แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันแรกนี้ เราจะพูดกันถึงลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนา ก็เพราะว่าท่านทั้งหลายมานี่ก็เพื่อจะศึกษาพุทธศาสนาทั้งในแง่ของทฤษฎีและแง่ของการปฏิบัติ ดังนั้นเราควรจะรู้จักลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนาหรือ Buddhism นี่ โดยเฉพาะกันเป็นข้อแรก
เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องรู้ความเป็นมาของคำที่ใช้เรียกชื่อพุทธศาสนากันมาป็นยุค ๆ เดี๋ยวนี้เรามีคำว่า religion ซึ่งที่ใช้ก็ไม่ใช่ของพุทธศาสนา มาเรียกพุทธศาสนา ท่านก็คงจะลำบากในการที่จะทำความรู้จักกับพุทธศาสนา นี่ถ้ารู้ในนามของ religion นี่ก็ต้องมีปอด ท่านก็คงคิดว่าพุทธศาสนาไม่มีปอด แล้วก็ต้องมาพูดกันว่าต้องมีปอดอย่างไร พุทธศาสนาทำไมไม่เคยถูกเรียกว่า religion มาแต่แรกเริ่มเดิมที จะมาเรียกกันบัดนี้ตามภาษาที่บัญญัติขึ้นใหม่ สมัยนี้ ซึ่งถ้าไปศึกษาในลักษณะของ religion ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะมันไม่เป็น religion อย่างที่มันเป็น ๆๆๆ กันอยู่ในศาสนาทั่วไป ที่จะต้องศึกษาพุทธศาสนาให้ถูกกับลักษณะเฉพาะที่ว่ามันเป็นอะไร
ถ้าเราอยากจะใช้คำว่า religion เราก็ต้องตีความกันให้เข้ารับกับพุทธศาสนา คือ religion หมายความแต่เพียงว่าการปฏิบัติ observation ที่ทำให้เกิดความผูกพัน relationship ระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุด screming (นาทีที่ 5:06) ก็มาใช้กับพุทธศาสนา ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นปอด เราไม่มีปอด และ screming (นาทีที่ 25:12) หน่ะมีปอดกันทุกลัทธิ ทุกศาสนา เราหมายถึงความดับทุกข์ ความไม่มีเหลือหน่ะเป็น screming(นาทีที่ 5:12) การปฏิบัติใด ๆ ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุด นั่นก็คือ religion ถ้าความหมายอย่างนี้เอามาใช้กับพุทธศาสนาในฐานะเป็น religion ได้
นี่จะเป็นการปลอดภัยและง่ายอย่างมากถ้าท่านจะมองพุทธศาสนาในฐานะเป็น way of life วิถีแห่งชีวิต นี่จะตรงกับความหมายดั้งเดิมเมื่อครั้งพุทธกาลในสิ่งที่เรียกกันว่า religion เดี๋ยวนี้ เรียกว่าธรรมะ ธรรมะเฉย ๆ มีความหมายว่า หน้าที่ หน้าที่ที่จะทำให้เกิดความรอดแก่สิ่งมีชีวิต เพราะฉะนั้นหน้าที่หรือธรรมะ ก็คือ way of life นั่นเอง ถ้าท่านจะลืมคำว่า religion เสีย เอาแต่คำว่า way of life ก็จะคล้ายกับตัวจริงหรือความจริงที่เคยมีมาแต่ก่อน ซึ่งเรียกศาสนา ๆ ว่า ธรรมมะคือหน้าที่ที่ดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นก็ทำความเข้าใจว่าเราจะมี พุทธศาสนา หรือศาสนาใด ๆ ก็ตามในลักษณะที่เป็น way of life คือหน้าที่ที่ทำความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
และสิ่งที่ควรจะสังเกตให้รู้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า ถ้าเป็น way of life นี่ มันก็เป็นการปลอดภัย ที่เป็นอิสระไม่ถูกจับขังคุกใด ๆ แต่ถ้าเป็น religion ในลักษณะที่มีความหมายเป็นพระเจ้าอย่างบุคคลมันมีลักษณะเหมือนกับถูกจับขังคุก เปรียบเทียบกับคำ 2 คำว่า Heality (นาทีที่ 10:28) กับ dogma, Heality (นาทีที่ 10:30) ต้องโง่ ๆ ไม่รู้อะไร เชื่อ งมงาย มันก็อยู่ในคุกของความเชื่อ งมงาย แต่ถ้าเป็น dogma มันมาอยู่ในคุก ที่ขจัดตั้งขึ้นไว้ ว่าต้องทำอย่างนี้ ให้เชื่อต้องเชื่ออย่างนี้ คิดต้องคิดอย่างนี้ มันก็เป็นคุก มันก็เปลี่ยนคุก เพราะฉะนั้นในพุทธศาสนา มันไม่มีสิ่งเรียกว่า dogma ซึ่งมันจะเป็น เหมือนกับคุก ถ้าเราพูดด้วยภาษาไทยง่ายว่า ไอ้นอกรีตไม่มีอะไรขึ้นเลย มันก็ไม่ได้ดับทุกข์ ไอ้ในรีตที่ถูกกักขังไว้ด้วยรีต จารีตอย่างนี้ ๆ อย่างตายตัวอย่างนี้ มันก็เป็นคุก มันก็ไม่ดับทุกข์ จะเป็นนอกรีตหรือในรีต มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ดับทุกข์ เราไม่มีคุก เราไม่มี Heality (นาทีที่ 11:30) เราไม่มี dogma เราก็เลยหลุดพ้นออกไป จากความทุกข์ ที่เรียกว่าผลของหน้าที่ ผลของ way of life ก็ทำให้รอดชีวิตอยู่อย่างที่ไม่มีความทุกข์เลย
เดี๋ยวนี้เอาเป็นว่า แม้ท่านจะยังคงประกาศตัวเอง ปฏิญาณ (นาทีที่ 15:36) ตัวเองเป็นคริสเตียน เป็นมุสลิม เป็นยิว เป็นอะไรก็ได้ คือนับถือศาสนาอะไรตามเดิมของท่านก็ได้ จะถือลัทธิการเมือง ลัทธิไหนก็ได้ ไม่ต้องแตะต้อง ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ท่านก็ปลีกตัวมานิดหน่อย มาศึกษา way of life คือวิถีทางที่จะดับทุกข์ ซึ่งขอยืนยันว่าถ้ามีความทุกข์แล้วไม่มีทางอื่นนอกจากทางนี้ จะเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้วก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ต่อไปข้างหน้าก็ดี way of life จะดับทุกข์ได้ต้องเป็นอย่างนี้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกนี้ จะอยู่ในโลกสวรรค์ จะเป็นเทวดา เป็นอะไรก็ตาม คือถ้ามันมีความทุกข์แล้วมันจะต้องดับทุกข์โดยวิธีนี้ ถ้าสมมติว่าในโลกพระอังคารมีมนุษย์หรือโลกอะไรก็ตามที่มันมีมนุษย์ จะมีความทุกข์อย่างนี้ ต้องดับทุกข์อย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ จึงไม่แตะต้องว่าท่านจะเป็นคริสเตียน เป็นมุสลิมหรือเป็นอะไรมันไม่เกี่ยวข้อง ก็ขอให้ศึกษาเรื่องความทุกข์โดยแท้จริงของธรรมชาติในตัวของท่านเอง ตั้งใจที่จะดับทุกข์ แล้วก็ปฏิบัติชีวิต ในระเบียบ way อย่างนี้ ๆ ก็คือจะพบกับสิ่งที่เรียกว่า พุทธศาสนาตัวจริงแท้จริง
ที่นี้ดูต่อไปให้เห็นว่า way of life มันก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของมนุษย์ เมื่อมนุษย์อยู่ในยุคที่มีสติปัญญาน้อย มันก็เห็นความทุกข์หรือเห็นปัญหาน้อย มันก็อย่างหนึ่ง มันก็มี way of life ของเขาอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อมนุษย์มีสติปัญญามากขึ้น ๆ มันก็เปลี่ยนไป ถ้าท่านมีสติปัญญาสูงสุดมันก็มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ลึกกว่า เห็นปัญหาลึกกว่า เห็นความทุกข์ลึกกว่า ไอ้ way of life มันก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อมองกันอย่างนี้แล้ว มันก็จะมองเห็นว่า พุทธศาสนานี่อยู่ในอันดับสุดท้ายเลย เมื่อมนุษย์ได้มองเห็นความทุกข์หรือปัญหาของชีวิตนี้ ในชั้นละเอียด ชั้นสูงสุด แล้วมันก็มาอยู่ในระดับสูงสุด ดังนั้นมันจึงต้องใช้สติปัญญาในระดับสูงสุด ขอให้แยก มองเห็นเป็นส่วน ๆ โดยที่ไม่ต้องปะปนกัน อย่างน้อยเราก็ควรจะมองดูทีเดียวตลอด ทุก ๆ ระดับกันเสียสักทีหนึ่ง และเราก็จะรู้ได้ว่า ระดับสุดท้ายเนี่ย จะต้องเป็นอย่างไร ขอให้ตั้งใจกำหนดกันอย่างนี้
ในพระคัมภีร์ก็มีการกล่าวตรง ๆ กัน หรือทางประวัติศาสตร์อย่างนักศึกษาก็พอจะเห็นได้ว่ามัน ตรงกัน ซึ่งกล่าวไว้เป็นหลักว่า สิ่งที่เรียกว่า ศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ขจัดความทุกข์ของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ชั้นหรือ 3 ยุคหรือ 3 รูปแบบก็ได้ ในรูปแบบทีแรก เมื่อมนุษย์ยังมีความเป็นอยู่ อย่างคล้าย ๆ กับ ไม่ใช่มนุษย์หรือเป็นมนุษย์แต่เพียงเล็กน้อย ยังไม่มีสติปัญญา คือเขาก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก ก็หาเลี้ยงชีวิตเองด้วยสิ่งที่เกิดอยู่เองในป่าตามธรรมชาติมากิน และก็ไม่มีเรื่องราวที่ต้องไป ความเป็นอยู่ การระเบียบ การอะไรที่มันมากมายเหมือนเดี๋ยวนี้ ในเมื่อเขาก็ไม่มีสติปัญญา เขาก็จะต้องเชื่อไปตามอย่างที่ไม่มีสติปัญญา เขาจึงมีความเชื่อที่จะแก้ไข ความกลัว กลัวสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ กลัวสิ่งที่เขาดูแล้วมันน่าอันตราย มันคุกคาม นี่ก็เลยเป็น way of life ของเขาระดับหนึ่งระดับต่ำสุด ของมนุษย์ที่เป็น ครึ่งป่า ครึ่งมนุษย์ ครึ่งสัตว์ มันก็เรียกว่าเป็นระบบความเชื่อ ระบบหนึ่ง
เมื่อยุคแรกอาศัยความเชื่อเป็นหลัก ดำเนินชีวิต สรุปความว่ายุคนี้ไม่รู้เรื่อง ภายในคือจิตใจเรื่องจิตใจภายในไม่รู้ รู้แต่เรื่องภายนอก สิ่งน่ากลัว เป็นธรรมชาติที่น่ากลัว กระทั่งว่าในธรรมชาติที่น่ากลัว มีสปิริต มีผี มีเทวดา มีอะไรก็แล้วแต่ล้วนแต่เป็นเรื่องภายนอก ยุคความเชื่ออย่างนี้มันจะมีอยู่กี่พันปี กี่หมื่นปี กี่แสนปี และสุดท้ายก็เรียกว่าเป็นยุคหนึ่ง เชื่อในเหตุปัจจัยภายนอก ทีนี้ต่อมา ยุคต่อมามันเปลี่ยนแบบเปลี่ยนทีเดียว คือยุคที่ว่าคือมันเริ่มรู้จักภายใน คือมันมองเข้ามาภายใน คนรุ่นนี้ ยุคนี้ก็เห็นเหตุของความทุกข์ว่ามันอยู่ภายใน ความทุกข์อยู่ภายในจึงมองไปภายใน ก็พบเรื่องของจิตใจ ว่าโอ้! มันอยู่ที่จิตใจ จะรู้สึกอย่างไร ถ้าเราทำจิตใจ รู้สึกไม่เป็นทุกข์ได้ โดยวิธีต่าง ๆ กันแบบที่เขาค้นพบมาตามลำดับ จะเป็นเรื่องจัดการกับจิตใจทั้งนั้นจึงเกิดมีความรู้เรื่องทางจิตใจ เกิดครูบาอาจารย์รู้เรื่องทางจิตใจ สอนให้ปฏิบัติเกี่ยวข้องกับจิตใจ ทำจิตใจอย่างนี้ บังคับจิตใจอย่างนี้ แล้วก็ไม่มีความทุกข์ ก็มาถึงยุคที่เรียกว่าการบังคับจิตอย่าให้มีความทุกข์ที่ สรุปได้ที่สุดสูงสุด ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ในตำนาน เช่นเรื่อง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 4 เรื่องนี้ เขาพบกันมานานแล้วในประเทศอินเดีย และถือเป็นเรื่องสูงสุดไม่มีอะไรสูงกว่านี้ อีกยุคหนึ่ง ทำเสร็จแล้วปฏิบัติเสร็จแล้วตายไปก็อยู่พรหมโลก แล้วก็ถือว่าพรหมโลกนั้นน่ะ สูงสุด ยุคที่ 2 มนุษย์เริ่มรู้เรื่องจิตใจ จัดการกับจิตใจ ปรับปรุงจิตใจ เป็นเรื่องระวังจิตใจ บังคับจิตใจ ควบคุมจิตใจ สงบจิตใจ เรียกว่ายุคที่ 2 way of life ก็มาอยู่ที่การบังคับจิตใจ ขอให้เข้าใจว่ามันเป็นอันดับที่ 2 ที่สูงขึ้นมาจนเป็นเรื่องภายในใจจากเรื่องภายนอกเป็นเรื่องธรรมชาติ
ในยุคบังคับจิต ไม่มีความทุกข์นี้มันจะเป็นมาสักกี่พันปีกี่หมื่นปีก็แล้วแต่ ในที่สุดมันก็ยังดับทุกข์สิ้นเชิงไม่ได้ มันจึงเกิดยุคที่ 3 คือยุคของการใช้สติปัญญา รู้จักใช้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง รู้ว่าเหตุให้เกิดทุกข์แท้จริง นั้นคืออะไร เกี่ยวกับจิตเป็นอย่างไร ความคิดเป็นอย่างไร นี่เป็นยุคที่ 3 เทียบกันดูให้ดี ๆ ว่ายุคที่ 1 มันเป็นเรื่องของความเชื่อ แก้ปัญหาด้วยความเชื่อ ยุคที่ 2 แก้ปัญหาด้วยการบังคับจิตว่าต้องอย่างนี้ ๆ พอมาถึงยุคที่ 3 ว่าต้องมีสติปัญญา ศึกษา ค้นคว้ารู้จักความจริง อันสูงสุดมันคือไม่ทุกข์ ของธรรมชาติ จนรู้ว่าจิตเป็นอย่างไร ความคิดเป็นอย่างไร ความคิดปรุงแต่งเป็นอย่างไรจึงจะเกิดเป็นความทุกข์ นี่เป็นยุคของปัญญา มนุษย์ยุคนั้น ก็พยายามใช้ปัญญาเป็นเครื่องแก้ปัญหา แต่ด้วยเหตุที่มันมีมากด้วยกัน เพราะจึงเป็นอย่างเดียวไม่ได้ มันจึงมีหลายอย่าง หลายลัทธิ หลายคณะ หลายอาจารย์ นั้นมันจะแก้ปัญหาความทุกข์ด้วยสติปัญญากันทั้งนั้น แม้แต่สมัยพระพุทธเจ้าก็มีถึง 6 คณะใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นผู้แข่งขันกันทางสติปัญญา แต่เราจะเรียกรวม ๆ กัน ว่าเป็นยุคที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาของชีวิตด้วยสติปัญญา พุทธศาสนาก็จะเกิดขึ้นในยุคนี้ซึ่งจะใช้สติปัญญา เป็นเครื่องแก้ปัญหาเมื่อเราจะเข้าใจพุทธศาสนาไว้ในลักษณะอย่างนี้ ที่เรากำลังจะใช้เพื่อแก้ปัญหาของเรา way of life มันจะเปลี่ยนจากสองชนิดแรก มาเป็นอย่างที่ 3 ยุคสุดท้าย ที่เรียกว่าสติปัญญา จะต้องรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร อะไรเป็นอย่างไร และเราก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้น เพื่อที่จะให้ได้พ้นตามที่เราต้องการ เรามาศึกษาโดยฝ่ายทฤษฎี หลักวิชา อย่างนี้ก่อน แล้วเราก็ปฏิบัติให้สมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติตามหลักนั้น มีได้ทั้งสองอย่างทั้งโดยวิชชาและโดยการกระทำ แล้วมันก็ดับทุกข์ได้เดี๋ยวนี้พวกเราทุกคนกำลังอยู่ในลักษณะนี้เพื่อที่จะศึกษาให้รู้หลักวิชาโดยเฉพาะของพุทธศาสนา แล้วก็จะปฏิบัติจิตใจให้ถูกตรงตามนั้นที่เรียกว่า วิปัสสนา ขอให้สนใจศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง ให้ดีที่สุดทั้งส่วนทฤษฎีและส่วนปฏิบัติซึ่งเราจะได้พูดกันต่อไป นี่ขอให้เข้าใจว่ามันมี 3 ยุค หรือ 3 ระดับ เดี๋ยวนี้เราก็มาอยู่ในยุคสุดท้าย หรือสูงสุด คือยุคของระดับสติปัญญา อันจะได้ศึกษากันให้ละเอียด
ในที่สุดเราจะต้องมามองความจริงข้อหนึ่งว่า ในโลกนี้ไม่อาจจะมีเพียงระบบเดียวหรือศาสนาเดียวหรือลัทธิเดียว เพราะว่าในโลกนี้มันก็ยังมีคนที่ไม่มีสติปัญญา มีปัญญาอ่อนโดยเฉพาะลูกเด็ก ๆ ยังไม่ทันจะมีปัญญา เขาก็ต้องการระบบ way of life หรือศาสนาอีกแบบหนึ่ง ทีนี้คนที่ไม่มีปัญญามากมายไปกว่า การบังคับจิตด้วยสมาธิ ก็มีอยู่มาก บางคนใช้บังคับจิตด้วยแรงสมาธิ ปรับปรุงให้เหมาะสม ตามแบบของความมีสมาธิ ทีนี้พวกที่ 3 รู้สึกว่าเพียงเท่านี้ดับทุกข์ไม่ได้ มันก็เลยดำเนินสูงขึ้นไป จนใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา กำจัดอวิชชา ความโง่ ที่ทำให้รู้ผิด ๆ ดับทุกข์ไม่ได้นั้นออกไปเสีย ให้มีปัญญา รู้ถูกต้องจนดับทุกข์ได้ เดี๋ยวนี้เราก็เลยมี 3 ระบบในโลก แต่ละระบบก็แก้ไขปรับปรุงให้ดีที่สุด ระบบความเชื่อ ก็แก้ไขปรับปรุงให้ดีที่สุดจนมีกิจกรรมชนิดที่เป็นมั่นคง หลักฐานมั่นคง เป็นศาสนาประเภทหนึ่ง ทีนี้ประเภทที่ 2 ที่ว่าสามารถจะบังคับจิตได้ก็ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แล้วแต่ใครจะชอบอะไร ระบบโยคะทั้งหลายก็สูงสุดอยู่ที่การบังคับจิตให้ได้ นี้ระบบที่ 3 คือระบบปัญญา เหมาะสำหรับยุควิทยาศาสตร์ แรกก็ต้องมีระบบสติปัญญา ท่านทั้งหลายต้องยอมรับว่ามันต้องมีครบทั้ง 3 ระบบ ซึ่งล้วนแต่ปรับปรุงให้ดีที่สุดเท่าที่จะตอบสนองความต้องการได้ แต่แล้วแต่เลือกตัวเองว่าพอหรือไม่พอ ดับทุกข์ได้หรือไม่ ถ้ามันดับทุกข์ไม่ได้ก็ต้องเลื่อนขึ้นไป ๆ จนกว่าจะพบระบบสูงสุดที่ดับทุกข์ ทีนี้เรากำลังมาสนใจกันระบบสุดท้าย คือระบบสติปัญญาหรือที่เรียกว่าพุทธศาสนา ท่านจงรู้จักตัวท่านเองมาที่นี่ เพื่อศึกษาวิชาความรู้ระบบที่ 3 มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ธรรมชีวี มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา จงเตรียมตัวสำหรับศึกษาและเพื่อค้นระบบนี้ ในวันนี้พูดแต่เรื่องว่า ลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนา ก็คือระบบที่ 3 เสร็จแล้วก็ควรเข้าใจทุกระบบ ว่าเข้าใจครบถ้วนถูกต้องไม่ปะปนกันให้ยุ่งเหยิง ก็จะเป็นการง่าย ที่จะศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาดูทั้ง 3 ระบบแล้ว ท่านก็จะพบลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนา การบรรยายในวันนี้ สมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้