แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อันธรรมะคืออะไรก็ได้พูดกันมาพอสมควรแล้ว ที่จะแสดงประโยชน์ในฐานะเป็นสิ่งที่ป้องกันการทุจริต หรือความทุจริต หรือความชั่ว นั่นเอง ถ้าเรามีความรู้โดยปราศจาก ด้วยถือไว้เป็นหลักเป็นหลักอย่างมั่นคง เพราะธรรมะคือ หน้าที่ที่ถูกต้องเพื่อการอยู่รอด ซึ่งจะต้องขอย้ำอยู่ตลอดไปว่าธรรมะคือ หน้าที่ที่ถูกต้องเพื่อความรอด เพื่อความรอด ถ้ามีหน้าที่ที่ถูกต้อง ซึ่งก็ไม่มีหน้าที่ทุจริต ไม่มีการทำทุจริตเลย ขอให้มองเห็นในข้อนี้ด้วย สมาทานธรรมะ ได้เป็นอย่างดีที่สุด มันจะป้องกันอธรรม ธรรมะคือหน้าที่ที่ถูกต้องเพื่อความรอด ถ้ามันมีแต่หน้าที่ที่ถูกต้อง และหน้าที่ที่ไม่ถูกต้องมันก็เข้ามาไม่ได้ จึงขอให้สมาทาน มีคำสองคำที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดี นั่นคือคำว่าสมาทานคำนี้ กับคำว่าอุปทานคือ ความยึดมั่นถือมั่นความหมายสองคำนี้เข้าใจกันผิดๆ ข้อที่ว่าสิ่งทั้งปวงยึดมั่นถือมั่นไม่ได้นั้นแหละนั้นถูกต้องที่สุดแล้วอย่าได้ไปสงสัยเลย แม้มันจะมีคนค้านว่ายึดมั่นถือมั่นแล้วมันก็ไม่ทำอะไร มันโง่ถึงขนาดนั้น มันก็ทำอะไรด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นแต่ว่าสมาทานไว้อย่างดี ถ้าเขามีความเห็นว่าต้องยึดมั่นถือมั่น กันอย่างเคร่งเครียดมันจึงจะทำอะไรก็จึงจะทำได้อย่างดีนี่ช่วยจำไว้ไม่ว่าใช้ไม่ได้มันจะเต็มไปด้วยความทุกข์จะเต็มไปด้วยความเครียด แล้วมันจะผิดด้วยความยึดมั่นถือมั่นน่ะมันมากเกินไป ที่เรียกว่าด้วยอุปทาน คุณต้องจำไว้ให้ดีว่าอุปทานกับสมาทานน่ะมันคนละอย่าง มันตรงกันข้าม เช่นเราจะรับศีลนี่เรียกว่าสมาทานศีล ไม่ใช่อุปทานศีล แต่ถ้ามันสอนให้ยึดมั่นถือมั่นในศีลนั้นมันก็ผิดหมดแหละ มันกลายเป็นอุปทานในศีลไป เราจะต้องมีสมาทานที่ถือไว้อย่างดี อย่างถูกต้องต่อศีล สมาทานศีล สมาทานวัด สมาทานธุดงค์ อะไรก็ตามให้อยู่ในความหมายของคำว่าสมาทาน อย่าได้อุปทานเลย อุปทานก็แปลว่าผิดเกินไป และก็หนักเกินไป แล้วก็เครียด แล้วก็เป็นทุกข์ อย่างเราจะถือหลักประพฤติ ปฏิบัติอะไรสักอย่างหนึ่งน่ะ อย่าอุปทาน แต่สมาทานถือไว้อย่างดี ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่น มันจะมืดมน มันจะโง่เง่า มันจะทนทุกข์ทรมานอยู่ในตัวพร้อมกันไปเพราะมันเครียดล่ะ เพราะว่าอุปทาน พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ถูกต้องแล้วว่า คำทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นน่ะคืออย่างนี้ แปลว่าทำในฝ่ายที่ถูกที่จะช่วยได้น่ะก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ว่าสมาทาน ถือไว้อย่างดี คือปฏิบัติได้ถูกต้อง ปฏิบัติได้อย่างดี ฉะนั้นทั้งคำว่าปฏิบัติหน้าที่ หน้าที่ที่เป็นธรรมะ ก็ทำอย่างสมาทาน อย่างเราจะมีการถือระเบียบข้อบังคับ ระเบียบราชการ หรืออะไรก็ตามน่ะ เราถืออย่างสมาทาน นั่นถือไว้อย่างดี อย่างพอดีก็พอ ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นมันจะบ้า ยึดมั่นถือมั่นทุกตัวอักษรล่ะก็บ้าเลย ระเบียบกฏเกณฑ์อะไรก็ตามที่ว่าทำผิดแล้วเขาจะลงโทษ ก็เพียงแต่สมาทานไม่ถึงกับยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นมันก็กลายเป็นโรคฮีสทีเรียไปแล้ว สมาทานถือไว้แต่พอดี อย่างถูกต้องและพอดีคือ การถือธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่ที่ถูกต้อง ถูกต้องแก่ความรอด คำว่าหน้าที่ต้องมีความหมายว่าถูกต้องนะ หน้าที่ที่ไม่ถูกต้องมันก็มีนะ ไม่เอาเลย คือถูกต้อง แก่อะไร ถูกต้องอย่างไร ก็ถูกต้องแก่ความรอด รอดจากอะไร รอดจากปัญหา รอดจากความทุกข์ รอดจากสิ่งไม่พึงปรารถนาโดยประการทั้งปวงนี้เรียกว่า ความรอด รวมทั้งรอดตายด้วย รอดที่มันควรจะรอด นั่นก็มีการสมาทานคือถือไว้อย่างดี ในธรรมะคือ หน้าที่ที่ถูกต้องแก่ความรอด นี่เป็นหลักสำคัญ ถ้าถือหลักอันนี้ไว้ได้ล่ะก็ ลองทายซิ จะไม่เกิดความชั่ว จะไม่เกิดความทุจริตในระดับใดๆ จะมีความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง จะมีความเป็นบรรพชิต ภิกษุสามเณรที่ถูกต้อง คือจะเป็นอะไรก็จะเป็นได้อย่างถูกต้อง เพราะมีธรรมะหรือหน้าที่ที่ถูกต้องแก่ความรอด ณ ที่นี้ก็อยากจะระบุให้มันชัดเป็นหัวข้อ เพื่อจำง่าย ศึกษาง่าย คิดนึกง่าย ใช้มันง่าย ฉะนั้นก็จะแนะธรรมะ ๔ ข้อ
จำง่ายๆ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี (ซ้ำ 1 ครั้ง) ทีนี้ก็พูดกันทีละข้อ สุทธิแปลว่าบริสุทธิ์ นั่นแหละความหมายของคำว่าถูกต้องบริสุทธิ์ ต้องมาก่อนต้องมาเป็นหลักใหญ่ ต้องยึดหลักใหญ่ทั่วไปเป็นพื้นฐานนั่นหละสุทธิ ถ้ามิฉะนั้นปัญญามันจะเฉโก มันจะกลายเป็นความฉลาดที่คดโกง มันรู้อะไรมากมันพูดจาเก่ง มันอะไรทุกอย่างเฉลียวฉลาดทุกอย่าง แต่แล้วมันจะคดโกง ถ้ามันไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สุทธิ สุทธินั่นคือหลักสุทธิจะมาก่อน มาก่อน จะได้ควบคุมปัญญาให้มันอยู่ในแนวที่ถูกต้อง อย่าให้เป็นความฉลาดที่คดโกง จะโกหก จะทุจริต จะขโมย จะทำผิดหลักใหญ่ๆทั้งหมดเลย ถ้าปัญญามันเกิดการคดโกงขึ้นมา ที่จริงเขาไม่เรียกว่าปัญญาถ้ามันคดโกง แต่ในภาษาไทยมันเรียกได้ ความเฉลียวฉลาดเขาเรียกว่าปัญญาทั้งนั้น ถ้าเราใช้คำภาษาฝรั่งสักหน่อยมันก็จะชัดเจนแยกแยะกันได้ง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษเขาว่า intellect หรือ intellectual กับคำว่า wisdom ไม่ใช่คำเดียวกัน intellect นี่มัน มันฉลาดนะ ความฉลาดแต่ wisdom นี่มันความรอบรู้ intellect นี่มันไว้ใจไม่ได้ มันฉลาดแล้วมันโกงก็ได้ มันฉลาดแกมโกงก็ได้ นี่มัน intellect ถ้ามันไม่มีสุทธิ มันไม่มีสุทธิ ถ้ามันมีสิ่งที่เรียกว่า ปัญญา wisdom ถึงขั้น intuition ด้วยมันก็ยิ่งดี มันทุจริตไม่ได้ก็มันรอบรู้อะไรไปหมด แล้วมันรู้ ไอ้ความสุจริต หรือสุทธินั่นเอง ฉะนั้นขอให้นึกถึงสุทธิ นี่เป็นหลักใหญ่ นำหน้าหรือพื้นฐานทั่วๆไป ไม่มีชีวิตที่สุทธิอย่างบริสุทธิ์นี่เป็นหลักพื้นฐาน แต่ต่อไปจากนั้น มันจะปลอดภัยหมดหละ ถ้ามันไม่มีสุทธินำหน้าเป็นพื้นฐานแล้ว มันก็ ก็คงได้น่ะ ผิดได้แม้แต่ความรู้สติปัญญา ไอ้ความรู้อย่างที่เราเรียกว่าสติปัญญานี่ คือความขยันขันแข็ง ความอดกลั้นมานะอดทนมันก็จะเดินทางผิดคือไม่บริสุทธิ์ จะมีความบริสุทธิ์เป็นหลักเป็นเบื้องหน้า ขยายความไปถึงความซื่อตรง ถ้าคดก็ไม่บริสุทธิ์ ซื่อตรงมันก็บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ตามความหมายของสิ่งที่เราจะเป็น หรือเราจะมี หรือเราจะได้ หรือเราจะใช้ เช่นมีความเป็นมนุษย์ เราจะประกาศตัวเป็นมนุษย์ ก็ต้องมีความถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ความซื่อตรงคือ ถูกต้องต่อความเป็นมนุษย์ ความบริสุทธิ์ถูกต้องต่อความเป็นมนุษย์ นี่เรียกว่าสุทธิได้ เป็นมนุษย์ แต่ไม่มีมนุษยธรรม คือ อมนุษย์ มันก็ไม่เป็นมนุษย์เท่านั้นแหละ ไอ้คำว่าสุทธิก็ต้องมีความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง บริสุทธิ์ผุดผ่องของความเป็นมนุษย์ คือมีมนุษยธรรมอย่างถูกต้องนั่นเอง มันจะคุ้มครองหมดเลย จะเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันยิ่งกว่าเครื่องรางใดๆในโลก ไอ้ความบริสุทธิ์นี่ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หรืออะไรทำนองนี้ ก็เพราะว่ามันมีความบริสุทธิ์ซึ่งขอให้เราสนใจตามที่ กล่าวแล้ว เอาวางเป็นหลัก ข้อที่ ๑ สุทธิ เอ้า,ทีนี้ ข้อ ๒ ปัญญา ปัญญา คำว่าปัญญานี้มันมาจาก ความรู้ที่แท้จริงที่ผ่านมาแล้วอย่างทั่วถึงพิสูจน์ทดลองแล้ว ด้วยการประพฤติ ปฏิบัตินั่นเอง พูดให้หมด เป็นภาษาไทยซึ่งมีความหมายกำกวมนะภาษาไทย ปัญญาก็เลยเอาเป็นปัญญาไปหมด เฉโกก็เรียกว่าเป็นปัญญา ฉลาดก็เรียกว่าปัญญาทั้งนั้น แม้แต่ฉลาดคดๆ ก็เรียกมันว่ามีปัญญา แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็มีปัญญา ลิงที่มันมีความฉลาดที่จะขโมยก็เรียกว่ามันมีปัญญา อย่างนี้ไม่ไหว เรามาดูที่เรามีกันอยู่ดีกว่า ปัญญาที่มาจากการเรียนรู้ และปัญญาที่เกิดมาจากการใช้เหตุผล แล้วปัญญาที่มาจากการปฏิบัติสิ่งนั้นลุล่วงไปแล้วสามชั้น ไกลกันลิบ ต่างกันมาก ถ้าปัญญาที่มาจากการเรียนรู้ก็อย่างที่เราเรียนกันในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย ในอะไรเรียน จำ จดจำ ตามครบถ้วนได้ความรู้ ตามที่ได้เล่าเรียนมาเรียกว่าปัญญาเกิดจากการเล่าเรียน เรียกเป็นภาษาบาลีเขาเรียกกันว่า สุตมยปัญญา สุตตะ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดมาจากการศึกษาเล่าเรียน คำว่า สุตตะ นั้นแปลว่า ฟัง ในสมัยโบราณเขาก็มีแต่การสอนด้วยปาก การได้ยินได้ฟังก็คือการศึกษาเล่าเรียน สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดมาจากการฟัง คือการเล่าเรียนก็เยอะเหมือนกัน เรียนกว่าจะจบมหาวิทยาลัย ก็มี สุตมยปัญญา นี้มาก เป็นปัญญาคือ ความรู้ ความรู้เรียกว่าความรู้ทั่วๆไป มาจากเล่าเรียน learning ก็ได้ study ก็ได้ อะไรก็ได้ มันเป็นการเรียนรู้ ทีนี้เมื่อเอาความรู้นั้นมาพินิจพิจารณาด้วยการใช้เหตุผล ที่เรียกว่า reasoning reasoning หาเหตุผลตามวิธีของการหาเหตุผล มันก็เกิดความรู้ขึ้นมาใหม่อีกชั้นหนึ่งก็เรียกว่า ความเข้าใจ ความเข้าใจ ทีแรกเป็นเพียงความรู้ ทีหลังเป็นความเข้าใจ ที่ยิ่งไปกว่าความรู้ มากกว่าความรู้ สูงกว่าความรู้ ก็มันถูกใช้ ไตร่ตรองด้วยการใช้เหตุผลมากมาย นี่ก็เราก็มีปัญญาในระดับที่ว่าเป็น ความเข้าใจ ทีนี้ความเข้าใจนั้นก็ยังไม่สูงสุด การพิสูจน์ด้วยเหตุผลใช้เหตุผลไม่ถูก ความเข้าใจนั้นมันก็จะไม่ถูกตามน่ะจึงยังไม่ถือเอาเป็นเรื่องเด็ดขาด ต้องเอาเรื่องนั้นนะที่รู้ที่เข้าใจนั้นมาประพฤติ ปฏิบัติ ประพฤติ ปฏิบัติ จนพิสูจน์ได้ว่ามีผลอย่างนั้นจริง มันเกิดผลอย่างนั้นจริง ในความรู้ก็เลยเลื่อนชั้นไปเป็นความแจ่มแจ้งแทงตลอด เห็นแจ้งแทงตลอด เกินความเข้าใจแล้ว เกินเหตุผลแล้วอยู่เหนือเหตุผลแล้ว ถ้ายังอยู่กับเหตุผลมันผิดได้ถ้าเหตุผลมันผิด แต่ถ้ามันผ่านมาแล้วด้วยการปฏิบัติ ที่พิสูจน์ ทดลองอะไร อย่างทางการประพฤติ ปฏิบัติ โดยชัดจริงมันก็เลยเป็นความเห็นแจ้งแทงตลอด ดูเหมือนภาษาฝรั่งเขาก็พอจะถือเป็นหลักได้ ถ้ามีความรู้เป็น knowledge ธรรมดาๆ มีความรู้แล้วก็มีสูงขึ้นไปเป็นความเข้าใจ เป็น understanding มีการได้รู้โดยผ่านการปฏิบัติด้วยจิตด้วยใจ ด้วยชีวิตมาแล้ว มันก็เห็นแจ้งแทงตลอดก็เรียกว่า realization realization นั่นหละจะช่วยได้ จะถือเป็นหลักเกณฑ์ได้ถ้ามันเป็น realization มันเห็นแจ้ง มันไม่ใช่รู้ ไม่ใช่เข้าใจ เลยกลายเป็นเห็นแจ้งด้วยใจ ด้วยสติปัญญา มันผิดไม่ได้ เพราะมันเห็นตามที่เป็นจริง เพราะมันมองลงไปที่ของจริง ถ้าเรามีการผ่านมามาก ปฏิบัติมามาก เรียนจากในไอ้เรื่องของชีวิต เราก็จะมีการเห็นแจ้งแทงตลอดในชีวิต ในการเจนจัดที่เรียกว่า experience นี่ มันไม่เกี่ยวกับเรียนรู้ในโรงเรียน หรือการใช้เหตุผลทาง reasoning ให้มันเป็นสิ่งที่เห็นแจ้ง ประจักษ์ด้วยจิตใจอย่าง realization เรามี experience ในหลายๆสิ่งได้โดยไม่ต้องเข้าโรงเรียน โดยได้ใช้เหตุผลอะไรนั้น แต่เราได้ผ่านสิ่งนั้นมาด้วยจิตใจจริงๆ เราก็มี experience ในเรื่องต่ำๆ เป็นเรื่องวัตถุ สิ่งของ การงานก็มี experience เป็นแบบหนึ่ง ทีนี้มันมีเรื่องลึกไปกว่านั้นคือเรื่องของสติปัญญา ทางจิตทางวิญญาณที่เรียกว่า special บางอย่างเราเคยรัก เคยโกรธ เคยเป็นทุกข์ เคยอะไรมา เคย เคยรู้สึก ผ่านมาแล้วทุกอย่างก็มันมี experience อะไรเรื่องทางจิตทางวิญญาณ ไอ้ มีมากยิ่งดี เรียกว่า special experience ยิ่งมีมากยิ่งดี ไอ้คนโง่ๆ มันไม่สังเกต มันไม่สนใจ มันก็ มันผ่านชีวิตมาเท่าไรๆ มันก็ยิ่งโง่ ยัง ยังไม่มี แต่ถ้าเป็นคนเฉลียวฉลาด มันก็สังเกตดีจดจำดี อันนี้มันก็รู้สึกได้บ้างแหละ ชีวิตที่ผ่านมา จะผ่านอะไรมา อะไรเป็นอย่างไร อะไรคืออะไร มันมี experience ทางจิตทางวิญญาณอย่างมาก อันนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง นี่ก็เป็นปัญญา เป็นปัญญาที่จะช่วยได้ มันเป็นปัญญาที่จะช่วยได้ ฉะนั้นขอให้สนใจไว้ว่าปัญญามี ๓ ชั้น มาจากการเรียนรู้ มาจากการใช้เหตุผล มาจากการผ่านมันมาแล้วด้วยการประพฤติ ปฏิบัติ ในจิตใจโดยตรงมี ๓ ชั้น มันมีประโยชน์ของมันไปตามลำดับ ตามลำดับ ๓ ชั้นของมัน แต่ว่าชั้นที่จะจริงจังก็จะต้องเป็นปัญญาที่เป็นความเห็นแจ้งแทงตลอด เป็น experience ก็มี experience เป็นบทเรียน ปัญญาอย่างนี้มันไม่ได้จากหนังสือ ไม่ได้เรียนจากสมุด ไม่ได้เรียนจากเครื่องคำนวณอะไรนะ แต่เรียนจากสิ่งที่ผ่านไปแล้วในจิตใจ เรียนจากตัวชีวิตเอง สะสมไว้ได้แล้ว สะสมไว้ให้มากอย่า อย่าประมาท อย่ามองข้ามในสิ่งต่างๆ ที่มันได้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา อะไรอย่างนั้น ผ่านไปอย่างไม่มีประโยชน์มันมีค่ามาก ได้เรียนรู้แล้วเอามาใช้เป็นประโยชน์ได้มาก ถ้าเรามีปัญญาถึงขนาดนี้แล้วมันควบคุมอยู่ด้วยสุทธิ คือความบริสุทธิ์ คือความถูกต้อง ก็เท่ากับว่ารอดตัว ทีนี้เพียงพอที่จะรอดตัว สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี คือจะดูว่าปัญญานี่จำเป็นสักกี่มากน้อย ในความรู้แจ้งมันก็เป็นปัญญาขนาดที่จะทำให้แก้ปัญหาได้จริง แก้ปัญหาได้จริง ไม่ค่อยจะกำกวม หรือคาดคะเนว่าปัญญาจะต้องอย่างนั้น นี่เป็นปัญญาที่จะควบคุมเมตตาหรืออะไรได้ด้วยต่อไปข้างหน้า ถ้าจะใช้พระเดชให้ใช้ด้วยเมตตา ถ้าจะใช้พระคุณให้ใช้ด้วยปัญญา ควรจะจดไว้ก่อน จำไว้ก่อนก็ได้ถ้าเผื่อข้างหน้า ถ้าคุณจะเป็นผู้บังคับบัญชาแม้แต่เด็กๆ จะไปเป็นผู้บังคับบัญชาเขา จึงใช้พระเดช คือการลงโทษ การทำอะไรอย่างนั้นเรียกว่าพระเดชด้วยเมตตา และก็ใช้พระคุณด้วยปัญญา ถ้าจะรักเขาจะสงสารเขา จะลดโทษให้เขานี่ต้องใช้ด้วยปัญญา เราได้ยินได้ฟังกันอยู่แล้วในหน้าที่ราชการนั้นเอง และมีทั้งพระเดชและทั้งพระคุณที่ต้องใช้ ไม่ใช้ไม่ได้ ใช้อย่างเดียวก็ไม่ได้ การปกครองคนมันต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ แต่ขอให้ใช้พระคุณด้วยปัญญา ไม่ว่าจะผิดพลาด ไม่ว่าจะเลยเถิด ใช้พระเดชด้วยเมตตามันจะไม่ผิดพลาด จะไม่โหดร้าย มันลงโทษอย่างโหดร้ายเพราะมันขาดเมตตา มันใช้พระคุณอย่างโง่เขลา เพราะมันไม่มีปัญญา อันนี้มันเลือกกันระหว่าง ๒ สิ่งนี้ มีเมตตา แปลว่าความเป็นมิตร แต่ทีนี้ก็มาขยายเป็นความรัก เป็นอะไรก็ได้ ความเป็นมิตรก็คือความรักชนิดหนึ่ง ให้เรามีความคิดถูกต้อง ว่ามันจะต้องอยู่กันด้วยความเป็นมิตร ถ้ามันอยู่ด้วยความเป็นศัตรูอยู่กันได้เหรอ ไอ้โลกนี้มันไม่ได้สร้างมาสำหรับให้อยู่คนเดียว ถ้าเขาอยู่คนเดียวเราก็อยู่ไม่ได้ พูดได้เลยว่า เอ้า, เขาจะมายกโลกทั้งหมดนี้ให้เราคนเดียว อยู่คนเดียวไม่ต้องมีใครอยู่ด้วย เราก็อยู่ไม่ได้หรอก แล้วมันจะตายด้วย เพราะมัน มันไม่ได้สร้างมาเพื่ออยู่คนเดียวได้ ต้องอยู่กันหลายคน อยู่กันมากๆคน ถ้าอยู่กันมากๆ มันต้องอยู่ด้วยความเป็นมิตร จะอยู่ด้วยความเป็นศัตรูไม่ได้ ไอ้คำว่ามิตร มิตรมันแปลว่า ความที่มีจิตใจอ่อนโยน แผ่เผื่อเจือจาน สมัครสมานซึ่งกันและกัน สูงสุดของความเป็นมิตรเรียกว่า ศรีอริยเมตไตรย์ ที่มันเป็นระดับสูงสุดของความเป็นมิตรนะ มันสูงขึ้นไปถึงที่เรียกกันว่า ศรีอริยเมตไตรย์ เมตไตรย์ นั้นแปลว่าเกื้อกูลแก่เมตตา หรือความเป็นมิตรเกื้อกูลแก่ความเป็นมิตร เรียกว่า เมตไตรย์ และศรี น่ะช่างสวยงามประเสริฐ อริยะชั้นที่ ที่ประเสริฐ ที่ประเสริฐ ที่มันสูงสุด ที่มัน ที่เรียกว่าอริยะ แปลว่ามันสูงสุด และศรี ศรี แปลว่างดงาม สง่าราศี ศรีอริยเมตไตรย์ ก็หวังกันนักว่าจะมียุคศรีอริยเมตไตรย์ คือความเป็นมิตรสูงสุด สูงสุด ก็สบาย สบาย รู้เรื่องนี้กันไว้บ้างก็ไม่เสียหลายหรอก คือมันอยู่กันอย่างมิตร อยู่กันอย่างความรักผู้อื่น ถ้าทั้งโลกทุกคนมันรักผู้อื่นอย่างเหนียวแน่น อย่างนี้จะเป็นอย่างไร โลกนี้จะเป็นอย่างไร โลกนี้ ปัจจุบันนี้ มันเกือบจะไม่มีใครรักใครนะ แม้แต่คนในครอบครัวบางทีมันก็ไม่รัก ยังฆ่ากันตายระหว่างผัวเมีย ระหว่างพ่อลูกนะ เพราะความเห็นแก่ตัวมันมากเกินไป มันเครียดด้วยความเห็นแก่ตัว จะหาความเป็นมิตรไม่ได้ ถ้าหมดความเห็นแก่ตัวก็มีแต่ความเป็นมิตรเสมอกันหมดทุกคน เขาเปรียบลักษณะนี้ไว้ในอุปมาว่า หากพอลงจากเรือนสู่ท้องถนนแล้วก็จำกันไม่ได้ว่าใครเป็นใคร ต่อเมื่อกลับมาถึงบ้านเรือนของตัวเองอีกทีจำได้เอ้า,นี่ภรรยา สามี พี่ ป้า น้า อา พอออกไปสู่ท้องถนนจำไม่ได้ เพราะว่าเหมือนกันหมด ดีเหมือนกันหมด น่ารักไว้ใจได้เหมือนกันไปหมด นั่นอุปมา ถ้าความเมตตามันสูงสุด มันถึงขนาดนี้ จะเหลียวไปทางไหนมีแต่คนถามจะให้ช่วยอะไร จะให้ทำอะไร ยกมือขึ้นถามว่าจะให้ช่วยอะไร จะให้ทำอะไร นี่ความเป็นมิตรมันสูงสุด หรือว่าเราต้องการอะไร มีคนให้ทั่วไปหมด ความรักถึงขนาดอย่างนั้นจึง เรียกว่ามีกัลปพฤกษ์ ต้นไม้สี่ มุมเมืองต้องการอะไร เอาได้ตามต้องการ ในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ เขา พรรณนาไว้อย่างนั้น ก็มันรักกันจนไม่รู้ว่าเป็นยังไง ถ้าต้องการอะไรมีคนให้ นี่เมตตาสูงสุด ความเป็นมิตรสูงสุด ความมีเมตตาน่ะมันสูงสุด เดี๋ยวนี้เอาแต่ว่าเรานี่แหละอยู่กันอย่างมนุษย์ด้วยกันที่มีความเมตตา เป็นมิตรว่าเป็นเพื่อน เพื่อนในความหมายที่สูงสุดนั้น ไม่ใช่เพื่อนกิน เพื่อนเล่น เพื่อนสุข เพื่อนทุกข์ แต่ว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย มองเห็นปัญหาอันลึกซึ้งของทุกคนว่ามีความเกิด ความแก่ มีความเจ็บ มีความตาย เป็นปัญหาอย่างเดียวกันหมด ทุกคนมีปัญหาอย่างเดียวกันหมด เหมือนว่าเป็นหัวอกเดียวกัน มีปัญหาอย่างเดียวกันหมด โอ้เป็นเพื่อน เป็นมิตร เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันก็เบียดเบียนกันไม่ได้ โกงกันไม่ได้ มันก็เอาเปรียบกันไม่ได้ เดี๋ยวนี้ที่มันเอาเปรียบ เอาเปรียบกันไม่หยุดหย่อน คดโกงกันไม่หยุดหย่อน เพราะมันไม่มีความเป็นมิตร ชนิดนี้มันมีแต่ตัวกู ของกูจะได้นั่น จะได้นี่ กูจะเอานั่น กูจะเอานี่ มันเป็นมิตรแต่กับตัวมันเองนะ มันก็คดโกง มันก็ทุจริต มันก็คอรัปชั่น ไม่ว่าเป็นบรรพชิต หรือว่าเป็นฆราวาส เหมือนกัน ถ้ากิเลสนี้มันเกิดขึ้นแล้ว มันก็ทุจริตทั้งนั้น มันก็สูญเสียความถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ที่พูดเนื่องกันถึงเมตตากับปัญญานะ พูดเผื่อไว้ว่าถ้าได้ไปเป็นผู้บังคับบัญชา ยังใช้พระเดชด้วยเมตตา ใช้พระคุณด้วยปัญญา มันจะมีอาการเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตายกันอย่างยิ่ง ทีนี้ข้าราชการได้รับคำคัดค้าน ติเตียนว่าดูหมิ่นประชาชน เอาเปรียบประชาชน ฉ้อราษฎร์บังหลวงต่อประชาชน เพราะมันไม่มีไอ้ความเมตตา ว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่ก็คน นี่ก็คน เพื่อนกันในท้องถนน นี่ก็เบียดเบียน มันข่มเหง ระราน มันไม่มีเมตตา ถึงขนาดเป็นอันธพาลแล้ว มันก็ไม่มีเมตตาใคร นอกจากตัวเองจะเมตตาตัวเองทางผิดๆ จะบำรุง บำเรอ ปรนเปรอตัวเอง ถ้ามันมีกิเลสมากขึ้น มันทุกข์ร้อนมากขึ้น นี่มันโง่ในการที่เมตตาตัวมันเอง มันขโมยได้ไปจำนวนหนึ่ง มันคิดว่าดีได้รับประโยชน์จากที่ขโมยมาได้นั้น แต่ที่มันไม่รู้ว่าที่ขโมยไปได้นั้นน่ะมันไปทำลายมัน ไปกัดหัวใจมัน ไปฟักเชื้อโรคมัน เป็นในจิตใจของมันจนหมด ความเป็นมนุษย์ไม่มีอะไรดีเหลือ นี่มันคิดว่าได้ ขโมยไปนี่มันคิดว่าได้ แต่ที่มันได้ไปน่ะคือไปทำลาย ทำลายหมดความเป็นมนุษย์ หรือความเป็นสงบสุข หรืออะไรก็ตาม ถ้ามีกิเลสมากขึ้น นี่ปัญญามันไม่ถูกเรื่อง มันคลอดเป็นความไม่เมตตา หากไม่ ไม่รักผู้อื่น ไม่รักความถูกต้อง ไม่ร่วมมือกัน อย่างกับว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายนะ
แล้วข้อสุดท้ายเรียกว่า ขันตี ขันตี คนทั่วไปเขาไม่ชอบหรอก แล้วเขาก็คิดว่าเสียเปรียบด้วย และบางคนก็จะถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ด้วย ภาษาอันธพาลนะ ใครยอมอดกลั้น อดทนน่ะมันหาโง่ มันหาว่าแพ้ มันหาว่ายอมแพ้ ภาษาอันธพาล ในภาษาธรรมะ แล้วนั่นน่ะคือชนะ คือชนะ ความอดกลั้นอดทนไว้ไม่ด่าตอบ ไม่ตีตอบ ไม่อาฆาต ไม่อะไรนั่นคือความชนะ ขันตีนี่ถ้าคุณได้เล่าเรียนเพียงนักธรรมคุณก็จะได้ฟังเพียงอดกลั้นอดทน อดทนต่อความเกลียดคร้าน อดทนต่อความลำบากตรากตรำในการทำงาน อดทนต่อการด่าทอ ดูหมิ่น ดูถูกของผู้อื่น แต่ผมว่ามันยังมีอีกอันหนึ่ง ซึ่งสูงกว่านั้นคือการอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลส กิเลสมันยุให้ทำความชั่ว บีบคั้น อดทน อดทนไม่ได้มันก็ต้องไป อยากไปดูหนังนี่ อดทนต่อการบีบคั้นของกิเลสไม่ได้มันก็ต้องไปดู ไปเที่ยว กามารมณ์นี่มันก็ต้องไป หรือกิเลสมันบีบคั้นให้ขโมย อดทนไม่ได้มันก็ขโมยแหละ เช่นกิเลสบีบคั้นให้พูดเท็จ มันก็พูดเท็จแหละมันอดทนต่อความบีบคั้นของกิเลสไม่ได้ ถ้าอดทนต่อความบีบคั้นของกิเลสได้ มันก็จะเป็นการอดทนทั้งหมด อดทนทั้งหมดทีเดียว อดทนต่อความเจ็บไข้ก็ได้ เหน็ดเหนื่อยการงานก็ได้ เขานินทาด่าว่าก็ได้ เพราะนั่นมันเป็นเรื่องกิเลสเหมือนกันที่มันไม่อดทน คำว่าขันตี ขันตี เราสอนกันแต่ความหมายเดียวว่า อดทน อดทน แต่ถ้าไปค้นดูในภาษาบาลี สังเกตในภาษาบาลีครบถ้วนแล้ว มันแปลได้อีกคำหนึ่งว่า ความสมควรที่จะประสบความสำเร็จ ความสมควร ความเหมาะสมที่จะประสบความสำเร็จ อันนี้ก็เรียกว่า ขันตี แต่แล้วไปๆ มาๆ มันกลายเป็นเรื่องเดียว ถ้าไม่อดทนมัน มันไม่มีสมควรที่จะประสบความสำเร็จ มันได้อดทนมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว สมควรแล้วนะถึงจะได้รับความสำเร็จ จะแปลว่าความสมควรก็ได้ แต่แปลแล้วมันก็เข้ารอยเดียวกัน มันทนได้ คอยได้ รอได้ พยายามอยู่เรื่อยไป มันก็มีความสำควรที่จะประสบความสำเร็จ คำว่าขันตี แปลว่า อดทน ทั่วไปมันมีความหมายลึกกว่านั้น คือความสมควร มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความพร้อมมูลที่จะประสบความสำเร็จ หรือที่จะทำอะไรก็ตามแต่ มันมีความสมควรเรียกว่า ขันตี แล้วมันก็จะต้องมี เป็นแน่นอน เพราะว่าในโลกนี้มันมีคนที่ยังมีกิเลส มันมาก มันมีกิเลสนะ คนที่ยังมีกิเลสน่ะมันมาก แล้วมันก็ทำอะไรตามอำนาจของกิเลสที่คนหนึ่งถ้าไม่ทน มันก็ต้อง ก็ได้โต้ตอบ ตีตอบ ด่าตอบ มันก็ต้องได้ฆ่ากัน คือไป เอากิเลสออกมารบ ออกมารับกิเลสของอีกคนหนึ่งมันก็ได้ทะเลาะกันได้ฆ่ากัน ถ้าเก็บไว้เสียก็กูไม่ไปสู้กับกิเลสของมึงแล้ว ถ้ามึงเอากิเลสมาใส่กู กูก็ไม่เอา กิเลสของกู ไม่สร้างกิเลสของกูขึ้นไปสู้กับกิเลสของมึง อย่างนี้เป็นเหตุให้อดทนได้ ถ้าไม่คิดอย่างนี้มันอดทนไม่ได้ มันหาว่าลบหลู่ดูหมิ่น มัน มันทำให้อดทนไม่ได้ ไอ้คำพูดที่ว่า หมากัด หมากัดต้องไม่กัดหมา มันต้องการความอดทนอยู่มากนะ ถ้าเราจะเป็นหมาไปได้ นี่เราก็อดทนที่จะไม่เป็นหมาเราก็ไม่ไปกัดกับหมา แต่ถ้ามองอย่างอันธพาลว่านี่แพ้ แพ้หมา เรื่อง หมูกับราชสีห์ หมูท้าราชสีห์ชวนรบเพราะด่าอย่างนั้นอย่างนี้ ราชสีห์ก็กูไม่ไปกัดกับมึง ถ้ามันอดทนได้ ถ้ามันคิดอย่างนี้มันสงวนศักดิ์ศรีอย่างนี้ มันก็อดทนได้ แล้วก็จะต้องรู้ไว้ว่า ผู้ดีกว่า เหนือกว่า สูงกว่า มีอำนาจกว่า จะต้องเป็นฝ่ายอดทน ถ้าสมมติว่าคุณเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูง คุณนั่นแหละจะต้องเป็นฝ่ายอดทน เพราะว่าผู้อยู่ใต้ผู้บังคับบัญชาโดยมากเป็นคนโง่ คนต่ำ คนอ่อนการศึกษาเรียกว่าคนโง่ ผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้านี่จะต้องอดทนต่อความโง่ของลูกน้อง ลูกน้องจะต้องแสดงความโง่ออกมาอย่างน่าหมั่นไส้ น่าอะไรทุกอย่างแหละ ถ้าผู้บังคับบัญชาเหนือไม่อดทนมันก็ได้ขัดๆกัน แล้วใครจะเสียเปรียบ ได้เปรียบ มันยิ่งมีอำนาจวาสนา ยิ่งอยู่สูงเท่าไหร่ยิ่งต้องอดทนเท่านั้น อย่าคิดว่ากูไม่อดทน มึงเป็นผู้อยู่ข้างล่าง ข้างใต้ มึงต้องอดทน อย่างนี้ไม่มีทาง มันก็จะต้องเกิดเรื่อง ซึ่งจะล้มละลายไปด้วยกัน มันยิ่งเป็นผู้อยู่เหนือเท่าไร ยิ่งจะต้องอดทนเท่านั้น อดทนต่ออะไร อดทนต่อความโง่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชามัน มันอยู่เหนือ ฉลาดกว่า แต่มันก็ต้องรับผิดชอบ การกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งส่วนมากเป็นคนต่ำ คนด้อยการศึกษา มันก็ต้องมีความผิดพลาด มีความโง่ มันก็ทำอะไรอย่างโง่ๆ ที่น่าเวียนหัว น่าโมโห น่ารำคาญ ถ้าไม่อดทนก็ทะเลาะกัน ห้ำหั่นกัน วินาศด้วยกัน ฉะนั้นยิ่งเป็นชั้นสูงสุดเท่าไร ก็จะยิ่งต้องอดทนต่อความโง่ของคนภายใต้บังคับบัญชามากเท่านั้นน่ะ จะไปรอดจะไปถือดีกูไม่อดทน กูจะเอาตามใจกู มึงเป็นผู้น้อยมึงต้องทำตามบังคับบัญชา กูมันก็ถูกนะ เห็นแล้ว มันวินาศ มันต้องมีความอดทน แล้วบังคับบัญชาให้ถูกต้อง ให้เป็นไปในทางที่มันควรจะเป็น เดี๋ยวนี้ยังไม่เป็นผู้บังคับบัญชา ยังไม่ได้ทำงาน แต่จำไว้เผื่อว่าถ้าจะไปเป็นผู้บังคับบัญชา แม้แต่ลูกจ้างแค่ ๒-๓ คน กรรมกรแค่ ๒-๓ คนอยู่ใต้บังคับบัญชาคุณก็ต้องเตรียมให้อดทน เมื่อยังไม่เป็นผู้บังคับบัญชายังไม่ต้องอดทน เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นไปเท่าไรก็ยิ่งต้องอดทนมากขึ้นไปเท่านั้น มิฉะนั้นจะพังทลาย ถ้าไม่อดทนมันก็โมโห โมโหมันก็สั่งผิด ทำผิด พูดผิด อะไรก็จดเป็นเรื่องเป็นราว ความอดทนนั้นมันปิดกั้นกันได้ เป็นความโกรธ ความโมโห ความหุนหัน จะพูดไปโดยหุนหัน จะทำไปโดยหุนหัน มันก็ผิดหมด ถ้าไม่หุนหัน มันก็ต้องอดทน รอไว้ได้ บังคับไว้ได้ ใครควรดูให้ดีๆ แก้ไขได้นั่นน่ะมันมีประโยชน์อย่างนั้น ขันตี เป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต ขันติ พลัง วยะตินัง ขันตี อดทนนั้นเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต ผู้เป็นนักบวชบรรพชิต ไม่มีความอดทน มันก็ละเมิดหมดเลย ทีนี้สิขาบทมันก็ไม่มีเหลือ แล้วก็ไม่มีทนต่อความยากลำบาก ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ยิ่งขึ้นไป ให้ยิ่งขึ้นไป ซึ่งมันจะต้องอดทนมากขึ้น ซึ่งมันจะต้องอดทนมากขึ้น มันถึงจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ แม้ในขั้นต้นที่จะมีศีล มีวินัย สิกขาบทอันนี้ก็ต้องมีความอดทน ไม่อย่างนั้นกิเลสมันบีบบังคับไสหัวไปทำผิดหมด เลยไม่มีอะไรเหลือ มองแง่หนึ่งเป็นความงาม ขันตี ธีรัสสะ ลังกาโร นักปราชญ์มีขันตีเป็นเครื่องประดับ ก็อย่างที่พูดแล้ว เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้อยู่เหนือ เป็นนักปราชญ์ ยิ่งจะต้องอดทน นั้นอย่าไปดูหมิ่นเขา อย่าไปอะไรเขา อย่า ด้วยความที่ว่าถูกยั่วนิดเดียวก็ เอาแล้ว หมากัดก็กัดตอบแล้ว ผู้ที่มีปัญญา มีความอดทน สงบเสงี่ยมแจ่มใสอยู่เสมอนี่มันเป็น เครื่องประดับของนักปราชญ์ ก็พูดรวมอีกครั้งหนึ่ง ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ความอดกลั้นอดทนเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง เป็นตบะอย่างยิ่ง เป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ถ้าเราอดกลั้นได้ กิเลสนั้นถูกทำให้ละ ให้ ให้ละ เลิก ละไป เราอดทนได้ กิเลสมันเกิดขึ้นไม่ได้ หรือมันเกิดมาแล้ว ก็บังคับให้หดหายไป เป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสอย่างยิ่ง ความเคยชินของกิเลสที่มันมีอยู่ภายในเรียกมันว่า อนุสัย เรามีกิเลสอย่างไร มันก็สร้างความเคยชินเช่นนั้นไว้ เช่นมีความโลภ มันก็มีความเคยชินที่จะโลภ เรามีความโกรธก็มีสร้างความเคยชินที่จะโกรธ เรามีความโง่ ความสะเพร่า ก็มีสร้างความเคยชินที่จะโง่สะเพร่า ให้ความเคยชินนี้มันสะสมไว้ในสันดาน ทีนี้พอมันถึงคราวที่ว่าจะโลภอีก อดกลั้น อดทนไว้ได้ ไม่โลภ ก็ไปลดความเคยชินนั้นลง พอถึงคราวที่จะโกรธ อดกลั้นได้ไม่โกรธ มันก็ไปลดความเคยชินในสันดานลง พอจะโง่จะสะเพร่าจะอะไร โง่ๆนี่มันก็ไม่ อดทนอดกลั้นได้ไม่โง่ ไม่สะเพร่ามันไปลดความเคยชินเช่นนั้นลง ถ้าฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าความเคยชิน เป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ให้มัน ลดไป ลดไป ลดไป ในความอดทนนั้น ความอดทนเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง จะถูกทำให้ลดไป ลดไป ลดไป ความชั่วที่ทำผิด ที่ฝังที่สะสมอยู่ในสันดาน มันจะลดไป ลดไป ลดไป กิเลสมันจะลดไปเพราะว่า ไอ้ความเคยชินแห่งกิเลสมันถูกทำให้ลดลงไป มันดีอย่างนี้ มันวิเศษอย่างนี้ เป็นปัจจัยแห่งความก้าวหน้าไปสู่พระนิพพาน ความอดทน แต่ว่ามันไม่ มันก็มีรสที่ไม่อร่อย ที่คนเห็นว่าเจ็บปวด ไอ้ความอดทน แต่ถ้าผู้รู้เห็นว่าดีแล้วให้มันมาเป็นบทเรียนไว้ อดทน ก็อดทนอยู่ในโลกมันเช่นนี้เอง เพราะว่าอยู่ร่วมกับคนโง่ มันก็ต้องอดทนต่อความโง่ของคนโง่ มันก็ทนได้ ที่เรียกว่าความอดทน ที่ทนได้สบายคนโง่จะเห็นว่าเป็นความเสียหาย เป็นความพ่ายแพ้ เป็นความไม่สนุก สำหรับการอดทน แต่ผู้มีปัญญาจะเห็นว่าเป็นความชนะ เป็นสิ่งที่ควรจะมี ก็อดทนยิ้มแย้มแจ่มใส ให้มันด่า ให้มันว่า ให้มันอะไร มันก็เวทนาสงสารในความโง่ของมัน ไม่ออกไปรับกับความโง่ของมัน ไม่กลายเป็นหมาไปกัดกับมัน มันก็รักษาไว้ได้เพราะความอดทน การที่จะไม่ไปกัดกับหมา ทำได้เพราะว่ามีความอดทน มีความอดทน นั้นก็เป็นเหตุให้ก้าวหน้า ก้าวหน้า ก้าวหน้า ในทางพรหมจรรย์ มีพรหมจรรย์ก้าวหน้าเพราะความอดทน เป็นกำลังของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในลักษณะอย่างนี้ อ่ะ ขอฝากไว้ว่าเป็นธรรมะที่ยึดถือเป็นหลักได้ตลอดชีวิตเลย สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี พูดทางศิลปะ ผมไปเห็นมาที่อินเดียที่เจริญด้วยศิลปะ รูปประติมากรรมอันไหน ถึงขนาดสูงสุดของศิลปะเขาเรียกว่า high art, high art, art น่ะ ศิลปะชั้นสูง โอ้, มันเหมือนกันหมดแหละ หน้านี่ เขาหน้า วงหน้า เขาหน้านี่ เหมือนกันหมดเลย ไม่ว่าในฝ่ายพุทธ หรือฝ่ายพราหมณ์ หรือฝ่ายอื่น ถ้าประติมากรรม ปฏิรูป ปฏิมาชิ้นนั้นน่ะถึง high art แล้วมันจะดูเป็นแบบเดียวกันหมด ดูไม่ออกหรอก ต้องไปดูเครื่องหมายอย่างอื่นว่าเป็นของพุทธ ของฮินดู ของไอ้อื่นๆ ชนะ อะไรอื่นๆ นี่ก็ขอแนะให้ดูพระพักตร์ หน้าของอวโลกิเตศวร ที่อยู่บนเสากลางสนามให้บอก แต่นี่มันไม่ถึงขนาดนั้น นี่มันปั้นตาม ให้ดูตัวจริงของมันที่เป็นสัมฤทธิ์ เดี๋ยวนี้เอาไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่กรุงเทพฯ อันนั้นชัดเต็มที่เลย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ด้วย เราก็ปั้นหุ่นเก่ง หล่อด้วยสัมฤทธิ์ แล้วก็เหมือนใบหน้านี่คุณไปดู คุณไปนั่งเพ่งดูมั่งสิ ทั้งที่ว่าไม่สมบูรณ์ ๑๐๐% แต่ก็มี มี มี มีเกือบสมบูรณ์ อวโลกิเตศวร มันมีแววอยู่ในใบหน้าน่ะ มีแววแห่งความฉลาด ปัญญา สุทธิ สุทธิสุทธิ ที่สุด มีแววแห่งปัญญา ปัญญา ก็มีแววแห่งเมตตา น่ารัก น่าไว้ใจ แล้วก็มีแววแห่งขันตี อดกลั้น อดทน อดกลั้น อดทน ถึงขนาดเสียชีวิตก็ทนได้ ถ้าไม่ทำให้มันผิดพลาด มีเวลาเมื่อไหร่ก็ไปนั่งเพ่งดูนานๆหน่อย ว่าแววไหนเป็นแววแห่งสุทธิ แววไหนเป็นแววแห่งปัญญา แววไหนเป็นแววแห่งเมตตา แววไหนเป็นแววแห่งขันตี ทั้ง ๔ อย่างรวมอยู่ในใบหน้าอันเดียว พอ ไปเห็นที่เขาสลักหิน สลักเข้าไปในเนื้อภูเขาเป็นหิน เป็นของฝ่ายพราหมณ์ ฝ่ายฮินดู รูปนี่สวยทั้งนั้นหละ ก็มันสวย สวย สวยเหมือนองค์นี้ หรือยิ่งกว่าองค์นี้ หน้าตา เฉพาะหน้านะ หน้าที่มันถึงขนาด high art ของมหาบุรุษ ของผู้สูงสุด จะมองเห็นแววแห่งสุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี ไม่เสียเวลาเปล่าหรอก คุณไปยืนเพ่ง นั่งเพ่งดูบ้าง ให้ ใบหน้านี้ก็ใช้ได้อยู่ในพวกที่ใช้ได้ แต่ว่าไม่ ๑๐๐% ก็ฝีมือที่จะปั้นให้ได้ดีอย่างนี้ให้ได้เป็นหายาก ในองค์จริงที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์หนะเขาถ่ายไว้ดี เขาถ่ายเป็นโปสการ์ดไว้ยิ่งดีใหญ่ ยิ่งชัดเจนใหญ่ ในสมัยหนึ่ง สมัยศรีวิชัยนี้ คนเขามีรูปอวโลกิเตศวรประจำบ้านเรือนบูชาแทนพระพุทธรูปเขามีความหมายอย่างนี้ แต่ว่าอย่างไรก็ดี อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ จะมีพระพุทธรูปอยู่ที่หน้า เหนือหน้าผากที่ พระพุทธรูปก็ไม่หายไปไหน แต่ส่วนใหญ่อยู่ใบหน้า โกรธใครมา ก็มาเพ่งหน้าอวโลกิเตศวร จะหายโกรธ หรือทำชั่วมา ไปเพ่งดูใบหน้าอวโลกิเตศวร ก็จะละอายแก่ตัวเอง จะเสียใจ จะละอายหรือว่าโง่ไป โง่ไป ไปเพ่งดูใบหน้านี้ จะละอายว่าเรามันโง่ไป มันจะนึกถึงปัญญาขึ้นมาทันที ใจจืดใจดำไปทำอะไรไป มาดูหน้านี้แล้วมันก็ให้มันหมุนกลับ สะดุ้ง เหมือนเดิม ที่ว่าจะต้องเมตตา กรุณา ผมจึงให้ copy หลายๆรูปแจกคนที่เคารพนับถือเอาไว้ใช้เพ่ง เพ่งดูไว้ ตั้งไว้เพ่งดู ว่าเมื่อมันมีอารมณ์ร้าย เมื่อเรามีอารมณ์ร้าย อารมณ์เสียดู ที่หน้าอวโลกิเตศวร เปลี่ยนความรู้สึกทันที ละอายแก่ความชั่วทันทีเลย พอใจในความดี ความงาม ความจริง ความถูกต้อง ความยุติธรรมขึ้นมาเลย นี่ก็ไม่เสียทีที่เขาจะมีไว้ประจำบ้านเรือน ไว้คุ้มครองจิตใจ เรามาสรุปความเฉพาะธรรมะที่สำคัญนั่นก็คือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี ธรรมะที่จะครองโลก คือ ธรรมะของความถูกต้อง ความเจริญรุ่งเรืองไปในทางที่ถูกต้อง เป็นวัฒนธรรมที่ถูกต้องเมื่อเรามีสุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี คุณก็รู้ได้เองนะ มันทำชั่วไม่ได้ ทำผิดไม่ได้ ทุจริตไม่ได้ คอรัปชั่นไม่ได้ โกหกไม่ได้ หลอกลวงไม่ได้ ขโมยไม่ได้ ประพฤติผิดในกามใครก็ไม่ได้ จะมีรูปนี้ไว้ดู หรือว่าจะจำชื่อของธรรมะ ๔ อย่างนี้ไว้ หรือจะทำพระเครื่องจารึกคำ ๔ คำนี้ไว้ อย่าได้ลืมความหมายของคำ ๔ คำนี้ จักคุ้มครองให้ไม่พลัดตกลงไปในความเลว ความชั่ว ต่ำทรามกว่าความเป็นมนุษย์ มันเตือนให้รู้จักหน้าที่ที่ถูกต้องแก่ความรอด หน้าที่ที่ถูกต้องแก่ความรอด รอดจากความชั่ว ความเสื่อมเสีย ความทุกข์อะไรต่างๆ แล้วมันก็ทำความผิดไม่ได้ ทำความชั่วไม่ได้ มันเป็นของตรงกันข้าม ต้านทานกันอยู่เสมอ เอาเป็นว่าวันนี้ เราพูดกันถึงข้อที่ว่าธรรมะในฐานะเป็นสิ่งป้องกันความทุจริต ถ้าคุณมีความทุจริต คุณก็ต้องลดลงนะ ถ้ามีความสุจริต ก็จะดีขึ้น สูงขึ้น อย่าไปทำเล่นกับความทุจริตเลย เป็นแน่นอน แน่ใจว่าไม่ต้องเอา ไม่ต้องลองด้วย สุจริตนี่จะไปสู่เบื้องสูงจนกว่าจะเหนือดี พ้นจากชั่วไปถึงดี พ้นจากดีไปถึงว่าง หลุดพ้นนะ ถ้าความหลุดพ้นหรือว่าง อิสระ สงบ ไปใคร่ครวญอยู่เรื่อยๆ ทุกๆทีจนเกลียดความทุจริต เกลียดความทุจริต เกลียดกันเด็ดขาด ไม่เอากับมันเลยนะ ถ้าได้ มีธรรมะเหล่านี้ประพฤติปฏิบัติเป็นเหมือนกับเครื่องกั้น เครื่องป้องกันอยู่มันก็มาไม่ได้ ถ้าไม่มีธรรมะเหล่านี้เป็นเครื่องป้องกัน ไอ้ความฉลาดของคนนั้นแหละ มันจะพลิกไปเป็นฉลาดในทางเลว ทางต่ำ ทางชั่ว เพราะมันรู้คิด มันรู้คิด มันรู้คิดแต่จะได้ มันฉลาด ไม่ ไม่ถูกต้อง ความฉลาดนั่นแหละ พามันลงไปในความต่ำ สู่ก้นบึ้งเลยก็ได้ เพราะว่ามันเป็นความฉลาดที่เดินผิดทาง ถ้ามีความฉลาดก็ต้องควบคุมให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ความฉลาดนั้นจะพาลงนรก สุดก้นบึ้งเลย ธรรมะหน้าที่ที่ถูกต้องแก่ความรอด ต้องชัดเจน แจ่มแจ้ง อยู่ในใจเสมอ แล้วมันก็จะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการคือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี แล้วก็มันควบคุมความฉลาดไว้อย่างอยู่หมัด อยู่มือ ความฉลาดจะ ความฉลาดจะพลัดไปในทางต่ำไม่ได้ จะหลอกลวงไม่ได้ ความฉลาดก็ไม่เป็นโทษได้ แม้ว่ามี intellect มากมีไอคิวสูง ระวังเถอะ เพียงแต่ฉลาดเท่านั้น มัน มันไม่รับประกันหรอก ถ้ามันไม่มีธรรมะมาควบคุมไว้
ฉะนั้นขอให้ทุกท่านมีธรรมะในฐานะเป็นสิ่งควบคุม ความผิดพลาด ความทุจริต ความหมุนไปในทางต่ำ นั้นก็เป็นเครื่องรับประกันอันแน่นอนที่สุดอย่างหนึ่งว่า จะปลอดภัยจะก้าวหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางที่ควรจะได้ ควรจะมี นี่คือธรรมะ หน้าที่ที่ถูกต้องเพื่อความรอด จะป้องกันไม่ให้เกิดความทุจริตใดๆ ขึ้นมาในจิตในใจ ในชีวิต ชีวิตก็รุ่งเรืองไปสู่ สู่จุดหมายที่มันควรจะได้จะเป็น การบรรยายนี้ก็ สมควรแก่เวลาที่กำหนดไว้ ขอยุติการบรรยายวันนี้ไว้ เพียงเท่านี้ณา ผมจึงได้ สะดุ้ง เหมือนเดิ มันจะนึกถึงปัญญาขึ้นมาทันที