แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้จะได้พูดกันถึงเรื่องสิ่งที่เรียกว่า ธาตุ หรือธา-ตุในภาษาบาลี ธา-ตุ ซึ่งอยากจะพูดว่าท่านผู้ฟังคงจะเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ หรือ nonsense มากก็ได้ Today, we’ll be talking about the that or Dhatu. Dhatu is a Pali word or translate… (นาทีที่ 00.55) the elements into English; some of you may think it’s a lot of nonsense.
ขอให้ตั้งใจฟังกันให้ดีๆ ที่สุดเท่าที่จะทำได้ มิฉะนั้นจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เนื่องจากคำว่าธาตุนี้ หาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยสมบูรณ์ไม่ได้ คำว่า element มันหมายถึงแต่เรื่องทางวัตถุ ส่วนคำว่า ธาตุ ธาตุนั้น มันหมายถึงทั้งทางเรื่องวัตถุและทางเรื่องจิต เรื่องวิญญาณ เรื่องนามธรรม So please listen very carefully. Set yourself to be listening as closely as possible. Otherwise, what he said will go pass you… and it seems like nonsense (นาทีที่ 02.05). The word ‘Dhatu’ is impossible to find the complete translation of this word. The word ‘element’ we use primary for physical (นาทีที่ 02.28) or material thing, but Dhatu are not limited to the material; included mental things and the spiritual things. So, Dhatu incorporate refers to both material and non-material things.
ในวันก่อนเราได้พูดถึงสิ่งที่เรียกว่าชีวิตใหม่ ในเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกัน คือถ้าผู้ใดนะได้เห็นสิ่งทั้งปวงทั้งหมดโดยความเป็นธาตุ เป็นสักแต่ว่าธาตุแล้ว ผู้นั้นจะมีชีวิตใหม่ The first day, we spoke about a new life which is related to today’s topic of Dhatu, because if anyone is able of seeing everything as just Dhatu, nothing of Dhatu, then, that will be the same as a new life. That will be a new life. (นาทีที่ 03.25)
ถ้าเห็นทุกอย่าง ทุกสิ่งโดยความเป็นธาตุแล้ว มันก็จะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวตน แล้วก็ไม่เห็นแก่ตน If we see everything as just Dhatu, then, we won’t see anything, we won’t attach to anything and yourself also. And, there will be no selfishness. (นาทีที่ 04.13)
ขอให้ระลึกเป็นเรื่องปัจจุบันสำคัญที่สุด คือเรื่องความเห็นแก่ตัว เพราะถ้ามีความเห็นแก่ตัวเท่านั้น โลกจึงมีวิกฤติการณ์ทุกอย่างทุกประการนับไม่ไหว ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัวโลกก็มีความสงบเย็นถึงที่สุด นี่ขอให้มุ่งหมายที่นี่กันก่อน Let me call that selfishness is the most immediate concern we had. Because of selfishness and all the world problems, the present world problems are derived from selfishness or the crisis or the enormous tragedy are because of or arrived from selfishness (นาทีที่ 05.09)
เรามองเห็นว่า ความไม่เห็นแก่ตัวนี่ จะแก้ปัญหา หรือวิกฤติการณ์ทั้งหมดได้ ดังนั้นเราจึงพยายามทำลายความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นความไม่จริง แล้วมาหาความจริง ที่เป็นสักแต่ว่าธาตุ ตามธรรมชาติ ไม่มีตัว และไม่มีความเห็นแก่ตัว We hope that the non-selfishness is the end of problem. The selfishness is the con above the crisis in the world. Therefore, if we destroy ourselves and we kill it, I’m finding out that it isn’t real and is only evolution. All of the crisis will be taking care to the way to destroy yourself or selfishness. It’s to see that everything or it’s just Dhatu – natural Dhatu. That’s all. (นาทีที่ 06.16)
ถ้าเราถือ ถ้าเราถือศาสนาที่มีพระเจ้า แล้วเราก็กำจัดความเห็นแก่ตัวด้วยการเชื่อฟังพระเจ้า ด้วยการเชื่อฟังพระเจ้า ว่าเห็นแก่พระเจ้า พระเจ้าไม่ให้เห็นแก่ตัว แต่นี่ถ้าเป็นพุทธศาสนา ไม่มีพระเจ้า ก็เลยมีวิธีที่จะไม่ให้เห็นแก่ตัว โดยการเห็นว่าแท้จริงไม่มีตัว แท้จริงไม่มีตัว มีแต่ธาตุตามธรรมชาติ ถ้าเราเห็นว่ามีแต่ธาตุตามธรรมชาติ เราก็จะรู้สึกว่าไม่มีตัว มีตัวตน หรือว่าไม่มีของตน แล้วเราก็ไม่เห็นแก่ตน มันก็แก้ปัญหาได้ If we ... or fate in religion that believes in one God, we limit selfishness by giving ... to God. Instead of being selfish, we are Godish and oriented to a God that allows us more and more to give up selfishness. In Buddhism, there is no belief in a personal creator God. The way of Buddhist limits and deals with the problem of selfishness that to realise in reality there is no self to be selfish about. We can do this by beginning to understand and realise that everything is just Dhatu. (นาทีที่ 08.18)
เพื่อไม่มีความเห็นแก่ตัว เราต้องมองเห็นความที่ไม่มีตัว ให้มีแต่ธาตุไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เราก็มีกฎของธรรมชาติเป็น impersonal guard มีกฎ มีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติตาม ถ้าเห็นแก่กฎ นับถือกฎ มันก็ปฏิบัติถูกต้องตามกฎ นั่นก็คือไม่เห็นแก่ตัวอยู่แล้ว ถ้าเห็นว่าไม่มีตัวยิ่งไปอีก มันก็ยิ่งไม่เห็นแก่ตัว เราจึงได้รับความไม่เห็นแก่ตัวนั้นเต็มที่โดยสมบูรณ์ The way we deal with the selfishness is to realise that there is no self and to see there are only natural elements or natural arising phenomena that follows the law of nature. We must live according with this law of nature and then we can take this law of nature as our god – impersonal god - and more and more orient on self towards the law of nature rather than orient in one’s self towards ourselves. And this way following living according to being oriented to the law of nature. The idea that believes in ourselves is like God. (นาทีที่ 10.37)
ทีนี้สิ่งที่เราจะต้องมองให้เห็นน่ะ ก็คือความจริงที่ว่าทุกอย่างเป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ ไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวตน หรือเป็นของของตน นี่เป็นจุดมุ่งหมายที่จะต้องมองให้เห็นชัดลงไปว่า ทุกอย่างเป็นตามธาตุ เป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ ขอให้ตั้งใจเพื่อทำความเข้าใจในข้อนี้ Therefore, the thing we need to see is that there are only the natural Dhatu and nothing else. There is nowhere that any part or portion is a self or a …. We need to see and realise it. So please set your mind to this fact and understand that natural Dhatu arising and passing away according to the law of nature. (นาทีที่ 24.23)
แล้วทีนี้ก็จะพิจารณาเฉพาะคำว่า “ธาตุ” ถ้าตามธรรมดา เราก็ถือกันทั่วไปว่าสิ่งสุดท้ายที่เราจะแบ่งแยกออกไปอีกไม่ได้ นั่นน่ะคือธาตุ เราแบ่งแยกเป็นหลาย เอ่อ สิ่งต่างๆ ถูกแบ่งแยกออก แล้วก็แบ่งแยกออก แล้วก็แบ่งแยกออกๆ จนสิ่งสุดท้ายที่แบ่งแยกออกไม่ได้ นั่นน่ะคือสิ่งที่เรียกว่า “ธาตุ” แต่ความหมายนี้มันจะใช้ได้แต่ทางวัตถุ ทางฝ่ายจิตใจมันยังมีละเอียดลึกซึ้งลงไปกว่านั้น If we are looking at the meaning of the word Dhatu, when we separate and divide things into smaller and smaller. The smallest portion or division after these long factors has been separating or dividing. The smallest portion that we can’t divide anymore is Dhatu. This is a usual definition and it works with material things. But with mental phenomena it doesn’t work because mental things are much to find and subtle (นาทีที่ 14.04)
ยิ่งกว่านั้นไปอีก คำว่าธาตุ ธาตุน่ะในพระพุทธศาสนาน่ะหมายหมดทุกสิ่งจริงๆ คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติก็เป็นธาตุ สิ่งที่เหนือว่าธรรมชาติน่ะ คือ supernatural น่ะ ก็ยังคงเป็นธาตุ หมายความว่า ธรรมชาติก็ดี เหนือธรรมชาติก็ดี ยังคงเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ Even more than what we just said, That or Dhatu are both natural things but also supernatural. Dhatu are the natural occurring phenomena and above nature supporting supernatural. (นาทีที่ 15.22)
ตามตัวหนังสือ หรือตามตัวพยัญชนะ คำว่าธาตุ ธา-ตุ นี่ แปลว่า สิ่งที่มันทรงตัวมันเองอยู่ได้ ถ้ามันเป็น natural มันก็เป็น natural ถ้ามันเป็นแบบ supernatural มันก็เป็น supernatural มันทรงตัวมันเองอยู่ได้ มันก็เลยเรียกว่าธาตุ According to the root of the word Dhatu, literarily it means something that can maintain by itself and stand alone whether referring to natural or supernatural things. (นาทีที่ 16.21)
ถ้ามันเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง มันทรงตัวอยู่ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ถ้ามันเป็นที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง มันก็ทรงอยู่ได้โดยไม่อาจจะเปลี่ยนแปลง ถ้ามันเป็น compounded thing มันก็ทรงอยู่ได้อย่าง compounded thing ถ้ามันเป็น non-compounded thing มันก็ทรงอยู่ได้อย่าง non-compounded thing ก็เรียกว่ามันทรงตัวอยู่ได้ด้วยกันทั้งนั้น โดยตัวมันเองก็เรียกว่า “ธาตุ” Things, which are subject to change and impermanent, are the compounded things standing in the way of appropriate to changing things. And then the supernatural or things which we can’t say or we probably shouldn’t say that they are changing least stand or maintain themselves in the way of appropriate to supernatural things. To change things, impermanent or condition things, it maintains or stands by themselves in the way of appropriate to change. And supernatural, uncondition, non-condition things maintain themselves in the way of appropriate to the fact that they are not condition. (นาทีที่ 17.16)
ถ้ากล่าวตามหลักนี้ หรือตามหลักพุทธศาสนานี้ ก็ต้องขออภัยที่ต้องกล่าวว่า แม้แต่พระเจ้า หรือผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุ เรียกว่าธาตุพระเจ้า ธาตุของพระเจ้า ธา-ตุของพระเจ้า สำหรับพระเจ้า In Buddhism, we apologise to say this but we have to say that even God is Dhatu - The God element. God is only Dhatu. (นาทีที่ 19.05)
เมื่อเห็นทุกอย่างเป็นสักว่าธาตุ คือเห็นว่ามันไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ sense ไม่ใช่ของตน ... (นาทีที่ 19.45) คือไม่มี sense ในความหมายใดๆ นี่มันก็หยุดความเห็นว่าตนจะได้แม้ที่เป็นสัญชาตญาณ ตัวตนแม้ที่เป็นสัญชาตญาณจะหยุดก็ได้ ไม่มีตัวตนแล้วก็ไม่มีความเห็นแก่ตนตามที่เราต้องการ If I think everything as only element, just Dhatu, then we are able to let go up the self. Even modal instinct of egoism and we have seen correctly by realising that everything is only Dhatu. In this way selfishness is run away. (นาทีที่ 20.07)
ทีนี้เราก็มาดูที่คำว่าธาตุมีกี่ชนิด ในขั้นต้นเราจะแบ่งแยกออกมี ๒ ชนิด คือ ธาตุกาย หรือวัตถุอย่างหนึ่ง แล้วก็ธาตุจิตใจ หรือธาตุวิญญาณ ธาตุจิตใจนี่อีกธาตุหนึ่ง มี ๒ ธาตุ เป็นธาตุกายกับธาตุใจ When we are looking at the word Dhatu, at the beginnings we can see that there are two kinds of Dhatu. They are Guya Dhatu or physical material Dhatu and then Mano Dhatu which is mental spiritual Dhatu. (นาทีที่ 21.23)
ทีนี้ธาตุกาย ทางฟิสิกซ์นี่ บางออกเป็น ๔ ธาตุดิน ธาตุดิน คือธาตุที่มีเนื้อแข็งและกินเนื้อที่ มีคุณสมบัติในการกินเนื้อที่ ขยายเนื้อที่ นี่ก็เรียกว่าธาตุดิน อันที่ ๒ เรียกว่าธาตุน้ำ คือการเกาะกลุ่มกันไว้ไม่ให้กระจายออกไป คุณสมบัติของ ...Cohesion (นาทีที่ 22.22) ทีนี้ธาตุไฟ คืออุณหภูมิ ความร้อน หรืออุณหภูมิที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วก็ ๔ คือธาตุลม นี่หมายถึงธาตุที่มีคุณสมบัติทำให้เคลื่อนไหว ให้เคลื่อนไหว นี่ ๔ ธาตุเป็นฝ่ายวัตถุ มีปรากฏอยู่ในสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นของแข็ง ของเหลว ของลอย ของอะไรก็ตาม ๔ อย่างนี้เรียกว่า ธาตุทางฝ่ายกาย หรือฝ่ายวัตถุ The physical Dhatu, we can break down 4 types. The first is earth Dhatu which is .... or taking the space. The second is water Dhatu which is cohesion or holding together. The third is fire Dhatu which is the temperature. The forth is air or wind Dhatu which is the movement. (นาทีที่ 23.06)
ทีนี้ก็มีธาตุที่ ๕ เรียกว่าอากาศธาตุ อากาศ ว่าง เรียกว่า ธาตุว่าง ธาตุว่าง เป็นฐานที่ตั้งให้สิ่งทั้งปวงตั้งอยู่บนที่ว่าง ถ้าไม่มีที่ว่างมันก็ไม่มีอะไรตั้งอยู่บนอะไรได้ ความว่างที่เป็นที่ตั้งของสิ่งทั้งปวงนี่ได้ก็จัดเป็นธาตุๆ หนึ่งด้วยเหมือนกัน เป็นธาตุที่ ๕ เรียกว่าธาตุว่าง หรืออากาศธาตุ Then, there’s a fifth Dhatu – Arkas Dhatu or Space Dhatu or Emptiness Dhatu. It’s a voiceness or emptiness that all physical Dhatu are founded on or established on this space Dhatu. Without this space Dhatu, none of these other Thu-tu could be anywhere or could accept. (นาทีที่ 25.00)
ทีนี้ก็มาถึงธาตุที่ ๖ คือธาตุวิญญาณ ธาตุวิญญาณ เป็นธาตุที่เข้าใจยาก ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เป็นวัตถุ ไม่ใช่อย่างที่แล้วมา ๕ อย่างข้างต้น ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นธาตุตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ต้องมีตัวสสาร ตัว Material ไม่มีอย่างที่ธาตุวัตถุมี เป็นธาตุใจ เป็นธาตุที่ทำให้เกิดความรู้สึก คิด นึกขึ้นมาได้ในสิ่งที่เราเรียกว่าใจ หรือจะเรียกว่าสมอง หรือจะเรียกว่าหัวใจ แล้วแต่จะเชื่อ แต่ว่าสิ่งที่ทำให้เราคิด นึก รู้สึกขึ้นมาได้นี่เรียกว่าธาตุใจ ธาตุวิญญาณ วิญญาณธาตุ The sixth Dhatu is unlike the first five that it’s in no way of material or physical things. The first five has to do with materiality and physical things. The sixth one has to do with mind, spirit; we called this Win Yan Dhatu (mental or spiritual). You can say it’s the mind, or the brain or the heart whatever you prefer. What we’re talking about is what is aware, what we think is reference to Win Yan Dhatu. (นาทีที่ 26.51)
ทีนี้ ถ้าเห็นว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุ ๖ อย่าง เป็นธาตุตามธรรมชาติทั้ง ๖ อย่างนี่ มันก็ไม่มีส่วนที่จะมีตัวตน ไม่มี self ไม่มี soul จึงไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับ selfishness ก็เลยอยู่เป็นความสงบสุข ส่วนตัวนั้นก็สงบสุข ส่วนสังคมทั่วไปนั้นก็สงบสุข เพราะเห็นโดยความเป็นธาตุ แล้วก็ไม่มีตัวตน แล้วก็ไม่เกิดความเห็นแก่ตน If all we see are the sixth Thu-tu, then there’s no selfishness. And with no selfishness, there’s peace, there’s joy. Invertly, one self is peaceful, calm, ….. . Also, society around one is also peaceful by seeing that all are just Dhatu, no self and no ..... (นาทีที่ 28.35)
ในตอนนี้ขอให้สังเกตเป็นพิเศษสักอย่างหนึ่งว่า ทุกศาสนา ทุกๆๆๆ ศาสนามุ่งหมายจะสอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตน ต้องการความไม่เห็นแก่ตนเพื่อสันติภาพของมนุษย์ นี่มุ่งหมายตรงกันหมดทุกศาสนา ต้องการความไม่เห็นแก่ตน ที่มันต่างกันบ้าง ต่างกันก็เพียงวิธีที่จะทำให้ไม่เห็นแก่ตน ก็มีต่างแบบ ต่างไปตามศาสนานั้นๆ ส่วนพุทธศาสนามีวิธีอย่างที่ว่านี้ คือเห็นความไม่มีตนเสีย ก็ไม่มีความเห็นแก่ตนโดยอัตโนมัติ You must see that the goal about religion is a control and aim about selfishness. All religions have this aim and are just same in this way. The only difference is in message; different religion has different message of dealing with selfishness, of controlling and ending with selfishness. In Buddhism, selfishness is dealt with as we’re describing here by seeing that there’s no self. Selfishness ends. Other religions have the same goal …… selfishness; they just use different message. (นาทีที่ 30.05)
ทีนี้เพื่อจะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธาตุนี่ ให้ละเอียด ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก เราก็มีวิธีดู มีวิธีที่จะศึกษา แบ่งเป็น ๓ ธาตุทีนี้ ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งกาม กา-มะ เรียกว่ากามธาตุ กี่อย่างๆ ก็ตามใจ เป็นที่ตั้งแห่งกาม ก็เรียกว่ากามธาตุ แล้วทีนี้ไม่เป็นที่ตั้งแห่งกาม อย่างที่ ๒ เรียกว่า รูปธาตุ คือเป็นรูปล้วนๆ ไม่มีกาม อันที่ ๓ อรูปธาตุ คือไม่มีรูปแล้วก็ไม่มีกาม อย่างที่ ๑ มีกาม อย่างที่ ๒ ไม่มีกาม แต่มีรูป อย่างที่ ๓ ไม่มีกาม แล้วก็ไม่มีรูป เป็นคำกล่าวกว้างที่ครอบคลุมทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในจักรวาล ๓ ธาตุ Another final more logic deeper more profound where looking at Dhatu is to see three kinds of Dhatu. The first is Kama Dhatu. Kama is something having sensuality, luck or ... Then, there’re the second kinds of Dhatu which is material but not associated with sensuality or luck. This is Rupa Dhatu or … material Dhatu. And then, the third one which is … material. It is Arupa Dhatu; formalness and immaterial Dhatu. All of the thing in universe can be seen as these 3 kinds and these 3 Dhatu. But, … in English, you should spell in Dhatu, in Thai it pronounces Thatu, so that why I make … (นาทีที่ 32.23)
ถ้ากามธาตุครอบงำจิต จิตก็มีความรู้สึกทางกาม ทางเพศ ทีนี้ถ้าอรูปธาตุเกิดจากจิต ครอบงำจิต ผสมอยู่กับจิต จิตก็ไม่มีความคิดเรื่องกาม มีแต่เรื่อง matter ล้วนๆ บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้วก็พอใจ ก็มีความสุขโดยไม่ต้องมีกาม นี่เขาเรียกว่าพวกฌาน พวกสมาธิ แล้วถ้าว่าอรูปธาตุยิ่งๆ ขึ้นไป สิ่งที่ไม่มีรูป เช่นความไม่มีอะไร เช่นอากาศ เช่นวิญญาณ เป็นต้น ไม่มีรูปนี่ครอบงำจิต จิตก็มีความสุขได้จากสิ่งที่ไม่มีรูป เพราะฉะนั้นเราจึงหาความสุขกันอยู่ในโลกนี้ จากกามก็ได้ จากรูปก็ได้ จากอรูปก็ได้ รู้จักไว้ทั้ง ๓ อย่างอีกทีหนึ่ง … can find happiness in the Kama Dhatu in sensuality in sex. This is the one kind of happiness with the mind or experience thru …. Or happiness can be found in pure matter in … Such as, …. (นาทีที่ 35.16)
เป็นสมาธิที่เรายังไม่ได้ฝึก และยังไม่ได้ศึกษา เป็นสมาธิชั้นที่เรายังไม่ได้ฝึก และยังไม่ได้ศึกษา สำหรับอรูป … (นาทีที่ 37.12)
แต่ทีนี้ดูให้ละเอียดลงไปก็จะพบว่า กามธาตุก็ยังยึดถือได้และเป็นทุกข์ รูปธาตุก็ยังยึดถือ ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนได้และเป็นทุกข์ อรูปธาตุก็ยังยึดถือยึดมั่นว่าเป็นตัวตนได้และเป็นทุกข์ ดังนั้นทั้ง ๓ ธาตุนี้ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ นี้ เป็นธาตุที่ยังให้เกิดความทุกข์ได้ … (นาทีที่ 37.58)
๓ ธาตุที่กล่าวมานี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น และก็ถูกยึดมั่นถือมั่น และจึงเป็นธาตุที่มีความทุกข์ ให้เกิดความทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ทีนี้เรายังมีธาตุอีกอันหนึ่งที่ตรงกันข้าม ตรงกันข้าม ไม่อาจจะเป็นทุกข์ ไม่อาจจะยึดถือได้ และเป็นที่ดับเสียซึ่งธาตุทั้ง ๓ ที่ว่านี้ จะดับลงเพราะธาตุที่จะพูดถึงก็คือ นิโรธธาตุ นิโรธธาตุ เป็นภาษาอังกฤษคงจะลำบาก มันก็นิ-โร-ธะ นิ-โร-ธะ ตัวหนังสือมันก็ extinction ธาตุแห่ง extinction จะดับ ๓ ธาตุนั้นเสีย แล้วดับทุกข์ทั้งปวง นี่เรียกว่า นิโรธธาตุ ธาตุที่เป็นทุกข์ไม่ได้ … (นาทีที่ 39.57)
ถ้าจะพูดอีกวิธีหนึ่ง ก็พูดง่ายๆ ว่า ธาตุที่มันให้เกิดความทุกข์ขึ้นมานั้น ก็มีอยู่ แล้วธาตุที่ให้ความทุกข์ดับลงไป ก็มีอยู่ การที่ความทุกข์เกิดขึ้นมาก็คือธาตุที่เป็นทุกข์ การที่ทำให้ความทุกข์นั้นดับลงไป ธาตุนั้นเราก็เรียกว่าธาตุดับทุกข์ ธาตุให้ทุกข์เกิด ธาตุให้ดับทุกข์เป็นคู่กันอย่างนี้ … (นาทีที่ 41.43)
ทีนี้เราก็มีวิธีที่จะทำความเข้าใจโดยการ classify นี่อย่างอื่นอีกก็มี ขอให้ตั้งใจฟังให้ดีๆ มันก็พอจะเข้าใจได้ เรียกว่าธาตุพวกหนึ่ง จำพวกหนึ่ง เรียกว่ากามธาตุ ธาตุที่ยังเนื่องด้วยกาม อีกพวกหนึ่งเรียกว่าอกามธาตุ ไม่เนื่องด้วยกาม ความเนื่องด้วยกาม ธาตุเนื่องด้วยกามมีมากมายทุกอย่าง ทุกอย่างเรียกว่ากามธาตุ ที่ไม่เนื่องด้วยกาม มีรูปธาตุ อรูปธาตุ และนิโรธธาตุที่กล่าวถึงหยกๆ นี่ รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรธธาตุ ๓ อย่างนี่ไม่เนื่องด้วยกาม เรียกว่าอกามธาตุ เราได้เป็น ๒ กลุ่มเรียกว่า กามธาตุกับอกามธาตุอย่างนี้ … (นาทีที่ 43.45)
แม้แต่สิ่งที่เรียกว่านิพพาน นิพฺพาน นิรฺวาณ ก็เป็นธาตุ บางทีก็เรียกตรงๆ ว่านิพพานธาตุ แต่ถ้าให้ตรงในหมวดข้อเหล่านี้ ก็ตรงในหมวดข้อที่เรียกว่านิโรธธาตุ เป็นที่ดับแห่งความทุกข์ทุกๆ อย่าง ทุกประการ ถึงเรียกว่านิพพานว่า นิพพานธาตุ ธาตุเย็นก็ได้ จะเรียกนิโรธธาตุ ธาตุเป็นที่ดับแห่งความร้อนก็ได้เหมือนกัน แม้แต่สิ่งสูงสุด คือนิพพานก็เป็นธาตุ แม้แต่สิ่งที่จะต่ำสุด ขี้ฝุ่นอนุภาคหนึ่งก็ยังเรียกว่าธาตุ นี่เป็น เรียกว่าธาตุหมดเลย … (นาทีที่ 45.57)
ทีนี้ก็จะสรุปอีกทีหนึ่ง สรุป… (นาทีที่ 47.15) มี ๒ ธาตุ ธาตุที่มีปัจจัย มีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง เรียกว่า สังขตธาตุ conditioned Dhatu และที่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เรียกว่า อสังขตธาตุ unconditioned ถ้าท่านเข้าใจคำ ๒ คำนี้แล้ว ท่านจะเข้าใจหมดเลย หมดทุก ทั่วหมดเลย universe ยิ่งกว่า universe ท่านจะมองเห็นว่ามันมีแต่ ๒ ธาตุนี้เท่านั้น มีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ก็เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ก็ไม่เปลี่ยน ไม่แปลง ก็คงที่ เป็นนิรันดร เป็น… (นาทีที่ 48.08) อีกพวกหนึ่ง เป็น ๒ พวกอยู่อย่างนี้ … (นาทีที่ 48.16)
อย่างที่พูดมาแล้วข้างต้นว่า แม้สิ่งที่เป็นธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ก็เรียกว่าธาตุ ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เหนือกว่าธรรมชาติ ก็เรียกว่าธา-ตุ เราจึงมีธา-ตุ ทั้งชนิดตามธรรมชาติ และที่เหนือธรรมชาติ เมื่อเรารู้จักว่าทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติแล้ว เมื่อนั้นเราก็เป็นอิสระ ไม่มี self ไม่มีตัวตนที่ทำให้เห็นแก่ตน เรียกว่าเป็นชีวิตใหม่เหลือที่จะกล่าวว่าใหม่ ใหม่จนเหลือที่จะกล่าวว่าใหม่น่ะ ขอให้สังเกตดู ให้รู้จักธาตุตามธรรมชาติ ไม่มีอะไรเป็นตัวตน ไม่เกิดความเห็นแก่ตน ไม่มีปัญหา ไม่มีวิกฤตการณ์ ไม่มีอะไร นี่คือความมุ่งหมายของความรู้เรื่องธาตุ … (นาทีที่ 51.03)
ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ non sense ที่สุดเลย แต่ถ้าท่านเข้าใจ จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่มันจะดับความทุกข์ทั้งปวงได้ แล้วจะอยู่เหนือปัญหา เหนือโลก อยู่ในสภาพที่เรียกว่าเหนือโลกได้ นี่ขอให้ศึกษา สังเกตจนเข้าใจคำว่าธาตุ และสิ่งทั้งปวงๆ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ ไม่มีภาวะเป็นตัวตน หรือเป็นของของตน นี่เราเรียกว่าเข้าถึงภาวะหลุดพ้น เข้าถึงภาวะอยู่เหนือโลก เหนือโลก ซึ่งเข้าใจ หรือไม่เข้าใจมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง … (นาทีที่ 52.24)
คำสอนอย่างนี้คงจะเห็นได้ ท่านทั้งหลายคงจะเห็นได้ว่ามันแปลกที่สุด แล้วก็ยืนยันได้ว่ามีแต่ในพุทธศาสนา เพราะว่าศาสนาอื่นจะมีตัวตน มีของที่เนื่องด้วยตน พุทธศาสนาไปไกลจนถึงขนาดว่าไม่มีตัวตน ไม่มีของเนื่องด้วยตน มีแต่สักว่าธาตุตามธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อเราเข้าถึงความจริงข้อนี้แล้ว เราก็ถอนความรู้สึกว่าตัวตน และของตน และความเห็นแก่ตนได้ ได้โดยอัตโนมัติ … (นาทีที่ 55.10)
ทีนี้ เราก็จะพูดกันถึงหลักปฏิบัติ หรือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความจริงข้อนี้ว่ามันมีแต่ธาตุ เพียงแค่ท่านปฏิบัติอานาปานสติครบทั้ง ๑๖ ขั้น แล้วก็มีวิธีแยกดูทุกขั้นๆ ว่าไม่ใช่ตัวตน หรือไปสรุปในขั้นสุดท้าย อนิจจานุปสี (นาทีที่ 56.53) เห็นแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัย มิใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน หรือว่าจะปฏิบัติสติ เดิน ยืน นั่ง นอน ก้าวขา ยกขา จะกินอาหาร จะอาบน้ำ จะทุกๆ อย่าง มีสติรู้ว่าสักว่าธาตุตามธรรมชาติ เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัย มิใช่ตัวตน คือไม่มีตัวตน แม้ว่ามันไม่มีตัวตน เป็นแต่ธาตุตามธรรมชาติมันก็ประกอบกันได้ ปรุงแต่งกันได้ จนเขาว่ามันคิดนึกได้นี่ เพราะมันมีธาตุใจ ธาตุกาย แล้วก็มีธาตุว่างรวมกันอยู่ ไม่ใช่ตน แต่มันคิดนึกได้ มันสั่งให้กายกระทำได้ มันก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับใจนั่นแหละ แล้วมันก็สั่งให้ร่างกายทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ดูเหมือนกับว่ามีตัวตน ยิ่งกว่ามีตัวตน แต่ที่แท้มันมิใช่ตัวตน นี่เราจึงฝึกความไม่มีตัวตนอยู่ทุกอิริยาบถ ทุกอิริยาบถ ทุกการเคลื่อนไหวอย่างที่มีอยู่ในแบบฝึกหัดของอานาปานสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง … (นาทีที่ 58.12)
หรือถ้าเราจะพูดอย่างหลักวิชา เป็นหลักวิชาขึ้นไปอีก ก็จะพูดว่า เราดูที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่นั่นน่ะมันมีระบบประสาทเป็นที่ให้วิญญาณธาตุ วิญญาณธาตุมาทำงานได้ ดังนั้น ตาจึงเห็นรูปได้โดยไม่ต้องมีตัวตน มีแต่ธาตุตามธรรมชาติครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องมีตัวตนตาก็เห็นรูปได้ หูก็เหมือนกัน ก็ฟังเสียงได้โดยที่ไม่ต้องมีตัวตน แต่มันมีวิญญาณ มีประสาท มีอะไรที่เป็นธาตุตามธรรมชาติที่ทำให้หูได้ยินได้ จมูกก็ได้กลิ่นได้ ลิ้นก็รู้รสได้ ผิวกายก็รู้สัมผัสได้ จิตก็คิดนึกได้ตามธรรมชาติ ของธาตุตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีตัวตน เพราะฉะนั้นเรารู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยไม่ต้องเป็นตัวตน และก็ทำอะไรได้ตามที่มันทำหน้าที่อยู่ทุกวัน นี่อย่างหนึ่ง … (นาทีที่ 01.03.28)
ทีนี้กล่าวเฉพาะอายตนะภายนอกนะ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ sense subject ภายนอก ๖ อย่างนี้ และมันก็เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ มากับรส ออกไป หรือปรุงแต่งก็ตาม มันก็เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ ดังนั้นอย่าได้ยินดีกับพอใจอย่างหนึ่ง แล้วก็ยินร้ายไม่ชอบใจอีกอย่างหนึ่ง ที่ไปโง่ยินดียินร้ายเพราะเข้าใจว่ามันเป็นตัวตนที่เราจะเอามา จะยึดถือได้ เมื่อเห็นว่ามันเป็นตามธรรมชาติ ก็ไม่ยิน...ก็ไม่ยึดถือเอา มันก็ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งอะไรภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มาทำอันตรายแก่เราได้ เราก็อยู่อย่างอิสระ และมีความเยือกเย็น เป็นสุขเย็น … (นาทีที่ 01.06.30)
ในที่สุดพุทธศาสนาได้สรุปเหลือเพียง ๕ อย่างที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ five… (นาทีที่ 01.08.12) ขันธ์ทั้ง ๕ คือ มนุษย์คนหนึ่งมันอยู่ในสภาพขันธ์ ๕ ไม่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่ง ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง เมื่อร่างกายนี้ทำหน้าที่ เมื่อร่างกายทำหน้าที่ของร่างกาย ก็เรียกว่า รูปขันธ์ ก็เห็นว่ามันสักว่ารูป หรือกายทำหน้าที่ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ self ทีนี้บางทีจิตรู้สึกว่าเป็นเวทนาที่เร่งยินดียินร้าย ไม่ยินดีไม่ยินร้ายอย่างรุนแรงอย่างนี้ ก็มองเห็นว่าเวทนานั้นก็ไม่ใช่ตน บางเวลามันอยู่ในรูปของสัญญา สัญญา ความหมายมั่นว่าเป็นอย่างนั้น ว่าเป็นอย่างนี้ จนกระทั่งเป็นสุขเป็นทุกข์ น่ารักไม่น่ารัก เป็นหญิงเป็นชาย เป็นได้เป็นเสีย เป็นแพ้เป็นชนะ สัญญาหมายมั่นอย่างนี้ก็มิใช่ตน ที่ว่าสังขารที่ ๔ สังขาร คิดนึกอย่างนั้น คิดนึกอย่างนี้ คิดนึกเหลือประมาณ มันก็มิใช่ตน อันสุดท้าย วิญญาณ รู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ก็มิใช่ตน รวม ๕ อย่างนี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ นี่คือตัวคน ตัวมนุษย์ชนิดที่มันจะเป็นไปในวันหนึ่งๆ เดี๋ยวอยู่ในรูปแบบของรูปขันธ์ คือสนใจกันแต่ที่ร่างกาย เดี๋ยวก็สนใจกันแต่อยู่ที่เวทนา เดี๋ยวก็สนใจกันแต่อยู่ที่สัญญา เดี๋ยวก็สนใจกันแต่สังขาร เดี๋ยวก็วิญญาณ ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องหน่อยก็ต้องว่าทั้ง ๕ นี้มิใช่ตน และมิใช่ของของตน มิใช่อาจจะมาเป็นของตน ไม่ควรที่จะยึดถือว่าเป็นของตน ถ้าอย่างนี้ล่ะก็เลิกหมด มันเลิกยึดถือหมด เพราะอะไรๆ ที่มันจะเข้ามาเป็นเรื่องเป็นราว มันต้องเข้ามาเป็นขันธ์ ๕ นี้เสียก่อน จึงยึด จึงเห็นว่าขันธ์ ๕ มิใช่ตน ก็รู้หมด จบหมด ความรู้จบหมด ปฏิบัติก็จบหมด … (นาทีที่ 01.10.16)
เมื่อเห็นเป็นธาตุตามธรรมชาติ ไม่เกิดยินดียินร้ายในสิ่งใด มันก็ไม่เกิดกิเลส คือถ้าเห็นเป็นธาตุตามธรรมชาติ ไม่เห็นเป็นตัวตนข้างนอก ตัวตนข้างในนี่ มันก็ไม่มีความยินดีที่น่ายินดี ยินร้ายที่น่ายินร้าย มันก็ไม่เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่เกิดกิเลสใดๆ มันมีหลักอย่างนี้ เห็นธาตุตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติแล้วไม่เกิดกิเลสนี้ข้อหนึ่ง … (นาทีที่ 01.14.09)
ข้อ ๒ เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ชีวิตก็ไม่มีของหนัก ชีวิตไม่มีของหนัก ก็ไม่ได้ยึดถือตน ไม่ได้ attach ไว้ ก็คือไม่ได้ยึดถือไว้ มันก็ไม่มีการหนัก ไม่มีความหนักในชีวิต ถ้ามิฉะนั้นทุกอย่างจะเป็นของหนัก ชีวิตก็เป็นของหนัก สิ่งที่ยึดถือไว้ก็เป็นของหนัก เดี๋ยวนี้เราต้องมีชีวิตที่ไม่มีความหนัก นั่นน่ะคือ ชีวิตใหม่ที่มีคุณค่าสูงสุด … (นาทีที่ 01.15.50)
สรุปความสั้นที่สุดว่า เมื่อไม่เห็นแก่ตนแล้ว เป็นผู้ไม่เห็นแก่ตนแล้ว ก็ไม่ทำตนให้มีความทุกข์ และไม่ทำผู้อื่นทุกคนให้มีความทุกข์ ปัญหาหมด … (นาทีที่ 01.17.10)
ทีนี้สิ่งสุดท้ายที่จะพูดก็คือ การกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นไปได้ มีความเป็นไปได้ แต่คนโดยมากเห็นว่ามันเหลือวิสัย มันเป็นไปไม่ได้ แล้วก็ไม่สนใจ แม้แต่ฟัง มันก็ยังฟังยากๆ ก็เลยไม่สนใจ ฉะนั้นขอให้แน่ใจ แน่ใจที่สุดว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ในการที่จะรู้เรื่องนี้ก็ดี ในการที่จะปฏิบัติเรื่องนี้ก็ดี ในการที่จะได้รับผลในการปฏิบัติเรื่องนี้ก็ดี มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ … (นาทีที่ 01.18.10)
ความเป็นไปได้ข้อที่ ๑ คือเราสามารถจะเห็นธาตุ เห็นธาตุ รู้จักธาตุ เข้าใจธาตุ รู้จักทุกๆ ธาตุว่ามีอยู่อย่างไร นี่คือความเป็นไปได้ข้อที่ ๑ โดยศึกษาดูจากที่ได้พูดมาแล้วข้างต้นว่าเป็นธาตุอย่างไร เป็นธาตุอย่างไร เป็นหมู่อย่างไร เป็นกลุ่มอย่างไร แล้วข้อที่ ๒ ก็ว่าที่จะเห็นได้คือ สิ่งทั้งปวงน่ะสักแต่ว่าเป็นธาตุ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงสักแต่ว่าเป็นธาตุ ที่เป็นตามธรรมชาติก็ดี ที่เป็นเหนือธรรมชาติก็ดี สักแต่ว่าเป็นธาตุ นี่ก็เป็นสิ่งที่เราอาจจะเห็นได้ เข้าใจได้ เป็นข้อที่ ๒ แล้วก็ผล ผลของการเห็นธาตุ เห็นความเป็นสักแต่ว่าธาตุ มันจะเป็นอย่างไร เราก็รู้ได้ เห็นได้ เข้าใจได้ รู้สึกได้ นี่เป็นอย่างที่ ๓ ทั้ง ๓ อย่างนี้รู้สึกได้ไม่เหลือวิสัย … (นาทีที่ 01.20.50)
แม้สิ่งที่สูงที่สุด หรือจะเรียกว่าลึกซึ้งที่สุด ยากที่สุด คือ นิพพาน นิพพาน นิพ-พา-นะ … (นาทีที่ 01.22.49) ก็เป็นสิ่งที่รู้สึกได้ สัมผัสได้ไม่เหลือวิสัย ถ้าสัมผัสไม่ได้ ต้องถือว่ามิได้มีอยู่จริง และถ้ามีอยู่จริง ก็ต้องเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ แม้แต่นิพพาน นิพพานสูงสุดนี่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ คือรู้สึกได้ด้วยจิตที่อบรมดีแล้ว และก็จัดนิพพานว่าเป็นอายตนะอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง อายตนะคือสิ่งที่รู้สึกได้และสัมผัสได้ นิพพานก็เป็นอายตนะอย่างหนึ่ง นิพพานก็เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ รู้สึกได้ไม่เหลือวิสัย แต่ทีนี้คนเข้าใจผิด ยกเป็นสิ่งเหลือวิสัย สัมผัสไม่ได้ก็เลยไม่ต้องสนใจ แล้วก็ไม่ต้องปฏิบัติ มันก็เลยไม่มีทางที่จะได้สัมผัส เพราะฉะนั้น ขอให้ถือความจริงที่ว่า ปฏิบัติให้ถูกต้องถึงที่สุดแล้วก็สัมผัสสิ่งนั้นๆ ได้ แม้สิ่งสูงสุดที่เรียกว่านิพพาน … (นาทีที่ 01.24.05)
อย่าลืมว่านิพพานก็เป็นธาตุ เป็นธา-ตุ นิพพานเป็นธา-ตุ เป็นธา-ตุตามธรรมชาติ เพราะเมื่อเราเข้าใจ มองเห็น เห็นแจ้งสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นธาตุ ไม่ยึดมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนแล้ว เมื่อนั้นเราจะสามารถเห็น สัมผัสกับนิพพาน จิตนะ จิตที่ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆ ด้วยประการทั้งปวง สามารถสัมผัสกับนิพพาน จะรู้รสของพระนิพพาน ไม่เป็นสิ่งที่เหลือวิสัย เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจความสำคัญของความรู้เรื่องเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงว่า ไม่มีตัวตน เป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ เข้าถึงความจริงข้อนี้แล้ว ก็จะมองเห็นสิ่งทั้งปวงๆ ตามเป็นจริง เพราะว่าทุกสิ่งเป็นสักแต่ว่าธาตุ … (นาทีที่ 01.26.44)
เมื่อเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเราก็ต้องสัมผัสได้ ถ้าสัมผัสไม่ได้มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร หรือเท่ากับมิได้มีอยู่จริง ขออภัยยกตัวอย่างเช่น พระเจ้า พระเจ้า พระเป็นเจ้า หรือ god ถ้ามีอยู่จริงก็ต้องสัมผัสได้ ถ้าสัมผัสไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร หรือเท่ากับมิได้มีอยู่จริง และในพุทธศาสนาถือหลักที่ว่าสัมผัสได้ เรียกเป็นบาลีว่า สันทิฏฐิโก เขาเห็นได้เอง เขาเห็นได้เอง เขา convince ได้เอง realize ได้เอง นี่จึงจะเรียกว่าถูกต้อง มันต้องเป็นสิ่งสันทิฏฐิโกอย่างนี้ จึงจะถูกต้อง ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายพยายามที่จะเห็นได้ด้วยตนเองโดยแท้จริงว่า มันมีแต่สักว่าธาตุตามธรรมชาติ มิได้มีตัวตน ถ้ามองเห็นความจริงข้อนี้แล้ว จิตเป็นอย่างไรจะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ที่จะบรรลุนิพพาน ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างที่เรียกว่าเห็นได้ด้วยตนเอง เห็นได้ด้วยตนเอง เห็นได้ด้วยตนเอง เห็นได้ด้วยตนเองไปตามลำดับ ตามลำดับ เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทุกอย่างทุกประการดังที่กล่าวมา … (นาทีที่01.29.25)
เป็นอันว่าเราได้พูดกันในวันนี้ถึงเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้พบชีวิตใหม่ที่อยู่เหนือปัญหา อยู่เหนือความทุกข์ หรือเหนือโลกว่า เมื่อมองเห็นสิ่งทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็ไม่ยึดถือมั่นสิ่งใดๆ ก็เปลี่ยนจิตเป็นจิตใหม่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆ ก็พบกับผลของความไม่ยึดมั่นถือมั่น คือนิพพาน ก็จบเรื่องชีวิตใหม่พบได้โดยวิธีอย่างนี้ ชีวิตใหม่มีอยู่จริง สัมผัสได้ พบได้โดยวิธีอย่างนี้ แล้วก็ขอจบการบรรยาย … (นาทีที่ 01.32.46)
ทีนี้ก็มีเวลาเหลือนิดหน่อย จะถามปัญหาได้ … (นาทีที่ 01.34.40)
น่าจะไกล พูดกันไม่ได้ยิน ถ้าเขาอยากจะถามให้เขามาพูดใกล้ๆ … (นาทีที่ 01.35.03)
ถ้าวันนี้ไม่มี วันหลังมีก็มาถามได้ … (นาทีที่ 01.35.39)