แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วมา เราเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องพูดถึงความหมาย
ของสิ่งที่เรียกว่าพุทธ หรือศาสนา ศาสนาทั้งหมดทั้งสิ้น จนแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทที่อาศัยกำลังศรัทธา ประเภทที่อาศัยกำลังจิต ประเภทที่อาศัยกำลังปัญญา
พุทธศาสนาอยู่ในประเภทที่ ๓ ที่เราจะอธิบายกันชัดลงไปว่า อาศัยปัญญาอะไรในเรื่องอะไร มีความหมายอย่างไรสืบต่อไป
00:01:10-00:02:45
คำว่าปัญญาในที่นี้ หมายถึงรู้ โดยประจักษ์ ไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งที่เรียกว่าเหตุผล เพราะว่ามันรู้ประจักษ์ด้วยจิตใจ
ควรจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันสักหน่อยว่า ความรู้ที่เราได้ยินได้ฟังมาจากการบรรยาย นี่ก็เป็นเพียงความรู้ทั่วๆ ไป เป็นสติปัญญาชั้นที่เป็นความรู้ ที่ได้ยินได้ฟังมายังใช้ไม่ได้ ยังไม่พอ
ทีนี้เราเอาสิ่งที่ได้เล่าเรียนมานั้นมาคิดมานึก โดยเหตุผล โดยวิธีแห่งเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ ด้วย <วิธีตรรก>(นาทีที่.. 00:03:53)
ก็ได้ ด้วยวิธี ฟีลอสโซฟี ก็ได้ แล้วเราก็ได้ความเข้าใจซึ่งก็ยังไม่ใช่ปัญญาอันสูงสุด มันเป็นเพียงปัญญาเพราะการ
คำนวนออกมา ทีนี้ได้ความรู้อย่างไร ยุติอย่างไร ในทางการคำนวนเราก็ปฏิบัติสิ่งนั้นๆ ดู เราก็รู้แจ้งเห็นจริง มี เอ็กพรีเรี่ยน (experience) เกิดมี <realizations .. 00:04:29>
มีอะไรครบถ้วน อันนี้จึงจะเรียกว่า เป็นความเห็นแจ้งแทงตลอด หรือที่เรียกว่าปัญญา ในระดับที่จะใช้กับพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ขอให้ท่านเข้าใจปัญญา ปัญญา ปัญญา สามระดับไว้อย่างนี้ก่อน
00:05:04- 00:08:02
ทีนี้เกี่ยวกับคำว่า วิสดอม วิสดอม มันจะมีปัญหาเราก็ไม่ทราบว่าท่านจะมีความหมายสำหรับคำๆนี้ว่าอย่างไร เข้าใจว่า อาจจะเรียกว่า วิสดอม กันได้ทั้งนั้นถ้าจะเรียนกันในโรงเรียน มันเป็น วิสดอม ยากแก่การศึกษา เอามาคิดนึกจนมีความเข้าใจ มันก็เป็น วิสดอม ในการใช้เหตุผล ปฏิบัติจนประจักษ์แก่จิตใจ นี่มันจึงเป็น วิสดอม โดยสมบูรณ์
จาก <สปริตชวล เอ็กพีเรี่ยน 00:08:48 > โดยตรงเราควรจะใช้คำว่า <อินตูวีทีฟ วิสดอม 00:08:55>
เป็นสิ่งที่เราต้องการในที่นี้ ถึงเมื่อท่านทำวิปัสสนา ทำสมาธิ ทำกรรมฐาน ทำวิปัสสนาก็เพื่อประโยชน์ ให้เกิด อินตูวีทีฟ วิสดอม มีจิตใจสัมผัสลงไปที่สิ่งนั้นโดยตรง ถ้าท่านยังมีความเข้าใจสำหรับคำว่า ..วิสดอม เป็นอย่างอื่น ก็ขอให้ทำความเข้าใจกันเสียให้ถูกต้อง ณ บัดนี้ว่า เรามีความมุ่งหมายอย่างนี้ หมายถึง อินตูวีทีฟ วิสดอม ที่ออกมาจากการสัมผัสกับสิ่งนั้นๆ โดยตรง แล้วมันก็ไม่มีทางที่จะผิดได้
ขอให้เข้าใจสิ่งนี้ วิสดอมในความหมายอย่างนี้
00:09:46 - 00:12:04
ทีนี้เราจะมาดู ในข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งว่า ไอ้วิสดอม ตามที่เราเรียกทั้ง ๓ ระดับนี้ มันจำเป็นจะต้องใช้ร่วมกัน
หรือเนื่องๆ กัน มีวิสดอมจากการเรียนรู้ได้ยิน ได้ฟัง ว่าอย่างไร ตามหลักพุทธศาสนาก็ยังไม่เชื่อทันที ก็ต้องเอาความรู้นี้มาใคร่ควรดู ด้วยเหตุใช้เหตุคำนวนดูอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ ว่ามันจะให้ผลจริงตามที่กล่าวนั้นหรือไม่ นี่ก็เป็นวิสดอม ชั้นที่มีความเข้าใจตามเหตุผล ที่มันเนื่องอยู่กับเหตุผล ถ้าการใช้เหตุผลผิด มันก็ผิด และเพื่อความแน่นอน เมื่อมีเหตุผลว่าอันนี้คงจะดับทุกข์ได้มีเหตุผลสมบูรณ์ที่ว่าจะดับทุกข์ได้ เราก็ยังไม่เชื่อก็มาลองปฏิบัติดู ลองปฏิบัติดูมันก็จะแสดงออกมาว่าดับทุกข์ได้
มันพิสูจน์ ความดับทุกข์ได้มันถึงจะเป็นความรู้ หรือวิสดอมชั้นสูงสุดที่พระพุทธศาสนาต้องการ ดังนั้น ท่านจงระวังในการใช้ วิสดอมสามชนิดนี้ ให้ถูกต้องให้มันสัมพันธ์กัน ให้ถูกต้องตามลำดับ ลำดับที่มันควรจะมี แล้วท่านก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า วิสดอม ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา เป็นแน่นอน
00:14:01- 00:17:25
ทีนี้ขอให้ทราบว่า แม้การบรรยายที่กำลังบรรยายอยู่นี้มันก็ให้ได้เพียงความรู้ หรือ วิสดอมที่มาจากการฟัง ลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร มันก็เป็นเพียงความรู้ที่ได้จากการฟัง อธิบายต่อไปอย่างมากก็จะให้ความรู้ที่มาจากการใช้เหตุผล ท่านจะต้องตั้งต้นด้วยความรู้มาจากการฟัง และความเข้าใจที่มาจากการใช้เหตุผล จึงจะไปถึงความรู้ที่แท้จริงที่เป็น <<อินตูวีทีฟ วิสดอม>> ที่มาจากการปฏิบัติแล้วมีผลการปฏิบัติปรากฏอยู่ในใจของท่านจริงๆ
ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี เพื่อให้ได้ความรู้ในส่วนที่จะได้จากการฟัง และท่านจะได้เอาไปคิด ให้เข้าใจจากความรู้ ที่ได้จากการใช้เหตุผล ท่านจึงจะใช้ความรู้นั้นเป็นการปฏิบัติได้ผลของการปฏิบัติเป็นความรู้ที่ได้มาจากการสัมผัสกับผลของการปฏิบัตืโดยตรง ขอให้ท่านเตรียมตัวให้พร้อมในลักษณะอย่างนี้
00:19:08- 00:21:13
เพียงเท่านี้ท่านก็จะเห็นได้เองแล้วว่า ในความยุ่งยากลำบากส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งมันขึ้นอยู่กับภาษาที่เราใช้พูดกัน แล้วมันยังมีการถ่ายทอดจากภาษาสู่ภาษา อย่างที่ว่าอาตมา จะพูดนี้
มันก็ถ่ายทอดมาจากภาษาบาลี แล้วก็มาเป็นภาษาไทย ใช้คำอย่างภาษาไทย ไม่ได้เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ …............00:21:50..
มันก็เลยยิ่งต้องใช้ภาษาอักฤษ มันก็เลยต้องเกี่ยวกันถึงสามภาษา และคำแต่ละคำนี่มันไม่ค่อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราเอาภาษาเป็นหลักทีเดียวทันทีไม่ได้ ก็ต้องเข้าใจภาษานั้นให้ถูกต้องกันเสียก่อน เพราะที่จริงเราต้องเอาตัวมันเอง เอาตัวมันเอง ..................... < 00:22:16
ตัวมันเองเป็นอย่างไร แล้วท่านก็รู้เอาเองว่าจะไปเรียกโดยภาษาว่าอย่างไร นั่นละมันถึงจะถูกต้อง ทีนี้เรายังต้องใช้ภาษา เช่นภาษา วิสดอม วิสดอม นี่มันยังแตกต่างกันมาก
ทีนี้ได้คำที่สำคัญที่เราจะต้องใช้คือคำว่า อะไรเป็นวัตถุของการศึกษา
ถ้าจะพูดในแง่ที่ว่าพุทธศาสนาสอนในเรื่องอะไร
เดี๋ยวนี้ก็จะต้องบอกว่า พุทธศาสนาสอนเรื่อง ชีวิต คือความจริงของชีวิต ซึ่งท่านทั้งหลายเข้าใจและชอบใช้คำๆนี้
หากจะใช้คำในภาษาบาลีโดยตรง มันไม่มีคำว่าชีวิตเลย
ไม่มีคำใช้ว่า ชีวิตเลย เขาใช้คำว่า "สังขาร" หรือสังขารทั้งปวง สังขาร ......................... < 00:23:21 >
ก็ยังทั้งปวงอยู่ด้วย ไม่ได้พูดเรื่องชีวิต แต่พูดเรื่องความจริงของสิ่งทั้งปวง อย่างนี้เป็นต้น
เดี๋ยวนี้เราจะรู้จักลักษณะเฉพาะ พุทธศาสนาสอนว่าเรื่องอะไร พูดกับท่านทั้งหลายว่าสอนเรื่องชีวิต ถ้าจะพูดภาษาบาลี ภาษาธรรม ศาสนาสอนเรื่องความจริง ของสังขารทั้งปวง ซึ่งก็เป็นคำอีกคำหนึ่งซึ่งค่อนข้างเข้าใจยาก
ดังนั้นขอให้รู้กันไว้ดีก่อนว่ามันภาษาไม่พอเป็นเหตุให้ยุ่งยาก
ต้องทำการกำหนดศึกษาเอาเองให้ดีๆ ให้ได้ภาษาที่ถูกต้อง ในความหมายที่ถูกต้อง แล้วท่านก็จะเข้าในพุทธศาสนาเป็นแน่นอน
< 00:24:20 - 00:29:26 >
...... เอาล่ะเป็นอันว่า อาตมา จะใช้คำว่า ชีวิต หรือ Life
แต่ในความหมายทางธรรมะ หรือทางภาษาธรรม ภาษาพุทธศาสนานั่นเอง คำว่า ไลฟ์ ในทางภาษาคน .........00:29:51 ....>
ท่านก็รู้ๆ อยู่แล้วไม่ต้องพูด แต่ขอใช้คำนี้ Life ในภาษาธรรมว่าคืออะไร มันเป็นการจำเป็นด้วย เพราะว่าพุทธศาสนาต้องการจะแก้ปัญหาของ Life
Life ในทางพุทธศาสนาก็คือสิ่งที่เรียก ในภาษาไทยว่า ขันธ์ 5 ขันธ์ ทั้งห้า หรือ ...................... 00:30: 33
แต่ละขันธ์ แต่ละขันธ์ มันเป็นสิ่งที่ประกอบกันอยู่เป็นชีวิต
ในขณะ..ในขณะ จนครบทั้งห้าขันธ์ บางเวลาชีวิตในรูปขันธ์ คือร่างกาย
.................. 00:30:55 ทั้งหมด
บางขณะในความรู้สึกเป็นเวทนา ความรู้สึกต่อเวทนานั่นแหละ กลายเป็นเวทนาขันธ์ เป็นชีวิตในขณะหนึ่ง บางขณะก็เป็นสัญญา .................. , .................... 00:31:18 >
เป็นความรู้สึกในแบบของสัญญา................. 00:3131> .......
หมายมั่น ............. , .............
เป็นอะไร ๆ นี่ก็เป็นชีวิตในขณะหนึ่ง บางเวลาก็เป็นเรื่องของความคิด ..........00:31:44 > เป็น .................. เป็นคอนเสริป์ชั่น ชีวิตในขณะนี้ก็มีอยู่เป็นขณะๆ บางเวลาเพียงแต่มีความรู้สึก เป็น..................... 00:31: 56> ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ก็เป็นชีวิตในขณะหนึ่ง รวมกันเป็นห้าอย่างที่เป็นรูปขันธ์ เป็นฝ่ายฟิสิกซ์ อย่างหนึ่ง และเป็นฝ่าย ..................... 00:32:11
นี่อีกสี่อย่าง รวมเป็นห้าอย่าง เรียกว่า ขันธ์ห้า การประชุมกันอยู่ทั้งขันธ์ห้า ทั้งห้าขันธ์เนี่ยเราเรียกมันว่า ชีวิต การเรียนรู้เรื่องชีวิต จึงเป็นการเรียนเรื่องขันธ์ทั้งห้า ซึ่งจะได้พูดกันโดยละเอียดที่สุด
............... 00:32:33 - 00:35:36 >
บางเวลาความสนใจ ความรู้สึก ของเราทั้งหมดมันไปรวมอยู่ที่ร่างกาย ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างไร โดยเจตนา ไม่เจตนา เราก็คิดว่าเราทำ กริยาทางร่างกาย อย่างนี้เรียกว่า เอาชีวิตเป็นร่างกาย เอาร่างกายเป็นชีวิต ทีนี้มันไม่ถือว่าไอ้ร่างกายเป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติไปตามเหตุ ตามปัจจัยของธรรมชาติ แล้วมันก็ทำหน้าที่ของมันได้ตามธรรมชาติ ร่างกายนี้ไม่ใช่มีแต่เนื้อล้วนๆ มันมี
................00:36:41 > ระบบประสาทที่ทำให้รู้สึกได้เต็มที่ของมันในส่วนที่เกี่ยวกับร่างกาย มันจึงรู้สึกการกระทำทางร่างกาย
สำหรับที่จะส่งไปยังจิตใจ เพื่อให้เกิดขันธ์ทางจิตใจ เช่นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นต้น
บางเวลาคนเราสนใจเอาร่างกายเป็นตัวเรา ถ้าเรามองเห็นเพียงว่าเป็นธรรมชาติ เป็นเพียง ...........00:37:22 >ของธรรมชาติ เป็น ............... 00:37:27 > เป็นเพียง ..............00:37: 39> อย่างนี้ก็ดี เข้าใจถูกต้อง ..................... หากความคิดว่า
.............. 00:37:45> มันไม่เกิด ไม่มีความทุกข์ แต่ตามปกติสิ่งที่มีชีวิตทั่วไปมันจะถือเอาเป็นตัวตน
.....................00:37:58> แล้วแต่จะเรียก นี่หากรู้ว่าร่างกายหรือ รูปขันธ์ เป็นขันธ์ที่หนึ่ง ที่เราต้องรู้จัก ไม่รู้ว่ามันเป็นเพียง
.............00:38:18> ของธรรมชาติ ที่ประกอบกันเป็นอย่างนี้ ประกอบกันเป็นอย่างนี้ ประกอบขึ้นอย่างนี้หาใช่มี
................ 00:38:31>
มีตัวตนอะไรไม่ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักรูปขันธ์ถูกต้อง เรียกว่ารู้จักชีวิตในแง่ รูปขันธ์ถูกต้อง
......................00:38:44 - 00:41:57>
ลัทธิที่เชื่อในรูปขันธ์อย่างเดียวเคยมี และมีอย่างสูงสุดคือ
................. 00:42:09 > ว่าสิ่งอื่นไม่มีมีแต่รูปขันธ์ เขาบัญญัติเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ว่ามีแตรูปขันธ์ เป็นความรู้สูงของอินเดียสาขาหนึ่งในหลายๆ สาขา และก็มีพรหมโลกสำหรับผู้ที่มีแต่รูปขันธ์ รูปขันธ์ไม่มีจิตใจ ไม่มีความรู้สึกอะไร กระทั่งว่ามันจะมาเป็นต้นเหตุ
............... <ฟังไม่ออก 00:42:41> ลัทธิ
.................... 00:42:43 >
ปัจจุบัน มองเห็นวัตถุเป็นใหญ่ สำคัญอยู่ที่วัตถุ มันก็มีอยู่พวกหนึ่ง หรือฝ่ายหนึ่ง แต่ที่นี้อีกฝ่ายหนึ่งมันไม่ถืออย่างนั้นไม่เห็นด้วยด้วย มันถือว่ายังมีส่วนที่เป็นนาม ตรงกันข้ามกับรูป เรียกว่านาม จะแบ่งเป็นสี่พวก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ รวมกันเป็นอันเดียวก็ได้เรียกว่านาม มีนามมีฝ่ายจิตใจ เขาก็เลยมีความรู้เรื่องทาง จิตใจ ค้นคว้าไปในทางจิตใจ รอบรู้ในเรื่องทางจิตใจ ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในด้านจิตใจ อันนี้จึงมีฝ่ายนามหรือฝ่าย
............... 00:43:38 >
อันแรกคือ เวทนา มี feeling ที่มันระบบประสาท มันส่งเข้าไปถึงจิต จากรูปขันธ์ ระบบประสาทมันส่งเข้าไปถึงจิต
ก็มีความรู้สึกเป็น feeling หรือแล้วแต่จะเรียกอะไร แล้วแต่ภาษาอังกฤษ เราก็ไม่ค่อยได้ยึดติด แต่คุณรู้เอาเองว่า ที่มันส่งไปทางระบบประ สาทไปให้รู้สึกแก่จิต เป็น feeling
เรียกว่า เวทนา บางทีถูกใจ บางทีก็ไม่ถูกใจ บางทีก็ไม่เป็น
ทั้งสองอย่าง แต่ก็เป็น feeling อันหนึ่งด้วยเหมือนกัน บางเวลาเรารู้สึกรุนแรงมากเกี่ยวกับ feeling จนรู้สึกว่า feeling นั่นแหละคือตัวเรา
ตัวเรานั่นแหละเป็นผู้กระทำ feeling เห็น feeling เป็นตัวเราไปในขณะนั้น ถ้าอย่างนี้ก็ต้องเป็นทุกข์ มีปัญหาเกี่ยว feeling ขึ้นมาทันที ถ้าเห็นแต่เป็น feeling เฉยๆ
เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติในทางจิตเฉยๆ ไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใช่ตัวตน มันก็ไม่มีปัญหา นั่นก็เรียกว่าเวทนาล้วนๆ
................00:45:04 เวทนา
ทีนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น จิตมันจะโง่ไปถึงกับว่า เราเป็นผู้ทำเวทนา เป็นผู้รู้สึกกับเวทนา ไม่ใช่ว่าเวทนาเป็นตัวเราก็ได้
เหมือนกัน หรือจะรู้สึกว่า เวทนาเป็นของเราก็ได้เหมือนกัน
ถ้าอย่างนี้ละก็เป็นเวทนา เป็นเวทนา ที่ยึดถือเอาด้วยความโง่ เป็นเวทนาที่ไม่ใช่เวทนาล้วนๆ เป็นเวทนาที่มีอุปาทาน
อุปทาน 00:45:41 ...............
ว่าเราว่าของเราบ้าง เพราะฉะนั้นเวทนาก็มีสองอย่างเหมือนกัน คือตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และท่านที่ยึดถือเอาด้วยความโง่ ว่าตัวตนหรือของตนนี่อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเห็นแจ้งชัดว่าเวทนาเป็นไปตามธรรมชาติก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่หนักอกหนักใจ ไม่เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นเวทนาเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราเป็นผู้เวทนา เวทนาเป็นของเราแล้ว ก็เรียกว่าเวทนานั้นเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ เป็นเวทนาที่มี ............... 00:46:15
ที่เรียกว่า เวทนูอุปาทานขันธ์ แต่ฟังยากสำหรับท่านทั้งหลาย ก็ไม่อยากจะพูด ถ้าเวทนาขันธ์ ..................00:46:26 ............... เวทนา
ถ้าเวทนูปอุปาทานขันธ์ ก็หมายความว่า เวทนาที่ความโง่เขาไปจับเอาเป็นอุปาทานว่าตัวตนของเวทนา หรือเวทนาของตัวตนก็ได้เหมือนกัน ให้รู้จักว่าเวทนา เป็นเพียงกระแสแห่งการปรุงแต่ง ภายในร่างกาย จิตใจ นี้ มันก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ได้เพราะยึดถือเวทนานั้น ยึดถือชีวิตในแง่ของเวทนา ยึดถือเวทนาในแง่ของชีวิตก็ต้องเป็นทุกข์เพราะเวทนา
.............00:47:15 - 00:56:30
ทีนี้..ก็ให้สังเกตุเอาเองดูเอาเองว่า เมื่อมันมี feeling หรือเวทนาขันธ์แล้ว จิตไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น มันก้าวหน้าต่อไป ที่จะทำความหมายมั่น มั่นหมายในภาษาไทย ต่อเวทนานั้นๆ มันจะ............
.....00:57:08 ว่าเป็นอะไรมันจะ ..............00:57:12 ว่าเป็นพวกไหน มันจะ ............... 00:57:15
ว่าอะไร กับอะไร อย่างนี้เป็นต้น อังกฤษเป็นลักษณะอย่างนี้ เราเรียกว่ามันมีสัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์ เรียกกันง่ายๆ ว่า ............. 00:57:33
มันเป็นเหตุให้เรา ............00:57:39
ว่า สุข ว่าทุกข์ ว่าได้ ว่าเสีย ว่าดี ว่าชั่ว ว่าแพ้ ว่าชนะ แม้ที่สุดว่าเป็นหญิง หรือเป็นชาย เป็นต้น ส่วนนี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ ชีวิตบางขณะของเรา ถ้ามันทำหน้าที่อย่างนี้ มันไม่ได้คิดว่า ไอ้ความรู้สึกอันนี้มันเป็นตามธรรมชาติที่มาแวดล้อม ให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นในจิตอย่างนี้เอง แต่มันคิดว่ามีตัวฉันเป็นผู้ .............. 00:58:23 เป็นต้น มันก็เลยมีตัวตนขึ้นมาในสัญญาขันธ์ หรือ เพอร์เซปชั่น 00:58:36 ขันธ์
ถ้ามันเป็น ..เพอร์เซปชั่น.. ล้วนๆ ไม่เอามาเป็นตัวตนผู้เพอร์เซปชั่น หรือ..เพอร์เซปชั่น..ของตน มันก็ไม่มีปัญหาอะไร
มันเป็นกิริยาที่ไหลไปตามธรรมชาติ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นอย่างนั้น
จิตมันจะเอานี่เป็นฉันผู้ ............... 00:58:57 เป็นเพอร์เซปชั่นของฉันขึ้นมา
มันก็มีปัญหาเป็นความทุกข์ บางเวลาชีวิตของเราถูกครอบงำอยู่ด้วย ..เพอร์เซปชั่น.. เป็นลักษณะหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ขอให้สังเกตุดูให้ดี ให้จับตัวมันให้ได้ จับตัวมันให้ได้ ว่ามันเป็นแต่เพียง เพอร์เซปชั่น...
................00:59:28 ทางจิตเป็นไปตามสิ่งที่แวดล้อม แวดล้อม
แวดล้อม มาตามลำดับ นี้ก็เรียกว่าเรารู้จักขันธ์ที่สามของ ขันธ์ทั้งห้า คือส่วนหนึ่งของชีวิต ที่เป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะ
.............00:59:51 อะไร.............. หรือไม่มันก็อยู่ที่ขันธ์นี้แหละ ที่เรียกว่า สัญญาขันธ์ที่สาม
01:00:02 - 01:04:34
ทีนี้ก็ดูต่อไปอีกว่า สติของจิต มันไม่หยุดแต่เพียงเท่านั้น
หลังจากที่มันมี เพอร์เซปชั่นแล้ว มัน เพอร์ซีปแล้ว มัน.......01:04:49 แล้ว ..................
มันมีผลออกมา ทำให้มีความคิด มีคอนเซปชั่น มี thought ว่าเราจะทำอะไรกับสิ่งเหล่านั้น บางทีเรา...................01:05:08
ได้ว่าดี ว่าชั่ว ว่าได้ ว่าเสีย ว่าแพ้ ว่าหญิง ว่าชาย คลาสสิฟายด์ ว่าอย่างนั้นไปแล้ว มันก็มีความคิดว่า เราจะทำอะไรกับสิ่งเหล่านั้น นี่เป็นขันธ์ที่ สี่ เรียกว่า สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ แปลว่าปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ................... 01:05:29 ขึ้นมา มันเป็นความคิด อย่างที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่าความคิด มันเป็นไปตามความหมาย ของเพอร์เซปชั่น
เพอร์เซปชั่น มันจะทำให้คิดอย่างไร คิดอย่างไร มันจึงมีการคิดดี คิดชั่ว คิดที่ไม่รู้ว่าดี ว่าชั่ว ก็มี ตอนนี้เรามีความคิดเป็นชีวิตแล้ว มีสังขารขันธ์เป็นตัวชีวิต เพราะว่าเราไม่ถือว่านี่มันเป็นความรู้สึกตามธรรมชาติโดยธรรมชาติ แต่เราคิดว่า เรา ฉัน เป็นผู้คิด เป็นผู้คิด อย่างที่...........01:06:13 เขาว่า ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่ ..................01:06:19 อะไรทำนองนั้น ความคิดอย่างนี้ก็มีมาแล้วตั้งแต่สองพันกว่าปีในอินเดีย เพราะคิดได้ดังนั้นจึงเป็นตัวฉัน คือเป็นอาตมา หรือเป็นอาตมัน สีกาเพิ่งมาพูดเมื่อไม่กี่วันมานี้
และเพราะว่ามันมีเพอร์เซปชั่น มีความหมายของเพอร์เซปชั่น ดลบันดาลให้เกิดคอนเซปชั่น เป็นความคิดขึ้นมาจะทำอย่างไร
ต่อไปนี้มันก็จะเป็นเหตุให้ทำกรรม เป็นแอ๊คชั่น.. เป็นคอมมิทเม้นท์.. เป็นอะไรไปตามเรื่องของมัน ส่วนที่เป็นความคิดจะทำอะไรอย่างไรนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ ถ้าเห็นว่ามันเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตใจตามธรรมชาติจากสิ่งแวดล้อมเท่านี้ก็เรียกว่า เป็นสังขารขันธ์ล้วนๆ ...................01:07:07
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่อย่างนั้น มันมีอวิชชาความโง่ไปยึดถือไปหมายมั่นเอาว่าฉันเป็นผู้ ..คอนซีฟ.. เป็นผู้คิดเป็นผู้อะไรต่างๆ เลยเรียกว่า สังขารอุปาทานขันธ์
สังขารขันธ์ที่มีอุปาทาน................. 01:07: 27 ก็ไปจับฉวยเอานี่เป็นปัญหา เป็นปัญหา ชีวิตก็กลายเป็นของหนักขึ้นมาทันที เป็นความทุกข์ขึ้นมาทันที ขอให้รู้จักชีวิตในความหมายที่สี่ คือสังขารขันธ์กันให้ดีๆ ว่ามันไม่มีตัวจริงๆ เป็นมายา เป็นวอยซ์.. แต่มันก็มีตัวตนขึ้นมาได้ ที่ว่าตัวฉันมีขึ้นมาได้ ตัวฉันกระทำ ตัวฉันของฉัน ตัวของฉันกระทำเพื่อเอามาเป็นของฉัน อย่างนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ บางเวลาชีวิตของเราอยู่ในลักษณะอย่างนี้ คือมีลักษณะเอาสังขารขันธ์มาเป็นตัวตนอย่างนี้ อย่างที่สี่ขอให้เข้าใจไว้ดีๆ รู้จักไว้ดีๆ
.............. 01:08:18 - 01:12:28
ทีนี้เราก็มาถึงขันธ์ที่ห้า เรียกว่าวิญญาณขันธ์ ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษทั่วๆไปว่า ................. 01:12:40
มันเป็นขันธ์ที่เป็นพื้นฐานทั่วไป สำหรับรู้สึกต่อทุกๆ สิ่ง .......
..........01:12:52 ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันหมด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทั้งหมดภายนอกตัวเราเข้ามาสู่ภายในตัวเราทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ จึงมีชื่อครบทั้งหกอย่างตามชื่อของ.................01:13:13 สำหรับวิญญาณขันธ์ มันจะรู้สึก
นับตั้งแต่ว่ารูปขันธ์ มันเกี่ยวข้องกัน ข้างนอกกับข้างในมันเกี่ยวข้องกัน ก็เกิด.............. 01:13:34 วิญญาณขันธ์ เป็นต้น
วิญญาณขันธ์กำหนดรู้สิ่งใดอยู่ มันก็ทำให้เกิดเป็นเวทนาขันธ์บ้าง และก็สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ตามลำดับ ตามลำดับ ถ้าเราไม่มีวิญญาณขันธ์ ก็เท่ากับว่าโลกทั้งโลกนี้ไม่มี ..ยูนิเวทริส์.. นี้ไม่มี ถ้ามันไม่มีวิญญาณขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะมันทำหน้าที่ประหลาดคือทำให้รู้ชัด รู้แจ้งทุกสิ่งที่เข้ามาสู่การเกี่ยวข้อง ถ้าเราไมีวิญญาณขันธ์
เท่ากับโลกนี้ไม่มี เดี๋ยวนี้เรามีวิญญาณขันธ์ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โลกนี้ก็มีเข้ามา เข้ามา ทำให้เกิดคอนแท็กซ์.. กับสิ่งเหล่านั้น แล้วก็เกิด feeling เกิดคอนเสริป์ชั่นคอะไรต่างๆ
เพราะมีหกอย่างนี้เป็นตัวการ ระวังให้ดีเถอะตัวนี้เล่นตลก เป็นตัวตลกที่ทำให้เกิดปัญหามาก ต้องรู้จักเท่าทันมันควบคุมมันอย่าให้มันหลอกเราได้
วิญญาณขันธ์เหมือนผีหลอก มันรู้สึกไปตามที่มันมีสิ่งปรุงแต่งแวดล้อมที่จริงก็เป็นไปตามธรรมชาติ ที่ตาเห็นรูป ธรรมชาติมันมีระบบประสาทตา และมันก็เห็นได้ หูได้ยินเสียง ก็มีประสาทหูมันจึงได้ยิน จมูกมีระบบประสาทจมูกมันก็รู้กลิ่นได้ เพราะมันมีระบบประสาทอยู่ทางฝ่ายรูปขันธ์ ก็ไปเกี่ยวข้องกับภายนอก มันก็เกิดวิญญาณขันธ์ ก็เกิด..คอนแท็กซ์.. ระหว่างสิ่งเหล่านั้น ก็เกิดเวทนาขันธ์ feeling เกิด
สัญญาขันธ์ เกิดคอนเสริป์ชั่น
ชีวิตเป็นอย่างนี้ โดยมีตั้งต้นที่ วิญญาณขันธ์ ที่มันผัสสะ คอนแท็กซ์.. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยอวิชชา คนเราเกิดมาไม่มีวิชา ไม่มีวิชดอม.. มีแต่.............. 01:16:02
มีอวิชชา วิญญาณขันธ์จึงเป็นตามอำนาจของอวิชชา ถูกหลอกเป็นเวทนาขึ้นมาก็เป็นเรื่องอวิชชา สังขารขันธ์ เพอร์เสิรป์ชั่น มันก็เป็นเรื่องหลอกไปหมดตามอำนาจของอวิชชา ซึ่งมันถูกหลอกมาตั้งแต่วิญญาณขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำไมเอา.............. 01:16:35 ไว้อันดับที่ห้า เพราะว่ามันเกี่ยวข้องหมดทุกขันธ์เลย มันจะไปคอนชาร์ท.. อันไหนก็ได้ แล้วมันจะไปคอนชาร์ท.. กับสิ่งภายนอก ...........
..........01:16:50 ทั้งหลายก็ได้ มันเป็นขันธ์ที่ประหลาดถูกเอามาไว้สุดท้ายเป็นวิญญาณขันธ์ เราจึงมีวิญญาณขันธ์เป็นต้นเงื่อน เป็นจุดตั้งต้นของชีวิต ถ้าไม่มี คอน.................01:17:13 คือเท่ากับไม่มี เดี๋ยวนี้พวกวิญญาณขันธ์ คือตัวการที่จะทำให้เกิด ก่อให้เกิดจุดตั้งต้นของไอ้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นตามธรรมชาติ ก็เป็นวิญญาณขันธ์ล้วนๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ความโง่ หรืออวิชชา มันทำให้มีความคิดขึ้นมาใหม่ว่า ฉันนี่แหละเป็นผู้รู้ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ มีตัวฉันเป็นตัวการ เป็นเซ็นเตอร์ เป็นนิวเคลียส์ อยู่ ตัวฉัน ตัวฉัน มาทำความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าคิดไปอย่างนี้ก็เป็นวิญญาณขันธ์ที่มีอุปาทาน เป็นลัทธิอื่นไม่ใช่พุทธศาสนา
พุทธศาสนา ต้องการมองวิญญาณขันธ์เป็น ขันธ์ล้วนๆ เพียวๆ ................. 01:18:14 รู้จักขันธ์ที่ห้ากันในลักษณะอย่างนี้ มันก็ครบห้าขันธ์แล้ว
01:18:30............- 01:26:48
ในที่สุด สรุปความว่า ลักษณะเฉพาะอย่างยิ่งของพุทธศาสนา ก็คือการสอนให้รู้ว่า ขันธ์ทั้งห้ามิใช่ตัวตน หรือของตน ไอ้ขันธ์ห้า ขันธ์ทั้งห้าที่ประกอบกันเป็นชีวิต คือชีวิตกระจายออกเป็นขันธ์ห้า ทั้งห้าหรือชีวิตนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สิ่งที่เป็นของตน มันเป็นธรรมชาติ ............... 01:27:25 ตามธรรมชาติ เป็น.......................... 01:27:30 ตามธรรมชาติ อย่าเอามาเห็นว่าเป็นตัวตนเลย ถ้าท่านจะศึกษาพุทธศาสนาในฐานะ เป็น ฟีรอซโซฟี.. ก็ได้ แต่มันไม่พ้นไปจากเรื่องนี้ จะศึกษาในฐานะเป็น รีรีเจ้น.. ก็ได้ มันก็ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เกิดความไม่ยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวตนในชีวิต ก็เป็นการปลดปล่อยชีวิตออกจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน นั่นแหละคือลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนา
ท่านทั้งหลายอย่างได้ท้อใจ อย่าได้หมดหวัง ท้อใจว่ามันยากเกินไป ศึกษาไม่ไหว ทีนี้อย่าคิดไปว่าแม้จะศึกษาได้มันก็ไม่จำเป็น ขอให้เข้าใจว่ามันศึกษาได้และมันจำเป็นที่สุด และท่านจะเข้าใจถึงหัวใจของพระพทุธศาสนา ได้รับประโยชน์เต็มที่ในการที่มาศึกษา ฝึกฝน ปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา ในลักษณะดังที่กล่าวมานี้ การบรรยายสมควรแก่เวลา ขอยุติการบรรยาย