แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
(เสียงท่านพุทธทาส) จะพูดกันถึงเรื่องอานาปานสติภาวนา มีที่มาในพระบาลี อานาปานสติสูตร นี้ก็มีลักษณะเป็นสติปัฏฐาน ๔ อย่างนั้น เป็น ๔ ชุด ก็ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ แต่ไม่เหมือนกับในอานาปา เอ้อ, ในมหาสติปัฏฐานสูตร ในการปฏิบัตินี้ใช้หลักของสูตรนี้ เข้าใจได้ง่าย ปฏิบัติได้ง่าย ศึกษาได้ง่าย เมื่อพูดถึงอานาปานสติ ก็ต้องให้รู้ไว้ว่าเป็นบทเรียนสำหรับฝึกสติ สติมีความจำเป็นที่สุดในขณะที่เกิดผัสสะอย่างที่พูดกันแล้วเมื่อวาน ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท และก็ได้บอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่ามีสติในขณะแห่งผัสสะนั่นแหละสำคัญที่สุด คือมีเรื่องเดียวนั้น ปฏิจจสมุปบาทอันยืดยาวนั่นสำหรับศึกษา แต่พอจะปฏิบัติเหลือนิดเดียวคือมีสติในขณะแห่งผัสสะ เพื่อไปนำปัญญาคือความรู้ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาควบคุมผัสสะ เป็นสัมปชัญญะควบคุมผัสสะ ผัสสะก็เป็นวิชชาผัสสะหรือวิชชาสัมผัส มิฉะนั้นมันเป็นอวิชชาสัมผัส แล้วมันก็ต้องเป็นทุกข์ โดยไม่ต้องสงสัย ถ้าว่าควบคุมผัสสะได้ คือสติมาทัน เอาปัญญามาทัน เกิดความรู้ขึ้นในขณะนั้น ก็เป็นผัสสะที่มีสติ มีปัญญา เป็นผัสสะฉลาด ไม่เป็นผัสสะโง่ มันก็ไม่ต้องเกิดเวทนาชนิดที่ทำให้พอใจ หรือไม่พอใจ มันก็ไม่เกิดตัณหา อุปาทาน มิฉะนั้นมันก็เป็นผัสสะที่โง่ พอเอาเวทนามาเป็นความพอใจ เป็นความไม่พอใจ ก็เกิดตัณหาตามอำนาจของเวทนานั้น มันก็เลยอุปาทาน ภพ ชาติ ทุกข์ ไม่ต้องสงสัย สรุปความว่าสติเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ต้องมีต้องใช้ในขณะแห่งผัสสะ อย่างที่พูดแล้วเมื่อวาน วันนี้ไม่ต้องพูดอีก แต่โยงให้มันเนื่องถึงกันว่าวันนี้เราจะพูดเรื่องสติโดยเฉพาะก็คือการฝึกสติ ให้มีสติเพียงพอ มันก็ถือเอาตามหลักอานาปานสติในมัชฌิมนิกายดังที่กล่าวแล้ว ไม่อาศัยมหาสติปัฏฐานสูตรในทีฆนิกาย มันเฟ้อ มันเยิ่นเย้อ อย่าวิพากษ์ วิจารณ์อะไรมากนักเลย เดี๋ยวจะถูกด่าอีก
มหาสติปัฏฐานสูตรเขาอธิบายเป็น ๔ หมวดเหมือนกัน แต่ว่าเรื่องที่เอามาศึกษานั้นมันต่างกัน บางอย่างก็ครึ่งท่อน บางอย่างก็มากเกินไป เช่น หมวดธัมมานุปัสสนา แทนที่จะว่า อนิจจัง วิราคะ นิโรธะ ปฏินิสสัคคะ ไปอธิบายนิวรณ์ยืดยาว ไปอธิบายโพชฌงค์ยืดยาว อธิบายปัญจุปาทานขันธ์ยืดยาว อธิบายอริยสัจอย่างยืดยาว โดยใส่ปิยรูปสาตรูป (นาทีที่ 05:32) ลงไป มันก็เลยวนเวียน งงเสียก่อน เป็นอันว่าเราจะฝึกสติโดยหลักของบาลี อานาปานสติ ไม่เอาตามหลักของมหาสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้นจึงย่อเอาหัวใจของอานาปานสติสูตรมาให้ดู เป็น ๔ หมวดและก็เรียกชื่อว่าสติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน มีหลักว่าเมื่อทำอานาปานสติแล้วครบ ๑๖ ขั้นแล้ว ก็เป็นการทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์แล้ว วิชชาและวิมุติก็บริบูรณ์ มันก็จบเรื่อง ที่หมวดกาย หมวดที่ ๑ กำหนดลมยาว ลมสั้น กายทั้งปวงและกายสังขารระงับ หมวดที่ ๒ เวทนา กำหนดปีติ กำหนดความสุข กำหนดจิตสังขาร กำหนดจิตสังขารระงับ หมวดที่ ๓ เรื่องจิต จิตตานุปัสสนา กำหนดจิตทุกชนิด กำหนดจิตที่ปราโมทย์ กำหนดจิตที่ตั้งมั่น และกำหนดจิตที่ปล่อยวาง หมวดที่ ๔ หมวดธรรมะนี่ กำหนดอนิจจัง และกำหนดวิราคะ และกำหนดนิโรธะ และกำหนดปฏินิสสัคคะ เรื่องนี้ศึกษาให้เข้าใจเถิดคุ้มค่าที่สุด ในการที่จะศึกษาและในการที่จะปฏิบัติ หรือในการที่จะสั่งสอนกันสืบต่อ ๆ ไป นี่ดูคราวเดียว ๑๖ ขั้น และบอกว่ามันเป็นหลักปฏิบัติ ที่ใช้เรียกตามที่ผมเรียกว่าประเสริฐที่สุด คือไม่แยกสมาธิกับปัญญาออกจากกัน ไม่แยกสมถะกับวิปัสสนาออกจากกัน ทำคลุกเคล้ากันไปในตัวคราวเดียว มันเป็นทั้ง ๒ อย่างในคราวเดียวกัน สูตรนี้สู้พวกเซนได้ ไอ้นิกายเซนที่ว่าฉับพลัน ฉับพลัน ออกมาประหลาด ๆ น่ะ มันมีหลักในการเพ่งคราวเดียวพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเรามาเสียเวลาแยกออกจากกันปฏิบัติกันทีละอย่าง มันก็ขยายเวลาออกไปมาก ปฏิบัติสมาธิกว่าจะได้ โดยมากก็ไม่ได้ วิปัสสนาก็เลยไม่ได้ปฏิบัติ เดี๋ยวนี้ปฏิบัติพร้อมกันไป ฟั่นเกลียวกันไปเลย ยิ่งกว่านั้นอีกก็ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่า มีศีลรวมอยู่ด้วย คำว่าศีลนี้บางคนก็อาจจะไม่เข้าใจ แต่บางคนอาจจะเข้าใจแล้วก็ได้ ว่าเมื่อบังคับกาย วาจา ใจ ให้สำรวม ให้ระวัง ให้ทำอะไรอย่างดีที่สุดเสียอย่างหนึ่ง นั่นแหละคือศีล นั่นแหละคือศีลที่แท้จริง เมื่อบังคับตัวเอง กาย วาจา ใจ ให้ปฏิบัติอานาปานสติเหล่านี้อยู่ มันมีการบังคับตลอดเวลาทุกขั้น ทุกขั้น ทั้ง ๑๖ ขั้นมันจึงมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ โดยไม่ โดยไม่ โดยไม่ออกชื่อ ก็ต้องสังวรณ์ ให้บังคับกาย ให้ทำอย่างนี้อยู่ บังคับให้ศึกษาเวทนาอย่างนี้อยู่ ศึกษาจิต ศึกษาธรรม อย่างนี้อยู่ มันเป็นศีล ถ้าตั้งใจว่าจะทำอานาปานสติน่ะ มันเป็นศีล จะหาว่าขี้โกง พูดเอาเปรียบก็ได้ ใครจะพูดอย่างนั้นก็ได้ แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ถ้ามันมีความตั้งใจ บังคับ สำรวม สังวร ระวังอย่างยิ่งทุกขั้นตอนที่จะปฏิบัตินี้ ส่วนที่เป็นระวัง สังวร บังคับให้ทำเต็มที่นั้น ส่วนนั้นเป็นศีล นั่นก็ที่ทำอย่าง อย่างอะไรก็อย่าพูดดีกว่า ว่าพอจะทำสมาธิแล้วรับศีล รับศีล รับศีล แค่รับศีลเดี๋ยวนี้ก็ให้ทำพิธีรับศีล ไม่ให้ทำสมาธิ เพื่อว่าจะมีศีล อย่างนั้นก็มี แบบอย่างนั้นก็มี แบบอื่นไม่ใช่แบบนี้ ก็เลยแยกออกเป็นดุ้น ๆ ส่วน ๆ ชนิดที่ไม่ ไม่สามัคคีแก่กันและกัน (นาทีที่ 10:59)
เพราะฉะนั้นขอให้มองเห็นและก็เข้าใจว่า เมื่อทำสติ ทำอานาปานสติตามแบบนี้ เป็นการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าเกลียวกันไป ฟั่นเกลียวกันไป พร้อมกันไป มันจึงมีอริยมรรค พร้อมกันไปในตัวได้ เมื่อทำอย่างนี้อยู่ ดังนั้นคืนแรกที่เราพูดถึงว่าปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อยู่ มีธรรมสโมทาน ได้ตั้ง ๕๐ ชื่อ เอ้อ, ได้ตั้ง ๓๗ ชื่อ ได้ตั้ง ๓๗ ชื่อ นี่เพียงแต่ว่าบังคับลมหายใจยาวมันก็มีไอ้เหล่านั้นทั้งหมดเลย มีสติปัฏฐาน ๔ มีสัมมัปปธาน ๔ มีอิทธิบาท ๔ มีพละ ๕ มี อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ มีมรรคมีองค์ ๘ ถ้ายังไม่ลืมเสียก็จะดีมาก แล้วก็รู้ว่าเดี๋ยวนี้มาถึงกันแล้ว ที่จะปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แล้วก็ยังมีธรรมสว่างด้วยกัน (นาทีที่ 12:25) ครบทั้ง ๓๗ เป็นโพธิปักขิยธรรม ต้องศึกษาอีกส่วนหนึ่งจึงจะมองเห็นว่ามันมีได้อย่างไร โดยมากเราก็ศึกษากันเฉพาะชื่อ เฉพาะบทที่มีชื่ออย่างนั้น ๆ ไม่ได้สนใจว่าเมื่อปฏิบัติเข้าแล้วมีธรรมอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นธรรมสโมทาน (นาทีที่ 12.52)ไม่ค่อยได้สนใจกัน ฉะนั้นขอให้สนใจเสีย แล้วก็เรื่อง ๓๗ ชื่อ ที่พูดกันวันแรกที่สุดมา กระจาย ยกตัวอย่างสักข้อ กำหนดลมหายใจยาวอยู่มันก็มี ความเพียร ความเพียรที่คอยละสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา โดยเฉพาะการเกิดแห่งตัวตน ทำให้เกิดความไม่มีตัวตนขึ้นมา รู้สึกไม่มีตัวตนขึ้นมาแล้วรักษาไว้ ก็มีอิทธิบาททั้ง ๔ เต็มที่แม้ในระยะเพียงว่ากำหนดลมหายใจยาว ต้องปรับปรุงสติ ปรับปรุงศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ แต่ละอัน ๆ ให้มีความเหมาะสมเพียงพอ ในรูปของอินทรีย์ก็ได้ ในรูปของพละก็ได้ ก็มีสติกำหนดเป็นข้อแรก ธรรมวิจยะ(นาทีที่ 14.14) คือพิจารณาใคร่ครวญไป มีวิริยะ พากเพียรไปมีปีติ ความพอใจในการกระทำนั้นหล่อเลี้ยงไว้เป็นปัสสัทธิ สงบระงับลงมาเป็นสมาธิได้ เป็นอุเบกขา รักษาไว้ก็อาจจะบรรลุถึงที่สุด และเมื่อกำหนดลมหายใจยาวอยู่นั่นล่ะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ครบถ้วนอยู่ในตัว ก็การพิจารณาให้เห็นตามที่เป็นจริงว่าเป็นอย่างไร ไม่หลงผิด ซึ่งมันจะต้องปฏิบัติไปจนถึงขั้นอนิจจา และย้อนกลับมาเพื่อพิจารณา พยายามอยู่ หวังอยู่ที่จะให้หลุดรอดออกไป ถ้ามีการพูดก็พูดถูกต้อง มีการกระทำก็กระทำถูกต้อง แม้นิ่งอยู่ก็เชื่อว่ามีการกระทำและการพูดที่ถูกต้อง การดำรงชีวิตที่ถูกต้อง มีวายามะ มีสติ มีสมาธิ เอา ๓๗ คูณ ๑๖ นี่ก็ได้ตั้งเยอะแยะ มีคุณธรรม
แล้วทีนี้ก็จะพูดเรื่องนี้โดยเฉพาะเรื่องอานาปานสติ อย่าลืมว่าข้อปฏิบัติชุดนี้จะสู้ สู้พวกเซนได้ อันที่พวกเซนแสดงบทบาทเป็นที่พอใจ อวดอ้างไว้สูงสุด เพราะมันรวมสมถะกับวิปัสสนาเข้าด้วยกัน พร้อมกัน หมวดกายคือหมวดที่ ๑ สังเกตศึกษาเรื่องลมยาว ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น และกายทั้งปวง และก็กายสังขารระงับ มีคำแปลกอยู่ ลม เรียกว่าลมหายใจก็มี เรียกว่ากายก็มี เรียกว่ากายสังขารก็มี นี่เรียน เรียนละเอียดละออออกไปหน่อยเป็นเรื่องทางภาษาทางบาลีอะไรบ้าง ถ้าเคยเรียนบาลีมาแล้วก็จะรู้คำว่ากาย กายนี่มิได้แปลว่าร่างกายหรอก คำว่ากายนี้แปลว่าหมู่หรือกลุ่ม คำว่ากายะนั้นแปลว่าหมู่ หนังสือธรรมดา เช่น พลกาย พหลพลกาย พลกายก็แปลว่าหมู่คน ที่มันกาย อะไรก็ได้ที่มันเป็นหมู่เรียกว่ากายได้ ทีนี้เผอิญว่าร่างกายของเรานี่ ร่างกายของเราหนึ่งคนมันประกอบด้วยอะไรหลายอย่าง จะว่าอาการ ๓๒ หรืออะไรก็ตาม แต่ว่ามันหลายอย่างรวมกันเป็นหมู่ รวมเรียกว่ากาย ส่วนในอานาปานสตินี้ คำว่ากายนั้นน่ะหมายถึงลมหายใจ ซึ่งมีลักษณะเป็นหมู่ คือหายใจมาก ๆ มันต้องหายใจมาก ๆ มันจึงจะอยู่รอดชีวิตอยู่ได้ ๒ อันแรกเรียกว่าลมไปทีก่อน (นาทีที่ 18:05) อัสสาสะ ปัสสาสะ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เพ่งถึงลมหายใจที่หายใจอยู่ จะต้องศึกษาให้รู้จัก ไอ้ลมทั้ง ๒ ชนิดนี่ ใช้คำว่ารู้จักธรรมชาติของมันทุกอย่าง ทุกประการที่เป็นธรรมชาติของมัน จะเป็นลมหายใจยาวหรือลมหายใจสั้นก็รู้ว่ามันมีลักษณะอย่างไร แล้วก็รู้สึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องถามใคร แล้วก็รู้สึกว่ามันมีอะไร อย่างไร ครบทุกอย่าง ทีแรกให้ศึกษาอย่างง่ายที่สุดว่าลมยาว อย่างไรเรียกว่ายาว เมื่อไรเรียกว่ายาว เมื่อไรเรียกว่าสั้น นี่คอยสังเกตให้ดีว่าเมื่อยาวมันมีผลอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีผลต่อร่างกายอย่างไร ลมยาวมีอิทธิพลอย่างไร ลมสั้นมีอิทธิพลอย่างไร เดี๋ยวก็จะค่อย ๆ รู้ขึ้นมา จนเป็นรูป ๒ กายขึ้นมา คือกายลมกับกายเนื้อ กายเนื้อหนังก็เรียกว่ากาย กายลมก็เรียกว่ากาย เกิดเป็นกายทั้งปวงขึ้นมา คือมากอย่าง อย่างน้อย ๒ อย่าง ทั้งปวงนี่ไม่ใช่หมายความว่าอย่างเดียวแต่ทั้งหมด หมายความว่าทั้งหมดทุกอย่าง กายทั้งปวง พวกฝรั่งแปลสูตรนี้ผิดที่ตรงนี้ แทนที่จะใช้คำว่า All All ทั้งปวง มันใช้คำว่า Whole ซึ่งผิดถนัดเลย ยังมีอยู่ ไปดูก็ได้ ในฉบับแปลฝรั่ง คำว่ากายทั้งปวงคือมัน All กาย ๑ เป็นหมู่ลม กี่ครั้ง ๆ ก็สุดแท้แต่ มันคอยบำรุงร่างกาย ร่างกายเนื้อซึ่งมันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มนี้อีก มันก็กลุ่มลม มีอยู่ กลุ่มกายเนื้อก็มีอยู่ จึงเรียกว่ารู้จักทั้ง ๒ กาย แล้วก็รู้จักเลยไปถึงว่าไอ้กลุ่มลม กายกลุ่มลม ปรุงแต่งรักษาไอ้กลุ่มเนื้อ กลุ่มกายเนื้อถึงจะใช้คำว่ากายทั้งปวง เมื่อรู้ทั้ง ๒ กายดีแล้ว ก็จัดการกับกลุ่มลม เช่นชื่อเรียกว่ากายสังขารคือปรุงแต่งกาย กลุ่มลมหายใจน่ะเป็นกายสังขารคือปรุงแต่งกาย ไอ้กายก็คือ กาย กายเนื้อ กายทั้งหมด เดี๋ยวนี้ลมนั่นเองมาได้ชื่อว่า กายสังขารไปแล้ว ลมในข้อที่ ๑ ที่ ๒ เรียกว่า ลม ลมในข้อที่ ๓ เรียกว่ากาย ในข้อที่ ๔ ลมเรียกว่ากายสังขารไปแล้ว ในข้อที่ ๓ รู้ทั้ง ๒ ลมแล้ว ก็รู้ว่ามีหน้าที่กระทำต่อกันอย่างไร รู้ความจริงถึงที่สุดว่า กายลมปรุงแต่ง กายเนื้ออยู่ เราไม่ต้องบังคับกายเนื้อโดยตรงก็ได้ ถ้าเราบังคับกายลม ก็มีผลไปถึงกายเนื้อ นี่รู้เรื่องกายทั้ง ๒ กาย และรู้เรื่องความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันทั้ง ๒ กาย รู้เรื่องที่มันมีอิทธิพลปรุงแต่งกันและกัน พอถึงขั้นที่ ๔ ก็เล่นงานจัดการกับกายลม ซึ่งปรุงแต่งกายเนื้อ ทำกายลมให้สงบระงับ กายเนื้อก็สงบระงับ จิตก็จะพลอยสงบระงับไปบางส่วน
นี่เรื่องแรก เรื่องแรก เรื่องกายให้รู้ธรรมชาติของลมทั้งยาวทั้งสั้น และให้รู้ว่ากายลมน่ะปรุงแต่งกายเนื้ออยู่และข้อที่ ๔ ก็ทำให้กายลมระงับ กายเนื้อก็พลอยระงับ ซึ่งหมายถึงระบบประสาท หรือจิตก็พลอยระงับลงไปด้วย คำว่ารู้ รู้ แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็เรียกได้ว่าปัญญา จึงได้รู้จักว่ามันเป็นกายลมอย่างไร กายเนื้ออย่างไร และคำว่ากาย ๒ กาย มีอยู่ ปรุงแต่งกันอย่างไร และก็อาจจะทำให้ระงับลงโดยบังคับทางกายลม มีผลไปถึงกายเนื้อ นี่ก็เป็นปัญญาอยู่แล้ว การที่กำหนดแน่วอยู่ที่นั่นเป็นสมาธิ การสังวร สำรวม ระวังบังคับ ให้ทำอยู่อย่างนี้เป็นศีล ถ้าจะพูดเอาเปรียบหน่อยก็ไม่ต้องเรียนศีล เรียนสมาธิ เรียนอะไร ทีละอย่าง ๆ แล้วก็ทำไม่หวาดไหว ลงมือทำอย่างนี้สิ หรือว่าสอนให้ลงมือทำอย่างนี้ มันมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ชนิดที่แท้จริงเกิดขึ้นมา เห็นไหม นี้เรามีพิธีรีตองกันมากเกิน เรียนศีลกันเสียจนหัวหงอกก็ไม่มีศีล ทำสมาธิกันนั้นก็ยังไม่มีสมาธิ ลองทำลงไปอย่างนี้สิ มันมีขึ้นมาเอง และมีขึ้นมาจริง ๆ เป็นชนิดที่เป็นตัวจริงด้วย ปฏิบัติหมวดกายลงไปอย่างนี้ ก็เริ่มมีทั้งศีล ก็มีทั้งศีล สมาธิ ทั้งสมถะ และทั้งปัญญา ทั้งวิปัสสนา มันฟั่นเกลียวกันอย่างนี้ ที่ว่าลมยาวนั้น มันสังเกตว่ายาวหรือสั้น เอาด้วยความสังเกต หรือถ้าอยากจะรู้จักให้แน่นอนก็แกล้งหายใจยาว หรือแกล้งหายใจให้สั้น เป็นพิเศษ มันก็รู้ลักษณะ มันก็รู้ธรรมชาติของลมยาวและลมสั้น อย่างนี้ถ้าจำเป็นต้องทำอย่างนี้ ถ้าปล่อยไปตามธรรมดา มันยาว มันสั้นของมันตามธรรมดา มันแล้วแต่อารมณ์ของคนเรานะ ถ้าอารมณ์ปกติดี จิตใจพอปกติดี ลมก็ยาว ถ้ามีความไม่ปกติแห่งร่ายกาย จิตใจขึ้นมา ลมก็สั้น มันก็สั้นเอง ยาวเองได้ หรือแม้แต่บางที มันก็มียาว แทรกเข้ามาทีหนึ่ง ฉะนั้นหายใจสั้น ๆ ตามสบาย อย่างขี้เกียจหายใจสั้น ๆ หลาย ๆ หนมันไม่พอ มันต้องถอนหายใจยาวครั้งหนึ่ง มันก็ได้ลมหายใจยาว ทีนี้มันจะสั้นหรือมันจะยาวด้วยเหตุอะไรของมันก็ตามใจเถิด รู้ก็แล้วกันว่ายาว ว่าสั้น มันก็ไม่ต้องวัด ถ้ารู้สึกว่ายาวก็ได้แล้ว ว่าสั้นก็ได้แล้ว ไอ้ยาวหรือสั้นของแต่ละคนบางคน ก็อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ความรู้สึกของเขา มันของใคร ใครรู้สึกก็ดีกว่า พอทีนี้มันหายใจยาว แล้วมันมีผลแก่ระบบประสาท แก่ร่างกายเนื้อหนังอย่างไร สังเกตไว้ ว่าสั้นมันอย่างไร มันคู่กัน ถ้าหายใจยาว กายก็ระงับ หายใจสั้นกายก็กำเริบ คำว่ายาว คำว่าสั้นนี้เอาตามธรรมชาติ แต่คำอธิบายของบางคน บางพวก บางคณะ บางคัมภีร์ สอนให้นับอย่างนั้น นับอย่างนี้ เพื่อควบคุมความสั้น ความยาว ให้รู้จักความสั้น ความยาวดีขึ้น อย่างนี้ก็มี ก็ทำได้ เรานับให้มันมากเข้ามันก็ยาว นับให้มันน้อยเข้ามันก็สั้น นับช้า ๆ มันก็ยาว นับเร็ว ๆ มันก็สั้น อันนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อย ในความประสงค์ที่แท้จริงนั้น ต้องการจะตามธรรมชาติ เพื่อรู้จักธรรมชาติของลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น รู้ความสั้น รู้ความยาว แล้วก็รู้อิทธิพลของมันว่าหายใจยาวน่ะ มันอิทธิพลต่อร่างกายอย่างไร หายใจสั้นอิทธิพลต่อร่างกายอย่างไร ตอนนี้ยังไม่กำหนดว่าลมไม่เที่ยงนะ ยัง ยัง ยัง อย่าเพิ่ง ไปไว้อันโน้นในหมวดธรรม หมวดธรรม หมวด ๑๓ ข้อ ๑๓ นี่กำหนดแต่เรื่องสั้น เรื่องยาว ว่าสั้นมีอิทธิพลอย่างไร ยาวมีอิทธิพลอย่างไร มันเป็นอยู่ ต่อสู้กันอยู่นี้อย่างไร จนกระทั่งค่อย ๆ มองเห็นว่า เอ้อ, พอหายใจยาวร่างกายเป็นอย่างนี้ หายใจสั้นร่างกายเป็นอย่างนี้ รู้ว่ามันเกี่ยวเนื่องกัน มันพาดพิงกัน มันขึ้นอยู่แก่กันและกัน ค่อย ๆ รู้สึกขึ้นมาเลยว่า โอ้, มัน ๒ ๒ อย่าง ลม กายลมกับกายเนื้อ มีอยู่ ๒ กาย และพาดพิงเกี่ยวพันกัน ขึ้นอยู่แก่กันและกัน ก็เลยรู้พร้อมกันมาเลยว่าเมื่อลมเป็นอย่างนั้น กายเป็นอย่างนี้ และเมื่อกายเป็นอย่างนี้ ลมเป็นอย่างนั้น อย่างนี้จะได้ชื่อว่ารู้จักกายทั้งปวง แล้วทีนี้ก็มาทำวิธีให้ ให้กายสังขารคือลม เดี๋ยวนี้ถือว่าลมหายใจเป็นสังขาร คือเครื่องปรุงแต่งของกาย ก็ระงับกายสังขาร หายใจออกเข้าอยู่ ทำวิธีที่ทำให้ลมหายใจค่อยละเอียด ค่อยระงับ ไประงับ ละเอียด ผมรวบรวมเอามาทำเป็นเค้าโครงให้ง่าย ให้สะดวกแก่การศึกษา มีอยู่ ๓ – ๔ ขั้นตอนที่ถจะทำให้มันระงับ
ขั้นที่ ๑ เฝ้าดูลม ตามเข้า ตามออก ตามเข้า ตามออก ที่เรียกว่าวิ่งตาม วิ่งตาม วิ่งตามลม จิตหรือสติ ที่แท้ก็คือสติ วิ่งตามลม ลมเข้า เข้าไป ลมออก ออกมา วิ่งตามลมอยู่อย่างนั้น อย่าให้ขาดตอนได้ อย่าให้มีที่ว่างได้ ถ้ามีที่ว่างหมายความว่าจิตมันหนีไปที่ใดที่หนึ่งเสียแล้ว ถ้าจิตยังอยู่ก็รู้อยู่ เข้าตามลม ออกตามลม เข้าตามลม ออกตามลม นี่เรียกว่าวิ่งตาม ฉะนั้นทำในขั้นวิ่งตาม วิ่งตามได้แล้วก็เฝ้าดู ขี้เกียจวิ่งตามแล้ว เฝ้าดูอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะงอยจมูก จะงอยจมูก ถ้าจมูกธรรมดามันก็ต้องกระทบสุดท้ายที่ปลายจะงอยจมูก แต่ถ้าจมูกเชิดขึ้นเหมือนพวกแขกนิโกรนั้น มันลมอาจจะมากระทบที่ริมฝีปากข้างบน ชั้น ตอนบนก็ได้ มันต้องเอาที่ว่ามันกำหนดได้ที่ตรงไหน เอาที่ตรงนั้นเป็นจุดสำหรับเฝ้าดู จิตหรือสติเฝ้าดูอยู่ที่ตรงนั้น ถ้าทำได้อย่างนั้น ก็ค่อยสร้าง ค่อยทำต่อไปอีก จนทำใหม่ให้เกิดความรู้สึกขึ้นที่ตรงนั้น เป็นนิมิตที่สร้างขึ้นมา เมื่อลม เอาลมเป็นที่นิมิต ก็ลมนั้นแหละ เมื่อลมเป็นที่กำหนด ก็ลมนั้นเป็นนิมิต เดี๋ยวนี้เอาจุดที่ลมกระทบอันสุดท้าย เข้าก็ตาม ออกก็ตาม กระทบ ตรงนั้นสร้างให้เป็นที่สมมติ เป็นนิมิตขึ้นมาจุดหนึ่ง จะให้เห็นอะไรเป็นที่กำหนดอยู่ตรงนั้น ถ้าเพ่งมากเข้า ๆ จะเกิดความรู้สึกที่ว่าเป็นดวง เป็นจุด หรือเป็นดวง เป็นดวงแดง ดวงขาว ดวงเขียว ดวงอะไรก็แล้วแต่จะทำขึ้นมาได้ ซึ่งไม่เหมือนกัน นี่เรียกว่าสร้างนิมิตขึ้นมา ฉะนั้นก็ได้แล้วก็ฝึกต่อไป จนกระทั่งถึงบังคับจิตให้นิมิตนั้นเปลี่ยน เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนสี เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนอะไรก็ได้ เปลี่ยน มันเปลี่ยนได้ นี่หมายความว่าจิตละเอียด ลมละเอียด ลมละเอียด เพราะการทำอย่างนี้ลมละเอียด จิตละเอียด กายระงับ พร้อมกันลงไปทีละนิด ๆ ทีละนิด กายก็ระงับ จิตก็ระงับ ระบบประสาทก็ระงับ ตามลำดับ
เมื่อตั้งต้นวิ่งตาม วิ่งตาม มันก็ระงับเข้ามาขั้นหนึ่งแล้ว แม้จะไม่มากนัก ก็เฝ้าดู หยุดเฝ้าดู ถ้าทำได้ หมายความว่าจิตก็ระงับมากขึ้นไปอีก ถ้าสร้างนิมิตได้ มันระงับยิ่งไปกว่านั้นอีก ถ้าบังคับให้เปลี่ยนได้ มันก็ต้องทำด้วยจิตที่ละเอียด ด้วยลมที่ละเอียด ด้วยอะไรที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่าลมมันระงับ คือกายสังขารระงับ ระงับ จนปรับปรุงให้เป็นรูปแบบสมาธิสมบูรณ์ คือรูปฌาน รูปฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุรฌาน ได้ก็ที่ตรงนี้ ถ้าต้องการจะทำอย่างนั้น ก็ต้องใช้เวลามาก ใช้ความพากเพียรพยายามมาก จนฝึกออกไปในรูปของรูปฌานทั้ง ๔ นั่นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้ถึงเป็นรูปฌานทั้ง ๔ มันเรื่องยาวมาก พูดกันได้เป็นชั่วโมง ๆ เดี๋ยวนี้เราไม่พูดถึงขนาดนั้น เราพูดกันถึงแต่มันระงับ กายสังขารมันระงับ ลงไปถึงขนาดที่สมควร เพียงเท่านี้ก็เรียกว่าสำเร็จในหมวดกาย หมวดกาย ถ้าจะต้องการจะทำให้เป็นถึงสมาธิ ถึงฌานสมาบัติกันด้วยข้อที่ ๔ อันนี้ก็ทำได้ แต่ว่าการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นี้ไม่ประสงค์ ประสงค์สมาธิพอสมควร คือว่ากายสังขารระงับพอสมควรแล้ว มันก็ปฏิบัติต่อไปได้ ถ้าจะไปฝึกให้เป็นฌาน เป็นสมาบัติ มันกินเวลามาก มันอาจจะ ล้ม ๆ เหลว หรือว่าเลิก เลิก ทีนี้เราก็ไม่เลิก ถ้าใจ ถ้ากายสังขารระงับลงไปเท่าไร มันก็มีเวทนา โน่นน่ะ เวทนา หมวดเวทนา จะมี ปีติ พอใจ ในการกระทำของตน มันจะมีความสุขเกิดขึ้นจากปีตินั้น ก็ทำความรู้สึกปีติ กำหนดปีติ ลักษณะอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร มีอะไรอย่างไร รู้จักธรรมชาติของปีติ แล้วก็กำหนดความสุข แยกกำหนดความสุข รู้จักธรรมชาติทุกชนิด รู้จักกำพืดของมันทุกชนิด ว่ามันเป็นอย่างไร มีอะไรอย่างไร ลักษณะอย่างไร ถ้ามันมีหลายอย่าง ก็รู้จักทุกอย่างทั้งปีติและทั้งสุข แต่อย่าลืมว่ามันต้องรู้อิทธิพลของมัน สำคัญว่าปีติมีอิทธิพลต่อจิตอย่างไร ความสุขมีอิทธิพลต่อจิตอย่างไร กำหนดไป กำหนดไป ก็รู้ว่า อ้าว, ไอ้นี่เอง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต กลายเป็นรู้ข้อที่ ๗ จิตสังขาร รู้จิตสังขาร หายใจเข้าออกอยู่ หรือสิ่งที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตก็คือปีติและสุขนั่นเอง แต่จะมารู้ทีเดียวทันทีไม่ได้ ต้องไปกำหนดไอ้ตัวปีตินั่นน่ะ อย่างเดียวนั่นน่ะ จนรู้จักมันดี ความสุขจนรู้จักมันดี รู้จักธรรมชาติ ธรรมชาติของมันทุกแง่ ทุกมุม ในที่สุดจับได้ว่ามันเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ทีนี้ก็ทำจิตสังขารนั่นแหละ ให้ระงับ ให้ระงับ นี่จิตจะระงับโดยแท้จริง มีวิธีลดกำลังของปีติและความสุขลงมา โดยวิธีใดก็สุดแท้ แต่ถ้าปีติและสุขมีกำลังน้อยก็ปรุงแต่งจิตน้อยลงมา
ถ้ามีความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาก่อนแล้วก็ใช้ได้ ไม่เห็นปีติและสุขเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาบ้างแล้วนะ ก็ทำให้ถอยกำลังลง คือไม่ปรุงแต่งจิตมาก หรือเราจะระงับอำนาจของปีติ อำนาจของความสุขได้ด้วยวิธีใดก็ทำโดยวิธีนั้น ก็เรียกว่าทำจิตสังขารให้ระงับ การปรุงแต่งจิตลดลง จิตเป็นอิสระมากขึ้น ให้จัดการกับจิตมาตั้งแต่ขั้นนี้ ขั้นที่ ๗ ที่ ๘ จัดการกับจิตมาพอสมควรแล้ว รู้จักวิธีที่จะบังคับจิตพอสมควรแล้ว จึงเปลี่ยน เปลี่ยนรูปมาเป็นหมวดที่ ๓ หมวดจิตตานุปัสสนา ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ศึกษาพิจารณา ปลุกปล้ำกันแต่เรื่องจิตล้วน ๆ ล่ะทีนี้
ข้อที่ ๑ รู้จักจิตทุกชนิด ข้อที่ ๑ ของหมวดนั้น แล้วก็รู้จักจิตที่ปราโมทย์ หรือทำจิตให้ปราโมทย์ได้ แล้วก็รู้จักจิตที่ปราโมทย์ แล้วก็ทำจิตให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิอีกนั่นแหละ ได้รู้จักจิตที่ตั้งมั่น แล้วจิตที่ปล่อย ก็ทำจิตให้ปล่อย ให้ปล่อย ปล่อยจากอารมณ์ที่ยึดถืออยู่ ตัวมีอารมณ์อะไรที่ยึดถืออยู่ ทำให้ปล่อย ทีนี้เล่นงานกับจิต ต่อสู้กับจิต ฝึกฝนจิต บังคับจิตกันเป็นการใหญ่ เสียหมวดหนึ่งเลย หมวดจิต ก็เป็นว่าเราจะบังคับจิตได้ตามความประสงค์ของเรา มันมีบทฝึกอยู่ถึง ๓ บท จิตให้ปราโมทย์ จิตให้ตั้งมั่น จิตให้ปล่อยวาง ด้วยการบังคับ รู้จักจิตทุกชนิดเสียก่อน แล้วมันก็จะรู้ว่าจะบังคับให้เป็นชนิดไหน บังคับให้เป็นอย่างไร จิตทุกชนิดนั่น เขามีตัวอย่างไว้สัก ๑๖ ชนิด ที่จริงทุกชนิดกว่า (นาทีที่ 39:38) จะกี่ร้อยชนิดก็ช่างหัวมัน สิ่ง จิตชนิดไหนมาปรากฏในความรู้สึก ก็รู้จักจิตชนิดนั้นว่าเป็นอย่างนั้น เรียกว่ารู้จักจิตทุกชนิดที่มาปรากฏ ทำจิตให้ปราโมทย์ โดยนึกคิดถึงสิ่งที่ปราโมทย์ หรือว่าจะย้อนไปหาปีติในเวทนาโน้นอีกทีก็ได้ พอเป็นเครื่องสังเกตศึกษา แล้วก็ทำให้ปราโมทย์ยิ่งขึ้นไป ทำจิตให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธินั้นน่ะ ก็ใช้วิธีในข้อ ๔ ที่ว่ากายสังขารระงับเป็นสมาธิ เอามาใช้อีกก็ได้ เป็นจุดตั้งต้นและก็ทำให้ยิ่งขึ้นไป ทำจิตให้ปล่อย มีอุบายมากมาย มีความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่บ้างเอามาใช้ก็ได้ หรือโดยวิธีใดที่ทำให้จิตหยุด ยึดมั่น ถือมั่น หยุดปล่อย สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นก็ทำ รายละเอียดอธิบายอยู่ในหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ปกดำ เรื่อง อานาปานสติภาวนา รายละเอียดเกี่ยวกับทั้งหมดนี้
อ้าว, ทีนี้เป็นนายเหนือจิตแล้ว หมวดที่ ๓ นี่กลายเป็นนายเหนือจิตแล้ว จิตอยู่ในอำนาจแล้ว ก็ข้ามไปหมวด ก็เลื่อนไปหมวดธรรม ธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน อันแรกก็คือกำหนดอนิจจัง อันที่ ๒ กำหนดวิราคะ อันที่ ๓ กำหนดนิโรธะ อันที่ ๔ กำหนดปฏินิสสัคคะ เดี๋ยวนี้เราบังคับจิตอยู่ในอำนาจได้ตาม ได้พอสมควร หรือได้พอแก่เหตุการณ์ ก็เอาจิตนั้นน่ะมาดูอนิจจัง บังคับจิตให้เพ่งดูอนิจจัง ดูแต่อนิจจัง ที่ดีที่สุดต้องดูแต่สิ่งที่มันเป็นอนิจจังอยู่ในภายใน ดูที่เป็นอนิจจังอยู่ภายนอกนั้นน่ะ มันก็ได้แต่คิดนึก ใคร่ครวญ เป็นสัญญา เป็นอะไรไปนู่น มันไม่เป็นการเพ่งจิตปักจิตลงไปโดยตรง ฉะนั้นจะต้องดูอนิจจังของสิ่งที่เป็นภายใน และรู้สึกอยู่เป็นภายใน จะเอาบทท่องเรื่องอนิจจัง หรือคำอธิบายในหลักสูตรนักธรรม มาดูนี่ ไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะไม่ได้มีอยู่จริงในภายใน แล้วก็เอา ดูสิ่งที่มีอยู่จริงในภายใน ถึงย้อนกลับไปดูลมยาว ทำลมยาวขึ้นมาใหม่ ดูลมยาวแต่ในแง่อนิจจัง เพียงพอแล้วก็ดูลมสั้นในแง่อนิจจัง ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง มันดูของที่มันมีอยู่ในภายในอย่างนี้ มันไม่ใช่ดูแต่ความคิดนึก มันดูแต่ความรู้สึกลงไป ไม่ต้องคำนึงคำนวณอะไร ไม่ต้องยกเหตุผลอะไรเหมือนที่เราเรียนในหนังสือ แล้วดูกายทั้งปวง กายลมหรือกายเนื้อก็อนิจจัง ก็ดูความสงบระงับแห่งกายสังขาร มันก็อนิจจัง แสดงกายอนิจจังได้ง่ายขึ้น การปรุงแต่งก็อนิจจัง การระงับแห่งการปรุงแต่งก็อนิจจัง ทีนี้ก็ไปดูที่ปีติ ปีติทำวิธีให้เกิดขึ้น เหมือนที่เคยทำมาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ทำต้องบอกดูอนิจจัง ดูอนิจจังของปีติ จนเห็นปีติอนิจจัง ดูสุขอนิจจัง ถ้าดูจิตสังขาร ปีติและสุขปรุงแต่งจิตนั้น มีลักษณะอนิจจังกี่อย่าง กี่แบบ กี่ท่า แล้วก็มาดูอนิจจังของจิต ระงับจิตสังขาร จิตสังขารที่ระงับ จิตก็อนิจจัง การปรุงแต่งก็อนิจจัง จิตที่ระงับแล้วก็อนิจจัง รู้สึกต่ออนิจจังจริง ๆ ไม่ใช่คิด ไม่ใช่คำนวณ แล้วก็มาที่หมวดจิต หมวด ๓ อีกที ทำย้อน ย้อนทวนตามลำดับทุกขั้นอีกที จิตทุกชนิด ตามที่รู้สึกอยู่จริง ที่ไหนมันรู้สึกอยู่ ดูอนิจจังของมัน ทำจิตให้ปราโมทย์ ดูความปราโมทย์แห่งจิตเป็นอนิจจัง ดูจิตที่ปราโมทย์อนิจจัง ความปราโมทย์ก็อนิจจัง จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นก็อนิจจัง ถ้ามันเป็นนิจจังเสีย (นาทีที่ 44:50) มันทำอะไรอย่างนั้นทุกอย่างไม่ได้ ตั้งมั่น เดี๋ยวก็ไม่ตั้งมั่น เดี๋ยวความตั้งมั่นก็เปลี่ยนแปลง ขึ้นลง จางคลาย เข้มข้นอะไรก็ตาม ความตั้งมั่นก็อนิจจัง มีจิตที่ปล่อย กายปล่อย กริยาปล่อย หรือสิ่งที่ถูกปล่อย จิตผู้ปล่อยเรียกว่าอนิจจัง มันเยอะ มันพอแล้ว มันพอที่จะเห็นอนิจจัง ไม่ต้องเอาบทที่จดไว้ในสมุด เมื่อเรียนนักธรรมมาใช้ก็ได้ เพราะนั้นมันเป็นเรื่องคิด เป็นเรื่องจำ ก็กลายเป็นเรื่องจำ เป็นเรื่องคิดไปเสีย นี่เป็นเรื่องความรู้สึกลงไปด้วยจิต ที่ว่าภาวนาหมายถึงอย่างนี้ รู้สึกลงไปด้วยจิต โดยแท้จริง เรียกว่าเจริญภาวนา ถ้าเอาตามที่เรียนมาในโรงเรียนนักธรรมมันก็เป็นสัญญา เป็นความจำ และบางทีก็เป็นการคำนวณ ต้องใช้เหตุผลคำนวณว่าเพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนิจจัง เพราะเหตุนี้จึงเป็นอนิจจัง แต่อันนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่คำนวณ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นความรู้สึก รู้สึกลงไปตรง ๆ ลงไปในจริง ๆ เห็นอนิจจัง อนิจจัง นี่ใช้ ๑๒ อันนั้นน่ะเพื่อดูอนิจจัง ก็ดูอนิจจังเรื่อยไป ดูอนิจจังเรื่อยไป เรื่อยไป เรื่อยไป จน จนไม่มีอะไรรอหน้าได้ (นาทีที่ 46:25) เข้ามาอนิจจังเสียแล้ว เข้ามาเป็นอนิจจังเสียแล้ว นี่เรียกอนิจจานุปัสสี ตาม (นาทีที่ 46:32) เห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า หายใจออก
ทีนี้เมื่ออนิจจังอยู่อย่างนั้น ในความรู้สึกนะ ไม่ใช่ในความจำ ไม่ใช่ในการคำนวณ ในความรู้สึกแห่งจิตแท้จริง ในความยึดมั่นถือมั่นมันก็เริ่มจางคลายเป็นวิราคะ การจางคลายแห่งความยึดมั่นถือมั่น แสดงออกมาให้เห็นมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น ก็ดูไปที่ตัวความจางคลาย เรียกว่าวิราคานุปัสสี ตาม (นาทีที่ 47:07)เห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก หายใจเข้า ทีนี้เมื่อมันจางคลายออก จางคลายออกไป มันก็มีการดับนิโรธะขึ้นมาสำหรับส่วนนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ก็ได้ หรือสำหรับทั้งหมดก็ได้ ถ้าทั้งหมดก็จะเป็นพระอรหันต์ไปเลย ถ้ามันดับไปแต่บางส่วน ส่วนนั้น ส่วนนี้ ส่วนที่มันจะดับไปได้ ก็เรียกว่านิโรธะเหมือนกัน นี่เขียนรวมไว้หมด ทั้งว่าเพื่อทั้งหมดหรือว่าเพื่อบางส่วน ในข้อนี้ ข้อนิโรธะนี้มองให้เห็นความดับลงแห่งความยึดมั่นถือมั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยึดมั่นว่าตัวตน ว่าของตนในสิ่งใด ที่มีอยู่มันจะดับลง ยังไม่พอ ยังเอาไปอีกขั้นหนึ่ง ก็โยงไปอีกขั้น (นาทีที่ 48:05) เป็นปฏินิสสัคคะ เป็นสัคคานุปัสสี (นาทีที่ 48:06) ตามดูเห็นความที่ ที่ปล่อยแล้ว ที่สลัดแล้ว ปฏินิสสัคคะแปลว่าสลัดคืน ดูความที่ได้ปล่อยแล้ว สลัดแล้วอะไรอีกที เป็นอันสุดท้าย เป็นคำสั่งครั้งสุดท้าย ให้พิจารณาดูอีกทีว่า โอ้, มันปล่อยแล้วอย่างนี้ ปล่อยแล้วอย่างนี้ สลัดไปแล้วอย่างนี้ หลุดพ้นไปแล้วอย่างนี้ มันก็ครบ ถ้าทำอย่างนี้เรียกว่าสมบูรณ์แบบ แบบสมบูรณ์แบบ แล้วก็กระทำให้เต็มที่ถึงกับขนาดว่า ที่สุด ๆ ถึงที่สุด ทุกขั้น ทุกขั้น ๆ มันจะกินเวลามาก มีความพยายามมาก แม้ขั้นที่ ๔ กายสังขารก็ทำถึงรูปฌานทั้ง ๔ ขั้นเลย แล้วในที่สุดก็ต้องมาเหลือแค่ ปฐมฌาน เพื่อเอาปีติและสุขมาเป็นอารมณ์ของหมวดเวทนา นี่เรียกว่าสมบูรณ์แบบ ซึ่งมันก็ต้องยากเป็นธรรมดา แต่ทีนี้ก็มีวิธีลัด มีวิธีลัด ไม่เรียกว่าสมบูรณ์แบบ แต่ก็สำเร็จประโยชน์ได้ พอสมควรหรือตามสมควร เพราะว่าบางคนคงทำไม่ไหว แต่ทำไปทั้งเต็มสมบูรณ์แบบ ทำไม่ไหว บางคนก็ลัดสั้นได้ คือทำหมวดที่ ๑ เรื่องกายมาพอสมควรเท่านั้นแหละ ถึงกายสังขารสงบระงับเป็นฌาน ไม่ต้องอะไรก็ได้ มีความระงับพอสมควรที่จะรู้สึกว่าปีติและเป็นสุข ถ้าจะลัดกว่านั้นก็ไม่ต้อง เพราะว่ากายสังขารสงบระงับ พอสมควรแล้วก็กระโดดมาขั้นที่ ๑๓ มาดูอนิจจังกันเสียเลย สำหรับให้ดูได้ก็มีเพียง ๔ ขั้น อนิจจังของลมยาว ลมสั้น ของกายทั้งปวง ของกายสังขารระงับ ข้ามมาดูอนิจจัง พิจารณาอนิจจังเลย ไม่ฝึกผ่านเวทนา ไม่ฝึกผ่านจิต แต่มันก็สำเร็จประโยชน์ เพราะการเห็นอนิจจังนั้นน่ะ ในที่นี้ท่านระบุไว้เพียงอนิจจังอย่างเดียว แต่อย่าลืมว่ามันมี ทุกขัง อนัตตา รวมอยู่ในนั้นน่ะ เพราะว่าเมื่อเห็น อนิจจัง มันก็ต้องเห็นทุกขัง เมื่อเห็นอนิจจัง และเห็นทุกขัง มันก็ต้องเห็นอนัตตา ไม่ ไม่ ไม่ใส่ทั้ง ๓ ชื่อ ใส่ไว้แต่ชื่อเดียวว่าอนิจจังเป็นหลักใหญ่ เป็นหลักสำคัญ เห็นอนิจจัง แล้วก็เห็นทุกขัง เห็นอนิจจังและทุกขัง ก็คือเห็นอนัตตา ฉะนั้นเมื่อกายสังขารระงับพอสมควร ไม่ถึงกับเป็นฌาน กระโดดมาพิจารณาอนิจจังของไอ้สิ่งเหล่านั้นที่ผ่านมาแล้ว กับเห็นทุกขัง เห็นอนัตตาตามสมควร ไม่ถึง ไม่เต็มขนาดน่ะวิธีลัดสั้นของคนที่มีบารมีน้อย มีอุปนิสัยน้อย มีอะไรน้อย ก็วิราคะไปตามส่วน ก็นิโรธะไปตามส่วน แล้วก็ยังอาจจะเห็นปฏินิสสัคคะได้ตามส่วน ที่จริงถ้ามันนิโรธะได้แล้ว ปฏินิสสัคคะไม่ต้องสนใจก็ได้ เมื่อถือเอาแบบที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องไปถึงปฏินิสสัคคะก็ได้ นี่แบบสมบูรณ์เต็ม ๑๖ ขั้น เต็มที่ทั้ง ๑๖ ขั้น แบบลัดสั้น มันก็เหลือสัก ๘ ขั้น ๗ ขั้น ทีนี้ลัดสั้นเข้ามาอีก เริ่มทำความสงบระงับแห่งกายสังขารพอสมควร แล้วมาพิจารณาอนิจจัง ให้เต็มที่เท่าที่ทำได้ ไอ้วิราคะ นิโรธะก็ตามมาเอง แบบที่เราสอนกันอยู่ หรือที่เราหวังจะประชาชนทำ มันคือแบบลัดสั้น แบบสั้น ๆ แบบลัดสั้นที่สุด ก็ยังทำกันไม่ค่อยได้ แต่ถ้าเราเป็นพระมีเวลามาก ก็ศึกษามาก ศึกษาเต็มที่ ฝึกฝนเต็มที่ ทดลองเต็มที่ เป็น ๑๖ ขั้น นี่เรียกเมื่อทำอยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์ เรื่องกายก็รู้สมบูรณ์ เรื่องเวทนาก็รู้สมบูรณ์ เรื่องจิตก็รู้สมบูรณ์ เรื่องธรรมก็รู้สมบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ โพชฌงค์ก็สมบูรณ์ เมื่อโพชฌงค์สมบูรณ์ วิชชาและวิมุติก็สมบูรณ์ สมบูรณ์เพราะทำครบทั้ง ๑๖ ขั้น เมื่อเอาอย่างไม่สมบูรณ์ เอาพอดับทุกข์ ตามสติปัญญา เพราะว่าบางคนคงจะทำไม่ไหวจริงเหมือนกัน บางคนที่มีอุปนิสัยน้อย มีอะไรน้อย ก็ทำสมบูรณ์ ๑๖ ขั้นอย่างนี้ ไม่ไหวจริงเหมือนกัน ก็ลัดเอา ตัดทอนเอา ตามสมควรแก่นิสัย แก่บารมี แก่อะไรของตน ของตน
ที่ต้องเขียนใส่ภาพอย่างนี้ มันอธิบายง่ายกว่าที่จะพูดด้วยปาก ถ้าพูดด้วยปากมันเข้าใจยาก แล้วมันก็ลืมง่ายด้วย ถ้าเขียนเป็น Chart อย่างนี้ เมื่อฟังก็ฟังง่าย เมื่อศึกษาก็ศึกษาง่าย แล้วมันก็ลืมยาก ฉะนั้นเอาเรื่องนี้ ความรู้อย่างนี้เอาไว้เป็นหลัก ทีนี้จะดูกันซ้ำอีกทีว่ามันเป็นศีลอยู่ทุกข้อ มันเป็นสมาธิได้ทุกข้อ มันเป็นปัญญาได้ทุกข้อ มีเจตนาใหญ่ เพื่อจะฝึกให้มีสติ แต่มันก็มีสมาธิด้วย มีปัญญาด้วย การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอนิจจังนั่นก็ยอดสุดของปัญญา การที่ทำจิตให้กำหนดอยู่ได้นี่เป็นสมาธิ สมาธิสมบูรณ์แบบปฏิกายะสังขารระงับ (นาทีที่ 55:16) สมาธิ สามารถจะเกิดความรู้สึกที่ปีติ ที่เป็นปีติ และเป็นสุข เอามาใช้พิจารณาในหมวดเวทนาได้ แม้จะไม่ถึงเป็นปฐมฌาน มันก็มีรสแห่งปีติและสุข ตามสมควรด้วยเหมือนกัน และมันก็ปฏิบัติได้ แม้ไม่ถึงกับเป็นฌานสมบูรณ์ มันก็มีปีติและสุขได้พอที่จะมาพิจารณาได้ นี่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ ตามแบบอานาปานสติ ประเสริฐ วิเศษ ที่ไม่ต้องแยกกันฝึกทีละขั้น ทีละอย่าง เหมือนฝึกศีลที ฝึกสมาธิที ฝึกปัญญาที แล้วก็ล้มเหลวทั้งนั้น มันฟั่นเกลียวกันไปหมด มันก็ล้มยาก ต่อไปนี้ก็เป็นผู้มีสติ เพราะว่าฝึกสติไว้สมบูรณ์เต็มที่ เป็นสติเร็วและสติมาก พอที่จะให้มันเกิดสติในขณะที่มีผัสสะ แล้วเมื่อได้ฝึกอย่างนี้แล้ว มันก็รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแจ้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างเพียงพอ สำหรับสติ มันจะค้นเอาไปเผชิญกับผัสสะ ในขณะผัสสะ และเมื่อฝึกอย่างนี้มันมีจิตเป็นสมาธิ กำลังจิตมันก็เพียงพอ เรื่องอิทธิบาท การจะมีอิทธิบาทก็เป็นไปได้โดยง่าย
อย่าลืมว่าเมื่อเราฝึกสติ สติปัฏฐานอยู่เพียงข้อเดียว ก็เรียกร้องเอาโพธิปักขยธรรมมาหมดทุกข้อ แล้วเมื่อเราปฏิบัติทุกข้ออย่างนี้ ก็เรียกร้องโพธิปักขยธรรมอย่างครบถ้วนมากมายมหาศาลแน่นแฟ้นเต็มที่มา นี่สังเกตแนวสังเขปของอานาปานสติเป็นอย่างนี้ กำหนดให้เกิดความรู้สึกอย่างนี้อยู่ ทุกครั้งที่หายใจออก หายใจเข้า ไอ้คำว่าหายใจออก หายใจเข้าในบาลี ในอรรถกถาเอง มันก็อธิบายกันคนละอย่าง ตีกันยุ่ง จนไม่รู้ว่า ออกหรือเข้า เข้าหรือออก อสฺสสามิติ ปสฺสสามิติ ผมเอาคำที่ว่าหายใจออกและหายใจเข้า แล้วก็มีอยู่พวกหนึ่งที่ถืออย่างนั้น แต่ไม่เป็นไร ออกหรือเข้า มันก็รู้อยู่ ไม่ต้องแปลบาลี ไม่ต้องเรียนบาลี ไม่ต้องไปมีปัญหาเรื่องบาลี เป็นเรื่องจริงว่าหายใจออกก็อย่างนี้ หายใจเข้าก็อย่างนี้ ใช้ได้ ไม่มีปัญหาเรื่องภาษาบาลีว่าเข้าหรือ ออก ไปเสียเวลาเรื่องเถียงกันเรื่องบาลี ว่าเข้าหรือออก ก็เลยไม่ต้องฝึก เอาลมหายใจ เป็นที่ตั้งแห่งการฝึก จนฝึกอย่างนั้น ๆ ทุกครั้งที่หายใจออกหรือหายใจเข้า เรียกว่าอานาปานสติ ทำได้แล้วจะเป็นผู้มีความรู้ต่อธรรมชาติของจิตอย่างยิ่ง รู้จักใช้จิตหรือใช้สติ ให้ทำหน้าที่ได้ดีอย่างยิ่ง พวกที่จะกำหนดรู้ว่าจะตายหรือยังน่ะ เขาระบุ ระบุไว้ในบาลีแต่เพียงกรรมฐานนี้เท่านั้น กรรมฐานอานาปานสติ ก็มัน มันคุ้นอยู่กับหายใจเข้า หายใจออก ทุกเรื่อง ทุกอย่าง ทุกประเภท ทุกชนิด มันรู้จักลมหายใจดีจึงสามารถจะบอกได้ว่า จะตาย จะดับจิตลงในการหายใจครั้งไหน นี่อานิสงส์พิเศษของอานาปานสติ ซึ่งกรรมฐานแบบอื่นไม่มี มีไม่ได้ นี่เล่าไว้เป็นปาฐกถาว่าพระเถระผู้ฝึกอานาปานสติอยู่เป็นประจำองค์หนึ่ง เมื่อจะตายก็ลงไปตายกลางสนามหญ้า ให้ลูกศิษย์องค์หนึ่งยืนอยู่ตรงที่แห่งหนึ่ง แล้วแกก็เดินไปเดินมา เดินไปเดินมา จงกรม ทำอานาปานสติแล้วก็มาหยุดลงพอดี ตรงที่ลูกศิษย์ยืนอยู่ แล้วก็ตาย ให้ลูกศิษย์คนนั้นรับร่างที่ตายแล้ว มันสามารถจะกำหนดลงไปได้ว่าจะตายในการหายใจครั้งไหน เพราะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในการหายใจของตัวเองเหลือประมาณ หายใจอย่างนั้น หายใจอย่างนี้ หายใจอย่างโน้น ติดกันอย่างนั้น ติดกันอย่างนี้ มีอะไรแทรกแซง รู้ไปเสียหมด เรื่องเกี่ยวกับการหายใจของตัวเอง จนรู้ว่ามันใกล้จะตายหรือยัง หรือถ้ามันจะตาย มันจะตายด้วยอย่างไร และจึงกำหนดเอาได้ว่าจะตายด้วยการหายใจครั้งนี้ ที่เตรียม เตรียมตัวตายไว้ตามที่ลมหายใจมันแสดงออก บอกลักษณะว่าใกล้ตายเข้าไปแล้ว ใกล้ตายเข้าไปแล้ว แล้วก็จะดับราว ๆ นั้นจึงสามารถทำอย่างนั้นได้ กรรมฐานชื่ออื่นอย่างอื่นทำอย่างนี้ไม่ได้ แม้จะเหาะเหินเดินอากาศได้ก็ไปอีกเรื่อง นี่เราไม่ต้องการเหาะเหิน เดินอากาศ ต้องการจะดับทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น แล้วก็ดับทุกข์ได้หมดทางจิตใจด้วย แล้วก็ยังดับร่างกายได้อย่างน่าประหลาด มหัศจรรย์ด้วย ขอให้สนใจ
วันนี้อธิบายเรื่องอานาปานสติ เพื่อสามารถจะมีสติเอาไปใช้ควบคุมผัสสะที่อธิบายมาแล้ว ๒ คืน ก่อนโน้น สติสำคัญหรือไม่สำคัญ ก็ต้องลอง ลองคิดดู ปัญหาต่าง ๆ จะหมดไปได้ด้วยความมีสติ สติ สัพพัตถะ ปัตถิยา (นาทีที่ 01:03:16) สติจำปรารถนาในทุกกรณี ไม่ว่าในกรณีไหน ต้องใช้สติ เดี๋ยวนี้จะใช้ในเรื่องที่จะสกัดกั้นกิเลสไม่ให้เกิด หรือเกิดขึ้นแล้วก็รู้สึกตัวต่อไปอีก แล้วก็จัดการกับทุกอย่างน่ะ ทุกอย่างที่มันจะดับทุกข์ สติ สติ สติ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นชื่อของความไม่ประมาท ถ้าความไม่ประมาทของความไม่ตาย สติ เป็นเครื่องทำความไม่ตาย
เอ้า, ผมพูดเท่านี้ ทีนี้มีปัญหาอะไร ถามได้ มีปัญหาอะไร เกี่ยวกับเรื่องนี้นะ ถามได้ เรื่องอื่นยังไม่เอา มันไม่มีที่สิ้นสุด
ไอ้ภาพ Chart นี่ (นาทีที่ นี่คุณไปเขียนเอาเอง เขียนเอาใหม่ เขียนให้สวย เขียนให้เรียบร้อย ตามแบบที่เขียนมา อย่าง ไม่ใช่ช่างเขียนเขียน ไปเขียนให้สวย ในกระดาษที่มันแผ่นโตพอสมควร เอาไว้ทบทวนเรื่อย ทบทวนเรื่อย ทบทวนเรื่อย ทบทวนเรื่อย จะรู้เร็วรู้มากรู้ลึกสมบูรณ์
(นาทีที่ 01:05:40 – 01:05:55) เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด
(เสียงท่านพุทธทาส) อย่างนี้เรียกว่าไม่เข้าใจ ถ้าเป็นเรื่องตัดกิเลสมันอยู่ที่วิราคะ มีผลก็อยู่ที่นิโรธะ มรรคมีผลอยู่ที่วิราคะ นิโรธะ อ้าว, ก็ไม่อยากจะเอามรรคผลให้มีหน้ามีตา ไม่อยาก เอาแต่ให้มันวิราคะ จางคลาย นิโรธะให้มันดับ นี่ไม่เรียกมรรคผล ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้สอนให้เรียกชื่อมรรคผล หรือให้ยึดหน่วงกับมรรคผล ให้ยึดหน่วงเอาไอ้ความที่มันเป็นจริงคือดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ ปฏินิสสัคคะน่ะดูมรรคผลที่ผ่านมาแล้ว
ที่นั่งอยู่นี่ใครว่าสูตรของอานาปานสติ ๑๖ ขั้นได้ตลอด ไม่ใช่ว่าตัวพระบาลี ว่านับข้อ ๆ อย่างนี้ ข้อหนึ่งคืออะไร ข้อสองคืออะไร ข้อสามคืออะไร จนถึง ๑๖ ข้ออย่างนี้ ใครจำได้แม่นยำจนว่าได้ ยกมือสิ ใครจำได้แม่นยำจนว่าได้ถึง ๑๖ ขั้น ผมจะว่าให้ฟังว่าหนึ่งลมหายใจยาว สองลมหายใจสั้น สามกายทั้งปวง สี่กายสังขารระงับ ห้าปีติ หกสุข เจ็ดจิตสังขาร แปดทำจิตสังขารให้ระงับ เก้าด้วยจิตทั้งปวง สิบจิตปราโมทย์ สิบเอ็ดจิตตั้งมั่น สิบสองจิตปล่อย สิบสามดูอนิจจัง สิบสี่ดูวิราคะ สิบห้าดูนิโรธะ สิบหกดูปฏินิสสัคคะ อย่างนี้เท่านี้ใครจำได้ ที่นั่งอยู่ทั้งหมดนี้ใครจำได้แล้ว ไหนลองว่าสิที่จำได้แล้ว ว่า ๑๖ ขั้นออกมาสิ
(นาทีที่ 01:08:28 – 01:08:39) เสียงคนพูดแต่ได้ยินไม่ชัด
(เสียงท่านพุทธทาส) กาย กายสังขารระงับสิ
(นาทีที่ 01:08:42 – 01:08:45) เสียงคนพูดแต่ได้ยินไม่ชัด
(เสียงท่านพุทธทาส) กายทั้งปวง สี่กายสังขารระงับ ห้า เอ้า, ปีติ ลองว่าดู ไม่ต้องดูในกระดาษนะ เอ้า, หนึ่ง เอ้า,
(นาทีที่ 01:09:07 – 01:09:44) เสียงคนพูดแต่ได้ยินไม่ชัด
(เสียงท่านพุทธทาส) ใช้ได้ ใช้ได้ จำ จำ ท่องจำไปเอง คล่องแคล่วเองแล้วมันก็ง่ายขึ้น นี่แสดงว่าไม่เคยสนใจกันใช่ไหม ไม่เคยสนใจมาก่อน ถ้าเคยสนใจมาก่อน ไอ้ ๑๖ ข้อนี้ต้องแม่นยำเลย แม่นยำต้องเข้าใจ เข้าใจต้องเข้าใจถึงที่สุด และก็ปฏิบัติได้ตามความเข้าใจนั้น มีความรู้สึกอยู่ในจิตตามนั้น ใช้ได้ เอาไปทำให้ จำหลัก จำหลักหัวข้อได้ทุกคน และนี่คือสติปัฏฐาน ๔ สำหรับเป็นตัวหลักปฏิบัติ เป็นตัวหลักปฏิบัติ นอกนั้น เป็นตัวช่วย ช่วย ธรรมะช่วย ประกอบช่วย แต่นับเข้าด้วยกันแล้วเป็น ๓๗ เราเลยจัดว่าธรรมะมีอยู่ ๒ ระยะ ๒ ขณะ ๒ ชนิด ๒ ประเภท ชนิดที่หนึ่ง ก็คือว่าตัวหลักปฏิบัติ อีกชนิดคือธรรมะเครื่องมือ เครื่องมือช่วยในการปฏิบัติ เราปฏิบัติอะไรอยู่ อันนั้นเป็นธรรมะปฏิบัติ แล้วอะไรที่มาช่วยเป็นอย่างนั้นก็เป็นธรรมะเครื่องมือ เช่น อิทธิบาท ๔ สัมปทาน ๔ นี่เป็นธรรมะเครื่องมือ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ธรรมะเครื่องมือ โพชฌงค์ ๗ รวมกัน แยกออกจากกันได้ มรรคมีองค์ ๘ ก็เรียกว่าเป็นเครื่องมือก็ได้ เป็นทางเดินหรือเครื่องมือ
ธรรมะที่เป็นเครื่องมือก็ใช้อย่างธรรมะเป็นเครื่องมือ ธรรมะเป็นหลักปฏิบัติที่ทำงานจริง ๆ ก็ เป็นหลักปฏิบัติจริง ๆ อานาปานสตินี่ก็ถือเป็นธรรมะหลักสำหรับปฏิบัติ ธรรมะอื่น ๆ เช่น อินทรีย์ พละ อิทธิบาทอะไรนี้ เป็นธรรมะประกอบเครื่องมือ เป็นเครื่องมือช่วยให้ปฏิบัติได้สำเร็จ สังเกตได้เอง ธรรมะไหนเป็นเครื่องมือ ธรรมะไหนเป็นหลักปฏิบัติ ถ้าธรรมะหลักปฏิบัติก็นี่ อานาปานสตินี่เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้มีสติ ให้มีสมาธิ ให้มีปัญญา
ถามอีกนิดหนึ่ง จะปิดละ จะเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ ๔ อย่างนี้สัมพันธ์กันอย่างไร สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ๔ อย่างนี้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร ๑ นาทีคิดไม่ออก แปลว่าไม่เข้าใจ พูดเป็นวรรคเป็นเวรเมื่อคืนก่อน ไม่เข้าใจ สติเป็นผลของปัญญา มาทำเป็นสัมปชัญญะยืนคุมเชิงอยู่ ด้วยจิตที่มั่นคงเป็นสมาธิ นั่นแหละหัวใจของมันอยู่ที่ตรงนั้น สติระลึกได้ ระลึกกับปัญญา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามา มาทำเป็นสัมปชัญญะยืนอยู่อย่างนี้ อยู่อย่างนี้ รู้อยู่อย่างนี้ รู้อยู่อย่างนี้ แล้วมันก็ผิดไม่ได้ ถ้ากำลังจิตที่เป็นสมาธินั้นน่ะ มันก้าวไป สอนเรื่องสัมปชัญญะกันไม่ถึงขนาด เลยไม่ค่อยรู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าสัมปชัญญะ สติมา สมฺปชาโน วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ มีสติและสัมปชัญญะ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ นั่นหัวใจมันอยู่ตรงนั้น ของสติปัฏฐาน อภิชฌาและโทมนัสคือความยินดียินร้าย นำออกเสียได้ด้วยสติและสัมปชัญญะ ทำสติแบบนี้ เป็นทำให้มีสติและสัมปชัญญะ นำอภิชฌาและโทมนัสออกเสียได้ ไอ้ส่วนที่เป็นความรู้ทางธรรมะน่ะ สนใจกันให้มากเป็นพิเศษ ให้ยิ่งกว่าธรรมะประเภทพัฒนา พัฒนาสังคม ต้องรู้ธรรมะแท้ให้มากกว่า เป็นพิเศษ ให้แน่นอน ให้ชัดเจน ให้แจ่มแจ้ง
เอ้า, ถ้าไม่มีปัญหาก็ปิดประชุม ปิดประชุม เพราะไม่มีปัญหา