แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ณ บัดนี้ อาตมาภาพจะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลายว่าจะยุติลงด้วยความสมควรแก่เวลา
ธรรมเทศนาในวันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปรารภอาสาฬหบูชาได้พากันมาสู่สถานที่นี้ เพื่อแสวงหาบรรยากาศเป็นพิเศษ เป็นบรรยากาศที่ในป่าที่คล้ายคล้ายกับการแสดงปฐมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเป็นการเสียสละบางอย่างบางประการ นั่นคือความลำบากนั่นเองเพื่อเป็นพุทธบูชา บางท่านก็อุตส่าห์มาจากที่ไกล ความลำบากมีเท่าไรก็อุทิศเป็นส่วนปฏิบัติบูชาด้วยกันทั้งนั้น
บัดนี้ เป็นโอกาสแห่งการแสดงธรรมเทศนาตามประเพณีนิยม เราจึงพากันอนุวัตรตามนั้นคือจัดให้มีการธรรมเทศนา อาตมาก็จะได้แสดงธรรมเทศนาเนื่องด้วยอาสาฬหบูชาเท่าที่จะทำได้ มีหัวข้อแสดงเรื่อง อริยสัจ ๔ กับอตัมมยตา สองเรื่องเพื่อเทียบเคียงกัน ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีให้สำเร็จประโยชน์
เรื่องแรกอริยสัจ ๔ ก็เป็นเรื่องที่ทรงแสดงในพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ซึ่งทรงแสดงในวันเพ็ญอาสาฬหปุณณมีคล้ายกับวันนี้ เรื่องนี้เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพียง ๔ คำนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว ส่วนเรื่องอตัมมยตานั้น สังเกตเห็นว่ามีคนหน้าใหม่เป็นอันมาก อาจจะไม่เคยได้ยินได้ฟัง คำนี้เลยก็ได้ จึงต้องขออธิบายเพื่อให้เข้าใจและก็จะฟังถูกว่าเกี่ยวเนื่องกับเรื่องอริยสัจนั้นอย่างไร เรื่องอริยสัจโดยหัวใจก็คือเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงแสดง หมายความทรงแสดงแต่เรื่อง อริยสัจเท่านั้นแหละดังบาลีว่า บุพเพจาหัง สิขเว(นาทีที่ 05.27.07) ภิกษุทั้งหลายก่อนแต่นี้ก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี เราบัญญัติแสดงเรื่องความทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เท่านั้น นี่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาโดยพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า พระองค์ทรงแสดงแต่เรื่องนี้เท่านั้น เรื่องทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจะย่นให้น้อยลงไปอีกก็เรื่องความดับทุกข์เท่านั้นแหละ หัวใจมันอยู่ตรงที่ว่าเป็นเรื่องดับทุกข์ ส่วนเรื่องอตัมมยตานั่นแหละเป็นตัวการดับทุกข์ออกไปจากทุกข์ หรือป้องกันไม่ให้ความทุกข์เกิดขึ้น ท่านทั้งหลายจงเลือกเอา ว่าทุกข์หรือว่าป้องกันไม่ให้ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วไม่ต้องดับอย่างนี้อย่างไหนจะสบายกว่า เรื่องอตัมมยตาเป็นเรื่องผลักดันออกมาเสียจากความทุกข์ ไม่ต้องไปรบรากันกับความทุกข์ ในลักษณะที่เรียกว่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ เป็นคำพูดที่ไม่ควรจะเอามาพูดบนธรรมาสน์แต่ก็จำเป็นหรือจำใจที่จะต้องพูด ที่ว่าเราจะไปต่อสู้กับความทุกข์ซึ่งหน้า นี่มันก็เหมือนกับเอาไม้สั้นไปรันขี้ คือมันเลอะเทอะกันไปหมด ถ้าอยากให้ทุกข์มันเกิดหรือว่าขับความทุกข์ให้มันไกลออกไป ห่างออกไปไม่มาเกี่ยวข้องกันมันก็สบายกว่า ช่วยจำไว้ให้ดีเป็นคำสำคัญที่สุด เป็นเพชรเม็ดสุดท้ายที่มันตกค้างอยู่ในพระไตรปิฎกที่ไม่ได้เอามาพูดกัน หลายปีมาแล้วเราก็พูดถึงเรื่องเพชรแต่ละเม็ดแต่ละเม็ดตามลำดับ เรื่องอิทัปปัจจยตาบ้าง เรื่องสุญญตาบ้าง เรื่องอนัตตาบ้าง ตถาตาบ้าง แต่ละเรื่องละเรื่องเป็นเพชรเม็ดหนึ่งเม็ดหนึ่งทั้งนั้น แต่เพชรเม็ดสุดท้ายคือสิ่งที่เรียกว่าอตัมมยตา จะด้วยเหตุผลอย่างไรก็อย่าไปสนใจเลยว่าทำไมจึงไม่มีใครเอาออกมา จนกระทั่งบัดนี้เราเอามาพูดกัน อาตมาเป็นผู้นำออกมาพูดกัน ที่จริงก็ได้พูดเรื่องนี้เป็นคร่าวคร่าวบ้างแล้วเมื่อปี ๒๕ คือพูดเรื่องอตัมมโยแต่เห็นว่ายังห่างไกลนักก็เลยพูดครั้งเดียว เดี๋ยวนี้ก็เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะพูดเรื่องนี้กันให้ชัดเจนให้แจ่มแจ้ง ว่าเรื่องอตัมมยตา ฟังดูมันก็แปลกหูบางคนจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องในพระพุทธศาสนา เอาแมวมาย้อมขายซะกระมัง ขอบอกว่าไม่ ไม่ ไม่เป็นอย่างนั้นเป็นเรื่องพุทธศาสนาเป็นเรื่องหัวใจของพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่จะทำบุคคลให้หลุดพ้นจากโลกียะ จากภพ จากชาติไปสู่ความไม่มีภพไม่มีชาติคือเป็นโลกุตตระ มันทำให้ทนอยู่กับสิ่งที่เป็นความทุกข์หรือเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ไม่ได้ ถ้าจะมีการถามขึ้นมาว่า อะไรซึ่งเป็นเครื่องบังคับผลักไสให้พระสิทธัตถะทนอยู่ในราชสมบัติไม่ได้ต้องออกไปบวช อะไรผลักไสจนอยู่ไม่ได้จนต้องออกไปบวช ความรู้สึกอะไรที่ผลักไสให้พระสิทธัตถะทนอยู่ในวังไม่ได้ จนต้องออกไปบวชเป็นที่แน่นอน ความรู้สึกอันนั้นแหละคือความรู้สึกที่เรียกว่าอตัมมยตา ถ้าเป็นความรู้ก็เรียกว่าญาณหรือจะเป็นความรู้สึกของจิตก็เรียกว่าสภาวะของจิต หากพระสิทธัตถะทนอยู่ไม่ได้ในบ้านในเมืองต้องออกไปบวชนั้นเพราะเหตุอะไร ก็เป็นเพราะเหตุว่าท่านเห็นว่ามันเป็นเรื้อรังเป็นรังเป็นรังเป็นบ่อนเป็นรังเป็นแก็งค์เป็นซ่องแห่งความทุกข์ ก็เลยเกิดความรู้สึกว่าอยู่กับมันไม่ได้แล้ว จะให้มันปรุงแต่งเราอย่างนี้ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว จึงได้ตัดสินพระทัยออกไปบวช ไอ้ที่พูดว่าเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วไปบวชนั้น พูดสำหรับเด็กเด็ก พูดสำหรับเด็กเด็ก เดี๋ยวนี้มันโต โตกันมากแล้ว อย่าเพียงอย่าพูดแต่เพียงเรื่องของเด็กเด็กเลยว่าเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วก็ไปบวช มันก็ได้เหมือนกัน นั้นก็เป็นอุปกรณ์ทำให้ทำให้เห็นว่ามันไม่ไหวไม่ไหวมันทนอยู่ไม่ได้ในเรื่องของความที่ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย แต่ความรู้สึกอันแท้จริงนั้นมันอยู่ตรงที่ว่า อยู่กับมันไม่ได้ จะให้มันปรุงแต่งอย่างนี้ไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้น จึงออกบวช อย่างที่ว่ามันมีความหมายมากกว่าสลัดสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจอะไร เป็นเกียรติยศรู้สึกอะไรต่างๆ นานา ก็ต้องออกไปบวช ขอแถมอีกสักนิดหนึ่งว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วใหม่ใหม่ ยศศักดิ์ กุลบุตร ลูกเศรษฐี ในเมืองนั้นนะ เรียกเมืองพาราณสีนั่นนะ ด้วยเหตุอะไรไม่รู้มันเดินดุ่มดุ่มออกจากเรือนกลางดึกเข้าไปในป่า บ่นว่าวุ่นวายหนอ คับแคบหนอ วุ่นวายหนอ คับแคบหนอ จนไปพบพระพุทธเจ้า ได้ตรัสธรรมะให้กุลบุตรผู้นี้บรรลุธรรม จนกลายเป็นพระอรหันต์ไปในที่สุด อะไรที่ทำให้ยศศักดิ์กุลบุตร เหมือนกับบ้าบอกลางดึกเข้าไปสู่ป่าเดินบ่นว่าวุ่นวายหนอ คับแคบหนอ ก็เป็นความรู้สึกอย่างเดียวกันกับที่ผลักไสพระสิทธัตถะให้ออกไปบวช เป็นอันว่ามันมีความหมายตรงที่มองเห็นชัดลงไปว่านี่มันเป็นความทุกข์เป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ล้วนแต่ปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์จึงเกิดความรู้สึกว่าไม่เอาไม่เอา ไม่ยอมให้มันปรุงแต่งเราอีกต่อไป ถ้าพูดกันง่ายง่ายภาษานี่ก็ ไม่เอากับมันแล้วโว้ย ไม่เอากับมันแล้วโว้ย จะพูดให้มันดังชัดเต็มความรู้สึกว่ากูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย ความรู้สึกว่ากูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย กูไม่อยู่กับมึงแล้วโว้ย หรือจะพูดให้สุภาพสักหน่อย พอกันที พอกันที เลิกกันที พอกันที เลิกกันที ไอ้บ้าบ้านี่พอกันที แล้วก็ออกไป ความรู้สึกที่ทำให้เป็นอย่างนี้แหละเรียกว่า อตัมมยตา ที่มันเกี่ยวข้องกับท่านทั้งหลายบ้างก็ได้ว่า การที่ทำให้ออกมาหาศาสนา มาหาธรรมะ มาศึกษาพระธรรมนี้ก็เพราะว่า เกลียดชังความทุกข์ ไม่อยากจะสมสู่อยู่กับความทุกข์ สรุปความเอาเองเถิดว่ามันมีความหมายอย่างไร เอาตามตัวหนังสือบาลีมันก็ลำบากหน่อยว่า ข้าจะไม่ยอมให้ถูกปรุงแต่งอีกต่อไป อย่างนี้เป็นตัวบาลี ไม่เกี่ยวข้องอาศัยให้สิ่งนี้ปรุงแต่งเราอีกต่อไป อตัมมยตา เมื่อเห็นชัดว่ามันไม่ไหวให้มันเข้ามาเกี่ยวข้องปรุงแต่งนี้มันทนไม่ไหว จะขอหย่าขาดจากกัน คือความรุ้สึกที่ทำให้เกิดหย่าขาดจากกันกับสิ่งที่เลวร้ายทั้งปวงหรือสิ่งที่ทนไม่ได้ทั้งปวงนั้นแหละเรียกว่าอตัมมยตา ถ้าเรามีอตัมมยตากันจริงจริงแล้ว จะละได้หมด สิ่งใดที่ควรละจะละได้ง่ายๆ ละได้เพราะอำนาจของอตัมมยตา คือความรู้สึกที่เห็นชัดรุนแรงมากพอ ในความเลวทรามของมัน อยู่กับมันไม่ได้ต่อไปและขอหย่าขาดจากกัน เดี๋ยวนี้ถ้ามันหย่าขาดจากขวดเหล้าก็ไม่ได้ แถวนี้มันหย่าขาดจากกระบอกน้ำหวานเมา น้ำตาลเมาก็ไม่ได้ มันหย่าขาดจากบุหรี่ก็ยังไม่ได้ พระ เณร นี่แหละตัวดีหย่าขาดจากบุหรี่ก็ไม่ได้ จะต้องขอร้องให้เลิกสูบกันทีโดยเฉพาะในวันวิสาข มาฆะ อาสฬห เขาออกประกาศกันมาแล้ว มันหย่าขาดจากการพนันก็ไม่ได้ มันหย่าขาดจากการเที่ยวกลางคืน สถานที่เริงรมย์ก็ไม่ได้ แม้ที่สุดมันจะหย่าขาดจากการขี้เกียจ นอนตื่นสายก็ยังไม่ค่อยจะได้ เพราะมันไม่มีอตัมมยตาซะเลย ถ้ามันมีอตัมมยตาพอ มันจะหย่าขาดได้หมดเลย มันจะหย่าขาดจากบุหรี่ก็ดี ขวดเหล้าก็ดี การพนันก็ดี เริงรมย์ทั้งหลายก็ดี แม้กระทั่งเรื่องเล็กเล็กน้อยน้อยก็อยากจะเลิก มันก็เลิกไม่ได้ จะเลิกได้ขึ้นมาความรู้สึกที่มองเห็นความเลวร้ายของสิ่งนั้น จนรู้สึกเด็ดขาดลงไปจริงจริงว่า กูเอากับมึงไม่ได้อีกแล้ว อยู่กันไม่ได้อีกแล้ว หย่าขาดจากกัน คือถ้าใช้คำพูดหยาบคาย โสกกระโดก บนธรรมมาสน์บ้าง ก็ให้อภัยเถิดเพื่อจะประหยัดเวลา ที่จริงก็ไม่ค่อยถูกธรรมเนียมนักหรอกที่เอาคำพูดเหล่านี้มาพูดบนธรรมมาสน์ แต่เดี๋ยวนี้เพื่อจะประหยัดเวลาของท่านทั้งหลาย ปีหนึ่งก็พบกันสักครั้งหนึ่งก็ลำบาก จึงใช้คำพูดตรงตรงว่ากูเอากับมึงไม่ได้ต่อไปแล้ว หย่ากันเถิด หย่ากันที นี่คือความหมายของสิ่งที่เรียกว่าอตัมมยตา ถ้ามีปัญญาจะมองเห็นลึกซึ้งว่า วิวัฒนาการความเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปนั้น มันต้องหย่าขาดจากสิ่ง ที่มีอยู่ก่อน ที่เลวกว่า ที่ต่ำกว่า ที่ธรรมดากว่าสามัญ หย่าขาดจากสิ่งนั้นแล้วก็เลื่อนสูงขึ้นไป แล้วก็หย่าขาดจากสิ่งนั้นแล้วก็เลื่อนสูงขึ้นไป หย่าขาดจากนั้นแล้วก็เลื่อนสูงขึ้นไป ขึ้นไปจนสูงสุด จนหลุดพ้นออกไปจากภพจากชาติจากโลก นี่แหละคืออตัมมยตา หรือใช้คำว่าละ ก็ได้ จะใช้คำว่า เลิกก็ได้ จะใช้คำว่า เลื่อนก็ได้ มองเห็นความเลวร้ายของมัน ก็ละมัน เป็นขณะ ขณะ เป็นระยะ ไม่พอก็เลิก เลิกมันเลย ถึงพอจะเลิก เลิกกันจริง ก็เลื่อนขึ้นไปเสียให้พ้นจากชั้นนั้น มันจึงจะเป็นการเลิกที่แท้จริง ละก็ได้ เลิกก็ได้ เลื่อนก็ได้ จากสิ่งต่ำทราม หรือธรรมดาสามัญที่ไม่ควรจะอยู่กับมัน เพราะต้องการจะวิวัฒนาการให้สูงขึ้นไป พูดโดยภาษาธรรมะชั้นสูง ก็เลิกละจากอัสสาทะของภพ ภพนี่ก็หมายถึง ความเป็นแห่งจิตใจสำคัญมั่นหมาย กามภพเป็นสัตว์ที่พอใจในกาม รูปภพเป็นสัตว์ที่พอใจในรูปธรรมบริสุทธิ์ไม่เกี่ยวกับกาม อรูปภพพอใจในอรูปธรรมที่ละเอียดสูงสุด ละความพอใจในภพทั้งหลายเหล่านี้เสีย เรียกว่าละอัสสาทะ ละรสอร่อยหรือเสน่ห์หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกของภพทั้งหลาย อตัมมยตาขั้นต้นก็ละความพอใจในกามนั้นเสีย ด้วยอัตตัมมยตาขั้นนี้ มาสู่รูปภพก็ละด้วยอตัมมยตาที่สูงขึ้นไป ละความพอใจในรูปภพเสีย มาอยู่ในอรูปภพก็ละมันเสียด้วยอตัมมยตาที่สูงขึ้นไป ละอรูปภพเสีย ก็หมดภพ หมดภพ เลิกภพ ไม่มีภพ โดยประการทั้งปวง นั้นคือการบรรลุนิพพานด้วยการเป็นพระอรหันต์ คือจะมองไปที่อุปาทานก็ได้ อุปาทานในกามภพ ละมันเสียได้ ด้วยอตัมมยตาคือทำให้คือพอใจในรูปภพ ละพอใจในรูปภพเสีย ไปพอใจในอรูปภพ ละอุปาทานในอรูปภพเสียด้วยพอใจ คือไม่พอใจคือดับ ดับความพอใจดับภพเสียก็เป็นไม่มีภพ สิ้นภพ หมดภพ ละอวจรทั้งหลายเสีย กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ละไปเสียตามลำดับ กามาวจรที่หมกจมอยู่ในกาม ในการท่องเที่ยวไปในกาม รูปาวจรภพ จิตที่พอใจท่องเที่ยวไปในรูป รูปธรรม อรูปาวจรพอใจท่องเที่ยวไปในอรูป มีอยู่เป็นชั้นชั้น ละการท่องเที่ยวไปในภพหรือในธาตุเหล่านี้ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ ก็ออกไปพ้นภพเหล่านี้ ไปสู่นิรูคธาตุ(นาทีที่ 24.46) ใครอยากจะจำโดยหลักคำว่าธาตุก็จำไว้สัก ๔ คำ คือกามธาตุที่หลงใหลอยู่ตามปกติวิสัยของสามัญสัตว์ มันก็ได้ท่องเที่ยวไปในกามธาตุ เรียกว่ากามวจร อวจรแปลว่าท่องเที่ยวไป ท่องเที่ยวไป กามวจร ท่องเที่ยวไปในกาม พอใจในรสอร่อยของกาม มีอัสสาทะของกาม มีสัตว์หลายชนิด กระทั่งชั้นเทวดาในสวรรค์ ชั้นกามวจร สูงขึ้นไปก็เป็นรูปาวจร ก็เป็นพวกพรหมพอใจในรูป ในภพที่เป็นรูปมีรูปธรรม สูงขึ้นไปก็เป็นอรูปาวจร อรูปพรหม ที่เขาพูดเขากล่าวกันเขาว่าเป็นภพเป็นโลกอยู่ที่ไหนก็ตามใจเขา แต่เราอยากจะเอากันที่นี่ ว่าถ้าพอใจในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับกาม มันเป็นรูปล้วนล้วนก็เรียกว่าพอใจในรูปาวจร ถ้ามันในสิ่งที่ไม่มีรูป เป็นเพียงนามก็เรียกว่าอรูปาวจร และมันก็ละยาก ละยาก ละได้แสนยาก ขออภัยยกตัวอย่างกามวจรสักเรื่องหนึ่งว่าละยากอย่างไร กามวจร สัตว์พอใจในอัสสาทะของกามหรือกามธาตุหรือกามภพ อย่างที่เห็นเห็นเป็นเป็นกันอยู่นี่ คือปกติพอใจในเรื่องทางเพศ พอเติบโตขึ้นมา อายุพอสมควร ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอวัยวะทางเพศทำหน้าที่ได้แล้ว ก็ประกอบกรรมชนิดนั้นแล้วก็พอใจพอใจอย่างถอนไม่ออก ถอนไม่ออกทั้งที่ว่ามันน่าเกลียด ที่พูดอย่างนี้ก็คงฟังถูกว่า กิจกรรมทางเพศระหว่างเพศมันน่าเกลียด อวดเขาไม่ได้ ต้องปกปิด เรื่องในบาลีมีว่าการที่มนุษย์ต้องรู้จักทำเรือนอยู่ทีแรกก็เพื่อจะปกปิดสิ่งนี้ มนุษย์จึงรู้จักทำเรือนขึ้นมา มันน่าเกลียด เรื่องทางกาม ทางเพศนี้ แล้วมันก็สกปรก ใครใครก็ฟังออกว่ามันสกปรก แล้วมันก็เป็นเรื่องที่สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็นนี่ สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็นเรื่องทางเพศนี้ สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็น แม้จะไม่เก่งเท่าคนแต่มันก็ทำเป็น เป็นเรื่องที่สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็น มันทำน้อยกว่า ทำเป็นฤดูกาล แต่คนทำไม่มีฤดูกาล สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็น แล้วมันก็เป็นเรื่องที่กินแรงมาก เหน็ดเหนื่อยกินแรงมาก ใช้กำลังแรงมากแล้วมันก็เพื่อบ้าวูบเดียว ช่วยจำไว้ว่าบ้าวูบเดียว เคยพูดเรื่องนี้แล้วคนเอาไปลงพิมพ์ผิดเป็นบ้าลูกเดียว เราไม่เคยพูดว่าบ้าลูกเดียว พูดว่าบ้าวูบเดียว ทำกันเกือบเป็นเกือบตาย นี่ผลก็คือบ้าวูบเดียว นี่น่าเกลียด สกปรก สัตว์ก็ทำเป็น กินแรงมากแล้วก็บ้าวูบเดียว แล้วทำไมไม่ละ ทำไมละไม่ได้ มันไม่มีความรู้สึกลึกซึ้งจนมองเห็นว่าอันนี้มันเป็นสิ่งที่เลวร้าย เท่าไรมันผูกพันเท่าไรมันเผารนเท่าไรมันครอบงำเท่าไร ไอ้คนโง่เหล่านั้นมันไม่มีอตัมมยตา จำไว้เถิดว่ามันไม่มีอตัมมยตา มันไม่มีอตัมมยตา มันจึงละไม่ได้ ถึงแม้มันจะเลวร้ายถึงขนาดนี้ มันก็ละไม่ได้ ถ้ามันมีอตัมมยตามันก็ละได้ เพราะมันเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถาตา เช่นนั้นเอง เช่นสุนัขก็ทำเป็น มันก็ละได้ด้วยอตัมมยตา การที่ละออกไปจากกามธาตุไปสู่รูปธาตุซึ่งไม่เกี่ยวกับกามเลย บริสุทธิ์ไม่เกี่ยวกับกามเลย ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศเลย มันไปสู่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเพศ เป็นเรื่องบริสุทธิ์แล้วก็จะขอยกตัวอย่างง่ายง่าย ว่าไอ้คนที่มันเล่นนกเขาเล่นโกสน เล่นบอล เล่นหน้าวัวนี่ บางทีมันก็บ้าเอามากมากเหมือนกันไม่เป็นอันกินอันนอน จนใจอยู่แต่กับสิ่งเหล่านั้น นี้ก็เรียกว่ามันไม่มีอตัมมยตา ในการจะเข้าใจและการที่จะละรูปธรรมเหล่านั้นเสีย มันก็ไปบ้าต่อไปถึงขั้นที่ว่าอำนาจวาสนาบารมีซึ่งไม่เป็นรูปไม่เป็นรูปธรรมเป็นนามธรรม อำนาจวาสนาบารมี มันก็บ้ากันสุดเหวี่ยงเหมือนกัน เพราะมันไม่มีอตัมมยตา ถ้ามันมีอตัมมยตาคือความรู้สึกตามที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นแล้วมันก็ละได้ ละกามได้แล้วก็ละรูปต่อไป แล้วก็ละอรูปต่อไป มันก็หมดหมดภพหมดชาติ ด้วยอตัมมยตาอันสุดท้าย อตัมมยตาอันสุดท้าย ถ้าใครจะถามว่าทำไมพระโพธิสัตว์ สิทธัตถะไปเรียน ความรู้ของอาจารย์คนสุดท้ายคือพระอุทกดาบสรามบุตร อาจารย์คนสุดท้ายสอนให้จนหมด หมดพุง แล้วอันนี้หมด พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ก็ไม่พอใจ ไม่เอาด้วยเท่านี้ไม่พอขอลา ขอลาอาจารย์แล้วก็ทิ้งอาจารย์คนสุดท้ายไปเสีย ไปออก ไปค้นหาของพระองค์เอง ข้อนี้ก็เป็นเพราะว่าอาจารย์คนสุดท้ายไม่มีความรู้เรื่องอตัมมยตา ที่จะละอรูปภพอันสุดท้ายคือเนวสัญญานาสัญญายตนะคือเป็นพรหมชั้นสูงสุด สูงสุด ก็เลยลาหย่า หย่าขาดจากอาจารย์คนสุดท้ายไปค้นหาของพระองค์เอง เพราะไม่สอนเรื่องอตัมมยตาให้เป็นที่พอใจ คืออุทกดาบสรามบุตรไม่รู้เรื่องอตัมมยตาขั้นสูงสุดที่จะละความพอใจในเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ ก็ละจากอาจารย์คนสุดท้ายไปศึกษาของพระองค์เองจนพบเรื่องละกิเลส ละอุปาทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือละอัสมิมานะ ละอัตตาว่าตัวกูว่าของกูเสียได้ ก็เป็นพระอรหันต์สูงสุด ละกามได้ ละรูปได้ ละอรูปได้ จึงเหนือภพเหนือสังขารด้วยประการทั้งปวงเพราะอตัมมยตาอันสุดท้าย นี่เราจะต้องละ ละสิ่งที่ควรละมาตามลำดับด้วยอตัมมยตาซึ่งคู่คู่กัน อตัมมยตาจะละขวดเหล้า อตัมมยตาจะละบุหรี่ ละการเล่น ละความพอใจในอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นข้าศึกของการพัฒนา จะบอกให้รู้ว่ามันเกี่ยวเนื่องมาถึงเรื่องโลกโลก เรืองโลกโลก โลกแท้แท้เช่นว่าพัฒนาแผ่นดินธรรมพัฒนาแผ่นดินทอง มันทำไปไม่ได้เพราะคนเหล่านั้นมันไม่มีความรู้เรื่องอตัมมยตา จะละอบายมุข มันยังบูชาอบายมุขอยู่แล้วจะพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองได้อย่างไรกัน นี่ขอให้เห็นว่าเรื่องอตัมมยตานั้นมันจำเป็น จำเป็นลงมาถึงหมู่คนทุกชั้นที่จะต้องละเพื่อจะพัฒนาขึ้นไปตามลำดับ เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลายน่าจะเป็นคนหน้าใหม่เพิ่งฟังครั้งแรก ก็คงจะฟังพอเข้าใจได้แล้วกระมังว่าอตัมมยตานั้นคืออะไร คือความรู้สึกที่ทำให้คนอยู่ไม่ได้กับสิ่งที่เคยทนกันมาแล้วเคยอยู่กันมาแล้ว เป็นความทุกข์ทั้งนั้น เป็นความรู้สึกที่ทำให้หย่าขาดจากสิ่งที่ไม่ควรจะอยู่ด้วยกัน ละนันทิราคะสำคัญที่สุด ถ้าเราจะละไอ้ของสวยของงามก็ไม่ใช่ต้อง ไม่ใช่ว่าจะต้องละตัวสิ่งของ แต่ว่าละนันทิราคะ คือความกำหนัดด้วยความพอใจในสิ่งนั้น ไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปทุกข์ต่อที่ไหน เอาสิ่งนั้นไปทุกข์ต่อที่ไหน ก็ไปซื้อหามาอีกแหละ ไม่สิ้นสุดแต่ถ้าละนันทิราคะในสิ่งนั้นเสียก็จะละได้เด็ดขาด นันทิราคะในสิ่งใดมันทำให้ติดอยู่กับสิ่งนั้น ซึ่งจะถอนออกมาจากสิ่งนั้น จะได้ก็แต่โดยอตัมมยตา ขอมองเห็นชัดเจนว่ามันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ว่าชีวิตของเราจะต้องมีความรู้เรื่องอตัมมยตา ให้ต้องใช้อตัมมยตาหรือต้องมีอตัมมยตา มันจึงจะพัฒนาไปตามลำดับ ความข้อนี้ได้อธิบายไว้ละเอียดอย่างยิ่งแล้วในการบรรยายครั้งก่อนก่อนโน้น ก่อนหน้านี้ก็เคยบรรยายมาแล้วในเรื่องนั้น สิ่งที่มันทำให้อยู่กันไม่ได้กับสิ่งที่เป็นอันตรายคือเรียกว่าอตัมมยตา แต่คนมันโง่มันถอนออกมาไม่ได้มันก็ยังอยู่กับสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่อย่างนั้นเอง หลงใหลในกาม มันก็เกิดให้กามนั้นแหละกัดเอาเผาเอา พุพังเอา หลงใหลในรูป ก็รูปมันก็ผูกพันให้หลงใหลอยู่ในรูป แม้ชั้นอรูปไปหลงใหลกับมันก็มีตัวกูของกู ยกหูชูหางอย่างดียิ่ง เป็นผู้ดีกว่าใคร เก่งกว่าใครอยู่ที่นั่นแหละ เรามามองเห็นหลับตาเห็นว่าวิวัฒนาการตั้งแต่แรกแรกเริ่มเดิมที มันเลื่อนขึ้นไป มันเลื่อนขึ้นไป มันละจากชั้นเก่าแล้วเลื่อนขึ้นชั้นใหม่ ละจากชั้นเก่าแล้วเลื่อนขึ้นชั้นใหม่เรื่อยไปเรื่อยไป ด้วยอำนาจอตัมมยตา เหมือนกับเราเรียนหนังสือในโรงเรียน เลื่อนขึ้นไปทีละชั้น ละชั้น ละชั้น จนต้องมีความรู้ถูกต้องเพียงพอชัดเจนในส่วนที่มันเหนือขึ้นไป นี่คืออตัมมยตา ภาษาบาลีซึ่งจะเรียกว่าภาษาแขกก็ได้คือภาษาอินเดีย ภาษาโบราณเรียกว่าอตัมมยตา อันที่ไม่มีใครเอามาสอนมาพูดให้ฟังกันก็เพราะว่ามันคงจะไม่รู้ ไม่รู้ว่าเรื่องอะไร เดี๋ยวนี้เราควรจะรู้แล้ว เพราะว่าพุทธศาสนาเจริญในบ้านเราเมืองเราในพวกเรามานานแล้ว แม้จะเป็นเรื่องสุดท้ายสุดท้ายก็ยิ่งดี อาตมาจึงขอเรียกความรู้ข้อนี้ธรรมะข้อนี้ว่า เพชรเม็ดสุดท้ายที่หลงค้างในพระไตรปิฏกเอาออกมา ขอยืนยันว่ามันไม่มีเรื่องใดสูงไปกว่าเรื่องนี้แล้ว ที่จริงเรียกว่าเพชรเม็ดสุดท้ายก็เพราะเพชรเม็ดนี้ช่วยขึ้นออกจากโลกพ้นจากโลกไปสู่โลกุตตระ อตัมมยตามาเมื่อไร ละภพทั้งปวง พ้นภพไปสู่ไปสู่ความไม่มีภพไม่มีสังขารก็เลยเป็นสิ่งสุดท้าย เราจะมาสรุปกันง่ายง่ายก็ได้ว่าเห็นอนิจจตา ไม่เที่ยง แล้วก็เห็นทุกขตา เป็นทุกข์เพราะต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง แล้วก็เห็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะต่อสู้ภาวะอันนี้ได้คือเป็นทุกข์เพราะต้องทนอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่มีอะไรต่อสู้ได้เรียกว่าอนัตตตา ที่นี้ก็เห็นว่า โอ้,มันเป็นตามธรรมดาเช่นนี้ อยู่กันตามธรรมดาเช่นนี้เรียกว่า ธรรมจิตตตา ต้องเป็นตามธรรมชาติอย่างนี้ เพราะว่ามีกฏของธรรมชาติบังคับอยู่เฉียบขาดเรียกว่าธรรมนิยามตา ความเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ความเป็นไปอย่างนี้ก็คือเป็นไปตามอิทัปปัจจยตา เหตุปัจจัย ที่นี่ก็เห็นว่า โอ้,ทั้งหมดนี้ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรที่เป็นความหมายแห่งตัวตน ว่างจากตัวตน เกิดจากการทั้งปวงเรียกว่าเห็นสุญญตา เห็นสุญญตา เห็นสุญญตา แล้วก็โอ้, มันอย่างนี้เอง เช่นนี้เอง เช่นนี้เอง อย่างนี้เอง นี่เรียกว่าเห็นตถาตา แล้วลองว่าใครมีเก้าตาเก้าตาย รอดนั่นคือรอดที่สุดด้วยมีตาเก้าดวง แต่ไม่ใช่ดวงตาแต่เผอิญเสียงมันพ้องคำว่าตา ตา ตา ตา ขอให้มีเก้าตา อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา นั่นก็ธรรมจิตตตา ธรรมนียามตา อิทัปปัจจยตา ชุดหนึ่ง สุญญตา ตถาตา อตัมมยตาอีกชุดหนึ่ง ชุดละสาม สามชุดเป็นเก้า นี่แม่แก้วตาทั้งหลายเก้าตัว ใครมีแล้วเอาตัวรอดได้ ขอให้สนใจเถิด ถ้ายังไม่เข้าใจเดี๋ยวนี้ก็ไปศึกษา รับรองว่าไม่ต้องไปยุ่งยากที่ไหนนัก ไม่ต้องลำบากสำนักวิปัสสนานั่นนี่ที่ไหนนัก ศึกษามองเห็น อนิจตา ทุกขตา อนัตตตา ธรรมจิตตตา ธรรมนียามตา อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถาตาและก็อตัมมยตา จบกันเพชรเม็ดสุดท้ายอย่างนี้ สำหรับพอแล้วสำหรับเรื่องอตัมมยตา
เอาที่นี่ก็มาถึงหัวข้อที่ตั้งไว้ที่จะบรรยายว่า อริยสัจ ๔ กับอตัมมยตา อตัมมยตา อริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ายังไม่รู้เรื่อง ๔ อย่างนี้ ก็เรียกว่าไม่ไหวแล้ว กลับบ้านเถอะ มันเป็นหญ้าปากคอกเต็มที ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจ ๔ เคยฟังมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ทีเรื่องอตัมมยตานี้แปลกใหม่อย่างนี้พออภัยที่ว่า จะต้องพูดกันหน่อยมากหน่อย ครั้นรู้เรื่องอตัมมยตาดีพอแล้วก็มาเปรียบเทียบกันให้เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือในบางกรณีมันก็เป็นสิ่งเดียวกัน เอาเรื่องทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์ ความทุกข์ ทุกขสัจจ์คือสิ่งที่ทำให้ต้องแสวงหาอตัมมยตา ให้มีการใช้อตัมมยตา เพราะเป็นทุกข์จึงทำให้ต้องแสวงหาอตัมมยตา ได้ใช้อตัมมยตา เพื่อดับทุกข์ ที่นี้สมุทยสัจจ์ก็คือสิ่งที่จะต้องใช้อตัมมยตาเข้าไปจัดการเหตุให้เกิดทุกข์กิเลสตัณหาคือสิ่งที่ต้องใช้อตัมมยตาเข้าไปจัดการไปทำลายมันเสีย ทำลายเหตุแห่งทุกข์เสีย ที่นี้นิโรธสัจจ์ นิโรธสัจจ์ ดับทุกข์ได้ ก็คือการที่อตัมมยตามันได้ทำหน้าที่ของมันสำเร็จแล้ว มันดับทุกข์ได้ หรือจะเรียกว่าเป็นผลแห่งการมี การใช้อตัมมยตาก็ได้ ที่นี้ก็มาถึงมรรคสัจจ์ มรรคสัจจ์ ก็คือวิธีที่จะทำให้เกิดมีอตัมมยตา มรรคคสัจจ์มีองค์ ๘ คือ ๘ ข้อ แต่ละข้อละข้อล้วนแต่เป็นวิธี เป็นเครื่องช่วย เป็นฐานที่ตั้ง ให้เกิดอตัมมยตา คุณก็ดูเอาสิเองว่าอริยสัจกับอตัมมยตามันเกี่ยวข้องกันสักเท่าไร ทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่าทุกขสัจจ์มันเป็นสิ่งที่บีบคั้น เขารนเราทนอยู่ไม่ได้ ต้องแสวงหาอตัมมยตามาดับมาฆ่ามันเสีย มันบีบบังคับว่าทุกขสัจจ์ มันบีบบังคับให้เราทนอยู่ไม่ได้ต้องหาทางดับทุกข์ก็คือหาเครื่องมือที่ดับทุกข์ได้ก็คืออตัมมยตา ถึงไม่เอากับมัน ไม่เอากับสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หย่าขาดจากสิ่งที่ให้เกิดทุกข์โดยไม่ต้องรอช้า นี่ทุกขสัจจ์เกี่ยวกับอตัมมยตาอย่างนี้ แล้วก็สมุทยสัจจ์ได้แก่ตัณหาทั้งหลายหรืออวิชชาอะไรก็ตามที่เป็นกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็คือสิ่งที่เราจะต้องหาอะไรมาจัดการกับมันเสีย มันเป็นสิ่ง เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็คือสิ่งที่ทำให้เราต้องไปหาอตัมมยตามาจัดการกับมันเสีย จัดการที่เหตุให้เกิดทุกข์ ดีกว่าไปจัดการกับตัวทุกข์โดยตรง ไปจัดการกับตัวทุกข์โดยตรง มันเหมือนกับเอาไม้สั้นไปรันขี้ ไม่ต้องอธิบาย แต่เราจัดการกับตัวเหตุให้เกิดทุกข์ มันไม่ต้องเลอะเทอะอย่างนั้นก็จัดการได้เรียบร้อย จัดการที่เหตุให้เกิดทุกข์ดีกว่าที่จะไปจัดการกับตัวทุกข์โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีอตัมมยตาให้การที่จะกำจัดสมุทัยแห่งความทุกข์ คือ กิเลสตัณหา ที่นี้ก็มาถึงนิโรธสัจจ์ ที่ว่าดับทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้ว ก็เพราะมีอตัมมยตาและใช้อตัมมยตาสำเร็จแล้ว อตัมมยตาได้ทำหน้าที่ของมันครบถ้วนแล้วเป็นผลแห่งการใช้อตัมมยตาได้สำเร็จ ดับความทุกข์ได้สิ้นเชิง อย่างนี้ก็เรียกว่านิโรธสัจจ์ ขอให้ท่านทั้งหลายมองเห็นนิโรธะ นิโรธะ ความดับ ดับหรือละหรือเลิกหรือเลื่อนแล้วแต่จะใช้คำไหน ละหรือดับ ดับใช้คำว่าดับให้ตรงกับคำว่านิโรธ ดับอัสสาทะในกาม ในอกุศล ละกาม ละอกุศลเสียด้วย รูปธาตุหรือนานัตตอุเบกขาที่เกิดมาแต่รูปฌาณที่มีอารมณ์ต่างๆ และก็ละอัสสาทะของรูปธาตุหรือรูปฌาณ รูปภพเสียด้วยอรูปธาตุ ด้วยอตัมมยตาที่สูงขึ้นไป โดยเอกกัตตอุเบกขาซึ่งมีมาจากอรูปฌาณ ซึ่งมีภาวะเพียงอย่างเดียว แล้วก็ละอรูปชาติ อรูปภพเหล่านั้นเสียด้วยอตัมมยตา อตัมมยตา มันเป็นของละยากอย่างยิ่ง มันเป็นสิ่งที่สูงสุดในบรรดาสิ่งที่มนุษย์จะยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ภพในชาติในตัวในตน มันมีขึ้นไปได้แต่เพียงชั้นอรูป อรูป จนกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนะก็ละหรือดับจะได้ด้วยอตัมมยตา จึงเห็นว่ามีนิโรธ นิโรธ เป็นขั้นขั้นไป ดับกามเสียด้วยรูป ดับรูปเสียด้วยอรูป ดับอรูปเสียด้วยอตัมมยตา ก็เป็นอันว่านิโรธ นิโรธนั่นนะคือตัวอตัมมยตา คืออตัมมยตาที่ตัวนิโรธเพราะมันดับออกมาหลุดพ้นออกไปจากสิ่งที่ไม่ควรจะมี ทีนี้ก็เหลืออริยสัจข้อที่ ๔ ข้อสุดท้ายคือมัคคสัจจ์ ประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ องค์แรกสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ จะเรียกว่าปัญญาก็ได้ ปัญญาเห็นชอบ ทิฏฐิเห็นชอบ เห็นชอบนั่นแหละ มีความรู้ชอบ เห็นชอบถูกต้องมันเป็นบ่อเกิดของอตัมมยตา อตัมมยตา อตัมมยตา มาจากสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิช่วยให้เห็นอตัมมยตา ช่วยรู้จักอตัมมยตา ช่วยเลือกสรรจัดหาอตัมมยตา ที่นี้สัมมาสังกัปปะ ปรารถนาชอบ ดำริชอบ ก็แค่มีอตัมมยตามาดับความทุกข์เสีย ความใคร่ที่มีอตัมมยตามาดับความทุกข์เสีย นี่แหละคือสัมมาสังกัปปะ ก็อยากจะหย่าขาดจากมันเสียสัมมาสังกัปปะ หย่าขาดจากความทุกข์เหมือนกับรู้ว่าเมียมีชู้หรือผัวมีชู้ก็อยากจะหย่าขาดกับมันเสียอย่างนั้นแหละ สัมมาสังกัปปะ คือสัมมาสังกัปปะมันคล้าย มันอยาก มันประสงค์ที่จะดับในความทุกข์หรือปัญหาเหล่านั้นเสีย ที่นี้ก็มาถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะผนวกเข้าด้วยกัน คือการประพฤติกระทำที่ถูกต้องในทางกายทางวาจาหรือตัวชีวิตภายนอก อันนี้เป็นรากฐานของชีวิตที่อาจจะมีอตัมมยตา ชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยความถูกต้องทางกาย ทางวาจา อัตตภาพที่มีความถูกต้องทางกายทางวาจา จนกระทั่งเป็นชีวิตที่เหมาะสมที่รองรับแล้วให้เกิดอตัมมยตา หนีไม่พ้น ที่นี้ก็มาถึงหมวดสุดท้าย สัมมาวายามะความพากเพียรชอบคือพากเพียรที่เกิดอตัมมยตาและเลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป จนมีอตัมมยตาสมบูรณ์ที่สุดสำเร็จได้ด้วยสัมมาวายามะ ต่อไปสัมมาสติมีความระลึกถูกต้อง ถูกต้องโดยแท้จริง ถูกต้องนี้จะทำให้เกิดมีอตัมมยตา ถ้าระลึกไม่ถูกต้องกำหนดไว้ในใจไม่ถูกต้อง มันก็ไม่เกิดความรู้สึกถึงที่สุด ที่จะอยากหย่าขาดจากสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นสัมมาสติจึงเป็นการระลึกที่ทำให้เกิดมีอตัมมยตา เรื่อยเรื่อยไปจนกว่าจะสมบูรณ์ ที่นี้ก็มาถึงข้อสุดท้ายสัมมาสมาธิก็คือการมีอตัมมยตาเป็นขั้นขั้นไปจนถึงขั้นสุดท้ายคือเอกกัตตอุเบกขา มีสัมมาสมาธิที่แรกก็ละกามและอกุศลรูปฌาณที่หนึ่ง ละกาม ละอกุศล มามีวิตก วิจารณ์ คือมีเอกกัตตาก็ละไปตามลำดับ ตามลำดับ จนถึงจตุตถฌาน นี้ก็มีนานัตตอุเบกขาเกิดขึ้นละกามชาติ กามภพ ได้เด็ดขาดโดยอำนาจสมาธิที่เป็นนานัตตอุเบกขาของรูปฌาณ ครั้นแล้วก็เลื่อนขึ้นไปสู่อรูปฌาณ มันก็มีเอกกัตอุเบกขาคืออุเบกขาที่คมเฉียบยิ่งขึ้นไปกว่านั้นเพราะมันรวมเป็นหนึ่งเดียว เอกกัตตอุเบกขานี่ก็ละรูปฌาณก็ได้ละนานัตตอุเบกขาก็ได้ ก็เหลือแต่เอกกัตตอุเบกขาก็มีอตัมมยตาเกิดขึ้นเป็นสุดท้าย ละเอกกัตตอุเบกขาเสียก็เป็นโลกุตตระคือเป็นมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพาน เราจะดูว่าอตัมมยตา เป็นอันสุดท้ายของธรรมฐิติญาณ คือญาณฝ่ายที่เกิดโลกุตตระก็ได้หรือเป็นจุดเปลี่ยนขณะที่เปลี่ยนจากโลกียะเป็นโลกุตตระก็ได้หรือว่าเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดตั้งต้นของฝ่ายนิพพานญาณหรือฝ่ายโลกุตตระก็ได้ อันมีใจความมากกว้างขวางอย่างนี้ มันทำให้อยากจะเปลี่ยนและมันก็เปลี่ยนและมันก็เริ่มสู่อันใหม่ทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้เรียกได้ว่าอตัมมยตาทั้งนั้นแหละ ดังนั้นจึงมีการละจากภพ จากสังขารเหล่านี้และก็ข้ามไปสู่ฝ่ายโน้นคือฝ่ายที่ไม่มีญาณทั้งหลายมีชื่อเป็นอันมากที่อยู่ในฝ่ายธรรมฐิติญาณ เห็นความจริงของสังขารทั้งหลายมันสูงสุดอยู่ที่เพชรเม็ดสุดท้ายคืออตัมมยตา แล้วมันก็เกิดการเปลี่ยน เปลี่ยนแล้วก็เป็นฝ่ายนิพพานญาณ จึงถือเอาวิราคะเป็นจุดตั้งต้น จนนิพพิทารวมไปไว้ก็ได้เมื่อมันเห็นสิ่งเหล่านั้นทั้งปวงแล้วมันก็ นิพพิทาก็จึงเป็นฝ่ายโลกุตตระ เกิดฝ่ายนิพพานญาณ นิพพารญาณ ฝ่ายนี้ เป็นธรรมฐิติญาณตรงกลางเป็นการเปลี่ยน ฝ่ายโน้นเป็นนิพพานญาณ เป็นการเปลี่ยนแล้ว เรียกว่าอตัมมยตาได้ทั้งนั้น ให้มันมีการเปลี่ยนก็แล้วกัน มันอยากจะเปลี่ยนแล้วมันก็เปลี่ยน แล้วมันก็เปลี่ยนแล้ว ทุกทุกกรณีไป นับตั้งแต่ว่าเรื่องต่ำต่ำ ต้อยต้อยเรื่องเล็กเล็กน้อยน้อย ซึ่งมันต้องการจะเปลี่ยนแล้วมันก็เปลี่ยนแล้วมันก็เปลี่ยนแล้ว ๓ อย่างนี้คืออตัมมยตา
ที่นี้เราหมายถึงสัมมาสมาธิที่มันเปลี่ยนด้วยอำนาจของสมาธิ รูปสมาธิก็ละกามอกุศลเสีย อรูปสมาธิก็ละอรูปสมาธิเสีย อตัมมยตาก็ละอรูปสมาธิเสียมันก็จบกัน กลายเป็นเรื่องนิพพาน นิพพาน หนทางให้ถึงความดับทุกข์คืออริยมรรคมีองค์ ๘ มันก็เป็นอย่างนี้ ท่านทั้งหลายเข้าใจข้อความนี้แล้วก็จะเห็นได้ว่าอริยสัจ ๔ กับอตัมมยตานี้เกี่ยวข้องกันอย่างไรหรือบางทีก็เป็นอันเดียวกันอย่างไรขอให้สนใจมันคงจะทำความยุ่งยากลำบากบ้างเพราะมันเป็นเรื่องสำคัญที่สุดหรือสูงสุดหรือมันเป็นจุดที่ช่วยหลุดพ้นได้ แต่ถ้าเห็นมันยุ่งยากนักลำบากนักไม่เอาละโว้ยก็ตามใจ ก็ปิด ปิดฉากไม่ต้องศึกษาก็ได้ แต่ถ้าเอาว่าจะอยากจะดับทุกข์จะละเหตุแห่งทุกข์ก็จงสนใจอตัมมยตาเถิด เดี๋ยวนี้ก็จะพูดเฉพาะในแง่ที่มาเปรียบเทียบกับอริยสัจ โอกาสหลังมีก็จะพูดเรื่องอตัมมยตาในแง่อื่นอื่น โดยปริยายอื่นอีกต่อไป สรุปความว่าวันนี้ได้แสดงธรรมะเรื่องอริยสัจ ๔ กับอตัมมยตาอันเกี่ยวพันกันฟั้นเกลียวกันเป็นอันเดียวกันกับอริยสัจโดยลักษณะเช่นนี้ หากผู้ที่ฟังครั้งแรกก็เอาไปเป็นจุดตั้งต้นสำหรับศึกษาเรื่อยเรื่อยไป จนกว่าจะมีอตัมมยตา ช่วยยกออกไปจากโลก โลกียะ ไปสู่โลกุตระเหนือปัญหาเหนือความทุกข์ด้วยประการทั้งปวงเรียกว่าเหนือโลก เหนือภพ เหนือการปรุงแต่งของสังขาร ทุกขั้นตอน ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นชั้นไหน ไม่ว่าจะเป็นชั้นกามหรือชั้นรูปหรือชั้นอรูป การบรรยายนี้ก็พอสมควรแก่เวลาเพราะว่ามันเหนื่อยแล้ว วันนี้ไม่ค่อยมีแรงจะพูดด้วย ก็ต้องขอยุติการบรรยายเรื่องอริยสัจกับอตัมมยตาไว้เพียงเท่านี้ก่อน ขอให้ท่านทั้งหลายทำในใจให้ดีให้ดี อย่าให้มันกลายเป็นเรื่องเป่าปี่ให้เต่าฟัง ก็คงจะไม่เสียทีที่มาจากที่ไกล เหน็ดเหนื่อยมาจากที่ไกล มาช่วยกันให้เกิดผลสูงสุดก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระศาสดา
ขอสรุปความว่าศาสนาพระศาสนาอันแสนประเสริฐนี้ จะมีอยู่กับเราก็เฉพาะต่อเมื่อเราใช้พระศาสนา พูดตรงตรงก็ใช้มันพระศาสนาจะมีอยู่กับเราก็ต่อเมื่อเราใช้มัน ยิ่งใช้มันมันยิ่งอยู่กับเรา ยิ่งใช้มันยิ่งอยู่กับเรา ขออภัยที่ใช้คำหยาบคายเพราะไม่รู้จะใช้คำไหนดี จะมีพระศาสนาได้ก็เพราะเราใช้มัน ยิ่งใช้มันยิ่งอยู่กับเรา มันยิ่งพัฒนาขึ้นไป ขอให้ใช้พระศาสนาเป็นเครื่องพัฒนาชีวิตให้ถึงจุดสูงสุดของชีวิตคือสงบเย็นและเป็นประโยชน์ ชีวิตนี้พัฒนา พัฒนา พัฒนาไปถึงสุดเหวี่ยง แล้วมันก็เป็นชีวิตที่เย็นสงบเย็นและไม่มีความทุกข์และเป็นประโยชน์ สองความหมายนี้ก็พอแล้วเป็นชีวิตเย็นและก็เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ถ้าปรารถนามากเกินกว่านี้ คิดก็บ้าแล้ว ลองดูสิ ใครลองปรารถนามากไปกว่านี้มันจะบ้าเอง เพียงมันเป็นชีวิตที่สงบเย็นเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายมันพอแล้ว ถ้ามากกว่านี้มันก็บ้าแล้ว ขอให้อย่าไปหลงใหลอะไรที่มันแปลกประหลาด มหัศจรรย์ น่าตื่นเต้น เข้าใจไม่ได้มันเสียเวลา เอาแต่ที่เห็นอยู่ว่ามันดับทุกข์ได้ สงบเย็นและเป็นประโยชน์ แก่ทุกฝ่าย ช่วยดับทุกข์ให้คนทั้งโลกได้ก็แล้วกัน การบรรยายเทศนานี้ ก็สมควรแก่เวลา ขอยุติด้วยการตักเตือนท่านทั้งหลายว่าพระศาสนาจะอยู่กับเราก็เพราะว่าเราต้องใช้พระศาสนานั้น ยิ่งใช้พระศาสนา พระศาสนาจะยิ่งอยู่กับเราไม่ มิฉะนั้นจะหายไปไหนหมดก็ไม่รู้ พัฒนาถึงที่สุดว่ามีความสงบเย็นเป็นนิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้แม้จะน้อยน้อยก็เถอะ มันค่อยเป็นนิพพานสมบูรณ์ใหญ่เองในทีหลัง ทำอย่างนี้ได้ก็จะเป็นผู้เจริญงอกงามในทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์และพบกับพุทธศาสนา มีความสุขอยู่ทุกทิพาราตรีกาลด้วยกันจนทุกคนเทอญ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้