แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นักศึกษาและครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้อาตมาจะพูดเรื่องเวลา เวลา บางคนอาจจะนึกสงสัยหรือว่าคัดค้านอยู่บ้างแล้วก็ได้ว่ามัน มันเกี่ยวอะไรกับธรรมะ เวลา เวลา มันเกี่ยวอะไรกับธรรมะ อันที่จริงไอ้สิ่งที่เรียกว่าเวลา เวลานั่นน่ะ คือเรื่องธรรมะ มันเกี่ยวกับธรรมะ เรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ เป็นอย่างยิ่ง มันมีเรื่องที่จะต้องพูดกันสอง สองหัวข้อ หรือ ๒ ประเด็นที่ว่า เวลากินเรานี่ประเด็นหนึ่ง แล้วก็เรากินเวลา นี่มันอีกประเด็นหนึ่ง
เวลากินเรานั่นแหละคือความทุกข์ล่ะ ถ้าเรากินเวลานั่นแหละคือความดับแห่งทุกข์ ฉะนั้นเรื่องเวลานั่นน่ะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์หรือดับทุกข์ จะเรียกว่าเกี่ยวกับพระอรหันต์โดยตรงเลยก็ได้ ถ้าเป็นปุถุชนเวลามันกิน กินคน ถ้าเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์กินเวลา กลับกันอยู่อย่างตรงกันข้าม ถ้าเป็นปุถุชนก็ถูกเวลากิน ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็กลับกินเวลา ไม่ ไม่ถูกเวลากิน ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ได้ มันก็เข้าใจธรรมะในชั้นลึกล่ะ ดังนั้นขอให้สนใจฟัง ให้ถึงขนาดที่เรียกว่าเข้าใจ จะช่วยได้มาก
แต่ว่าในชั้นแรกนี่ เราพูดถึงกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ เกี่ยวกับเวลานี่ โดยทั่วไป ทั่วๆ ไปเสียก่อนดีกว่า แล้วจึงค่อยพูดถึงเรื่องเวลากินเรา หรือเรากินเวลานี่ตอนหลัง เพราะว่าเราจะต้องรู้จักสิ่งที่เรียกว่าเวลา เวลานี่ ให้ ให้ดี ให้เพียงพอ เดี๋ยวนี้เรารู้จักแต่เครื่องนับเวลา เช่นนาฬิกาแบ่งเป็นชั่วโมง แบ่งเป็น เครื่องนับเวลา ไม่ใช่เวลา ไอ้ตัวเวลานั้นเป็นนามธรรมที่เห็นได้ยาก จนถึงกับบางพวก บางคนว่าเอาเองว่าเวลาไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ก็มองเห็นเป็นเรื่องลมๆ แล้งๆ การหมุนเวียนของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เป็นอะไรนั่น นั่นมันเครื่องกำหนดเวลา ไม่ใช่ตัวเวลา แต่เรามาสอนกันผิดๆ ว่านั่นเป็นเวลา นั่นมันเครื่องกำหนดเวลา ดูได้โดยพระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นเครื่องกำหนด เป็นเครื่องกำหนดเวลา ไอ้สิ่งที่เรียกว่าเวลา ไอ้ตัวเวลาจริงๆ มันอยู่ที่ตรงไหน
เอาล่ะมาพูดกันถึงเรื่องเวลาให้เป็นที่เข้าใจกันเสียก่อน มันคงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ถ้าเป็นนักศึกษา อย่างนักศึกษานี่คงจะศึกษาเรื่อง กาละและอวกาศกันมาแล้วบ้างไม่มากก็น้อย Time and Space Time คือ เวลา Space นั่นคือ เทศะ หรือพื้นที่ จะเรียกว่า Time หรือเรียก Space ก็ได้ มันก็เป็นพูดฝรั่งไปเสีย นี่ก็พูด เป็น เป็น เป็นไอ้ เป็นไทย ว่าเวลากับพื้นที่ เวลากับพื้นที่ นี่จะพูดเป็นภาษาบาลีหน่อยก็ว่า กาละกับอวกาศ กาละกับอวกาศ คือกาละกับเทศะ มีใคร (นาทีที่ 5:59) สังเกตให้ดี ด้วยการเรียนจากภายในเองแหละ ธรรมะแท้ๆ ต้องเรียนจากภายในทั้งนั้น แล้วเรานี่มันโง่ จนถูกหลอนอยู่ด้วยเวลาและพื้นที่อยู่ตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเดือน ตลอดปี ขอให้ถือเป็น เป็นหลักตายตัวเมื่ออาตมาพูดว่า เวลาและพื้นที่ ก็ขอให้ ให้รู้เองว่าหมายถึง Time and Space
เดี๋ยวนี้เราถูกหลอกให้โง่ให้หลงให้ยึดมั่นถือมั่นให้อยู่ในสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ความรัก ความพอใจ ความเพลิดเพลินโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๕ อย่าง ใจนี่คนละกฎเกณฑ์ยังไม่พูดถึง พูดถึงแต่ ๕ อย่างข้างต้น คือ รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เอ่อ กลิ่น เอ่อ จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับสัมผัสที่มากระทบกาย ไอ้ที่เราหลงกันนักจนถึงกับเป็นบ้าเป็นบอ มันก็เรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี่แหละ ที่น่ารักน่าพอใจก็หลงรักหลงพอใจจนเกิดกิเลสเกิดอะไรยุ่งไปหมด ที่ไม่น่ารักไม่น่าพอใจก็เกิดความโกรธความเกลียดเป็นกิเลสอีกประเภทหนึ่ง ยุ่งไปหมดเหมือนกัน เรามีความลำบากยุ่งยากอยู่เรื่อยๆ รูปที่มากระทบตา หู เอ่อ เสียงที่มากระทบหู กลิ่นที่มากระทบจมูก ลิ้นที่มากระทบรส สัมผัสที่มากระทบผิวหนัง เราก็โง่ โลดๆ เต้นๆ อยู่ด้วยความยินดียินร้าย เพราะเราไม่รู้ว่าอารมณ์เหล่านั้นน่ะมันเป็นเรื่องหลอกลวงด้วยเรื่องของเวลาและพื้นที่ กาละและอวกาศ มันจะเป็นวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป มันก็ไม่ลึกซึ้งอะไรนะ ถ้าเจอคงจะ บาง บางคนคงจะเคยอ่าน เคยเรียนมาแล้ว ว่าไอ้รูปที่จะสวยน่ะ มันต้องมีเวลาและพื้นที่ เอ่อ ตามตามกฎเกณฑ์ของมันเท่านั้นๆ ถึงจะเรียกว่าสวย ถ้ามันมันยาวออกไป หรือสั้นเข้ามา ซึ่งพื้นที่เปลี่ยนนี่ หรือว่าไอ้เวลาสำหรับจะดูนั่นมันเปลี่ยน เวลาสำหรับที่จะดูจะรับอารมณ์นั้นมันเปลี่ยน ไอ้รูปนั้นมันก็เปลี่ยนน่ะ ที่เคยว่าสวยมันก็ไม่สวย เพราะขนาดมันผิดไปจากที่เคยยึดถือว่าสวย มันก็ไม่สวย อย่างที่เราไม่ชอบ สูงเกินไป ต่ำเกินไป สั้นเกินไป ยาวเกินไป อะไรเกินไป แต่ส่วนที่เป็นเวลานั้น สังเกตยาก เพราะมันไม่ค่อยแสดงชัดนัก แต่มันก็ยังเกี่ยวอยู่กับเวลา
ในเรื่องของรูปยังเห็นยากกว่าในเรื่องของเสียง เสียงที่มากระทบหู ที่เป็นเสียงๆ หนึ่ง มันประกอบอยู่ด้วยเวลาและพื้นที่ที่ประสาทหูมันจะรับ มันจึงเกิดเสียงอย่างนั้นขึ้นมา ถ้าศึกษาเรื่องโน้ตเพลงแต่ละตัว โน้ตแต่ละตัว ละตัว มันก็มีเสียงของมัน เสียงหนึ่ง เสียงหนึ่ง เสียงหนึ่ง ต่างกันตั้งแต่ต่ำสุดไปถึงสูงสุด ความต่างกันเช่นนั้นคือความต่างกันของไอ้เวลาที่มันใช้ พื้นที่ของหูที่มันเป็นประสาท พื้นประสาทที่มันจะรับ ถ้าว่าเสียงที่พอดีไพเราะนั้นน่ะมันก็มีขนาดหนึ่งแหละ คือไอ้เวลาก็พอดี ไอ้ขนาดก็พอดี หูของมนุษย์มันจะรับได้ในอัตราที่จำกัด แต่หูของสุนัขมันก็รับได้มากกว่า คือรับได้คือถึงเสียงที่มันถี่กว่าหรือสูงกว่า ในเรไร จักจั่นที่มันร้องนั่น มันมีปีกคือสิ่งที่สะบัดให้เกิดเสียงน่ะ ตั้ง ๓ ชนิดแน่ะ เรไรนี่ ไอ้ปีกชนิดหนึ่ง ปีกเบากับ ปีกใหญ่น่ะ นั่นน่ะทำสะบัดเสียงสูงเกิน ๓๐,๐๐๐ ครั้ง Frequency ไอ้ความสั่นสะเทือนน่ะเกิน ๓๐,๐๐๐ ครั้งต่อนาที ฉะนั้นเสียงนี้ ไอ้เครื่องอัดเสียงธรรมดานี้ ไม่ติด ไม่ติดหรอก ลองไปอัดดูเถอะ แล้วมันมีเสียงอีกปีกชนิดหนึ่งรองลงมา พวกพันๆ ครั้งต่อนาที แล้วมันยังมีที่ต่ำกว่านั้น ถ้าเราเอาเครื่องบันทึกเสียงธรรมดาอย่างที่เรามีๆ กันอยู่นี่ไปอัดเสียงเรไร เราก็ไม่ได้เสียงเรไร เพราะเสียงที่สะบัดสูงเกิน เกิน ๓๐,๐๐๐ ครั้ง มันไม่ติดมา เพราะว่าไอ้เครื่องรับธรรมดานี้มันรับไม่ได้ เราไปต้อง เราต้องไปเอาเครื่องบันทึกเสียงที่ทำดีพิเศษรับไอ้ Frequency ๓๐,๐๐๐ ขึ้นไปได้ มันจะมารับ เอามาดักเสียงไอ้เรไรได้ทุกเสียง นี่หมายความว่า ความสั่นสะบัดครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่งมันถี่มากจนถึง ๓๐,๐๐๐ ครั้งต่อนาที นั่นน่ะคือเวลาแหละ หมายความว่า ๑ นาทีสะบัด ๓๐,๐๐๐ ครั้ง เสียงอย่างนั้น ถ้า ๑ นาทีสะบัดเพียง ๓,๐๐๐ ครั้ง เสียงเป็นอย่างอื่น ถ้า ๑ นาทีสะบัดเพียงไม่กี่สิบครั้งก็เสียงก็ไม่เป็นอย่างนั้น หรือจะเสียงดังอด อด อด อด อย่างนี้เป็นต้น
ถ้าประตูของใครมีเสียง ประตูห้อง หน้าต่างก็ดี มีเสียง ถ้าเราเปิดเร็วมันจะเสียงวี้ด เราเปิดช้าหน่อย มันก็ลงมาเป็นเสียงแอด แต่ถ้าเราผลักไปช้า ช้า ช้า ช้า มันจะเป็นอด อด อด อด อด อด อด นั่นแหละคือความต่างของเวลา ใน ๑ ทีมันกินเวลาเท่าไหร่ ไปหารดู แต่การพูดเขามักจะพูดกลับว่า ไอ้ Frequency ความสั่นสะเทือนของมันน่ะ กี่ครั้งต่อ ๑ นาที ถ้าเราใช้เวลา ๑ นาทีสำหรับทำเสียง ๓,๐๐๐ ครั้ง ๓,๐๐๐ ครั้งน่ะ มันก็เพราะ แต่ถ้าต่ำกว่านั้น มันก็เป็นเสียงทุ้มที่น่ารำคาญ ถ้าสูงกว่านั้น ก็แสบหู มากกว่านั้นมันก็ไม่ได้ยินเลย ซึ่งเขาว่าสุนัขได้ยิน เสียงนั้นต้องทำในขนาดนั้นและในเวลาเท่านั้น จึงจะเป็นเสียงนั้น พอผิดขนาด และผิดเวลาแล้วก็เป็นเสียงอื่น ที่เราไปหลงในเสียงเพราะแล้วไม่ชอบเสียงที่ไม่เพราะ เพราะเราไปหลง เพราะเราไม่รู้ เราไม่รู้เรื่องไอ้ขนาดและเวลานี่ เสียงที่เคยกินเวลาเท่านั้น พอเปลี่ยนให้เวลามากหรือน้อยไป มันก็เปลี่ยนไปอย่างไม่ ไม่ ที่ (นาทีที่ 15:21) จำไม่ได้ เสียงวี้ดน่ะมันประกอบขึ้นด้วยเสียง อก อก อก อก อก (นาทีที่ 15:25) ซึ่งมันติดกันเร็วเกินไป และถ้ามันซ้อนกัน เสียงประตูที่ดังวี้ด กับเสียงประตูที่ดังแอด กับเสียงประตูที่ดัง อด อด อด อด อด นั่นแหละ คืออย่างเดียวกันแหละ เสียงการกระทำอย่างนี้ คือมีสิ่งๆ หนึ่งสั่นสะเทือน ถ้าในอัตรานาทีละหลายสิบครั้ง มันเป็นอย่างนั้น นาทีละหลายร้อยครั้งเป็นอย่างนั้น หลายพันครั้งเป็นอย่างนั้น หลายหมื่นครั้งมันเป็นอย่างนั้น จริงๆ มันคือสิ่งเดียวกัน นี้เราก็ตามความรู้สึก ก็ว่านั้นเสียงพราะ นั้นเสียงไม่เพราะ นั้นแหลมเกินไป นั้นทุ้มเกินไป ไอ้โน้ตเพลงทั้งหลาย พอเปลี่ยนเวลาเสีย ก็ผิดหมด ก็ไม่เป็นเพลง แค่นั้นเอง โน้ต โน้ตตัวหนึ่งเปลี่ยนเวลามันเสีย เปลี่ยนไอ้ความสั่นสะเทือนของมันผิดไปเสีย มันก็ ไม่ ไม่เป็นเสียงนั้น แล้วมันก็เลยไม่เป็นเพลง อย่างเราลองเปิดไอ้เครื่องบันทึกเสียง บันทึกเพลง แล้วบันทึกเสียงให้ช้ามากๆ หน่อย มันก็ไม่เป็นเสียงเดิม แล้วมันไม่เป็นเพลง นี่เรียกว่า มันจำกัดอยู่กับเวลาและพื้นที่ ในอากาศหรือพื้นที่ในหู พื้นที่ที่รับระบบประสาทในหูมันมีจำกัดอยู่เท่าไหร่ ในกลิ่นก็เหมือนกันแหละ ภายในเวลาเท่านั้น ภายในพื้นที่เท่านั้น มันก็เป็นกลิ่นอย่างนั้น ถ้ามากกว่านั้น หรือน้อยกว่า มันก็เป็นกลิ่นอย่างอื่น เช่นกลิ่นเหม็น เมื่อทำให้จางเข้ามันกลายเป็นกลิ่นหอมได้ พอดี มันจำกัดกับเวลาที่มัน มัน มันมากระทบระบบประสาท และปริมาณที่มันมากระทบ และพื้นที่ของประสาทที่มันกระทบ มันขึ้นอยู่กับเวลาและพื้นที่ ทุกกลิ่น ทุกชนิด ทุกชนิดของกลิ่น งั้นการพูดว่ากลิ่นหอมกลิ่นเหม็น กลิ่นนั้น อย่างนี้ คือมันโง่ไปตามความรู้สึก ที่จริงมันกลิ่นอย่างเดียวกัน เพียงแต่ขนาดมันต่างกัน คือเวลาและพื้นที่มันไม่เท่ากัน รสที่ลิ้นก็เหมือนกัน ต้องเท่านั้น ในพื้นที่ของลิ้นเท่านั้น ในเวลาเท่านั้น จึงจะมีรสอย่างนั้น ถ้าขยายเวลาที่ลิ้นได้ ขยายเวลารับรสที่ลิ้นได้ รสก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นหมด หรือสัมผัสผิวหนังก็เหมือนกัน มันต้องในเวลาเท่านั้น แล้วมาจดที่ผิวหนังในพื้นที่เท่านั้นที่มีปลายประสาทคอยรับอยู่ เมื่อมันเปลี่ยนไปต่างไป มันก็รู้สึกว่า หยาบ นิ่มนวล กระด้าง ละเอียดอ่อน อะไรอย่างนี้ ความต่างของเวลาและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอยู่กับการสัมผัสนั้นๆ ถ้าเป็นขนาดนั้น ขนาดนั้น ขนาดนั้นแล้วก็ ก็รู้สึกว่ารูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสดี สัมผัสนิ่มนวล เป็นต้น ยิ่งสัมผัสได้มาก มันก็ยิ่งนิ่มนวลมาก ยิ่งเปียก ทำให้สัมผัสได้มาก ไอ้ความนิ่มนวลมันก็ยิ่งมาก อย่างนี้เป็นต้น เป็นเรื่องหลอกของไอ้เวลาและพื้นที่ นี่รู้ไหมว่าเรามันเป็นทาสของอารมณ์ในโลกนี้จนเกิดกิเลสนั้น เพราะมันเป็นการหลอกของสิ่งที่เรียกว่าเวลาและพื้นที่ Time and Space อารมณ์นั้นๆ ก็เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ ตั้งแต่เสียง เสียงเกือบไม่ได้ยินเป็นเสียงทุ้ม แล้วก็เสียงค่อยสูงขึ้นนิด นิด นิด นิด กว่าจะถึงเสียงแหลมสุด มันแบ่งได้ไม่รู้กี่สิบกี่ตอน กี่สิบตอน กี่สิบเสียง แต่แล้วมันคือสิ่งเดียวกัน แต่เสียงหนึ่งรักที่จะฟัง แต่เสียงหนี่งไม่อยากจะฟัง รกหู รำคาญหู อะไรก็แล้วแต่
นี่คือความโง่ของคนเราเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางผิวหนัง ไอ้ ๕ อย่างนี้เรียกว่าอารมณ์ อารมณ์ รูปที่เห็นด้วยตา หูได้ยินด้วยเสียง กลิ่นรู้จมูก ลิ้น เอ่อ รสรู้ด้วยลิ้น สัมผัสรู้ได้ด้วยผิวหนัง นี่เรียกว่าอารมณ์ คำว่าอารมณ์ อารมณ์นั่นแหละ เป็นคำที่น่ากลัวมาก ถ้าเรารู้ว่าคำว่าอารมณ์แปลว่าอะไร แล้วก็ ก็จะรู้สึกว่าน่ากลัวมาก อารมณ์แปลว่าที่ ที่หน่วงเหนี่ยว ที่เกาะติด ที่เกาะยึด ที่ ที่จิตจะเข้าไปติดน่ะ เรียกว่าอารมณ์ เข้าไปติดในอารมณ์ก็เป็นทาสของอารมณ์ ไปหลงรักในอารมณ์ที่ให้เกิดความรัก โกรธเกลียดในอารมณ์ที่ให้โกรธเกลียด มันก็เป็นเหมือนกับคนบ้า เดี๋ยวยินดียินร้าย ไอ้ที่โง่มากกว่านั้นก็ไปหลงใหลในอารมณ์ที่มันร้าว หรือกระตุ้นระบบประสาทที่สุด คือที่มันสวยทางตา ไพเราะทางหู หอมทางจมูก อร่อยทางลิ้น นิ่มนวลสัมผัสทางผิวหนัง เสียเงินซื้อหากันแพงๆ เพื่อจะได้สิ่งเหล่านี้มาตามที่ตัวต้องการ หารู้ไม่ว่าเป็นเรื่องหลอกลวงของธรรมชาติ เป็นแต่เพียงความแตกต่างของ Time and Space ที่มันเกี่ยวกันอยู่กับอารมณ์นั้นๆ แต่เราก็ไม่ได้สอนกันในเรื่องนี้ ในทางฝ่ายธรรมะ หรือฝ่ายพุทธศาสนา ฝ่ายนักวิทยาศาสตร์เขาก็ไม่สอนในส่วนที่จะให้รู้เท่าอารมณ์และเฉยเสีย เขาจะสอนไปในทางที่ทำให้มันยั่วยวนมากขึ้น เพราะมันเป็นเรื่องได้ประโยชน์ ได้กำไร ได้เงิน ได้ทอง ถ้ามาสอนกันให้รู้เสีย โอ้. มันแค่นี้เอง เท่านี้เอง ธรรมชาติแค่นี้เอง อย่าไปหลงกับมัน อย่างนี้ก็ดีสิ แต่เขาก็ไม่สอนกันอย่างนั้น เพราะมันไม่ได้เงิน ไม่ได้อะไรกับผู้ ที่จะสอน ที่จะประดิษฐ์ ที่จะหา หาเงินด้วย ไอ้ความโง่ ความหลงของมนุษย์ เลยไม่มีการสอนชนิดที่ทำให้รู้จักอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ ก็ยังปล่อยไว้อย่างนั้น ฉะนั้นอารมณ์นี่ก็เลยเป็นนาย ครอบงำจิตใจของคน ทั้งฝ่ายอารมณ์ที่น่ารัก และอารมณ์ที่น่าเกลียดน่าโกรธ น่ากลัวอะไรไปหมด
ถ้าเรารู้เรื่องนี้ดี มันก็คงจะเฉยได้มากกว่านี้ คือไม่ไปหลงใหล ติดพันในของสวยงาม ของไพเราะ ของหอม ของอร่อย ของนิ่มนวล เดี๋ยวนี้เราเป็นทาสของสิ่งที่มันให้ความรู้สึกเป็นสวยทางตา ไพเราะทางหู หอมทางจมูก อร่อยทางลิ้น นิ่มนวลทางผิวหนัง หารู้ไม่ว่า อารมณ์นั้นที่ให้ความรู้อย่างนั้นน่ะ ถ้าเพียงแต่เปลี่ยนเวลามันสักนิด มันก็ไม่ ไม่เป็นอย่างนั้น มันจะหมดความสวยงาม ไพเราะห หอมหวล อร่อย หรือนิ่มนวลไปทันที เรารู้ว่าไอ้เรื่องเวลานี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก เป็นเจ้ากี้เจ้าการที่ทำให้อารมณ์นั้นๆ เกิดเป็นอิฏฐารมณ์ขึ้นมา เป็นที่ตั้งแห่งความรัก เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลเพลิดเพลิน นี่รู้ในชั้นนี้ว่า เวลา เวลานั้นน่ะเป็นส่วนประกอบของอารมณ์ เพื่อให้อารมณ์นั้นเหมาะสมกับประสาทสัมผัสที่จะรับอารมณ์นั้นๆ แล้วก็เป็นที่อร่อย พอใจที่สุด แล้วก็ลด ลด ลด ลดลงมากระทั่งไม่น่าพอใจ น่าเกลียด น่าชังที่สุด เป็นเพียงความต่างของเวลาที่ใช้ในการกระทำ ในการรับซึ่งอารมณ์นั้นๆ ขอให้รู้ไว้ว่าเวลามันมีฤทธิ์เดช ที่ลึกลับอย่างนี้ไว้ทีหนึ่งก่อน แล้วก็ไปศึกษาต่อไป รู้เรื่อง Time and Space อะไรมากขึ้นๆ ให้รู้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าไอ้ ๒ อย่างนี้ มันทำให้เกิดอารมณ์ที่มีค่า ที่จะครอบงำจิตใจ แล้วเราก็จะได้รู้สึกว่า โอ้, มันก็อย่างนั้นแหละ เสียงนั้นก็อย่างนั้น เสียงนั้นก็อย่างนั้น เสียงนั้นก็อย่างนั้น เสียงนั้นก็อย่างนั้นเอง อย่างนั้นเอง แต่มันไม่เคยถูกสอนอย่างนี้ มันไม่เคยถูกแนะอย่างนี้ มันหลงมาตั้งแต่เล็กๆ เสียงตัวไหน โน้ตตัวไหนที่เราเคยฟังแล้วเพราะหูที่สุด พอขยายเวลาให้มันสั้นหรือยาวออกไป มันก็หมด หมดความไพเราะเช่นนั้นทันที คือไปเปลี่ยน Frequency ของเสียงนั้น ซึ่งเท่ากับเปลี่ยนเวลา เปลี่ยนค่าของเสียงนั้น
เดี๋ยวนี้เราก็อยู่ในโลกที่เต็มด้วยอารมณ์แต่ละอย่างๆ ซึ่งมันประกอบจำกัดอยู่ด้วย ปริมาตรปริมาณของไอ้เวลาและพื้นที่ อย่างที่กล่าวแล้ว ที่ว่าสวยว่าไพเราะว่าหอม พอไปเปลี่ยนขนาดแล้วมันก็กลายเป็นของคนละอย่าง อย่างเช่นเราชอบหน้ารูปไข่อย่างนี้ พอเปลี่ยนจากหน้ารูปไข่ให้ยาวไปเหอะสองสามนิ้ว มันก็หมด หมดความสวยแล้ว นี่ก็เปลี่ยนขนาด ถ้าเปลี่ยนเวลาที่ดู ใช้เวลาที่ดูถึงจะมันเปลี่ยนได้น่ะ มันก็มองเห็นภาพอีกอย่างหนี่ง ต้องไปศึกษาดูว่า ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่ขึ้นอยู่กับเวลาและพื้นที่ที่มันประกอบกันขึ้นเป็นอารมณ์สำหรับสัมผัสกับจิตใจของคนเรา แล้วก็หลงกันอยู่อย่างเต็มที่ สุดเหวี่ยงกันอย่างที่ ฝ่ายรักก็รักหลง ฝ่ายโกรธก็ไม่เกลียด เออ, ฝ่ายเกลียดฝ่ายกลัวก็เกลียดกลัวกันจนถึงสุดเหวี่ยง มันก็เลยอยู่ในโลกแห่งความหลอกลวง แห่งความหลอกหลอนของอารมณ์ ตลอดเวลาจนกว่าจะตาย ไม่รู้เรื่องนี้ ถ้านักวิทยาศาสตร์เขาสนใจจะสอนเรื่องนี้ เขา เขาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อะไรให้พิสูจน์ให้เห็นได้ง่ายๆ ง่ายๆ จนมันหลอกลวงเราไม่ได้แล้ว จะเป็นการดีที่สุด เป็นการทำกุศลใหญ่หลวง
นี่เรื่องเวลาและพื้นที่ที่ประกอบกันอยู่กับอารมณ์ที่เราหลงกันอยู่ทุกวันนี้ มันมีอยู่อย่างนี้พอแล้ว ทีนี้จะพูดถึงเวลาที่ในความหมายหนึ่งซึ่งทำให้เรามีความทุกข์ มากไปกว่านี้อีก ไอ้คนที่เขาพูดว่าเวลาไม่ใช่มีอยู่จริงนั้น มันเดา มันคาดคะเน เพราะมันเอาวัตถุเป็นหลัก มากเกินไป แต่ถ้าทางธรรมะ เขาก็เอารู้สึก เอาความรู้สึกทางจิตใจเป็นหลัก พูดได้ว่า เวลา เวลา นั้นมีอยู่จริง นี่เป็นสิ่งที่ดุร้ายที่สุด ร้ายกาจ ดุร้ายที่สุด คือมันกัดคนที่มีเวลา ที่ ที่จะต้องพูดกันก่อนก็คือว่า เวลาคืออะไร เวลาคือ ระยะระหว่างความอยากกับความสมอยาก เรื่องทุกเรื่อง แต่ละเรื่องน่ะ มันมีจุดตั้งต้น ของความที่ไปอยากมันเข้า แล้วก็ต้องรอ รอ รอ รอจนกว่าจะสมอยาก จุด ๒ จุดนั้นน่ะ ในระหว่างนั้นน่ะคือเวลา ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากอะไร อยู่เฉยๆ มันก็เหมือนกับไม่มีเวลา ไปดูให้ดีสิ เวลามีความหมาย มีฤทธิ์มีเดชขึ้นมาก็เพราะว่าความอยากของคนนั่นแหละ ของคนๆ นั้นเอง เวลานี่ในพระบาลีกล่าวว่า มันกัด กัด กัดกินสรรพสัตว์และกัดตัวมันเองด้วย ตัวมันเองก็สิ้นไป กัดตัวมันเอง และกัดสรรพสัตว์คือมันก็กัดหัวใจคน คนที่รู้สึก หรือเกี่ยวข้องกับเวลา มันต้องมีความอยากนะ มันจึงจะมีจุดตั้งต้นที่ความอยาก แล้วมันต้องรอจนกว่าจะได้สมอยาก ตรงนั้นเป็นยังไงบ้าง มันกัดหัวใจกี่มากน้อย ทำความยุ่งยากลำบากสักเท่าไร เรียกว่าไม่ทันเวลา มาไม่ทันเวลา ได้ไม่ทันเวลา เลยเวลาแล้วไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น ระหว่างที่อยาก หรือต้องการ แล้วก็กว่าที่มันจะได้ตามที่ต้องการนั่นน่ะ เป็นสิ่งที่เรียกว่าเวลา ถ้าไม่มีความอยาก สมมติว่าเป็นพระอรหันต์ไม่มีความอยาก มันก็ไม่มีไอ้ ๒ ระยะนั้นน่ะ ไม่มีระยะ ๒, ๒, ๒, ๒ จุดที่ว่า เมื่ออยากแล้วกว่าจะได้สมอยาก มันไม่มี มันไม่มีแก่พระอรหันต์ ดังนั้นพระอรหันต์จึงไม่มีความทุกข์ที่เกี่ยวกับเวลาหรือความอยาก พอเราอยาก อยาก อยาก อยากนี่ก็เหมือนกับเข็มนาฬิกาหมุนไปทีเลย พอเราหยุดอยาก พอเราหยุดอยาก เข็มนาฬิกาก็หยุดหมุน เข็มนาฬิกาหยุดหมุนสำหรับผู้ที่หยุดอยาก หรือไม่มีความอยาก ถ้าว่าเราเกิดพอใจในความไม่อยาก ยินดีในความที่ไม่ต้องอยาก นั่นแหละ ไอ้เข็มนาฬิกานั้นจะหมุนกลับเลย หมุนถอยหลัง หมุนกลับเลย พูดอย่างนี้ฟังไม่ถูกก็ได้ แต่ถ้าเป็นนักคิดหรือนักศึกษาในทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเวลาและพื้นที่นี้กันบ้างจะเข้าใจ เมื่อเราอยาก เวลาก็เกิดขึ้นทันที ถ้าเราไม่ต้องการอะไร เวลาก็ ไม่มีอะ พอสมอยากเสียเวลาก็หยุด เวลาที่เรานอนหลับไม่ต้องการอะไรนั่นน่ะ เข็มนาฬิกาก็หยุด คือเวลาไม่ได้เป็นไป ไม่ได้แผดเผาหัวใจ แต่มันไม่ใช่นาฬิกานี้น่ะ ซึ่งมันเดินถึงเราหลับหรือตื่น นาฬิกานี้ก็ยังเดินอยู่ แต่ว่านาฬิกาทางวิญญาณ ทางจิตทางลึกซึ้งน่ะมันหยุด เพราะเราไม่ได้ไม่ต้องการอะไร พระอรหันต์จึงไม่มีความทุกข์ เพราะท่านไม่มีเวลา หรือเวลามันหยุด ในตัวเรานี้กลัวแต่จะไม่ทันเวลาอยู่เรื่อย กระหืดกระหอบจะต้องรีบทำงานให้ทันเวลาให้ได้สมอยากให้ได้สมอยากเร็วๆ ระหว่างความอยากกับความสมอยากนั้นมันกัดกินหัวใจ กัดกินหัวใจ นั่นน่ะคือความทุกข์
พอพูดอย่างนี้แล้ว ก็คงจะนึกออกกันทุกคนกระมังว่า ที่ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์น่ะมันหมายความว่าอย่างไร ที่พระเจ้าท่านตรัสไว้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์น่ะมันหมายความว่าอย่างไร เพราะมันมีความอยาก แล้วมัน มันไม่ได้อย่างอยาก ตรงนั้นมันก็เป็นทุกข์ คือความอยากมันเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวขึ้นมา ท่านจึงพูด เป็น เป็นอะไร เป็น เป็นวัตถุธรรมขึ้นมาว่า เวลามันกัดกินสรรพสัตว์ สัตว์ตัวไหนมีเวลา สัตว์ตัวนั้นจะถูกเวลากัดกิน เมื่อใดสัตว์ตัวไหนมีเวลา เมื่อนั้นสัตว์ตัวนั้นจะถูกเวลากัดกิน เมื่อมีความอยาก เมื่อมีความอยากในสิ่งใด มันก็เกิดเป็นจุดตั้งต้นของความอยาก กว่าจะได้สมอยากนั้นคือเวลา มันกัดกินหัวใจเราตลอดเวลา ถ้าเราอยากเรื่อย ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็หมายความว่าเวลามันกัดกินเราตั้งแต่เกิดจนตาย จริงแล้วอาจจะอยากอยู่โดยไม่เต็มสำนึก ต้องการอะไรอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สำนึกมันก็ลืมไปบ้าง ตอนนั้นมันก็ไม่เป็นทุกข์ ถ้าความอยากมันไม่แสดงตัวออกมา มันก็ไม่มีเวลา มันก็ไม่เป็นเวลา ไม่ใช่เวลาที่จะกัดกินหัวใจให้เป็นทุกข์ พอเราหยุดความอยากหรือหยุดตัณหาเสียได้ เวลาหยุดหมดเลย ไม่มีอะไรทรมานหัวใจด้วยเรื่องว่ามันไม่ทันเวลา ไม่ทันเวลา
นี้การที่ปฏิบัติธรรมะจนกระทั่งขั้นสูงสุด ตัดกิเลสตัณหาเสียได้น่ะ มันจึงอยู่เหนือเวลา อยู่เหนือเวลา เหนืออำนาจของเวลา เวลาไม่แตะต้องคนชนิดนี้ เวลาไม่กิด ไม่กัดกินหัวใจของคนชนิดนี้ คนชนิดนี้กลับเป็นผู้กินเวลา พูดให้มัน ให้มันสมกัน พระอรหันต์นี่กินเวลา ปุถุชนถูกเวลากิน เวลากินปุถุชน แต่เมื่อเป็นพระอรหันต์เสียแล้วกินไม่ได้ พระอรหันต์กลับกินเวลา ก็คือว่าไม่ทำอะไรท่านได้ เวลามันจะหมุนไปอย่างไร ตามไอ้ที่โลกหมุน หรืออาทิตย์เดิน มันก็ไม่ทำอะไรพระอรหันต์ เพราะในหัวใจของท่านไม่มีความอยาก ไม่มีความต้องการ จุดตั้งต้นของเวลาฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณมันไม่มี มีแต่เครื่องนับเวลาทางวัตถุภายนอก ก็นับไปสิ ชั่วโมง วัน เดือน ปี นับโดยไอ้สิ่งที่เป็นเครื่องกำหนดนับ หรือนาฬิกาหรืออะไรก็ตาม ไอ้เวลาที่กำหนดด้วยเครื่องกำหนดเวลาอย่างนั้น มันยังไม่ใช่เวลาอันแท้จริง
แต่พอเรามีความอยาก พอเรามีความอยากอะไรขึ้นมาอย่างหนึ่ง กว่าจะสมอยากนั้นน่ะ ไอ้เวลานาที วินาที ชั่วโมง มันเกิดไปมีน้ำหนัก มีความหมายขึ้นมาทันที นาฬิกาไม่เดินเปล่าแล้ว มันมีความหมายแก่จิตใจของเราขึ้นมาทันที ทำให้ต้องกลัวจะไม่ทันเวลา กลัวเสียเวลา กลัวจะล้มละลายเพราะไม่ทันเวลา แต่ถ้าเราไม่ต้องการอะไรเท่านั้นแหละ เพราะเรารู้ธรรมะสูงสุดตามที่เป็นจริงว่ามันเช่นนั้นเอง มันเช่นนั้นเอง มันเช่นนั้นเอง ไม่ต้องการอะไร ก็เลยอยู่เหนือเวลา เวลาไม่มาย่ำยีหัวใจ นี่คือความดับทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัณหา ตัณหา อันเป็นเหตุให้เวลาเกิดมีฤทธิ์มีเดชขึ้นมา เพราะตัณหา ตัณหา ในความอยากที่เกิดมาจากความโง่ นี่จะรู้กันแล้วหรือยังก็ไม่ทราบ แต่เคยพูดหลายสิบครั้งแล้วว่า ไอ้ตัณหา ตัณหาน่ะ คือโลภะ โลภะน่ะ เป็นความอยากด้วยความโง่ ถ้าต้องการด้วยสติปัญญา มันไม่ใช่ความอยากอย่างนี้ มันไม่ทำให้เป็นทาสของเวลา มันทำให้จัดให้ทำไปได้โดยไม่ต้องมีความอยาก เมื่อไม่มีความอยาก เวลามันก็ไม่มี เวลามันไม่กัดหัวใจ นี้ถ้าเราจะเป็นอยู่กัน อย่างที่ว่าเวลาไม่กัดหัวใจนี่ จะดีสักเท่าไร จะเป็นสุขสักเท่าไร เดี๋ยวนี้เรายังมีความอยาก ตั้งแต่เกิดมามีจุดตั้งต้นความอยากไปจนตายโน่น ระหว่างนี้ก็ทรมานไปสิ มันมีความอยากอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย นี่ถ้าเฉพาะเรื่อง มันก็มี มีจำกัด เฉพาะเรื่อง เฉพาะเรื่อง เช่นว่าจะเรียนให้จบปฐมศึกษา ก็เวลามันก็มีเท่านั้น เรียนให้จบมัธยมศึกษา เวลาก็มีเท่านั้น เรียนให้จบมหาวิทยาลัยเวลาก็มีเท่านั้น จะมีเงินสักล้านหนึ่ง เวลามันก็จำกัดอยู่เท่านั้น จะให้ จะมีเงินสักร้อยล้านพันล้านเวลามันก็จำกัดอีก ไอ้ความอยากเป็นจุดตั้งต้น กว่าจะสมอยากนั้นคือเวลามันจะกัดกินหัวใจ เหมือนกับสัตว์ร้ายจะมาขบกัด เวลา
เราจะเป็นอยู่ด้วยชีวิตชนิดนั้นหรือ ดีหรือ ถ้าใครเห็นว่าดีก็เอา ก็เห็นเป็นอยู่ ถ้าจะเอาประโยชนต์จากพระพุทธศาสนาล่ะก็ต้องศึกษาวิธีที่หยุดความอยากเสีย กำจัดความอยาก คือตัณหา หรือโลภะเสีย ไม่ต้องอยาก จะต้องการอะ..อะ.. ควรจะทำอะไร จะกิน จะมี จะใช้ จะเก็บ ก็ไม่ต้องอยาก นั่นแหละคือศิลปะที่จะชนะเวลา ถ้าเป็นนักเรียน จะเรียนหนังสือ ก็เรียนด้วยสติปัญญา อย่าเรียนด้วยความอยาก อย่าเรียนด้วยความต้องการ อย่าเรียนด้วยความยึดมั่นถือมั่น มันก็จะเรียนได้ดี เรียนสนุก และได้ผลดี อย่าเรียนด้วยความอยาก อย่าอยู่ด้วยความหวัง
พวกฝรั่งน่ะจะมาสอนไอ้พวกเราให้ ให้ว่า จงอยู่ด้วยความหวัง จงมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ถ้าจริงเหมือนอย่างนั้น เราจะพูดว่าไอ้ฝรั่งโง่ มันอยากจะทำให้มีเวลาเกิดขึ้นมา ขบกัดหัวใจของบุคคลผู้อยาก พอความหวังเกิดมันก็ตั้งต้น ตั้งต้นอยาก กว่าจะสมหวังนานเท่าไหร่ มันก็กัดหัวใจเท่านั้น อย่าเป็นทาสปัญญาของพวกฝรั่งกันนัก เรื่องการศึกษาอะไรก็ดี เราจะเป็นพุทธบริษัทที่จะอยู่ด้วยสติปัญญา ไม่อยู่ด้วยความหวัง ถ้าอยู่ด้วยความหวังมันจะกัดหัวใจตลอดเวลาเหมือนกัน จะเรียนหนังสือ จะทำการงาน จะทำสวนทำนา อย่ามีความหวังชนิดโง่ๆ อย่างนั้น มีแต่สติปัญญาก็ทำไป ทำไป ทำไป ไม่มีความทุกข์เลย ผลก็เกิดขึ้น ข้าวก็ออกรวง อะไรก็ ต้นไม้ก็ออกผล โดยที่ว่าไม่ต้องทรมานหัวใจเรา เด็กๆ ถูกสอนมาผิดๆ ให้มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง จะได้ผอมเหลือง จะได้เป็นวัณโรคตาย เพราะว่าชีวิตมันทรมานอยู่ด้วยความหวัง อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความหวังจะเป็นพุทธบริษัท พุทธบริษัทแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้ความจริง แล้วก็ตื่นจากหลับ แล้วก็เบิกบานสดชื่นอยู่ เพราะว่าไม่มีความหวังย่ำยีหัวใจ ไม่มีความอยากย่ำยีหัวใจ เวลาไม่มีความหมาย เวลาไม่กัดกินหัวใจ นาฬิกาเดินไป เดินไป แต่มันไม่กัดหัวใจกูก็แล้วกัน เพราะกูไม่อยากอะไร ไม่ได้หวังอะไร ให้มัน ทำให้มันกัดหัวใจ ก็ทำไป ทำไป งานก็สำเร็จ ผลงานก็ได้ โดยไม่ต้องอยาก ไม่ต้องหวัง นี่ความเป็นพุทธบริษัทแท้มันอยู่ที่ตรงนี้ อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความอยากคือ กิเลส ตัณหา หรืออวิชชา ความโง่ ที่เข้มข้นจนเป็นอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู ตัวกูมีอยู่ ตัวกูจะเอานั่น ตัวกูจะเอานี่ ตัวกูจะเอาให้ได้อย่างนั้น ตัวกูจะเอาให้ได้อย่างนี้ นี่เป็นอุปาทานเข้มข้นของความอยากและความหวัง ก็ได้เป็นทุกข์ ตาม ตามปริมาตร ปริมาณของไอ้ ไอ้ความอยากน่ะ มันมีมากน้อยเท่าไร ความอยากความหวังมีมากเท่าใด มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น นี่เราจะได้เป็นทุกข์อยู่ เท่าๆ กับที่เราโง่หลง มีความอยาก มีความหวัง ไม่อยู่ด้วยสติปัญญา เก็บไปเสีย ไอ้ความอยากความหวังน่ะ เก็บไปเสีย เหลืออยู่แต่สติปัญญา รู้ว่าควรทำอะไร ควรทำอะไร เขาทำอย่างไร ทำอย่างไร ก็ทำไปด้วยสติปัญญา คำว่า ความอยาก ความหวังนี่มันเป็นโง่ เป็นเรื่องของความโง่ มันเป็นความโง่ หรือเป็นเรื่องของความโง่ พอเกิดขึ้นแล้วก็ทำให้เกิดการกัดกินจิตใจของผู้อยากของผู้หวัง นั่นน่ะคือเวลากินสรรพสัตว์ ตามพระบาลีที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เวลากินสรรพสัตว์ ในส่วนที่ว่าพร้อมทั้งตัวมันเองนั้นมันแน่นอนแล้ว ตามธรรมชาติมันก็ล่วงไป ตามอำนาจของเวลา เช่นว่าจากเกิดก็มาแก่ มาเจ็บ มาตายนี่ คนก็ดี สัตว์ก็ดี ต้นไม้ต้นไร่ก็ดี มันเปลี่ยนไปจากเกิดไปสู่ความตาย นั้นเป็นเรื่องเวลาของไอ้วัตถุล้วนๆ ฝ่ายวัตถุล้วนๆ แต่ถ้าเกี่ยวกับจิตใจนี่ มันหมายถึงความหวังความอยากนี่ เวลานี่กัดกินจิตใจ ส่วนเวลาของวัตถุธาตุ เช่นว่าตั้งแต่มันเกิดมา มันเปลี่ยนไป มันแก่ มันดับ ถ้าอย่าไปรับเอามาเป็นของเรามันก็ไม่มีปัญหาอะไร มันไม่มีฤทธิ์เดชอะไร เพราะเราไม่ได้อยากอะไร มันเป็นเรื่องของมัน
เช่นว่าร่างกายนี้ ว่าเกิดมาจากท้องแม่แล้ว มันก็เริ่มโต โต โต เปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงไป แก่ ชรา ไม่เท่าไรก็ตาย เน่า เข้าโลง เอาเข้าไปสิ เป็นเรื่องของร่างกาย จิตใจไม่ได้รับมาเป็นของกู ให้เป็นของธรรมชาติเช่นนั้นเอง อนิจจัง ทุขขัง อนัตตา ของธรรมชาติ เหล่านั้นเอง จิตใจก็ไม่เป็นทุกข์ นั้นจึงไม่เป็นทุกข์จนกระทั่งร่างกายนี่มันแตกทำลายลง ตลอดเวลานั้นไม่มีความทุกข์เลย ตลอดเวลาที่ยังเป็นๆ อยู่นี่ ถ้าเข้าถึงความรู้อันนี้นะ แล้วก็จะไม่ถูกเวลากัดกิน แล้วเราก็ไม่มีความทุกข์ คือไม่มีตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ตามหลักของอริยสัจ ๔ ประการว่า ความทุกข์เกิดมาจากตัณหา อย่าให้มีตัณหาเกิดขึ้นในใจ แล้วเวลามันก็ไม่มีความหมาย เวลาจะมีความหมายรุนแรงเฉพาะผู้ที่มีความอยาก หรือมีตัณหา มีความต้องการอย่างโง่เขลา เวลามันก็จะเป็นสัตว์ร้าย ดุร้าย ขบกัด เคี้ยวกินไอ้คนนั้นขึ้นมาทันที นี่เรียกว่าเวลามีอยู่จริง อย่าไปหลงตามไอ้คนบางพวก บางคน ที่ว่าเวลามิได้มีอยู่จริง ไม่ต้องสนใจ นี้บางพวกก็สนใจเกินไป จนถึงกับเป็นทาสของเวลา สร้างเวลาขึ้นมาให้เป็นนายของตัวมากเกินไป เป็นทุกข์เกินไป เดือดร้อนเกินไปจนเป็นบ้า จนเสียสติ จนเป็นโรคประสาท เพราะความอยากมันนั้นที่มันทรมานใจมากเกินไป นี่เรียกว่าเวลากัดเอาฉิบ ฉิบหายหมด เวลากัดเอาฉิบหายวินาศหมดแล้ว
นี่เราเป็นพุทธบริษัท อย่าโง่ถึงขนาดนั้น ต้องอยู่ด้วยความสดชื่น แจ่มใส จิตใจก็แจ่มใส ร่างกายก็สดชื่นแจ่มใส สติปัญญาก็สดชื่นแจ่มใส ชีวิตนี้เป็นชีวิตเย็น เป็นนิพพาน อยู่ที่นี่ไม่ต้องตาย ยังไม่ทันตาย ถึงจะมีความตายอยู่ข้างหน้า ก็ไม่มีความหมายอะไร เห็นเป็นของธรรมดาอย่างนั้น ไม่มีความกลัว ไม่มีความอยาก ไม่มีความอะไรเกี่ยวกับความตาย ความตายไม่ใช่ของเรา ความตายเป็นของธรรมชาติ ความเกิดเป็นของธรรมชาติ ความแก่เป็นของธรรมชาติ ความตายเป็นของธรรมชาติ เราก็ไม่มีความทุกข์เลย นี่เรารู้เรื่องความจริงของธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่กับคนทุกคนในโลก ผู้ไม่รู้จักเวลา แล้วเวลามันก็เคี้ยวกิน ขบกัดบุคคลนั้นอยู่ตลอดชีวิต ก็เป็นทาสของเวลา เป็นทาสของกิเลส จมอยู่ในความทุกข์ นี้ไม่ใช่พุทธบริษัท ถ้าเป็นพุทธบริษัทต้องรู้เรื่องนี้ถึงขนาดที่ว่าไม่เกิดเหตุอย่างนี้ ไม่เกิดอาการอย่างนี้ จิตใจเป็นผู้รู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบานอยู่ตลอดเวลา ไม่โง่จนปล่อยให้ ปรุง ปรุง ปรุง ปรุงเป็นความอยาก หรือเป็นกิเลส ตัณหาขึ้นมา อย่าโง่จนเปิดโอกาสให้ภายในจิตปรุงกิเลส ตัณหาขึ้นมา คืออยู่ด้วยสติปัญญาตลอดไป ตลอดไป ก็ควบคุมไว้ได้ ไม่ปรุงแต่งกิเลส ไม่ปรุงแต่งตัณหา ไม่ปรุงแต่งเหตุให้เกิดทุกข์ แล้วทุกข์ก็เกิดไม่ได้ ตามกฎของอิทัปปัจจยตา ถ้ามีเหตุของความทุกข์ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ไม่มีเหตุของความทุกข์ ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น หรือมาทำลายเหตุแห่งความทุกข์เสีย ความทุกข์ก็ดับไป เป็นเรื่องตามธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติที่มีอยู่อย่างตายตัวอย่างนี้ อย่างนี้
นี่เรียกว่าพุทธบริษัทมีสติปัญญา สมกับคำว่า พุทธะ พุทธะ พุทธะ นี่แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็ต้องรู้ในข้อนี้ ไปรู้ในข้ออื่นจะมีประโยชน์อะไร รู้ว่านี้เป็นอย่างนี้ หายโง่คือตื่นจากหลับ เพราะสดชื่นแจ่มใจ เพราะไม่ถูกความทุกข์เบียดเบียน ลักษณะของพุทธบริษัทต้องเป็นผู้รู้ รู้ถูกต้องตามที่เป็นจริง และตื่นจากหลับ คือหลับความโง่ ตื่นจากความโง่ ที่นี้ก็เบิกบานอยู่เหมือนกับดอกไม้เบิกบานสดชื่น แจ่มใส มีประโยชน์ถึงที่สุด จึงเอา เอาเรื่องเวลามาพูดให้ฟัง เพื่อพุทธบริษัทจะได้รู้เรื่องลึก เรื่องความลับของเวลา ของสิ่งที่เรียกว่าเวลา ซึ่งทางวิทยาศาสตร์เขาก็ค้นพบกันมากขึ้นๆ เรื่อง Time and Space Time คือกาละ Space คือเทศะ กาละเทศะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่กับไอ้อารมณ์ของจิต จิตไปรู้สึกต่ออารมณ์อะไร ไอ้ ไอ้เรื่องเวลาและพื้นที่นี้ มันจัดให้สำหรับหลงสำหรับโง่ ตามความรู้สึกของเด็กๆ มันก็อาจจะรู้สึกว่าเสียงที่เพราะที่สุด มันต่างคนละอย่างกับเสียงที่ไม่เพราะ ของที่หอมที่สุดมันต้องเป็นต่างกันคนละอย่างกับของที่มันเหม็น ที่จริงมันไม่ ไม่ต่างกันน่ะ ไม่ใช่ต่างกันอย่างตรงกันข้าม มัน มันขนาดของไอ้เวลาและพื้นที่ ต่างกันนิด นิด นิด นิด นิด นิด นิด นิด ไปกว่าจะ ตั้งแต่หอมที่สุดจนไปถึงเหม็นที่สุด มันคือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่ขนาดของไอ้ Time and Space น่ะในอารมณ์นั้นๆ น่ะมันต่างกัน พอรู้เรื่องนี้ เรื่อง รู้เรื่องความหลอกลวงของอันนี้แล้วมันก็ไม่ต้องถูกหลอก ไม่ต้องถูกหลอก ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะอารมณ์ ไอ้เรื่องธรรมะแท้ๆ ที่ต้องพูดก็ ก็คือว่า เดี๋ยวนี้เราทุกคนมันตกเป็นทาสของอารมณ์ ชีวิตทั้งชีวิตทั้งหมดนี่มันตกเป็นทาสของอารมณ์ เพราะเราโง่ในเรื่องนี้ อารมณ์ที่น่ารักมามันก็รัก อารมณ์ที่น่าเกลียดมามันก็เกลียด อารมณ์ที่น่าโกรธมามันก็โกรธ อารมณ์ที่น่ากลัวมามันก็กลัว มันก็มีอารมณ์ที่หลอกให้หลงวิตกกังวลอาลัยอาวรณ์ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่หลุดพ้นไปจากจิตใจได้ แล้วก็มันพาลหาเรื่องออกไปถึงผู้อื่น เกี่ยวข้องกับผู้อื่น กลายเป็นอารมณ์สองซ้อนสามซ้อน นั่นแหละกลายเป็นศัตรูคู่ต่อสู้ คู่แข่งขัน คู่แย่งชิงอารมณ์ระหว่างกันและกัน อ้าว, แล้วก็เกิดศัตรูที่เป็นบุคคลภายนอกขึ้นมาอีก อารมณ์ในภายในมันก็เป็นศัตรูทำอันตรายมากอยู่แล้ว นี่ก็เป็นเหตุให้เกิดศัตรูภายนอกที่เป็นคู่เวร ศัตรูต่อสู้ทำลายล้างกันอีก มันก็มากยิ่งขึ้นไปอีก
อือ, ขอให้ดู คือเรียนจากข้างใน อย่างที่พูดมาแล้วหลายสิบครั้งแล้วว่า เรียนจากข้างใน ดูจากข้างใน ไม่ใช่ว่าจากสมุด จากหนังสือ จากตำรา จากพระไตรปิฎก มันเป็นแต่เพียงเล่าเรื่องว่าให้ฟังสำหรับเราจะศึกษาแล้วเอาไปเรียนจากข้างใน พระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ ข้อนั้นน่ะ เป็นคำบรรยาย คือบันทึกของไอ้สิ่งเหล่านี้ แต่มันจะบอกให้เห็นชัดหรือรู้สึกด้วยจิตใจไม่ได้ เราต้องเอาเอาเรื่องนั้นน่ะศึกษาเข้าใจดีแล้วก็ไปใช้เป็นเครื่องมือ เรียนจากข้างใน ดูจากข้างใน ศึกษาจากข้างใน ในจิต ในชีวิต จึงจะพบไอ้ตัวจริง โอ้ว, มันอยู่อย่างนี้ ความทุกข์อยู่อย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์อยู่อย่างนี้ วิธีดับก็คืออย่างนั้นๆ ดังนั้นอย่าลืมเสีย อย่าลืมเสียที่ว่าจะต้องเรียนจากข้างใน พูด พูดได้เหมือนกันว่าหนังสือเล่มข้างใน อย่าอ่านแต่หนังสือเล่มข้างนอก ขอให้อ่านหนังสือเล่มข้างในที่มีอยู่ในจิตใจ ในหัวใจหนังสือนั้น เป็นหนังสือภายใน บรรจุไว้ทุกเรื่อง เช่นเดียวกับพระไตรปิฎกนั่นเป็นบันทึกของเรื่องเหล่านั้นไว้ แต่เรื่องตัวจริงอยู่ข้างใน ฉะนั้นเราจึงหาไม่พบในพระไตรปิฎก ไอ้ที่เป็นตัวจริงน่ะ พบแต่บันทึกเรื่องนั้นๆ เล่าว่าอย่างนั้นๆ นี้พอเรามองเข้าไปข้างใน มันจะพบตัวจริงทั้งหมด เรื่องทุกข์ก็ดี เหตุให้เกิดทุกข์ก็ดี ความดับทุกข์ก็ดี ไอ้ทางให้ถึงความดับทุกข์ก็ดี มันอยู่ใน ข้างใน ในร่างกาย ที่ยาวเพียงวาหนึ่งนี้ มีโลกทั้งหมดอยู่ในนั้น มีเหตุให้เกิดโลกทั้งหมดอยู่ในนั้น มีความดับสนิทแห่งโลกอยู่ในนั้น มีทางถึงความดับแห่งโลกอยู่ในนั้น
นี้ฟังถูกมั้ย ที่ว่ามีโลกมีจักรวาล มีทั้งหมดอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง เพราะว่าไอ้เครื่องให้รู้โลกน่ะมันอยู่ในร่างกายนี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันอยู่ใน ในร่างกายนี้ ไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มันจะทำให้โลกมีขึ้นมาได้ มีความหมายขึ้นมาได้ อย่างที่พูดแล้วว่าถ้าเผอิญ เราไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่างนี้ มันก็จะมีอะไร มันก็ไม่มีอะไร เพราะมันรู้สึกไม่ได้ แต่ เพราะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันรู้สึกอะไรได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านั้นมันจึงมีขึ้นมา เพราะความรู้สึกของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดังนั้น จึงมีไอ้ความถูกต้องที่จะพูดว่า โลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทแห่งโลก หรือทางถึงความดับแห่งโลกมีอยู่ในร่างกายนี้ ที่ยาวเพียงวาเดียวนี้ ที่ยังเป็นๆ นะ ที่ยังไม่ตายนะ ทีนี้ความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ทางถึงความดับทุกข์ ก็มีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งนี้ ที่ยังเป็นๆ อยู่นี้ นี่เรียกว่าให้ดูข้างใน ให้มองเข้าไปข้างในแล้วก็จะพบตัวจริง ในพระคัมภีร์ทั้งหลายมีแต่บันทึก บันทึกเรื่องราวคำบรรยายที่มีคนพูดบรรยายไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือพระพุทธเจ้า เมื่อขึ้นไปถามพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องอะไร ท่านก็ตอบอย่างนั้นน่ะ แต่ตัวจริงของเรื่องอยู่ในใจ ในชีวิตของคน เดี๋ยวท่านตอบเป็นคำพูด เป็นเรื่องราวของสิ่งเหล่านั้น นี้เราก็เก็บไว้เป็นบันทึก เป็นพระคัมภีร์ เป็นบันทึกของเรื่องราวเหล่านั้น บันทึกของเรื่องที่มีอยู่ในชีวิตจิตใจของคนแต่ละคน ที่จริงว่าอย่าลืมจะศึกษาธรรมะต้องศึกษาจากข้างใน ต้องมองเข้าไปดูจากข้างใน แล้วก็มีการตั้งต้นขึ้นมาอย่างไรเป็นความทุกข์ แล้วจะได้พูดตั้งแต่การพูดครั้งแรกแล้วว่า กอขอกอกาของธรรมะนั้นคืออย่างไร จะต้องรู้ อายะสะมิกกะธรรม (นาทีที่ 59:20) ๕ หมวด หมวดละ ๓๐ เออ หมวดละ ๖ อย่าง รวมเป็น ๓๐ อย่าง อย่างไร ทั้งหมดนั้นมันอยู่ในใจ อยู่ในชีวิต อยู่ในร่างกายนั่น พอรู้เรื่องเหล่านั้น ก็เห็นสิ่งเหล่านั้น แล้วก็จัดการกับสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามวิธี แล้วความรู้สึกที่เป็นทุกข์มันก็เกิดขึ้นไม่ได้ ความดับแห่งทุกข์ก็อยู่ในร่างกายนี้ เกิดมาเป็นทุกข์ขึ้นมา มันก็ทำผิดในร่างกายนี้ แต่ความดับทุกข์ขึ้นมาก็ทำถูกต้องในร่างกายนี้ ความดับทุกข์มันก็อยู่ในร่างกายนี้ และการปฏิบัติก็ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยร่างกายนี้ ด้วยจิตใจนี้ว่าถูกต้อง เรื่องธรรมะนี้มันเป็นเรื่องของจิตใจเสียมากกว่า แม้ร่างกายจะพิการแต่จิตใจไม่พิการ ก็รู้ธรรมะได้เท่ากัน
เอาล่ะเป็นอันว่าเราได้พูดกันถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเวลา เรื่องสิ่งที่เรียกว่าเวลา มันมีความสำคัญในชั้นแรกก็คือมันทำให้เราหลงในอารมณ์ เวลานี้มันคู่กับพื้นที่ มีขนาดต่างๆ กันทำให้อารมณ์มีขนาดต่างๆ กัน นับตั้งแต่น่ารักที่สุดไปจนถึงน่าเกลียดที่สุด นี่ความหลอกลวงของเวลาทำให้เราหลงในอารมณ์ นี่ข้อแรก ทีนี้เวลานั้นมันมาจากความอยาก เกี่ยวอยู่กับความอยาก ถ้าไม่มีอยาก ไม่มีเวลา ถ้าหยุดอยากได้เมื่อไหร่ เวลาก็หยุด หยุดสำหรับบุคคลนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนกับว่านาฬิกาหยุด เข็มนาฬิกาหยุดไม่เดินสำหรับบุคคลนั้น ซึ่งไม่มีความอยากหรือต้องการอะไร ถ้าเขาพอใจในความเป็นอย่างนั้น ทีนี่จะเปรียบเสมือนกับว่า เข็มนาฬิกาเดินถอยกลับ เดินถอยกลับ ไม่เดินอย่างที่นาฬิกาธรรมดามันเดิน นี่เป็นเครื่องช่วยจำ เป็นเครื่องช่วยจำ ว่าชีวิตชนิดไหนที่นาฬิกาเดินไปข้างหน้า แล้วเดินเร็วเหมือนกับวิ่งไปเลย แล้วชีวิตชนิดไหนที่นาฬิกาเดินช้าลง เดินช้าลง เดินช้าลง ชีวิตชนิดไหนที่นาฬิกาหยุดเดิน ชีวิตชนิดไหนนาฬิกาเดินกลับ
เรื่องนี้มันมันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ว่าคนอื่นเขาจะไม่รู้ คนอื่นที่ไม่ใช่พุทธบริษัท เขาจะไม่รู้ คนที่เคยอ่านหนังสือของเชคสเปียร์ (Shakespeare) มีอยู่ตอนหนึ่งในเรื่องอะไร ก็ ก็ไม่รู้ ไม่อยากจะจำ แต่มันก็พูดถึงเรื่องนี้ เวลาของทนายความหรือของอะไร วิ่งเร็ว เวลาของไอ้คนที่ไม่ต้องการอะไร ของพระของอะไรนี่ มันหลับ หยุด เวลาหยุด เวลาหยุดนิ่ง คือผู้ที่มีความต้องการมากน่ะ เวลาก็วิ่ง เพราะว่ามันไม่ได้ลึกซึ้งเกินไป จน จนไม่สังเกตุเห็นได้ มันอยู่ที่ว่าเราไม่สังเกตุนี่ ไอ้ความโง่ ความอวดดีของเรามันไม่สังเกตุ มันไม่สนใจที่จะสังเกตุ มันก็ไม่ค่อยมีความรู้ในสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าเราพยายามที่สังเกตุ เป็นนักศึกษา เป็นนักสังเกตุ เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไปแล้วเราก็จะพบไอ้สิ่งเหล่านี้ขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กละน้อยได้ด้วยตนเอง จะพบมากขึ้นเมื่อมาศึกษาตำรับตำราที่เขามีไว้ให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณแล้วก็มีในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาที่เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียดทีเดียว เราก็เรียนตามนั้นไปได้ แล้วก็ไปหาของจริงเอาในชีวิตจิตใจ เรียนแผนที่ก็เพื่อจะเดินไปบนแผ่นดินจริงๆ เราเรียนแผนที่อยู่บนในกระดาษนี่ แต่เพื่อไปเดินบนแผ่นดินจริงๆ ไปถึงที่เราต้องการจะไปจริงๆ เรียนธรรมะในหนังสือหรือฟังบรรยาย หรือ มันก็คืออย่างนี้แหละ คือเรียนเรื่องวิธีที่จะเอาไปศึกษา เอาไปปฏิบัติ ให้พบไอ้เรื่องจริง หรือของจริง หรือความจริง ของสิ่งนั้นๆ ที่มีอยู่ในตัวคน ที่มีอยู่ในชีวิต ในตัวคน ตัวของจริงน่ะอยู่ในตัวคน คำบรรยายนั้นอยู่ในพระไตรปิฏก คำบรรยายเรื่องนั้นๆ น่ะอยู่ในพระไตรปิฏกในพระคัมภีร์ แต่ตัวจริงของสิ่งนั้นๆ อยู่ในตัวคน ความทุกข์ก็ดี เหตุให้เกิดทุกข์ก็ดี ดับทุกข์ก็ดี ทางดับทุกข์ก็ดี อยู่ในตัวคน แต่คำบรรยายเรื่องนี้ อยู่ในกระดาษ ใน ใน ในตู้พระไตรปิฎก ขอให้ประพฤติกระทำให้มันถูกต้องอย่างที่ว่านี้ พระธรรมอยู่ในตัวคน บันทึกของพระธรรมอยู่ในตู้ ถ้ารู้เรื่องตัณหา รู้เรื่องกิเลสตัณหาความต้องการ อย่าโง่เขลาแล้ว ก็จะรู้จักเอาชนะเวลา ไม่ให้เวลามาย่ำยีจิตใจของเรา ทำเราให้เป็นทุกข์ทรมาน เราก็จะกลับเป็นผู้กินเวลา
ฉะนั้นทุกคนจำคำพูด ๒ ประโยคนี้ไว้ จะเรียกว่าเป็นคำพูดบ้าๆ บอๆ ก็ได้ แต่ขอให้ช่วยจำหน่อย เวลากินเราประโยคหนึ่ง เรากินเวลาอีกประโยคหนึ่ง มี ๒ ประโยค เวลากินเรา เราเป็นคนโง่ เป็นปุถุชน เวลากินเรา ที่เรากินเวลา คือว่าเราเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เรารู้ความจริงต่างๆ ขึ้นมา เราทำให้เวลาหมด หมดฤทธิ์ หมดความหมาย เรากินเวลา ใครจะอยู่ในสถานะไหนก็ไปดูเอาเอง เวลากินเราหรือว่าเรากินเวลา ไปดูเอาเอง ก็คงจะค่อยๆ รู้มากขึ้นๆ จนอยู่เหนือ เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง ถ้าเวลากินเรา เราก็จะมีความทุกข์เจ็บปวด เหมือนกับมีสัตว์ร้ายมาขบกัดกินแทะเราอยู่ตลอดเวลา นั่นเวลากินเรา พอเราหมดความอยากกินโง่ๆ มันมีสติปัญญาอย่างเพียงพอแล้ว เราก็สลัดทิ้งเวลานั้นออกไปเสียได้ นี่คือเรากินเวลา ไม่มีความทุกข์เลย เป็นบุคคลสูงสุดที่เรียกว่า พระอรหันต์ พระอรหันต์นี่แปลว่า ผู้ที่เต็ม มีความเต็มแห่งความเป็นมนุษย์ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ นั่นคือยังบกพร่อง ยังขาด ยังหลวม ยังอะไรอยู่ มีความสมบูรณ์มีความเต็มเปี่ยมแห่งความเป็นมนุษย์ นี่เขาเรียกว่าพระอรหันต์ เพราะว่ามีปัญญามีความรู้ถึงที่สุด ถึงที่สุด จนขจัดความทุกข์ทั้งปวงเสียได้
นั่นแหละ เรื่องเวลามีอยู่อย่างนี้ ถ้ายังรู้สึกว่า แหม, ไม่ทันเวลา เสียเวลา นี้เรียกว่าเวลามันยังกินกัดอยู่ ถ้าเราทำตนเป็นผู้ที่ชนะเวลาได้ เราจะไม่มีคำพูดว่าเสียเวลา หรือไม่ทันเวลา หรือยังไง (นาทีที่ 1:08:03) จะไม่มี เพราะเราอยู่เหนืออำนาจของเวลา นาฬิกาของเราหยุดเดิน หรือนาฬิกาของเราหมุนกลับเหมือนพระอรหันต์ก็ได้ แม้ขณะหนึ่งๆ ก็ยังดี ไอ้คนโง่เต็มไปด้วยความอยาก นาฬิกาหมุนเร็ว เหมือนกับเข็มนาฬิกาวิ่งจี๋ หมุนจี๋เลย มันก็มีความทุกข์มาก
แล้วเป็นอันว่าจะพูดเรื่องเดียวเท่านั้นนะวันนี้ คือเรื่องเวลา มีอยู่ ๒ ประเด็นว่า เวลาคือสิ่งที่ประกอบอยู่กับอารมณ์ที่มันหลอกลวงเรา แล้วเวลามันเกิดขึ้นจากความโง่ความอยากของเรา พอเราหมดโง่หมดอยากแล้ว เวลาก็หมดไป ไม่มาทำอันตรายเรา เรื่องเวลามีเท่านี้ ได้ยินว่า ฟังหัวถึงแต่ทั้งวัน (นาทีที่ 1:08:59) ตอนบ่ายตอนเย็น จนน้ำชาล้นถ้วยแล้วกระมัง ป่านนี้รุม (นาทีที่ 01:09:06) เอาละวันนี้พูดเรื่องเดียวสั้นๆ ว่าเวลา เวลา เวลา คนโง่พออยาก เวลาก็มีมากัดเรา หยุดโง่หยุดอยาก เวลาก็ไม่มีมากัดเรา รักษาไว้ให้ได้ อย่าให้เวลากัดเรา ให้เรากัดเวลา ตามมากตามน้อยตามสมควรแก่สติปัญญาของตนๆ ขอยุติการบรรยายเรื่องเวลา คำพูดคำเดียวนี่แหละลึกซึ้งมากนะ
ไอ้ ไอ้หนังสือเรื่อง Relativity ของไอน์สไตน์ (Einstein) น่ะเอาหามาอ่าน แล้วจะเข้าใจเรื่อง Time and Space ดีขึ้น วันนี้ไม่ได้นั่งกลางดิน ไกลธรรมชาติ ไม่ได้นั่งกลางดิน ไกลธรรมชาติ จิตใจเป็นยังไง ไปนั่งกลางดิน ใกล้ชิดธรรมชาติ จิตใจเป็นยังไง สังเกตุดูสิ มานั่งในห้องนี้ก็ดีเหมือนกันแหละทุกคน เข้ามาในห้องนี้ควรจะได้ ได้ความรู้สึกอะไรสักอย่างซึ่งเคยเข้าใจผิด เช่นว่าทำงาน คนๆ หนึ่งทำงานได้เพียงเท่านั้นเท่านี้ ทำงานได้เพียง ๘ ชั่วโมงก็เต็มที่เสียแล้ว เราว่าไม่จริง ถ้าเราทำจิตใจของเราให้ดีถูกต้อง เราทำงาน ๑๘ ชั่วโมง ทำได้ การทำงานวันละ ๑๘ ชั่วโมงน่ะทำได้ สมัยหนึ่ง เมื่อยังแรกๆ มี ยังหนุ่มๆ อยู่ ก็ทำงานวันละ ๑๘ ชั่วโมงมาแล้ว แล้วหนังสือทั้งหมดนี่มันจึงเกิดขึ้น หนังสือทั้งหมดนี่ทำคนเดียว เพื่อจะบอกให้รู้ว่ามันทำได้ อย่าไปคิดเสียว่า ทำไม่ได้ แล้วก็ไม่ทำ การทำงานวันละ ๑๘ ชั่วโมงน่ะ ทำได้ เมื่อเราทำให้มันสนุก ทำให้มันรู้สีกพอใจ และเป็นสุขในการทำการงานแล้วมันก็ทำได้ นี่หนังสือทั้งหมดนี้เป็นพยาน เป็นวัตถุพยานว่าการทำงานให้สนุกน่ะมันทำได้ มันจึงทำโดยคนๆ เดียวได้ เพราะว่ามันรู้จักทำให้มันสนุก คิดว่าทุกคนนี่ไปหาวิธีปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ให้ดี ให้งานคือธรรมะ ธรรมะคืองาน การทำงานคือการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมคือการทำงาน แล้วก็ทำงานสนุก มันทำเพลินไป มันก็ได้มาก นี่แหละเป็นพยานว่างานทำให้สนุกได้ เป็นสิ่งที่ทำให้สนุกได้ ครั้นทำงานให้มันสนุกได้ มันก็ทำได้มาก ได้มากเกินคาด เกินเชื่อ หนังสือ ๕๐๐ หน้าเล่มใหญ่ๆ นั้นน่ะมันจะเข้าจำนวน ๖๐ เล่มในไม่ช้านี้ เรื่องหนังสือเล่มเล็กๆ น่ะไม่รู้กี่ร้อยเล่มแล้วนะ