แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการบรรยายครั้งที่สามนี้ จะได้พูดโดยหัวข้อว่า สมาธิภาวนาในพุทธศาสนา คำว่าสมาธิภาวนานั่นมันมีความหมายที่แปลได้ ถึงตั้งสองอย่างคือว่า Development of Samathi ก็ได้ แปลว่า Development by means of Samathi ก็ได้ รวมเรียกว่า สมาธิภาวนา วันนี้เราจะพูดกันเรื่องสมาธิภาวนา
(นาทีที่ 1:40) แล้วก็จะต้องทราบต่อไปว่า ในลัทธิอื่น ศาสนาอื่น เขาก็มีตามวิธีของเขา ด้วยกันทุกลัทธิ ทุกศาสนา ดังนั้น เราจึงต้องจำกัดความในวันนี้ว่า ในพระพุทธศาสนาหรือตามหลักพระพุทธศาสนาสมาธิภาวนาในพุทธศาสนา
(นาทีที่ 2:50) ทีนี้เราจะมองให้ลึกลงไปถึงต้นเหตุ ว่า กิจกรรมทุกอย่าง ต้องทำด้วยสมาธิตามสมควร แม้ว่า ลิงจะกระโดดจากกิ่งนี้ไปสู่กิ่งไม้โน้นมันก็ต้องใช้สมาธิ สัตว์เดรัจฉาน นกจะบินไปถูกทิศทาง เลี้ยวได้อะไรได้ ก็เพราะมีสมาธิ ปลาบางชนิดมันพ่นน้ำเหมือนกับว่ายิงให้ถูกแมลงที่บินอยู่หรือเกาะอยู่ให้ตกลงมาเป็นอาหารก็ได้ นี่แหละดูเถอะว่าแม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็ยังอาศัยสมาธิเป็นประโยชน์ แต่เป็นเพียงสมาธิตามธรรมชาติตามสัญชาตญาณที่มันจะพึงมี นี้มันไม่ต้องฝึกมันก็ทำเป็นโดยสัญชาติญาณ นี่เรียกความจำเป็นที่เราจะ สิ่งที่มีชีวิตเนี๊ยจะต้องมีสมาธิ
(นาทีที่ 6:03) เด็กเล็กๆเกิดมาแล้วมันก็ใช้สมาธิในการเล่น ถ้าใคร เล่นหยอดหลุมทอยกอง มีหลุมที่จะโยนลูกบอล หรือสิ่งใดลงไปในหลุมและก็ เป็นการเล่นกีฬาชนะกัน อันนี้ไม่ได้ฝึกแต่มันจะขว้าง(นาทีที่ 06:30) ขว้าง ขว้างหินไปให้ถูกเป้าหมาย หรือมันจะยิงด้วยหนังสติ๊ก มันก็ยังต้องการสมาธิอยู่นั่นแหละ แม้เด็กเล็กๆมันก็มีได้โดยสัญชาติญาณอย่างนี้ ทีนี้มันยังจะต้องมีสมาธิในการเล่าเรียน ในการจะท่องสูตรคูณ ในการที่จะคิด ในการที่จะคำนวณ ทำบทเรียนในห้องเรียนมีความจำดี มีการตัดสินใจดี เด็กๆเหล่านี้ก็ต้องใช้สมาธิ เรียกว่าจำเป็นแม้แต่มนุษย์ในระดับแรกตามธรรมชาติ
(นาทีที่ 8:55) ในกิจการงานทุกอย่างต้องใช้สมาธิ การงานหาเลี้ยงชีพการงานอะไรก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการในทางฝ่ายศาสนาที่ทำในวัดในวาทั่วๆไปก็ยิ่งต้องใช้สมาธิ มีสมาธิมากเท่าไหร่ ผลของการงานก็ดีมากเท่านั้น
(นาทีที่ 10:49) ทั้งหมดนี้เราก็พอจะมองเห็นได้ว่า มีหน้าที่อยู่สองอย่าง คือฝึกให้มีสมาธิมากขึ้น มากขึ้นนี่อย่างหนึ่ง ก็เรียกว่าสมาธิภาวนา ใช้สมาธิที่มีอยู่ให้ดีที่สุดในหน้าที่การงาน ด้วยสมาธินั่น นี่ก็เรียกว่าการใช้สมาธิที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ก็เรียกว่าสมาธิภาวนา คำว่าสมาธิภาวนามีใจความกว้างขวางอย่างนี้
(นาทีที่ 12:48) ถ้าแมวไม่มีสมาธิ แมวก็จับหนูกินไม่ได้ ลองคิดดูว่า มัน มันมีประโยชน์กว้างขวาง รอบด้านเท่าไร แต่เดี๋ยวนี้สมาธิเท่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่นนั้น หนะมันไม่พอ ที่จะต้องทำอะไรให้สูงขึ้นไป แต่แมวมันไม่ต้องทำ มันหยุดอยู่แค่นั้นได้ ส่วนคนเนี๊ยต้องทำอะไรให้สูงขึ้นไป ยิ่งขึ้นไป เพราะฉะนั้นคนจึงต้องฝึกสมาธิโดยวิธีที่เรียกว่าสมาธิภาวนา
(นาทีที่ 14:40) คนแต่โบราณ ได้สังเกตเห็นประโยชน์ของสิ่งๆนี้ เขาจึงเลยคิดนึก หาวิธีพัฒนามันให้มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เขาก็ได้รับประโยชน์มากขึ้น มากขึ้นจนเป็นที่นิยม ว่าถ้าจะทำงานให้ดี ทางจิตใจต้องมีสมาธิ ก็มีคนออกไปฝึกอยู่ในป่า เรียกว่า มุนีบ้าง ฤๅษีบ้าง เป็นโยคีบ้าง เขาก็ฝึกสมาธิทั้งนั้น ก็เพื่อรู้การ รู้ เพื่อ เพื่อ เพื่อสามารถทำให้สมาธิมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น แล้วก็รู้จักใช้สมาธิให้กว้างขวางกว้างขวางออกไป อย่างนี้ก็มีมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
(นาทีที่ 17:28) ถ้าเรียกว่าโยคี โยคี มันก็ทำสมาธิเพื่อเป็นสมาธิ คำว่าโยคี โยคี แปลว่า ผู้มี ผู้เทียม ผู้ ผู้มีการเทียมแอก ดูจากฮาร์เนสที่เอาวัว(นาทีที่ 17:45) หรือเอาควายมาผูกเอากับไถนา แล้วให้มันลากไถไปอย่าให้หลุดออกไปได้ คำว่าโยคี โยคี มาจากคำนี้แปลว่าเทียมสัตว์เข้ากับแอก เดี๋ยวนี้ก็เอาอารมณ์ของสมาธิมาเทียมให้กับจิตใจ ให้ลากไปให้อยู่ที่นั่น อย่างนี้ก็เรียกว่าโยคี ถ้าเป็นมุนี มันก็ทำให้เกิดความรู้ รู้ด้วยสมาธิ รู้ รู้ รู้ ออกไปให้มันเพ่งไปในทาง Truth มากกว่า Concentration มันก็รู้ รู้ รู้ ก็เรียกว่า มุนี มุนีแปลว่าผู้รู้ นี่ก็คือผู้ที่ได้ใช้สมาธิให้เป็นประโยชน์ เราจึงแบ่งเป็น2หน้าที่ว่าทำให้สมาธิมากขึ้น อีกทีหนึ่ง (นาทีที่ 18:41) ก็ใช้สมาธิให้เป็นประโยชน์ มากขึ้น มากขึ้น เราจึงแบ่งเป็น 2 หน้าที่ คืออันที่หนึ่ง(นาทีที่ ) นี่คือเรื่องเกี่ยวกับสมาธิภาวนา
(นาทีที่ 20:16) เมื่อเขาประสบความสำเร็จในเรื่องสมาธิทั้งสองความหมายนี้แล้ว เขามีคำอีกคำเรียกพวกท่านว่า สิทธา สิทธา คำว่าสิทธาแปลว่าผู้ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จเรียกว่า สิทธา แล้วคนทั้งหลายก็ไปหาสิทธา ไปขอความรู้จากสิทธา แม้ในป่าในดง เข้าใจว่าคำว่าสิทธา ผู้ประสบความสำเร็จนี้มีใช้ในทุกๆศาสนา อย่างในภาษาไทยนี่ก็ยังว่าผู้สำเร็จ ผู้สำเร็จ ใครๆก็ไปหาผู้สำเร็จ มีวิชาความรู้ที่สามารถสั่งสอนก็ได้ สามารถชักจูงอะไรก็ได้รับประโยชน์ เมื่อกิจกรรมของสมาธิ มีทั้งโยคี มีทั้งมุนี มีทั้งสิทธา สิทธา เรากำลังจะเป็นอย่างนั้น
(นาทีที่ 22:35) ในอินเดีย ทั้งโบราณหรือจนกระทั่งบัดนี้ ก็มีธรรมเนียมประเพณี ให้คนหนุ่มทุกคนได้รับการฝึกโยคะเป็นที่นิยมว่าคนหนุ่มทุกคน จะต้องได้รับการฝึกทางโยคะ ก่อนที่จะออกมาครองบ้านครองเรือน (นาทีที่ 23:00) เหลืออยู่ แม้ในประเทศไทย พึ่ง พึ่งค่อยๆหายๆไปเมื่อนานมาแล้วยังจำได้ ยังเคยได้เห็นว่า คนหนุ่มเนี๊ยะชอบไปฝึกสมาธิ แต่เขาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปลุกอัตตา ปลุกอัตตา คือสามารถทำสมาธิได้อย่างเต็มที่ และก็สามารถ เรียนวิชาความรู้ที่เป็นแมทริกทั้งหลาย คนหนุ่มจึงนิยมไปฝึกสมาธิให้มีความรู้พอตัวสำหรับ จะเป็นคนที่ต่อสู้ชีวิต ในอนาคต นี่ก็เป็นธรรมเนียมประเพณี ด้วยเหมือนกัน และมันก็มีผลดี แต่บางคนก็เอาไปใช้ผิดๆ ใช้หาประโยชน์ผิดๆใช้ในทางเลวก็มีเหมือนกัน
(นาทีที่ 25:17) เราจะมองเห็นได้โดยไม่ยากว่า ถ้ามันมีสมาธิเป็นคุณสมบัติประจำตัวนั่นมันทำอะไรเก่ง เก่ง มันจะยิงปืนเก่ง มันจะฟันดาบเก่ง มันจะใช้อาวุธเก่ง มันจะชกมวยเก่ง มันจะต่อสู้เก่ง มันจึงเป็นที่นิยม และมันก็จะทำงานเก่ง ทำงานในหน้าที่เก่ง อย่างในโฆษณาของ ที เอ็ม Meditationหนะเขาว่าก็จะขับรถเก่ง จะเล่นกีฬาเก่ง จะเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดี ด้วยสมาธินั่นเอง ขอให้เห็น คุณค่าของสมาธิและรู้จักสิ่งที่เรียกว่าสมาธิโดยรอบด้าน
(นาทีที่ 27:42) ในประเทศญี่ปุ่นที่เจริญด้วยอุสาหกรรม บริษัทส่วนมากเขาจะรับคนงานที่เคยฝึกเล่นเซน xxx ตามแต่จะเรียก xx แล้วทั้งนั้นแหละ เซนเนี๊ยมันก็คือสมาธิ และมันยังยิ่งไปกว่านั้น เขาเรียก(นาทีที่ 27:50) Sudden-สมาธิ Sudden Concentration ใช้ได้ทันที ใช้ได้รวดเร็ว ใช้ได้เฉพาะ เหมาะสมแก่เหตุการณ์ เขา เขารู้สึกว่าคนงานที่ฝึกสมาธิมาแล้วทำงานได้ดี เขาก็รับแต่คนงานชนิดนี้ ท่านๆทั้งหลายลองเอาไปคิดดู ท่านจะทำงานอะไรก็ตาม จะขับรถ จะเล่นกีฬา จะทำหน้าที่แม้แต่เพื่อความสบายใจ เป็นHobby มันก็ยังต้องการสมาธิ เอาหละเป็นอันว่าเราสรุปความว่า สมาธิเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับมีชีวิต อย่างถูกต้อง และเพื่อสมบูรณ์
(นาทีที่ 30:54) ทีนี้ก็มาถึงคำว่า "ในพุทธศาสนา" สมาธิภาวนาใน ในพุทธศาสนา ที่ต้องกล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า ก่อนพุทธศาสนาเกิด เขาก็มีสมาธิวิธีตามแบบของเขา ของเขา แม้บัดนี้ แม้พระพุทธศาสนาเกิดแล้วเขายังมีการใช้สมาธิตามวิธีแบบของเขา แบบของเขาของเขาในศาสนาอื่น เราจึงต้องแยกออกมา จำกัดว่า ในพุทธศาสนา ก่อนพระพุทธศาสนาเกิด มุนี โยคีเหล่านั้นรู้จักทำสมาธิ ที่เป็นฝ่ายรูปฌาน รูปฌานที่หนึ่ง รูปฌานที่สอง รูปฌานที่สาม รูปฌานที่สี่ แล้วยังก้าวไปถึง อรูปฌาน รูปฌานที่หนึ่ง รูปฌานที่สอง รูปฌานที่สาม รูปฌานที่สี่ ที่เรียกว่า เนวะสัญญา(นาทีที่ 31:52) เนี่ยเป็นสมาธิสูงสุดเท่าที่มนุษย์ค้นได้ ไม่มีสูงไปกว่านั้น และไปหยุดอยู่เพียงๆเท่านั้น และยึดถือว่านั่นเป็นจุดสูงสุดของการมีสมาธิ หรือการมีความ มีวิธีการแห่งการรอดพ้น พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ไปศึกษากับคนพวกนี้เรียก เนวะสัญญา นาวะสัญญาญัตณะ แล้วท่านก็ได้เห็นว่าไม่พอ ไม่พอ ยังไม่ดับทุกข์สิ้นเชิง จึงต้องไปใช้มันให้ ใช้สมาธิอันสุงสุดนี่สูงขึ้นไปสูงขึ้นไป จนเป็น เป็น เป็นไปเพื่อสิ้นกิเลส เพื่อทำลายกิเลส นี่คือการใช้สมาธิให้เป็นประโยชน์ เป็นสมาธิภาวนาคือทำการพัฒนาโดยการใช้อำนาจของสมาธิเป็นเครื่องมือ ท่านจึงออกมาพบ ใน วิธีวิปัสสนา โดยอาศัยสมาธิ เรียกว่าพบวิธีวิปัสสนาอาศัยสมาธิเป็นกำลังของวิปัสสนา มอง ดู ดู ดู ดู ดู ที่เรียกว่าวิปัสสนา แปลว่า ดู ดู เห็น ดูอย่างแจ่มแจ้ง เขาแจ่มแจ้งเรื่องความทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับทุกข์ เรื่องทางให้ถึงความดับทุกข์ จึงออกมาอยู่ในรูปของพุทธศาสนา แล้วก็ยังใช้วิธีเดิมๆของเขา ของเก่านั่นเอามาใช้ด้วยไม่ได้รังเกียจ ไม่ได้ตัดออกไป เราจึงมีวิธีฝึกสมาธิตั้งแต่เบื้องต้น พวกรูปฌานสี่ ถ้าแต่ใครต้องการจะฝึกรูปฌานสี่ด้วยก็ได้ เพียงแต่รูปฌานสี่มันก็เพียงพอแล้วสำหรับจะเป็นรากฐาน เป็นพื้นฐานของวิปัสสนา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตถัตตา (นาทีที่ 33:40) ที่เราพูดกันแล้วอย่างยืดยาวเมื่อวาน ถ้าเห็น(นาทีที่ 33:44) หละก็ ไม่มีกิเลสเกิดได้ เนี่ยเรามันจึงมี สมาธิวิธี เฉพาะในพระพุทธศาสนา เพื่อจะมุ่งตรงไปยัง ตัดกิเลส ดับกิเลสโดยตรง ถ้าไปใช้อย่างอื่น เช่น เมจิค พาวเวอร์ อย่างนี้มัน ไม่ ไม่ ไม่ใช่พุทธศาสนา หรือแม้แต่ใช้ในการบ้านเรือนทั่วไป ก็ยัง ไม่ใช่พุทธศาสนาโดยตรง มันเป็นแต่โดยอ้อม ถ้าเป็นในพุทธศาสนาหละต้องมุ่งตรงไปที่ความดับไม่เหลือแห่งความทุกข์ทั้งปวง นี่จึงต้องใช้คำว่า ในพุทธศาสนา มีอยู่อย่างหนึ่ง ระบบหนึ่ง
(นาทีที่ 40:34) ทีนี้เราก็มาดูกันให้ละเอียดลงไปถึงคำคำนี้ คือคำว่าสมาธิ มันประกอบขึ้นด้วยคำสองคำ สมะ อธิ สมะ อธิ เป็นสมาธิ แปลว่าตั้งมั่นอย่างสม่ำเสมอ ตั้งมั่นอย่างมั่นคงแน่วแน่แล้วก็อย่างสม่ำเสมอ เรียกว่าสมาธิ นี่โดยพยัญชะ โดยตัวอักษร Literally หมายความว่า มัน ตั้งมั่นอยู่อย่างสม่ำเสมอ ภาวะที่ตั้งอยู่ อย่างสม่ำเสมอของจิตนี้ เรียกว่า สมาธิ
(นาทีที่ 42:53) เมื่อเรามองดูอย่าง พยัญชนะ Literally แล้วก็จะดูอย่างอัตฐะ อัตฐะ Meaningly ว่าสมาธิ คือ การที่จิต กำหนดอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างเข้มแข็ง อดทน สม่ำเสมอ จิตกำหนดอยู่ที่อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เอามาใช้กับอารมณ์อย่างแน่วแน่อย่างสม่ำเสมอ นี่คือความหมายของมัน
(นาทีที่ 44:02) หรือที่พูดไปหยกๆว่า at the Yoke (นาทีที่ 44:09) เนี่ยคืออาการที่ว่า จิต กำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอารมณ์เป็นรูปธรรมก็ได้เป็นนามธรรมก็ได้ เป็นนามธรรมคือ ความรู้สึกคิดนึกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่อันนี้เป็นสมาธิไม่สูงสุด ถ้าเป็นรูปธรรมแท้ๆมันไม่เปลี่ยนแปลงมันง่าย สมาธิก็เป็นไปสูงสุด นี่การกำหนดที่ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าสมาธิโดยความหมาย
(นาทีที่ 45:51) แล้วทีนี้ในขั้นที่สามเราจะมองดูมันโดยหน้าที่ หน้าที่ Duty หรือประโยชน์ โดยหน้าที่นั้น สมาธิมีหน้าที่ ที่ทำให้สามารถ ตั้งมั่น ทนได้ ต่อเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ในการที่จะใช้เป็น Base ของ วิปัสสนา เนี่ยมันมีหน้าที่ที่ ที่จะใช้เป็นรากฐานอันมั่นคง ของวิปัสสนา วิปัสสนาจึงเป็นไปได้สำเร็จเพราะ มีสมาธิเป็นรากฐาน ท่านจงรู้จักสมาธิ โดยพยัญชนะ โดย อัตถะ และโดยหน้าที่ ทั้งสามประการนี้
(นาทีที่ 48:04) ทีนี้ก็มาถึงคำว่า สมาธิ กับคำว่าภาวนา บวกกันเข้าเป็นสมาธิภาวนา แปลว่าการทำให้สิ่งที่มีค่าทางจิตใจเกิดขึ้นเจริญขึ้น เต็มที่ โดยสมาธิ สิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ก็เป็นเรื่องที่ Spirituality ทั้งนั้น ที่มีค่ามากขึ้นมากขึ้นทางจิตใจ ได้อย่างไรการกระทำอย่างนั่นเรียกว่า สมาธิภาวนา Development by mean of Samathi มีคำว่าภาวนาเติมเข้ามา
(นาทีที่ 49:47) ทีนี้ก็จะดูต่อไปในส่วนที่เป็นผล เป็นผล เป็น advantage of Samathi ตามที่ท่านถือกันมาเป็นหลัก ในพุทธศาสนานี้ก็ว่า มีอยู่สี่ประเภท ข้อที่หนึ่ง มีความสุขอย่างสุขแท้จริง ได้ทันทีตามเวลาที่เราต้องการ เราต้องการความสุขที่แท้จริง เป็นต้น ที่แท้จริงและ (นาทีที่50:20) หาได้ทันที โดยอำนาจของสมาธิ ถ้าเราเข้าสมาธิ ไอ่ความทุกข์ก็หายไป ไอ้ความสุขที่แท้จริงก็ได้รับทันที ได้รับความสุขทันทีที่นี่และเดี๋ยวนี้ นี่เป็นข้อที่หนึ่ง
(นาทีที่ 51:32) นี่ข้อที่สอง ทำให้ มี สมรรถภาพเกินกว่า ธรรมดา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของ เรา จะมีสมรรถภาพ Efficiency (นาทีที่51:52) ก็แล้วแต่จะเรียก มากเกินกว่าธรรมดา จนกระทั่งกลายเป็น magic power ไปก็ได้แต่เราไม่ต้องการ ไอ้พวก Magic Power เราต้องการแต่ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี และก็มากกว่าธรรมดา ตาเห็นเหมือนกับตาทิพย์ หูเหมือนกับหูทิพย์ คือเกินกว่าธรรมดานี่ทำได้โดยอำนาจของสมาธิ เราจะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ดีกว่าธรรมดา มีสมรรถภาพสูงสุดกว่าธรรมดา นี่ข้อที่สอง
(นาทีที่ 53:44) ข้อที่สามคือ ความเต็มเปี่ยมเต็มพร้อมแห่งสติ สัมปชัญญะ ชีวิตนี้มันอยู่รอดได้ด้วย(นาทีที่ 53:58)ถ้าไม่มี สติสัมปชัญญะเราต้องตาย ตายไปไม่รู้จักกี่หน เราต้องมีสติสัมปชัญญะที่ถูกต้องเพียงพอมากที่สุด ข้อที่สามคือ ความเต็มเปี่ยมเต็มพร้อมแห่งสติ สัมปชัญญะ ชีวิตนี้มันรอดได้ด้วยสติ ด้วยคุณของ สัมปชัญญะ ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ เราต้องตาย ตายไปไม่รู้จักกี่หน เราต้องมีสติ สัมปชัญญะยะที่ถูกต้อง เพียงพอมากที่สุด ถ้าเรามีสมาธิ ก็หมายความว่าเรามีสติ มี สัมปชัญญะ และมีกระทั่ง ใน Process ทางจิตใจ ในภายใน เมื่อเกิดเวทนา เมื่อเกิดวิตก สัญญา เวทนา สัญญา วิตก Vetana-Feeling SanYa-perception วิตก Thinking a Lot นี่มันจะต้องมี สติ ควบคุม ไม่งั้นมันจะผิด ผิดไปเป็นตรงกันข้ามแล้วอันตราย เรามีความรู้มากมาย ความสามารถมากมาย แต่ถ้าขาดสติแล้ว ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จ ถ้าขาดสติแล้ว ความรู้หรือความสามารถหรือปัญญา ต่างๆอะไร (นาทีที่ 55:10)ก็ต้องจะไร้ความหมาย สมาธิเมื่อทำดีที่สุดแล้วจะทำให้มากเต็มที่ด้วยสติ ด้วย สัมปชัญญะ นี่ เป็นข้อที่สาม ไม่มีการทำอะไรผิดพลาด
(นาทีที่ 57:47) ทีนี่ข้อที่สี่ ข้อที่สี่ เป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะ(นาทีที่ 57:59) ถ้ามีสมาธิอยู่อย่างถูกต้องก็จะเห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงและก็จะสิ้น อาสวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นความเกิดขึ้นมาแห่งอุปาทานขันธ์ ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูของกู ก็เห็นความดับลงแห่งอุปาทานขันธ์ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูของกู กำหนดศึกษาจนรู้ จนควบคุมได้ ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูโดยอำนาจของ สมาธิภาวนา ใช้สมาธิเป็นตัวกำลัง ก็ทำให้สิ้นสุดแห่งความยึดมั่นถือมั่น แล้วก็จะไม่เกิดตัวกู ไม่เกิดความเห็นแก่ตัว เมื่อไม่เกิดความเห็นแก่ตัวมันก็ไม่เกิดกิเลสใดๆโลภะก็เห็นแก่ตัว โมหะก็เห็นแก่ตัว โทสะก็เห็นแก่ตัว เกิดไม่ได้อีกต่อไป เพราะอำนาจของสมาธิภาวนา ในการกำหนดความเกิดดับแห่งตัวกู นี่เป็นข้อสุดท้าย ของประโยชน์ ของสมาธิภาวนา
(นาทีที่ 61:44) ทีนี้ก็อยากจะพูดให้เป็นความรู้ไว้สำหรับสังเกต ว่ามีสมาธิหรือไม่ หรือผลของสมาธิภาวนามี หรือไม่ มันมีเป็นลักษณะหรือCharacteristic ของสมาธิ สามอย่างด้วยกัน ข้อที่หนึ่ง คือบริสุทธิ์ หรือ Purity ของจิตนี่เรียก บริสุทธิ์ จิตกำลังไม่มี กิเลส กำลังไม่มี นิวรณ์ กำลังไม่มีอะไรรบกวน จิตเป็นอิสระ เกลี้ยง สงบ เป็นสุข นี่ก็รวม เรียกๆ สั้นๆว่ามันมี ความบริสุทธิ์ หรือประภัสสร
(นาทีที่ 63:50) ข้อที่สอง ก็ มั่นคง เข้มแข็ง เพราะมีการรวมกำลังจิตทั้งหมดเข้ามาเป็นจุดเดียว มันก็รวมกำลังได้มาก มันเข้มแข็ง มันต้านทานได้ มันอดทนได้ มันต่อสู้ได้ นี่ก็เรียกว่า มันมี ความตั้งมั่น Satiability หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก กันหมด
(นาทีที่ 65:31) ข้อที่สาม ความพร้อม ความพร้อมต่อหน้าที่ ที่เราเรียกง่ายๆว่า Activeness มันจะพร้อมเสมอ ที่จะทำหน้าที่ที่ถูกต้อง นั้นโดยเร็ว โดย ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่ต้องการ ของการงานทุกชนิด แม้เดี๋ยวนี้เราก็ชอบคนที่แอ๊คทีฟ คือมันพร้อมที่จะทำอะไรได้ถูกต้องและรวดเร็ว นี่อานิสง ในลักษณะที่สาม ก็มันก็คือว่ามันพร้อม ที่จะทำหน้าที่ ทางจิต ข้อที่สาม (นาทีที่ 65:31)
(นาทีที่ 66:50) ทีนี้ก็มาถึงสมาธิภาวนาที่พระพุทธเจ้า ทรงแนะนำไว้โดยเฉพาะ ปรากฏอยู่ในพระบาลี พระไตรปิฎก ทั้งหัวข้อและคำอธิบาย เรียกว่าสมาธิ ตามแบบของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่แบบพม่า แบบจีน แบบลังกา ที่เรายึดถือกันอยู่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่แบบอาจารย์ชื่อนั่น อาจารย์ชื่อนี้ อาจารย์ชื่อโน้น อย่างที่เราติดกันอยู่เดี๋ยวนี้ แล้วก็ไม่ใช่แบบ แบบวัดสวนโมกข์ หรือ แบบที่ไหนวัดอะไรก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งนั้นหนะ ที่มันถูกต้องที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงแนะนำไว้ และทรงยืนยันว่าพระองค์ เองก็บรรลุธรรมะเป็นพระพุทธเจ้าด้วยสมาธิภาวนาแบบนี้ นี่จะพูดถึงสมาธิภาวนาแบบนี้
(นาทีที่ 69:22) นั่นก็คือสมาธิภาวนาแบบที่เราเรียกกันที่นี่ว่า อานาปานสติภาวนา หรือเรียกสั้นๆว่าอานาปานสติก็ได้ ซึ่งมีกระจายออกไปเป็นสี่หมวด และในหนึ่งหมวด หนะก็มีถึงสี่ขั้น สี่ลำดับของการปฏิบัติ รวมกันเป็นสิบหกขั้นหรือลำดับ ที่ต้องปฏิบัติ ทีนี้ปรากฏว่าบางคนไม่ชอบ โดยคัดค้านว่า มากเกินไป เกินไป มากเกินไป สำหรับเรา ข้อนี้ขอยืนยันว่า พระพุทธเจ้า จะไม่ตรัสสิ่งที่เกินไป และไม่ตรัสสิ่งที่ยังขาดอยู่ สมาธิภาวนาสิบหกขั้นนี้ไม่ได้เกินไป แล้วก็ไม่ได้ขาดอยู่ ถ้าท่านอดทนก็ทำได้ทั้งสิบหกขั้นก็จะสมบูรณ์แบบ ถเาท่านไม่สามารถจะทำได้ ก็จะยังมีแบบที่ ย่อเข้ามา(นาทีที่ 70:28) พอเหมาะสำหรับคนขี้เกียจ ก็ยังมี เราจะพูดกันทั้งสองแบบ
เอาหละทีนี้จะพูดสำหรับคนที่ไม่ชอบมาก ไม่มากนี่ไม่ใช้แต่เพียง too much (นาทีที่73:07) ไม่ต้องก็ได้ เอาแต่เพียงว่า พอดี พอดีสำหรับคนธรรมดา คนธรรมดา ก็คือว่าเรียกว่า ระบบลัด สั้น มีใจความสำคัญว่า ทำจิตให้เป็นสมาธิพอสมควร พอสมควรเท่านั้นที่คนธรรมดาจะทำได้ แล้วก็เอาจิตชนิดนั้นแหละไปดู อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา Tree (นาทีที่ 73:35) จนกระทั่งเป็นสุญญตา เห็นตถัตตาแล้วเขาก็ได้รับผลของ สมาธิได้เหมือนกัน มันก็ ก็ได้รับผลเต็มที่ในการที่จะไม่มีทุกข์ได้เหมือนกัน แต่ไม่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างอื่นออกไป คุณสมบัติพิเศษอย่างอื่นนั่น ก็ไม่ต้องมี อย่างนี้ก็
ได้ อย่างนี้เรียกว่า ทำจิตเป็นสมาธิพอสมควร แล้วก็ไปพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเท่ากับว่าปฏิบัติ หมวดที่หนึ่งของ อานาปานสติพอสมควรเท่านั้น แล้วก็ไปปฏิบัติดูหมวดที่สี่ พอสมควรเท่านั้นอีกเหมือนกัน พอสมควร เท่านั้นหนะไม่มากไม่เต็มที่ อย่างนี้เรียกว่าระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไป
ทีนี้ก็ดูวิธีปฏิบัติ ส่วนแรก ของหมวดที่หนึ่งของอานาปานสติ กำหนดลมหายใจยาว ออก เข้า ออก เข้า จน รู้จักลมหายใจยาว แล้วก็กำหนดลมหายใจสั้น ออก-เข้า ออก-เข้า จน รู้จักลมหายใจสั้น แล้วก็รู้จะกำหนดให้ละเอียด ละเอียด ละเอียด ละเอียด ละเอียด ละเอียด ให้ลมหายใจละเอียด ละเอียด ร่างกายทั้งหมดนี้ก็จะละเอียด คือ สงบ ระงับ มันระงับลง มัน Clam มัน Cool ลง เท่านี้เราก็มีจิตใจ เพียงพอ ที่จะทำวิปัสสนา จะเรียกว่า Sufficient หรือว่า Moderate ก็แล้วแต่ แต่ว่ามันมีอยู่ในระดับหนึ่งที่จะใช้จิตนี้ ให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความหมายนั้นๆ ซึ่งมันมีอยู่จริงในทุกส่วนของร่างกายเรา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของทุกๆส่วนทุกๆสิ่ง ที่มีอยู่ในร่างกายเราทั้งที่เป็นฝ่าย คอนกรีต เนื้อหนัง และเป็นฝ่ายจิตใจ ทั้งสองอย่าง จนรู้เป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โอ มันว่างจากตัวตน แล้วก็จะเห็นว่ามันเป็นไปตามกฎ (นาทีที่ 78:30) เช่นนั้นเองเช่นนั้นเอง คือ ตถัตตาเมื่อเห็น(นาทีที่ 79:00) แล้วก็ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ endurlism ทั้งหลาย positive หรือ Negative หรือคู่ไหนก็ตามแหละ ไม่ตกอยู่ในendurlismเหล่านั้น นี่ก็พอ อย่างนี้ก็พอที่จะ บรรลุธรรมะ สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนสูงสุดได้ เรียกว่า ลัด สั้น สำหรับคนธรรมดาทั่วไป คนอยู่ในโลกธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น house Hold อยู่ที่บ้าน ที่เรือนก็ทำได้ นี่เรียกว่าระบบลัดสั้น
ทีนี้ก็จะได้พูดถึงระบบที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรง ที่มันสมบูรณ์แบบ perfect ไม่ลัดสั้น ก็คืออานาปานสติ สี่หมวด สี่หมวด ขอให้อดทนฟังสักหน่อยคงจะเข้าใจได้บ้าง จะมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่า (นาทีที่ 83:25) หละก็ จะไม่รู้เรื่องอะไร หมวดกายที่เกี่ยวกับร่างกาย และสิ่งที่เนื่องอยู่กับร่างกาย ก็ต้องรู้จักดี หมวดที่สองเวทนา เวทนาสิ่งที่รู้สึกอยู่กับจิต นี่เราก็ต้องรู้จักดี หมวดจิตเอง และการบังคับจิต ได้ตามต้องการนี้ก็ต้องรู้จักดี และหมวดความจริงของสิ่งทั้งปวง เรา รู้แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่ก็เป็นหมวดที่สี่ สี่หมวด
หมวดที่ 1 คือ กายและเกี่ยวกับร่างกาย ชั้นแรกก็ให้รู้จัก ลมหายใจทั้งยาวทั้งสั้น หมวดยาว หมวดสั้น รู้ว่ามันมีลักษณะอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร ทำให้เกิดอะไรขึ้นมา และเนื่องกันอยู่กับอะไร ลมหายใจยาว มันมีลักษณะอย่างไร มีอิทธิพลต่อจิตใจอย่างไร ให้เกิดอะไรขึ้นมา มี่ตรงกันข้าม ลมหายใจสั้นมีลักษณะอย่างไร ทำให้เกิดอะไรขึ้นมาเพื่อจะทำให้รู้จักลมหายใจทุกชนิดที่เราหายใจกันอยู่จริงๆ แล้วก็รู้ว่า ลมหายใจนี้ ควบคุม ส่งเสริมร่างกาย กายเนื้อ Fresh body ได้เป็นสองบอดี้ คือBreath body and Fresh body เรื่องนี้เขารู้กันมานานแล้วก่อน พระพุทธเจ้าเกิดเขาก็รู้ ว่าลมหายใจ ลมหายใจ นั้นเขาเรียกว่า ในภาษาอินเดียว่า ปราณะ ปราณะ เขามีฝึกวิธี ปราณาญามะ บังคมลมหายใจได้ ตามต้องการทุกแบบอย่าง มีหลายแบบ หลายรูปแบบ แล้วแบบนี้เขาก็ทำกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิด ท่านก็รับมาปรับปรุงเป็นอีกแบบ กำหนด ลมหายใจนี่ ให้เราควบชีวิตร่างกายโดยการหายใจ ปรับปรุงลมหายใจก็มีผลแก่ร่างกาย ทีนี้เราก็ทำลมหายใจหรือปราณนั่นให้ละเอียด ละเอียด ให้ละเอียด ให้สงบ ให้ ระงับ ให้อยู่ในความควบคุม นี่มันจึงมีสี่ สี่ ขั้นตอน รู้เรื่องลมหายใจยาว รู้เรื่องลมหายใจสั้น รู้เรื่องว่าลมหายใจมันควบคุมร่างกาย แล้วก็ทำลมหายใจให้ระงับเพื่อร่างกายให้ระงับ มีสี่ขั้นตอน มันไม่มากเลย ถ้าเราพยายามทำจริงๆ สังเกตจริงๆ ศึกษาจริงๆ อย่างวิทยาศาสตร์ ละก็ไม่ยาก นี่หมวดนี้มีสี่ขั้น เรียกว่าหมวดกาย
(นาทีที่ 91:55) หมวดแรกนี้สรุปใจความ สั้นๆง่ายๆว่า ควบคุม Fresh body โดยทาง Breath body ที่เรียกว่า ปราณาญามะ ปราณะแปลว่าลมหายใจ หรือชีวิต อาญามะแปลว่า Command Commanding on Pra-Na ใช้กันจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ในอินเดียทุกๆลัทธิ โยคีจะต้องเริ่มด้วยอาณะ ปราณา ปราณาญามะทั้งนั้น แต่ก็ต่างกัน ต่างกัน ต่างกัน ตามลัทธิของตนของตน แต่ใจความมาจุดเดียวกัน คือว่า ควบคุมลมหายใจ เพื่อมีผลแต่ร่างกาย การนึกเอาเองก็ได้ ไม่คิดว่าเป็นระบบคำสอนทางศาสนาอะไร ไปนึกไปเองไปค้นคว้าเอาเองว่าหายใจอย่างไรมีผลแก่ร่างกายอย่างไร หายใจอย่างไรมีผลแก่ร่างกายอย่างไร จนรู้ทั่วถึง เพราะมันยังมีหายใจยาว หายใจสั้น หายใจหยาบ หายใจละเอียด หายใจระงับ ไม่ระงับ อันนี้รู้จักร่างกาย 2 ชนิด คือร่างกายเนื้อหนัง กับร่างกายลม ว่ามันเนื่องกันอยู่ เราควบคุมร่างกายเนื้อโดยตรงไม่ได้ เราก็ควบคุมมันโดยทางกายลม การหายใจ หรือการบังคับลมหายใจ จนเกิดความพอใจ เป็นสุขสบายเพราะว่ามันระงับลงไปทั้งสองอย่าง นี่ก็จะเกิดความพอใจเกิดความสุข นี่เป็นหมวดที่ 1 หมวดที่ 1
(นาทีที่ 97:44) ทีนี้ประโยชน์ หรืออานิสงส์ของปราณาญามะที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา ไม่เกี่ยวกับทางธรรมะเนี๊ยก็ยังมีอยู่อีกมาก ท่านควรจะสนใจเรื่อง ปราณาญามะ บังคับลมหายใจที่จะจัดการกับปราณาญามะให้ถูกต้อง ให้อายุของท่านยืนยาวออกไปกว่าธรรมดาก็ได้เพราะปราณาญามะ หรือว่าท่านจะบังคับให้ท่านตายในทันทีในวินาทีนี้ ในการหายใจครั้งนี้ทันทีก็ทำได้โดยการบังคับปราณาญามะ แล้วท่านก็จะมีลมหายใจที่ดี ร่างกายที่ดี จะเล่นกีฬาก็ได้ จะขับรถก็ได้ จะทำการทำงานในออฟฟิตอะไรก็ได้ ถ้าท่านบังคับลมหายใจหรือปราณ ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้องตามความประสงค์ นี่เขาก็บอกไว้ด้วยว่า เป็นอานิสงค์ นอก นอกศาสนา หรือนอกธรรมะ
(นาทีที่100:37) ทีนี้เรื่องตาย เรื่องตาย สองตาย Breath Body Fresh Body หมดไปแล้วก็มาถึงเรื่องที่สองคือเรื่องเวทนา Feeling Feeling เวทนาจะมี ความว่าFeeling จะมีขอบเขตถึงไหนก็ไม่ทราบ แต่คำว่าเวทนาในบาลีนี้มีความหมายกว้างหมด คือสิ่งที่ทุกคนเป็นทาสของมัน เป็นทาสใช้คำว่า Slave หรืออะไรก็ ก็ไม่ค่อยจะรู้ภาอังกฤษ แต่ว่าเป็นทาสของเวทนา ทุกคนในโลกทุกโลกเป็นทาสของเวทนา คนยากจน คนร่ำรวย คนมั่งมี คนมีอำนาจวาสนา คนเป็นเจ้านาย เป็นกษัตริย์ เป็นเทวดาก็ตามแต่มันเป็นทาสของเวทนา ซึ่งเมื่อควบคุมไม่ได้แล้วมันก็เกิดกิเลส แล้วก็เป็นทุกข์ ท่านรู้สึกได้เองว่าเราต้องการสิ่งที่สวยงาม ไพเราะ อร่อย นิ่มนวล ที่เรียกว่า สรุปลงที่เรียกว่า Sexuality เนี่ยเป็นทาสของเวทนาด้วยกันทั้งนั้น
(นาทีที่101:48) การเป็นทาสนั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดกิเลสและเกิดทุกข์ เราจะต้องจัดการกับสิ่งนี้คือเวทนานี้ให้ถูกต้อง เพื่อไม่เป็นทาสของเวทนาอีกต่อไป ทีนี้บรรดาเวทนาทั้งหลายในโลก จะมีอยู่มากมายหลายร้อย หลายพันอย่างก็ตามแต่ว่ามันมาสูงสุดอยู่ที่การเป็นทาสของเวทนาชั้นสูงสุด ซึ่งในที่นี้หมายถึงเวทนาที่เกิดจากสมาธิ ท่านต้องรู้ว่าไอ้เวทนาทั่วๆไปก็มีค่าเท่านั้น เวทนาทางกามรมย์ก็ยิ่งขึ้นมา แต่มีที่ยิ่งกว่านั้นคือเวทนาคือความสุขที่เกิดจากสมาธิ มัน มันAttractive ที่สุด ที่สุด นี่ถ้าเราไม่เป็นทาสของไอ้เวทนาชั้นนี้แล้ว เราก็จะไม่เป็นทาสของเวทนาชั้นที่ต่ำๆลงมาได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องการจะรู้จักไอ้เวทนาชั้นสูงสุด เราจึงมาทำเป็นบทเรียนหมวดที่สองเรียกว่า เวทนานุปัสนา ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป คนทั้งโลกเป็นทาสของเวทนา
(นาทีที่ 106:47) ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สองก็ เราก็เอาเรื่องเวทนาขึ้นมาศึกษา พิจารณา โดยหลักที่ว่าเอาเวทนาสูงสุดมาควบคุมให้ได้ แล้วก็จะควบคุมเวทนาต่ำๆลงมาได้หมด เวทนาสูงสุดคือเวทนาที่เป็นสุขหรือ Pleasant เวทนา ถ้ามัน ถ้าสุขเวทนานั้นยังDisturb หรือยัง (นาทีที่107:10) มันก็เป็นเวทนาที่เรียกว่า (นาทีที่107:15) ชนิดที่เรียกว่า ปิติ มันเป็นความสุขเหมือนกันแต่กำลังฟุ้งซ่าน กำลังกำเริบอยู่ ทีนี้เราทำความสุขนั้นมันระงับไป เราเรียกว่าความสุข เพราะฉะนั้นเราจึงมีเวทนาสองชนิด เวทนาที่กำลังฟุ้งซ่านอยู่ คือ ปิติ Pleasure และเวทนาที่สงบที่ระงับแล้วเป็นความสุขเป็นแฮปปี้เนส ไอ่สองอย่างเนี๊ยเอามาศึกษาเรามีอย่างไร มันมีอิทธิพลอย่างไร ศึกษาเช่นเดียวกับที่ศึกษาลมหายใจเสียทั้งสองเวทนา แล้วก็รู้สึกว่ามันมี (นาทีที่ 107:47) บังคับความคิด เวทนาคิดอย่างไร มัน มันรู้สึกอย่างไร มันจะบังคับความคิดให้อนุโลมตามเวทนานั้นๆ ทีนี้มันเป็นชั่วก็ได้ เป็นไม่น่าปรารถนาก็ได้ หรือว่าเราไม่อาจจะบังคับได้เลย มันก็คิดไม่หยุด เป็นบ้าเลย ถ้าจะควบคุมเวทนาได้ เอาเวทนามาศึกษา ศึกษาจนรู้ว่าเพรสเชอร์เป็นอย่างไร แฮปปี้เนสเป็นอย่างไร ทั้งสองอย่างเนี๊ยคอนดิชั่นต่อจิตอย่างไร อย่างไร เมื่อไหร่ ทีนี้เราก็ควบคุมอำนาจของเวทนาให้ ให้ ให้สงบ ระงับ เสียก็ได้ หรือให้เป็นไปแต่ในทางที่ถูกที่จะไปคิดดี คิดถูกที่ควรคิดอย่างนี้ก็ได้ แล้วก็จะได้เป็น 4 หัวข้อ รู้จักเพลชเชอร์-ปิติ รู้จักแฮปปี้เนส-ความสุขดี รู้จักอิทธิพลของทั้งสองสิ่งนี้ดีว่าปรุงแต่งความคิด แล้วก็ควบคุมกำลังของมันเสียอย่าให้มันปรุงแต่งความคิด หรือให้มันปรุงแต่งความคิดไปแต่ในทางถูกต้อง มันเป็นสี่ขั้นตอนอย่างนี้ ไม่มากเลย นี่เรียกว่าเวทนา หมวดเวทนา หมวดที่สองบทเรียน
(นาทีที่113:03) ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สาม เกี่ยวกับจิต เมื่อเรารู้ว่าเวทนามันปรุงแต่งจิต เมื่อเราควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมจิตได้ มาถึงหมวดนี้เราก็จัดการเกี่ยวกับจิต เกี่ยวกับจิต ให้ข้อแรกเราต้องรู้จักจิตทุกชนิดให้ดีเสียก่อน จิตจะเป็นอย่างไรบ้าง จิตจะสบาย จิตจะไม่สบาย จิตมีกิเลส จิตไม่มีกิเลส จิตสงบ จิตไม่สงบ จิตทุกชนิดจิต รู้ศึกษาใคร่ครวญ อันนี้ขั้น ข้อแรก รู้จักจิตทั้งปวง แล้วก็มาบังคับโดยทางบังคับเวทนา
(นาทีที่ 113:03) ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สาม เกี่ยวกับจิต เมื่อเรารู้ว่าเวทนามันปรุงแต่งจิต เมื่อเราควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมจิตได้ มาถึงหมวดนี้เราก็จัดการเกี่ยวกับจิต เกี่ยวกับจิต ให้ข้อแรกเราต้องรู้จักจิตทุกชนิดให้ดีเสียก่อน จิตจะเป็นอย่างไรบ้าง จิตจะสบาย จิตจะไม่สบาย จิตมีกิเลส จิตไม่มีกิเลส จิตสงบ จิตไม่สงบ จิตทุกชนิดจิต รู้ศึกษาใคร่ครวญ อันนี้ขั้น ข้อแรก รู้จักจิตทั้งปวง แล้วก็มาบังคับโดยทางบังคับเวทนา ให้จิตเป็นไปตามที่เราต้องการ บังคับให้จิตปราโมทย์ บันเทิงรื่นเริง ไม่เศร้าสร้อย ไม่โศกเศร้า อ่านี่ ขั้นที่ ขั้นที่สอง ขั้นที่สาม บังคับจิตให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่กวัดแกว่ง ขั้นที่สี่ ก็บังคับจิตใจให้ปล่อย ปล่อย ปล่อยสิ่งที่เข้ามา (นาทีที่114:00 ) หรือสิ่งที่จิตได้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็ได้ ปล่อยออกไป ปล่อยออกไป ขั้นที่หนึ่ง รู้จักจิตทุกชนิด ขั้นที่สอง รู้จักทำจิตให้ร่าเริงให้บันเทิง ให้ปราโมทย์ ขั้นที่สาม ให้มันตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไม่เปลี่ยนแปลง มีกำลังมาก ขั้นที่สี่ ให้จิตมันปล่อยสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่เป็นประจำ นี้เขาก็เรียกว่าหมวดหนึ่ง เป็นหมวดจิต เป็นหมวดที่สาม ก็มีสี่ขั้น (นาทีที่114:36 )
(นาทีที่ 116:29) ข้อที่ 1 บันเทิง ข้อที่ 2 ตั้งมั่น ข้องที่ 3 ปล่อยวาง (นาทีที่117:20) ทีนี้หมวดสุดท้าย เกี่ยวกับธรรมมะ ธรรมชาติ หรือความจริงของธรรมชาติเมื่อเราบังคับจิตให้ดี มีสมาธิได้ตามต้องการอย่างนี้แล้ว ก็ใช้จิตให้ทำหน้าที่อันสูงสุด หน้าที่อันสูงสุดคือรู้ความจริง ก็โดยการทำวิปัสสนา คือ มองดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิก็เห็นความจริง ของสิ่งทั้งปวง เห็นว่าทุกสิ่ง ทุกสิ่งไม่เที่ยง อะไรๆที่เรารู้จักอยู่ รู้จักอยู่ ไม่เที่ยง แม้ที่ไม่รู้จักก็อย่างเดียวกัน คือไม่เที่ยง คือเปลี่ยนเรื่อย ยกเว้นแต่นิพพานอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่เปลี่ยน ก็เลยรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทุกสิ่ง เรื่องว่าความเป็นอนิจจัง บีบคั้นให้เป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์เนี๊ยไม่มีใครทนได้ นี่มันรู้จักอนัตตา ก็เลยรู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมกันแล้วเรียกว่า รู้จัก สุญญตา คือว่างจากตัวตน แล้วก็รู้จัก (นาทีที่118:22) เช่นนั้นเอง นี่ขั้นที่ 1 ของหมวดที่ 4 คือ อนิจจนุปัดสิ (นาทีที่118:28) คำเดียวกันนั่นแหละ แยกออกเป็น อนัตตา ทุกขัง สุญญตา ตทัตตา รวมกันอยู่ในข้อเดียวกันเพราะมันเป็นผลมาจากการเห็นแจ้งซึ่งอนิจจัง นี่ข้อที่ 1 แล้วต่อมาก็เห็นว่า โอ้ พอเห็นอนิจจัง เห็นอนิจจัง ไอ้ความยึดมั่นก็เริ่มคลายออก คลายออก Fade away, Fade away, Fade away bit by bit, Bit by bit อย่างนี้เรื่อยๆไปเรียกว่าเห็น วิราคะ คือเห็นอยู่อย่างนี้ จนกระทังว่า อ่าวหมดแล้ว หมดแล้วความยึดหมั้นถือมั่นหมดแล้ว คือเห็น นิโรทะ ดับหมดแล้วซึ่งกิเลสและความอมทุกข์ แล้วถ้าดับหมดแล้วก็รู้ว่า โอ้เดี๋ยวนี้หมดแล้ว เดี๋ยวนี้สิ้นแล้ว Function duty ต่างๆสิ้นสุดลงแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องทำแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาเหลืออยู่ที่จะต้องจัดการอีกต่อไป เรียกว่า ปฏินสันคะ (นาทีที่119:20) โยนทิ้งออกไปหมดไม่มีอะไรเหลือ นี่หมวดที่สี่ เรียกว่า ธรรมานุปัสสนา เกี่ยวข้องกับสัจจะของสิ่งทั้งปวง
(นาทีที่124:10) ในที่สุดท่านก็คิดดูว่ามัน มันมากหรือไม่มาก มัน(นาทีที่ 124:17) กันหรือไม่ เราศึกษาตั้งแต่ตัวความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ศึกษาที่ตั้งของมันคือร่างกาย คือเวทนา รู้จักสิ่งที่เป็นตัวการทีจะทุกข์หรือไม่ทุกข์ คือจิต หรือคือธรรมะ ศึกษาธรรมะคือความจริงของสิ่งทั้งปวง ให้จิตมันรู้ รู้ จนจิตมันไม่ Attract ในสิ่งใด หลุดปล่อยวางออกไป เรื่องมันมากอย่างนี้ เพราะงั้นมันก็ต้องมากบ้างเป็นธรรมดา จึงต้องมี จึงต้องมีถึง16ขั้น แต่เอามาพูดๆ พูดกล่าวนี้รู้สึกว่าไม่มาก ไม่มากเกินไป เรื่องมันมากกว่าแต่เอามาให้เหลือ 16 ขั้น ไม่มากเกินไป มีบางคนเขาว่ามากเกินไป เขาไม่อยากจะศึกษา มันก็ช่วยไม่ได้ก็ตามใจ ไม่อยากศึกษาทั้ง 16 ขั้น ก็ศึกษาแต่โดยย่ออย่างที่กล่าวมาแล้ว แล้วมันก็จะพอได้รับประโยชน์เหมือนกัน (นาทีที่ 125:13) โดยวิธีสมาธิภาวนา เพราะเรื่องมันมากอย่างนี้ มันเลยเวลาไปมากแล้ว เพราะเรื่องมันมากอย่างนี้ ขอยุติบรรยาย