แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้ จะพูดเรื่อง อ่า, สุญญตา ซึ่งมันก็คาบเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องอนัตตา ตถาตา ด้วย เป็นธรรมดา เพียงแต่ขอให้ตั้งใจฟัง ในฐานะเป็นเรื่องสุญญตา เมื่อภิกษุบวชใหม่ ถูกจำกัดให้ศึกษา เรื่อง เออ, ที่เป็น เบื้องต้น หรืออย่างน้อยก็ตรงกลาง อ่า, ของพุทธศาสนา ดังที่ระบุไว้ใน หนังสือนวโกวาท นะ เล่มแรกวินัย อ่า, เล่มที่ ๒ เรียนธรรมวิภาค เล่มที่ ๓ เล่มเรียนคิหิปฎิบัติแล้วก็สึก และเรื่องเหล่านั้นก็เป็นเรื่องเบื้องต้น ที่ผมเห็นว่าเรียนได้เอง หรือว่าสอนกันอยู่ สำหรับผู้ที่จะไปสอบอยู่ อ่า, ราชภัฎฯ สอบธรรมะศึกษาก็ตาม ก็เลยไม่พูด ไม่พูดเรื่องอย่างที่มีอยู่ในนวโกวาท หรือในระดับนั้น
และก็มาพูดถึงเรื่องสุญญตา ซึ่งเป็นเรื่อง ระดับสูงสุดในพระพุทธศาสนา หรือบางคนกจะเห็นว่า ถ้ามันเป็นเรื่องไม่มีเหตุผลแล้ว ที่มาพูดเรื่องสุญญตากับผู้ที่บวชพรรษาเดียว และขนบธรรมเนียมที่เขาถือ กันมา มันก็ดูว่าจะเป็นเรื่องห้าม ที่จะต้องให้ห้ามพูดเรื่องโลกุตระ เรื่องหลุดพ้น เรื่องสุญญตา เรื่องอนัตตา เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น แก่ผู้บวชใหม่ หรือบวชเพียงพรรษาเดียว นั้นนะเพราะ เขาถือหลักว่า มันสูงเกินไป และไม่ควรเอามาพูด กับภิกษุบวชใหม่และบวชพรรษาเดียว นี้เราก็เลยเป็นคนดื้อ เป็นคนฝืน แหวกแนว อ่า, ความนิยม หรือประเพณี ที่เขามีกันอยู่ แต่เรื่องนี้ฝ่ายผมผู้พูดนี้ไม่เป็นไร จะไม่รู้สึกว่า เสียหายอะไร เพราะต้องการจะให้ผู้บวชทุกคน ได้เข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนา ไม่ใช่วิ่งเลาะอยู่ตามริมรั้ว แต่จะให้ไปถึงศูนย์กลางที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ดังนั้นจึงพูดเรื่องนี้
แต่อยากให้ทราบว่า ขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ อ่า, ก่อนหน้านี้นะ ก่อนก่อนหน้าการเรียน มีการเรียนนักธรรมนี่นะ เออ, มีสิ่งที่น่าสนใจหรือสะดุดใจอยู่บางเรื่อง คือ เมื่อมีผู้มาอยู่วัด เพื่อจะบวช เรื่องแรกที่เขาให้เรียนนะ ก่อนอื่นทั้งหมดนะ เป็นเรื่องหัวใจของพุทธศาสนา ชั้นสูงสุด คือ บท ปัจเวกขณ์ ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง (นาทีที่ 05:14) ที่คุณเอามาสวดกันอยู่นั่นแหละ อันนั้นนะ เขาจะให้เรียน ก่อนเรื่องใด ๆ หมด สำหรับผู้เข้ามาบวช ก็แปลว่า พอเข้ามาถึงก็เอาหัวใจอันลึกสุดของพุทธศาสนา ให้เลย
ไอ้เรื่องศีล เรื่องสิกขาบท เรื่องไหว้พระสวดมนต์ นี้ค่อยเรียนทีหลัง เรื่องแรกจะเรียนเรื่อง ยะถา ปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง (นาทีที่ 05:55) ซึ่งเป็นเรื่องอนัตตา และสุญญตา อย่างยิ่ง อ่า, ขอร้องให้ไปสังเกต ศึกษา ทบทวนดู จากบทสวดอันนั้น หรือถ้าเอามาสวดกันอยู่ก็ดี ให้ทบทวนความหมายของบท ยะถาปัจจะยัง (นาทีที่ 06:16) นี้ ให้ดีดีเถอะ จะพบหัวใจของพุทธศาสนา มันคล้ายกับว่า เขาให้หัวใจของ พุทธศาสนายึดถือไว้เป็นหลัก เออ, ที่นี้มันก็รวนเรไม่ได้ จะเลือนเปื้อนเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ ถ้าได้ยึดถือบทนี้ เป็นหลักอยู่ นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ นั่น ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง (นาทีที่ 06:40) นั้นเป็นแต่เพียง สักว่าธาตุตามธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ นิสสัตโต (นาทีที่ 07:01) มิใช่สัตว์ นิชชีโว (นาทีที่ 07:03) มิใช่ชีวะ สุญโย (นาที่ที่ 07:05) ว่างจากความหมายแห่งตัวตน ก็แปลว่า หัวใจพุทธศาสนา ก็คือเรื่องไม่มีตัวตน
ทีนี้เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจ รู้ไว้แล้วก็รู้ไว้ กำหนดไว้จนตลอดชีวิต มันเป็นเรื่องหัวใจพุทธศาสนา ทั้งหมด ที่จะต้องกำหนดไว้จนตลอดชีวิต และมันก็ไม่เฉไปหาลัทธิอื่น ลัทธิภายนอกผิด ๆ ถูก ๆ ได้หรอก ถ้ายังรักษาความรู้เรื่องสุญญตา ไว้ได้แล้วก็เป็นอันว่า ยังอยู่ในใจกลางของพุทธศาสนา นี่พูดปรับ ความเข้าใจกันบ้างว่า ผมกลายเป็นแหวกแนวหรือดื้อ ต่อความนิยมขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เขาจะ ให้เรียนอย่างไร สำหรับพระบวชใหม่บวชพรรษาเดียว นี้ผมกลายเป็น ให้เรียนไอ้เรื่องหัวใจสูงสุด ของพุทธศาสนา แล้วก็เรียกว่าเรื่องสุญญตา
เกี่ยวกับข้อนี้นะ ต้องรู้ไว้ด้วยว่า มันแทนกันได้นะ เรื่องสุญญตา อ่า, เรื่องอนัตตา เรื่องตถตา เรื่องอิทัปปัจจยตา มันแทนกันได้นะ ใจความของมันก็สำคัญอยู่ที่สุญญตา เหตุเพราะว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยว กับความทุกข์ หรือความดับทุกข์โดยตรง พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านมีชีวิตอยู่ด้วย สุญญตาวิหาร คือ มีจิตใจที่ว่าง จากความหมายแห่งตัวตนนะ จากความรู้สึกว่าตัวว่าตนอยู่ตลอดเวลา ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง พระพุทธเจ้าท่าน เออ, ก็ตรัสยืนยันว่า ท่านอยู่แต่กับ ฆ่าเวลา ผ่านเวลาไปตลอดเวลา ด้วยสุญญตาวิหาร เหมือนกันแหละ บางทีก็เรียก มหาสุญญตาวิหาร บางทีก็จะเรียก มหาปุริสวิหาร ก็ได้ มหาสุญญตา ก็ สุญญตา อย่างใหญ่หลวง มหาปุริสวิหาร ก็คือ วิ ธรรมะเป็นเครื่องอยู่ของมหาบุรุษ ผู้ซึ่งมหาบุรุษในที่นี้ หมายถึง พระอรหันต์ และพระพุทธเจ้า ท่านก็มีชีวิตแต่ละวันละวัน ผ่านไปด้วย สุญญตา
ฟังดูไม่ค่อยรู้เรื่องใช่ไหม แต่ขอให้ฟังต่อไปจนได้รู้เรื่อง เพราะว่า สุญญตา ตามตัวหนังสือ ก็แปลว่า ความว่าง สุญญะ แปลว่า ว่าง ไอ้ ตา ตา นี่ แปลว่า ความ ความ สุญญตา ก็ ความว่าง นี้คำว่า ความว่างนี่ เข้าใจผิดได้ง่าย และเป็นผลร้ายด้วย เป็น อ่า, เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นไม่มีอะไรไปเสียเลยก็มี เป็นมิจฉาทิฐิ ชนิดนัตถิกทิฐิ นี่ ถือว่าไม่มีอะไรเลยนี่ มันก็กลายเป็นเรื่องผิด
พูดโดยสรุปว่า มันมี มันมีทุกอย่างแหละ แต่มันมีอย่างใดล่ะที่จะเป็นตัวตนได้ ทุกอย่างว่าง จากตัวตน ไม่ได้พูดว่าทุกอย่างไม่มี ไม่ใช่ และก็ไม่ได้พูดว่าทุกอย่างมี แต่ว่าทุกอย่างนั้นมันเป็นอนัตตา มากกว่า ถ้าว่าทุกอย่างไม่มีก็ไม่มีอะไรเสียเลย มันก็ ก็ก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าทุกอย่างมี ก็มีอย่างที่มิใช่เป็นตัวเป็นตน ก็มี อย่างอิทัปปัจจยตา คือ หมุนไป หมุนไป หมุนไป ตามเหตุตามปัจจัย ปรุงแต่งไป เปลี่ยนแปลงไป ตามเหตุตามปัจจัย มันมีอยู่ในลักษณะอย่างนั้น ถ้าจะพูดว่ามี แต่ถ้าพูดให้ ถูกต้อง ท่านก็ต้องพูดว่าไม่มีเหมือนกัน คือไม่มีตัวตนเหมือนกัน
แต่ที่นี้มันพูดไม่ได้โดยส่วนเดียว ว่ามีหรือไม่มี พุทธศาสนาไม่นิยมพูดโดยส่วนเดียว มีสุดโต่ง ไปทางมีก็ไม่ถูก ไม่มีสุดโต่งไปทางไม่มีก็ไม่ถูก ก็บอกว่า มีแต่ สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน นะ คือ มีแต่ไม่ใช่ตัวตน ถ้าพูดกันตามภาษาธรรมดา เมื่อไม่ใช่ตัวตน มันก็ไม่ควรจะเรียกว่ามีนะ มันก็เถียง กันไม่รู้จบ เพราะคำว่ามี มันก็ต้องมีอะไรที่เป็นเหตุความหมายแห่งตัวตนนะ ถึงจะเรียกว่า มี เพราะสิ่งที่มี มันก็คือ ตัวตน ทีนี้ว่าเมื่อไม่มีตัวตน ว่าไม่มีตัวตน มันก็เท่ากับบอกว่าไม่มี แต่ก็ไม่ถูก เพราะมันมีสิ่งที่ กำลังเปลี่ยน เป็นสายไหลเชี่ยวเป็นเกลียวไป ตามเหตุตามปัจจัยของมันอย่างนั้น นั่นแหละ คือ ความมี ของสิ่งเหล่านั้น ชี้ไม่ทันชี้ไม่ถูกว่าตรงไหนมี เพราะมันเปลี่ยนเรื่อย ชี้ไม่ทันเปลี่ยนมันเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เสียแล้ว
นี่จึงพูด ตามแบบพูดของพุทธศาสนาว่า มีแต่อิทัปปัจจยตา คือ จะไม่พูดว่าสิ่งทั้งปวงมี และก็ไม่ พูดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี แต่พูดว่ามันมีแต่อิทัปปัจจยตา คือ สิ่งที่กำลัง เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าตัวตนของคนโง่ ดังนั้นถ้าพูดว่ามีมี มันก็เป็นคำพูดของคนโง่ ส่วนไม่มีไม่มี ก็มันเป็นคำพูดของคนที่ไม่ดูให้ดี ไม่ดูให้ดี ไม่เห็นอะไรเสียเลย บทสูตรมันก็มีว่า สิ่งทั้งปวงเหมือนกัน สิ่งทั้งปวงมี สิ่งทั้งปวงไม่มี และพูดอย่างชั้นสูงก็ไม่ถูกทั้ง ๒ อย่าง สิ่งทั้งปวงจัดว่ามีก็ไม่ได้ ไม่มีก็ไม่ได้ มีแต่กระแสปรุงแต่งของอิทัปปัจจยตา ที่ไหล ไปเรื่อย มันก็เลย บอกไม่ถูกว่า ควรจะบอกว่ามีดีหรือไม่มีดี
ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมา มันก็ควรจะพูดว่า มีแต่กระแสแห่งการปรุงแต่ง ของอิทัปปัจจยตา ที่เห็น สิ่งใด เป็นความปรุง แต่งไหลเรื่อยอย่างนั้น มันก็ไม่มีการจับฉวยเอา สิ่งนั้น คือ ไม่ยึดถือสิ่งนั้น ไม่จับฉวยสิ่งนั้น โดยความเป็นตัวตน เมื่อจิตไม่จับฉวยสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน นั้นเขาเรียกว่า จิตมันว่าง ถ้าจิตไปจับฉวยสิ่งใด โดยความเป็นตัวตน แล้วก็เรียกว่า จิตมันไม่ว่าง พอมันไม่ว่าง มันก็คือ ปรุงแต่ง และก็เป็นทุกข์ ถ้าจิตมันไม่จับฉวยสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน มันไม่ปรุงแต่ง และไม่เป็นทุกข์
ที่นี้สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความจับฉวยยึดถือ ก็คือ สิ่งทั้งปวงนั่นแหละ พูดโดยสมมุติก็คือ โลก โลกนี่ ทุกสิ่งในโลกนะเป็นที่ตั้งความยึดถือว่าตัวตน นี่ถ้าพูดโดยสมมุติ โลกก็คือความเป็นตัวตน ทีนี้ถ้าพูดโดย บัญญัติ ที่ฉลาดขึ้นมาหน่อย ก็พูดโดยบัญญัติ ก็ว่า ไอ้ขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละ เป็นที่ตั้งแห่งความจับฉวย ว่าเป็นตัวตน ด้วยขันธ์ ๕ นี้ ก็ได้พูดกันมา พอสมควรแล้วนะ ถ้าปล่อยให้ลืมเสีย แล้วก็ลำบากเองนะ บอกให้รู้
เรื่องเรื่องขันธ์ ๕ นี่ควรจะแม่นยำอยู่ เป็นหลัก สำหรับการศึกษาทุกเรื่อง เพราะว่ามันไม่มีอะไร นอกจากขันธ์ ๕ จะพูดว่าโลกทั้งปวงก็ได้ ไม่มีอะไรนอกจากขันธ์ ๕ มันเป็นร่างกาย ก็เรียกว่า รูปขันธ์ ที่เป็นความรู้สึก ก็เรียกว่า เวทนาบ้าง ปัญญาบ้าง เป็นความคิดในระดับสังขาร ที่ทำการรู้แจ้งทาง อายตนะ ก็เรียกว่า วิญญาณ มันมีเท่านั้น ให้รู้ว่าสิ่งทั้งปวงนะ มันมีเพียงขันธ์ ๕ ให้เข้าใจไว้อย่างนี้ ในโลกทั้งหมดนี้ อะไรล่ะเอา ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เขาก็จัดเป็นรูปขันธ์ อยู่ในพวกรูปขันธ์ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ หรือที่ว่าง รูปขันธ์ เป็นรูป แล้วมันจะมีอะไรเหลือล่ะ เพราะว่าในในโลกนี้ ทางฝ่ายวัตถุ มันไม่มีอะไรนอกไปจากที่ ประกอบไปด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ มีรูปเป็นรูปขันธ์
ที่นี้ส่วนทางฝ่ายจิตใจ เป็นเวทนาเมื่อรู้สึกสุขหรือทุกข์ เป็นสัญญาเมื่อสำคัญมั่นหมายว่าเป็น อย่างไร เป็นสังขารเมื่อคิดนึกว่าอย่างไร เป็นวิญญาณเมื่อรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็เลยหมด เหมือนกัน ในบรรดา ไอ้จิตใจและความรู้สึกของจิตใจนี่ มันมีอยู่ได้เพียง ๔ อย่างเท่านี้ รวมกันเป็น ๕ อย่าง แล้วมันก็เลย รวบหมด รวมความหมด เป็นทุกสิ่ง ดังนั้นรู้เรื่องขันธ์ ๕ ไว้ให้ดีดี มีความสำคัญมากนะ และทุกเรื่องที่จะอธิบายให้ลึกลงไป แล้วก็จะอาศัยเรื่องขันธ์ ๕ นี้เป็นหลัก
ผมสังเกตดู คำสอนฝ่ายมหายาน พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แม้มันจะ แตกต่าง วิเศษ พิเศษ แตกต่างไปไกลคนละอย่างก็ ในที่สุดมันก็ยังเหมือนกันอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องขันธ์ ๕ มิใช่ตัวตน แม้จะเป็นมหายานที่ว่าไกลออกไปลึกลับแล้วมันก็ยัง ไม่พ้นจากเรื่องขันธ์ ๕ มิใช่ตัวตน แม้ที่สุดแต่ นิกายเซน ที่ถือว่าดีที่สุด ของฝ่ายโน้น มันเป็นยิ่งมาเน้นที่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตน สูตรที่สำคัญของนิกายเซน ทุกสูตรแหละ ไปจบเรื่องได้เห็นขันธ์ ๕ มิใช่ตัวตนทั้งนั้นเลย
ดังนั้นไอ้เรื่องขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนนี้เป็นหัวใจทั้งหมด ทั้งของฝ่ายเถระวาทอย่างพวกเรานี่ และทั้งของฝ่ายมหายาน อย่างฝ่าย จีน ฝ่ายญี่ปุ่นนี่ และแม้พุทธศาสนา คิดใหม่ เช่น นิกายเซน นี่มันไม่ใช่ ของเดิม มันก็ไม่ใช่มหายาน มันก็ไม่ใช่เถระวาท ก็มาเรียกตัวเองว่า นิกายเซนกันอยู่ มันก็ถอดเก็บเอามา จากของเดิม นิกายอื่นของเดิมที่มันมีอยู่ ทั้งเถระวาท ทั้งมหายาน เอามาเป็นคำสอนที่รวบรัดรุนแรง เรียกว่า คำสอนอย่างเซน ฝรั่งเขาเรียกว่า Newly Develop นิกายเซนนะ ไม่มี ไม่ใช่ของเก่า ไม่ใช่ Orthodox ไม่ใช่ไอ้พวก มาแต่เดิม เป็น Newly Develop เพราะว่าเขาเพิ่งจัดเพิ่งปรุง ทำขึ้น วางรูปแบบขึ้นเมื่อ ไม่นานนี้ สัก ๑๐๐๐ ปีเห็นจะได้ เกิดขึ้นในประเทศจีน
นี่ก็เพื่อจะรู้ว่า เป็นอย่างเถระวาทก็ดี อย่างมหายานก็ดี อย่างของใหม่ ๆ เช่น เซน พวกนี้ก็ดี มันก็ไม่พ้นไปจาก ที่เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา จะใช้คำอย่างอื่นแปลก ๆๆ อย่างไร ก็คำที่ยืนเป็นหลัก ก็เรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา อย่างคำสอนของฮวงโปนั้นเป็นเรื่องว่าง ก็ขันธ์ ๕ มันว่างจากตัวตน ก็เน้นใน เรื่องว่าง คำสอนของเว่ยหล่างเน้นในหน้าตาดั้งเดิมนี่ ก็เมื่อจิตไม่ยึดถือ ว่าตัวตน จิตมันว่างอยู่นั้นนะ คือ หน้าตาดั้งเดิม เป็นของไอ้ จุดหมายปลายทางของไอ้ คำสอนอย่างเว่ยหล่าง ถึงพวกอื่น คนอื่น ชื่ออื่น ซึ่งเป็นเครือเครือเดียวกันนี้ ก็เหมือนกันทั้งนั้น ไปเอาไอ้ความว่าง ไม่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ นั่นเป็น จุดสูงสุดทั้งนั้น บรรลุถึงที่นั้นก็บรรลุถึงที่สุด
เพราะฉะนั้นเรา ควรจะรู้ไว้ ว่าหัวใจ ของพุทธศาสนาไม่ว่าชนิดไหน ที่ยังเป็นพุทธศาสนาอยู่ละก็ จะต้องพูดเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา หรือเป็นสุญญตา คือเป็นของว่าง ว่างจากตัวตนเพราะเป็นเพียงกระแส แห่งการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง เมื่อจิตมองเห็นสิ่งใด โดยความเป็นของปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงนั้น มันก็ไม่ ยึดถือ มันก็ไม่ยึดถือ คือ ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น ว่าเป็นตัวตน มีจิตที่ไม่ยึดถือสิ่งใด ไม่หมายมั่นสิ่งใด โดยความ เป็นตัวตนแหละ ก็เรียกว่า จิตมันว่าง เพราะไม่ได้ยึดถืออะไรไว้ เหมือนกับอย่างนี้ อย่างเรานี่ ถ้าไปกำอะไร อยู่ มันก็เรียกว่า มือไม่ว่าง ถ้ามือไม่ได้กำอะไรอยู่ก็มือว่าง จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าไปหมายมั่นยึดถืออะไรอยู่ ก็เป็นจิตที่ไม่ว่าง คือ จิตที่มีอุปาทานในสิ่งใด นี่ถ้าจิตไม่ยึดถือสิ่งใด ก็เป็นจิตว่าง
ทำไมว่าง ก็เห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นของ กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง ทางอิทัปปัจจยตา ยึดถือไม่ได้ ยึดถือไม่ไหว ยึดถือไม่ลง ยึดถือไม่ถูก คือ มันเป็นของที่ไม่มีตัวตนให้ยึดถือ จิตนั้นเป็นจิตที่กำลังไม่ยึดถือ อะไร ก็เลยเรียกชื่อว่า จิตว่าง มันก็คือ ไม่เกิดกิเลส เมื่อไม่ยึดถือสิ่งใด มันก็ไม่เกิดกิเลส ก็ว่างจากกิเลส เมื่อไม่เกิดกิเลสมันก็ไม่เกิดทุกข์ มันก็ว่างจากทุกข์ นี่คำว่าจิตว่าง มันหมายถึง ไม่ยึดถืออะไร ว่างเพราะ ไม่ได้ยึดถืออะไร เพราะไม่ได้จับกุมอะไร ว่างจากกิเลส กิเลสเกิดไม่ได้ ว่างจากความทุกข์ ความทุกข์เกิด ไม่ได้ เพราะไม่มีกิเลส มีคำว่า ว่าง จิตว่าง เพราะไม่ยึดถืออะไร เพราะไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลสก็ไม่มีทุกข์ เขาเรียกว่า จิตว่าง
มีคนธรรมดาสามัญไม่รู้เรื่องนี้ จึงปล่อยไปตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณ ที่โง่เขลา ตามสัญชาตญาณที่ไม่รู้อะไร มันก็ปรุงเป็นความยึดถือได้ตามธรรมชาติ เรื่องเด็ก ๆ ทารกที่เคยเล่าให้ฟัง มาหลายครั้งหลายหนแล้ว อุตสาห์จำไว้ให้ดี ว่าทีแรกไม่ได้มีความยึดถือ มันก็ว่างจิตเด็กในครรภ์ เด็กที่อยู่ ในครรภ์ในท้อง ไม่ได้สัมผัสอะไรรู้สึกอะไร จิตมันก็ไม่ยึดถืออะไร เพราะไม่อาจจะยึดถือ มันก็ยึดถือไม่ได้ มันก็เลยไม่ยึดถืออะไร นี่พอเด็กนี้มันคลอดออกมา เออ, แล้วก็ เออ, เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ แล้วมันก็ เออ, มีความรู้สึกได้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ อยู่ในท้องแม่ มันจะรู้สึก ทางตา หู จมูก ทางกายได้ยังไง แต่พอมันคลอดมาจากท้องแม่ไม่เท่าไหร่นี่ อวัยวะเหล่านี้ มันก็เริ่มทำหน้าที่ ตาเริ่ม เห็นรูป หูเริ่ม ฟังเสียง จมูกเริ่มรู้กลิ่น ลิ้นเริ่มรู้รส ผิวหนังก็เริ่มรู้จักต่อสัมผัส มีจิตก็ยิ่งคิดได้มากไปกว่าเดิม
ที่นี้จิตมันจะเป็นเรื่องโง่เขลาแล้ว เพราะว่าตา หู จมูก ลิ้น กายของเด็กนี่ มันสัมผัสต่าง ๆ ได้ตาม ธรรมชาติ อร่อยก็ยึดถือว่าอร่อย ไม่อร่อยก็ไม่ยึดถือ ไปยึดถือว่าไม่อร่อย ไม่ไพเราะ ทั้ง ๕ ทางนั่นแหละ ทางตาก็ว่าสวยหรือไม่สวย ทางหูก็ว่า อ่า, ไพเราะหรือไม่ไพเราะ ทางจมูกก็ว่าหอมหรือเหม็น ทางลิ้นก็ว่า อร่อยหรือไม่อร่อย ทางผิวหนังก็ว่านิ่ม นิ่มนวลหรือกระด้าง นี่เด็กมันก็เริ่มรู้ทั้ง ๕ แม้ไม่มีใครสอน ได้ ใครจะสอนได้ล่ะ และความรู้ติดมาจากในท้องก็ไม่มี เด็กมันก็ต้องเป็นไปตามไอ้ ธรรมชาติ เช่น เมื่ออร่อย แก่ระบบประสาท มันก็ยินดีหรือพอใจ เมื่อไม่อร่อย ไม่ถูกใจ มันก็ไม่ยินดี มันก็ยินร้าย นั่นแหละ คือ จุดตั้งต้นของกิเลส พอยินดีมันก็รู้สึกอยากจะเอา อยากจะได้อยากจะเอาอยู่เรื่อย พอยินร้าย มันก็อยากจะ ทำลาย อยากจะฆ่า หรือถ้ามันไม่แน่ มันก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร มันก็ลังเลสงสัยอยู่นั้นแหละ
นี่กิเลสมันเริ่มเกิด อ่า, เป็นความอยากขึ้นมา แล้วเริ่มเกิดจนยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่อยากนั้นนะ เป็นอุปาทาน กันขึ้นมา นี่ตัณหา ก็เพิ่งเกิด หรืออุปาทาน ก็เพิ่งเกิด นั้นทว่าเด็กนั้น ก็มีความรู้สึกอยาก ในสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจ โกรธ เกลียดในสิ่งที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ มันมีความอยากถึงที่สุดแล้ว คลอดออก มาเป็นความอยากอีกอันหนึ่ง คือ กู ผู้อยาก กูผู้อยากนี่เพิ่งเกิดทีหลัง ต้องมีความอยากเกิด เต็มที่ในจิตแล้ว แล้วจากไอ้ความรู้สึก ที่เป็นความอยากนั้นจะคลอด คลอดออกมาเป็นความรู้สึกอีกชั้นหนึ่งว่า มีกูผู้อยากนี่ มันก็อยากได้ของกู นี้มันมันเกิดเป็นตัวกู แล้วมันก็เกิดมีของกู ความอยากทำให้เกิดตัวกู นี่ความอยากนั้น เป็นตัณหา
ที่นี้เกิดเป็นตัวกู ความอยากปรุงเป็นความรู้สึกว่าตัวกู นี่คืออุปาทาน อย่างเช่นมีความรู้สึก เป็นตัวกูแล้ว มันก็อยากเอามาเป็นของกูนะ นี่ก็ยังเป็นอุปาทาน ว่าของกูเป็นตัวกู เป็นของกู นี่เป็น อุปาทาน ที่ว่าเด็กมันจะยิ่งเจริญ เจริญด้วยความรู้สึกชนิดนี้ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น จนเป็นเด็กโต เป็นหนุ่ม เป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ มันก็เจริญด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ที่เต็มไปด้วยความที่ยึดถือ เป็นตัวกู เป็นของกู ในสิ่งนั้นในสิ่งนี้ และที่มันเป็นภายใน มันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือมาก เพราะมันใกล้ชิด เป็นรูปขันธ์ ที่เป็นภายในจะถูกยึดถือก่อน เวทนาขันธ์ ที่เป็นภายในที่ถูกยึดถือก่อนสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นอยู่ภายในเกี่ยวเนื่อง เกี่ยวเนื่องกันอยู่กับจิตนะ มันจะถูกยึดถือเป็นตัวกูเป็นของกู ได้ตามความรู้สึกธรรมชาติ อย่างที่จะเรียกว่า สัญชาติญาณหรืออะไรก็สุดแท้ แต่เรียกว่า สัญชาติญาณ นั้นถูกต้องแล้ว เพราะเป็นความรู้ที่เกิดเอง เกิดเองตามธรรมชาติ
ดังนั้นในเด็ก ในจิตของเด็ก จึงทวีความยึดถือ ว่าตัวกู ว่าของกูมากขึ้น มากขึ้น จนเป็นจิตที่เต็ม ไปด้วยความยึดถือ คือ ไม่ว่าง ก็ลองเปรียบเปรียบจิตของเด็กตอนนี้ กับเด็กคนเดียวกันนั้น เมื่อมันยังนอน อยู่ในครรภ์ มันต่างกันเท่าไหร่ ให้คุณคิดดู เด็กคนเดียวกันนั้นนะ เมื่อมันนอนอยู่ในครรภ์นะ มีจิตที่คิด อะไรได้ ก็ในเมื่อมันออกมาเป็นเด็กโตอย่างนี้แล้ว มันเต็มไปด้วยความรู้สึกทางอายตนะ เป็นความรู้สึก อยาก เป็นความรู้สึกยึดถือเป็นตัวกูของกู หนาแน่นไปหมด มันต่างกันนิดเดียว มีคำสอนบางสำนักจะแนะ ให้เพ่งเล็งถึงจิตเด็กอยู่ในครรภ์ นั่นนะเป็นหลัก ว่าให้ปฏิบัติเหมือน อย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีพวกนิกายเซน บางนิกาย และบางสาขาก็มี สอนให้มีจิตเหมือนกับจิตเด็กที่อยู่ในครรภ์ คือ ไม่ยึดถือ
อ้าว, ที่นี้มันเป็นปัญหาแล้วเห็นไหม คือ เราเป็นคนธรรมดาอยู่ในโลก ซึ่งเต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ และตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็พร้อมอยู่เสมอที่จะจับฉวยเอา มันจึงไม่ว่าง นี้ชีวิตของคนธรรมดานี่ มันก็อยู่ด้วยความไม่ว่าง คือ เป็นจิตที่ไม่ว่าง อ้าว, ที่นี้จิตว่างจะมาแต่ไหน มันก็กลายเป็นว่าได้เรียนรู้ได้เรียนรู้ ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า สัมมาพุทธเจ้า ก็รู้ได้เอง ถ้าเป็นสาวกก็เรียนรู้จาก พระพุทธเจ้านะ ถ้าพระพุทธเจ้าจะรู้ได้เอง ก็ต้องธรรมชาตินั่นแหละมันสอน ธรรมชาติมันสอน สอนว่า ยึดถือแล้วเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนั้นมาจากความยึดถืออย่างนั้น แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ พอไปยึดถือ เข้าก็ทุกข์ มันกัดเอา พอไปจับฉวยยึดถือมันก็กัดเอาเป็นทุกข์
นี่ความรู้สึกเรื่องไม่ยึดถือ มันก็เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า ที่นี่สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จึงตรัสรู้ได้เอง ถ้าเกิดมีบุคคลชนิดที่ จิตไม่ยึดถืออะไรขึ้นมา เป็นคนแรกนี่ แล้วก็สอนสาวกทั้งหลายให้เป็นอย่างนั้นบ้าง ก็เกิดพระอรหันต์มาเยอะแยะไปหมด ที่รู้จักอยู่ด้วยจิตที่ว่าง พระอรหันต์ก็อยู่ในจิตว่าง พระพุทธเจ้าก็อยู่ ด้วยจิตว่าง แม้ว่า ท่านเหล่านั้นจะ ยังสัมผัสต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อะไรอยู่ ก็ไม่มี ความยึดถือ คือ จิตของท่านจึงว่าง
ดังนั้นวันคืนเหตุของท่านก็ล่วงไปล่วงไป ด้วยความว่าง ก็คือ จิตไม่ยึดถือ นี่ข้อที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้านะ ทรงอยู่ คือ ฆ่าเวลา ให้เวลาผ่านไปด้วยสุญญตาวิหาร หรือ มหาปุริสะวิหาร แล้วแต่จะ เรียก วิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่แห่งจิต สุญญตาวิหาร ก็คือวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่แห่งจิตด้วยความว่าง คือ ไม่ยึดถือ หรือ มหาปุริสวิหารธรรม ก็ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของมหาบุรุษ คือ ยอดสุดของบุรุษ อยู่ด้วย ความไม่ยึดถือ ก็ว่างเหมือนกัน ด้วยเรื่องของความว่างโดยสังเขป มันเป็นอย่างนี้
คุณดูเอาเองว่าควรจะรู้หรือไม่ควรจะศึกษาหรือไม่ น่ารู้น่าศึกษาหรือไม่ และการที่เขาห้ามไม่เอา มาสอน ให้พระบวชใหม่พรรษาเดียวนี่ ด้วยเหตุผลอย่างไร มันก็เอาแน่ไม่ได้ และท่านมักจะพูดกันว่า มันเป็นอันตราย แน่แหละ ถ้าสอนผิดเข้าใจผิด มันก็อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่ง จนเป็นผู้ที่ไม่รับผิดชอบ อะไร ไม่มีความหมายอะไรไปเสียหมด แต่เนื้อแท้ของมันนั่นมันเป็นเรื่องที่มี อะไรอะไรชัดเจนอยู่ในตัว คือ มีจิตชนิดที่ ไม่มี ความโง่ ความหลง ซึ่งเป็นเหตุให้ไปอยาก และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ ถ้าใครยังมีจิต ชนิดนี้ ยังยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ๆ อยู่เต็มอัตราตามธรรมชาติ ก็เรียกว่า ปุถุชน ถ้ามันเริ่มคลาย เริ่มคลาย มันก็เริ่มเป็นพระอริยเจ้า คลายหมด มันก็เป็นพระอรหันต์ เป็นพระอริยะ พระอริยเจ้าชั้นสุดยอด
ที่ที่มันเกี่ยวกับคนธรรมดา คนธรรมดานี่ มันก็ยังโดยหลักเดียวกันนะ พอยึดถือเมื่อไหร่ก็เป็นทุกข์ เมื่อนั้น ไม่ยึดถือ ก็ไม่เป็นทุกข์ มันก็คือ เย็นเป็นนิพพาน เมื่อใดจิตยึดถือในสิ่งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องวัฏสงสาร หรือเป็นทุกข์ มีตัวกูเกิดขึ้น เกิดขึ้นเป็นไป เกิดขึ้นเป็นไป เป็นวัฏสงสาร ก็เป็นทุกข์ เมื่อไหร่จิตไม่ยึดถือ สิ่งใดก็เงียบสงบ จิตนั่นก็ไม่ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดอุปาทาน ก็ไม่เป็นทุกข์ มันก็เย็นเป็นนิพพาน ดังนั้นก็กล่าว ได้เลยว่า นิพพาน ก็คือ ความที่จิตไม่มี ไม่ยึดถือ ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ เป็นจิตที่เย็น คำว่า นิพพาน นั้น แปลว่า เย็น หรือดับแห่งความร้อน ในบาลีใช้คำว่า ที่สุดแห่งความทุกข์ ที่สุดแห่งกิเลส ที่สุดแห่งความ ร้อน และท่านพูดเป็นโวหารอย่างนั้น คือพูดในรูปแบบ ใช้ใช้โวหาร Negative ไม่ ไม่มีทุกข์ เอาแต่ไม่มีทุกข์ โดยเด็ดขาด โวหารเป็น Negative อย่างนี้ ไม่พูดว่า เป็นสุขเป็นสุขซึ่งเป็น Positive
แต่ถ้าพูดกันอย่างชาวบ้านธรรมดา สามัญธรรมดา ก็พูดอย่างโวหาร Positive ว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง นั่นนะมันเป็นคำที่สมมุติ ให้ทีหนึ่ง ทำให้หลงได้ว่านิพพาน ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง เหมือนที่เราเป็นสุขอยู่ ในบ้านในเมืองในโลกนี่ นั้นนะที่เราพูดอย่างสมมุติ มีความ มีสิ่งที่เป็นสุขและมีความสุข ถ้าพูดอย่างไม่ สมมุติ พูดเป็นปรมัตถ์ เป็นสัจจะ อันที่สุดก็พูดว่า มีทุกข์แล้วก็สิ้นสุดแห่งความทุกข์ สิ้นสุดแห่งความ ทุกข์ เมื่อจิตไม่ยึดมั่นอะไรในความเป็นตัวตน จิตไม่มีอุปาทาน ยึดอะไร ไม่มีกิเลสไม่มีความทุกข์ นี่เรียกว่า จิตที่อยู่กับความว่างแห่งความทุกข์ ความว่างจากความทุกข์ เขาก็เรียกว่า นิพพาน ภาษาชาวบ้านก็แปลว่า เย็น ภาษาธรรมชาติก็แปลว่า สูญ ทุกข์สูญ คือ ไม่มีความทุกข์นะ เป็นทุกข์สูญ
ที่นี้ก็คิดดู ว่ามันลำบากกี่มากน้อย ลึกซึ้งกี่มากน้อย จะสามารถรู้จักได้ไหม เข้าใจได้ไหม หรือว่า เหลือวิสัยเสียทีเดียวที่จะเข้าใจได้ ก็เลยไม่สนใจเอาเสียเลย แล้วที่นี้เป็นเพราะเหตุนี้ ผู้สอนก็ไม่รู้สิ แล้วก็ ห้ามเสียเลยว่า อย่าสอนมันจะเป็นอันตราย เรื่องมันจึงค้างเติ่งกันอยู่ ยืดยาวนะ นานนะ นาน ๆๆ เป็นเวลานาน ที่จะไม่สอนเรื่องนี้
ที่นี้เราก็เกิดขึ้นมาเราไม่เชื่อ เรามันเป็นคนดื้อ เราก็สอนสิ่งที่เขาห้ามไม่ให้สอน ในเมื่อสวนโมกข์ เกิดขึ้นแล้ว มีหนังสือพิมพ์ อ่า, ของ อ่า, คณะธรรมทานออกไปแล้ว เกิดสอนเรื่องอนัตตา ขึ้นมา นี่ผมนี่ยัง ถูกเรียกตัวไปห้าม ไม่เชิงไม่เชิงขู่ขู่หรือว่าห้ามหรอก แต่ขอร้องว่ายังไม่ควรจะสอน ในสมัยที่สวนโมกข์ เกิดขึ้นแล้ว นี่ก็ยังมีความนิยมว่า ยังไม่ควรสอนเรื่องอนัตตา แต่เรามันเป็นเด็กดื้อ ไม่เถียงนะไม่เถียง แต่ว่ายังสอนอยู่เรื่อย จนเดี๋ยวนี้มันก็ เป็นเรื่องที่กล้าสอนกล้าพูดกัน เออ, ทั่วไปหมดแล้ว แต่คงจะไม่มาก เหมือนเรา ซึ่งมันอยากจะสอนเรื่องนี้ อยากจะเผยแผ่เรื่องนี้ อยากจะเปิดเผยเรื่องสุญญตา เรื่องอนัตตา เออ, เรื่องอิทัปปัจจยตา นั้นก็แปลว่า สอนเรื่องที่เป็นหัวใจ ของพุทธศาสนา หรือจะพูดว่าเป็นเรื่องที่ลึก ที่สุด ของพุทธศาสนา หรือจะพูดว่า เรื่องที่ถ้าเข้าใจผิดและอันตรายอย่างยิ่ง
นี่ทว่าทำให้คนไปเข้าใจผิด ฟังผิดแล้วยิ่งเรื่องนี้ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่จะเป็นมิจฉาทิิฐิ เกิดขึ้น ในคนเหล่านั้น เรื่องนี้มันก็ไม่ได้มีเหตุผล ที่จะมาห้ามว่าไม่ควรจะสอน ก็สอนให้ดีที่สุดเท่าที่จะสอนได้ และให้รู้จักระวังเอา อย่าได้เถลไถลออกไปนอกทาง จนกลายเป็นเรื่องของมิจฉาทิิฐิ มันเมื่อเริ่มพูดเรื่อง เรื่องจิตว่าง เมื่อ ๒๐ กว่าปีตอนโน้นก็ ถูก ถูกตำหนิติเตียน กระทั่งถูกด่าถูกว่า กระทั่งถูกล้อเลียน ถูก ประนามอะไรกัน ครบหมดทุกอย่างเลย แต่ไอ้เราก็ยังคงสอนอยู่นั้นแหละ ในที่สุดก็ชนะ ได้อย่างที่ว่า ทำให้คนอื่น ๆ พลอยกล้าสอนขึ้นมา เรื่องที่ถูกปิดเก็บไว้ว่าอย่าสอน มันมีคนกล้าสอนขึ้นมา เดี๋ยวนี้ก็ เห็นไหม มันก็ มันก็กล้าสอนกล้าพูดกัน แต่ก็มีคนส่วนมาก อยู่ที่ไม่ ไม่อยากจะสอนนะ ไม่อยากจะสอน มันมีอยู่มากนะ เพราะไม่อยากจะรับผิดชอบหรือว่าไม่อยากอะไร ก็สุดแท้ เราทราบไม่ได้ แต่ว่าคนที่ยังไม่ อยากจะสอนเรื่องที่ลึกซึ่งนี้ก็ยังมีอยู่มาก แต่มันก็ได้มีผู้ที่กล้าสอนขึ้นมาแล้ว หลายจุดนะ
นี่เรื่องสุญญตา ว่างจากตัวตน อนัตตา แปล อนัตตา แปลว่า มิใช่ตัวตน มีสิ่งใดใดใดมีได้แต่ก็มิใช่ ตัวตน อนัตตา แปลว่า มิใช่ตัวตน หรือสุญญตา ก็ว่าง ว่างจากตัวตน หรือว่างจากความหมายแห่งตัวตน ก็คือ ไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตน มีแต่สิ่งที่มิใช่ตัวตน เนื้อหามันก็เป็นอันอันเดียวกันกับอนัตตา หรือสุญญตา ทีนี้บอกว่าทำไมจึงไม่ใช่ตัวตน ทำไมจึงไม่ควรเรียกว่าตัวตน ก็เพราะมันเป็นอิทัปปัจจยตา เป็นเพียง กระแสปรุงแต่งของธรรม ที่เป็นธาตุตามธรรมชาติ ปรุงแต่งกันไปปรุงแต่งกันไป ในขณะหนึ่งอยู่ใน ลักษณะที่เป็นผัสสะ การกระทบในลักษณะหนึ่งอยู่เป็นเวทนามีรสมีชาติ ในขณะหนึ่งเป็นสัญญา เป็นความมั่นหมายอย่างนั้นอย่างนี้ ในขณะหนึ่งเป็นสังขารมีความคิดนึกไปตามความต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ กระทั่งเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น นี่มันก็เป็นอย่างนี้ นี่คือ อิทัปปัจจยตา เมื่อเรียกเต็ม ๆ ก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปาโท แล้วที่เขาใช้พูดใช้สอนกันอยู่ เขาจะใช้แต่คำว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา เรื่องนี้เราจะคุยได้ อวดได้เลยว่า คำว่า อิทัปปัจจยตา มันแพร่หลายออกมาในหมู่นักศึกษา เพราะเราที่นี่ เป็นผู้คุ้ยขึ้นมา เป็นผู้หยิบขึ้นมาใช ้ก็เลยใช้ใช้กัน แต่ในพระบาลีนั้นมีเต็มไปหมด
ทีนี้มีคำสำหรับเรียกอย่างอื่น ที่แทนกันได้ เช่น คำว่า ตถตา อ่า, ความเป็นเช่นนั้นเอง ก็คือ เป็นไอ้ ความที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเช่นนั้นเองนะ จะเป็นตัวตนได้อย่างไร ก็เรียกว่า เป็นเช่นนั้นเอง ถ้าเห็นเช่นนั้นเอง ก็คือ ไม่เห็นเป็นตัวตน เมื่อไม่เห็นเป็นตัวตน มันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ก็ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดทุกข์ เพราะว่า เห็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติเช่นนั้นเอง มันก็ไม่ไปหลงรัก ที่ดูน่ารัก มันก็ไม่หลง เกลียดหลงโกรธ ที่น่าโกรธ มันไม่มีอะไรที่น่าพะวง สงสัย และไม่มีอะไรที่ประหลาด ไม่มีอะไรที่ ประหลาด มันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรที่แปลกประหลาด มันจึงไม่มีความรู้สึกแปลกประหลาด คือ เมื่อไม่เห็นเช่นนั้นเอง มันก็ไม่มีนั่นมีนี่แปลกประหลาด
เหมือนเด็ก ๆ มันยังไม่มีสติปัญญาพอ ไม่รู้เรื่องเช่นนั้นเอง พอของแปลกมันก็อยากได้ เด็กทารก มันก็คว้าไอ้ของแปลก เพราะมัน ไม่ได้มีความรู้สึกเช่นนั้นเอง เป็นของแปลกน่าเอา ก็เป็นอย่างนี้มาจน เรื่อย ๆ จนเป็นหนุ่ม เป็นสาว เป็นคนแก่คนเฒ่า ก็มีของแปลก และก็มีอะไรที่มันเป็นของแปลก เพราะมัน ไม่รู้เรื่องเช่นนั้นเอง อย่างอะไรดีล่ะ อย่างเห็นรถไฟ ก็เป็นของแปลก เห็นเรือบิน ก็เป็นของแปลก อะไรก็ เป็นของแปลก เพราะมันไม่รู้ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง มันยังโง่อยู่ ๑๐๐ % มันจึงเห็นเป็นของแปลก
นี่ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ตัดบท มันเป็นเช่นนั้นเอง เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็น ของแปลก อะไรจะออกมาอย่างไร มันก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นของแปลก ก็มันเห็นเช่นนั่นเอง นี่เป็นคน หลุดพ้นหลุดพ้นจาก สิ่งต่าง ๆ ที่จะมาบีบบังคับ ให้รัก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้กลัว ให้อาลัยอาวรณ์ ให้รู้สึกเป็นของแปลกประหลาด น่าอัศจรรย์ อย่างนี้เป็นต้น นี่ถ้าเห็นตถาตา เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองไปหมด ไม่มีอะไร เป็นของแปลก ยิ่งกว่าไปโลกพระจันทร์ สัก ๑๐ เท่ามันก็ไม่เป็นของแปลก สำหรับผู้ที่เห็นไอ้ความเป็นเช่นนั้นเอง
ที่นี้ถ้าว่า มันโง่อะไรนิดหนึ่ง มันก็แปลกแล้วแหละ ขนาดรถยนต์มันก็แปลกแล้ว บางที่ขนาด เกวียน มันก็แปลกเสียแล้ว เพราะมันไม่เห็นไอ้ ถึงที่สุดของความเป็นเช่นนั่นเอง ดังนั้นช่วยจำให้ดี ๆ ถ้าว่ามันเห็นเช่นนั้นเอง ได้จริงแล้ว มันก็จะพ้นจากไอ้สิ่งที่ครอบงำจิตใจ ให้หวั่นไหวนานาชนิด เห็นเช่นนั้นเอง มันก็ไม่รัก ไม่ต้องหลงรัก และก็ไม่ต้องหลงโกรธ ไม่ต้องหลง เกลียด ไม่ต้องหลงกลัว ไม่ต้องหลงสนใจ มีความทุ่มมีความสนใจอย่างยิ่งนี่ ที่เป็นเรื่องของคนโง่ ที่ไม่รู้ว่า มันเช่นนั้นเอง ดังนั้นก็ขอให้คำนวณเอาเองเถิดว่า ไอ้จิตที่มันเห็นเช่นนั้นเองนะ มันว่างเท่าไหร่ มันไม่จับฉวยอะไรเลย มันไม่จับฉวยเอาอะไรมาเลย มันก็เป็นจิตที่ว่าง ว่างจากการจับฉวยนะ นี่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ท่านอยู่ด้วยจิตชนิดนั้น ทั้งวันทั้งคืนทั้งเดือนทั้งปี ส่วนปุถุชนนี้มันอยู่ด้วยจิต ที่ติดอยู่ที่นั่น ติดอยู่ที่นี่ ติดอยู่ที่โน้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รวมทั้งทางใจด้วย
มีคำเปรียบคำเปรียบไว้ใน จะเป็นชั้นบาลีนี่แหละ ชั้นพระบาลีนี่แหละ นี้สูตรใดก็จะลืมเสียแล้ว ถ้าไม่ใช่ชั้นพระบาลี ก็เป็นชั้นอรรถกถาที่รองลงไป แต่ผมยังแว่วแว่วว่าเป็นประกร (นาทีที่ 51:00) ชั้นบาลีนะ ที่อ่า, ว่าสัตว์ติดใน เบญจขันธ์ สัตว์ที่เป็นอันธพาล เป็นคนโง่ เป็นคนหลง แล้วติดในเบญจขันธ์ ยึดติดในรูปและก็ติดในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี่ติดไปหมด เหมือนกับลิงตัวหนึ่ง มันไป ในที่ที่นายพรานเขาดักไว้ด้วยตังเหนียว นี่ในบาลีพูดถึงการดักลิงด้วยตังเหนียว อย่างที่คนเดี๋ยวนี้ใช้ดักนก เมื่อลิงตัวนั้นมันเห็นแปลก เห็นตังนะแปลก ลิงมันไม่รู้ มันก็เอามือไปจับ จับมือมันก็ติดเอาออกไม่ได้ มันก็เลยเอามืออีกข้างไปจับดึงมืออันนั้นออก มันเลยติดอีกมือหนึ่งอีก ที่นี้มันเอาตีน ข้างหนึ่งถีบให้ออก ตีนข้างนั้นก็ติดเข้าไปอีก ตีนอีกข้างหนึ่งเข้าไปถีบออก มันก็ติดเข้าไปอีก ที่นี้มันก็เอาปากกัด ปากมันเลย ติดเข้าไปด้วยกันเลยทั้ง ๕ ๕ ติด นี่เรื่องอุปมา
ระวังให้ดีอย่าให้มันเกิดอาการอย่างนี้นะ ติดในขันธ์ ทั้ง ๕ ก็จะต้อง พยายามหน่อย แล้วมันจะ ต้องยอมลงทุนมากหน่อย ที่จะต้องรู้เรื่องนี้ เพราะมันเป็นเรื่องสูงสุดของพุทธศาสนา เป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด เป็นเรื่องละเอียดสุขุมที่สุด นี้ต้องใช้ความสนใจ ยอมเสียสละ อดกลั้นอดทน ศึกษาให้ดี ระวังให้ดี ที่เรียกว่า การปฎิบัตินะให้ดี ๆ ให้มันมองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง ไม่น่าเข้าไปจับฉวยเอานะ เห็นเห็นตถาตา ที่เป็นเช่นนั้นเอง โดยรายละเอียดก็คือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น ไม่มีตัวตนที่ตรงไหน เป็นเช่นนั้น ๆๆ มันก็ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวตนหรือเป็นของตนในสิ่งใด ถ้าปล่อยไปตามความโง่ ตามสัญชาตญาณ มันก็ต้องยึด ต้อง ๆๆ ไปยึด เป็นนั่นนี่ เป็นลำดับ ๆ ไป
เอ้า, เด็ก ๆ ทารก เด็กทารกซึ่งมันก็ยึดชั้นนอก ชั้นต่ำ ชั้นง่ายที่สุด คือ ยึดวัตถุ ร่างกายอย่างนี้ เพราะมันรู้แต่เพียงเรื่องร่างกาย ร่างกายนี้ทำอะไรได้ กินข้าวได้ เดินได้ อะไรได้ มันก็เอาร่างกายนี่ เป็นตัวตนด้วยความโง่ ไอ้เด็กทารกที่ยังเด็กอยู่มากนะ มันจะเห็นเป็นตัวตน รู้สึกว่าเป็นตัวตน ในสิ่งที่เป็น วัตถุล้วน ๆ เช่น มันเดินมาสะดุดหิน ก้อนหินอย่างนี้ มันก็โกรธว่า ก้อนหินนี่ ก้อนหินนี่เป็นศัตรูแล้ว ก็เป็นตัวตนขึ้นมา เป็นศัตรูกับตัวตนนี่ มันก็เตะก้อนหินนี่ หรือว่าถ้ามันยังเล็กกว่านั้น มันต้องให้แม่ หรือให้ใครมาช่วยตี มาช่วยตีเก้าอี้ มาช่วยตีก้อนหินที ไอ้นี่มันมันทำฉันเจ็บ อย่างนี้เป็นต้น
ในเมื่อความโง่ มันยังมากขนาดนี้ มันก็ต้องยึดชั้นนอกสุด ชั้นรูปขันธ์ นะไปก่อนแหละ ว่าเป็นตัวตน ทีนี้ต่อมาต่อมา มันก็จะค่อยมีการติดต่อสัมพันธ์มากขึ้น มันก็จะเอาไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่แหละเป็นตัวตน เพราะตาเป็นผู้เห็นได้ ทำหน้าที่เห็นได้ หรือหูเป็นผู้ได้ยิน จมูกได้กลิ่นได้เป็นผู้ อ่า, ได้กลิ่นอย่างนี้ มันก็ยึดถือวิญญาณเป็นตัวตน วิญญาณที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อ่า, มันก็ยึดถือเป็นตัวตน นี่มันก็ เข้ามาลึกเข้ามาหน่อยแล้ว
ที่นี้ถ้ามีผัสสะ มีเวทนา มันยึดถือจิตที่รู้สึกต่อเวทนา ว่าตัวตน เพราะมันรู้สึกได้นี่ รู้สึกเป็นสุข รู้สึกเป็นทุกข์ อย่างนั่นอย่างนี้ได้ เอา เวทนา เป็นตัวตน มีความสำคัญมั่นหมาย จิตที่ทำหน้าที่สำคัญ มั่นหมายตัวตน หรือโดย ส่วนใหญ่โดยหลักทั่วไป มันก็จะเอาสังขารนะ คือ ความคิดนึกได้ว่าเป็นตัวตน นี่มันเป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุด ที่คนธรรมดาสามัญนะจะ ยึดถือเอาไอ้สิ่งที่คิดได้นะว่า คือ ตัวฉัน หรือตัวตน
นักปรัชญา ฝรั่งเศส ชื่อ เดการ์ต นี่แหละ ทำนองนี้ ผมก็จำนะ ถ้ามันผิดมันก็ผิดได้ นี่เขาบัญญัติ หลักปรัชญาของเขาว่า เออ, Cogito ergo sum เป็นภาษาละติน ไอ้หลักปรัชญานี้เขาชอบบัญญัติโดยภาษา ละตินนะ แปลว่า ฉันคิด ดังนั้นฉันมีอยู่ อ่า, Cogito ergo sum นี่ก็ได้รับการยกย่องเป็นนักปรัชญา เป็นนักปราชญ์ นี่มันสัก ๒-๓ ๒-๓๐๐ ปีมานี่เองนะคนนี้ แต่คนโง่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว อย่างนี้มัน เยอะแยะไปหมดเลย ที่ว่าฉันคิดได้นั่นนะดังนั้นจึงมีตัวฉัน มันเคยมีคนคิดอย่างนี้รู้สึกอย่างนี้ ถือเอาตัวตน อย่างนี้มาตั้งหลายพันปีแล้ว ในครั้งพุทธกาลนั้นมีมาก นี่เพิ่งมาสรรเสริญนายคนนี้ แล้วก็ไม่เห็นอะไรมาก ไปกว่านั้น ก็ยึดถือว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ก็มีคนเป็นจำนวนมาก ยึดถือว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ยึดถือว่ามีตัวตนไปเลย อย่างนี้เป็นต้น
ความคิดว่าตัวตนนี่ มันเกิดได้ตาม อ่า, ตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณ ถ้ามันยังโง่มากอยู่ มันก็เกิดในสิ่งที่ง่าย ๆ พอมันฉลาดขึ้นหน่อย มันเกิดในสิ่งที่ลึกขึ้นไป มันฉลาดหน่อยมันเกิดในสิ่งที่ลึก ขึ้นไป นับตั้งแต่ว่า มันเกิดในรูปขันธ์ แล้วมันเกิดในเวทนาขันธ์ ในวิญญาณขันธ์ ในเวทนาขันธ์ ในสังขารขันธ์ ลึกเข้าไปลึกเข้าไป ไอ้ความโง่มันละเอียดเข้า มันลึกเข้า มันก็ไปเอาของที่ลึก หรือละเอียด หรือสุขุม ว่าเป็นตัวตน
ที่นี้ทางธรรมะ หลักธรรมะนี่ ต้องการไม่ให้มีความคิดชนิดนั้น เพราะเป็นความคิดที่เป็นของ อวิชชา เป็นความไม่รู้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามันจะไม่พูดอย่างนั้น มันก็พูดอย่างนี้ก็ได้ พูดอย่างธรรมดา สามัญก็ได้ว่า ถ้าคิดอย่างนี้มันเป็นทุกข์นี่ ถ้าคิดว่ามีตัวตนมันเป็นทุกข์ ซึ่งฉันไม่ต้องการจะเป็นทุกข์ ฉันไม่ควรคิดว่ามีตัวตน อย่างนี้ก็ยังได้นะ ยังไม่มีใครเถียงได้หรอกว่า มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ที่จะคิดว่า มันไม่มีตัวตน มันไม่ใช่ตัวตน เพราะถ้าไปเห็นว่า มันมีตัวตนเข้า มันเป็นทุกข์ทันที ไปยึดถืออะไร เป็นตัวตนเข้า ก็เหมือนกับมันกัดเอาทันที มีความทุกข์อย่างยิ่ง
ในที่สุดท่านก็ยึดถือเป็นหลักว่า ไอ้ความคิด ว่าเป็นตัวตนนะมันผิด อันตราย มันเป็นที่เกิดแห่ง ความทุกข์ เลิก ๆๆๆ ไม่มีการคิด ที่ผิด ๆ ที่เขลา ๆ อย่างนั้นอีกต่อไป จึงสอนให้ดูสิ่งทั้งหลายทั้งปวง โดยนัยแห่งอิทัปปัจจยตา เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เพราะไม่มีสิ่งนี้สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับนี้ก็ดับ อย่างนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ถ้าเห็นอิทัปปัจจยตา แล้วมันก็เห็น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง ก็ไม่ไม่หลงรักไอ้ที่มันหลอกให้รัก มันไม่หลงเกลียดที่มันชวนให้เกลียด ไม่หลงกลัวที่ชวนให้กลัว ไม่หลงโกรธ ไม่หลงอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง กระทั่งว่า คงที่ เป็นพระอรหันต์เหล่าผู้คงที่ คือ ไม่ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหว ไม่เปลี่ยนแปลง
อ่า, มีคำแทนชื่อไวพจน์นะ ชื่อพระอรหันต์มากมายหลาย ๑๐ คำ มีแต่คำที่น่า สนใจ อย่างยิ่ง เช่น คำว่า คงที่ พระอรหันต์เป็นผู้คงที่ ตาที ตาที (นาทีที่ 01:02:12) เป็นผู้คงที่ คือ อะไรมาปรุงให้เป็นอย่างอื่น ไม่ได้ นี่จิตของพระอรหันต์ เห็นสุญญตา เห็นอนัตตา ถึงที่สุดแล้ว คงที่อยู่อย่างนั้น เลย ไม่มีอะไรมาปรุง ให้โง่ ให้ให้หลง ยึดมั่นถือมั่นให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ เรื่องมันก็จบแค่ที่ว่า จิตมันเป็นทุกข์ไม่ได้อีกต่อไป อะไร ๆ มันจะเข้ามาอย่างไร มันก็ ต้อนรับด้วยเช่นนั่นเอง เกิดความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ก็ไม่มีความทุกข์ เรื่องมันมีเท่านั้น ที่เป็นภายในก็ไม่ยึดถือไม่หลงยึดถือต่อไป รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็น ภายในมันก็เห็นจริง จนไม่ยึดถืออีกต่อไป ที่เป็นภายนอกของใครจะเข้ามาอย่างไร ก็เห็นอย่างเดียวกัน มันก็ไม่ยึดถือต่อไป
ที่นี้อารมณ์ที่เป็นภายในก็ไม่ถูกยึดถือ อารมณ์ที่เป็นภายนอกก็ไม่ถูกยึดถือ มันก็เลยคงที่ คงที่อยู่ ในความว่าง จิตอยู่ในความว่าง คือ ไม่ยึดถือ ไม่จับฉวย ทั้งวันทั้งคืน ที่อยู่ด้วยสุญญตาวิหาร คือ ความที่ จิตว่างจากความยึดถือ ยังมีคำกล่าวว่า แม้อะไรจะผ่านมา ก็ยังอยู่ด้วยจิตชนิดนั้นแหละ แม้จะนั่งคุยด้วย แขก นี่พระพุทธเจ้า ก็เคยตรัสตรัสเองว่า มีแขก กษัตริย์มหาศาล ข้าราชบดีมหาศาล พราหมณ์มหาศาล มาเต็มวัดเต็มวา มาคุยด้วยมา เออ, สนทนาไต่ถามอะไร จิตของตถาคต ก็ยังอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร อยู่นั่นเอง นี่ความดีความประเสริฐ อ่า, มันมันมีอยู่ที่นี่ ว่าแม้จะต้องทำอะไรทำอะไร จิตก็ยังคงอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร คงที่ มีพระอริยเจ้า พระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์หรือพระตถาคต ผู้คงที่
แล้วนี่คือเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องความว่าง ความว่างหรือจิตว่าง มันเป็นอย่างนี้เอง นี่ถ้าว่า เข้าใจผิด ก็เป็นจิตว่าง เกณฑ์ให้ไม่รับผิดชอบอะไร เกณฑ์ให้ ไปฆ่าคน แล้วก็บอกว่าจิตว่าง อย่างนี้เป็นต้น อ่า, เป็นคำกล่าวของผู้คัดค้าน อย่างหลับหูหลับตา ว่ามันจะให้ผลอย่างนั้น จะไปรวมอยู่ในเหตุผลที่ว่า ไม่ให้สอน ไม่ให้สอนเรื่องนี้ กลัวคนจะเป็นอย่างนั้น กลัวคนจะถือเอาผิด เข้าใจความหมายผิด แล้วก็กลาย เป็นเรื่องผิด แล้วก็เริ่มฉิบหายกันใหญ่ มันผิดไม่ได้หรอก ถ้าเป็นเรื่องธรรมะแล้วมันผิดไม่ได้
เพราะฉะนั้นศึกษาให้ดี ศึกษาอย่างดีมันก็ผิดไม่ได้ แล้วก็ศึกษาอย่างสนฺทิฏฐิโก อ่า, คำนี้สำคัญ ที่สุดนะจำไว้อย่าลืม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก นะสนฺทิฏฐิโก คือ รู้สึก ด้วยใจของตนเอง การศึกษานั้นกระทำไป ด้วยความรู้สึกแห่งจิตใจของตนเอง รู้สึกสัมผัสด้วยจิตใจเอง ไม่ใช่เชื่อตามพระคัมภีร์ ตามคำบอกเล่า ต้องไม่ ต้องเป็นเรื่องที่รู้สึกด้วยตนเอง อย่างเช่น รู้สึก ว่าเมื่อจิตอย่างไรนะ เราสบายที่สุด อ่า, คุณลองคิดดู นี่จิตของเราเป็นอย่างไร เราจะรู้สึกสบายที่สุดนี่ เอาคนธรรมดาธรรมดาอย่างนี้ มาคิดมาตอบปัญหา ถ้ามันไม่โง่เกินไป มันก็ยังตอบได้ ว่าเมื่อจิตของเรา ไม่มีอะไรรบกวน ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่มีอะไรทำให้ ยึดถือ มันก็ไปเรื่องเดียวกันว่า เม่ือถ้าเราว่างจากกิเลส ว่างจาก อ่า, ความยึดถือว่าตัวตนนะ นั้นนะเวลาที่ สบายที่สุด
ตั้งต้นเรียนพุทธศาสนากันใหม่โดย การคอยเฝ้าสังเกตดู ว่าเมื่อไรจิตเป็นสุขที่สุด จิตไม่มีทุกข์ ที่สุดนะ แต่ไม่ใช่สุขอย่างกามารมณ์ สุขอย่างนี้นะ สุขอย่างความหมายของนิพพาน นะ นั่นนะมันเป็นคำที่ ลำบาก คำว่า ความสุขนั่นแหละ ให้ไปตั้งคำคำพูดใหม่ ว่าเมื่อไหร่จิตของเราไม่มีความทุกข์เลย จิตของเรา ไม่มีความทุกข์เลย ก็จะพอมองเห็นได้ ว่าขณะที่มันไม่มีการยึดถืออะไร ที่มันไม่มีความยึดถืออะไร ไม่มีกิเลสอย่างไร มันก็ไม่มีความทุกข์นั่นนะ เรามีไหม เราจะพบไอ้ด้วยตนเองว่า เรามีนิด ๆ หน่อย ๆ หรือแว้บเดียว แล้วมันเป็นจิตที่ยึดถือเสียเรื่อยไป ยึดถือได้จากภายในโดยไม่ต้องมีอะไร ไปจากภายนอก มันก็ยังยึดถือได้
ดังนั้นจิตนี้ มันจึงมีสิ่งยึดถือว่าตัวตน ตลอดเวลาแหละ เรียกว่า จะใช้คำว่า ตลอดเวลาก็ไม่ผิดนะ เพราะเวลาที่มันว่าง มันไม่ยึดถืออะไรนั่น มันมีน้อยมาก อย่างดีก็เมื่อหลับ นอนหลับไม่ฝันไม่อะไรนั่นนะ ไม่มีจิตใต้สำนึกรบกวนนี่ จิตว่างเพราะมันหลับ แต่คนก็ไม่รู้สึกนะว่ามีความสุขอย่างไร ก็เลยเป็น ถูกเหมา ให้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติเสีย ถ้ายังไม่หลับยังตื่น ๆ อยู่อย่างนี้ มันมันจะเป็นจิตที่ยึดถือเสียร่ำไป เปลี่ยนจากอันนี้มายึดถืออันนี้ เปลี่ยนจากอันนี้มายึดถืออันนั้น ในบาลีอุปมาไว้ว่า เหมือนกับลิง กระโจน จากต้นไม้ต้นนี้ ไปสู่ต้นไม้ต้นโน้น ต้นไม้ต้นนี้ไปสู่ต้นไม้ต้นโน้น ทั้งวันทั้งวันนะ ไอ้ลิงมันไม่หยุด มีอะไร ยั่วพาไปดึงไป
จิตปุถุชนก็เหมือนกับลิง มีอะไรต่ออะไรไม่รู้ ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเรื่องมาดึงไปดึงไปดึงไป เปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย เลยไม่ได้มีโอกาส ที่จะสัมผัสความว่าง ตามธรรมดาไม่มีโอกาสที่จะได้ชิมรส ของความว่าง ทีนี้จะมาทำสมาธิ ทำวิปัสสนา ก็ยังทำไม่ได้ ถ้าทำได้มันก็เป็นอันที่แน่นอนว่า เขาจะพอใจ และก็จะทำหนักขึ้นหนักขึ้น จนเป็นความว่างเด็ดขาด ว่างถาวร ว่างแท้จริง เมื่อทำวิปัสสนา จะว่างบ้าง เป็นไอ้ขณะ ๆ ที่พอมองเห็นอะไรบ้าง เสร็จแล้วมันก็กลับไปไม่ว่างเสียอีก แต่ว่ามันก็อยู่ที่การทำนั้นแหละ แตกต่างกันว่ามันเอาจริงกี่มากน้อย ถ้ามันถูกต้องมากจริงมาก มันก็พอจะมีไอ้ความว่าง ให้สังเกตเห็น จนเป็นที่แน่ใจ มันก็เลย เป็นไปทางถูกต้อง เป็นไปทางหลุดพ้น จนมันหลุดพ้นได้ เดี๋ยวนี้มันไม่ทำอย่างนั้น นะ มันทำวิปัสสนา อวดคน ทำวิปัสสนา หลอกกินกาแฟของไอ้ลูกศิษย์ นี่มากกว่า มันก็ยาก
ดังนั้นถ้าใครรักตัว ก็ทำจริงสิ อ่า, คอยเฝ้าดูว่า มันมีว่างอย่างไหน สักแว่บหนึ่ง คอย ๆๆ จ้องจับอยู่ พอจับได้แล้วก็ จับให้ได้แล้วก็ขยายให้มันชัดเจน ให้มันยาวออกไป ยาวออกไป ศึกษาโดยวิธีสนฺทิฏฐิโก อย่างนี้ แน่นอนไม่ถูกหลอก แล้วก็จะเข้าใจถึงตัวจริงนี่ได้โดยง่าย คอยกำหนดจิตว่าเมื่อไหร่ ว่างจากความ ยึดถือ เดี๋ยวนี้มันจะ ไปยึดถือไอ้ไอ้ความคิดว่าว่าง ยึดถือตัวผู้กำหนด ยึดถืออารมณ์ที่กำหนด ยึดถือตัว ตัวคนซึ่งกำหนด กันก็อย่างนั้นก็เลยยิ่งไม่ว่าง ยิ่งไปยึดถือไอ้ตัวเองเสียเอง ต้องไม่ยึดถือทั้งภายใน และภายนอก คิดเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า มันเป็นอิทัปปัจจจยตา อยู่อย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้นนะ ไม่มีโอ ไม่มีโอกาสที่จะไปยึดอะไร หลงอะไรว่าเป็นตัวตน นี่มันเป็นยอดสุดของวิปัสสนา ถ้าไม่ทำอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่อง ไร้สาระ
เอาละเวลาหมดแล้วสำหรับคืนนี้ เรียกว่าได้พูดเรื่องความว่าง รวมทั้งจิตว่าง พอเป็นเค้าเงื่อน สำหรับไปศึกษาค้นคว้าต่อไป และให้รับรู้ไว้ด้วยว่า เรากำลังฟื้น ฟื้นความนิยม หรือคำห้ามของไอ้อาจารย์ อ่า, แต่ก่อน ๆ ที่ได้ห้ามไว้ว่า อย่าเอาเรื่องนี้มาสอนพระบวชใหม่ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ก็ไม่ควรสอน นั่นแหละ เรามันเป็นเด็กดื้อ เราก็จะลอง ยืนลองสอนกันดู จะได้ผลอะไรบ้าง ก็จะรู้เอาเองทีหลัง เอ้า, หมดเวลา