แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการบรรยายครั้งที่สองนี้จะได้กล่าวเรื่องความดับทุกข์และวิธีทางดับทุกข์ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ควรจะเป็นที่เข้าใจกันเสียก่อนว่าแต่ละลัทธิๆ หรือศาสนาๆ เขาก็มีวิธีการของตนอย่างที่กล่าวมาแล้วซึ่งไม่ควรจะลืมเสียว่าถ้าเป็นประเภทหรือชนิด แล้วก็ทำพิธีเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าให้ช่วยดับทุกข์ แต่ถ้าเป็นพวก evolutionist อย่างพระพุทธศาสนานี้ก็มีแต่การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่เรียกว่ากฎอิทัปปัจจยตา ตามหลักวิธีการแห่งศาสนาของตนๆ อย่าได้เอาไปปนกันเข้ามันก็จะยุ่งหรือจะไม่เข้าใจ
ทีนี้สำหรับพุทธศาสนาโดยเฉพาะก็มีแบบวิธีของตนๆ ซึ่งจะต้องย้ำอีกทีหนึ่งว่า ไม่เกี่ยวกับกรรมเก่าชาติก่อน เราจะมีการกระทำปัจจุบันนี้ แล้วก็ไม่เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าหรือว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไอ้คำว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามแบบไสยศาสตร์นั้นไม่มีในพุทธศาสนา บางคนก็เข้าใจหรือพูดตามๆ กันไปว่าเป็นผลของกรรมเก่า ดับไม่ได้บ้าง หรือต้องทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าง สองอย่างนี้ไม่มีในพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนามีแต่การกระทำให้ถูกต้องตามกฎของอิทัปปัจจยตาฝ่ายที่จะดับทุกข์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการบรรยายครั้งที่แล้วมา ขอให้สนใจศึกษาเรื่องอิทัปปัจจยตาและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาละเทศะฐานะของเรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นก็เป็นอันว่าจะดับทุกข์ได้
โดยสรุปแล้วก็คือดับตัณหา ความอยากที่เกิดมาจากอวิชชาที่มีอยู่ในกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาให้ถูกต้อง สรุปอยู่ที่ดับตัณหา ความอยากที่เกิดมาจากอวิชชาอย่าให้เหลืออยู่และก็ไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิง และก็ไม่ให้เป็นอาลัยอาวรณ์ที่จะคิดถึง นึกถึงหรือจะนำมาใช้ให้กลับมามีอีก เรียกว่าการดับตัณหาที่มีอยู่ในกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา คำว่าดับตัณหา ๆ มันก็คือสิ่งเดียวกับดับตัวตนและของตน ถ้าตัณหามันไม่เกิด ความยึดมั่นถือมั่นว่าคือตัวตนว่าของตน ดับตัณหาก็เท่ากับดับความยึดมั่นว่าตัวตนว่าของตน เมื่อดับตัวตน ดับความรู้สึกว่าตัวตนเสียได้มันก็ดับความรู้สึกว่าของตนได้โดยอัตโนมัติ จงดับที่ต้นตอคือความยึดมั่นว่าตัวตน ไม่มีความยึดมั่นว่าตัวตนมันก็จะไม่มีความยึดมั่นว่าของตนได้โดยอัตโนมัติ นี่เรียกว่าดับตัณหาโดยใจความที่สำคัญที่สุด
ทีนี้ก็ดูต่อไปอีกนิดว่าดับตัณหาๆ นั่นก็คือดับตัวตน เมื่อดับตัวตนมันก็คือดับกิเลส กิเลสทุกๆ ชนิดๆ ทุกๆ อย่างที่เกิดมาจากความเห็นแก่ตนๆ ดับความเห็นแก่ตนมันก็เลยดับกิเลสทุกอย่างที่เกิดจากความเห็นแก่ตนได้ นี่ขอให้มองเห็นให้ชัดอย่างนี้จึงจะเข้าใจเรื่องราว ขอเวลาพิจารณาเรื่องความเห็นแก่ตน ความเห็นแก่ตัวเนี่ยกันเป็นพิเศษหน่อย ขอให้รู้จักความเห็นแก่ตัวว่ามันเป็นอันตราย เป็นอันตรายร้ายกาจ เป็นศัตรูอันร้ายกาจของทุกคน ของทั้งโลกและของทุกโลกๆ
ข้อแรก เมื่อเห็นแก่ตน มันก็เกิดความขัดแย้งขึ้นในตนแม้ผู้เดียว คือเกิดความขัดแย้งกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกที่เป็นพุทธะมาในจิตโดยกำเนิดซึ่งต้องการความสงบ เพราะนั้นก็เกิด conflict ขึ้นมาในตัวตน แล้วก็ทำให้ตัวตนเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ นอนไม่หลับ หรือว่ากลัว หวาดกลัวสงสัยอะไรไปต่างๆ นานา นี่เป็นอันตรายแก่บุคคลคนนั้นอย่างยิ่ง ไม่มีความสงบสุข ขอให้มองดูที่ว่าคน เพื่อนของเราเป็นโรคประสาทหรือว่าเป็นโรคจิต เป็นว่าฆ่าตัวเองตาย เหล่านี้มันเกิดมาจากความเห็นแก่ตัว หลงทางมากเกินไป นี่เรียกว่าส่วนบุคคล ขอให้ดูอย่างละเอียดว่าเหตุการณ์ร้ายส่วนบุคคล เพื่อนของเราในโลกนี้เขาก็มีความเห็นแก่ตัว ขัดแย้งแก่ตัว เบียดเบียนตัว ทำให้ตัวไม่มีการพักผ่อนจนเป็นโรคจิต จนเป็นบ้า จนฆ่าตัวตาย ดูฟังดูก็ไม่น่าเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวทำให้ฆ่าตัวตาย คุณไปคิดเอาเองก็จะมองเห็นได้ เห็นแก่ตัวจนฆ่าตัวเองตาย นี่เลวร้ายส่วนบุคคล
แล้วทีนี้ที่เกี่ยวกับบุคคลอื่น ที่ใกล้ชิดที่สุดก็คือครอบครัว ความเห็นแก่ตัวทำให้เกิดการขัดแย้ง ขัดแย้งในครอบครัว เรียกในภาษาไทยว่ามันกัดกัน มันกัดกัน เหมือนกับสัตว์กัดกัน เลยเป็นครอบครัวที่หาความสงบสุขไม่ได้ เขยิบออกไปนอกครอบครัวคือเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านกันนั่นน่ะรักกันไม่ได้เพราะความเห็นแก่ตัว เพราะความเห็นแก่ตัวมันทำให้อิจฉาริษยากัน ไม่อยากให้ใครดีกว่า รวยกว่า สวยกว่า มันก็คิดทำลายผู้อื่น อีกทางหนึ่งมันก็คิดจะเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตัว ความขัดแย้งในครอบครัวก็ดี ในสังคมรอบบ้านก็ดี มันมีมาจากความเห็นแก่ตัวมากมายหลายชนิดนับไม่ถ้วน ขอให้มองเห็นความเห็นแก่ตัวว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าความเห็นแก่ตัวเป็นไฟแรงกล้าสุดขีด มันก็จะเกิดการขัดแย้งกันขึ้นมาแม้ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนหรือสภาผู้แทนผู้นำประชาชน จะพูดไม่รู้เรื่อง จะขัดแย้งกันจนถึงกับมีเหตุการณ์อันไม่น่าดูเกิดขึ้น ทีนี้ไกลออกไปก็คือว่าความเห็นแก่ตัวทำให้เกิดการขัดแย้งกันระหว่างคนในโลกที่เป็นพวกขวาหรือเป็นพวกซ้าย เป็น capitalism หรือ communism โลกมันแบ่งออกเป็นสองฝ่ายแล้วก็ทะเลาะกัน แล้วก็พูดจากันไม่รู้เรื่องอย่างที่กำลังเป็นปัญหากันอยู่เดี๋ยวนี้ ตกลงกันเรื่องสันติภาพไม่ได้ ก็เพราะว่ามันมีความเห็นแก่ตัวของแต่ละฝ่ายๆ ออกมาปะทะกัน แม้ในองค์การสหประชาชาติก็มีการโต้คารมกันระหว่างฝ่ายสองฝ่ายที่ต่างก็เห็นแก่ตัว
ตาม mythology ของฝ่ายตะวันออกก็ตาม ฝ่ายตะวันตกก็ตาม เทวดาก็ยังทะเลาะ เทวดายังทะเลาะกันเป็นหมู่ๆ ก็เพราะความเห็นแก่ตัวของเทวดา นับประสาอะไรกับคนธรรมดา แม้แต่เทวดาก็ทะเลาะกันเพราะความเห็นแก่ตัว ไปดูเถิดของคริสต์ ของอินเดีย ของจีน ของอะไรต่างๆ มีทั้งนั้นเลย เพราะความเห็นแก่ตัวทำให้เทวดาทะเลาะกัน นี่ขอให้เทียบเคียงดูพวกเทวดา….(ฟังไม่ชัด).....รวมๆ กันทั้งหมดมันยังทะเลาะกัน แล้ว human being มันก็ต้องยังทะเลาะกันเพราะความเห็นแก่ตัว มีเงินมาก มีอำนาจมาก มีวาสนามากก็ยังทะเลาะกันเพราะความเห็นแก่ตัว ภายในนอนไม่หลับ ไม่สบายอยู่นั่นแหละ แล้วก่อ.….(ฟังไม่ชัด).....มา ออกมาเดือดร้อนกันทั้งโลก สรุปความแล้วว่าความเห็นแก่ตัวเป็นศัตรูอันเลวร้ายของโลกทุกโลก
ความเห็นแก่ตัวก็มาจากความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัว ความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวก็มาจากความโง่ ก็มาจากความอยาก เกิดความโง่ที่เรียกว่าตัณหาๆ ถ้าเราดับตัณหาได้ ดับตัณหาได้ ไม่ยึดเป็นตัวตน ไม่มีความเห็นแก่ตัว มันจะมีความสงบเย็นสักเท่าไหร่ นี่คือจุดมุ่งหมายของความดับทุกข์ กว้างใหญ่ ครอบจักรวาล เป็นความดับทุกข์อย่างนี้ ทีนี้เราก็มาดูที่ภาวะที่ดับทุกข์ๆ ไม่มีทุกข์ โดยภาษาบาลีจะเรียกว่าเย็นๆ เย็นเพราะไม่มีความร้อน ไอ้ความเย็นนี่แบ่งได้เป็นสองระดับคือ ระดับธรรมดาสามัญทั่วๆ ไปที่มีได้โดยไม่ยาก เรียกมันว่านิพพุติ นิพพุติ ช่วยจำคำนี้ไว้ด้วยว่าเย็นชั่วคราว เย็นตามธรรมดา แต่ถ้าเย็นถึงที่สุดก็เรียกว่านิพพานะ เรามีชีวิตเย็นตามธรรมดา เย็นอกเย็นใจ ทุกอย่างพอใจก็เรียกว่าเย็นอย่างนิพพุติ เพราะว่ากิเลสหรือตัณหายังเหลืออยู่ ยังมีอยู่ ยังซ่อนอยู่ มันจะออกมาเมื่อไรก็ได้ แต่ก็ขอให้ได้กันไว้ก่อนเถอะเย็นอย่างนิพพุติ คือกิเลสตัณหาไม่ลุกขึ้นมา ทีนี้เย็นอย่างที่สอง ไม่มีกิเลสตัณหาเหลืออยู่เลย ไม่ต้องระวังอะไรอีกต่อไป ไม่ลำบากที่จะต้องระวังกิเลสตัณหาอีกต่อไปก็เป็นความเย็นอย่างถึงที่สุดเรียกว่านิพพานะ มันเป็นความเย็นทางฝ่าย spiritual คือ spirituality ของความเย็น เรามีความเย็นสองอย่างนี่แหละในความหมายแห่งคำว่าความดับทุกข์ นิพพุติ หรือ นิพพานะ
พูดให้สั้นที่สุด ฟังง่ายที่สุด จำง่ายที่สุดก็ว่า นิพพุติเนี่ยความเย็นที่ยังต้องควบคุม ระวังรักษา ก็เพราะว่ามันมีกิเลสหรือศัตรูซ่อนเหลืออยู่ ยังต้องควบคุม ต้องระวัง ต้องรักษา นิพพุติเนี่ย เย็นที่ต้องควบคุมรักษา ส่วนนิพพานะเย็นโดยไม่ต้องมีการควบคุมรักษาระมัดระวังอีกต่อไป เพราะมันไม่มีศัตรูเหลืออยู่แล้ว มันไม่มีกิเลสเหลืออยู่แล้ว มันเป็นทุกข์อีกไม่ได้ เค้าเรียกว่ามันเป็นความเย็นชั่วคราว เค้าเรียกว่านิพพุติ ถ้าเย็นเด็ดขาดก็เป็นนิพพานะ ทั้งสองความเย็นนี้เป็นความดับทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
ทั้งหมดนั้นเป็นความดับทุกข์ ทีนี้เราจะพูดถึงทางแห่งความดับทุกข์ ในพุทธศาสนาก็มีหลักการ วิธีการตามแบบของพุทธศาสนา คือมีวิธีทางให้ไม่มีทุกข์ วิธีที่จะทำให้ไม่มีทุกข์ ทางดับทุกข์นี่เป็นสองอย่างดีกว่า มันง่ายดี ก็คือว่า มีชีวิตที่ป้องกันอยู่ในตัวไม่ให้ความทุกข์เกิด นี่เรียกว่าป้องกัน วิธีการป้องกัน เมื่อความทุกข์มันเกิดแล้วก็มีวิธีที่จะดับมัน ทำลายมัน นี่เราจะต้องรู้ว่าเรามีถึงสองระยะ ตามปกติมีชีวิตดำเนินชีวิต อย่าให้มีกระแสแห่งตัณหาในชีวิต อย่าให้มีตัณหาในกระแสแห่งชีวิต มันก็เป็นการป้องกันตลอดเวลา แต่ถ้ามันเกิดทุกข์ขึ้นแล้วเราก็ต้องมีวิธีทำให้จิตใจมันถูกต้อง คือขจัดออกไป สรุปว่ามีสองวิธี หรือ 2 categories อย่างนี้แหละ 40.48
ทีนี้ระบุโดยตรงวิธีที่มีชีวิตชนิดที่ป้องกันการเกิดแห่งความทุกข์นี่เราก็จะมุ่งมองไปที่มัชฌิมาปฏิปทา หรือว่าอริยมรรคมีองค์ 8 เรื่องเดียวกัน อริยมรรคมีองค์ 8 กับมัชฌิมาปฏิปทาเป็นสิ่งเดียวกัน คือว่าถ้ามีชีวิตอยู่ด้วยมัชฌิมาปฏิปทานี่แล้วไม่มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาหรือเกิดความทุกข์ ทีนี้ขอให้รู้ว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่บางทีพระพุทธองค์ตรัสเรียกสั้นๆ ว่า สมถะและวิปัสสนาเท่านั้นก็มี แทนที่จะตรัสว่าแก้ปัญหาด้วยมัชฌิมาปฏิปทากลับตรัสว่าแก้ปัญหาด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านี้ก็มี เพราะนั้นคำว่าสมถะและวิปัสสนาในความหมายนี้แทนชื่อของมัชฌิมาปฏิปทาก็ได้ บางคนจะสงสัยว่าในอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นมันมีครบศีล สมาธิ ปัญญา สององค์แรกก็เป็นปัญญา สามองค์ถัดมาก็เป็นศีล สามองค์ถัดมาก็เป็นสมาธิ มีครบทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ทีนี้อาตมาได้ยินว่าสมถะและวิปัสสนา ไม่พูดถึงศีล ไม่พูดถึงศีล ก็จะนึกขัดแย้งว่าผิดแล้วๆ ไม่มีศีล ขอให้รู้ว่าเมื่อตั้งใจจะทำ หรือกำลังควบคุมให้ทำหรือทำอย่างดีในสมาธิและวิปัสสนานั่นแหละ ความตั้งใจที่จะทำอย่างที่สุดนั่นแหละคือศีล นี่เราจึงไม่ได้ชวนให้ท่านทั้งหลายรับศีล แต่ชวนให้ทำสมถะและวิปัสสนาเลย นี่ขอให้รู้ว่าศีลมันอยู่ในความตั้งใจที่จะทำสมถะและวิปัสสนา ดังนั้นจะพูดว่ามรรคมีองค์ 8 ก็ได้ จะพูดแต่เพียงว่าสมถะและวิปัสสนาก็ได้ เป็นสิ่งเดียวกันแท้
ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องป้องกันอยู่ในตัวเองตลอดเวลาไม่ให้เกิดทุกข์ ทีนี้เราจะพูดถึงการดับทุกข์ที่ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว รู้สึกเป็นความทุกข์แล้ว ก็มีวิธีดับ วิธีกำจัดออกไปเสีย นี่ก็คือมีสติเมื่อความทุกข์เกิดขึ้น มีสติสัมปชัญญะที่เราฝึกไว้ดี โดยอานาปานสติภาวนา เรามีสติเพียงพอ สัมปชัญญะเพียงพอ มีปัญญาเพียงพอ รู้เรื่องอนิจจังทุกขังเพียงพอ เรื่องตถตา สุญญตาเพียงพอ เอาสติและความรู้นั้นมาจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้น ทำลายเหตุที่ให้เกิดทุกข์เสีย ทำลายอาการแห่งความเป็นทุกข์เสีย โดยความเห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นเช่นนั้นเอง อย่าจัดให้มันเป็นทุกข์เป็นสุขอะไรมากไปเลย มันเป็นเช่นนั้นเอง นี่การที่จะขจัดหรือดับความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นเรื่องที่สอง
ขอบอกท่านทั้งหลายอย่างสารภาพว่า คำว่าเช่นนั้นเอง ๆ นั่นน่ะ ฟังดูคล้ายกับพูดเล่นๆ พูดเล่นๆ ไม่มีความหมาย แต่มันเป็นคำสูงสุด ธรรมมะสูงสุดในพุทธศาสนา เป็นเช่นนั้นเอง ๆ มันจะไม่เกิดความรู้สึกแก่พวกขั้วๆ pair opposite หรือ dualism ใดๆ จะไม่เกิดความหมายแห่ง positive และ negative จะไม่เกิดความหมายแห่ง optimist หรือ pessimist มันเป็นกาลที่อยู่เหนือความหมายที่เป็นคู่ๆ พวกเราลำบากด้วยความหมายแห่ง dualism นี่ positivism or negativism แล้วก็บ้าแล้วก็กลัว แล้วก็เกลียดแล้วก็หลงด้วยไอ้ของเป็นคู่ๆ เหล่านี้ ถ้าเราเห็นว่ามันเช่นนั้นเอง ๆ ทุกอย่างมันเป็นเช่นนั้นเอง ดีก็เช่นนั้นเอง ชั่วก็เช่นนั้นเอง positive ก็เช่นนั้นเอง negative ก็เช่นนั้นเอง ได้ก็เช่นนั้นเอง ไม่ได้ก็เช่นนั้นเอง อยู่ก็เช่นนั้นเอง ตายก็เช่นนั้นเอง มันหมดปัญหา มันไม่มีปัญหาอะไรเหลือ ขอให้สังเกตุคำว่าเช่นนั้นเองซึ่งฟังดูคล้ายพูดเล่น เป็นคำพูดที่จริงที่สุด ไม่มีอะไรจริงที่สุดกว่านี้ อริยสัจก็รวมอยู่ในคำว่าเช่นนั้นเองนี้ พูดให้จำง่ายอีกครั้งหนึ่งคือว่าถ้าท่านมีความรู้เรื่องเช่นนั้นเองเพียงพอแล้ว ท่านจะไม่ต้องหัวเราะอีกต่อไป ท่านจะไม่ต้องร้องไห้อีกต่อไป ไม่ต้องหัวเราะด้วย positivism ไม่ต้องร้องไห้ด้วย negativism อีกต่อไป เท่านี้จำง่ายๆ
ทีนี้เรื่องทางสายกลาง middle way มันเป็นเรื่องยืดยาว ต้องเอาขอมาพูดซ้ำอีกที คือว่าวิธีป้องกันด้วยทางสายกลางมันยืดยาว เรื่องความดับเสียก็พูดแล้ว ทีนี้ไอ้เรื่องความป้องกันจะต้องขอพูดซ้ำอีกเพราะมันยืดยาวกว่าจะพูดเรื่องนี้กันจบ มัชฌิมาปฏิปทา หนทางมีในสายกลาง หรือ มรรค หนทางประกอบด้วยองค์ 8 Middle way of eightfold path นี่ ก็จะใช้คำว่ากลางๆ ทางสายกลาง middle , middle นี่ คือไม่ positive ไม่ negative ไม่ pair opposite ใดๆ แต่ว่ามันมีความหมายอยู่ที่ต้นตอว่าไม่เปียกและไม่แห้งเกรียม ไม่ไหม้เกรียม ไม่เปียกแฉะและก็ไม่ไหม้เกรียม ถ้าเปียกแฉะก็หมายความว่าพวกกามารมณ์ทั้งหลาย พวก sexuality นี่เป็นเรื่องการปฏิบัติที่เปียก เรียกว่าทำตนให้ลำบากเปล่าๆ โดยไม่จำเป็น นั่นก็เรียกว่าไหม้เกรียมๆ สุดโต่งไปทางนี้เป็นกามารมณ์ สุดโต่งไปทางนี้เป็นความลำบากโดยไม่จำเป็น อย่าให้เป็นสองอย่างนี้ก็เรียกว่ากลางๆ ของทางสายกลาง เราต้องการความหมายที่มากกว่าธรรมดา ที่ว่าเปียกน่ะ มันยิ่งกว่าเปียก เปียกแฉะๆ จนเป็นเน่าบูด จนเป็น ferment นั่นน่ะเรียกว่าเปียก Too dry ก็ dry เกินกว่าธรรมดา dry เต็มที่ภาษาไทยก็เรียกว่าไหม้เกรียม มัน burned too much นั่นน่ะไหม้หรือเกรียม ขอให้รู้ความหมายของคำว่า wet กับ dry ให้ถึงที่สุดอย่างนี้
ทีนี้ก็มาถึงคำว่าสัมมาๆ ซึ่งแปลว่า right, right นั้น สัมมาในภาษาไทยนั้นถูกต้องๆ คำว่าถูกต้องหรือ right เนี่ย มันเป็นการถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ไม่ใช่ถูกต้องตาม logic ไม่ใช่ถูกต้องตาม philosophy ไม่ใช่ถูกต้องตาม speculation ใดๆที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ค้นหาได้ด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะว่าคำว่าถูกต้องๆ หรือ right ในที่นี้มันหมายถึงต้องดับทุกข์ได้ ต้องดับทุกข์ได้ ถ้าไม่ดับทุกข์ได้ยังไม่เรียกว่าถูกต้องหรือสัมมา คำว่าถูกต้องหรือสัมมานี่มันก็ต้องเป็นไปเพื่อนิพพาน ต้องเป็นไปเพื่อนิพพาน การปฏิบัตินี้เป็นการกระทำอย่างวิราคะ นิโรธะ วิเวก วิเวกเพื่อเดียวๆ วิราคะเพื่อคลายออกๆ แห่ง attachment นิโรธะก็ดับๆๆแห่ง attachment อย่างนี้จึงจะเรียกว่าถูกต้องๆ ถูกต้องโดยการพิสูจน์อยู่ในตัวมันเองว่าถูกต้อง ขอให้เข้าใจความหมายของคำว่าสัมมาๆๆ ว่าอย่างนี้
ทีนี้ก็มีคำที่รวบยอดของคำว่ากลางหรือว่าง กลางหรือถูก กลางนี่และก็ถูกต้องนั่นน่ะมันไปรวมความหมายอยู่ที่คำว่าว่างๆ ว่าง....(ไม่ชัด).......แล้วมันก็จะไม่มีทางนั้นทางนี้เพราะมันว่าง มันว่างมันก็ไม่มีทางใดทางหนึ่ง ข้างบนข้างล่างไม่มีข้างไหน และมันว่างๆ เนี่ยมันเป็นคู่ไม่ได้ dualism ไม่มีในความว่าง ความว่างจะเป็น pair opposite ใดๆ ไม่ได้ นี่คือว่างนั่นเอง คือกลางที่สุด แต่มันในความหมายที่เหนือธรรมดา ในความหมายเหนือคำพูดธรรมดาว่าเป็นกลางที่สุดนั่นก็คือที่มันว่างที่สุด มันไม่ฝ่ายนั้น มันไม่ฝ่ายนี้ และมันไม่เข้าคู่กับอะไรสิ่งใดได้
ทีนี้ขอเวลาอีกน้อยพูดให้จบเสียเลยว่าลักษณะขององค์ทั้ง 8 แต่ละองค์ๆๆ นั้นเป็นอย่างไรๆ สัมมาทิฏฐิ ( right view) คำว่า view นั้นมีกันทุกคน view แต่มันมีว่ามันถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง มัน right or wrong มันต้องเอามาแต่เฉพาะที่ right ทีนี้ right คือยังไง right , right view น่ะคืออย่างไร คือเห็นในทางที่มันจะดับทุกข์ได้ หนทางที่มันจะดับทุกข์ได้ คือเห็นอริยสัจ 4 (Four noble truths และก็เห็นไตรลักษณ์ (Three Characteristics ) แล้วก็เห็นสุญญตา เห็นตถตา......(ไม่ชัด)......ที่สุดก็เห็นอิทัปจยตา ทำอย่างไรดับทุกข์ได้ ถ้าเห็นอย่างนี้ view อันนี้เรียกว่า right view ความหมายพิเศษของ right view นี้มีอีกอย่างหนึ่งคือว่ามันเป็นรุ่งอรุณๆ the dawn of all dhamma เป็นรุ่งอรุณของธรรมมะทุกอย่าง เราเห็นได้ด้วยตา ถ้ามันมีรุ่งอรุณเกิดมามันก็จะมีเวลาเช้า เวลาสาย เวลาเที่ยง เวลาบ่าย ไปตามลำดับ สัมมาทิฏฐินี่ต้องมาก่อนอย่างนี้ แสงสว่างหรือธรรมมะอื่นๆ จึงจะตามมา จึงถือว่าเป็นรุ่งอรุณของธรรมมะด้วย
ทีนี้ก็สัมมาสังกับปะ (right intention หรือ right aim๗ ก็คือความต้องการที่ถูกต้อง ถูกต้องอย่างไร ก็คือถูกต้องที่จะออกมาจากความทุกข์ เราไม่ได้ระวังในเรื่องนี้ เราต้องการสิ่งที่เพิ่มความทุกข์โดยมาก สวยงาม อร่อยก็ต้องการ แต่ไม่ได้สนใจว่าจะออกจากทุกข์หรือไม่ จึงไม่ได้ต้องการจะออกจากทุกข์ เดี๋ยวนี้เราต้องมีความรุ้เรื่องสิ่งทั้งปวงดี ต้องการจะออกจากทุกข์หรือปัญหาที่เกิดมาจากสิ่งเหล่านั้น นี่คือความต้องการที่ถูกต้อง ปัญญาต้องการไม่ใช่กิเลสต้องการ
ทีนี้ก็มาถึงสัมมาวาจา (right speech) ถูกต้องในการพูดจา คำที่พูดก็ถูกต้อง วิธีการพูดก็ถูกต้อง มันถูกต้องในการพูดจาทั้งหมด การพูดจานั้นไม่โกหก ไม่เท็จนี่หนึ่ง ไม่ทำให้คนแตกแยกกัน เรียกว่าคำที่ทำให้คนแตกแยกโกรธเคืองกัน ไม่รักกัน และก็ไม่หยาบคาย แล้วก็ไม่เพ้อเจ้อไร้สาระ ทั้งหมดนี้ก็เป็นลักษณะของการพูดจาที่ถูกต้อง แล้วทีนี้ก็ต้องมีสิ่งที่ต้องระวังอีกว่าการพูดจาที่ถูกต้องนั้น ก็คือเรื่องที่เอามาพูดนั้นเป็นเรื่องจริงๆ เป็นเรื่องที่ไพเราะน่าฟัง และก็ว่ามันมีประโยชน์ๆ มันเป็นเรื่องจริง มันไพเราะ มันน่าฟัง แล้วมันมีประโยชน์ รวมความแล้วมันเป็นไปเพื่อดับทุกข์ ถ้าจริงแต่ไม่น่าฟังก็ไม่ควรจะพูด จริงไม่มีประโยชน์ก็ไม่ควรจะพูด มันต้องจริง แล้วก็น่าฟังแล้วก็มีประโยชน์ แล้วมันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ นี่คือวาจาที่ถูกต้อง
ทีนี้ก็สัมมากัมมันตะ (right conduct) ทีนี้ก็ขอใช้คำว่าไม่ทำร้าย ถูกต้องในที่นี้คือไม่ทำร้าย 3 อย่าง ไม่ทำร้ายชีวิตหรือร่างกายของผู้ใด ไม่ทำร้ายทรัพย์สมบัติของผู้ใด ไม่ทำร้ายของรักของผู้ใด รวมเป็นสามอย่าง ก็เรียกว่าการงานถูกต้อง ทำหน้าที่ที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์แก่การดับทุกข์ แล้วต้องไม่มีอาการสามอย่างนี้ในการกระทำทางกาย
ทีนี้ก็สัมมาอาชีวะ ดำรงชีวิตชอบ คือดำรงชีวิตที่ถูกต้องไม่เป็นทาสของกิเลส ไม่ส่งเสริมกิเลส ไม่รับใช้กิเลส ไม่ส่งเสริมกิเลส ไม่เป็นทาสของกิเลสนี่คืออย่างนี้ เรามีการดำรงชีวิตชนิดที่กิเลสไม่บังคับบัญชา เรียกว่า right livelihood
ทีนี้ก็มาถึงสัมมาวายะมะ (right effort) ถูกต้องในความพยายาม พากเพียรในทางที่ถูกต้อง ไม่หยุดอยู่กับที่แล้วก็ไม่ถอยหลัง ไม่ถอยหลัง ไม่หยุดอยู่กับที่ในทางที่ถูกต้อง นั่นคือเพียรไม่ให้มันเกิดสิ่งที่ชั่ว ที่จะเป็นไปเพื่อทุกข์ ถ้าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ก็ละมันเสีย อีกตรงกันข้ามก็คือทำให้เกิดสิ่งที่มันจะดับทุกข์ที่เรียกว่าถูกต้อง ถูกต้องๆ และก็รักษาไว้ๆ เป็น 4 หัวข้อเล็กๆ แต่เป็นความเพียรที่จะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์อยู่ทุกเวลาๆ
ทีนี้ก็สัมมาสติ (Right Mindfulness ) หมายความว่ามีสติเร็วในการที่จะไปเอาปัญญา ความรู้ที่ถูกต้องมาใช้ในกรณีที่เกิดขึ้น มันมีกรณีอะไรเกิดขึ้นเป็นปัญหา สติมันก็ต้องเร็วในการไปเอาปัญญาที่ได้ศึกษาอบรมไว้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอะไรก็ตาม มาใช้จัดการกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะแห่งผัสสะให้มันมีความถูกต้อง สตินี่ต้องเร็วต้องมากพอ แล้วก็ต้องถูกต้องด้วย เดี๋ยวมันไปนำเอาความคิดผิดๆ มามันก็ใช้ไม่ได้ ต้องไปนำเอาความคิดถูกๆ มา อย่างนี้เรียกว่ามีสติถูกต้อง
ทีนี้ข้อสุดท้ายสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่น ความมีจิตที่เป็นสมาธิถูกต้อง สมาธิผิดๆ ก็มี แต่นี่เป็นสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิถูกต้องก็ต้องเป็นอาการจิตบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสรบกวน และก็จิตมีกำลังมากรวมกัน แล้วก็จิตไวในหน้าที่ของจิต เป็น active จิตที่สุด บริสุทธิ์ ตั้งมั่น ว่องไวในหน้าที่นี่คือสมาธิ เอามาใช้ให้ถูกต้องในการดับทุกข์จึงจะเรียกว่าสัมมาสมาธิ ถ้าทำเพื่อนิพพานก็มีประโยชน์เพื่อการดับทุกข์โดยสมบูรณ์ แปลว่าสมาธินี้ต้องมีบริขาล 7 บริขาลคือสิ่งช่วยเหลืออุปกรณ์ต่างๆ 7 factors ข้างต้นเอามาเป็นอุปกรณ์แก่ factor สุดท้ายคือสมาธิ เรียกชื่อใหม่ๆ ว่าอริยะสัมมาสมาธิ นี่บริขาล 7 ถ้ามีอันนี้แล้วสำเร็จหมดทุกอย่างกระทั่งอยู่ที่นี่หรือว่าจะนิพพาน นี่คือสัมมาสมาธิ
ในที่สุดสรุปความได้ว่าทั้ง 8 factors นี้ คือการมีชีวิตอยู่ด้วยความถูกต้อง การมีชีวิตอยู่ด้วยความถูกต้อง ฟังดูก็คล้ายกับพูดเล่นๆ อีกแหละ เมื่อมีชีวิตอยู่ด้วยความถูกต้อง 8 ประการ ไม่มีทางที่จะเกิดกิเลสขึ้นมา และความเคยชินของกิเลสที่สะสมไว้ก่อนๆ ก็จะค่อยๆ ละไป และก็เห็นเช่นนั้นเองๆ อยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้อีกต่อไป ขอยุติการบรรยาย