แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอแสดงความยินดีในการที่ได้มาพูดกับท่านทั้งหลายเป็นครั้งที่สาม ในครั้งที่หนึ่งได้พูดเรื่องศึกษาธรรมะอย่างไร ในครั้งที่สองพูดว่าปฏิบัติธรรมะนั้นอย่างไร ครั้งที่สามนี่ว่าจะได้รับผลประโยชน์อะไร จากการปฏิบัติธรรมะนั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์อันที่จะได้จากธรรมะนั้น เราพอที่จะแบ่งได้ออกเป็นสองอย่าง คือมันจะได้ชีวิตที่มีความสุขปราศจากตัณหา ปราศจากปัญหา และที่สองเราก็จะสามารถใช้ชีวิตนั้นให้เป็นประโยชน์มากที่สุดตามที่เราต้องการ สรุปประโยชน์ทั้งสองอย่างคือมีความสุขและใช้มันได้ตามต้องการ นี่รวมกันเข้าแล้ว เราจะเรียกมันว่าเป็น ชีวิตใหม่ ดังนั้นเราก็ได้ชีวิตใหม่นั่นเอง
แล้วทีนี้ก็จะได้พูดถึง ชีวิตที่มีความสุขหรือปราศจากปัญหาโดยประการทั้งปวงก่อน ท่านทั้งหลายจะต้องระลึกและมองให้เห็นข้อที่ว่า ไอ้ชีวิตนี่ มันเป็นไปตามอำนาจบังคับ ของสิ่งที่เรียกว่าสัญชาตญาณ และเป็นสัญชาตญาณชนิดที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นจึงมีผลเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า กิเลส สัญชาตญาณที่บังคับไม่ได้นั่นมีผลเรียกว่า กิเลสๆ รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากิเลสนี้ให้ชัดเจนซะก่อน เมื่อใดกิเลสเกิดขึ้นในชีวิตนี้ก็เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า เศร้าหมอง เศร้าหมองคือเป็นทุกข์ ความทุกข์อย่างที่กล่าวนี้ มีอยู่อย่างที่เคยชินๆ จนเราไม่ค่อยจะรู้สึก และมักจะคิดเสียว่าไม่เป็นปัญหาอะไร จึงขอให้รู้จักแยกกันดูในข้อแรกที่ว่า ชีวิตที่ไม่มีกิเลสครอบงำกับชีวิตที่มีกิเลสครอบงำนั้นต่างกันอย่างไร ถ้าท่านไม่รู้จักสิ่งนี้คือกิเลสนี้แล้ว ก็ไม่อาจจะศึกษาธรรมะหรือว่าจะปฏิบัติธรรมะให้มีผลดีได้ นั้นคือท่านไม่รู้จักเปรียบเทียบกันระหว่างชีวิตที่มีกิเลสและชีวิตที่ไม่มีกิเลสเนี่ยว่ามันต่างกันอย่างไร จึงขอร้องให้รู้จักกิเลสอย่างที่อาจจะทำให้ท่านรำคาญก็ได้ ขอร้องให้รู้จักกิเลสที่มีอยู่ในตัวเองในชีวิต ในประจำวัน ให้รู้จักมันให้ดีที่สุด ถ้ารู้จักกิเลสดีที่สุด มากที่สุด ลึกซึ้งที่สุดเท่าไร ก็อาจจะเข้าใจธรรมะได้ ดีที่สุดเท่านั้น
กิเลสประเภทที่หนึ่งหรือประเภทแรกนั่น เป็นพวกที่ไม่สมบูรณ์และอยู่ลักษณะคล้ายกับ กึ่งสำนึกหรือใต้สำนึก และก็ไม่มีเหตุปัจจัยภายนอกมาปรุงแต่งอะไรนัก เราจะเรียกกิเลสประเภทนี้ว่า นิวร นิวารณะแปลว่ากั้นหรือแยก แยกออก เป็นกิเลสที่แยกความสงบ ความผาสุข ความสงบ ความเยือกเย็นแห่งจิต ออกไปเสียจากจิต มากั้นไม่ให้ความสงบเนี่ยอยู่กับจิต เราจึงกระวนกระวาย เมื่อใดจิตเราปราศจากความสงบ ความสงบสุขที่คุณจะเรียกว่า blissfulness หรืออะไรก็ตามใจ เมื่อไรจิตปราศจากสิ่งนี้แล้วก็ขอให้ดู จะพบว่าภายใต้นั้นมีนิวร กำลังทำงานอยู่ กำลังรบกวนอยู่ มันมีรายละเอียดที่จะหาอ่านได้จากหนังสือ ขอให้สนใจศึกษาโดยละเอียด ทั้งนั้นที่นี่ในวันนี้จะพูดกันแต่โดยใจความว่า ไอ้นิวรณ์นี่ มีเป็นพวกๆ พวกหนึ่งมาจากพวกราคะหรือโลภะ ที่เป็นอนุสัยอ่ะ เก็บอยู่ในสันดานแห่งจิตใจนั่น ออกมาเป็นความรู้สึก เกี่ยวกับเพศ นี่พวกที่หนึ่ง ไอ้ความรู้สึกทางเพศมีมากมายหลายสิบอย่าง หลายร้อยอย่าง เกิดขึ้นรบกวนจิตใจเมื่อใด เมื่อนั้นจิตก็สูญเสียความสงบด้วย สูญเสียอิสรภาพหรือเสรีภาพในการที่จะทำอะไรอย่างถูกต้องด้วย เนี่ยขอให้นึกดูถึงที่มันเคยเกิดแล้วหรือเกิดอยู่ว่ามันเป็นอย่างไร ให้รู้จักกันให้ดีที่สุดว่า ความรู้สึกทั้งหลายเกี่ยวกับทางเพศ ทางกามารมณ์ ขอให้สังเกตเป็นพิเศษในข้อที่ว่า นิวรณ์นี่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีเหตุปัจจัยภายนอก เช่นว่าไม่ต้องมีเพศ เพศตรงกันข้ามเข้ามา มันก็เกิดนิวรณ์ได้ เรานั่งอยู่ที่ไหน ในที่เงียบคนเดียวมันก็ยังเกิดนิวรณ์ ไอ้ความคิด นึกที่มันเป็นไปทางเพศนั้นได้ นี่เรียกว่าไม่มีเหตุปัจจัยเฉพาะหน้า ถ้ามันมีเหตุมีปัจจัยเฉพาะหน้ามันเกิดเป็นกิเลสสมบูรณ์เลย ถ้าว่ามันไม่ต้องมีเหตุปัจจัยมา ไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง มันปรุงแต่งกันแต่ภายในโดยเฉพาะ มันออกมาเป็นเพียงนิวรณ์เท่านั้น จะเรียกมันว่าครึ่งกิเลสก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ขอให้สังเกตดูให้ดีๆว่า มันรบกวนสักเท่าไร เมื่อนิวรณ์ข้อนี้ ข้อเกี่ยวกับกามฉันทะเนี่ย เกิดขึ้นแล้ว แม้แต่จะเขียนจดหมายสักฉบับหนึ่งให้ดี มันก็เขียนไม่ได้ เนี่ยขอให้สังเกตจนมองเห็นข้อเท็จจริงอันนี้ ไม่ใช่ว่ามันครึ่งกิเลสแล้วมันก็จะไม่มีผลร้ายอะไร มันทำลายความสงบสุขเสียหมด และทำให้ปั่นป่วนวุ่นวาย จนแม้แต่จะเขียนจดหมายให้ดีที่สุดสักฉบับหนึ่งก็ยังทำไม่ได้ ข้อให้รู้จักสังเกตนิวรณ์ในฐานะที่มิใช่สิ่งเล็กน้อยอย่างนี้
และนิวรณ์ข้อที่สองที่เรียกว่า พยาบาทะ ในภาษาบาลี คือความรู้สึกไม่พอใจๆ บางทีจะไม่พอใจเสียทุกอย่าง ไม่พอใจไปเสียทุกอย่าง เกิดความไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่ คิดนึกขึ้นมาสำหรับจะไม่พอใจอย่างนี้ก็มี มันไม่พอใจแม้แต่กะว่าตัวเอง การกระทำของตัวเองไอ้สิ่งต่างๆที่แวดล้อมอยู่ มันก็เรียกว่าวุ่นวาย ระส่ำระสายปั่นป่วนไปหมด เนี่ยคือความรู้สึกที่อาจมีได้ เมื่อไหรก็ได้ในชีวิตประจำวัน มันไม่ content ในอะไรเสียเลย แม้ในตัวเอง แม้ในสิ่งที่กระทำอยู่ เนี่ยก็ดูที่ว่า มันรบกวนเท่าไร ถ้าไม่พอใจผู้ใดหรือสิ่งใดโดยตรงเฉพาะหน้า อย่างนี้มันรุนแรงกว่านิวรณ์ มันเป็นกิเลส ถ้ามันเป็นอย่างนี้มันเรียกว่ากิเลส ถ้ามันรบกวนอยู่อย่างสลัวๆ ก็เรียกว่านิวรณ์ มันมาจากความเคยชินแห่งกิเลส มันตามธรรมดาๆ เรานี่เกิดกิเลสๆๆ และก็มีความเคยชินแห่งกิเลสเหลืออยู่เก็บไว้ข้างใน เรียกว่าอนุสัย อนุสัย จากอนุสัยเนี่ยแหละกลายมาเป็นนิวรณ์ได้โดยไม่ต้องมีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ามาปรุงแต่ง มันปรุงแต่งขึ้นมาจากอนุสัยได้ มันจึงยากที่จะบังคับเห็นไหม มันยากที่จะบังคับความเคยชินที่จะเป็นอย่างนั้น มันมีอยู่ข้างในและมันก็ออกมา มันจึงยากที่จะบังคับ จึงเสียความสงบสุขอีก นิวรณ์ที่หนึ่งเป็นพวกโลภะ นิวรณ์ที่สองเป็นพวกโทสะ นิวรณ์ที่สาม ที่สี่ ที่ห้าเนี่ยเป็นพวกโมหะ นิวรณ์ที่สาม ถีนะมิทะ คือความที่จิตอ่อนกำลัง ถอยกำลัง อ่อนเปลี้ยมึนชา ซึมเซา หมายความว่าที่จิตถอยกำลัง ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส ไม่เข้มแข็ง มีอาการมากหลายอย่างแต่รวมแล้วเรียกว่า จิตมันถอยกำลัง มีแต่จะหดจะเล็ก จะหด จะหยุด แม้ที่สุดแต่ว่าเรา ง่วงนอนก็เป็นพวกนี้ แม้แต่ว่าเรากินอาหารอิ่มเกินไป จิตคิดนึกอะไรไม่ได้ ก็อยู่ในพวกนี้ นิวรณ์ที่สี่ ตรงกันข้ามกับนิวรณ์ที่สาม คือเป็นจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านเกินขอบเขต ไม่อยู่ในขอบเขตไม่อยู่ในบังคับ เป็นความฟุ้งซ่าน แม้แต่ระบบประสาทก็เรียกว่าเป็น disorder เนี่ยตรงกันข้ามจากนิวรณ์ที่สาม เมื่อเรานอนไม่หลับๆ ไม่มีการพักผ่อนทางจิตเลย ฟุ้งซ่าน เรี่ยไรกระจัดกระจายไปทั่ว ตัวอย่างของนิวรณ์ข้อนี้ ท่านดูเอาเองเถิดว่ามันก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน แม้แต่จะเขียนจดหมายสักฉบับก็ทำไม่ได้ ที่นี้ก็มาถึงนิวรณ์สุดท้าย ที่ห้า เรียกว่า วิจิกิจฉา แปลว่าความลังเล ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่ใจว่าทุกอย่าง ถูกต้องและปลอดภัย ทุกอย่างถูกต้องแล้วและเป็นการปลอดภัยแน่ ไม่มีความแน่ใจ ในสิ่งที่มีอยู่หรือกระทำอยู่ เรียกว่าความลังเลในภาษาไทย ถ้าว่าเป็นผู้ถือศาสนาที่ใช้ faith เป็นหลัก faith ใน God หรือในอะไรก็ตามแหละ ไม่ค่อยจะมีนิวรณ์นี้ แต่ถ้ามีศาสนาที่เป็น self confidence แล้วก็ จะมีนิวรณ์นี้ได้โดยง่าย นิวรณ์นี้คือมีความไม่แน่นอน ไม่เชื่อใจ หรือไม่ไว้ใจ ในสิ่งที่มีอยู่และกระทำอยู่ เช่นไม่แน่ใจในสุขภาพ ในสุขภาพอนามัยก็ไม่แน่ใจ ในทางเศรษฐกิจก็ไม่แน่ใจ ในความปลอดภัย ความปลอดภัยในธรรมดาอย่างอื่นก็ไม่แน่ใจ กระทั่งอาจจะสงสัยๆ doubt ในทุกอย่างที่กำลังเกี่ยวข้องอยู่กับเรา ว่าอาจจะไม่ถูกต้อง จะไม่ใช้เป็นที่พึ่งได้ และอาจจะพูดได้ว่า แม้ท่านอาจจะสงสัยว่าธรรมะที่ฉันพูดนี้อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรก็ได้ นี่ไม่แน่ใจอย่างนี้
ที่เป็นคริสเตียน อาจจะมีวิจิกิจฉาในพระเจ้าก็ได้ ในไบเบิลก็ได้ ที่เป็นพุทธบริษัทอาจจะมีวิจิกิจฉาในพระพุทธเจ้าก็ได้ ในพระคัมภีร์ ในพระธรรม ในพระไตรปิฎกก็ได้ เป็นมากถึงอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลาย ถ้าผู้ใด ไม่แน่ใจได้ว่าทุกอย่างถูกต้อง ชีวิตปลอดภัย ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้องแล้ว คนนั้นก็มีวิจิกิจฉาอันนี้ แล้วก็ขอให้สังเกตให้ลึกลงไปในวิจิกิจฉาเนี่ย อาจจะมีอยู่ใน subconscious อยู่ตลอดเวลาก็ได้
อ้าวที่นี้สรุปห้าอย่างเรียกว่า นิวะระนะ อย่าเรียกว่านิวาระนะ เรียกว่า นิวะระนะๆๆ ตามตัวบาลีเรียกว่า เรียกว่า นิวะระนะ เนี่ยเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีนิวรณ์ทั้งห้า อย่างเหล่านี้แล้ว ชีวิตจิตใจของเราจะเป็นอย่างไร เนี่ยชีวิตที่ปราศจากนิวรณ์ ควรจะเรียกว่าเป็น ชีวิตใหม่ หรือไม่ คิดดูเอง เนี่ยเรียกว่าปราศจากนิวรณ์ new life ปราศจากนิวรณ์ ที่จริงต้องปราศจากกิเลส คือมากกว่านิวรณ์ เต็มแบบเต็มรูป แบบครึ่งรูปแบบเราเรียกว่านิวรณ์ ยังปราศจากกิเลสอีกที เราก็จะพูดถึงกิเลส
เราจะรู้จักกิเลสได้ โดยรู้สึกต่ออาการ อาการที่กิเลสมันกระทำแก่เรา แก่จิตน่ะ เราไม่ต้องไปรู้จักตัวๆ เราไม่อาจจะรู้จักตัวจริงละเอียดๆ นั้นได้ ง่ายๆ ไม่ยากเลย โดยเราดูจากอาการที่มันกระทำแก่จิต หรือแก่ชีวิต เดี๋ยวนี้ เราจะพูดถึงเรื่องอาการของกิเลสกระทำแก่ชีวิต เปรียบเหมือนเราไม่อาจจะรู้จักตัว ตัวแท้ของไฟฟ้า แต่อาจรู้จักอาการทุกอย่างที่มันแสดงออกมาที่เครื่องใช้เกี่ยวกับไฟฟ้า อาการที่มันแสดงออกมาก็มากเหลือเกิน มากเหลือเกิน เราไม่ต้องพูดถึงทั้งหมด เราพูดถึงที่แต่สำคัญๆ ที่เป็นปัญหาแก่ชีวิต
สิ่งแรกที่เราจะพูดถึง คือสิ่งที่เราเรียกว่า ความรัก เมื่อความรักเกิดขึ้นในจิต จิตได้สูญเสียอะไรไปบ้าง จิตมีความรู้สึกทนทรมานอย่างไรบ้าง จิตรู้สึกเหมือนกับแบกของหนักอย่างไรบ้าง เข้าใจว่าทุกคนควรจะพอเห็นบ้าง เพราะเคยรู้รสของความรักกันมาแล้วทั้งนั้น เราก็ได้พูดกันมาครั้งหนึ่งแล้วว่าความหมายของคำว่า กิเลส กิเลสน่ะมันหมายถึงเสียดแทงๆ ให้เจ็บปวด มีความรักน่ะมีการเสียดแทงหรือไม่ เข้าใจว่าทุกคน อธิบายได้เอง ในความหมายอื่น มันก็หมายถึงแผดเผาเหมือนกับไฟเผา ในความหมายหนึ่งอีด หมายถึงผูกพัน ผูกมัดเหมือนโซ่ตรวน ในความหมายอื่นก็หมายถึงครอบงำไว้ด้วยของปิด ปิดให้มืด อย่างนี้เป็นต้น เนี่ยควรจะเรียกว่าปัญหาหรือไม่ หรือใครจะเห็นว่า ความรักเนี่ยเป็น blissfulness แต่ทางธรรมะถือว่าเป็นความไม่สงบอย่างยิ่ง เป็นความรบกวนอย่างยิ่ง ขอให้ดูเอาเอง โดยทั่วไปตามปกติไอ้สิ่งที่เรียกว่า ความรักนั่น มาจากหรือปรุงมาจากสิ่งที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชาแปลว่าความไม่รู้ เป็นกิเลสเต็มที่ แม้ว่าความรักในบางกรณี ในบางกรณีเท่านั้นที่มาจากปัญญา หรือถูกควบคุมไว้ด้วยปัญญา แต่ถ้ามันขีดที่เป็นความรักแล้ว มันก็เป็นปัญหาทั้งนั้น ไม่ใช่ความสงบสุข นี่เรียกว่าปัญหาใหญ่ยิ่ง ที่เกิดมาจากสัญชาตญาณ ไอ้ความรักเนี่ยเป็นผลแห่งสัญชาตญาณของการสืบพันธุ์ ยิ่งมีปัญหาเท่าไร มันก็ยิ่งทรมานๆ ยิ่งขึ้นเท่าไร ก็ลองคิดดู ถ้าเราไม่ต้องมีปัญหาเหล่านี้ เราจะสบายขึ้นเท่าไร แม้ความรักที่ไม่เกี่ยวกับเพศหรือ sex เนี่ยมันก็ยังทำเป็นปัญหาเหมือนกัน เช่นความรักลูก รักพ่อแม่ พ่อแม่รักลูก ลูกรักพ่อแม่ รักเพื่อน รักอันนี้ไม่เกี่ยวกับ sex ก็ยังเป็นปัญหา เป็นเรื่องที่ทำความไม่สงบด้วยเหมือนกัน เป็นสิ่งที่ต้องควบคุมด้วยเหมือนกัน ไม่งั้นก็ไม่มีความสงบสุข ถ้าจะพูดว่า ทำทุกอย่างๆ เหมือนกับคนที่มีความรักทำ แต่โดยไม่มีความรักได้หรือไม่ ท่านจะเชื่อได้หรือไม่ว่าทำได้โดยไม่ต้องมีกิเลส ไอ้ความรักที่เป็นธรรมะนั่นก็มีเช่น เมตตา กรุณา นี่ก็มี แต่ต้องมีอย่างถูกต้อง จนไม่ต้องเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เช่นทำด้วยความหมายมั่นจนเป็นทุกข์ ไม่ได้ทำก็เป็นทุกข์ ทำไม่ได้ก็เป็นทุกข์ อย่างนี้ก็ไม่ถูกอีกเหมือนกัน และความรักที่ไม่ใช่กิเลสโดยตรง เป็นกิเลสโดยอ้อม กิเลสคือกิเลสที่เป็น อัตตา ความเห็นแก่ตน ความเห็นแก่ตัวตน แม้ไม่เกี่ยวกับกาม แม้แต่ความรักนี้ ก็ยังเป็นปัญหาเหมือนกัน สรุปความว่า ความรักก็เป็นปัญหา ไม่ใช่ความสงบ ต้องควบคุมๆ นี่ถ้าเพิกถอนหรือเลิกถอนได้เสียทั้งหมดก็จะเป็นการดี จะไม่มีความวุ่นวายใจเลย จะต้องเปลี่ยนความรักของกิเลส เป็นความรักของธรรมะโดยธรรมะ ชีวิตที่ควบคุมความรักได้ หรืออยู่เหนืออำนาจ influence ของความรัก เราควรจะเรียกว่า ชีวิตใหม่ หรือไม่ เข้าใจว่าคงคิดได้ทุกคน
ที่นี้ก็จะพูดถึงเรื่องที่สอง คือ ความโกรธ ตรงกันข้ามกับความรัก คือความโกรธ ความไม่รัก นี่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร มันก็เป็นไฟอีกชนิดหนึ่งซึ่งเผา หรือแทง หรือหุ้มห่อ หรือครอบงำจิตใจ ทุกคนรู้จักความโกรธดี แล้วก็มีปัญหามาก ไม่อยากจะโกรธ มันก็โกรธ ไม่อยากจะโกรธ มันก็โกรธเนี่ย ถ้าเราควบคุมความโกรธได้ บังคับความโกรธได้เนี่ย มันจะมีความสงบสักเท่าใด คิดดูเอง
ที่นี้ก็ที่สาม ความเกลียด ความเกลียดคนละอย่างกับความโกรธ ไม่ได้เหมือนกับความโกรธ ในความเกลียด มันเป็นความไม่ชอบเหมือนกันแหละ แต่มันในความหมายหนึ่ง ไม่ชอบๆ สิ่งที่น่าเกลียดมา เราก็เกลียด ของสกปรก ของสกปรกมาเราก็เกลียด หรือว่าอะไรๆ ที่มันน่าเกลียด เราก็เกลียด เราอดไม่ได้ เราอด เราบังคับมันไม่ได้ แล้วเราก็ต้องเกลียด และความเกลียดมันก็ทรมานจิตใจของเรา ถ้าเราไม่มีอะไรที่ต้องเกลียด ไม่มีอะไรที่ต้องรัก ไม่ต้องรัก ไม่ต้องเกลียด เราจะมีความสงบสุขสักเท่าไร เหมือนพระอรหันต์ พระอรหันต์อยู่เหนือความรู้สึกที่เกลียด หรือไม่เกลียด ทั้งสองอย่าง ทั้งไม่เกลียด และไม่ไม่เกลียด หรือว่าไม่มีปัญหา สิ่งที่น่าเกลียด ไม่มีสิ่งที่น่าเกลียด และไม่มีสิ่งที่ไม่น่าเกลียด แก่ผู้ที่มีธรรมะถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ว่าเราไม่เกลียด แล้วมันจะมีอันตรายแก่เรา และเราไม่เกลียดมันก็ไม่มีอันตรายแก่เรา เราไปเกลียดเข้า มันก็ทำอันตรายแก่เรา เราไม่เกลียดดีกว่า โลกนี้กำลังมีปัญหาอย่างยิ่งกับความเกลียดใช่ไหม คือผิวขาวเกลียดผิวดำ ไม่ควรจะมีปัญหานี้ใช่ไหม ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง เราก็ไม่เกลียด ไม่ต้องเกลียด
ที่จริงถัดไปอีกที่สี่ เป็น ความกลัวๆ เป็นปัญหาที่ทุกคนกำลังมี ทุกคนกำลังมีสิ่งที่กลัว แล้วความกลัวนั้นมาจากความโง่ มาจากความเห็นแก่ตัว มาจากความอยาก ของตัว ที่มันอยากไปในทางที่ตรงกันข้าม ก็เกิดความกลัว เดี๋ยวนี้มีความกลัวทุกๆชนิดอยู่ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรากลัวปรมาณู ถึงเราจะกลัวมันก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าเรากลัวเราก็เสียสติปัญญา เสียความสามารถในการที่ต่อสู้และป้องกัน งั้นเราไม่กลัวดีกว่า ความกลัวมาจากสัญชาตญาณของตัวตน instinct of egoism มันก็ต้องกลัวตามสัญชาตญาณ ถ้าเรามีความรู้ไม่เพียงพอ เราก็ควบคุมสัญชาตญาณอันนี้ไม่ได้ เรียนธรรมะเพียงพอ เราควบคุมได้ ความรู้หรือปัญญาเรื่อง อนัตตา nonself ช่วยเพิกถอนความกลัว ไม่ให้เกิดความกลัว ป้องกันไม่ให้เกิดความกลัว ท่านทั้งหลายคงจะมองเห็นว่า ความกลัวมันไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่ความทุกข์ ไม่มีประโยชน์อะไร งั้นเราทำอะไรได้ กับสิ่งที่น่ากลัว โดยไม่ต้องกลัว มีชีวิตโดยไม่ต้องกลัว เมื่อเราจะต่อสู้กับข้าศึกโดยไม่ต้องมีความกลัว ถ้าเรากลัวเราสูญเสียสมรรภาพ สูญเสียสติปัญญา สูญเสียความฉลาด แล้วเราก็จะแพ้แก่ข้าศึก แต่เราต่อสู้กับความกลัว มีสติปัญญาเต็มที่ เราก็มีทางชนะข้าศึก งั้นความกลัวไม่มีประโยชน์อะไร
ที่นี้ยังมีอาการกิเลสอย่างอื่นอีกเช่นว่า ความวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ มีความระลึกนึกถึงในสิ่งที่รักที่พอใจ หยุดไม่ได้ในสิ่งที่เป็นที่รัก ที่พอใจ นั่นแหละที่รัก หยุดความคิดไม่ได้ นั้นแหละเราเรียกว่า อาลัยอาวรณ์ วิตกกังวล เราหยุดความคิดไม่ได้ เราก็ต้องคิดนึกอยู่เสมอ เช่นเป็นเหตุให้นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ วิตกวังกล
นี่ต่อไปก็มาถึง อิจฉาริษยา เกิดเองโดยสัญชาตญาณ ไม่มีใครสอน เด็กๆ ก็อิจฉาริษยาเป็น เกิดได้เองโดยสัญชาตญาณ พอเกิดขึ้นแล้วก็ คนที่อิจฉาริษยาเป็นผู้มีความทุกข์อย่างยิ่ง ผู้ที่ถูกอิจฉาริษยาไม่รู้สึกอะไรเลย อิจฉาริษยา
ที่นี้อันสุดท้าย ก็ความหึง ความหวงๆๆ ขี้เหนียวตระหนี่ ถ้ามากไปก็เป็นความหึงอย่าง ภรรยาหึงสามี นี่คือตัวอย่างเท่านั้น ยังมีอีกมากมาย เวลาไม่มีพอ ตัวอย่างมากมาย มันมีมากมาย เอามาเป็นตัวอย่างเพียงไม่กี่อย่าง เพื่อให้ทราบว่า ถ้าเราไม่มีอาการของกิเลสเหล่านี้แล้ว เราก็จะมีความสุข มีความสบาย มีความสงบสักเท่าไร เนี่ยก็ชีวิตใหม่ เมื่อเราไม่มีอาการของกิเลส เหล่านี้แล้ว เราก็จะมีความเป็นอยู่อีกแบบหนึ่ง คือสงบสุขๆ เราเรียกว่าชีวิตใหม่ ในความหมายหนึ่ง
ที่นี้ช่วงเวลาที่เหลืออีกนิดเดียว จะพูดถึงความหมายที่สอง คือว่าเราจะใช้ชีวิตจิตใจของเราได้ตามต้องการ หนึ่งเราจะบังคับให้มีความสุขเมื่อไหรก็ได้ เช่นเราปฏิบัติอาณาปานสติสำเร็จ เราอยากจะมีความสุขเมื่อไหรก็ได้ ความสุขแท้จริงเมื่อไหรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นผู้อำนาจเหนือจิต แปลว่าเรามีความสุขได้ทันที ทันทีตามที่เราต้องการ นี่ข้อที่สองธรรมะที่เราปฏิบัติดีแล้ว ฝึกดีแล้วน่ะ จะช่วยให้อวัยวะ สำหรับรู้สึกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสมถรรภาพมาก อย่างกับว่ามีของทิพย์ อย่างกับว่าเป็นของทิพย์ divine นี่เรียกว่าเกินกว่าธรรมดา ๆ จะมีตาที่มีสมรรภาพมากกว่าธรรมดา จะมีหูที่มีสมรรภาพมากกว่าธรรมดา มีจมูก มีลิ้น มีสัมผัสอะไรก็ตาม มากกว่าธรรมดา ราวกับว่าหรือเหมือนกับว่าเป็นของทิพย์ เนี่ยข้อที่สาม เราอาจจะบังคับความรู้สึก บังคับจิต หรือบังคับความรู้สึกให้อยู่ในความถูกต้องเสมอไป นี่เราเรียกว่าบังคับจิตได้ แบ่งเป็นสามอย่าง บังคับเวทนาได้ บังคับสัญญาได้ บังคับวิตกได้ บังคับเวทนาคือ feeling ได้ ไม่ให้ feeling ปรุงเป็นกิเลสได้ หรือว่ากระทั่งไม่รู้สึกเป็น feeling ที่เราไม่ต้องการ เราบังคับได้ เนี่ยบังคับเวทนาได้ บังคับสัญญาคือความจำ หรือความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ว่าเป็นอย่างนี้ได้ ไม่สำคัญไปในทางที่เป็นทุกข์ และบังคับวิตกะ คือบังคับความคิดๆ บังคับความคิดให้อยู่ในความถูกต้องได้ ไม่ให้คิดก็ได้ ให้คิดก็ได้ คิดแต่อย่างถูกต้องก็ได้ เนี่ยบังคับเวทนา บังคับสัญญา บังคับวิตกได้ เพราะมีธรรมะ บังคับเวทนาเช่นเวลาเรากินอะไรอร่อย อร่อยมากๆ เราก็โง่ เป็นบ้าไป เพราะความหลงในความอร่อย แต่ถ้ามีธรรมะ เราพอ บังคับไม่ให้มีเวทนาได้ ไม่ให้โง่ ไม่ให้หลง ให้เห็นว่าอร่อย เช่นนั้นเอง ๆ อร่อยเช่นนั้นเอง อร่อยก็ไม่มาชนะเรา ไม่มาเป็นนายเรา ไม่มาบังคับเราให้ทำอะไรอย่างโง่ๆ ไม่ใช่เราบังคับว่าไม่ให้อร่อย มันอร่อยก็อร่อย ไม่ได้บังคับว่าอย่าอร่อยหรือไม่อร่อย มันอร่อยก็อร่อย แต่อร่อยไม่บังคับเราได้ เราบังคับความอร่อย ไม่ให้ความอร่อยบังคับเราให้ทำผิดๆ หรือทำโง่ๆได้ มองเห็นได้ง่ายที่สุดว่าเดี๋ยวนี้ทั้งโลกๆ กำลังเป็นทาสของความอร่อย แล้วก็บันดาลให้สร้างสิ่งที่ส่งเสริมความอร่อย แล้วก็แย่งชิงกันครองโลกเพื่อครองความอร่อย แล้วก็ได้ทำสงครามกันไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่เรียกว่า ซาตานหรือมารหรือความเลวร้ายมาจาก ความโง่ในความอร่อย นี้เรียกว่าบังคับเวทนาได้ ที่นี้ก็บังคับสัญญาๆ เราจำไม่เก่ง เราจำไม่ดี เราคิดไม่ออกเรานึกไม่ออก และเดี๋ยวนี้เราก็จะจำดีคิดออก และเราจะบังคับสัญญาในความหมายหนึ่งเพื่อไม่ให้มั่นหมาย ไปในทางที่เป็นโทษ ยกตัวอย่างที่จะบังคับสัญญาว่าไม่ให้สำคัญว่าผู้หญิง ไม่ให้สำคัญว่าผู้ชายอย่างนี้ก็ทำได้ และปัญหาที่เกิดจากความเป็นผู้หญิง ความเป็นผู้ชายมันก็ไม่มี แล้วก็จิตใจก็สบาย เนี่ยบังคับสัญญา บังคับ perception เนี่ย ได้ทุกอย่าง เพื่อให้มันถูกต้อง ถูกต้องคือมันไม่มีความทุกข์ บังคับสัญญาได้อย่างนี้ ที่นี้สุดท้ายคือบังคับกิเลส กิเลสโดยตรง ก็คือบังคับความทุกข์นั่นแหละ บังคับความทุกข์ไว้ไม่ให้เกิดขึ้นได้ ในข้อนี้ถ้ามีธรรมะพอแล้ว ปฏิบัติธรรมะพอแล้ว มันบังคับสิ่งที่เรียกว่า attachment ความยึดมั่นถือมั่นได้ บังคับไม่ให้เกิด attachment ในดีหรือในชั่วได้ attachment ไม่เกิดแล้วมันก็ไม่มีความทุกข์ attachment นั่นคืออุปทาน ๆๆ เรียกในบาลีว่า อุปทาน เราจะบังคับไม่ให้อุปทานเกิด อุปทานเกิด concept ของ egoism ก็ไม่เกิด มันก็เลยไม่อาจเกิดกิเลส เนี่ยบังคับไม่ให้เกิดกิเลสได้ ก็สิ้นกิเลส เป็นผลดีอันสุดท้าย รวมความได้ว่า เราสามารถบังคับชีวิตนี้ให้มีประโยชน์แก่เราได้ทุกอย่างเลย เช่นอย่างทีแรกเราบังคับให้มีความสุขเมื่อไหรก็ได้ อย่างที่สองบังคับให้มี อายตนะ ตา หูเป็นต้น ให้วิเศษเหมือนกับเป็นของทิพย์ก็ได้ แล้วก็บังคับเวทนา สัญญาและวิตกได้ และก็บังคับความยึดมั่นถือมั่น คืออุปทาน ไม่ให้เกิดก็ได้ ก็เลยหมดปัญหาด้วยประการทั้งปวง ๆ ไม่มีสักนิดเดียวที่จะให้กิเลสเกิดได้ ความทุกข์เกิดได้
ถ้าสังเกตดูให้ดี ท่านจะรู้สึกเองว่ามันเป็นชีวิตใหม่ ใหม่ที่สุด ใหม่อย่างยิ่ง supreme เลย เนี่ยคือสิ่งที่ท่านจะได้รับจากการใช้ธรรมะให้เป็นประโยชน์ เรื่องแรกท่านทั้งหลายเรียน เรียนศึกษาธรรมะ เรื่องที่สองท่านปฏิบัติ ๆๆ ธรรมะ เรื่องที่สามคือเรื่องนี้ท่านได้รับผลๆๆ ของการปฏิบัติธรรมะ ขอให้มองเห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง ในสิ่งเหล่านี้ ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ด้วยกันทุกคน ในที่สุดนี้ขอแสดงความยินดีในการที่ท่านทั้งหลายได้กระทำอย่างนี้ ได้กระทำอย่างนี้ ขอแสดงความยินดีด้วยเป็นอันมาก ในที่สุดขอขอบคุณ ๆๆ ท่านทั้งหลายที่มาที่นี่ และทำให้สถานที่นี้มีประโยชน์ ได้ใช้ประโยชน์ได้ ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบคุณเราๆ เราขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่มาที่นี่ ทำให้สถานที่นี้มีประโยชน์ เนี่ยขอขอบคุณท่านทั้งหลาย และขอปิดประชุม