แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การพูดในครั้งนี้ จะพูดด้วยหัวข้อ ว่าการมีนิพพานในชีวิตประจำวันฟังดูให้ดีการมีนิพพานในชีวิตประจำวันเป็นหัวข้อที่ขัดหูคนจำนวนมากที่เขาศึกษามาอย่างอื่นและเป็นเรื่องสำหรับจะถูกด่าแต่ไม่เป็นไรผมไม่กลัวถูกด่าเรื่องถูกด่า ที่เขาพูดคือเขารู้เขาถือกันอยู่ว่านิพพานนั้นเป็นที่แห่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องไปที่นั่นต้องตายแล้วหลังจากที่ได้บำเพ็ญอะไรมา กี่ ร้อยชาติหมื่นชาติพันชาติหมื่นชาติก็สุดแท้ก็จะไปสู่นิพพานคำเทศน์บนธรรมมาศก็มีอยู่บ่อย ๆ อมตะมหานคร ศิรโมกข์มหานคร คือเป็นนครเมืองนคร ที่ใครไปอยู่ที่เมืองนั้นคือ เมืองนิพพานในเมืองนิพพานก็พูดกันอยู่ และต่างก็เชื่อกันว่า ยากที่จะไปได้ต้องมีการกระทำอะไรอะไรหลายอย่างหลายประการจึงจะไปถึงได้ทีนี้การที่ผมจะมาพูดเรื่องนิพพานกับพระบวชใหม่อย่างนี้เขาก็หากันว่าบ้าสิ้นดี หรือ ไร้สาระไม่น่าเชื่อแต่ก็ไม่เป็นไรพูดกับพระหนุ่มพระบวชใหม่หยก ๆ เรื่องนิพพานซึ่งเป็นเรื่องสูงสุด หรือเป็นเรื่องสุดท้ายแต่มันเป็นเรื่องจริง มันเป็นเรื่องที่ควรมีได้ไม่เสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้มีนิพพานอยู่เรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายคือสมบูรณ์ มีนิพพานน้อย ๆ คล้าย ๆ กับนิพพานตัวอย่างก็ได้แต่มันก็เหมือนกันแหละ ไอ้ของตัวอย่างกับของจริงมันต้องเหมือนกัน คุณก็ดูดิ สินค้าที่เอามาขาย สินค้าตัวอย่างมันก็ต้องเหมือนสินค้าจริงที่จะขาย บางทีสินค้าตัวอย่างจะดีกว่าสินค้าที่ขายจริงด้วยซ้ำไป งั้นขอให้สนใจฟังให้ดี ๆ ว่ามันจะมีได้อย่างไร ข้อนี้มันก็ต้องเนื่องกันกับความรู้เรื่องนิพพานนั่นเองว่ามันคืออะไร นิพพานมันคืออะไร
ในชั้นแรกอยากจะบอกให้รู้ซะก่อนว่าไอ้คำพูดที่ใช้ในภาษาธรรมมะใช้เรียกข้อธรรมมะเช่นนิพพานเป็นต้น ล้วนแต่เป็นคำพูดที่ยืมมาจากคำพูดตามธรรมดาที่ชาวบ้านเขาใช้ ใช้พูดกันอยู่ตามธรรมดา คำเหล่านั้นยืมเอามาใช้ในฝ่ายภาษาธรรมเพราะว่าธรรมะเป็นเรื่องลึก เมื่อผู้รู้ธรรมมะได้ค้นคว้าได้รู้ได้ตรัสรู้ อะไรก็ตามแล้ว รู้ว่ามันมีอย่างนั้น อย่างนั้น แล้วจะไปบอกชาวบ้านว่าอะไร ชาวบ้านว่าอะไร ไปบอกว่าอะไรเขาก็ฟังไม่ถูกเพราะไม่มีคำพูดไม่มีคำเรียกมาแต่ก่อน ไม่มีคำเรียกมาแต่ก่อน ควรจะทำความเข้าใจอย่างนี้ให้ดี ต้องเอาคำที่ชาวบ้านรู้กันอยู่แล้วนั่นแหละยืมมาขอใช้เรียก แต่ความหมายมันอีกอย่างหนึ่งเป็นความหมายในทางธรรมทีนี้คำว่านิพพาน นิพพานนี่ชาวบ้านเขาพูดกันอยู่ก่อนเขาก็ใช้กันอยู่ก่อนอย่างไรคำพูดคำนี้เป็นคำใช้เรียกสำหรับไฟ คือของร้อนที่มันดับลง เด็ก ๆ ก็พูดเป็นก็พูดอยู่ ในบาลีก็มีคำตรง ๆ ว่า ปชฺโช ตสฺเสว นิพฺพานํ ความดับแห่งไฟ ฉะนั้นคือเหมือนความดับแห่งไฟ ปชฺโช ตสฺ เรียกว่าแห่งไฟ นิพฺพานํก็คือ ความดับ นิพพานแห่งไฟ นี่ต้องพูดอย่างนี้ ก็เมื่อไฟดับก็ไปนิพพาน ใช้กับวัตถุทั่ว ๆ ไป เช่น นถ่านไฟแดง ๆ โล่อยู่นี่ ถ้ามันดับเย็นลงก็เรียกมันว่านิพพาน อาหาร ของข้าว ข้าวต้มข้าวสวยร้อนจัดกินไม่ได้ กินไม่ได้ก็มันร้อน ก็ต้องรอเสียก่อนให้มันนิพาพานเสียก่อนพอสมควร มันเย็นลงพอสมควร มันกินได้มันนิพพานแล้ว ไอ้ความดับของความร้อนนี้ก็มีถึง ๒ ขั้นตอน เช่นว่า ถ่านไฟที่เอามาจากเตา ดำทั้งนั้น ดำทั้งนั้นแหละ คือยังร้อนอยู่ดับไม่ได้มือพองทั้งที่ดำ ต้องรอ รอ รอจนกว่าจะดำเย็นสนิทดับได้ สองขั้นตอนอย่างนี้ หรือว่าพอหลอมทอง ช่างทองหลอมทอง เหลวคว้าง (นาทีที่ 00:07:05) ในเบ้า เขาต้องเอาน้ำรดให้มันเย็น ไม่ว่าจะจับได้หยิบได้จะทำงานต่อไปได้การทำให้ทองที่เหลวคว้าง (นาทีที่ 00:07:20) เย็นอย่างนี้ก็เรียกว่าทำให้นิพพานเหมือนกันมันเป็นคำกริยา ที่เรียกว่าทำให้ไม่ใช่มันทำเอง ที่เรียกว่า นิพพาปริยะ (นาทีที่ 00:07:34) ทำให้ทองที่เหลวคว้าง (นาทีที่ 00:07:38) นิพพาน ดูซิคำว่านิพพาน นิพพาน มันเป็นการดับแห่งไฟ คือ ดับแห่งของร้อน ถ้ามันเป็นสัตว์เดรัจฉานกลับมาจากป่าดุร้ายอันตราย เอามาฝึกให้มันเชื่องให้มันหมดความร้ายก็เรียกว่านิพพานเหมือนกัน คือเย็น เย็นลงเหมือนกัน เป็นนิพพานอะไรอะไรที่มันระงับลงไปได้แห่งความร้อนเรียกว่านิพพานหมด
ที่นี้คนครั้งกระโน้น ครั้งกระโน้นเขาก็มีความรู้ตามแบบของเขา ว่ากามารมณ์นี่มันทำให้ความร้อนความหิว ความร้อนอย่างยิ่ง หิวกามารมณ์ ให้กามารมณ์หยุดร้อนหยุดหิวอย่างนั้นได้ ก็เลยเอากามารมณ์มาเป็นนิพพาน มีคราวหนึ่งยุคหนึ่งสมัยหนึ่งปรากฎอยู่ในพระบาลีเล่มพรหมชาลสูตรในทิฏฐิ 62 เป็นต้น บางพวกก็ว่าโอ้ เห็นต่อไปนี้มันใช้ไม่ได้ เห็นว่าไอ้ความอยูในสมาธิเป็นฌาน เป็นรูปฌาน ดับแห่งนิวรณ์ความทุกข์ร้อนอะไรต่าง ๆ ก็เอาฌาณนี่ เอาปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน มาเป็นนิพพานอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน มีในทิฏฐิ 62 ในพรหมชาลสูตร แม้ที่สุดอันสุดท้าย อุทกะดาบทรามบุตร หรือว่า อาราฬดาบท กาลามโคตร ก็สอนเรื่อง อากิญจัญญายตน ว่าเป็นนิพพาน พระพุทธเจ้าเคยไปศึกษาแล้วสั่นหัวออก คนสุดท้ายอุกรดาบทรามบุตร ก็สอนเรื่อง เนวสัญญานาสัญญายตน ผู้เป็นอรูปฌาน พระพุทธเจ้ารับสั่งว่าไม่เอา ไม่ยอมรับว่าเป็นนิพพาน ดับทุกข์สิ้นเชิง จึงออกมาค้นหาของพระองค์เองจึงค้นพบนิพพานอย่างที่เราศึกษาเล่าเรียนกันอยู่ในพุทธศาสนา คือดับกิเลสสิ้นเชิง กิเลสนี่มันเป็นของร้อนมีเข้ามันร้อน ถ้ากิเลสดับก็เท่ากับของร้อนดับความหมายอย่างเดียวกันกับไฟดับได้ชื่อว่านิพพานนั้นแหละ ชื่อเดียวนั่นแหละเอามา ดับแห่งกิเลสดับแห่งทุกข์เป็นนิพพานแล้วก็ไม่มีใครสอนนิพพานให้ยิ่งไปกว่านี้ได้ ก็ยุติเพียงเท่านี้ ยุติเพียงนิพพานเท่าที่พระพุทธเจ้าท่านได้สั่งสอนได้ค้นพบและสั่งสอนดับทุข์สิ้นเชิง มันอยากเป็นหลักเวไนยสัตว์เรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั่นแหละเป็นนิพพาน และหนทางดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือ มรรคมีองค์ 8 ประการ คือทางแห่งนิพพาน ทางให้ลุถึงนิพพาน ดังนั้นขอให้รู้จักพระนิพพานฐานะเป็นทางดับแห่งความร้อน ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านก็ความร้อนธรรมดา ถ้าเป็นภาษาธรรมะก็ความร้อนของกิเลส หรือ ความร้อนของความทุกข์ กิเลสก็ร้อน ความทุกข์ก็ร้อน ถ้าดับลงไปได้ก็เป็นนิพพาน
ดังนั้นความหมายของนิพพานพูดภาษาธรรมดา คือ เย็นลง เย็นลง ถ่านไฟเย็นลง ข้าวต้มเย็นลง ทองในเบ้าหลอมเย็นลง ถ้าจะไม่ใช่คำว่าดับก็ต้องใช้คำว่าเย็นเพราะดับแห่งความร้อนมันก็คือ เย็น นิพพานมีความหมายในทางเหตุก็คือ ความดับ มีความหมายในทางพ้นก็คือ ความเย็น ร้อนดับ ถ้าร้อนดับมันก็คือเย็น จะว่าสิ่งเดียวกันก็ได้ คนละทีก็ได้ ถ้ามันดับก็ต้องเย็น มันเนื่องกันมันแยกออกจากกันไม่ได้ ถ้ามันดับมันก็เย็น ถ้าเย็นมันก็ต้องดับ คุณจงเอาความหมายของคำว่า ดับก็ได้ เย็นก็ได้ แต่ที่ใช้กันในทั่ว ๆ ไปใช้กันคือ เย็น เย็นมันมีความหมายมากกว่าดับ เพราะว่าเย็นมันทำได้กินได้บริโภคได้หมด อันตราย ไม่ไช่เย็นอย่างชาวบ้าน เย็นอาบน้ำ เย็นอากาศ อย่างนี้มันไม่ใช่ เย็นไม่ใช้นี่มันเย็นทางวัตถุ พระนิพพานมันต้องเย็นทางจิตใจ จิตใจเย็น จิตใจเย็น นั่นคือนิพพาน ดับเสียซึ่งความร้อน แล้วจะเล็งถึงความร้อนธรรมดา ในความร้อนในทางกิเลส ตัณหา ดับแห่งความร้อน ทีนี้ถ้าจะมองให้ชัดให้เจน ชัดยิ่งขึ้นไปอีกก็คือดับแห่งความกระหาย คิดดู ความกระหายนี่ กระหาย กระหายนี่ กระหายน้ำก็ได้ แต่ว่ากระหายในทางธรรมก็คือกิเลส กระหายของกิเลสกาม ต้องการจะได้กามนั่นแหละ เป็นความกระหายอย่างยิ่ง ความกระหายใด ๆ ที่เป็นนามธรรมก็เรียกว่า ร้อน อยากได้ชื่อเสียง อยากได้อำนาจ วาสนา อยากรวย อยากสวยอยากอะไรก็ตามที่เป็นความอยาก และก็เป็นความกระหายทั้งนั้น ถ้าความอยากเหล่านั้นดับลงไปเสียได้มันก็มีความเย็น
ถ้าคุณเคยสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อความกระหาย ความหิวความกระหาย ทางจิตใจอย่างโง่ ๆ ที่มันมีหยุดไปได้นั่นแหละคือนิพพาน ซึ่งเรามีกันทุกวัน จะให้เข้าใจชัดก็ต้องพูดว่ามันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ สัญชาตญาณ เป็นคำแปลกที่ไม่ค่อยเอามาใช้พูดกันในวัด หรือในการศึกษาธรรมะ จริง ๆ มันเกี่ยวข้องอย่างยิ่ง จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้จักคำว่าสัญชาตญาณ คือความรู้ที่มันมีอยู่เอง มันเกิดอยู่เองในบรรดาสิ่งที่มีชีวิต มันเป็นไปได้เองในสิ่งที่มีชีวิต ยกตัวอย่างเช่นว่า ลูกไก่ออกมาจากไข่ มันก็รู้จักกินอาหาร รู้จักหิว รู้จักกินอาหาร และก็รู้จักได้เองโดยไม่ต้องใครสอน รู้จักทำขึ้นมาทุกอย่างจนมันเป็น ไก่โต้ง เป็นไก่ตัวเมีย ตัวผู้ มันก็รู้จักสืบพันธุ์เองโดยไม่ต้องมีใครสอน ตัวผู้กับตัวเมีย ตัวเมียก็รู้จักไข่และยังรู้จักฟักไข่เอง รู้จักทะนุทะนอมลูกอย่างดีที่สุด อย่างที่เราไม่นึกว่ามันจะละเอียดลออถึงอย่างนั้น คุณดูแม่ไก่ที่เลี้ยงลูก ผมดูไก่มีอยู่ทั่วไปหมดแล้วยังออกลูกกันบ่อย ๆ คือความที่แม่ไก่รู้จักทำให้ลูกอย่างไร ทำเพียงเท่าไรทำอย่างไร รู้จักบีบให้แตกซะก่อนแล้วจึงเรียกให้ลูกมากิน รู้จักให้ช่วยหลบหลีกอันตราย อย่างไร ความรู้ที่เป็นไปได้เองอย่างนี้เรียกว่าสัญชาตญาณ และมันมีอยู่หลายหลายอย่าง และมันจะรู้สึกว่ามีตัวตนที่ต้องทะนุถนอม มันก็รู้สึกของมันเอง ไม่ต้องมีใครมาบอกมาสอน สัตว์ที่มีชีวิตมันรู้จักที่จะถนอมชีวิต คนก็เป็นอย่างนั้น สัตว์เดรัจฉานก็เป็นอย่างนั้น ต้นไม้ ต้นไร่มันก็เป็นอย่างนั้น มันถนอมชีวิตอย่างยิ่ง แล้วมันก็รู้จักสืบพันธุ์ คนก็สืบพันธุ์ สัตว์เดรัจฉานก็สืบพันธุ์ ต้นไม้ ต้นไร่ก็สืบพันธุ์ มันมีความรู้สึกที่จะสืบพันธุ์ต้องการที่จะสืบพันธุ์ แต่มันดูไม่ค่อยเห็น มันไม่เคลื่อนไหวเหมือนกับสัตว์หรือคนมันมีความต้องการอย่างเยอะ ถ้าไปศึกษาทางพฤกษ์ศาสตร์ละเอียดลออจะเข้าใจได้ดี ว่าต้นไม้ก็มีดอกเกสรตัวผู้เกสรตัวเมียก็อยากจะสืบพันธุ์ อยากจะมีลูก อยากจะไม่สูญพันธุ์ อยากจะหลบหลีกอันตรายให้พ้นจากความตาย การค้นคว้าการทดลองครั้งหลังสุด ต้นไม้นี้รู้จักกลัวและรู้จักเป็นทุกข์ ซึ่งมันละเอียดอ่อนมาก ทดลองกันจนรู้ได้ว่าต้นไม้รู้จักกลัวตาย มีห้องทดลองต้นไม้ที่ออกมาใหม่ ๆ จากหน่อจากเม็ดให้เด็กไปด่าไปแช่งทุกวันด้วยเจตนาร้าย ให้คนอีกห้องไปร้องเพลงทุกวัน ไปสรรเสริญเยินยอไปเอาใจทุกวัน มันต่างกันมากไอ้พวกหนึ่งถึงกับตายไปเลย เขามีเครื่องมือที่คิดขึ้นโดยเฉพาะละเอียดกลออมากมีเข็มกระดิกได้ แล้วคนที่เกลียดต้นไม้เข้ามา ที่ต้นไม้ต้นนั้นจะมีเครื่องวัด เข็มมันก็จะกระดิกแสดงความกลัวของต้นไม้ คนหนึ่งเขาเผาต้นไม้มาหยก ๆ ก็เข้ามาให้ห้องทดลองนี้ ด้วยการทดลองนี้ เข็มกระดิกอย่างหวั่นไหวเลย ต้นไม้นี่ ต้นไม้ที่อยู่ในการทดลองนี่กลัว กลัวนายคนนั้น พอนายคนนั้นออกไปจากห้องก็ปกติ นี่ต้นไม้มีความรู้สึกกลัว รู้สึกกลัวตาย รู้สึก เหมือนเป็นของที่ดูยากดูไม่เห็นรู้สึกไม่ได้เพราะมันไม่เคลื่อนไหวตรง ๆ เหมือนกันสัตว์ หรือ คน แต่ว่าสิ่งมีชีวิตแล้ว มีสัญชาตญาณแห่งการกลัวตายทั้งนั้น แล้วทีนี้มันก็มีสัญชาตญาณกลัวตายอันหนึ่งที่เป็นปัญหาจึงอยาก อยาก และจะให้หายอยาก มันมีความรู้สึกเอง เกิดจะระงับความอยาก นี่จึงเป็นเหตุให้คว้าอาหารกินเข้าไปอย่างลูกไก่นี่ไม่มีไรกิน ดินก็กินเข้าไปก็จะระงับความอยาก แม่ต้องรู้จักหาอะไรให้กินได้กินดีรอดไป ถ้าไม่มีอะไรแม้แต่ดินมันก็กิน ลูกไก่มันระงับความอยาก สัญชาตญาณที่จะระงับความอยากเสีย ถ้าความอยากระงับไปแล้วก็มีความสุข มันต้องการอย่างนั้นเรียกว่าสัญชาตญาณแท้ ๆ Instinct นั่นแหละ มันต้องการนิพพานต้องการจะดับเสียซึ่งความอยากซึ่งเป็นความร้อนเป็นความหิว เด็กทารกคลอดออกมามันก็อยาก มันก็ดิ้นรนเพื่อจะระงับความอยากมันก็คว้านมแม่กินได้กินนมแม่ เดี๋ยวแม่จะช่วยให้กินก็สุดแท้แต่ ลูกคนนี่แม่อาจจะเอาไปใส่ปากให้กินนี่ แต่ลูกสัตว์นี่ต้องคว้าหากินเองระงับความอยากนั้นได้ สัญชาตญาณมันต้องการจะระงับ ความอยาก ความหิว ความกระหาย ความร้อนกับความทุกข์ ยุงกระเสือกกระสนเพื่อจะระงับความหิวเผอิญมาพบคนเข้า เจาะเลือดคนดูดกินเข้าไประงับความหิวตามความต้องการของสัญชาตญาณมันก็ถูกตบตาย แต่มันก็ทำหน้าที่ที่จะหาสิ่งที่จะระงับความอยาก หรือความร้อนที่แผดเผาหัวใจอยู่ มันก็คือต้องการนิพพานนั่นเอง ต้องการจะดับเสียซึ่งความกระหายที่ต่อมาเรื่อยมา อยากไม่อยากก็ต้องหาอะไรมาระงับความอยาก ความอยากขยายตัวไปอย่างโง่เขลา อยากอย่างนั้นอยากอย่างนี้อยากอย่างโน้น มันเป็นเรื่องมากมายออกไปมันก็หาวิธีที่จะดับความอยาก ยิ่งเป็นกิเลสมากเท่าไรก็ยิ่งดับยาก เท่านั้น งั้นถ้าเกิดเป็นเครื่องมือของจริงมิหนำซ้ำต้องมีของเล่นอยากเล่นอยากสนุกสนาน ขึ้นชื่อว่าความอยากแล้วแผดเผาหัวใจทั้งนั้น ไม่อยากจะดับความอยากเสียนั่นหนะตามนั้นนะ นั่นนะคือความต้องการนิพพาน นั้นได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาดับความอยากสบายไปได้คือได้นิพพานน้อย ๆ ศึกษาสัตว์ประสาสิ่งต่ำต้อยเหล่านั้นแต่ก็ต้องเรียกว่านิพพานเพราะมันดับความอยากเสียได้เช่นเดียวกัน ต่อมามันมีความอยากใหญ่โตมโหฬารเป็นว่าต้องดับ ดับไม่ได้ก็เป็นทุกข์หยุดไม่ได้ดับไม่ได้ก็เรียกว่า ดับทุกข์เป็นนิพพานจนกระทั่งมารู้ว่าร้อนอย่างแรง ร้ายกาจคือ โลภะ โมหะ โทสะ ราคะ จึงมีคำสอนเรื่องดับไฟกิเลสไฟทุกข์ ดับราคะ โทสะ โมหะ ดับความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดได้ และก็เป็นนิพพาน แล้วเป็นอันได้ความเช่นนี้ว่า ดับความกระหายเสีย ทำความร้อนให้เย็น นี่แหละคือความหมายของนิพพาน ถ้าสูงสุดก็สูงสุด อย่างที่นิพพานสูงสุด ถ้าลดต่ำ ๆ ๆ ๆ ลงมาก็เป็นนิพพานที่ลดต่ำ ๆ ๆ ลงมา แต่มันในความหมายเดียวกันกัน คือดับไอ้ความร้อนเสีย นี่ละผมบอกพวกฝรั่งที่มากัน ผมใช้คำว่า quench quenching quenching of the thirst thirst ที่แปลว่าความกระหาย quenching of the thirst ทุกชนิดทุกระดับทุกขั้นตอน เป็นความหมายของนิพพาน เราธรรมดานี่ที่ในชีวิตประจำวัน ประจำวันมันก็มีการทำให้ความร้อน ความอยากความกระหายที่ เผาลนจิตใจ ให้ระงับไป ระงับไปอยู่ทุกวัน ทุกเรื่องเลยทุกวัน ไม่งั้นมันทนไม่ได้ เห็นไหมว่าไอ้ความต้องการนิพพานนี่มันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เช่นเดียวกับความทุกข์ความร้อน ความโง่ หรือกิเลส นี่มันก็เป็นเรื่องของสัญชาตญาณ มันเกิดได้เองตามความรู้สึก ของสิ่งที่มีชีวิต ในการจะดับไปเสีย ต้องการจะดับ เป็นความต้องการของสัญชาตญาณ ถ้าดับได้มันก็มีความรู้สึกเป็นนิพพาน ดับเย็นลงไปได้จากความร้อน เหล่านั้น ฉะนั้นทุกคราวที่มันดับความกระหายไปเสียได้นั่นก็เป็นเรื่องของนิพพาน แม้ความกระหายทางกามารมณ์ทางอะไรมันระงับไปได้กามารมณ์มันก็เป็นนิพพาน ชั้นต่ำต้อยชั้นที่เคยเข้าใจกันอย่างนั้นอย่างที่กล่าวอยู่แล้วในภาษาบาลี ยังไม่ใช่นิพพานสมบูรณ์ ที่จะเป็นพระอรหันต์ เป็นปุถุชนธรรมดาสามัญไปก่อนเถิด มันก็มีประโยชน์ มันก็เป็นสิ่งที่ดับความร้อนความทุกข์ได้ไม่ฉะนั้นมันก็บ้าตาย ความอยากความกระหายอะไรที่แผดเผาหัวใจอยู่ ถ้าดับไม่ได้จะเป็นอย่างไรหละ คุณคิดดู ถ้าคุณหิวแล้วไม่มีอะไรดับมันจะเป็นยังไงมันก็ต้องเป็นบ้าหรือตาย ความอยากใด ๆ ก็ตามคือ ดับไปเสียได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็เรียกว่าธรรม เป็นกิริยาอาการแห่งนิพพานน้อย ๆ ต่ำ ๆ เขลา ๆ โง่ ๆ อย่างของปุถุชนก็ได้ แต่มันก็มีความหมายเดียวกับนิพพานที่แท้จริงที่สูงสุด คือมันดับความร้อนความทุกข์เสียได้นี่คือ นิพพาน ทีนี้จะมีในทุกวันได้อย่างไร ก็อย่างเดียวกันนี่คือทำให้ความหิว ความกระหายบ้า ๆ บอ ๆ มันหายไปมันหายไปทุกเรื่องทุกเรื่องที่มันเกิดขึ้นมีความหิวอะไรแผดเผาหัวใจ ทำให้มันดับหายไป ทุกเรื่อง ทำหน้าที่ทำหน้าที่ของตัวอย่างที่พูดแล้ววันก่อนหน้าที่หน้าที่ที่ต้องทำ พอดับแล้วมันก็ดับความอยากในหน้าที่นั้นได้ก็เป็นความหมายของนิพพาน ดังนั้นจงทำอะไรให้ถูกต้องอยู่เสมอ ดับความกระหาย ดับความต้องการ ดับความทุรนทุราย แห่งจิตใจ ให้ได้อยู่เรื่อยไป เรื่อยไป ตลอดทั้งวันทั้งคืน ยังตื่นอยู่มีความรู้สึกอยู่ให้มีการกระทำชนิดที่ดับกระหายแห่งจิตใจเสียให้ได้ ทำให้มันเย็นดีกว่าพูดว่าดับเสียอีก ทำให้มันเย็น ทำให้ของร้อนกลายเป็นของเย็น จะดับ ดังนั้นเมื่อมีความร้อนความความทุกข์หิวความกระหายความต้องการของกิเลสอะไรก็ตามเกิดขึ้นในใจ ถ้าทำให้มันดับไปเสียได้ก็คือว่ามีนิพพานน้อย ๆ นิพพานน้อย ๆ ถึงแม้มันจะดับไปเองโดยที่เราไม่ได้ทำมันก็เป็นนิพพานเหมือนกันเป็นนิพพานชนิดหนึ่งซึ่งเราไม่ได้ทำ มันดับไปโดยตัวมันเอง ความอยากความต้องการบางชนิดอาจจะดับได้แต่บางชนิดต้องหาสิ่งมาสนองความอยาก มาสนองความอยากในทางที่ถูกต้องมันก็ควรแล้วมันก็ควรจะมี แต่ถ้าสนองความอยากในทางที่ผิดมันก็จะทำผิดทำชั่วทำอะไรต่อไป แล้วมันก็จะดับไม่ได้ด้วย ดังนั้นจึงพยายามทำให้ถูกต้องในการจะดับความกระหาย ความอยากมันเผาลนจิตใจอยู่ในแต่ละวันนั้นเสียให้ได้ แล้วเราก็จะมีนิพพานในชีวิตประจำวันเป็นนิพพานน้อย ๆ เป็นนิพพานต่ำในชั้นต่ำ เป็นนิพพานตัวอย่าง แต่ก็ต้องมีถ้าไม่มีก็ต้องเป็นบ้าหรือตาย ถ้าความอยาก กระหายเผาลนจิตใจอยู่เป็นวันเป็นคืนแต่เดี๋ยวมันก็ต้องตาย ทำให้มันหายไปโดยวิธีใดมันก็รอด เพราะฉะนั้นจึงถือเรารอดอยู่นี้ก็เพราะว่ามันมีการดับแห่งความอยาก แม้กิเลสก็เถอะ ไอ้เวลากิเลสไม่เกิดมันก็เป็นนิพพาน เวลาที่กิเกสไม่เกิดขึ้นเผาลนจิตใจก็ เรียกว่าอยู่กับนิพพานชั่วคราวนิพพานน้อย ๆ นิพพานชั่วขณะนิพพานชั่วสมัย แล้วคุณไม่เห็นบ้าง กิเลสมันเกิดอยู่ทุกวินาที ทุกชั่วโมงทั้งวันทั้งคืน มันไม่ได้หรอกถ้าเป็นอย่างนั้นมันก็ตายแล้วบ้าแล้ว เป็นโรคประสาทบ้าตายหมดแล้ว ถ้ากิเลสมันเกิดอยู่ไม่ขาดระยะ ดังนั้นเวลาที่ไม่เกิดกิเลสบางทีจะมากกว่าเสียอีก เกิดกิเลสเร่าร้อนหรือกิเลสก็มี แต่เวลาที่ไม่เกิดมันก็มี ถ้ามันเกิดตลอดไปชีวิตนี้ก็ตาย งั้นชีวิตนี้ไม่ตายก็กิเลสมันดับไปบ้างเป็นระยะ ๆ ก็มันรอดชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่เรียกว่านิพพานน้อย ๆ แม้ไม่ใช่สมบูรณ์ด้วยดี จะได้ไม่เป็นคนเนรคุณต่อสิ่งนี้ ต่อสิ่งที่ช่วยให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ คือการดับไปแห่งกิเลสแม้เป็นระยะ ๆ เป็นความดับเย็นแห่งกิเลสนี่มันช่วยให้เรามีความเป็นปกติอย่างนี้ มิฉะนั้นจะนอนไม่หลับเลย ถ้ากิเลสมันมารบกวนอยู่เสมอ หรือว่ามันจะเป็นโรคประสาทหรือมันจะเป็นบ้า มันจะฆ่าตัวตาย หรือตายเอง ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ากิเลสเบียดเบียนอยู่ทุกวินาทีเป็นระยะที่กิเลสไม่เบียดเบียนคือนิพพานน้อย ๆ ตามธรรมชาติ ที่ธรรมชาติมันจัดสรรให้ก็ควรจะขอบใจ ก็ควรจะรู้จักบุญคุณของสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะรักษาให้มันมีมากขึ้น ที่มันมีระยะน้อยไป ระยะสั้นไปเราทำให้มันยาวออก แล้วที่มันน้อยอยู่เราทำให้มันมากขึ้นเมื่อมีความเย็นอย่างนี้ มากขึ้นมากขึ้น ขอให้ตั้งใจดูให้ดีจะเป็นประโยชน์แห่งการบรรลุนิพพานแท้จริงที่สมบูรณ์ นิพพานตัวอย่างน้อย ๆ นี้จับตัวให้ได้ แล้วก็เลี้ยงดูให้มันใหญ่โต ให้มันยาวให้มันใหญ่ให้มันมากขึ้น ในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อมีเวลาจิตสงบเย็นแห่งจิตใจให้มากขึ้น ๆ ๆ โดยวิธีที่ฉลาดที่ถูกต้อง เช่น เรามาบวช แม้บวชสามเดือนก็ได้ศึกษาเรื่องนี้ ถ้าไม่เหลวไหลก็คงจะเข้าใจพอที่จะรู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้กิเลสมันเกิดยาก หรือไม่เกิดควบคุมไว้ได้ตามสติกำลัง ตามที่ทำได้ กิเลสมันก็เกิดขึ้นน้อยลง ระยะว่างจากกิเลสก็จะมากขึ้น นี่คือเราขยายนิพพานที่น้อยๆ ให้มันมากขึ้น ที่มันยะสั้นให้มันระยะยาวขึ้น ก็เลยเรียกว่ามีชีวิตอยู่ด้วยนิพพาน ด้วยความเย็น ถ้าปฏิบัติถูกต้อง ในทางธรรมมะตามที่ พระพุทธเจ้าสอนไว้ด้วยเรื่อง อริยสัจ เป็นต้น ก็จะมีความเย็นมากขึ้น เย็นมากขึ้นที่จะมีนิพพานหล่อเลี้ยงชีวิตมากขึ้น ยาวนานขึ้น สูงขึ้น ดีขึ้น นี้ขอให้สนใจ ส่งเสริม คือ ส่งเสริมสัญชาตญาณ ที่มันอยากจะเย็นอยากจะดับอยากจะเย็นให้มันได้มีโอกาสมีหน้าที่ และธรรมมากขึ้น ๆ มันก็มีความเย็นมากขึ้น เราศึกษาเรื่องดับทุกข์กันอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้นให้มันมากขึ้น โดยสรุปแล้วมันก็คือว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ก็ว่าอยู่ทุกวันทำวัตรเช้า แต่มันก็ว่าเป็นนกแก้วนกขุนทอง ไม่รู้ว่าอะไรมันก็ว่าแต่ปาก มันก็บอกชัดอยู่แล้วว่า โดยสรุปแล้วเบญจขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละเป็นทุกข์ โดย สังขิตเตนะแปลว่า โดยสรุป ปัญจุปาทานักขันธา ขันธ์ทั้งห้าที่มีอุปาทานสิงอยู่ ทุกขา เป็นทุกข์ ก็อย่าให้มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ มันก็จะไม่เป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้มันโง่ ขนาดที่ว่าขันธ์ ๕ คืออะไรมันก็ไม่รู้จัก อุปาทาน คือ อะไรมันก็ไม่รู้จัก บวชแล้ว ๓ เดือนนี้รู้จักไหม ขันธ์ ๕ คืออะไรโดยแท้จริงรู้จักไหม อุปาทานคืออะไร ถ้าไม่รู้จักก็คือไม่ได้หัวใจพุทธศาสนาออกไป ในการบวชเข้ามาทั้งทีถ้ารู้จักก็ดี รู้จักขันธ์ ๕ ก็ดี รู้จักว่ามายึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไร เป็นทุกข์อย่างไร จะได้รู้จักควบคุมไม่ให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ มัน นั่นมันก็คือ ๒ เรื่อง เป็นเรื่องร่างกาย กับ จิตใจ รูปขันธ์คือร่างกายระบบร่างกายรวมทั้งระบบประสาทซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกด้วย ในระบบประสาทนี้ยังไม่ใช่จิตใจเป็นของเนื่องอยู่กับรูป รูปขันธ์หรือร่างกาย
เรื่องจิตใจมีอยู่ ๔ อาการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำหน้าที่รู้สึก อารมณ์ที่มากระทบก็เรียกว่า เวทนา สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทุกข์แล้วก็สุขบ้าง เมื่อความรู้สึกสำคัญมั่นหมาย จำได้มั่นหมายได้มันก็เลยเป็นสัญญา คิดนึกอะไรไปตามความมั่นหมายนั้นก็เรียกว่า สังขาร ที่ทำให้รู้แจ้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เรียกว่า วิญญาณ ๔ อย่างหลังเป็นเรื่องจิตใจหนึ่งอย่างข้างต้นคือรูปมันเป็น รูปเป็นกาย มีขันธ์ ๕ กายมันเป็นเครื่องทำให้จิตใจทำหน้าที่อยู่ได้ ถ้าไม่มีกายจิตใจมันทำหน้าที่อะไรไม่ได้ นี่มันมีกายทั้งระบบประสาทด้วย ตายังสามารถเห็นรูป หูยังสามารถได้ยินเสียง จมูกยังสามารถรู้สึกกลิ่น ลิ้นจึงสามารถรู้สึกรส ผิวกายยังสามารถรู้สึกต่อโผฏฐัพพะที่มากระทบกาย จิตจึงมารู้สึก อารมณ์ที่มากระทบจิต ๔ อย่างนั้นมันทำหน้าที่ของมันได้ โดยไม่ต้องเป็นตัว ไม่ต้องเป็นตัวอัตตา ไม่ต้องเป็นตัวจิตกับพูด ไม่ต้องเป็นตัววิญญานชนิดที่ว่าล่องลอย ถ้ามันยึดมั่นเป็นตัวกูของกูในอะไรก็ตามนี่มันก็เรียกว่ายึดมั่นแล้วมันก็เป็นทุกข์คือหนัก ถ้ายึดมั่นร่างกาย ร่างกายรูปขันธ์ล้วน ๆ เป็นตัวกูก็หนักในการที่จะต้อง ห่วงวิตกกังวลระแวง หรือว่าแบกของหนักมันก็เป็นทุกข์ ถ้ายึดมั่นในเวทนา เวทนาเป็นของกู เป็นตัวกูก็ได้ เป็นของกูก็ได้ มันก็เป็นทุกข์เพราะเป็นของหนัก หรือว่ายึดมั่นในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณก็ดีจะเป็นของหนักและเป็นทุกข์ขึ้นมา ถ้าคุณเคยสวดบทปัญจขันธา ภาราหเวปัญจขันธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ ถ้าคุณรู้ความหมายไม่สวดเฉย ๆ แต่ปากก็จะรู้ว่ามันเป็นของหนักอย่างนี้แล ยึดมั่นว่ารูปนี้เป็นตัวกูก็หนัก มีร่างกายเป็นของกูนี่มันก็กลัวตายบ้างกลัวแต่ตายบ้าง กลัวอะไรบ้าง คือมันหวงแหนบ้างอะไรก็ตาม ยึดเวทนามันก็สุขทุกข์เป็นตัวกูของกูมันก็เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นมา หนักใจก็สุข หนักใจก็ทุกข์ กังวลวิตก สงสัย ลังเลก็หัดทุกข์แล้วทำให้มันสุข มีปัญญาจำได้เป็นอะไรแล้วหมายมั่นว่าเป็นอะไรอีกทีหนึ่ง หมายมั่นในคุณค่าของมัน กระทั่งหมายมั่นเป็นหญิงเป็นชายมันเบาอยู่ มันหนักขึ้นที่สุด สังขารคิดนึกจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็เป็นกิเลสตันหาทั้งนั้น เป็นหนักเป็นร้อนเป็นไฟแม้วิญญาณวิญญาณนี่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ มันก็ยึดถือเป็นตัวกูของกู มันก็เกิดปัญหาหนักขึ้นมา แต่ว่าความโง่หรืออวิชชามันทำให้ยึดมั่นถือมั่นอย่างนั้นทั้งนั้น คุณเอาตัวเองเป็นเครื่องวัดก็ได้ อย่างมีดบาดนิ้ว คุณรู้สึกยังไง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ด้วยก็ยิ่งดีใหญ่เหมือนกันว่ามีดบาดกูทั้งนั้นไม่ใช่มีดบาดนิ้ว แต่ถึงมีดบาดนิ้วแต่อวิชาของเราหรือความยึดมั่นถือมั่น อุบปาทานก็จะทำให้คิดว่ามีดบาดกู แม้บาดที่นิ้วก็บอกว่าบาดกู มันไม่ได้มีความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ว่า ไอ้เหล็ก ของแข็งมันแหวกไปในเนื้อขาด .. เนื้อขาด เลือดออก ถ้าเห็นอย่างนั้นก็ดี มันไม่ใช่มีดบาดนิ้ว หรือไม่ใช่มีดบาดกู ของแข็งอันหนึ่งมันผ่านเข้าไปในเนื้อมันก็ไม่มีใครนึก ไม่มีใครคิด มีดบาดกู ก่อนนี้มีเณรคนหนึ่งที่นี่ เดี๋ยวนี้ตายแล้ว หนามเกี่ยวหนังขาดมันไปทำความสะอาด ตรงนั้นมีหนาม ต้องผ่าต้องรื้อ หนามมันเกี่ยวหนัง พอหนังขาดเลือดไม่ได้ออกเลย มันหน้าเขียว จะเป็นลมให้ได้ ความมันยึดถือ ยึดถือมาก มันกลายเป็นกูจะตายขึ้นมา หนามขีดพอหนังเป็นแผลกูจะตายเป็นลมนั่นแหละความยึดมั่นถือมั่น มันทำให้เกิดความรู้สึกอย่างนั้นและเป็นทุกข์อย่างนั้น ไปศึกษาเรื่องขันธ์ ๕ ไว้เสมอ แม้จะสึกออกไปแล้วก็อย่าเห็นเป็นเรื่องเทอะทะ รู้จักขันธ์๕ แล้วไม่ยึดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นตัวตนแล้วจะไม่มีความทุกข์เลย จะได้ความรู้สมกับที่จะเข้ามาบวชครั้งหนึ่ง ได้หัวใจพระพุทธศาสนาออกไป ภารา หะเว ปัญจักขันธา ใครสวดได้ แม้แต่คนเดียวสวดได้ ใครสวดได้บทนี้ ใครสวดได้ยกมือสิ ใครสวดได้ ดูหมิ่น ดูถูกว่าเป็นของไม่มีค่าทั้งที่เป็นหัวใจพุทธศาสนา ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขั้นธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล บุคคลนั่นแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป บุคคลในที่นี้คือความโง่ ว่าเป็นตัวกู ว่าเป็นบุรุษ เป็นบุคคล ว่าเป็นตัวตนว่าเป็นตัวกู ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ก็มีบุคคล และบุคคลนั่นแหละ แบกของหนักพาไป คือขันธ์ ๕ แบกพาไป ภาราทานัง ทุกขัง โลเก แบกถือของหนักก็เป็นความทุกข์ เด็ก ๆ ไม่รู้ขันธ์ ๕ เป็นของหนักที่สุดแบกไปก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก ภารา ทานัง ทุกขังโลเก ภาระ นิกเขปะนัง สุขัง โยนทิ้งของหนักออกไปเสียก็ไม่ทุกข์ แบกถือของหนักเป็นทุกข์ โยนทิ้งของหนักออกไปเสียก็ไม่ทุกข์ นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง อัญญัง ภารัง อนาทิยะ โยนของหนักอันนี้ทิ้งไปแล้ว อย่าเอาของหนักอันอื่นเข้ามาแบกถือไว้อีก สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยห นิจฉาโต ปรินิพพุโต ถอนความอยากที่เป็นเหตุให้แบกของหนักออกไปเสียได้ ดับเย็นสนิท นิจฉาโต แปลว่า ไม่มีร้อน ปรินิพพุโต แปลว่าดับเย็น นิจฉาโต ปรินิพพุโต ดับเย็นไม่มีของร้อน ไม่มี ไม่มีถ่านไฟ ไม่มีไฟ ฉา ฉาต ที่แปลว่าถ่านไฟ ขี้เถ้าถ่านไฟที่ร้อน (วินาทีที่ 00:43:44 – วินาทีที่ 00:43:48)
บทภาราหะเวปัญจักขันทา วิเศษในพระพุทธศาสนา แล้วคุณก็จะสวดตาม ๆ ไป โดยไม่ต้องรู้ความหมายจำก็ไม่ได้ ผมขอร้องให้จำไปทีเถิด เป็นคาถาที่ประจำตัว ป้องกันให้ยึดมั่นถือมั่นของหนักเอามาเป็นความทุกข์ ดีกว่าแขวนพระเครื่องสักกิโลนึง คุณจะเอาพระเครื่องมาแขวนไว้ที่คอสักกิโลหนึ่งไม่ดีเท่าจำคาถานี้ได้นะ ไปปฏิบัติอยู่เสมอนี่จะเรียกว่าทำให้เย็น ทำไม่ให้ร้อน ดับร้อนเสียได้ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น เบญจขันธ์ ทีนี้ก็คงไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็เรื่องปฏิจสมุปบาท บางทีก็เอามาสวดกันอยู่ ที่นี่สวดกันอยู่บ่อย ๆ เรื่องปฏิจสมุปบาท ที่วัดชลฯ ไม่ทราบ ที่เอามาสวดเรื่อง อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป คือพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตากับรูป รูปมันงอกมันถึงกันเข้าก็เกิด จักขุวิญญาณ การเห็นทางตา หูข้างในกับเสียงข้างนอกถึงกันเข้าก็เกิดได้ยินทางหู โสตวิญญาณ จมูกกลิ่นถึงกันเข้าก็ได้รู้สึกกลิ่นเรียกว่า ฆานวิญญาณ ลิ้นถึงกันเข้ากับรส เกิดความรู้สึกทางลิ้นก็เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ผิวกายนี่ถูกเข้ากับสิ่งที่มากระทบก็เกิดความรู้สึกทางกายเรียกว่า กายวิญญาณ ใจรู้สึกอารมณ์มากระทบก็เรียกว่า ความรู้สึกทางใจคือมโนวิญญาน นี่มันมีอยู่ทั้งวันมีอยู่ทุกวัน มีอยู่ตลอดเวลา เมื่อสามอย่างนี้มากระทบกันเข้าแล้วเรียกว่า ผัสสะ คือสามอย่างกำลังถึงกันอยู่ ตา กับ รูป กับจักษุวิญญาน สามอย่างนี้ถึงกันอยู่ คือ จักษุวิญญาณมันรู้สึกต่อสิ่งที่เรียกว่ารูปโดยอาศัยตาเป็นเครื่องมือ ที่เรียกว่าสามอย่างทำงานกัน ถึงกันเข้าสามอย่างนี้เรียกว่า ผัสสะ คู่หู จมูก ลิ้น กาย ก็เหมือนกัน สามอย่างนี้ถึงกันเข้าก็เรียกว่า ผัสสะ นี่ก็มีอยู่ทั้งวัน นี่ถ้าในขณะผัสสะนั้นมันโง่ มันไม่มีสติ เวทนาโง่ และถ้าเป็นสุขก็ทำให้รักอยากจะได้ถ้าเป็นทุกข์ก็อยากจะฆ่า อยากทำลาย ถ้าไม่ทุกข์ไม่สุข ก็สงสัย โง่ คือปัญญาในขณะนั้นเป็นเวลาโง่ มันก็เกิดเวทนาโง่เวทนาโง่ คือ ถ้าเป็นสุขรักอยากจะได้ ถ้าเป็นทุกข์ก็อยากจะฆ่าอยากจะทำลาย ถ้าไม่ทุกข์ ไม่สุขก็สงสัย โง่วนเวียนอยู่อย่างนั้น ถ้าเป็นเวทนาสุขก็อยากจะเอา เวทนาทุกข์ก็จะผลักออกไป เวทนาอทุกข์ อสุขก็วนอยู่รอบ ๆ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ถ้ามีเวทนาอย่างนี้แล้ว มันก็เกิดตัณหา คือความอยากไปตามความหายแห่งเวทนา เวทนาน่ารักน่าพอใจตันหาก็จะเอา เวทนาไม่น่ารักไม่น่าพอใจตันหาก็อยากฆ่าอยากทำลาย เวทนาที่ไม่ไม่ทั้งสองย่าง ตันหาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็โง่ไปตามเดิม นี่คือตันหาบางอย่างอย่างยิ่งแล้วก็เกิดความรู้สึกว่ากูผู้อยากอุปาทานว่าตัวกู ของกู ก็เกิด ภพ คือความที่จะเป็นตัวกูโดยสมบูรณ์ออกมา เกิดชาติ ตัวกูสมบูรณ์ออกมา ชาติเป็นตัวกูเต้นเหยง ๆ อยู่ มันก็ไปเอา ชรา มรณะ โสตะ ปริเทวะ มาเป็นทุกข์ ถ้าฉลาด เพราะมันโง่เมื่อผัสสะ ถ้าฉลาดเมื่อผัสสะ มีสติปัญญารอบรู้ โอ้ ผัสสะมันคืออย่างนี้เอง อย่างนี้ก็เรียกว่าอย่างนี้ สวยก็เรียกว่าสวยเหม็นก็เรียกว่าเหม็น หอมก็เรียกว่าหอมมันอย่างนี้เอง มันอย่างนี้ เอง จะไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่เกิดเวทนาโง่ ก็ไม่เกิดตันหาโง่ อุปาทานโง่มันก็ยุตติ นี้ปัญญาก็เข้ามา จะทำอย่างไรหละในกรณีนี้ จะทำอย่างไรก็ทำไป ทำไป ก็ตามหน้าที่ก็ทำได้ ทำหน้าที่หาเลี้ยงชีพ ทำหน้าที่บริหารร่างกาย ทำหน้าที่การงานเข้ามาก็ทำ ทำได้โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ สำคัญอยู่ที่เมื่อผัสสะ เมื่อมีผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ผัสสะทางจมูก ผัสสะทางลิ้น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางจิตใจอย่าโง่ แต่มันก็ยาก เพราะมันไม่มีสติ ก็มันไม่ได้ฝึกสติไว้ สมบูรณ์ที่จะไปเอาปัญญา มาให้ทันเวลา แต่ถ้าว่าเป็นนักเลง ฝึกจิตโดยฉพาะอานาปานสติ ฝึกให้มากเข้า ฝึกให้มากเข้า คนนั้นจะสมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ สมาธิ และ ปัญญา สติสมบูรณ์อย่างนี้ก็เอาปัญญามาทันเวลา ที่ผัสสะ พอมีผัสสะเมื่อไหร่ สติปัญญาก็มาทัน รู้อะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร ควรทำอย่างไร ไม่โง่ไปหลงรักหลงเกลียดหลงเกลียดหลงกลัวนี่ เดี๋ยวนี้มันก็ทำผิดไปหมด เอา .. อะไรละ รักบ้าง เกลียดบ้าง โกรธบ้าง กลัวบ้าง ตื่นเต้นบ้าง วิตกกังวลอาลัยอาวรณ์บ้าง อิจฉาริษยาบ้าง หึงบ้าง หวงบ้างยกตนข่มท่าน บ้าง หลงติดฝ่ายนั้นหลงติดฝ่ายนี้ ไม่สามารถจะอยู่เหนือ .. บ้าง นั่นแหละคือความทุกข์ ฉะนั้นศึกษาให้มีสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ไม่เพียงพอ เออ ทำกรรมฐานนะเออทำให้จริง ทั้ง 4 นี้เพียงพอก็ใช้ควบคุมผัสสะ ก็ไม่เป็นผัสสะโง่ ก็ไม่มีเวทนาโง่ ไม่มีตันหาอุปาทาน ภพ ชาติ ก็เลยไม่มีความทุกข์กำจัดความยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้ง ๕ จนได้ เพราะว่าพอรูปขันธ์ทำหน้าที่ ก็เรียกว่าเพราะร่างกายนี่ทำหน้าที่ ตา หู จมูก ลิ้น กายทำหน้าที่ ก็เรียกว่ารูปขันธ์เกิด ก็มีผัสสะ ก็มีเวทนา ก็เวทนาขันธ์เกิด สัญญาหมายมั่นก็คือสัญญาขันธ์เกิด คิดนึกอย่างไรก็สังขารขันธ์เกิด มารู้แจ้งที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจนี้ วิญญานขันธ์เกิด จึงจะเห็นได้ตามลำดับว่าพอรูปขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำหน้าที่นี้ ข้างในกับข้างนอกก็เหมือนกันรูปขันธ์ข้างนอกถึงกันเข้า รูปขันธ์เกิด ก็เกิดจักษุวิญญาน โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ วิญญาณขันธ์เกิด แล้วก็เกิดผัสสะ รูปขันธ์ที่กำลังทำหน้าที่ เกิดเวทนาขันธ์ เกิดปัญญาขันธ์ ก็ถ้ามีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมันก็หมายมั่นว่าอะไรว่าสุขว่าทุกข์ว่าอะไรก็ตามหมายมั่นว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เวทนา สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์คิดไปตามนั้น คิดไปตามอนุโลมไปตามสัญญาขันธ์นี่แหละขันธ์ ๕ ถ้ามันมีสติปัญญาก็โอ้ขันธ์๕ เท่านี้เอง มันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นของมันอย่างนี้เอง มันจะไม่รู้สึกว่าตัวกูของกู เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ หรือแม่แต่ในรูปขันธ์ มันก็ไม่เกิด ปัญจุปาทานักขันธา มันก็ไม่มี สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา มันก็ไม่เป็นทุกข์เห็นขันธ์โดยความเป็นขันธ์ตามธรรมชาติอย่างนั้นอย่างนั้น เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนอะไร นี่ที่ว่าจะไม่เกิดความทุกข์ แล้วก็ เย็น เย็น เป็นนิพพาน อยู่ได้ตลอดไปที่อุปาทานยังไม่เกิด กิเลสยังไม่เกิด งั้นใครมีสติปัญญาในเรื่องนี้มากก็ได้อาบรสอยู่ในพระนิพพานในขั้นต้น ๆ เป็นอย่างดียิ่ง
มีชีวิตเย็นเป็นนิพพุตา นิพพุติ เป็นนิพพุติ เป็นความเย็น นิพพุตะแปลว่าผู้เย็น คุณเองก็ดีไปสวดให้ศีลเขา สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สิเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย ถ้าได้นิพพุติแม้เพราะศีลก็ยังได้นิพพุติ ก็มีศีลอย่างนี้ก็ระงับไปได้มากมีนิพพุติตามสมควร ความเย็นในชีวิตมีได้เพราะศีลและค่อย ๆ สูงขึ้นไปจนเป็นนิพพาน เป็นนิพพุติไปก่อน งั้นบอกเป็นนิพพุติก็ให้รู้ว่าอะไร อย่าบอกเขาแล้วตัวเองก็ไม่รู้ว่าอะไร มีนิพพุติเพราะศีล สุขติเพราศีล มีโภคก็เพราะศีล เพราะฉะนั้นทำศีลให้สมบูรณ์ ให้มีชีวิตเย็นเป็นนิพพุติอย่างนี้ แล้วก็เรียกว่า เราเป็นผู้มีชีวิตประจำวันอยู่ด้วยนิพพาน เป็นนิพพานในชีวิตประจำวัน ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา สามารถมีนิพพานน้อย ๆ นิพพานตัวอย่างแม้เป็นนิพพานชั่วขณะก็ตามอยู่ในชีวิตประจำวัน วิเศษที่สุดเพราะมันจะค่อย ๆ กลายเป็นนิพพานสมบูรณ์ ขอให้ได้รับประโยชน์อันสูงสุดอันนี้ให้สมกับว่า ได้เสียสละออกมาบวชทั้งที ให้ได้หัวใจของพระพุทธศาสนาออกไปอย่างนี้ เวลาหมดแล้ว 1 ชั่วโมง ขอยุติการบรรยายในวันนี้ด้วยหัวข้อ มีนิพพานในชีวิตประจำวันด้วยกันจงทุก ๆ คนเทอญ