แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไม่มีบรรยาย มีแต่ลา แต่ว่าทำอย่างไรก็เอา จะลาอย่างไร เอาละซ ิการบรรยายไม่มีแล้ว อะไร ๆ ที่ได้ ศึกษา ได้ฟังมา ต้องกำหนดจดจำ ไว้ให้แจ่มแจ้งชัดเจน อยู่ในความรู้สึก แล้วก็ปฏิบัติสุดความสามารถ ที่จะ รับได้ หัดให้เป็นคนมีสติรวดเร็ว ในการปฏิบัติ ก็เป็นอันว่าได้รับผลของการศึกษา และการอบรมความรู้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง การได้รับผลของความรู้ นะมันอีกอย่างหนึ่ง ความรู้นั้นต้องปฏิบัติ ๆ แล้วจึงได้รับผล ของความรู้ ขอให้มันเต็มไปด้วยสติ ระมัดระวัง ให้มีการปฏิบัติถูกต้อง ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ยึดถือไว้ เป็นหลัก มีแต่ความถูกต้อง ๆ ไปทุกอย่าง ๆๆ มีความสุขที่สุด ไปเป็นพื้นฐาน แล้วก็มีความรู้ที่ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ไปอีก ๆ เป็นความก้าวหน้า งั้นไอ้ความสุข มันก็จะเลื่อนสูงขึ้นไปอีก ๆ ความสุขมันก็จะประณีต แยบคาย สุขุมลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก เราก็เสวยความสุขตลอดเวลา ที่ดำเนินชีวิตอยู่ด้วย สติปัญญาหรือความรู้
มีผู้รู้ที่สุดเขากล่าวไว้ว่า “สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองอยู่ด้วยปัญญา” แม้จะไม่ใช่ พุทธภาษิต แต่ก็เป็นพุทธภาษิตได้ในตัว คือ มันตรงกัน เมื่อเราจะเป็นนักบวชหรือจะเป็นฆราวาส มันก็ชื่อ ว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยกันทั้งนั้น อย่างน้อยเราก็สมัครจะเป็น แล้วเราก็ปฏิบัติตามอยู่ นั่นแหละ คือเป็น ๆ มันก็จะได้ความรุ่งเรืองด้วยสติปัญญาโดยสติปัญญา พอกพูนสติปัญญา สามารถจะสร้าง ความสุขที่แท้จริงยิ่งขึ้นไป ๆ จนไม่ใช่ความสุขที่หลอกลวงที่เหมือนกับที่ได้รับอยู่เดี๋ยวนี้
เอาละขอให้ทุกคน สามารถที่จะทำความรู้สึกอย่างนี้ ควบคุมชีวิตจิตใจ ให้มันเป็นไปในลักษณะ อย่างนี้ แล้วก็มีความสุขสวัสดีอยู่ในตัวนั้น อยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ
อ้อ, ไม่มีแล้ว ไม่มีบรรยาย ไม่มีถามปัญหาแล้ว ว่าแต่หัดกราบให้พร้อม ๆ กันหน่อย หัวหน้าทีม ควบคุมให้กราบพร้อม ๆ กันหน่อย ทำตามแบบที่เขาใช้กับ บางแห่งเด็ก ๆ หัวหน้าสั่งว่า อัญชลี คือ ทำอย่างนี้ คือ อัญชลี แล้วหัวหน้าสั่งว่า วันทนา ยกขึ้นอย่างนี้ หัวหน้าสั่งว่า อภิวาท แล้วก็กราบลงไป ต้อง อัญชลี วันทนา อภิวาท ๆ อย่างนี้จะมีทางพร้อมพรึบ เหมือนกับทหารเลย ถ้าชอบใจก็เอาสิ ลองดู หัวหน้าสั่งสิว่า อัญชลี (หัวหน้า...”อัญชลี วันทา”) วันทนา ๆ (“อัญชลี”) แล้ววันทนา (”วันทนา”) ยกขึ้นเหนือหัว อภิวาท อัญชลี บอกซิ อัญชลี (“อัญชลี”) วันทนา (“วันทนา”) อภิวาท (“อภิวาท”) อัญชลี (“อัญชลี”) วันทนา (“วันทนา”) อภิวาท (“อภิวาท”) นั่นนะ มันพร้อมกันดี เหมือนกับแถวนักเรียน แถวทหาร
ถ้าเดินออกไปอย่างถูกต้อง ตามระเบียบวัฒนธรรมพุทธศาสนา หรือวัฒนธรรมอินเดีย ก็แล้วแต่ จะเรียกละ เวลาออกไปหรือเข้ามา ก็ตามใจอย่างเคารพ ก็เรียกว่า “ประทักษิณ” จะเข้ามาหรือจะออกไป ก็ให้อยู่ในลักษณะที่ มือขวามือข้างขวาอยู่ทางผู้ที่ ๆ เคารพ ผู้ที่เคารพ อย่างพระพุทธรูปอยู่ตรงนี้ เป็นที่เคารพ เข้ามาก็เข้ามาด้วยมือขวา อยู่ทางนี้แล้วจึงนั่งลง พอจะออกไปลุกขึ้นยืน เลี้ยวหมุนให้มือขวาอยู่ทางนี้ แล้วก็ออกไป ห่างไกลพอสมควรก่อน แล้วจึงค่อยกระจัดกระจายไป ถ้าลุกขึ้นเดี๋ยวนี้ แล้วก็หันก้นมาปัดทราย ปัดอะไรด้วยมันเป็นลิง เป็นพวกลิงที่ออกไป ไม่ใช่สาวกหรือบริษัทที่ฝึกฝนดีแล้ว นี่ลุกขึ้น แล้วก็ซ้ายหัน มือขวาอยู่ทางนี้ แล้วก็เดินไปนั่น เดินไปสุดมุมโน้น จึงค่อยจึงค่อยเลี้ยวลงไป อย่างนี้ก็ยัง เรียกว่า ประทักษิณ กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ลุกหลีกไป กระทำประทักษิณ ไม่ต้องทำเป็นรอบ ๆๆ จนรอบก็ได้ แต่ขอให้ มือข้างขวามันอยู่ข้างที่ ที่เคารพ จุดศูนย์กลาง เมื่อเข้ามาต้องเข้ามาอย่างนั้น ถ้าจะให้เต็มที่ก็เวียนซะ ๓ รอบก่อน ๆ แล้วจึงนั่ง พอจะลุกไปก็เวียน ๓ รอบก่อน แล้วจึงออกไป อย่างนั้นเต็มที่ แต่ไม่จำเป็นนะ ๆ อย่างนั้นมันไว้เมื่อ มีเรื่องอย่างนี้ มีเหตุผลพอจะทำอย่างนั้น เดี๋ยวนี้เพียงแต่เข้ามา ในลักษณะถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ ซึ่งใช้กันอยู่ก่อนพุทธกาล ในครั้งพุทธกาล สุดแท้เถอะ จะเข้าไปหาใครด้วยความเคารพ เข้าไปในลักษณะที่มือขวาอยู่ทางผู้นั้น เมื่อไปที่สมควรอยู่ตรงไหน จะไกลจะใกล้สมควรแล้วก็นั่งลง ไม่จำเป็นต้องเข้ามาตรงหน้าใกล้ ๆ อย่างนี้ บางทีไม่เป็นความถูกต้อง เข้ามาใกล้เกินไปก็ไม่ถูกต้อง ไกลเกินไปก็ไม่ถูกต้อง อยู่ข้าง ๆ เกินไปก็พูดกันลำบากก็ไม่ถูกต้อง อยู่ข้างหลังยิ่งไม่ถูกต้อง ยังมีพิเศษที่ว่าไม่นั่งเหนือลม บางคนมีกลิ่นต้องระวังอย่าไปนั่งเหนือลมอย่างนี้เป็นต้น อ้าว เสร็จแล้วก็กลับกันได้
ไม่เหมาะที่ไปนั่งอยู่กลางวง ไม่เหมาะ อยู่ข้างบนอยู่ห่างๆ อย่างนี้ ถ่าย ๆ ตรงนี้ยังดีกว่า หันหน้าข้างโน้น ไม่หมดดูแน่น อากาศพอถ่ายได้ หันหน้าออกไปทางโน้น เข้ามาทางนี้อีก เข้ามาเพียงแนวนี้ ..ทางโน้นหันหน้าทางโน้น อย่าให้ชิดกันจนกราบไม่ลง อย่าให้มันชิดกันจน..อย่าให้ชิดอย่าให้เบียด ต้องให้หลวม ๆๆ พอดี ๆ.. เบียดกันอย่าให้เบียดกัน ตรงนี้ไม่ถูกแล้ว ตรงนี้ถึงนี้แล้ว มันแค่หินก้อนนี้ ๆ จึงจะดูสวย แค่หินก้อนนั้น.. อย่า ๆ เข้ามา ออกไปทางหน้า ๆ อยู่ข้างหน้าก้อนหินนั่น ทรายนี้ก็ไม่สกปรกอะไร ไม่ปูก็ยังได้ ดูอย่าให้ออกเลยแนวหินไป มันจะไม่ ๆ ได้โค้ง จำเป็นก็เอาหัวท้าย เข้าไปอยู่ตรงกลางเสียอีก ให้มันสั้นเข้า เทศ..ไปทางหัวที ไปทางหน้าตึก จะได้ภาพที่สวย อัญชลี วันทนา ให้คล่อง ๆ (ไป ๆ เร็วไป) อ้าว..ลองหันหน้ามาฝ่ายนี้ ให้ติดกับพุทธรูปด้วย ถอยไปจนติดพระพุทธรูปด้วย อ้าว, มันจะติดอยู่ในนี้ ไม่ดีไม่สวย หมดไหม ๆ ความกว้าง ๆ หมดก็แล้วกัน ช่วยเอาไปที ๆ มาเอาไปที มาดึงไปที บอกอัญชลี วันทนา อภิวาท ๆ ๓ เที่ยว หัวหน้าสั่งซิ ดัง ๆ หน่อยซิ ( หัวหน้า ...”อัญชลี วันทนา อภิวาท” ๓ ครั้ง ) ไม่ค่อยพร้อม เขาว่าไม่ดูไม่เหลือบตา ดูลูกน้องมันก็ไม่พร้อม คือ สั่งเร็วไปบ้าง ช้าไปบ้าง แล้วทุกคนต้องฟัง ทุกคนต้องคอยฟัง แล้วว่าให้ดังพอได้ยิน แล้วเหลือบตาดูว่า มันลงจังหวะหรือไม่ (มืออยู่ที่ตักก่อน แล้วกล่าวอัญชลี) (หัวหน้า ...”อัญชลี วันทนา อภิวาท”) อ้าว อัญชลี (หัวหน้า ..”วันทนา อภิวาท” ) (พอจะขึ้นก็บอก) (หัวหน้า..”อัญชลี วันทนา อภิวาท”) ได้..ทีนี้ถ้าออกไปก็ต้องออกไปทางนี้ เดินเลี้ยวไปทางนี้ แต่คงไม่น่าดู ถ้ามัวแต่สลัดเสื่ออยู่ ไม่น่าดู แน่ จะไปทางทิศไหน ก็ตามจะต้องออกทางนี้ ลงไปถึงทางโน้น ข้างล่างแล้วจึงค่อยแยกย้าย ไม่ต้องถอยหลังหละ ยืนตรงนั้นนะ พอยืนขึ้นก็เดินออก ทางหัวนั้นออกก่อน ถ้างั้นก็สับสน ไม่ใช่หยุดก่อน ๆ (ไปๆๆๆให้พ้น) นี่..ทางนี้เอาทางนี้เป็นหลัก แต่ว่าไม่ต้องห่วงเสื่อ ๆ ช่างหัวมัน..แล้วค่อยมาเก็บทีหลัง ลุกขึ้นยืน ๆ แล้วที่นี้ก็ลุกขึ้นเดินไป ๆ ให้ทางหน้าเดินหมดก่อนแล้วทางหลังค่อยๆเดินตามลำดับ ลุกขึ้นมาตามลำดับ เดินไปสองแถวสามแถวก็ได้ เรียงสามเรียงสี่ก็ได้ ที่จริงเคย ๆๆ อยู่โรงเรียนแล้วควรจะเดินแถวแบบนี้เป็นกันทั้งนั้น.. ย่ามยังไม่สะพาย การสะพายย่าม เป็นความไม่เคารพ อ้าว..ทางหน้าเดินเร็ว ๆ หน่อยสิ เดินลงไปเร็ว ๆ หน่อยสิ เอ, ทำไมต้องไปอัดกันให้ช้า กว้างมาทางนี้ก็ได้ เรียงสี่เรียงห้ามา ยังถ่ายได้อีก..เทศ. ถ้ามาถ่ายทางนี้ยังถ่ายได้อีก เดินมาทีละสี่ห้าคนพร้อม ๆ กันลงไปสิ