แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
(เสียงท่านพุทธทาส) ไอ้แถวกลางนั่นแหละคือ ตัวปฏิจจสมุปบาทตามแบบทั่วไป ตามพระบาลี เขาว่าพระพุทธเจ้าได้ค้นคว้าพิจารณาในคืนที่จะตรัสรู้ พิจารณาไปตั้งแต่ข้างล่าง ความทุกข์ทั้งปวงมาจากอะไร มาจากชาติ ชาติมาจากอะไร มาจากภพ ภพมาจากอะไร มาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากอะไร มาจากตัณหา ตัณหามาจากอะไร มาจากเวทนา เวทนามาจากผัสสะ ผัสสะมาจากอายตนะ อายตนะมาจากนามรูป นามรูปมาจากวิญญาณ วิญญาณมาจากสังขาร สังขารมาจากวิญญาณ ว่าดูเหมือนว่าถ้าเท่าที่จำได้นะ ในปฐมยามพิจารณาขึ้นไปอย่างนี้ แล้วก็มัชฉิมยามพิจารณาลง คือปัจฉิมยามพิจารณาทั้งขึ้นทั้งลง ก็มีการเปล่งอุทานตามที่เราได้เรียนกันในพุทธประวัติน่ะ อุทาน ๓ ยามน่ะ
นี้ขอให้ที่เคยเรียนนักธรรมมาแล้วนะ ทบทวนความจำอีกที ที่เราเรียนนักธรรมมาในหลักสูตรนักธรรม แบ่งเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต หรือจะเอาอวิชชากับสังขารเป็นอดีต วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน (นาทีที่ 07:10) เป็นปัจจุบัน ข้างล่างนั้นเป็นอนาคต เป็น ๓ ชาติ ผมก็จำไม่ค่อยจะได้แน่แล้ว ไปดูเอาเองเถิด ถ้าว่าเรียนในโรงเรียนเพื่อจะสอบไล่ก็ต้องเรียนอย่างนั้น อธิบายอย่างนี้ก็มีในคัมภีร์วิสุทธิมรรค อธิบายอย่างเป็น ๓ ชาตินี่ รายละเอียดมีอย่างไรขอให้ถือเอาตามหนังสือหลักสูตรนักธรรม
ทีนี้เรามาอธิบายตามเหตุผลของเราที่เรียกว่าอิสระนั่นน่ะ ที่ว่าเป็นไป ๓ ชาตินั่น มันเป็นไปไม่ได้เพราะในพระบาลีไม่ได้แยกเป็นชาติ ๆ อย่างนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ วิญญาณปัจจัยจึงเกิดนามรูป อายตนะอย่างนี้เป็นลำดับมาจนสุด ไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็น ๓ ชาติอย่างนั้นน่ะในพระบาลี ทีนี้ท่านจะอธิบายกันไม่ได้หรืออย่างไร อธิบายเป็น ๓ ชาติ เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต อธิบายอย่างนั้นมันกลายเป็นมีบุคคล บุคคลที่ถาวร ที่เป็นสัสสตะ (นาทีที่ 08.53) ตายแล้วไปเกิดชาติหน้า อดีตก็เกิดในปัจจุบัน ปัจจุบันไปเกิดในอนาคต มันกลายเป็นมีบุคคล มีบุรุษ มีบุคคล มีชีวุ มีชีโว มีเจตภูตที่เป็นตัวยืนโรง ตายแล้วไปเกิดอย่างนั้น มันก็ไม่ถูกกับเรื่องที่ว่าไอ้ปฏิจจสมุปบาทนี้ต้องการจะอธิบายให้เห็นว่าไม่มีบุคคล ไม่มีบุคคล
ทีนี้ก็ดูสิ ดูตั้งแต่ว่ามันมีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหา มีอุปาทาน มีภพ มีชาติ มีผัสสะเมื่อไรก็ต้องมีเวทนา มีตัณหา มีอุปาทาน มีภพ มีชาติเมื่อนั้น แล้วเราคนหนึ่งมีผัสสะวันละกี่สิบครั้ง มีผัสสะกี่ครั้งหรือกี่สิบครั้ง กว่าจะตาย มันเลยนับหมื่นนับแสน นับหมื่นนับแสนครั้ง ในวันหนึ่งก็มีผัสสะ เวทนา ตัณหาหลาย ๆ ครั้งแล้วมันจะนับทั้งหมดนี้เป็นชาติเดียว ๓ ชาติได้อย่างไรเล่า มันเป็นที่แน่นอนว่าถ้ามีตัณหาเมื่อไรเมื่อนั้น มีตัณหาเมื่อไร ก็มีอุปาทาน ภพ ชาติเมื่อนั้น ดังนั้นในวันหนึ่งมีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหานี่หลายครั้ง ก็มีภพมีชาติหลายครั้งก็ได้ในวันหนึ่ง
ตามเหตุผลที่มันเห็นน่ะมันเห็นอยู่อย่างนี้นะ จะหาว่าผมอธิบายเอาเองตามชอบใจก็ได้เหมือนกัน แต่ผมชี้ให้เห็นว่าทำไมจึงเข้าใจอย่างนั้น ทำไมจึงอธิบายอย่างนั้น เพราะว่าถ้ามีตัณหาเมื่อใด มันมีภพ มีชาติเมื่อนั้น ปฏิจจสมุปบาทครบวงเมื่อนั้น มันก็เลยว่าปฏิจจสมุปบาทมีได้หลาย ๆ องค์ในวันหนึ่ง นี่ข้อแรกที่จะต้อง จะต้องมองเห็นเสียก่อนและยอมรับเสียก่อนว่าปฏิจจสมุปบาท ๑ รอบวงน่ะไม่ได้กินเวลาตั้ง ๓ ชาติ มีเวทนาหรือมีผัสสะ โง่เมื่อไร มีผัสสะด้วยอวิชชาเมื่อไร ก็ต้องมีปฏิจจสมุปบาทเมื่อนั้น ต้องทำความเข้าใจจนถึงกับว่ามีผัสสะ อวิชชา เวทนา ตัณหาเมื่อไร ก็ต้องมีปฏิจจสมุปบาทเมื่อนั้น ถ้าว่าคนเดียวข้างต้นและตรงกลางและตรงปลายเป็นชาติหน้า มันก็ ก็ทำไม่ได้ มันก็ทำไม่ได้ มันผิดหลักอย่างยิ่งอยู่ในตัวเองแล้ว มันต้องหาเหตุผล หาทางอธิบายให้เห็นว่าทั้งหมดนั่นแหละมีได้ในรอบหนึ่งและในชั่วขณะแวบหนึ่งเท่านั้นและรวดเร็ว เร็ว เร็ว ยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ ถ้าจะอธิบาย ถ้าจะให้มันเข้าใจง่ายที่สุด ไล่ไปแต่ข้างล่าง ครั้งแรกน่ะไล่ไปแต่ข้างล่างก่อนถ้าจะอธิบายหรือจะทั้งศึกษาให้เข้าใจง่ายน่ะ ว่าความทุกข์ ชาติทั้งหลายและความทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ หรือว่าชรา ชรา มรณะที่เป็นความทุกข์น่ะมาจากชาติและชาติมาจากภพนี่เข้าใจได้ง่าย เหมือนเมื่อคืนก็อธิบายแล้ว ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหานี่เข้าใจได้ง่าย ตัณหามาจากเวทนาก็เข้าใจได้ง่าย เวทนามาจากผัสสะก็เข้าใจได้ง่าย ผัสสะมาจากอายตนะเพราะมีอายตนะนั่นจึงมีผัสสะได้ นี้อายตนะมีเพราะนามรูป ตรงนี้มันแปลกจากเมื่อคืนหรือว่าแปลกจากที่ธรรมดาจะรู้สึกเข้าใจได้ นามรูปมาจากวิญญาณ วิญญาณมาจากสังขาร สังขารมาจากอวิชชา ตรงนี้เข้าใจไม่ได้ เอาตั้งแต่อายตนะขึ้นไป อายตนะ ๖ เพราะกายและใจมันมี เพราะกายและใจมันมี นามรูปมี ใจ กายมี จึงมีอายตนะได้ นี่เห็นได้เหตุผลง่าย ๆ
ทีนี้ทำไมจึงมีวิญญาณ เมื่อคืนอย่าลืมเสียสิ เมื่อคืนอย่าลืมเสียสิว่าอายตนะภายในอาศัยอายตนะภายนอกเกิดจักษุวิญญาณนั่นน่ะ ระหว่างอายตนะกับผัสสะนั่นน่ะมีวิญญาณอีกที ตรงนี้จะไม่อยู่ในเครือใหญ่ อยู่นอกวง วิญญาณ ที่เขียนยาวเฟื้อยน่ะ วิญญาณอะไรนะ วิญญาณทางอายตนะหรือ บรรทัด เดี๋ยวที่อยู่ใต้อายตนะเขียนว่าอะไร วิญญาณอะไร วิญญาณทางอายตนะหรือ ช่วยอ่านให้หมดสิ
(เสียงคนอ่านป้าย แต่ไม่ได้ยิน นาทีที่ 14:29-14:30)
(เสียงท่านพุทธทาส) ทำไมมันยาวเฟื้อยอย่างนั้นล่ะ ฉะนั้นวิญญาณโน้นกับวิญญาณข้างล่างซึ่งไม่มีปรากฎน่ะ มันไม่ใช่อันเดียวกัน อายตนะกระทบกันให้เกิดวิญญาณ ๓ ประการ เนื่องกันก็เรียกว่าผัสสะนั้นแหละ
(เสียงกระตุกและได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 14:51 – 14:55)
(เสียงท่านพุทธทาส) วิญญาณไว้ที่โน้น ข้างบนหรือนามรูปมาจากสังขาร มาจากอวิชชา คอยฟังให้เข้าใจ ผมจะอธิบาย ถ้าเป็นที่แน่นอนว่าเปลี่ยนไม่ได้แล้ว ปฏิจจสมุปบาททั้งสายไม่ต้องมีอะไรมาแทรกแซง แล้วก็เกิดทุกทีที่มีผัสสะ มีเวทนาน่ะ ก็เป็นอันว่าทั้งรอบหมดนี้หมดนี้ต้องเกิดได้เป็นทั้งชุด ๆ ทุกทีที่มีเวทนา มีตัณหา ดังนั้นจะต้องอธิบายให้มันเนื่องกันได้ทั้ง ๑๒ นี่
อวิชชา เขียนว่าอะไร ตามธรรมชาติ อวิชชาธาตุ อวิชชาธาตุ มีอยู่ตามธรรมชาติ คือธาตุที่ปราศจากวิชชา ปราศจากปัญญา เรียกว่า อวิชชาธาตุ มีอยู่ตามธรรมชาติ พร้อมอยู่เสมอที่จะทำหน้าที่ ถ้าปัจเจกปัจจัยให้โอกาสทำหน้าที่ อวิชชาก็ทำหน้าที่ เดี๋ยวนี้โอกาสให้อวิชชาทำหน้าที่ ให้เกิดสังขาร สังขารในที่นี้ไม่ใช่สังขารขันธ์ ความหมายมันก็เดียวกันนั่นแหละ ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ความคิด สังขารขันธ์ก็ปรุงแต่งความคิด เดี๋ยวนี้สังขารอย่างนี้เป็นอำนาจของการปรุงแต่งเกิดขึ้น ปรุงแต่งให้เกิดผลใหม่ ๆ ให้ได้มีขึ้น เพราะมีอวิชชา เพราะมีความไม่รู้ตามที่เป็นจริง หากปรุงแต่งให้เกิดอำนาจ ธรรมชาติอันหนึ่งที่จะปรุงแต่ง ที่จะปรุงแต่งทั่วไป แต่ในกรณีนี้ปรุงแต่งวิญญาณ สังขารให้เกิดวิญญาณ วิญญาณธาตุตามธรรมชาติคือวิญญาณธาตุที่อยู่ในธาตุ ๖ ยังไม่ใช่วิญญาณธาตุที่มาประจำอายตนะนะ สังขารก็ปรุงวิญญาณธาตุที่มีอยู่ตาธรรมชาติน่ะขึ้นมาสำหรับจะใช้งาน คือจะให้เป็นวิญญาณทางอายตนะนั่นเอง ก็คือปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งสิ่งที่เรียกว่าจิต วิญญาณในที่นี้คือวิญญาณธาตุได้ถูกปรุงแต่งให้มากลายเป็นวิญญาณที่จะรู้อารมณ์ได้ ก็เรียกว่ามีจิต มีส่วนที่จะเป็นจิตขึ้นมา ทีนี้รูป ร่างกายน่ะมีอยู่แล้ว นาม นาม คือจิตน่ะมันก็มีขึ้นเพราะเหตุนั้น เพราะเหตุที่ว่าวิญญาณถูก เพราะวิญญาณธาตุถูกปรุงแต่งให้เป็นวิญญาณที่จะรู้อารมณ์ได้ เพราะฉะนั้นเลยเกิดสิ่งที่เรียกว่านามรูป นี่นามรูปเกิด ต่อเมื่อมันพร้อมอย่างนี้ คือมีกายกับใจที่จะสัมพันธ์กันทำหน้าที่ เมื่อมีกายกับใจอย่างนี้แล้วก็มันไม่มีปัญหาแล้ว มันก็ให้เป็นที่ตั้งแห่งอายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เองน่ะ สามารถจะทำหน้าที่เขาเรียก อายตนะ ๖
ทีนี้อายตนะภายใน ๖ น่ะ มันเรียกหาอายตนะภายนอกเอาเองเพราะมันมีอยู่แล้ว เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถ้ามันอยู่ตามธรรมชาติยังเรียกว่าไม่เกิด ยังมิได้เกิด ถ้ามาคู่กันกับอายตนะภายในเมื่อไรในการทำหน้าที่เมื่อนั้น นี่ก็เกิด จำความหมายของคำว่าเกิดไว้ให้ดี ๆ นะ ผมเข้าใจว่าบางคน บางองค์จะยังไม่ทราบเลยน่ะคำว่าเกิดน่ะ ไม่ได้หมายถึงว่าเกิดจากท้องแม่ คำว่าเกิดนี้ มันเกิดเมื่อมันทำหน้าที่ ที่อาจจะไม่เคยได้ยินกันก็ได้ คือว่าตาเกิด หูเกิด จมูกเกิด ตาดับ หูดับ จมูกดับน่ะ อาจจะไม่เข้าใจ เรามีอยู่ตลอดเวลา ทำไมเรียกว่าเกิดดับ ตาก็มีอยู่ตลอดเวลา หูก็มีตลอดเวลา จมูกก็มีตลอดเวลา เรียกว่ายังไม่เกิด ภาษาเกิด คำว่าเกิดในภาษาธรรมะนั่น หมายความเมื่อมันทำหน้าที่ พออายตนะกระทบกัน มันก็เกิดตา ไอ้ตาที่อยู่อย่างไร้ ไร้ ไร้ความหมาย ไม่ทำหน้าที่ ก็ยังไม่ได้เกิด ก็เพราะมีส่วน มีแต่ส่วนรูป มันทำอะไรไม่ได้ ต้องมีส่วนนามทำหน้าที่ของตาได้ จึงเกิดตา เกิดหู เกิดจมูก เกิดลิ้น เกิดกาย เกิดใจเกิด เมื่อทำหน้าที่เรียกว่าเกิด เมื่อหยุดทำหน้าที่เรียกว่าดับ ดังนั้นขอให้เข้าใจว่า ตา หู ของเราตอนนี้ เกิด ดับ เกิด ดับอยู่วันหนึ่งไม่รู้กี่สิบครั้งกี่ร้อยครั้ง นี่มันเป็นภาษาธรรมะ ไม่ใช่ภาษาคน หรือจะพูดให้กว้างไปกว่านี้อีกก็ว่าเมื่อคลอดมาจากท้องแม่น่ะยังไม่มีเกิด ยังไม่เกิดในภาษาธรรม มันเกิดแต่ภาษาคน ทางวัตถุเกิดแล้ว ทางนามธรรมยังไม่เกิดจนกว่าเด็กทารกนั้นมันจะเกิดความรู้สึกทางจิต เป็นตัวตน มีตัวกู มีตัวฉันขึ้นมาในความรู้สึก จึงจะเรียกว่าเกิดในทางภาษาธรรม ฉะนั้นเกิดจากท้องแม่มาแล้วโดยภาษาวัตถุ คือเกิดทางกายมาแล้วนั้น ยังไม่เรียกว่าเกิดในภาษาธรรม ต้องให้ทารกนั้นรู้สึกคิดนึกว่า ตัวกู ตัวกู อย่างนั้น ตัวกูอย่างนี้เกิด แม้มันจะว่า จะพูดไม่ได้ จะเรียกชื่อไม่ได้ก็สุดแท้ แต่ภายในใจของมันรู้สึกเป็นตัวกูอย่างนั้น ตัวกูอย่างนี้ สมมติว่าครั้งแรกที่สุดที่ทารกจะเกิดตัวกู อะไรดี ไอ้ตา หูของมัน ก็ยังไม่ใช้ความหมายได้ ไม่รู้ความหมาย ก็กินนมกันดีกว่า ถ้ากินนม ได้ดูดน้ำ ดูดนมอะไรเข้าไป รู้สึกอร่อย รู้สึกพอใจ ต้องมีเวทนาด้วย ต้องมีรู้สึกเวทนาได้ด้วย มันจึงจะเกิดได้ ถ้ามีความพอใจในความรู้สึกก็ไอ้นั่นแหละ และเมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นมาเองว่า กูอร่อย กูอร่อย มีกูอร่อย กูอร่อย เกิด เกิดทางจิตใจแล้ว นั่นคือเกิดโดยสมบูรณ์ เมื่อทารกคลอดออกมายังไม่มีการเกิดที่สมบูรณ์ มีแต่เกิดทางวัตถุ ทางร่างกาย แต่มันก็ต้องเกิดในทางจิตใจด้วย เกิดความรู้สึกเป็นตัวกู ต่อมาทารกนั้นก็เกิดเป็นตัวกู ของกูในเรื่องนี้ได้เรื่อยไป อร่อย กูอร่อย อร่อยของกู ฉะนั้นตนกับของตนนั้นแฝดกันอยู่เสมอ เพราะมีตนและก็มีของตน มีตนเป็นตัวยืนโรงและต้องมีอะไรเป็นของตน ฉะนั้นก็เกิดความอร่อย ก็อร่อยของตน ไม่อร่อยก็ไม่อร่อยของตน นี่เกิดความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตน นี่เรียกว่าเกิดโดยสมบูรณ์
เอ้า, มาอายตนะต่ออีกว่า เมื่อใดอายตนะใดทำหน้าที่เรียกว่าเมื่อนั้นอายตนะนั้นเกิด ฉะนั้นเข้าใจให้เห็นความจริงว่า เดี๋ยวตาเกิด เดี๋ยวหูเกิด เดี๋ยวจมูกเกิด เดี๋ยวลิ้นเกิด ไม่ได้เกิดพร้อมกันแล้ว ทั้งที่ว่าในตัวเรานี่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ไม่ได้เกิด ยังไม่ได้เกิด จนกว่ามันจะทำหน้าที่ ทีนี้มันทำหน้าที่พร้อมกันได้ ไม่ต้องทำเป็นเรื่อง ๆ ไป มันจึงเกิดครั้งที่มันทำหน้าที่ เดี๋ยวอันนั้นเกิด เดี๋ยวอันนี้เกิด เดี๋ยวอันโน้นเกิด เข้าใจเรื่องนี้ จะเข้าใจธรรมะได้ง่าย เพราะว่าเกิด ดับ เกิด ดับ เกิด ดับ เกิดเมื่อทำหน้าที่ เมื่อหยุดทำหน้าที่เรียกว่าดับ อายตนะเกิด ดับ เกิด ดับ เกิด ดับ ตามขณะที่มันทำหน้าที่ ทีนี้มีอายตนะภายในภายนอกถึงกันเข้าแล้วก็เกิดวิญญาณน่ะตามบาลีเมื่อวาน อาศัยตากับรูป เกิดจักษุวิญญาณ ๓ ประการนี้สังฆาฏิกันอยู่เรียกว่าผัสสะ ในนี้เห็นไหมไม่มีวิญญาณ เพราะฉะนั้นจงเขียนแทรกคำว่าวิญญาณที่จะทำให้อายตนะเกิด (นาทีที่ 24:00)ดังนั้นถ้าพูด ถ้าเอาแบบนี้เป็นหลักก็ต้องถือว่า ในอายตนะนั้นน่ะรวมวิญญาณเข้าไว้ด้วยในคำว่าอายตนะนั้นน่ะ รวมคำว่าวิญญาณไว้ด้วยสำหรับที่จะรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉะนั้นวิญญาณข้างบนน่ะไม่ใช่วิญญาณทางอายตนะ เป็นวิญญาณธาตุที่ถูกปรุงแต่งให้มาเป็นวิญญาณทางอายตนะ จะเป็นวิญญาณในทางอายนะต่อไป เพราะมีวิญญาณธาตุแล้ว ก็เชื่อว่ามีฝ่ายใจ รูปมีอยู่แล้วรวมกันก็เป็นนามรูป คือ กายกับใจมันก็เกิดขึ้นมา นี่ร่างกายล้วน ๆ นี่เป็นรูป ไม่มีความรู้สึกทางจิตใจ ก็ยังขาดนามอยู่ ฉะนั้นสังขารจึงปรุงวิญญาณธาตุที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งให้เป็นใจขึ้นมา สำหรับรวมกับรูปเป็นนามรูป แล้วก็เลยได้นามรูปมาเป็นที่ตั้งแห่งอายตนะและก็ตามหลักที่เปลี่ยนไม่ได้ว่าอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกถึงกันเข้าเกิดวิญญาณน่ะ เกิดวิญญาณ จึงได้เขียนคำว่าวิญญาณทางอายตนะไว้อีกที่หนึ่งถัดจากอายตนะ ถัดจากคำว่าอายตนะ
ที่นี้อายตนะทั้งสองฝ่าย วิญญาณรวมกันทำหน้าที่เรียกว่าผัสสะ ก็มีผัสสะ ผัสสะก็มีเวทนา นี่ง่าย เวทนาแล้วมีตัณหานี่เข้าใจได้ง่าย ตรงระหว่างผัสสะนั้นเขียนว่าอะไร
(เสียงคนตอบแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 25:57-25:59)
(เสียงท่านพุทธทาส) สัญญาดำหรือ สัญญาจำกับปฎิฆะสัมผัส (นาทีที่ 26:05) สัญญาหมายมั่นกับอธิวจนะสัมผัส (นาทีที่ 26:08) ตรงนี้ก็ไม่ค่อยได้เรียนกัน ไม่ค่อยได้ยินใช่ไหม เอาว่าผัสสะนั้นมี ๒ ชั้น ผัสสะทีแรกก็ตากระทบรูป เกิดจักษุวิญญาณ วิญญาณก็ทำหน้าที่รู้ คือสัมผัส สัมผัส มันก็รู้ได้แต่ฝ่าย ฝ่าย ฝ่ายเปลือกคือ ฝ่ายรูป ฝ่ายร่าง ฝ่ายเป็นสี เป็นอะไรอย่างนี้ อธิบายแล้ว (นาทีที่ 26.42) ปฎิฆะสัมผัสอาศัยวิญญาณจำได้ มันก็รู้เลยสิว่าสีแดง สีเขียว สีเหลือง รวมกันเรียกว่าอะไร เช่นเรียกว่าดอกกุหลาบ ทุกอย่างที่ปฏิฆะสัมผัสมันจะสัมผัสรู้ได้ก็เพียงตามที่ได้สัญญาจำได้ว่าเรียกว่าอะไร เรียกว่าอะไร ทีนี้ก็สัญญาหมายมั่นเป็นอธิวจนะสัมผัสและก็มโนทำหน้าที่วิญญาณตรงนี้ทีหนึ่ง มโนทำหน้าที่มโนวิญญาณรู้ความหมายของไอ้ ไอ้ปฎิฆะสัมผัส อารมณ์ที่จัดว่าเป็นเปลือก ลึกเข้าไปถึงเข้าในความหมายของอารมณ์นั้น ก็เห็นว่าดอกกุหลาบอย่างนี้ ไปหมายมั่นความหอม ความสวย ความงาม ความไอ้ มีค่า มันสัมผัสที่คุณค่า ปฏิฆะสัมผัสสัมผัสที่ผิวนอกทั่ว ๆ ไป รูปร่าง สัณฐาน ลักษณะ ทีนี้อธิวจนะสัมผัสน่ะหรือจะย่อ ๆ ว่าอธิวจนะสัมผัส อธิวจนะสัมผัสน่ะ สัมผัสคุณค่าในนั้น คุณค่าของดอกกุหลาบที่ทำให้มันมีค่าขึ้นมา ความหอมของมัน ความไอ้ชื่นใจ อะไรที่จะได้รับ ก็เกิดสัญญาความหมายมั่นขึ้นมาว่าเป็นดอกกุหลาบที่มีค่าอย่างนั้นอย่างนี้ สัญญาจำจึงบอกให้รู้ได้ว่าเป็นดอกกุหลาบ สัญญาหมายมั่นเกิดขึ้น หมายมั่นลงไปว่าเป็นดอกกุหลาบมีค่าอย่างนั้น มีความหมายอย่างนั้น คือหอม คือน่ารัก น่าพอใจนี่ ผัสสะทำงาน ๒ ทีอย่างนี้เสมอ ไปคิดเอาเองว่า ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายก็เหมือนกัน สัมผัสทีแรกโดย โดยอธิ เอ้อ, โดยปฏิ เอ้อ, โดยปฏิฆะสัมผัส ลักษณะเหมือนสับกับหรือโขกลงไปให้กระทบเท่านั้นเอง คือ มันกระทบจนรู้สึก แต่พออธิวจนะสัมผัสน่ะ สัมผัสลึกเข้าไปกว่านั้นถึงความหมายของมัน ไม่ใช่กระทบเปลือกนอก อาศัยสัญญาที่ต่างกัน อาศัยสัญญาจำ จำได้หมายรู้ รู้ว่านี่ดอกกุหลาบ พอสัญญาหมายมั่นเกิดขึ้นก็ดอกกุหลาบดีอย่างนั้น ดีกว่าอย่างนั้น (นาทีที่ 29:24) หอมอย่างนั้น เราต้องการ มันจะต้องถึงขั้นนี้ มันจึงจะเกิดเป็นเวทนาที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ ลำพังปฏิฆะสัมผัสน่ะไม่ให้เกิดเวทนาได้ คือไม่ให้เกิดความรู้สึก สุข ทุกข์ มาทุกข์ มาสุขได้ แต่เกิดอยู่เฉย ๆ และเกิดอยู่มากมาย มากมายที่สุดเลย และก็เป็นหมันไป เลิกกันไป คือเดี๋ยวนี้ตาเราก็เห็นภาพ ภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยตา เห็นแล้วไม่ได้นึก ไม่ได้มีความหมายอะไรขึ้นมานี่ เป็นปฏิฆะสัมผัส เห็นภาพจอ เห็นภาพต้นไม้นี่ เห็นภาพหลอดไฟ เห็นภาพอะไรต่าง ๆ เห็นที่เราเห็น นี่เป็นปฏิฆะสัมผัสจะมีความหมายต่อเมื่อมันไปเจาะจงที่สิ่งใดลึกถึงความหมาย เมื่อนั้นจะเป็นอธิวจนะสัมผัส จะเกิดความหมายเป็นเวทนาได้ เมื่อเราได้ยินเสียงไอ้จั๊กจั่นร้องอยู่อย่างนี้เป็นปฏิฆะสัมผัสเท่านั้น เว้นไว้แต่ว่าเราจะไปสนใจ พอใจในเสียงของมันขึ้นมา เป็นที่พอใจหรือไม่พอใจถึงจะเป็นเวทนาได้ กลิ่นก็เหมือนกัน ถ้าอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรให้เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจก็เป็นปฏิฆะสัมผัส ถ้าเป็นที่สร้างความพอใจลึกเข้าไปกว่านั้น ก็เป็นสัญญาหมายมั่นเป็นอธิวจนะสัมผัส ให้ไปคิดเอาเองดูทุกอายตนะทั้ง ๖ ทั้งตา ทั้งหู ทั้งจมูก ทั้งลิ้น ทั้งกาย ทั้งใจ มันมีได้ทั้งแต่ปฏิฆะ เอ้อ, ทั้งปฏิฆะสัมผัสและที่อธิวจนะสัมผัส เดี๋ยวนี้มันมีอวิชชาอยู่ในนั้นแล้ว มีอวิชชาอยู่ในสายนั้นแล้ว มันจึงเกิดเวทนา เวทนาที่โง่หลงไปจนพอใจเป็นสุขบ้าง ไม่พอใจเป็นทุกข์บ้าง ไม่พอใจ และไม่พอใจ ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง ก็มันมีอวิชชาอยู่ในนั้นแล้ว ถ้ามีปัญญามันก็ มันก็ไม่เกิดพอใจหรือเกิดไม่พอใจหรือเกิดไม่พอใจก็ไม่ใช่ พอใจก็ไม่ใช่ เดี๋ยวนี้อย่าลืมว่าตัณหา เอ้อ, อวิชชาอยู่ในสายเป็นเชื้อมาตั้งแต่ทีแรกข้างบนโน่นแล้ว ปฏิจจสมุปบาทนี้จึงนำไปสู่ความทุกข์ ถ้าหากว่ามันมีเกิดสติขึ้นมาตรงนี้ ตรงผัสสะนี่ ไปเอาวิชชา ไปเอาปัญญา เอา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเข้ามา ตัดกระแสของอวิชชาออกไป มันก็เป็นผัสสะฉลาดขึ้นมา เมื่อกี้เป็นผัสสะโง่ พอเป็นผัสสะฉลาดขึ้นมา มีวิชชา มีปัญญา มีความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาควบคุม มันก็ไม่เกิดความพอใจและไม่เกิดความไม่พอใจ และไม่เกิดความพอใจก็ไม่ใช่ ไม่พอใจก็ไม่ใช่ เมื่อรู้ตามที่เป็นตามเป็นจริงว่าโอ้เช่นนั้นเอง ธรรมชาติ ธรรมดาของสังขารเท่านั้นเอง ไม่เกิดเวทนาชนิดนั้นนี่ มันมากลางสาย เปลี่ยนเป็นเวทนาที่มันไม่ให้เกิดความหมายอะไร ก็เป็นอย่างนั้น มันก็ไม่เกิดตัณหาสิ เพราะมันไม่มี ไม่มีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ มันก็ไม่เกิดตัณหา มันก็ไม่เกิดอุปาทาน มันก็ไม่เกิดภพ เกิดชาติ และมันก็ไม่เกิดทุกข์
แต่เดี๋ยวนี้ในกรณีธรรมดาทั่วไปนั้นน่ะ ปุถุชนโดยเฉพาะน่ะ มันไม่มีสติ ไม่มีปัญญามาโดยสติ ไอ้เวทนานั้นก็ยังโง่เท่าเดิม โง่ตามเดิม มันก็เลยเกิดตัณหาชนิดที่ ถ้าจะอธิบายโดยหลักปิยรูปสาตรูปนั่น ระหว่างที่ตัณหากับ เอ้อ, ระหว่างเวทนากับตัณหาน่ะ มีสัญญากับสัญเจตนา เพื่ออธิบายให้ละเอียดเข้า อธิบายให้ละเอียดเข้า อย่างที่ในไอ้ปิยรูป ๑๐ สาตรูป ๑๐ น่ะก็คือเวทนาให้เกิดสัญญา สัญญาชนิดหมายมั่น มโนวิญญาณเกิดขึ้น วิญญาณตรงนี้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เกิดสัมผัสในเวทนาน่ะ ก็สำคัญมั่นหมายว่าเป็นเวทนา ว่าเป็นสุขเวทนา ว่าเป็นทุกขเวทนา คือไม่ให้มันเป็นตัวตนของเวทนาขึ้นมา แล้วสัญญานั้นก็ทำให้เกิดสัญเจตนา คือเจตนาที่เกิดเพราะสัญญานั่นเอง อย่างนี้แล้วก็ออกมาเป็นตัณหา ทีนี้ในแถวปฏิจจสมุปบาทนี้ตัด ๒ อย่างนั้น มันไม่ได้เอาเข้ามาอธิบาย เพราะมันไม่จำเป็น มันเป็นเรื่องละเอียดให้รู้ในส่วนโน้น ในส่วนที่ปิยรูปสาตรูป ๑๐ จึงไม่มีสัญญา สัญเจตนาแทรกอยู่ในระหว่างเวทนากับตัณหา ก็เวทนาให้เกิดตัณหาเลย
ทีนี้อยู่ที่อยู่ทางขวามือสุดเคียงกับคำว่าสัญญา อะไรนะ คำว่าอะไรนะ
(เสียงคนตอบแต่ได้ยินไม่ชัด นาที่ 35:06-35:11)
(เสียงท่านพุทธทาส) เดี๋ยวช่วยพูดให้ได้ยินสิว่าอะไรน่ะ
(เสียงคนตอบแต่ได้ยินไม่ชัด นาที่ 35:12-35:18)
(เสียงท่านพุทธทาส) อ๋อ ปิยรูปสาตรูป เรียกว่า ๒ อันนี้คือปิยรูปสาตรูป ผมเอามาเขียนแทรก เทียบ ๆ กันเข้าไว้ให้เห็นว่า ปิยรูปสาตรูปคือ เวทนาก็เป็นปิยรูปสาตรูป ผัสสะก็เป็นปิยรูปสาตรูป อาตนะก็เป็นปิยรูปสาตรูป วิญญาณก็เป็นปิยรูปสาตรูป นาม เอ้อ, อายตนะภายในอายตนะภายนอกที่ในเมื่อวานน่ะ ตารางเมื่อวานน่ะ ชัดมากน่ะ ธรรมชาติน่ะชัดมากที่จะแสดงปิยรูปสาตรูป ฉะนั้นทุกองค์จำเรื่องนี้แม่นยำ ปิยรูป สาตรูป ๑๐ กับขันธ์ ๕ และสายของปฏิจจสมุปบาทคือตัวที่เกิดจริงอยู่ในจิตใจ จนบอกได้เองว่าอะไรเป็นสายปิยรูปสาตรูปชื่ออะไร แล้วก็พร้อมกันนั้นก็บอกได้ว่าเป็นขันธ์อะไรด้วย ในซีกซ้ายมือเขียนตัวแดงไว้น่ะ รูปขันธ์อยู่ที่อายตนะ วิญญาณขันธ์เกิดจากอาตนะก็อยู่ตรงนั้น แล้วก็มีสัญญา ระหว่างที่ผัสสะนั่น เรียกว่า มีเวทนาตัณหา
จบแค่วิตก วิจารณ์เรียกว่าปิยรูปสาตรูปในฐานะเป็นอารมณ์ พอเลยตัณหามาฝ่ายนี้แล้วมันไม่ใช่อารมณ์แล้ว ที่จะเป็นอารามณ์ก็คืออายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ อายตนะ ๖ เอ้อ, ผัสสะ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ และก็วิตก วิจารณ์อีก ๖ พอเป็นอุปาทานมา ลงมาข้างล่างนี้มันไม่ใช่อารมณ์แล้ว อัน ๑๐ พวกอยู่ที่ข้างบนน่ะที่เป็นอารมณ์ ควรจะคล่องนะ คล่องปาก คล่องใจทั้งจำและทั้งพูดได้คล่อง อาตนะภายใน อาตนะภายนอก วิญญาณ แล้วก็ผัสสะ แล้วก็อายตนะ ผัสสะ อายตนะไม่ ไม่ถ้าเป็นนับเป็นรูปสาตรูป (นาทีที่ 37:55) มันอยู่ข้างต้นเสียแล้ว แล้วก็ผัสสะ และก็เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ๑๐ หมวด ๆ ละ๖ นั่นน่ะคือสิ่งที่เป็นอารมณ์สำหรับตัณหาจะเลือก ทีนี้ว่าทำไมมันไปตัณหาในตา ในหู ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ซึ่งก็ได้ผ่านมา หมายความว่าตัณหาจะพอใจเป็นอุปาทานขึ้นมาแม้ในตาอย่างเดียวได้ ในรูปอย่างเดียวก็ได้ เพราะฉะนั้นมันเกิดเอาตาเป็นตัวตน เอาหูเป็นตัวตน เอาอะไรเป็นตัวตนก็ได้ เอารูปเป็นตัวตนอะไร อย่างใดอย่างหนึ่งเอาเป็นตัวตนได้ทั้งนั้น เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ตัณหาจะเกิดอาศัยความหมายของสิ่งทั้ง ๑๐ ๖ หมวด ๑๐ หมวด ๆ ละ ๖ นี้ได้ถึง ๖๐ อย่าง ระหว่างตัณหา อุปาทานน่ะ มันมีวิตก เอ้อ, มีวิตก วิจารณ์ด้วย ขอร้องให้ช่วยจำแม่นคล่องปาก พูดให้คล่องปากกันทุกองค์ที่จะเป็นผู้สอนธรรมะ ถึงแม้ปฏิจจสมุปบาทนี้ก็ต้องคล่องปาก ทั้งพูดลงหรือพูดขึ้น คล่องปากไปหมด มีวิตก มีวิจารณ์ ก็เกิดตัณหาแล้วมันก็เกิดวิตก คิดไปตามความหมายของตัณหา มันเอาอะไรเป็นอารมณ์ของมันจนเกิดตัณหา มันก็จะวิตกในอารมณ์นั้น คือกำหนดเอามาคิดแล้วก็วิจารณ์ พิจารณาอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง ความหมายเดียวกันกับวิตก วิจารณ์ในปฐมฌานน่ะ แต่นี้ไม่ใช่ปฐมฌาน ในปฐมญาณ วิตกหมายความว่า จิตกำหนดอารมณ์ วิจารณ์หมายถึงจิตพิจารณาอารมณ์ เพื่อจะไปเป็นฌาน เป็นสมาธิ ส่วนนี่วิตก วิจารณ์นี่เป็นเรื่องของตัณหาที่มันจะไปกำหนดอะไรเข้า แล้วก็พิจารณาสิ่งนั้นโดยละเอียด จึงมีวิตก วิจารณ์เรียกชื่อเดียวกัน ทีนี้ว่าวิจารณ์อย่างละเอียดแล้วมันก็เกิดความยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวตนเป็นของตน อันแรกมันจะเกิดตัวตนขึ้นมาก่อน ความรู้สึกอยากเป็นไปอย่างแรงกล้า แล้วก็ไปกำหนดอะไรเข้า แล้วไปวิจารณ์อะไรเข้า มันก็ถือความหมายแห่งตัวตนได้ตามความโง่ ตามอวิชชาตามที่มีอยู่ในสาย ก็เกิดตัวตนขึ้นมา แล้วมันอยากอะไร คือมันติดลงไปในอะไร มันก็เอาสิ่งนั้นมาเป็นของตน รู้สึกอร่อย อยาก แล้วก็มีความรู้สึกผู้อยาก แล้วอยากให้ความอร่อยนั้นเป็นของตน อยากเอาความอร่อยนั้นเป็นของตน นั่นคือว่าคำว่าอุปาทานนั้นน่ะ ใจความสำคัญคือตนหรือของตน แต่อุปาทานนี้อธิบายได้โดยอุปาทาน ๔ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ถ้ามันยึดถือไปในทางกาม ฝ่ายกาม อำนาจกาม มันก็เป็นกามุปาทาน ถ้ามันยึดถือไปในทางความคิด ความเห็น เป็นความคิดความเห็นที่นำไปมันก็เป็นทิฏฐุปาทาน จึงเรียกว่าศีลวัตร ยึดมั่นศีลวัตร ให้ความปฎิบัติเคร่งครัดศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวตน เป็นของตนนั้นก็เป็นสีลัพพตุปาทาน แต่ก็มันยังมีความหมายแห่งตัวตนเนื่องอยู่ในทั้ง ๓ น่ะ มันเรียกอันสุดท้ายว่าอัตตวาทุปาทาน ตัวตนโดยสมบูรณ์ ความยึดถือตัวตนโดยสมบูรณ์ ถ้าจะพูดรวบรัดไปเกี่ยวไปถึงความทุกข์และอธิบายอัตตวาทุปาทานอย่างเดียวก็พอ ตรงนี้ อุปาทานตรงนี้อธิบายแต่อัตตวาทุปาทานอย่างเดียวก็พอ แต่ถ้าจะละเอียดหรือในบางกรณี มันกินไปถึงกามุปาทาน ทิฎฐุปาทาน สีลัพพตุปาทานด้วย เมื่อมีอุปาทานเป็นของตนแล้วก็ เป็นตัวตนเป็นของตนแล้ว มันเรียกได้ว่ามันมีความมีความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาในความรู้สึกอันนั้น อันนั้นเรียกว่าภพ อุปาทานเหมือนกับการแรกตั้งครรภ์ ถ้าครรภ์แก่เข้า ๆ แก่เข้า มันก็ภพ เป็นตัวตนที่สมบูรณ์ พอลูกออกมาแสดงบทบาทต่าง ๆ นานา ก็เรียกว่าชาติ พอมีชาติ ตัวกู ของกู ตัวตน ของตนสมบูรณ์เป็นชาติแล้วมันก็คว้าเอาไอ้อื่น ๆ ทั้งหลายมาเป็น เอามาเป็นของตน เอาชรามาเป็นของตน มรณะมาเป็นของตน โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส มาเป็นของตน คือความทุกข์ทั้งหมด เอาอะไรที่มันเนื่องกันอยู่มาเป็นของตนแล้วก็เกิดความทุกข์ทั้งหมด ชรา มรณะ หมายถึงทุกข์ทั้งหมด จนไปถึงโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ถ้าจะขยายไปถึงไอ้ ปิเยหิ วิปปะโยโค อัปปิเยหิ สัมปะโยโค (นาทีที่ 43:49) ด้วยก็ได้ หรือแม้แต่จะพูดสรุปให้มันสั้นตัดบทว่าเบญจขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นความทุกข์ก็ได้ เพราะว่าไอ้ชาติ ตัวตนที่สมบูรณ์นั่นมันได้คว้าเอามาเป็นตัวตนของตนก็เป็นทุกข์
เอ้าทีนี้ทำอย่างพระพุทธเจ้าทำ ไล่ไป ไล่มา จากบนลงล่าง จากล่าง ลงไป จากบนลงมา ทำอย่างนั้นสิ ทำอย่างนั้นจนคล่องแคล่ว คล่องแคล่วในใจ เขียนใส่กระดาษ วางไว้ตรงหน้าและก็ทำพิจารณาอย่างนั้น ความทุกข์มาจากชาติ คือความสมบูรณ์เต็มที่เต็มขนาด เบ่งบานแห่งตัวตน ภพคือความยึดถืออุปาทานที่ว่าตัวตนมันไปเจริญอยู่ แล้วอุปาทานเป็นจุดตั้งต้นของอุปาทาน ชาติมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหาโดยผ่านสัญญาและสัญเจตนา ผ่านวิตก วิจารณ์ ผ่านวิตก วิจารณ์มาแล้ว อุปาทานผ่านตัณหา ผ่านวิตก วิจารณ์มาแล้วทำหน้าที่แล้วเป็นธรรมดา ตัณหามาจากเวทนาโดยผ่านสัญญากับเจตนามาแล้ว แต่ถ้าว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเอามาเกี่ยวข้องได้นะ ไอ้วิตก วิจารณ์ สัญเจตนาไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้องกันได้ ว่าไปตามตัวที่มีอยู่ เท่าที่มีอยู่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทก็พอ (นาทีที่ 45:30) แต่ขอให้เข้าใจจริง ๆ อย่าว่าแต่ปาก มันพูดได้ง่ายนี่ว่าตัณหามาจากเวทนา คือมันรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์หรืออะไรก็ตาม มันก็เกิดความอยาก ตามสมควรแก่ความรู้สึกนั้น สุขเวทนา มันก็อยากได้ อยากเอา อยากให้เป็นกรรมตัณหาหรือเป็นภวตัณหา นี่ทุกขเวทนามันก็เป็นวิภวตัณหา มันแล้วแต่ความหมายของมัน พูดตายตัวไม่ได้ แต่ว่าความอยากมันมาจากความหมายของเวทนา เวทนามีความหมายอย่างไรมันก็ทำให้เกิดตัณหาคือความอยากอย่างนั้น เวทนาต้องอาศัยผัสสะ นี่เข้าใจง่ายเพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา ผัสสะต้องมีอายตนะสำหรับผัสสะ ต้องมีอายตนะสำหรับสัมผัส นี่ไม่ต้องอธิบายอย่างชุดเมื่อคืน ชุดเมื่อคืนมีวิญญาณอยู่ตรงนี้ มีวิญญาณอยู่ระหว่างอายตนะกับผัสสะน่ะ รู้ละเอียดว่าอย่างนั้นก็ได้ แต่ในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทไม่ต้องได้ ถ้าพิจารณาสายนี้ ก็อธิบายสายนี้แนวนี้ ถ้าอธิบายถ้าพิจารณาสายนักธรรมเพลง (นาทีที่ 46:57) สายพระพุทธเจ้ามาท่องอย่างร้องเพลงเล่นน่ะ ก็พิจารณาตามนั้น
นี่พอมีนามรูปมันจึงมีอายตนะได้ คือต้องมีกายกับใจ มันจึงจะมีอายตนะได้ นี้กายกับใจ ถ้ามันมีแต่กาย ไม่มีใจมันก็เป็นไปไม่ได้ มันต้องมีวิญญาณเข้ามาช่วยให้เกิดครบคู่เป็นกายกับใจ แล้ววิญญาณนั้นได้รับการปรุงมาจากสังขาร ปรุงวิญญาณธาตุตามธรรมชาติให้มาเป็นวิญญาณสำหรับรู้สึกทางอายตนะ สังขารการปรุงนี่อยู่ไม่นิ่งเพราะมันมีอวิชชา อวิชชาเป็นผู้ให้เกิดการปรุงแต่งและก็ปรุงแต่งวิญญาณธาตุตามธรรมชาติ เป็นวิญญาณธาตุสำหรับรู้จักอารมณ์ก็เรียกว่าได้จิตมาแล้ว ได้จิตได้ใจมาแล้วมาประกอบกันเข้ากับรูปที่มีอยู่ปกติกลายเป็นนามรูป คือกายกับใจ กายกับจิตก็เป็นที่ตั้งแห่งอายตนะ อายตนะก็ผัสสะได้ ผัสสะก็เวทนาได้ ตัณหาได้ อุปาทานได้ ได้ชาติได้ ขึ้นลง ๆ ขึ้นลงอย่างนี้จึงจะเรียกว่าเข้าใจ แล้วมันก็ต้องลำบากบ้างเพราะมันเป็นเรื่องลึกเป็นเรื่องยากของทุกเรื่องในพระพุทธศาสนา ในเรื่องในพระพุทธวจนะ พระอานนท์ทูลพระพุทธเจ้าว่าเรื่องปฏิบัตินี่ไม่ยาก พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเรื่องยาก เข้าใจยาก ลึก เหมือนน้ำที่ลึกด้วยมีเงาก็ลึกด้วย ฉะนั้นเราจะต้องพยายามให้สมกับที่มันเป็นเรื่องลึกและเรื่องยาก เรื่องลึกและเรื่องยากที่สุดทั้งหมดของคำสอนของพระพุทธวจนะหรือพระพุทธศาสนา ฉะนั้นการจะเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ต้องเสียสละ ต้องเสียสละ ฝ่าความยากความลึกนั้นไปให้ได้ ที่พระอาจารย์พุทธโฆษาจารย์พูดไว้ตอนคัมภีร์วิสุทธิมรรค ให้ความเห็นอย่างนั้น อธิบายอย่างนั้น มันก็ลึกตามแบบของท่านเหมือนกัน แต่เราเห็นด้วย ถ้าอย่างนั้นก็มีสัสสตะ เป็นบุคคลข้ามภพข้ามชาติและปฏิจจสมุปบาท ๑ วงกินเวลาตั้ง ๓ ชาตินั่นเป็นไปได้ เพราะว่าวันเดียวนั้นมันไม่รู้กี่วงนะ เกิดผัสสะ เวทนา ตัณหาเมื่อไรก็มีปฏิจจสมุปบาทหนึ่งวงเมื่อนั้น ถ้าใครมันเข้าไปอยู่ในที่ที่ให้เกิดกิเลสได้ง่ายได้มาก มันก็เกิดปฏิจจสมุปบาทได้ไม่รู้กี่วง กี่รอบในวันหนึ่ง ๆ ทั้งนั้น
เอ้า, ทีนี้คำว่าชาติน่ะมันสำคัญ คำว่าชาติในปฏิจจสมุปบาทไม่ใช่ชาติในภาษาชาวบ้านว่าเกิดจากท้องแม่เรียกว่าชาติ มันเกิดขึ้นความยึดถือว่าตัวกู ว่าของกู อุปาทานเกิดขึ้น ทีนี้ที่เรียกว่าต้องเกิดกันแล้วเกิดกันอีกพันชาติ หมื่น แสนชาติจึงจะนิพพาน อธิบายได้ง่าย ถ้าเกิดจากท้องแม่แล้วเข้าโลงทันที มันก็ชาติเดียวนะรอตายโหง (นาทีที่ 50:12) เมื่อไรจะได้ แต่ถ้านับชาติอย่างนี้ไม่กี่เดือนก็เหมือนได้หมื่นชาติแสนชาติ พอที่เข็ดหลาบแล้วบรรลุพระนิพพาน ก็ถือเป็นหลักก็ได้ต้องต่อสู้ไปหมื่นชาติ แสนชาติจึงจะบรรลุนิพพานนับชาติอย่างนี้สิ มันจะทันเวลาใน ในชาตินี้ ในชาติ ในโลงนี้ (นาทีที่ 50:35) ในชาติทางกายนี่ ชาติทางจิตเกิดขึ้นนับหมื่นชาติ แสนชาติทันหนึ่งชาติทางกายและก็บรรลุนิพพานได้ นับชาตินับให้เป็น นับให้เป็น จะนับว่าชาติก่อน ชาติปัจจุบัน ชาติหน้าก็เหมือนกัน ถ้านับชาติอย่างนี้ก็แยะไปหมด ในวันหนึ่งเกิด ๑๐ ชาติอย่างนี้ มันก็เป็นชาติก่อน ชาติหลัง ชาติปัจจุบัน ชาติข้างหน้า เป็นชุด ๆ ไป ไม่รู้จักกี่ชุดเพียงในวันเดียวนั่นน่ะ มีชาติก่อน ชาติปัจจุบัน ชาติหน้า ทยอยกันอยู่เรื่อย ถ้าเอาไปเป็นชาติเกิดจากท้องแม่แล้ว ไม่มีทางจะเข้าใจ เพราะว่าเกิดตัณหา อุปาทานทุกที เป็นชาติทุกทีนี่ หรือว่ามีผัสสะด้วยความโง่ด้วยอวิชชาทุกที จะต้องมีชาติอย่างนี้ทุกที นี้วันหนึ่งมันเกิดไม่รู้กี่สิบชาติ ร้อยชาติ จึงถือว่านี่เป็นเรื่องคล่อมกัน ๓ ชาตินั้นไม่มีเหตุผล และก็ไม่มีประโยชน์อะไร มันจะกลับจะให้โทษคือเข้าไปรับรองในข้อที่ว่ามีบุคคล บุคคลนั้นแหละชาติก่อนมาเกิดชาตินี้ หรือบุคคลชาตินี้ไปเกิดชาติหน้า ถ้าอย่างนี้เหลวหมด ไม่เป็นพุทธศาสนา ถือเป็นบุคคล แล้วบุคคลหรือวิญญาณนั่นแหละไปเกิดอย่างนี้หมดเลย
ที่เราเรียนกันในโรงเรียนเมื่อสมัยเรียนนักธรรมน่ะ ไอ้วิญญาณข้างบนนั่นน่ะ มันอธิบายเป็นปฏิสนธิวิญญาณ ที่แท้ก็วิญญาณธาตุถูกปรุงให้เป็นวิญญาณทางอายตนะไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ แต่ถ้าจะขืนใช้คำนั้น มันก็ได้เหมือนกัน เพราะมันเป็นวิญญาณตั้งต้นที่ให้เกิดเรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณคือวิญญาณอันที่ตั้งต้นให้เกิดเรื่อง มันก็มีได้หลายปฏิสนธิวิญญาณในวันหนึ่ง ๆ มีได้หลายปฏิสนธิวิญญาณ ไม่ใช่มีทีเดียวแล้วไปเกิด ไม่ใช่ และข้อสำคัญที่จะต้องศึกษาก็คือ ให้รู้ว่าใน ๑ รอบนั่นน่ะ มันมีทุกทีที่มีผัสสะด้วยอวิชชา คือผัสสะโง่ ผัสสะที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาซึ่งเป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะจะมีความทุกข์ทุกทีที่มีผัสสะโง่ ไปหลงรัก หลงเกลียด หลงโกรธ หลงกลัว หลงวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ที่เป็นความทุกข์ ทุกข์ทุกทีที่มีผัสสะโง่ นี่มันเป็นหลักอย่างนี้
ดังนั้นปฏิจจสมุปบาททั้งสายนี่ไม่ต้องกินเวลา ๓ ชาติ หรือแม้แต่ชาติเดียวตั้งแต่เกิดจนเข้าโลงก็ไม่ช้า มันมากกว่านั้นมากนักเพราะมีหลักที่ตายตัว ค้านไม่ได้ว่ามีผัสสะโง่เมื่อไร มีปฏิจจสมุปบาทเมื่อนั้น ต้องเรียงไว้อย่างนี้ เมื่อมีผัสสะโง่ก็มีเวทนา ก็มีตัณหาโง่ อุปาทานโง่ มีภพ มีชาติ ทุกข์ ศึกษาปฏิจจสมุปบาทให้เข้าใจว่ามันมีแป๊ปเดียวมาไปถึงความทุกข์ อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะด้วยอวิชชาเป็นผัสสะโง่ มันก็ปรุงมาอย่างนั้น ปรุงมาตลอดขั้นลำดับ มาปรากฎอยู่เป็นความทุกข์ เรามารู้เอาต่อเมื่อมีความทุกข์ ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้ มันเร็วเหมือนว่าสายฟ้าแลบ พอผัสสะแล้วมันก็จะเกิดเวทนา สุข ทุกข์ มาทุกข์ มาสุขแล้ว ถ้ามีสติมาทันเอาปัญญา เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาทัน มันไม่เกิด คือมันไม่ยินดี มันไม่ยินร้าย ปัญหาทั้งหลาย ความทุกข์เกิดจากเพราะรู้สึกยินดี หรือรู้สึกยินร้าย หรือแม้ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ก็พะวงสงสัยอยู่ นี่ล่ะคือความทุกข์ล่ะ จะเอาปฏิจจสมุปบาทนี้ก็ได้ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ก็ต้องอธิบายอย่างนี้ ถ้ามันเข้ากันได้กับปฏิจจสมุปบาทอย่างเมื่อคืน มันก็เหมือนกัน ความหมายเหมือนกันแต่อธิบายตอนหัว ตอนต้นให้อย่างรวบรัด และนี่ก็อย่างละเอียดที่สุด
ถ้าเป็นปฏิจจสมุปบาทอย่างเมื่อคืนน่ะ ผม ผมเรียกเอาเองว่า ปฏิจจสมุปบาทฮัมเพลง ฮัมเพลง เพราะว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงนำมาท่องเล่นเหมือนกับคนร้องเพลงเล่น พออ่านพบเรื่องนี้มันสะดุดขึ้นมาทันทีว่าทำไมนะ (นาทีที่ 55.40) พระพุทธเจ้าแล้ว สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังมาติดท่องสูตรคูณอยู่อีก คือท่านจะลืมไม่ได้ แต่จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม เมื่อท่านพอใจอย่างยิ่ง เอามาท่องเหมือนกับเด็กท่องสูตรคูณ จักขุงจะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา เวทนา ปัจจะยา ตัณหา ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานัง ปัจจะยา ภโว ภวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติ ปัจจะยา ชรามรณัม โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ (นาทีที่ 55:55) ทุกข์ทั้งปวง เมื่อท่องเรื่องตาเสร็จแล้วก็ท่องเรื่องหู ในนั้นรูป รูปศัพท์อย่างเดียวกันแต่เปลี่ยนจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกับเด็กท่องสูตรคูณ มันต้องเป็นเรื่องที่พิเศษอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าถึงกับทรงนำมาท่อง เพราะว่าเรื่องอื่น ๆ ไม่พบเลยในพระบาลี พระไตรปิฎกทั้งหมด ไม่เคยพบว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงนำอะไรมาสาธยายท่องอยู่องค์เดียวนอกจากเรื่องนี้ และก็ในพระไตรปิฎกทั้งหมดจะมีอยู่ทั้งหมด ๓ แห่ง ๓ ที่มา พระพุทธเจ้าเอาอันนี้มาท่องอยู่ลำพังพระองค์เดียว เราตั้งชื่อกันใหม่กันลืมว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบฮัมเพลง ร้องเพลงเล่น เราจะทำอย่างนั้นได้ไหม ถ้าทำได้ก็ดีสิ เอาบาลีทั้งหมดมา จักขุงจะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา เวทนา ปัจจะยา ตัณหา ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานัง ปัจจะยา ภโว ภวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติ ปัจจะยา ชรามรณัม โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสะ ... (นาทีที่ 57:20) ถ้าเราฮัมเพลงกันอย่างนั้นบ้างก็จะดี จะคล่องใจหรือจะคล่องเหมือนกับเด็กท่องสูตรคูณหรือจะคล่องปาก เหลือที่จะคล่อง นั่นมันเด็กเรียนสูตรคูณ แต่นี่เราเรียนสูตรทุกข์ ความ สูตรว่าด้วยทุกข์ก็มีอย่างนี้ ก็ท่องได้ตั้ง ๖ ชุด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น ๖ ชุด นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทใหญ่ ปฏิจจสมุปบาทสมบูรณ์ ปฏิจจสมุปบาทแบบฮัมเพลงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบย่อ รวบรัด เข้าใจได้ง่าย อันนี้เข้าใจไม่ได้ ที่มันมีข้างบนมา ๓ อัน แล้วไปเข้าใจวิญญาณผิด ก็กลายเป็นปฏิสนธิวิญญาณ ก็เกิดใหม่ ฉะนั้นก็พูดกันติดปากว่าปฏิจจสมุปบาทเกิด ๒ หนโว้ย เกิด ๒ หนโว้ย, เกิดตรงที่วิญญาณ นาม รูปนั่นน่ะหนหนึ่ง แล้วเกิดตรงที่ชาติกับ ชรา มรณะนี่อีกหนหนึ่ง เกิด ๒ หน ที่จริงถ้าใน ๑ รอบปฏิจจสมุปบาทนั้นเกิดหนเดียวเท่านั้นแหละ นั่นคือ ชาติ หลังจากภพ แล้วก็มีชาติหนเดียว ในปฏิจจสมุปบาท ๑ รอบ มีเกิดเดียว เกิดตัวกู ของกู ไม่ใช่เกิดทางร่างกาย ไม่ใช่การเข้าท้องแม่และคลอดออกมา แต่เป็นการเกิดขึ้นหรือเกิดออกมาแห่งอุปาทานว่าตัวกู ว่าของกู ตัณหาเหมือนกันกับการผสมพันธุ์ อุปาทานเหมือนกับการตั้งครรภ์ ภพมันก็ครรภ์แก่เข้า ๆ แก่เข้า ชาติเหมือนกับคลอดโพล่งออกมา แสดงบทบาท แต่ไม่เกี่ยวกับท้องแม่ เกี่ยวกับจิตดวงเดียวนี้ จิตของคนดวงเดียวนี้ทำอาการอย่างนี้ได้ทั้งหมด ฉะนั้นจะเห็นประโยชน์ของคำพูดที่แบ่งเป็น ๒ ประเภท ว่าภาษาคนกับภาษาธรรม ผมเสนอขึ้น ขอให้สังเกต ให้ศึกษากัน เดี๋ยวนี้มีคนเข้าใจกันมากแล้ว ชาวต่างประเทศก็เข้าใจกันมากและพอใจเรื่องภาษาคน ภาษาธรรม ให้รู้ไว้เถิดว่าปฏิจจสมุปบาทที่ท่านพูดไว้ในภาษาธรรม ไม่ใช่ภาษาคน ไม่ใช่เรื่องของเนื้อหนัง เป็นเรื่องของจิตใจ ภาษาธรรมที่เข้าใจได้ยาก ผมเชื่อว่าเข้าใจได้ยากสำหรับพวกเรานี่ ฉะนั้นขอร้องให้ทบทวนเสมอ สงสัยแล้วก็วิจารณ์กัน ถามกัน ซักไซร้กันให้เข้าใจจนได้
เอ้า, ขอทบทวนอีกที ฟังให้ดี เพราะมันเข้าใจมาพอสมควรแล้ว การทบทวนทีหลังจะเข้าใจได้ชัดขึ้นอีก ง่ายขึ้นอีกว่าอวิชชา สภาพที่ปราศจากความรู้ เป็นความมืด เป็นความบอด เป็นความอะไรก็ตาม มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นธาตุ ๆ หนึ่ง เรียกว่าอวิชชาธาตุ มีอยู่ตามธรรมชาติ มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง พร้อมที่จะทำหน้าที่ของมันน่ะ มีเหตุปัจจัยอย่างไร เมื่อใด ทำหน้าที่คือในกรณีที่มีการกระทบรูปน่ะ อายตนะกระทบกันน่ะ อวิชชามันแสดงบทบาท เพียงแต่ว่าอายตนะในอายตนะนอกพบกันนะ อวิชชาแสดงบทบาททันที คือปรุงสังขาร คว้าเอาวิญญาณธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติเหมือนกันมาเตรียมสำหรับเป็นจิตใจ พรึบมาเป็นจิตใจ มันก็เกิดวิญญาณที่จะรู้ทางอายตนะได้ ไอ้นามรูปก็ฟุ้งขึ้นมาเป็นนามรูปที่จะทำอะไรได้ ไม่ใช่นอนตายด้านอยู่เหมือนเดิมตลอดเวลา เมื่อไม่มีอายตนะกระทบกัน นามรูปนี่ กายกับใจนี่ มันก็ตายด้านอยู่ ตายด้าน ไม่มีความหมาย พออวิชชาทำให้เกิดสังขาร ปรุงวิญญาณธาตุเป็นใจขึ้นมา สำหรับจะรู้สึกทางอายตนะ ไอ้กายกับใจนี่ก็เรียกในทันทีว่านามรูป คำว่านามรูปนี้รู้ด้วยว่ามันเป็นเอกวจนะ (นาทีที่ 01:02:37) มันไม่ใช่ ๒ อย่าง นามกับรูปรวมกันเป็นสิ่งเดียวกันเรียกว่านามรูป ไม่ใช่ ๒ อย่าง แต่ถ้าว่ามันยังไม่เกิดนาม ไอ้รูปมันก็ไม่มีความหมายอะไร มันก็นอนตายอยู่ พอเกิดนาม เกิดใจเข้ามา ถึงเป็นนามรูป ถ้าอย่างนี้แล้วมันทำงานได้ ทำหน้าที่ได้ ก็พอมีกายกับใจสมบูรณ์แล้ว อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเหมือนกับนอนตาย นอนตายด้านอยู่ก็ลุกขึ้นมาทำงานได้ เพราะมันมีจิตมีใจเข้ามา มิฉะนั้นไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ตายด้านอยู่เฉย ๆ เหมือนกับไม่มีจิต เมื่อไม่มีจิต ก็ไปคิดไปนึก นี่ นี่เข้าใจได้ เข้าใจให้ได้นะว่าจิตมันไปคิดไปนึก มันเป็นความเข้าใจยากอยู่ตรงนี้ กายเรียกว่ากายทั้งหมดนี่ เหมือนกับของนอนตายอยู่เฉย ๆ จนกว่าเมื่อจิตเข้ามาผสมด้วยก็ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็เหมือนกัน มันก็เหมือนนอนตายอยู่เฉย ๆ เรามีกันตลอดเวลาว่าเกิดจากท้องแม่ ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมาด้วย แต่ถ้าไม่มีการกระทบทางอายตนะ คือไม่มีโอกาส ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย มันไม่ทำอะไร มันเหมือนกับนอนตายอยู่ พอมีจิตเข้ามาด้วย เป็นนามรูป มันก็ทำงานได้เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่ทำงานได้ ดังนั้นมันจึงทำงานคือเกิดวิญญาณที่อายตนะนั้น ๆ น่ะ เกิดเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ อย่าพูดลวก ๆ ว่าตากับรูปกระทบกันเรียกว่าผัสสะ อย่างนั้นไม่มีหลักนะ ว่าเอาเองนะ ตากับรูปกระทบกันเรียกว่า ผัสสะนี้ไม่มีหลักในพระบาลี ถ้ามีหลักในพระบาลีต้องว่า ตากับรูปกระทบกันเกิดจักษุวิญญาณขึ้นก่อน และ ๓ ประการนั้นทำงานด้วยกันอยู่นั้นคือ ผัสสะ ฉะนั้นผัสสะต้องประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่ใช่เพียงแต่องค์ ๒ คือ อายตนะภายนอกกับภายใน เอ้อ, ภายในกับภายนอก ตากับรูปนั่นกระทบกันไม่ได้ ถ้าไม่เกิดจักษุวิญญาณเสียก่อน นี่เข้าใจไอ้หลักของมัน ธรรมชาติของมัน แต่ตากับรูปน่ะกระทบกันไม่ได้ถ้าไม่เกิดเป็นจักษุวิญญาณเสียก่อน ดังนั้นจึงตรัสว่า จักขุง จะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง อาศัยจักษุด้วย รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบังเกิดจักษุวิญญาณ ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส สังฆาฏิแปลว่าการถึงกันอยู่ การถึงกันอยู่ของธรรมทั้ง ๓ นั้น ติณณัง ธัมมานัง ธรรมทั้ง ๓ นั้นมันก็คือ ตากับรูปเกิดจักษุวิญญาณ ๓ ประการสังฆาฏิกันอยู่ นี่คือผัสสะ ดังนั้นผัสสะมันก็คือวิญญาณน่ะที่เป็นจิตน่ะ รู้สึกต่ออายตนะภายนอกโดยผ่านทางอายตนะภายใน อายตนะภายในในที่นี้ก็หมายความว่ามันมีวิญญาณ ธรรมดามันก็มีเพียงประสาทเท่านั้นน่ะอยู่ที่ตานะ แต่พอกระทบกันเข้ากับรูปภายนอก มันเกิดวิญญาณ เกิดจักษุวิญญาณ ฉะนั้นไอ้ประสาททั้งหลาย ประสาททางตา ทางหู ทางจมูก มันอยู่ในพวกรูปเหมือนกัน วิญญาณน่ะเป็นพวกจิต พวกใจ พวกจิตน่ะ สัมผัสต่ออายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น โดยผ่านทางอายตนะภายใน ซึ่งมีระบบประสาทพร้อมกันอยู่แล้ว เรื่องประสาทนั้นไม่ใช่เรื่องจิต ไปศึกษาดูให้ดี ๆ จากเรื่องมหาภูตารูป อุปาทายรูป (นาทีที่ 01:06:57) ประสาทนั้นจัดว่าเป็นรูปอยู่ในพวกอุปาทายรูป ไม่ใช่จิตนะ อัน ๓ ขั้นต้นน่ะที่อธิบายลำบาก อวิชชามีอยู่ตามปกติทั่วไปในฐานะเป็นธาตุตามธรรมชาติอยู่ทุกหนทุกแห่ง ก็ในทุกปรมาณู ได้โอกาสเมื่อไรมันก็ปรุงสังขาร อำนาจการปรุงแต่งและโอกาสนั้นก็คือ เมื่อมีการกระทบของอายตนะ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น หากเกิดการปรุงแต่ง อำนาจการปรุงแต่ง ปรุงแต่ง วิญญาณธาตุที่ทำให้กลายเป็นวิญญาณทางอายตนะเพื่อรู้อารมณ์ ดูคล้ายจะต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ แต่มันใช้เวลาแวบเดียว แวบเดียว ปรุงแต่งวิญญาณทางอายตนะขึ้นมา ไอ้รูปหรือร่างกายที่นอนตายไม่มีความหมายนั้น มันก็กลายเป็นนามรูปขึ้นมา คือ กายที่มีจิตนี่เป็นนามรูปขึ้นมา อายตนะนั้นก็เกิดขึ้น ก็สามารถทำหน้าที่ได้ เอ้า, ก่อนนี้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็เหมือนกับนอนตายอยู่ ก็ได้อาศัยนามรูปนี่ มันก็คือตัวอายตนะนั่นแหละเป็นรูป มันทำงานของมันได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่าเกิดอายตนะขึ้นมาจากนามรูปนั้น อายตนะแล้วก็เกิดเวทนา เอ้อ, เกิดผัสสะ เกิดเวทนานี่อธิบายง่าย เข้าใจได้ง่าย แต่ตามธรรมดาต้องมีอายตนะกระทบกันแล้วเกิดวิญญาณตามอายตนะนั้น ๆ ก่อนจึงจะเรียกว่าผัสสะ นั่นตรงกลาง กลางสาย ฉะนั้นพอเกิดผัสสะตรงนั้น จุดที่สำคัญที่สุด เรื่องทั้งหลายเกิดมาจากผัสสะ จะพูดได้ว่าทุกอย่างเกิดมาจากผัสสะ ความสุข ความทุกข์ สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ อะไรก็ตามมันมีจุดตั้งต้นที่ผัสสะ ถ้าเราผัสสะโง่ก็ต้องไปเป็นความทุกข์ ถ้าเราผัสสะฉลาด มีวิชชา ก็ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์ อะไรก็ร้ายที่สุด ถ้าถามว่าอะไรร้ายที่สุดก็ผัสสะ จุดที่สำคัญที่สุดที่จะต้องให้มีความถูกต้อง นี่เขียนเป็น นี่... (นาทีที่ 01:09:39) ปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าคนธรรมดา ปุถุชน ไม่มีปัญญา ไม่มีวิชชาก็เป็นไปตามหลักของอวิชชา ไปจบลงที่ความทุกข์
นี่ใจความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทใหญ่ มันมีเท่านี้ มันมีเท่านี้ แต่ละเอียดของมันมาก แล้วมันลึก ลึกเหมือนกับมหาสมุทร ลึกเหมือนมหาสมุทร ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต พระสารีบุตรกล่าวว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เห็นธรรมะอันลึกซึ้งนี่คือเห็นธรรมที่เป็นความหมายเดียวกับธรรมกาย ธรรมกายก็คือเห็นตถาคต ธรรมกายนี่ที่อธิบายอย่างนี้ไม่เหมือนกับธรรมกายที่เขาอธิบายกันอย่างอื่นนะ แทนกันไม่ได้นะ เห็นไอ้ความจริงลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาท จึงเห็นว่าความทุกข์เกิดอย่างไร ความทุกข์ดับอย่างไร ก็เรียกว่าเห็นธรรมกาย เห็นธรรมกาย เห็นพระพุทธเจ้า คือเห็นเรื่องของการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์และการดับลงแห่งความทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่าแต่ก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติแต่เรื่องความทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เรื่องอื่นไม่พูด เรื่องอื่นไม่พูด นี่เราเอาเรื่องอื่นมาพูดกันเสียจนไม่ได้พูดเรื่องที่สำคัญ เลือกเรื่องที่ไม่ต้องพูดเสียบ้าง ให้เหลือแต่เรื่องที่สำคัญคือทุกข์กับความดับทุกข์ ศึกษาให้แตกฉานเพราะเราจะปฎิบัติเอง และให้แตกฉานสำหรับที่จะอธิบายสั่งสอนผู้อื่น ถ่ายทอดให้ผู้อื่น
นั่นนะเขียนไว้ทางซ้ายมือตัวแดง รูปขันธ์อยู่ตรงไหน เวทนาขันธ์อยู่ตรงไหน สัญญาณขันธ์อยู่ตรงไหน สังขารขันธ์อยู่ตรงไหน วิญญาณขันธ์อยู่ตรงไหน มันไม่ได้อยู่ตามลำดับที่ ที่เขาเรียงไว้เป็นตัวหนังสือหรอก รูปขันธ์ถูกแล้ว เวทนาขันธ์นั่นลำดับนั้นถูกแล้ว ก็เกิดสัญญาณขันธ์ เกิดสังขารขันธ์ แต่วิญญาณขันธ์นั่นอยู่ทั่วไป เข้ามาทีแรกทีก่อนว่าอายตนะ แล้วก็มามีในระหว่างผัสสะ ทีนี้ก็มามีในอารยะ แห่งปาทาน (นาทีที่ 01:12:28) แห่งพวกนี้อีกทีหนึ่ง ฉะนั้นวิญญาณขันธ์เกิดได้หลายทีในหนึ่งวงของปฏิจจสมุปบาท เลยบรรจุตำแหน่งไว้อยู่ตอนท้าย ก็เพราะไปอยู่ตอนท้ายนี่ คนมักจะทึกทักเอาเองว่าวิญญาณขันธ์นี่หมายถึงวิญญาณปฎิสนธิ วิญญาณจุติ วิญญาณจุติไปปฏิสนธิในภพอื่น ในชาติอื่น เลยไปกันใหญ่ ยิ่ง ๆ ไกลเรื่องของความจริงไปใหญ่ เอาวิญญาณขันธ์มากล่าวไว้สุดท้ายเพราะมันเกิดได้หลายที่หลายแห่ง จะเอาไว้เป็นเรื่องที่หนึ่งไม่ถูก เอาไว้เป็นเรื่องสุดท้ายถูกกว่า เกิดรูปขันธ์แล้วเกิดเวทนาขันธ์แล้วเกิดสัญญาณขันธ์แล้วเกิดสังขารขันธ์ นี่เป็นตามลำดับแท้จริงของธรรมชาติ ส่วนวิญญาณขันธ์เกิด ๒ ที ๓ ทีใน๑ ชุด ๑ สายเลยเอามาไว้สุดท้ายเป็นที่ห้า
เรื่องเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์คือเรื่องนี้ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์นี่ มันถึงเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ด้วย คือของพรหมจรรย์เพราะการประพฤติ การปฎิบัติศึกษาหรืออะไรก็ตาม มันคือเรื่องนี้และให้ตั้งต้นเรียนด้วยเรื่องนี้และก็ปฎิบัติโดยเรื่องนี้ให้สำเร็จประโยชน์ ให้ดับทุกข์ได้โดยควบคุมผัสสะได้ มีสติควบคุมผัสสะนั้นน่ะ มันปลอดภัย เรื่องสติสำคัญที่สุด มันแก้ปัญหาทุกเรื่อง มีสติมาควบคุมผัสสะ อย่าให้เป็นอวิชชาสัมผัส มันก็ไม่เกิด เมื่อกล่าวโดยปริยัต มันยืดยาวลึกซึ้งยุ่งยากลำบากอย่างนี้นี่ แต่พอกล่าวโดยปฎิบัติมันนิดเดียว มีสติควบคุมผัสสะ นั่นคือปฎิบัติปฏิจจสมุปบาทสำเร็จประโยชน์ มันต้องฝึกสติไว้ให้พอ ให้เร็วให้มากพอ ไว้ฝึกอานาปานสติกรรมฐาน จะมีสติมากและเร็วพอ สามารถจะนำมาใช้ปุ๊ปเดียวในแบบสายฟ้าแล๊ป ในขณะแห่งผัสสะ ผัสสะก็หายโง่ เป็นผัสสะฉลาด ให้เวทนาฉลาด ก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน เรื่องทั้งหมดมีเท่านี้ เรื่องนั้นน่ะเป็นคำปลีกย่อยอธิบายให้มันโดยละเอียดออกไป เป็นหลายร้อยหลายพันเรื่อง ๘๔,๐๐๐ เรื่องก็สุดแท้แต่เรื่องหัวใจมีเท่านี้ พระพุทธเจ้าเน้นมากให้ศึกษา ปฎิบัติควบคุม XXXX(นาทีที่ 01:15:32) ผม ผมตั้งชื่อว่า อายตนิกธรรม (นาทีที่ 01:15:38)ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสธรรมะ ๕ หมวด อายตนะภายนอก อายตนะภายใน อายตนะภายนอก ผัสสะ เวทนา เอ้อ, วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ท่านเรียงลำดับไว้อย่างนั้น จำไว้ด้วยนะ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ ๕ หมวด ๆ ละ ๖ เป็น ๓๐ ชื่อนี่เรียกว่าธรรมที่เกี่ยวกับอายตนะ ที่เนื่องอยู่กับอายตนะ เอามาศึกษาเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาบ้าง มาศึกษาเรื่องเกิดแห่งทุกข์อย่างไรบ้าง ดับแห่งทุกข์อย่างไรบ้าง ศึกษาได้ร้อยแปด ไอ้อายตนิกธรรม (นาทีที่ 01:16:27) ๕ หมวด ๆ ละ ๖ จำขึ้นใจ ต้องคล่องใจ เข้าใจอย่างคล่องใจและก็คล่องปากสำหรับจะพูด แล้วก็คล่อง คล่อง คล่องกายสำหรับจะประพฤติปฎิบัติ ขอให้มีทั้ง ๓ คล่อง คล่องกายคือคล่องสำหรับประพฤติปฎิบัติ แต่ต้องคล่องใจก่อน แตกฉานในใจก่อน และก็คล่องพูดด้วยปาก แล้วก็คล่องที่จะปฎิบัติด้วยกาย คล่องใจ คล่องปาก คล่องกาย พูดแตกฉาน
เรื่องมันมีอย่างนี้ ก็ไปทำความแตกฉานเอาเอง เขียนอย่างนี้ ถ้าเรามาวางตรงหน้า นั่งพิจารณาอยู่คนเดียวน่ะบ่อย ๆ แล้วให้มันเข้าใจได้หมด อธิบายได้หมดไม่มีข้อสงสัยตรงไหน เดี๋ยวนี้ผมแยกตัวออกจากคำอธิบายอย่างในหลักสูตรนักธรรม อธิบายอย่างนี้ด้วยการเชื่อว่านี้คือตรงตามพระพุทธประสงค์ อธิบายอย่างในหลักสูตรนักธรรมตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น ไม่ตรงตามพระพุทธประสงค์ เป็นความคิดของพระพุทธโฆษาจารย์ท่านเข้าใจอย่างนั้น ท่านอธิบายอย่างนั้นในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เราไม่เห็นด้วย เรามามองเห็นอย่างนี้ แล้วเสนอแนะให้ศึกษาอย่างนี้ ปฎิบัติอย่างนี้เพื่อดับทุกข์ แต่ถ้าจะสอบไล่ในโรงเรียนนักธรรมแล้วไม่ได้นะ อย่างนี้ห้ามขาด ต้องเอาตามที่มีอยู่ในหลักสูตรนักธรรม ถ้าใครยังจะต้องสอบไล่นักธรรม แล้วก็ต้องเอาตามแบบที่มีอยู่ในนักธรรม แต่ถ้าปฎิบัติโดยตรงเพื่อเล่นงานกับความทุกข์และเข้าใจอย่างนี้เถิด เข้าใจอย่างนี้เถิด ถ้ามีสติในขณะแห่งผัสสะแล้ว เวทนา เอ้อ, อวิชชาไม่อาจจะปรุงสังขาร ปรุงวิญญาณอะไรได้ มีสติสัมปชัญญะมากพอในขณะที่อายตนะภายในกระทบอายตนะภายนอก มันจะถึงกับไม่ปรุงวิญญาณด้วยซ้ำไปและก็ไม่เกิดผัสสะ ไม่เกิดเวทนา ดู (นาทีที่ 01:19:13)มันเก่งมาก เก่งมากนะ เอาแต่ว่าเกิดผัสสะแล้วนี่ ให้มีสติมาทัน เอาปัญญาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาให้ทัน และก็ใช้สติ ใช้สัมปชัญญะ ใช้ปัญญา ใช้สมาธิ ๔ อัน สติระลึกเอาความปัญญา เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามายืนควบคุมอยู่ นี่เป็นสัมปชัญญะ สติไปเอาปัญญามาทำเป็นสัมปชัญญะ ยืนคุมอยู่มันบิด(นาทีที่ 01:19:47)ไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้นแน่อย่างที่สุดแห่งจิตเป็นสมาธิ ฉะนั้นผู้ที่ทำนาน(นาทีที่ 01:19:54)อย่างแท้จริงที่ได้ประโยชน์ในขณะนั้นนั่นก็คือ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว อธิบายให้ถูกรู้ตัวอย่างไร ให้เอาปัญญามาทำความรู้สึกควบคุมอยู่จนกว่าจะหมดเรื่อง เรื่องสัมปชัญญะ แล้วก็จิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เมื่อมันมีสมาธิได้ สติก็เป็นไปสมบูรณ์อย่างยิ่ง ตัดขาดอวิชชาสัมผัส กลายเป็นวิชชาสัมผัส
นี่ขอฝากไว้ว่าไปศึกษาจนกว่าจะมองเห็นและมันก็จะดับทุกข์ได้ตามหลักของพระพุทธศาสนา นี่ต้องทนยากลำบาก ทนเหน็ดเหนื่อยสมองที่จะศึกษาไอ้เรื่องลึก ๆ ยาก ๆนี้ เอาละช่วยดับไฟ อย่าไปจับไฟนะ เดี๋ยวร้อนบวม ... (นาทีที่ 01:21:06) เรื่องมันก็พอดี เรื่องจบ
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01:21:17 – 01:21:30)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไปถามพระพุทธโฆษาจารย์
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01:21:33 – 01:21:40)
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็เอาหลักที่เห็นด้วย ที่เป็นสัณฐิติโกมาปฎิบัติ เกวัตทสูตรพระบาลี (นาทีที่ กล่าวไว้ชัด การกล่าวว่าวิญญาณนี้แหละไปเกิดนั่นก็คือมิจฉาทิฎฐิ วิญญาณนี้ไปเกิดน่ะเป็นคำมิจฉาทิฎฐิ