แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ก่อนอื่นทั้งหมด ขอแสดงความยินดีในการที่ท่านทั้งหลายมาสู่สถานที่นี้ในลักษณะอย่างนี้ คือแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ เราจะเรียกสิ่งนั้นเหมือนกับที่เรียกกัน แม้ในศาสนาอื่นๆ คือ สิ่งที่เรียกว่าชีวิตใหม่ หรือ โลกใหม่ ข้อนี้เพราะเหตุว่าถ้าเราปล่อยไปตามเดิม ซึ่งจะเรียกว่าชีวิตเก่า หมายถึง ชีวิตที่ตกอยุ่ภายใต้อำนาจ อิทธิพล ของสิ่งที่เรียกว่า “กิเลส” หรือ “สัญชาตญาณ” โดยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความทุกข์ทรมาน การที่มนุษย์มีความรู้ใหม่ขึ้นมา สำหรับจะอยู่เหนืออิทธิพลของกิเลสนี่ เรียกได้ว่าเป็นของใหม่ เพราะว่าก่อนแต่นั้นไม่รู้ ก็ปล่อยไปตามธรรมดาสามัญทั่วไปเหมือนกันทั้งหมด คือ อยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “ความทุกข์” เราเรียกความรู้เรื่องนี้ว่า Buddhism แต่ขอให้เข้าใจว่าไม่ได้เป็นชื่อของบุคคล แต่หมายถึงคุณสมบัติของบุคคลที่มีลักษณะอย่างนั้นๆ คำว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครก็เป็นได้ เรียกโดยทั่วไปว่า Buddhism แต่บางทีเราก็เรียกคำสั้นๆว่า ธรรมะ ธรรมะ ซึ่งในที่นี้หมายถึง สัจจะ ความจริงของธรรมชาติ ขอให้สังเกตุคำว่า true the nature หมายความว่าไม่เฉพาะพวกไหน ชนชาติไหน ภาษาไทย แต่หมายถึงทุกคนที่เกิดมาตามกฎของธรรมชาติ ซึ่งทุกคนมีปัญหาอย่างเดียวกันหมด จะขอยกตัวอย่างความเป็นสากลเพื่อเข้าใจง่ายๆกันสักหน่อย เช่นว่า เกลือ ใครกินเข้าก็เค็ม น้ำตาลใครกินเข้าก็หวาน น้ำส้มใครกินเข้าก็เปรี้ยว ไม่ว่าเขาจะถือศาสนาอะไร ไม่ว่าเค้ากำลังจะประกาศตัวว่าถือวัฒนธรรมอะไร ถือศาสนาอะไร น้ำตาลจะหวานแก่ทุกคน เกลือจะเค็มแก่ทุกคน น้ำส้มจะเปรี้ยวแก่ทุกคน ขอให้ดูความเป็นกลางของสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติสำหรับทุกคน หรือที่ใกล้ๆเข้ามาที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น ยา ทุกอย่าง ผู้กินจะถือศาสนาไหนผลก็เป็นอย่างเดียวกัน แอนตี้ไบโอติกก็ดี แอนตี้เซฟติกก็ดี แอนตี้พาราซิติกก็ดี กินเข้าไปแล้วก็มีผลอย่างเดียวกันไม่ว่าเค้าจะเป็นมนุษย์ ชาติไหน ภาษาไหน ถือศาสนาไหน นี้เป็นตัวอย่างสิ่งที่เราจะต้องสังเกตุดูให้ดีๆว่ามนุษย์ทุกคนในจักรวาลนี้มันมีอะไรที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งอยากจะระบุว่าไปยังว่า ความทุกข์ กับ ความดับทุกข์ จะมีลักษณะเป็นสากลเหมือนกันทุกคนแก่คนทุกคน ซึ่งทุกข์เป็นอย่างไร เรื่องดับทุกข์เป็นอย่างไร จะมีความเป็นสากล เช่นเดียวกันตัวอย่างที่พูดมาแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้ท่านสังเกตุให้เห็นข้อเท็จจริงอันนี้ ที่ว่าธรรมะนี้ๆ ขออภัยที่ต้องใช้คำว่าธรรมะ เพราะไม่รู้ว่าจะแปลเป็นภาษาอื่นว่าอะไร ว่ามีลักษณะเป็นของสากลอย่างนี้ เพราะเป็นกฎของธรรมชาติ เราอาจจะแบ่งความหมายของคำๆนี้ได้เป็น ๔ อย่าง คือตัวธรรมชาตินั่นเองก็เรียกว่าธรรมะ ตัวกฏของธรรมชาติเองก็เรียกว่าธรรมะ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติก็เรียกว่าธรรมะ ผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆก็เรียกว่าธรรมะ รวมความแล้วเป็นสิ่งที่ต้องรู้ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ใน ๔ ความหมายนั้น ความหมายที่ ๓ สำคัญที่สุดคือ duty นี่เอง ความหมายของคำว่าธรรมะ ธรรมะมีถึง ๔ ความหมาย และความหมายที่ ๓ สำคัญที่สุด คือ duty เราจะต้องรู้เพื่อว่าเราจะไม่มีอะไรที่มันผิดต่อกฏของธรรมชาติแล้วก็เป็นทุกข์ ถ้าเราจะให้คำจำกัดความ definition แก่คำว่าธรรมะสักคำหนึ่ง ธรรมะทั้งหมดสักคำว่า ก็จะได้คำจำกัดความว่าระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของเราทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการ ทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ถ้าเราจะให้สั้น จะมี definition ที่สั้นกว่านั้นอีก เราถือเอาตามความหมายสั้นๆตามตัวหนังสือว่า ธรรมะคือ สิ่งที่จะชู ยกชูผู้ปฏิบัติมิให้ตกลงไปในความทุกข์ ยกผู้ปฎิบัติไว้ไม่ให้ตกลงในความทุกข์เนี่ย definition ที่สั้นที่สุด ทีนี้ก็จะได้ดูกันถึงข้อที่ว่า ถ้าไม่มีธรรมะก็คือปล่อยไปตามธรรมชาติที่เรียกกันว่า instinct เป็นสิ่งจะทำให้เกิดปัญหาและความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่า instinct ท่านทั้งหลายก็คงจะได้ทราบกันอยู่บ้างแล้ว แต่ขอปรับความเข้าใจว่า instinct ที่เป็นแม่บทต้นตอทั้งหมดคือ instinct ว่ามีตัวตน egoistic concept ว่ามีตัวตน ตัวตน ใคร or มัย ตนของตน และมันก็ทำให้เกิดความรู้สึกต่อออกไปเป็นความเห็นแก่ตน พอเห็นแก่ตนแล้วมันก็เกิด instinct เล็กๆทั้งหลายอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่นำให้เกิดปัญหาถ้าควบคุมไม่ได้ก็จะเกิดความทุกข์ทั้งนั้น instinct แม่บทที่สุดความเห็นแก่ตน egotism ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า อัสมิมานะ คำสำคัญว่าตัวตนมีอยู่ เรามีอยู่ และก็เกิด instinct ลูกออกมาเป็น เห็นแก่ตน เห็นแก่ตน เห็นแก่ประโยชน์ของตน ทีนี้มันก็เกิดการกระทำไปตามความเห็นแก่ตน แม้ผู้กระทำก็เป็นทุกข์เพราะมันไม่ได้ตามใจตน และก็ทำให้ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ และก็เป็นทุกข์กันทั้งหมด เพราะว่าปล่อยไปตาม instinct เพราะเห็นแก่ตนจึงเกิดกิเลส คือเมื่อชอบใจตน ก็เกิดโลภะ เมื่อไม่ชอบใจตนก็เกิดโทสะ เมื่อยังไม่รู้ว่าจะชอบหรือจะไม่ชอบยังโง่อยู่ก็เกิดโมหะ ฉะนั้นกิเลสทั้งหมดมาจากความเห็นแก่ตน สรุปความว่า กิเลสมากมายหลายชนิดนั้นมาจากความคิดความสำคัญมั่นหมายว่ามีตัวตน ถ้าตัด egotism นี้ได้ ก็ไม่เห็นแก่ตน กิเลสทั้งหลายก็ไม่เกิด ขอให้เข้าใจหลักสำคัญที่สุดอย่างนี้ไว้ก่อน ว่าถ้าตัดกิเลสว่าอัตตา egotism ได้และก็ไม่มี selfishness และก็ไม่มีกิเลสใดๆ สำหรับท่านที่เป็นคริสเตียนหรือศึกษาคริสเตียนมาก่อนอยู่เดี๋ยวนี้ก็ได้ อาตมาอยากจะแนะสิ่งที่สำคัญที่สุดสักอย่างหนึ่งว่า เครื่องหมายกางเกงก็คือการตัดซึ่ง egotism ดับความทุกข์ทั้งหมดได้ instinct แม่บทก็คือ egotism และมันออกมาเป็นความเห็นแก่ตัว เมื่อมันมีความเห็นแก่ตัว มันก็ไม่อยากตาย มันก็มี instinct ของการสืบพันธุ์ และมันก็มี instinct ของการหาอาหาร และมันก็มี instinct ของการต่อสู้ หรือถ้าต่อสู้ไม่ได้มันก็มี instinct ของการหนีภัย และยังมี instinct อีกมากมาย เช่น อยากจะอวดดีอวดเก่ง จะมีอำนาจเป็นต้น ขอมองดูในแง่ที่ว่า instinct ทั้งหลายออกมาจาก instinct แม่บท คือ instinct ของอัตตา อัสมิมานะ อัสวาทุปาทาน ตามที่เรียกในพุทธศาสนา และรวมเรียกสั้นว่า egotism ดังนั้นเราจึงเรียกว่า instinct ก็ได้ จะเรียกว่ากิเลสก็ได้ ซึ่งเป็นตัวปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราเป็นทุกข์ และที่เราจะต้องขจัดออกไปเสีย ใครๆก็จะมองเห็นได้ว่า instinct มันเลิกไม่ได้เพราะมันเป็นของที่คู่กันมากับชีวิต ชีวิตมันรอดอยู่ด้วยอำนาจของ instinct เราเลิก instinct ไม่ได้ แต่ถ้าเราควบคุมไม่ได้ instinct ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่ากิเลส ถ้าเราควบคุม instinct ไว้ได้ instinct ก็จะกลายเป็นโพธิ ตรงกันข้ามกับกิเลส instinct ตามหลักทั่วไปก็เพื่อรอดชีวิตเท่านั้นแหละ แต่เดี๋ยวนี้มันมากกว่านั้น จนเป็นเห็นแก่ตัว มันทำอะไรทุกอย่างตาม instinct เกินความถูกต้องคือไม่ถูกต้อง และก็เกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา ถ้าเรารู้จัก instinct อย่างถูกต้องก็เป็นโพธิ เพราะเราเดินไปๆอย่างถูกต้องมันก็จะไปถึงจุดปลายทางที่มนุษย์จะต้องไปให้ถึงแล้วแต่ว่าจะเรียกว่าอะไร ทีนี้ยังมีคำที่ควรจะนึกถึงซึ่งเข้าใจได้ง่าย คือ ธรรมชาติฝ่ายต่ำ กับ ธรรมชาติฝ่ายสูง instinct ตามธรรมชาติแท้ๆไม่ ไปฝ่ายต่ำและไม่ไปฝ่ายสูง คือมากลางๆ เพียงให้ชีวิตรอด instinct เฉยๆเป็นกลางๆเพียงชีวิตรอด แต่พอ instinct ควบคุมไม่ได้กลายเป็นกิเลส ก็เป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำ ถ้าว่า instinct นั้นความคุมไว้ได้ถูกต้องก็เป็นธรรมชาติฝ่ายสูง เดี๋ยวนี้คนเรามีปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ว่า มันจะเป็นไปตามธรรมชาติฝ่ายต่ำหรือจะเป็นไปตามธรรมชาติฝ่ายสูง ถ้าฝ่ายต่ำก็เป็นทุกข์ ฝ่ายสูงก็ไม่เป็นทุกข์ ดังนั้นเราจึงเรียนสิ่งที่เรียกว่า ธรรมเพื่อควบคุม instinct โดยสมบูรณ์ ทีนี้เราต้องยอมเสียเวลาเสียหน่อย ที่จะศึกษาให้รู้ว่า instinct นี้มันให้เกิดกิเลสอย่างไรและเป็นทุกข์อย่างไร เด็กทารกเกิดมาจากท้องมารดา ออกมาสู่โลกนี้ มี instinct พื้นฐานยังไม่เป็นกิเลสยังไม่มีโพธิ เป็น instinct พื้นฐานกลางๆ ติดมาในใจด้วย ทีนี้เด็กทารกเขาก็เกิดมาแล้วก็ได้รับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหาร การบำรุงบำเรอ ทีนี้เด็กเขามีระบบประสาทที่จะรู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เด็กทารกเค้าก็เริ่มมีความลำเอียง คือจะรักที่อร่อย และไม่รักหรือเกลียดที่ไม่อร่อย นี่ instinct กลางๆได้เริ่มเปลี่ยนเป็น instinct โง่ หรือของกิเลสเข้าแล้ว เมื่อเราควบคุมความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบไว้ไม่ได้ มันก็ต้องเสริม instinct กิเลส ให้มากขึ้นๆ และก็ทำไปตามความชอบหรือความไม่ชอบ อาจจะฆ่าเขาก็ได้ อาจจะรักเขาก็ได้เกินธรรมดา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่รบกวนจิตใจให้เป็นทุกข์ และก็มากขึ้นๆจนเรียกว่า ถ้าเห็นแก่ตัวก็เห็นแก่ตัวจัดเลย ถ้าไปในทางสืบพันธุ์ก็หลงใหลในกามอารมณ์จัดเลย ก็จะต้องสู้หรือหนีภัย หรือจะแสวงหาอาหาร ก็ทำเกินความถูกต้องและพอดี ถ้าเกิดปัญหาขึ้นตั้งแต่ตัวเราเองและแก่ผู้อื่น คือเต็มไปทั้งโลก อยากจะพูดว่าเดี๋ยวนี้โลกทั้งโลกมีปัญหาเพราะว่าคนแต่คนควบคุม instinct ไว้ไม่ได้ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า วิกฤตการณ์ crisis ทั้งหมดที่กำลังมีอยู่ในโลกนี้ เพราะว่าเหตุสิ่งเดียวคือคนในโลกมันบังคับ instinct ฝ่ายต่ำไม่ได้ ซึ่งมีสงครามยืดเยื้อมีอะไรต่างๆอย่างที่เห็นอยู่
ทีนี้เราก็มาดูว่า instinct ตามธรรมดามันเปลี่ยนไปเป็น instinct ฝ่ายกิเลสได้อย่างไร พูดถึงเรื่องของคนธรรมดาทั่วไป เรามีอายตนะข้างใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอายตนะข้างนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นคู่ๆกัน ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่นอย่างนี้ จะยกตัวอย่างเพียงคู่แรก เรื่องตา ตามีอยู่ข้างใน รูปมีอยู่ข้างนอก พอมาถึงกันเข้าก็เกิดการเห็นทางตา eye consciousness สามอย่างนี้ ตา กับ รูป กับ eye consciousness ทำงานร่วมกันอยู่เมื่อไร เมื่อนั้นเรียกว่ามีผัสสะ contact ทางตา ในเวลาที่มีผัสสะทางตานี้สำคัญมาก ถ้าเราโง่ คือไม่มีวิชาความรู้ใดๆมาควบคุม มันก็เป็น contact ที่โง่ เมื่อเกิดเวทนา หรือ feeling ที่โง่ออกมา สำหรับจะทำให้รับเมื่อถูกใจและไม่รับเมื่อไม่ถูกใจ ก็เป็นเวทนาโง่ ถ้าว่าเวทนาโง่ ก็ให้เกิดความต้องการที่โง่ ที่เรียกว่าตัณหา เมื่อมีตัณหาแล้วความรู้สึกเท่านั้นไม่ได้เป็นอะไรอื่น ความรู้สึกที่เป็นตัณหาก็จะเกิดความรู้สึก ผู้ต้องการ ผู้อยาก คือตัวกู ผู้อยาก นี่แหละ egotistic concept สมบูรณ์เต็มที่ในตอนนี้ และก็มีความเห็นแก่ตัวตอนนี้ และเรามีตัวแล้ว พอเรารู้สึกว่าเราเป็นตัว เรามีตัว เราก็เอาทุกอย่างในโลกมาเป็นของตัว ก็มีปัญหาเต็มไปหมด มันไม่ได้ตามต้องการมันก็เป็นทุกข์ หรือแม้แต่ว่าถือไว้เฉยๆ เหมือนถือของหนัก เป็นของหนักในชีวิตขึ้นมา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ขอร้องทุกๆคนให้ศึกษาให้เข้าใจ จึงจะเข้าใจพุทธศาสนาได้ ว่าความทุกข์เกิดมาอย่างไรและจะดับมันอย่างไร ขอให้ทำความเข้าใจเรื่อง prophet อันนี้ ซึ่งแสดงเห็นว่า instinct ธรรมดามันกลายเป็น instinct โง่ instinct กิเลส และเกิดความทุกข์อย่างไร ทีนี้ท่านก็ได้สังเกตุเห็นแล้วว่า ขณะที่สำคัญที่สุด ก็คือขณะแห่งผัสสะ หรือ contact ถ้าเรามีการฝึกวิปัสสนา ฝึกภาวนาเนี่ย เราก็จะมีสติได้โดยง่าย สัมปชัญญะได้โดยง่าย สมาธิได้โดยง่าย ปัญญาได้โดยง่าย พร้อมอยุ่เสมอ สำหรับว่าสติจะได้ไปเอาปัญญามาทันเวลาในขณะแห่งผัสสะ ก็เลยเป็นผัสสะที่ฉลาดไม่โง่ คือไม่ทำให้เกิดความรักและหลงรัก ไม่ทำให้เกิดความเกลียดหรือหลงเกลียด คือเป็นทุกข์ แต่ก็รู้ว่ามันควรจะทำอย่างไรกับสิ่งที่มากระทบอันนี้ก็ทำ แต่จะไม่รู้สึกว่ายินดีที่น่ายินดี ยินร้ายที่น่ายินร้าย หรือกลัวที่น่ากลัว เกลียดคือน่าเกลียด จิตมันก็เลยไม่มีความอยาก ไม่มี desire ไม่มี attachment ในสิ่งใด ทุกอย่างไม่ทำให้เกิดความทุกข์แก่จิตนี้ได้อีกต่อไป เราเลยเรียกมันว่าชิวิตใหม่ โดยเฉพาะก็คือชีวิตที่ควบคุม instinct ได้ ควบคุมกิเลสได้นั่นเองเรียกว่าเป็นชิวิตใหม่ ที่เรายกตัวอย่างมาเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องตาเป็นอย่างไร เรื่องหู เรื่องจมูกเรื่องลิ้น เรื่องกาย เรื่องใจ ก็เป็นอย่างนั้น ขอให้ศึกษาเทียบเคียงเอาเอง ทีนี้สรุปความว่า ถ้าเราควบคุม process ของจิตในเรื่องนี้ได้ คือ ควบคุมผัสสะได้ instinct ตามธรรมชาติไม่ถูกชักจูงไปในทางต่ำหรือทางโง่ แต่มันถูกชักจูงมาในทางปัญญาหรือโพธิ ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิด egotism สรุปความว่าไม่เกิด egotism ที่มีผลร้ายนาๆต่างๆเนี่ย มันก็เลยไม่มีความทุกข์ ในที่นี้ขอพูดสรุปรวมซะเลยว่า attachment ของ egotism นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เพราะความหมายของ egotism มีตัวตน มี self มี soul ถ้ามี self หรือมี soul แล้วมันก็ต้องมีการถือไว้ ยกไว้ ซึ่งเป็นของหนักอย่างยิ่ง หนักกว่าสิ่งใดๆในโลก ไอ้ตัวตน อัตตา หรือ self หรือ soul ถ้าเกิดขึ้นมาในใจแล้ว มันจะเป็นของหนัก ที่จิตจะต้องถือไว้ มันก็เป็นการถือของหนัก มันก็เลยเรียกว่าเป็นชีวิตหนัก เนี่ยคือชีวิตเก่าทั่วๆไป ถ้าเป็นชีวิตใหม่ที่ควบคุมไม่ให้เกิด อัตตา egotism ได้ มันก็เป็นของเบา เพราะว่ามันไม่ได้หิ้วอะไร เพราะเราไม่ carry อะไร ถ้าเราจะถือก้อนหินมันก็หนัก ถ้าจะถือเพชรพลอยอย่างแพงที่สุด มันก็ยังหนักอยู่นั่นแหละ เนี่ยไม่ถือทั้งที่ว่าดีหรือชั่ว ไม่ยึดถือหมายมั่นเป็นของตน แล้วมันก็ไม่มีความหนัก ก็เลยมีชีวิตที่ไม่หนักคือชีวิตใหม่ เป็นชีวิตที่เบา คล่องแคล่ว และมีอิสระเสรีภาพ เรียกว่าชีวิตใหม่ สรุปความว่าถ้ามีตัวตนตามธรรมดาๆ ชีวิตเก่า ถ้าควบคุมไว้ได้ไม่มีตัวตน ก็เป็นชีวิตใหม่ เนี่ยเรารู้จักแยกกันเสียอย่างนี้ก่อน ทีนี้ก็ขอให้สังเกตุให้ดี เพื่อกันความเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้ ว่าความอยากเกิด แล้วจึงเกิดผู้อยากทีหลัง ถ้าพูดอย่างนี้ก็ผิดสามัญธรรมดาทั่วไป แต่นี้ถูกต้องอย่างยิ่งเพราะว่าความอยากเป็นเพียงความรู้สึก เป็นเพียง emotion อันหนึ่งของจิต reaction ของความรู้สึกอันนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้อยาก คือ ตัวตน ซึ่งตัวตนซึ่งไม่มีตัวตนที่ไม่มีเนื้อหาสาระอะไร มันเป็นเพียงสิ่งที่จิตมันคิดขึ้นมันเป็น mindless มันไม่มีตัวตนอะไรเป็นเพียงปฎิกริยาของความอยาก ดังนั้น ผู้อยากจึงเกิดทีหลังความอยาก มันผิดแล้วผิดอีกทั่วไป ว่าต้องมีผู้อยากจึงจะมีความอยาก เดี๋ยวนี้มันมีความอยากเกิดความรู้สึกตามลำดับๆๆๆจนถึงความอยาก ความรู้สึกเป็นความอยาก และก็จะเกิดความรู้สึกผู้อยาก เนี่ยคือคำอธิบายที่ดีที่สุดว่า ตัวตนมิได้มี ตัวตนมิได้มี เป็นเพียงมายา เป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาจากความอยาก ความรู้สึกเป็นผู้อยาก ว่ามีผู้อยากเนี่ย อันนี้ที่เรียกว่า attachment attach นั่นว่า I(ฉัน) attach นี่เรียกว่า มัย ว่าตน ว่าของตน มันเกิดทีหลังความอยาก เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจไว้ซะด้วย เดี๋ยวจะไม่เข้าใจแล้วจะเถียงว่าทำไมเกิดผู้อยากทีหลังความอยาก ช่วยบอกข้อนี้ด้วย
เราได้พูดถึงชีวิตใหม่ ว่าเป็นอย่างไรมาพอสมควรแล้ว นี้เวลาที่เหลืออีกเล็กน้อยนี้ก็พูดถึงเรื่องประโยชน์ของชิวิตใหม่ ซึ่งจะสรุปเป็นสั้นๆ ได้เป็นสัก ๔ อย่าง ข้อที่ 1 เราเป็นอิสระจาก instinct หรือ กิเลส ไม่อยู่ใต้อำนาจของกิเลส instinct ไม่น้อมไปทางฝ่ายต่ำ มีแต่น้อมไปทางฝ่ายสูง สรุปความสั้นๆว่าเรามีอำนาจเหนือกิเลส ข้อที่ 1 สำหรับคำว่า “กิเลส” อยากจะพูดพอเป็นเครื่องสังเกตุ ขอให้ทุกคนฟังให้ดีว่า กิเลสที่ทำอันตรายเรา รบกวนเราอยู่ทุกวันนั้น เราจะเรียกเป็นลำดับ คือว่าอย่างแรก คือนิวรณ์ อย่างที่สองคือกิเลส อย่างที่สาม คือ อนุสัย อย่างที่สี่ คือ อาสวะ เป็นสี่ระดับด้วยกัน ๑. นิวรณ์ คือความรู้สึกที่เกิดในลักษณะคล้ายกับว่า กิ่งสำนึก ไม่ต้องมีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็รู้สึกขึ้นมาได้จากภายใน และก็ลักษณะที่เป็นการรบกวน แต่ไม่ร้อนมากถึงกับเป็นกิเลส ก็มีอยู่ ๕ อย่าง ก็คือ ความคิดที่คล้อยจะน้อมไปทางกามอารมรณ์ น้อมไปทางที่ไม่ชอบนั่น ไม่ชอบนี่ และน้อมไปในทางที่จะระห้อยระเหี่ยคือไม่มีกำลังจิต และก็ที่จะฟุ้งซ่าน และก็ที่จะลังเลสงสัยไม่แน่ใจในความถูกต้องของอะไรทั้งหมด นี่แหละ ๕ อย่าง เกิดขึ้นแล้วรบกวนเท่าไหร่ ขอให้คิดดู แต่ข้อสำคัญที่สุด ก็นิวรณ์ทั้ง ๕ เนี่ยมีอยู่กับท่านทั้งหลายทุกวันและทุกคน ถ้าท่านไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ ก็ยากมากที่จะเข้าใจปฏิบัติวิปัสสนา คือเป็นผู้ไม่มีปัญหาแล้วจะไปปฎิบัติอะไร มันต้องมีปัญหาว่าอย่างไร ก็จะปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหานั้นเหมือนเราเจ็บไข้อย่างไร เราก็ไปหาหมอ เพื่อจะรักษาโรคอันนั้น เดี๋ยวนี้เรามีนิวรณ์อยุ่ทุกวันและทุกคนแต่เราไม่รู้จัก แต่เราก็มาหาวิธีรักษาคือวิปัสสนา มันก็น่าหัว เริ่มรู้จักนิวรณ์ให้ถูกต้องดีๆซะก่อน มันจะเกิดความอยากที่จะกำจัดนิวรณ์ และมาปฏิบัติวิปัสสนา ทีนี้ก็มาถึงชุดที่สองก็คือ กิเลส กิเลสต่างจากนิวรณ์ก็คือว่ามันเต็มรูป ไม่ conscious เต็มรูปแบบและก็มีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ามาทางตา ทางหู หรือว่าทางจมูกก็ได้ และก็มาปรุงแต่งกันจนเป็นผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน อย่างที่ว่ามาแล้ว แยกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น โลภะ กิเลสพวกนี้ต้องการจะดึงเข้ามาข้างใน ดึงเข้ามาหาตัว เพราะมันชอบ กิเลสกลุ่มที่สอง คือ โทสะ ผลักออกไป ผลักออกไป เพราะมันไม่ชอบ กิเลสกลุ่มที่สาม เวียนอยู่รอบๆๆๆ เพราะมันไม่รู้ว่าเป็นอะไรแน่ กิเลสมากมายหลายสิบหลายร้อยอย่างแต่สรุปได้เป็นสามกลุ่มอย่างนี้ เกิดขึ้นเมือไหร่ร้อนเป็นไฟ ร้อนเป็นไฟยิ่งกว่านิวรณ์หลายเท่านัก ควรจะรู้จักไว้ มันมาเป็นคราวๆ และมาบ่อยน้อย คือไม่บ่อยนัก ส่วนนิวรณ์จะเรื่อยๆตลอดเวลา ถ้าว่ากิเลสทั้งสามพวกไม่รบกวนเรา เราก็เรียกว่ามีชีวิตใหม่ได้ หมวดที่ ๓ อนุสัย เมื่อจิตเกิดกิเลสครั้งหนึ่งจะเก็บความเคยชินๆที่จะเป็นอีกไว้หน่วยหนึ่งของสันดาน นี่เรียกว่าอนุสัย ถ้าเกิดกิเลสทางโลภครั้งหนึ่ง ก็เกิดความเคยชินที่จะโลภเก็บไว้หน่วยหนึ่ง ถ้าโกรธครั้งหนึ่ง ก็จะเก็บความเคยชินที่จะโกรธไว้หนึ่ง เกิดหลง โง่ โมหะ ครั้งหนึ่งก็เก็บความเคยชินไว้ครั้งหนึ่ง สะสมไว้ๆอยู่ในจิตในสันดานของจิต พร้อมที่กลับออกมา ยิ่งเก็บไว้มากเท่าไรยิ่งพร้อมที่จะกลับออกมา เหมือนว่าในโอ่งในภาชนะที่มีรูรั่ว ถ้าเราใส่น้ำมากมันก็ดันออกมามาก ถ้าใส่น้ำน้อยมันก็ดันออกมาน้อย ถ้าในจิตเนี่ยมันเก็บอนุสัยไว้มาก มันก็อนุสัยที่จะให้กลับมาเป็นกิเลสนั้นมาก เรียกว่าอนุสัย บางทีก็ออกมาเป็นนิวรณ์ อย่างที่ว่า บางทีก็ออกมาเป็นกิเลสอย่างที่กำลังกล่าว นี่เรียกว่า อนุสัย ความเคยชินแห่งกิเลสที่เก็บสะสมไว้ในสันดาน ทีนี้ชุดที่ ๔ อาสวะ ตัวหนังสือแปลว่า ไหลออก เมื่ออนุสัยเก็บไว้มากๆ มันก็มีความที่จะดันออกมาก เหมือนกับที่ว่าโอ่งน้ำมันมีรู ถ้าน้ำมากมันดันออกมาก น้ำน้อยมันดันออกน้อย ที่ดันออกมาเรียกว่า อาสวะ ก็คือกิเลสที่กลับออกมา กิเลสที่กลับเกิดนั่นเอง อาสวะ ทีแรกเกิดกิเลสเก็บไว้เป็นอนุสัย และในอนุสัยก็ดันกลับออกมาเป็นอาสวะ ก็คือกิเลสที่เกิดอยู่ทั่วไปนั่นอีก กิเลสที่ดันกลับออกมา ไหลกลับออกมา เรียกว่า อาสวะ เราเรียนธรรมะ เราปฎิบัติธรรมะเพื่อควบคุม หรือเพื่อบรรเลาลดลง หรือเพื่อกำจัดเสียซึ่งกิเลสเหล่านี้ เราจึงได้ชื่อว่ามีอำนาจเหนือกิเลส เป็นชีวิตใหม่ ทีนี้ก็มาถึงประโยชน์ข้อที่ ๒ ประโยชน์อย่างที่ ๒ เมื่อเราจะมีความสุขอย่างแท้จริง ความสุขมีสองชนิด ความสุขแท้จริง กับ ความสุขไม่แท้จริงคือ หลอกลวง ความสุขที่แท้จริงมาจากที่เราบรรเทาอัตตา egotism ได้เท่าไหร่ ไม่ต้องซื้อด้วยเงิน นี่เป็นความสุขทางจิต ปฎิบัติถูกต้องทางจิตและก็ได้มา ความสุขหลอกลวงความสุขไม่แท้จริง ซื้อได้ด้วยเงินเหมือนที่คนทั้งหลายในโลกเวลานี้เค้าหาเงินเพื่อซื้อหาความสุข แต่ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงเป็นความสุขหลอกลวง เรียกว่าความเพลิดเพลินที่หลอกลวง ดีกว่าที่จะเรียกความสุข เดี๋ยวนี้เราไม่ไปโง่ เอาความเพลิดเพลินที่หลอกลวง แต่เราก็มาได้ความสุขที่แท้จริง ซึ่งมีลักษณะต่างกันมาก ถ้าเป็นความสุขที่แท้จริงมันหยุดวิ่ง หยุดวิ่งไปวิ่งมา และมันก็เย็นๆๆๆ และมันก็ยอมได้ ไม่ต่อสู้ให้เกิดเรื่อง นี่ความสุขที่แท้จริง พูดสั้นๆอีกทีว่า ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องใช้เงินเละทำให้เงินเหลือ ความสุขที่หลอกลวงใช้เงินเท่าไรก็ไม่พอ ทีนี้ประโยชน์ชั้นที่ ๓ ประโยชน์ที่ ๓ จะทำให้เราเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะทำหน้าที่ของเรา ไม่ว่าเราจะมีหน้าที่เป็นนักธุรกิจ หรือเป็นพระ หรือหน้าที่อะไรก็ตามแต่ ทุกๆหน้าที่ถ้าเรามีธรรมะ เราปฎิบัติธรรมะอย่างควบคุมกิเลสได้อย่างนี้แล้ว เรามีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ทุกอย่าง ให้เรียบร้อย ให้เสร็จโดยง่าย ให้มีผลดีที่สุด เพราะจิตได้รับอบรมแล้ว เท่านี้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ เราจะมีความสามารถ เราจะมีความว่องไว และจะมีความเหมาะสมแก่หน้าทุกอย่างที่เรามี นี้คือประโยชน์ที่ ๓ ทีนี้ประโยชน์ที่ ๔ อันสุดท้าย เราจะมีความเหมาะสมสำหรับการสมาคม เหมาะสำหรับเรา เหมาะสำหรับที่เราจะไปคบเขา เมื่อเราไม่มี selfishness หรือมีน้อย มันก็ง่ายที่จะไปคบเขา และเขาก็ง่ายที่จะคบเราถ้าเรามี selfishness น้อย เหมาะที่จะสมาคมเป็นอยู่ร่วมกันในโลก ทั้งฝ่ายที่เราจะคบเขา หรือฝ่ายที่เขาจะคบเรา นี่เป็นประโยชน์ที่ ๔ ในที่สุดเรามีประโยชน์ ๔ อย่างนี้เป็นหลักสำคัญที่จะเรียกว่ามีชีวิตใหม่ ใหม่คือไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของสันชาตญาณ หรือกิเลส และก็มีชีวิตชนิดที่เรียกตามตัวหนังสือว่าเย็น เย็น คือไม่มีร้อน คำว่านิพพาน นิพพานหนะ ก็แปลว่าเย็นไม่มีความร้อน ต่อไปนี้จะมีชีวิตเย็นซึ่งเป็นปกติ และเป็นสุข และความสามารถแคล่วคล่องว่องไวในการปฏิบัติหน้าที่การงานในการที่จะเป็นมิตรสหายแก่กันและกันเรียกว่า ชิวิตใหม่ ขอให้ท่านสนใจทำความเข้าใจธรรมะ และก็ปฎิบัติธรรมะให้ธรรมะช่วยชะล้าง egotism ออกไปๆๆ นั่นแหละคือตัวแท้ของวิปัสสนา และผลของวิปัสสนา คือมีชิวิตที่ปราศจากอำนาจของ egotism ถือว่าเราได้ทำความเข้าใจกัน เหมือนกับว่าเรากับว่า เราได้ทำสัญญากัน ว่าทุกคนจะช่วยตัวเองๆๆๆ ด้วยการปฎิบัติธรรมะให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง หวังว่าทุกคนจะพบชีวิตใหม่และขอยุติการบรรยายในวันนี้