แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พิธีทำบุญเนื่องในวันล้ออายุ และพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก โดยท่านอาจารย์พุทธทาส ที่ลานหินโค้ง วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ เวลา ๙ นาฬิกา
พิธีกร : พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ได้เข้ามาสู่ที่ธรรมมาสนี้แล้ว ในที่ประชุมนี้ได้ขอประธานโอกาสอนุญาตเรียนเชิญคุณแม่เลื่อน ลาภานันท์ มารดาของนายอำเภอประชา ลาภานันท์ เป็นประธานจุดธูปเทียนในที่ประชุมบูชาพระรัตนตรัย ขอเรียนเชิญคุณแม่เลื่อน ลาภานันท์ ครับ
ตั้งแต่นาทีที่ 00:53 – 01:30 จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
ตั้งแต่นาทีที่ 01:31 – 14:47 ท่านพุทธทาสเทศน์
ท่านพุทธทาส : เพื่อนสหธรรมิกและท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย อาตมาขอแสดงธรรมในรูปแบบของคำปราศรัย บรรยายธรรมตามธรรมดาเพื่อสะดวกแก่การฟังหรือการศึกษา ดังที่ท่านทั้งหลายก็ทราบกันอยู่แล้วว่าเรามีการกระทำพิธีกรรมก็เรียกได้ ในรูปที่เรียกว่าทำบุญอายุ ทำบุญเนื่องด้วยการที่มีอายุครบอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันมีอยู่ ๒ แบบคือแบบต่ออายุ เป็นการชื่นชมยินดีกับความมีอายุ นี่ก็แบบหนึ่ง ส่วนอีกแบบหนึ่งเรียกว่าล้ออายุ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ วินิจฉัย ปรับปรุงทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับอายุนั้นเลยเรียกว่าล้ออายุ ด้วยความมุ่งหมายที่ต่างกัน ทำบุญต่ออายุ แล้วก็ส่งเสริมอายุ ทำบุญล้ออายุก็เป็นการชำระชะล้างซักฟอกอายุเหมือนกับจับมาอาบน้ำขัดสีเหงื่อไคลให้สะอาด นี่ท่านทั้งหลายรู้จักความหมายของคำว่าการทำบุญอายุแบบที่ล้ออายุนั้นมันมีความหมายอย่างนี้ ที่พูดนี้ก็เผื่อว่าบางคนนะ ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจเพราะมาใหม่ รู้ได้ตรงที่ว่ามันมีมามากกว่าปีกลาย ดังนั้นต้องมีคนที่มาใหม่ เพิ่งมาใหม่ยังไม่ทราบเรื่องก็ขอพูดให้ฟังว่าเราทำบุญอายุแบบล้ออายุ จับอายุหรือจับชีวิตนี้มาอาบน้ำชำระชะล้างขัดถูเหงื่อไคลประจำปีกันนั่นเอง ฉะนั้นใครจะชอบทำบุญต่ออายุก็ทำได้ ใครจะชอบทำบุญแบบล้ออายุก็ทำได้ เพราะว่าเรามีเสรีภาพ เรามีรสนิยมของเราเอง เราก็ทำตามที่เราจะพอใจ เอาล่ะเป็นอันว่าเข้าใจความหมายของคำว่าทำบุญล้ออายุกันพอสมควรแล้ว อาตมาก็จะได้บรรยายเรื่องที่ควรจะพูดคุยกันในวันนี้สืบต่อไป
เรื่องแรกที่สุดก็คือขอแสดงความขอบคุณในการที่มาร่วมพิธีกรรมทำบุญล้ออายุนี้ด้วยกันทุกคน มาด้วยความหวังดีด้วยกันทั้งนั้น ก็มีเรื่องที่จะต้องขอบพระคุณ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องจะขอ จะต้องขออภัย คือมันมีการต้อนรับเป็นธรรมดา ถ้าการต้อนรับบกพร่องไม่ได้รับความสะดวก เขาก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีว่าขออภัยๆ งานศพก็ดี งานอะไรก็ดีถ้ามีความบกพร่องแล้วก็ขออภัย ดังนั้นถ้าว่ามีการต้อนรับบกพร่องไม่ได้รับความสะดวก และได้รับความลำบากบางอย่าง เจ้าของบ้านก็ขออภัย และถือว่ามันเป็นเรื่องสมทบทุนในการมาทำบุญล้ออายุไปเสียก็แล้วกัน ทีนี้อยากจะพูดเรื่องนี้ให้สิ้นเชิงเรื่องขออภัยนั้นน่ะ เจ้าของบ้านได้รับประโยชน์ในการมาของแขก มีความบกพร่องแล้วก็ขออภัย ทีนี้ถ้าจะมองกลับตรงกันข้ามว่าผู้มาเป็นผู้ได้รับประโยชน์ แล้วมาทำความยุ่งยากลำบากให้เจ้าของบ้าน แขกก็ควรจะขอโทษบ้างได้หรือไม่ล่ะ เจ้าของบ้านก็เป็นผู้ยอมรับความลำบาก ถ้าแขกผู้ได้รับประโยชน์ทำให้เจ้าของบ้านลำบาก ฝ่ายแขกมันก็ควรจะขออภัยใช่หรือไม่ หรือว่าถ้ามันมีการได้รับประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าการบกพร่องมันเกิดขึ้นแล้วมันก็คงจะต้องขออภัยแก่กันและกันทั้งสองฝ่าย อย่างนี้ยุติธรรมหรือไม่ ขอให้เอาไปคิดดู เอาไปใคร่ครวญดู สำหรับจะใช้ในกรณีอื่นๆของท่านทั้งหลายสืบต่อไป แต่มันแปลกแหวกแนวคงไม่มีใครยอมรับ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการต้อนรับ เห็นได้ว่าเราก็มานั่งกันกลางดิน การต้อนรับท่านทั้งหลายด้วยผืนดินหรือแผ่นดินนี่จะมีความหมายอย่างไร บางคนอาจจะคิดว่าไม่เหมาะสม ไม่ให้เกียรติแก่ผู้มาเสียเลย อาตมาก็จะอธิบายให้ฟังว่าเป็นการต้อนรับด้วยเสนาสนะที่มีเกียรติที่สุด เพราะว่าแผ่นดินนี้เป็นที่นั่งที่นอนนะ พูดภาษาชาวบ้านธรรมดาหน่อยก็ว่าแผ่นดินนี้เป็นที่นั่งที่นอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน พระพุทธเจ้าก็นั่งตรัสรู้กลางดิน พระพุทธเจ้าก็สั่งสอนกลางดิน พระพุทธเจ้าก็ประทับอยู่กลางดิน เพราะว่ากุฏิของท่านก็พื้นดิน แล้วในที่สุดท่านก็นิพพานคือตายกลางดิน ผู้ที่เรียนพุทธประวัติมาอย่างพอสมควรแล้วย่อมรู้เรื่องนี้ดี แต่อาจจะลืมนึกไปก็ได้ ถ้านึกได้ก็จะเป็นการดีว่าพระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน ตายกลางดิน แผ่นดินมีความหมายพิเศษ หรือว่ามีเกียรติยศสูงสุดถึงขนาดนี้ แต่คนก็ไม่ค่อยชอบนั่งกลางดิน ทำบุญอะไรสักนิดหนึ่งก็ปรารถนาจะไปเกิดบนวิมาน ในวิมาน ชอบอยู่บนวิมาน เดี๋ยวนี้เขาก็อยู่ในอาคารสถานที่ซึ่งสร้างกันสวยงามแพงๆทั้งนั้นแหละ ไม่มีใครชอบนั่งกลางดิน จึงต้องขอบอกกล่าว ขอทำความเข้าใจกันอย่างนี้ว่าที่นั่งที่นอนกลางดินนี้เป็นของพระพุทธเจ้า แล้วเราก็เป็นสาวกของพระองค์ นี่เป็นสาวกของพระองค์ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นการอนุวัติตาม เป็นการอนุโลมตามพระพุทธเจ้า อาตมาก็คิดว่าดีแล้วๆที่เรามานั่งกันกลางดิน บางคนก็ยังอุตส่าห์นั่งบนก้อนหินหลีกเลี่ยงที่จะนั่งกลางดิน ก็ไปคิดดูเสียใหม่ จงเอามือลูบดิน แล้วอยากจะแถมอีกคำว่าจงจูบดิน เหมือนกับที่ ..... (นาทีที่ 12:03) เขาทำนั่น เพราะว่ามันเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ สั่งสอน ประทับอยู่และนิพพานของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยก็เอามือลูบดินด้วยความพอใจก็ดีเหมือนกัน มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าพุทธานุสสติได้ง่ายเข้าๆ เอาล่ะเป็นอันว่าคงจะไม่มีใครโกรธว่าให้นั่งกลางดิน คงจะพอใจรับเกียรติที่ได้นั่งกลางดินเป็นการต้อนรับปฏิสันถาร เป็นธรรมเนียมของสวนโมกข์ นี่คงจะหมดข้อข้องใจไปอีกสักข้อหนึ่งคือข้อที่ว่าต้องนั่งกลางดิน นี่แหละคือสิ่งที่จะต้องพูดกันเป็นเรื่องแรกตามธรรมเนียม ตามธรรมเนียม ตามประเพณีตามธรรมเนียม เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์ และเคยอำนวย อำนวยประโยชน์มาแล้ว ท่านจึงตั้งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีขึ้นไว้ เราก็ เราก็รักษาสืบๆต่อกันมา อะไรเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งประโยชน์มันก็ทำกันจนเป็นธรรมเนียม
ทีนี้ก็จะพูดถึงคำว่ามาสวนโมกข์ มาสวนโมกข์ อุตส่าห์มาจากที่ไกลนี่ เหน็ดเหนื่อย ลำบาก เสียเวลา เสียการงานนั่นน่ะแน่นอน แล้วก็มาสวนโมกข์นี้จะได้อะไรคุ้มกันกับสิ่งที่ต้องเสียไป อาตมาถือเป็นหลักง่ายๆว่าถ้าเราใช้เวลา เงินทอง เรี่ยวแรงไปไหนมาไหนแล้วไม่ได้รับประโยชน์คุ้มกันก็ถือว่าทำความผิด ใช้คำพูดธรรมดาสามัญค่อนข้างโสกกะโดกสักหน่อยว่ายมบาลจะเล่นงาน ยมบาลต้องเล่นงาน
ช่วงนาทีที่ 14:48 – 21:06 เสียงท่านพุทธทาสหายไป ตัดมาเป็นเสียงพระอีกองค์เทศน์ และเสียงเทศน์ซ้ำกับช่วงนี้ ตั้งแต่นาทีที่ 01:48:41 – 01:54:58 ซ้ำกับช่วงนาทีนี้ 14:48 – 21:06
พระเทศน์ : รู้ลงไปด้วยชีวิตจิตใจทั้งหมดเลย ก็เห็นเองว่ามัน มันเป็นอย่างไร มันมีอยู่ ๓ ระบบนะคือระบบร่างกายระบบหนึ่ง ก็เรียกว่ารูป สัญญา สังขารนั่นน่ะเป็นระบบสมอง ส่วนเวทนานั้นเป็นระบบความรู้สึกข้างใน ที่ท่านอาจารย์ พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ท่านพูดอยู่เสมอว่าคนเรามีโรคกาย โรคจิต โรคทางวิญญาณนั่นไอ้คนที่เป็นโรคจิตก็คือสัญญา สังขารไม่ค่อยดี ไอ้พวกนี้ต้องทำสมาธิ ทำสมาธิ แต่นี้พวกเป็นทาสเวทนานี่ โลภโกรธหลงอะไรอย่างนี้อันนี้เรียกว่าเป็นโรคทางวิญญาณ
พระพุทธศาสนาทั้งหมดนั่นเน้นที่ไม่เพลินในเวทนา ท่านทั้งหลายไปศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้ดีๆว่าพระพุทธเจ้าท่านมาพูดว่าเมื่อมองดูแล้ว เมื่อสัมผัสดูแล้วก็เกิดเวทนา ดังนั้นเมื่อเราศึกษาเรื่องรูป รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี่ทำให้เรารู้ รู้แจ้งเรื่องรูป ก็เรียกว่าเป็นพวกนักวิปัสสนาทางวัตถุ เมื่อดูเห็น เมื่อดูวัตถุอย่างแจ่มแจ้งก็เห็นวัตถุอย่างแจ่มแจ้งนั่นเรียกว่ามีวิปัสสนาทางวัตถุ ก็สร้างสรรค์วัตถุได้ เมื่อดูเห็นแจ่มแจ้งในเรื่องเวทนาหรือความรู้สึก ก็เห็นชัดว่าเวทนาทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ก็เบื่อหน่ายคลายความยึดถือ รู้แจ้งในเรื่องของจิตใจนี่ก็เอาชนะความทุกข์ได้ ทั้งหมดนั้นเกิดจากการศึกษาตัวเดียวคือการดูการเห็นโดยทั่ว สามารถที่จะสร้างสรรค์วัตถุได้และเอาชนะความทุกข์ได้ วิปัสสนาจึงมี ๒ ชนิด ทั้งวิปัสสนาทางวัตถุก็คือเห็นแจ้งทางวัตถุ ก็สร้างสรรค์รูป เสียง กลิ่น รสอะไรขึ้นมาได้แปลกๆ นี่ก็เป็นนักวิปัสสนาเหมือนกัน แต่วิปัสสนารู้แจ้งเห็นจริงทางวัตถุ ของเรารู้แจ้งเห็นจริงต่อความทุกข์ รู้แจ้งเห็นจริงต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็เบื่อหน่ายคลายความยึดถือ เราก็เอาชนะความทุกข์ได้ ถ้าถามว่าปัญญาคืออะไร ก็บอกปัญญาแปลว่าความรู้ทั่ว รู้ว่าเรื่องอะไรก็ตามน่ะรู้ทั่วแล้วเป็นปัญญา แต่ถ้าเป็นปัญญาในพุทธศาสนา รู้แล้วต้องปล่อยความยึดถือด้วยถึงจะเป็นปัญญาในพุทธศาสนา ถ้ารู้เฉยๆแล้วก็ยังเป็นทุกข์อยู่มันยังไม่ใช่ปัญญา รู้แล้วว่าความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นมันเหลวไหลไร้สาระทั้งนั้นแหละ ทำให้เราเหนื่อยไปชั่วขณะหนึ่งแล้วมันก็หายไป ขอให้ทุกคนไปสังเกตดูเถอะถ้าเวลาดีใจอะไรนี่มันเหนื่อยไปสักขณะหนึ่งแล้วมันก็หายอีกแล้ว เวลาเสียใจก็เหนื่อยไปสักขณะหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีกแหละ เพราะมันไม่เที่ยง แล้วจิตใจมันก็ระส่ำระสายทุกที เวลาดีใจก็จิตใจระส่ำระสาย เสียใจก็ระส่ำระสาย เขามาชมว่าดีว่าสวยอย่างนั้นก็หวั่นไหวไปสักพักหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีก เขามานินทาว่าร้ายก็เสียใจไปสักพักหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีก แล้วไม่รักไม่เกลียดเสียไม่ดีกว่า ไม่ต้อง จิตใจไม่ต้องระส่ำระสาย ดังนั้นขอให้สังเกตเถอะว่าเวลามีผัสสะนั่นเราจะรู้สึกวูบขึ้นมาทุกครั้งนะ เหมือนกับอะไรมาปฏิฆะ มากระทบจิตรู้สึกวูบขึ้นมา เสียววูบขึ้นมา พอตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรสมันรู้สึกว่าวูบขึ้นมาเหมือนอะไรมากระทบจิต ถ้าหากว่าอารมณ์นั้นดีเราก็โอ้โห, ดีจริงๆ ก็เลยพอใจไป ถ้าอารมณ์นั้นไม่ดีเราก็แย่จริงๆ ก็เสียใจไป แต่ก่อนหน้านั้นน่ะมันจะรู้สึกว่าวูบขึ้นมา มากระทบเข้ากับหัวใจเรานี่ตรงนี้รู้สึกวูบขึ้นมาทีเดียว มันมีเวลาให้เรา คล้ายๆว่ามีอะไรมากระทบให้เรารู้สึกตัวได้ นอกจากว่าเราจะไม่มีหิริโอตตัปปะหรือไม่มีความ ไม่มีปัญญาพอที่จะผลักมันออกไปทั้งฝ่ายดีใจและฝ่ายเสียใจ ขอให้มองที่จิตเถอะมันจะมีอะไรมาเตือนให้รู้เลยว่าเวลาสัมผัสเข้า มันเหมือนกับอะไรมากระทบที่จิตวูบขึ้นมา เป็นได้ทั้งฝ่ายดีใจฝ่ายเสียใจ ฉะนั้นก็ให้หยุดมันเสีย ให้เห็นว่ามันเป็นสักแต่ว่ามากระทบ ก็เรียกว่าปฏิฆะสัมผัส มันเหมือนกับจิตของเรากระทบกระทั่งอะไรบางอย่างวูบขึ้นมาเหมือนคนเอามือมาทุบลงไปบน บนหน้าอกนะ รู้สึกอย่างนั้น ถ้าเรามีสติปัญญาก็อ๋อ, มันก็สักแต่ว่าการกระทบ นี่คือการศึกษาธรรมะ ศึกษาธรรมะศึกษาได้ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแล้วมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ถ้าท่านศึกษารูปท่านก็สร้างสรรค์รูปได้ ถ้าศึกษาความรู้สึกก็เอาชนะความรู้สึกก็คือดับทุกข์ได้ นี่เองคือคำว่าการศึกษาธรรมะ อย่างเราศึกษาธรรมะถึงที่สุดมันก็มีการปฏิบัติ เป็นปฏิเวธอะไรพร้อม
เอาแล้วอาตมาเห็นว่าเวลาก็พอสมควรแล้ว เพียงแต่ว่ามาขัดๆไว้แค่นั้นเอง แก้ขัด อาตมาแก้ขัด ก็ว่าควรยุติการพูดบรรยายธรรมะในวันนี้ ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้ศึกษาธรรมะกันให้ตลอด คือศึกษาทั้งทางกาย แล้วก็ศึกษาทั้งทางความรู้สึก จะเอาชนะความรู้สึกได้ก็ดับทุกข์ได้ มีความสุขมีความเจริญตลอดกาลนิรันดร
ตั้งแต่นาทีที่ 21:07 – 27:54 เป็นการสวดมนต์
ตั้งแต่นาทีที่ 27:54 เป็นพระเทศน์แทนท่านพุทธทาส และเสียงเทศน์ซ้ำกับช่วงนี้ ตั้งแต่นาทีที่ 01:07:33 – 01:43:13 ซ้ำกับช่วงนาทีนี้ 31:46 – 01:07:32
พระเทศน์ : ท่านสาธุชนที่มีความสนใจในธรรมะทั้งหลาย การบรรยายธรรมะในวันเสาร์ เนื่องด้วยพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ยังอาพาธ ไม่เหมาะสมที่จะมาทำการบรรยายได้ อาตมาจึงรับอาสามาพูดบรรยายเรื่องที่เห็นว่าสมควรพูด เพื่อไม่ให้การพูดในวันเสาร์นี้ได้ว่างเว้นไป การบรรยายในวันนี้จะมีในหัวข้อว่าการศึกษาธรรมะ ด้วยเหตุที่ว่าเดี๋ยวนี้มีคนมาที่นี่มาศึกษาธรรมะมากขึ้น และก็มีบางกลุ่มบางคณะตั้งเป็นกลุ่มว่ากลุ่มศึกษาธรรมะก็มี ศึกษาธรรมะปฏิบัติธรรมะนี่ดูว่าก็จะมีมากขึ้น ฉะนั้นเรามาพูดกันถึงคำว่าการศึกษาธรรมะกัน ก็คงจะมีประโยชน์ คำแรกที่จะนำมาพิจารณาคือคำว่าการศึกษานั่นเอง คำว่า ศึกษา มาจากคำว่า สะอิกขะ หรือ สะกะอิกขะ แปลว่าการดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง การศึกษาคือการเห็น การดูการเห็นโดยทั่วและด้วยตนเอง ในการศึกษามีความหมายว่าการดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง ตรงกับคำว่า สิกขา ในภาษาบาลี เป็น ศิกฺษา ในภาษาสันสกฤต ไปตรงกับคำว่า ศึกษา ในภาษาไทย ดังนั้นคำว่า ศึกษา จึงแปลว่า การดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง ทีนี้เราพิจารณาต่อไปว่าคนเรานี่จะศึกษาได้ทางไหนบ้าง คือจะดูจะเห็นนี่ทางไหน ทางไหนบ้าง เพราะว่าขึ้นชื่อว่าดูเห็นนี่โดยมากก็เข้าใจว่าทางตาทางเดียว เราดูหรือเห็นได้ถึง ๖ ทาง คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ทางตานั้นน่ะเราเรียกว่าการดูทางตาหรือการศึกษาทางตาเราเรียกว่ามองดู ถ้าตานี่ใช้คำว่ามองดู คำว่ามองดูนั่นคือการศึกษาทางตา ถ้าทางหูก็ฟังดู ทางจมูกก็ดมดู ทางลิ้นก็ชิมดู ทางกายก็สัมผัสจับต้องดู ทางใจก็นึกดูบ้างคิดดูบ้าง นี่เรียกว่าเราศึกษาหรือดูได้ถึง ๖ ทาง จากการที่รู้ว่าทางตาทางเดียวนะ แต่เรา แต่เรามีได้ถึง ๖ ทางคือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คำว่าฟังดูนี่ (เสียงเทศน์ที่ซ้ำเริ่มจากตรงนี้คือตั้งแต่นาทีที่ 31:46 – 01:07:32 ไปซ้ำกับตั้งแต่นาทีที่ 01:07:33 – 01:43:13) กับฟังเฉยๆ นี่เราจะเห็นว่าฟังดูแล้วมันเป็นการศึกษา ดมดูก็ดมเฉยๆนี่ก็เหมือนกัน ดมดูมันเป็นการศึกษามากกว่า ลงว่าดูนั่นน่ะหมายถึงว่าการที่เราสัมผัสอย่างซึมซาบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนี่คือการสัมผัสอย่างซึมซาบ เพื่อต้องการข้อเท็จจริงบางอย่างมาใช้แก้ปัญหา เช่นว่าดมดูสิอาหารนี้มันเป็นอย่างไร ถ้ามันเสียก็จะได้ทิ้งไป หรือว่าชิมดูสิมันเป็นอย่างไร ถ้าเสียก็จะได้ทิ้งไปอย่างนี้ ฉะนั้นดูนั่นหมายถึงการสัมผัสที่ซึมซาบ เพื่อต้องการข้อเท็จจริงบางอย่างที่เกิดจากการสัมผัสนั่นมาใช้ในการแก้ปัญหา ดูเป็นเหตุ ดูนั่นเป็นเหตุ เห็นเป็นผล การศึกษาจึงมีว่าทั้งการดูและการเห็น เมื่อมอง เมื่อมองดูแล้วนี่จึงเห็นว่ารูปนี้สวยหรือไม่สวย เมื่อฟังดูแล้วจึงเห็นว่าเสียงนี้เพราะหรือไม่เพราะ เมื่อดมดูแล้วจึงเห็นว่ากลิ่นนี้เป็นอย่างไร เมื่อชิมดูแล้วจึงเห็นว่า สัมผัสจับต้องดูแล้วจึงเห็นว่า เมื่อนึกคิดดูแล้วจึงเห็นว่า นี่เราๆ เราสามารถที่จะดูหรือเห็นได้ตั้ง ๖ ทาง นี่คือคำว่าการศึกษาแปลว่าดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง
นี่ขอให้ท่านทั้งหลายได้กำหนดว่าเราสามารถศึกษาได้ทั้ง ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หรือใช้อีกคำหนึ่งว่าจักษุก็ได้ จักษุแปลว่าดูหรือเห็นลงไปโดยเฉพาะ จักษุนั่นแปลว่าการดูการเห็น การดูการเห็นโดยทั่ว การดูการเห็นโดยเฉพาะ มันไม่ได้หมาย ไม่ได้ คำว่าจักษุจึงไม่ได้หมายความว่าเรื่องตาเรื่องเดียว แต่หมายถึงการดูการเห็น ดังนั้นเราทำเป็นรูปแจกดวงตานั่นก็คือแจกการดูการเห็น ทีนี้การดูการเห็นนี่มันมีหลายระดับ ถ้าดูนิดเดียวก็เห็นนิดเดียว ถ้าดูมากก็เห็นมาก ถ้าดูครึ่งๆกลางๆก็เห็นครึ่งๆกลางๆ ถ้าหากว่าดูสิ้นเชิงดูตลอดสายก็เห็นแจ้ง คำว่าเห็นแจ้งนี่ใช้คำว่าวิปัสสนา ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง การเห็นแจ้งก็เกิดจากการดูอย่างทั่วถึง ทีนี้การดูการเห็นนี่หรือเรียกว่าจักษุนั่นน่ะทำให้เกิดความรู้ที่เราเรียกว่าเกิดญาณ ดังนั้น เมื่อเราดูเราเห็นทีหนึ่งเราก็รู้ทีหนึ่ง ดังนั้นความรู้นั่นมาจากการดูการเห็น เช่นว่าเรารู้ว่ารูปนี้สวยไม่สวยนี่เราต้องดูต้องเห็นรูปนั้นเสียก่อน หรือว่าเราเห็นว่า เรามีความรู้ว่ากลิ่นนี้เป็นอย่างไรนี่เราก็ต้องดูต้องเห็นไอ้กลิ่นนั้นเสียก่อน เพราะฉะนั้นสมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจักษุทำให้เกิดญาณ การดูการเห็นทำให้เกิดความรู้ แล้วต้องเป็นการดูการเห็นด้วยตนเองด้วยถึงจะเกิดความรู้ นี่ท่านทั้งหลายก็ได้มาดูมาเห็นที่นี่สถานที่นี่แล้ว ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่าการนั่งบน บนทรายนี่มัน มันเป็นอย่างนี้เอง ก็เป็นความรู้อันหนึ่ง นี่ถ้าเราไม่ได้มาสัมผัส ไม่ได้มานั่งดู มันก็ไม่ได้เห็น มันก็ไม่ได้เกิดความรู้ขึ้น ดังนั้นความรู้นั่นเกิดจากการดูการเห็น ทีนี้ดู ดูหรือเห็นทีเดียวมันก็ ดูหรือเห็นทีเดียวมันก็รู้ทีเดียว ทีนี้ถ้าเราดูเราเห็นมากเข้ามันก็รู้มากเข้าๆ ฉะนั้นการรู้มากก็ทำให้เกิดปัญญาเรียกว่ารู้ทั่ว ปัญญานี่มันมาจากญาณ มาจากความรู้ ความรู้มากเข้า รู้มากเข้ามันก็เป็นการรู้ทั่วถึง แล้ว แล้วความรู้ก็มาจากการดูการเห็นอีก ตรงนี้อยากจะพูดถึงการดูการเห็นที่ ที่สำคัญให้ ให้ท่านทั้งหลายดู การดูการเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายนี่อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา คนทั่วไปก็มีการดูการเห็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายอยู่นี่เป็นประจำ เมื่อเราดูเราเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เราก็มีความรู้ทางวัตถุคือทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส ทางวัตถุที่เราสัมผัสได้นี่ ดังนั้นเมื่อมีการดูการเห็นหรือมีการศึกษาทางตา หู จมูก ลิ้น กายนี่เราก็สามารถประดิษฐ์วัตถุได้มากมาย ก็เกิดปัญญามีความรู้ในการประดิษฐ์วัตถุทั้งหลายนี่ ทีนี้การดูการเห็นทางจิตที่สำคัญ เช่นว่าเมื่อเกิดความรู้ เมื่อเกิดความโกรธนี่ เมื่อเกิดความโกรธขึ้นมา ขอให้รู้สึกซึมซาบลงไปในความโกรธ ใช้สติสัมปชัญญะทั้งหมดสัมผัสลงไป รู้สึกซึมซาบลงไปในความโกรธนั่นแหละเรียกว่าดูความโกรธ แต่มันไม่ได้เป็นการดูด้วยตานะ มันดูด้วยความรู้สึก และไม่สามารถจะดูด้วยความคิด ดูด้วยอย่างอื่นหรอก มันดูลงไป มันซึมซาบลงไปด้วยความรู้สึก คือทำความรู้สึกลงไปต่อความโกรธที่ปรากฏแก่จิตนั่น เราก็จะรู้สึกทีเดียวว่าความโกรธนั้นมันเหน็ดเหนื่อย มันกระวนกระวาย มันเหน็ดเหนื่อย มันผิดปกติ แสดงออกมาทางร่างกายด้วย เช่นว่าเหน็ดเหนื่อย หัวใจเต้นถี่อย่างนี้ ฉะนั้นไอ้ความโกรธนั้นมันเร่าร้อนกระวนกระวาย เราเรียกว่าความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ด้วยเหตุที่ว่ามันเหน็ดเหนื่อย มันทนอยู่ไม่ได้ มันไม่สบายแหละ ฉะนั้นความโกรธจึงเป็นทุกข์ อันนี้เราเห็นเอง เราดูแล้วเราก็เห็นว่าความโกรธเป็นทุกข์ เราดูเราเห็นอยู่ระยะหนึ่ง เฝ้าสังเกตมันดูสักพักหนึ่ง ไอ้ความโกรธนั้นมันจะค่อยๆจางไปๆและมันก็หายไปในที่สุด นี่ความโกรธนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้เป็นการดูการเห็นด้วยตัวเอง ไม่ๆ ใช้ไม่ได้ แต่มันไม่ใช่การที่คนอื่นบอกหรือไปเชื่อคนอื่น แล้วความโกรธนั้นเกิดดับ เกิดแล้วดับๆ มันก็ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นการปรุงแต่งของสังขารชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง คนนั้นก็เห็นชัดลงไปทีเดียวว่าความโกรธนี้เป็นทุกข์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทีนี้เวลามีความรัก เวลามีความพอใจขึ้นมานี่ก็รู้สึกลงไปในความรักนั้น แม้ว่ามันจะ อารมณ์นั้นจะเกิดขึ้นแล้ว เรามีสติมาไม่ทัน เราป้องกันไม่ได้ ขอให้ซึมซาบลงไปในความรักนั้น ก็เห็นว่าความรักนั้นก็เหนื่อย กระวนกระวาย หายใจถี่ สังเกตดูเถอะเวลามีความรักนั้นมันก็ไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ และความรักนั้นก็ไม่เที่ยงนะ เกิดขึ้นชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยๆจางไปๆ และความรักนั้นก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา ปรุงแต่งขึ้นมาชั่วขณะ แล้วก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนี่ ฉะนั้นความรักนั้นก็เป็นอนัตตา มีความอิจฉาริษยาใครขึ้นมานี่เผลอไป ไปอิจฉาริษยาเขานี่ถ้าหากว่าเรามีสติมาทัน แล้วก็ดูเข้าไปในภาวะที่เรียกว่าอิจฉาริษยานั้นน่ะมันก็เหนื่อย ไม่สบาย ให้มันค่อยๆจางไปๆ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนอะไร เวลาน้อยเนื้อต่ำใจนี่ ทำความดีแล้วเขาไม่เห็นความดีก็น้อยใจ ก็ขอให้สังเกตลงไปในความน้อยใจนั้นน่ะ ความน้อยใจก็ทำเอาเหนื่อยเหมือนกัน แล้วก็ไม่เที่ยง แล้วก็เป็นอนัตตา นี่เราเรียกว่าเราดูเราเห็นโดยทั่ว เราก็เห็นว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรัก ความเกลียด ความกลัวอะไรทุกอย่างนะมีค่าตรงเสมอกันตรงที่ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่คือการดูการเห็นทางจิต การดูการเห็นทางจิต เมื่อเราดูเห็นบ่อยเข้า ดูเห็นบ่อยเข้า ทำให้มันมากเข้า ทำให้มันมากเข้าๆ มากเข้ามันก็เกิดประสบการณ์ จิตนี่มีประสบการณ์ ก็เห็นลงไปด้วยตัวสติปัญญาว่าไม่ว่าอารมณ์นั้นมันจะเป็นอารมณ์ที่ดีเลิศ อารมณ์ปรุงแต่งนั้นจะดีเลิศอยู่ในฝ่ายพอใจ น่าลิงโลด น่ารักน่าใคร่สักขนาดไหนก็ตาม อารมณ์เหล่านั้นก็เหนื่อย หรือว่าอารมณ์ที่น่าเกลียด น่ากลัว น่าชัง เลวทรามสักขนาดไหน ก็มีค่าเสมอกันตรงที่ว่ามันเหลวไหลไร้สาระ มาทำให้จิตของเราหวั่นไหวไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่เที่ยง มาทำให้จิตหวั่นไหวไม่สบายไปชั่วขณะแล้วก็หายไป พอรู้ได้อย่างนี้ต่อไปนี่จิตมีประสบการณ์มากขึ้นก็จะไม่รับแล้ว ใครมานินทาว่าร้ายจิตก็บอกว่าขี้เกียจจะไปโกรธแล้วเหนื่อย ไม่น่าเอา ใครจะมาสรรเสริญว่าดีว่าสวยว่าอะไรแล้วก็ขี้เกียจจะไปดีใจแล้ว เหนื่อยเปล่าๆ อยู่เฉยๆดีกว่า ดีกว่าเที่ยวไปรักไปเกลียดให้มันเหนื่อยเล่นๆชั่วขณะหนึ่งแค่นั้นเอง อันนี้ก็เรียกว่าเมื่อเราดู เมื่อจิตนั้นดูหรือเห็นโดยทั่วแล้วก็มีความรู้ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา นี่เกิดความรู้ แล้วถ้าเราเห็นบ่อยเข้าๆ บ่อยเข้าแล้วก็รู้มากเข้า รู้มากเข้าๆก็เป็นปัญญาคือความรู้รอบ เมื่อมีความรู้รอบก็ ปัญญาก็ทำให้เกิดวิชชา วิชชานี่ พอเป็นวิชชาก็เอาชนะอวิชชาได้ เพราะมีวิชชาแล้วก็เอาชนะอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นถ้าว่าถ้ามันมีการสัมผัสคราวต่อไปแล้วจะไม่ปรุงแต่งไปฝ่ายความโง่เขลา จะไม่ไปรักไปเกลียดไปโกรธไปกลัวอะไรอีก เพราะเห็นมาชัดแล้ว มีปัญญาแล้วนี่ก็จะปรุงแต่งคิดนึกไปในฝ่ายที่เป็นวิชชา ก็คือไม่เอาแล้ว วิชชาก็แก้ แก้อวิชชาได้ หรือละอวิชชาไปอยู่กับวิชชาคือความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้นปัญญาก็ทำให้เกิดวิชชา วิชชานี่เป็นตัวปฏิบัติ พอวิชชามาอวิชชาก็หายไป อวิชชากับวิชชานี่มันอยู่ด้วยกันไม่ได้ พอมีวิชชาทีหนึ่งก็ อาโลโก ก็คือเกิดแสงสว่างไสว เป็นความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ฉะนั้นพุทธองค์จึงตรัสว่า จักขุง อุทะปาทิ จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็เกิดขึ้น คือการดูการเห็นนี่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า แล้ว ญาณัง อุทะปาทิ ญาณคือความรู้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาคือความรู้ทั่วเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาแปลว่าความรู้แจ้ง แจ่มแจ้ง เอาชนะอวิชชาได้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา นี่ก็อาโลโกคือความสว่างไสว เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ทั้งหมดนั้นน่ะเกิดจากการดูการเห็นอย่างทั่วถึง ดังนั้นคำว่าการศึกษาธรรมะนี่เขาหมายความถึงศึกษาได้ทั้ง ๖ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่
เมื่อเราดูเราเห็นโดยทั่วด้วยตนเองเรียกว่าการศึกษาหรือจักษุ ก็จะทำให้เกิดความรู้ ความรู้ก็ทำให้เกิดปัญญา ในตัวปัญญานี่แหละมีไว้เพื่อการแก้ปัญหา ปัญญานี่มีไว้เพื่อแก้ปัญหา ปัญญาคือความรู้รอบนี่คือแก้ปัญหา มีปัญญาเรื่องไหนก็แก้ปัญหาเรื่องนั้น ถ้าหากว่ามีปัญญาแต่แก้ปัญหาไม่ได้นี่ มีความรู้มีปัญญาแต่แก้ปัญหาไม่ได้นี่เขาเรียกว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ฉะนั้นปัญญาก็ต้องแก้ปัญหา นี่มาถึงตรงนี้เราก็สังเกตว่าคนเรานี่มันมี ๒ ปัญหา คือปัญหาข้างนอกเรียกว่าปัญหาความขาดแคลนหรือขาดแคลนวัตถุนั่นอย่างหนึ่ง กับปัญหาความทุกข์ในทางจิตนี่อีกอย่างหนึ่ง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุ เราก็ต้องมีปัญญาที่จะแสวงหาวัตถุ อันนี้ไม่ ไม่ต้องพูดมาก แต่ปัญหาความทุกข์ในทางจิตนี้จะต้องมีวิชชาคือมีความรู้แจ่มแจ้งที่จะเอาชนะอวิชชาให้ได้ ความรู้แจ่มแจ้งนี่เกิดขึ้นเพราะว่ามีปัญญา ปัญญาเกิดมาจากญาณคือความรู้ ความรู้ก็มาจากการดูการเห็นนั้น ทีนี้ที่ไม่ได้มีความทุกข์นี่ ไม่มีความทุกข์นี่เพราะว่าในขณะที่มีการสัมผัสนั่นมีอวิชชา อวิชชาก็คือความไม่รู้ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ เช่นว่าหูได้ยินเสียงอย่างนี้ ไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าเป็นสักแต่ว่าเสียงบ้าง ว่านี่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาบ้าง ไม่รู้เรื่องอนัตตา ไม่รู้เรื่องความเป็นธรรมดา ไม่รู้เรื่องอนัตตา จึงไปหลงดีใจบ้าง ไปหลงเสียใจบ้างต่อเสียงนั้น กลายเป็นเรื่องของกิเลสและกลายเป็นความทุกข์ ฉะนั้นสิ่งที่จะแก้อวิชชาได้ก็คือวิชชา ก็คือความรู้ในทางตรงกันข้าม รู้ว่านี่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา รู้ว่าเป็นเพียงแต่ผัสสะ เป็นการทำหน้าที่ของรูปของนามชั่วขณะๆ จึงไม่มีอวิชชา ก็วิชชาก็มาแทน ดังนั้นความทุกข์นั้นแหละดับได้เพราะมีวิชชา ในขณะที่มีการสัมผัสก็จะแก้ปัญหาความทุกข์ได้ ส่วนปัญหาความขาดแคลนนั้นก็ขาดแคลนเรื่องไหนก็แสวงหาวัตถุเฉพาะเรื่องนั้นๆ ทีนี้ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าคนเข้าใจผิดว่าความทุกข์นี่มาจากความขาดแคลนวัตถุ หรือว่าความทุกข์มาจากความยากจน บอกแล้วว่าคนเรานี่มี ๒ ปัญหานะ การดูการเห็นหรือจักษุทำให้เกิดญาณหรือว่าความรู้ ความรู้นี่ทำให้เกิดปัญญา เอาปัญญาไปทำอะไร เอาปัญญาไปแก้ปัญหา ถ้าปัญหาทางวัตถุก็แก้ได้โดยการแสวงหาทางวัตถุ ถ้าปัญหาในทางจิตก็แก้ได้ด้วยการมีวิชชาคือความรู้แจ้งในขณะที่มีการสัมผัส แล้วก็หมดปัญหา ฉะนั้นเราต้องแก้ทั้ง ๒ ปัญหาคือปัญหาความขาดแคลนวัตถุ และปัญหาความทุกข์ในทางจิต อันจะสำเร็จได้นี่ก็ด้วยการศึกษาทั้งนั้นแหละ ด้วยการดูการเห็น ด้วยการศึกษา ด้วยการมีความรู้ ถ้าเรื่องทางวัตถุก็มีความรู้ทางวัตถุ ถ้าเรื่องทางจิตก็มีความรู้ มีปัญญา มีวิชชา ก็แก้ปัญหาในทางจิต ความเข้าใจผิดอยู่อย่างหนึ่งคือไปเข้าใจว่าความทุกข์นี่มาจากความยากจน อันนี้เป็นความเข้าใจผิดที่ ที่ร้ายกาจ เพราะถ้าเข้าใจว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่มันก็ ก็ไม่คิดจะละกิเลส ไม่คิดจะแสวงหาธรรมะ มีทางเดียวเท่านั้นคือหาเงินให้มากๆอย่างนี้ แล้วจะได้มาโดยวิธีไหนก็ตามใจขอให้รวยอย่างเดียวก็จะพ้นทุกข์ ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้คนส่วนมาก คนเป็นอันมากแหละ คนจำนวนมากทีเดียวเขาต้องการจะให้ได้เงินมาแค่นั้นแหละ จะได้มาโดยวิธีไหนนี่ไม่สำคัญ เพราะเขามีปรัชญาชีวิตว่าความทุกข์มาจากความยากจน ที่จริงความทุกข์มันมาจากความไม่มีต่างหาก ถ้าความยากจนมาจากความไม่มี ความขาดแคลน ความยากจนมาจากความขาดแคลน ส่วนความทุกข์นี่มันมาจากกิเลส ถ้าเราเข้าใจผิดว่าความทุกข์มาจากความยากจน ถ้าเราแสวงหาวัตถุได้มามากเราก็พ้นทุกข์ ที่แท้จริงแล้ววัตถุที่แสวงหามาได้นั้นไม่ได้แก้ความทุกข์หรอก แก้ความยากจน แต่การที่เราสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ด้วยสติปัญญา ไม่เกิดกิเลสขึ้นนี่อันนี้แก้ปัญหาความทุกข์ ถ้าเข้าใจว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่เราจะแก้ปัญหาความทุกข์ด้วยการแสวงหาวัตถุ เราเข้าใจว่าถ้าได้วัตถุมาเราก็พ้นทุกข์ นี่เป็นความเข้าใจผิด วัตถุที่ได้มานั้นมันแก้ความยากจนต่างหาก ไม่ได้แก้ความทุกข์ ความทุกข์มันแก้ได้ด้วยการไม่มีกิเลส คนรวยก็ตามถ้ามันมีกิเลสก็ยังเป็นทุกข์กันได้ คนจนถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่ ก็ไม่เป็นทุกข์ แต่ยังทำมาหากิน สรุปว่าความ วัตถุที่เราหามาได้นั้นแก้ความยากจน แต่ว่าจิตที่ไม่มีกิเลสนั่นแก้ความทุกข์ ทีนี้ถ้าเราแสวงหาวัตถุด้วย แล้วก็ในขณะที่แสวงหานั้นจิตเราปกติไม่มีกิเลสด้วยอย่างนี้เราจะแก้ปัญหาได้ทั้ง ๒ อย่าง คือแก้ปัญหาความยากจนก็ได้ แก้ปัญหาความทุกข์ก็ได้ เรื่องทางวัตถุก็ต้องแก้กันทางวัตถุ เรื่องทางจิตก็ต้องแก้กันทางจิต ไม่ใช่ได้วัตถุมาแล้วก็จะพ้นทุกข์ในทางจิต หรือพ้นทุกข์ในทางจิตแล้ววัตถุมันจะมาเองนี่ก็ไม่ถูก ฉะนั้นวิธีจะแก้ปัญหาความจนก็คือแสวงหาวัตถุ วิธีจะแก้ปัญหาความทุกข์ในทางจิตก็คืออย่ามีกิเลส ทีนี้ถ้ามันทำด้วยกันทำพร้อมกันก็คือแสวงหาวัตถุหรือทำหน้าที่การงานทุกชนิดเพื่อให้ได้วัตถุมาด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส ทำได้ไหมล่ะ แสวงหาวัตถุด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส ทำได้ไหม ก็คือจิตปกติเท่านั้น ทำหน้าที่ด้วยจิตที่ปกติ แก้ความยากจนก็ได้ แก้ความทุกข์ก็ได้ ดังนั้นใครต้องการที่จะเป็นคนไม่ทุกข์ก็อย่ามีกิเลสในขณะที่มีการสัมผัส ใครต้องการที่จะร่ำรวยก็แสวงหาวัตถุให้มากๆมันก็รวย ตกลงว่าถ้าเราจะแก้ปัญหาความทุกข์หรือความขาดแคลนและ ปัญหาความขาดแคลนและปัญหาความทุกข์เราก็ต้องทำ ๒ อย่าง คือแสวงหาวัตถุหรือทำหน้าที่การงานด้วยจิตที่ไม่มีกิเลสเถิด ก็จะไม่มีความทุกข์ด้วยแล้วก็ไม่ยากจนด้วย ถ้าคิดว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่ก็ไม่ ก็ไม่ถูก มัน มันพูดรวมกันไปเสีย มันไม่ได้พูดแยกแยะออก ที่จริงมันมี ๒ เรื่อง เรื่องความยากจนและความขาดแคลนนั้นเรื่องหนึ่ง และเรื่องความทุกข์นั้นเรื่องหนึ่ง นี่ทั้งหมดนั้นเกิดมาจากการศึกษาทั้งนั้นแหละ เราศึกษาให้เรารู้เราเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง แล้วก็เกิดปัญญา แล้วก็เกิด แล้วเกิดญาณ แล้วเกิดปัญญา แล้วเกิดวิชชา แก้ปัญหาได้
ทีนี้ไอ้ปัญญาที่จะมาแก้ปัญหาโดยเฉพาะเรื่องทางจิตนี่อาตมาขอเสนอสัก ๓ วิธี ปัญญาที่จะแก้ความทุกข์ในทางจิตนี่ก็คือ วิธีที่ ๑ ก็ได้กล่าวแล้วเมื่อสักครู่นี้ว่าถ้ามีความโกรธ โลภโกรธหลงขึ้นมา ขอให้ทำความรู้สึกทุกครั้งที่เกิด เมื่อเห็นว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้วก็จะเบื่อหน่ายคลายความยึดถือ นั่นแหละเป็นทางที่จะให้หลุดพ้น แต่นี้เราเมื่อเราไม่เห็นนี่ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เราไปเห็นว่ามันเป็นสุขเสียบ้าง เห็นว่ามันเที่ยงแท้ถาวร เห็นว่าเป็นตัวเราของเราอย่างนี้ ก็เรียกว่ามีความเห็นผิด ที่จริงความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรัก ความเกลียด ความกลัวนั้นมันไม่เที่ยง เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วก็หายไป แต่ว่าทำจิตให้เหน็ดเหนื่อย ทำจิตให้หวั่นไหวเท่านั้นแหละ มันเป็นทุกข์ไม่ได้เป็นสุขที่ตรงไหน แล้วมันก็ไม่ใช่ตัวตนที่ควรยึดมั่นถือมั่น ทีนี้เราไม่ได้เห็น ไม่ได้เห็นจริงนี่ว่าอารมณ์เหล่านั้นนะ อารมณ์รัก โกรธ เกลียด กลัวเหล่านั้นน่ะมันเห็น เอ้า, เห็นว่ามันเป็นสุขบ้าง เห็นว่ามันเที่ยงแท้ถาวร เป็นสิ่งที่ควรน่าเอาน่าเป็นอย่างนี้ แสดงว่าการดูการเห็นนี่ยังไม่ทั่วถึงก็คือดูเอานิดเดียว ดูครึ่งเดียว ทีนี้อย่างที่ ๒ วิธีที่จะมีปัญญามาทัน ก็คือว่าเมื่อเราดำริคิดไปในเรื่องอกุศลนะให้เห็นโทษของมัน เช่นว่าพอดำริคิดไปในเรื่องกามนี่ให้รู้ว่าเรื่องกามนี้เป็นเรื่องเหน็ดเหนื่อย ศึกษาเข้าไปเถิดว่าในเมื่อจิตดำริคิดในกามนั้นเริ่มเหน็ดเหนื่อยแล้ว ตอนที่สัมผัสเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า กามนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ มันมีลักษณะของความทุกข์ แล้วมันก็ไม่ ไม่ มันก็ไม่เที่ยงด้วย ไอ้เราบอกว่าสัปดนวันละนิดจิตแจ่มใสนี่มันไม่ถูกหรอก สัปดนมันไม่แจ่มใสแน่ เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากามมีสัมผัสเป็นทุกข์นี่มันจะแจ่มใสได้อย่างไร ถ้าหากว่าแผ่เมตตาหรืออะไรนี่จิตแจ่มใส ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่างหากคือเนกขัมมะนั่นต่างหากจิตแจ่มใส สัปดนมันไม่แจ่มใสหรอก ดังนั้นเราก็เปลี่ยนจากไอ้ฝ่ายอกุศลนี่เป็น เป็นกุศลเสีย หรือว่าเมื่อดำริในพยาบาทเราก็เห็นว่ามัน มันเหนื่อยแล้ว เมื่อกำหนดรู้แล้วเราก็ละเหตุให้เกิด ให้เกิดความพยาบาทด้วยการไปกระทำในฝ่ายที่ไม่เป็นพยาบาท เช่น เจริญเมตตา เป็นต้น อันนี้เรียกว่าเรามีปัญญา เราต้องมีปัญญา มีทั้งสติใช้ในขณะนั้นเอง นี่ถ้าเราริษยาเขานี่ก็ให้รู้ว่ามันเหนื่อย มันไม่สบาย ก็เปลี่ยนเป็นในทางมุทิตาอะไรเสีย หรือว่าโง่ ดำริโง่ขึ้นมาก็มีสติมาทันก็เจริญปัญญา อันนี้เราก็จะมีวิชชาขึ้นมาในขณะนั้นได้ และวิธีที่ ๓ นี้ ไอ้นี้นี่ฟังยากหน่อย คือไม่เอาทั้งฝ่าย ไม่เอาทั้งฝ่ายพยาบาท ไม่เอาทั้งฝ่ายเมตตา ไม่เอาทั้งฝ่ายริษยา ไม่เอาทั้งฝ่ายมุทิตา ไม่เอาทั้งฝ่ายกาม ไม่เอาทั้งฝ่ายอสุภะหรืออะไรนี่ไม่เอา อยู่กลางๆจิตว่างๆ อยู่ด้วยจิตว่าง ถ้าเราไปดำริในกามขึ้นมาเราต้องไปเจริญอสุภะอะไรกันอีกยุ่งยาก ก็ไม่เอาทั้งกาม ไม่เอาทั้งอสุภะ ไม่เอาทั้งพยาบาท ไม่เอาทั้งเมตตา อยู่สบายๆ ทั้งวันก็ไม่ต้องมีอะไรไม่ต้องปฏิบัติอะไร อยู่เฉยๆเพียงเท่านั้นแหละ ท่านทั้งหลายสังเกตดูเถอะว่าเราสามารถอยู่โดยไม่เป็นทุกข์ทั้งวันได้ไหม ทั้งวันนี่ดูสิว่าเรา ว่าวันนี้เราไม่เป็นทุกข์เลย ไม่ ไม่โลภโกรธหลงเลยทั้งวันนี่ให้สังเกตดูว่ามี มีได้ไหม อาตมาเคยถามญาติโยมบางคนว่าสังเกตดูไหมว่าทั้งวันนี่เราไม่มีความทุกข์เลย แกบอกเอ้, รู้สึกว่าจะได้ๆ แกก็ดูทุกวันๆ ทำให้มากขึ้นๆ ตั้งแต่เช้ามานี้ไม่ได้โลภ ไม่ได้โกรธ ไม่ได้หลงเลยจนป่านนี้ ยังอีกกว่าจะค่ำนี่มันไม่โลภโกรธหลงเลย นี่ไม่ แทบไม่ต้องปฏิบัติอะไรนี่ก็เป็นอยู่ชอบ มันเป็นอยู่โดยชอบ อยู่กลางๆ อยู่ว่างๆเท่านี้เอง
เอ้า, แล้วนี่ก็คือว่า อาตมาได้พูดมาถึงว่าการศึกษาคือการดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง การเห็นมาจากการดู เมื่อดูเมื่อเห็นก็เกิดความรู้ ความรู้นิดเดียวยังไม่พอต้องรู้ทั่ว มันต้องดูบ่อยๆเห็นบ่อยๆ แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงที่เกิดขึ้นนี่ต้องดูเห็นมันบ่อยๆ เป็นภาวิตา พหุลีกตานี่ดูเห็นดูบ่อยๆ ทำให้มันมากๆ มันก็เป็นปัญญา พอเป็นปัญญาทีนี้ก็เป็นวิชชาแล้วล่ะ พอมีปัญญามันก็ไม่เอาฝ่ายอวิชชา ก็เอาฝ่ายวิชชา ก็ดำเนินไปอีกฝ่ายหนึ่ง ก็มีแสงสว่างก็ปรากฏขึ้น พระพุทธเจ้าท่านรู้อย่างนี้ การศึกษาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาถามว่าการศึกษาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ก็บอกว่านั่นน่ะ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ นี่อันนี้การศึกษาของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นจากการดูการเห็น โดยเฉพาะก็คือการดูการเห็นลงไปในอารมณ์รู้สึกทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต เพราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันจะมีผลแก่เรานี่มันต้อง ต้องอยู่ที่ความรู้สึกทั้งนั้นแหละ ซึ่งอาตมาจะได้พูดต่อไปว่าการดูการเห็นความรู้สึกนี่เป็นการแก้ปัญหา เอ้า, เมื่อกี้พูดว่าเมื่อมองดูแล้วจึงเห็นว่า อันนี้ทีนี้เปลี่ยนแล้ว ทีนี้เปลี่ยนเสียหน่อย เพราะว่าการมองดูแล้วเห็นนั้นคือการสัมผัสหรือผัสสะนั่นเอง ก็จะพูดว่าเมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า แสดงว่าเมื่อมีผัสสะทางตาแล้วก็เกิดเวทนาคือความรู้สึก เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสทางตานี่จะมีเวทนา เมื่อ การสัมผัสนั้นทำให้เกิดเวทนา เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อฟังดูแล้วจึงรู้สึกว่า นี่ผัสสะทางหูก็ทำให้เกิดเวทนา เมื่อดมดูแล้วจึงรู้สึกว่า ความรู้สึกมาจากการดม เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสจับต้องดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อนึกดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อคิดดูแล้วจึงรู้สึกว่า ดังนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสจะต้องมีความรู้สึกเกิดขึ้น นี่คือ คือเวทนา เพราะฉะนั้นเราจะต้องศึกษาลงไปบนตัวเวทนาคือความรู้สึก ซึ่งอยู่เบื้องหลังของการสัมผัสนั้น แต่นี้คนโดยมากน่ะพอมีความรู้สึกขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้แก้ที่ความรู้สึก แต่ไปแก้ที่รูปเสียงอะไรข้างนอกนู่น เช่นขอยกตัวอย่างว่าเมื่อมีใครมาด่ามาว่าเรานี่พอหูได้ยินเสียงแล้วก็รู้สึก เกิดความรู้สึก เช่นรู้สึกไม่พอใจนี่ กี่คนที่จะแก้ที่ความรู้สึก คนเป็นอันมากโดยมากเขาจะไปแก้ที่เสียงนั้นนะ ทำไมด่าฉันนะ เสียงอย่างนี้ฉันไม่ชอบนะ ถอนคำพูดนะอย่าพูดอย่างนั้นนะ คือไปแก้ข้างนอกหมด ฉันชอบฟังเสียงเพราะๆนะ เสียงนี้ฉันไม่ชอบนะ แต่ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากการ ในขณะที่ว่าได้ยินเสียงนั้น ไอ้ส่วนที่แก้ที่รูปนั่นแหละเราก็แก้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึก มันจึงไม่ได้ การศึกษานั้นจึงไม่ทั่วถึง เพราะว่าทั้งหมดนั้นมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ไอ้การเอาชนะความรู้สึกหรือการแก้ไขที่ความรู้สึกนี่จึงเป็นที่รวบยอดของการศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษาที่สมบูรณ์ถึงที่สุดก็ต้องเป็นการศึกษาที่เอาชนะความรู้สึก เพราะว่าทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้นมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ทบทวนอีกทีหนึ่งนะ เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อฟังดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสจับต้องดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อนึกดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อคิดดูแล้วจึงรู้สึกว่า ฉะนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสก็มีความรู้สึก คนโดยมากก็ไม่ได้ค่อยแก้ที่ความรู้สึก ไม่ได้แก้ความรู้สึกแต่ไปแก้รูป เสียง กลิ่น รสอะไรข้างนอกให้ ให้มันวุ่นวายไปหมด เช่นว่าเมื่อกินอาหารไม่อร่อยไม่ถูกปากก็รู้สึกว่า รู้สึกว่าไม่ค่อยพอใจเลย หรือว่าไม่อร่อยไม่พอใจ กี่คนที่จะแก้ไขที่ความรู้สึก โดยมากก็ไปแก้ที่อาหารนั่น ทำไมทำอย่างนี้ ทีหลังทำใหม่นะ ขอเติมนั่นเติมนี่ บางคนโกรธก็คว่ำจานชามก๋วยเตี๋ยวเสียเลย คือไปแก้ไขข้างนอกไม่ได้แก้ไขความรู้สึก ก็เรียกว่าการศึกษาไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นการศึกษาก็ไปแก้ไขที่รูปที่อะไรนี่หมด ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสัมผัส เพราะฉะนั้นขอฝากไว้ว่าทุกครั้งที่มีการสัมผัสจะมีความรู้สึก ที่ว่ามาให้ฟังเมื่อสักครู่นี้ว่าเมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า ดังนั้นความรู้สึกนั้นจะต้องปกติคือทำความรู้สึกนั้นให้ว่าง ไม่ต้องโลภโกรธหลง เราแก้ไขได้ที่จิตใจของเรา ส่วนวัตถุกับไอ้สิ่งข้างนอกมันก็ว่ากันไป เมื่อดมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสดูแล้วจึงรู้สึกว่า นั่งรถไปมานี่นั่งมาบนตู้โบกี้ไม้อย่างนี้ ไม่มีเบาะไม่มีอะไรเลยแข็ง เมื่อนั่งดูแล้วจึงรู้สึกว่านี่ โกรธขึ้นมาไม่พอใจขึ้นมาบ้าง ก็ไปโทษพนักงานรถไฟว่ารถไฟทำไมอย่างนี้อย่างนั้น ไม่ได้ ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึก
ทีนี้ที่ความรู้ ที่ผัสสะนี่จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่เกิดในขณะที่มีผัสสะ พอตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายได้สัมผัส อารมณ์ ใจและอารมณ์นี่ รูป รูปเสียงอะไรมันก็เกิดขึ้นในขณะนั้นเอง ฉะนั้นรูปทั้งหลายนั้นเกิดในขณะที่มีผัสสะ เวทนาความรู้สึกก็เกิดในขณะผัสสะ สัญญาความจำได้ก็เกิดในขณะที่มีผัสสะ นี่คือการศึกษาล่ะ สังขารก็เกิดในขณะที่ผัสสะ วิญญาณก็เกิดในขณะที่ผัสสะ ตกลงว่าขันธ์ ๕ นั้นเกิดในขณะที่มีการสัมผัส ดังนั้นรูปทั้งหลายนี่ พวกวิทยาศาสตร์ที่เขาเรียนรูปเขาก็เรียนจากการสัมผัสทั้งนั้น เขาไปสัมผัสรูปเข้าเขาก็เรียนศึกษาค้นคว้าอะไรข้อเท็จจริงของรูปนั้น ก็เกิดความรู้ทางรูป เกิดเทคโนโลยีทั้งหลายนี่เขาก็ว่ากันไป เขาก็ศึกษาเรื่องรูป นี่พวกสัญญา พวกสังขาร ความจำความคิดนี่ก็พวกนักปรัชญา นักคิด นักอะไรเขาก็ว่ากันไป พวกปรัชญา พวกใช้สมอง พวกอะไรนี่เขาก็เรียนกันที่ผัสสะ จะใช้สมองจะใช้ความจำ แล้วพวกเวทนานี้ก็เริ่มที่ผัสสะ ก็คือความรู้สึกทั้งหลายนี้ก็เริ่มที่ผัสสะ รูปก็เริ่มที่ผัสสะ เวทนาก็เริ่มที่ผัสสะ สัญญาก็เริ่มที่ผัสสะ สังขารผัสสะ วิญญาณก็ผัสสะทั้งนั้น เริ่มต้นจากการสัมผัสกัน แต่ทำไมญาติโยมทั้งหลาย (เริ่มซ้ำตั้งแต่ตรงนี้ นาทีที่ 01:07:33 – 01:43:13) กับฟังเฉยๆนี่เราจะเห็นว่าฟังดูแล้วมันเป็นการศึกษา ดมดูก็ดมเฉยๆนี่ก็เหมือนกัน ดมดูมันเป็นการศึกษามากกว่า ลงว่าดูนั่นน่ะหมายถึงว่าการที่เราสัมผัสอย่างซึมซาบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนี่คือการสัมผัสอย่างซึมซาบ เพื่อต้องการข้อเท็จจริงบางอย่างมาใช้แก้ปัญหา เช่นว่าดมดูสิอาหารนี้มันเป็นอย่างไร ถ้ามันเสียก็จะได้ทิ้งไป หรือว่าชิมดูสิมันเป็นอย่างไร ถ้าเสียก็จะได้ทิ้งไปอย่างนี้ ฉะนั้นดูนั่นหมายถึงการสัมผัสที่ซึมซาบ เพื่อต้องการข้อเท็จจริงบางอย่างที่เกิดจากการสัมผัสนั่นมาใช้ในการแก้ปัญหา ดูเป็นเหตุ ดูนั่นเป็นเหตุ เห็นเป็นผล การศึกษาจึงมีว่าทั้งการดูและการเห็น เมื่อมอง เมื่อมองดูแล้วนี่จึงเห็นว่ารูปนี้สวยหรือไม่สวย เมื่อฟังดูแล้วจึงเห็นว่าเสียงนี้เพราะหรือไม่เพราะ เมื่อดมดูแล้วจึงเห็นว่ากลิ่นนี้เป็นอย่างไร เมื่อชิมดูแล้วจึงเห็นว่า สัมผัสจับต้องดูแล้วจึงเห็นว่า เมื่อนึกคิดดูแล้วจึงเห็นว่า นี่เราๆ เราสามารถที่จะดูหรือเห็นได้ตั้ง ๖ ทาง นี่คือคำว่าการศึกษาแปลว่าดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง
นี่ขอให้ท่านทั้งหลายได้กำหนดว่าเราสามารถศึกษาได้ทั้ง ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หรือใช้อีกคำหนึ่งว่าจักษุก็ได้ จักษุแปลว่าดูหรือเห็นลงไปโดยเฉพาะ จักษุนั่นแปลว่าการดูการเห็น การดูการเห็นโดยทั่ว การดูการเห็นโดยเฉพาะ มันไม่ได้หมาย ไม่ได้ คำว่าจักษุจึงไม่ได้หมายความว่าเรื่องตาเรื่องเดียว แต่หมายถึงการดูการเห็น ดังนั้นเราทำเป็นรูปแจกดวงตานั่นก็คือแจกการดูการเห็น ทีนี้การดูการเห็นนี่มันมีหลายระดับ ถ้าดูนิดเดียวก็เห็นนิดเดียว ถ้าดูมากก็เห็นมาก ถ้าดูครึ่งๆกลางๆก็เห็นครึ่งๆกลางๆ ถ้าหากว่าดูสิ้นเชิงดูตลอดสายก็เห็นแจ้ง คำว่าเห็นแจ้งนี่ใช้คำว่าวิปัสสนา ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง การเห็นแจ้งก็เกิดจากการดูอย่างทั่วถึง ทีนี้การดูการเห็นนี่หรือเรียกว่าจักษุนั่นน่ะทำให้เกิดความรู้ที่เราเรียกว่าเกิดญาณ ดังนั้น เมื่อเราดูเราเห็นทีหนึ่งเราก็รู้ทีหนึ่ง ดังนั้นความรู้นั่นมาจากการดูการเห็น เช่นว่าเรารู้ว่ารูปนี้สวยไม่สวยนี่เราต้องดูต้องเห็นรูปนั้นเสียก่อน หรือว่าเราเห็นว่า เรามีความรู้ว่ากลิ่นนี้เป็นอย่างไรนี่เราก็ต้องดูต้องเห็นไอ้กลิ่นนั้นเสียก่อน เพราะฉะนั้นสมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจักษุทำให้เกิดญาณ การดูการเห็นทำให้เกิดความรู้ แล้วต้องเป็นการดูการเห็นด้วยตนเองด้วยถึงจะเกิดความรู้ นี่ท่านทั้งหลายก็ได้มาดูมาเห็นที่นี่สถานที่นี่แล้ว ก็เกิดความรู้ขึ้นมาว่าการนั่งบน บนทรายนี่มัน มันเป็นอย่างนี้เอง ก็เป็นความรู้อันหนึ่ง นี่ถ้าเราไม่ได้มาสัมผัส ไม่ได้มานั่งดู มันก็ไม่ได้เห็น มันก็ไม่ได้เกิดความรู้ขึ้น ดังนั้นความรู้นั่นเกิดจากการดูการเห็น ทีนี้ดู ดูหรือเห็นทีเดียวมันก็ ดูหรือเห็นทีเดียวมันก็รู้ทีเดียว ทีนี้ถ้าเราดูเราเห็นมากเข้ามันก็รู้มากเข้าๆ ฉะนั้นการรู้มากก็ทำให้เกิดปัญญาเรียกว่ารู้ทั่ว ปัญญานี่มันมาจากญาณ มาจากความรู้ ความรู้มากเข้า รู้มากเข้ามันก็เป็นการรู้ทั่วถึง แล้ว แล้วความรู้ก็มาจากการดูการเห็นอีก ตรงนี้อยากจะพูดถึงการดูการเห็นที่ ที่สำคัญให้ ให้ท่านทั้งหลายดู การดูการเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายนี่อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา คนทั่วไปก็มีการดูการเห็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายอยู่นี่เป็นประจำ เมื่อเราดูเราเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เราก็มีความรู้ทางวัตถุคือทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส ทางวัตถุที่เราสัมผัสได้นี่ ดังนั้นเมื่อมีการดูการเห็นหรือมีการศึกษาทางตา หู จมูก ลิ้น กายนี่เราก็สามารถประดิษฐ์วัตถุได้มากมาย ก็เกิดปัญญามีความรู้ในการประดิษฐ์วัตถุทั้งหลายนี่ ทีนี้การดูการเห็นทางจิตที่สำคัญ เช่นว่าเมื่อเกิดความรู้ เมื่อเกิดความโกรธนี่ เมื่อเกิดความโกรธขึ้นมา ขอให้รู้สึกซึมซาบลงไปในความโกรธ ใช้สติสัมปชัญญะทั้งหมดสัมผัสลงไป รู้สึกซึมซาบลงไปในความโกรธนั่นแหละเรียกว่าดูความโกรธ แต่มันไม่ได้เป็นการดูด้วยตานะ มันดูด้วยความรู้สึก และไม่สามารถจะดูด้วยความคิด ดูด้วยอย่างอื่นหรอก มันดูลงไป มันซึมซาบลงไปด้วยความรู้สึก คือทำความรู้สึกลงไปต่อความโกรธที่ปรากฏแก่จิตนั่น เราก็จะรู้สึกทีเดียวว่าความโกรธนั้นมันเหน็ดเหนื่อย มันกระวนกระวาย มันเหน็ดเหนื่อย มันผิดปกติ แสดงออกมาทางร่างกายด้วย เช่นว่าเหน็ดเหนื่อย หัวใจเต้นถี่อย่างนี้ ฉะนั้นไอ้ความโกรธนั้นมันเร่าร้อนกระวนกระวาย เราเรียกว่าความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ด้วยเหตุที่ว่ามันเหน็ดเหนื่อย มันทนอยู่ไม่ได้ มันไม่สบายแหละ ฉะนั้นความโกรธจึงเป็นทุกข์ อันนี้เราเห็นเอง เราดูแล้วเราก็เห็นว่าความโกรธเป็นทุกข์ เราดูเราเห็นอยู่ระยะหนึ่ง เฝ้าสังเกตมันดูสักพักหนึ่ง ไอ้ความโกรธนั้นมันจะค่อยๆจางไปๆและมันก็หายไปในที่สุด นี่ความโกรธนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้เป็นการดูการเห็นด้วยตัวเอง ไม่ๆ ใช้ไม่ได้ แต่มันไม่ใช่การที่คนอื่นบอกหรือไปเชื่อคนอื่น แล้วความโกรธนั้นเกิดดับ เกิดแล้วดับๆ มันก็ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นการปรุงแต่งของสังขารชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง คนนั้นก็เห็นชัดลงไปทีเดียวว่าความโกรธนี้เป็นทุกข์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทีนี้เวลามีความรัก เวลามีความพอใจขึ้นมานี่ก็รู้สึกลงไปในความรักนั้น แม้ว่ามันจะ อารมณ์นั้นจะเกิดขึ้นแล้ว เรามีสติมาไม่ทัน เราป้องกันไม่ได้ ขอให้ซึมซาบลงไปในความรักนั้น ก็เห็นว่าความรักนั้นก็เหนื่อย กระวนกระวาย หายใจถี่ สังเกตดูเถอะเวลามีความรักนั้นมันก็ไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ และความรักนั้นก็ไม่เที่ยงนะ เกิดขึ้นชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยๆจางไปๆ และความรักนั้นก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา ปรุงแต่งขึ้นมาชั่วขณะ แล้วก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนี่ ฉะนั้นความรักนั้นก็เป็นอนัตตา มีความอิจฉาริษยาใครขึ้นมานี่เผลอไป ไปอิจฉาริษยาเขานี่ถ้าหากว่าเรามีสติมาทัน แล้วก็ดูเข้าไปในภาวะที่เรียกว่าอิจฉาริษยานั้นน่ะมันก็เหนื่อย ไม่สบาย ให้มันค่อยๆจางไปๆ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนอะไร เวลาน้อยเนื้อต่ำใจนี่ ทำความดีแล้วเขาไม่เห็นความดีก็น้อยใจ ก็ขอให้สังเกตลงไปในความน้อยใจนั้นน่ะ ความน้อยใจก็ทำเอาเหนื่อยเหมือนกัน แล้วก็ไม่เที่ยง แล้วก็เป็นอนัตตา นี่เราเรียกว่าเราดูเราเห็นโดยทั่ว เราก็เห็นว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรัก ความเกลียด ความกลัวอะไรทุกอย่างนะมีค่าตรงเสมอกันตรงที่ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่คือการดูการเห็นทางจิต การดูการเห็นทางจิต เมื่อเราดูเห็นบ่อยเข้า ดูเห็นบ่อยเข้า ทำให้มันมากเข้า ทำให้มันมากเข้าๆ มากเข้ามันก็เกิดประสบการณ์ จิตนี่มีประสบการณ์ ก็เห็นลงไปด้วยตัวสติปัญญาว่าไม่ว่าอารมณ์นั้นมันจะเป็นอารมณ์ที่ดีเลิศ อารมณ์ปรุงแต่งนั้นจะดีเลิศอยู่ในฝ่ายพอใจ น่าลิงโลด น่ารักน่าใคร่สักขนาดไหนก็ตาม อารมณ์เหล่านั้นก็เหนื่อย หรือว่าอารมณ์ที่น่าเกลียด น่ากลัว น่าชัง เลวทรามสักขนาดไหน ก็มีค่าเสมอกันตรงที่ว่ามันเหลวไหลไร้สาระ มาทำให้จิตของเราหวั่นไหวไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่เที่ยง มาทำให้จิตหวั่นไหวไม่สบายไปชั่วขณะแล้วก็หายไป พอรู้ได้อย่างนี้ต่อไปนี่จิตมีประสบการณ์มากขึ้นก็จะไม่รับแล้ว ใครมานินทาว่าร้ายจิตก็บอกว่าขี้เกียจจะไปโกรธแล้วเหนื่อย ไม่น่าเอา ใครจะมาสรรเสริญว่าดีว่าสวยว่าอะไรแล้วก็ขี้เกียจจะไปดีใจแล้ว เหนื่อยเปล่าๆ อยู่เฉยๆดีกว่า ดีกว่าเที่ยวไปรักไปเกลียดให้มันเหนื่อยเล่นๆชั่วขณะหนึ่งแค่นั้นเอง อันนี้ก็เรียกว่าเมื่อเราดู เมื่อจิตนั้นดูหรือเห็นโดยทั่วแล้วก็มีความรู้ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา นี่เกิดความรู้ แล้วถ้าเราเห็นบ่อยเข้าๆ บ่อยเข้าแล้วก็รู้มากเข้า รู้มากเข้าๆก็เป็นปัญญาคือความรู้รอบ เมื่อมีความรู้รอบก็ ปัญญาก็ทำให้เกิดวิชชา วิชชานี่ พอเป็นวิชชาก็เอาชนะอวิชชาได้ เพราะมีวิชชาแล้วก็เอาชนะอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นถ้าว่าถ้ามันมีการสัมผัสคราวต่อไปแล้วจะไม่ปรุงแต่งไปฝ่ายความโง่เขลา จะไม่ไปรักไปเกลียดไปโกรธไปกลัวอะไรอีก เพราะเห็นมาชัดแล้ว มีปัญญาแล้วนี่ก็จะปรุงแต่งคิดนึกไปในฝ่ายที่เป็นวิชชา ก็คือไม่เอาแล้ว วิชชาก็แก้ แก้อวิชชาได้ หรือละอวิชชาไปอยู่กับวิชชาคือความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้นปัญญาก็ทำให้เกิดวิชชา วิชชานี่เป็นตัวปฏิบัติ พอวิชชามาอวิชชาก็หายไป อวิชชากับวิชชานี่มันอยู่ด้วยกันไม่ได้ พอมีวิชชาทีหนึ่งก็ อาโลโก ก็คือเกิดแสงสว่างไสว เป็นความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ฉะนั้นพุทธองค์จึงตรัสว่า จักขุง อุทะปาทิ จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็เกิดขึ้น คือการดูการเห็นนี่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า แล้ว ญาณัง อุทะปาทิ ญาณคือความรู้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาคือความรู้ทั่วเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาแปลว่าความรู้แจ้ง แจ่มแจ้ง เอาชนะอวิชชาได้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา นี่ก็อาโลโกคือความสว่างไสว เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ทั้งหมดนั้นน่ะเกิดจากการดูการเห็นอย่างทั่วถึง ดังนั้นคำว่าการศึกษาธรรมะนี่เขาหมายความถึงศึกษาได้ทั้ง ๖ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่
เมื่อเราดูเราเห็นโดยทั่วด้วยตนเองเรียกว่าการศึกษาหรือจักษุ ก็จะทำให้เกิดความรู้ ความรู้ก็ทำให้เกิดปัญญา ในตัวปัญญานี่แหละมีไว้เพื่อการแก้ปัญหา ปัญญานี่มีไว้เพื่อแก้ปัญหา ปัญญาคือความรู้รอบนี่คือแก้ปัญหา มีปัญญาเรื่องไหนก็แก้ปัญหาเรื่องนั้น ถ้าหากว่ามีปัญญาแต่แก้ปัญหาไม่ได้นี่ มีความรู้มีปัญญาแต่แก้ปัญหาไม่ได้นี่เขาเรียกว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ฉะนั้นปัญญาก็ต้องแก้ปัญหา นี่มาถึงตรงนี้เราก็สังเกตว่าคนเรานี่มันมี ๒ ปัญหา คือปัญหาข้างนอกเรียกว่าปัญหาความขาดแคลนหรือขาดแคลนวัตถุนั่นอย่างหนึ่ง กับปัญหาความทุกข์ในทางจิตนี่อีกอย่างหนึ่ง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุ เราก็ต้องมีปัญญาที่จะแสวงหาวัตถุ อันนี้ไม่ ไม่ต้องพูดมาก แต่ปัญหาความทุกข์ในทางจิตนี้จะต้องมีวิชชาคือมีความรู้แจ่มแจ้งที่จะเอาชนะอวิชชาให้ได้ ความรู้แจ่มแจ้งนี่เกิดขึ้นเพราะว่ามีปัญญา ปัญญาเกิดมาจากญาณคือความรู้ ความรู้ก็มาจากการดูการเห็นนั้น ทีนี้ที่ไม่ได้มีความทุกข์นี่ ไม่มีความทุกข์นี่เพราะว่าในขณะที่มีการสัมผัสนั่นมีอวิชชา อวิชชาก็คือความไม่รู้ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ เช่นว่าหูได้ยินเสียงอย่างนี้ ไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าเป็นสักแต่ว่าเสียงบ้าง ว่านี่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาบ้าง ไม่รู้เรื่องอนัตตา ไม่รู้เรื่องความเป็นธรรมดา ไม่รู้เรื่องอนัตตา จึงไปหลงดีใจบ้าง ไปหลงเสียใจบ้างต่อเสียงนั้น กลายเป็นเรื่องของกิเลสและกลายเป็นความทุกข์ ฉะนั้นสิ่งที่จะแก้อวิชชาได้ก็คือวิชชา ก็คือความรู้ในทางตรงกันข้าม รู้ว่านี่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา รู้ว่าเป็นเพียงแต่ผัสสะ เป็นการทำหน้าที่ของรูปของนามชั่วขณะๆ จึงไม่มีอวิชชา ก็วิชชาก็มาแทน ดังนั้นความทุกข์นั้นแหละดับได้เพราะมีวิชชา ในขณะที่มีการสัมผัสก็จะแก้ปัญหาความทุกข์ได้ ส่วนปัญหาความขาดแคลนนั้นก็ขาดแคลนเรื่องไหนก็แสวงหาวัตถุเฉพาะเรื่องนั้นๆ ทีนี้ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าคนเข้าใจผิดว่าความทุกข์นี่มาจากความขาดแคลนวัตถุ หรือว่าความทุกข์มาจากความยากจน บอกแล้วว่าคนเรานี่มี ๒ ปัญหานะ การดูการเห็นหรือจักษุทำให้เกิดญาณหรือว่าความรู้ ความรู้นี่ทำให้เกิดปัญญา เอาปัญญาไปทำอะไร เอาปัญญาไปแก้ปัญหา ถ้าปัญหาทางวัตถุก็แก้ได้โดยการแสวงหาทางวัตถุ ถ้าปัญหาในทางจิตก็แก้ได้ด้วยการมีวิชชาคือความรู้แจ้งในขณะที่มีการสัมผัส แล้วก็หมดปัญหา ฉะนั้นเราต้องแก้ทั้ง ๒ ปัญหาคือปัญหาความขาดแคลนวัตถุ และปัญหาความทุกข์ในทางจิต อันจะสำเร็จได้นี่ก็ด้วยการศึกษาทั้งนั้นแหละ ด้วยการดูการเห็น ด้วยการศึกษา ด้วยการมีความรู้ ถ้าเรื่องทางวัตถุก็มีความรู้ทางวัตถุ ถ้าเรื่องทางจิตก็มีความรู้ มีปัญญา มีวิชชา ก็แก้ปัญหาในทางจิต ความเข้าใจผิดอยู่อย่างหนึ่งคือไปเข้าใจว่าความทุกข์นี่มาจากความยากจน อันนี้เป็นความเข้าใจผิดที่ ที่ร้ายกาจ เพราะถ้าเข้าใจว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่มันก็ ก็ไม่คิดจะละกิเลส ไม่คิดจะแสวงหาธรรมะ มีทางเดียวเท่านั้นคือหาเงินให้มากๆอย่างนี้ แล้วจะได้มาโดยวิธีไหนก็ตามใจขอให้รวยอย่างเดียวก็จะพ้นทุกข์ ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้คนส่วนมาก คนเป็นอันมากแหละ คนจำนวนมากทีเดียวเขาต้องการจะให้ได้เงินมาแค่นั้นแหละ จะได้มาโดยวิธีไหนนี่ไม่สำคัญ เพราะเขามีปรัชญาชีวิตว่าความทุกข์มาจากความยากจน ที่จริงความทุกข์มันมาจากความไม่มีต่างหาก ถ้าความยากจนมาจากความไม่มี ความขาดแคลน ความยากจนมาจากความขาดแคลน ส่วนความทุกข์นี่มันมาจากกิเลส ถ้าเราเข้าใจผิดว่าความทุกข์มาจากความยากจน ถ้าเราแสวงหาวัตถุได้มามากเราก็พ้นทุกข์ ที่แท้จริงแล้ววัตถุที่แสวงหามาได้นั้นไม่ได้แก้ความทุกข์หรอก แก้ความยากจน แต่การที่เราสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ด้วยสติปัญญา ไม่เกิดกิเลสขึ้นนี่อันนี้แก้ปัญหาความทุกข์ ถ้าเข้าใจว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่เราจะแก้ปัญหาความทุกข์ด้วยการแสวงหาวัตถุ เราเข้าใจว่าถ้าได้วัตถุมาเราก็พ้นทุกข์ นี่เป็นความเข้าใจผิด วัตถุที่ได้มานั้นมันแก้ความยากจนต่างหาก ไม่ได้แก้ความทุกข์ ความทุกข์มันแก้ได้ด้วยการไม่มีกิเลส คนรวยก็ตามถ้ามันมีกิเลสก็ยังเป็นทุกข์กันได้ คนจนถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่ ก็ไม่เป็นทุกข์ แต่ยังทำมาหากิน สรุปว่าความ วัตถุที่เราหามาได้นั้นแก้ความยากจน แต่ว่าจิตที่ไม่มีกิเลสนั่นแก้ความทุกข์ ทีนี้ถ้าเราแสวงหาวัตถุด้วย แล้วก็ในขณะที่แสวงหานั้นจิตเราปกติไม่มีกิเลสด้วยอย่างนี้เราจะแก้ปัญหาได้ทั้ง ๒ อย่าง คือแก้ปัญหาความยากจนก็ได้ แก้ปัญหาความทุกข์ก็ได้ เรื่องทางวัตถุก็ต้องแก้กันทางวัตถุ เรื่องทางจิตก็ต้องแก้กันทางจิต ไม่ใช่ได้วัตถุมาแล้วก็จะพ้นทุกข์ในทางจิต หรือพ้นทุกข์ในทางจิตแล้ววัตถุมันจะมาเองนี่ก็ไม่ถูก ฉะนั้นวิธีจะแก้ปัญหาความจนก็คือแสวงหาวัตถุ วิธีจะแก้ปัญหาความทุกข์ในทางจิตก็คืออย่ามีกิเลส ทีนี้ถ้ามันทำด้วยกันทำพร้อมกันก็คือแสวงหาวัตถุหรือทำหน้าที่การงานทุกชนิดเพื่อให้ได้วัตถุมาด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส ทำได้ไหมล่ะ แสวงหาวัตถุด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส ทำได้ไหม ก็คือจิตปกติเท่านั้น ทำหน้าที่ด้วยจิตที่ปกติ แก้ความยากจนก็ได้ แก้ความทุกข์ก็ได้ ดังนั้นใครต้องการที่จะเป็นคนไม่ทุกข์ก็อย่ามีกิเลสในขณะที่มีการสัมผัส ใครต้องการที่จะร่ำรวยก็แสวงหาวัตถุให้มากๆมันก็รวย ตกลงว่าถ้าเราจะแก้ปัญหาความทุกข์หรือความขาดแคลนและ ปัญหาความขาดแคลนและปัญหาความทุกข์เราก็ต้องทำ ๒ อย่าง คือแสวงหาวัตถุหรือทำหน้าที่การงานด้วยจิตที่ไม่มีกิเลสเถิด ก็จะไม่มีความทุกข์ด้วยแล้วก็ไม่ยากจนด้วย ถ้าคิดว่าความทุกข์มาจากความยากจนนี่ก็ไม่ ก็ไม่ถูก มัน มันพูดรวมกันไปเสีย มันไม่ได้พูดแยกแยะออก ที่จริงมันมี ๒ เรื่อง เรื่องความยากจนและความขาดแคลนนั้นเรื่องหนึ่ง และเรื่องความทุกข์นั้นเรื่องหนึ่ง นี่ทั้งหมดนั้นเกิดมาจากการศึกษาทั้งนั้นแหละ เราศึกษาให้เรารู้เราเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง แล้วก็เกิดปัญญา แล้วก็เกิด แล้วเกิดญาณ แล้วเกิดปัญญา แล้วเกิดวิชชา แก้ปัญหาได้
ทีนี้ไอ้ปัญญาที่จะมาแก้ปัญหาโดยเฉพาะเรื่องทางจิตนี่อาตมาขอเสนอสัก ๓ วิธี ปัญญาที่จะแก้ความทุกข์ในทางจิตนี่ก็คือ วิธีที่ ๑ ก็ได้กล่าวแล้วเมื่อสักครู่นี้ว่าถ้ามีความโกรธ โลภโกรธหลงขึ้นมา ขอให้ทำความรู้สึกทุกครั้งที่เกิด เมื่อเห็นว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้วก็จะเบื่อหน่ายคลายความยึดถือ นั่นแหละเป็นทางที่จะให้หลุดพ้น แต่นี้เราเมื่อเราไม่เห็นนี่ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เราไปเห็นว่ามันเป็นสุขเสียบ้าง เห็นว่ามันเที่ยงแท้ถาวร เห็นว่าเป็นตัวเราของเราอย่างนี้ ก็เรียกว่ามีความเห็นผิด ที่จริงความโลภ ความโกรธ ความหลง ความรัก ความเกลียด ความกลัวนั้นมันไม่เที่ยง เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วก็หายไป แต่ว่าทำจิตให้เหน็ดเหนื่อย ทำจิตให้หวั่นไหวเท่านั้นแหละ มันเป็นทุกข์ไม่ได้เป็นสุขที่ตรงไหน แล้วมันก็ไม่ใช่ตัวตนที่ควรยึดมั่นถือมั่น ทีนี้เราไม่ได้เห็น ไม่ได้เห็นจริงนี่ว่าอารมณ์เหล่านั้นนะ อารมณ์รัก โกรธ เกลียด กลัวเหล่านั้นน่ะมันเห็น เอ้า, เห็นว่ามันเป็นสุขบ้าง เห็นว่ามันเที่ยงแท้ถาวร เป็นสิ่งที่ควรน่าเอาน่าเป็นอย่างนี้ แสดงว่าการดูการเห็นนี่ยังไม่ทั่วถึงก็คือดูเอานิดเดียว ดูครึ่งเดียว ทีนี้อย่างที่ ๒ วิธีที่จะมีปัญญามาทัน ก็คือว่าเมื่อเราดำริคิดไปในเรื่องอกุศลนะให้เห็นโทษของมัน เช่นว่าพอดำริคิดไปในเรื่องกามนี่ให้รู้ว่าเรื่องกามนี้เป็นเรื่องเหน็ดเหนื่อย ศึกษาเข้าไปเถิดว่าในเมื่อจิตดำริคิดในกามนั้นเริ่มเหน็ดเหนื่อยแล้ว ตอนที่สัมผัสเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า กามนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ มันมีลักษณะของความทุกข์ แล้วมันก็ไม่ ไม่ มันก็ไม่เที่ยงด้วย ไอ้เราบอกว่าสัปดนวันละนิดจิตแจ่มใสนี่มันไม่ถูกหรอก สัปดนมันไม่แจ่มใสแน่ เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากามมีสัมผัสเป็นทุกข์นี่มันจะแจ่มใสได้อย่างไร ถ้าหากว่าแผ่เมตตาหรืออะไรนี่จิตแจ่มใส ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่างหากคือเนกขัมมะนั่นต่างหากจิตแจ่มใส สัปดนมันไม่แจ่มใสหรอก ดังนั้นเราก็เปลี่ยนจากไอ้ฝ่ายอกุศลนี่เป็น เป็นกุศลเสีย หรือว่าเมื่อดำริในพยาบาทเราก็เห็นว่ามัน มันเหนื่อยแล้ว เมื่อกำหนดรู้แล้วเราก็ละเหตุให้เกิด ให้เกิดความพยาบาทด้วยการไปกระทำในฝ่ายที่ไม่เป็นพยาบาท เช่น เจริญเมตตา เป็นต้น อันนี้เรียกว่าเรามีปัญญา เราต้องมีปัญญา มีทั้งสติใช้ในขณะนั้นเอง นี่ถ้าเราริษยาเขานี่ก็ให้รู้ว่ามันเหนื่อย มันไม่สบาย ก็เปลี่ยนเป็นในทางมุทิตาอะไรเสีย หรือว่าโง่ ดำริโง่ขึ้นมาก็มีสติมาทันก็เจริญปัญญา อันนี้เราก็จะมีวิชชาขึ้นมาในขณะนั้นได้ และวิธีที่ ๓ นี้ ไอ้นี้นี่ฟังยากหน่อย คือไม่เอาทั้งฝ่าย ไม่เอาทั้งฝ่ายพยาบาท ไม่เอาทั้งฝ่ายเมตตา ไม่เอาทั้งฝ่ายริษยา ไม่เอาทั้งฝ่ายมุทิตา ไม่เอาทั้งฝ่ายกาม ไม่เอาทั้งฝ่ายอสุภะหรืออะไรนี่ไม่เอา อยู่กลางๆจิตว่างๆ อยู่ด้วยจิตว่าง ถ้าเราไปดำริในกามขึ้นมาเราต้องไปเจริญอสุภะอะไรกันอีกยุ่งยาก ก็ไม่เอาทั้งกาม ไม่เอาทั้งอสุภะ ไม่เอาทั้งพยาบาท ไม่เอาทั้งเมตตา อยู่สบายๆ ทั้งวันก็ไม่ต้องมีอะไรไม่ต้องปฏิบัติอะไร อยู่เฉยๆเพียงเท่านั้นแหละ ท่านทั้งหลายสังเกตดูเถอะว่าเราสามารถอยู่โดยไม่เป็นทุกข์ทั้งวันได้ไหม ทั้งวันนี่ดูสิว่าเรา ว่าวันนี้เราไม่เป็นทุกข์เลย ไม่ ไม่โลภโกรธหลงเลยทั้งวันนี่ให้สังเกตดูว่ามี มีได้ไหม อาตมาเคยถามญาติโยมบางคนว่าสังเกตดูไหมว่าทั้งวันนี่เราไม่มีความทุกข์เลย แกบอกเอ้, รู้สึกว่าจะได้ๆ แกก็ดูทุกวันๆ ทำให้มากขึ้นๆ ตั้งแต่เช้ามานี้ไม่ได้โลภ ไม่ได้โกรธ ไม่ได้หลงเลยจนป่านนี้ ยังอีกกว่าจะค่ำนี่มันไม่โลภโกรธหลงเลย นี่ไม่ แทบไม่ต้องปฏิบัติอะไรนี่ก็เป็นอยู่ชอบ มันเป็นอยู่โดยชอบ อยู่กลางๆ อยู่ว่างๆเท่านี้เอง
เอ้า, แล้วนี่ก็คือว่า อาตมาได้พูดมาถึงว่าการศึกษาคือการดูการเห็นโดยทั่วด้วยตนเอง การเห็นมาจากการดู เมื่อดูเมื่อเห็นก็เกิดความรู้ ความรู้นิดเดียวยังไม่พอต้องรู้ทั่ว มันต้องดูบ่อยๆเห็นบ่อยๆ แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงที่เกิดขึ้นนี่ต้องดูเห็นมันบ่อยๆ เป็นภาวิตา พหุลีกตานี่ดูเห็นดูบ่อยๆ ทำให้มันมากๆ มันก็เป็นปัญญา พอเป็นปัญญาทีนี้ก็เป็นวิชชาแล้วล่ะ พอมีปัญญามันก็ไม่เอาฝ่ายอวิชชา ก็เอาฝ่ายวิชชา ก็ดำเนินไปอีกฝ่ายหนึ่ง ก็มีแสงสว่างก็ปรากฏขึ้น พระพุทธเจ้าท่านรู้อย่างนี้ การศึกษาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาถามว่าการศึกษาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ก็บอกว่านั่นน่ะ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ นี่อันนี้การศึกษาของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นจากการดูการเห็น โดยเฉพาะก็คือการดูการเห็นลงไปในอารมณ์รู้สึกทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต เพราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้นมันจะมีผลแก่เรานี่มันต้อง ต้องอยู่ที่ความรู้สึกทั้งนั้นแหละ ซึ่งอาตมาจะได้พูดต่อไปว่าการดูการเห็นความรู้สึกนี่เป็นการแก้ปัญหา เอ้า, เมื่อกี้พูดว่าเมื่อมองดูแล้วจึงเห็นว่า อันนี้ทีนี้เปลี่ยนแล้ว ทีนี้เปลี่ยนเสียหน่อย เพราะว่าการมองดูแล้วเห็นนั้นคือการสัมผัสหรือผัสสะนั่นเอง ก็จะพูดว่าเมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า แสดงว่าเมื่อมีผัสสะทางตาแล้วก็เกิดเวทนาคือความรู้สึก เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสทางตานี่จะมีเวทนา เมื่อ การสัมผัสนั้นทำให้เกิดเวทนา เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อฟังดูแล้วจึงรู้สึกว่า นี่ผัสสะทางหูก็ทำให้เกิดเวทนา เมื่อดมดูแล้วจึงรู้สึกว่า ความรู้สึกมาจากการดม เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสจับต้องดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อนึกดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อคิดดูแล้วจึงรู้สึกว่า ดังนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสจะต้องมีความรู้สึกเกิดขึ้น นี่คือ คือเวทนา เพราะฉะนั้นเราจะต้องศึกษาลงไปบนตัวเวทนาคือความรู้สึก ซึ่งอยู่เบื้องหลังของการสัมผัสนั้น แต่นี้คนโดยมากน่ะพอมีความรู้สึกขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้แก้ที่ความรู้สึก แต่ไปแก้ที่รูปเสียงอะไรข้างนอกนู่น เช่นขอยกตัวอย่างว่าเมื่อมีใครมาด่ามาว่าเรานี่พอหูได้ยินเสียงแล้วก็รู้สึก เกิดความรู้สึก เช่นรู้สึกไม่พอใจนี่ กี่คนที่จะแก้ที่ความรู้สึก คนเป็นอันมากโดยมากเขาจะไปแก้ที่เสียงนั้นนะ ทำไมด่าฉันนะ เสียงอย่างนี้ฉันไม่ชอบนะ ถอนคำพูดนะอย่าพูดอย่างนั้นนะ คือไปแก้ข้างนอกหมด ฉันชอบฟังเสียงเพราะๆนะ เสียงนี้ฉันไม่ชอบนะ แต่ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากการ ในขณะที่ว่าได้ยินเสียงนั้น ไอ้ส่วนที่แก้ที่รูปนั่นแหละเราก็แก้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึก มันจึงไม่ได้ การศึกษานั้นจึงไม่ทั่วถึง เพราะว่าทั้งหมดนั้นมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ไอ้การเอาชนะความรู้สึกหรือการแก้ไขที่ความรู้สึกนี่จึงเป็นที่รวบยอดของการศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษาที่สมบูรณ์ถึงที่สุดก็ต้องเป็นการศึกษาที่เอาชนะความรู้สึก เพราะว่าทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้นมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ทบทวนอีกทีหนึ่งนะ เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อฟังดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสจับต้องดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อนึกดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อคิดดูแล้วจึงรู้สึกว่า ฉะนั้นทุกครั้งที่มีการสัมผัสก็มีความรู้สึก คนโดยมากก็ไม่ได้ค่อยแก้ที่ความรู้สึก ไม่ได้แก้ความรู้สึกแต่ไปแก้รูป เสียง กลิ่น รสอะไรข้างนอกให้ ให้มันวุ่นวายไปหมด เช่นว่าเมื่อกินอาหารไม่อร่อยไม่ถูกปากก็รู้สึกว่า รู้สึกว่าไม่ค่อยพอใจเลย หรือว่าไม่อร่อยไม่พอใจ กี่คนที่จะแก้ไขที่ความรู้สึก โดยมากก็ไปแก้ที่อาหารนั่น ทำไมทำอย่างนี้ ทีหลังทำใหม่นะ ขอเติมนั่นเติมนี่ บางคนโกรธก็คว่ำจานชามก๋วยเตี๋ยวเสียเลย คือไปแก้ไขข้างนอกไม่ได้แก้ไขความรู้สึก ก็เรียกว่าการศึกษาไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นการศึกษาก็ไปแก้ไขที่รูปที่อะไรนี่หมด ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสัมผัส เพราะฉะนั้นขอฝากไว้ว่าทุกครั้งที่มีการสัมผัสจะมีความรู้สึก ที่ว่ามาให้ฟังเมื่อสักครู่นี้ว่าเมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า ดังนั้นความรู้สึกนั้นจะต้องปกติคือทำความรู้สึกนั้นให้ว่าง ไม่ต้องโลภโกรธหลง เราแก้ไขได้ที่จิตใจของเรา ส่วนวัตถุกับไอ้สิ่งข้างนอกมันก็ว่ากันไป เมื่อดมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อชิมดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อสัมผัสดูแล้วจึงรู้สึกว่า นั่งรถไปมานี่นั่งมาบนตู้โบกี้ไม้อย่างนี้ ไม่มีเบาะไม่มีอะไรเลยแข็ง เมื่อนั่งดูแล้วจึงรู้สึกว่านี่ โกรธขึ้นมาไม่พอใจขึ้นมาบ้าง ก็ไปโทษพนักงานรถไฟว่ารถไฟทำไมอย่างนี้อย่างนั้น ไม่ได้ ไม่ได้แก้ไขที่ความรู้สึก
ทีนี้ที่ความรู้ ที่ผัสสะนี่จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่เกิดในขณะที่มีผัสสะ พอตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายได้สัมผัส อารมณ์ ใจและอารมณ์นี่ รูป รูปเสียงอะไรมันก็เกิดขึ้นในขณะนั้นเอง ฉะนั้นรูปทั้งหลายนั้นเกิดในขณะที่มีผัสสะ เวทนาความรู้สึกก็เกิดในขณะผัสสะ สัญญาความจำได้ก็เกิดในขณะที่มีผัสสะ นี่คือการศึกษาล่ะ สังขารก็เกิดในขณะที่ผัสสะ วิญญาณก็เกิดในขณะที่ผัสสะ ตกลงว่าขันธ์ ๕ นั้นเกิดในขณะที่มีการสัมผัส ดังนั้นรูปทั้งหลายนี่ พวกวิทยาศาสตร์ที่เขาเรียนรูปเขาก็เรียนจากการสัมผัสทั้งนั้น เขาไปสัมผัสรูปเข้าเขาก็เรียนศึกษาค้นคว้าอะไรข้อเท็จจริงของรูปนั้น ก็เกิดความรู้ทางรูป เกิดเทคโนโลยีทั้งหลายนี่เขาก็ว่ากันไป เขาก็ศึกษาเรื่องรูป นี่พวกสัญญา พวกสังขาร ความจำความคิดนี่ก็พวกนักปรัชญา นักคิด นักอะไรเขาก็ว่ากันไป พวกปรัชญา พวกใช้สมอง พวกอะไรนี่เขาก็เรียนกันที่ผัสสะ จะใช้สมองจะใช้ความจำ แล้วพวกเวทนานี้ก็เริ่มที่ผัสสะ ก็คือความรู้สึกทั้งหลายนี้ก็เริ่มที่ผัสสะ รูปก็เริ่มที่ผัสสะ เวทนาก็เริ่มที่ผัสสะ สัญญาก็เริ่มที่ผัสสะ สังขารผัสสะ วิญญาณก็ผัสสะทั้งนั้น เริ่มต้นจากการสัมผัสกัน
เสียงเทศน์กลับมาต่อที่นาทีที่ 01:43:16
แต่ทำไมญาติโยมทั้งหลายไม่สังเกต สังเกตบ้างไหมว่าทำไมพระพุทธเจ้าตรัสปฏิจจสมุปบาท ไม่ตรัสว่าเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดรูป เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดสัญญา เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร ผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณนี่ แต่กลับวกมาพูดว่าเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา จึงเกิดความรู้สึก ทั้งๆที่รูปหรือความจำความคิดอะไรก็เกิดที่ผัสสะทั้งนั้นแหละ แต่พระพุทธเจ้าท่านวกมาพูดว่าเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา แล้วไม่เพลินในเวทนา ทั้งสุขทั้งทุกข์อะไรอย่างนี้ไม่เพลิน ก็ดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องให้เอาชนะความรู้สึก ไม่เน้นเรื่องรูป ไม่เน้นเรื่องความจำหรือความคิด แต่มาเน้นเรื่องการควบคุมเวทนา เอาชนะเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะผัสสะ คนโดยมากก็ไปแก้ไขที่รูป แก้ไขที่สัญญา แก้ไขที่สังขาร แก้ไขที่อื่น ไม่ได้แก้ไขที่เวทนาคือความรู้สึก ไอ้เรื่องรูป เรื่องสัญญา สังขารที่เกิดที่ผัสสะก็ว่าไปเถิด ไม่ ไม่ได้ห้าม แต่ถ้าหากว่าไม่แก้ไขเวทนาแล้วก็จะต้องเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นเมื่อผัสสะแล้วมีเวทนา เวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นสักแต่ว่าเวทนาอันเกิดขึ้นเป็นประสาทสัมผัสตามธรรมชาติ จึงไม่เพลินยินดีกับสุขเวทนา และไม่เพลินยินร้ายต่อทุกขเวทนา เวทนาก็สักว่าเวทนา สักว่าเป็นความรู้สึก จิตใจก็ปกติ ก็จะคิดรูป จะคิดสัญญา คิดสังขารอะไรก็ว่าไป แต่เอาชนะเวทนาได้คือไม่เพลินในเวทนา รู้เท่าทันเวทนาว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา นี่การศึกษาก็ถึงที่สุด เรียกว่าศึกษาธรรมะ ถ้าหากว่าผัสสะแล้วเกิดรูปก็ไปศึกษาเรื่องรูป ไปแก้ไขเรื่องรูป ก็เป็นเรื่องการเอาชนะความขาดแคลน ถ้าไปศึกษาเรื่องสัญญา สังขารก็เป็นพวกความรู้ หาความรู้จากความคิดความจำอะไรก็ว่ากันไป การศึกษาเล่าเรียนที่เป็นความรู้เป็นความคิดซึ่งเราก็ยกย่องกันเวลานี้ ถ้าไม่เกินสัญญา สังขารนี้ก็ว่ากันไป ใครจะท่องจำอะไร ใครจะคิดอะไรให้เก่งอะไรก็ว่าไป แต่ใครจะเอาชนะความโลภโกรธหลงนี่ต้องวกมาหาเวทนา ฉะนั้นผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยเกิดอุปาทาน เกิดภพเกิดชาติ ถ้าหากว่าผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดความเพลิน แต่เพราะไม่เพลิน คำว่าเพลินหมายความว่าเสวยจนลืมตัว เทวดาเสวยสุขเวทนาก็แท้จริงมันเป็นสุขเวทนาของธรรมชาติ เราเพลินลืมตัวว่าแหม, อร่อยจริง แหม, อร่อยจริง แหม, ดีจริงๆ นั่นแหละก็จะเป็นอุปาทานคือความยึดถือ แล้วก็เป็นภพเป็นชาติก็เป็นทุกข์ ถ้าเกิดทุกขเวทนาเช่นเจ็บป่วย เจ็บปวดอะไรขึ้นมาก็นั่งเจ็บจริงๆ ป่วยจริง ไม่สบายจริงนะ ก็นั่งเพลินอยู่ได้เหมือนกันต่อทุกขเวทนา อันนี้ก็เรียกว่าเพลินในเวทนาทั้งหลาย ดังนั้นเมื่อผัสสะแล้วก็ ก็เกิดเวทนาทั้งนั้นแหละ เมื่อมองดูแล้วจึงรู้สึกว่า การสัมผัสทางตาก็ไปลงที่ความรู้สึก เมื่อฟังดูแล้วจึงรู้สึกว่า เมื่อดมดูแล้วจึงรู้สึกว่า ชิมดูแล้วรู้สึกว่าน่ะไอ้เรามีความรู้สึกทั้งนั้นแหละ แต่ว่าความรู้สึกที่มันเป็นระบบในจิตใจนี่ รูปนั่นคือระบบร่างกาย สัญญา สังขารนี่เป็นระบบสมอง ระบบความจำ ระบบสมอง ระบบความคิด ส่วนเวทนานั้นระบบความรู้สึก มันมีอยู่ ๓ ระบบคือระบบร่างกายระบบหนึ่ง ระบบสมอง มีความจำมีความคิดนั่นแหละอีกระบบหนึ่ง แล้วระบบความรู้สึกข้างในโน่นน่ะอีกระบบหนึ่ง ไอ้สัญญา สังขาร ความจำความคิดน่ะมันมักจะไปใช้กับรูปคือไปสร้างสรรค์รูป แต่ระบบความรู้สึกมันอยู่ข้างในนะ ไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยความคิด ไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยความจำ ไอ้ระบบเวทนาข้างในนี่รู้ได้ด้วยการซึมซาบและรู้สึกลงไป เหมือนกับว่าต้นกระบองเพชร ต้นกระบองเพชรใส่กระถางไว้อย่างนี้ มันไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยการคิดเอาว่ามันเจ็บอย่างไร นอกจากไปกอดไอ้กระบองเพชรในกระถางอย่างนั้นนะ มันจะรู้ทีเดียวว่ามันเจ็บอย่างนี้ เพราะในระบบเวทนานั้นต้องซึมซาบ ไม่ใช่คิดไม่ใช่จำ ต้องซึมซาบ ต้องกำหนด (ตั้งแต่นาทีที่ 01:48:41 – 01:54:58 ซ้ำกับช่วงนาทีที่ 14:48 – 21:06) รู้ลงไปด้วยชีวิตจิตใจทั้งหมดเลย ก็เห็นเองว่ามัน มันเป็นอย่างไร มันมีอยู่ ๓ ระบบนะคือระบบร่างกายระบบหนึ่ง ก็เรียกว่ารูป สัญญา สังขารนั่นน่ะเป็นระบบสมอง ส่วนเวทนานั้นเป็นระบบความรู้สึกข้างใน ที่ท่านอาจารย์ พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ท่านพูดอยู่เสมอว่าคนเรามีโรคกาย โรคจิต โรคทางวิญญาณนั่นไอ้คนที่เป็นโรคจิตก็คือสัญญา สังขารไม่ค่อยดี ไอ้พวกนี้ต้องทำสมาธิ ทำสมาธิ แต่นี้พวกเป็นทาสเวทนานี่ โลภโกรธหลงอะไรอย่างนี้อันนี้เรียกว่าเป็นโรคทางวิญญาณ
พระพุทธศาสนาทั้งหมดนั่นเน้นที่ไม่เพลินในเวทนา ท่านทั้งหลายไปศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้ดีๆว่าพระพุทธเจ้าท่านมาพูดว่าเมื่อมองดูแล้ว เมื่อสัมผัสดูแล้วก็เกิดเวทนา ดังนั้นเมื่อเราศึกษาเรื่องรูป รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี่ทำให้เรารู้ รู้แจ้งเรื่องรูป ก็เรียกว่าเป็นพวกนักวิปัสสนาทางวัตถุ เมื่อดูเห็น เมื่อดูวัตถุอย่างแจ่มแจ้งก็เห็นวัตถุอย่างแจ่มแจ้งนั่นเรียกว่ามีวิปัสสนาทางวัตถุ ก็สร้างสรรค์วัตถุได้ เมื่อดูเห็นแจ่มแจ้งในเรื่องเวทนาหรือความรู้สึก ก็เห็นชัดว่าเวทนาทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ก็เบื่อหน่ายคลายความยึดถือ รู้แจ้งในเรื่องของจิตใจนี่ก็เอาชนะความทุกข์ได้ ทั้งหมดนั้นเกิดจากการศึกษาตัวเดียวคือการดูการเห็นโดยทั่ว สามารถที่จะสร้างสรรค์วัตถุได้และเอาชนะความทุกข์ได้ วิปัสสนาจึงมี ๒ ชนิด ทั้งวิปัสสนาทางวัตถุก็คือเห็นแจ้งทางวัตถุ ก็สร้างสรรค์รูป เสียง กลิ่น รสอะไรขึ้นมาได้แปลกๆ นี่ก็เป็นนักวิปัสสนาเหมือนกัน แต่วิปัสสนารู้แจ้งเห็นจริงทางวัตถุ ของเรารู้แจ้งเห็นจริงต่อความทุกข์ รู้แจ้งเห็นจริงต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็เบื่อหน่ายคลายความยึดถือ เราก็เอาชนะความทุกข์ได้ ถ้าถามว่าปัญญาคืออะไร ก็บอกปัญญาแปลว่าความรู้ทั่ว รู้ว่าเรื่องอะไรก็ตามน่ะรู้ทั่วแล้วเป็นปัญญา แต่ถ้าเป็นปัญญาในพุทธศาสนา รู้แล้วต้องปล่อยความยึดถือด้วยถึงจะเป็นปัญญาในพุทธศาสนา ถ้ารู้เฉยๆแล้วก็ยังเป็นทุกข์อยู่มันยังไม่ใช่ปัญญา รู้แล้วว่าความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นมันเหลวไหลไร้สาระทั้งนั้นแหละ ทำให้เราเหนื่อยไปชั่วขณะหนึ่งแล้วมันก็หายไป ขอให้ทุกคนไปสังเกตดูเถอะถ้าเวลาดีใจอะไรนี่มันเหนื่อยไปสักขณะหนึ่งแล้วมันก็หายอีกแล้ว เวลาเสียใจก็เหนื่อยไปสักขณะหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีกแหละ เพราะมันไม่เที่ยง แล้วจิตใจมันก็ระส่ำระสายทุกที เวลาดีใจก็จิตใจระส่ำระสาย เสียใจก็ระส่ำระสาย เขามาชมว่าดีว่าสวยอย่างนั้นก็หวั่นไหวไปสักพักหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีก เขามานินทาว่าร้ายก็เสียใจไปสักพักหนึ่งแล้วมันก็หายไปอีก แล้วไม่รักไม่เกลียดเสียไม่ดีกว่า ไม่ต้อง จิตใจไม่ต้องระส่ำระสาย ดังนั้นขอให้สังเกตเถอะว่าเวลามีผัสสะนั่นเราจะรู้สึกวูบขึ้นมาทุกครั้งนะ เหมือนกับอะไรมาปฏิฆะ มากระทบจิตรู้สึกวูบขึ้นมา เสียววูบขึ้นมา พอตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรสมันรู้สึกว่าวูบขึ้นมาเหมือนอะไรมากระทบจิต ถ้าหากว่าอารมณ์นั้นดีเราก็โอ้โห, ดีจริงๆ ก็เลยพอใจไป ถ้าอารมณ์นั้นไม่ดีเราก็แย่จริงๆ ก็เสียใจไป แต่ก่อนหน้านั้นน่ะมันจะรู้สึกว่าวูบขึ้นมา มากระทบเข้ากับหัวใจเรานี่ตรงนี้รู้สึกวูบขึ้นมาทีเดียว มันมีเวลาให้เรา คล้ายๆว่ามีอะไรมากระทบให้เรารู้สึกตัวได้ นอกจากว่าเราจะไม่มีหิริโอตตัปปะหรือไม่มีความ ไม่มีปัญญาพอที่จะผลักมันออกไปทั้งฝ่ายดีใจและฝ่ายเสียใจ ขอให้มองที่จิตเถอะมันจะมีอะไรมาเตือนให้รู้เลยว่าเวลาสัมผัสเข้า มันเหมือนกับอะไรมากระทบที่จิตวูบขึ้นมา เป็นได้ทั้งฝ่ายดีใจฝ่ายเสียใจ ฉะนั้นก็ให้หยุดมันเสีย ให้เห็นว่ามันเป็นสักแต่ว่ามากระทบ ก็เรียกว่าปฏิฆะสัมผัส มันเหมือนกับจิตของเรากระทบกระทั่งอะไรบางอย่างวูบขึ้นมาเหมือนคนเอามือมาทุบลงไปบน บนหน้าอกนะ รู้สึกอย่างนั้น ถ้าเรามีสติปัญญาก็อ๋อ, มันก็สักแต่ว่าการกระทบ นี่คือการศึกษาธรรมะ ศึกษาธรรมะศึกษาได้ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแล้วมันไปรวมอยู่ที่ความรู้สึก ถ้าท่านศึกษารูปท่านก็สร้างสรรค์รูปได้ ถ้าศึกษาความรู้สึกก็เอาชนะความรู้สึกก็คือดับทุกข์ได้ นี่เองคือคำว่าการศึกษาธรรมะ อย่างเราศึกษาธรรมะถึงที่สุดมันก็มีการปฏิบัติ เป็นปฏิเวธอะไรพร้อม
เอาแล้วอาตมาเห็นว่าเวลาก็พอสมควรแล้ว เพียงแต่ว่ามาขัดๆไว้แค่นั้นเอง แก้ขัด อาตมาแก้ขัด ก็ว่าควรยุติการพูดบรรยายธรรมะในวันนี้ ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้ศึกษาธรรมะกันให้ตลอด คือศึกษาทั้งทางกาย แล้วก็ศึกษาทั้งทางความรู้สึก จะเอาชนะความรู้สึกได้ก็ดับทุกข์ได้ มีความสุขมีความเจริญตลอดกาลนิรันดร