แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้จะ ได้พูดถึงเรื่อง เออ, ไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ คือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นอยู่ กันจริงๆ เออ, ของพวกเรา ชาวไทย ความเข้าใจ ผิดนะ ยังมีอยู่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือคำว่า ไสยศาสตร์นี่ เชื่อว่า คงได้เคยได้ยิน กันมามากแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่า ว่ามันหมายถึงอะไร อย่างดีก็จะรู้ว่า ไม่ ไม่ใช่ พุทธศาสตร์นะ นั้นอันนี้แหละเป็นเหตุให้ การถือศาสนานั้น ปนเปกัน ทั้งไสยศาสตร์ และพุทธศาสตร์
เออ, ข้อนี้พูดยาก คือว่าไสยศาสตร์ มันก็ไม่ได้ให้โทษร้ายแรงอะไร แต่มันไม่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ เป็นพุทธ เป็นพุทธบริษัท ที่จะถือเป็นประมาณได้ เออ, ก็คือ บทสวดที่สวดอยู่ทุกวันนะ เรื่องสรณะ พาหุงเว สรณัง ยันติ ขตา นิวัณะจะ (นาทีที่ 02:42) ที่สวดอยู่ทุกวัน คือ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พวกหนึ่ง ไปถือ ภูเขา ต้นไม้ อาราม รุกขเจดีย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เป็นที่พึ่ง แล้วก็ตรัสว่า นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม ความสำคัญมันว่า ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด อาศัยที่พึ่งอย่างนี้แล้ว ไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ไสยศาสตร์ ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ ไม่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ทีนี้ส่วนผู้ที่ ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เห็นอริยสัจ ๔ โดยชอบ ตามที่เป็นจริง คือ เห็นว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นอย่างไร แล้วปฏิบัติตามนั้น นั่นเป็นที่พึ่งอันเกษม ซึ่งเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ถือที่พึ่งอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้น จากทุกข์ทั้งปวง ทุกข์ทั้งปวง นี่คือ เออ, พุทธศาสตร์
ทีนี้ปัญหามันมี สำหรับคน ไทยเรานี่ เรารับมาทั้งไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ คือได้รับ วัฒนธรรมอินเดีย หรือศีลธรรมวัฒนธรรม หรือศาสนาจากอินเดีย ชาวอินเดีย เออ, พวกหนึ่ง มาก่อน มาก่อนด้วยซ้ำไป อ่า, ได้มาแนะนำสั่งสอนเรื่องลัทธิ ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสตร์นะ มันก็เป็นเรื่องไสยศาสตร์ เกี่ยวกับเทพเจ้า เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเล็กที่สุด จนคนเหล่านี้ รับถือ ประชาชนถิ่นนี้ ได้ยอมรับถือ และก็ปฏิบัติกันมา มีเหลือร่องรอยอยู่หลาย ๆ อย่างนี่ ขอให้สังเกตดูให้ดี เช่น เรื่องศาล พระภูมิ เรื่องบูชาเทวดา บูชาพระเคราะห์ แล้วก็บวงสรวงอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุศักดิ์สิทธิ์ อ่า, แล้วก็ปฏิบัติกันอยู่อย่างทั่วถึง ก่อนพุทธศาสนาเข้ามา
ทีนี้ก็มาถึงยุคที่พุทธศาสนาเข้ามา ที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็คือยุคประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พ.ศ.ได้ ๓๐๐ นะ ก็มีการเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นการใหญ่ โดยพระเจ้าอโศกเป็นตัวตั้งตัวตี เออ, ส่งพระ ไปเผยแผ่ ในทิศต่าง ๆ แล้วก็เลยมาสู่สุวรรณภูมิ คือ แผ่นดินแหลมทองแห่งนี้ด้วย เรื่องราวก็เขียนไว้ชัดว่า พวกที่มานั้น เผยแผ่ได้ด้วยความยากลำบาก อ่า, เพราะต่อต้านกันกับลัทธิที่มีอยู่ก่อน ท่านเขียนไว้ทำนอง วิธีเขียนไว้ตามไอ้ เออ, ความรู้สึก หรือตามไอ้คำพูดที่ใช้กันอยู่ ว่าพวกที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น ต้องมารบ มารบ มาปราบ ปราบยักษ์ ปราบรากษส ปราบปีศาจ มากมาย จึงจะค่อย อ่า, ประดิษฐาน พุทธศาสนาได้ หรือเผยแผ่ พุทธศาสนาได้
ข้อนี้คิดว่า มิได้หมายความว่า ปราบหมด แต่มันปราบเพียงเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาได้ อ่า, เข้าใจว่า เป็นที่ยอมรับ ในหมู่ชนที่มีสติปัญญา เออ, ส่วนใหญ่นี่ส่วนหนึ่งแน่นอน แต่ว่าส่วนที่ไม่ยอมรับ คือ ไม่ยอมเปลี่ยน หรือยังเหลืออยู่ ซ่อนเร้นอยู่ ก็มีอยู่มาก มีอยู่มาก ดังนั้นประชาชน จึง อือ, นับถือทั้ง
๒ อย่าง นี่ถืออย่างถือผี ถือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่เห็นตัว เหล่านี้ก็มีอยู่ ยังมีอยู่ แล้วพวกที่ถือธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ เพื่อดับทุกข์ด้วยธรรมะโดยตรงนั้นก็มี เลยถือกันอยู่เป็น ๒ อย่าง
ทีนี้ ที่มีหลักฐานบางอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นที่ยอมรับ ยอมรับ ของ ของวงการที่ทรงอำนาจ คือ ผู้ครองบ้านครองเมืองยอมรับ เขาก็ยอมรับทั้ง ๒ อย่าง ยอมรับทั้งอย่างไสยศาสตร์ และอย่าง พุทธศาสตร์ มีพระเจดีย์เก่า ๑๐๐๐ กว่าปีที่ ที่ไชยานี้เจดีย์ มีเจดีย์ อ่า, วัดแก้วนะ (นาทีที่ 10:04) ในองค์พระเจดีย์ ตรงกลางนั้นก็ขุดลึกพบ ทั้งพระพุทธรูปฝ่ายพุทธ และท้ังศิวลึงค์ อ่า, และฆเนศ เออ, ฝ่ายฮินดู ศิวลึงค์นี้เป็นไอ้ สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู ฆเนศก็เหมือนกันเป็นพระเจ้า ฝ่ายศาสนาฮินดู พบอยู่รวมกัน กับพุทธพระพุทธรูป นี่ถ้ามัน เป็นอย่างนี้ก็น่าจะสันนิษฐานว่า ยอมให้ถือพร้อม ๆ กัน ทั้ง ๒ อย่าง
และที่จัดเจนยิ่งกว่านั้นอีกก็คือว่า ไอ้วัดสำคัญ ๆ ที่เกิน ๑๐๐๐ ปีนั้นนะ จะมีโบสถ์ฮินดูหรือโบสถ์ ฝ่ายพราหมณ์นะ อยู่ด้านตะวันออกของวัด ทางหน้าวัด วัดพระธาตุก็ดี วัดไตรธรรมารามก็ดี (นาทีที่ 11:56) วัดใหม่ก็ดี ที่เขามีโบสถ์ที่เรียกว่า โบสถ์พราหมณ์ อยู่ด้านหน้าออกไป เป็นที่ อ่า, เคารพกราบไหว้ เออ, พร้อม ๆ กันไปกับ อ่า, พระพุทธรูป นี้แสดงให้เห็นว่า ไอ้ทางการ ราชการก็ยอมรับทั้ง ๒ อย่าง เออ, เพราะว่าประชาชนนี้เขา ยึดมั่นถือมั่นอยู่เป็นอันมาก ไม่ไม่ยอมละทิ้งก็มี อ่า, ก็เลยให้มีที่ไหว้ที่ถือกันไป พวก อ่า, ส่วนหนึ่ง
ทีนี้ก็มาพิจารณาดูถึง เออ, ข้อเท็จจริงมันก็มีเหมือนกันว่า พวกที่ถือไสยศาสตร์นั้นเขาก็ถือเพื่อจะ ไม่ทำความชั่ว ด้วยเหมือนกัน พวกที่ถือไสยศาสตร์นะถือเพื่อไม่ทำความชั่ว มันก็เป็นประโยชน์เป็นผลดี แก่บ้านเมืองหรือแก่ทางราชการ และประชาชนที่ มีการศึกษาน้อยนะ เหมาะที่จะถือไสยศาสตร์นี่ มันมีมาก มีมาก มีมากมาย มากกว่าพวกที่จะถือพุทธศาสนาด้วยปัญญา มันจึงกลายเป็นว่ายอมให้ถือมา พร้อม ๆ กัน และยิ่งกว่านั้นบางที คนเดียวกันนั่นแหละ ถือทั้ง ๒ อย่างพร้อมกัน โดยเฉพาะคือ เด็ก ๆ และผู้ที่ด้อยการศึกษานะ ไปไหว้พระที่โบสถ์พราหมณ์ หน้าวัดเสร็จแล้ว ก็เข้ามาไหว้พระพุทธรูป ในโบสถ์พุทธ ก็เลยทำทั้ง ๒ อย่าง มัน มันก็กลายเป็นว่า แน่นแฟ้น แน่นแฟ้น เออ, นับถือ เออ, สิ่งที่จะ ทำให้ประพฤติดี อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก คือนับถือ ๒ ศาสนาพร้อมกัน
และที่ปรากฏชัด ก็ปรากฏว่าในพระราชพิธีต่าง ๆ ที่มี มาตั้งแต่ครั้งกระโน้นนะ มันก็มี พระราชพิธี ฝ่ายพราหมณ์นะ ฝ่ายพราหมณ์หรือฝ่ายไสยศาสตร์อยู่มาก อือ, เช่น พิธี ๑๒ เดือน อือ, สมัยกรุงสุโขทัย ครั้งนางนพมาศ เออ, เรื่องเรื่องนางนพมาศนะ จะพบว่าเขามีพิธี บูชาฝ่ายศาสนา พราหมณ์อยู่ไม่น้อยนะ แล้วก็ทำอย่างเป็นพิธีใหญ่โตเหมือนกันนะ กับพิธีฝ่ายพุทธ กลายเป็นว่า บางเดือนก็บูชาพุทธ บางเดือนก็บูชาพราหมณ์ บางเดือนก็บูชาทั้ง ๒ อย่างนี้ ประชาชนก็เลยถือศาสนา ทั้งพราหมณ์และทั้งพุทธ มันเป็นผลดีทางการเมือง ที่ประชาชนอยู่ใน ศีลธรรมดีก็แล้วกัน
แล้วต่อมา ๆ ไอ้มัน มัน มันดีขึ้น ดีขึ้นหมายความว่า มันมีสติปัญญามากขึ้น ฝ่ายไสยศาสตร์ก็ เออ, ลดถอยไปแต่ก็ไม่หมด ก็ยังมีอยู่ แล้วบางอย่าง มันก็เป็นเรื่องที่ตรงกับความประสงค์ ของคนยิ่งกว่า กว่าของพุทธ เรื่องขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ เรื่องฤทธิ์ เรื่องเดช เรื่องเวทมนตร์คาถา เรื่องอะไรต่าง ๆ มันตรงกับความต้องการของประชาชนมากกว่า มันก็ยังมีอยู่
สมัยผมเด็ก ๆ ก็ได้เห็น ศาลพระภูมิยังมีอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ ศาลพระภูมิกลับมากขึ้น ๆ อย่าง หลายเท่า แล้วก็พิธีบูชาเทวดา บูชาอะไรต่าง ๆ เช่น บูชาวันสงกรานต์นั้นนะ ผู้ใหญ่จะเอาดอกไม้ธูปเทียน จุดใส่พาน วางขึ้นเหนือประตู แล้วก็เรียกเด็ก ๆ มาไหว้ เออ, เพื่อรับสงกรานต์ รับท้าวมหาสงกรานต์ นี่ผมเองก็ยังเคยทำ ทำตามธรรมเนียมตามประเพณี ยังมีหลาย ๆ อย่าง ที่เรียกว่าทำอย่าง ศาสนาฮินดู พราหมณ์ อินเดีย เช่นเป็นอย่าง ถือพระศิวะ อ่า, ก็มี ถืออย่างพระวิษณุนี่ก็มาก ที่ไชยานี่ ถืออย่างวิษณุ มาก มากกว่า พบพบไอ้เทวรูปวิษณุมาก ทางฝ่ายนครศรีธรรมราชนั้นนะ ถือฝ่าย ศิวะ พระอิศวรมาก คือพบ ศิวลึงค์มาก นี้เป็นข้อหนึ่งซึ่ง ยากนะที่จะแยก ออกจากกัน แล้วใครจะมีอำนาจแยก นี่มันเป็นเรื่อง ทางจิตใจ มันก็แยก แยกไม่ได้ นี่ก็ปล่อยมาตามที่จะ มีการศึกษา
ทีนี้พอ เออ, ฝ่ายพุทธศาสนาเจริญขึ้น มันก็มีการสั่งสอน ให้แยก คือ ถ้าเป็นพุทธ ก็ต้องไม่ถือไสย ถ้าเป็นพุทธก็ไม่ต้องถือไสย ไสย คือ ไสยศาสตร์ พุทธ คือ พุทธศาสตร์ แต่ทำไม่ได้เด็ดขาดนะ เพราะในวัด นั่นเอง ถือทั้งไสยและทั้งพุทธ ท่านสมภารเจ้าอาวาสบางคน ท่านทำพิธีไสย ทำพิธีไสยศาสตร์ ให้แก่ ประชาชน เออ, แต่ถึงอย่างไรก็ดี มันก็เริ่ม มีการแยกตัวออกจากกัน คือ มันแสดงความที่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน มากขึ้น ฉะนั้นต่อมาเมื่อได้รับการศึกษาดีขึ้น การศึกษาธรรมะ ในฝ่ายพุทธศาสนาดีขึ้น มากขึ้น ถูกต้องขึ้น มีพระไตรปิฎกแพร่หลายขึ้น อือ, พวกพุทธจึงค่อย ๆ รู้ว่า อ้าว, นั่นไสยศาสตร์ไม่ใช่พุทธ แล้วก็พยายามแยกตัวออกจากกัน แต่ว่าในหมู่มหาชนส่วนใหญ่ นี่แยกยากแยกไม่ได้ ยังพอใจที่จะถือ ไสยศาสตร์ นี่มีปัญหาว่าเราจะ เข้มแข็ง กล้าหาญ พอหรือไม่ ที่จะเลิกไสยศาสตร์ แล้วทำให้เป็น พุทธศาสตร์ อย่างถูกต้อง
ทีนี้เรื่องมันย่อมจะต้องพูดกันถึงว่า อย่างไรเป็นไสยศาสตร์ อย่างไรเป็นพุทธศาสตร์ ไสยะ ตัวหนังสือ แปลว่า หลับหรือดีกว่า ก็ได้ แปลว่า หลับก็ได้ พุทธ แปลว่า ตื่น คือไม่หลับ ใครจะเป็น คนบัญญัติคำนี้ก็ ยากที่จะทราบ แต่ว่าเมื่อถือเอาตามที่มีอยู่ คือ คำว่าไสยกับพุทธนะ มันก็ขัดกัน อยู่อย่างนี้ ไสย แปลว่า หลับ พุทธ แปลว่า ตื่น อ่า, ไสยศาสตร์โดยใจความก็คือ พึ่ง ยึดถือพึ่งพาสิ่งที่ เข้าใจไม่ได้ว่าเป็นอะไร แต่เชื่อ ด้วยความเชื่อว่าช่วยได้ นี่คือไสยศาสตร์ ยึดถือสิ่ง ยึดถือพึ่งพาอาศัย สิ่งที่รู้ไม่ได้ ว่าเป็นอะไร แต่เชื่อว่าจะช่วยได้
ส่วนพุทธศาสตร์ ที่แปลว่า ตื่น ลืมตานั้นนะ ไม่ถือสิ่งเหล่านั้น ไม่ถือพระเป็นเจ้า เทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ นั้นไม่ถือ มาถือการปฏิบัติ ดับทุกข์ โดยตรง ที่เรียกว่า โยจะ พุทชัช จะ ธัมมัญ จะ สังฆัญ ตะ สะระณัง คะโต จัตตาริ จัดตานิ ธัมมะ ปัญญายะ ปัตสติ (นาทีที่ 22:22) ที่สวดทุกวันนะ ไปพิจารณาดูให้ดีเถิด ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ แล้วก็รู้ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นคืออะไร อย่างไร เท่าไร แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า เห็นอริยสัจ ๔ อยู่ตามที่เป็นจริง ว่าความทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างไร เออ, ก็เลยปฏิบัติ แล้วก็ถือเอาผลของการปฏิบัติเป็นที่พึ่ง
นี่มันก็ต่างกันอย่างนี้ เมื่อฝ่ายไสยศาสตร์ ถือเอาสิ่งที่รู้ไม่ได้ว่าเป็นอะไรนะ เรียกชื่อว่า พระเจ้า พระเป็นเจ้า ต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่เชื่อว่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็ถือเป็นที่พึ่งด้วยความเชื่อ มีพิธีรีตองมาก อ่า, ส่วนชาวพุทธนั้น ไม ่ๆๆ ไม่ถืออย่างนั้น ถือสิ่งที่เห็นอยู่ เข้าใจได้อยู่ โดยเฉพาะการ ปฏิบัติ ว่าปฏิบัติอย่างนี้แล้วดับทุกข์ได้ รู้จักปฏิบัติ แล้วก็ดับทุกข์ได้ เห็นผลของการปฏิบัติอยู่ ไม่ต้องเชื่อ ไม่ต้องเชื่อในสิ่งที่ไม่รู้ว่าอะไร นอกจากปฏิบัติ สิ่งซึ่งปฏิบัติแล้วเห็นอยู่ว่า ดับทุกข์ได้อย่างนี้ ๆ
สนใจเรื่องหลักปฏิบัติ เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ดี หรือว่าที่ชัดไปกว่านั้นก็คือ อริยมรรค มีองค์ ๘ นี่ ตั้งแต่สัมมาทิฐิ จนถึงสัมมาสมาธิ นะเมื่อปฏิบัติแล้ว มันขจัดความทุกข์ออกไปจากจิตใจได้อย่างไร โดยไม่ต้องมีผีสาง เทวดา พระเจ้าอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วมียิ่งกว่านั้นอีกก็คือว่า การที่จะเป็นพุทธบริษัท ขนาดเป็นอริยบุคคล นะ ขั้นต้นที่สุด เช่น พระโสดาบัน ต้องละความเชื่อ เออ, เหล่านี้หมด คือ ละสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สีลัพพตปรามาส นั่นแหละ รวม รวม รวมสิ่งที่เป็นไสยศาสตร์ เข้าไว้ด้วย คือ ปฏิบัติ วัตร หรือศีล พรตอะไรก็ตามนะ โดยไม่ได้รู้จัก เหตุผลตามที่เป็นจริง แล้วก็เชื่อว่า ศักดิ์สิทธิ์ ๆ ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ จะดับทุกข์ได้ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส
สักกายทิฐิ ความคิดว่ามีตัวตน วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจในการที่จะถือที่พึ่งอะไร ๆ แล้วก็ สีลัพพตปรามาส เออ, ถือศีลและวัตรผิด ผิดความมุ่งหมาย เรียกว่า ลูบคลำ เอาผิด จับฉวยเอาผิด จับฉวย ให้เลอะเทอะ ให้สกปรก สีลัพพตปรามาส นี้ เออ, สิ่งที่เรียกว่า ไสยศาสตร์นะ รวมอยู่ในคำว่า สีลัพพตปรามาส ต้องละก่อน จึงจะเข้าถึง ความเป็น เออ, พระโสดาบัน นี่คือ อริยบุคคล ในอันดับแรก อันดับต้นที่สุด นี่เห็นไหมว่า ไสยศาสตร์ อ่า, นั่นไม่ใช่พุทธศาสตร์ ถ้าถือพร้อมกันก็ทำได้ แต่ผู้ที่ไม่รู้ ผู้ที่ไม่รู้ ไม่รู้จักไสยศาสตร์โดยแท้จริง ไม่รู้พุทธศาสตร์โดยแท้จริง ก็ทำแต่พิธี ทำแต่พิธีรีตอง
อ่า, เมื่อเข้าไปโบสถ์ ฝ่ายไสยศาสตร์ เข้าไปในโบสถ์ฝ่ายไสยศาสตร์ ก็ทำพิธีรีตองเป็นตามนั้น เช่น ไหว้ศิวลึงค์ เอาน้ำรดศิวลึงค์มาอาบมา แล้วแต่จะมีพิธีอะไร ตามแบบฝ่ายไสยศาสตร์ ทำเสร็จแล้วก็มาเข้า โบสถ์พุทธศาสตร์ ก็ทำพิธีต่าง ๆ ไปตามแบบพุทธศาสตร์ บิดามารดาไม่ได้ทำนะ แต่จูงลูกเล็ก ๆ มาทำพิธี เออ, บวงสรวงอะไรต่าง ๆ ทั้ง ๒ โบสถ์ เพราะโบสถ์มันอยู่ใกล้ ๆ กัน ก็เลยเป็นอย่างนี้ มายุคหนึ่ง สมัยหนึ่ง ครั้นมาเดี๋ยวนี้ มันเปลี่ยนเป็นพุทธมากขึ้น โบสถ์ อ่า, ฝ่ายฮินดูนะ ฝ่ายพราหมณ์ หมดไป ๆ หายไป เออ, เทวรูปรูปพระเป็นเจ้าเหล่านั้น ก็ก็กลายเป็นของที่ เป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นวัตถุในพิพิธภัณฑ์ อยากดูก็ไปดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ ไปดูเถิด มีชื่อว่าพระศิวะบ้าง พระนารายณ์บ้าง เก็บมาจากโบสถ์เก่า ของฝ่ายฮินดู ที่มีอยู่ในเมืองนี้ เมืองไชยานี่
ทีนี้ไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ จำกัดความว่า อันหนึ่งหลับ อันหนึ่งตื่น อันที่หลับนะ นับถือสิ่งที่ เข้าใจไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ ไม่ยอมให้พิสูจน์ เออ, เชื่ออย่างเดียวว่าจะช่วยดับทุกข์ได้นั้น แล้วก็มีการไหว้ มีการบวงสรวง มีการอ้อนวอน มีการทำพิธีต่าง ๆ นานา แล้วก็เชื่อว่า อ่า, พ้น พ้นโชคร้าย หรือพ้น อันตราย มีบุญ ได้บุญและมีบุญ เออ, ส่วนพุทธศาสตร์นั้น ก็ต้องทำสมกับคำว่า พุทธศาสตร์ คือ ลืมตา ไม่ ไม่ได้หลับ ก็เห็นว่านี้ทำลงไปอย่างนี้ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร ทำลงไปอย่างนี้ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร อือ, แล้วก็เลือกทำ ตามที่ผลมันจะเกิดขึ้นเป็นความดับทุกข์ได้ นี่เรียกว่า พุทธศาสตร์
เออ, การถืออย่างไสยศาสตร์ มันเหนียวแน่น เพราะว่าไอ้ชีวิตคน คนที่มีชีวิตนี่ มันมีสิ่งหนึ่งซึ่ง เป็นเจ้าเรือน คือ ความกลัว คือ ความกลัว ดังนั้นถ้าใครมาบอกว่า ทำอย่างนี้ปลอดภัย ไม่ต้องกลัว ก็รับเอา ทันที ฉะนั้นจึงรับเอาพิธีรีตองต่าง ๆ นานา สำหรับประพฤติกระทำเพื่อกำจัดความกลัว การยึดถือทำนอง นี้ยังเหลืออยู่ แม้ว่ามาถือพุทธศาสตร์แล้ว คือว่าเปลี่ยนเป็นว่าถือพุทธศาสตร์แล้ว แต่ความรู้สึกในจิตใจยัง ไม่เปลี่ยน เออ, ก็มานับถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอย่างเทพเจ้า เป็นอย่างพระเจ้า สืบต่อไป
ดังนั้นจึงมีการไหว้พระพุทธรูป อย่างกับว่า อ่า, เป็นรูปเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ การทำอย่างนี้เป็นไสยศาสตร์
แม้กระทั่งแก่พระพุทธรูป ไหว้พระพุทธรูป โดยคิดว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์แล้วจะช่วย อย่างนี้เป็น ไสยศาสตร์ อือ, ถ้าไหว้พระพุทธรูป โดยรู้ว่าเป็นผู้ที่ รู้จักความดับทุกข์ สอนให้ดับได้ เรายินดีที่จะทำตาม เราเคารพแล้วก็ไหว้พระพุทธรูป อย่างนี้เป็นพุทธศาสตร์ ฉะนั้นพระพุทธรูปในโบสถ์ทั่ว ๆ ไปนั่น บางคนเข้าไปไหว้ ด้วยความคิดอย่างไสยศาสตร์นะ ยิ่งโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์มากเท่าไหร่ ยิ่งจะยิ่งเป็นไสยศาสตร์ ได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น ไปไหว้ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย เออ, แต่ถ้าเป็นพุทธบริษัท เป็นพุทธศาสตร์ ไม่ได้ไหว้ พระพุทธรูปนั้นในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย อ่า, แต่ไหว้ในฐานะเป็นพุทธานุสติ ระลึกถึงบุคคลผู้ได้ตรัสรู้ เรื่องดับทุกข์ แล้วสอนให้ผู้อื่นดับทุกข์ได้ด้วย นี่เรียกว่า ไหว้ พระพุทธรูปในลักษณะหนึ่งเป็นไสยศาสตร์ ในลักษณะหนึ่ง อ่า, เป็นพุทธศาสตร์
ช่วยกันทำเสียใหม่ให้ดี ๆ แม้จะเอามาแขวนคอ เอาพระเครื่อง พระพุทธรูปเล็ก ๆ มาแขวนคอ ก็มีทางที่จะเป็นไปได้ ทั้งเป็นไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ ถ้าแขวนไว้ในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อำนาจอะไรก็ไม่รู้นะจะคุ้มครอง ถ้าแขวนอย่างนี้ก็เป็นไสยศาสตร์ ถ้าเอาพระพุทธรูป มาแขวนเพื่อกันลืม กันลืมพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ตรัสรู้แล้ว ดับทุกข์ได้แล้ว สอนผู้อื่นให้ดับทุกข์ได้ด้วย แขวนเพื่อเป็นอนุสติ อนุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อย่างนี้ก็เป็นพุทธศาสตร์ได้ เรียกว่าเป็นพุทธศาสตร์ได้
เดี๋ยวนี้ดูเอาเองเถิดว่า เขาแขวนพระเครื่องกัน เขามีความรู้สึกอย่างไร เขายึดถือกันอย่างไร ถ้ายึดถือเป็นทางขลัง ทางศักดิ์สิทธิ์ ก็เป็นไสยศาสตร์ ถ้ายึดถือไปในทางสติปัญญา เป็นผู้เจ้าของปัญญา เออ, ซึ่งดับทุกข์ได้ก็เป็นพุทธศาสตร์ หรือที่ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองได้ พวกโจร พวกขโมย พวกอันธพาลก็เอาไปแขวน ถูกตำรวจยิงตาย พระเครื่องเต็มคอก็มี พวกอันธพาล พวกโจร นี่แขวนพระ เครื่องอย่างไสยศาสตร์ มันก็ยังไปทำชั่ว โดยคิดว่าไอ้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้จะช่วยคุ้มครอง ถ้าแขวนอย่างชาวพุทธ อย่างพระพุทธศาสตร์ แขวนพระเครื่องแล้ว มันก็ทำชั่วอะไรไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่มีทางจะถูกยิงตาย ทั้งที่พระเครื่องแขวนอยู่ที่คอ เพราะว่าเราแขวนพระเครื่อง เออ, เพื่อปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า
เรื่องนี้พูดไปมันกระทบกระเทือน เพราะว่ามันยังเป็นที่ยกย่องนับถืออยู่ พระพุทธรูปบางองค์ ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ เขาทำต่อพระพุทธรูปนั้น เหมือนกับเป็นคนเป็น ๆ เซ่นสรวง บูชา อ้อนวอน อย่างนี้เป็นไสยศาสตร์ทั้งนั้น แต่อย่าไปทะเลาะกัน อย่าไปว่าเขา เพียงแต่บอกให้รู้ว่า มันไม่มีเหตุผล เป็นสิ่งที่ เออ, เหมาว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์แล้วจะช่วยจะได้ แล้วก็ทำพิธีรีตองต่าง ๆ ตามความเชื่อ อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องไสยศาสตร์ไปหมด เป็นอันว่า พุทธศาสตร์ มันยังถูกเชื่ออยู่ด้วยไสยศาสตร์ ถ้าเราทำอะไรไปใน ลักษณะที่เป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองแล้วก็ มันก็จะเป็นไสยศาสตร์ไปหมด
แม้แต่ท่องบทสวดมนต์ หรือว่าเอามนต์มาสวด ถ้าทำไปในลักษณะที่ว่าเป็นของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์จะคุ้มครอง นี่ก็เป็นไสยศาสตร์ แม้ว่าคำสวดนั้นพุทธศาสตร์เอาไปจากพระไตรปิฎก แต่ถ้าเอาไปสวด เพื่อให้รู้ว่าว่าอย่างไร แล้วจะได้ปฏิบัติตาม ทำพิธีสวด อย่างนี้ยังเป็นพุทธศาสตร์ อยู่แหละ ฉะนั้นที่คุณจะสวด มนต์ ไหว้พระอะไรก็ ระวังอย่าให้กลายเป็นเรื่องขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ ไม่ประกอบด้วยสติปัญญา มันก็เป็นไสยศาสตร์ จงทำให้เป็นเรื่องของสติปัญญา มีเหตุผลอยู่ว่าเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ อ่า, คำสวดบทนี้บอกอย่างนี้ ให้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้อย่างนี้ ลักษณะเหมือนกับ วิทยาศาสตร์นะ นั่นแหละเป็นพุทธศาสตร์แท้ ถ้ารับไว้ด้วยความเชื่ออย่างปิดหูปิดตา แล้วมันก็เป็น ไสยศาสตร์
ทีนี้มันมี อ่า, ข้อเท็จจริงที่ร้ายกาจอยู่อย่างหนึ่งว่า ลัทธิไสยศาสตร์นั่นมันเกิดขึ้นก่อน เมื่อมนุษย์ ยังป่าเถื่อน เมื่อมนุษย์ยังไม่รู้อะไร ยังป่าเถื่อน ก็รู้จักคิดนึกให้เกิดความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พิสูจน์ไม่ได้ ที่เข้าใจไม่ได้ นี่ความคิดเรื่องผี เรื่องเทวดา เรื่องเทพเจ้า อะไรมันก็เกิดขึ้น เกิดขึ้น แล้วมันก็ถือกันมา นี่ก่อน ก่อนศาสนาไหน ๆ หมดนะ ลัทธิไสยศาสตร์นี่ มันก็เกิดขึ้นก่อนศาสนาไหน ๆ หมด ทีนี้เมื่อเกิด ศาสนาขึ้นมา บางศาสนาก็รับเอาระบบไสยศาสตร์เข้าไว้เต็มตัว บางศาสนาก็ ไม่เอาด้วย อ่า, อย่างใน อินเดีย ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดูนั้น รับระบบไสยศาสตร์เข้าไว้เต็มตัว ศาสนาพุทธ ศาสนาไชนะ ตรงนี้ ไม่มีเทพเจ้าหรือพระเจ้าชนิดนั้น มีแต่การประพฤติปฏิบัติลงไปอย่างไร แล้วเกิดผลขึ้นมาเป็น ที่พอใจ นี่เป็นตัวหลักพระศาสนา
นับถือไสยศาสตร์ก็มีหลักว่า ความสุข ความทุกข์ เออ, ความอะไรก็ตามของเรานี้ มาแต่พระเป็นเจ้า และคำว่า อิ-ศ-ว-ร ศวรนะ มาจากพระอิศวร ความสุข ความทุกข์ อะไรก็มาจาก พระเป็นเจ้า แต่ถ้าเป็นพุทธศาสตร์ ก็ความสุข ความทุกข์นี้ มาจากการปฏิบัติ ผิดหรือถูก ตามกฎอิทัปปัจจยตา ถ้าปฏิบัติถูกตามกฎอิทัปปัจจยตา ก็มีความสุข ปฏิบัติผิดต่อกฎอิทัปปัจจยตา ก็มีความทุกข์ อ่า, ความสุขหรือความทุกข์นี้มาจากความประพฤติผิด หรือประพฤติถูกต่อกฎของ สัจธรรมของธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า แต่ว่าศาสนาพวกหนึ่งก็ว่า เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า เขาก็ไม่ต้องพิสูจน์ ไม่ต้องเอามายืนยัน ถือว่าเป็นสิ่งที่ใครพิสูจน์ไม่ได้ อ่า, ลึกลับ สูงสุด ศักดิ์สิทธิ์ เชื่ออย่างเดียวก็พอ เออ, อย่างนี้ก็มีอยู่มาก พระเป็นเจ้าในอินเดียมีมาก ออกไปจากอินเดีย เป็นพระ อ่า, พระเจ้าอย่างองค์เดียว เมื่ออยู่ในอินเดียเป็นพระเจ้าหลายองค์ บางทีถึง ๓ องค์รวมกันเป็นองค์เดียว
พอมาถึงสมัย วิทยาศาสตร์ เป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นมาในโลก มนุษย์ก็เริ่ม สงสัย อ่า, หรือเหินห่าง จากศาสนาที่มีพระเจ้า หรือที่เป็นไสยศาสตร์นี่ แล้วก็หันมาสนใจลัทธิศาสนาที่ไม่ต้องมีพระเป็นเจ้า อือ, มีแต่ระบบการประพฤติกระทำให้ถูกต้องตามเรื่องตามราว แล้วก็ดับทุกข์ได้ นี่คือข้อที่พุทธศาสนา ได้รับความสนใจ จากปัญญาชนในสมัยวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ๆๆๆ เอง โดยที่ชาวพุทธไม่ได้ไปลงทุน เป็นเงินเป็นทองชี้แจงชักจูงอะไร ไม่ไม่ ไม่ได้โฆษณาทำนองนั้น ไอ้ความที่มันมีเหตุผลอยู่ในตัว และถือ สิ่งที่รู้สึกได้ รู้จักได้ มองเห็นได้ เข้าใจได้ มันไม่ ไม่ต้องเชื่ออย่างงมงายนั่นแหละ เป็นหลักของพุทธศาสตร์ จึงได้รับความสนใจ มากขึ้น ๆ
ส่วนศาสนาที่ยังมีพระเจ้า ที่ต้องมีพระเจ้าที่เข้าใจไม่ได้ มันต้องลงทุนมาก ต้องมีอุบายหลายอย่าง หลายประการ ที่จะทำให้คนยอมเชื่อหรือยอมรับลัทธิอันนั้น ซึ่งจะทำได้ยากยิ่งขึ้น ทุกทีในโลกนี้ ในโลกนี้
นี่พูดได้ว่า ไอ้ระบบไสยศาสตร์นั้น มันค่อย ๆ สลายตัวไปเอง อาศัยความเชื่ออย่างงมงาย เออ, ของประชาชน ลัทธิไสยศาสตร์จึงตั้งอยู่ได้ แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องของจิตใจ เรื่องจิต เรื่องวิญญาณ มองไม่เห็นตัว แต่มันก็รู้สึกได้ มันก็รู้สึกได้ เรื่องทางจิตทางวิญญาณนี้รู้สึกได้ ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น มีเหตุอย่างนั้นมีผลอย่างนั้น มันก็รู้สึกได้ การถือให้เป็นพุทธศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่เหลือวิสัย
นี่ผมอยากจะให้เข้าใจ เพราะว่าพวกคุณก็มาบวชเพื่อจะศึกษาพุทธศาสนา จึงบอกให้เห็นว่ามัน ต่างกันอย่างไร ระหว่างพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์ บางทีก็จะลำบาก ไอ้ที่ว่า ในในบ้านเรานะ ในในครอบครัวเรานะ พ่อแม่อาจจะยังถือไสยศาสตร์ อยู่ก็ได้ ส่วนลูกนี่จะมาถือพุทธศาสตร์ มันก็ต้องมี กระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ค่อยประนีประนอมกันไปสิ ไม่ไม่ต้องไปดูหมิ่นดูถูกอะไรกัน ถือว่ามีเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเป็นหลักนะ เออ, แล้วก็จะค่อย ๆ รู้กันเองว่าอะไร เป็นไสยศาสตร์ อะไรเป็นพุทธศาสตร์ อะไรจะไปรอด อะไรจะไปไม่รอด
นี่ในชั้นนี้ขอร้องไว้ทีก่อนว่า อย่าไปกระทบกระทั่ง ทะเลาะวิวาท อ่า, เกี่ยวกับเรื่องนี้ กับบิดา มารดาก็ดี กับเพื่อนฝูงก็ดี กับใครก็ดี เพราะว่า พวกถือไสยศาสตร์เขาก็ มีสิทธิที่จะถือไสยศาสตร์ แล้วมันเป็นที่พอใจของเขาแล้วมันก็ เขาก็ต้องทำ และยิ่งกว่านั้นอีก คือมันง่ายนะ มันง่ายนะ การที่จะถือ ไสยศาสตร์ บวงสรวงอ้อนวอนนั้นมันง่ายนะ มันไม่ยากเหมือนกับจะต้องปฏิบัติกาย วาจา ใจ อะไรนี่ ด้วยความลำบากนั่นนะ ในการถือไสยศาสตร์ มันง่ายกว่า มันง่ายกว่า คนจึงยังถือไสยศาสตร์กันอยู่มาก
และก็น่าประหลาดนะ ที่มีพระพุทธรูป พระเครื่องเกิดขึ้นเป็นล้าน ๆ องค์ต่อปี หลายสิบล้าน องค์ต่อปี มันก็ยังไม่เห็นอะไรดีขึ้น ลองคิดดู มันก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะถือพระเครื่องเหล่านั้น เป็นไสยศาสตร์หมด ไม่เป็นพุทธศาสตร์เลย พุทธศาสนาก็ไม่ช่วย ไม่อาจจะช่วย ไม่มาช่วย เพราะเขาก็ถือ วัตถุศักดิ์สิทธิ์เอา มันไม่เกี่ยวกับไอ้ตัวธรรมะ พระเครื่อง พระพุทธรูป พระเครื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับตัวธรรมะ เกี่ยวกับสัญลักษณ์ เอาไปทำสัญลักษณ์ของไสยศาสตร์ แล้วพระเครื่องทั้งหลายก็เป็นเรื่องไสยศาสตร์หมด เราเป็นสัญลักษณ์ของผู้รู้ทำ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ช่วยสั่งสอนให้ดับทุกข์ได้ มันก็เป็นพุทธศาสตร์นะ แต่ช่วย ไม่ได้ ด้วยเหตุเพียงว่า รู้จักเพียงเท่านั้น ต้องปฏิบัติตามด้วย ต้องปฏิบัติตามอย่างยิ่งด้วย แล้วก็จะช่วยได้
นี้ก็อยากจะให้นึก เลยไปถึงว่าเป็นปัญหา ของบ้านเมือง ของบ้านเมือง ที่ว่าทำไม ศีลธรรมมันยัง ไม่ดีขึ้น อ่า, ศีลธรรมของประชาชนมันยังไม่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่พระเครื่องมันผลิตขึ้นมาปีละเป็นล้าน ๆ องค์ ทำไมศีลธรรมยังไม่ดีขึ้น นั่นเพราะมันไปเป็นไสยศาสตร์ ไปเสียหมด ไปส่งเสริมความงมงายเสียหมด ไม่ส่งเสริมสติปัญญาที่ว่า ปฏิบัติอย่างนี้สิ ปฏิบัติอย่างนี้สิ ปฏิบัติอย่างนี้สิ มันไม่เป็นอย่างนี้
ฉะนั้นถ้าคุณจะแขวนพระเครื่องกับเขาบ้างล่ะก็ ก็แขวนอย่างเป็นพุทธศาสตร์ เป็นเครื่องเตือน สติว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร ท่านสอนอย่างไร แล้วเราก็จะได้ปฏิบัติอย่างนั้น โดยสะดวก โดยง่าย ไม่ลืมไม่เลือน หรือถ้าว่าเกิดความทุกข์ความร้อนขึ้นมา ก็นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าได้โดยง่าย อ่า, เพราะว่าสัญลักษณ์ของท่าน มาแขวนไว้ที่คอ อย่างนี้ไม่เป็นไร การแขวนพระเครื่องนั้นยังเป็น พุทธศาสตร์อยู่ แต่ถ้าให้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ของขลัง ช่วยโดยไม่ต้องมีเหตุผลอะไรแล้ว เป็นไสยศาสตร์ หมด จะช่วยได้หรือไม่ได้ เอาไปคิดดูเอาเอง ถ้าเผอิญมันปลอดภัย เป็นเรื่องฟลุ๊คทั้งนั้นนะ ไม่ใช่ช่วย โดยแท้จริง แล้วส่วนใหญ่มันก็จะช่วยไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ประพฤติกระทำอะไร ให้ชนะกิเลส หรือให้ ชนะความทุกข์เลย
อือ, เอาละเรา อ่อ, พยายาม ให้ดีที่สุด ที่จะเป็นพุทธบริษัท แล้วก็ถือพุทธศาสตร์ อย่าเป็น พุทธบริษัทแล้วถือไสยศาสตร์เลย มันเป็นไปไม่ได้นะ ไอ้หลักง่าย ๆ อีกอย่างหนึ่ง ก็พูดได้ว่าถ้าเป็น ไสยศาสตร์นะ มันถือ มันถือที่พึ่งนอกตัว ถ้าเป็นพุทธศาสตร์ถือที่พึ่งในตัว ประโยคนี้ช่วยจำไว้ให้แม่น ถ้าเป็นพุทธศาสตร์จะถือที่พึ่งในตัว คือจัดการกับตัวภายในตัว ที่กาย ที่วาจา ที่ใจ ที่ เออ, สติปัญญา ทำที่พึ่งจากภายในตัว ถือที่พึ่งภายในตัว อือ, ถ้าเป็นไสยศาสตร์ก็ถือที่พึ่งนอกตัว เมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ สอนอะไรไว้ เออ, ก็เป็นเรื่องทำด้วยตนเอง เพื่อตนเอง ช่วยตนเอง ทั้งนั้นแหละ คำสอนในพุทธศาสนา อ่า, ทำด้วยตนเอง แล้วเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง
ทีนี้ีอีกข้อหนึ่งที่มันจะต้องนึกถึงเพราะว่า ไอ้มนุษย์เรานี่ มันชอบสิ่งที่มัน มันเหลือเชื่อ มนุษย์นี่ ชอบสิ่งที่เหลือเชื่อ เออ, ชอบสิ่งที่ประหลาดมหัศจรรย์ ดังนั้นจึงชอบจะมีพระเป็นเจ้า หรืออะไรที่มัน เหนือ เหนือ เหนือระดับธรรมดา ประหลาดมหัศจรรย์ ไม่ชอบผู้รู้อย่างคนธรรมดา แล้วสอนให้ปฏิบัติ เพื่อช่วยตนเอง ชอบสิ่งที่ลึกลับมหัศจรรย์ แล้วก็เชื่อว่าจะช่วยได้ แล้วบูชาบวงสรวงอ้อนวอนว่าจะช่วยได้ นี่มนุษย์ เออ, มีความโง่ดั้งเดิม มีความโง่ดั้งเดิมติดมาอย่างนี้ คือต้องการจะให้มีสิ่งที่พิเศษเหนือธรรมดา เหนือธรรมชาติ เหนืออะไรหมด และความเชื่ออย่างนั้น มันก็ได้เกิดขึ้นมาในหมู่มนุษย์ ก่อนความเชื่อ ชนิดที่จะเชื่อกันตรง ๆ เออ, เห็นการกระทำ อยู่โดยชัดเจน อ่า, ว่า อ่า, ทำอย่างนี้มีผลอย่างนี้ ทำอย่างนี้ มีผลอย่างนี้ ทำอย่างนี้มีผลอย่างนี้
อ่า, ทีนี้อย่างหนึ่งที่อยากจะแนะสังเกตว่า พอพอพอมนุษย์ พอคน พอเด็กเกิดมาเท่านั้นแหละ มันก็ปลูกฝังไอ้ลัทธิ เชื่อผู้อื่น พึ่งผู้อื่น ใช่ไหม พอเด็กเป็นทารกคลอดออกมานะ มันมันมันได้รับการ ช่วยเหลือจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นผู้อื่นนะมาช่วยเขา เด็กทารกนั้นจะมีความคิดว่าจะช่วยตัวเองนั้น มันมีไม่ได้ อันนี้ มันเป็นต้นทุนสำหรับไสยศาสตร์ ที่สำหรับเด็กทารกนั้น พร้อมที่จะถือไสยศาสตร์ คือจะเชื่อผู้อื่น ที่จะช่วยได้ จนกว่าเด็กจะโต โต โต จนจนช่วยตัวเองได้ ก็จะหมดความเชื่อชนิดนั้น
ดังนั้น เด็กทารกจึง ถูกสอน ให้เชื่อในรูปแบบของไสยศาสตร์ เพราะ อะไรนะ เพราะความโง่ของ ผู้เลี้ยงเด็กนั่นเอง เออ, หลอกให้เด็กเกลียดกิ้งกือ กลัวตุ๊กแก กลัวผี กลัวอะไรก็ไม่รู้ ไอ้คนเลี้ยงเด็กนี่ ทำให้เด็กเชื่อว่ามี มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะ มีผี มีเทวดา มีอะไร ให้เด็กเขาเชื่อไปทำนองนั้น อย่างน้อยก็ กลัวผีนี่ หรือแม้ที่สุดแต่คำพูดชนิดที่มันไม่ไม่ ไม่ตรงไปตรงมานะ อ่า, เช่นว่า อย่าทำอย่างนี้นะ ฟ้าจะผ่านะ ไอ้เด็ก ๆ มันไม่รู้นี่ มันก็ต้องเชื่อสิ ก็เป็นเป็นทุน เป็นจุดตั้งต้นสำหรับไสยศาสตร์
ดังนั้นเราเด็ก ๆ ก็ถูกมอบหมายให้ถือไสยศาสตร์ มาเป็นเวลาระยะหนึ่ง กว่าจะลืมหูลืมตาเป็น ผู้ตื่น ก็ตรงกันกับคำว่า ไสยศาสตร์ เราเกิดมาจากท้องมารดา ก็ต้องถือไสยศาสตร์ คือศาสตร์หลับนะ หลับ ไม่รู้ด้วยตนเองนะมาอพักหนึ่ง จนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากพอแล้ว แล้วจึงจะถือศาสตร์ตื่น ตื่นจากหลับ คือ พุทธศาสตร์ นี่ไม่ต้องเกี่ยวกับศาสนาไหนนะ โดยธรรมชาติแท้ ๆ ตามธรรมชาติแท้ ๆ นี่ เด็กจะมีลักษณะเหมือนกับถือไสยศาสตร์มาพักหนึ่ง จนกว่าจะเติบโต รู้จักอะไร ๆ แล้วก็เลิกละ สิ่งเหล่านั้น กลายเป็นถือพุทธศาสตร์ คือจะต้องถือสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ รู้จักไม่ได้ ต้องเชื่อเชื่อเชื่อตามตาม ไปก่อน จนกว่าจะมาถึง ะยะหนึ่ง พอที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้อะไรเป็นอะไร มันก็เลยเปลี่ยนเป็นถือ อีกอย่าง คือรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ต้องเชื่ออย่างงมงาย
น่าสงสารนะเด็ก ๆ ที่เกิดมาในบ้านในเรือน อ่า, ที่ถูกกระทำให้ถือไสยศาสตร์มา เสียงอมแงม ๆๆ แล้วไอ้เรื่องไสยศาสตร์นี่มัน มันไม่ต้องลงทุน เช่น คาถาอาคมอะไรต่าง ๆ ไม่ต้องลงทุน มีแต่ว่าคาถา อาคม บทนั้นบทนี้สักหน่อย ผู้หญิงจะตามมาเป็นแถวนี่ ในคัมภีร์มันว่าอย่างนั้นในตำรา ที่เอามาหลอก เด็ก ๆ มันเป็นอย่างนั้น ผมก็เคยพบ เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง เขาจะต้องสุมหัวกัน สนทนากันอยู่กับเรื่อง ไสยศาสตร์ชนิดนี้ พักหนึ่งแหละ ถ้าพ่อแม่ไม่ดูแลให้ดี ครูบาอาจารย์ไม่ดูแลให้ดี เด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะ เป็นอันตราย เป็นเด็กอันตราย
แต่ว่าเดี๋ยวนี้ น้อยลงแล้ว น้อยลงแล้ว รุ่นผมเป็นเด็ก ๆ นะ ในหมู่เด็ก ๆ รุ่น ๆ นั้นแหละ มันจะสุมหัวกันเรื่องไสยศาสตร์ แลกเปลี่ยนคาถาอาคม ตำรับตำราทางไสยศาสตร์กันสนุกไปเลย จนกว่ามันจะผ่านพ้นไป นี่เรียกว่า ธรรมชาติมันก็จัดสรรให้เราถือศาสตร์หลับ ถือศาสตร์หลับ คือ ไสยศาสตร์กันมาพักหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงมาเป็นถือศาสตร์ตื่น ตื่น คือ พุทธศาสตร์ทีหลัง ทีนี้ก็ไปอย่างตื่น อย่างลืมหูลืมตา กว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทาง
เอาแล้วกันว่า วันนี้ เราได้พูดกันถึงเรื่อง ที่เป็นปัญหาทางจิตทางวิญญาณ เออ, สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องศาตร์หลับกับศาสตร์ตื่น ศาสตร์หลับคือ ไสยศาสตร์ พึ่งสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ต้องเชื่อ ๆๆๆๆ ส่วนอีกศาสตร์หนึ่งเป็นศาสตร์ตื่น มองเห็นอะไรเป็นอะไรเป็นอะไร ก็ต้องคิดคิดคิด สังเกต คิด แยกแยะ สอบสวน หาเหตุผล แล้วไปคิดดูเองว่า อันไหนจะช่วยได้ อันไหนจะช่วยได้ สำหรับเราที่จะอยู่ต่อไปในโลกนี้ อีกหลาย อีกหลาย ๆ ปี แต่ถ้าว่าเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี อ่า, ที่มันติดมานั้น ก็อย่าไปทะเลาะขึ้นเสียง หรือวิวาทอะไรกันเลย เพียงแต่พูดจาให้เข้าใจก็แล้วกัน ถ้าเราถือหลักว่าต้องเชื่อสิ่งที่ ศึกษาได้ แตะต้องได้ ลูบคลำได้ พิสูจน์ได้ แล้วก็ไม่เป็นไร
เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่า ถ้าอยากจะแขวนพระเครื่องกับเขาบ้างละก็ แขวนอย่างพุทธศาสตร์เถิด อย่าได้งมงาย ซื้อมาองค์ตั้งหมื่นตั้งแสน พระเครื่ององค์หนึ่งตั้งหมื่นตั้งแสน มันจะซื้อได้สำหรับ ผู้ที่งมงายตามแบบไสยศาสตร์เท่านั้น ผู้ที่เป็นพุทธศาสตร์ จะซื้อองค์หนึ่งไม่กี่สตางค์ก็ได้ แล้วมาแขวน ก็ได้บุญเหมือนกัน เพราะว่ากันลืมพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง เอาละหมดเวลาแล้ว ขอยุติการบรรยายวันนี้ ไว้เพียงเท่านี้