แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
) นิมนต์นั่งหันหลังกลับไปทางโน้นสิ ตามมีตามได้ พยายามนั่งให้เห็นตัวหนังสือในจอเท่าที่จะทำได้
วันนี้ผมตั้งใจจะอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งผู้ที่จะศึกษาจะปฏิบัติและจะเผยแผ่ ถ้าเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็นับว่าเข้าใจเรื่องที่สำคัญมาก มีบาลีว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราคือพระพุทธเจ้า ถ้าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้ใดเห็นธรรม ทีนี้ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ปฏิจจสมุปบาทนี่คือสิ่งที่เรียกว่า ธรรม มีค่าเท่ากับพระพุทธองค์ที่ว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ทีนี้เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก แม้คำกล่าวในพระบาลีก็กล่าวว่าเป็นเรื่องลึก เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ นี่เราก็จะพยายามที่จะเข้าใจกันให้มากเท่าที่จะมากได้ขอให้พยายามเข้าใจเถิด มันคุ้มค่าที่สุด แต่ว่ามันก็จะต้องลงทุนเหน็ดเหนื่อย ปลุกปล้ำมากในการที่จะเข้าใจ ปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ ๒ แบบหรือ ๒ สูตร สูตรโดยทั่วไปก็อย่างที่เราเรียนในแบบเรียน ในหลักสูตรนักธรรม หลักสูตรนักธรรมโท ปฏิจจสมุปบาทอย่างนั้นเป็นแบบทั่วไป ทีนี้แบบนี้เป็นแบบพิเศษซึ่งเข้าใจได้ง่าย และก็เป็นเรื่องเดียวกัน แต่มันก็มีการกล่าวที่เป็นจุดตั้งต้นนั้นต่างกัน และแบบนี้เป็นแบบที่พิเศษ จนถึงกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวสาธยายเหมือนกับท่อง สาธยาย กาลหนึ่งนั่งอยู่พระองค์เดียวสำคัญว่าไม่มีใคร ท่านก็ท่องก็สาธยายขึ้นมาเหมือนกับเด็ก ๆ จะท่องสูตรคูณ ดูแล้วเหมือนใครจะร้องเพลงเล่นรำฟังคนเดียวอย่างนั้น แบบนี้ไม่ได้ขึ้นว่า อวิชชา ปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ไม่ได้ขึ้นว่าอย่างนั้น ขึ้น อายตนะเลย ขึ้นว่า จักขุญจะ ปะฏิจจะ รูเป จะ ปะชานาติ วิญญาณัง (นาทีที่ 04:47) อาศัยจักษุกับภาพ เอ้อ, กับรูป อาศัยตากับรูป เกิดจักษุวิญญาณัง แล้วก็ ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส (นาทีที่ 05:10) ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่เรียกว่าผัสสะ มีไหมที่ มันไม่มีอะไรจะชี้ จะชี้ถึงไม่ถึงก็ไม่ทราบ แว่ว ๆ ว่า (นาทีที่ 05:27) ข้างบนนะ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก แล้วรวมกันเกิดวิญญาณ และวิญญาณให้เกิดผัสสะ ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ เกิดทุกข์ มันขึ้นโผล่ขึ้นมาว่า จักขุญจะ ปะฏิจจะ รูเป จะ ปะชานาติ วิญญาณัง อาศัยรูป อาศัยตากับรูปเกิดจักษุวิญญาณ และ ๓ ประการน่ะ คือว่าทั้งตาคืออายตนะภายในกับรูปซึ่งเป็นอายตนะภายนอก และวิญญาณที่เกิดขึ้น ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่คือ สังฆาฏิ(นาทีที่ 06.19) หมายความว่าถึงกันอยู่ ทำหน้าที่ร่วมกันอยู่ นั้นแหละคือผัสสะ ผัสสะปัจจะยา เวทนา เวทนาปัจจะยา ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานังปัจจะยา ภะโว ภะวะปัจจะยา ชาติ (นาทีที่ 06:23) เหมือนกันตอนท้ายนะเหมือนกันกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่เราเรียนกันทั่วไป แต่ตอนต้นนะมันโผล่ขึ้นมา แปลกกันและก็ไปเริ่มเหมือนกันตั้งแต่ ผัสสะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน สังเกตไว้ให้ดี อันนี้เข้าใจได้ง่ายและถ้าเข้าใจอันนี้ดีแล้ว ก็เข้าใจอันโน้นได้ง่ายขึ้นมากทีเดียว ซึ่งจะไว้พูดทีหลัง ดูให้เข้าใจแถวกลาง แถวกลางที่ว่าอายตนะภายในแล้วก็อายตนะภายนอก อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
(เสียงท่านพุทธทาสพูดกับคนอื่น นาทีที่ 07: 40-07:51)
ท่านท่องเรื่องตา สาธยายเรื่องตาเสร็จแล้ว ท่านก็สาธยายเรื่องหู โสตัญจะ ปะฏิจจะ สัทเท จะ อุปะชานาติ วิญญาณัง (นาทีที่ 08.00) อีก หมายความว่าอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกถึงกันย่อมเกิดวิญญาณตามชื่อแห่งอายตนะนั้น ๆ และมันมีถึง ๖ อายตนะ และมันก็เลยมี ๖ ชุด ตามจำนวนของอายตนะ นี้เข้าใจข้อทีแรกก็คือว่าอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกทีละอย่าง ๆ ถึงกันเข้า แล้วก็เกิดวิญญาณทั้ง ๖ ตามชื่อของอายตนะนั้น ๆ ตาถึงเข้ากับรูปก็จะเกิดจักษุวิญญาณ หูถึงเข้ากับเสียงเกิดโสตวิญญาณ กลิ่นจมูกถึงเข้ากับกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ลิ้นถึงเข้ากับรสเกิดชิวหาวิญญาณ กายถึงเข้ากับโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ มโนถึงกับธรรมารมณ์ก็เรียกว่ามโนวิญญาณ วิญญาณเกิดอย่างนี้ มีเรื่องที่ต้องสังเกตหลายอย่างเกี่ยวกับวิญญาณ วิญญาณอันนี้เห็นได้ง่าย ๆ ว่าเป็นวิญญาณในชีวิตประจำวัน ไม่เหมือนกับวิญญาณที่กล่าวไว้ใน ปฏิจจสมุปบาทแบบใหญ่แบบนู้นนะ มันทำให้คิดไปว่าวิญญาณสำหรับจุติ สำหรับไปปฏิสนธิแล้วเกิดนามรูป นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง อย่าพึ่งเอามาปนกันแล้วจะพูดกันทีหลัง คำว่าวิญญาณอันนี้เป็นตัวทำงาน คือเห็นแจ้งกับอายตนะภายนอกโดยอายตนะภายใน วิญญาณทำงานทางอายตนะภายในเห็นแจ้งอายตนะภายนอก มันจึงเป็น ๓ เส้า จึงพูดรวมกันว่าเมื่อ ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่เรียกว่าวิญญาณตามชื่อนั้น ๆ
ทีนี้วิญญาณให้เกิด เมื่อมีวิญญาณ ๓ อัน เมื่อมีสิ่ง ๓ อย่างถึงกันอยู่อย่างนี้ก็เรียกว่า ผัสสะ สังฆาฏิผัสโส ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส (นาทีที่10.29) เรียกว่า ผัสสะ ฉะนั้นอย่าเข้าใจหรืออย่าสอนกันแต่เพียงว่าตากระทบรูปหรือจัก (นาทีที่ 10:39) อายตนะภายในกระทบอายตนะภายนอกแล้วเรียกว่า ผัสสะ ถ้าอย่างนั้นมันไม่ถูกตามพระบาลี ต้องเกิดวิญญาณก่อน แล้วทำงานพร้อมกันอยู่เรียกว่าผัสสะ ฉะนั้นอย่าพูดง่าย ๆโพล่ง ๆไปว่าตากระทบรูปเรียกว่า ผัสสะ หูกระทบเสียงเรียกว่า ผัสสะ จะต้องมีถึง ๓ อย่างจึงจะเรียกชื่อว่า ผัสสะ ให้เข้าใจว่าวิญญาณที่เกิดขึ้นและทำหน้าที่รู้แจ้งอายตนะภายนอกทางอายตนะภายใน วิญญาณอาศัยตา อาศัยตาคืออายตนะภายใน จึงเห็นซึ่งรูปคืออายตนะภายนอก ตรงนี้มีลักษณะเป็น ๓ เส้า เข้าใจได้ง่าย แล้วทีนี้ก็ง่ายแล้ว เมื่อมีผัสสะแล้วก็มีเวทนา เป็นผลของผัสสะ เวทนาก็มีตัณหา มีอุปาทาน มีภพ มีชาติ เข้าใจตัวการของมันเสียก่อน แล้วทีนี้จะเข้าใจว่ามันเป็นเบญจขันธ์อย่างไรในสายทั้งหมดนี้มันมีเบญจขันธ์ อยู่อย่างไร อันนี้ไม่ใช่ง่ายและก็มักจะไม่เคยสนใจและไม่เคยจะศึกษากันด้วยซ้ำไป
ทีนี้ผมก็จะทำให้เห็นว่ามันเกิดเบญจขันธ์อย่างไร อันบนมุมบนขวาสุดที่เขียนว่าหนึ่ง หนึ่งรูปขันธ์ รูปขันธ์หนึ่ง แล้วก็นั้นนะคือรูปขันธ์เกิดเมื่ออายตนะภายใน อายตนะภายนอกทำหน้าที่ เรียกว่ารูปขันธ์เกิด ก็คือตาและรูปเกิดขึ้นมาทำหน้าที่ แล้วก็ให้เกิดวิญญาณนั้นนะคือวิญญาณขันธ์ ขันธ์ที่ ๕ ขันธ์ที่ ๕ มา มาเป็นรองลำดับจากรูปขันธ์ จากรูปขันธ์ทีนี้เมื่อมี ๓ ประการ วิญญาณนั้นแล้วก็มี ผัสสะ ทีนี้ผัสสะมี ๒ ระดับ สักว่าตากับรูปกระทบกันเฉย ๆ นั้นก็เรียกว่าปฏิฆะสัมผัส (นาทีที่ 13:30) สัมผัสแห่งการกระทบ อาศัยตากระทบแล้วก็มีสัญญา ความจำหมาย ก็รู้ได้ว่าเป็นรูปอะไรเท่านั้นน่ะ แต่ยังไม่ถึงความหมายอะไร แล้วจะมีวิญญาณทำหน้าที่รู้สึกความหมายของมันอีกทีหนึ่งเรียกว่าอธิวจนะสัมผัส (นาทีที่ 14:04) เขียว ๆ ๒ บรรทัดนะ ข้างบนเขียนว่าปฏิฆะสัมผัส ข้างล่างเขียนว่าอธิวจนะสัมผัส ตอนนี้มันก็มีความรู้สึกต่อคุณค่าของสิ่งที่สัมผัส มันเลยมีสัญญาอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าสัญญาที่หมายมั่น สัญญาที่จำได้ มันก็สักว่าจำได้ว่าอะไร ส่วนสัญญาหมายมั่นน่ะ หมายมั่นลงไปว่าอะไรอย่างไร หมายมั่นลงไปว่าดีไม่ดี น่ารักไม่น่ารัก จำหมาย สัญญาจำหมายรู้แต่เพียงว่านี้อะไรเท่านั้นนะ เช่นว่าเห็นดอกไม้ ดอกไม้โดยวิญญาณนั้น ในครั้งแรกก็เป็นปฏิฆะสัมผัส เห็นว่ามันมีสีอย่างไร มีรูปร่างอย่างไรและสัณฐานอย่างไรกระทั่งเรารู้ รู้จักกันว่าอย่างไร เรียกชื่อมันว่าอย่างไร เช่นเรียกชื่อว่าดอกกุหลาบ นี่มันผันผัสสะลงไปที่ตัวรูปล้วน ๆ เป็นปฏิฆะสัมผัส ทีนี้จิตมารู้สึกค่าของมัน ความหอม ความดี ความเคยรู้รสแล้วว่าเป็นของหอม เป็นของน่าพอใจน่ารัก สัมผัสถึงค่าของมัน อันนี้ก็เรียกว่าอธิวจนะสัมผัส เกิดสัญญาเป็นความหมายมั่นขึ้นมา แทนที่จะหมายมั่นเพียงว่าเห็นรูปร่างอย่างไร สีสันอย่างไร มันหมายมั่นเป็นว่าอะไรขึ้นมา เช่นดอกกุหลาบมีความหอม มีความงาม อย่างนี้เรียกว่าสัญญาในระดับหมายมั่น คำว่าสัญญามี ๒ ความหมายจำได้ว่าอะไรนั้นน่ะเป็นธรรมดา สัญญาหมายมั่นลงไปว่า สุขสัญญา ทุกขสัญญา ปุขรสัญญา อิจฐีสัญญา ปุริสารทสัญญา อิทฐิสัญญา(นาทีที่ 16.15) นี่ก็หมายมั่นในสัญญา ๑๐ หมายมั่นไม่ใช่สัญญาจำหมายมันก็เลยเป็น ๒ สัญญาอยู่ แต่ว่าทั้ง ๒ สัญญานั้นรวมกันได้เรียกว่าสัญญาขันธ์เกิด ถ้ามันเกิดสัญญาจำหมายก็เป็นสัญญาจำหมาย ถ้ามันเกิดสัญญาหมายมั่นก็เรียกว่าสัญญาหมายมั่น สัญญาจำหมายดอกไม้อย่างนี้ สีสันอย่างนี้ รูปร่างอย่างนี้เรียกว่าดอกกุหลาบ ที่หมายมั่นว่าดอกกุหลาบ หมายมั่นว่าดอกกุหลาบก็มีความหอม มีความน่ารัก มีคุณค่าอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่าสัญญาหมายมั่น สัญญามั่นหมาย สัญญาเกิด ทีแรกรูปขันธ์เกิด แล้ววิญญาณขันธ์ เกิดแล้วสัญญาขันธ์เกิด ทีนี้ผัสสะนั่นแหละให้เกิดเวทนา ก็เวทนาขันธ์เกิดเป็นอันดับที่สาม ขันธ์ที่ ๓ ก็เวทนาขันธ์เกิด สัญญาขึ้นไปอยู่ข้างบน แล้วก็เวทนาให้เกิดตัณหา ตลอดมาทั้งกับหมวดนี้เป็นสารขันธ์ เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ แล้วก็ตัณหาลงมานั้น ๆ ไอ้เขียวขีดเกินเข้าไปถึงเวทนา มันแค่ตัณหา แค่อุปาทาน แค่ภพ ๓ อันนั้นน่ะเรียกว่าสังขารขันธ์
ในส่วนที่เป็นกรรมแล้วก็มันให้เกิด ชาติ ชรา มรณะ หากเกิดชาติ เพราะชาติยังมีชรา มรณะ โสกะ นี่เป็นสัญญา เอ้อ, สังขารขันธ์ในความหมายอื่นในความปรุงแต่ง จะสงเคราะห์ลงในสังขารขันธ์ก็ได้ ถ้ามันไม่มีขันธ์อื่นอีกแล้ว มันมีเพียงขันธ์ ๕ มีเพียง ๕ ขันธ์ เป็นสังขารขันธ์ คือผลของการปรุงแต่งเกิดขึ้นมาเป็นสังขารขันธ์ชนิดวิบาก ข้างบนเป็นสังขารขันธ์ชนิดกรรม ถ้าเข้าใจตรงกลางแถวกลางว่ามีลำดับอย่างไรจากเรื่องจริงจากความรู้สึกจริง ๆ แล้วก็จะเข้าใจได้ทันทีว่าขันธ์ ๕ เกิดอย่างไร จะเห็นได้ว่าไม่ได้เกิดทีเดียวทั้ง ๕ อย่าง มันไม่ได้ทีเดียวทั้ง ๕ อย่าง มันจะต้องเกิดที่ละอย่างตามโอกาส และที่ละเอียดลงไปอีกว่าทำไมท่านจึงมาเรียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณน่ะเป็นอันที่ ๕ แต่เมื่อทำงานจริง ๆ การเกิดจริง ๆ มันไปเกิดติดกันกับรูปข้างบน อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกถึงกันเข้าเกิดจักษุ เกิดวิญญาณนั้นนะ ขันธ์ที่ ๑ เกิดแล้วขันธ์ ๕ เกิด แล้วมันจึงเกิดขันธ์ สัญญาขันธ์ แล้วจึงมาเกิดเวทนาขันธ์ ต้องเข้าใจนะ ต้องเข้าใจเรื่องจริงนะว่าสัญญาคือความรู้สึกอย่างไร เวทนาคือความรู้สึกอย่างไร เกิดเวทนาขันธ์แล้วจึงเกิดสังขารขันธ์ ขันธ์ที่ ๔ แปลว่าความคิด คือการปรุงแต่งแห่งความคิด มันก็เป็นตัวตัณหา คือความคิดจัดเป็นสังขาร ภพ อุปาทาน ตัณหาและอุปาทาน อุปาทานแล้วภพ นี่เป็นตัวรู้สึกเป็นตัวคิด อุปาทานคือยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวคิด ภพในฐานะที่เกิดความคิด เป็นตัวตนสมบูรณ์ ก็เป็นสังขารขันธ์ รวมอยู่ในสังขารขันธ์ทั้ง ๓ ทั้ง ๓ อันนั้นแหละ ที่เหลือมันก็ต้องสงเคราะห์ในสังขารขันธ์ แต่ที่มันเป็นผลคือมีชาติขึ้นมา ชาติก็เรียกว่าสังขาร ชรา มรณะ ก็เป็นการปรุงแต่ง เป็นผลของการปรุงแต่ง เลยสงเคราะห์เข้าไปในสังขารขันธ์ ชนิดที่เป็นวิบาก ศึกษาจนเป็นเรื่องเข้าใจจริงจากเรื่องภายในในความรู้สึกของเราจริง ๆ
ทีนี้ซีกซ้ายมือที่เรียกว่าปิยรูปสาตรูป มีอยู่ ๑๐ หมวด ๆ ละ ๖ ซีกซ้ายมืออันหนึ่ง อันที่แรกอันหนึ่งก็คืออะไร อายตนะภายใน ๖ อย่าง อันที่สองอายตนะภายนอก ๖ อย่าง อันที่สามวิญญาณ ๖ อย่าง นี่เห็นไหมลำดับถูกกันเลย ลำดับถูกต้องกันเลยกับตัวปฏิจจสมุปบาท มันเกิดอายตนะภายใน มีอายตนะภายในและอายตนะภายนอกเกิดวิญญาณ แล้วก็เกิดผัสสะ อันที่สี่คือผัสสะ อันที่ห้าคือเวทนา ๕ หมวดนี้พระพุทธเจ้าตรัสมากที่สุดในพระพุทธวจนะ เรามาเรียกกันง่าย ๆ เพื่อจำง่ายว่าธรรมที่เนื่องด้วยอายตนะโดยตรง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ แต่ละอย่างพิจารณาแล้วบรรลุมรรคผลได้ทั้งนั้น มีเวทนาแล้ว สัญญา สัญเจตนา นี่เมื่อมีเวทนาแล้ว จิต มโนน่ะ มโนน่ะ มันกระทำมโนวิญญาณในเวทนา เป็นความจำได้ หรือเป็นความหมายมั่น มันจึงเกิดสัญญาความรู้หมายมั่นว่าเวทนาสุข เวทนาทุกข์ หมายมั่นที่ความสุข หมายมั่นที่ความทุกข์ ก็เกิด สัญเจตนามาจากสัญญานั้น เป็นความคิดที่จะทำอย่างนั้น จะทำอย่างนี้ขึ้นมา นี่มันจึงเกิดตัณหาคือความอยาก ก็เกิดวิตก ก็เกิดวิจารณ์ ในระหว่างเวทนากับตัณหาน่ะ มีสัญญากับ สัญเจตนาอยู่ แต่ในตัวปฏิจจสมุปบาทไม่มี ไม่มีพูดถึงในตัวปฏิจจสมุปบาท แต่มันมีในเรื่องปิยรูปสาตรูป มันอยู่ตรงระหว่างตัณหา ระหว่างเวทนากับตัณหาน่ะ อันนี้ก็เป็นสัญญา พวกสัญญาขันธ์เหมือนกัน พอถึง (นาทีที่ 24.15) สัญเจตนามันกลายเป็นสังขารขันธ์ มันจึงเป็นสังขารขันธ์หมด เข้าใจปิยรูปสาตรูปทั้ง ๑๐ นะว่าถ้าเป็นเบญจขันธ์น่ะ มันเป็นอย่างไร มันเป็นอย่างไร เหมือนชุดแรกก็เป็นอายตนะภายในเป็นรูปขันธ์ ชุดที่สองเป็นอายตนะภายนอกเป็นรูปขันธ์ อันที่สามเป็นวิญญาณก็เป็นวิญญาณขันธ์ ทีนี้เป็นผัสสะก็เพ่งเล็งถึงที่มีสัญญา ก็เรียกเป็นสัญญาขันธ์อยู่ในส่วนที่เป็นปฏิฆะสัมผัส หรืออธิวจนะสัมผัส
ทีนี้ก็เป็นเวทนาก็เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ สัญเจตนาเป็นสังขารขันธ์ ตัณหา วิตก วิจารณ์เป็นสังขารขันธ์หมด นี่ถ้าจะรู้จักขันธ์ ๕ ให้รู้จักอย่างนี้ มันมี เมื่อทำหน้าที่จึงจะเรียกว่ามันเกิด มันเกิดทำหน้าที่อย่างไร ก็เรียกชื่อมันตามความหมายนั้น ๆ ว่ารูป ว่าเวทนา ว่าสังขาร ว่าวิญญาณ นี่มันออกจะละเอียดหยุมหยิมเห็นไหม มันต้องอดทนเพื่อการศึกษา มันจึงจะรู้และจะเข้าใจ รู้เรื่องแถวกลางให้ชัดเจนแจ่มแจ้งเป็นเรื่องจริงในความรู้สึกของเราเสียก่อนแต่ละอย่าง ๆ เป็นอย่างไร แล้วก็จะแยกออกไปให้เป็นขันธ์อันไหนได้ตามความหมายแห่งหน้าที่ของมัน ในแผนผังนี้ก็เปรียบปฏิจจสมุปบาทเทียบกันกับแผนผังของปิยรูปสาตรูป ๑๐ นั้นก็เปรียบสงเคราะห์ลงในขันธ์ทั้ง ๕ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความเห็นว่าเป็นสิ่งปรุงแต่งอาศัยกันและเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงมิใช่ตัวตน การที่จะพิจารณาเห็นว่ามิใช่ตัวตนคือการแยกให้เห็นอย่างนี้ มันก็เกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่ตนขึ้นมาเอง
มันคงจะลำบากไอ้ที่อยู่ไกลดูตัวหนังสือไม่เห็น ในเครื่องเครื่องนี้ ใช้อย่างนี้สำหรับใช้ในห้องเรียนนักเรียน ๔-๕๐ คนพอดี นี้เรานั่งกันกว้างตั้งร้อยกว่าคน มันก็เลยมองไม่เห็น นี่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แล้วค่อยฟังให้ดีให้เข้าใจ แล้วไปทำความเข้าใจ เข้าใจดีแล้วก็ไปจดเสียกันลืม
ศึกษาปฏิจจสมุปบาท แบบนี้เข้าใจแล้วจะไปศึกษาปฏิจจสมุปบาทแบบธรรมดา แบบที่ขึ้นต้นด้วย อวิชชา สังขารา ปัจจะยา วิญญาณัง (นาทีที่ 27:49) อันนั้นยังเข้าใจยากแต่ถ้าเข้าใจอันนี้และอันโน้นจะเข้าใจง่ายขึ้น จะเข้าใจได้และเอาไว้พูดกันทีหลัง แบบนี้เป็นแบบที่พระพุทธเจ้าเอามาท่องสาธยายน่าประหลาดว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังสาธยายเรื่องปฏิจจสมุบาท ปรากฏตามในพระบาลี ทีนี้ภิกษุองค์หนึ่งแอบมาข้างหลังมาฟังพระพุทธเจ้าท่องสาธยายเหมือนกับใครร้องเพลงอยู่นะ มาแอบฟังอยู่ข้างหลัง พระพุทธเจ้าทรงเหลียวไปเห็นเข้าไป เห็นว่ามีองค์หนึ่งมาแอบฟังก็ อ้าว, ดีแล้ว ๆ เอาเอาไป จำเอาไป จงจำเอาไปนี่แหละคืออาทิพรหมจรรย์ นี่แหละคืออาทิพรหมจรรย์ เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ พรหมจรรย์เพื่อการศึกษาก็ดี พรหมจรรย์เพื่อการปฏิบัติก็ดี มันนี้จุดตั้งต้น ขอให้แกรู้จักอายตนะภายในถึงกับอายตนะภายนอก เกิดวิญญาณ ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมี ๓ อย่างนี้ถึงกันอยู่เรียกว่า ผัสสะนะ ฟังให้ดี ๆ นะเผื่อผมพูดเผลอไปมั่ง อายตนะภายในอายตนะภายนอกถึงกันอยู่ เกิดวิญญาณนั้น เกิดวิญญาณ ๖ แล้วทั้ง ๓ อย่างนี้เมื่อทำงานถึงกันอยู่ ร่วมกันอยู่ ๓ อย่างยังไม่แยกกันนี้เรียกว่าผัสสะ คือการกระทบ กระทบเพียงสักว่าเห็นภาพได้ยินเสียงยังไม่ไม่สำนึกถึงความหมายเรียกว่าปฏิฆะสัมผัส มีสัญญาความจำช่วยเหลือว่าเป็นเสียงอะไรรูปอะไร ทีนี้สัมผัสอีกชั้นหนึ่งก็สัมผัสลงไปถึงความหมายของมัน ความหมายของอารมณ์นั้น ๆ เช่นไม่เพียงแต่เห็นรูปและรู้ความหมายของรูป รู้คุณค่าของรูป จนกระทั่งรู้เป็นว่ารูปหญิงรูปชายรูปอะไรขึ้นมา รู้ค่าเป็นความเหม็น ความหอม ความอร่อย ความอะไรก็ตามขึ้นมา นี่เป็นอธิวจนะสัมผัส ทีแรกเพียงแต่การกระทบ เหมือนกับเอาของเคาะกันน่ะเรียกว่าปฏิฆะสัมผัส ถ้าสัมผัสลึกลงไปถึงความหมายของมันเรียกว่าอธิวจนะสัมผัส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา (นาทีที่ 30:42) นี่ก็เกิดเวทนาตามที่สัมผัสรู้ แล้วก็ เวทนา ปัจจะยา ตัณหา นี้หมายความว่าในกรณีธรรมดาสามัญทั่วไปของปุถุชนนะไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีวิชชานะ เวทนาก็ให้เกิดตัณหาเท่านั้นนะ คือความอยากด้วยอำนาจปราศจากวิชชา ในกรณีอย่างนี้หมายความว่าไม่มีวิชชา มีแต่อวิชชา ฉะนั้นเวทนาก็ทำให้เกิดตัณหาคือความอยากด้วยอำนาจอวิชชา อยากได้ อยากเอา อยากเป็น อยากได้ อยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ถ้ามันมีวิชชาเกิดเสียตั้งแต่ผัสสะตอนผัสสะน่ะ มันเป็นวิชชาสัมผัส ในกรณีธรรมดาเป็นอวิชชาสัมผัส ในแผนผังนี้เป็นอวิชชาสัมผัส ถ้าในกรณีของผู้ที่ได้ฝึกฝนแล้ว เป็นสัตบุรุษแล้ว มันมีสติ เอาปัญญาที่รู้แจ้งเข้ามาทันในขณะแห่งผัสสะ ผัสสะนั้นก็กลายเป็นวิชชาสัมผัส ถ้ามิฉะนั้นปล่อยไปตามธรรมดา มันเป็นอวิชชาสัมผัส สัมผัสด้วยอวิชชา มันจึงตลอดสายไปเลย เป็นอวิชชาตลอดสายจนได้เป็นความทุกข์ ถ้าสตินำเอาปัญญามา มีสัมปชัญญะอยู่ในขณะนั้น มันรู้สึกตัว หากผัสสะนั้นเป็นวิชชาสัมผัสแล้ว มันไม่ให้เกิดเวทนาที่เป็นเหยื่อของอวิชชา ถึงมันจะรู้สึกว่าสุข ว่าทุกข์ ว่าอุเบกขา มันก็ไม่เกิดตัณหาได้ เดี๋ยวนี้วิชชา ปัญญาไม่มา มันก็เป็นสัมผัสโง่ สัมผัสของอวิชชา มันก็ปรุงให้เกิดเวทนาที่จะเป็นอารมณ์แห่งตัณหา คือน่ารักน่าพอใจหรือไม่น่ารักไม่น่าพอใจ มันก็เกิดตัณหาไปตามอารมณ์นั้น ๆ ถ้าปัญญามาทัน โอ้, มันก็ว่าผัสสะเท่านั้น เวทนาก็สักว่าเวทนาเท่านั้น ไม่เป็นสุขเป็นทุกข์สำหรับจะรัก จะไม่รักขึ้นมา นี่ถ้าว่ามันโง่ในขณะผัสสะแล้วเวทนาก็โง่ ก็เกิดโง่มาถึงความอยากก็เป็นตัณหา ที่เรียกว่าตัณหานั้นต้องเป็นความอยากที่มาจากความโง่ เราเคยพูดกันผิด ๆ แปลตัณหาว่าความทะเยอทะยานอยาก นี่มันผิดลึก มันทะเยอทะยานหรือไม่ทะเยอทะยานก็ตามใจ ถ้ามันอยากด้วยความโง่ แล้วมันก็เป็นตัณหา ดูให้ดี สังเกตดูให้ดี หนังสือหนังหาตำรับตำราหรือพูดจาเทศน์สั่งสอนอะไรก็ตาม ตัณหาแปลว่าความทะยานอยากอันนั้นไม่ถูก มันต้องอยากด้วยความโง่ จะทะยานหรือไม่ทะยานก็ตามใจ ถ้าอยากด้วยความโง่เพราะอวิชชา ผิดมาตั้งแต่ผัสสะแล้ว มันก็เป็นตัณหาหรือเป็นโลภะ นี่ถ้าว่าปัญญามาโดยสติตั้งแต่ผัสสะมาด้วยเวทนาฉลาด มันก็ไม่เกิดตัณหาหรือโลภะหรอก มันเกิดความต้องการที่เป็นไปตามอำนาจของวิชชา เป็นกลาง ๆ ความต้องการที่เป็นอำนาจของวิชชา มีชื่อเรียกกว่าสังกัปปะ สังกัปปะก็คือความประสงค์ความต้องการเหมือนกันแต่ไม่ได้มาจากตัณหาเห็น ได้ว่าในอริยมรรคมีองค์ ๘ มันมีสัมมาทิฏฐิ นำเสียแล้ว ไอ้ความอยากมันก็เลยถูกนำโดยสัมมาทิฏฐิ เลยไม่เรียกว่าตัณหากลายเป็นเรียกว่าสังกัปปะไป คำว่าปรารถนา คำว่าความอยาก ความปรารถนาที่ไม่เป็นเลวร้ายนะคือไม่เป็นตัณหา ไม่เป็นโลภะ เรียกว่ สังกัปปะ ดังนั้นในคำสวดอนุโมทนาให้พรน่ะ อะไรอะ สัพเพ สังกัปปา สะมิชฌะตุ อะไรนะ ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติสาคะรัง เอตานัง สัพเพ สังกัปปา ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา (นาทีที่ 35:20) สังกัปปา ตัวนั้นนะคือความอยาก ความประสงค์ ความอยากอะไรน่ะของท่านน่ะ จงสำเร็จเหมือนกับพระจันทร์เต็มดวง จึงเหมือนกับแก้วมณีโชติ
นี้แยกกันเสียให้เด็ดขาดว่าถ้าอยากด้วยอวิชชา มีมูลฐานมาจากอวิชชา ความอยากนั้นเป็นตัณหา เป็นความโลภ คือเป็นชื่อที่เลวร้ายทั้งนั้น คือถ้ามันมาจากไม่ใช่วิช ไม่ใช่อวิชชา ไม่ใช่โมหะ มันเป็นความรู้แจ้งว่าควรจะอยาก เช่นต้องการจะดับทุกข์ ต้องการจะบรรลุพระนิพพาน อยากนี้เป็นความอยากเป็นความต้องการ อย่างนี้ไม่เรียกว่าตัณหา ไม่เรียกว่าโลภะ เพราะว่ามันมาจากวิชชา ก็มีชื่อเรียกทั่ว ๆไปในพระบาลีเรียกว่าสังกัปปา ส่วนในปฏิจจสมุปบาทตลอดสายที่วางไว้นี้เป็นเรื่องของอวิชชา ไม่รู้ทั้งนั้นก็เลยเรียกว่า ตัณหา ผัสสะโง่ให้เกิดเวทนา โง่ให้เกิดความอยาก โง่คือตัณหา ครั้นตัณหาคือความอยากไปตามอำนาจแห่งอวิชชาแล้ว ก็เกิดอุปปาทาน เกิดอุปปาทานที่จะมีความรู้สึกเป็นตัวตนผู้อยาก ตรงนี้น่าประหลาดที่ว่าความอยากเกิดก่อน แล้วค่อยรู้สึกว่าผู้อยากนี่เกิดทีหลัง ถ้าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญตามรูปธรรม มันต้องมีผู้อยากก่อนแล้วมันจึงจะอยาก ส่วนอันนี้มันเป็นความอยากเกิดขึ้นก่อน แล้วปรุงความคิดว่ามีผู้อยาก เป็นตัวกูผู้อยาก อันนี้เป็นเครื่องบอกให้เห็นชัดว่ามันเป็นอนัตตา เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดมาจากความอยาก เป็นนามธรรม เป็นสังขารปรุงแต่งกันขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้นไม่มีตัวตนแห่งผู้อยากอันแท้จริง เป็นแต่เพียงความรู้สึกที่เรียกว่า อุปปาทาน ดังนั้นตัวตนในความรู้สึกที่เกิดขึ้นมานั้นจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา มีความอยากและเกิดมีความยึดมั่นถือมั่นว่ามีผู้อยากเรียกอุปาทาน มีภพ เอาความเป็นความมีแห่งบุคคลก็เริ่มตั้งต้นขึ้นใน ในความรู้สึกในภายในเรียกว่าภพ ผลของอุปาทานปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
ในแผนผังที่เป็นพระบาลีโดยตรงนี้จะเห็นได้ว่า เพราะมีชาติจึงมีทุกข์ ฉะนั้นชาติมิได้ถูกจัดไว้ใน คำว่าทุกข์ แต่มันก็แน่นอนแหละ มันเป็นตัวเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นตัวทุกข์ ถ้าอย่างในอริยสัจทั้ง ๔ ก็ ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขา เอาชาติเป็นตัวทุกข์ไปเลย แต่ในบาลีปฏิจจสมุปบาท จะเห็นว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นตัวเหตุตัวของปัจจัยที่ก่อ จึงเกิดชรา มรณะ ซึ่งเป็นความทุกข์ นี่ให้สังเกตเห็นให้ดี ๆ ว่ามันมีขยักกันอยู่อย่างนี้ แม้ในพระบาลี ชาติในความรู้สึกคิดนึกว่าเป็นสังขารอันหนึ่งด้วยเหมือนกัน ในชรา มรณะ โสกะ ที่จัดว่าเป็นสังขารนี้เป็นสังขารธรรมเป็นสังฆะตะธรรม มีความหมายว่าเป็นสังขารได้ เอามารวมไว้ในที่นี้ด้วย แต่ที่จริงคำว่าสังขารนั้นน่ะหยุดเพียงแค่ ตัณหา อุปาทาน ภพ ๓ อย่างเท่านั้นพอ อย่าไปเอาเวทนาเข้ามาด้วยนะไม่ใช่สังขารนะ มันเขียนผิดไปนะ มันสูงไปหน่อยคล้าย ๆ จะไปดึงเอาเวทนามาด้วย มันเอาเพียงตัณหา เพียงอุปปาทาน เพียงภพ เท่านั้นนะเป็นสังขารขันธ์ในความรู้สึก ส่วนชาติ ชรา มรณะ นี่เป็นผลของมัน เป็นผลของสังขารนั้น ก็เรียกว่าสังขารที่ถูกปรุงแต่งแล้ว คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สังขารข้างบนนะที่เป็นกรรม เป็นผู้ปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่ปรุงแต่ง สังขารข้างล่างนี่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา แต่ยังชื่อเดิมชื่อว่าสังขาร ไม่อาจจะเข้าใจได้ทันที ต้องเอาไปคิดไปใคร่ครวญไปทบทวนไปจึงจะเข้าใจเพิ่มขึ้น ๆ ว่าสังขารอย่างไร วิญญาณอย่างไร ในสังขารนี้มีความหมายหลายอย่าง สังขารใน ปฏิจจสมุปบาทใหญ่สมบูรณ์นะ ความหมายอีกอย่างหนึ่ง อธิบายยาก แต่เข้าใจอันนี้เสียได้ดีก่อนมันจะบรรเทาความยากลงได้ตั้งครึ่ง
ทีนี้เรื่องปิยรูปสาตรูป ๑๐ หมวดนี้ก็เหมือนกัน มันอยู่ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอย่างไร เพราะกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ มันมีอยู่ในเรา ที่ไม่ใช่ทั่วกัน ประชุมกัน ธาตุที่ไม่ตัวตนนะ (นาทีที่ 41:30) มันมีกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ ทีนี้ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่ามันไม่ต้องข้ามภพข้ามชาติหรอก เพราะว่าถ้ามันมีการสัมผัสด้วยอวิชชาเมื่อไร มันมีปฏิจจสมุปบาทเมื่อนั้น มันจะข้ามภพข้ามชาติได้อย่างไร วันหนึ่งมันมีผัสสะด้วยอวิชชาหลายหน มันก็มีปฏิจจสมุปบาทหลายหนหลายห่วงไม่ต้องข้ามภพข้ามชาติ ดูให้ดีว่าเมื่อมีความโง่ในผัสสะเมื่อไร เป็นมีปฏิจจสมุปบาทเต็มรูป คือเป็นทุกข์ ในคัมภีร์อภิธรรมสรุปไว้สั้น ๆ ดีเหมือนกันว่าหากจิตเป็นอกุศลก็ตั้งต้นปฏิจจสมุปบาท พูดให้มันกว้างให้มันมากให้มันชัดขึ้นไปอีกว่าเมื่อจิตเป็นอกุศล ปฏิจจสมุปบาทก็ตั้งต้น แล้ววันหนึ่งจิตเป็นอกุศลได้หลายหน เราก็ตั้งต้นได้หลายวง ๆ ไม่ต้องพูดถึงข้ามภพข้ามชาติ การอธิบายที่อธิบายกันอยู่ในโรงเรียนคล้าย ๆ กับว่าเป็นคนเดียว แล้วข้ามภพข้ามชาติ แล้วคน ๆ นั้นแหละไปเกิดไปรับ อย่างนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ ผิดความประสงค์ของปฏิจจสมุปบาทที่จะช่วยให้มองเห็นว่าไม่มีสัสสตะ ไม่มีบุคคลที่ตัวถาวร เป็นตัวเป็นตนอย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้เราพูดกันอย่างนอกโรงเรียน ถ้าในโรงเรียนสอนกันอยู่ในโรงเรียนก็ต้องสอนอย่างนั้น และไปสอบไล่ก็ต้องได้ ถ้าเอาอย่างนี้ไปบอก เดี๋ยวมันสอบไล่ตก มันไม่ตรงกับที่เขาวางไว้หลักสูตร ผมก็บอกให้รู้ว่าคุณจะเอาคำอธิบายนี้ไปใช้ในโรงเรียนไม่ได้ เขาไม่ยอมรับหรอกเพราะว่าในหลักสูตรอธิบายไว้อย่างอื่นแล้ว แต่เดี๋ยวนี้เราต้องการจะรู้จริง จะปฏิบัติจริง จะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ถ้าพุดถึงเรื่องปริยัติ มันมากมายเห็นไหม มันซับซ้อนยุ่งยากอย่างนี้ แต่ว่าพูดถึงเรื่องปฏิบัติมีนิดเดียว คือตรง ผัสสะ ผัสสะ จำไว้ ถ้าควบคุมผัสสะไว้ได้ ปฏิจจสมุปบาทไม่อาจจะเกิดจนเป็นทุกข์ได้ มีสติควบคุมผัสสะเท่านั้นแหละ สั้น ๆ เท่านั้นแหละ นั่นนะคือปฏิบัติในเรื่องของปฏิจจสมุปบาทอันยาวเฟื้อยอันลึกลับซับซ้อน เมื่อพูดอย่างปริยัติ มันก็มากมายพูดกันกี่ชั่วโมง ๆ ก็ได้ ถ้าพูดอย่างปฏิบัติ ก็มีสติเมื่อมีผัสสะ ให้ทันควันพอผัสสะมีสติ สตินั้นหมายความว่าเอาปัญญาเรียก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาควบคุมใจในขณะแห่งผัสสะ มันก็เลยไม่ปรุงเวทนาโง่ ตัณหาโง่ ฉะนั้นสามารถจะปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทอันมากมายมหาศาลนั้นได้ด้วยการปฏิบัติเพียงสักว่ามีสติในขณะแห่งผัสสะ ในเรื่องผัสสะนี่มีความหมายมากสำคัญมากทุกอย่าง มันไปประชุมรวมอยู่ที่ผัสสะนั้นนะ จะเกิด มัจฉาทิฏฐิก็ตรงนั้นแหละ จะเกิดกรรมการกระทำก็ตรงนั้นนะ ก็จะเกิดหลาย ๆ อย่างก็มันมีจุดสำคัญอยู่ตรงที่ผัสสะนั้นเอง ถ้ารู้เท่าทันผัสสะ ควบคุมผัสสะได้ ก็ปัญหาไม่เกิด ความทุกข์ไม่เกิด มิจฉาทิฏฐิไม่เกิด อะไรทุก ๆ อย่างที่ไม่ควรจะเกิด
ขอร้องให้ที่เรียนนักธรรมมาแล้วน่ะสังเกตดูว่าในตัวจริงของมีอยู่จริง ในตัวเราตามธรรมชาติ มันมีอย่างนี้ และการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามหลักพระบาลีจะเป็นอย่างนี้ จะไม่มีเรื่องข้ามภพข้ามชาติ เว้นแต่จะให้ชาติมีความหมายว่าเป็นตัวกูครั้งหนึ่งนับเป็นชาติหนึ่ง เกิดตัวกูครั้งหนึ่งนับเป็นชาติหนึ่งอย่างนี้ได้ ใช้ได้ ข้ามภพชาติอย่างนี้ได้ เพราะในวันหนึ่ง ๆ มีได้หลาย ๆ ภพ หลาย ๆ ชาติ หลายสิบภพ หลายสิบชาติก็ได้เพียงในวันเดียว ข้ามภพข้ามชาติชนิดนี้ได้ แต่ถ้าจะข้ามภพข้ามชาติเข้าโลงแล้วไปเกิดใหม่อย่างนั้น จะทำได้อย่างไรเพราะมันเกิดปฏิจจสมุปบาทวันเดียวตั้งหลายวงเสียแล้ว มันจะเข้าโลงกันไหวเหรอ จะเข้าโลงวันละหลาย ๆ สิบครั้ง ไปเกิดหลายสิบครั้งไหวที่ไหน มันเป็นไปไม่ได้ นี่คือข้อที่ว่าปฏิจจสมุปบาท มิได้ข้ามภพข้ามชาติในความหมายของภาษาคนหรือตายเข้าโลงไปเกิดใหม่ แต่มันมีชาติอย่างนี้ ชาติอย่างนี้จะมีทุกคราวที่มีปฏิจจสมุปบาท หลาย ๆ วงก็มันหลายชาติ นับเป็นชาติหน้าชาติหลังกันก็ได้ วงก่อนก็เป็นชาติก่อนไป วงถัดมาก็เป็นชาติหลังมาแล้วมาหลังอีก ๆ หลังอีก นี่ชาติในปฏิจจสมุปบาท
หมวดธรรมเหล่านี้สำคัญมาก สำคัญมากคือปฏิจจสมุปบาทสายกลางนั้นนะ แล้วก็เรื่องขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ ๕ ขันธ์นั้นแหละ แล้วก็เรื่องปิยรูปสาตรูปที่เป็นความรู้สึกจริง ๆ อยุ่ในจิตใจอยู่ในความคิดนึกของเรา ดูแต่ในซีกซ้ายมือ ซีกซ้ายมือคือปิยรูปสาตรูปว่ามีอายตนะภายใน อายตนะภายนอก มีวิญญาณ มีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีสัญเจตนา มีตัณหา มีวิตก มีวิจารณ์ ยิ่งมันเข้าใจอย่าง ยิ่งศึกษาให้เข้าใจอย่างยิ่งซึ่งมักจะไม่ได้สอนกันจนให้มองเห็น ว่าเป็นอย่างไร บอกให้ท่องจำกันไว้เท่านั้น มันมีอายตนะภายในเป็นหมวดที่หนึ่ง แล้วก็มีอายตนะภายนอกหมวดรองลงมา เพราะมันต้องมีคู่กัน ถ้ามันมีแต่อายตนะภายในไม่มีอายตนะภายนอก มันก็ไม่มีอะไรเท่านั้นน่ะ มันไม่มีโลก ไม่มีอะไร คือไม่มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นาทีที่ 48:23) แล้ว มันก็ไม่มีอะไร ทีนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี้ถ้าไม่มีอายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ค่อยรู้สึกแล้วมันก็เท่ากับไม่มี เลยยกเลิกกันไม่ต้องมีโลก ไม่มีอะไรกัน อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกถึงกันเข้า มันเกิดความรู้แจ้งแก่ทางจิตใจที่เรียกว่าวิญญาณ นี่ตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณ หูได้ยินเสียงเกิด โสตวิญญาณ จมูกได้กลิ่น (นาทีที่ 48:51) เรียกว่า ฆานวิญญาณ ลิ้นได้รสเรียกว่าชิวหาวิญญาณ กายได้โผฏฐัพพะเรียกว่ากายวิญญาณ มโนได้ธรรมารมณ์เรียกว่า มโนวิญญาณ วิญญาณก็ ๖ อีกแหละ
ทีนี้ก็มีผัสสะ อย่าง หลักเดียวกันกับในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกอาศัยกันแล้วเกิดวิญญาณ มันเป็น ๓ ประการ ถึงกันอยู่อย่างนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะก็เลยมี ๖ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส (นาทีที่ 49:23) มี ๖ ตามตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อผัสสะแล้ว มันเป็นธรรมชาติธรรมดาเหลือโดยที่ (นาทีที่ 49.35) จะต้องเกิดเวทนาเกิดเวทนาไปตามชื่อแห่งอายตนะภายใน จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา (นาทีที่ 49:45) เวทนา ๖
ทีนี้มันเกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว มันมีความสำคัญมั่นหมายว่าอะไรว่าอย่างไรโดยรูปร่างภายนอกก็ดีโดยความหมายในภายในก็ดี สัญญาโดยรูปร่างเป็นไปตามความจำว่าเราเคยเรียกกันว่าอะไร แต่สัญญาภายในก็ไปอีกชั้นหนึ่งเป็นความหมายสัญญาว่าอะไร ว่าอร่อย ว่า จนกระทั่งว่าดี จนกระทั่งว่าสุข ว่าทุกข์ กระทั่งว่าจากอย่างผู้หญิง จากว่าอย่างผู้ชายอย่างนั้น มันเป็นสัญญาขึ้นมา สัญญานั้นเองก่อให้เกิด สัญเจตนาคือเจตนาที่จะทำอย่างไรตามสัญญานั้น ๆ มันก็มีตามความเจตนาตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดตัณหาคือความต้องการ สัญเจตนาก็เพื่อให้เกิดตัณหา ครั้นเกิดตัณหาแล้ว มันก็วิตกไปตามตัณหานั้นคือจะไปเอานั้นเอง แล้วก็ใคร่ครวญ ๆ ใคร่ครวญจะเอาให้ได้อย่างไร ตัณหา วิตก วิจารณ์ หยุดเพียงวิจารณ์ เรียกว่าปิยรูปสาตรูป หยุดอยู่เพียงตรงนี้ ในฐานะเป็นอารมณ์หรือเป็นแดนสำหรับเที่ยวไปหรือต้องการของตัณหา ใช้คำว่าตัณหา มันก็จะเกิดเกิดที่นี่ดับดับที่นี่ เอามาไว้หลังตัณหาอย่างนี้ มันก็พอจะมองเห็นได้ว่ามันก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ยังเกี่ยวกับตัณหา วิตกและวิจารณ์นั้นมันยังเกี่ยวกับตัณหา ความรักความพอใจเกิดขึ้นแม้ได้ในสิ่งที่เป็นวิตกหรือเป็นวิจารณ์ มันก็เลยจบส่วนที่จะเป็นปิยรูปสาตรูป เป็นที่เกิดที่ดับแห่งตัณหามีอยู่ ๑๐ หมวด ๆ ละ ๖ มีชื่อตามอายตนะทั้ง ๖ ศึกษาจนเข้าใจ จนมองเห็นจริง ที่มันมีอยู่จริง ที่มันเกิดดับอยู่จริงในจิตใจของคนที่ศึกษา เมื่อพูดก็ต้องพูดอย่างภาษาคนภาษาธรรมดาคือมีตัวตนว่าในเรา แต่จริงเราไม่มี มีแต่กระแสธรรมะเหล่านี้ ไอ้เราก็เป็นเรื่องของอุปาทานบ้าง เป็นสัญญาบ้าง เป็นอุปาทานบ้าง อัตตสัญญาเป็นสัญญา อัตตวาทุปาทานเป็นอุปาทาน นั้น เราเอามาเรียกว่าเรา เป็นผี เป็นไม่มีตัวจริง แต่เอามาเรียกว่าเรา ฉะนั้นเมื่อผมพูดก็เหมือนขัดกัน พูดเรื่องไม่มีตัวตนแท้ ๆ แต่แล้วใช้คำพูดว่าในตัวเรา มองดูในตัวเราว่าไป เพราะว่ามันไม่เข้าใจให้เห็นชัดลงไปว่าอย่างไร แม้แต่คำพูดที่จะอธิบายมันก็ยังสับสนไม่เข้าใจใน ในกลุ่มนี้นะในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้มีทั้งใจด้วยนั่นแหละอะไร ๆ ทั้งหมดนี้ มันมีอยู่ในร่างกายที่ยาวที่วาเดียวนี่ แต่ร่างกายนั้นยังเป็น ๆ คือยังมีสัญญาและมีใจ มีใจด้วย
ผมว่ามากพอแล้วสำหรับวันหนึ่ง การบรรยายครั้งหนึ่งเพียงเท่านี้ มันพอแล้ว มันมากพอแล้วกลัวว่าจะลืมหมดจะฟั่นเฝือหมด เพราะฉะนั้นสงสัยอะไรก็ถามเสียเลยดีกว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้สงสัยอะไรก็ถามเสียเลยดีกว่า
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 54:17 – 54:22)
(เสียงท่านพุทธทาส) สงสัยว่าอย่างไรว่าไป
(เสียงคนถามแต่ยินไม่ชัด นาทีที่ 54:24 – 54:32)
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็ถูกแล้ว มันก็ควรจะสงสัย วิตกคือกำหนด วิจารณ์คือพิจารณา วิตก วิจารณ์ ในปิยรูปสาตรูปนี้เป็นคนละอย่างกับวิตก วิจารณ์ที่เป็นองค์ฌานของปฐมฌาน ปฐมฌานมีองค์ ๕ วิตก วิจารณ์ ปีติ เวทนา เอกัคตา เมื่อวิตกในองค์ฌานหมายถึงกำหนดอารมณ์ วิจารณ์ในองค์ฌานหมายถึงพิจารณาอารมณ์ ทีนี้ก็เหมือนกัน มันกำหนดอารมณ์แต่ไม่ใช่องค์ของฌาน ความคิดที่มันเกิดขึ้นเป็นความมุ่งหมายเรียกว่าวิตก และใคร่ครวญไปตามความมุ่งหมายว่าจะทำอย่างไร จะได้อย่างไร จะหาอย่างไร จะอะไรอย่างไรเป็นวิจารณ์ ชื่อเหมือนกันวิตก วิจารณ์กับในองค์ฌาน แต่ไม่ได้อย่างเดียวกัน ความหมายอย่างเดียวกัน คำพูดอย่างเดียวกัน แต่ว่าเรื่องนะไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เมื่อทำสมาธิ กำหนดนิมิตแห่งสมาธิเรียกว่าวิตก พิจารณานิมิตแห่งสมาธิเรียกว่าวิจารณ์ ส่วนอันนี้มันเป็นตัณหา เมื่อมีตัณหาแล้ว มันก็คิดจะ จะได้ เช่นหาสิ่งที่จะได้ วิธีอย่างไรมันวิตกไปสิ เพื่อจะเอา แล้วมันก็วิจารณ์เพื่อพิจารณา พิจารณาให้ละเอียดลออออกไปว่าจะได้มาอย่างไร ก็นี้ก็เรียกว่าวิจารณ์
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 56:15 – 56:27)
(เสียงท่านพุทธทาส) คนละเรื่องนะอย่าพึ่งถาม เรื่องนิพพาน ๒ เรื่องนี้ ขอให้ถามเรื่องนี้ให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน เรื่องนิพพาน ๒ ไว้พูดกันทีหลังก็ได้ ขอให้พูดเรื่องนี้เรื่องที่กำลัง
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 56:43 – 56:48)
(เสียงท่านพุทธทาส) จัดเป็นสังขารขันธ์ได้ ตัณหา วิตก วิจารณ์ เป็นสังขารขันธ์ได้ สัญญา สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ สัญเจตนาเป็นสังขารขันธ์ ตัณหาเป็นสังขารขันธ์ วิตกเป็นสังขารขันธ์ วิจารณ์เป็นสังขารขันธ์
มีปัญหาอะไรอีกที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังพูดอยู่นี่ ขอให้ถามเถิดให้มันเสร็จ ๆ เป็นเรื่อง ๆ
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 57:31 – 57:42)
(เสียงท่านพุทธทาส)ไอ้ที่ซ้ายมือน่ะ ที่เขียนเป็นนั้นนะ ที่พุ่งเข้าไปหาแถวกลางน่ะ หมายความว่ามันเกิดในระหว่างนั้นนะ เส้นสัญญากับสัญเจตนาน่ะ มันอยู่ระหว่างเวทนากับตัณหาในปฏิจจสมุปบาท สิ่งที่เรียกว่าสัญญากับสัญเจตนาในปิยรูปสาตรูปน่ะ มันอยู่ในระหว่างเวทนากับตัณหา แล้ววิตก วิจารณ์น่ะ มันอยู่ใต้มาตัณหา ระหว่างตัณหากับอุปาทาน กับอุปาทาน เดี๋ยว ๆ จะอ่านเครื่องหมายเหล่านั้นไม่ออก
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 58:26 – 58:34)
(เสียงท่านพุทธทาส) อ้าว, มันมาจากสัญญา ดูสิเวทนาสัญญา สัญญาเป็นสัญญาขันธ์และสัญเจตนานี่เป็นสังขารขันธ์ ตัณหา วิตก วิจารณ์เป็นสังขารขันธ์ เรื่องขันธ์ ๕ เรื่องเดียว ถ้าจะเรียนกันให้ครบถ้วนละเอียดลออแล้วยืดยาวมาก
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 59:05 – 59:13)
(เสียงท่านพุทธทาส) อ้าว, นั้นไม่ใช่เรื่องนี้ ไม่ใช่หมวดนี้ นั้นมันเรื่องกรวดน้ำ เป็นคำในอรรถกถา เขายืมเอามาใช้ เอาว่าเพื่อจะกรวดน้ำให้แก่สรรพสัตว์ไม่ยกเว้นอะไร แล้วก็ให้ถือว่าสัตว์จำพวก ๕ ขันธ์ก็มี ๔ ขันธ์ก็มี ๑ ขันธ์ก็มี ตามที่อธิบายไว้ในอรรถกถาว่าเป็นขันธ์ทั้ง ๕ คืออย่างมนุษย์ทั่วไปอย่างนี้ครบขันธ์ ๕ สัตว์ ๔ ขันธ์น่ะพวกพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และขันธ์เดียวคือพวกพรหมที่มีแต่รูปแล้วก็ไม่มีนามไม่มีจิตใจ นั่นน่ะขันธ์เดียว แต่ผมไม่ชอบอธิบายอย่างนี้ไม่ชอบ ๕ ขันธ์ เรามันรู้สึกทั้ง ๕ ขันธ์ เมื่อเราสนใจแต่ ๔ ขันธ์ บางครั้งเราสนใจแต่เรื่องจิต ไม่คำนึงถึงกาย เมื่อนั้นเราเป็นสัตว์มี ๔ ขันธ์ เมื่อใดเราคำนึงแต่เรื่องกายอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเรื่องจิตนั้น เราเป็นสัตว์ขันธ์เดียวคือมีแต่รูปขันธ์ ๕ ขันธ์คือทั้ง ๕ ๔ ขันธ์คือพวก เวทนา สังขาร เวทนา สังขาร สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วก็พวกขันธ์เดียวก็มีแต่รูปขันธ์ เป็นวิธีพูดแต่โบราณมีปรากฏอยู่ในอรรถกถา ผู้แต่งคำกรวดน้ำหมวดนี้ยืมมาใช้
(เสียงคนถาม แต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 00:48 – 01:01:03)
(เสียงท่านพุทธทาส) ๒ อย่างนั้นน่ะคือผัสสะ ๒ อย่างนั้นรวมกันนั้นน่ะคือผัสสะ ปฏิฆะสัมผัส เพียงว่ากระทบกัน เช่นตากระทบรูป ตากระทบรูป แต่ถ้าว่าจิตกระทบความหมายของสิ่งนั้นนะ ของสิ่งที่ถูกกระทบนี่เป็นอธิวัจนะสัมผัส จะพูดง่าย ๆ ก็ปฏิฆะสัมผัส สัมผัสด้วยทางรูปธรรม ข้างนอก ผิวเปลือก อธิวัจนะสัมผัส สัมผัสด้วยจิตที่ลึกซึ้งที่รู้ถึงความหมาย แล้วก็สัมผัสลงไปที่ความหมาย เห็นผู้หญิงเดินมารูปร่างอย่างนั้น รูปร่างอย่างนั้น สีสันอย่างนั้น อย่างนั้น ก็เรียกว่าปฏิฆะสัมผัส แต่ถ้าจิตไปสัมผัสว่าเป็นผู้หญิง แล้วมีความหมายอย่างไร มีความหมายอย่างไรในความเป็นผู้หญิง นั่นเป็นอธิวัจนะสัมผัส คือสัมผัสลึกเข้าไปอีก
(เสียงคนถาม แต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 02:02 – 01:02:14)
(เสียงท่านพุทธทาส) สังขารขันธ์คือการปรุงแต่ง กิริยาที่ปรุงแต่งก็เป็นพวก พวกกรรม ผลของการปรุงแต่งเรียกว่าวิบาก เช่นว่าชาติเกิดขึ้นนี่เป็นผลของการปรุงแต่งของภพ คำว่าสังขารนั้น คำนี้เป็นบาลีมีเพียงคำเดียวว่าสังขาร ความหมายมีได้ ๓ อย่าง คำเดียวนะมีความหมายได้ ที่เป็นหลัก ๆ นะ ๓ อย่าง แล้วยังปลีกย่อยกว่านั้นก็มี (นาทีที่ 01:02:52) คือว่าผู้ปรุงแต่ง แล้วก็สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง แล้วก็การปรุงแต่ง กิริยาอาการแห่งการปรุงแต่ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าสังขารเสมอกัน โดยคำ ๆ เดียวกัน ผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่ง กิริยาอาการแห่งการปรุงแต่ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าสังขารหมด ก็จะต้องอยู่ในหน้าที่ของสังขารขันธ์ เพราะว่าไอ้สิ่งที่ถูกปรุงแต่งนั้นแหละมันก็กลายเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมาอีก มาปรุงแต่งต่อ ถ้าเอากิริยาอาการเป็นหลัก แล้วทั้งหมดนี้เป็นสังขารหมดเลยทั้ง ๑๒ - ๑๓ อาการนี่ เป็นผู้ปรุงแต่งแล้วถูกปรุงแต่ง แล้วกลายเป็นผู้ปรุงแต่ง แล้วก็ถูกปรุงแต่ง แล้วก็กลายเป็นผู้ปรุงแต่งเรื่อยไป ถ้ากิริยาอย่างนี้ ถ้าใช้คำอย่างนี้ไม่มีอะไรในที่ไม่ใช่สังขาร ยกเว้นพระนิพพานเท่านั้นแล้วเป็นสังขารหมดเป็น เป็นสังฆะตะธรรมหรือสังขารหมด
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 04:08 – 01:04:11)
(เสียงท่านพุทธทาส) ผัสสะมันยังไม่เรียกว่าวิบาก ไม่ถึงขนาดที่จะเรียกว่าวิบาก อยู่ในพวกกรรม
(เสียงเงียบไป นาทีที่ 01: 04:23 – 01:04:36)
(เสียงท่านพุทธทาส) ในที่นี้ถือเอาสัญญาในขณะผัสสะ เอามาจัดเป็นสัญญาขันธ์ มันผัสสะของอายตนะภายในหรือผัสสะของวิญญาณโดยทางอายตนะภายในลงบนอายตนะภายนอกนั้นน่ะคือ ผัสสะ ก็เกิดผลเป็นเวทนา
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 05:05 – 01:05:25)
(เสียงท่านพุทธทาส) ถ้าสัง เอ้อ, เขาถามว่าถ้าสังขารในปฏิจจสมุปบาทกับสังขารในขันธ์ ๕ สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ มีชื่อจำกัดชัดลงไปว่าสังขารขันธ์คือหมวดสังขาร สังขารขันธ์ก็คือการคิดที่ปรุงแต่งให้เกิดการกระทำ ส่วนในปฏิจจสมุปบาทนั้น ในบาลีแท้ ๆ อธิบายว่าได้แก่กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร แต่ในหลักสูตรนักธรรมไปเอาในวิสุทธิมรรค ไปเอาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งไม่ใช่บาลีพระไตรปิฎก มาเป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี่ก็นอกพระไตรปิฎก แต่ก็มาเรียนมาสอนกันอยู่ ถ้าในพระบาลีแท้ ๆ ซึ่งเป็นพุทธวจนะ ตรัสอธิบายเรื่องนี้ ก็ตรัสเป็นกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร สิ่งจะที่ปรุงแต่ง ปรุงแต่งให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางจิต
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 06:38 – 01:06:46)
(เสียงท่านพุทธทาส) มีอะไรนะ
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 06:47 – 01:06:53)
(เสียงท่านพุทธทาส) ความรู้เรื่องนี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ เป็นจุดตั้งต้นของความรู้ของการประพฤติของการปฏิบัติ ในบาลีเรียกอย่างนั้นน่ะเรียกว่าอาทิพรหมจรรย์ คล้าย ๆ ว่าให้ตั้งต้นการศึกษาด้วยการศึกษาเรื่องนี้ แล้วก็ตั้งต้นปฏิบัติเป็นข้อแรก ก็คือปฏิบัติควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาทิพรหมจรรย์ หมายความว่าสำคัญมาก เป็นเบื้องต้น เป็นพื้น เป็นรากฐาน เป็นเบื้องต้นที่สำคัญ เพราะว่าเรื่องทุกเรื่องมันมารวมอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เรื่องทุกเรื่องไม่ว่าที่ไหนในสากลจักรวาลทั้งภายนอกภายในทั้งอะไรก็ตาม มันมารวมอยู่ที่เรียกอายตนะ ฉะนั้นเรียนเรื่องการกระทำ การกระทำของอายตนะ ที่เรียกว่าอายตนิกธรรม ธรรมเกี่ยวกับอายตนะ นั้นน่ะคือจุดตั้งต้นของการเรียนที่แท้จริงที่จำเป็นที่สุด
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 08:20 – 01:08:28)
(เสียงท่านพุทธทาส) นี่อย่างไรขันธ์ ๕ (นาทีที่ 01:08:29) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไอ้วิญญาณใน ปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่ได้เรียกว่าขันธ์ แต่มันก็อยู่ในพวกขันธ์น่ะแหละ ผม ตามความเข้าใจของผมที่ว่า อวิชชาเกิดสังขาร สังขารเกิดวิญญาณน่ะ สังขารเป็นภาวะสภาพปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณ คือวิญญาณธาตุมีอยู่ตามธรรมดา ตามธรรมดา สักว่าเป็นธาตุเท่านั้น ยังไม่ใช่เป็นขันธ์ เป็นธาตุชนิดหนึ่งใน ๖ ธาตุน่ะ มีอยู่ในธรรมชาติ ถ้าเกิดสังขารที่มาจากอวิชชาแล้วก็ปรุงแต่งวิญญาณธาตุให้มาทำหน้าที่วิญญาณขันธ์
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 09:11 – 01:09:23)
(เสียงท่านพุทธทาส) ทีนี้วิญญาณให้เกิดนามรูป หมายความว่ามันได้ปรุงแต่งส่วนที่จะเป็นจิตใจ ขึ้นมาแล้วมันก็ง่าย เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่ารูปธรรมมันมีอยู่ ในทีนี้ก็หมายถึงให้ส่วนที่เป็นจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นรูปกาย เรียกชื่อว่านามรูป จะได้เป็นที่ตั้งแห่งอายตนะทั้ง ๖
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 09:47 – 01:10:06)
(เสียงท่านพุทธทาส) อ้าว, นั้นแหละตัวการน่ะ ถ้าผัสสะเป็นอวิชชาสัมผัส ก็เกิดอย่างนี้ นี้พูดถึงกรณีที่เป็นอวิชชา
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 10:16 – 01:10:19)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไม่ได้ อ่านไม่เห็น
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 10:20 – 01:10:24)
(เสียงท่านพุทธทาส) อ่านไม่เห็น อ่านไม่เห็น
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 10:27 – 01:10:30)
(เสียงท่านพุทธทาส) ปัญหานี้แปลกมากเลย ในขันธ์ ๕ คือนามรูป รูปคือรูปขันธ์ นามคือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามรูปแจกออกไปเป็นขันธ์ ๕
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 10:45 – 01:11:09)
(เสียงท่านพุทธทาส) ถ้ามันถูกต้องที่ผัสสะแล้วก็ความทุกข์ไม่เกิด ไอ้ผัสสะนี้ถ้าทำด้วยวิชชาด้วยปัญญา มันก็กลายเป็นเรื่องที่รู้ความจริง รู้หน้าที่ที่ต้องกระทำ ควรกระทำ ก็ทำไปเพื่อหมดเรื่องหมดปัญหา แล้วก็ไม่มีความทุกข์ ถ้าการกระทำที่ผัสสะ ในขณะผัสสะมันถูกต้อง ด้วยมีวิชชา ด้วยมีปัญญา มันก็ไปทางไม่มีทุกข์ ถ้ามันเป็นไปอย่างอวิชชา มันก็เป็นไปในทางที่เป็นทุกข์ นี่เราพูดกันถึงธรรมดาสามัญของปุถุชนธรรมดาสามัญ เป็นไปเพื่อความทุกข์
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 11:47 – 01:12:30)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไหนว่าใหม่สิ มันฟังไม่ออก อ่าน ๆ ให้ชัด ๆ ช้าฟังออก ถามว่าอย่างไร
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 12:35 – 01:12:53)
(เสียงท่านพุทธทาส) รูปยังไม่เกิดแล้วกระทบอะไร อะไรจะเกิดผัสสะได้อย่างไร ถ้ารูปยังไม่เกิด ผัสสะ มันต้องมาจากวิญญาณ มีอายตนะภายในอายตนะภายนอกกระทำกัน แล้วจึงจะเกิดเป็น ผัสสะ ก็หมายความว่ารูปกับนาม คือวิญญาณ เมื่อทำหน้าที่แล้ว มันจึงเป็นผัสสะ ทีนี้ถ้าว่ามันมีวิชชา มีปัญญาเช่นในขณะผัสสะน่ะ มันก็เกิดสังขารชนิดที่จะปรุงแต่งไปในทางไม่เป็นทุกข์ ต้องไม่ ไม่ต้องเป็นทุกข์ ถ้ามีอวิชชาเข้ามาคลุมผัสสะแล้ว ก็เป็นการทำให้เกิดการปรุงแต่งชนิดที่ต้องเป็นทุกข์ แต่ทั้งที่เป็น ไม่เป็นทุกข์และเป็นทุกข์นั้นนะ เป็นสังขารทั้งนั้นยึดถือไม่ได้ เพราะในที่นี้ไม่ใช่ว่าหลุดพ้นไปจากกิเลส สังขารขันธ์การปรุงแต่งนี้มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว คือฝ่ายเป็นทุกข์และไม่มีทุกข์ ถ้าเข้าใจคำแต่ละคำแล้วก็จะไม่มีคำถาม แต่นี่ไม่เข้าใจคำบางคำหรือหลายคำสัมพันธ์กันเข้า มันก็เลยเกิดคำถามแปลก ๆ
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 14:15 – 01:14:35)
(เสียงท่านพุทธทาส) นั้นแหละก็แน่นอน เพราะว่าสังขารเป็นทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นน่ะหรือดับไปเกิดขึ้นหรือดับไปก็ตาม คือสังขารทั้งนั้นน่ะ สังขารทุกชนิดมีลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้นจึงถือว่าไอ้ที่มันเกิดขึ้นน่ะ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ที่มันดับไปดีก็ตามชั่วก็ตาม เรียกว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นสังขารที่ปรุงแต่ง มีลักษณะเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เพราะสิ่งที่ว่าไม่เป็นทุกข์นะมันมีเกิดมีดับ ถ้ามันมีเกิดมีดับน่ะเป็นสังขารที่อยู่ภายใต้ปัจจัยปรุงแต่งอยู่ มันจึงเรียกว่าบรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปนั้น มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น บาลีเถรีคาถา (นาทีที่ 01:15:23)
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 15:25 – 01:15:35)
(เสียงท่านพุทธทาส) ไม่บัญญัติอย่างนั้น คือว่าต้องเป็นทุกข์ พรหมจรรย์อย่างที่คุณถามมันจะเป็นเรื่องทางวินัยเสียมากกว่า ถ้าเป็นอวิชชาสัมผัส สัมผัสด้วยอวิชชา มันก็แน่นอนที่ว่าจะต้องเป็นทุกข์ พรหมจรรย์ไม่เป็นพรหมจรรย์ ไม่ได้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ เพราะมันปล่อยให้เกิดทุกข์
(เสียงคนถามแต่ได้ยินไม่ชัด นาทีที่ 01: 16:05 – 01:16:19)
(เสียงท่านพุทธทาส) เอาไป เอาไปถกไปเถียง ไปวิพากษ์วิจารณ์กันให้เข้าใจ ไม่ทำเวลานี้ก็ได้ทำเวลาที่