลกทั้งหลาย ทั้งโลกน่ะพากันหลงใหลความสุขชนิดนี้ นี่ความสุขภาษาคน ที่นี้จะเห็นได้ง่ายๆว่าความสุขชนิดนี้ จะเป็นเรื่องทางวัตถุ เป็นเรื่องทางกาย ไม่ใช่เรื่องทางจิตทางวิญญาณ เพราะมันเป็นเรื่องทางวัตถุ ก็ต้องอาศัยวัตถุ ดังนั้นมันจึงแพงมาก ยุ่งมาก ใช้เงินมาก และยุ่งวุ่นวายมาก เป็นเรื่องของความสุขทางโลก ทีนี้ข้อสุดท้ายที่จะต้องสังเกตุให้เห็นว่า ความสุขชนิดนี้ ความสุขภาษาคนนี้เป็นที่ตั้งแห่งความเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวยิ่งๆๆขึ้นไป นี่สำคัญมาก
ที่นี้ก็มาดูความสุขตรงกันข้าม คือความสุขในภาษาธรรม มันตรงกันข้าม มันไม่เมา มันไม่บ้า มันไม่กัดเจ้าของ ไม่เมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ความบ้า ความหลง แล้วมันก็ไม่กัดเจ้าของ ขอให้เน้นตรงนี้ก่อน มันไม่ใช่ความเพลิดเพลินที่หลอกลวง มันเป็นสิ่งที่พอจะเรียกว่าความสุขได้ โดยแท้จริง แต่ชาวโลกมองข้ามไปเสีย ชาวโลกมองข้ามไปเสีย ขอให้มองความจริงที่มีอยู่แก่เราด้วย ความสุขนี้เป็นความสุขที่แท้จริงที่ไม่อาจจะกลายเป็นเหยื่อ ไม่อาจจะกลายเป็นเหยื่อล่อ หลองลวง ให้หลงใหล ให้มัวเมา ความสุขที่แท้จริง ชวนให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง บริสุทธิ์ สะอาด สงบเย็น ไม่อาจจะเป็นเหยื่อ โดยเหตุที่เป็นเรื่องทางจิต ทางวิญญาณ จึงไม่แพงหรือโดยมากไม่ต้องใช้เงินเลย ความสุขแท้จริงในภาษาทางจิตทางวิญญาณ จะไม่ต้องใช้เงินเลยก็ได้ และไม่ทำความยุ่งยากลำบากใดๆ ขอให้มองเห็นในลักษณะนี้ให้มากที่สุด เพื่อจะรู้จักความสุขที่แท้จริง ไม่ยุ่งไม่แพง ความสุขที่แท้จริงไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเห็นแก่ตัว เพราะมันมาจากความไม่เห็นแก่ตัว สรุปว่าเป็นความสุขที่ไม่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว ไม่ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว ดังนั้นขอให้ทุกคนพยายามอย่างยิ่งที่จะรู้จักความสุขให้ดีๆ คือให้ถูกต้อง ในภาษาไทยเรามันง่ายมาก อยากจะบอก แต่ว่ามันไม่มีในภาษาอังกฤษว่า ถ้าเป็นความสุกที่ตัว ก สะกด เป็นความสุกร้อนๆ กัดเจ้าของ สุก ถ้าเป็นความสุขที่ตัว ข สะกด ออกเสียงว่าความสุขเหมือนกัน นี่เย็นๆ ไม่กัดเจ้าของ ก็เลยมีสุก ก สะกด กับสุข ข สะกด เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันในภาษาทั่วๆไปว่า สุกร้อนหรือสุขเย็น ต่างกันอยู่อย่างนี้ ที่นี้ก็เห็นได้ต่อไปว่า ถ้าเป็นความสุขร้อน ต้องอาศัยกิเลสเข้ามาช่วย ถ้าเป็นความสุขเย็นไม่ต้องอาศัยกิเลสเข้ามาช่วย และความสุขที่มันร้อน ก็เพราะมัน เพราะมีกิเลสนั่นเอง กิเลส ลาภะ โทสะ โมหะ เป็นของร้อน มันเอาเข้าช่วย จึงเป็นความสุขที่ร้อนๆๆ แพงมาก ยุ่งมาก กัดเจ้าของ เนี่ยเป็นความสุขร้อนต้องมีกิเลสเข้ามาช่วยเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นความสุขเย็น ตรงกันข้ามด้วยประการทั้งปวง เอากิเลสออกไป มันก็เหลือแต่ความถูกต้อง ความเย็น ไม่อาศัยกิเลสเลย สรุปว่ามีความสุขที่ต้องอาศัยกิเลส กับความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกิเลส ที่เรามีๆกันอยู่ เราพอใจหลงใหลความสุขที่ต้องมีกิเลส ต้องมีวัตถุสิ่งของเข้ามาช่วยมาก จนเป็นเรื่องฟุ้งเฟ้อ เป็น Luxurious(นาทีที่ 18:43) เนี่ยมันก็เป็นสิ่งที่หลงใหลกันมากในโลก เลยเรียกว่าความสุข ทีนี้มันมีที่ตรงกันข้าม คือไม่ต้องใช้เงินเลย ดำรงจิตไว้ให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องใช้เงินเลย คนก็มีความสุข หรือคุณทำสมาธิ ทำอานาปานสติ ถ้าทำถูกต้อง มันก็เกิดความสุขที่ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่สตางค์เดียว เอาล่ะ พูดกันอย่างภาษาเศรษฐกิจ เค้าว่าความสุขที่ต้องใช้เงินและความสุขที่ไม่ต้องใช้เงิน เอ้าทีนี้จะพูดถึงเรื่องความสุขในภาษาธรรม ความสุขโดยแท้จริงในภาษาธรรม ขอให้ทราบว่า แม้ถึงอย่างนั้นน่ะ เป็นความสุขในภาษาธรรมก็ยังมีต่างๆๆกันเป็นหลายชนิดหลายระดับ หลาย Category หลาย Level นี่จะต้องรู้กันไว้ให้ครบถ้วนว่ามีเป็นระดับๆอย่างไร
ชั้นที่ 1 อันดับแรก ความสุขที่เกิดมาจากการไม่เบียดเบียน อยากจะพูดเป็นภาษาบาลีให้ฟัง แต่จะจำได้หรือไม่ก็ไม่เป็นไร อัพยาปัตชังสุขังโลเกปานะภูเตสุสัญญะโม นี่คือความสุขชั้นแรก(นาทีที่ 22:35) คือความสุขที่เกิดมาจากความไม่เบียดเบียน แปลว่าความไม่เบียดเบียน เค้ามีการสำรวมระมัดระวังในสัตว์มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นี้เป็นความสุขในโลกนี้ในสังคมโลกนี้ สุขก็ไม่เบียดเบียน นี่ข้อแรก มีคำสำคัญคือคำว่าเบียดเบียน เบียดเบียน มันจะตรงกับคำว่าอะไรในภาษาอังกฤษ เพื่อให้ได้ใช้ความหมายครบถ้วนว่ามัน 2 เบียดเบียน เบียดเบียนตัวเอง เบียดเบียนผู้อื่น เค้าเรียกว่าเบียดเบียนทั้งนั้น คนโง่จะเบียดเบียนตัวเอง ทำสิ่งที่เบียดเบียนตัวเอง โดยไม่รู้สึกตัวก็เบียดเบียนตัวเอง บางทีก็โง่จนแกล้งทำให้ตัวเองลำบาก ก็เบียดเบียนตัวเอง อีกทางก็เบียดเบียนผู้อื่น คำว่าเบียดเบียนมีอยู่ 2 เบียดเบียนอย่างนี้ มันอาจจะแปลกอยู่ ฟังให้ดีๆว่า ยิ่งรักตัวเองเท่าไหร่ จะยิ่งเบียดเบียนตัวเองมากเท่านั้น ยิ่งเห็นแก่ตัวมากเท่าไหร่ จะยิ่งเบียดเบียนตัวเองมากเท่านั้น ความรักทำให้ตาบอด ก็ไปทำไปในสิ่งที่ตัวเองลำบากเหลือประมาณ เพื่อให้ได้ความสุข คือความเพลิดเพลินหลอกลวงนิดเดียว ไม่ได้ความสุขแท้จริง ได้ความเพลิดเพลินนิดเดียว ลำบากจนเหลือประมาณ นี่รักตัวเองอย่างโง่เขลา นี่พูดได้ว่า ยิ่งโง่เท่าไหร่ยิ่งเบียดเบียนตัวเองเท่านั้น ยิ่งรักตัวเองเท่าไหร่ในลักษณะโง่ แล้วก็จะยิ่งเบียดเบียนเท่านั้น ยิ่งเห็นแก่ตัวเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเบียดเบียนตัวเองเท่านั้น
ทีนี้ก็เบียดเบียนผู้อื่น นี่จะรู้จักกันดี เกือบจะไม่ต้องอธิบาย เพราะว่าการเบียดเบียนมีอยู่ทั่วโลก เต็มไปทั้งโลก เบียดเบียนผู้อื่น เพราะความเห็นแก่ตัว เห็นประโยชน์ของตัว เมื่อไม่ได้อย่างถูกต้อง ก็ไปเอามาอย่างไม่ถูกต้อง เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น เราจะเห็นการเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ทั่วไป โดยตรง โดยอ้อม ใต้ดิน บนดิน ขอบเขตน้อยๆ ขอบเขตทั้งโลก จะเบียดเบียนกันทั้งโลก แบ่งเป็นครึ่งโลก แล้วก็เบียดเบียนกัน แล้วยังคิดว่ามีโลกอื่น ก็จะไปแย่งเอาประโยชน์ในโลกอื่น มันเบียดเบียนไม่มีที่สิ้นสุด นี่เรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่นมาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัวก็จะไม่มีเบียดเบียนใคร ถ้าเราไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่มีทางที่จะเบียดเบียนใคร จะไม่เบียดเบียนคนอื่น มนุษย์ด้วยกันก็จะไม่เบียดเบียน สัตว์เดรัจฉานทั่วๆไปก็จะไม่ถูกเบียดเบียน ต้นไม้ต้นไร่ก็จะไม่ถูกเบียดเบียน แผ่นดิน The Soid The Globe(นาทีที่ 30:46) เนี่ยก็จะไม่ถูกเบียดเบียน ถ้าไม่เห็นแก่ตัว เรามองเห็นว่าความไม่เห็นแก่ตัวเนี่ยเป็นเหตุให้เกิดความสุขแก่ผู้อื่น สิ่งอื่นทั้งหมด เป็นที่ตั้งแห่งเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จึงเรียกว่าพรหมวิหาร แล้วก็มีความสุขเกิดจากการกระทำอย่างนั้น ท่านที่ชอบใจพรหมวิหาร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี่ ทั้ง 4 อย่างนี่ จงเพ่งเฉพาะสิ่งเดียวคือไม่เห็นแก่ตัว ก็จะเกิดเมตตา รักผู้อื่น กรุณา ช่วยผู้อื่น มุทิตา ยินดีเมื่อเค้ามีความสุข แล้วก็อุเบกขา อุเบกขา คอยจ้องที่จะช่วย เมื่อเดี๋ยวนี้ช่วยไม่ได้ก็คอยจ้องที่จะช่วย ถ้าแปลอุเบกขาผิด ว่าอยู่เฉยๆ ว่าช่วยไม่ได้ ก็อยู่เฉยๆ นั่นไม่ถูก อยู่เฉยๆไม่ใช่อุเบกขา แต่คอยเพ่งจ้อง เห็นว่าจะช่วยได้ ก็จะช่วย นั่นคืออุเบกขาที่ถูกต้อง ผู้ที่ชอบเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จงสร้างสมความไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็จะมีความสุขเกิดจากความไม่เห็นแก่ตัว คือพรหมวิหาร
คำว่าอุเบกขา แปลว่า เพ่งดู จ้องดู Look at คือคำว่าอุเบกขา ไม่ใช่หลับตาอยู่เฉยๆ ถ้าทุกคนในโลกคอยเพ่งดูจ้องดูว่าเมื่อไหร่จะช่วยได้ แล้วจะช่วยกันอย่างนี้แล้ว ทั้งโลกนี้ไม่มีวิกฤติการณ์ใดๆ ด้วยคำว่าอุเบกขา โลกจะมีความสงบสุข คือทุกคนคอยเพ่งดู เพ่งจ้องดู ว่าจะช่วยอะไรได้ แล้วก็จะช่วย คอยอยู่ ไม่อยู่นิ่งๆ โอกาสมีเมื่อไหร่ก็ช่วย อุเบกขามีความสำคัญมากอย่างนี้ เอาไปอธิบายผิดๆ เป็นอยู่เฉยๆ ขอให้สนใจข้อนี้ไว้ด้วยเป็นพิเศษ นี้คือความสุขขั้นแรกข้อแรก เรียกว่าระดับพื้นฐานก็ได้ เกิดมาจากความไม่มีการเบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น จะมีได้ก็เพราะความไม่เห็นแก่ตัว แล้วมันน่าหัวหรือมันฟังดูคล้ายๆกับ ____(นาทีที่ 37:08) ที่ว่า ไม่เห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวมันควรจะรักตัว ควรจะไม่ทำตัวให้เดือดร้อน นี่เห็นแก่ตัวกลับไปทำตัวให้เดือดร้อน ไม่เห็นแก่ตัวกลายเป็นทำตัวให้ไม่เดือดร้อน มันอาจจะฟังผิด เข้าใจผิด ถ้าเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ครุ่นเห็นแก่ตัวอยู่คนเดียว มันก็นอนหลับยากน่ะ นอนหลับยาก แล้วมันก็จะเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นโรคประสาท แล้วมันก็เป็นบ้าได้ แล้วมันก็ฆ่าตัวเองได้ เพราะความเห็นแก่ตัว แปลกมั๊ย เห็นแก่ตัว ทำกับตัวอย่างนั้นได้ เพราะความเห็นแก่ตัวเป็นความโง่ นั้นก็ทำไปตามความโง่ ทำตัวเองให้ลำบากอยู่คนเดียว คนเดียว ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับใครก็เป็นทุกข์ จะนอนหลับยาก จะปวดศีรษะ จะเป็นโรคประสาท จะเป็นบ้า จะฆ่าตัวตาย ไปใคร่ครวญทดสอบดูให้ดี ที่มันฆ่าตัวตายกันทั้งในโลก มันมาจากความเห็นแก่ตัวอันเร้นลับ อันลึกซึ้ง นี่ขอให้เห็นอันตรายที่เกิดจากความเห็นแก่ตัว ว่ามันทำลายตัวเองอย่างนี้
เอ้า ที่นี้ก็มาพูดกันถึงความสุขที่สูงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ต้องเรียกว่าความสุขที่เกิดมาจากวิราคะ คือไม่มีราคะ เรียกว่าอราคะ นี่ความสุขที่ 2 เกิดมาจากความไม่มีราคะ เป็นบาลีก็ว่า สุขาวิรากะตาโลเก กามานัง สะมะติกะโม ความปราศจากราคะ ข้ามล่วง ก้าวล่วง ข้ามล่วงกาม กามารุม กามทั้งหลายเสียได้ คืออยู่เหนือกามารมณ์อ่ะนะ เป็นสุข เป็นสุขในโลกด้วยเหมือนกัน ถ้าในโลก ควบคุมกามารมณ์ได้ ควบคุมราคะ Lust ได้ แล้วก็ไม่มีราคะเนี่ย ก็จะเป็นความสุขที่สูงขึ้นมา เป็นความสุขขั้นที่ 2 เรียกว่าความสุขเพราะไม่มีความกำหนัด ขอให้รู้จักชื่อกันไว้ก่อนดังนี้
แต่จะขอบอกเป็นพิเศษนะ ซึ่งอาจจะเกินไปหรือไม่จำเป็นก็ได้ คือคำว่าราคะ ราคะหรือกำหนัด กำหนัดในภาษาบาลีมีความหมายกว้างมาก ในภาษาคนธรรมดานี่ Lust เนี่ยที่เกี่ยวกับเซ็กซ์ หรือที่เนื่องกันอยู่กับเซ็กซ์ เซ็กซ์เองหรือที่เนื่องกันอยู่กับเซ็กซ์ แต่ถ้าในภาษาบาลี คำว่า Lust ราคะเนี่ย รักมากๆ รักไม่เกี่ยวกับเซ็กซ์ ก็เรียกว่า ราคะเหมือนกัน เช่นว่าในข้าวของ เงินทอง ทรัพย์สมบัติ ที่มันเป็นวัตถุ เป็นวัตถุมีรูปนะ ข้าวของ เงินทอง ทรัพย์สมบัติ ก็เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ทีนี้แม้ที่ไม่มีรูป ไม่มีรูปเช่นอำนาจ เช่นวาสนา บารมี อะไรที่มันไม่ใช่รูป ไม่มีรูปน่ะ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด บางคนหลงรักอำนาจวาสนาบารมีเหมือนกับคนบ้า เรียกว่าราคะ ราคะ กำหนัด ในภาษาบาลีกว้างถึง 3 ระดับ ภาษาชาวบ้านเพียงระดับเดียว ในเรื่องของเกี่ยวกับเซ็กซ์ ถ้าว่าถอนได้ทั้ง 3 ระดับ วิเศษเลย เอาแต่เพียงระดับเดียว ระดับแรก ระดับหนึ่ง ก็มากมายแล้ว ก็เย็นแล้ว ขอให้รู้จักความหมายของคำว่าราคะในภาษาธรรมะกว้างถึงอย่างนี้ก่อน
ขอให้สังเกตุดูว่าถ้าความเห็นแก่ตัวลดลงเท่าไร กำลังของราคะก็จะลดลงเท่านั้น หากความเห็นแก่ตัวกลัดกลุ้มเข้มข้นเท่าไร กำลังของราคะก็จะมากขึ้นเท่านั้น มันขึ้นกันอยู่กับความเห็นแก่ตัวจัดน่ะ เห็นแก่ตัวจัดเท่าไร นั่นน่ะราคะทางกามารมณ์ก็จะจัดมากขึ้นเท่านั้น ดูให้ดีก็จะเห็นว่าความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ เป็นต้นเหตุให้เกิดความกำหนัด ถ้าเราลดความเห็นแก่ตัวได้ ราคะหรือความกำหนัดก็จะลดลง ลดลงเท่าไร ก็จะมีความสุขเท่านั้น ก็จะมีความสุขอีกชนิดหนึ่ง คือความสุขที่เกิดมาจากปราศจากราคะ
โดยทั่วไป เค้าจะสอนหรือพูดหรือสอนกันอยู่ว่า หากกำจัดราคะด้วยระบบปฏิกูล ปฏิกูล คือเห็นเป็นปฏิกูลในตัววัตถุ ในตัวกามารมณ์ หรือว่าไปที่ป่าช้า ไปดูซากศพที่กำลังเน่า กำลังน่ะ แล้วก็จะกำจัดราคะหรือความกำหนัด ก็มีส่วนถูก แต่ไม่ใช่ถูกทั้งหมด การลดความเห็นแก่ตัวดีกว่า การลดความเห็นแก่ตัวนั่นแหละ จะกำจัดความกำหนัดได้ดีกว่าที่จะไปดูซากศพ ไปดูซากศพ ดูไม่เป็น คิดไม่เป็น จะเพิ่มความเห็นแก่ตัวก็ได้ ยังมีความเห็นแก่ตัวอยู่เท่าไร ราคะก็จะไม่ลด พยายามลดความเห็นแก่ตัว แล้วราคะจะลด ไปดูซากศพช่วยเข้าด้วยก็ยิ่งดี แต่ลำพังซากศพไม่พอ ต้องมีความรู้สึกที่ไม่เห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว จนไม่มีสิ่งที่จะกำหนัด หรือจะเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นั่นน่ะมันจึงจะลดความกำหนัด จึงพูดว่าลดความเห็นแก่ตัวน่ะดีกว่าระบบปฏิกูล ที่จะลดราคะ
เป็นอันว่าเรามีความสุข อันดับอีกอันดับหนึ่ง เป็นอันดับที่ 2 เกิดมาจากการไม่ถูกรบกวนของราคะ ราคะไม่รบกวน คนนอนไม่หลับเพราะราคะรบกวน เมื่อมันไม่มีราคะรบกวนคนก็นอนหลับ ขอให้สนใจเรื่องนี้ว่ามันก็มีอยู่จริงๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้มันเป็นเรื่องถูกต้องเสียได้ ให้รู้ไว้ว่าเป็นความสุขที่สูงขึ้นมา เป็นความสุขขั้นที่ 2 ขั้นที่ 2
เอ้า ที่นี้เราก็มาถึงความสุขระดับที่ 3 กันที เป็นระดับสุดท้าย มันเป็นความสุขที่เกิดมาจากความไม่มีความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง หมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง จะมีความสุขในระดับที่ 3 ในความหมายที่ว่าความสุขที่เหนือโลก ความสุขที่เหนือโลก เราไม่เห็นแก่ตัว ก็ไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลส ก็ไม่เกิดกิเลส ทุกอย่างในโลกไม่มีอำนาจ ไม่มีอิทธิพล จะทำให้เรารัก โกรธ เกลียด กลัวอีกต่อไป ความรัก โกรธ เกลียด กลัวนั่นแหละ เพราะว่าตกอยู่ใต้อำนาจของโลก เพราะความเห็นแก่ตัว มาถึงขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุด ดับความเห็นแก่ตัวเสียสิ้นเชิง ก็จะได้รับความสุขอันที่ 3 เรียกว่าสุขที่อยู่เหนือโลกก็ได้ หรือเพราะหมดความเห็นแก่ตัวก็ได้
บาลี ประโยคบาลี บาลี’s Formula ของความสุขนี้ ก็มีว่า อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง, อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง, อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง แปลว่านำอัสมิมานะ ความสำคัญว่ามีตัวตนนี่ออกซะได้ เป็นสุขอย่างสูงสุดเว้ย คุณสันติกะโร คงจะไม่มีคำแปลสำหรับคำว่าเว้ย คำว่าเว้ยนี่มีความหมายมาก เป็นคำพูดของผู้ชนะ ผู้ท้าทาย จึงจะพูดออกมาได้ว่า เว้ย การนำอัสมิมานะในโลกออกเสียได้เนี่ย ไม่ต้องในโลก คือทั้งหมดเนี่ย การนำอัสมิมานะออกเสียได้ เป็นความสุขอย่างยิ่ง อย่างยิ่ง Supreme เว้ย เว้ย ให้จำว่านำมานะ ความสำคัญมั่นหมาย ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าฉันอยู่ ตัวกูมี ตัวกูอยู่เนี่ย ออกเสียได้ นั้นจะเป็นความสุขสูงสุด เว้ย
Interjection hooray อาจจะไม่ท้าทาย ไม่ท้าทายนะ เว้ยนี่ท้าทายนะ
อยากจะให้เข้าใจความหมายของคำว่าโลกุตตระ ตัวหนังสือแปลว่าเหนือโลก แต่เราก็ไม่ได้ขึ้นไปที่ไหน เหนือโลกที่ไหนได้ เพราะไปอยู่ที่ไหน ก็เป็นโลกที่นั่น แปลว่าอยู่เหนือปัญหา หรือความทุกข์ หรืออิทธิพลของโลก ซึ่งมีอยู่ในโลก ปัญหาหรือความทุกข์ หรืออิทธิพลที่มันมีอยู่ในโลก เราอยู่เหนือนั่นก็แล้วกัน ตัวจะอยู่ใต้ดินก็ได้ แต่ว่าอยู่เหนือปัญหาทุกอย่าง ทุกประการที่มันทำให้เราเป็นทุกข์ คำว่าโลก โลกเนี่ยมันก็มีความทุกข์ มีของคู่ ดี-ชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ Positivism-Negativism อันนี้เป็นของในโลก เป็นสมบัติของโลก ถ้าเราอยู่เหนืออำนาจ อิทธิพลของสิ่งเหล่านี้โดยจิตใจ เรียกว่าอยู่เหนือโลก เหนือโลก จิตใจอยู่เหนือโลก ร่างกายไม่เกี่ยว นี่โลกุตตระ
ทีนี้ให้สั้นเข้ามา ให้ง่าย ให้สั้นเข้ามา ก็จะพูดว่า ไอ้ตัวตนนั่นแหละ ตัวกู ของกูนั่นแหละคือโลก ไอ้ Concept ที่ว่าตน ว่ากูนั่นแหละคือโลก เพราะว่าคนทั้งโลก คนทั่วไปทั้งโลก มันมีความคิดว่ากู ว่าตน ตัวตนนั่นแหละคือโลก อยู่เหนือความหมายแห่งตัวตนซะเถอะ ก็จะอยู่เหนือโลก
ทีนี้พูดอีกอย่างหนึ่งให้ง่ายออกมาหน่อย ก็ว่าอยู่เหนืออิทธิพลของความเข้าใจผิดว่ามีของเป็นคู่ มีของเป็นคู่ๆ คนธรรมดาในโลกทุกคนยังไม่รู้จริง ต้องเรียกว่ายังเป็นคนโง่ หากเราจะต้องจัดอันนี้เป็นฝ่ายนี้ อันนี้เป็นฝ่ายนี้ เป็นสองฝ่าย แล้วก็เป็นคู่ เช่น เป็น Positivism เป็น Negativism แต่ถ้าเค้ามีความรู้ทางธรรมะอย่างแท้จริง เค้าจะเห็นว่าไม่เป็นคู่ มันเป็นอย่างเดียวกัน มันเป็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา Process of อิทัปปัจจยตา’s Law ไม่ใช่ต่างกัน ไม่ใช่ตรงกันข้าม มนุษย์น่ะว่าเอาเอง ถ้าเค้าชอบใจ เค้าก็ว่าดี เป็น Positive ไม่ชอบ เรียกว่าไม่ดี เป็น Negative เนี่ย ดี-ชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ แพ้-ชนะ ได้-เสีย กำไร-ขาดทุนอะไรเกิดขึ้นมาได้เพราะความโง่ ไม่เห็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา นี่ถ้าเราชนะ คือเราไม่โง่ เราอยู่เหนือความหลอกลวง ที่ว่าเป็นคู่ เป็นคู่นี้เสียให้หมด ก็เรียกว่าเราอยู่เหนือโลกเหมือนกัน เพราะในโลกแห่งคนโง่ มีแต่ของเป็นคู่ ขึ้นอยู่เหนือ(นาทีที่ 1:07:46) ความหมายของเป็นคู่ ก็อยู่เหนือโลกได้เหมือนกัน
ตัวอย่างที่จะเห็นได้ง่ายๆ ทั่วไปอีก ก็อย่างเช่น คำว่าร้อน คำว่าเย็น เราทุกคนรู้สึกว่าร้อน รู้สึกว่าเย็น ถ้าเค้าพูดว่าร้อน หรือเย็น อย่างตรงกันข้าม เป็นของตรงกันข้าม แต่ถ้าว่าเป็นความจริง หรือเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่ามันไม่ได้ตรงกันข้าม คำว่าร้อนหรือคำว่าเย็น ก็เพียงแต่ว่ามี Temperature ต่างกัน Degree ของ Temperature มันต่างกัน มันลดๆๆเป็นชั้นๆไป เพราะว่าในที่สุด แม้แต่ในก้อนน้ำแข็ง มันก็มี Temperature อยู่จำนวนหนึ่ง ระดับหนึ่ง ถ้าไปถึงดวงอาทิตย์ ก็ Temperature ระดับหนึ่ง มันจึงไม่มีร้อน ไม่มีเย็น มีแต่ความแตกต่างกันของ Temperature เราจึงรู้ว่า โอ้ มันไม่ Dualism หรือว่ากลางวัน กับกลางคืน เด็กๆจะเห็นว่าต่างกัน ตรงกันข้าม กลางวันกับกลางคืน แต่ที่แท้มันก็เป็นเวลาเหมือนกัน เวลาเหมือนกัน จิตที่เป็นอย่างนี้มันก็ไม่หลงมาก ไม่โง่มาก ไม่ Attach ซ้าย ไม่ Attach ขวา มันอยู่ตรงกลางได้ เรียกว่าเราอยู่เหนือความหมายของ Dualism ก็อยู่เหนือโลกนั่นเอง
ความได้ ได้กำไร แล้วก็ความเสีย ความขาดทุน ดูเป็นของตรงกันข้าม แต่ถ้าดูลึกลงไป ก็จะเห็นเอง กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา มันมีเหตุปัจจัยอย่างนี้ มันก็มีผลออกมาอย่างนี้ มีเหตุปัจจัยอย่างนี้ ก็มีผลออกมาอย่างนี้ อย่างนี้มันก็คนในโลกก็บัญญัติเรียกเอาว่ากำไร อย่างนี้เรียกว่าขาดทุน ที่จริงมันเป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปตามกฏแห่งอิทัปปัจจยตา ปัจจยตาแล้วก็มีผลออกมาอย่างนี้ มีผลออกมาอย่างนี้ เป็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาอย่างเดียวกัน ไม่ตรงกันข้าม ถึงกับว่านี่เป็นกำไร นี่เป็นขาดทุน แล้วถ้าเรายังเป็นคนโง่อยู่ในโลก เราก็จะต้องเห็นเป็นตรงกันข้าม เป็น Extreme ต่อกันและกัน ขอให้รู้ว่ามันถูกหลอกอยู่อย่างนี้ด้วย Dualism อยู่เหนือการถูกหลอกอย่างนี้แหละ เรียกว่าอยู่เหนือโลก
ทีนี้มาคิดดูว่าทำไมท่านจึงหัวเราะ ทำไมท่านจึงร้องไห้ ทำไม Positivism ทำให้ท่านได้หัวเราะ Negativism ทำให้ท่านได้ร้องไห้ เมื่อมามองเห็นความจริงของโลก ของธรรมชาติอย่างนี้แล้ว มันไม่มี Positivism or Negativism ดังนั้นท่านก็ไม่ต้องหัวเราะและไม่ต้องร้องไห้อีกต่อไป ดีมั๊ย หรือว่าไม่สนุก หรือว่าไม่สนุกแล้วก็ไม่ชอบที่ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้ ถ้าอยากจะไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้ ก็เข้าใจอันนี้ เข้าใจความที่มันเป็นของที่ไม่ใช่ของคู่อย่างนี้ จึงจะอยู่เหนือโลก โลกนี้จะไม่ทำให้หัวเราะ โลกนี้จะไม่ทำให้ร้องไห้อีกต่อไป เนี่ยโลกุตตระสุขเป็นอย่างนี้
เมื่อท่านมามองเห็นว่าไม่มีของคู่ คู่ คู่ คู่หรือว่า Dualism แล้ว ท่านก็จะพบสิ่งใหม่ สิ่งใหม่คือความว่าง ว่างจาก Positivism ว่างจาก Negativism ใครแบ่งความว่างนี้ให้เป็น Positive หรือเป็น Negative ได้ ใคร ใครจะแบ่งความว่าง ให้เป็น Positive หรือ Negative ได้ ไอ้ความว่างเนี่ย มันไม่มีการถูกแบ่งให้เป็นของคู่ได้ ก็เลยหมดปัญหา ไม่มีปัญหา เพราะของคู่อีกต่อไป ว่างจากความหมายแห่งของคู่ที่ทำให้เป็นทุกข์นั่นแหละคือพระนิพพาน นิพพานแปลว่าว่างอย่างยิ่ง ว่างจากการปรุงแต่ง จากการรบกวน จากความทุกข์ จากทุกๆอย่าง นี่ขอให้สนใจ อยู่เหนือความหมายของ Dualism แล้วจะพบความว่าง ซึ่งเป็น Synonym ของนิพพาน
เมื่อจิตเห็นหรือ Experience Void ความว่าง จิตก็ว่าง เพราะว่าจิตไม่รู้จะไปจับเอาที่อะไร ไม่รู้จะไป Glut หรือไป Cling(นาทีที่ 1:21:37) ที่อะไร จิตก็ไปเป็นจิตว่าง จิตว่างนี่คือจิตที่อิสระที่สุด เสวยความสุขที่สุด บางเวลาท่านแต่ละคน ละคนนี่มี มีจิตที่ว่างเพราะไม่ Attach อะไร แต่ท่านก็ไม่สนใจ และไม่เห็นว่าจะดีอะไร บางเวลาจิตของท่านไม่เป็น Positive ไม่เป็น Negative ไม่ถูกบีบบังคับด้วย Positivism Negativism แต่ท่านไม่รู้สึก ท่านไม่สนใจที่จะรู้สึก ต่อไปนี้ขอให้คอยสนใจว่าเมื่อไร เมื่อไร เวลาอะไร เท่าไร จิตของเราเป็นอิสระ ไม่เป็น Positive ไม่เป็น Negative ทั้งสองอย่างครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้าท่านพบเวลาอย่างนี้ แม้แต่สักวินาทีเดียว ก็เรียกว่าท่านได้รับการแสดงด้วยตัวอย่าง The Specimen ของนิพพาน ตัวอย่างของนิพพาน ถ้าท่านจับได้ เข้าใจ มองเห็น ท่านก็จะพอใจนิพพาน จะมุ่งไปทางนิพพาน จะมุ่งไปในทางเหนือโลก เหนือโลก เหนือโลก เหนืออำนาจของ Positivism และ Negativism ท่านก็จะมีความสุขชนิดที่เป็นโลกุตตระ ใหม่ยิ่งกว่าใหม่ ใหม่เพราะว่าไม่เคยเลย ขอให้คอยสนใจดีๆ คอยจ้องจับให้ดีๆ เวลาไร เมื่อไร ที่ไหน ที่จิตของเรามันว่างอยู่ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่ขึ้น ไม่ลง ไม่บวก ไม่ลบ ไม่ถูกบีบคั้นด้วย Positivism หรือ Negativism ขอให้คอยสนใจ มันมีอยู่ มันเป็นตัวอย่างของนิพพาน แต่เราไม่สนใจ จึงไม่พบ ไม่จับได้ ขอให้สนใจเถิด จะค่อยๆรู้ ว่าโอ้ ไอ้ว่างนั่นแหละ ประเสริฐวิเศษที่สุด
สรุปความว่า เมื่อใดมีความเห็นแก่ตัว เมื่อนั้นไม่ว่าง ไม่ Void เมื่อใดไม่มีความเห็นแก่ตัว เมื่อนั้นจะว่าง และจะ Void ขอให้ท่านพยายามศึกษาให้เข้าใจเรื่องนี้ ให้รู้จักทำสมาธิวิปัสสนาให้มันว่าง แต่อย่าลืมว่า ธรรมดามันก็ว่าง ว่างอยู่โดยบังเอิญน่ะ Coincident มันก็ว่างได้ แต่มันก็ไม่เป็นที่ปรากฏ ท่านก็ไม่สนใจ พอมัน Void ท่านก็หลับเสีย คือมันไป Void เมื่อท่านหลับเสีย ก็เลยไม่ต้องรู้กัน ตื่นๆอยู่อย่างนี้ รู้จัก Void แต่ไม่ต้องใช้เฮโรอีน หรือ HND ขอให้ Void ให้ได้ แล้วเป็นอันว่าเราจะมีความสุขชนิดที่แท้จริง เป็น อัสมิมานัสสะ วินะโย เอาความเห็นแก่ตัวออกไปเสียได้ เราก็พบความสุขอันนี้
ในที่สุดนี้ ขอสรุปความเป็นครั้งสุดท้ายว่ามันน่าหัว น่าประหลาด น่าขบขัน หรือน่าอะไรก็แล้วแต่ ว่าต้องสลัดไอ้ตัวตน ตัวกูที่จะเป็นสุข ตัวกูที่จะเป็นสุข นั่นนะ สลัดตัวกูออกไปเสีย จิตจึงจะเป็นสุข สลัดตัวผู้ที่จะเป็นสุขออกไปเสีย จิตจึงจะเป็นสุข น่าหัวอย่างยิ่งอย่างนี้และยังจะเป็น Illogic อยู่มากด้วย ขอยุติการบรรยายในวันนี้ไว้เพียงเท่านี้