แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้จะพูดโดยหัวข้อว่า อิทัปปัจจยตา ช่วยได้ อีกครั้งหนึ่ง เพราะเกรงว่า ที่แล้วมานั้นยังไม่ชัดพอ ไม่เข้าใจชัดพอ ทั้งในตัวเรื่อง อิทัปปัจจยตา ก็ดี หรือวิธีที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ดี จึงขอพูดอีกครั้งหนึ่ง
อิทัปปัจจยตา เป็นกฎธรรมชาติ มีความหมายที่สำคัญ ก็คือว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
หมายความว่า เมื่อสิ่งนี้มี แล้วสิ่งนี้มันต้องมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น มันเป็นกฎของธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นคำพูดที่เราบัญญัติขึ้น สำหรับใช้เรียกสิ่งที่มันเป็นอยู่เอง มันมีอยู่เอง ในตัวมันเอง
แม้ว่ามนุษย์เรา จะได้วิวัฒนาการในลำดับที่สูง สูงกว่าธรรมชาติอย่างอื่น กว่าสัตว์ในระดับต่ำกว่า, กว่าต้นไม้ กว่าอะไรก็ตาม มาถึงเป็นคน และก็ยังเป็นคนในระดับสูง แม้ว่ามันจะสูงขึ้นไปถึงไหน มันก็ไม่พ้นไปจากอำนาจของธรรมชาติ เช่นว่า จะไปเป็นเทวดา ไปเป็นพรหม ก็ตาม มันก็ไม่พ้นไปจากอำนาจกฎของธรรมชาติ คือ กฎ อิทัปปัจจยตา
เป็นอันว่าให้นอนใจเสียได้ว่า ยังคงอยู่ใต้อำนาจ กฎ อิทัปปัจจยตา ในข้อที่ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ต้องมี เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ต้องมี เมื่อทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น และก็สิ่งถัดไป ก็จะต้องเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ต้องหลับตาเห็น ลืมตาก็เห็น เขาว่า ลืมตาเห็น ก็ดูให้ลึกซึ้งหน่อย เพราะไม่มีอะไรที่มันกำลังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎเกณฑ์อันนี้
นับตั้งแต่ ขี้ฝุ่นเม็ดหนึ่ง เป็นทราย เป็นดิน เป็นก้อนหิน เป็นต้นไม้ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นต้นไม้ มันก็เห็นชัดว่า มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยใน, ใน, ในต้นไม้ แต่ว่าในก้อนหินก็ขอให้รู้ว่า มันก็มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้นมันสลายตัวไม่ได้ในที่สุด
ในทรายสักเม็ดหนึ่งมันก็มีกฎอันนั้น ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย แต่มันช้ามาก ที่จริงมันก็ไม่ได้ช้ามาก มัน, มัน, มันไปตามกฎนั่นแหละ กฎมัน, มันทำได้อย่างนั้น หรือมันต้องทำอย่างนั้น
ความเปลี่ยนแปลงในบางสิ่งบางอย่างจึงช้า ในความรู้สึกของเรา บางอย่างรู้สึกว่าเร็ว ในความรู้สึกของเรา แต่นั่นมันเป็นความรู้สึกของเรา ไม่ใช่ความจริงของธรรมชาติ ความจริงของธรรมชาติมัน, มันไปทางนั้นแหละ มันไม่ได้ มีช้า มีเร็ว เพราะธรรมชาติมันไม่ได้ต้องการอะไร ความช้าหรือความเร็วนั้น มันอยู่ที่ความต้องการของ, ของสิ่งที่มัน มีความต้องการ ที่มันรู้สึกต้องการ ถ้ามันไม่ต้องการอะไรเลย มันไม่มีช้า จะช้าหรือเร็ว มันก็คือ ไอ้ความเร็วที่ต่างกันเท่านั้น มันไม่ควรจะเรียกว่า ช้าหรือเร็ว มันควรจะมองดูว่าเป็นความเร็วที่ต่างขนาด, ขนาดกัน
มีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างมัน, เราพูดว่าช้า บางอย่างเราพูดว่าเร็ว บางอย่างก็ว่าเร็วมาก แต่ถึงอย่างนั้น มันก็คือลักษณะเดียวกันนั่นแหละ คือความเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ถึงลืมตาให้เห็น สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา และก็เห็นไม่ได้ด้วยตา ก็หลับตาเสีย ก็เห็นด้วยใจ ก็เห็นได้ลึกกว่า เห็นได้ละเอียดกว่า มันก็ยังเห็น ไอ้ทุกสิ่งมันเปลี่ยนแปลงไป ตามเหตุ ตามปัจจัย เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ เป็นต้น
บางคนอาจจะคิดว่า เป็นเรื่องพูดเล่น เป็นเรื่องทำไปทำไม บ้าๆบอๆ ทำไปทำไม ที่ทำอย่างนั้น จะทำไปทำไม จะบอกว่า ที่ทำอย่างนั้นแหละ คือ ดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด ให้รู้ว่ามันจะประเสริฐที่สุด ถึงว่า, ถึงจะได้ว่ากันทีหลังว่า ประเสริฐอย่างไร
เดี๋ยวนี้ ขอให้รู้กันเสียก่อนว่า เมื่อรู้สึกอยู่ ซึ่งความที่สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี มันทำให้เราเกิดความรู้สึกอย่างไร สำคัญ
ถ้ามันมองเห็น ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกฎอย่างนี้ อย่างนี้ มันก็ไม่ต้องรู้สึกยินดี ยินร้าย หรือรู้สึกหดหู่ รู้สึกเป็นทุกข์ ทุกอย่างมันเป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเราเป็นผู้ทำให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎของ อิทัปปัจจยตา
โดยที่เราไม่ต้องหวังว่า มันจะเป็นผล เอ่อ, ออกมาให้เรา ถ้ามันยังต้องหวังอยู่ว่า มันจะเป็นผลออกมาให้เรา อย่างนี้ เรียกว่ามันยังไม่เห็นกฎ อิทัปปัจจยตา ถ้าเห็นกฎอิทัปปัจจยตา มันก็เห็นว่า เอ้า, มันก็ออกมา ออกมา ออกมา อยู่ตลอดเวลา
เรื่องนี้มีอุปมาในบาลีหลายอย่าง เช่นว่า แม่ไก่ฟักไข่ให้ถูกวิธี และก็ไม่ต้องหวังว่า ลูกไก่จงออกมาจากไข่ ถ้าไปหวังว่า ลูกไก่มาจาก, ต้อง, ต้อง, จงออกมาจากไข่ นี่มันก็จะเป็นแม่ไก่ ที่ไม่รู้อะไร แม่ไก่ที่บ้าแล้วก็ได้
หรือว่าชาวนา เมื่อได้ไถนา ดำนา ปลูกข้าวไปแล้ว ก็ไม่ต้องหวังว่า รวงข้าวจงออกมา รวงข้าวจงออกมา มีเปรียบไว้หลายอย่าง ในลักษณะอย่างนี้
ฉะนั้น มันเห็นอยู่ว่ามันออกมา โดยกฎของ อิทัปปัจจยตา แต่ที่มัน, คนที่ไม่ได้เรียนเรื่องนี้ มันก็ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร ไม่เรียก, ไม่เรียกถูกด้วย ว่า อิทัปปัจจยตา แต่เดี๋ยวนี้เรามันเรียนกันแล้ว รู้กันแล้วว่า ชื่อนี้ก็เรียกว่า กฎ อิทัปปัจจยตา มันทำงานอยู่
ฉะนั้น เราก็ผสมโรงกันไป ไปทำงานให้สนุก เป็นสุขได้ เมื่อกำลังทำงานนั่นเอง ถ้ามันไม่ออกมาตามที่ต้องการ ก็แปลว่ามันทำผิด, มันทำผิดกฎ อิทัปปัจจยตา ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์หรอก เพราะเห็นชัดว่า กฎ อิทัปปัจจยตา มันตายตัวนี่ จะไปเสียใจ เสียเวลาทำไม ก็ทำใหม่ ให้ถูกต้อง ตามกฎของ อิทัปปัจจยตา เหมือนอย่างกับ ฝากไว้กับกฎ, กฎ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนและตายตัว อย่างนี้ เรียกว่ามันช่วยได้ คือช่วยได้มาก ที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ และก็ต้องได้รับความสุข ไว้ใจ ในความแน่นอน และเที่ยงตรงของกฎ อิทัปปัจจยตา ไม่มีคำว่าผิดหวัง มัน, มัน, มันเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา มันไม่มีคำว่าผิดหวังสำหรับใคร เพราะเรายอมรับสภาพ อิทัปปัจจยตา แล้วก็จะไม่, ไม่รู้สึกว่า, ว่าเราเป็นผู้ผิดหวัง ผู้สมหวัง เพราะมันขึ้นอยู่กับกฎ อิทัปปัจจยตา ถ้ามันมีผลออกมาไม่ตรงตามที่ต้องการ ก็เพราะเราไม่รู้จักทำให้มันตรง และก็ไม่ควรจะถือว่า เสียหาย หรือขาดทุน สูญเปล่า ไม่ได้รับอะไร
เรื่องนี้ก็ขอเตือนกันไว้บ่อยๆว่า อย่าให้มีอะไร ที่รู้สึกว่าผิดหวัง สูญเปล่า อย่างน้อยที่สุด มันก็ต้องได้ความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา นั่นเอง เพราะมันมีอย่างนี้ ไอ้ความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา นั้น จะมีค่ามากกว่า ผลที่เราจะได้รับ เป็นวัตถุ เป็นเงิน เป็นทองอะไรเสียอีก นี่ถ้ามันฉลาดแล้วก็ ไม่มีอะไรที่, ที่เสีย หรือผิดหวัง มันมีแต่ได้ ถ้าทำให้, ให้ถูกเสียตาม อิทัปปัจจยตา แล้ว มันจะมีแต่ได้ ไม่มีเสีย
แม้ในรูปแบบที่ออกมาเป็นความขาดทุน มันก็เสีย ในส่วนเงินที่ไม่ได้ แต่มันได้อะไร คือความฉลาด, ที่เป็นความฉลาดอย่างยิ่ง ซึ่งแพงกว่าไอ้ที่มันขาดทุน คือเราจะหายโง่ในเรื่องทำให้ขาดทุน นี่เลยไม่มีอะไรที่ว่า ขาดทุน หรือเสียไป หรือผิดหวัง
ดูจะเป็นการพูดเอาเปรียบอยู่มาก ไอ้ที่ว่าไม่มี, ไม่มีอะไรที่ขาดทุน หรือผิดหวัง ออกมาในรูปไหน เราต้องได้ อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เพราะมันมองเห็น อิทัปปัจจยตา เป็นหลัก เป็นประธานอยู่
เมื่อเราเห็น อิทัปปัจจยตา อยู่ ทำการงานอยู่ มันก็ทำด้วย จิตที่ปกติ จิตที่เฉลียวฉลาด ไม่เป็นทาสของกิเลส คนที่ไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา มันงมงาย มันก้มหน้า ทำอะไรไปตามกิเลส เป็นทาสของกิเลศ เป็นทาสตัณหา สนองตัณหาของตัว เป็นทาสของตัณหาตลอดเวลา
ถ้าทำ อิทัปปัจจยตา มันเกิดตัณหาไม่ได้ ถ้ามันยังเกิดตัณหาได้ และมันก็ไม่ใช่, ไม่ใช่เป็น, ไม่ใช่ผู้เห็น อิทัปปัจจยตา ถ้าเห็น อิทัปปัจจยตา อยู่ ตัณหาแทรกเข้ามาไม่ได้ นี่มันควบคุมตัณหาไว้ได้ มันยั่ว มันฆ่าตัณหาเสียเลยก็ได้ ตัณหาไม่มีทางเกิด ถ้ามีความรู้โดยประจักษ์ เรื่อง อิทัปปัจจยตา มันทำ, ทำให้ไม่เกิดตัณหา มันไม่มีค่าทางเวลา
ถ้าไม่, ไม่มีตัณหา เวลาไม่มีค่า ไม่เกิดความทรมาน ด้วยความที่ไม่ทันเวลา เป็นต้น เรื่องไม่ได้อย่างใจ เรื่องไม่ได้ทัน, ไม่ทันเวลานี่ มันทรมานจิตใจคนมาก มันกัดอย่างยิ่ง มันกัดอย่างเจ็บปวด นี่, เรียกว่ามันก็ช่วยได้ ไม่ต้องเป็นทาสของตัณหา เราก็ทำไปโดยประสมกลมกลืนกัน กับ กฎของ อิทัปปัจจยตา ไม่คุมพวก คุมกำลังกัน จะทำอะไรที่ไม่ตรงตามกฎ อิทัปปัจจยตา แต่ตรงตามความต้องการ ของตน ของตน
เดี๋ยวนี้ในโลก มันหาความยุติธรรมไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมรับสภาพอันนี้ มันจะเอาแต่ประโยชน์ของตน มันก็หาวิธีที่จะเอาแต่ประโยชน์ของตน และมันก็คุมพวก หาพวก หาพวกให้มากเข้าไว้ บังคับกรณีให้เป็นไปในตามประโยชน์ของพวก ของตน มันก็หาความถูกต้องหรือหาความเป็นธรรมไม่ได้ โลกนี้มันก็มีแต่ความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม ความไม่ถูกต้อง แม้แต่สักนิดเดียว แม้แต่สักนิดเดียว
ยิ่งเป็นองค์การใหญ่ ขนาดองค์การโลก มันก็ยิ่ง ทำตามกิเลสตันหาหนักมาก เท่ากับที่มันใหญ่ มันไม่ไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา หรือกฎของพระเป็นเจ้าเลย ในโลกนี้มันก็ยุ่งเหยิงหมด แต่เราก็มักจะนิยมกันว่าถูกแล้ว เมื่อองค์การใหญ่ หรือว่าสมาคมใหญ่ หรือว่าสภาใหญ่ เขาลงมติกันอย่างไร ก็ต้องยอมรับ หารู้ไม่ว่า มันเป็นการกระทำที่ฝืนกฎ อิทัปปัจจยตา โดยใช้กิเลสตัณหาของคนจำนวนมากเหล่านั้น รวมกัน แล้วก็มุ่งหมายไปตามความต้องการของตน โดยไม่เคารพต่อกฎของธรรมชาติ มันก็ผิดกฎธรรมชาติ มันสวนทางกัน คือมันไม่เป็นไปในทางสันติภาพ เป็นไปในทางวุ่นวาย ทางวิกฤติการณ์ แต่มนุษย์ก็ยังตั้งใจว่าจะเอาให้ได้ จะบังคับเอาให้ได้ มนุษย์จะรวมหัวกัน เหมือนกับว่าต่อต้านพระเจ้า ต่อต้านกฎของ อิทัปปัจจยตา นั่นเอง
เราจึงไม่ประสบสันติภาพในโลกอยู่ทุกวันนี้ และตลอดไป ในกาลภายหน้าด้วย ถ้าไม่ทำอะไรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามกฎของ อิทัปปัจจยตา มุ่งมาดแต่จะให้เป็นตรงกับกิเลสตัณหาของตัวเอง แม้จะคุมพวกกันได้ตั้งครึ่งโลก หรือต่อให้ทั้งโลก มันก็สำเร็จไม่ได้ คือไม่มีสันติภาพขึ้นมาได้
นี่, ขอให้รู้ว่า มัน, มันเฉียบขาดขนาดนี้ และถ้าไม่ถือเป็นกฎ เป็นหลัก อย่างแน่นอนตายตัวแล้ว มันก็ไม่มีทางที่จะเอาชนะความทุกข์ได้
ทีนี้ก็อยากจะพูดเลยไปถึงว่า แม้เรื่องที่เรียกกันว่า ฟลุ๊ค คือบังเอิญเป็น ที่เรียกกันว่า ฟลุ๊ค ฟลุ๊ค ภาษาค่อนข้างโสกโดก แม้เรื่องฟลุ๊คทั้งหลาย มันก็เป็นเรื่อง ที่เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ไม่ใช่ว่ามันจะนอกของกฎ อิทัปปัจจยตา ไปได้ เรื่องฟลุ๊ค ของอะไรก็ตามใจ ที่คุณดูเอาเองก็แล้วกัน ในโลกนี้มันเต็มไปด้วยเรื่องฟลุ๊ค คือ เรื่องที่มันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมนุษย์ หรือที่มนุษย์หวัง มันเป็นไป, กลายเป็นเรื่องฟลุ๊ค ในเรื่องฟลุ๊คทั้งหลายมันก็, มันมี อิทัปปัจจยตา ในส่วนที่มันจะฟลุ๊ค
พูดนอกเรื่องหน่อย ที่ว่าสวนโมกข์นี่ มีคนบางคนเขียนบันทึกไว้ว่า เต็มไปด้วยเรื่องฟลุ๊ค ไอ้การที่มันจะเกิดมีสวนโมกข์ขึ้นมาได้ ในสภาพอย่างนี้ มันเป็นเรื่องฟลุ๊ค ตลอดเวลาตั้งต้นมา กระทั่งฟลุ๊ค ในข้อที่ว่า กระผมเรียนบาลีไม่สำเร็จ ไม่ชอบเรียนบาลี และก็ออกมาตั้งวัดป่าอย่างนี้ คน, คนนั้นเขาก็เห็นว่าเป็นเรื่องฟลุ๊ค และก็มีอะไรที่บังเอิญมาผสมรอยกัน มันก็เป็นเรื่องฟลุ๊ค ได้คนที่จะช่วยกันทำให้สำเร็จอย่างนั้นอย่างนี้ได้ มันก็เป็นเรื่องฟลุ๊ค
ความจริงมันก็ควรจะรู้สึกอย่างนั้นแหละ เพราะว่าเราก็ไม่มีเงินมีทองอะไรนัก แต่มันก็ ฟลุ๊ค จนมี มีคนช่วยทำนั่น มีคนช่วยทำนี่ มีคนช่วย มันทำอย่างที่เรียกว่า มันฟลุ๊ค มีคนช่วยกวาดขยะอย่างกับเป็นบ้า คุณไม่เรียกว่า ฟลุ๊ค เหรอ มีคนช่วยอาสาทำครัว ทำช่างไม้บ้าง ทำอะไรบ้าง มันก็เป็นเรื่อง ฟลุ๊ค ทั้งนั้น มัน, มันมีสถานที่ ที่ ฟลุ๊ค ให้ได้ ให้ได้มีสถานที่ เพราะว่าเมื่อจะเอาเข้าจริง จะหา มันก็หายาก แล้วทำไมมันเกิดได้ มันก็เหมือนกับเรื่อง ฟลุ๊ค มีเครื่องอุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องมือต่างๆ มันก็เป็นเรื่อง ฟลุ๊ค ถ่ายวิดีโอเทปนี่มันเรื่องบ้า มันก็เป็นเรื่อง ฟลุ๊ค ฟลุ๊ค จนได้บ้า
ผมไม่เห็นด้วยหรอกนะ พูดตรงๆ ไม่เห็นด้วย มันเปลืองเปล่าๆ เกินความจำเป็น อะไรๆ มันก็เป็นเรื่อง ฟลุ๊ค ฟลุ๊คเหลือที่จะ, จะคำนวณได้ ถ้าอย่างนั้นก็อย่าเข้าใจว่า มันไม่ใช่กฎ อิทัปปัจจยตา มัน, มันก็เป็นเรื่อง ฟลุ๊ค โดย อิทัปปัจจยตา หรือ อิทัปปัจจยตา ที่มันแหวกแนว หรือมันลัดคิว หรือเป็นอะไรก็ตาม แล้วแต่จะเรียก
ที่พูดนี้ก็เพื่อว่า มันไม่มีอะไร ที่ไม่ใช่เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา เดี๋ยวนี้มองไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้มองเรื่อยๆไป แล้วก็จะเห็น เดี๋ยวนี้ยังมองไม่เห็น ไม่ใช่ผมจะดูถูกคุณ คุณยังมองไม่เห็นจริงๆด้วย แต่นานไปข้างหน้า จะมองเห็นว่า แม้แต่เรื่อง ฟลุ๊ค ทั้งหลายเหล่านี้ มันก็เป็นเรื่อง อิทัปปัจจยตา ในรูปแบบนั้น
ไม่หนีไปจากกฎเกณฑ์ที่ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี มันมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้คนๆ หนึ่ง มันต้องการอย่างนั้น และคนอย่างนั้นมันบันดาลได้ มันก็บันดาลไป มันก็มีการกระทำที่เกิดขึ้น ชนิดที่ไม่ได้คาดฝันกันนัก แม้มันจะมาเร็วแบบสายฟ้าแลบ มันก็ยังเป็น อิทัปปัจจยตา อยู่นั่นแหละ มันจะมางุ่มง่าม อย่างเต่าคลาน มันก็ยังเป็น อิทัปปัจจยตา อยู่นั่นเอง
มันไม่พ้นไปจากกฎของธรรมชาติอันนี้ได้ ที่เราจะต้องเข้าใจกันให้ดีๆ แล้วจะไม่ตื่นเต้น ไม่ประหลาดใจ ถ้ายังมีความตื่นเต้น ยังเห็นอะไรประหลาด ยังเห็นอะไรน่าอัศจรรย์ หรืออะไรลึกซึ้ง ลึกลับอยู่ นั่นก็คือผลของการที่ไม่เห็น อิทัปปัจจยตา แล้วก็มักจะทำให้, ทำอะไรเกินพอดี เกินพอดี หรือว่า หย่อน ไม่พอดี ระวังนะ, ไอ้ที่ทำอะไรไม่ถึงขนาดพอดี ที่เรียกว่าหย่อน มันก็ไม่มีผลดี ทำอะไรเกินขนาดมันก็เรียกได้ว่า มันเกินกฎที่ถูกต้อง แล้วมันก็ ไม่มีผลดี จะต้องระวังให้พอดี อิทัปปัจจยตา ที่ถูกต้องและพอดี แห่งกรณีนั้นๆ
ในเมื่อมนุษย์ไม่รู้เรื่องนี้ เขาคงโง่ หลง ไปตามผัสสะของเขา ที่ผัสสะของเขาจะชวน ให้เขาคิดว่าอย่างไร เขาเห็นด้วยตา เขาคลำด้วยมือเขา เขาก็จะต้องคิดไปตามนั้น จนเกิดเป็นความแตกต่าง เป็นข้อที่ต้องถกเถียง หรือทุ่มเถียง หรือทะเลาะวิวาทกันเลย แม้โดยความคิดเห็น เมื่อแตก, เอ่อ, เมื่อ เมื่อวิวาทกันโดยความคิดเห็นแล้ว แล้วไม่เท่าไรหรอก ก็ต้องวิวาทกันโดยร่างกาย โดยมือ โดยไม้ โดยอาวุธ
เอ่อ, นึกได้ถึงโคลงโลกนิติ โคลงหนึ่ง รู้สึกว่าผู้แต่งโคลงโลกนิตินั่น ยังไม่รู้เรื่องนี้ หรือรู้ไม่ถึงที่สุด นั่นคือโคลงบทที่ว่า เมื่อเจ็บไข้ขึ้นมา ต้องมีว่า
หมอแพทย์ทายว่าไข้ ลมคุม
โหรว่าเคราะห์แรงรุม โทษให้
แม่มดว่าผีกุม ทำโทษ
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ ส่งให้ เป็นเอง
ผมชอบท่องโคลงบทนี้มาแต่เล็กๆ คือหมอแพทย์ ก็บอกว่า อ้อ, มันเป็นโรค เป็นร่างกาย ผิดปกติ นี่เป็นโรค เป็นเรื่องลม เรื่องเลือด เรื่องอะไรก็ตามผิดปกติ ในทางเจ็บไข้ นี่, ข้างโหรก็บอกว่า โอ้! ไม่ใช่ เพราะโชคชะตาดวงดาวต่างๆ มันเป็นเหตุให้เจ็บไข้ นี่, ข้างพ่อมดหมอผี แม่มดหมอผี ก็ว่า ผีต่างหากเล่า ผีต่างหากเล่าเข้ามา ทำเป็นเรื่องนี้ ให้เจ็บให้ไข้ จะมีปราชญ์ว่า กรรมเองไซร้ ส่งให้เป็นเอง ส่วนนักปราชญ์นั่น เขาว่า กรรม และฟังดูก็รู้ว่า กรรมแต่หนหลัง ส่งให้มาเป็นอย่างนี้ นี่แสดงว่า คำว่า ปราชญ์ ในกรณีนี้ คำนี้ไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา จึงว่า กรรม เป็นเรื่องกรรม ทำให้เป็นอย่างนี้
ที่จริง กรรม นั้น มันมีอำนาจน้อยกว่า อิทัปปัจจยตา หรือจะว่าเรื่อง จะ, จะ, จะเรียกว่า เป็น อิทัปปัจจยตา ก็ได้ แต่เป็น อิทัปปัจจยตา ตัวเล็กๆ ที่มัน, มันแก้ไขได้ ด้วย อิทัปปัจจยตา ตัวใหญ่ๆ
อย่างที่วันก่อนได้เอามาเล่าให้ฟังทีหนึ่งแล้วว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สุข หรือ ทุกข์ มิได้มาแต่กรรมเก่า มันมาจากการ ทำผิด หรือ ทำถูก ต่อกฎ อิทัปปัจจยตา เดี๋ยวนี้แหละ เดี๋ยวนี้มันทำผิดหรือทำถูก ต่อกฎ อิทัปปัจจยตา หมายความว่า แม้กรรมเก่า มันจะมีอยู่อย่างไร มันจะให้ผลอย่างไร เอ้า, มา มา มา แต่ถ้าเราต้อนรับมันด้วยกฎ อิทัปปัจจยตา แล้ว จะไม่มีความทุกข์เลย
สมมติว่า กรรมเก่ามันจะมาทำให้ เป็นทุกข์ เป็นร้อน เป็นกรรมชั่ว แต่ถ้าเราต้อนรับสถานการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น อย่างถูกต้อง โดยกฎของ อิทัปปัจจยตา คือรู้จัก ผัสสะดี ไม่โง่เรื่องผัสสะ ก็ไม่มีทุกข์ และมันก็เอาชนะกรรมได้
นี่เรียกว่า มันยังมีสิ่ง อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งเหนือไปกว่ากรรม เชื่อกรรมนั้น ถูกแล้ว แต่มันมีอีกสิ่งหนึ่ง ถ้าทำให้ถูกต้อง ตามกฎของมันแล้ว ไอ้กรรมมันก็จะยกเลิกไปเอง ไอ้กรรมทั้งหลายจะหมดฤทธิ์ หมดอำนาจไปเอง ไอ้ที่ว่า ที่, ไอ้, ประโยคที่ว่า ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ ส่งให้เป็นเอง น่ะ มันเป็นเพียงปราชญ์ธรรมดา ไม่ใช่ ปราชญ์อย่างพระพุทธเจ้า
ถ้าปราชญ์อย่างพระพุทธเจ้า ท่านก็สอนว่า มันเป็น อิทัปปัจจยตา มันเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา และ อิทัปปัจจยตา นี้ มันจะทำลายกรรมทั้งหลาย จนอยู่เหนือกรรม จนสิ้นกรรม
จุดสูงสุดของพุทธศาสนา คือ ความสิ้นกรรม หมดกรรม เหนือกรรม ฉะนั้น อันนั้นแหละ มันจะแก้ปัญหาอันสุดท้าย ไม่ว่าปัญหาอะไร ดังนั้น อิทัปปัจจยตา มีอำนาจที่จะ, ให้บันดาล หรือว่าจะควบคุม หรือว่าจะแก้ไข ให้มันไปตามกฎของมัน
เราจึงต้องศึกษาในเรื่องนี้ ให้ดีที่สุด เหมือนกับจัดให้มันเดินไป อย่างถูกต้อง ตามที่ควรจะ, ควรจะได้ ควรจะต้องการ คือ ดับทุกข์ ที่เราควรจะได้ ควรจะต้องการ ก็คือ ดับทุกข์ ฉะนั้นเราจะต้องจัดให้ถูกต้อง ตามกฎของ อิทัปปัจจยตา จะไปพึ่ง ผีสาง เทวดา ผีพระเจ้า ผีอะไร ก็ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ถูกต้องและไม่สำเร็จ
ที่ถูกต้อง สิ่งสูงสุด คือ กฎ อิทัปปัจจยตา ซึ่งจะต้องให้ชื่อ ให้ชัด กำกับไปเลยว่า ปัจจุบัน ใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน อิทัปปัจจยตา ทั่วไป ทั่วไป มันยังกำกวม อิทัปปัจจยตา ปัจจุบันนี้ คุณจะต้องสนใจมาก มี และใช้ ให้ทันท่วงที ทันเวลา ทันเหตุการณ์ อะไรๆ มันจะแก้ปัญหาได้หมด โดยการใช้ อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน
อิทัปปัจจยตา ปัจจุบันนี้แหละ จะสามารถแก้ไข อิทัปปัจจยตา อดีต
อิทัปปัจจยตา อดีต ทำผิดไว้อย่างไร อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน จะช่วยแก้ไขได้ เลิกร้างได้ ทำให้ถูกเสียใหม่ได้
แล้ว อิทัปปัจจยตา ปัจจุบันนี้ จะช่วยให้ อิทัปปัจจยตา ในอนาคต เป็นไปได้ อย่างดี อย่างตรงความประสงค์ยิ่งขึ้น คือ จะได้ผล ดีและง่ายกว่า ที่จะไม่มี อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน เป็นเครื่องสนับสนุน หรือว่าเป็นจุดตั้งต้น
ขอให้สนใจ คำว่า อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน นี้, มันจะช่วยได้หมดทุกอย่าง ทุกอย่าง จน, จนออกชื่อมาไม่ไหว นับไม่ไหวล่ะ ปัญหาอะไรทุกชนิด ทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน หรือเฉพาะหน้า ถ้าที่เป็นมาแล้วแต่ในอดีต มันไม่น่าปรารถนา ไม่พึงปรารถนา มันก็ทำให้หมดไปได้ โดยการทำให้ถูกต้องเสียใหม่ใน อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน
ฉะนั้น คนบางคนที่เขาไม่ใช่พุทธศาสนา หรือว่า เขาไม่, ไม่, ไม่เห็น, ไม่เห็นด้วย เขาว่า การแสดงอาบัติของพระ เป็นการโกหกและหลอกลวงต่อกฎของกรรม เมื่อทำผิดแล้วจะมาแสดงอาบัติง่ายๆ ให้หมด, หมดไปได้อย่างไร เลย, มันมีหลักว่า กรรม, กรรม เป็นของจริง ต้องให้ผลแน่ ทำผิดแล้ว จะยกบาป ยกกรรม กันได้อย่างไร
ผมมีความเห็นไปในทางที่ว่า มันยกได้ เพราะมันมี อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน เกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้ล้มเลิก อิทัปปัจจยตา ชุดเก่า ซึ่งทำผิดเป็นอาบัติ นั้นก็เป็น อิทัปปัจจยตา ชุดเก่า และก็แสดงอาบัติด้วยวิธีการอย่างถูกต้อง ด้วยจิตใจที่ถูกต้อง ด้วยการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ใช่นั่งงึมงำ งึมงำ ทำพิธีแล้วมันก็จะ สำเร็จ นั่นน่ะมันเป็น อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน มันเปลี่ยนใหม่หมด ความคิด การกระทำ หรืออะไร
การแสดงอาบัตินั้น มันก็มีผลที่, ไม่ใช่ฝืนหลักกรรม ผิดหลักกรรมอะไร ไม่ใช่ อย่า, อย่า, อย่ามองหยาบๆ อย่ามองลวกๆ มองให้ดีๆ แต่ก็อดไม่ได้ ที่ชักจะสงสัยว่า ไอ้การล้างบาป ล้างบาป พิธีล้างบาปของศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นี่ เขาจะมีหลักการอย่างไร ก็ไม่ทราบ
ไอ้เรื่องล้างบาป ทำพิธีล้างบาปนี้ มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ในอินเดียก็มี เรียกว่า พิธีโธวนะ โธวนะ แปลว่า อาบ หรือ ล้าง พวกพราหมณ์เขาทำพิธีโธวนะ อย่างนั้น อย่างนี้ ก็เรื่องบูชายัญอีกนั่นแหละ ก็ล้างบาป ถ้าอย่างนี้ไม่ได้ ก็ทำพิธีล้างบาป ด้วยการเอาแพะมาฆ่า หรือทำพิธีแบบนั้น
มันต้องทำอย่างถูกต้อง ที่ว่าจะเปลี่ยนความรู้สึกคิดนึก หรือการกระทำกันเสียใหม่ มองเห็นในสิ่งที่จริงกว่า แน่นอนกว่า เปลี่ยนหมดในความรู้สึก คนนั้นมันจึงจะหมด, หมดบาป หมดเคราะห์ หมดโศก หมดอะไร และตั้งต้นกันใหม่ได้
นี่, อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน จะเพิกถอนไอ้, อิทธิพลของ อิทัปปัจจยตา อดีต แล้วว่าจะสร้างอิทธิพล อิทัปปัจจยตา อนาคต
ดังนั้น เราจึงมีการ อะไร, ก้าวหน้าเลื่อนชั้น ก้าวหน้าเลื่อนชั้น ก้าวหน้าเลื่อนชั้น ไปสู่จุดหมายปลายทางที่มนุษย์ควรจะได้ คือ เราอาจจะใกล้พระนิพพานเข้าไปทุกที การที่ชีวิตนี้จะเปลี่ยนแปลง ใกล้พระนิพพาน คือ บรรลุมรรคผลกันไปตามลำดับนั้น มันก็ด้วยการกระทำ ที่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา มันเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเฉพาะโดยละเอียด จะมีอย่างไรนั้น ก็ค่อยศึกษากันต่อไปเถิด
แต่เดี๋ยวนี้ บอกให้ทราบวิธีก่อนว่า หลักการใหญ่มันมีอยู่อย่างนี้ เราก็จัดให้ มันเป็นไปในลักษณะที่ว่านี้ จัดให้เป็นไปในลักษณะที่ว่า ชีวิตนี้จะดีขึ้น ดีขึ้น ดีขึ้น คือว่า ใช้คำว่า ใกล้ไปในทางความดับทุกข์ยิ่งขึ้น ที่ว่าดีขึ้น ดีขึ้น ดีขึ้นนี้ คำพูดสมมติ
ถ้าเรื่องของ อิทัปปัจจยตา นั้น มันไม่มีดี มันไม่มีชั่ว หรอก มันมีแต่ อิทัปปัจจยตา เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น มันไม่มีคำ ว่าดี ว่าชั่ว ในความหมายของ อิทัปปัจจยตา
แต่มนุษย์เรานี้ ที่ไหนเราชอบ เราก็ว่า, อย่างไรเราชอบ เราก็ว่าดี อย่างไรเราไม่ชอบ เราก็ว่าชั่ว เพราะฉะนั้น ดี ชั่ว นี้ มันเกิดมาจากปากของมนุษย์ มีความรู้สึก ต้องการ ถ้าเห็น, ถ้ามันตรงความต้องการของตัวชอบ มันก็ว่าดี เรื่องของคนพาล มันก็ว่าดีไปตามแบบของคนพาล เรื่องของสัตบุรุษ มันก็ดีไปตามแบบของสัตบุรุษ เรื่องชั่วก็เหมือนกัน ชั่วของสัตบุรุษ ก็สัตบุรุษบัญญัติ ชั่วของคนพาลก็คนพาลบัญญัติ มันแล้วแต่ สัตบุรุษ หรือ คนพาล มาบัญญัติ
เรื่องดี เรื่องชั่ว มันอยู่ในสมมติของคน แล้วมันไม่จริง คือว่า ไอ้ที่ว่าดีของคน, เอ่อ, คนพาล มันก็ไม่ดีของสัตบุรุษ ที่ว่าดีของสัตบุรุษ มันก็ไม่ดีของคนพาล
หรืออย่างที่คุณพะยอมว่า ไอ้เหล้า กับ อุจจาระ อันไหนมันจะดีกว่า หมาไม่กินเหล้า แต่กินขี้ ไอ้คนไม่กินขี้ แต่กินเหล้า มันไม่, มันไม่มีทางที่จะตรงกันได้ เมื่อมันอยู่ในฐานะที่มันต่างกัน มันดีของคนหนึ่ง มันอาจจะไม่ดีของคนหนึ่ง เช่น อุจจาระนี้ ใครๆก็ถูกสอนให้รังเกียจว่า ไม่ดี แต่เดี๋ยวนี้ เขาคิดจะทำเป็นปุ๋ยขาย รวยกันใหญ่แล้ว ??????? (นาทีที่ 41:23) เป็นปุ๋ยอินทรียวัตถุ ดีกว่า ปุ๋ยอนินทรียวัตถุ ซึ่งทำให้ดินเสีย
ก็เรียกว่า เราจะต้องมี อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน สำหรับแก้ปัญหาให้จงได้
เอ้า, ทีนี้ก็ให้รู้จัก อิทัปปัจจยตา ถึงขนาดนี้นะ แล้วมองเห็นว่า ไม่มีอะไรที่ มันไม่ใช่ อิทัปปัจจยตา มองเข้าไปใน, ในตัวเรา ดูไอ้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ไอ้ ๓๒ ส่วนนี้ แต่ละส่วน ละส่วน คือ กระแสของ อิทัปปัจจยตา ที่กำลังหมุน ไปตามเรื่องของมัน อย่างผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เอ้า, ดู ผม มันก็ตั้งต้นอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร ขนก็อย่างนั้น เล็บก็อย่างนั้น ฟันก็อย่างนั้น หนังก็อย่างนั้น ตับ ไตไส้ พุง ก็เป็นอย่างนั้น นี้ ระบบ อิทัปปัจจยตา ที่หมุนจี๋อยู่ทุกส่วน
ส่วนที่เป็นจิตใจ ก็เหมือนกันแหละ มันก็เปลี่ยนแปลง หมุนจี๋อยู่ ไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นี้ ใน, ในตัวเราเป็นอย่างนี้ นอกตัวเราก็เป็นอย่างนี้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ก็เป็นอย่างนี้ ของคนอื่นก็เป็นอย่างนี้ ต้นไม้ต้นไร่ก็เป็นอย่างนั้น สัตว์เดรัจฉานก็เป็นอย่างนั้น มันเรียกว่า มันเป็น อิทัปปัจจยตา อยู่ในทุกๆปรมาณู ที่ประกอบกันขึ้น เป็นสิ่งนั้นๆ ก็แล้วกัน
เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องเถียงกันแล้วว่า ทุกๆสิ่งมิได้กอบขึ้นมาจาก, ไม่ได้ประกอบขึ้นมาจากปรมาณู ในเมื่อทุกๆปรมาณู มันกำลังเป็นไปตามกฏ อิทัปปัจจยตา เหมือนกับวิ่ง มันก็เต็มไปด้วย อิทัปปัจจยตา ที่กำลังวิ่ง ไปใน, ในทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกหน ทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพราะว่ามันหมุน มันวิ่ง อยู่ในทุกๆปรมาณู แล้วมันจะยกเว้นอะไร
นี่แหละ พระเจ้า อิทัปปัจจยตา ควบคุมอยู่ สิงอยู่ในทุกๆปรมาณู ถ้าพระเจ้าที่เขามีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ มันทำไม่ได้หรอก องค์เดียวจะทำทันได้อย่างไรเล่า องค์เดียวจะมานั่งจดบัญชี ให้, ให้, ให้โทษ ให้คุณ มนุษย์ตั้งหลายพันล้านอยู่ได้อย่างไรเล่า
แต่ถ้ากฎ อิทัปปัจจยตา มันควบคุมอยู่ในทุกๆปรมาณูของสิ่งนั้น แล้วทำไม มันจะทำไม่ได้ล่ะ ที่มันจะทำให้ เกิดดี เกิด, เกิด, เกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดอะไรก็ตามขึ้นมาได้
ฉะนั้น เราถือว่า สุข ทุกข์ นี่เกิดมาจาก อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน
ในพระบาลีว่า จะถือว่าสุข จะทุกข์ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็ไม่ได้ มันมีเหตุ มีปัจจัย
ทีนี้พวกหนึ่ง เขาว่า ปัจจัย คือ พระเจ้าอิศวร พระเจ้า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เราว่าไม่ใช่
พวกหนึ่งถือว่า เพราะกรรมเก่า เป็นปัจจัย พระพุทธเจ้าก็ว่าไม่ใช่
พระพุทธเจ้าว่า อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน นี้แหละ เป็นเหตุแห่ง สุขและทุกข์ ของเรา
แม้มันจะมีกรรมเก่า ที่เป็นเหตุ ให้สุข ให้ทุกข์ อย่างไรมา เราก็แก้ไข ปรับปรุงเสียใหม่ได้ด้วย อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็หมด, เรียกว่า หมดเนื้อหมดตัว ถ้าว่ากรรมเก่า มันผูกขาดเอาเสียอย่างเดียวแล้ว เราจะทำอย่างไรได้ เราไม่ต้องเป็นไปตามนั้น โดยโงหัวไม่ขึ้น แต่นี้เรามีทางที่จะทำอะไรให้ถูกต้องเสียใหม่ ให้เป็นไปตามที่ควรจะทำ ไม่ให้กรรมเก่า มาผูกขาดเสียฝ่ายเดียว เราเพิกถอนอำนาจกรรมเก่าเสียได้ โดย อิทัปปัจจยตา ปัจจุบัน
ขอให้มองเห็นว่า มันเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา และก็จะไม่เกิดความคิดบ้าๆบอๆ ว่า อาตมัน หรือตัวตน หรือ ตัวกู หรือ ของกู ที่สัญชาตญาณของความเป็นสัตว์ที่ยังโง่เขลาอยู่ มันจะรู้สึก รู้สึกว่าตัวกู ว่าของกู ว่าตัวตน ว่าของตน หรือว่าเป็นอาตมัน ชนิดที่ไม่รู้จักเกิดดับเปลี่ยนแปลง ตามลัทธินั้น
พูดอย่างนี้มันก็, มันก็คล้ายๆกับว่า ดูถูกลัทธิของเพื่อน ลัทธิอื่น แต่มันก็จำเป็นที่จะต้องพูด เพื่อจะทำให้เรา พุทธบริษัทเรา รู้จักลัทธิของตัวเองที่ว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่มีอาตมันชนิดนั้น ไม่มีอัตตาชนิดนั้น มันจะมีกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา จึงเรียกว่า ทุกสิ่งเป็นอนัตตา เพราะเป็นเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา แม้จะถือได้ว่าเป็น อัตตา หรือ เป็นอาตมัน
นี่, ขอให้รู้จักพระพุทธศาสนาของเราไว้ถูกต้อง แล้วก็จะ ไม่หลงว่า มีตัวกู ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ว่าไม่มีตัวตน
เมื่อไม่มีตัวกู และก็ไม่มีของกู
เมื่อไม่มีของกู แล้วไอ้ที่มันเป็นคู่ๆ คู่ๆ สำหรับให้รัก ให้เกลียด ให้ยินดียินร้าย มันก็หมดไปเอง
ไม่มี ตัวกู อย่างเดียวน่ะ มันยกเลิกหมด ไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีกำไร ไม่มีขาดทุน ไม่มีทุกๆ ทุกคู่ ที่มนุษย์จะพูดได้ เป็นทุกๆคู่ จะไม่มี เพราะมัน, มันเลิกจาก ตัวกู ซึ่งเป็นพื้นฐานเสียหมด
เดี๋ยวนี้เรา มันยังมี, มีได้ มีเสีย มีแพ้ มีชนะ มีกำไร มีขาดทุน มีอร่อย มีไม่อร่อย มีมาก มีน้อย มี, เป็นคู่ๆ คู่ๆ ไม่รู้จักกี่คู่
พอเห็น อิทัปปัจจยตา ไอ้ของคู่เหล่านี้ ก็กลายเป็นของไม่มี เพราะความจริง มันก็มิได้มี มันมีโดยคนที่ไม่เห็น อิทัปปัจจยตา พูดเอาเอง ขาดทุนก็คือ อิทัปปัจจยตา แบบหนึ่ง กำไรก็คือ อิทัปปัจจยตา แบบหนึ่ง แต่ก็เป็น อิทัปปัจจยตา ด้วยกันทั้งนั้น
บางคนเขาก็เลือกบัญญัติเอาอย่างนี้ดี อย่างนี้ไม่ดี อย่างนี้กำไร อย่างนี้ขาดทุน
แต่ถ้าเห็น อิทัปปัจจยตา จิตมันก็เฉย เป็นปกติอยู่ได้ นั่นแหละ คือเห็นความจริง เห็นธรรมะ เห็นความจริง ที่เห็นธรรมะนั้นคือ เห็นที่ อิทัปปัจจยตา
พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เองว่า เห็น ปฏิจสมุปบาท คือเห็นธรรม เห็นธรรมคือ เห็นตถาคต
พระพุทธเจ้าแม้จะปรินิพพานไปแล้ว โดยพระสรีรกาย โดยร่างกาย แต่ยังคงอยู่โดยธรรมกาย คือ กายแห่งธรรม พระพุทธเจ้ายังคงอยู่เดี๋ยวนี้ แต่โดยธรมกาย ไม่, ไม่, ไม่ใช่โดยสรีรกาย และธรรมกายของพระพุทธเจ้านั่นคือ กฎ อิทัปปัจจยตา
พระองค์จึงตรัสว่า ถ้าเห็นปฏิจสมุปบาท คือ เห็นธรรม
เห็นธรรม คือ เห็นตถาคต
กฎ อิทัปปัจจยตา ซึ่งครอบงำทุกสิ่งอยู่ทุกๆปรมาณู นั้นน่ะ คือ สัจจะอันแท้จริง คือ ธรรมะอันแท้จริง ธรรมชาติอันแท้จริง เรียกว่า ธรรมกาย กายแห่งธรรม ผู้ใดเห็นธรรมกายนี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง
ดังนั้น การเห็น อิทัปปัจจยตา คือ การเห็นพระพุทธเจ้า เพราะว่า อิทัปปัจจยตา นั้น คือ ธรรมกาย
เอ้า, ทีนี้เป็นข้อสำคัญสุดท้าย ที่ว่า ถ้าเราเห็นธรรมกาย เราก็มีพระพุทธเจ้าอยู่กับเรา เพราะเราเห็นธรรมกายอยู่ โดยประจักษ์ในความรู้สึก อยู่ในความรู้สึกของเรา ดังนั้น พระพุทธเจ้าก็อยู่กับเรา เราก็ไม่พูดแต่ปาก เหมือนคนทั้งหลาย พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ไม่รู้กี่พันครั้งแล้ว ก็ไม่เห็นมีพระพุทธเจ้าเลย เพราะว่า เขาไม่ได้เห็น อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ที่ครอบงำทั้งสิ่งทั้งปวงอยู่ แม้ในเนื้อ ในตัวของเขา
ฉะนั้นเมื่อเรามีการเห็น อิทัปปัจจยตา ในชีวิต ในร่างกายของเรา มันก็เท่ากับว่า เราเห็น พระพุทธเจ้า อยู่ในเลือดเนื้อ ร่างกาย ในชีวิตของเรา แล้วจะเอาอย่างไรกันอีก
แล้วเมื่อปฏิบัติถูกตามกฎอันนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นสรณะที่พึ่งของเราได้จริง ข้อที่ตรัสว่า จงมีตนเป็นที่พี่ง จงมีตนเป็นสรณะนั้น คือ มีธรรมะเป็นที่พึ่ง มีธรรมะเป็นสรณะ
ธรรมะ คำนี้ ก็คือ กฎของ อิทัปปัจจยตา ที่เรียกว่า เป็นธรรมกาย ของพระพุทธเจ้า เราก็เลยมีพระพุทธเจ้าจริง สำเร็จประโยชน์, สำเร็จประโยชน์ได้จริงตามที่จะได้รับจากพระพุทธเจ้า
มันกลายเป็นว่า มีพระพุทธเจ้าจริง เป็นสรณะ หรือ เป็นที่พึ่ง
จะเรียกว่า มีธรรมะเป็นสรณะ มีธรรมะเป็นที่พึ่งก็ได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้านั้นก็คือ ธรรมกาย
จะพูดว่า มีตนเป็นสรณะ มีตนเป็นที่พึ่งก็ได้ แต่เป็นตนอย่างนี้ ตนที่ตนทำเอาเอง เห็นได้เองว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่ในเรา ไม่ใช่ตน อาตมัน ของฝ่ายฮินดู ของฝ่ายลัทธิอุปนิษัท(นาทีที่ 51.57) เวียนว่ายอยู่ จนกว่าจะไปสู่ บรมอัตตา ไม่ใช่ตนนั้น อย่าเอามาปนกัน ตนนั้นของฝ่ายลัทธิอื่น นอกไปจากพุทธศาสนา
ตนนี้จะเป็นที่พึ่งแก่ตน คือ ตน เห็นพระพุทธเจ้าแท้จริง ที่เป็นตัวธรรมกาย ธรรมะนั้นแหละเป็นตน ในที่นี้ ที่ว่ามีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะนั้น คือ มีธรรมะเป็นที่พี่ง มีธรรมะเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
ข้อนี้เลยเป็นเรื่องจริงขึ้นมา เป็นความสำเร็จประโยชน์ขึ้นมา สมกับที่ว่าเป็นพุทธบริษัท เป็นพุทธบริษัท คือ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และก็ได้พบกับพุทธศาสนา และก็ได้รับประโยชน์จากพระศาสนา ไม่เสียทีที่เป็นพุทธบริษัท
ดังนั้น พุทธบริษัทจะต้องรู้สิ่งสำคัญที่สุด คือ อิทัปปัจจยตา ในปัจจุบัน เหมือนกับ มีพระพุทธเจ้า มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มาคุ้มครองอัตภาพร่างกายนี้ อยู่ตลอดเวลานั่นเอง ถ้าได้อย่างนี้ มัน, มันควรจะเห็นว่า หมด, หมดปัญหา หรือจบเรื่องกันที ใช่ไหมเล่า จะเอาอะไรดีกว่านี้ได้อีกอย่างไร มันไม่มีเสียแล้ว คือมันถึงสิ่งสูงสุดที่ควรจะได้ ควรจะถึง และก็ไม่มีความทุกข์เลย ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่อีกเลย เรื่องมันจบที่นั่น ขอให้เราพยายามสนใจเรื่องนี้
ผมจึง, จึงพูดว่า, ที่ให้หัวข้อการพูดในวันนี้ว่า อิทัปปัจจยตา ช่วยได้ กันอีกครั้ง ทั้งที่พูดมาแล้วหลายครั้งแล้ว ก็จะยังไม่พอ จึงขอโอกาสพูด อิทัปปัจจยตา อีกครั้ง มันจะอีกครั้ง อีกครั้ง อีกสักกี่ครั้ง ก็ไม่ทราบ ถ้ามองเห็นว่า ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เข้าถึง มันยังจะต้องอีกครั้ง อีกก็ได้ ก็คือ พูดย้ำ และขยายความ ให้ชัดขึ้น ชัดขึ้น คือให้การเห็นธรรมะ มันชัดขึ้น ยิ่งขึ้น แจ่มแจ้ง ยิ่งขึ้น เห็นมากขึ้น ก็เท่ากับว่า ขยายออกไป อยู่ในตัว เมื่อมันไม่พอ มันก็ช่วยอะไรไม่ได้ มันจะต้องทำให้พอ ด้วยการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง ที่เหมาะสม สำหรับจะเข้าถึง อิทัปปัจจยตา
จึงขอพูดย้ำ จากที่พูดมาแล้วครั้งก่อนๆ ว่า ไอ้การบวชนี้ เข้ามาบวช นี่เป็นโอกาส ที่จะได้ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำนั้นได้ง่ายขึ้น อย่างเช่นว่า จะถึง อิทัปปัจจยตา อย่างนี้ เราจะศึกษา เราจะปฏิบัติกัน ที่บ้าน ที่เรือนนั้น มันไม่สะดวก ไม่สะดวก ฉะนั้นจึงมาบวช เพื่อให้เกิดความสะดวก ได้แล้ว ถึงแล้ว จะกลับไปที่บ้าน ที่เรือน อีกก็ได้ มันก็จะใช้ประโยชน์ได้ ดีกว่า
เหมือนกับว่า ค้นวิชาหลักวิทยาศาสตร์ เขาก็ต้องไปค้นในห้องทดลอง ซึ่งมันสะดวก ไปค้นวิทยาศาสตร์ ทดลองวิทยาศาสตร์ ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ถึงเสร็จแล้ว มันก็ต้องเอาไปใช้นอกห้องวิทยาศาสตร์ ใช้ในที่ทั่วไป ไม่ว่าที่ไหน ที่มันต้องการ ไม่ใช่คนจะอยู่ในห้องวิทยาศาสตร์อยู่เรื่อยไป
ฉะนั้น บางเวลาเราก็เข้าห้องทดลองวิทยาศาสตร์ คือ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำสมาธิ ถ้าประสบผลสำเร็จแล้ว มันก็ออกไปใช้นอกห้องวิทยาศาสตร์ คือในโลกทั่วๆไป ให้ได้รู้ ได้เข้าใจกันทั่วๆไป
ดังนั้น จงได้พยายาม เข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์กันบ่อยๆ คือหาเวลาที่สงบสติ อารมณ์ เปิดห้องวิทยาศาสตร์ในภายใน เข้าไปค้นคว้าอยู่ที่นั่น โดยสมควรแก่เวลาอยู่บ่อยๆ ไม่ใช้เวลา สนุกสนาน เล่นหัว ซึ่งเป็นเรื่องไม่สำเร็จประโยชน์
ต้องมีเวลาที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ แล้วก็มองดู ไอ้สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ แล้วคำตอบก็จะออกมา แม้โดยกฎของ อิทัปปัจจยตา เอง คำตอบจะออกมา ปรากฏเป็นการตรัสรู้อย่างแจ่มแจ้ง โดยกฎของ อิทัปปัจจยตา เอง
หนึ่งชั่วโมงแล้ว พูดกว่า, พูดมากกว่านี้ พวกอัดเทปเขาไม่ยอม เขาหาว่า ผมทำให้เขาลำบาก นี่ก็ต้องจบเวลาหนึ่งชั่วโมงทุกที
คุณสังเกตดู ก็จะเห็นว่า ไอ้คำ, คำว่า อิทัปปัจจยตา มัน, ถูกเก็บซ่อนไว้ในพระไตรปิฎก อยู่ในตู้หนังสือ รกๆ ในพระไตรปิฎก ไม่เอามาพูดจากัน เพิ่งมีมาพูดจากัน เมื่อเราไปเอามา เหมือนกับปัดฝุ่น เอามาให้ใช้กัน พออ่านหนังสือเก่าๆดู หนังสือเก่าๆที่เขียนกันไว้เก่าๆ แต่งกันไว้เก่าๆ สอนกันไว้เก่าๆ ไม่มีคำว่า อิทัปปัจจยตา อย่างดีก็มีคำว่า ปฏิจสมุปบาท แต่ว่า น้อยมาก เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้ และก็ไม่ค่อยได้เอามาพูดกัน ถึงเรื่องว่า ปฏิจสมุปบาท ก็เลย ยังน้อยอยู่นั่นแหละ และคำว่า อิทัปปัจจยตา ดูจะไม่มีเลย เดี๋ยวนี้มันจำเป็นที่จะต้องใช้คำนี้แล้ว ใช้คำอื่นแทนมันไม่พอ มันไม่ตรง ถ้าใช้ให้เต็มยศ ก็ต้องใช้ว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจสมุปบาท พระพุทธเจ้าท่านก็ใช้คำนี้
อิทัปปัจจยตา ปฏิจสมุปบาท เขาใช้คำแทน, แทนกันว่า อนัตตา บ้าง ตถาตา บ้าง วิกัจจสตา (นาทีที่59:53) บ้าง อนัญญจสตา (นาทีที่ 59:55) บ้าง แทน อิทัปปัจจยตา
ความไม่มีตัวตน มีแต่กระแสปรุงแต่ง ตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่ากฎ อิทัปปัจจยตา ถ้าเหลียวไปทางไหน บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง เห็นแต่ไหลเรื่อยไป โดยกระแส อิทัปปัจจยตา นั่นแหละ คือเห็นธรรมะ คนนั้นเห็นธรรมะ เห็นพระพุทธเจ้า เห็นธรรมกาย เห็นสิ่งสูงสุด
เอ้า, ทำไมไม่ดับล่ะ
ฉะนั้น ที่เราเห็นมากกว่านี้ ชัดกว่านี้ จริงกว่านี้ เดี๋ยวนี้มันเป็นเพียงเงาๆ เพิ่งได้ฟังครั้งแรก เพิ่งเข้าใจครั้งแรก มันไม่เห็นชัด เหมือนกับว่าเข้าใจ อย่างแจ่มแจ้ง ชำนาญ ต้องไปทำให้มาก ต้องไปทำให้ชำนาญ มันวัดได้ ทด, สอบไล่ตัวเองได้ ถ้ายังยินดียินร้ายอยู่ แล้วยังไม่เห็น ถ้ายังเห็นอะไรเป็นของแปลกประหลาดอยู่ จะ, จะไม่เห็น ถึงแม้ว่าไอ้ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน เขาจะค้นพบอะไรออกมา เรา, เราก็ยังรู้สึกว่าแปลกประหลาดอยู่ ก็แปลว่า เรายังไม่เห็น อิทัปปัจจยตา ถ้าเห็นว่าการไปโลกพระจันทร์ได้ เป็นเรื่องเด็กเล่น นั่นคือเห็น อิทัปปัจจยตา