แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่สามนี้เราจะพูดกันโดยหัวข้อว่า อานาปานสติ คืออะไร คืออะไร ขอให้ท่านทราบโดยหลักทั่วๆไปว่า ไอ้ระบบวิปัสสนา ระบบของวิปัสสนา มีมากมาก มากหลายระบบ มากมายหลายระบบ ชื่อต่างๆกัน แต่เราชอบระบบที่เรียกว่า อานาปานสติ เป็นระบบที่พระพุทธเจ้าท่านแนะไว้ให้ ยิ่งเดี๋ยวนี้มันมีวิปัสสนา ระบบอาจารย์ชื่อนั้น อาจารย์ชื่อนี้ อาจารย์ชื่อนั้น ทั่วไปหมด ระบบพม่า ระบบลังกา อะไรต่างๆ เราไม่รู้ไม่ชี้ สนใจแต่ระบบอานาปานสติ เรียกว่าอานาปานสติ เป็นระบบของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของสวนโมกข์ แต่ว่าสวนโมกข์รับเอามาใช้ และก็เผยแผ่สั่งสอน ต่อๆไป นี่ขอเสนอคำว่าอานาปานสติ เป็นชื่อของระบบวิปัสสนาระบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในสวนโมกข์
ความหมายของคำว่า อานาปานสตินั้น ดูจะยังเข้าใจกันได้ไม่สมบูรณ์ คือมักจะพูดกันว่า Mindfulness on breathing Mindfulness on breathing อย่างนี้ไม่สมบูรณ์ ที่สมบูรณ์นั้นคือว่า Mindfulness on some natural truth at every stroke of breathing คือกำหนดสัจธรรมความจริงข้อใดข้อหนึ่ง ที่เป็นสัจธรรม อยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ไอ้สิ่งที่กำหนดนั้นเปลี่ยนได้ เปลี่ยนได้ไปตามลำดับ ตามลำดับ แต่ด้วยเหตุที่กำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก จึงเรียกว่า อานาปานสติ
เพื่อเข้าใจง่ายๆให้จะพูดว่า เมื่อท่านคิดถึงบ้านของท่านที่ยุโรปหรืออเมริกา คิดถึงบ้านอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก นั่นก็เรียกว่าอานาปานสติได้เหมือนกัน นั่นมันไม่เกี่ยวกับธรรมแต่ก็เรียกอานาปานสติ กำหนดทิศ มีสติเพ่ง ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ทุกหายใจเข้าออก ก็เรียกอานาปานสติ คิดถึงลูกคิดถึงเมีย คิดถึงบ้าน คิดถึงเรือนที่อยู่ทางข้างหลังโน่น ก็เรียกว่าอานาปานสติได้ นี่เอาความหมายในข้อที่ว่ามัน เพ่ง สตินี่มันเพ่ง กำหนด อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ก็เรียกอานาปานสติทั้งหมด
วิธีปฏิบัติที่เรียกว่าอานาปานสติ ก็ยังมีแค่แบบสั้นๆ แบบง่ายๆ ไม่สมบูรณ์ อยู่อีกหลายแบบหล่ะ นี่เราเลือกเอาแบบที่สมบูรณ์ ดังนั้นมันจึงยาวหน่อยมากหน่อย มันก็สมบูรณ์ เช่นอานาปานสติ 16 ขั้นเนี่ย บางคนก็สั่นหัว บอกไม่ไหว มากนัก ยาวนัก หรือว่าเกินความจำเป็น ถูกแล้วมันอาจจะเกินความจำเป็นสำหรับบางคน แต่ถ้าผู้ที่ต้องการจะศึกษาอย่างสมบูรณ์แล้วมันพอดี คือถ้าเทคนิคของมันสมบูรณ์แล้วมันจะต้องมีเป็น16ขั้น อย่างนี้เป็นธรรมดา อย่างถ้าสนใจ ความ สมบูรณ์ก็ต้องอดทน เพื่อที่จะศึกษาหรือปฎิบัติกันให้มันครบ ครบทั้งไอ้ระบบของมันคือ16ขั้น
ทีนี้ก็มีปัญหาอีกอย่างนึง ก็คือบางคนนะ ยึด ยึดมั่น ยึดติดในคำว่า สติปัฐฐาน อย่างเดียวมากเกินไป และก็เลย เลยเข้าใจว่า อานาปานสติ ไม่เกียวกับสติปัฐฐาน แล้วก็เลยปฎิเสธเสียก็มี ในประเทศพม่า ในประเทศลังกานะ ยึดคำว่า สติปัฐฐานมาก และก็ไปยึดเอาสติปัฐฐาน ในทีคนิกาย ซึ่งไม่มีอะไรมีแต่ชื่อ มีแต่ มีแต่รายการ ชื่อบัญชีหางว่าว ชื่อธรรมมากมายเป็นหมวดๆ ไม่มีการปฎิบัติเลย และก็เรียกว่าสติปัฐฐาน แล้วก็เอาไปปรับ พอเป็นเครื่องปฎิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นระเบียบระแบบขี้นมา
ก็เรียกว่าแบบ สติปัฐฐาน แล้วก็กล่าวปฎิเสธ หรือรังเกียจแบบอานาปานสติ ว่าเป็นคนละแบบ ที่จริงนะ อานาปานสติ นั่นนะคือหัวใจ หัวใจ ของสติปัฐฐาน ของสติปัฐฐานทั้งสี่ 16ขั้นนั่นหละคือการปฎิบัติโดยตรง ไม่ใช่มีแต่รายชื่อ รายชื่อธรรมเหมือนในมหาสติปัฐฐาน นั้นขออย่าได้เข้าใจผิด ว่ามันเป็นคนละแบบ จนถึงกับว่า ไม่สนใจอานาปาณสติ แล้วหาว่าผิดด้วยเพราะ ไม่ใช่สติปัฐฐาน นี่เป็นเข้าใจผิดอย่างยิ่ง อานาปาณสติคือหัวใจชองสติปัฐฐานทั้งสี่ในรูปชองการปฎิบัติ
เราเสียเวลา วิจารณ์ คำว่าสติปัฐฐาน กับอานาปาณสติ นี่ก็เพื่อจะให้หมดความเข้าใจผิด ไม่ใช่จน จนไม่สนใจ ของอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจถูกต้องว่าจะเรียกว่าสติปัฐฐานก็ตาม จะเรียกอานาปาณสติก็ตาม มันมีสี่หัวข้อทั้งนั้นหล่ะ มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม แต่ในมหาสติปัฐฐานสูตรนั้นไม่ได้บอก วิธีปฎิบัติ บอกแต่ชื่อธรรม ชื่อธรรมแล้วก็ขยายออกไป อย่างเช่นเรื่องกายนี้ ขยายออกไป ขยายเป็นเรื่องซากศพ เป็นเรื่องสติสัมปชัญญะ กิริยาบถ หลายๆอย่างจนจำไม่หวาดไหว มันมีแต่ชื่อของธรรม เอ่อทั้งสี่หัวข้อ ส่วนในอานาปาณสติแสดงการปฎิบัติสี่หัวข้อติดต่อกัน สัมพันธ์กัน ติดต่อกัน ปฎิบัติครบ 16ขั้น แล้วก็มีสติปัฐฐาน หัวใจโดยสมบูรณ์ สรุปความว่า สติปัฐฐานกสูตนะมีแต่บัญชีรายชื่อ ส่วนอานาปาณสติสูตเนี่ยมีวิธีปฎิบัติที่แสดงไว้ชัดเฉพาะสี่อย่างนี่เท่านั้นเรื่องอื่นไม่ได้พูด
ถ้าบางคนเห็นว่า 16 ขั้นนะมันมากเกินไป นั่นก็ไม่เป็นไร ก็ย่อให้เหลือเพียงสักสองขั้นก็ยังได้ คือทำจิตเป็นสมาธิพอสมควร พอสมควรเป็นสมาธิ พอสมควร แล้วก็ข้ามไปพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลย สองขั้นเท่านี้ ถ้าทำอยู่ทุกหายใจเข้าออกก็เรียกว่า อานาปาณสติ ได้เหมือนกัน ถ้าไม่ชอบสมบูรณ์แบบ16 ขั้นหรือห็นว่ามันเป็นหลักวิชามากไ ปเป็นเทคนิคสำหรับการศึกษา ละเอียดมากเกินไปเอาเพียงสองขั้นก็ได้ ทำสมาธิ ทำจิตให้เป็นสมาธิโดยวิธีกำหนดลมหายใจ เนี่ยพอสมควร เห็นว่าเป็นสมาธิพอสมควรก็ ไปพิจารณา ทุกสิ่งที่เรารู้สึก ที่เรารู้จัก ให้เห็นว่ามันเป็นไม่เที่ยงอย่างไร เป็นทุกข์อย่างไร เป็นอนัตตาอย่างไร เท่านี้ก็พอจะได้พ้นตามความปรารถนาได้เหมือนกัน นี่คือปล่อยวาง ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็น ตามลำดับ และก็หมดกิเลส หมดความยึดมั่น เมื่อเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงที่สุด เพราะฉะนั้นท่านจะเอาเพียงสั้นๆอย่างนี้ก็ได้ แต่ว่าเราต้องการจะให้เข้าใจสมบูรณ์แบบเราจึงพูดเต็มที่คือ 16 ขั้น และเมื่อท่านเข้าใจเต็มที่ดี16ขั้น แล้วท่านก็ไปย่อเอาเอง ไปทำให้มันน้อยลง ตามที่ท่านจะพอใจ นี่คือความมุ่งหมายของการอธิบายในสิ่งนี้ อธิบายโดยสมบูรณ์แล้วท่านก็ไปย่อเอาเองตามที่ท่านจะพอใจ จะเหลือสักสองขั้น หรือห้าขั้นก็ได้แล้วแต่พอใจ
เอาละเป็นอันว่าเราจะศึกษา อธิบายกันให้สมบูรณ์ในแบบ16 ขั้น เพราะมันจะแสดงไอ้ความลับของธรรมชาติในแง่ของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง วิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ดีที่สุด ที่รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากาย เวทนา และจิต และธรรมอย่างดีที่สุดอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ในแง่ของธรรมชาติ วิทยา ในแง่ของวิทยาศาตร์ ที่จะควบคุมมันอันละนี้ ให้ศึกษา ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 16ขั้น แล้วท่านก็ไปซัดเอาเอง เลือกเอาเอง ปฎิบัติเพียงสองขั้นสามขั้น ให้ ให้เหลือเพียงสองขั้นสามขั้นห้าขั้นแล้วแต่จะพอใจ แต่ว่าในโอกาสนี้จะขออธิบายครบทั้ง 16 ขั้น อย่างสมบูรณ์แบบ
สำหรับ16 ขั้นก็แบ่งออกเป็นสี่หมวด หมวดละ สี่ขั้น ตามหลักเดิม สี่ สี่หมวดก็คือหมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต หมวดธรรม ที่นี้พูดถึงหมวดกาย หมวดกายนะ อย่างแรกที่สุด ท่านก็จะต้องศึกษาให้รู้จัก ลมหายใจ ลมหายใจ สรุปความว่ารู้เรื่องของลมหายใจ ลักษณะอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร รู้ดีทั้งลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ลมหายใจฟุ้งซ่าน ลมหายใจสงบระงับ ให้รู้จักลมหายใจ ในทุกแง่ทุกมุมให้ถูกต้อง เรียกรวมๆสั้นๆว่า ท่านจะต้องมี ปราณนะ ปราณนะ อย่างถูกต้อง ปราณนะ ปราณนะนี่เป็นภาษาสันสกฦต หรือปานะในภาษาบาลี ธรรมดาคำนี้หมายถึงชีวิต หรือสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิต ปราณนะ หายใจเข้าออกเนี่ยก็หมายถึงชีวิต หรือสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต ต้องรู้จักมันอย่างถูกต้อง ให้มีปราณนะ อย่างถูกต้อง แล้วเราก็จะมีชีวิตที่ถูกต้อง จึงต้องศึกษาเรื่องลมหายใจ
ในอินเดีย โยคะอย่างอินเดียทุกแบบ มีหลายๆอย่างหลายสิบอย่าง โยคะนั่นโยคะนี่ ทุกๆโยคะจะมีการฝึก เกี่ยวกับปราณะเนี่ย ทุกแบบเลย ไม่ว่าโยคะแบบไหน จะเรียกว่าปราณายามะ แปลว่าการบังคับปราณนะ เมื่อสามารถบังคับปราณนะ นี่ก็ทำให้เราบังคับชีวิต เมื่อหาย เมื่อปราณนะเข้าไป เราเรียกว่าอานะ เมื่อปราณนะออกมา เราเรียกว่าอาปานะ มารวมกันเป็นอานาปานะ คือปราณที่เข้าไป คือปราณที่ออกมา สามารถควบคุมปราณนะก็คือสามารถควบคุมสิ่งที่เข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิต แล้วก็ได้มีชีวิต ที่กำลังสดชื่น กำลังเหมาะสม ที่จะศึกษาที่จะปฎิบัติ เห็นไหมในพุทธศาสนานี่ก็เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าเอาเรื่องปรานายามะเนี่ยมาใช้เป็นเรื่องแรกข้อแรก ของอานาปาณสติ ซึ่ง ซึ่งไม่ผิดหลัก ซึ่ง ซึ่งไม่แพ้ระบบไหน ระบบไหนๆ โยคะไหนๆ และเอามาทำให้ดีกว่าซะด้วย โดยระบบ กายานุปัสสนาเนี่ย เราเอาเรื่องปรานายามะของโยคะทั้งหลายมาทำให้ดีที่สุด ที่เหมาะที่จะใช้ ฉะนั้นเราจึงมีแบบฝึกหัดเรียกว่า กายานุปัสสนา เนี่ยเป็นข้อแรก
สังเกตดูให้ดี ก็จะเห็นว่า ไอ้ปราณนะ ปราณนะมันเป็นสิ่งจะเป็น ถ้าขาดปราณนะแล้วชีวิตก็ดับ จะเรียกว่ามันเป็น เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตแท้ๆ แต่บางทีก็เรียกว่าชีวิตซะเองก็มี ชีวิตในแง่ของ บอดี้ ของฟิสิค่อลเนี่ย อ่ามันขึ้นอยู่กับปราณนะ หรือลมหายใจ นั้นเราจึงมีการแบ่งแยกว่า เป็นไอ้ ปราณะบอดี้ คือกายลมหายใจ และเฟรชบอดี้ คือกายเนื้อ กายเนื้อ กายเนื้อหนัง เรามีกายเนื้อหนังเนี่ย และก็หล่อเลี้ยงอยู่ด้วย กายลม หรือปราณนะ ถ้าเราปรับปรุงมันให้ดี มีปราณนะที่ดี ที่สงบระงับ มันก็ให้เฟรชบอดี้ ที่ดี ที่สงบระงับ มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดความสงบ ระงับ ที่สุดแก่ชีวิตนี้ นี่เราจึงต้องรู้เรื่องกาย ทั้งสองกาย และก็ทำมันให้ดี จนมีความสงบระงับ ดี คำว่าดีก็คือเนี่ย คือเหมาะสมที่จะใช้ การงานทำหน้าที่ใช้ในการทำหน้าที่ในการงานของมัน ก็สุดท้ายเรียกว่าทำ กายสังขาร ให้สงบระงับ ก็คือทำให้สิ่งที่หล่อเลี้ยงกายเนี่ย ให้สงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับขึ้น ในร่างกายนี้ ซึ่งรู้สึกได้ด้วยจิต จิตก็เป็นสงบระงับไปด้วย ก็เป็นจิต ที่จะทำหน้าที่ได้ดีต่อไป นี่เรื่องของกาย กายนะมันมีอย่างนี้ ท่านที่ไม่ต้องการรู้ถึงอย่างนี้ก็ทำใจ ก็ความจริงมันมีอยู่อย่างนี้ รู้ก็ไม่เสียหาย ยิ่งดียิ่งมีประโยชน์ ก็สามารถจับ ทำให้ไอ้ชีวิตนี้มันดีที่สุดได้ เราจึงต้องมีความรู้เรื่องกายเป็นข้อแรก หมวดแรก
สรุปความสั้นๆว่า ไอ้ปราณนะบอดี้ มันคือสิ่งที่ เอ่อปรุงแต่ง เฟรชบอดี้ ปราณนะบอดี้ปรุงแต่งเฟรชบอดี้นี่ความจริงของธรรมชาติ การศึกษาธรรมชาติลึกซึ้งนี้ ปรุงแต่งเนี่ย ภาษาบาลีเรียกว่า สังขาร สังขาระ ปราณนะบอดี้เป็นสังขาระของเฟรชบอดี้ หรือก็ตรงกับคำว่า คอนดิชั่นเน่อ คอนดิชั่นเน่อ ปราณนะบอดี้ เป็นคอนดิชั่นเน่อออฟเฟรชบอดี้ ต้องรู้จักว่ามันสองกาย สองชั้น ไอ้กายที่เรารู้จักกันโดยมากก็เฟรชบอดี้ แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักไอ้ปราณนะบอดี้ ฉะนั้นการรู้จักปราณนะบอดี้เนี่ยสำคัญมาก เพราะเราอาจจะทำให้มี คอนดิชั้นเน่อ ที่ดี ที่ดีต่อเฟรชบอดี้ หรือชาปราณายามะนี่ ในอินเดียคือว่าเป็นวิชาจำเป็นสูงสุด ที่จะต้องศึกษา และก็มีอธิบายต่างๆกันไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ละสำนัก แต่ละสำนักก็มีคำว่าปราณนะบอดี้ ในความหมายของตน ของตน แต่ในที่สุดมันก็คือว่า ไอ้ปราณนะ ปราณายามะ ปราณายามะชื่อเดียวกันแต่อธิบายต่างๆกันตามแบบของตน ของตน แต่ในที่สุดมันก็คือ ควบคุมไอ้ปราณนะ บอดี้ ให้ได้ให้มาคอนดิชั่นเฟรชบอดี้ ที่เราต้องการ นั่นต้องศึกษา ต้องหายใจ ให้ดี ให้ใช้มันให้เป็นประโยชน์ ในการคอนดิชั่น เฟรชบอดี้ เราไม่สามารถจะ ควบคุม เฟรชบอดี้โดยตรงได้ ทำไม่ได้ เราก็ทำโดยอ้อมคือ ควบคุม ปราณนะบอดี้ ศึกษาปราณนะบอดี้ ควบคุมปราณนะบอดี้ได้แล้วมันก็เท่ากับ ควบคุมเฟรชบอดี้ได้ตามที่เราต้องการ คือให้มันสงบระงับได้
รวมความว่าหมวดแรกเกี่ยวกับร่างกาย สองอย่างปราณนะบอดี้ เฟรชบอดี้ นี่เรามีความรู้จนควบคุมได้ นะแล้วก็จะได้จัดให้มันมีร่างกายที่ดี พร้อมที่จะให้จิตเป็นสมาธิ และทั้งร่างกายทั้งจิตนี้ก็พร้อม ที่จะปฎิบัติหน้าที่ นี่คือหมวดที่หนึ่ง คือหมวดกาย มีลักษณะอย่างนี้มีความมุ่งหมายอย่างนี้มีการปฎิบัติอย่างนี้ ขอให้ท่านสังเกตดูให้ดี ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น คุ้มค่าเวลาที่จะศึกษาหรือไม่คุ้มค่า นั้นถ้าเห็นว่ามัน มันดีที่สุด คุ้มค่าแล้วก็ตั้งใจพยายามศึกษา ปฎิบัติให้ได้ นะก็มีปราณายามะที่ดีที่สุดของพุทธศาสนาในการปฎิบัติ วิปัสสนาภาวนา
ขอสรุปสั้นๆอีกครั้งหนึ่งว่าหมวดที่หนึ่ง กายานุปัสนานั้นคือการเตรียม เตรียมกายและจิตให้พร้อมที่จะทำหน้าที่ การเตรียมกายและจิตให้พร้อมที่จะทำหน้าที่ นี่คือใจความของหมวดที่หนึ่ง กายานุปัสนา
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สอง หมวดเวทนานุปัสนา หมวดที่สอง เกี่ยวกับเวทนา เวทนานี้ก็แปลกันว่าฟีลลิ่ง หรืออะไรก็ไปคิดดูให้ เข้าใจคำว่าเวทนา ไอ้ความรู้สึกที่พอใจหรือไม่พอใจ หรือไม่แน่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ เรียกว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกธรรม สุขเวทนา[59:03?] นั้นเราจะต้องรู้จัก สิ่งนี้ ในฐานะ เป็นมารร้าย นึกไม่ออกว่าจะใช้คำใดดี เป็นมารร้ายคือสิ่งเลวร้าย ต้นเหตุแห่งวิกฎตการณ์ทั้งปวง เราเป็นทาสของเวทนา นี่คุณเข้าใจดี ทุกคนเป็นทาสของเวทนา แล้วแต่เวทนามันจะบังคับให้คุณทำอะไร สุขเวทนาบังคับให้แสวงหา ให้ทำไปตามแบบพอใจ ทุกขเวทนาก็บังคับให้ต่อสู้ให้ทำลาย ให้ไปตามที่มันเป็นทุกขเวทนา อทุกกับอสุขเวทนาทำให้สงสัยพัวพัน ไม่อาจจะจากไป วนเวียนอยู่ที่นั่น เดี๋ยวนี้เราเป็นทาสของเวทนา กันทั้งโลก ทั้งโลก โลก ทั้งโลกเป็นทาสของเวทนา สิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็แล้วกันเดียรัจฉานก็ได้ ต้นไม้ด้วยมันเป็นทาสของเวทนา จิตมันเป็นไปตามอำนาจของเวทนา มันทำตามความต้องการของเวทนา ตามความหมายของเวทนาโดยทางตัณหา มีเวทนาแล้วก็มีตัณหา ก็บังคับให้ทำ ให้ทำ โลกอยู่ใต้ การบังคับของสิ่งที่เรียกว่าเวทนา ทุกคนทำงานหาเงิน นั่นก็เพื่อสุขเวทนาทั้งนั้นแหละ ไม่ได้เพื่ออย่างอื่นเลย ที่นี้เวทนานี้มันเป็นนายของเรา ก็เป็นมารร้ายทำให้ยุ่งเหยิง ให้ลำบากให้ยุ่งยาก เราจะต้องรู้จักเวทนา จึงมาเป็นข้อที่สอง ที่จะต้องรู้จัก ในเรื่องของอาณาปาณสติ
ท่านทั้งหลายมาจากยุโรป มาจากอเมริกา มาสวนโมกข์เพื่อแสวงหาปัจจัยเพื่อสุขเวทนา จริงหรือไม่คิดดู เมื่อท่านอยู่ที่ยุโรปที่อเมริกา ท่านก็ทำงาน ทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงสุขเวทนา ท่านมาสวนโมกข์ก็แสวงหาปัจจัยหรือเครื่องมือเพื่อจะได้รับสุขเวทนา เราเป็นทาสของเวทนา สุขเวทนาโดยเฉพาะอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้เราต้องการจะรู้เรื่องเวทนาให้ดี เราจะควบคุมเวทนา ฉะนั้นเราจึกศึกษาอานาปาณสติ ในหมวดที่สองเกี่ยวกับเวทนา
ในบาลีเรียกเวทนา คอนดิชั่นเน่อออฟเดอะมายด์ จิตตะสังขาระ คอนดิชั่นเน่อออฟเดอะมายด์ นั่นคือเวทนา มายด์นี่มันคือความคิด ความคิด ความอยาก ความต้องการ เราก็ทนไม่ได้ เราก็ต้องคิด ต้องทำไปตามอำนาจความต้องการของเวทนาหรือความหมายของเวทนา เราไม่เป็นอิสระแก่ตัว เราตกอยู่ใต้อำนาจของเวทนา เวทนาบังคับให้ทำ บังคับทางจิต บังคับจิตปรุงแต่งจิตให้คิดให้ทำไปตาม อำนาจของเวทนา เราไม่เป็นอิสระแก่ตัว ที่นี้เราจะรู้จักเวทนาให้ดี จะไม่ยอมให้มันบังคับ ให้อย่างที่ไม่มีขอบเขต หรือให้มันเป็นทาสของเวทนาไปเสียตลอดเวลา จะบังคับให้อยู่แต่ใน ทางแห่งความถูกต้อง ความพอดี ความไม่เป็นทุกข์ เราจึงต้องรู้จักเวทนา แล้วเราก็เลยเอาเวทนาขั้นสูงสุด เวทนาชั้นเลิศ เฉพาะไฮ structureของเวทนานี้มา คือเวทนาที่เกิดจากสมาธิ ถ้าเราควบคุมเวทนาสูงสุดนี้ได้ ในขนาดเล็กๆน้อยๆ ในขนาดเด็กๆนี้เราก็ควบคุมได้ เพราะเรามาทำให้เกิดสมาธิ ทำให้เกิดเวทนาชั้นสูงสุด และจัดการกับมันให้ได้ ควบคุมกับมันให้ได้ ในเวทนาชั้นสูงสุด เราก็จะมีอำนาจเหนือเวทนาทั้งปวง ทุกอย่างทุกประการ นี่เราจึงต้องฝึกเวทนานุปัสสนา
ขอให้ท่านมองให้เห็นว่าลำดับสุขเวทนาแล้ว ไม่มีเวทนาไหนจะสูงสุดไปกว่านี้ สูงสุดของสุขเวทนานั้นก็คือเวทนาที่เกิดมาจากสมาธิ เวทนาอาจจะเกิดมาจาก กามารมณ์ เกิดมาจากชีวิต ฟุ่มเฟือย ลักซูรัส กินอะไรต่างๆ อำนาจวาสนา สมบัติพัสถานก็มีสุขเวทนาได้ แต่สุขเวทนาเหล่านั้นไม่สูงเท่าสุขเวทนาที่เกิดมาจากสมาธิ ถ้าเราได้สุขเวทนาที่เกิดจากสมาธิแล้ว เราก็เรียกว่าได้จัดการกับสิ่งสูงสุด จะหมดปัญหาจากเวทนาที่เหลือนอกจากนั้น นั้นขอให้เราพบกับเวทนาที่สูงสุด เอาชนะมันให้ได้ นี่คือความมุ่งหมาย ของการปฎิบัติอานาปาณสติ ข้อที่สอง หมวดที่สอง
ถ้าเราบังคับเวทนาชั้นสูงสุดได้ แล้วก็บังคับเวทนาชั้นต่ำๆได้ แล้วเราบังคับเวทนาที่มันยากลำบากได้ เราก็บังคับเวทนาที่มันง่ายๆต่ำๆได้ ดังนั้นอะจึงได้พยายามขอร้องให้พยายาม เข้าถึงเวทนาสูงสุด คือเวทนาที่เกิดมาจากสมาธิ เลยเอามาเป็นบทเรียน ต้องเอาชนะให้ได้ เอาชนะให้ได้ ถ้าเอาชนะเวทนานี้ได้แล้วจะชนะเวทนาทั้งปวง ควรจะลองไหม ควรจะอดทนไหม ควรจะยอมเสียเวลาไหม
คือที่นี่มันอาจจะเป็นเรื่องน่าขบขัน หรือเรื่อง เป็นเรื่องตลกไปก็ได้ นะคือว่าเราพยายาม พยายามจนได้เวทนาชั้นสูงสุด เวทนาชั้นสูงสุด แต่ว่าแทนที่จะเอามาเสวย มาชิม มาดื่ม มาอร่อยกับมันนะกลับเอามาเพื่อฆ่ามันเสีย เพื่อทำลายมันเสียเพื่อควบคุมมันเสีย ท่านบางคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องขัน หรือเป็นเรื่องตลกไปซะแล้วที่อุตส่าห์แสวงหาเวทนาสูงสุดมาได้ แล้วเอามาฆ่าเสีย ทำลายเสีย เพื่อควบคุมเสีย ข้อนี้ก็ขอให้เข้าใจถูกต้อง ว่าการฆ่าเวทนาเสียเนี่ยกลับได้สิ่งที่ดีกว่านัก สิ่งที่ดีกว่าเวทนาชนิดนัก ที่จะได้ไอ้เวทนาชนิดอย่างอื่นที่สูง ที่จะไม่เรียกว่าเวทนา เป็นนิพพาน เป็น emancipation เป็นอะไรทำนองนั้น อย่าเห็นเป็นเรื่องขัน หรือเรื่องตลก ที่หาเวทนามาเพื่อจัดการฆ่ามันเสีย
ทีนี้เราก็มาถึงหมวดที่สาม จิตตานุปัสนา หมวดนี้มีความมุ่งหมายให้รู้จักจิต ทุกชนิด จิตแต่ละอย่างๆ แต่ละอย่างเป็นอย่างไรเป็นอย่างไร แล้วก็เราก็ฝึกบังคับจิตให้เป็นไปแต่ในทางที่ควรแต่จะมีจะเป็น ให้จิตบริสุทธิ์ ให้จิตตั้งมั่น ให้จิตเป็น แอดติ๊ก?(1:20:30) ให้จิตชนิดที่เหมาะแก่การที่จะทำหน้าที่อันสูงสุด ทำหน้าที่ต่อไปต่อไปจนเอาชนะความทุกข์ได้ ข้อนี้เราจะศึกษาเรื่องจิต จนสามารถบังคับจิต จิตอยู่ในอำนาจของเรา และก็ใช้จิตชนิดนั้นทำหน้าที่ที่ควรจะทำต่อไปจนถึงหน้าที่ชั้นสูงสุดนี่คือหมวดที่สามของอานาปาณสติ
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สี่ธรรมานุปัสสนา รู้จักความจริงของทุกสิ่ง ที่เราเป็นทาสของมัน เนี่ยในความหมายของคำว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังattach attached ต่อสิ่งใดเราเป็นทาสของสิ่งนั้น เดี๋ยวนี้เราจะมารู้จักความจริงของสิ่งที่เราเป็นทาสของมัน เพื่อจะเลิกความเป็นทาสมันเสียที นี่ความหมายอันสำคัญ เอ่อสรุปสั้นที่สุดของธรรมานุปัสนา หรือความจริงของสิ่งที่เรา attach อยู่ เรารู้ความจริงจนหลุด จากattachจน ไม่มีattach ไม่attachment ข้อที่ หมวดที่สี่ คือธรรมานุปัสสนา
ถึงตอนนี้ท่านก็เริ่มนึกถึง สิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาแล้วนะว่า ที่ .............(1:24:35)? อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ศึกษา ศึกษาเรื่อยๆไปให้รู้ความหมายของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นลักษณะของสิ่งที่เรากำลังattachอยู่ ที่นี้พอเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา attachment ก็เริ่ม เริ่ม เริ่มๆๆละลาย เริ่มคลายออก คลายออก จนหมดไป หมดปัญหาก็หมด ไม่มี attachment ก็ไม่มีความทุกข์ใดๆ เราก็รู้ว่าเดี๋ยวนี้เราก็ฟรีแล้ว นี่ความหมายของขั้นที่ หมวดที่สี่ ของอานาปาณสติ คือธรรมานุปัสสนา สติปัฐฐาน
เอานะเป็นอันว่าเราได้พูดถึง อานาปาณสติ วิปัสนา ว่าคืออะไร กันมาพอสมควรแล้ว ที่รายละเอียด ว่าทำอย่างไรๆ รายละเอียดนี่เราไว้พูดกันวันหลังก็ได้ ในรูปของการถามตอบๆ ถามตอบจะง่ายกว่า โดยหลักใหญ่ๆเป็นอย่างนี้ รายละเอียดว่าทำอย่างๆ เฉพาะข้อๆ นั้นเราไว้พูดกันอย่างถามตอบ ในวันหลังจะดีกว่า เอาเป็นว่าเรารู้จักอานาปาณสติ วิปัสสนา แล้วเราจะขจัดปัญหา ทั้งปวง ไม่เป็นทาส สิ่งต่างๆในโลกอีกต่อไป จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบเย็น peacefulness อย่างยิ่ง ในชีวิตนี้มีความเย็น นี่คือผลของมัน สิ่งที่จะให้ความเย็นแก่ชีวิตเป็นชีวิตเย็นเนี่ยนะคือ วิปัสสนาโดยอานาปาณสติเป็นหลักและก็ขอยุติการบรรยายในวันนี้ ไว้เพียงเท่านี้