แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นักเรียนนักศึกษาท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย วันนี้จะพูดกันเรื่องอะไรดี ยังนึกไม่ค่อยออก แต่มันก็จะต้องนึกถึงเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ตั้งใจมาฟัง แล้วก็จะต้องเป็นเรื่องพื้นฐานเบื้องต้นทั่วไป สำหรับจะได้เข้าใจสิ่งที่สูงกว่าหรือลึกกว่า นอกไปกว่านั้นอีกก็เราจะต้องพูดกันในรูปแบบที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ ไอ้เรื่องที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นนี่ดูจะไม่มีอะไรดีไปกว่าเรื่องที่ว่า ชีวิตของคนเรานี่มันคืออะไรมันเป็นอย่างไร มันมีอะไรอย่างไรมันจึงได้มีกิเลส มันจึงได้มีความทุกข์ จะได้ศึกษาขึ้นมาได้ตามลำดับ และที่ว่าพุทธศาสนามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์นั้นก็คือว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติโดยตรง เราจะต้องรู้แล้วเราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของมัน จึงจะดับทุกข์ได้ และพร้อมกันนั้นก็ไม่ต้องเป็นไสยศาตร์ ต้องไม่เป็นไสยศาสตร์นี่จดจำกันไว้ให้ดีๆ ไสยศาสตร์แปลว่าศาสตร์สำหรับคนหลับ พุทธศาสตร์แปลว่าศาสตร์ของคนตื่น นี่มันก็แสดงเห็นชัดได้แล้วว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์ มันไม่ต้องหลับตาพูด หลับตาสอน หลับตาเชื่อ แล้วก็มีพิธีการออนอ้อนวอนบวงสรวงขอให้ดับทุกข์ ขอให้ช่วยให้พ้นทุกข์ ให้สิ่งอื่นมาช่วยให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ทำเอง นั่นน่ะมันเป็นไสยศาสตร์ ช่วยรู้จักสิ่งไอ้ที่เรียกว่าไสยศาสตร์กันให้ดีๆ ถ้าเป็นพุทธศาสตร์ พุทธะ พุทธะนี่ มันแปลว่าตื่น ตื่นจากหลับ ไสยะ ไสยะ นั่นแปลว่าหลับ
บางคนอาจจะไม่ทราบก็ทราบไปสิว่าคำว่า ไสยะ ไสยะ มันแปลว่าหลับ มันคำเดียวกับ ไสยา ไสยาสน์ ไสยะคือหลับ คนหลับมันจะรู้อะไร พุทธะมันก็คนตื่น ไม่หลับ มันก็รู้อะไรแล้วก็ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ช่วยตัวเองได้ นี่ข้อที่ว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วมันมีความจริงอยู่ในตัว สมมติว่าเราไม่ต้องรู้ก็ได้ว่าพระพุทธเจ้าคือใครเกิดที่ไหน เมื่อไร มีประวัติมาอย่างไร ไม่ต้องรู้ก็ได้ นี่ ถ้าว่าพูดอย่างนี้ไม่ใช่พูดว่าให้เลิก เลิกเรียนพุทธประวัติไม่ได้ แต่ว่ามันไม่ต้องรู้ก็ได้ รู้แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนว่าอย่างไร ความทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร แล้วก็มาพิสูจน์ทดลองดูด้วยสติปัญญาของเรา เห็นว่ามันเกิดขึ้นอย่างนั้นจริง แล้วมันจะดับลงไปได้อย่างนั้นจริง แล้วเราก็ปฏิบัติได้ โดยแม้ที่ แม้ แม้แต่ที่ว่าเราไม่ไม่ได้รู้เลยว่าพระพุทธเจ้าเกิดที่ไหน เมื่อไรนี่ ไอ้หลักเกณฑ์ชนิดนี้พระพุทธเจ้าก็ได้สอนไว้แต่คนไม่ค่อยได้ยิน เรื่อง เรื่องกาลามสูตร แล้วมันก็ควรจะใช้ได้ถึงศาสนาอื่นทั่วๆไป ศาสนาไหนก็ได้ คือไม่ต้องรู้ว่าพระศาสดานั้นๆเป็นลูกใครเกิดที่ไหน เมื่อไร เมืองไหน เด็กๆเป็นอย่างไร เป็นมาอย่างไร มันสำคัญอยู่ที่ว่าเขาสอนอย่างไร ถ้าปฏิบัติตามนั้นแล้วดับทุกข์ได้หรือไม่ พูดอย่างนี้ ไม่ใช่พูดให้ดูหมิ่น นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้าว่าไม่สำคัญ
แต่ว่าถ้ามันเป็นวิทยาศาตร์น่ะมันต้องเป็นอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่ว่าใครพูดใครตรัส มันอยู่ที่ว่ามันมีอยู่อย่างไรในตัวเอง มันมีเหตุผลอย่างไร ปฏิบัติตามแล้วมันก็จะได้ผลอย่างนั้นจริงหรือไม่ แล้วก็ทำด้วยตัวเองแล้วก็ไว้ช่วยตัวเอง นี่พูดไว้ให้เข้าใจว่าพุทธศาสนาน่ะมันเป็นวิทยาศาสตร์ เดี๋ยวถ้ามีใครๆถาม ฝรั่งเขาถาม ถามว่าพุทธยศา พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์คือเป็นอย่างไร เดี๋ยวจะตอบไม่ถูก พุทธศาสนาจริงๆก็เป็นหลักการตามกฎของธรรมชาติที่ดับทุกข์ได้ ที่อยากจะให้ทราบกันเสียด้วยก็คือว่า ไม่ใช่ Philosophy พุทธศาสนานี่ไม่ใช่ Philosophy ไอ้ Philosophy นั้นมันมันมีคำนวณตามเหตุผล แล้วมันต้องตั้งสมมติฐานขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่ได้ดูลงไปที่เรื่องจริงที่ตัวจริง ถ้าพุทธศาสนาเราต้องดูลงไปที่ตัวความทุกข์ ไม่ต้องสมมติฐานอะไรแทนความทุกข์ แล้วก็พิจารณาไปตามเหตุผล ตามหลักของ Philosophy อย่างนี้พุทธศาสนาไม่ใช่ Philosophy แต่มันเป็นวิทยาศาสตร์ หรือจะเรียกเสียให้ถูกว่ามันเป็นศาสนาก็ได้ มันไม่ใช่ Philosophy แล้วมันก็ไม่ได้ใช้วิธีการอย่างผิวเผิน อย่างที่เรียกกันว่า logic เป็นต้น นั้นมันก็มันไม่ก็ไม่ได้เจาะลงไปที่ตัวเครื่องจริงๆ แล้วก็ดูกันจริงๆ มันก็เอามาใส่ฝ่ามือดูพลิกไปพลิกมา แล้วก็รู้ไว้เสียด้วยว่าไอ้ไอ้คนส่วนมากแม้ในโลกนี่ เขาชอบให้พุทธศาสนาเป็น Philosophy แล้วเขาก็จะเรียน Philosophy ของพุทธศาสนา มันก็ได้เหมือนกันแหละ
เขาจะเอาพุทธศาสนาไปทำให้เป็นระบบ Philosophy ก็ได้ก็ทำได้ แต่มันจะดับทุกข์ไม่ได้ และยังเลอะเทอะไปถึงว่า เดี๋ยวนี้คำว่า Philosophy มันแปลเอามาแปลกันว่า ปรัชญา นี่นักศึกษารู้ไว้เถิดว่าไอ้คำนี้มันผิด เป็นเรียกว่าตรงกันข้ามเลย คำว่า ปรัชญาของชาวอินเดียนะ เป็นภาษาอินเดียหรือภาษาสันสกฤต คำว่า ปรัชญา ไม่มีการคำนวณตามแบบ Philosophy เลย มันต้องเรียนจากของจริง แล้วก็รู้แจ้งโดยประจักษ์จากภายใน แล้วก็เหนือเหตุผล ไม่ต้องอาศัยเหตุผล เพราะมันดูลงไปที่ของจริงว่าได้ผลออกมา ไม่ต้อง ไม่ต้องเนื่องอยู่กับเหตุผล ไม่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลนั่นน่ะ มันจึงจะเรียกว่า ปรัชญา เป็นคำเดียวกับคำว่า ปัญญา ปัญญาในภาษาบาลี แต่เราเอายืมคำสันสกฤตมาใช้เป็นรูปศัพท์ ว่า ปรัชญา แล้วก็เอาไปแปลเป็นคำแปลของคำว่า Philosophy อย่างนี้ชาวอินเดียเขาหัวเราะช่วยรู้ไว้ด้วย ชาวอินเดียเขาหัวเราะ เอาคำของเขาไปใช้อย่างผิดๆ ถ้าถามชาวอินเดียว่าไอ้คำว่า Philosophy นั้นควรจะแปลว่าอะไร ชาวอินเดียที่มีความรู้ทางภาษาเขาตอบว่า คำว่า Philosophy นั้นควรจะแปลว่า ทรรศนะ ทรรศนะที่เราได้ยินอยู่ทั่วไป ทรรศนะคือความเห็นนะ ทรรศนะคือมีความหมายตรงกับคำว่า Philosophy แต่ว่าคำว่าปรัชญานั้นมันเลยนั้นไป รู้แจ้งเห็นจริงโดยประจักษ์แก่จิตใจ ไม่ใช่เพียงแต่ทรรศนะ เรื่องอย่างนี้ก็ควรจะรู้ไว้ได้ ควรจะรู้ไว้ด้วยถ้าเธอจะเป็นนักศึกษา ให้ถูกต้องหรือยิ่งๆขึ้นไปก็ควรจะรู้ไอ้เรื่องที่มันเนื่องกันอยู่เหล่านี้ไว้ด้วย
เดี๋ยวนี้เราก็จะศึกษาพุทธศาสนากัน ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์คือเป็นกฏเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเด็ดขาดตามแบบของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็คือตรัสรู้ธรรมชาติ เข้าถึงกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ รู้แจ้งเห็นจริงในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติว่าอย่างไรเหตุไรวิธีใดความทุกข์มันจึงเกิดขึ้นมา อย่างไรวิธีใดความทุกข์มันจึงจะดับลงไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าบังคับธรรมชาติได้ ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าตั้งกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอันนี้ขึ้น แต่ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้ คำว่าตรัสรู้คือค้นพบไอ้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติว่า ความทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างนี้นะเอามาบอก นี้เราก็มีอิสระที่จะพิจารณาดูว่ามันจริงหรือเปล่า ที่ว่าความดับทุกข์ ทางดับทุกข์ เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ถ้าเราเอามาใคร่ครวญดูแล้วเห็นว่า เอ้อ,อาจจะเป็นได้ เราก็พิสูจน์และทดลองสิ ทดลองศึกษาปฏิบัติตามนั้น มันก็จะแสดงออกมาว่าดับทุกข์ได้ อย่างน้อยดับทุกข์ได้ ทีนี้เราจึงจะเอาจริง เอาจริง ปฏิบัติจริง ปฏิบัติเต็มที่ แล้วก็จะดับทุกข์ได้ มันก็เป็นการพิสูจน์ทดลองอะไรกันเสียก่อนตามแบบของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ว่า เขาพูดมาแล้วก็เชื่อ เขาพูดมาแล้วก็เชื่อ ในที่สุดมันกลายเป็นขลังเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นเรื่องของพระเจ้า อ้อนวอนพระเจ้าแล้วก็จะดับทุกข์ได้อย่างนั้น อย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนาละ ไม่สำเร็จได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้องอะไรนอกจากปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ
นี่ขอให้เข้าใจโดยหลักเบื้องต้นโดยหลักพื้นฐานไว้อย่างนี้ มันจะสามรถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ว่าอย่างไรเป็นพุทธอย่างไรไม่ใช่พุทธ ทีนี้ไอ้ความที่ดับทุกข์ได้ ที่จะทำจิตใจไม่ให้เป็นทุกข์น่ะ แต่โบราณแล้วเขาก็กล่าวไว้ ความรู้ในประเทศอินเดียมีกล่าวไว้ว่า เป็นไปได้โดยสามทาง สามวิถีทาง ทางหนึ่งที่แลกด้วยอำนาจความเชื่อ มันเชื่อ เชื่ออย่างนี้ เชื่อโดยประการทั้งปวง มันก็ระงับความเป็นทุกข์ในใจได้เหมือนกันเพราะมันเชื่ออย่างนี้เสียแล้ว เช่นมันเชื่อพระเจ้าเอาจริงๆ ว่าพระเจ้าเป็นผู้บันดาลให้มีความทุกข์ ความเจ็บ ความใคร่ความได้ความเสีย ความแพ้ความชนะอะไรก็ตาม เมื่อเขาเชื่ออย่างนั้นแล้วเขาก็ไม่เป็นทุกข์ได้ นี่เรียกว่าอาศัยไอ้อำนาจของความเชื่อก็จะดับทุกข์ พุทธศาสนาไม่เอาไม่เอาอย่างนั้น เอาอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่สองกำลังจิตมีการฝึกฝนจนบังคับจิตได้ บังคับจิตให้รู้สึกอย่างนี้ อย่าไปรู้สึกอย่างนั้น คืออย่าไปรู้สึกอย่างที่มีความทุกข์แหละ มารู้สึกอย่างที่ไม่มีความทุกข์ ให้หยุดให้เงียบ ให้สงบระงับไปบังคับจิตได้ นี้มันก็มีอยู่มันก็ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีอยู่ ไอ้เราชาวพุทธก็ไม่เอาอย่างนั้น ไม่เอาอย่างนั้น เพราะมันเพียงแต่บังคับไว้เท่านั้น พอหยุดบังคับมันก็โผล่ออกมาอีก ทีนี้อย่างที่สาม ปัญญา ปัญญา ความรู้อย่างถูกต้องแท้จริงในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็นจริงอย่างไร แล้วก็ทำให้ถูกต้องกับเรื่องของมัน มันก็ดับทุกข์ได้ อย่างนี้เรียกว่าด้วยอำนาจของปัญญา วิธีนี้คือวิธีของพุทธศาสนา
วิธีหนึ่งความเชื่ออาศัยอำนาจของความเชื่อ ต้องเชื่อกันอย่างหลับหูหลับตา เชื่ออย่างสุดเหวี่ยงเลย จนกลายเป็นงมงายหรือเป็นอะไรไปโน่น มันก็มันก็ระงับไอ้ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ตลอดเวลาที่มันเชื่อ แต่มันมันไม่ดับได้จริง อีกอย่างหนึ่งก็กำลังจิต เรียกว่าเอากำลังจิตเข้าบังคับไว้ไม่ให้รู้สึกไม่ให้รู้สึกเป็นทุกข์ มันก็ได้ชั่วที่บังคับได้ อย่างที่สาม ปัญญา รู้มันเสียทุกอย่างที่มันเกี่ยวกับความทุกข์ หรือเหตุให้เกิดความทุกข์ หรือสิ่งที่ตรงกันข้ามคือความดับทุกข์ แล้วก็วิธีที่จะให้ถึงจุดนั้นได้อย่างไร มัน มันรู้ด้วยสติปัญญาถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามวิถีทางหรือวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์ และก็ปฏิบัติให้มันถูกต้องตามกฎอันนั้นชนิดที่ความทุกข์มันเกิดไม่ได้ เราจึงไม่มีความทุกข์ มันเป็นอย่างนี้ คำสามคำนี่อย่าเอามาปนกัน ศรัทธา แล้วก็กำลังจิตแล้วก็ เขามักจะเรียกในภาษาบาลีง่ายๆว่า วิริยะ วิริยะ คือกำลังจิต Energy และก็อันที่สามก็คือปัญญา ทีนี้บางคนก็จะพูดว่า อ้าว,ก็ในพุทธศาสนาก็มีศรัทธาไม่ใช่หรือ ก็ถูกแล้วในพุทธศาสนาก็มีการพูดถึงศรัทธา แต่ต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีๆ มีศรัทธา มีแค่มีศรัทธายังดับทุกข์ไม่ได้ ตั้งต้นด้วยศรัทธายังดับทุกข์ไม่ได้ ศรัทธาในพุทธศาสนามันมีอย่างนี้ ว่าทีแรกถ้าคนมันไม่ ไม่ ไม่ไม่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เป็นเด็กๆเป็นอะไรก็ตาม ก็ต้องจับตัวมันให้มาศรัทธาในวิธีการที่ว่าจะดับทุกข์อย่างนี้ แล้วมันยังเป็นเด็ก มันก็ให้ศรัทธาในพระพุทธเจ้าในพระธรรมในพระสงฆ์อย่างที่เธอทั้งหลายก็ควรจะได้ถูกกระทำมาแล้วให้มีศรัทธา อย่างนี้มันไม่ใช่ไม่ใช่ศรัทธาที่ที่แท้จริง คือมันศรัทธาที่เขาบอกให้ศรัทธา
พุทธบริษัทมีศรัทธาที่แท้จริงในตอนเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว หรือว่าเราดับทุกข์ได้เท่าไรน่ะ เราดับทุกข์ได้ไปแล้วเท่าไร ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ตาม หรือเป็นพระอรหันต์ก็ตาม พอดับทุกข์ได้แล้ว เราจึงจะมีศรัทธาเชื่อว่า โอ้,การปฏิบัติอย่างนี้ดับทุกข์ได้จริง นี่ คือศรัทธา ศรัทธาที่แท้จริง คือมันเชื่อจริงเพราะมันได้ผ่านมาแล้ว พิสูจน์แล้วว่ามันดับทุกข์ได้จริง มันเชื่อจริง ดังนั้นเราพูดได้ว่าถ้าเป็นศรัทธาที่แท้จริงมันมาหลังจากการดับทุกข์ได้แล้ว ได้รับผลนั้นแล้ว ศรัทธาที่แท้จริง ศรัทธาที่ยังไม่ทันรู้อะไร บังบังคับให้เชื่อนี้ไม่ใช่ศรัทธาที่แท้จริง แต่มันบางทีมันก็จำเป็นที่จะต้องมี จนถึงกับบางทีต้องหลอกอย่างไร ต้องหลอกอย่างนั้น ต้องหลอกอย่างนี้ ให้เด็กๆเข้ามาเชื่อในหลักการทางศาสนาทางศีลธรรมทางอะไรต่างๆ อย่างนี้ยังไม่ใช่ศรัทธาที่แท้จริง คือคือเขาบังคับให้เชื่อ เขาหลอกให้เชื่อ เขาสอนให้เชื่อ แต่มันยังมีประโยชน์ว่า อ้อ,เอาๆกันไปได้ แต่ขอให้ศรัทธาแล้วปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้ พอดับทุกข์ได้แล้วจึงเห็นจริงด้วยแล้วจึงศรัทธา นี่แท้จริง ดังนั้นศรัทธาสูงสุดแท้จริงมีเมื่อคนเป็นพระอรหันต์แล้ว มองไปข้างหลังเห็นว่า เอ้า,ดับทุกข์ได้จริง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำอย่างนั้นได้จริงเป็นคนแรก เอ้อ,เลยศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมคือปฏิบัติอย่างนั้นแล้วมันก็ดับทุกข์ได้จริงศรัทธาในพระธรรม พระสงฆ์ทั้งหลายคือผู้ที่ปฏิบัติได้อย่างนี้ก็เลยศรัทธาในพระสงฆ์ จึงมีศรัทธาในพระพุทธในพระธรรมในพระสงฆ์ นี่ศรัทธาแท้จริงบริสุทธิ์ผุดผ่อง ภายหลังที่ดับทุกข์ได้แล้ว
ทีนี้ก็ต้องเลยพูดถึงเรื่องสรณาคมน์เสียด้วย เพราะมันเนื่องกัน ไอ้วิธีทำให้ศรัทธาในชั้นต้นที่สุดก็คือรับ เอาจับตัวมาให้รับสรณาคมน์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตามแบบตามวิธี เอามารับสรณาคมน์ คือให้พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์มอบให้ ทั้งๆที่ผู้รับมอบนั้นยังไม่รู้ว่าอะไร แต่ด้วยความเชื่อในผู้มอบให้ ว่าเขาหวังดีเขามอบให้ หรือบางทีมันก็ถูกบังคับบ้างก็ได้ หรือว่ามันกลัวมันมีอะไรเป็นเหตุให้กลัว เขาบอกอันนี้ อันนี้แก้ แก้ แก้ปัญหาได้ แก้กลัวได้ แก้ความตายได้ว่าอย่างนั้นเลย มันก็มีศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ก็เหมือนกัน พระรัตนตรัยก่อนแต่ที่จะดับทุกข์ได้ พระรัตนตรัยในความเชื่อ ตามแบบในความเชื่อ พระรัตนตรัยอย่างนี้มีตั้งแต่ก่อนที่จะดับทุกข์ได้หรือก่อนแต่ที่จะเข้าใจในหลักพระธรรมอย่างแท้จริง หรือจะเอาก่อนแต่ที่จะเข้าใจในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อย่างแท้จริง ให้รับถือไว้ก่อนนี่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ชนิดนี้ คล้ายๆกับในความฝัน ทีนี้ครั้นได้ฟังคำสั่งสอนแนะนำ คำสั่งสอนโดยเฉพาะจากพระพุทธเจ้าเอง จนเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงด้วยหมด ทีนี้ไม่ต้องใครสอนแล้ว เขาจะว่าออกมาเอง เขาจะประกาศตัวมาเองต่อหน้าพระพุทธเจ้าว่า ขอนับถือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ
แต่เดี๋ยวนี้มัน มันไม่ค่อยมี มันไม่ได้ไม่ได้กระทำแก่พระพุทธเจ้าอย่างนั้น มันมีแต่จับตัวมาให้รับสรณาคมน์ก่อน แล้วค่อยว่ากันทีหลัง ไอ้วิธีอย่างนี้ไม่มีอีกเหมือนกันในครั้งพระพุทธเจ้า มันไม่มี มันไม่มีประเพณีหรือธรรมเนียมที่ว่าเอาเด็กมาหาพระพุทธเจ้าแล้วก็ให้พระพุทธเจ้ารับถือ มันไม่มี มันมีแต่ว่าสนทนากับพระพุทธเจ้าจนถึงที่สุด เข้าใจแจ่มแจ้งหมดเลย นั่นจึงเขาว่าของเขาเอง เขาประกาศออกไปเองว่า ข้าพเจ้าขอรับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่นี้ไปจนตลอดชีวิต มันเลยมีสรณาคมน์ ๒ แบบ แบบที่มอบให้ยัดเยียดให้ก่อนที่จะรู้อะไรนั้นก็แบบหนึ่ง แบบที่แท้จริงมันหลังจากที่ได้ฟังธรรมะเข้าใจแล้วจึงยอมรับ และดีกว่านั้นไปอีก ก็คือเมื่อปฏิบัติดับทุกข์ได้จริงแล้วน่ะมันจึงยอมรับทั้งหมดโดยอัตโนมัติ รับสรณาคมน์ทั้งหมดโดยแท้จริง นี่ แม้แต่สรณาคมน์มันก็มี ๒ แบบ แบบที่ยัดเยียดให้ก่อนที่จะรู้จัก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยแท้จริง และก็แบบที่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยแท้จริงแล้วปฏิญญาณออกมาเอง พูดออกมาเอง มันต่างกันอยู่อย่างนี้ แบบไหนจะเป็นวิทยาศาสตร์น่ะลองคิดดู แบบที่รู้โดยประจักษ์แล้วรู้สึกออกมาเองพูดออกมาเอง นั่นแหละมันเป็นเรื่องตกหลักวิทยาศาสตร์ ที่บังคับให้เชื่อนี่หรือว่าหลอกให้เชื่อหรืออะไรก็ตามนี้ มันก็ธรรมดาๆ เพราะมันเป็นวิธีการอันหนึ่งที่จะใช้แก่สังคมที่มันไม่รู้อะไร มันไม่ยังไม่รู้อะไร แต่ว่ามีประโยชน์ก็มีประโยชน์ มันก็มีประโยชน์ก็จะช่วยค่อยดึงให้เข้ามาให้รู้อะไร ดึงมาจากความไม่รู้อะไรให้มันรู้อะไรมันก็มีประโยชน์
ถ้าเราเคยมีศรัทธาแต่เพียงว่าถูกมอบให้โดยพิธี ก็รีบสร้างศรัทธาเสียใหม่ คือปฏิบัติจนดับทุกข์ได้ แล้วก็ศรัทธาจริงขึ้นมาว่ามันปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้ ถ้าอย่างนี้แล้วศรัทธาของเรามันก้าวหน้า ถูกต้องและก้าวหน้าไปหาศรัทธาที่แท้จริง แล้วทีนี้พอปฏิบัติดับทุกข์ได้คิดได้อีกทีหนึ่งก็ศรัทธาสมบูรณ์อีก ศรัทธาอย่างนี้มันมาหลังปัญญา ไอ้ศรัทธาที่มาก่อนปัญญามันก็เป็นศรัทธาทรรศนะงมงายมาก่อนปัญญา เป็นพวกที่หนึ่งมันเชื่อว่าศรัทธาแล้วบังคับจิตแล้วปัญญา ถ้าศรัทธาที่มาก่อนปัญญานั้นน่ะคือเป็นศรัทธาพวกโน้น พวกแรกๆมาก่อนปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาถึงที่สุดแล้วมีศรัทธา แล้วมันก็ไม่ใช่ศรัทธาชนิดนั้นมันมาอยู่ในพวกปัญญา เพราะมันเป็นจิตผลของปัญญา คลอดออกมาจากปัญญา ดังนั้นเราจึงเอามาจัดไว้ในพวกปัญญา ในสามพวกนั้นน่ะ จำไว้ดีๆมีประโยชน์ ว่าดับทุกข์ในใจได้เพราะศรัทธา ไอ้อย่างนี้มันจะต้องไปอย่างไม่รู้ เป็นความเชื่อล้วนๆ เชื่ออย่างงมงายสุดชีวิตจิตใจ แล้วก็มาบังคับจิตได้ มันก็ได้เฉพาะบังคับจิตได้ ฝึกจนบังคับจิตได้เอาอย่างนี้อย่างนั้นไม่เอา อันที่สามก็ ปัญญา ปัญญา ปัญญาก็เลยเป็นลูกน้องของศรัทธา ไอ้ไอ้ศรัทธาเป็นลูกน้องของปัญญา ศรัทธาที่แท้จริงมันอยู่กันตอนนี้
ในหลักปฏิบัติก็มีศรัทธาเหมือนกัน พูดถึงศรัทธาเหมือนกัน แต่เขาหมายถึงศรัทธาที่แท้จริง หลังจากได้ยินได้ฟังมาพอสมควรแล้วเกิดศรัทธา เช่นว่ากุลบุตรได้ฟังธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่สืบๆต่อกันมา หรือในขณะนั้นก็ตามเข้าใจเห็นใจเห็นจริงพอใจแล้วจึงออกบวชด้วยศรัทธา ถ้าอย่างนี้ใช้ได้ เพราะมันมาหลังปัญญา เอาละช่วยจำไว้ว่า ศรัทธามี ๒ แบบ แบบหนึ่งมาก่อนปัญญา แบบหนึ่งมาทีหลังปัญญา ไอ้ที่มาทีหลังปัญญานั่นจะเป็นพุทธศาสนา แล้วก็จะไม่ผิดหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องมีการบังคับให้เชื่อ ทีนี้เรียกว่าเราดูไอ้อะไรล่ะ ทรรศนะโดยรอบที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เกี่ยวกับตัวเรา ว่าเราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในลักษณะอย่างนี้ แล้วเราก็จะได้ศึกษากันให้สมบูรณ์ให้สำเร็จประโยชน์ เอ้า,ทีนี้ก็จะพูดเรื่องที่สำคัญที่ตั้งใจจะพูด คือว่าจะพูดให้สมบูรณ์ตั้งแต่จุดตั้งต้นจนถึงจุดปลายทางเลย แต่ต้องบอกให้รู้กันเสียก่อนว่า ไอ้คำว่าเรา เรานั้นสมมตินะ สมมติ เรา เรา ฟังไปสักเดี๋ยวก็จะเข้าใจได้เองว่า ไอ้เรา เรานั้นไม่มี แต่เดี๋ยวนี้เราไม่มีคำพูดอย่างอื่น เราก็ทำก็ต้องใช้คำพูดว่าเรา เราจะตั้งต้นศึกษาตัวเรา ศึกษาพุทธศาสนาให้รู้จักตัวเรา ในที่สุดเราจะเห็นว่าไอ้ตัวเราโดยแท้จริงไม่มี เป็นความยึดถือ สมมติ สมมติขึ้นมายึดถือ หรือบัญญัติขึ้นมาสำหรับพูดจา
อาจจะตั้งต้นตั้งแต่ว่าเราซึ่งไม่ใช่มีตัวจริงแต่มันต้องใช้คำพูดว่าเรา เราตั้งปฏิสนธิขึ้นมาในท้องแม่ โดยไม่ต้องมีเราหรอก เมื่อบิดามารดาอาศัยกันอย่างถูกต้องตามธรรมชาติแล้ว ทารกก็ตั้งเกิดขึ้นในครรภ์ โดยไม่ต้องมีตัวเรา ไม่ต้องมีตัวเรา ของเรา อาศัยเหตุปัจจัยคือบิดามารดา อาศัยกันอย่างถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ และก็ตั้งต้นมีทารกขึ้นมาในครรภ์ ไม่ใช่เรา แต่เราก็ต้องพูดว่าเราใช่ไหม เราตั้งต้นขึ้นมาในครรภ์ ใช้คำว่าทารกดีกว่า ทารกมันก็ตั้งต้นเกิดขึ้นมาในครรภ์ ไม่มีความรู้สึกคิดนึกอะไร เป็นตามธรรมชาติ เพราะมันไม่มีอวัยวะสำหรับจะสัมผัส คือมันยังไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจที่จะทำหน้าที่ได้ เพียงมันเริ่มจะมี มันยังไม่มี มันยังไม่มีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกายมีใจที่จะสัมผัสได้ เหมือนอย่างเราที่โตแล้วอย่างนี้ ดังนั้นทารกมันก็เหมือนกับ อะไรอย่างหนึ่งเหมือนก้อนหินก้อนหนึ่งอะไรอย่าง ซึ่งในนั้นน่ะมันมีพร้อมที่มันจะเจริญขึ้นมาเป็นชีวิตจิตใจ ต่อมาก็มันเติบโต เติบโตจนมีอวัยวะเป็นตาหูจมูกลิ้นกายใจ แต่มันก็ไม่ยังสัม ยังไม่สัมผัสอะไรเพราะมันอยู่ในท้องแม่สัมผัสไม่ได้ จนกว่ามันจะคลอดออกมา ตาหูจมูกลิ้นกายใจมันก็มีมาด้วย แต่มันก็ยังไม่รู้อะไร ยังไม่รู้อะไร ยังไม่รู้สึกอะไร จนกว่าทารกนั้นจะได้รับการปฏิบัติต่อตามวิธีคือเขาเลี้ยงมันให้มันรอดชีวิต ให้มันกินน้ำ ให้มันกินอะไรมาหลายวัน หลายวันมันจึงจะค่อยลืมตา มันจึงจะค่อยมีความรู้สึกทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ
ในชั้นนี้มันก็ยังไม่รู้อะไร มันยังไม่รู้อะไร มันยังไม่รู้ว่าดีว่าอย่างไรชั่วอย่างไรมันยังไม่รู้ บุญบาปสุขทุกข์อย่างไรมันก็ยังไม่รู้ เป็นความทุกข์เพราะเหตุใด ยังเป็นไม่ไม่ทุกข์เพราะเหตุใด มันก็ยังไม่รู้ คือมันยังไม่รู้ มันยังเป็นธรรมชาติที่ยังไม่ถึงขนาดที่จะรู้ นี่จำไว้ตรงนี้มันเป็นธรรมชาติล้วนๆ ยังไม่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ยึดยึดมั่นถือมั่นอะไร จึงเรียกว่าไม่มีความรู้เรื่องดีชั่ว ไม่มีความรู้สึกสำหรับจะยินดียินร้าย ไม่มีความรู้สึกสำหรับจะเกิดกิเลส เพราะมันยังไม่รู้รู้จักยินดียินร้าย ทีนี้ต่อมาสิ กี่วันก็ตาม เราก็ไม่ไม่ไม่ต้องกำหนดวันที่แน่นอนได้ ไอ้ทารกนั้นน่ะมันเริ่มมีความรู้สึกทางอายตนะ คือทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ หกคำนี้ช่วยจำไว้ดีๆ ไม่ใช่เป็นคำสำหรับเด็กๆโง่ๆเอาไว้พูดล้อเลียนศาสนาเรื่องตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไอ้เรื่องนี้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์สูงสุด สนใจคำว่าตาหูจมูกลิ้นกายใจไว้เถอะ ทีนี้ ตาหูจมูกลิ้นกายใจของเด็กมันถึงขนาดที่จะทำงานได้ ตาก็รับภาพได้ หูก็รับเสียงได้ จมูกก็รับกลิ่นได้ ลิ้นก็รับรสได้ ผิวหนังทั่วไปก็รับสัมผัสได้ ใจก็รับความรู้สึกคิดนึกได้ นี่มันต่างกันมากแล้วไหม เมื่อมันอยู่ในท้องมันไม่มีอะไร เดี๋ยวนี้มันโตถึงขนาดที่ว่ารับอารมณ์ทางไอ้อายตนะทั้งหก ถ้าไม่เคยได้ยินคำว่า อายตนะ ก็ได้ยินเสียสิ คำนี้เขาเรียกว่าอายตนะ คือสิ่งที่รู้สึกได้สิ่งที่ติดต่อได้ด้วยความรู้สึกเรียกว่าอายตนะ อายตนะของเด็กนั้นมันเริ่มทำงาน
ทีนี้มันเริ่มรู้สึกเป็นคู่ ของเป็นคู่ นับตั้งแต่ว่าอร่อยไม่อร่อย นี้จะเป็นเรื่องตั้งต้นของเด็กๆ มันจะต้องกินนมแม่หรือกินอาหารหรือกินอะไรก็ตาม จนกว่ามันจะรู้สึกแยกเป็นอร่อยหรือไม่อร่อย แล้วมันจะสามารถรู้สึกพอใจในอร่อย ไม่พอใจในอร่อย ในไม่อร่อย มันก็เลยเกิดความรู้สึกตรงกันข้ามเป็นคู่คือ อร่อยไม่อร่อย ชอบไม่ชอบ ยินดียินร้าย จากการกระทบสัมผัสทางตาก็เป็นได้ ทางหู ทางจมูกได้ทุกทาง แต่เชื่อว่าอันคู่แรกที่สุดที่เด็กจะรู้สึกแล้วแยกได้ก็คือ ไอ้ทางลิ้นนี่ เพราะมันกินมแม่มันกินนมแม่ มันก็รู้เรื่องอร่อยหรือไม่อร่อย และก็สัมผัสทางผิวหนังเพราะว่าเขาโอบอุ้ม กกกอดอะไรอยู่เสมอสัมผัสทางผิวหนัง มันก็เริ่มรู้สึกไอ้ความนิ่มนวล ความแข็งกระด้างอะไร ต่อมาเขาก็ขับกล่อมร้องเพลงให้ฟังมันก็เริ่มรู้ทางหู ไพเราะไม่ไพเราะ ต่อมามันมีตาเห็นนั่นเห็นนี่ชัดเจนมันก็มีความรู้เรื่องสวยหรือไม่สวย ต่อมามันมีความรู้สังเกตทางจมูกว่าหอมหรือเหม็น มันก็เลยแยกเป็นคู่ๆ และเป็นของตรงกันข้าม นี้คือจุดตั้งต้นของเรื่องอันร้ายกาจที่มันไปยึดมั่น ถือมั่น รสหรือความรู้สึกของสิ่งที่เข้ามากระทบในลักษณะที่เป็นคู่ๆ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะหกอย่างนั้นน่ะ มันจะเข้ามาสู่ความรู้สึกในลักษณะที่เป็นคู่ตรงกันข้าม คืออร่อยไม่อร่อย สวยไม่สวย หอมหรือเหม็น นิ่มนวลหรือกระด้าง ยินดีหรือยินร้าย ให้เกิดความยินดีหรือยินร้าย
ไอ้ความรู้สึกเป็นคู่ๆๆๆเหล่านี้ มันทำให้เกิดความคิดทอดงอกงามออกไปจนเป็นความต้องการเป็นความอยาก แล้วก็เป็นความยึดมั่นถือมั่น จนกระทั่งเกิดความรู้สึกเป็นตัวกูขึ้นมา สำหรับจะจะมีจะได้จะเป็นจะอะไรจะเป็นตัวผู้กระทำนั่น แล้วก็ยึดเอาไอ้ทั้งหมดทั้งหลายนี่มาเป็นของกู มาเป็นของกู นี่ความรู้สึกว่าตัวกูหรือของกูนี่มันเพิ่งเกิด มันไม่ใช่ติดมาแต่ในท้อง หรือมันไม่ได้ติดมาแต่ชาติก่อนถ้าเชื่อชาติก่อน มันเพิ่งมาตั้งต้นตามกฎของธรรมชาติ เด็กต้องโตพอจนถึงกับมีความรู้สึกสิ่งเหล่านี้ได้ ให้มันต้องมีความรู้สึกต่อเวทนาได้ เวทนาคือความรู้สึกนี่ อร่อยไม่อร่อยทุกคู่จนกระทั่งเป็นยินดียินร้าย นี่เวทนาได้เกิดขึ้นแล้ว นี้เด็กโตพอสมควรแล้ว เด็กมีร่างกายแล้วก็มีรูปขันธ์พื้นฐานแล้ว ต่อไปรูปขันธ์นี่ ร่างกายนี่มันทำหน้าที่ของมันโดยตรงก็เรียกว่าไอ้รูปขันธ์โดยตรงมันเกิดแล้ว นี่มันรู้สึกอะไรได้ เวทนาขันธ์มันก็เกิดแล้ว ทีนี้มันก็รู้จักสำคัญมั่นหมายว่าอะไรเป็นอะไร จนมันกระทั่งสำคัญได้อย่างนี้เป็นนม อย่างนี้เป็นขนม อย่างนี้เป็นไอ้อะไรก็ตามเถอะ มัน มันหมายมั่น สำคัญหมายมั่นหรือจำได้ ด้วยความสำคัญมั่นหมายนั้น อย่างนี้เรียกว่าสัญญาขันธ์มันเกิดแล้ว ทีนี้มันก็รู้สึกคิดนึกได้มันก็คิดนึกไปตามนั้นแหละ ตามไอ้สิ่งที่เข้ามาข้อแวดล้อม ก็คิดนึกได้ สัญญา สังขารขันธ์มันเกิดแล้ว
ส่วนวิญญาณขันธ์น่ะมันเกิดแล้วเมื่อมันมีการกระทบทางอายตนะ พอตากระทบรูปก็เกิดวิญญาณวิญญาณขันธ์ทางตา หูได้ยินเสียงก็เกิดวิญญาณขันธ์ทางหู จมูกกระทบกับกลิ่นก็เกิดวิญญาณขันธ์ทางจมูก ลิ้นสัมผัสกับรสมันก็เกิดวิญญาณขันธ์ทางลิ้น ผิวผิวกายผิวหนังประสาททั่วกายสัมผัสกับสิ่งที่มากระทบมันก็เกิดวิญญาณขันธ์ทางผิวกายหรือกาย มีความรู้สึกเกิดขึ้นในจิตมันก็รู้สึกแก่จิตมันก็เกิดไอ้วิญญาณทาง ทาง ทาง ทาง ทางจิตทางใจทางมโน เรียกว่ามโนวิญญาณวิญญาณทางมโน นี่ขันธ์ ๕ มันได้เกิดขึ้นอย่างนี้ จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายไม่น่าสนใจก็ตามใจ แต่นี่เป็นจุดตั้งต้นของการจะศึกษาธรรมะให้ถูกต้องให้ลึกซึ้งจนเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ เมื่อเด็กเขาได้มีการสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีความคิดนึกรู้สึกปรุงแต่งกันครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ก็เรียกว่ามันมีขันธ์ ๕ มันมีขันธ์ ๕ แล้ว ถ้าขันธ์ ๕ มีเฉยๆอย่างนี้ก็เรียกว่าขันธ์ล้วนๆ ถ้าถ้าเด็กนั้นน่ะมันอาศัยไอ้ความไม่รู้ ปราศจากความรู้เพราะมันไม่รู้น่ะเพราะมันไม่เคยเล่าเรียนอะไร มันมีความคิดมากออกไป คือพอมันได้รับอารมณ์ที่อร่อยที่ถูกใจ มันก็อยากยิ่งๆขึ้นไป คืออยากได้อยากมีอยากเอาอยากเป็น ถ้าได้รับชนิดที่ไม่ถูกใจ มันก็อยากที่จะไม่เป็นอยากที่จะทำลายเสีย ตามความยินดียินร้าย นี่เรียกว่าเด็กมันเกิดความอยาก ในสิ่งที่มันพอใจก็อยากได้อยากเอาอยากเป็น ที่ไม่พอใจก็อยากฆ่าอยากทำลาย ไอ้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นเป็น ๒ ฝ่ายอย่างนี้
ต่อมามันก็งอกงามเป็นกิเลส พอมันอยากมากเข้าอยาก ในกรณีที่มันสมมติว่า ทางตาหรือทางหูทางใดทางหนึ่งน่ะ มันพอใจมันถูกใจแล้วมันอยากๆๆๆถึงขีดสูงสุด ไอ้ความอยากนั้นมีตัวจริง แล้วมันก็คลอดไอ้สิ่งที่ไม่จริงออกมาสิ่งหนึ่งคือ ผู้อยาก มันจะรู้สึกว่าผู้อยากเป็นตัวกู ผู้อยากเป็นมัน ทั้งที่ตัวกูไม่ต้องมี ถ้ามีก็มันก็คือคือสิ่งเหล่านั้นแหละ แต่ที่จริงมันได้มีไม่ได้มีตัวกูโดยแท้จริง มันมีไอ้ความรู้สึกผิดๆที่เกิดขึ้นในจิต ว่า ตัวกู ตัวกู ตัวกู กูอยากอยากได้มาเป็นของกูอย่างนี้ ถ้ามันอยากปรารภอะไรปรารภไอ้รูปมันก็เรียกว่ายึดถือรูป ปรารภเวทนามันก็เรียกว่ายึดถือเวทนา ปรารภสัญญาก็เรียกว่ายึดถือสัญญา ปรารภสังขารก็เรียกว่ายึดถือสังขาร ปรารภวิญญาณก็เรียกว่ายึดถือวิญญาณ แล้วแต่ว่าเมื่อไรมันจะมีเหตุให้เกิดความยึดถืออย่างนั้น แต่ว่ามันต้องมาอร่อยถูกใจแล้วอยากพอใจอย่างยิ่งเสียก่อน มันจึงจะปรุงออกมาเป็นไอ้ความรู้สึกยึดถือ มันไม่ได้เป็นของจริงเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นดุ้นเป็นก้อน มันไม่ไม่ใช่ ไม่ใช่ของมันเป็นคอนกรีตเหมือนกับร่างกาย มันเป็นเพียง concept ว่ามันมีความรู้สึกรุนแรงขึ้นมาในในความหมายว่าเป็นตัวกู นี่เรื่องขันธ์ ๕ ที่ไม่ได้ยึดถือยังไม่ได้ยึดถือมันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร พอยึดถือเข้ามันก็มีปัญหาทันที ที่บุคคลนั้นมันจะต้องมีความรู้สึกกระวนกระวาย แล้วแต่เรื่อง มันจะเป็นความหนักอกหนักใจแก่แก่ผู้นั้น แก่ทารกนั้น แก่เด็กคนนั้น นี่เรียกว่าเพราะยึดถือ เพราะจิตมันไปยึดถือเข้า
ก่อนนี้จิตมันไม่ยึดถือยึดถือไม่เป็น เดี๋ยวนี้มันมีความอยาก ความอยากจะปรุงให้เกิดความยึดถือตัณหาให้เกิดอุปาทาน นี้มันยึดถือเป็นมันก็มีการถือ การถือทางจิต แต่แล้วก็มีความหมายอย่างเดียวกับการถือทางกาย เช่น มือของเรานี้ร่างกายนี้ถ้าถืออะไรหิ้วเอาไว้ หิ้วเอาไว้ หรือแม้แต่ที่จะชูมืออย่างเดียวเปล่าๆก็คือถือมือนี้ มันก็หนัก หนักมือหนักมือ เดี๋ยวก็ทนไม่ไหว ไอ้การยึดถือเป็นของหนัก การ ไอ้ ไอ้ ไอ้ ไอ้สิ่งที่ถูกยึดถือนั่นน่ะเป็นของหนัก ไอ้การยึดถือก็มีความทุกข์เพราะมีความหนัก นี่ถ้าว่ายึดถือเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ อย่างใดก็ตาม ตามกรณีนั้นๆมันก็มีความทุกข์มีความหนักของการยึดถือนั้นๆ เรื่องละเอียดเรื่องลึกซึ้งของหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา ถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้วก็จะเข้าใจขั้นลึกถึงหัวใจพื้นฐานของพุทธศาสนา แล้วจะเรียนทุกเรื่องได้ เพราะความทุกข์มันเกิดขึ้นมาด้วยอาการอย่างนี้ เพราะยึดถือน่ะ ยึดถือนี่ก็มาจากความอยากคือตัณหา ตัณหาคืออยาก ความอยากเอามาจากอวิชชาคือความโง่ ไม่อยากก็ได้แต่มันก็ต้องอยาก อยากด้วยอำนาจไม่มีไม่มีความรู้ คือตามธรรมชาติที่ไม่มีความรู้มันก็อยาก พอมันอยากอยากมากเข้าก็ยึดถือเป็นตัวกูผู้อยาก แล้วมันก็มีตัวกู ก็เป็นของหนักแก่ตัวกูเรียกว่าเป็นทุกข์ เป็นของหนักแก่ชีวิตนั้นเอง กล่าวโดยทั่วๆไป ก็ไอ้ขันธ์ทั้ง ๕ แต่ละขันธ์ละขันธ์นั่นแหละ เป็นของหนักสำหรับผู้ที่ยึดถือ ไม่ยึดถือก็ไม่หนัก ถ้ายึดถือเมื่อไรก็หนักเมื่อนั้น
การยึดถือของหนักเป็นความทุกข์ การวางของหนักลงเสียเป็นความสุขคือไม่ทุกข์ วางของหนักเสียแล้ว ไม่หยิบอะไรขึ้นมาเป็นของหนักอีก ก็เป็นพระอรหันต์ นี่เรื่องหัวข้อพื้นฐานโดยโดยส่วนลึกมันเป็นอย่างนี้ ทีนี้จะทำอย่างไร เด็กๆก็ไม่มีความรู้มาแต่ในท้อง เป็นคำพูดที่น่าหัว อยู่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสเองว่า เด็กทารกนั้นไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ดังนั้นเด็กทารกนั้นก็อยากและก็ยึดถือ นี่ฟังดูมันมันมันเป็นคำที่น่าขันที่สุด เด็กมันไม่ได้เล่าได้เรียนอะไรมันจะรู้เรื่องอะไรเรื่องเจโตวิมุติ เรื่องปัญญาวิมุติ ก็หมายความว่ามันไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติปัญญาวิมุติตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติมันไม่มี แต่ก็ต้องพูดให้มันชัดลงไปว่า เด็กนั้นทารกนั้นมันไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ มันจึงอยาก มันจึงยึดถือแล้วมันจึงเป็นทุกข์ นี่ มันได้แก่พวกเราทุกคนที่เคยเป็นเด็ก มันตั้งต้นมาตั้งแต่เมื่อไร อายุเท่าไร อายุกี่เดือนอายุกี่วัน ไปใคร่ครวญ ทดสอบสวนดูเองก็พอจะเข้าใจได้ มันก็เริ่มรู้สึกอยากเพราะพอใจ ไอ้สิ่งที่เข้ามากระทบเราทางตาหูจมูกลิ้นกายใจจากข้างนอกน่ะ มันก็มีให้รสเป็นสองฝ่ายคือพอใจกับไม่พอใจ คือถูกกับความรู้สึกหรือไม่ถูกกับความรู้สึก คืออร่อยหรือไม่อร่อย คำว่าอร่อยนี้ใช้ได้ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเอง คืออร่อยหรือไม่อร่อยได้ทั้งนั้น แล้วเด็กมันปราศจากความรู้เรื่องนี้นี่ มันก็รู้สึกอร่อยคือมันหลงในความอร่อยแล้วมันก็อยาก
ถ้ามันยังไม่ได้กินมันก็อยากจะกิน ถ้ามันกินแล้วมันก็อยากจะมีให้มากขึ้นไป อยากจะสงวนอยากจะสะสมกักตุน มันอยากจะมีเป็นเจ้าของอยู่นั่นแหละ ความอยากรุนแรงแล้วก็เกิดความคิดเป็นตัวกูผู้อยาก และเอามาเป็นของกู นี่ความรู้สึกว่าตัวกูของกูมันเกิดขึ้นอย่างนี้ ดังนั้นก็ได้แก่สิ่งที่เราเรียกว่า ตัวเรา ตัวเรา เข้าใจกันตอนนี้แหละว่า เอ้อ,ไอ้ตัวเรานั้นมันมิได้เป็นของจริง มันมิได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงผลิตผลของความอยาก ซึ่งให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูของกูขึ้นมา ตัณหาให้เกิดอุปทานอย่างนี้ มันเป็นผลิตผลที่เกิดมาจากความอยาก ทำให้ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูของกู ไอ้ความอยากมันก็มาจากความโง่ เพราะเราไม่ได้ศึกษามาแต่ก่อนว่าความอยากทำให้เกิดทุกข์ ไอ้เด็กนั่นมันก็อยากตามธรรมชาติ เพราะมันไม่มีความรู้ มันปราศจากความรู้ เพราะฉะนั้นท่านจึงพูดว่ามาจากอวิชชา ภาวะที่ปราศจากความรู้น่ะเรียกว่าอวิชชา เด็กตั้งต้นเกิดขึ้นมาในโลกนี้ไม่มีความรู้ ปราศจากความรู้ มันก็มี มี มีภาวะปราศจากความรู้ คือมีอวิชชา มันจึงทำผิดได้เรื่อยมาทุกขั้นตอนจนได้มีความทุกข์ นี้เราจะพูดว่าไอ้ความทุกข์มาจากอวิชชาก็ได้ ต้นตอเลย ก็ถูก จะพูดว่าความทุกข์มาจากตัณหาคือความอยากก็ถูก จะพูดว่าไอ้ทุกข์มาจากอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นยิ่งถูกใหญ่ยิ่งใกล้ชิด ยิ่งเห็นชัดและใกล้ชิด
มันมีบทยืนยันอยู่แล้วว่า ถ้ากล่าวโดยสรุปแล้วเบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานเป็นตัวทุกข์ ถ้าไม่เป็นอุปาทาน ถ้าไม่มีอุปาทานไม่เป็นตัวทุกข์ บทสวดมนต์บทนั้นนะสำคัญมากนะ ถือเป็นหลักสำหรับจะศึกษาให้แตกฉาน สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง รูปูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ นั่นน่ะเป็นบทสำคัญที่สุด ขันธ์ ๕ ยึดถือแล้วก็เป็นทุกช์ ทุกข์เพราะยึดถือ ยึดถือเพราะอยาก อยากเพราะอวิชชา ถ้าพูดให้ชัดที่สุดเฉพาะตัวโดยตรงแล้วก็พูดว่าความทุกข์มาจากยึดถือ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเป็นหลักกลางๆๆกว้างๆกว่านั้น ว่ามาจากตัณหาคือความอยาก แต่แล้วความอยากมันก็ให้เกิดความยึดถือจึงจะเป็นทุกข์ได้ ถ้ามันมีความยึดถือมันไม่ไม่ไม่ไม่มีอาการแห่งความทุกข์ ฉะนั้นเราจึงรู้จักความยึดถือไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่ให้เป็นทุกข์ สร้างปัญหายึดถือว่าตัวตนว่าของตนนี่เป็นอยากเป็นยึดถือ โดยหลักโดยประธานว่าตัวตนว่าของตน ทีนี้มันก็ยึดถือไอ้ของกูอีกทีหนึ่ง ไอ้ไอ้สิ่งที่เอาเป็นของกูน่ะ ก็จะยึดถือเป็นว่า ดี ชั่ว สุข ทุกข์ บุญ บาป ได้หรือเสีย แพ้หรือชนะ ขาดทุนหรือกำไร ทุกคู่ไม่รู้กี่สิบคู่ เป็นคู่ๆนั้น ก็มาจากความยึดถือตามความรู้สึก นี่ยึดถืออย่างนี้เป็นของกู ยึดถืออย่างมีตัวตนเป็นตัวกู ดังนั้นเราจึงมีความยึดถือเป็นสองชั้น อยู่เป็นตัวกูชั้นแรก สำหรับจะมีของกู ยึดถืออัตตาเป็นตัวกู ยึดถืออัตตนิยานั้นน่ะเป็นของกู
อัตตาแปลว่าตัวตนเป็นภาษาธรรมดา แต่ถ้าเครียดเข้มข้นขึ้นมาก็คือตัวกู อัตตนิยาแปลว่าเนื่องอยู่กับอัตตา เนื่องกันอยู่กับอัตตานั่นแหละคือของกู ยึดถือเครียดขึ้นมาก็เป็นของกู ธรรมดาก็เป็นของตน ถ้ามันเครียดขึ้นมาเป็นของกูหรือตัวกู มันก็แย่แล้วมันขนาดเผาเจ้าของ ความรู้สึกผิดๆยึดถือผิดๆนี่เป็นของที่มีมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่ทารกรู้จักสังเกตแยกเป็นคู่ๆอย่างนี้ แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้ แล้วก็พอใจหรือไม่พอใจ มันจะเป็นคู่อย่างนี้เสมอ คือฝ่ายหนึ่งสำหรับจะพอใจอีกฝ่ายหนึ่งสำหรับจะไม่พอใจ เราจึงมีไอ้คำคู่นี่มากมาย หลายสิบคู่ คิดดูเอาเองก็ได้ เคยนับดู สามสิบกว่าคู่ที่นึกออก ไปคิดเอาเองดีกว่า ดีกับชั่ว บุญกับบาป สุขกับทุกข์ ได้กับเสีย แพ้กับชนะ กำไรกับขาดทุน เสียเปรียบกับได้เปรียบ เรื่อยไปเรื่อยไปจนมันเป็นคู่ ในความรู้สึกที่สูงสุดคือเรื่องเพศ เพศคู่ เพศชายก็เป็นที่ประสงค์สำหรับเพศหญิง เพศหญิงก็เป็นที่ประสงค์สำหรับเพศชาย ไอ้ฝ่ายที่ต้องประสงค์ก็เป็นฝ่ายดี ฝ่ายที่ไม่ต้องประสงค์ก็เป็นฝ่ายไม่ดี ฉะนั้นถ้าเรายังมีความรู้สึกยึดถือเป็นของคู่ อยู่เพียงไรเราก็ต้องมีความทุกข์เพราะเหตุอยู่อย่างนั้น เพราะมันให้เกิดกิเลสนี่
ทีนี้ก็มาถึงกิเลส ถ้ามันอยากได้เอามา อยากเอามา อยากเอาเข้ามามันมีลักษณะถูกใจ พอใจ มันก็เกิดกิเลสประเภทแรก โลภะหรือราคะ มีชื่อเรียกอีกหลายอย่างแต่ว่าเรียกกันโดยทั่วไปโลภะคือจะเอาเข้ามา มีลักษณะเป็น positive จะเอาเข้ามา ถ้ามันไม่ถูกใจ มันก็มีความรู้สึกที่จะผลักออกตีออกหรือทำลายเสียให้ตายเลย มีความหมายเป็น negative โดยส่วนใหญ่มันก็มีอยู่อย่างนี้ แต่ที่ถ้าว่ามันยังไม่แน่ว่าพอใจหรือไม่พอใจ มันยังเป็นกลางๆอยู่แต่มันเป็นความรู้สึกด้วยเหมือนกัน มันก็เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยความเป็นห่วงว่าจะต้องต้องดีหรือชั่วนั่นแหละอย่างใดอย่างหนึ่ง ละปล่อยวางก็ไม่ได้ จะทำลายก็ยังไม่ไม่ไม่ไม่แน่ใจก็เลยมีอาการ มันก็วิ่งวนอยู่รอบๆ นี่กิเลสประเภทโมหะ โมหะ มันปนกันไม่แน่ว่าจะเป็น positive หรือเป็น negative จะใช้คำว่าเป็นกลางๆก็ได้ แต่เป็นกลางๆของความรู้สึกที่ประกอบอยู่ด้วยความโง่ความสงสัย นี้กิเลสมี ๓ รูปแบบ ถ้าเราสนสงสัยแล้วเราอยากจะรู้ว่ามันเป็นกิเลสแบบไหน เราก็ใคร่ครวญดูกิริยาอาการ ถ้ากิเลสชนิดที่เป็นเหตุให้ดึงเข้ามาก็เรียกว่าพวกโลภะพวกแรก ถ้าผลักออกไปหรือทำลายเสียก็เป็นพวกที่สองคือโทสะโกธะ ถ้าไม่อย่างนั้นยังไม่แน่ใจอย่างไรก็เป็นพวกโมหะคือวิ่งอยู่รอบๆ ผูกพันอยู่รอบๆ
นี่เป็นเครื่องสังเกตกิเลสว่าจะเป็นตระกูลไหน ตระกูลโลภะหรีอโทสะหรือโมหะ แต่ก็ไม่ไหวทั้งสามนั่นแหล่ะ ทั้สามตระกูลนั่นหละไม่ไหวเกิดขึ้นเมื่อไรมันกัดเอาเมื่อนั้น มันจะเจ็บปวดมันจะร้อนเหมือนกับถูกไฟเผา มันก็เจ็บปวดเหมือนถูกทิ่มตำเสียบแทง มันจะมืดมันจะผูกมัดรัดรึงมันจะตามแบบของของกิเลส เราก็เคยมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว แต่ไม่เคยคิดนึกไม่เคยไม่รู้จัก ไม่ได้ศึกษามาจนรู้จักแยกแยะ เดี๋ยวนี้ก็รู้จักได้ รู้จัก ได้รู้จักกันเสียทีว่าไอ้ความรู้สึกที่เราเคยมี ๓ ประเภทนี้เอามาศึกษาดูใหม่จนรู้จักกิเลสดี คือโทสะ โลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็พิจารณาไอ้ ไอ้ผลที่มันให้เกิดขึ้นจากกิเลส ที่เรียกว่าเกิดผลอะไร มันก็เป็นความทุกข์อย่างไร ความทุกข์ เมื่อโลภมันกระวนกระวายอย่างไร เมื่อโกรธมันร้อนรนอย่างไร เมื่อหลงมันมืดมิดอย่างไร เป็นเรื่องทรมานใจทั้งสามพวก ทีนี้ว่าไอ้ที่มันไปยึดถือเอามาดีมันก็วุ่นวายไปตามแบบดี ชั่วก็วุ่นวายตามแบบชั่ว บุญก็วุ่นวายไปตามแบบบุญ บาปก็วุ่นวายไปตามแบบบาป แพ้ก็วุ่นวายไปตามแบบแพ้ ชนะก็วุ่นวายไปตามแบบชนะ ทุกคู่ แต่ละอย่างของทุกคู่จะมีแต่ความวุ่นวายปรุงแต่ง ฉะนั้นเพื่อจะไม่มีความทุกข์อย่างนั้น ต้องขึ้นไปอยู่เหนือเสีย เหนือบุญเหนือบาปเหนือสุขเหนือทุกข์เหนือคู่ๆทั้งหมดนั่นแหละ กระทั่งเหนือความเป็นหญิงเป็นชายมันก็จะไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ อย่างนี้เราไม่มีคำอื่นเรียก เราเรียกว่ามันว่าง เหนือชั่วขึ้นไปก็เป็นดี ก็ยุ่งตามแบบดี เหนือดีขึ้นไปจึงเป็นว่าง ไอ้ว่างนี่ไม่ยุ่ง เป็นไวพจน์ของนิพพาน นิพพาน นิพพานว่างอย่างยิ่ง นิพพานไม่มีความทุกข์อย่างยิ่ง
แต่จะพูดเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้คนสนใจ เราต้องพูดว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขอย่างนี้เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อ ได้พูดมาแล้วว่าทั้งสุขทั้งทุกข์น่ะมันยุ่ง แต่เดี๋ยวนี้ว่าคนมันไม่รู้จักเหนือสุขเหนือทุกข์ มันก็ต้องพูดว่าสุขอย่างยิ่งเอาไว้ก่อน พระพุทธเจ้าท่านก็พูดหรือตรัสทั้งภาษาคนและภาษาธรรมอย่างนี้เสมอ คือข้อความในพระคัมภีร์ในพระบาลีก็มีข้อความเป็นสองลักษณะอย่างนี้เสมอ ในที่บางแห่งพูดภาษาคนธรรมดาพูด ในที่บางแห่งพูดภาษาธรรมะที่ผู้รู้ธรรมะจึงจะพูดได้ แต่ถ้าพูดว่าสุขนี่ก็พูดภาษาคนธรรมดาพูด ถ้าพูดภาษาผู้รู้พูดก็ว่า สิ้นสุดแห่งความทุกข์ ที่สุดแห่งความทุกข์ สิ้นสุดแห่งความทุกข์ จะไม่พูดว่าสุข นั่นแหละคำพูดที่ถูกต้องแท้จริง เพราะว่าสุขน่ะมันก็มีความทุกข์ตามแบบหนึ่ง คือไปยึดมั่นแล้วมันกัดเอา ไอ้ความสุขนั่นน่ะถ้ามีเข้าแล้วมันไม่ไม่สงบมันวุ่นวายไปตามแบบของความสุข มันตื่นเต้นมันดิ้นรนไปตามแบบของความสุข ไม่ใช่ความสงบ จำไว้ง่ายๆว่า ทั้งสุขและทั้งทุกข์ไม่ใช่ความสงบ คนโบราณเขาเข้าใจเรื่องนี้ดี เขาก็เลยมีคำพูดชนิดที่คนเดี๋ยวนี้ฟังแล้วก็จะตกใจ ตกตะลึง คือเขาพูดว่าทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปปรีย์ ฟังแล้วก็ ฟังแล้วมันร้ายกาจใช่ไหม ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปปรีย์ ทุกคนนี้ต้องการความดี ทีนี้เขามองเห็นแล้วว่าไอ้ดีมันก็วุ่นไปตามแบบดี ไอ้ชั่วมันก็ต้องวุ่นไปตามแบบชั่ว อยู่เหนือดีเหนือชั่วเสีย ไม่วุ่นอะไรเลย เขาจึงพูดว่าทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปปรีย์
อัป แปลว่าไม่ ปรียะแปลว่าน่ารัก ปรี ปรียะ เปมะ …(นาทีที่ 1:00:24) ปรียะ น่ารัก อัปปรียะแปลว่าไม่น่ารัก ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปปรีย์คือไม่น่ารัก อย่าไปเอากับมัน อยู่เหนือ เหนือ เหนือชั่วเหนือดีจึงจะไม่มีปัญหา แต่เดี๋ยวนี้เราก็ยังติดดี เราก็ต้องยุ่งไปตามแบบดี ดีมากก็ยุ่งมาก จนพูดได้ว่ายิ่งดีน่ะยิ่งบ้า ฟังถูกหรือไม่ฟังถูกก็ไปคิดดู ยิ่งดีมันยิ่งบ้า ยิ่งวุ่นวาย ถ้าเหนือดีเสียนั่นแหละจึงจะสงบ คือนิพพาน ดังนั้นไม่ยึดถือทั้งชั่วทั้งดีนั่นน่ะจึงจะมีความสงบสุข เดี๋ยวนี้เราก็อยากดีกันทุกคนใช่ไหม เอาดีมาไว้มากๆมาอัดไว้มากๆ นอนไม่หลับ มันก็เป็นเรื่องที่ยังฝืนความรู้สึกของคนธรรมดาสามัญเดี๋ยวนี้อยู่มาก เพราะพุทธศาสนาไปไกลจนถึงเหนือชั่วเหนือดี เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือบุญเหนือบาป เหนือได้เหนือเสียเหนือแพ้เหนือชนะเหนือกำไรเหนือขาดทุน เหนือ เหนือไปเสียหมดทุกคู่ กระทั่งเหนือความเป็นผู้หญิงเหนือความเป็นผู้ชาย นี่ เรามองอย่างนี้แล้วก็เราจะเดินหน้า มันไม่มีเรื่องอะไรหละ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่แล้วอย่างนั้น ถ้าคิดอย่างนี้ก็เป็นทุกข์ ไปยึดติดในดีในชั่ว คู่ๆๆๆอะไรนั้นก็เป็นทุกข์ ขึ้นเหนือเหนือไอ้ความรู้สึกที่เป็นคู่ๆเหล่านี้ ก็ไม่มีความทุกข์เลย นี่เป็นความจริงอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา ใครเข้าถึงแล้วก็จะดับทุกข์ได้
ไม่มีลักษณะอาการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางไสยศาสตร์ที่ว่าจะบนบานอ้อนวอน ทำพิธีรีตองอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะดับทุกข์ได้นั่นเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ ของคนที่ไม่รู้พุทธศาสตร์ ถ้าว่าเขารู้พุทธศาสตร์ เขาก็รู้จักวิธีกระทำแก่จิตใจ แก่ความรู้สึกคิดนึกเสียใหม่ให้มันถูกต้อง มันไม่ถือมันมันไม่ก็ไม่หนัก ไม่หนักก็ไม่เป็นทุกข์ คือมันไม่ถือ มันไม่ถือไว้ มันว่าง ทีนี้ก็มีปัญหาต่อไปว่า ถ้าเราไม่ยึดถืออะไร เราเราจะทำอะไรได้ไหม นี้ก็มีหลายคนเขาเขาเขาเห็นว่า ถ้าไม่มีความยึดถือคนเราก็ไม่ทำอะไร หรือทำอะไรไม่ได้ ก็อยากจะบอกว่านั่นมันคนโง่ มันเป็นเรื่องของคนโง่ คนโง่จะต้องทำอะไรด้วยความยึดถือ แต่พระอริยเจ้าจะทำอะไรด้วยสติปัญญา สิ่งกระตุ้นให้กระทำมันต่างกันอย่างนี้ ไอ้ motive กำลังที่จะกระตุ้นให้กระทำน่ะมันมีต่างกันอย่างนี้ พวกคนไม่รู้มันก็เต็มไปด้วยความยึดถือ มันก็ใช้ความยึดถือน่ะเป็น motive ทำ motivate ให้คนทำนั่นทำนี่ แต่พระอริยเจ้าไม่มีความยึดถือ ก็เลยอยู่แต่ปัญญาสติปัญญา เอาปัญญา สติปัญญาเป็นเครื่องผลักดันให้กระทำ ก็เลยไม่ ไม่ ไม่ ก็มีผลต่างกัน คนหนึ่งทำด้วยความยึดถือ ด้วยอวิชชา ด้วยตัณหา คนหนึ่งทำด้วยสติปัญญา ผลมันก็ต่างกัน เราก็ทดสอบตัวเราเองดูสิ เดี๋ยวนี้เราพวกเราเดี๋ยวนี้ทุกคนนี่ เราทำอะไรด้วยสติปัญญาหรือว่าทำด้วยความยึดถือ ถ้าทำด้วยตัณหาความอยาก ทำด้วยอุปาทานความยึดถือ นี่เป็น มามาถึงจุดที่จะต้องใช้ให้เป็นประโยชน์แล้ว
เราจะเรียนหนังสือนี่ด้วยความยึดถือหรือว่าจะเรียนด้วยสติปัญญา คนโง่เขาก็จะต้องเรียนด้วยความยึดถือ แล้วเขาก็จะปวดหัวไปพลางเป็นโรคประสาทไปพลาง ถ้าเรียนด้วยสติปัญญาอย่างปกติ มันก็เรียนได้ดีไม่ต้องปวดหัวไปพลางเป็นโรคประสาทไปพลาง หรือจะชัดกว่านี้ก็เราจะทำอะไรโดยสติปัญญา อย่าทำด้วยความหวัง ไอ้หวังนั้นคือโง่คือยึดถือ เอาสิหวังสิลองหวังสิ พอหวังก็ผิดหวังทันที หวัง หวังเมื่อไรก็ได้ แต่พอหวังแล้วมันไม่เป็นไปตามหวังก็ผิดหวัง ตั้งต้นแต่หวังแล้วก็หวัง ผิดหวังตลอดไปนั่นคือความทนทรมาน อย่าทำมันด้วยความหวัง แต่ทำอะไรด้วยสติปัญญารู้ว่าทำอย่างไร ทำอย่างไรถูกต้องสำหรับจะมีผล ไม่ต้องหวัง ไม่ต้องหวัง อย่าไปหวังให้มันกัดเอาเปล่าๆเลย มันจะจะเป็นโรคผิดหวังแล้วมันจะเป็นโรคประสาท รู้ว่าทำอย่างไรก็ทำพอลงมือทำแล้วก็พอใจ โอ้,มันถูกต้องแล้ว เราทำถูกต้องแล้วก็พอใจและเป็นสุข เป็นสุขเสียตั้งแต่เมื่อการงานยังไม่สำเร็จ พอลงมือทำการงานมีความรู้สึกด้วยสติปัญญาทำ แล้วก็รู้สึกว่าถูกต้องแล้วเราทำถูกต้องแล้ว กำลังเดินในทางถูกต้องแล้วก็พอใจ พอใจก็เป็นสุข เป็นสุขตั้งแต่ริเริ่มเริ่มลงมือทำงาน นี่ พุทธบริษัทเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นสุขตลอดเวลา ไม่มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง มีชีวิตอยู่ด้วยสติปัญญา ถ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นนั้นน่ะ ทางหลักพุทธศาสนาเรียกว่าอันธพาล
อันธพาลเหมือนไปเที่ยวปล้นจี้ตามถนนหนทางนั่นน่ะอันธพาล มันแบบนั้นแบบภายนอก แบบภายในคือทำอะไรผิดๆด้วยความโง่เรียกว่าอันธพาล อันธ แปลว่ามืดบอด พาล แปลว่าอ่อนยังอ่อนอยู่ด้วยสติปัญญา อย่าเป็นอันธพาล ทำอะไรด้วยความหวัง ด้วยความอยาก ด้วยความยึดมั่นถือมั่น มันจะกัดเอา กัดเอา กัดเอา เป็นทุกข์ไปพลาง ทำดีไม่ได้ เพราะว่ามันถูกรบกวนด้วยไอ้ความทุกข์ นี้เราก็ไม่ต้องมีความทุกข์ ทำอย่างดี พอใจ เป็นสุข เป็นสุข ที่เคยพูดอยู่ตลอดเวลาว่า ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ไอ้สิ่งที่เรียกว่าหน้าที่น่ะมันคือสิ่งที่จะช่วยเรา ไม่มีใครช่วยเราได้ล่ะนอกจากการทำหน้าที่ พระเจ้าก็ไม่ช่วยถ้าไม่ทำหน้าที่ พระเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ถ้าเราไม่ทำหน้าที่ และพระเจ้าก็จะไม่ช่วยด้วย ถ้าเราไม่ทำหน้าที่ ถ้าเราทำหน้าที่หน้าที่มันจะกลายเป็นพระเจ้ามาช่วยเรา ดังนั้นจงทำหน้าที่ ก็ทำด้วยสติปัญญาทำหน้าที่เพื่อหน้าที่อย่าทำหน้าที่เพื่อตัวกูของกู แต่มันก็อดไม่ได้ถ้าเรายังเป็นคนธรรมดาสามัญอยู่อย่างนี้ เราก็ต้องทำอะไรเพื่อตัวกูของกู แต่ก็ดูว่ามันเป็นความทรมานสักเท่าไร มันเจ็บปวดสักเท่าไร ก็เปลี่ยนเสียสิ ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูเป็นของกู กูทำเอามาเป็นของกูไม่ต้องยึดมั่นอย่างนี้ ทำหน้าที่ก็เพื่อหน้าที่ก็เหมือนเครื่องจักรแล้วผลมันก็ออกมาออกมา ดับทุกข์ได้ ไอ้เงินทองที่เป็นผลของหน้าที่มันก็ไป ไม่ไปไหนเสียแล้วมันก็อยู่ที่นั่น แล้วก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีกเหมือนกัน
ไม่ยึดมั่นในตัวผู้กระทำไม่ยึดมั่นในการกระทำไม่ยึดมั่นในผลของการกระทำ ไม่ยึดมั่นทุกขั้นทุกตอน เลยไม่มีความทุกข์ อยู่เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง นี่คือวิธีดับทุกข์ของพุทธบริษัทหรือพุทธศาสนา เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ มีเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง เห็นได้ด้วยตนเอง ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แล้วก็ดับทุกข์ได้ มีลักษณะอาการเป็นวิทยาศาสตร์อย่างนี้ ไม่มีไสยศาสตร์เจือปนเลย ในอนาคตข้างหน้าถ้าเราถูกพวกอื่นเขาถามในเรื่องนี้ เราตอบให้ถูกว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างนี้ เต็มไปด้วยการท้าทายให้พิสูจน์ให้ทดลองให้แสดงความจริงโดยประจักษ์อยู่เสมอ นี่จะเรียกว่าหลักพื้นฐาน เกี่ยวกับไอ้สิ่งที่เรียกว่าชีวิตหรือตัวเรา จึงเป็นคำพูดที่มายา เป็นมายา เพราะว่าตัวเรามิได้มี แต่เราก็ต้องพูดตามความรู้สึกสามัญทั่วไปว่ามีตัวเรา มีตัวเรา มีตัวเขา แม้พระอรหันต์ก็ต้องพูดอย่างนี้ พูดว่าตัวเรา ตัวเราเหมือนกันแหละภาษาธรรมดาชาวบ้านพูด แต่ไม่มีในความรู้สึกของพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า ดังนั้นเราถือว่าพระอรหันต์น่ะเป็นคนปากอย่างใจอย่าง ปากพูดอย่างเหมือนกับยึดถือ ใจน่ะไม่มีความยึดถือ นี่คล้ายๆ กับว่าเป็นคนโกหก ปากอย่างใจอย่าง แต่โกหกอย่างนี้มันดี มันดี มันไม่มีความทุกข์เลย ปากพูดเป็นชั้นเป็นเราเป็นท่านเป็นอะไร เป็นดีเป็นชั่วเป็นบุญเป็นบาปเป็นอะไรพูดไป แต่จิตไม่ได้ยึดถือ นี่เรียกปากอย่างใจอย่างนั่นแหละวิธีดับทุกข์
คำว่าโกหกมัน มัน มันไม่ใช่จะเอาประโยชน์ของของผู้อื่นมาเป็นของตัว ไอ้โกหกอย่างนี้ไม่เอาประโยชน์ของใคร แต่กลับให้ประโยชน์แก่ทุกคน จะเรียกว่าโกหกอย่างไร ไอ้คนที่ปากอย่างใจอย่างนี่ อย่างพระอรหันต์หรืออย่างพระพุทธเจ้านี่ ท่านเสียสละช่วยคนอื่นอย่างยิ่ง ไม่มีตัวแต่พูดเหมือนกับว่ามีตัว ฉันช่วยท่าน ตถาคตก็ทำอย่างนั้นตถาคตก็ทำอย่างนี้ ตถาคตก็ต้องฉันอาหารเหมือนกับคนทั่วไป พูดอย่างคนธรรมดาพูดเรียกว่า โลกียโวหาร พระพุทธเจ้าก็พูดด้วยโลกียโวหารของประชาชนทั่วไป ให้ประชาชนเขาฟังถูก ไม่อย่างนั้นมันฟังกันไม่ถูก ท่านพูดด้วยโลกียโวหารแต่จิตใจ ไม่ ไม่ ไม่ได้ข้องอยู่ในโลกนั้นเลย ไม่ได้ยึดถือโลก ไม่ได้ยึดถืออะไรในโลก เราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ทันที แน่นอนเราทำไม่ได้ แต่เราจะต้องรู้ไว้และก็พยายามที่จะทำอย่างนั้น ถ้าเราจะต้องพูดว่าตัวฉันของฉัน มีได้มีเสียมีแพ้มีชนะอะไรก็ขอให้มันเป็นเรื่องที่ปากมันพูด ใจอย่าไปยึดถือเข้า ถ้าใจไปยึดถือเข้ามันต้องมีความทุกข์แน่นอน เพราะมันยึดถือ ที่เรียกปุถุชนปุถุชนคนธรรมดาสามัญน่ะมัน เหมือนกับหลับตาอยู่มันยังไม่ลืมตามันก็ต้องลุก ยึด ยึดถือไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนกัน มันก็ต้องยึดถือมันก็มีภาษาพูดสำหรับคนยึดถือ ส่วนผู้ไม่ยึดถือนั้นยังไม่มีภาษาพูดเลยพูดไม่ได้ ก็ต้องพลอยพูดไปตามภาษาของคนทั่ว คนที่ยึดถือคือคนทั่วไป แต่จิตใจของท่านไม่ได้ยึดถือมันต่างกันอย่างนี้
ไอ้คนยึดถือนั่นก็จะเป็นคนพูดปาก ปากกับใจตรงกัน แต่ถ้าผู้ที่ไม่ยึดถือแล้วมันก็พูดปากกับใจไม่ตรงกัน เพราะใจไม่ยึดถือตลอดกาลตลอดเวลาทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ปากก็ต้องพูดอย่างคนธรรมดาสามัญพูดคือ ยึดถือ เรารู้เรื่องนี้ไว้ จะได้รู้จักพูดจาให้มันมีปัญหาน้อยคือมีความทุกข์น้อยเข้า หวังว่าท่านทั้งหลายก็ต้องการจะเป็นพุทธบริษัทให้ถูกต้อง ต้องการเป็นพุทธบริษัทให้มากยิ่งๆขึ้นไป ถ้าอยากจะเป็นพุทธบริษัทให้มากยิ่งๆขึ้นไปก็ลดความยึดถือเถิด ลดความยึดถือ แล้วมันก็จะดับทุกข์ได้ มันก็จะตื่นจากหลับมากขึ้น มันต้องตื่นจากหลับพอสมควรแล้วมันจึงจะปล่อยวางได้ แปลว่าปล่อยวางได้ตามที่มันตื่น ตื่นมากก็ปล่อยวางได้มาก ตื่นน้อยก็ปล่อยวางได้น้อย ตื่นหมดก็ปล่อยวางได้หมด พระอรหันต์เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน พระพุทธเจ้าตื่นเองจึงได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ตื่นเองไม่ได้ต้องพระพุทธเจ้าปลุก จึงเรียกว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์คือธรรมดาทั่วไปอย่างนี้พระพุทธเจ้าต้องปลุก พระพุทธเจ้าท่านตื่นของท่านเองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง เราเป็นสาวกก็เป็นผู้ที่รับการปลุกกันต่อๆต่อๆมา พระอรหันต์ตื่นแล้วก็ช่วยปลุกคนได้เหมือนกันเหมือนพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ผิดกันแต่ว่าตื่นเองไม่ได้ แต่ว่าตื่นแล้วไม่ ไม่ ไม่ ไม่สอนคนไม่ปลุกใครน่ะเขาเรียกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เงียบ พระพุทธเจ้าเงียบไม่พูด ไม่ตื่นไม่ไม่ไม่ปลุกใครเพราะว่าไม่อยากหรือว่าทำไม่ได้ก็ได้แล้วแต่ ไม่ได้สร้างมาเพื่อจะทำและเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องได้รับประโยชน์จากการเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า คือตื่นขึ้นมาตามพระพุทธเจ้า จะได้สมทบอยู่ในหมู่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นกับเขาด้วยเหมือนกัน นี่คือความรู้เรื่องธรรมะเรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา และอีกอย่างหนึ่งก็ก็จะสังเกตให้เห็นว่าเป็นความรู้ กฎของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์เอาเอง แต่ว่ารู้กฎของธรรมชาติเอามาสอน ทุกคนปฏิบัติได้ เรากล้าพูดกล้าท้าทายว่าให้เขาถือศาสนาคริสต์ก็ได้ถือศาสนาอิสลามก็ได้ฮินดูก็ได้ซิกข์ก็ได้ อะไรก็ได้เขาจะถือศาสนาอะไรก็ได้ ถ้าเขามาปฏิบัติอย่างนี้แล้วนั่นแหละเขาจะไม่มีความทุกข์ ถ้าเขาปฏิบัติดับทุกข์ได้หมดสิ้นเชิงนั่นแหละ เขาจะได้เป็นชื่อว่าถือศาสนานั้นๆตามแบบของเขา ถูกต้องโดยสมบูรณ์ขึ้นมา ถ้ามันดับทุกข์ไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร จะถือศาสนาคริสต์อิสลามฮินดูอะไรก็ตาม ถ้ามันจะสำเร็จประโยชน์ได้มันต้องดับทุกข์ได้ ดังนั้นเมื่อดับทุกข์ได้นั่นก็เรียกว่าสำเร็จประโยชน์ในการถือศาสนาไม่ว่าศาสนาอะไร เป็นของกลางของธรรมชาติอย่างนี้ เป็นของวิทยาศาสตร์เป็นของธรรมชาติอย่างนี้ ช่วยสอนพุทธศาสนากันในลักษณะอย่างนี้ ปฏิบัติพุทธศาสนากันในลักษณะอย่างนี้ แล้วก็จะได้รับผลตามธรรมชาติ ธรรมชาติคือสิ่งที่เป็นอยู่เองตามธรรมชาติ แล้วมันก็มีกฎเกณฑ์ของมันเรียกว่ากฎของธรรมชาติ มีประจำอยู่ในตัวธรรมชาติเหล่านั้น
ทีนี้เราต้องรู้หน้าที่ที่เราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น นี่เรียกว่าหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ แล้วเราก็จะได้รับผลจากหน้าที่นั้นๆ มีอยู่ ๔ ขั้นตอน ตัวธรรมชาติอย่างหนึ่ง ตัวกฎของธรรมชาติอย่างหนึ่ง ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติอย่างหนึ่ง ผลที่เกิดจากหน้าที่อย่างหนึ่ง ทีนี้ตัวธรรมชาติอื่นๆช่างหัวมันเถอะ ไอ้ตัวธรรมชาติที่มันเป็นปัญหาก็คือดุ้นนี้ ตัวนี้ ร่างกายนี้ ร่างกายที่ยาววาหนึ่งนี่ ยังเป็นๆอยู่นี่ เป็นธรรมชาติที่มีปัญหา ร่างกายด้วย ร่างกาย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณประกอบไปด้วยธาตุ เป็นร่างกายอยู่อย่างนี้ ผมขนเล็บฟันหนังกี่ส่วนๆ เอามาดูเถอะ มันเป็นตัวธรรมชาติอยู่อย่างนี้ เรียกว่าตัวธรรมชาติในร่างกายนี้ และธรรมชาติทุกๆสูตร จะเรียกว่าทุกเซลล์ทุกปรมาณูก็ได้ ธรรมชาติเหล่านี้มีกฎของธรรมชาติควบคุมอยู่ เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ และจึงต้องบริหารร่างกายนี้ ต้องกิน ต้องอาบ ต้องถ่าย ต้องอะไรตามกฎของธรรมชาตินี้ในส่วนร่างกาย ที่เป็นส่วนจิตใจก็ต้องบริหารอย่างนั้นถูกต้องอย่างนั้น จึงจะไม่เป็นโรคประสาท จึงจะไม่เป็นบ้า จึงจะไม่เป็นอะไร นี่กฎของธรรมชาติมันมีอยู่อย่างไร เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์อันนั้นนี่ สิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่จึงสำคัญที่สุด สิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่นั่นแหละคือธรรมะที่จะช่วยเราได้
นี่ขอให้ทุกคนรู้จักหน้าที่ว่าเป็นธรรมะ ธรรมะเป็นหน้าที่ หน้าที่เป็นธรรมะ ธรรมะเป็นหน้าที่ อย่าบกพร่องหรือผิดพลาดในสิ่งซึ่งเป็นหน้าที่ พอได้ทำหน้าก็รู้สึกว่า โอ้,ได้ปฏิบัติธรรมะ แล้วก็พอใจ พอใจก็เป็นสุข เป็นสุขเมื่อปฏิบัติหน้าที่ มิฉะนั้นเราจะเป็นทุกข์เมื่อปฏิบัติหน้าที่ คนธรรมดาจะรู้สึกเป็นทุกข์เมื่อปฏิบัติหน้าที่ มันเป็นคนโง่ช่างหัวมัน ถ้าเราจะเป็นพุทธบริษัท เราต้องไม่เป็นทุกข์เมื่อปฏิบัติหน้าที่ เพราะว่ามันเป็นธรรมะคือสิ่งที่จะช่วยให้รอด จึงปฏิบัติด้วยความพอใจมีปิติปราโมทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นสุขไปพลางปฏิบัติหน้าที่ไปพลาง ก็เลยมี เป็นสุขตลอดเวลาที่ที่ทำหน้าที่ ถ้าเป็นหน้าที่ที่มีผลเป็นเงินเป็นทอง มันก็ไม่ไปไหนมันก็ออกมาเป็นเงินเป็นทอง จะใช้จ่ายให้มันถูกต้องต่อไปก็ได้ แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราจะไม่มีความทุกข์แม้ขณะที่ลงมือปฏิบัติหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะธรรมะคือหน้าที่ ธรรมะคือสิ่งที่ช่วยให้รอดเราก็เลยรอด หน้าที่คือธรรมะคือสิ่งสูงสุดต้องเคารพต้องกระทำ แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็เคารพธรรมะคือเคารพหน้าที่ เคารพหน้าที่ของท่านในฐานะเป็นพระพุทธเจ้าจะต้องทำอย่างไร ท่านก็เคารพหน้าที่ของท่าน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เคารพหน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ ในลักษณะอย่างนี้
หวังว่าทุกๆคนคงจะทำหน้าที่ด้วยความพอใจและเป็นสุขเมื่อทำหน้าที่ เมื่อกำลังทำหน้าที่ แล้วแต่เป็นอะไรเป็นนักเรียนนักศึกษา เป็นครูบาอาจารย์ เป็น หน้าที่ทุกอย่างเป็นเป็นธรรมะทั้งนั้น กระทั่งหน้าที่ส่วนตัว ที่จะกินอาหาร จะอาบน้ำ จะล้างหน้า จะถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ ทำหน้าที่ส่วนตัวนี้ก็เป็นธรรมะ ธรรมะน้อยๆ ธรรมะส่วนตัว ธรรมะส่วนบริหารชีวิต ทำเถอะแล้วก็เป็นธรรมะก็พอใจ ไอ้หน้าที่เลี้ยงชีวิต หน้าที่การงานที่ออฟฟิศที่ไหนก็ทำเถอะ ให้มันเป็นที่พอใจสนุกสนานในการทำ เป็นชาวไร่ชาวนาก็ได้ เป็นพ่อค้าก็ได้ ข้าราชการก็ได้ เป็นกรรมกรก็ได้ ถีบสามล้อแจวเรือจ้างอย่างพอใจสนุกสนานไม่มีความทุกข์ ถ้ามันเป็นคนพิการก็ขอทานก็ได้ ขอทานอย่างเป็นที่พอใจอย่างสนุก มันก็ช่วยตัวได้ มันก็จะพ้นจากสภาพนั้นๆ เดี๋ยวนี้คนไม่เห็นว่าไอ้ธรรมะคือหน้าที่ มันก็ไม่ชอบทำมันก็โกรธมันก็สาบแช่งด่าตัวเอง ด่าผีสางเทวดาโชคชะตาราศีไม่มาช่วยอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะมันไม่รู้ว่าหน้าที่คือสิ่งที่จะช่วยได้ โชคดีที่สุดก็คือเมื่อทำหน้าที่ถูกต้องที่สุด แล้วมันก็ได้รับผลดีที่สุด ขอให้ทุกคนรู้จักสิ่งสูงสุดที่จะต้องประพฤติปฏิบัติคือสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ แล้วมันก็เป็นสิ่งเดียวกับ ธรรมะ ธรรมะ ธรรมะ เมื่อใดปฏิบัติหน้าที่เมื่อนั้นมีธรรมะ เมื่อใดไม่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อนั้นไม่มีธรรมะ แม้ในโบสถ์ ในวัดในโบสถ์ก็ไม่มีธรรมะถ้าไม่ปฏิบติหน้าที่
บางโบสถ์มีแต่นั่งสั่นเซียมซี มีแต่นั่งเคาะอ้อนวอนบวงสรวงขอร้องรดน้ำมนต์ มันไม่ทำหน้าที่อย่างนี้มันไม่มีธรรมะ ธรรมะมันก็เลยไปอยู่กลางทุ่งนา ชาวนาไถนา ชาวสวนทำสวนก็ไปอยู่ที่กลางทุ่งนาถ้ามีธรรมะในโบสถ์ไม่มีธรรมะ ของที่น่าหัว แต่ความจริงมันก็เป็นอย่างนั้น ที่ไหนมีการทำหน้าที่ถูกต้องที่นั้นมีธรรมะ พระพุทธเจ้าทำหน้าที่พระสาวกทุกองค์ทำหน้าที่ พุทธบริษัททุกคนทำหน้าที่ก็ไม่มีปัญหา ธรรมะคือหน้าที่ เขารู้จักพูดคำนี้มาก่อนพระพุทธเจ้าเกิด คนสมัยก่อนโน้นเขารู้จัก มองเห็นสังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นหน้าที่ เขาเรียกชื่อมันว่า ธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ เพราะฉะนั้นหน้าที่หรือธรรมะนี่เอาใช้เป็นคำสำหรับเรียกต่อมาว่า สอนให้ทำหน้าที่ คำสอนในทางศาสนาก็สอนให้ทำหน้าที่ทั้งนั้นก็คือธรรมะ เดี๋ยวนี้เรามันรู้จักกันแต่เพียงว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เท่านั้นมันด้วนเสีย มันไม่รู้ลึกลงไปถึงว่าท่านสอนเรื่องหน้าที่ พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องหน้าที่ แต่ว่ามันในระดับสูง ไม่ใช่ในระดับทำไร่ทำนาทำมาหากินนั้นมันระดับต่ำ เขาก็สอนกันอยู่แล้ว ท่านก็สอนหน้าที่ระดับสูง คือจะเอาชนะความทุกข์เอาชนะกิเลสได้อย่างไร ดังนั้นธรรมะก็คือหน้าที่ที่พระพุทธเจ้าเอามาสอนแล้วเรามันไม่รู้ แล้วเรามันก็ไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ได้รับผลของหน้าที่หรือของพระธรรม
ฉะนั้นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องทุกขั้นตอนแล้วก็พอใจอยู่ตลอดเวลา นี้เรียกว่าเราจะมีความสุขได้ทุกอริยาบถเพราะเราต้องทำหน้าที่อยู่ทุกอริยาบถทุกเวลา แม้ว่าเราจะลุกเดินจากที่นั่งตรงนี้ไปนั่งที่ตรงโน้น ก็มันก็เป็นเรื่องการทำหน้าที่ก็ทำด้วยความพอใจและเป็นสุข แม้แต่ว่าคันขึ้นมาจะเกา จะเอื้อมมือไปเกา ก็รู้สึกด้วยสติสัมปชัญญะเป็นหน้าที่ทำด้วยความพอใจแล้วก็เป็นสุขได้ ทุกอย่างแหละมันทำให้เป็นหน้าที่ที่ทำให้เกิดความสุขได้ อย่าละโอกาสเลย พอมีเรื่องที่จะต้องทำ ก็ทำด้วยสติสัมปชัญญะด้วยความรู้สึกว่าทำหน้าที่ถูกต้องแล้ว เข้าใจ เป็นสุข ทั้งวันตลอดเวลา มันก็เลยเป็นการปฏิบัติธรรมะไปหมด ทั้งคืนก็หลับเสียก็แล้วไป ก็ทำหน้าที่ ทำหน้าที่หลับพักผ่อนเพื่อให้มันมีแรงสำหรับทำหน้าที่ต่อไป ถ้าตื่นอยู่มันก็การทำหน้าที่ที่เคลื่อนไหว แล้วก็รวมกันแล้ว โอ้,มันเต็มไปด้วยความถูกต้อง เต็มไปด้วยความถูกต้อง เรามีความถูกต้อง มีหน้าที่ที่ถูกต้อง พอใจตัวเอง คำว่าพอใจตัวเองเป็นคำสากล ไม่ไม่ใช่ มีแต่ในทางศาสนา เคยได้ยินได้ฟังมานานแล้ว รู้จักตัวเอง เชื่อตัวเอง ช่วยตัวเอง พอใจตัวเอง ไอ้เองๆนี่ได้ยินมานานแล้ว เป็นจริยธรรมสากล พอใจตัวเองได้เมื่อไรก็เป็นความ เรียกว่าสุข เป็นโฆษณาชวนเชื่อ คือไม่ทุกข์ พอใจตัวเองได้เมื่อไรก็หมดปัญหา เราจงเป็นอยู่ด้วยความรู้สึกพอใจตัวเองได้ ยกมือไหว้ตัวเองได้ทุกเมื่อ คำนี้แปลกหน่อย แต่ช่วยจำไปด้วยว่าถ้ายกมือไหว้ตัวเองได้เมื่อไร สวรรค์เมื่อนั้น
สวรรค์แท้จริงอยู่ตรงยกมือไหว้ตัวเองได้ สวรรค์ต่อตายแล้วนั้นมันไม่แน่มันเห็นไม่ได้มันรู้ไม่ได้ ที่มันแน่ๆ แน่ๆก็คือพอใจตัวเองจนยกมือไหว้ตัวเองได้ แล้วการกระทำอย่างนี้แหละที่มันจะได้สวรรค์ต่อตายแล้ว สวรรค์กี่ชนิดถ้ามันจะมีนะ มันจะได้ด้วยการประพฤติกระทำถูกต้องจนยกมือไหว้ตัวเองได้ เพราะฉะนั้นสวรรค์ที่แท้จริงอยู่ที่นี่ เอ้อ,ขอบอกส่วนตัวนิดหนึ่งว่าเราพูดอย่างนี้ มีคนเขียนจดหมายมาด่าเยอะแยะว่าเรายกเลิกสวรรค์ เรายกเลิกสวรรค์ของคนแต่กาลก่อนหรือว่าเราเป็นมิจฉาทิฐิยกเลิกสวรรค์ เราบอกให้รู้จักนรกสวรรค์ที่ใกล้ชิดที่สุด ที่มันมีอยู่ที่หูตาจมูกลิ้นกายใจ เขาด่าเราว่ายกเลิกสวรรค์เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นเดรัจถีย์ เป็นอะไรไม่รู้ นี่บอกให้รู้ว่ามันเข้าใจผิดได้ถึงอย่างนี้ ทำให้มันถูกต้องแล้วก็พอใจตัวเอง ก็เป็นสวรรค์ สวรรค์จริงสวรรค์ที่นี่สวรรค์เดี๋ยวนี้สวรรค์ที่รู้สึกได้ ทุกอย่างทำด้วยสติสัมปชัญญะ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่ค่อยจะพอก็ทำไม่ค่อยจะได้ ฉะนั้นขอให้ฝึกสติสัมปชัญญะมากขึ้น ไอ้วิธีที่เรียกว่าอานาปาณสติน่ะคือวิธีฝึกสติสัมปชัญญะนั้นๆ ถ้าเราฝึกได้เราจะมีสติสัมปชัญญะมากพอ มีปัญญาด้วย ระบบอานาปานสติมันฝึกทั้งสติสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ปัญญาด้วย ถ้าฝึกสำเร็จก็จะสมบูรณ์ร่ำรวยด้วยสติสัมปชัญญะสมาธิปัญญา สี่อย่างนี้จะช่วยให้เราทำอะไรสำเร็จ
พออะไรเกิดขึ้น มีสติระลึก ถึงไอ้ความรู้ความจริงความไอ้ที่ศึกษาไว้ที่เรียกว่าปัญญา สติไปเอาปัญญามา ปัญญามากลายเป็นสัมปชัญญะอยู่จ่อหน้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราก็ต่อสู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าแรงมันไม่พอก็เพิ่มสมาธิขึ้น ให้มันมีแรงพอที่จะขจัดสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น ความหรือกิเลสที่จะเกิดขึ้นหรือความทุกข์ที่มีอยู่ จงมีสติสำหรับไปค้นเอาปัญญามาทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำวันทุกวัน เหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นมีสติทันทีในสิ่งนั้น ไปเอาปัญญาที่เรียนรู้เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตา ตถตาอะไรก็ตาม ที่เป็นเรื่องของปัญญาและความจริง เอามา รับหน้าเหตุการณ์อันนั้น ปัญญานี้มากลายตัวเป็นสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันนั้น อย่าให้เหตุการณ์อันนั้นมันหลอกลวงได้ อย่าให้ไปหลงไหลในสิ่งนั้น ยินดียินร้ายในสิ่งนั้น ให้คงปกติอยู่เสมอ นี่สัมปชัญญะสำคัญอย่างนี้ ทีนี้ถ้ากำลังมันอ่อนก็เพิ่มสมาธิที่ฝึกไว้แล้ว มีสมาธิกำลังสมาธิเท่าใดเพิ่มให้แก่สัมปชัญญะ มันชนะเหตุการณ์นั้นๆในที่สุด นี้เราเรียกว่าธรรมะสี่เกลอ คงไม่เคยได้ยินเพราะอาจจะไม่มีใครเคยพูดก็ได้ ธรรมะสี่เกลอ ธรรมะสี่เกลอช่วยจำไว้ให้ดี สติ ปัญญา มาเป็นสัมปชัญญะ และสมาธิเพิ่มกำลังให้ สี่อย่าง สติสัมปชัญญะปัญญาสมาธิ
ถ้าจะเรียงตามลำดับปฏิบัติหน้าที่ มันก็สติไปเอาปัญญามา เป็นสัมปชัญญะ แล้วสมาธิระดมกำลังลงไป ธรรมะสี่เกลอนี่สู้ได้ทุกกรณีไม่ว่ากรณีไหน กรณีอย่างชาวบ้านก็ได้ กรณีอย่างชาววัดชาวปฏิบัติธรรมะ โลกุตระก็ได้ ไอ้สี่เกลอนี่มันช่วยได้ ขอให้ทุกคนพยายามสะสมให้มากขึ้นมากขึ้น ให้เพียงพอให้รวดเร็วว่องไวคล่องแคล่ว จะมีธรรมะสี่เกลอ จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างถูกต้อง ไม่มีความทุกข์ เป็นพุทธบริษัท ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน นี่ การพูดนี้เกือบสองชั่วโมง มันก็ควรจะจะจบกันที ว่าเราเริ่มต้นพูดกันถึงเรื่องพุทธศาสนาเป็นอย่างไร โดยเฉพาะว่าตัวมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ตามวิถีทางวิทยาศาสตร์อย่างไร เราจะรู้ไว้สำหรับพูดจากันให้ถูกต้องในหมู่พวกเรา แล้วก็จะสำหรับตอบคำถามให้มันถูกต้องในเมื่อมีพวกเขาหรือพวกอื่นมามาไต่ถาม ความเป็นวิทยาศาตร์ของธรรมะแล้วก็ของชีวิต เราจึงรู้จักชีวิตตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ตั้งออกมาจากครรภ์ เริ่มมีกิเลส มันมีความทุกข์ มันจะดับความทุกข์นั้นได้อย่างไร นี่ มันเป็นเรื่องที่ตายตัว เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้อย่างตายตัวอย่างนี้ มีอวิชชาก็เกิดความอยาก มีความอยากก็เกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นก็เป็นทุกข์ ดังนั้นจึงต้องเลิกความยึดมั่นถือมั่นเสียอย่าอยากอย่างโง่ๆเป็นตัณหา แต่ให้อยากด้วยสติปัญญา ไม่เป็นตัณหาก็ไม่เป็นอุปาทาน
ดังนั้นจึงต้องมีวิชชา แทนที่จะมีอวิชชาต้องมีวิชชา สะสมวิชชาไว้มากควบคุมความอยากไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ไม่เป็นทุกข์ นี่เรื่องมันก็จบ แล้วเป็นพุทธศาสตร์ เป็นพุทธบริษัทต้องถือพุทธศาสตร์อย่าไปถือไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์เป็นเรื่องของคนหลับ มีหลักเกณฑ์ว่าไม่ช่วยตัวเอง ให้สิ่งอื่นภายนอกช่วย แล้วก็ด้วยความงมงาย ให้ช่วยอย่างที่ไม่ต้องทำอะไร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์มาช่วยทำให้ ช่วยทำให้ดับทุกข์ได้ เพียงแต่ให้เขาเป่าหัวให้ทีก็ดับทุกข์ได้ ลำบากจะตายแล้วกับไอ้เรื่องคนที่มามาขอให้ทำอย่างนี้ บอกว่าทำไม่เป็นไม่ได้เรียน เขาก็ไม่เชื่อ นั่นมันเป็นเรื่องไสยศาตร์ที่ครอบคลุมประชาชนมากเกินไป แต่มันก็จะต้อง ต้องรอไว้ มันจะก็เลิกไม่ได้ ถ้าเลิกเสียไอ้คนเหล่านี้ก็ไม่มีไม่มีที่ยึดถือเดี๋ยวมันปวดหัวตายหมด จนต้องเก็บไสยศาตร์ให้คนพวกนี้ แล้วก็ค่อยๆทำให้มันฉลาดขึ้นมาตามลำดับตามลำดับ โดยการศึกษาที่สมบูรณ์ ทีนี้การศึกษาของคนในโลกน่ะมันหางด้วน การศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ เรียนกันแต่หนังสือเรียนกันแต่วิชาชีพ ส่วนที่ว่าจะเป็นมนุษย์กันอย่างไรอย่าให้มีความทุกข์นั้นไม่ได้เรียน ไม่ได้เรียนเอาซะทีเดียว ไปเรียนจบมหาวิทยาลัยปริญญายาวเป็นหางมาจากเมืองนอก มันก็ยังไม่รู้ว่าพ่อแม่คืออะไร พ่อแม่คืออะไร เป็นลูกเป็นทำไม มันก็ยังไม่รู้ เป็นลูกคือคือผู้ที่จะทำให้พ่อแม่สบายใจ ถ้าไม่ทำให้พ่อแม่สบายใจได้มันไม่ใช่ลูกนะ มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ นี้มันไปเรียนมาจากเมืองนอกแล้วมันก็ยังไม่รู้ว่าเป็นลูกน่ะเป็นทำไมเป็นอย่างไร พ่อแม่คืออะไร นี่ การศึกษามันยังหมาหางด้วน ทั้งโลกเลย
เขาให้เรียนศึกษาที่สามว่าเป็นมนุษย์กันอย่างไร ที่หนึ่งเรียนหนังสือให้ฉลาด ที่สองเรียนวิชาชีพให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แล้วที่สามเรียนให้รู้ว่าเป็นมนุษย์กันอย่างไรจึงจะไม่มีความทุกข์ เดี๋ยวนี้คนจนก็มีความทุกข์คนรวยก็มีความทุกข์ คนฉลาดทางวิชาหนังสืออาชีพก็มีความทุกข์ คนโง่ก็มีความทุกข์ มีอำนาจก็มีความทุกข์ มีอำนาจจะครองโลกอยู่แล้วมันก็ยังมีความทุกข์ เพราะว่ามันขาดความรู้ที่สาม ความรู้ที่ว่าเป็นมนุษย์กันอย่างไรจึงจะไม่มีความทุกข์ จึงขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนสนใจความรู้ชั้นที่สามนี่เป็นมนุษย์กันอย่างไรจึงจะไม่มีความทุกข์ ถ้าอุตส่าห์มาสวนโมกข์ก็ขอให้ถือว่ามาหาไอ้ความรู้ชั้นที่ยังขาดอยู่นี่ แล้วเอาไปต่อหาง สมหญิงเขาเอาไปพูดอยู่ทุกๆคืนน่ะมหาวิทยาลัยต่อหางสุนัข ฟังดูว่าจะมีการศึกษาที่สมบูรณ์ เอาละพูดจานี้มันก็สมควรแก่เวลา แต่ขอยุติ ขอฝากความหวังไว้ว่าคงจะเอาไปคิดไปนึกไปศึกษาไปใคร่ครวญ แล้วใช้ประโยชน์ให้ได้ ให้สำเร็จประโยชน์ที่เป็นชาวพุทธผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยกันจงทุกๆคน มีความสุขอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ ขอยุติการบรรยาย