แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
) วันนี้วันสุดท้าย ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่อยากจะให้สังเกต ลักษณะพิเศษ ลักษณะพิเศษของเลข ๓ เลข ๓ ดูคร่าว ๆ ก่อนก็ได้ เลข ๓ เกี่ยวข้องอย่างไร ที่ราก ที่ราก จะเขียนผิดแล้ว วินัย วินัยเขียนเป็นศีลไป วินัยมีไหม อยู่ข้างล่าง ข้างล่าง อยู่ข้างล่างสุด วินัย สุตตะ วินัย อภิธรรม สุตตะ วินัย อภิธรรม ๓ ได้รวมเป็นลำต้น ราก ๓ ราก รวมเป็นลำต้น ๓ ตอน เรื่องปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็ออกผลเป็นมรรค ผล นิพพาน นับเพียง ๓ มรรคหนึ่ง ผลหนึ่ง นิพพานหนึ่ง นับเป็น ๓ โสดา ข้างซ้าย สกิทาคา ข้างขวา มีมรรคและผล อนาคา ข้างซ้าย อรหัต ข้างขวา มีมรรคและผล และก็มีนิพพาน ทีนี้ก็ในส่วนล่างสุด ส่วนรากเป็นปริยัติ ตรงกลางลำต้นเป็นปฏิบัติ กลุ่มข้างบนเป็นปฏิเวธก็คือ ๓ เหมือนกัน แล้วเรื่องของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ อีกเหมือนกัน รวมอยู่ที่นี่ แต่ว่า ไม่ได้เขียนเป็นตัว พระพุทธเป็นผู้ตรัสรู้สิ่งเหล่านี้ พระธรรมก็คือสิ่งเหล่านี้ พระสงฆ์ก็คือผู้ปฏิบัติและได้รับผลของสิ่งเหล่านี้ มีเลข ๓ ตั้ง ๕ ชุด สุตตะ วินัย อภิธรรมชุดหนึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญาชุดหนึ่ง มรรค ผล นิพพานชุดหนึ่ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธชุดหนึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อีกชุดหนึ่ง ๕ ชุด อยู่ในจำนวนเลข ๓ จะเอาชุดไหนเป็นความหมายที่ศักดิ์สิทธิ์หรือมีค่าก็ได้ทั้งนั้นนะ เลข ๓ นี่มีความหมาย
เรื่องจะจบแล้ว ที่อยากจะให้รู้ลึกลงไปก็คือว่าพระพุทธศาสนาเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องของธรรมชาติ เรื่องกฎของธรรมชาติ เรื่องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ เรื่องมีผลเกิดขึ้นตามสมควรแก่ปฏิบัติ เคยบอกให้ทราบมาก่อน ๆ แล้วว่าศาสนาในโลกแยกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือว่ามีผู้สร้าง เป็น Creationist ศาสนาที่ถือว่ามีผู้สร้าง ก็มีอยู่หลายศาสนา เช่นศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่น ๆ ส่วนศาสนาอีกพวกหนึ่งนั้นถือว่า Evolutionist เป็นไปตามวิวัฒนาการของธรรมชาติ ไม่ต้องมีผู้สร้าง รู้ไว้สำหรับพูดให้ถูกต้องว่าพุทธศาสนาไม่มีเนื้อที่สำหรับให้ผู้สร้าง ถ้าจะให้มีผู้สร้างก็มิใช่บุคคล มิใช่บุคคล มิใช่วิญญาณอย่างที่มีความรู้สึกอย่างบุคคล แต่เป็นกฎของธรรมชาติ เรื่องเหล่านี้ เรื่องทั้งหมดนี้มันก็มีลักษณะเป็นเรื่องกฎของธรรมชาติ และการปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ และการได้รับผลตามการปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ ถ้าพิจารณาดูทั้งหมดนี้แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีเนื้อที่เหลือไว้สำหรับผู้สร้าง ซึ่งจะเป็นพระเจ้าหรือจะเป็นอะไรก็ตามเถิด แล้วแต่ ที่เขาเรียกว่าผู้สร้าง ผู้สร้างมันไม่มี
นี่ดูเรื่องราก ชั้นรากกันก่อนว่าสุตตะ วินัย อภิธรรม นี่ก็เป็นการแจก การจัด การแบ่ง แบ่งให้เป็นหมวดกันตามหน้าที่ หรือตามความตื้นลึกหนาบาง เดี๋ยวนี้มันแบ่งออกเป็นชัด ๓ อย่างนี้เรียกว่า สุตตะ วินัย อภิธรรม หรืออภินัย สุตตะ อภิธรรม ก็แล้วแต่จะเรียงลำดับ ชาวโบราณ คนโบราณพูดติดปากจะเป็นพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ อภิธรรมเรียกว่าพระปรมัตถ์ เอาวินัยไปไว้ข้างต้นก็ได้ และสุตตะ และอภิธรรม แต่ผมเขียนอย่างนี้ เพราะอะไร ให้วินัยเป็นราก เป็นรากที่สำคัญ เป็นรากที่ลึกที่สุด ก็เหลือ ๒ ข้าง เป็นสุตตะ กับอภิธรรม ก็หมายความว่าเรื่องของธรรม ธรรมชั้นที่ธรรมดา เรียกว่าสุตตันตะ ชั้นธรรมดา ๆ ส่วนธรรมที่ลึก ลึกไปในทางภาษา ลึกไปในทางมองในแง่ลึกเกินจำเป็น ที่ลึกเกินจำเป็น ไม่มีความจำเป็นแต่ว่าสบาย เป็นที่สบายแก่ผู้มีปัญญา ก็เรียกว่าอภิธรรม ในพระไตรปิฎกใช้คำว่าอภิธรรม ไม่ได้ใช้คำว่าปรมัตถ์เหมือนภาษาชาวบ้าน ภาษาชาวบ้านเขาเรียกอภิธรรมว่าปรมัตถ์ แล้วที่เขียนเอาสุตตันตะไว้ สิ่งแรกซ้ายมือสุดอ่านมาก่อนแปลว่าสุตตันตะนั่นแหละ (นาทีที่ 10:44) เป็นของเก่าหรือเป็นของตั้งต้น เป็นจุดตั้งต้น การทำสังคายนาก็ถามเรื่องสุตตันตะ ลักษณะสุตตันตะ (นาทีที่ 11:11) เรื่องวินัยมันรวมอยู่ในสุตตันตะ ถ้าอย่างพระไตรปิฎกอย่างมหาญาณเห็นชัดเลย อยู่ในสูตรยาว ๆ เช่น มหาปรินิพพานสูตร เป็นต้น ก็มีเรื่องวินัย คือไม่ได้แยกออก
ในการทำสังคายนาอย่างที่เรียนสอนในหลักสูตรนักธรรมโทนั้นมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง คล้าย ๆ กับพูดกันหลังตอนหลังสุดแล้ว (นาทีที่ 11:44) ถ้าเอาครั้งแรกที่สุด สังคายนาครั้งแรกที่สุด ก็ถามเรื่อง เป็นเรื่อง ๆ ไป ทุกเรื่อง มันก็เกิดเป็นเรื่องยาว เรื่องขนาดกลางไม่สู้ยาว เรื่องสั้น เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องที่ถูกจัดให้เป็นหมวดตามตัวเลข แล้วก็ในอรรถกถา วินัยคือสมันตปาสาทิกา นั่นแหละ (นาทีที่ 12:34) กล่าวไว้ชัดว่า เรื่องวินัย กับเรื่องอภิธรรม เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด รวมอยู่ในขุททกนิกาย(นาทีที่ 12:44) รวมอยู่ในขุททกนิกาย (นาทีที่ 11:46) จะแยกตัวออกไปจากขุททกนิกาย(นาทีที่ 13:01) เป็น ๓ ปิฎกเมื่อไร มันไม่ได้เขียนไว้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้เป็นที่ตกลง เป็นที่แน่นอน เป็นที่ตายตัวว่า แยกเป็น ๓ อย่างนี้ สุตตะ วินัย อภิธรรม
คำว่าสุตตะนั้นแปลว่า ตัวสูตร ตัวระเบียบ ตัวกฎเกณฑ์ ถามเป็นเรื่อง เรื่อง เป็นเรื่อง ๆ ไป แล้วก็มาจัดให้เป็นพวก ๆ เป็นพวกยาว พวกกลาง พวกสั้น พวกเบ็ดเตล็ด ถ้าพวกเป็นหมวด ๆ แล้วเป็นพวกเบ็ดเตล็ด เมื่อก่อนนี้วินัย กับ อภิธรรม รวมอยู่ในขุททกนิกาย (นาทีที่ 13:48) คล้าย ๆ กับว่า หรือเชื่อได้ว่า ในครั้งแรกที่สุด ในครั้งสังคายนาครั้งที่ ๑ มันมีแต่นิกาย ๕ หรือ นิกาย ๔ โดยเว้นอังคุตตรนิกายที่บอก รวบรวมไว้ตามจำนวนเสีย เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่รวมอยู่ในส่วนใหญ่ มีอยู่ในส่วนใหญ่ แต่เมื่อแยกออกมาให้เป็น หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นี้ก็แยกออกมาได้ ก็ไม่แปลก คือมันก็ยังไม่แปลก หรือไม่มากไปกว่าส่วนใหญ่ มันก็ได้เป็น ๔ นิกายเท่านั้น ทางมหายานยังนับเป็น ๔ นิกายอยู่ ของเรานับเป็น ๕ นิกายขึ้นมา ที่เป็นมหาเปรียญก็จะได้พบเมื่อเรียนธรรมบทว่าพระพุทธเจ้าตอบจักกุปาระ(นาทีที่ 15:02) ว่า มีธุระอยู่ ๒ คือคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ถ้าคันถธุระคือเรียนปิฎกทั้ง ๓ หรือ ๒ ปิฎก หรือปิฎกใดปิฎกหนึ่ง คำพูดเหล่านี้มันเป็นคำพูดที่ว่าทีหลัง ว่าทีหลังว่าสมัยแต่งหนังสือธมฺมปทคาถา (นาทีที่ 15:27) นั่นเอง ในสมัยพระพุทธเจ้าแท้ ๆ ยังไม่ถึงปลายพุทธกาลด้วยซ้ำไป สิ่งเหล่านี้ยังไม่ถูกแยกเป็น ๓ ปิฎก มันมีแต่ว่าธรรมะสอนว่าอย่างไร ธรรมะสอนว่าอย่างไร ยิ่งถ้าเป็นตอนต้นๆ พระพุทธกาลด้วยแล้ว คำว่าพระไตรปิฎกนี้ยังไม่มีทาง ไม่มีแววว่าจะโผล่ขึ้นมาได้ แม้ในครั้งนิพานแล้วใหม่ ๆ หยก ๆ ทำสังคายนานี้ก็เชื่อว่า ทำสังคายนาเป็นเพียงนิกาย นิกาย ๔ หรือนิกาย ๕ เท่านั้นเอง แต่หลักฐานอันนั้นมันลบหายไปหมดแล้ว มันเหลืออยู่ปรากฏชัดเดี๋ยวนี้มันเป็นปิฎก ๓ เป็นแยกเป็นอย่างนี้ ๆ
เอาละ เป็นอันว่าจะอะลุ่มอล่วยกัน เพราะว่ามีครบ ๓ แล้ว ครบ ๓ มาตั้งแต่ครั้งพระพุทธกาล เป็นการบัญญัติ เพื่อความเรียบร้อยแห่งหมู่คณะหรือเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ มีชีวิต มีระบบชีวิตที่ส่งเสริมการปฏิบัติ ข้อบัญญัติเหล่านี้เรียกว่า วินัย วินัย จะขอพูดสักหน่อย แต่ไม่ใช่พูดให้ถอยศรัทธา แต่พูดให้ทราบเท่านั้นแหละว่า ในสมัยหรือข้อความในพระไตรปิฎกนั่นเองที่เขียนไว้ชัด เล่มแรก เล่มต้นว่า ในศาสนาพระพุทธเจ้าบางพระองค์ไม่ได้บัญญัติวินัย ไม่ได้บัญญัติวินัย คงจะยุ่งกันพอใช้ ไม่ได้บัญญัติวินัย ฉันอาหารเวลาเย็น หรือจะทำอะไรชนิดที่ห้ามไว้ ในวินัยก็ไม่ได้ห้ามไว้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่ได้บัญญัติวินัยมีระยะสั้น เสื่อมสูญไปโดยเร็วสิ้นสูญไปโดยเร็ว แต่กลับมีบางแห่งบอกว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าต้น ๆ นั้นมีพระอรหันต์มากกว่า นี่แสดงว่าวินัย ถ้าบัญญัติก็ต้องถือ ถ้าไม่บัญญัติก็ไม่ต้องถือ ก็ไม่ได้ถือ แต่โดยเหตุที่ผู้หมดกิเลสแล้วย่อมรู้เองว่าอะไรควรอะไรไม่ควร เพราะฉะนั้นเขาไม่ทำเอาเอง ไม่ทำเอาเอง โดยที่ไม่ได้มีวินัยบังคับ นั่นเป็นความบริสุทธิ์ใจของท่านหรือเป็นความเป็นผู้ดีแท้ของท่าน ท่านก็ไม่ละเมิดวินัย ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถึงกับเป็นพระอรหันต์ บอกเองอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ เดี๋ยวนี้ปฏิบัติบัญญัติวินัยมากมายเหลือเกิน เรียกว่ามหาศาล แต่ก็ยังไม่ค่อยจะสำเร็จประโยชน์ เพราะไม่มีใครรักษาเสียอีก ถึงแม้สุตตันตะหรืออภิธรรมก็นับว่ามีน้อยมาก ในศาสนาทีแรก ในพระพุทธเจ้าองค์แรก ๆ มาหนาแน่น ถี่ยิบ ละเอียดขึ้น พระพุทธเจ้าองค์นี้ ถ้าถือเอาตามหลักของพระไตรปิฎกที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้
ข้อที่น่าสังเกตมีอีกอย่างหนึ่งว่า เราสอนกันมาว่า พระอภิธรรม ๒๑,๐๐๐ ธรรมขันธ์ เอ้ย, พระวินัย ๒๑,๐๐๐ ธรรมขันธ์ พระสุตตันตะ ๒๑,๐๐๐ ธรรมขันธ์ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คงจะนึกได้นะ ในหนังสือเรื่องสังคายนา แต่เดี๋ยวนี้เล่มหนังสือที่ปรากฏอยู่จริง ๔๕ เล่มนั้นน่ะ วินัยมีเพียง ๘ เล่ม อภิธรรมมี ๑๐ กว่าเล่ม นอกนั้นเป็นสุตตันตะทั้งนั้น จาก ๓๓ เป็น ๔๕ เป็นวินัย เอ้ย, เป็นอภิธรรมเล่ม ๑ ถึง ๘ เป็นวินัย นอกนั้นเป็นสุตตันตะ มีหลาย มีตั้ง ๒๐ กว่าเล่ม ขัดกันอยู่ในเรื่องของธรรมขันธ์ที่เขาแจกไว้ให้เราเรียน เรื่องนี้รู้ไว้ก็ได้ แต่ไม่ใช่สำหรับคัดค้าน สำหรับไปทำลาย ความเชื่อของคนรุ่นเก่า แต่ผมบอกให้รู้ตามที่สังเกตเห็นว่าเอาเล่มหนังสือพระไตรปิฎกเป็นหลักก็แล้ว มันไม่ตรงกันตามที่เขาพูดกันไว้ว่า สุตตันตะกับ วินัยมีอย่างละ ๒๑,๐๐๐ ส่วนอภิธรรมมี ๔๒,๐๐๐ หลักฐานมีอยู่จริงไม่เป็นอย่างนั้น หรือเขาจะนับเป็นอย่างอื่นก็ได้ เราเอาปริมาณมาตวงเอา
ทีนี้เมื่อไม่ได้บัญญัติ เมื่อไม่ได้บัญญัติวินัยจะมีศีลกันอย่างไร ก็มีศีลตามที่ประพฤติปฏิบัติกันอยู่เป็นแบบอย่างอย่างไร แล้วก็ไอ้ความรู้สึกเคารพตัวเอง นับถือตัวเองมันก็ทำให้มีความรู้สึกว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ แล้วคงจะถือศีล วินัย ต่างกันมากแต่ละองค์ บางองค์นึกขึ้นมาถือแต่ไม่มาก บางองค์ก็ไม่มาก ความที่มันไม่มีระเบียบ มันก็ทำให้รวนเร รวนเร มันก็สูญสิ้นไปเร็ว ฉะนั้นความมีวินัยจึงจำเป็น ประโยชน์คือหมู่คณะมันจะอยู่กันได้ไม่ทะเลาะวิวาทกัน การวินัย อีกอย่างหนึ่งก็จะได้มีชีวิตชนิดที่ส่งเสริมแก่การปฏิบัติธรรม ถ้ามีวินัย การเป็นอยู่ในชีวิต มันจะอยู่ในลักษณะที่ส่งเสริมการปฏิบัติพระธรรมได้โดยง่าย เขาจะแจกพระวินัยไว้มากมาย อานิสงส์ของวินัยไว้มากมายกี่อย่างก็ตามใจ ถ้าที่เป็นอย่างสำคัญที่สุด ก็มีอยู่อย่างนี้ เมื่ออยู่กันอย่างผาสุก ก็มีระเบียบวินัย แล้วก็ระบบระเบียบการเป็นอยู่นั้นส่งเสริมให้ง่ายในการที่จะปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
ทีนี้คำว่าศีล สมาธิ ปัญญานี่ ก็มีรายละเอียดอย่างที่เรียนมาแล้วนั้น เยอะแยะมาแล้ว ในหลักสูตรนักธรรม แต่ถ้าจะให้ง่าย ให้สั้น ให้เป็นสากล สากลตลอดทั้งโลกเลย สิกขา ๓ นี่ควรจะพูดว่าความถูกต้องทางกาย วาจา ศีลความถูกต้อง ทางกาย วาจา สมาธิความถูกต้องทางจิต ปัญญาความถูกต้องทางความคิดเห็น คือทิฏฐิ ความคิด ความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ อะไรก็ตาม ศีล ความถูกต้องทางกาย ทางวาจา พูดไว้อย่างนี้ มันพอ นั่นคือว่าทำให้กาย วาจามีความถูกต้องไม่เกิดโทษเกิดทุกข์ หรือโกลาหลวุ่นวายขึ้นมาเพราะกาย วาจา เพื่อประโยชน์แก่ตัวเองก็ได้ เพื่อประโยชน์แก่คนผู้อื่นก็ได้ ในความถูกต้องของ กาย วาจา เรียกว่าศีล ความถูกต้องของจิต คือจิตถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติไม่อบรม มันไม่ถูกต้องพอ มันใช้ประโยชน์ได้น้อย ดังนั้นจึงมีวิธีฝึกจิต ฝึกจิตตามวิธีของสมถะ สมาธิ จิตจะอยู่ในความถูกต้อง ในขอบวงของความถูกต้องของธรรมชาติ เป็นจิตที่มีสมรรถภาพมากมายเต็มที่จะใช้ทำอะไรได้นี่ ตลอดถือว่าอยู่สบาย อยู่สบาย อยู่เป็นสุขสบาย นี่เรียกว่าความถูกต้องทางจิต ทีนี้เปัญญา ความถูกต้องทางทิฏฐิ ความรู้ ความคิด ความเห็น ความเข้าใจ ความเชื่อ รวมทั้งความรู้ต้องถูกต้อง ถูกต้องทางสติปัญญา เพียงเท่านี้มันก็เป็นสากลแล้ว สามารถจะไปครอบได้ทั้งโลก สอนได้ทั้งโลก ไม่ว่าที่มุมโลกไหน หรือว่าถ้าคนภายนอกเขาจะมาพิจารณาดูอย่างนี้แล้ว เขาก็จะพอใจได้ ได้เอง จะพอใจในพระพุทธศาสนาได้เอง ว่าพระพุทธศาสนามีหลักปฏิบัติถูกต้องโดยอาศัยกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามธรรมชาติว่าเรามีความถูกต้องทางกาย ทางวาจา มีความถูกต้องทางจิต มีความถูกต้องทางทิฏฐิ ความคิด ความเห็น นั่นมันเป็นสากลได้อย่างนั้น
ทีนี้ไม่มีการปฏิบัตินั่น ก็เหมือนที่พูดมาแล้วว่ากลมกลืนกันไป ปฏิบัติแต่อย่างเดียวไม่สำเร็จประโยชน์ ปฏิบัติแต่ปัญญาเป็นไปไม่ได้หรอก ที่ว่าปฏิบัติวิปัสสนาแล้วบรรลุมรรคผลน่ะมันมี สมาธิกับศีล แฝงอยู่ในตัว แฝงอยู่ในตัว เมื่อประพฤติปฏิบัติปัญญาอยู่ จิตมันก็พลอยถูกต้อง ศีลก็พลอยมี ฉะนั้นเมื่อจะระบุไปยัง อย่างเดียว อย่างใดอย่างหนึ่งก็ระบุไปที่ปัญญา เป็นศาสนาแห่งปัญญา ต้องนึกไปถึงหลักอีกหลักหนึ่งว่า เชื่อกันมาแต่โบราณหรือก่อนพุทธกาลก็ได้นะว่า ศรัทธาธิกะ วิริยาธิกะ ปัญญาธิกะ การบรรลุของสาวกก็ดี หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ดี มีลักษณะเป็น ๓ ศรัทธาธิกะ มีความเชื่อเป็นเบื้องหน้า วิริยาธิกะ มีความเพียรเป็นเบื้องหน้า ปัญญาธิกะ มีปัญญาเป็นเบื้องหน้า เราอธิบายกันถูกได้ง่ายตามวิธีของเราก็พวกปัญญาธิกะ มีปัญญาเป็นเบื้องหน้า ส่วนพวกศรัทธาธิกะ มันก็อธิบายยากนะ แต่อาศัยศรัทธา หมดกิเลสได้อย่างไร ดับทุกข์สิ้นเชิงได้อย่างไร นั้นก็ต้องฝากไว้กับศาสนาที่เขามีศรัทธาเป็นเบื้องหน้า โดยเฉพาะศาสนาที่มีพระเจ้า มีศรัทธาในพระเจ้าถึงที่สุด ฝากความเชื่อไว้ทั้งหมดกับพระเจ้า เชื่อพระเจ้าเด็ดขาดลงไป ความเชื่อนั่นนะมันกลบเกลื่อนไอ้ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ เขาก็ไปดับทุกข์ด้วยศรัทธา ดับทุกข์ด้วยศรัทธา พูดกันแต่เรื่องศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อ และก็ความเชื่อเป็นเบื้องหน้า ส่วนพวกปัญญาธิกะนี่ อาศัยกำลังจิต ความเพียรและกำลังจิต ไม่ได้อาศัยศรัทธา แต่การบังคับจิต ข่มจิตให้ไม่รู้สึกเป็นทุกข์ได้ คือฌานทั้งรูปฌานและอรูปฌานที่มันสอนกันอยู่อย่างถึงที่สุดแล้วในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ความรู้เรื่องฌานไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ที่พระพุทธเจ้าไปศึกษากับอุททกดาบส รามบุตร (นาทีที่ 28:19) คือเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเขาก็ถือกันมาตามลำดับ ว่าดับทุกข์หมดแล้วตั้งแต่ทีแรก ปฐมฌาน ทุติยฌาน สูงขึ้นมา สูงขึ้นมา สูงขึ้นมา เมื่อรู้อยู่แค่ไหน ก็เชื่อว่าดับทุกข์ได้แค่นั้น ด้วยอำนาจของฌานนั้น พวกนี้ก็เป็นพวกวิริยาธิกะ คืออาศัยกำลังจิตดับทุกข์ได้ แล้วมันปรากฏว่าไม่พอสำหรับพระพุทธเจ้า ท่านจึงไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ก็มาเสริมในส่วนที่เป็นปัญญา เป็นความรู้ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท รู้เรื่องส่วนลึกด้วยปัญญา และก็ดับทุกข์ได้ เรื่องของวิริยะ เรื่องของศรัทธาจึงมากลายเป็นบริวาร เรื่องที่เคยสูงสุด ยอดสุด เป็นศรัทธา สัทธานุสารีที่มาเป็นชื่อของอริยบุคคลในพุทธศาสนานี้ก็มี แต่ก็ไม่ถึงพระโสดาหรืออย่างมากก็แค่พระโสดา พวกสัทธานุสารี ความสมบูรณ์ถึงที่สุดเมื่อมี ศีล สมาธิ ปัญญา เราจะพูดอย่างนี้ก็คล้ายกับ เท่ากับเข้าข้างตัวเอง ยกย่องตัวเอง แต่ไม่เป็นไร มันไม่มีอะไรมาพิสูจน์ให้เห็นว่ามันมากไปกว่านี้หรือมัน อันนี้มันยังบกพร่องอยู่ ความถึงขนาดสูงสุดของพระพุทธศาสนา คิดได้ในตัวเองว่าไม่ขาดอะไรแล้ว มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวปฏิบัติ อันโน้นเป็นตัวปริยัติ เรียนรู้แล้วก็ปฏิบัติ ทีนี้ก็มีผลเป็นปฏิเวธ แทงตลอด คำว่าแทงตลอดคือความรู้สึกต่อผลที่เกิดขึ้น อันดับแรกเป็นโสดาและสกิทาคา และอนาคาและอรหัต อรหัต มีเป็นมรรคเป็นผล เป็นมรรคเป็นผล เป็นมรรคเป็นผล รู้อยู่แล้ว ผมก็ไม่ต้องอธิบาย รายละเอียดมีอย่างไรก็มีแล้วในหลักสูตรที่เล่าเรียน
นี้คำว่านิพพานนั่น จะต้องทำความเข้าใจกันหน่อย มันมีที่มาหรือเรื่องที่เป็นเหตุผลแสดงว่าเมื่อกิเลสส่วนใดแม้ไม่ทั้งหมด สิ้นไปก็เรียกว่านิพพานส่วนนั้น พระโสดาบันก็มีนิพพานตามแบบของพระโสดาบัน สกิทาคาก็มีนิพพานตามแบบของสกิทาคา อนาคาก็มีตามนั้น อรหัตก็มีตามนั้น แต่เมื่อเอามาสรุปรวมเอาแต่ความหมาย ว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลสโดยสิ้นเชิง แยกไปเป็นคำเรียกไปอีกคำหนึ่ง ไม่จัดอยู่ในจำพวกบุคคล มีบุคคล ๔ คู่ ๘ องค์ แต่นิพพานนั้นไม่ใช่บุคคล เป็นภาวะที่ว่าว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ จึงถือว่าเป็นนิรันดร เป็นนิรันดร จะที่ไหนจะเมื่อไร คราวไหนก็สุดแท้ ไอ้ความที่ไม่มีกิเลสไม่มีทุกข์มีอยู่ เมื่อใดที่กิเลสเกิดขึ้นความทุกข์ก็เกิดขึ้น มันก็ไม่ปรากฏแก่จิตชนิดนั้น ถ้าจิตว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ก็ปรากฏกับพระนิพพาน คล้าย ๆกับพระนิพพานรออยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง ใครทำจิตให้เกลี้ยง ให้เปลื้องกิเลสออกไปได้ ทุกข์ก็ดับไป ความปราศจากกิเลส ปราศจากทุกข์แปลว่านิพพาน นิพพาน
ทีนี้มีปัญหายุ่งยากก็ตรงที่ว่านิพพานใช้หลายระดับ ใช้หลายความหมาย ที่เป็นหลักใหญ่ก็มีอยู่ ๒ คือ สอุปาทิเสสะ กับ อนุปาทิเสสะ ถ้าพูดเป็นนิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ธาตุแห่งนิพพาน ธา-ตุ ธาตุแห่งนิพพานก็เป็น สอุปาทิเสสะกับอนุปาทิเสสะ นี่ก็มีหลักอย่างหนึ่งคือว่า ดับกิเลสสิ้นเชิงแล้ว แต่ว่าอินทรีย์ยังไม่ถูกจำกัด ยังรู้สึกเป็นทุกข์เป็นอะไรได้ จนพระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว แต่ถ้ามีอะไรไปให้เจ็บปวด ก็รู้สึกเจ็บปวดได้ อินทรีย์ยังไม่ถูกจำกัด นี่ผิดกับที่สอนกันอยู่ในหลักสูตรนักธรรม มัชฌิมาในสุตตนิบาต (นาทีที่ 34:01) ตอนต้นก็พูดไว้อย่างชัดเจนเลยว่าสิ้นกิเลสแล้วอินทรีย์ยังไม่ถูกจำกัด เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน ไม่ใช่ว่าเหลือเบญจขันธ์นะ อันนั้นสิ้นไปยังไม่ตายนะ ยังไม่ตายทั้งนั้น ทั้ง ๒ อย่าง ทั้งสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ยังไม่ตายทั้งนั้น ยังไม่ตาย ยังไม่เกี่ยวกับการตายเลย แต่ตอนคำอธิบายตอนท้ายสูตรนั้นเองมีเขวไปเป็น ทำให้เข้าใจ มีเค้าเงื่อนทำให้เข้าใจเป็นว่าอย่างหลังน่ะหมายถึงต่อตายแล้ว อนุปาทิเสส หมายถึงต่อตายแล้ว คัมภีร์วิสุทธิมรรค (นาทีที่ 34:58) ที่เอาไปจากนี้ ไปอธิบายเป็นตุเป็นตะ อนุปาทิเสสเป็นเรื่องนิพพานต่อตายแล้ว แล้วหลักสูตรนักธรรมของเราก็เอามาจากวิสุทธิมรรคนี้ ที่เอามาอธิบายเป็นอย่างนั้น ข้อนี้มันขัดกับในพระบาลีโดยตรง โดยเฉพาะบาลีอิติวุตตกะ ที่มาของนิพพาน ๒ น่ะมีอยู่ในอิติวุตตกะแห่งเดียวเท่านั้น ที่ออกชื่อตรง ๆ ไปอ่านดู ไปศึกษาดู ขอให้ศึกษาดูทุกบรรทัดทุกตัวอักษร ไม่ได้เจอความตายเลย กิเลสสิ้นแล้วแต่อินทรีย์ยังไม่ถูกกำจัด เวทนายังไม่เป็นของเย็น หมายความว่ายังรู้สึกต่อเวทนาอยู่บ้างก็เจ็บปวดขึ้นมา แต่กิเลสหมดสิ้นแล้วทั้งนั้น เป็นพระอรหันต์หมด เป็นพระอรหันต์ที่สิ้นกิเลส เป็นอาสวะแล้วทั้งนั้น มีสูตรอุปมาอยู่ที่อีกสูตรหนึ่งว่า อย่างแรกนั้นอุปมาเหมือนกับว่า หม้อที่เผาในเตา พอเขี่ยออกจากเตาก็ดับเย็น ดับเย็น แต่ยังร้อนนะ ยังจับไหม้มือนะ นี่ดับ เรียกว่าดับ ดับแน่ ดับแล้ว และดับแน่ แต่ว่ายังมีร้อนเหลืออยู่ในนั้น ต้องรอจนร้อนหมด เย็นสนิท ลูกคลำได้สบาย ถึงจะเป็นลักษณะอนุปาทิเสสะ ฉะนั้นอุปาทิที่เหลืออยู่นั้นไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ร่างกาย เป็นกิเลส คล้าย ๆ ว่าเป็นผลความเคยชินแห่งกิเลส
คำพูดที่ทำให้เข้าใจผิด ก็พูดกันอยู่ทั่วไป แม้แต่ในหมู่ชาวบ้านชาววัดก็ เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน เป็นเรื่องผิดหมดเลย เป็นมีตัวตนเข้าสู่พระนิพพานเลย นั่นพระธรรมทายาทเราที่จัดตัวเป็นนักศึกษาอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อนิพพานครั้งสุดท้าย เมื่อนิพพานดับหมดให้พูดว่า ดับเบญจขันธ์ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ต้องมีอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอยู่แล้ว เมื่อยังพระพุทธเจ้ายังเป็น ๆ อยู่นั่น มีอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ก็จะได้อย่างรวดเร็ว ได้มาแล้วตั้งแต่ครั้น ตั้งแต่วันตรัสรู้ด้วยซ้ำไป ก็มีชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ครั้นพอมาถึงวันดับขันธ์ปรินิพพานโดยร่างกายนี้ ดับเบญจขันธ์ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นั่นพูดอย่างถูกต้อง เป็นภาษาธรรม ถ้าพูดอย่างภาษาสมมติ ด้วยภาษาคน ภาษาคนธรรมดาก็พูดว่า เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน แล้วก็ไม่ค่อยพูดให้ชัดว่านิพพานไหน จะโทษเขาก็ไม่ได้ เขาไม่ได้ยืนยันชัด แต่ที่เราจะไปพูดชัดว่า นั่นคือการลุอนุปาทิเสสนิพพานนี่มันผิดหลัก อย่างที่ผมพูดให้ฟังวันก่อนแล้วว่า นิพพาน นิพพานนั่น เกี่ยวกับความตายในทุกความหมาย ความตายก็เป็นเรื่องของความตายไปเถิด แต่คำว่านิพพาน นิพพานนี้ไม่เกี่ยวกับความตาย แม้แต่ความหมายเดียว บรรลุนิพพานถึงที่สุดแล้ว ตั้งแต่ยังไม่ตาย ยังร่างกายยังไม่ตาย มันจึงดับร่างกายดับเบญจขันธ์ได้ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุที่ได้อยู่แล้ว ที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนี้มันอาจจะเกินจำเป็นที่จะต้องพูดก็ได้ แต่รู้ไว้ก็ดีเหมือนกัน
ทีนี้ที่จะให้รู้ยิ่งขึ้นไปอีกก็คือว่า นิพพาน นิพพานนี้แปลว่าเย็น เป็นภาษาก่อนพุทธกาลมาแต่เดิม คำว่านิพพาน นิพพานแปลว่าเย็น ทำให้เย็นนั่นแหละ พูดศัพท์บาลีว่า นิพพาปยย ( นาทีที่ 39:26) ไปดูในสูตร บางสูตรบางแห่งมี ช่างทองหลอมทองจนเหลวคว้างเป็นขาว เป็นประภัสสร คำนี้ใช้ประภัสสรเหมือนกัน เมื่อทองหรือโลหะถูกหลอมถึงที่สุด จนสีขาวเรืองแสง นั่นเขาเรียกว่าประภัสสรเหมือนกัน สิ่งนั้นประภัสสร ทีนี้ก็ต้องการจะทำให้เย็น ได้ที่แล้วต้องการให้เย็น ก็เอาน้ำรด กิริยานี้เรียกว่านิพพาปยย นิพพาปยย (นาทีที่ 39:56) ทำให้นิพพาน คือทำให้เย็น นี่ภาษาวัตถุ นิพพานแปลว่าทำของร้อนให้เย็น หรือความเย็นแห่งของที่ร้อน เรียกว่านิพพาน ในที่บางแห่ง ที่เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด ที่พูดถึงอาหาร้อน ๆ กินไม่ได้ ต้องรอให้นิพพานจะกินได้ แล้วกิริยาดับของไฟแท้ ๆ ไฟที่เราจุดลุกขึ้นมา แล้วมันดับ ก็ใช้คำว่านิพพานเหมือนกัน ที่เอามาใช้เปรียบอุปมาของพระอรหันต์นิพพานหรือกิเลสที่สิ้นไป โดยไม่มีเชื้อเหลือน่ะ ปัชโช ปัตเสวะ นิพพานัง ปัชโช ปัตเสวะ นิพพานัง (นาทีที่ 40:41) ช่วยจำไว้ให้ดี คำนี้มีหลายแห่ง ในพระบาลี ในพระไตรปิฎก ราวกับว่าการดับแห่งไฟทีเดียวน่ะ ทำให้ ปัชโช ปัตเสวะ นิพพานัง (นาทีที่ 40:58) เสวะ ราวกับว่า นิพพานัง การดับ ปัชโช ปัตตะ แห่งไฟ (นาทีที่ 41:02) ไฟแท้ ๆ นี่ดับลงไปก็เรียกว่านิพพาน นั่นจึงเอาความหมายของมันว่าเย็น เย็น ฉะนั้นมีความหมายในทางภาษาคน ใช้กันอยู่ในบ้านเรือน ในคนธรรมดานี่คืออาหารเย็น วัตถุเย็น ของเย็น สัตว์เดรัจฉานเย็น สัตว์เดรัจฉานที่ฝึกดีจนไม่มีอันตรายใด ๆ อีกแล้ว ก็เรียกว่ามันเย็นแล้วเหมือนกัน นี้ก็มาถึงคน เย็นคือไม่มีผิดร้าย ไม่มีกิเลส แต่ความรู้มันยังน้อย มันก็เอาเลยเย็นน้อย ๆ เย็นระดับต่ำเป็นนิพพานมาแล้วทั้งนั้น คือก่อนพุทธกาล หรือในพุทธกาลบางพวก ยังเอารูปฌานเป็นนิพพาน เอาทุติยฌานเป็นนิพพาน ตติยฌานเป็นนิพพาน จตุตถฌานเป็นนิพพาน อากาสานัญจายตนะ (นาทีที่ 41:59) เป็นนิพพาน (นาทีที่ 42:00-42:07) วิญญาณัญจายตนะ เป็นนิพพาน อากิญจัญญายตนะ เป็นนิพพาน เอาเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นนิพพาน มาแล้ว มาแล้ว อากิญจัญญายตนะ นั่นใช้เป็นชื่อนิพพานหลงปรากฏอยู่ในคัมภีร์ฝ่ายพุทธในพระไตรปิฎกของเราก็มี ตอนโสฬสปัญหา จะมีคำว่า อากิญจัญญะ แทนคำ ว่านิพพาน นิพพานที่ถูกต้อง สมบูรณ์ในพุทธศาสนานี้ก็มี เพราะมันมีอยู่ก่อน เพราะมันเคยนั่นมาก่อน ใช้ปนเปสับสนกันมา ซึ่งคนนอกศาสนามาถามพระพุทธเจ้าเรื่องอากิญจัญญายตนะ (นาทีที่ 42:45) หมายถึงนิพพานน่ะพระพุทธเจ้าก็ตอบให้เลย ให้ไปตามความประสงค์ของเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนั้น นั่นแหละคืออากิญจัญญายตนะ (นาทีที่ 42:53) อย่างนี้ก็มี แต่ให้รู้ว่านิพพาน นิพพานนั่นแปลว่าเย็น และที่ต่ำ ชั้นต่ำสุดที่เคยแปลธรรมบท บาลีธรรมบท (นาทีที่ 43:07) มาแล้ว เรื่องกีสา (นาทีที่ 43:08) ศากยะ กีสา (นาทีที่ 43:11) องค์หนึ่งที่เห็นพระพุทธ เห็นพระสิทธัตถะเดินมา แล้วร้องว่า นิพฺพุโต นูน สา ปิตา. นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุตา นูน สา ภริยา (นาทีที่ 43 นั่นแหละ คำว่านิพฺพุตา นิพฺพุตา ดับแล้ว เย็นแล้วนั่นแหละ ไม่ได้หมายถึงสิ้นกิเลสหรอก คือเย็นอกเย็นใจ เย็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะรู้จักได้ ถ้าบุรุษนี้เป็นลูกของใคร พ่อของเขาก็นิพฺพุตา คือเย็น ถ้าบุรุษนี้เป็นลูกของใคร แม่ของเขาก็นิพฺพุตา คือเย็น ถ้าบุรุษนี้เป็นภัสดาของหญิงใด หญิงนั้นก็เย็น นิพฺพุตา นิพฺพุตา อย่างนี้ไม่ใช่นิพพานสิ้นกิเลส เป็นนิพพานภาษาชาวบ้านใช้ ก็คือนิพพาน ความหมายของนิพพานว่าใช้อยู่กลางบ้าน ถ้าเขามีความเย็นอกเย็นใจ ไม่ร้อนแม้แต่สักนิดเดียวนั่น เขาเรียกนิพฺพุตา ดับเย็น เมื่อรู้ขอบเขตของคำว่านิพพาน ว่ามันกว้างขวางถึงอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เรามาใช้เป็นเรื่องที่หลังจากการบรรลุมรรคผล ถือเป็นสภาพนิรันดร เพราะว่าก่อนแตกเกิดกิเลส มันก็มีนิพพานอยู่แล้ว ประเดี๋ยวกิเลสมา นิพพานก็ไม่ปรากฏ ถ้ากิเลสหายไปนิพพานก็ปรากฏ มันจะมีมรรค มีผล แล้วก็มีนิพพาน ในความหมายที่ว่าสมบูรณ์ที่สุดคือนิรันดร วงใหญ่ข้างบน ในลักษณะที่ตามสัดส่วนของกิเลสดับไปได้เท่าไร ก็มีอยู่ในมรรค ในผล ในมรรค ในผล คือ ๔ โสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ มีการบรรลุนิพพานตามสัดส่วน แต่เขาไม่ค่อยพูดกัน แต่โดยหลักมันเป็นไปได้ คือว่ากิเลสดับไปเท่าไร นิพพานก็ปรากฏเท่านั้น กิเลสมาอีก นิพพานก็ไม่ปรากฏอีก แต่สำหรับพระอริยบุคคล ๔ นี่ นิพพานส่วนที่ดับ กิเลสส่วนที่ดับไปแล้วมันดับจริง มันจึงมีนิพพานเท่านั้น แค่นั้นและก็จริง แล้วก็ออกไป ออกไป ออกไป จนกว่าจะหมดสิ้น นี่คือกฎของธรรมชาติ พุทธศาสนาเป็นศาสนาไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง มีแต่กฎของธรรมชาติ มีหลักของการปฏิบัติ ที่ปฏิบัติแล้วจิตก็เปลี่ยนแปลง ละ บรรเทา บรรเทาสัญชาตญาณได้ สัญชาตญาณมีมากับชีวิต สิ่งที่เรียกว่าชีวิต เป็นการปรุงแต่งเป็นชีวิตน่ะ มีสัญชาตญาณติดมา เราอยากจะพูดว่าสัญชาตญาณประทาน ก็คือสัญชาตญาณว่ามีตัวตน แบบเรียนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องสัญชาตญาณ มีสัญชาตญาณมากมายตามเรื่องของเขา ผมถือว่าสัญชาตญาณมีเพียงอย่างเดียวคือสัญชาตญาณแห่งตัวตน แล้วมันก็คลอดออกมาเป็นสัญชาตญาณแห่งการต้องการอาหารการกินอาหาร การแสวงหา อาหารการต่อสู้ การหลบภัย การสืบพันธุ์ การอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ชีวิตมีสัญชาตญาณที่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลส คือสัญชาตญาณแห่งตัวตน ก็ออกมาเป็นเรื่องของกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะที่ปัญหารบกวนมากที่สุดก็เรื่องสัญชาตญาณแห่งการสืบพันธุ์ ธรรมชาติให้มาเหนือเมฆ เอากามารมณ์อย่างสูงสุดปะหน้าเข้าไว้ ซึ่งยากที่จะควบคุมมันได้ ก็ต้องฝึก ก็ต้องฝึก สัญชาตญาณอันนี้ พระอริยบุคคลเบื้องต้นก็ได้แต่บรรเทา บรรเทา พระอรหันต์ทำหน้าที่เพิกถอนสัญชาตญาณอันนี้แหละ สัญชาตญาณได้ หมดที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ พระโสดาบัน นี่แหละ บรรเทา บรรเทา ปุถุชนนี้ก็มีหน้าที่ที่จะต้องไปแปลงมัน ไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ถ้าภาษาไทยยังนึกไม่ค่อยออก แต่ภาษาฝรั่งมีอยู่คำหนึ่งมันตรงกันเผงเลยว่า Sublimate Sublimate ไอ้สิ่งที่มันมาเพื่ออันตราย Sublimate ไปเพื่อเป็นประโยชน์เสีย เช่นว่า น้ำท่วม น้ำไหลแรงนี้อันตราย Sublimate เอาไปหมุนไอ้เครื่องไฟฟ้า สร้างไฟฟ้าเสีย ไอ้ไฟถ้ามันเป็นธรรมดามันเป็นอันตราย เอามาใช้เป็นประโยชน์เสีย อะไรอะไรที่มาในรูปของอันตราย แล้วเปลี่ยนเป็นให้เป็นประโยชน์เสีย อย่าให้มันเป็นไปในทางร้าย อย่างนี้จะเรียกว่าอะไรก็เรียกเอาเอง เป็นคำสั้น ๆ ก็ยิ่งดี เปลี่ยนกระแส เปลี่ยนทิศทาง เปลี่ยน คนที่มีกำลังมากเป็นอันธพาลก็เปลี่ยนให้มันเป็น คนดีมันมีกำลังมากก็มาใช้ประโยชน์ได้มาก เหมือนช้างตกมัน ถ้าปล่อยไปตามนั้นมันก็อันตรายมาก ก็ Sublimate เอาไปใช้ลากซุง ลากอะไร ก็ลากได้มากลากได้ดีกว่าที่ไม่ตกมัน เพราะมันมีกำลังมาก เปลี่ยนกระแสนั้น ๆ เสียให้เป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์ ลองเปลี่ยนกระแสของกิเลสให้เป็นกระแสของการทำความดีสิ ความฮึดฮัดมานะ บากบั่น อดทน เข้มแข็ง ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติก็เป็นโจร เปลี่ยนกระแสมาเป็นพระ เป็นสัตบุรุษ เป็นพระอรหันต์เสีย ลงความว่าเรามีหน้าที่ต่อสู้ ควบคุม บังคับสัญชาตญาณ ไปศึกษาเรื่องสัญชาตญาณนะแล้วจะพบว่าสัญชาตญาณนั้นออกมาในรูปของโลภะ สัญชาตญาณนี้ออกมาเป็นในรูปของโทสะ ในรูปของโมหะ แล้วของอุปกิเลสทั้ง ๑๖ อย่าง คืออุปกิเลสทั้ง ๑๖ อย่าง ยิ่งเหมาะเอามาแจกดู เอามาแจกดู จะพบว่ามันมาจากสัญชาตญาณแห่งความมีตัวตน แล้วก็มาจากสัญชาตญาณแห่งการกินอาหาร การหาอาหาร การต่อสู้ การสืบพันธุ์ อะไรต่าง ๆ กิเลสเหล่านั้นหรืออุปกิเลสนั้นรบกวนอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่ต่อสู้แล้วกำจัดแล้วบรรเทา เรียกว่าเราน่ะมันมีหน้าที่ หรือมีธรรมดาต่อสู้กับสัญชาตญาณอยู่ตลอดเวลาทุกวันทุกคืน แต่เราไม่ได้ใช้คำ ๆ นี้ ไปใช้คำว่ากิเลสชื่อนั้นชื่อนี้ กิเลสชื่อนั้นชื่อนี้มันไม่ มันเป็นปฏิกิริยา เป็นผลออกมาจากสัญชาตญาณ มีเหตุปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งก็มันก็ประณีตวิเศษ หรือประณีตหรือยุ่งยาก หรือลึกซับซ้อนมากขึ้นไป ถ้าจะพูดเป็นวิทยาศาสตร์เสียเลย เลิกหมด พูดแต่ว่ามีสัญชาตญาณกับการต่อสู้ ควบคุม บังคับสัญชาตญาณ จนกว่าจะชนะโดยเด็ดขาด พูดอย่างนี้ก็เป็นวิทยาศาสตร์ไปเลย ที่แท้ก็ถือพุทธศาสนาเต็มตัว
ขอให้สังเกต ทบทวนดู เลข ๓ น่ะพิเศษมาก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ วินัย สุตตันตะ อภิธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศรัทธาธิกะ วิริยาธิกะ ปัญญาธิกะ ลองใคร่ควรดูมันทั้งหลายหมดเลย ด้วยเลข ๓ แล้วแต่พิเศษ แล้วแต่สำคัญ ขอให้สังเกต ให้ศึกษา เข้าใจ และใช้ประโยชน์ พยายามเอามาพูดจาให้ถูกต้อง แนะไว้เป็นเค้าเงื่อน โดยละเอียดมันไม่มีเวลาพอ พบกันในเวลาอันสั้น มันก็ได้แต่แนะวิธีที่จะไปศึกษาค้นคว้า สังเกตเอาด้วยตัวเอง เท่านั้นเอง เท่านั้นเอง
ภาพนี้ให้ชื่อว่าอะไรดี ฟังดูแล้วจะให้ชื่อภาพนี้ว่าภาพอะไรดี
(นาทีที่ 53:31 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) เอ้า, อะไรอีก ใครว่าอะไรอีก
(นาทีที่ 53:37 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) อะไรนะ มหาโพธิ์ ดีเหมือนกัน อะไรอีก ต้นไม้นิพพาน นี่ก็ดีเหมือนกัน อะไรอีก
(นาทีที่ 53:59 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไม่ใช่ เขาหมายถึงต้นไม้ รูปของต้นไม้ รูปร่างเป็นต้นไม้ ผมเรียกว่า ธรรมพฤกษา ธรรมพฤกษาจำไว้สิ มีต้นไม้ต้นนี้ต้นเดียวพอ สำหรับที่จะศึกษา ปฏิบัติ และสั่งสอนเรื่องธรรมพฤกษา ถ้าอย่างไรก็ทำรูปภาพอย่างนี้ แต่ทำให้ดีกว่านี้นะ เอาไว้สอนทั่ว ๆไปว่าภาพธรรมพฤกษา ไอ้หลักวิชาต่าง ๆ เช่น ชีววิทยา ไอ้พวกนี้เขาก็ชอบทำเป็นรูปต้นไม้อย่างนี้ มันอธิบายง่าย อธิบายได้ง่าย ทำเป็นต้นไม้แล้วมีกิ่งแตกออกไป ทางชีววิทยา นับตั้งแต่เป็นสัตว์ขึ้นมาแล้วแจกเป็นหลาย ๆ แขนงหลาย ๆ สาย เป็นสัตว์บก เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์อากาศ แม้แต่ปลานี่มันก็มีแยกออกไปตามสายของมัน เป็นสาย ๆ สัตว์อยู่ใต้ดิน ก็เป็นสาย ๆ สาย ๆ สัตว์อยู่บนต้นไม้ เป็นสาย ๆ สาย ๆ ของขวัญวันสุดท้ายคือธรรมพฤกษา ใครเป็นช่างเขียนก็เขียนเอาเอง เขียนให้สวยให้ชัด ให้ง่ายกว่านี้ เอาไปไว้สอนธรรมะ ว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังพูดถึงส่วนไหนของต้นไม้ เรากำลังพูดถึงส่วนไหนของต้นไม้ เรื่องพระวินัยเป็นอย่างไร เรื่องพระสูตรเป็นอย่างไร อภิธรรมเป็นอย่างไร ก็เยอะแยะ เหลือประมาณ จะเอาแต่ใจความ วินัยเรื่องควบคุมหมู่ เรื่องทำตัวให้เหมาะสมที่จะปฏิบัตินิพพาน สุตตันตะคือหลักพื้นฐานสำคัญทั่วไป อภิธรรมคือรายละเอียดของหลักพื้นฐานส่วนที่จำเป็น ก็เรียนรู้ปริยัติ ก็จะพบเรื่องศีล สมาธิ ปัญญาโดยปริยัติอยู่ในปริยัตินั้น ทีนี้ก็เอามาทำให้กลายจากปริยัติมาเป็นปฏิบัติ ศีลปฏิบัติอย่างไร สมาธิปฏิบัติอย่างไร ปัญญาปฏิบัติอย่างไร มันก็กลายเป็นปัญญาขึ้นมา แล้วก็สอนหรือแนะนำชาวบ้านให้รู้จักศีล โดยใจความ โดยวิญญาณ อย่ามีแต่ศีลเพียงเพราะรับศีล น่าสงสารน่ะ คนทั่วไปเขามีศีลเพราะรับศีล เดี๋ยวศีลขาดก็รับอีก แล้วไม่รู้ว่าศีลอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่ารับศีล รับศีล มันก็มีศีลล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นแหละจนตายไม่เป็นปัจจัยแก่สมาธิ ศีลชนิดนั้นไม่เป็นปัจจัยแก่สมาธิ ศีลคือการบังคับตัวให้ได้ บังคับความรู้สึกให้ได้ ควบคุมบังคับให้ทำอะไรอยู่ในความถูกต้อง ในร่องรอยของความถูกต้องทางกาย ทางวาจา ในเรื่องกาย ในเรื่องวาจา ในเรื่องความถูกต้อง อยู่ในความถูกต้องนั้นเรียกว่าศีล จะรับศีลก็ได้ ไม่รับก็ได้ สมาทานเอาเองก็ได้ แต่ว่าคนทั่วไปมีปัญญามีความรู้ เปิดธรรมเนียมไปรับ ไปรับ แล้วก็รับแล้วก็มีศีลขึ้นมา สำนักวิปัสสนาบางแห่งตั้งต้นด้วยการรับศีล พอจะทำวิปัสสนา รับศีลเสียก่อนจะได้มีศีล ศีลแบบนี้จนตายก็ไม่มี เพราะมันไม่รู้ว่าศีลเป็นอะไร รักษาศีลจนตายก็ไม่มีศีล พูดคำนี้มันรุนแรงมากนะ แต่มันก็เป็นความจริง รับศีลไม่รู้กี่ร้อยครั้ง กี่พันครั้งกว่าจะตาย จนตายก็ยังไม่มีศีลอยู่นั่นเอง แม้จะมีสมาธิหลังจากนั้น ถ้าทำสมาธิ ตั้งใจทำสมาธิ ศีลเป็นลูกน้องมาเอง ตั้งใจทำปัญญาทำวิปัสสนาเต็มที่ สมาธิก็จะมาเอง ศีลก็จะมาเอง เหมือนอย่างพูดแล้วเมื่อคืน พอตั้งใจเพ่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอว่าตั้งใจเพ่งนั้นน่ะ สมาธิตามธรรมชาติก็มาเอง มาเอง ก็มาเท่าที่มันต้องการ เท่าที่จำเป็นเท่านั้นแหละ แล้วก็ติดอยู่กับความคิดนั่นแหละ อย่างเช่นว่าเราตั้งใจจะ จะอะไร จะยิงปืน จะยิงปืน ยิงปืน ปืนยังลำบากไป จะขว้างดีกว่า จะขว้าง จะขว้างก้อนอิฐก้อนหินไปถูกเป้าหมาย ก็ต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา รู้ว่าขว้างอย่างไร รู้ว่าขว้างอย่างไร เทคนิคของมันน่ะเป็นปัญญา สมาธิตามธรรมชาติมันเกิดขึ้น ก็ลองไปฝึกดู เอาหินไปขว้าง จะถูกขว้างอะไรสักอันหนึ่ง ไอ้ความตั้งใจจะขว้างน่ะมันเรียก เรียกความรู้ เรียกสมาธิ มันเกิดมาเอง เหมือนการที่บังคับ บังคับให้ทำตามนั้นน่ะ ให้ถูกต้องตามนั้นมันเป็นศีลขึ้นมาเอง จะขว้างเป้า ขว้างแม่นสักทีหนึ่ง ก็ยังต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา แต่คนเขาไม่รู้ไม่ศึกษาไม่พูดถึง ไม่รู้จักคุณค่าของมัน นี่เรียกว่าไม่รู้จักคุณค่าของคำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เอามาจากผ่าฟืนกันดีกว่า เพราะว่าทุกบ้านทุกเรือนมันจะต้องผ่าฟืน ไอ้ความรู้ว่าจะผ่าอย่างไรเป็นปัญญา แต่ความที่มันทำให้ตรงเผงไปตามนั้นโดยธรรมชาติของธรรมชาติน่ะเป็นสมาธิ แล้วก็ควบคุมให้ทำอย่างนั้นโดยไม่มีอันตรายมันก็เป็นศีล ในการผ่าฟืนก็มีศีล สมาธิ ปัญญา ในความหมายของมัน มันเป็นหลักสากลตามธรรมชาติ ประหลาดที่สุด ที่ว่าความรู้รอด ล่วงรอดสำเร็จไปได้ ฉะนั้นมันต้องประกอบอยู่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และต้องขอบคุณ ทีนี่พระนิพพานตามธรรมชาติก็เหมือนกับข้างบน เมื่อไรจิตมันว่างจากกิเลส กิเลสไม่เกิดขึ้นไม่รบกวน มันก็จะเย็นในระดับหนึ่ง เป็นนิพพานในระดับหนึ่ง ถ้าว่ากิเลสเกิดขึ้น ๒๔ ชั่วโมง บ้าตายแล้วแหละ ไปคิดดูดี ๆ ถ้ากิเลสมันแรง ทั้ง ๒๔ ชั่วโมง มันก็บ้า มันก็ตายแล้ว แต่นี่กิเลสมันระงับไปตามธรรมชาติ ก็มันหมดเหตุปัจจัยก็เพราะอะไรก็ตาม หรือไม่ก็แต่เวลานอนเวลาพักผ่อนกิเลสมันก็ไม่ได้เกิดขึ้น ฉะนั้นร่างกายมันจึงทนอยู่ได้ ทนอยู่ได้ไม่ต้องตาย ไม่ต้องพิกลพิการ ไม่ต้องตาย นี่พระนิพพานตามธรรมชาติ นิพพานชั่วขณะ นิพพานชั่วสมัยแหละ มันคุ้มครองชีวิตของเราไว้ได้ ฉะนั้นขอบพระคุณนิพพานนี้กันไว้บ้าง ถ้าไม่รู้สึกไม่รู้จัก ไม่ขอบพระคุณแล้วเป็นสัตว์อกตัญญูอย่างลึกซึ้ง อกตัญญูต่อนิพพาน เคยได้ยินไหม เคยได้ยินไหม มันแปลกใช่ไหม แต่ผมว่ามันมี มันมีอย่างนี้แหละ เพราะนิพพานช่วยคุ้มไว้ พูดภาษาแก่หยาบคายพูดคุ้มกะลาหัวมึงไว้ มันจึงไม่บ้า มันจึงไม่ตาย ทำไมไม่รู้จักขอบคุณพระนิพพานกันบ้าง นิพพานชั่วขณะก็มีเรียก ขณิกนิพพาน สามายิกนิพพาน (นาทีที่ 01:03:19) ชั่วขณะ ชั่วสมัย ซึ่งเป็นไปเอง ไม่ได้เกี่ยวกับเจตนาที่จะประพฤติปฏิบัติอะไร ธรรมชาติมันกำหนดว่ากิเลสนั้นมันไม่ได้ลุกขึ้นมาตลอดเวลา มันมีเวลาที่สงบลง ข้ามธรรมชาติไม่ได้ปฏิบัติอะไร มันก็ยังมีเวลาที่นอนหลับ หรือว่าเหตุปัจจัยของกิเลสมันสิ้นสุดลง มันก็หยุด สงบเป็นนิพพานชั่วขณะ ไม่ใช่นิพพานแท้ นิพพานที่จะกลับลุกเป็นไฟ กิเลสก็มาชิงตำแหน่งแทนที่เสียอีก เมื่อไรจิตว่างจากกิเลส เมื่อนั้นเป็นนิพพาน เราก็รู้สึกสบาย นอนหลับ หรือว่าชดเชยกันกับที่มันกิเลสลุกเป็นไฟ เหน็ดเหนื่อยแผดเผา มันชดเชยกันได้ เราก็เลยไม่ตาย ไม่ตาย ฉะนั้นขอให้มนุษย์รู้จักไอ้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างจำเป็นที่สุด มีประโยชน์ที่สุดคือพระนิพพานชั่วขณะตามธรรมชาตินี้กันบ้าง ทางกายมันต้องการการพักผ่อน เหนื่อยแล้วก็ต้องนั่งพักผ่อน ทางจิตมันก็ต้องการพักผ่อน เมื่อกิเลสมันตุ้มรุมพอแล้วมันก็ว่างและพักผ่อน แม้จะไม่ใช่นิพพานจริงก็จำเป็นแก่ชีวิต ไม่ต้องเป็นบ้า ไม่ต้องตาย ฉะนั้นก็เรื่องพักผ่อนทางจิตใจนี่มันก็สำคัญ เป็นเรื่องสำคัญตามธรรมชาติ แม้ไม่ได้เกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา โดยตรงมันก็มีโดยธรรมชาติ ที่เกิดว่างจากกิเลสเป็นครั้งเป็นคราว เราไปเที่ยวในที่ที่มันส่งเสริมความว่าง เช่นไปที่ทะเล ขึ้นไปบนยอดภูเขา หรือว่า ที่มันมีหมายความแห่งความว่างอยู่ทั่ว ๆไป ให้กิเลสมันระงับชั่วคราว ได้นิพพานชนิดชั่วคราวนี้โดยไม่รู้สึกตัว มาหล่อเลี้ยงร่างกายหล่อเลี้ยงจิตใจ ชดเชยให้มันปกติ การไปพักผ่อน ไปตากอากาศ เท่ากับว่าทำถูกต้อง ทำถูกต้อง เพราะมันก็มีประโยชน์แก่ทางกายทางจิตใจ เพราะมันได้อารมณ์ว่าง ให้นิพพานชนิดนี้ปรากฏง่าย อย่าใช้คำว่าเกิดเลย เพราะว่าเอาความหมายเดิมของพระนิพพานไว้ดีกว่า นิพพานอยู่ในเหตุและปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นนิพพานไม่เกิด แต่ว่าปรากฏแล้วก็ได้ นิพพานปรากฏ กิเลสว่างไปด้วยเหตุใดก็ตามนิพพานก็ปรากฏ เราไม่อาจจะทำนิพพานให้เกิด นิพพานอยู่เหนือเหตุเหนือปัจจัยเป็นอสังขตะ แต่เราทำให้ปรากฏจ่อหน้ากันได้ ดังนั้นในบาลีจึงจัดเป็นอายตนะชนิดหนึ่ง สำหรับมโนนี่ สำหรับมโนนี่จะรู้สึกได้ จะปรากฏแก่ใจได้ ที่พูดโดยสมมติในภาษาคนว่านิพพานเป็นสมบัตินี่ เป็นสิ่งที่น่าหัวที่สุด มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ไอ้ ๒ อย่างแรกพอจะเป็นสมบัติได้ แต่พระนิพพานมาเป็นสมบัติของใครไม่ได้ เป็นนิพพานเองอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าทำจิตให้ปรากฏ ให้นิพพานปรากฏแก่จิตแล้วพอจะทำได้ นิพพานนี่ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่เป็นอารมณ์ชนิดที่เป็นการปรุงแต่ง พูดว่าเป็นนิพพานสมบัตินี่มันพูดอย่างเอาเปรียบ เอาเปรียบมากเกินไป
เอาละ แล้วทีนี้ใครมีปัญหาอะไรบ้างเกี่ยวกับธรรมพฤกษา ธรรมพฤกษา ใครมีปัญหาอะไรบ้าง มันไม่ใช่เรื่องลึกซึ้ง แต่มันเป็นเรื่องที่จะไม่เคยคิดเท่านั้นเอง มันไม่ใช่เป็นเรื่องลึกซึ้ง พอพูดถึงก็เข้าใจ มันไม่ได้ลึกซึ้ง แต่มันไม่เคยคิด ไม่เคยสนใจ ไม่เคยคิด ขอให้คิดกันเสียบ้าง ขอให้เอามาศึกษา มาลูบคลำ มา ใช้พูดจา ใช้อะไรกันบ้าง ภาพต้นไม้เพียงต้นเดียวนั้นนะ ภาพรูปต้นไม้เพียงต้นเดียว มันจุพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ธรรมพฤกษา เป็นรูปต้นไม้ต้นเดียว แต่บรรจุทั้งหมดทั้งสิ้นในพระพุทธศาสนาไว้
(นาทีที่ 01:08:56 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ๒ อันน่ะ มรรค ผล มรรค ผล มรรค ผล คู่ ๆ กัน อันหนึ่งเป็นมรรค อันหนึ่งเป็นผล มรรคคือกิริยาที่ตัดกิเลส ผลคือผลของการตัดกิเลส ๔ คู่ ๘ องค์ และก็นิพพาน ๑ เป็น ๙ เรียกว่า โลกุตตระ โลกุตตระ ๙ เท่าที่ผมนึกได้ไม่เคยพบในพระบาลี ในพุทธวจน เป็นคำชั้นหลังที่พูดขึ้นแล้วก็พูดกันมากที่สุด โลกุตตระ ๙ อาจจะหลงอยู่ตรงไหนก็ได้แต่เท่าที่ผมผ่านมาผมไม่เคยเห็นที่เป็นพระพุทธวจน
(นาทีที่ 01:10:03 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) ขอโอกาสพระเดชพระคุณครับ ธรรมพฤกษาต้นนี้มีอะไรเป็นเปลือก มีอะไรเป็นแก่น
(เสียงท่านพุทธทาส) มันก็ต้องพูดโดยภาษาธรรม ภาษาคนอย่างที่เรารู้ เปลือก แก่น ใบ ลูก ดอก ถ้าพูดภาษาธรรม ภาษาลึก เป็นเปลือกที่เป็นตามลำดับ เรียกว่ามีศีลเป็นเปลือกชั้นนอก สมาธิเป็นเปลือกชั้นกลาง มีปัญญาเป็นเปลือกชั้นใน แล้วก็มีแก่นเป็นวิมุตติ มีผลของปัญญาเป็นแก่น แต่โดยที่หลัก ๆ ใหญ่เราไม่ ไม่ต้องการให้เป็นตัวตนทั้งหมดเลย ทั้งหมดเลย ทั้งเปลือกทั้งแก่นทั้ง ให้เป็นจิตหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ ก็ไม่มีความทุกข์ พูดว่าแก่นขึ้นมาเดี๋ยวก็เกิดยึดถือแก่น ก็ติดอยู่ที่แก่นอีก ไม่ออกไปถึงนิพพาน ว่าง
(นาทีที่ 01:11:33 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) มองเอง มองเองให้เห็นเอง ส่วนนอก ส่วนนอกก็เป็นเปลือกนอก ๆ เข้าไป ๆ (นาทีที่ 01:11:48) ชั้นนอกสุดถ้าดูตามง่าย ๆอย่างนี้มันก็เรื่องปริยัติ ปริยัติเป็นเปลือกชั้นนอกสุด ปฏิบัติเป็นตัวข้างใน แก่นเข้าไป ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเปลือกเข้าไปตามลำดับ จนถึง ไม่รู้ว่าถ้า มันแล้วแต่การเปรียบเทียบ หลักเกณฑ์มันอย่างเดียวกันทั้งนั้น แต่ว่ามันลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป เรียกว่าเนื้อใน แก่น โดยหลักทั่วไปกล่าวว่าวิมุตติเป็นแก่น แต่ว่าวิมุตติก็ยังไม่ถึงที่สุด มันต้องนิพพาน ถึงจะสุด จึงไม่รู้จะเรียกว่าแก่นหรือว่าอะไร ผลที่พึงปรารถนา ต้นไม้นี้มันมีแห้ง ๆ อยู่ชั้นนอก นอกเปลือกอีกที แล้วก็ไปถึงชั้นเปลือกนอก แล้วเปลือกใน แล้วกระพี้แล้วแก่น ศีล สมาธิ ปัญญานี้ก็เป็นชั้น ๆ อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้เขาเรียกรวมกันทั้งต้น เรียกว่าทั้งต้น มันจะอยู่แต่อย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีทั้งต้น ดังนั้นมันจึงต้องมี ไอ้เปลือกนอก แล้วเปลือกใน แล้วเปลือกกระพี้แล้วก็แก่น ถ้าอยู่แต่อย่างเดียวมันอยู่ไม่ได้ มันอยู่ไม่ได้ ถ้าเปลือย ถ้าไม่มีไอ้ของแห้ง ๆ ปะไว้ ก็เป็นอันตรายเหมือนกัน เปลือกนั้นก็จะทนอยู่ไม่ได้ ไอ้เปลือกนอกเป็นสะเก็ดแห้ง ๆ เกาะอยู่มันก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่งเหมือนกัน
ในภาพที่แสดงไปแล้วทุกภาพรวมทั้งภาพนี้ ผมแม้ว่าจำลองขึ้น ไว้เพ่งดู ไว้เพ่งดูตรงหน้า เวลาว่าง ๆ เงียบ ๆ คนเดียวเพ่งดู เพ่งดู มันเกิดความคิดอะไรขึ้นมาเอง ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป
(นาทีที่ 01:14:50 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) กราบเรียนถามหลวงพ่อ ปฏิเวธอยู่ตรงไหนครับ
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็ผล ผล ผลของการปฏิบัติ
(นาทีที่ 01:15:06 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
มันก็ไม่เชิงว่าเป็น เล็งถึงนิพพาน แต่ต้องรวมอยู่ในชุดปฏิเวธ เพราะว่าจิตมันก็รู้สึก รู้แจ้ง แทงตลอด ว่าเป็นอย่างไรได้เหมือนกัน ปฏิเวธะแปลว่า แทงกระเพาะ (นาทีที่ 01:15:25) หรือแทงตลอด คือปรากฏแก่ใจ ผลที่ปรากฏแก่ใจก็เรียกว่าปฏิเวธ เป็นยอดของปฏิเวธ เป็นความหมายของปฏิเวธ
(นาทีที่ 01:15:46 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) เสวยผลขณะขึ้น ขณะหนึ่งก็เป็นตัวอย่าง เป็นปฏิเวธ อยู่ในพวกปฏิเวธ จัดสงเคราะห์ในพวกปฏิเวธ ก็รู้สึกต่อผลของการปฏิบัติ
(นาทีที่ 01:16:06 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไปดูเอง หลักมีอยู่แล้ว นี่ไปดูต้นไม้ก่อนสิ ต้นไม้มีเปลือกแห้ง เปลือกสด มันก็มี ดูจะมีเปลือกไอ้ชั้นพิเศษอะไรอยู่ข้างในทีถึงจะถึงกระพี้ ถึงกระพี้ก็ถึงแก่น
(นาทีที่ 01:16:33 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็ได้ คุณก็อธิบายเอาเอง ผมอธิบายแทนไม่ได้ ถ้าซักขึ้นมาอย่างนั้น
(นาทีที่ 01:16:59 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) นั่นแหละ เข้าใจก็อธิบาย อธิบาย พยายามอธิบายให้เขารู้ มันมีหลายความหมาย แล้วแต่เราจะพูดถึงอะไร เพราะว่าเปลือก เปลือกของอะไร เปลือกของพรหมจรรย์ หรือเปลือกของศาสนา หรือเปลือกของธรรมะ มันจะมาออกมาข้างนอกจนถึงพิธีรีตอง ไม่ใช่ศีลด้วยซ้ำไป นอกศีลออกมาอีก ยังมีจารีต ประเพณี พิธีรีตองอะไรจนงมงาย จนเป็นไสยศาสตร์ เป็นเลอะเทอะไปก็มี พวกเปลือกนอกสุด มีหลักสำหรับวินิจฉัยอย่างนี้ คือ (นาทีที่ 01:17:45) ไปดูเอาเอง
(นาทีที่ 01:17:49 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) ที่ว่าจิตเป็นปกติกับจิตเป็นประภัสสรนั้น มีกิเลสหรือเปล่าครับ
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็ธรรมชาติของจิต ตามธรรมชาตินั่นน่ะไม่มีกิเลส ว่างจากกิเลส ยังไม่เกิดกิเลส เป็นประภัสสร เรืองแสง แปลว่าเรืองแสง มันไม่ใช่ตัวเวทนา ไม่ใช่ตัวเวทนา เป็นตัวธรรมชาติของจิตที่ยังไม่เกิดกิเลส เรียกว่าประภัสสร มีลักษณะเรืองแสง พอกิเลสเกิดขึ้น มันก็สูญประภัสสรหมด ประภัสสร ทีนี้ถ้ามาเอาไอ้ผลของมันก็ว่าเมื่อจิตประภัสสรนั้น ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ทีนี้ว่าจิตมีกิเลสแล้ว ก็มีสุขมีทุกข์ จนกว่าจะกิเลสว่างไป เป็นประภัสสรอีก เมื่อใดว่างจากกิเลส เมื่อนั้นเป็นประภัสสร เรียกว่าประภัสสรระยะสั้น ๆ แทบจะกำหนดไม่ทันก็ได้ มันไม่ชี้ให้เห็นชัดเหมือนกับวัตถุได้ แต่พูดไว้เป็นหลักได้ว่าเมื่อใดว่างจากกิเลส เมื่อนั้นประภัสสร ก่อนเกิดกิเลสก็เป็นประภัสสร ถ้าไม่ให้ หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นประภัสสรชนิดถาวร ประภัสสรชนิดที่จะกลับเกิดกิเลสอีกไม่ได้ ประภัสสรตามธรรมชาตินี่มันกลับเกิดกิเลส เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสได้ การอบรมจิตกลายเป็นประภัสสรถาวร ถาวร ในขณะแห่งสมาธิแท้จริง (นาทีที่ 01:19:55) ก็มีความเป็นประภัสสรแบบหนึ่ง ตามแบบของสมาธิ ปฐมฌาน ทุติยฌาน นี้ก็มีที่ภพที่มาแสดงว่าเป็นประภัสสรระดับหนึ่ง ๆ เหมือนกัน เมื่อกิเลสไม่ได้ ไม่ได้ครอบงำจิต เมื่อไรก็ตามใจเป็นประภัสสร จะประภัสสรอย่างเต็มที่ หรือประภัสสรครึ่ง หรือว่าประภัสสรเพียงสลัว ๆ ก็แล้วแต่ จิตเรืองแสง พูดเป็นไทย ๆ ก็จิตเรืองแสง ประภัสสรแปลว่าเรืองแสง ประภาแปลว่า แสง หรือรัศมี สะระ สร ก็แปลว่า แล่น ซ่านออก ซ่านออกแห่งประภาคือแสง เมื่อหลอมโลหะถึงที่สุด จนขาว จนเป็นสีขาว (นาทีที่ 01:21:06) มีคำบาลีเรียกว่าประภัสสรเหมือนกัน ประภัสสรของโลหะ อยากให้ประภัสสรแรงขึ้นก็สุมไฟให้มากขึ้น สุมไฟให้มากขึ้น ความเป็นประภัสสรของโลหะนั้นก็มากขึ้น ๆ อันนี้ก็เรียกเป็นประภัสสรฝ่ายวัตถุ ส่วนประภัสสรฝ่ายจิตมัน มันไม่มีกิเลสมาห่อหุ้ม แล้วแสงมันก็ออกมามาก ออกมาหมด ไม่มีกิเลสโดยสิ้นเชิง โดยประการทั้งปวงน่ะ ประภัสสร ประภาออกมาหมดเต็มที่ ดวงอาทิตย์ไม่มีเมฆบัง ประภัสสร เมฆบังตามมากตามน้อยก็สูญสิ้นความเป็นประภัสสร แต่ดวงอาทิตย์แท้ ๆ เป็นประภัสสร เช่นเดียวกับตัวจิตแท้ ๆ เป็นประภัสสร ไม่ได้หมายความว่าสิ้นกิเลสนะ หมายความว่ายังไม่มีกิเลสมาเกิด ยังไม่มีกิเลสมาเกิด ความเป็นประภัสสรก็อยู่ พอกิเลสมาเกิด ความเป็นประภัสสรก็สูญไปชั่วคราว แล้วก็ความเป็นประภัสสรไม่ปรากฏชั่วคราว ทีนี้ในความรู้สึกของเรา มันก็มารู้ที่กิเลสมาครอบงำ มันก็มีเรื่องยุ่ง
(นาทีที่ 01:22:44 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) ท่านครับ ผมอยากจะถามว่า ไอ้ที่เขาว่าไอ้ศีล สมาธิ ปัญญานี่ มันเข้าไล่ศีลก่อน แล้วค่อยมีสมาธิ มีปัญญานี่ ทีนี้ อันนี้แบบว่า ถ้าปัญญาเกิดก่อน มันเห็นโทษและมีศีล มีสมาธิ อย่างนี้ได้ไหมครับ
(เสียงท่านพุทธทาส) อ๋อ, นั่นมันพูดกันคนละอย่าง ถ้าพูดอย่างตามลำดับหรือคุณค่า ก็พูด ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ถ้าพูดในขณะที่ทำหน้า ทำการงาน ทำการงานในหน้าที่ ต้องพูดว่า ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญาต้องนำมาก่อน ศีลจึงจะถูกต้องหรือเป็นไปได้ ทีนี้ก็สมาธิถึงจะเป็นไปได้ แล้วก็เกิดปัญญาเพิ่มขึ้นอีก มันก็ยิ่งนำศีล นำสมาธิหนักขึ้นไปอีก โดยทฤษฎีเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา โดยปฏิบัติการเรียกว่า ปัญญา ศีล สมาธิ มีหลัก อริยมรรคมีองค์ ๘ ๘ องค์นั้นเรียงไว้ในลักษณะเป็นปัญญา เป็นศีล เป็นสมาธิ สำหรับพูด ศีล สมาธิ ปัญญา สำหรับปฏิบัติก็ปัญญา ศีล สมาธิ
แล้วก็ถือเป็นหลักกว้างไปกว่านั้นว่า ปัญญาต้องมาก่อนทั้งนั้น ไม่ว่าทำอะไร ถ้าจะทำอะไร ปัญญาต้องมาก่อน คือรู้ว่าทำอย่างไร แล้วจึงจะทำได้ดี จะเป็นคำพูดว่าโบราณก่อนพุทธกาลก็ได้ เรียกว่า ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ ผู้รู้ ผู้ฉลาด กล่าวว่าปัญญาประเสริฐสุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ใหญ่กว่า ศีลก็ดี xx (นาทีที่ 01:25:07) ก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี อะไรก็ดี ก็ไปตามอำนาจของปัญญา ไปตามอำนาจของปัญญา อยู่ในอำนาจของปัญญา เพราะมีปัญญาจึงทำสิ่งเหล่านั้นได้ถูกต้อง ฉะนั้นโดยทั่วไป โดยพื้นฐาน ก็จะต้องพอกพูนปัญญา ศึกษาปัญญา เพิ่มเติมปัญญาให้มากเข้าไว้ จะได้เอาไปใช้ในกรณีนั้น ๆ ว่ามันเกิดขึ้น ตามสมควรแก่กรณี
(นาทีที่ 01:25:58 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) แล้วการหลุดพ้น แบบว่า ปัญญาวิมุตติ กับ เจโตวิมุตติ นี่ มันเหมือนกันไหมฮะ
(เสียงท่านพุทธทาส) อ้าว, ถ้าเหมือนกันแล้วจะเรียกชื่อเป็น ๒ อย่างทำไม หลุดพ้นในอำนาจจิต หลุดพ้นในอำนาจปัญญา แต่ในเจโตวิมุตติก็มีปัญญา หากแต่ว่าจิตมันเป็นเบื้องหน้า มันมีนำหน้า ออกแรงหน้าออก เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ไม่เคยแยกกันนะ แต่ถ้าว่าจิตมันออกหน้า จนไม่ให้ความหมายแก่ปัญญาเรียกเจโตวิมุตติ นี่ถ้าว่าเรื่องจิตไม่ออกหน้า เรื่องปัญญามาทำงานทำหน้าที่สำเร็จประโยชน์ เรียกปัญญาวิมุตติ แต่ในทั้ง ๒ อย่างนี่ มันมีทั้ง ๒ อย่าง ในเจโตวิมุตติก็มีปัญญา ในปัญญาวิมุตติก็มีเจโตตามสัดส่วนน้อย ๆ จิตล้วน ๆ หลุดพ้นไม่ได้ ถ้าปัญญาล้วน ๆ ไม่มีกำลังจิต มันก็ ก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน ทีนี้มันมีอยู่แต่ว่าอะไรมันออกหน้า แสดงออกมาเป็นเจ้ากี้เจ้าการ อันนั้นเป็นชื่อ ในที่บางแห่งกล่าวไว้ชัดว่ามีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ แล้ว กระทำให้มากในเรื่องทางจิต ทางวิโมกข์ต่อไปอีก ก็เป็นเรื่องคล่องแคล่วในการบังคับจิต มันก็จิตยิ่งขึ้นไป มากกว่าที่จำเป็นเพียงบรรลุพระอรหันต์ ทำให้มากกว่านั้น เรียกว่า อุภโตภาควิมุต อุภโตภาควิมุตนั้นไม่ใช่เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ มันอีกเรื่องหนึ่ง ต้องมีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ แล้วจึงไปทำอุภโตภาควิมุตให้ ให้เก่งในเรื่องของจิตส่วนพิเศษ เพื่อจะใช้กำลังจิตให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในกรณีที่นอกเหนือความจำเป็น
(นาทีที่ 01:28:36 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) มันเป็นวิธีพูด ที่พูดติด ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในพระบาลี ในพระไตรปิฎกเองไม่เคยพบไอ้คำ ๓ คำนี้ ไม่เคยพบ กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด เราจะไม่เคยพบ เท่าที่ผมผ่านมาไม่เคยพบเลย นี่มาพูดสำหรับชาวบ้าน จะพูดกันเองให้มันง่าย กิเลสอย่างหยาบว่าออกมาปรากฏ แล้วกิเลสอย่างกลางน่ะหมายถึงอะไร ที่ท่านเข้าใจน่ะหมายถึงอะไรกิเลสอย่างกลาง
(นาทีที่ 01:29:36 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ยังไม่ตายตัวในการพูด ผมอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน บางทีเขาเอานิวรณ์ ก็ไปเป็นกิเลสอย่างหยาบ เอากิเลสเป็นเศษ (นาทีที่ 01:29:58) แล้วก็เอาอาสวะเป็นกิเลสอย่างละเอียด อย่างนี้อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน เพราะว่าเรื่องจริงมันก็มีว่า กิเลส โลภะ โทสะ โมหะ แสดงออกมาเต็มที่ ปรากฏการณ์เต็มที่นี่เรียกกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ทีนี้เมื่อเกิดกิเลสครั้งหนึ่งมันเกิดความเคยชินแห่งกิเลสครั้งหนึ่ง หน่วยหนึ่งเก็บไว้เรียกว่า อนุสัย อนุสัย เกิดกิเลสทีหนึ่งจะมีอนุสัยหน่วยหนึ่งเก็บไว้ และเมื่ออนุสัยนี้มากเข้า ๆ มันก็เบ่งที่จะดันออกมา ไหลออกกลับออกมา หรือเมื่อมันไหลกลับออกมาก็ได้ เรียกว่าเป็นอาสาวะ ถือเป็นกิเลสอย่างเดิมที่แสดงออกมาอีก มันก็มีแต่กิเลส และอนุสัยและอาสาวะ จะเอาอันไหนเป็นหยาบเป็นกลางเป็นละเอียดก็สุดแท้
(นาทีที่ 01:30:59 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) ท่านครับ ผมอยากจะถามอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าเราพิจารณา แบบว่าเห็นรูปธรรม เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่เรียกว่าด้วย อย่างแจ่มแจ้งนี่ นามธรรมก็พลอยที่จะหมดความยึดมั่นถือมั่นไปด้วยหรือเปล่าครับ ระหว่างรูปธรรมกับนามธรรมนี่ มันเรื่องจิตใจ มันเชื่อมอยู่ มันก็พลอยเหมือนกันการจะ...
(เสียงท่านพุทธทาส) มันจะพิจารณาแต่รูปธรรมไม่ได้
(นาทีที่ 01:31:25 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) จะพิจารณาแต่รูปธรรมมันไม่ได้ ไม่พอ มันต้องพิจารณาถึงนามธรรมด้วย ถ้าไปแยกกันอยู่ มันใช้ไม่ได้ เพราะว่าไอ้รูปธรรมกับนามธรรมต้องแฝดติดกันอยู่ เป็นสิ่งเดียวกันอยู่เสมอ ไปดูเข้าก็จะเห็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่แยกออกเป็นได้ล้วน ๆ เป็นเรื่องพูด การพูดแยกได้ แต่ของจริงของธรรมชาติไม่แยก ไอ้นามกับรูปนี่ไม่แยกกัน ไม่มีนาม รูปธรรมก็ไปไม่ได้ ไม่มีรูป นามก็ปรากฏไม่ได้ ก็ต้องเป็นสิ่งเดียวกันเสมอ รวมกัน ยิ่งกว่าฝาแฝดเสียอีก ฝาแฝดมันแยกออกเป็นสองตัว นี้มันต้องประกบเป็นตัวเดียวกัน
(นาทีที่ 01:32:30 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด) คำว่ามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ มีอย่างละเท่าไร และจะทำอย่างไรจึงจะได้มนุษย์สมบัติ กับ สวรรค์สมบัติ
(เสียงท่านพุทธทาส) นี่ผมก็บอกแล้วว่าไม่เคยพบในพระบาลี เป็นการอธิบายตามมติของอาจารย์บางยุค บางสมัย บางรุ่น ก็อธิบายอย่างที่เขาอธิบายกันอยู่ ในหลักสูตรนักธรรมมีไหม มีก็เอาตามนั้น ดีอย่างมนุษย์ ดีอย่างสวรรค์ และก็ดีอย่างนิพพานซึ่งอยู่เหนือดี พ้นดีไปอีก พูดให้สนใจมากกว่า ให้โฆษณาให้สนใจ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ คนจึงปรารถนานิพพานทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าพระนิพพานคืออะไร ปรารถนานิพพาน ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไรกันแน่ ตื่นข่าว เล่าลือว่าวิเศษที่สุด ประเสริฐที่สุด สูงสุด ตัวเองชอบอะไรก็เอาอันนั้นแหละเป็นหลัก แล้วก็เพิ่มกำลังให้มากเข้าให้เป็นนิพพาน บวกค่าของความสุขให้มากขึ้นไป สมมติแต่ว่า (นาทีที่ 01:33:51) นิพพาน ไม่รู้ว่านิพพานนี้เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว จะพูดให้เป็นสมบัติก็เรียกว่า เป็นพูดสมมติกันเต็มที่ พูดอย่างสมมติกันเต็มที่ จนกลายเป็นสมบัติ นิพพานเป็นอสังขตธรรม เป็นสมบัติใครได้ ถ้ามนุษย์กับสวรรค์ มันเป็นสังขตธรรมก็จะเป็นได้ เอาความว่างที่สุดมาเป็นสมบัติ ถ้าเข้าใจก็รู้เรื่องนี้
ไม่มีปัญหาแล้วปิดประชุม
(นาทีที่ 01:35:03 เสียงผู้ชายพูดแต่ได้ยินไม่ชัด)
(เสียงท่านพุทธทาส) ลา ลาไว้ ได้ ถือโอกาสลาไว้ล่วงหน้าพรุ่งนี้ไม่ต้องลา
(เสียงผู้ชายพูด) พวกเราทั้งหมดพร้อมกันกราบ ๓ ครั้งก่อน พวกเกล้ากระผมทั้งหมด ไม่ต้อง ว่าตามก่อน ซึ่งได้มาพักพิงอาศัยพระเดชพระคุณท่าน เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้นำไปปฏิบัติตัวเอง แล้วจะได้นำไปเผยแผ่ แนะนำ สั่งสอนแก่ประชาชน คณะที่พวกเกล้ากระผมทั้งหมดมาอาศัยอยู่ อาจจะมีการกระทำ การพูดหรือการคิด อะไรบางสิ่งบางประการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าทำ เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะพูด เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะคิด ซึ่งบางอย่างอาจจะเป็นทางอกุศลได้ ขอพระเดชพระคุณให้อภัยในพวกเกล้ากระผม ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่รู้เท่าถึงการณ์ เพื่อความสบายใจแก่พวกเกล้ากระผมด้วย
ต่อแต่นี้ไป ขอให้พวกเรา ว่า นะโม ๓ ครั้งพร้อมกัน (เสียงสวดมนต์) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมอันหนึ่งอันใด ซึ่งเป็นกรรมที่ไม่ดี ที่พวกเกล้ากระผมทั้งหลายได้กระทำลงไป ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สร้างความไม่สบายใจให้แก่พระเดชพระคุณท่าน เพราะด้วยความโง่ ความงมงายของพวกเกล้ากระผม ขอพระเดชพระคุณท่านซึ่งมีพระคุณอันสูง ทรงให้อภัย ให้อโหสิ เพื่อพวกเกล้ากระผม จะได้มีความสบายใจ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป สาธุ
(เสียงท่านพุทธทาส) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีโทษน่าติเตียนอันใด ถ้ามีอยู่ระหว่างเรา ๒ ฝ่าย ขอให้เป็นอโหสิกรรมด้วยอำนาจการทำกิจกรรม (นาทีที่ 01:41:18) ในวันนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเถิด สาธุ และขอเชื่อได้ว่าไม่มี กรรมที่จะผูกพัน เป็นโทษเป็นอันนั้นไม่มี ทุกท่านมีเจตนาบริสุทธิ์ ต่อการจะปฏิบัติหน้าที่ ตั้งใจทำเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา ทุกคนมีความประสงค์ร่วมกันที่จะเกิดความก้าวหน้าในทางปฏิบัติและทางเผยแผ่ เจตนาดีอย่างนี้แล้วมันก็เป็นอันว่าไม่ต้องมีอะไรที่ต้องน่าระแวงน่ากลัว ขอให้แน่ใจและบริสุทธิ์ใจในความไม่มีโทษ มีภัย อันใดเหลืออยู่โดยทุก ๆ ประการเถิด
(เสียงผู้ชาย) สาธุ กราบ้