แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ครั้งนี้ผมจะพูดโดยหัวข้อว่า โครงสร้างของพรหมจรรย์ เพราะมีความประสงค์อย่างยิ่ง ที่จะให้เข้าใจ คำว่า พรหมจรรย์ มันเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ในระหว่างคำหลายคำ เช่น คำว่าพรหมจรรย์อย่างนี้ ก็แทนกันได้ กับคำว่า บรรพชา บวช บวช คำว่าบวช ที่หมายถึง เพศ ต่างหากจากฆราวาส บวชเณรก็ได้ บวชพระก็ได้
ล้วนแต่เรียกว่าบวช หรือบรรพชานั้น เดี๋ยวนี้คำบัญญัติเฉพาะบรรพชา ใช้เฉพาะสามเณร ภิกษุ ใช้ว่า อุปสมบท ที่จริงแล้ว ทั้งบรรพชา ทั้งอุปสมบท ก็คือ บรรพชา
บรรพชาเป็นคำกว้างกว่า หมายความว่า ออกจากบ้าน จากเรือน ครั้นแล้ว ก็มาประพฤติอย่างดี อย่างประเสริฐ เรียกว่า พรหมจรรย์ คำว่าพรหม พรหมนี้ ถ้าเป็นความหมายธรรมดา ธรรมดา ก็แปลว่า ดี หรือประเสริฐ หรือสูงสุด ถ้าเป็นวิสามัญนาม ก็เป็นชื่อของพระเป็นเจ้า พระเจ้าอะไรไป หรือเป็นชื่อของโลก ของที่เขาบัญญัติสมมติเรียกกัน แต่ถ้าเป็นคำนามธรรมดาแล้ว พรหมนี่ แปลว่า ประเสริฐ หรือสูงสุด พรหมจรรย์ ก็คือ ประพฤติอย่างประเสริฐ หรือสูงสุด มันก็คือ การบวช การออกจากเรือนบวช นั้นเอง
นั้นก็บวช คือ มาสู่ธรรมวินัยนี้ ธรรมวินัยของภิกษุ ของบรรพชิต มาสู่ธรรมวินัยนี้ มาสู่การปฏิบัติ ระบอบนี้ ซึ่งบางที เขาก็เรียกว่า พระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป ที่อยากจะให้เข้าใจเต็มที่ แจ่มแจ้ง ซึมซาบ ก็คือว่า พรหมจรรย์นั้นเอง และควรจะรู้ไว้ด้วยว่าตามภาษา ตามความหมายทางภาษา คือ ประพฤติดีเป็นพิเศษกว่า ธรรมดา ก็เรียกว่า พรหมจรรย์หมด ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเว้นทางเพศ เว้นอะไรทำนองนั้น อย่างเดียวก็ไม่ใช่ นี่ถ้าประพฤติอะไร อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอย่างพิเศษ อย่างเคร่งครัด ก็เรียกว่าพรหมจรรย์ได้ รวมทั้งเรื่องเพศ เรื่องอะไรด้วย แต่เดี๋ยวนี้ ท่านใช้คำ คำนี้ ในความหมายที่กว้าง คือ การประพฤติของผู้ออกจากเรือนบวช หมายถึง พรหมจรรย์ของผู้ออกจากเรือน ที่อยู่ที่บ้านเรือน ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้ เขาอยู่ในบ้านเรือน เขาประพฤติอะไรอย่างเคร่งครัด ก็เรียกว่า พรหมจรรย์ที่ประพฤติในบ้านเรือน
ทีนี้ทว่า พูดเป็นกลาง ๆ ที่สุด และก็ไอ้ระเบียบ ระบอบ ปฏิบัติที่มันดับทุกข์ได้ เรียกว่า พรหมจรรย์ ไม่ยกเว้นข้อไหนแล้ว รวมทุกข้อ ข้อเล็ก ข้อใหญ่ ข้อทุก ๆ ข้อ รวมกันแล้วมันดับทุกข์ได้ ระบบนั้นทั้งหมด เรียกว่า พรหมจรรย์ ฆราวาส ก็ประพฤติได้ตามหลักแบบฆราวาส บรรพชิต ก็ประพฤติได้ตามแบบของ บรรพชิต มันแน่นอนตรงที่ว่ามันดับทุกข์ นั้นพรหมจรรย์ คือ ระบบการปฏิบัติ ที่มันดับทุกข์ได้จริง ดังนั้น จึงเรียกว่า การประพฤติอันประเสริฐ มีขีดจำกัดความได้อีกบางอย่างว่า พรหมจรรย์ที่มีวิมุต เป็นผลได้ ในที่สุด คือ พรหมจรรย์ในพุทธศาสนา พรหมจรรย์ของผู้อื่น ลัทธิอื่น ศาสนาอื่น เขาก็มีตามแบบของเขา ไม่ ไม่ ใคร ๆ ไม่อาจจะผูกขาดใช้คำนี้ แต่เฉพาะของตัว เป็นคำธรรมดาทั่ว ๆ ไป ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา แต่ถ้าเป็น พรหมจรรย์ในศาสนานี้ ในพุทธศาสนานี้ก็คือ การประพฤติชนิดที่ในที่สุด มันจบลงด้วยวิมุต คือ ความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ถ้าเพื่อผลอย่างอื่นนั้น ไม่ ไม่ใช่พรหมจรรย์ในพุทธศาสนา หรือไม่ใช่ ความมุ่งหมายของพรหมจรรย์ในพุทธศาสนา
ที่นี้ สำหรับพวกเราบรรพชิตนี้ กล่าวได้เลยว่า ระบบการบวชทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนปลาย ตั้งแต่ ก้าวเท้าออกจากเรือน มาประพฤติปฏิบัติกว่าจะบรรลุอรหันต์ ทั้งหมดนั้นเรียกว่า พรหมจรรย์ก็แล้วกัน ที่นี้อยากจะให้เข้าใจ ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงใช้คำว่า โครงสร้าง โครงสร้าง คำพูดทั่วไป หรือในภาษาวิทยาศาสตร์ หรืออะไรก็สุดแท้ ทุกคนรู้ความหมายของคำว่า โครงสร้าง โครงสร้าง ดีอยู่แล้ว ก็จะพูดถึงโครงสร้างของ พรหมจรรย์ อาศัยคำที่ว่า ประพฤติ ประเสริฐ ที่มันประเสริฐ เพราะมันดับทุกข์ได้ ที่มันดับทุกข์ได้ ก็หมายความว่า มันถูกต้อง มันถูกต้อง ความถูกต้อง ๘ ประการ รวมกัน เรียกว่า อริยมรรค มีองค์ ๘ นั้น บางทีก็เรียกว่า พรหมจรรย์ได้เหมือนกัน พรหมจรรย์ หมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่มันมีความถูกต้อง ๘ องค์รวมกันเข้า เป็นมรรค สายหนึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ก็เรียกพรหมจรรย์ได้
เดี๋ยวนี้เราอยากจะพูดกันโดย ภาษาธรรมดาสามัญ เรียกว่า ให้มันกลาง ๆ ให้มันกลาง ๆ จนเป็น เรื่องวิทยาศาสตร์ก็ได้ เรื่องอะไรก็ได้ จึงไม่ยึดติด ลงที่คำว่า ถูกต้อง ถูกต้อง หรือชอบ เรามีคำเป็นหลัก
คือ คำว่าถูกต้องตามธรรม ตามวินัย นั้นก็ควรจะรู้จัก คำว่า ธรรม และวินัยกันเสียบ้าง สิ่งใดที่เป็นความจริง ของธรรมชาติ เพียงแต่พระองค์นำแสดง นี้เรียกว่า ธรรม ธรรมะ ถ้าสิ่งใดบัญญัติ พระองค์ทรงบัญญัติขึ้น พระองค์ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์จะให้สำเร็จประโยชน์ตามนั้นแหละ ทรงบัญญัติเป็นข้อ ๆ ขึ้นมา อย่างนี้ เป็นคำสั่งบังคับ ก็เรียกว่า วินัย วินัย จึงเหลือคำสำคัญอยู่ ๒ คำ คือ คำว่า ธรรมะ กับคำว่า วินัย
ทรงแสดงธรรมะตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ทรงบัญญัติวินัย ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ จะบัญญัติ เพื่อหมู่สงฆ์นี้ หมู่สงฆ์นี้ ส่วนวินัยนี่ ถือว่าต้องทำ บัญญัติขึ้นเพื่อบังคับให้ทำ ไอ้ส่วนธรรม หรือธรรมะ นั้นตามใจคุณ คุณจะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ถ้ารักดีก็ทำ เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง ส่วนวินัยนั้น ไม่ทำ ไม่ได้ ถ้าไม่ทำก็ออกไปจาก สงฆ์หมู่นี้ ถ้ายังอยากจะอยู่ในสงฆ์หมู่นี้ จะต้องปฏิบัติตามวินัย ที่บัญญัติขึ้น สำหรับสงฆ์หมู่นี้ สงฆ์หมู่อื่น ศาสนาอื่น ลัทธิอื่น เขาก็มีสงฆ์ของเขา ตามแบบของเขา เขาก็บัญญัติกัน อย่างอื่นไม่เหมือนกัน มันเป็นเรื่อง บัญญัติเกี่ยวกับหมู่สงฆ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมเพื่อดับทุกข์ หรือใครจะเป็นภิกษุอิสระ ไม่ขึ้นกับสงฆ์หมู่นี้ก็ได้ตามใจ ทำได้ตามใจ แต่ต้องไม่ขึ้นกับสงฆ์หมู่นี้ จะถือสิขาวินัย อย่างใดตามใจชอบของตน ก็ตามใจ
แต่ถ้ามันถูกต้องตามเรื่อง ที่จะดับทุกข์ได้ มันก็ดับทุกข์ได้เหมือนกันแหละ นั้นเขาจึงมีนักบวชอิสระ ไม่ขึ้นกับสงฆ์หมู่นี้ หรือหมู่ไหน เป็นแบบ ๆ ไปก็มี แต่ในพระพุทธศาสนานี้จะเรียกว่า ธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง และทรงบัญญัติ คำว่า แสดง และคำว่า บัญญัติ ต่างกันลิบ แสดง คือ เป็นของจริง ของธรรมชาติมาแสดง เพราะมันเร้นลับไม่มีใครรู้ ต้องมีคนเอามาแสดง พระองค์ก็ทรงนำมาแสดง อย่างนี้ เรียกว่า แสดง เรียกว่า เทศิโต (นาทีที่ 14:06) ส่วนข้อระเบียบที่บัญญัติขึ้น ให้ต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เรียกว่า บัญญัติ บัญญัติ เป็นกิริยาก็ บัญญัญโต(นาทีที่ 14:21)ที่ทรงบัญญัติแล้ว เทศิโต(นาทีที่ 14:26)ที่ทรงแสดงแล้ว ทรงแสดงก็คือ ธรรมะ บัญญัติแล้วก็คือ วินัย มันจึงมีอยู่ ๒ ชนิดอย่างนี้ อย่างหนึ่งเป็นธรรม อย่างหนึ่งเป็น วินัย วินัยนั้นไม่ยกเว้น ต้องประพฤติต้องปฏิบัติ จึงจะเรียกว่า มีสิทธิอยู่ในสงฆ์หมู่นี้ ถ้ามิฉะนั้นก็จงออกไป ตามพอใจ ออกไปจากสงฆ์หมู่นี้ ถ้ายังอยู่ในสงฆ์หมู่นี้ ก็ต้องมีทั้งธรรม และทั้งวินัย ประพฤติปฏิบัติทั้งธรรม และทั้งวินัย ปฏิบัติให้ถูกต้อง พอเหมาะพอดี เรียกว่า บริบูรณ์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ขาดไม่เกิน
ที่นี้บางคนก็จะ คิดต่าง ๆ นานา ถึงกับท้อใจว่ามันมากเหลือเกิน เช่น วินัยในปาติโมกข์นี่ มันก็ตั้ง ๒๐๐ กว่าข้อ และนอกปาติิโมกข์อีกนับไม่ไหว จะถึง ๑๐๐๐ ถ้าจะนับก็ไม่หมด เท่าที่นัั่นได้หลายร้อย ส่วนวินัยอันใด ถือว่าเป็นหลัก เป็นประธานที่จะต้องมี กันอย่างเคร่งครัดนะ ก็เรียกว่า ปาติโมกข์ ปาติิโมกข์ วินัย ๒๒๗ ข้อเรียกว่า ปาติโมกข์ ที่ต้องปฏิบัติเต็มที่ ในลักษณะบังคับกันเต็มที่ ส่วนนอกนั้น มันเป็นเพียง เรื่องให้งดงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย งดงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ใช่เรื่องเสียหายรุนแรง นี้ก็มี เรียกว่า นอกปาติโมกข์ วินัยนอกปาติโมกข์ ที่จริงวินัยที่ยกขึ้นสู่ปาติโมกข์ ทุก ๑ เดือนนั้น ตามบาลีแท้ ๆ สังเกตเห็นได้เลยว่า ก่อนหน้านี้มีอยู่ ๑๕๒ สิขาบท คือ ไม่ได้รวมเสขิยวัตร ปาฏิเทศนียะ ในบาลีเดิมมีอยู่กว่า ๑๕๒ สิขาบท มาสู่ปาติโมกข์ทุก ๆ ๑ เดือน เดี๋ยวนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า ๒๒๗ จึงบังคับเอาเสขิยวัตรมาด้วย ให้ถืออย่างเคร่งครัดด้วยเหมือนกัน
จึงต้องหามาดู จะมานั่งบอกกันอย่างนี้ไม่ ไม่ ไม่จำเป็น เสียเวลาเปล่า ๆ จะต้องไปเอามาดู ไปเอามา ศึกษาว่าปาติโมกข์ มีอะไรบ้างในหนังสือนวโกวาท(นาที่ที่ 18:10) เอามาดู ศึกษาให้รู้ ให้แตกฉาน จำได้แม่นยำ พอไปลงปาติโมกข์ เราจะได้รู้ว่าสวดไปถึงข้อไหนแล้ว แม้เราจะไม่ได้เรียนบาลี ฟังบาลีไม่ออก แปลบาลีนั้นไม่ได้นั้นก็จริง แต่เรารู้ว่ามันถึงข้อไหนแล้ว เรื่องปาราชิก ข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ ข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ สังฆาทิเสส ข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ ข้อที่ ๓ จนถึงข้อที่ ๑๓ ทุกข้อ ทุกข้อ เราก็จะพอรู้ว่าเขาสวดไปถึงข้อนั้นแล้ว แล้วก็ถามเฉพาะข้อนั้น ว่าเราต้องอาบัติ ข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาที่ได้สวดมานี้ไหม เราจะได้ปฏิบัติถูกต้อง คือว่า ถ้ามีต้องอาบัติข้อใดอยู่ให้บอกขึ้นมา ถ้าไม่ต้องให้นิ่งอยู่ตามเดิม
นี้ขอให้รู้ไว้ เป็นจริงเป็นจัง เป็นกิจลักษณะหน่อยว่า ระเบียบ วินัย หรือพรหมจรรย์ ของพระพุทธเจ้า ท่านทำไว้อย่างนี้ เป็นของสำหรับผู้ดี เป็นของสำหรับผู้ดี เป็นของสำหรับสัตบุรุษ ไม่ใช่เป็นของผู้ร้าย หรือคนอันธพาล ก็คือว่าให้ตัวเองรับผิดชอบตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาเกี่ยวข้อง เมื่อไม่ เมื่อผิดที่ไหน ก็บอกว่าผิดที่ไหน แล้วก็พยายามที่จะทำให้ถูก คือ แสดงอาบัติตั้งต้นกันใหม่ ท่านไม่ได้มีการบังคับ ไม่ต้อง เอาไม้เรียวมาขู่ มาจ่อ เหมือนกับเรื่องของเด็ก ๆ มันจึงเป็นระเบียบสำหรับผู้ดี ที่มีความซื่อตรง ต่อตัวเอง เท่านั้นจึงจะเป็นไปได้ถ้าผู้ใด เป็นผู้เลว กบฎ ทรยศต่อตัวเอง ไม่เท่าไหร่ก็เต็มไปด้วยอาบัติ ที่หมกไว้ ที่ซ่อนไว้ ปิดไว้ มันก็อยู่ไม่ได้ มันก็แผดเผาหัวใจ ต้อง จนต้องออกไป อยู่ไม่ได้
นี้เรื่องสำหรับผู้ดีก็เป็นอย่างนี้ ไม่ต้องมีใครมาบังคับ ให้ตัวเอง ดูแลตัวเอง บังคับตัวเอง รับผิดชอบ ตัวเอง ถ้าผิดก็โจษโทษตัวเอง ตัดสินด้วยตัวเอง เพื่อนก็มีสิทธิเหมือนกันที่จะว่ากล่าวทักท้วง ด้วยเมตตา กรุณา เกลี่ยกล่อม ให้ละเสีย ให้ออกเสียจากอาบัติ แต่ถ้ามันมีหลักฐานพยานเพียงพอ เขาก็จะใช้อำนาจ บางอย่างบังคับ ขอให้ออกไปเสียจากสงฆ์หมู่นี้ แต่ก็ด้วยอย่างสมบัติผู้ดี อย่างผู้ดีอีกเหมือนกัน ไม่มีตี ไม่มีด่า ไม่มีหยาบคายอะไร เป็นเรื่องของผู้ดีมีมรรยาทตลอดเลย ในการที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ไอ้เรื่องวินัย โดยถูกต้อง ส่วนที่เป็นภายนอก ที่เป็นธรรมะ ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องในทางภายใน ผมก็บอกแล้วว่าจะพูด ถึงสิ่งที่เรียกว่า โครงสร้างของพรหมจรรย์ แล้วก็มารวมอยู่กับคำว่าถูกต้อง ถูกต้อง
ดังนั้นจึงขอแสดง ไอ้ความถูกต้อง ซึ่งที่มีอยู่ในพรหมจรรย์นั้นว่าเป็นอย่างไร คือ ผมรวบรวมเอาเอง จากทั้งหมด ซึ่งไม่ค่อยจะได้มีอะไรรวบรวมไว้ เพราะปาติโมกข์ก็ดี อะไรก็ดี เขาไม่ได้รวบรวมไว้ เป็นหมวด เป็นหมู่ ตามแบบที่เรียกว่า โครงสร้างกัน หมายความว่า เขาเก็บไว้ ๆๆ ตามอะไรมาก่อน มาหลัง มาก่อน มาหลัง มาก ๆ เข้าก็จัดเป็นหมวด ๆ แต่ว่าเรื่องเดียวกันบางที อยู่หมวดโน้นบ้าง อยู่หมวดนี้บ้าง อยู่คนละ หมวดสองหมวด ในเรื่องเดียวกันอย่างนี้ เพราะว่าก็ไม่ได้ตั้งใจวางโครงสร้าง เพียงแต่พระศาสดา บัญญัติวินัย ข้อไหนขึ้นมาก่อน ก็ถือตามเพิ่มขึ้น ๆๆ บัญญัติไปตามเหตุการณ์ ที่ได้เกิด แต่ก่อนบัญญัติ มันก็ไม่มี ยังไม่มี บัญญัติก็ปฏิบัติ กันไปตามที่ไม่ได้บัญญัติ อย่างการฉันอาหาร เมื่อยังไม่ได้บัญญัติเวลา ก็ฉันได้ทุกเวลา จนกว่าพระเจ้าบัญญัติ ให้ฉันเฉพาะก่อน ก่อนเที่ยง ก่อนวิกาล อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น เราก็มาดูเอง แล้วก็มาดูรวมกันให้หมด เพื่อจะหาโครงสร้าง ที่มันจะศึกษาง่าย เข้าใจง่ายเข้า เข้าใจง่าย จำง่าย แต่อยากจะบอกว่าผมก็รวบรวมเอาเอง นั้นเราจึงมีหลักเกณฑ์ที่จะทำให้เป็นระบบ ให้สมกับ หลักวิชาที่เรียกว่า จัดระบบ Systematize จึงพูดไปตามลำดับว่า ๑ มันถูกต้องทางวัตถุ ๒ มันก็ถูกต้องทาง ร่างกาย ๓ มันก็ถูกต้องทางสติ เอ่อ, ทางจิต จะวาจาเข้าไปด้วยก็ได้ ที่จริงไว้ในกายก็ได้ ๑ ถูกต้องทางวัตถุ ๒ ถูกต้องทางร่างกาย ๓ ถูกต้องทางวาจา ๔ ถูกต้องทางจิต ๕ ถูกต้องทางสติปัญญา เมื่อพึงรู้ไว้ว่า ถ้าในที่ใด เขาไม่มีวาจา ไม่พูดถึงวาจา หมายความว่า เขารวมไว้ในร่างกาย เอาละเดี๋ยวนี้ เราจะแจกให้มันครบ ศึกษาง่าย เข้าใจง่าย ว่าถูกต้องทางวัตถุ ถูกต้องทางร่างกาย และก็ถูกต้องทางวาจา นี้ทางวจี และก็ถูกต้องทางจิต ตัวจิตโดยตรง แล้วก็ถูกต้องทางสติปัญญา คุณสมบัติของทางจิต
ข้อแรก ว่าถูกต้องทางวัตถุนี้ มันก็ดูเอาเอง คุณดูเอาเองก็ได้ ดูเอาเองก็ได้ ถ้าวัตถุไม่ถูกต้อง มันก็ ขัดขวาง ต่อการประพฤติพรหมจรรย์ เรามีวัตถุถูกต้อง มีอาหาร มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไม้สอย หยูกยาแก้โรคภัยอะไรต่าง ๆ ที่เรียกว่า วัตถุนะ มันถูกต้อง นั้นเรื่องวัตถุนี้ ก็บางทีเอาไว้ในสิขาบทข้อนั้น ข้อนี้ ข้อโน้น ข้อ ไปอยู่ในข้อธรรมะก็มี อยู่ในวินัยก็มี ความถูกต้องทางวัตถุ นั้นเราก็มาสังเกตดู ประมวลดูว่า ไอ้เรื่องวัตถุ วัตถุมันมีกี่อย่าง ที่มันเกี่ยวข้องกับเรา ที่มันใกล้ชิดที่สุด ก็คือ จีวร มันเยอะกว่าจีวรก่อน(นาทีที่ 28:09) เป็นเรื่องอะไรหมด ไอ้เรื่องเกี่ยวกับจีวร นุ่งห่ม ๓ ผืน มันต้องถูกต้อง ถูกต้องทั้งโดยตัววัตถุนั้นเอง ถูกต้องโดยวิธีใช้สอยมัน ถูกต้องในที่เก็บรักษามัน
พระพุทธเจ้าท่าน รอบคอบเหลือ ที่จะรอบคอบ บัญญัติในการที่รักษาจีวร นี้ก็ไม่ใช่เล่นมากมาย หลายหลาย ละเลยจีวรแล้วก็เป็นอาบัติเต็มไปหมด ต้องเคารพจีวร ต้องรักษาไว้เป็นอย่างดี คือ ต้องดูแลรักษา ซ่อมแซมอย่างนี้ ไว้ให้ดีอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพราะว่าเรารักสวยรักงาม รักกิเกสอะไรไม่ใช่ แต่มันเป็นระเบียบ ที่ดีของบรรพชิต ของนักบวช ที่จะต้องรักษาจีวร ให้ดีที่สุด เพราะว่าเราเป็นคนจน ไม่มีอะไร นอกจาก ที่นุ่งห่มอยู่ นั้นจึงว่าดูแลเป็นอย่างดี ดังน้้นปล่อยให้จีวรขาดก็เป็นอาบัติ ที่ถือเป็นหลักปฏิบัติกันมา โดยทั่ว ๆ ไป ถ้าจีวรมันมีรูทะลุ รูนั้นโตกว่าตัวเรือด ตัวเรือดที่กัดคน มีรูเท่านั้น แล้วเรียกว่าแย่แล้ว มันขัด มันเป็นอาบัติ ในข้อนี้แหละ ในข้อไม่รักษาจีวร ต้องซ่อมต้องรักษา มันอยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ด้วยการซ่อม ด้วยการเย็บ ด้วยการซัก ด้วยการย้อม ด้วยการทำให้มันดีอยู่เสมอ ไม่เพียงจีวรอย่างเดียว อะไรทุกอย่าง ทั้งหมด ไปอ่านดู ในตัวปาติโมกข์อย่างที่ว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาตร เกี่ยวกับบาตร มีกี่ข้อ กี่ข้อ ที่จะต้องปฏิบัติต่อบาตร จะทำหยาบคาย ต่อบาตรไม่ได้ และเพราะว่าสมัยก่อนมันเป็นบาตรดิน ดินเผา ทำกับมันหยาบคาย เดี๋ยวมันแตก เดี๋ยวมันร้าว ใช้ไม่ได้ เดี๋ยวนี้เป็นบาตรเหล็ก จึงทำหยาบคายได้ เพราะมันไม่แตก แต่ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน การทำ หยาบคายต่อบาตรเหล็ก และบาตรไม่แตก มันก็เป็นอาบัติด้วยเหมือนกัน นี้ก็เรียกว่า เป็นระเบียบของผู้ดี อย่างเต็มที่ ที่จะต้องทะนุถนอมเครื่องใช้ไม้สอย ไอ้กุฏิที่อยู่ ก็เรียกว่า เสนาสนะ รวมทั้งเครื่องใช้ไม้สอย บนนั้น ก็ต้องทะนุถนอมตามวินัยนะ แต่เผอิญมันไปอยู่ในหลักสูตรในนักธรรมโท เรื่องนี้ต้องไปหาซื้อ หนังสือหลักสูตรนักธรรมโท มาอ่านแล้วก็จะพบ เรื่องหยูกเรื่องยานี้ก็เหมือนกัน ต้องมีพอสมควร มีอย่างถูกต้อง และใช้กันอย่างถูกต้อง คือ ใช้อย่างยา ไอ้พวกเภสัชทั้ง ๕ น้ำตาล น้ำอ้อยนั้น นั้นก็ไม่เรียกว่า ยาโดยตรง แต่ว่าเป็นของอนุญาตพิเศษกว่าอาหาร ตามธรรมดา ต้องรู้จักเก็บ รู้จักมี รู้จักรักษา อย่างถูกต้อง ที่จริงจะไม่เป็นอาบัติ ที่ถูกต้องทางวัตถุ
ถ้าเรายิ่งศึกษาให้ละเอียด เราจะยิ่งพบว่าพระพุทธเจ้านี้ มีอะไรที่ลึก ลึกกว่าธรรมดา ท่านบัญญัติ ไว้อย่างไร ไปพิจารณาดูเอง จะพบว่ามันมีอะไร มีเหตุผลที่ละเอียด พิเศษเกินธรรมดา เช่น ยานี้ จะมากินกัน อย่างไม่มีเหตุผล นั้นไม่ได้ เป็นอาบัติ ตัวที่เป็นยาจริง ๆ จะมากินอย่าง โดยไม่มีการเจ็บไข้นั้นไม่ได้ แต่ถ้าว่า เป็น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล กลับกินได้ ไม่ได้เจ็บไข้อะไรมากมาย เพียงแต่หิว กระวนกระวาย ดูหลักเกณฑ์หรือระเบียบ หลักเกณฑ์ของท่าน นั้นเราประพฤติพรหมจรรย์นี้ บวชเข้ามาแล้วประพฤติ พรหมจรรย์นี้ แม้แต่ความถูกต้องทางวัตถุอย่างเดียว ก็มากมาย หลายสิบข้อ หรือร้อยข้อ หลายร้อยข้อ แล้วแต่จะมองดูกันในแง่ไหน
ทีนี้คนบางคนก็จะท้อใจ มันมากนักรักษาไม่ไหว จะจำอย่างไรไหว จะปฏิบัติอย่างไรไหว ข้อนี้มันก็มี หลักมีเกณฑ์ ก็บอกมาแล้วว่า มันของสำหรับผู้ดี ทำจิตใจให้เป็นอย่างพุทธประพฤติ วัถตุ(นาทีที่ 34:42) วัตถุเหล่านี้ ดำรงจิตใจไว้ให้ตรง หลักของสุภาพบุรุษที่เป็นผู้ดี แล้วมันจะไม่ผิด แล้วมันจะถูกโดยอัตโนมัติ ไอ้ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา มันจะให้เราประพฤติอะไร ตรงตามพระพุทธเจ้าบัญญัติ แม้ที่เราไม่เคยเรียน ผมกล้าพูดอย่างนี้ เพราะติดตามมาเป็นสิบ ๆ ปี นั้นไม่ต้องท้อใจ ว่ามันมากจนจำไม่ไหว บางทีเราก็ไม่รู้ว่า ประพฤติได้อย่างไร ก็เราทำตนให้เป็นคนดีก็แล้วกัน เป็นผู้ดี เป็นสุภาพบุรุษ แล้วมันจะไม่ทำหยาบคาย กับสิ่งของ จะไม่ทิ้ง ทิ้ง ขว้าง ขว้าง จะไม่ใช้อย่างกระโชกกระชาก จะไม่ ซึ่งไม่ผิด ซึ่ง ซึ่งไม่มีทางจะผิดวินัย แล้วถ้ายิ่งเป็นวัตถุนั้นเป็นของสงฆ์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะต้องระวังกันอย่างดี เครื่องใช้ไม้สอย เสื่อสาด อาสนะ อะไรที่เป็นของสงฆ์นั้นนะ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ถ้าทำหยาบคายกับสิ่งเหล่านั้น ก็เป็นอาบัติก่อน ก่อนที่เป็น ของส่วนตัว เสื่อสาด อาสนะที่เป็นของส่วนตัวทำหยาบคาย ก็ยังไม่เท่าไหร่ มันไม่น่าดูอย่างอื่น แต่เป็นของ สงฆ์ แล้วก็ปรับให้เป็นอาบัติ มากกว่านั้นมาก
จึงเป็นการฝึกฝนให้บุคคลนี้ เป็นคนที่สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละไม ในการมี ในการใช้ ในการเก็บรักษา คือจะ จะแก้ตัวว่า นี่เราซื้อมานี่ จีวรนี้ฉันซื้อมา เป็นของฉัน ฉันจะทำอย่างไรก็ได้นี่ ไม่มีทาง ถ้าไปทำหยาบคายแก่จีวร ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งก็เป็นอาบัติ ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น ไม่มีทางพูดว่า ฉันซื้อมา เป็ฯสิทธิของฉัน เพราะเมื่อเข้ามาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ในระเบียบนี้แล้ว มันก็ต้องทำตามระเบียบนี้ นั้นจึงพูดให้สั้น ๆ ว่า ต้องประพฤติให้มันถูกต้อง ต่อวัตถุทุกชิ้น ทุกอัน ที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับเรา นั้นก็เป็น การประพฤติพรหมจรรย์ เกี่ยวกับวัตถุ ไปนึกเอาเอง ทีนี้ก็ไปนึกเอาเอง จะทำหยาบคายกับสิ่งใดไม่ได้
ทีนี้ข้อที่ว่า ถูกต้องทางกาย ขยับมาจากวัตถุก็มาถึงร่างกาย เนื้อหนังร่างกายนี้ ก็เหมือนกันอีก เกี่ยวกับการบริหารกาย อย่างถูกต้อง เป็นหลักใหญ่ เป็นหลักทั่วไป แล้วก็ไม่บำรุง บำเรอ ให้มันเกินกว่า ที่จำเป็น นี่ก็เป็นส่วนธรรมะบ้าง เป็นส่วนวินัยบ้าง แต่ก็เรียกว่า พรหมจรรย์เสมอกันนะ ที่จะประพฤติ ปฏิบัติต่อร่างกาย ซึ่งมันก็ถูกตามหลักของสุขภาพอนามัย แม้สมัยใหม่นี้ ไปด้วยโดยปริยาย โดยปริยาย เช่นว่า จะไม่มีผมยาว ไม่มีเล็บยาว ไม่มีหนวดยาว ก็มีร่างกายที่สะอาด และก็มีข้อบัญญัติ ที่บางคนอาจจะเห็นว่า หยุมหยิมไปก็ได้ เช่น ถ่ายอุจจาระ ห้ามไม่ให้เบ่งแรง ผู้ถ่ายอุจจาระแล้วเบ่งแรง นั้นนะเป็นอาบัติ คุณลองคิด คิดดูสิ ว่าทำไมควบคุมกันถึงอย่างนี้ นี่ความละเอียดประณีตของวินัย แล้วมันก็จะต้องหาทาง หาวิธี อย่างใด อย่างหนึ่ง อย่าหักโหมเอาออกไป เบ่งแรงออกไป ต้องหาวิธีบรรเทาโยกย้ายกันไป จนกว่ามันจะถ่ายได้ โดยที่ ไม่ต้องมีการเบ่งแรง ไปถามพวกหมอดูก็ได้ ว่ามันจะเกิดผลอะไรบ้าง อย่างน้อย มันต้องไม่เกิดโรคที่ทวาร ถ่ายอุจจาระ ง่ายนัก แล้วก็ไปเทียบเคียงเอาดู วัดดูเอาเองว่า เมื่อท่านวางไว้ถึงขนาดนี้ มันจะต้องหยาบคาย ในสิ่งที่หยาบคาย อย่างอื่นมันก็ไม่ได้ เรียกว่า ปฏิบัติกายถูกต้อง ตามหลักสุขภาพอนามัย ของธรรมชาติ นี้ก็มีบัญญัติไว้มาก เรื่องเนื้อหนัง ร่างกายของเราแล้วก็ ต้องมี ต้องจับ ต้องทำ ต้องรักษา ให้มันอยู่ในสภาพ ที่เหมาะสม สำหรับจะประพฤติพรหมจรรย์ สำหรับจิตใจปกติ ถ้าร่างกายมันปกติ ก็ช่วยให้จิตใจปกติ ได้โดยง่าย
นี้คำว่า ร่างกาย ร่างกายนี้มันรวมไปถึงมรรยาท มรรยาททางกายด้วย ไม่ใช่เป็นเรื่องเนื้อหนังโดยตรง สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นมรรยาททางกายนี้จะต้องครบถ้วน จะมีมรรยาทหยาบ เลว ชั้นต่ำ ชั้นอันธพาล นั้นไม่ได้ มันจึงมีกิริยา ท่าทาง จะลุก จะเดิน จะยืน จะก้าว จะเหยียบ จะย่าง จะเหลียว จะขด จะคู้ อะไรต่าง ๆ ต้องเรียบร้อยหมด มรรยาททางกาย ก็เรียกว่า ถูกต้องทางกาย อย่าลืมว่า ไอ้การที่เรารักษา ความถูกต้อง ทางวัตถุ หรือทางกายนี้ก็ตาม มันมีผลถึงจิตใจด้วย เพราะมันทำให้จิตใจ ฉลาด ละเอียด ละออ สุขุมรอบคอบ มันเหมือนกับเตรียมสำหรับจิตใจไว้ด้วย พร้อมกันไปตั้งแต่ทางวัตถุ และทางร่างกาย พวกที่เป็น ไอ้คนที่ไม่ ที่อยู่ในวรรณะเลว มรรยาทหยาบ มันก็ลำบากมาก พอเข้ามาสู่การบวชนี้ มันต้องปรับปรุงมาก แต่ถ้าว่ามัน เป็นคนธรรมดา มันก็ไม่ยุ่งยากลำบาก อะไรมากมายนัก แต่ถ้าคนที่มาจากวรรณะต่ำ หรือมนุษย์ประเภท ที่เค้าเรียกว่า วรรณะต่ำ พวกนาค พวกอะไรนั้น คนเผ่าพันธุ์นาค เลวทราม หยาบคาย ดุร้าย เป็นการไม่ยอมรับ พวกนี้เข้ามาบวช กันง่าย ๆ
พอมาบวชเข้า มันก็ขูดเกลาอย่างแรง ระเบียบวินัยก็ขูดเกลาอย่างแรง เหมือนกับเกิดใหม่ ถึงเดี๋ยวนี้ ก็เถอะ คนที่เกิดในตระกูลที่ไม่มีการศึกษา หยาบคาย กระด้าง พอบวชเข้ามันก็ต้องเหมือนขูดเกลากัน อย่างถลกหนัง ที่ถูกต้องทางวาจา คือ คำพูดและการพูด ก็หมายความว่า จะพูดคำหยาบ คำไพร่ คำอะไรไม่ได้ แล้งยังจะต้องพูดให้คำที่มันเหมาะสม กับความเป็นภิกษุของตนด้วย คำที่พูดก็ต้องถูกต้องตาม โลกบัญญัติ โลกสมมติ โลกโวหาร โวหารโลก สมมติโลก บัญญัติโลก เขามีกันอย่างไร เราก็ใช้คำพูดได้ถูกต้อง การพูดที่ ถูกต้อง มีมรรยาทในการพูด ที่ต้องระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระทั่งใคร เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส และเขาก็ จะได้ เข้ามาสู่ศาสนานี้ จะมีมรรยาททางวาจาถูกต้อง อย่างดี คนเขาเพียงแต่ได้ยิน ได้ฟังพูด เขาก็อยากจะ เกี่ยวข้อง อยากเข้ามาสนใจในธรรมวินัยนี้ ในศาสนานี้ ถ้าภิกษุหยาบคาย พูดจาไม่น่าฟัง หรือแสดงว่ามันไม่มี การศึกษาเสียแล้ว ก็เท่ากับไล่ ขับไล่คนออกไป ไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับศาสนานี้
ขอให้เรารับรู้ ว่าจะต้องมีความถูกต้อง ทางวาจา คือ การพูด วจี คำพูด ถูกต้องทั้งโดยคำพูด ถูกต้อง ทั้งโดยวิธีพูด มันก็เป็นการขูดเกลากิเลส เลว ๆ กิเลสที่ทำอะไรตามชอบใจตัวเอง มันก็ต้องหายไป หายไป เพราะต้องมีสติ คอยระมัดระวังพูดจาให้มันถูกต้อง ตามที่เป็นสมณะ เป็นบรรพชิต นี้เป็นเรื่องวินัย ส่วนมาก จะเกือบทั้งนั้น เป็นส่วนธรรมะก็มีเหมือนกัน ถูกต้องทางวัตถุ ถูกต้องทางกาย ถูกต้องทางวาจา เป็นเรื่องทาง วินัย เป็นส่วนมาก ทีนี้พอขึ้นมาถึง ถูกต้องทางจิต ถูกต้องทางสติปัญญา ก็เหลือที่เป็นเรื่องวินัย มันน้อยเข้า ก็เป็นเรื่องทางธรรมะ ทางธรรมะมากขึ้น มากขึ้น จนสมบูรณ์ ถ้ามีการประพฤติกระทำ ถูกต้องทางกาย ทางวาจาอยู่เสมอ มันง่ายที่มีความถูกต้องทางจิต เพราะมันเนื่องกันอยู่มากเหมือนกัน อย่าประมาท ต้องสำรวมกาย สำรวมวาจา แล้วจะสำรวมจิตได้ง่ายขึ้น
ความถูกต้องทางจิตนี่ มันก็ต้องฝึกควบคุมจิต แล้วก็รักษาภาวะของจิตไว้ ให้อยู่ ในภาวะที่เรียกว่า มันเป็นความถูกต้อง และถือตามหลักอัษฏางคิกมรรค ความพยายามของจิต สติของจิต สมาธิของจิต ถูกต้อง พอพูดว่า ถูกต้อง มันหมายความว่า เป็นไปเพื่อดับทุกข์ เรามีความถูกต้องตามแบบของธรรมะ และศาสนา จะถูกต้อง จะดับทุกข์ ถ้าไม่ดับทุกข์ก็ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเถียงกันในข้อนี้ ไอ้วิชาทางโลก โลก ทางกฎหมาย ทางต่าง ๆ โอ๊ย, เขามีเรื่องคำว่า ถูกต้อง หลายชั้น หลายเชิง เข้าใจยาก ศึกษายาก แต่ทางธรรมะแล้ว ตรงเผงเลย ง่ายนิดเดียว ว่าถ้ามันถูกต้อง แล้วมันดับทุกข์ได้ คือ เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ไม่เป็นอันตราย กับฝ่ายใด แล้วมันดับทุกข์ได้ เพราะมันดับทุกข์ได้ มันจึงเป็นอย่างนั้น เราก็ให้มันมีลักษณะดับทุกข์ได้ หรือป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้
ให้จิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ก็คือ จิตมันไม่ ไม่มีกิเลสประเภทใด ๆ มารบกวน นับตั้งแต่นิวรณ์ขึ้นมาเลย กิเลสตั้งแต่นิวรณ์ขึ้นมา โลภะ โทสะ ก็ไม่รบกวน แล้วจิตก็มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ แล้วจิตก็ว่องไว คล่องแคล่ว ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่การงานทางจิต อย่างนี้เรียกว่า มีถูกต้องที่สุดแล้ว ทางจิต จิตบริสุทธิ์ จิตมั่นคง จิตว่องไว ๓ ความหมายนี้ ใน ๓ ความหมาย แยกออกไปหลาย ๆ อย่าง กว้างไกลออกไป แต่ที่ท่าน นิยมกล่าวไว้สังเกต ศึกษาง่าย ๆ ว่า จิตนี้มันบริสุทธิ์แล้ว กำลังไม่มีกิเลสแล้ว จิตนี้เข้มแข็งมั่นคง แล้วก็จิตนี้ ว่องไวในการที่จะทำหน้าที่ คิดนึกอะไรก็ได้ ที่เรียกว่า ความถูกต้องทางจิต แล้วก็จะมีผลดี ในการที่จะปฏิบัติ หน้าที่ทางจิต และแถมมีผลล่วงหน้า เรียกว่า เอาผลล่วงหน้า คือ ความสุข คือ เมื่อจิตมันถูกต้องแล้ว ความสุขทางจิตก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เรียกว่า ได้เปล่า ถ้าจิตมันถูกต้อง แล้วมันก็มีความสุขทางจิตเกิดขึ้น จิตถูกต้องมันก็ทำอะไร ด้วยจิตนั้นแหละได้มากมาย จะเป็นเรื่องการศึกษา หรือคิดนึก การตัดสินใจ หรืออะไรในทางโลก โลก ก็มีประโยชน์มาก
ฆราวาสที่มีจิตถูกต้อง ตามลักษณะของสมาธินี่ ย่อมจะได้เปรียบ เพราะว่าเขาจะจำเก่ง คิดเก่ง ตัดสินใจเก่ง อะไรเกี่ยวกับจิตเก่งไปหมด แม้แต่จะเล่นดนตรีก็จะเก่ง รวมกันเรียกว่า มันถูกต้องทางจิต ที่เหลือก็ทางสติปัญญา อันนี้ต้องศึกษา ต้องเกี่ยวกับการศึกษา ถึงจะเกิดสติปัญญาที่มีความถูกต้อง ไอ้ศึกษานี่ เราจะแยกไปตามลักษณะของปัญญาก็ได้ ศึกษาด้วยการได้ยิน ได้ฟัง หามาอ่าน มาฟัง มาอะไรนี้ ก็จะเรียกว่า เราก็จะได้รับปัญญา ที่มาจากการได้ยิน ได้ฟัง แล้วเราก็ศึกษาด้วยการใช้เหตุผลคิดคำนวณ คิดคำนวณ ตามวิธีคิด ตามวิธีคำนวนของเหตุผล อย่างนี้ อย่างนั้น อย่างโน้น มันก็ได้ความรู้ ได้ปัญญาไกลออกไป กว่าทีแรก ที่ว่าเพียงแต่จะได้ฟังอย่างเดียว ได้ถูกต้องมากขึ้นด้วย
ทีนี้ก็ปฏิบัติดู ถ้าใครที่ได้ศึกษาแล้ว ได้คิดคำนวณ ใคร่ครวญตามเหตุผล ดูแล้วมีเหตุผลพอ ที่จะเชื่อ ว่าดับทุกข์ได้ แล้วก็ลองปฏิบัติดู ปฏิบัติดู ปฏิบัติดู มันก็แน่นอนยิ่งเสียอีก เพราะว่า มันดับทุกข์ได้ ไอ้ความรู้นี้ มันก็ถูกต้องที่สุด เป็นปัญญาที่เกิดมาจากการปฏิบัติดู วิธีอบรมสติปัญญา หรือปัญญานั้น คืออย่างนี้ ส่วนสติ ในความหมาย ตามตัวหนังสือก็ต้องฝึกฝน ทำกรรมฐานแบบที่ทำให้สติสมบูรณ์ เช่น อานาปานสติ เป็นต้น สติก็จะสมบูรณ์มาก แล้วปัญญาในชั้นที่ ๓ ชั้นที่ลองปฏิบัติดู ปฏิบัติดู ปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป อานาปานสตินั้น มีหลายขั้นตอน ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญญา ปัญญาก็ยิ่งสมบูรณ์
เราก็เลยมี ความถูกต้องทางปัญญา เรียกว่า สัมมาทิฐิ ไม่ถูกต้องทางปัญญา ก็เรียกว่า มิจฉาทิฐิ มิจฉาทิฐิก็พาเข้ารกเข้าพง ไปสู่ความทุกข์ สัมมาทิฐิก็พาออกมาที่โล่ง ที่แจ้ง ที่สว่าง ที่มันดับทุกข์ได้ นี่ความถูกต้องทางสติปัญญา จึงเป็นสิ่งสำคัญขั้นสุดท้าย แปลว่ามันจะไม่ไปทำ ในสิ่งที่เป็นโทษ หรือที่ เรียกว่า ผิด สามารถเลือกทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ เป็นคุณ แล้วก็ที่มันดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ ประพฤติไปถึงยอดสุดที่ชีวิตควรจะได้ คือ ดับทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์เลย นี่ผลของการที่มีความถูกต้อง ทางสติปัญญา
นี้ผมเรียกว่า โครงสร้างของพรหมจรรย์ มีอยู่เป็น ๕ ชั้น ถูกต้องทางวัตถุ ถูกต้องทางร่างกาย ถูกต้องทางวาจา ถูกต้องทางจิตใจ ถูกต้องทางสติปัญญา ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติทั้งนั้น เพราะว่า พรหมจรรย์นั้น หมายถึง การปฏิบัติ ไม่ใช่หมายถึง การเล่าเรียน ท่องจำ หรือเพียงแต่สวดมนต์ภาวนา อย่างนี้ยังไม่ถึงขนาดที่จะเป็นพรหมจรรย์ มันต้องเป็นตัวการประพฤติ ปฏิบัติลงไปจริง ๆ จนเกิดความ ถูกต้อง ทั้ง ๕ ประการ แล้วมันก็รองรับกันอยู่เป็นชั้น เป็นชั้น เป็นชั้น เป็นชั้น เรียกว่าเหมือนกับฉัตร ๕ ชั้น ก็ได้ มันก็รองรับกันอยู่เป็นชั้น ๆ ๕ ชั้น หรือ ๕ หลัก อย่างมั่นคง ถ้า ถ้าทำได้อย่างนี้ มีหลักอย่างนี้ มันเป็นอันว่า หมด หมด หมดทั้งพระไตรปิฎก ทั้งที่คุณก็ไม่เคยเรียนพระไตรปิฎก และไม่สามารถ ไม่สามารถ ที่จะเรียนพระไตรปิฎกได้ แต่ว่าถือหลักอย่างนี้มันเท่ากับรู้ หรือประพฤติ หรือใช้เป็นประโยชน์หมด ทั้งพระไตรปิฎก
จึงขอให้สังเกตุจดจำ ไว้ให้ดี สำรวจอยู่ตลอดเวลา นาที ให้มันมีความถูกต้อง ๕ ประการนี้ ทั้งวัน ทั้งคืน ทั้งหลับ ทั้งตื่น มีบางคน สงสัยว่าหลับ จะทำให้ถูกต้องได้อย่างไร ถ้าหลับอย่างผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ทำให้ถูกต้องได้ เพราะว่าเขาทำมันถูกต้อง ถูกต้อง และก็มีสติหลับ จะไปด้วยความถูกต้อง พอหลับตอนนี้ ไม่ต้องรับผิดชอบ พอตื่นขึ้นมา มันก็ทับสวมรอยความถูกต้องต่อไปตามเดิม เป็นอันว่าระหว่างที่หลับนั้น ไม่มีผิดพลาด ไม่มีปัญหา ไม่มีผิดพลาด เพียงแต่ว่ามีความถูกต้องทั้งหลับและทั้งตื่นนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างนี้ แต่ต้องอาศัยสติปัญญาอย่างยิ่ง ที่จะรักษาความถูกต้อง ได้ทั้งหลับ ทั้งตื่น
เป็นอันว่า โครงสร้างของพรหมจรรย์ หรือจะเรียกอีกทีหนึ่งว่าการบวชบรรพชา ออกจากบ้านเรือน มาสู่โลกกว้างของธรรมนี้ มันมีหลักเกณฑ์อย่างนี้ คือให้เป็นความถูกต้อง ๕ ประการ หรือ ๕ ชั้น ๕ ลำดับ ๕ หลัก ๕ อะไร อย่างที่พูดมาแล้ว เหมือนกับว่าเราดูจากข้างบนนะ ก็จะเห็นหมด เหมือนกับวิวที่ดูมาจาก ข้างบน เหมือนกับนกมันดูแผ่นดิน มันก็เห็นหมด นี้ก็เราทำจิตใจของเราเสมือนหนึ่ง ดูจากข้างบน ให้เห็น ความถูกต้อง ๕ ประการ รักษาไว้ให้ได้ ก็จะได้ชื่อว่า ประพฤติพรหมจรรย์เป็นที่น่าพอใจ และผลก็ไม่ไปไหน เสีย ทำได้ตามสมควร ก็แน่นอน
ขอให้รู้หลักไว้ แล้วก็จะไปประพฤติ ปฏิบัติ ให้ถูกต้องได้ แม้ว่าเรายังไม่ได้เรียน และไม่อาจจะเรียน โดยรายละเอียด ไม่รู้กี่ร้อย กี่พันข้อ อันมากมายนัก แต่เราก็ถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้ นี้คือ ประโยชน์ของการรู้จักหลักเกณฑ์ หรือโครงสร้างของสิ่งที่เรียกว่า พรหมจรรย์ เวลาก็หมดแล้ว
วันก่อนเราพูดถึงเรื่องการบวช เราจะได้อะไรจากการบวช เย็นนี้พูดถึงตัวการบวช คือ ตัวพรหมจรรย์ แล้วทำอย่างไรจึงจะเป็นตัวพรหมจรรย์ ในการบวช ถ้าทำได้ แล้วก็ได้อะไรหมด ครบถ้วนที่จะได้จากการบวช
นับว่าเป็นเรื่องที่เนื่องอยู่ด้วยการบวชนั่นเอง ขอยุติการบรรยาย และปิดประชุมตามเคย