แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จากที่พูดกันมาหลายครั้งแล้ว ก็คงจะทำให้จับใจความได้ว่าธรรมะนี้มันก็เพื่อความไม่มีทุกข์ ความไม่มีทุกข์ คำว่าทุกข์นี้หมายถึงความที่ไม่สบายทุกชนิดน่ะ แม้จะนิดๆหนึ่งก็ยังคงเรียกว่าความทุกข์ แม้แต่ความไม่พอใจ กระสับกระส่ายนิดหนึ่ง หรือแม้แต่ความวิตกกังวล ความที่จิตมันไม่ ไม่เกลี้ยงเกลา มันมีห่วง หรือๆมีความรู้สึกไม่แน่ใจในความปลอดภัยหรือในความถูกต้อง บางทีมันก็น้อยมากจนเราไม่อยากจะสนใจ แล้วก็พากันไม่สนใจเสียก็ได้ เห็นเป็นเรื่องธรรมดาไปก็ได้ เพราะมันไม่น่ากลัว ทีนี้มันคำว่าดับทุกข์หรือไม่มีทุกข์นี่ นี่ขอให้มันมีความหมายให้กว้างพอที่ว่าจะไม่มีความทุกข์แม้ในระดับไหน คือมีจิตเกลี้ยงเกลา สงบเย็น เกลี้ยง แจ่มใส แจ่มใสหรือสดใส
บางคนก็จะคิดว่าไม่จำเป็นก็ได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีจิตใจเกลี้ยง สดใสหรือแจ่มใสถึงขนาดนั้น บางคนก็ไม่สนใจ ไม่ยอมเสียสละเพื่อจะศึกษาให้ละเอียดลออถึงขนาดนั้น นี่ขอให้คิดดูว่าๆมันก็เป็นได้ บางคนมันหมายความถึงเรื่องยากจน ไม่มีเงินใช้อย่างเพียงพอนั่นแหละเป็นส่วนใหญ่ เขามักจะสนใจแต่เรื่องนั้น แม้แต่จะทำบุญทำทานการกุศลนี่ก็ต้องการผลชนิดนั้น ให้มีเงินตะพึด ให้มีทรัพย์สมบัติ โชคดีก็เพื่อมีทรัพย์สมบัติ มีบุญก็คือมีทรัพย์สมบัติ อะไรก็ไปรวมอยู่ที่ทรัพย์สมบัติ นี่ก็เป็นมากแก่ผู้หญิง พูดแล้วคล้ายกับว่าจะดูถูกกับเพศหญิง หรือผู้หญิง หรือเพศของมารดา แต่ก็มันมีความจริงอย่างนั้นนี่ ลองไปคิดดู
ฉะนั้นความดับทุกข์ของเขาก็คือเงินน่ะ คือเงิน คือทรัพย์สมบัติปัจจัย ถ้าอย่างนี้แล้วเราก็คงจะพูดกันยากแหละ จะพูดเรื่องธรรมะเรื่องศาสนาที่แท้จริงและดับทุกข์จริงนี่ เราไปมองเห็นว่าแม้แต่กิเลสเกิดขึ้นก็ถือเป็นความทุกข์น่ารังเกียจ ไอ้คนที่มุ่งแต่เงินอาจจะไม่เห็นว่าเป็นความทุกข์หรือน่ารังเกียจน่ะ เขายอม ยอมล้มลุกคลุกคลาน ยอมอะไรกันไปกับกิเลส เขายินดีที่จะทน ทนการบีบคั้นของกิเลสนะ ขอแต่ให้ได้เงิน ถ้าอย่างนี้แล้วก็พูดกันลำบากแหละ ฉะนั้นขอให้สังเกตแล้วก็รู้ไว้ด้วยว่าที่จะ เราจะมาเรียนพุทธศาสนา ศึกษาธรรมะสำหรับดับทุกข์นั่นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าที่ประชาชนทั่วไปเขารู้สึกกันอยู่หรือที่เขาต้องการ
ธรรมะจึงแยกตัวเองมาออกเป็น ๒ ระดับ ตามที่ประชาชนธรรมดาหรือปุถุชนธรรมดาเขาต้องการมันก็ระดับหนึ่ง ตามที่ปัญญาชนชั้นละเอียด ชั้นสูง แล้วก็เป็นนักศึกษาทางจิตใจด้วยแล้วก็ยิ่งสูงไปอีกน่ะ นี่พวกนี้ต้องการมันก็อีกชั้นหนึ่ง เช่นพวกชั้นสูงนี่ต้องการสมาธิ ต้องการจิตที่สงบเย็นเป็นสมาธิ ไปอยู่ในสมาธิอย่างสงบเย็น แล้วสูงขึ้นไปจนถึงสงบเย็นด้วยอำนาจปัญญาด้วยวิปัสสนา แต่ชาวบ้านธรรมดาเขาไม่ได้ต้องการอย่างนี้หรอก เขาต้องการแต่จะให้ได้รับผลเป็นวัตถุ เป็นเงิน เป็นอย่างนี้ดี นี่ดีอยู่ที่ตรงนี้ จิตมันๆหยาบ หรือมันกระด้าง หรือมันต่ำน่ะ มองเห็นแต่เรื่องอย่างนี้
นี่คือความลำบากในการที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราไม่สามารถจะมีหลักที่ว่าจะสอนให้เขาหาเงิน ได้เงิน มีเงิน ลุ่มหลุง อ่า, ลุ่มหลงกันอยู่แต่กับเงินนี่มันๆก็ทำไม่ได้เหมือนกัน สอนเรื่องความมีจิตสงบเย็น แจ่มใส เป็นอิสระนี่ เขาก็ฟังๆไปอย่างนั้นน่ะ ไม่เข้าใจจนถึงอยากจะได้ อยากจะมี แล้วเราก็ไม่ได้มีแผนการจ้าจี้จ้ำไชจะเข็นคนชนิดนี้ขึ้นมา เพราะมันๆเข็นไม่ไหว เหะ อ่า, เข็นคนที่ต้องการเงินให้มาชอบจิตสะอาด สว่าง สงบ หรือนิพพานนี่ เหมือนกับที่เขาเคยเปรียบกันว่าชวนช้างหรือชวนอูฐรอดรูเข็ม ประมาณกันไว้ถึงขนาดนั้น ฉะนั้นเรื่องที่เราจะพูดกันนี้มันก็อยู่ในฝ่าย ฝ่ายสูงน่ะ ธรรมะฝ่ายสูง ฝ่ายละเอียดอ่อน ธรรมะในภาษาธรรมะน่ะ ไม่ใช่ธรรมะในภาษาคน
เรื่องจิตใจของคนนี่เขาแบ่งกันไว้เป็น ๒ ฝ่ายอย่างนี้ คือฝ่ายโลกียะกับฝ่ายโลกุตตระ และเห็นได้ว่าแบ่งกันมาก่อนพุทธกาลด้วยซ้ำไป จิตที่มันจมไปในโลกียะมันก็พวกหนึ่ง ที่โลกุตตระสูงกว่านั้นก็พวกหนึ่ง แม้ว่าเขาจะยังไม่รู้เรื่องโลกุตตระถึงที่สุด แต่เขาก็รู้กันแล้วว่ามันมีเรื่องอีกประเภทหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องโลกียะ เขาแบ่งจิตใจของคนฝ่ายโลกียะนี่ไว้เป็น ๓ ชั้นนะ ๓ เกรด ๓ ชั้น
พวกกามาวจร มีจิตใจจะยินดีได้แต่ในเรื่องกามคุณ กามารมณ์หรือกามคุณน่ะ มันไม่รู้จักที่จะยินดีให้สูงไปกว่านั้น ก็คือพวกที่ว่านี้ ว่ากามคุณ แล้วเงินนั่นน่ะคือปัจจัยของกามคุณ ฉะนั้นเขาจึงมุ่งไปที่เงิน ถือเงินเป็นไอ้สิ่งสูงสุดหรือเป็นไอ้ๆสารพัดประโยชน์ จะได้ยินไอ้คนพวกนี้เขาพูดกันว่าเงินเป็นแก้วสารพัดนึก เราๆไม่อาจจะเห็นด้วยกับเขา ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วมันจะดับทุกข์ได้ แต่เขาก็ถือว่ามีเงินแล้วมันดับทุกข์ได้เพราะว่าเขาต้องการความสุขชนิดที่หาได้ด้วยเงินเท่านั้นเอง ฉะนั้นเขาจึงคิดว่าเงินจะช่วยดับทุกข์ แล้วให้ได้ความสุขเต็มตามที่เขาต้องการ ทีนี้มันมีอยู่พวกหนึ่งในโลกจริงๆ ขอให้สนใจให้รู้จัก บางทีจะเป็นตัวเราเองก็ได้ บางทีจะเป็นไอ้ครอบครัวของเราก็ได้ เพื่อนฝูงมิตรสหายของเราก็ได้ นี่เขาเรียกว่ามันระดับหนึ่ง มันจะมากเสียด้วย มันมากเสียด้วย กามารมณ์เป็นสิ่งสูงสุด พวกเทวดาในชั้นกามาวจรมันก็เป็นอย่างนี้ พวกมนุษย์ก็เป็นอย่างนี้ ต่ำลงไปถึงสัตว์เดรัจฉานก็ๆๆๆอนุโลมตามนี้ ถ้ามันมีความรู้สึกขึ้นมามันก็สูงได้เพียงเท่านี้ แม้แต่สัตว์ที่เป็นทุคติ อยู่ในนรกในอบายในอะไรอยู่ก็มันก็ยังต้องการอย่างนี้อยู่น่ะ
ฉะนั้นเราจึงจะต้องมองเห็นไว้ว่ามันมีอยู่ระดับหนึ่ง เป็นโลกียะ จมอยู่ในโลก แล้วก็ระดับต่ำสุด ต่ำกว่านั้นไม่มี เขาพูดไว้เพียง ๓ ระดับคือ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ที่ต่ำสุดก็เป็นกามาวจร มันจะเป็นเรื่องทั่วไปทั้งโลก คือในหมู่ชนที่ไม่รู้เรื่องอะไรสูงกว่านั้นมันก็สูงแค่นั้นแหละ แค่กามคุณ ไอ้ที่พวกนักปราชญ์รุ่นหลังเขาพูดว่ามันสูงสุดอยู่แค่นั้น อะไรๆมันก็อยู่แค่นั้น คือแค่กามคุณ แค่กามารมณ์เท่านั้นเอง ก็เพราะมันไม่รู้เรื่องที่สูงกว่านั้น จึงถือเอาเรื่องกามารมณ์เป็นเรื่องทั้งหมดของมนุษย์ อะไรๆก็ไปขึ้นอยู่กับเรื่องกามารมณ์ มนุษย์มีชีวิตอยู่เพื่อกามารมณ์ มนุษย์บูชากามารมณ์ มนุษย์เป็นไปตามความต้องการทางกามารมณ์ แล้วก็เลยพูดผูกพันไปถึงไอ้ชั้นลึกลับ ชั้นใต้สำนึก ชั้นอะไรต่างๆ ก็ว่ามันเป็นเรื่องของกามารมณ์ ทีนี้มันก็ถูกแหละ มันก็ถูกที่สุดแหละ แต่มันถูกเฉพาะพวกนี้ พวกที่ว่าสัตว์ตามธรรมดาแล้วมีกามารมณ์เป็น เป็นทั้งหมด เป็นทั้งเหตุเป็นทั้งผล เป็นทั้งลักษณะอาการในปัจจุบัน มันก็เป็นธรรมชาติอย่างยิ่งนะ เพราะว่าสัตว์ที่มันเกิดมามันมีความรู้สึกตามธรรมชาติ แล้วก็ไปตามแนวนี้ทั้งนั้นน่ะ มันจะไปตามแนวเพื่อมีกามารมณ์สูงสุด ไปจบสูงสุดอยู่ที่นั่น เอากามารมณ์เป็นนิพพานกันเลย นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องดูให้เห็นด้วยเหมือนกันแหละ
อยากจะพูดรวบรัดประหยัดเวลา ก็จะพูดว่าสิ่งที่เรียกว่าความอร่อยนี่ ความอร่อยนี่เป็นตัวต้นตอของปัญหา แล้วก็สืบต่อปัญหาไว้ได้เรื่อย สืบต่อมีปัญหาอยู่เรื่อยตามแบบของชั้นนี้ ในชั้นที่บูชากามารมณ์เป็นนิพพานกัน มันเป็นธรรมชาติ เด็กทารกออกมาจากท้องแม่มันก็มาพบไอ้สิ่งอร่อย เมื่ออยู่ในท้องแม่นั้นมันไม่ๆมีความหมายเรื่องอร่อยหรือเรื่องไม่อร่อย มันมีความหมายแต่ว่าเลี้ยงให้เติบโต ให้เจริญ อิ่มอยู่แล้วก็เติบโตเจริญอยู่ ปัญหาเรื่องความอร่อยไม่มี แต่พอมันเกิดมาแล้ว เป็นเด็กแล้ว ทา เป็นเด็กนอกครรภ์แล้ว เจริญเติบโตอยู่แล้ว มันมาพบความอร่อย ซึ่งบางทีมันก็จะต้องเป็นเรื่องนมของแม่ หรือต่อมาก็มีอะไรที่มากไปกว่านั้น แล้วก็ล้วนแต่มีความหมายเป็นอร่อยทั้งนั้น ดูลูกหมาลูกแมวนี่ก็รู้
ทีนี้มันมีความอร่อยเพิ่มขึ้นทาง ไม่ใช่แต่ทาง ไม่ใช่แต่ทางกิน ทางลิ้น ทางปากอะไรอย่างเดียว มันมีทางตา ทางหู ทางจมูกเพิ่มเข้ามาอีก จนกระทั่งมาพบความอร่อยทางผิวหนัง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียด ละเอียดมากนะ อร่อยทางหู อร่อยทางตา อร่อยทางลิ้นก็ยังไม่ ไม่มีฤทธิ์เดชมากเท่ากับอร่อยทางผิวหนังคือสัมผัส พอมันรู้รสอร่อยสูงสุดคือเกี่ยวกับเพศน่ะ รสสูงสุดเกี่ยวกับเพศ มันมาอร่อยสูงสุดกันอยู่ที่นี่ เมื่อมาถึงระดับเพศ แล้วก็ทางโผฏฐัพพะ คือทางผิวหนัง ทางระบบประสาทที่รุนแรงทางผิวหนัง มันก็มาติดสูงสุดกันอยู่ที่นี่ จนเห็นว่าสัตว์ในชั้นกามาวจรภูมิมันก็บูชาแต่สิ่งเหล่านี้ อุตส่าห์เล่าเรียนให้ดีที่สุด หาเงินให้มากที่สุด แล้วก็เพื่อจะสมรสหรือแต่งงานในชั้นดีที่สุด ต่อแต่นั้นก็เพื่อลูกเพื่อหลานเพื่อเหลน เพื่อจะดีที่สุดในลักษณะเดียวกัน อะไรๆมันก็ไม่สูงสุดไปกว่านี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกมันว่าเป็นชั้นหนึ่งน่ะ เป็นชั้นหนึ่ง เป็นระดับหนึ่ง เป็นชั้นหนึ่ง เรียกว่าภูมิ ภูมิแปลว่าชั้นหรือระดับ คือชั้นที่มีกามเป็นสิ่งสูงสุด จิตของสัตว์พวกนี้ทั้งหมดมีแต่จะน้อมไปทางกาม ไปหากาม ท่านเปรียบว่าเหมือนกับปลาที่มันอยู่ในน้ำ มันคอยแต่จะลงน้ำเท่านั้นน่ะ มันจะไม่ขึ้นบกหรอก มันจะไม่ไถลแถกถลาขึ้นมาบนบก มันมีแต่แถกถลาลงน้ำ นี่จิตของสัตว์ประเภทกามาวจรมันมีแต่จะลงไปที่ๆน้ำ ก็คือกามคุณ
ผู้ที่มีอายุมากถึงขนาดนี้แล้วก็คงจะมองเห็นได้ รู้สึกได้จากตัวเองที่เคยผ่านมาแล้ว เมื่อยังเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นอะไรนั่น จิตใจมันคอยแต่จะลงสู่ไอ้ความหมายทางกามารมณ์ทางเพศ จนพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้เป็นหลักตอนต้นๆๆของพวกคัมภีร์อังคุตตรนิกายอะไรก็พูดเรื่องนี้ พูดเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี่ ทำให้มีรูปหรือเสียงหรือกลิ่นหรือรสหรืออะไรก็ทั้งหมดทั้ง ๖ อย่างแหละ ที่มันจะครอบงำจิตใจฝ่ายตรงกันข้ามมากเหมือนกับไอ้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มาจากฝ่ายตรงกันข้าม คือทางฝ่ายหญิงก็ครอบๆงำใจฝ่ายชาย ทางฝ่ายชายก็ครอบงำใจฝ่ายหญิง ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่านี้แหละ คือรูปทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก ไอ้รสทางลิ้น ไอ้สัมผัสทางผิวหนัง ความคิดนึกรู้สึกทางใจ ของเพศหรือที่มาจากเพศ เนื่องด้วยเพศตรงกันข้ามน่ะ จะครอบงำจิตใจเพศที่ตรงกันข้ามนั้นอย่างสูงสุด อันนี้เป็นข้อความในพระบาลีที่ท่านเขียนไว้ในพระบาลี แล้วก็มาดูเถอะมันจริงหรือไม่
แล้วก็อย่าลืมเสียว่ามันพึ่งมาตั้งต้นที่รู้จักความอร่อยนี่ เมื่อทารกยังไม่รู้จักความอร่อยปัญหาไม่มี พอเขาเริ่มรู้จักความอร่อยทางปากหรือทางอันอื่นๆก็ดี มันก็เริ่มยึดมั่น หลงใหล เห็นแต่ความอร่อยว่าเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับเรา ฉะนั้นเขาจึงร้องหาสิ่งนั้น ร้อง เรียกร้องหาสิ่งนั้น ซึ่งพ่อแม่ต้องหาให้จนได้ ถ้าหาให้ไม่ได้เขาก็ขโมยแหละ ฉะนั้นเขาจะขโมยเป็นตั้งแต่เมื่อเขารู้จักสิ่งที่เรียกว่าความอร่อย นี่ความอร่อยมันก็มีเสน่ห์ แต่แล้วมันก็มีพิษร้ายนี่ที่ทำให้สัตว์เหล่านั้นทำชั่ว ทำชั่วเพื่อเห็นแก่ความเอร็ดอร่อย
ถ้าว่าเราจะมีวัฒนธรรมหรือมีขนบธรรมเนียมสอนเด็กทารกลูกเล็กๆเรื่อยๆขึ้นมานี่ อย่าให้เขาบูชาความเอร็ดอร่อยได้แล้วก็จะดี เขาจะบังคับตัวบังคับกิเลสได้ แล้วก็ไม่ทำผิดอย่างที่ว่า แต่เดี๋ยวนี้มันตรงกันข้ามนี่ บิดามารดาจะส่งเสริมให้ลูกได้รับความพอใจเอร็ดอร่อยเต็มกำลังของพ่อแม่เหมือนกัน มันก็คล้ายๆๆกับว่าจับลูกใส่ลงไปในความอร่อยด้วยความหวังดี แต่มันก็เท่ากับหวังร้ายแหละเพราะลูกมันจะหลงในความอร่อย มันจะเรียกร้องความอร่อย ถ้ามันไม่ได้มันก็จะต้องทำทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทีนี้ต่อมามันถึงขนาดเพศ มีความหมายทางเพศ เมื่อเด็กเหล่านั้นเติบโตๆขึ้นมาจะรู้สึกความหมายทางเพศ ไอ้ความอร่อยทางเพศน่ะมันๆมากกว่าไอ้ความอร่อยทางไอ้ธรรมดานะ มากนักนี่จะมีปัญหา ฉะนั้นจึงมีปัญหาแก่บิดามารดา หรือแก่ครูบาอาจารย์ กระทั่งแก่สังคมทั่วไป ซึ่งคนเหล่านั้นเขาบูชาความอร่อย เอร็ดอร่อยทางเพศ จนทำผิดศีลธรรม ทำทะลุขนบธรรมเนียมประเพณี ชิงสุกก่อนห่ามอะไรยุ่งกันไปหมด เพราะว่าบิดาทำ บิดามารดาทำผิดตั้งแต่สนับสนุนให้เด็กเขาบูชาความอร่อย ถือความเอร็ดอร่อยเป็นสิ่งสูงสุดน่ะ นี่น่าจะรู้กันไว้ แม้เราจะทำไม่ได้เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะบัญญัติอะไรต่างๆ บังคับอะไรต่างๆได้ เราก็ทำได้ในวงที่ว่าเป็นลูกหลานของเรา ให้เขามีธรรมะในพระพุทธศาสนามาเสียแต่เล็ก มันคงไม่ง่ายนักหรอก แต่มันก็ต้องได้ผลบ้าง คือให้รู้อำนาจของความเอร็ดอร่อยนี่ ให้ได้รับ ให้เห็นโทษของการหลงในความเอร็ดอร่อย จนเขารู้จักไอ้ความเอร็ดอร่อยที่เขาหลงนี่ว่ามันเป็นเพียงความหลง
ให้เขาเรียนวิทยาศาสตร์ทางวิญญาณนะ ว่าความเอร็ดอร่อยนั้นมันก็ไม่มากอะไร วิเศษอะไรไปกว่าความรู้สึกของระบบประสาทตามธรรมชาติของสัตว์ธรรมดาสามัญทั่วไป ถ้ามันมีสิ่งที่มาปลุกเร้าระบบประสาทตามธรรมชาติให้รู้สึกสูงสุดในส่วนนั้นๆ มันก็หลงกันไปว่าความอร่อยที่สุด ที่จริงมันก็ตามธรรมชาติ ของตามธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ถ้าเราไปหลงมัน มันจะทำอะไรให้แก่เราบ้างนี้ก็ เด็กๆก็ควรจะเข้าใจได้ เราไม่หลงมัน ไม่บูชามัน ไม่ไปเป็นทาสของมัน เราจะได้รับอะไรบ้าง หิวอาหารตามปรกตินั้นน่ะ เด็กก็จะรู้จักได้ แล้วหิวความเอร็ดอร่อยของอร่อยซึ่งไม่ใช่ตามปกตินั้นมันคนละเรื่องกัน มันคนละเรื่องกัน กระทั่งต่อมาเขาไปหาความเอร็ดอร่อยทางยาเสพติดอย่างนี้ มันเป็นความเอร็ดอร่อยที่หลอกลวงที่สุด แล้วก็อันตรายที่สุด ฉะนั้นเราอย่าหลงความเอร็ดอร่อยกันเลย
ไอ้ธรรมะที่มันสูงเกินไปก็คงเข้าใจไม่ได้ ไอ้ธรรมะพอจะมองเห็นว่าไอ้ความเอร็ดอร่อยนี่ชักจูงเราไปให้ทำชั่วก็ได้ หรือเมื่อมันยังไม่ได้มามันก็ทรมานใจเรา เราก็เป็นทุกข์หรือว่าเป็นทาสของมัน แล้วเราก็จะทำไอ้ที่ไม่ควรจะทำ เช่นขโมยเงิน ขโมยของอะไร แม้ของพ่อแม่ ไปซื้อหาความเอร็ดอร่อย แล้วมันไม่ใช่จะได้ไปเสียทุกที ไม่ได้เมื่อไรมันก็ทรมานใจเมื่อนั้น เราอย่าไปหลงกับเรื่องสิ่งไอ้ที่เรียกว่าอร่อยหรือความอร่อยกันนัก
ในการที่จะมีประโยชน์นั่นน่ะ มันไม่ๆจำเป็นจะต้องอร่อยหรอก สิ่งที่จะมีประโยชน์แก่ชีวิต ร่างกายหรืออะไรก็ตาม มันไม่จำเป็นจะต้องอร่อย แม้ไม่อร่อยมันก็สำเร็จประโยชน์ที่จะเลี้ยงชีวิตร่างกายแล้วมันก็ไม่แพง เพราะสิ่งที่เรียกว่าอร่อยนั้นมันมีคนต้องการมาก เพราะฉะนั้นต้องแพง ทีนี้เราจะต้องลำบากมากนัก เอาตามปรกติที่จะมีชีวิตสะดวกสบายอยู่ได้ แล้วเงินสตางค์ก็จะเหลือใช้อย่างนี้ ปัญหาสังคมก็จะลดลง
เดี๋ยวนี้เด็กวัยรุ่นโดยมากเขาไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนเรื่องธรรมะน่ะ เขาไปเอาแต่ความเอร็ดอร่อยก็ทำให้ศีลธรรมของสังคมเสียไป ระดับสูงสุดก็กลายเป็นอันธพาล ปล้น จี้ อย่างที่กำลังมีอยู่ในโลกเวลานี้ หรือในเมืองหลวงของเราก็เต็มไปด้วยอันธพาลปล้นจี้ คนเหล่านี้บูชาความเอร็ดอร่อยทั้งนั้น สูงจากเอร็ดอร่อยธรรมดาแล้วก็ไปสู่อร่อยสูงสุด แล้วสูงไปอีกก็เป็นเรื่องเสพติด เป็นเรื่องยาเสพติด เพราะว่าอวัยวะสำหรับรับความเอร็ดอร่อยของเขาได้เสียไปหมดแล้ว เขาต้องเอาไอ้สิ่งเสพติดที่รุนแรงน่ะมากระตุ้นประสาทของเขาให้รู้สึกว่าอร่อย ฉะนั้นเรื่องกามารมณ์ก็อาจจะดึงดูดใจน้อยกว่าเรื่องยาเสพติด
หนังสือพิมพ์หรือเมื่อวานนี้มันมีข่าวที่น่าสนใจว่า ไอ้ผู้ชายคนนั้นบังคับภรรยาของเขาให้ไปเป็นโสเภณีหาเงินมาให้เขาซื้อยาเสพติด เดี๋ยวนี้ไอ้ยาเสพติดกลายเป็นยิ่งกว่ากามารมณ์ไปแล้วสำหรับคนนั้น เพราะว่าระบบประสาทของเขามันเลื่อน มันเลื่อนชั้นเตลิดเปิดเปิงไปแล้ว แต่มันก็ยังมีความหมายของคำว่าอร่อยอยู่นั่นเอง ชั้นธรรมดา ชั้นกามารมณ์ แล้วก็ชั้นเป็นสิ่งเสพติด ถ้าเราไม่ได้รับการอบรมดี แวดล้อมดี เราก็อยู่ในพวกนั้นเป็นแน่นอนแหละ เดี๋ยวนี้เรามีบิดามารดาที่ดีควบคุมไว้ได้เป็นส่วนมาก เราจึงอยู่ในสภาพอย่างนี้
นี่สัตว์ชั้นกามาวจรมีกามารมณ์เป็นสิ่งสูงสุดของเขา คำว่าสิ่งสูงสุดนี่มันแล้วแต่ความรู้สึกของคนนะ ไม่ใช่ว่าจะเหมือนกันไปทุกคนหรือทุกระดับชั้น สิ่งสูงสุดของคนระดับนี้มันก็เป็นอย่างนี้ สิ่งสูงสุดของคนอีกระดับหนึ่งก็เป็นอย่างอื่น อีกระดับหนึ่งก็เป็นอย่างอื่น กระทั่งไปสูงสุดอยู่ที่นิพพานน่ะ พระนิพพานเป็นสิ่งสูงสุด แต่ว่าพระนิพพานจะเป็นสิ่งสูงสุดของคนระดับกามาวจรไม่ได้หรอก นี่คนปุถุชนธรรมดาสามัญ แล้วในโลกมันก็มีแต่จิตใจระดับนี้ เขาจึงไม่ต้องการนิพพาน เพราะเขามึนเมาอยู่แต่เรื่องไอ้สิ่งสูงสุดระดับนี้ พอพูดถึงเรื่องนิพพานเขาไม่เข้าใจหรอก จะพูดว่าบริสุทธิ์นี้เขาก็สั่นหัวแหละ เว้นไว้แต่ไปทำให้เขาเข้าใจว่าไอ้เรื่องนิพพานน่ะคือกามารมณ์สูงสุด นั่นน่ะเขาจึงจะเอา หรือว่ากา อ่า, ว่านิพพานนั้นน่ะมีรสยิ่งกว่าเฮโรอีนสิบเท่านี่ นี่เขาจะเอา
นี่เรื่องชั้นภูมิแห่งจิตใจของมนุษย์เกี่ยวกับความทุกข์หรือความดับทุกข์ ฉะนั้นคำว่าดับทุกข์ตามความหมายของพระนิพพานน่ะมันเอามาใช้แก่คนชนิดนี้ไม่ได้นะ มองดูให้ดี มันเอามาใช้กันไม่ได้ เพราะเขามันดื่มด่ำอยู่ในเรื่องของความอร่อย แล้วก็เป็นระดับกามาวจร ฉะนั้นชวนไปนิพพาน มันก็เหมือนกับชวนอูฐหรือช้างรอดรูเข็มน่ะเขาจึงว่าอย่างนั้น
ทีนี้มนุษย์ต่อ อ่า, ที่สูงขึ้นมาเขาค้นพบว่าความอร่อยที่สูงกว่ากามารมณ์น่ะมันก็มี เพราะคนพวกนี้มันไม่โง่ ไม่ลุ่มหลงกามารมณ์เพียงอย่างหลับหูหลับตา มันหลงไปพักเดียวมันๆพบว่า โอ้ว, ยุ่งยากมาก ยุ่งยากมาก วุ่นวายมาก วุ่นวายมาก จนออกปากว่าวุ่นวายหนอ วุ่นวายหนอแล้ว แล้วไปหาไอ้สิ่งอื่น ไปอยู่ป่า ไปบวชเป็นฤๅษีเป็นมุนีกันมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาลนู่น ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดก็มีคนชนิดนี้ ออกไปป่าไปหาวิธีปลุกปล้ำกันกับจิตใจ จนทรมานจิตใจ อยู่เหนือความอร่อยทางกามารมณ์ ความอร่อยทางกามารมณ์ไม่ครอบงำจิตใจของเขาแล้ว อย่างในบาลีว่า วิจเจ ไอ้ วิวิจเจหิ กาเมหิ น่ะ วิวิจจะ กาเมหิ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สงัดจากกามอกุศลนั่น ไปพบความสงบแห่งจิตใจที่ไม่มีกามารมณ์รบกวน ที่ไม่มีบาป ไม่มีอกุศลใดๆรบกวน จิตใจหยุดเงียบสงบลงไปในลักษณะที่เรียกกันว่าเป็นฌาน เป็นสมาธินั่นน่ะ เขาเกิดพบความเอร็ดอร่อยอย่างนี้ ก็เลยเอาชนะความเอร็ดอร่อยทางกามารมณ์ได้
ไอ้คนพวกนี้ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ ฤๅษีมุนีที่พบความอร่อยทางจิตชนิดที่เป็นฌาน เป็นสมาธิ กระทั่งเป็นสมาบัตินั่น ถ้าสักว่าเป็นน่ะเขาเรียกว่าสมาธิ ถ้าอยู่นาน อบกันอยู่นาน เขาเรียกว่าสมาบัติ มันก็มีสมาบัติ เข้าสู่สมาบัติของปฐมฌาน ทุติยฌานอะไรก็ตาม ที่จิตใจว่างจากการรบกวนของกามคุณ ของบาป ของอกุศลต่างๆ นี่ก็เรียกว่าชั้นรูปาวจร ถ้าเขาใช้สิ่งที่มีรูปน่ะเป็นอารมณ์ของสมาธิ แล้วก็จะเรียกว่าอรูปาวจร ถ้าเขาใช้สิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ของสมาธิ พวกนี้มีอยู่เป็น ๒ ชั้นอีกเหมือนกัน ชั้นที่มีรูป มีสิ่งที่มีรูปเอามาเป็นอารมณ์ ก็ได้สมาธิชนิดที่มีรูปเป็นอารมณ์ ยังหยาบกว่าชนิดที่เอาสิ่งที่ไม่มีรูปมาเป็นอารมณ์ รายละเอียดเรื่องนี้ก็ไปหาดูเอาเอง อ่านได้เอง
เอาสิ่งที่มีรูป เห็นทางตา เช่นดวงกสิณ เอาซากศพ เอา กระทั่งเอาไอ้ลมหายใจนี้ก็ ก็เขาเรียกว่าเป็นพวกรูปเหมือนกันน่ะ มีรูป เป็นรูปธรรม ก็ได้สมาธิในระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ก็มีความสุขแบบนี้ชั้นนี้
ถ้าเขาอยากจะเลื่อนขึ้นไปอีกให้มันละเอียดกว่านั้น เขาก็ไปเอาสิ่งที่ไม่มีรูป เช่นเอาอากาศ ความว่าง หรือเอาสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่นวิญญาณเป็นอารมณ์ หรือเอาความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ คือไม่เอาสิ่งที่มีรูปเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่าอรูปฌะ อ่า, อรูปะ อ่า, อรูปสมาธิ อรูปสมาบัติ มีคำว่าอรูปนำอยู่ข้างหน้า
สองชั้นนี้เพราะไม่มีกาม ไม่มีกาม เขาก็ไม่เรียกว่ากามาวจร แต่ไปเรียกว่ารูปาวจร จนถึงอรูปาวจร เป็นเทวดาชั้นพรหม เทวดาชั้นกามาวจรคือเทวดาธรรมดาอยู่ในสวรรค์วิมาน ขลุกกันอยู่แต่เรื่องกามารมณ์ ส่วนเทวดาชั้นพรหมนี้ไม่มีเรื่องกามารมณ์ แล้วที่ ที่จริงเขากล่าวไว้นะไม่มีเพศหญิงเพศชายเสียด้วย มันก็เลยทำกามารมณ์ไม่ได้ คือมันไม่มีความรู้สึกเป็นเพศหญิงหรือเป็นเพศชายนั่นแหละ มันเป็นเรื่องสำคัญนะที่จะให้อยู่เหนือเพศ หรือไม่มีเพศหญิงเพศชาย ถ้ามันมีความรู้สึกเป็นหญิงเป็นชายมันก็เป็นพรหมไม่ได้ มันก็เป็นเทวดาธรรมดาได้ เทวดาชั้นกามาวจรน่ะ
ฉะนั้นผู้ที่เป็นฤๅษีมุนีชั้นสูงสุดมันก็ไปพบสมาธิสมาบัติประเภทที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร มันกลับอร่อยที่ประณีตกว่า ยังมีความอร่อยอยู่นั่นแหละ แต่มันประณีตกว่า มันละเอียดกว่า มันไม่อร่อยอย่างซาบซ่านซู่ซ่าเหมือนเรื่องกามารมณ์ มันเป็นความสุขเป็นความเอร็ดอร่อยที่ละเอียดอ่อน ซึ่งเมื่อเข้าไปถึงนั่นแล้วหรือเข้าไปในเขตนั้นแล้วถอยยาก ชั้นกามารมณ์ยังหยาบกว่า ยังถอยได้มะ อ่า, ถอยหลังได้ง่ายกว่า ชั้นที่เป็นอรูป อ่า, เป็นรูป เป็นอรูป คือชั้นพรหมนั่นแหละ ถอยกลับได้ยากกว่า คือจะพอใจหลงใหลกว่า ฉะนั้นชั้น ชั้นพรหมนี่เขาจึงพูดไว้ว่ามันกลัวตายมากกว่าชั้นไหนหมด เพราะเขาได้ดีที่สุด ประณีตที่สุด ละเอียดที่สุดในเรื่องของความอร่อย เขาจึงกลัวตายมากกว่าไอ้ชั้นต่ำๆลงมา คือชั้นเทวดาธรรมดาหรือชั้นมนุษย์นี่ เพราะเขาพบความเอร็ดอร่อยที่ ที่หยาบๆง่ายๆบ้าๆบอๆอะไรตามประสาโลก ฉะนั้นมันๆก็ถอยได้ง่ายแหละ หรือความอยากความหลงในสิ่งนั้นมันก็มีไม่มากเหมือนชั้นนู้นแหละ ฉะนั้นความอยากอยู่ ไม่อยากตาย มันก็น้อยกว่าไอ้ชั้น ชั้นที่ได้ชั้นดีชั้นเลิศนั่น นี่มันน่าหัวนะที่ในพระบาลีเขามีพูดถึง ทำให้สังเกตได้ว่าชั้นพรหมนั้นมันกลัวตายที่สุด เพราะว่ามันได้สิ่งที่ประเสริฐที่สุดในทางไอ้รสของความอร่อย
ดังนั้นเขาจึงกล่าวอายุของเทวดาชั้นพรหมน่ะว่ามีนาน อายุยาวมากกว่าเทวดาธรรมดา แล้วเทวดาธรรมดานี้ก็มีอายุยาวมากกว่ามนุษย์นั่น คือว่ายิ่งได้พบความอร่อยเท่าไร มันก็อยากจะไม่ตาย อยากจะอยู่กับความอร่อยมากเข้าเท่านั้น เมื่อความอร่อยมันสูงสุดมันก็อยากอยู่นาน เช่นเขาบัญญัติว่ามนุษย์มีอายุร้อยปี เทวดาในสวรรค์มีอายุเป็นพันปีหมื่นปี ชั้นพรหมมีอายุเป็นกัปป์ๆไปเลย นี่ค่าของความอร่อยนี่ระวังเถอะ มันมีมากเท่าไรมันก็ดึงดูดใจมากเท่านั้น เมื่อเราเป็นสุขมากเราก็ยิ่งไม่อยากตายมาก นี่เรื่องของความหลงใหลในสิ่งที่เรียกว่าความสุขหรือความเอร็ดอร่อย
พวกเทวดาในสวรรค์เขาก็หลงไปตามแบบเทวดาในสวรรค์ เทวดาชั้นพรหมก็หลงไปตามแบบของเทวดาชั้นพรหม แต่เพราะติดอยู่ในความอร่อยชนิดนี้จึงไม่รู้รสของความอร่อยสูงสุด จนหมด จนเหนือความอร่อยนั่นแหละคือพระนิพพาน เทวดาเหล่านั้นก็ไม่ชอบนิพพานเหมือนกันน่ะ ต้องพูดกันมากเหมือนกัน มันจะดึงไอ้เทวดาเหล่านั้นหรือพรหมเหล่านั้นไปหานิพพาน มันก็ยังเป็นไอ้จูงอูฐรอดรูเข็มอยู่นั่นแหละ เป็นชวนอูฐรอดรูเข็มอยู่นั่นแหละ เพราะเขาพอใจ เขาไอ้ยินดีพอใจในไอ้ความอร่อยตามแบบของเขาสูงสุด ละเอียดที่สุด ประณีตที่สุด ผูกมัดจิตใจที่สุด ดังนั้นทั้ง ๓ ภูมินี้จึงเรียกว่าโลกียะทั้งนั้นแหละ เทวดา มนุษย์ เทวดา กามาวจรภูมิ แล้วพรหม ๒ ชั้นที่เรียกว่ารูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ ก็ยังเป็นโลกียะ ยังหลงอยู่ในความอร่อยด้วยกัน
ที่ว่าสูงไปจากนี้ มันก็เป็นเรื่องของพระอริยะโน่น เป็นโลกุตตระ เป็นเรื่องของพระอริยเจ้า ไม่หลง เริ่มไม่หลงในความอร่อย เริ่มถอนตนออกมาได้จากความอร่อย รสของความอร่อย ถอนได้มากเท่าไรกิเลสมันก็น้อยลงไปเท่านั้น กิเลสน้อยๆๆๆไปจนไม่มีกิเลสนั่น จึงจะเป็นเรียกว่ามันบรร อ่า, เป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่มีความหมายแห่งความอร่อยในเรื่องมรรคผลนิพพาน ฉะนั้นความทุกข์มันก็แตกต่างกันมาก ไอ้ความดับทุกข์มันก็แตกต่างกันมาก เพราะว่าไอ้ตัวแห่งความทุกข์มันแตกต่างกันมาก ดูเถอะ สังเกตดูเอาเองว่าไอ้ ไอ้ตามธรรมชาติอันๆเร้นลับน่ะ อันๆ จะว่าลึกลับก็ได้ แต่มันฟังยาก อันเร้นลับหรือลึกซึ้งมันมีอยู่อย่างนี้นะ เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์น่ะ
เราเป็นมนุษย์ธรรมดามันก็เป็นพวกกามาวจร กามารมณ์เป็นสิ่งสูงสุด ถ้าว่าเป็นเหนือขึ้นไปก็เป็นรูปาวจร กามารมณ์ไม่มีความหมาย แต่มันมีความสุขที่ไม่มีกามารมณ์นั่นแหละเป็นความหมายขึ้นมา สุขเกิดจากสมาธิน่ะ สุขเกิดจากสมาธิ จนกระทั่งอันสุดท้ายมันๆๆก็สุขเกิดจากอุเบกขา เป็นรสอร่อยที่มันเทียบกันไม่ได้หรอกกับเรื่องไอ้กามารมณ์ที่เขาเรียกว่ามันเปียกแฉะ เลอะเทอะ สกปรก เหมือนกับเปือกตมนี่ เรื่องกามารมณ์ ส่วนความสุขทางสมาธิ ทางสมาบัติของพวกรูปาวจร อรูปาวจรนั้นไม่เป็นอย่างนั้น สูงไปกว่านั้น ไม่สกปรกเฉอะแฉะเหมือนเปือกตม
นี่มนุษย์เคยค้นพบความรู้ ๓ ชั้นนี้ หรือความสุข ๓ ชั้นนี้มาแล้วตั้งแต่ก่อนครั้ง ก่อนพุทธกาล ก่อนพุทธกาล ที่ปันเช้น เป็นชั้นสูงสุดของไอ้ประเภทนี้ก็เช่น อุทกดาบส รามบุตร อาจารย์คนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าไปขอศึกษาด้วย จบแล้วไม่พอพระทัย ทิ้งไปหาของพระองค์เองจนพบเรื่องโลกุตตระนี่ นี่มนุษย์มันก้าวหน้าทางจิตใจไม่ใช่เล่นนะ มากันแล้วถึงขนาดนี้ตั้งเรียกว่าหลายพันปีมาแหละ หรืออย่างน้อยก็สองพันปี สองพันสามพันปีก่อนพระพุทธ ก่อนพุทธกาลน่ะเขาพบไอ้ความสุขชนิดนี้กันแล้ว แต่มันไม่จบแห่งความอร่อย มันไม่จบแห่งอัสสาทะ คือเสน่ห์หรือความอร่อยอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานคือความยึดถือ ฉะนั้นจึงยึดถือไอ้ความสุขชนิดนั้นแล้วก็มีความทุกข์ละเอียด ละเอียดอ่อนลงไปเท่ากับที่ว่าไอ้ความสุขนั้นมันละเอียดอ่อน คือความอร่อยนั้นมันละเอียดอ่อนลงไปเท่าไร ไอ้ความยึดถือมันก็ละเอียดอ่อนลงไปเท่านั้น ยิ่งละเอียดอ่อนเท่าไรมันก็ยิ่งละยากเท่านั้นแหละ ละกิเลสชั้นสุดท้ายที่จะเป็นพระอริยเจ้ามันจึงละยาก มันเป็นเรื่องของไอ้ความหลง เป็นเรื่องของไอ้ความเข้าใจผิดอันสุดท้ายน่ะ อันสุดท้ายนั่น
ทีนี้ที่เขาพูดมันเป็นพรหมโลก อยู่กันคนละโลก มีเทวโลกสำหรับพวกกามาวจร มีพรหมโลกสำหรับพวกพรหมนั้น เราไม่ต้องสนใจก็ได้ เพราะเขาพูดสำหรับคนสมัยนู้นซึ่งเข้าใจง่ายสำหรับคนสมัยนู้น ส่วนคนสมัยวิทยาศาสตร์นี้ไม่ต้องพูดอย่างนั้นก็ได้ ไม่ต้องเอาโลกเทวโลกไปไว้ที่ๆไหน เอาโลกพรหมโลกไปไว้ที่ไหน แล้วตายแล้วจึงไป แล้วไปอยู่กันนานๆนั้นไม่ต้องๆ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิเสธว่ามีหรือไม่มี เราไม่วิพากษ์วิจารณ์หรอกเพราะว่าคำพูดนี้ไม่เหมาะๆสำหรับเรา ที่สำหรับเราเดี๋ยวนี้ก็คือว่ารู้ไอ้เรื่องความอร่อยทางกาม กับความอร่อยชั้นรูปะ รูปาวจร แล้วก็ความอร่อยชั้นอรูปาวจร ซึ่งมนุษย์คนเดียวนี่สามารถทำได้ทั้ง ๓ ชนิด แล้วถ้าเบื่อก็ยังมีหวังว่ามนุษย์คนนั้นแหละมันจะข้ามขึ้นไปเหนือโลกุตตระ อ่า, เหนือๆโล โลกียะไปสู่โลกุตตระ เป็นพระอริยเจ้าและนิพพานได้ มนุษย์คนเดียวนี้อาจจะกระโดดข้ามไปเรื่อยๆๆจนถึงนิพพานได้ก่อนตาย
ที่เขาพูดว่าต่อตายแล้วจึงจะได้ แล้วไปอยู่กันนานๆนั้นตามใจเขา เราไม่ต้องการไอ้เรื่องชนิดนั้น เพราะเราต้องการกันที่นี่และเดี๋ยวนี้ เพราะว่าไอ้ธรรมะแท้จริงของพระพุทธเจ้าต้องเป็น สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ ฉะนั้นเราเอากันที่ในความรู้สึกที่อาจจะรู้สึกได้ที่นี่ มันก็ตั้งต้นศึกษามา สังเกตมา ให้มองเห็นไอ้ความอร่อยที่เคยผ่านมาแล้ว แล้วก็เทียบเคียงสำหรับที่มันดีกว่ายิ่งๆขึ้นไป จนเห็นว่าทุก อ่า, ทุกชะ ชั้นน่ะ ทุกชนิด ทุกชั้นน่ะมันก็ไม่ ไม่เท่าไรหรอก มันเช่นนั้นเอง มันเช่นนั้นเอง อยากจะขึ้นไปเหนือนั้น คือเหนือความรู้สึกว่าอร่อย
ถ้าอร่อยมันก็มีอยู่ ๓ ชั้นนี่แหละ ชั้นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร หมด สุดแล้ว อร่อยกันไม่มี ไม่ไหวอีกแล้ว ก็ข้ามขึ้นไปพ้นความหมายแห่งความอร่อย จะเป็นโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ไปทางนู้น ไม่มีความอร่อยอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือนั่นแหละคือตัวจริงของมัน ฉะนั้นจึงไม่มีความยึดถือ จึงหลุดพ้น จึงไปเป็นดับทุกข์สิ้นเชิง ดับทุกข์โดยแท้จริง ไม่เนื่องด้วยความอร่อย
ที่พูดนี้ก็หมายความว่า ขอให้ทุกคนรู้จักสิ่งที่เรียกว่าความอร่อยน่ะ มันมีโทษ มีฤทธิ์มีเดชทำให้คนในบ้านเมืองนี้เดี๋ยวนี้อยู่กันอย่าง อย่างเบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนผู้อื่นเลย แล้วมันยังดันดึงเอาไว้ไม่ให้ไปพรหมโลก ไม่ให้ไปชั้นสูงกว่านั้น ไม่ต้องพูดถึงนิพพาน มองเห็นความอร่อยตามลำดับๆได้แม้ด้วยการคำนวณก็จะมีประโยชน์อยู่แล้ว ถ้าไม่เพียงการคำนวณก็ทำให้มันได้สิ ทำสมาธิให้ได้เป็นลำดับๆไป ในที่สุดมันก็จะ โอ้, แค่นี้เอง หรือเท่านี้เอง ไม่ดับทุกข์สิ้นเชิงมันก็ไปต่อไป ทีนี้จะๆขึ้นๆไปจากโลก ขึ้นๆไปเหนือโลก จากโลกซึ่งไม่มีเรื่องของความอร่อยแล้ว คือมันลดความยึดมั่นถือมั่น ลดความยึดถือด้วยอุปาทานลง ลดลงๆๆ จะเรียกว่าคนละโลกก็ไม่ได้เพราะมันไม่ใช่โลก มันเหนือโลก จึงต้องเป็น ต้องเรียกว่า โลกุตตระ คือเหนือโลก ถ้ามันเป็นโลกียะ มันแปลว่าเกี่ยวข้องอยู่กับโลก ก็คือความอร่อย ๓ ประเภทนั้นแหละในโลกมันมี
ทีนี้มันก็มารู้เรื่องนี้ แล้วมันก็จะ เขาเรียกว่ามันจะเบื่อหน่ายหรือว่ามันจะไม่หลงใหลในความอร่อยอีกต่อไป ก็มีจิตใจชนิดที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของความอร่อย ไม่มีความอร่อยชนิดไหนจะครอบงำจิตใจนั้นได้ หรือปรุงแต่งจิตใจชนิดนั้นได้ ในบาลีเรียกว่าจิตนี้ วิสังขาระคะตัง ถึงแล้วซึ่งความเป็นวิสังขาร ไอ้บทสวดมนต์ตอน เอ่อ, อะไร ปฐมพุทโธวาทน่ะก็มีที่คุณสวดกันอยู่ทุกวันน่ะ วิสังขาระ จิตตัง วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา คือบทนั้นน่ะ มันเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งวิสังขาร ไม่มีความอร่อยใดๆไปปรุงแต่งจิตนั้นได้อีกเพราะว่ามันถึงวิสังขารเสียแล้ว วิสังขารคือความที่ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่มีความเอร็ดอร่อยชนิดไหนไปปรุงแต่งมันได้ จิตชนิดนั้นน่ะ มันเป็นจิตที่หลุดพ้นไป
ก็พูดตัดบทได้เลยว่าไอ้คนในโลกนี้ นั่งอยู่ที่ในโลกนี้ มันมีจิตชนิดที่ความอร่อยชนิดไหนปรุงแต่งจิตมันไม่ได้ ไม่ไปทำให้จิตนั้นมาพอใจได้อีก เรียกว่าเป็นเหนือโลก เป็นโลกุตตระและเหนือโลก ถ้าความเอร็ดอร่อยชนิดใดๆก็ตามยังปรุงแต่งจิตนั้นได้ จิตนั้นยังไม่เหนือโลก แม้ว่าจะอยู่สูง ในระดับสูงของโลกก็มันไม่ใช่เหนือโลก มันก็ไปอยู่ชั้นรูปาวจร อรูปาวจรเท่านั้นเอง
ฉะนั้นคำว่าความอร่อยนี้มันมีปัญหา หรือว่าเป็นสิ่งที่เป็นตัวปัญหาให้เกิดแก่สัตว์ที่ยังๆไม่เป็นอริยะนะ สัตว์ที่ยังไม่เป็นอริยะ ยังไม่เหนือโลก ยังไม่เริ่มเหนือโลก ตั้งแต่ว่าเป็นเด็กทารก เป็นวัยรุ่น เป็นหนุ่ม เป็นสาว หลงใหลในกามารมณ์แล้ว กระทั่งเบื่อแล้วไปหลงใหลในรูปาวจร สุขเกิดแต่รูปสมาธิ เอ้า, เลื่อนขึ้นไปก็ยังหลงใหลในสุขอันเกิดแต่อรูปสมาธินั่น ความอร่อยตามขึ้นไปถึงนั่นโน่น เรียกว่ามันผูกพัน มันผูกพันไอ้สัตว์นั้นไว้ในโลก ในความทุกข์
ความอร่อยนั้นในบาลีเรียกว่า อัสสาทะ อัสสาทะ เขาแปลกันอย่างอื่นนะ ในที่ที่เขา... (เสียงไม่ชัดเจน นาทีที่ 60:46-60:47) ใช้พระไตรปิฎกแปลไทยอาจจะแปลอย่างอื่น เช่นแปลว่าคุณ คุณค่า หรือคุณอันน่าพอใจอะไรก็ตามใจเถอะ ที่จริงมันเป็นคือ มันคือความอร่อยที่หลอกลวง ที่ผูกคนให้ติดอยู่ในสิ่งนั้นๆ ผูกจิตใจของสัตว์ให้ติดอยู่ในนั้น ในสิ่งนั้นๆ ความอร่อยมีหลายชั้น และสุดท้ายก็ในสิ่งที่ไม่มีรูป ละเอียด สิ่งที่ไม่มีรูปมันละเอียด เพราะฉะนั้นความสุขมันก็ละเอียด จิตใจมันก็หลงใหลอย่างละเอียด แล้วมันจึงละได้ยาก พอละ พอเริ่มละๆ ไม่เป็นทาสของความอร่อยนี่มันก็กลายเป็นอริยะ เป็นโลกุตตระชั้น อ่า, ประเภทโลกุตตระ ก็เลิกความเป็นปุถุชนไปเป็นชั้นอริยะ เอ้า, ถ้าใครอยากอธิบาย ออกมาอธิบายตรงนี้ ไม่ต้องแอบซ่อน (ท่านพุทธทาสสนทนาเป็นภาษาใต้ นาทีที่ 61:58-62:06)
ฉะนั้นขอให้คุณจำไว้เถอะ คำว่าความอร่อยคำเดียวเท่านั้นคือปัญหาตั้งแต่ต้น จนไปถึงเรียกว่ามันสูงสุดของโลกแหละ ของโลก ในโลก ผมสันนิษฐานว่าคุณยังไม่รู้ หรือยังไม่เคยคิด หรือยังไม่เคยฟัง หรือว่าเคยฟังไม่ถึงขนาดนี้ คือบอกว่าความอร่อยคำเดียว ตัวเดียว อย่างเดียวนั่นคือปัญหาแล้ว และต้นตอแห่งปัญหา ต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดของสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ สัตว์ หรือคือสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ ถ้ามันไม่มีชีวิตจิตใจมันเป็นก้อนหินไปมันก็ไม่มีปัญหาสิ ถ้ามันเป็นสัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ มันรู้สึกอะไรได้แล้วมันก็จะถูกครอบงำด้วยสิ่งที่เรียกว่าความอร่อยนี้ทั้งนั้น บางทีต้นไม้นี่แหละอาจจะถูกครอบงำด้วยไอ้ความรู้สึกที่เรียกว่าอร่อยนั้นจากอาหาร จากอะไรก็ได้ แต่มันพิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่ต้องพูดกันก็ได้ แล้วมันก็ไม่อยู่ในขอบเขตที่ต้องพูด แม้สัตว์เดรัจฉานมันก็เห็นได้ชัดว่ามันก็ชอบอร่อยแต่ไม่ต้องพูด มันไม่ใช่เรื่องของคน
มันมาพูดเรื่องของคนกันดีกว่า จะมีปัญหาตั้งแต่ว่าลูกเด็กๆมันจะสร้างปัญหาให้พ่อแม่ มันก็ต้นเหตุอยู่ที่ความอร่อยที่มันไปหลงเข้า หรือเป็นหนุ่มเป็นสาวมันจะสร้างปัญหาอันเลวร้ายขึ้นมาก็เนื่องด้วยความอร่อย บางทีเป็นคนสูงอายุ เป็นคนแก่คนเฒ่าแล้วก็ยังมีปัญหาอยู่ด้วยเรื่องความอร่อย แล้วก็เป็นเรื่องในทางวัตถุ ในทางไอ้ธรรมดาสามัญทั้งนั้น และยังออกไปไม่ได้ หลุดพ้นออกไปจากระดับธรรมดาสามัญก็ไม่ได้ เดี๋ยวนี้มันต้องออกไปถึงระดับเกินธรรมดาสามัญที่เรียกว่าชั้นรูปาวจร อรูปาวจร
ทีนี้ทางที่มันจะออกไปได้จะพูดสักนิดหนึ่งก็ได้ มันยืดยาวเลย แต่ว่าพูดได้สักนิดหนึ่งก็ได้ คือความเห็นแจ่มแจ้งลงไปว่ามันเช่นนั้นเอง ความอร่อยก็เช่นนั้นเอง ความไม่อร่อยก็เช่นนั้นเอง อร่อยก็เช่นนั้นเอง ไม่อร่อยก็เช่นนั้นเอง มันมีความเป็นเช่นนั้นเองของมัน คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่ระบบประสาทตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ นี้มันเหมือนกันอย่างนี้นี่ ความอร่อยก็ลักษณะอย่างนี้ ความไม่อร่อยก็รู้สึกไอ้ ก็ๆหลักเกณฑ์อย่างนี้ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่ระบบประสาทตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมันออกมา เมื่อมันถูกตรงเรื่องมันก็อร่อย ไม่ถูกไม่ตรงเรื่องมันก็ไม่อร่อย อร่อยของคนนี้อาจจะไม่อร่อยของอีกคนหนึ่งก็ได้ ฉะนั้นมันเป็นเรื่องแล้วแต่ความรู้สึกของบุคคลนั้น ซึ่งมีไอ้อายตนะสำหรับรู้สึกในความอร่อยนั้นต่างๆกันน่ะ พวกสัตว์เดรัจฉานไปอย่าง มนุษย์ไปอย่าง พวกเทวดาในกามาวจรไปอย่าง พวกพรหมในอรูป อ่า, ในรูป ในอรูป ก็ล้วนแต่ไปอีกอย่างๆ มันมีจิตอยู่ในระดับนั้นก็เรียกว่าเป็นอย่างนั้น
พอมันเลื่อนเป็นชั้นพระอริยเจ้ามันก็เปลี่ยนที่จะไปพอใจในความไม่ ไม่ต้องอร่อยและไม่ต้องไม่อร่อย มันไปอยู่ที่ตรงกลางเสีย ไม่เป็น ไม่เป็นทาสของความอร่อย ไม่เป็นทาสของความไม่อร่อย คือไม่ยึดถือทั้งในความอร่อยและความไม่อร่อย คือว่าอร่อยก็เช่นนั้นเอง ไม่อร่อยก็เช่นนั้นเอง แล้วจะไปยินดียินร้ายกับมันทำไมเล่า ถ้ามันเห็นความเป็นเช่นนั้นเองเหมือนกันน่ะ อันนี้ขอให้เทียบเคียงลงไปถึงคู่เปรียบเทียบอันอื่นน่ะ เดี๋ยวนี้เราพูดเรื่องความอร่อยเป็นๆเรื่องที่รู้สึกกันอยู่ เห็นได้ง่าย มันก็จะเลยไปถึงว่าไอ้ความสุขก็เช่นนั้นเอง ความทุกข์ก็เช่นนั้นเอง แล้วจะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน การได้มาก็เช่นนั้นเอง การเสียไปก็เช่นนั้นเอง แล้วจะไปยินดียินร้ายอะไรกับมันล่ะให้มันเป็นทุกข์ทำไม ยินดีมันก็ไม่ๆใช่ความสงบ ยินร้ายมันก็ไม่ใช่ความสงบ ฉะนั้นออกไปเสียทั้งสองอย่างดีกว่า ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
แต่ว่าความอร่อยนั้นมันมีความดึงดูดมาก ฉะนั้นคนจึงออกไปไม่ได้ แต่ว่าความไม่อร่อยนั้นน่ะแม้ว่าคนจะไม่ยินดีแต่มันก็ไปเกลียดอยู่ ไปเกลียดอยู่นะ นั่นก็เรียกว่าออกไปไม่ได้เหมือนกันแหละ ไอ้ความอร่อยนั่นเรามันรัก เราพอใจ ก็ออกไปไม่ได้ ไอ้ความไม่อร่อยก็ไปเกลียดอยู่ ไปโกรธอยู่ มันก็ออกไปไม่ได้เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าจะให้ออกไปได้มันก็ต้องไม่ ไม่ทั้งซ้ายและไม่ทั้งขวา ซึ่งเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ไม่เอาทั้งซ้าย ไม่เอาทั้งขวา เรียกว่าอยู่ตรงกลาง ที่จริงมันก็ควรจะใช้คำว่าไอ้อยู่เหนือนั่นแหละ เหนือสิ่งที่เป็นคู่ๆ
ความไม่อร่อยมันก็มี มีฤทธิ์มีเดชขึ้นมาเพราะว่ามันมีความอร่อยเป็นเครื่องเปรียบเทียบ หรือว่าความอร่อยมันมีค่าขึ้นมาก็เพราะมันมีความไม่อร่อยเป็นเครื่องเปรียบเทียบ มันมีคู่ตรงกันข้ามช่วยสร้างความมีค่าให้แก่กันและกัน เพราะฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่เอาไม่ไหว เอาไม่ไหวทั้งๆคู่แหละ อย่าไปเอากับมันเลย มาถึงชั้นนี้มันๆออกจะสูงไปเสียแล้ว สำหรับชาวบ้านทั่วไปมันอาจจะไม่ควรพูดก็ได้ แต่ถ้าพูดก็ได้ ฟังไว้ก่อนก็ได้ ว่าอย่าไปเอากับมันเลยทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ ดีชั่ว บุญบาป สุขทุกข์ มั่งมียากจน กำไรขาดทุน เป็นคู่ๆๆๆกี่ร้อยกี่พันคู่ก็อย่าไปเอากับมันเลย อยู่เหนืออำนาจของสิ่งที่เป็นคู่ๆกันอย่างนี้ นี่คือความหลุดพ้น
แต่ที่มันเป็นเรื่องตั้งต้นสนใจกันก่อนดีกว่าก็คือเรื่องอร่อยหรือไม่อร่อยนั่นแหละ อร่อยทั้งทาง อร่อยหรือไม่อร่อยทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น แล้วก็ทางผิวกายน่ะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกามารมณ์มากกว่าอย่างอื่นนั่นน่ะ กระทั่งทางจิตใจสุดท้าย ก็เคยบอกกันมาแล้วตั้งแต่การบรรยายครั้งแรกๆว่าจุดตั้งต้นของการศึกษานั้นมันอยู่ที่อายตนะ ๖ คู่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ข้างใน ๖ ข้างนอก ๖ เป็นคู่ๆกัน อันนั้นแหละเป็นจุดตั้งต้นสำหรับศึกษาความอร่อยและความไม่อร่อยนี่ มันเป็นความรู้สึกทางอายตนะด้วยกัน เสมอกัน ความรู้สึกทางอายตนะเท่านั้นว่าอร่อยก็มี ไม่อร่อยก็มี มันเป็นเพียงความรู้สึกทางอายตนะเท่านั้น เราจึงว่าอร่อยก็เช่นนั้นเอง ไม่อร่อยก็เช่นนั้นเอง มันจะไปยินดียินร้ายกับมันทำไมนี่
นี่ก็ทบทวนเรื่องว่าไอ้คู่อายตนะ ๖ นั่นน่ะเป็นเรื่องสำคัญ เป็นจุดตั้งต้นของการศึกษาเรื่องพรหมจรรย์ นี่รู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็จะมาพบเรื่องอร่อยหรือไม่อร่อย เพราะว่ามันเป็นๆค่าที่แสดงออกมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คนอวดดีเขาไม่สนใจ เขาไม่สนใจเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาเห็นว่ามันไม่ อ่า, ไม่มีความหมายอะไร แต่มันเป็นเรื่องทั้งหมดนะ เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่ามันรวมอยู่ที่นั่นแหละทุกเรื่องแหละ เรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เรื่องแม้กระทั่งเรื่องว่าจะออกไปนิพพาน มันก็ที่เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วก็มหาสมุทรเป็นที่ตกจมก็อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือความอร่อยนั่นเองที่เป็นผลเกิดจากการปรุงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเป็นความอร่อย นั้นน่ะคือมหาสมุทรที่อยู่ที่ตา หู ตมูก จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่สัตว์ตกลงไปแล้วมันขึ้นไม่ได้กระทั่งมันตาย นี่เรียกมหาสมุทรอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไอ้คำสอนที่จะทำให้ขึ้นมาจากโลก พ้นโลกไปสู่โลกุตตระนั้นน่ะ ความรู้นี้ไม่ๆเคยมี ก่อนพุทธกาลไม่เคยมี มันก็พึ่งมีเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น พูดง่ายๆก็ว่าไอ้ความรู้เรื่องเอาชนะความอร่อยเสียให้ได้นี้มันพึ่งมีเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ก่อนหน้านู้นเขาก็ไม่มี เขาๆก็ไปมี ไปหลงใหลไอ้ความเอร็ดอร่อยระดับใดระดับหนึ่งอยู่ แม้ระดับที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่เป็นอรูปฌานอันสุดท้ายน่ะ มันก็ยังอร่อยอยู่นั่น ยังอยู่ในวิสัยแห่งความอร่อย เมื่อไม่มีสัญญามันก็ไม่มีไป แต่ว่ามันๆเหมือนกับว่าไม่มีสัญญาเพราะฉะนั้นมันก็มีสัญญาอยู่ในบางคราว บางส่วน บางซีก จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่ามีเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่มีเวทนาก็ไม่ใช่นี่ มันเหลือริบหรี่เต็มทีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีความอร่อย คือเป็นสุขแก่จิตในระดับนั้นนะ ต้องเลิกถอนกันอีกทีหนึ่ง
นี่ผมพูดเรื่องไอ้พุทธศาสนาต้องการจะดับทุกข์ ธรรมะต้องการจะดับทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเราจะพูดแต่เรื่องความทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น เรื่องอื่นไม่พูด เพราะฉะนั้นอย่าเอาเรื่องอื่นมาเป็นปัญหามาตั้งมาถาม มันไม่ๆมีประโยชน์ ก็พูดกันแต่เรื่องทุกข์กับเรื่องความดับทุกข์ ทีนี้ไอ้ความทุกข์น่ะมันตั้ง มันมีรากฐานอยู่ที่ความอร่อย ความดับทุกข์มันก็มีรากฐานอยู่ที่ถอนตัวขึ้นมาเสียจากความอร่อย ไม่ใช่ว่าไม่อร่อยแล้วมันจะดับทุกข์ไม่ใช่ ทั้งอร่อยและทั้งไม่อร่อยน่ะมันเป็นที่ติดหรือยึด เป็นทุกข์ ความอร่อยกับความไม่อร่อยมันเป็นเกลอกัน มันเป็นคู่กันอยู่นั่นน่ะ มันไม่แยกกันล่ะ มันก็เป็นความทุกข์กันไปด้วยกันทั้งคู่ แต่ถ้าจะดับทุกข์มันก็ต้องอยู่เหนือความอร่อยและความไม่อร่อย คือเมื่อความอร่อยไม่มีค่า ความไม่อร่อยก็พลอยไม่มีค่า ฉะนั้นมันจึงไม่มีค่าสำหรับไอ้ความดับทุกข์ มันไม่มีคุณค่าที่จะไปทำให้มาหลงใหลอยู่ในกองทุกข์ เรื่องของความดับทุกข์มันจึงอยู่เหนือความหมายของความอร่อยหรือความไม่อร่อย
เดี๋ยวนี้เราในปัจจุบันนี้มันเป็นทาส เป็นขี้ข้าหรือเป็นทาสของความอร่อยบ้าง ความไม่อร่อยบ้าง พออร่อยก็ดีใจ พอไม่อร่อยก็ขัดใจโกรธ คือยินดียินร้าย ทั้งอร่อยและทั้งไม่อร่อยน่ะมันเล่นงานเราทั้งนั้นเลย ทำให้เราเป็นทุกข์ ฉะนั้นเราต้องทำตัวให้อยู่เหนือความหมายของคำว่าอร่อยหรือไม่อร่อย โดยรู้สึกว่ามันเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองอะไรกันน่ะ ก็มันเป็นแต่เพียงความรู้สึกแก่ระบบประสาทของสัตว์ที่มีระบบประสาทตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเท่านั้นแหละ นั่นน่ะคือมันเช่นนั้นเอง มันเท่านั้นเอง ใช้ได้แก่ทุกคู่ไม่ว่าอะไรใน ที่มันเป็นคู่ๆที่มนุษย์ยึดถือ
มนุษย์ยึดถือในสิ่งคู่ ถ้าไม่เป็นคู่มันไม่มีค่า เพราะว่ามันต้องมีสิ่งซึ่งเป็นคู่มันจึงจะทำให้อีกสิ่งหนึ่งมีค่า มันๆผลัดกันทำให้มันมีค่า ไอ้ฝ่ายหนึ่งก็ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งมีค่า ฝ่ายหนึ่งก็ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งมีค่า ดังนั้นมันต้องอยู่กันเป็นคู่มันจึงจะมีค่า เช่นถ้าว่าไม่มีไอ้ความทุกข์ ไอ้ความสุขก็ไม่มีค่าหรอก ถ้าไม่มีความสุข ความทุกข์ก็ไม่น่ากลัวอะไรหรอก เช่นมั่งมีกับยากจนนี่ มันช่วยกันทำให้มีความหมาย ถ้าไม่มียากจน ไอ้ความมั่งมีก็ไม่มีความหมาย มีความมั่งมี ไม่มีความยากจนมันก็ไม่มีความหมายด้วยกัน ฉะนั้นไปดูเถอะมนุษย์จะหลงใหลยึดมั่นอยู่ในสิ่งที่มันเป็นคู่ และมันได้ช่วยกันทำให้เกิดมีค่าขึ้นมาแก่แต่ละฝ่ายๆ ฉะนั้นถ้าว่าเลิกยึดถือก็คือเลิกยึดถือสิ่งที่เป็นคู่
เดี๋ยวนี้คนเขาไม่ยอมเลิกยึดถือสิ่งที่มันอร่อย คือเขา เขาอาจจะไม่สนใจหรือไม่ยึดถือความไม่อร่อย แต่เขาไปสนใจยึดถือความอร่อย มันก็เลิกไม่ได้ เรื่องเป็นคู่นี้ไปดูเอาเองแหละ มีมากเหลือเกินนับตั้งแต่ว่าอร่อยไม่อร่อยนี่ ดีชั่วคู่หนึ่ง บุญบาปคู่หนึ่ง สุขทุกข์คู่หนึ่ง ได้เสียคู่หนึ่ง แพ้ชนะคู่หนึ่ง มั่งมียากจนคู่หนึ่ง โอ๊ย, มันๆๆว่ากันไม่หวาดไหวล่ะที่เป็นคู่ๆๆๆ แล้วมันช่วยกันให้เกิด (เสียงขาดหายไป นาทีที่ 81:16-82:01) ไอ้ของคู่มันช่วยสร้างค่าให้แก่กันและกัน
นี่ผมรับรองได้ว่าไม่ใช่ผมพูดเอาเอง ผมเอานะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้เป็นหลักธรรมะอันลึกซึ้งละเอียด แต่ว่าในภาษาที่ฟังยาก ผมเอามาพูดกับคุณ พวกคุณนี้ในภาษาที่ฟังง่าย ภาษาที่ธรรมดาสามัญ เป็นภาษาที่ฟังง่าย จึงพูดอย่างนี้ ถ้าพูดในภาษาพระคัมภีร์แล้วมันก็ฟังยากแหละ ชื่อต่างๆมันก็เป็นคำบาลี เรื่องราวมันก็พูดไปอย่างไอ้ภาษาบาลีภาษาธรรมะมันฟังยาก ฉะนั้นจึงเอามาพูดกันโดยภาษาไทยธรรมดา ยกความอร่อยขึ้นมาเป็นเรื่องพูด ถ้าผมพูดบาลีผมก็ต้องใช้คำว่าอัสสาทะน่ะ คือความอร่อย ก็ลำบากแก่ไอ้ๆ แก่ผู้ฟัง ไม่พูดว่าอัสสาทะหรอก พูดว่าความอร่อยนี้ดีกว่า เป็นปัญหาของสิ่งที่มีชีวิต แก่สิ่งที่มีชีวิต ทำให้สิ่งที่มีความรู้สึก มีชีวิตนั้นน่ะมันต้องจมอยู่ในกองทุกข์
ฉะนั้นจึง ทุกคนแหละถ้าอยากจะไม่ให้เป็นทุกข์ก็รีบศึกษาไอ้เรื่องความหลอกลวงของสิ่งที่เป็นคู่ ไอ้คำนี้ก็มีความหมายมาก พูดเป็นไทยๆง่ายๆธรรมดาๆว่า ความหลอกลวงของสิ่งที่เป็นคู่ ดีชั่ว บุญบาป สุขทุกข์ แพ้ชนะ ได้เสีย กำไรขาดทุนนั้นน่ะ มีความหมายของความหลอกลวงของสิ่งที่เป็นคู่ มันต้องเป็นคู่เทียบมันจึงจะมีค่า เพราะว่าความเป็นคู่มันหลอกลวงให้เราหลงเกลียดข้างหนึ่งรักข้างหนึ่งเสมอ รักความอร่อย เกลียดความไม่อร่อย นี้คือความโง่ คืออวิชชา หลงยึดมั่นถือมั่น อวิชชาทำให้เกิดความหลงยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ได้เป็นทุกข์
เรามาสรุปความเสียให้มันสั้นๆ ให้มันง่ายๆ ให้มันถูกต้องว่าจุดตั้งต้นของปัญหา ตั้งต้นมาตั้งแต่ทารกคลอดออกมาจากท้องแม่ แล้วมาพบกับสิ่งที่เรียกว่าความอร่อย แล้วก็เปลี่ยนไปๆ คือสูงขึ้นไปละเอียดลึกซึ้ง เข้าใจยากยิ่งๆขึ้นไป เหนือจากความอร่อยตามธรรมดาก็ไปเป็นความอร่อยทางกามารมณ์ ที่เป็นพิเศษก็คือชนิดเสพติด ของเสพติดซึ่งทำให้โง่ให้หลง นี่มันเป็นเรื่องของความทุกข์ ถ้าเห็นว่ามันเช่นนั้นเองโว้ย มันอย่างนั้นเองตามธรรมชาติโว้ย เราก็ไม่ต้องหลง เรื่องมันก็จบลงไปสั้นๆง่ายๆ
พูดมันง่ายนะ พูดนี้มันพูดง่ายแต่ว่าปฏิบัติมันยาก พูดชั่วโมงเดียวก็จบแล้วแต่ปฏิบัติจนตายบางทีมันก็ทำไม่ได้ ยิ่งไม่ๆเอาจริง ยิ่งเหลวไหล เหมือนคนสมัยนี้ซึ่งบูชาแต่ความอร่อยแล้วมันดูจะไม่มีหวังนะ ถ้าเราไปบูชาความอร่อยอยู่เป็นสันดาน เป็นนิสัย แล้วจะมาเข้าใจเรื่องนี้และเอาชนะมัน มันก็ยากแหละ เพราะฉะนั้นจึงว่ายาก พูดให้ฟังมันง่ายแต่ว่าปฏิบัติให้ได้ผลจริงๆมันก็ยาก แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ตรัสสิ่งที่เหลือวิสัย ท่านตรัสในสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ฉะนั้นเราก็ลองศึกษาและพยายามดู
นี่เรื่องที่เราพูดกันวันนี้ก็คือเรื่องความทุกข์ที่เกิดมาจากความอร่อย จุดตั้งต้นตั้งแต่ทารกเกิดมาในโลก แล้วก็พูดเรื่องความดับทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ก็คืออยู่เหนือความอร่อย อยู่เหนืออิทธิพลของความอร่อยนั่นน่ะคือความดับทุกข์ เรื่องมีเท่านั้นแหละ ผมก็เหนื่อยสำหรับจะพูดและก็หยุดพูด ถ้าคุณมีปัญหาก็ถาม เกี่ยวกับเรื่องนี้มีปัญหาอย่างไรบ้างก็ถาม
ภิกษุถามปัญหา : ในกรณีที่เราจะยึดเอาตถาตาเป็นสิ่งสูงสุด จะถือว่าผิดจาก
ท่านพุทธทาส : เดี๋ยวช่วยพูดใหม่ ช่วยพูดใหม่ ช่วยพูดใหม่ให้ๆพอฟัง
ภิกษุถามปัญหา : ในกรณีที่เราจะยึดถือเอาตถาตาเป็นสิ่งสูงสุด ถือว่าผิดจากศาสนาพุทธหรือไม่ครับ
ท่านพุทธทาส : เอ๊ะ, ทำไมจึงฟังไม่รู้เรื่อง
ภิกษุถามปัญหา : ในกรณีที่เราจะยึดถือ
ท่านพุทธทาส : หืม
ภิกษุถามปัญหา : ในกรณีที่เราจะยึดถือตถาตาเป็นสิ่งสูงสุด จะผิดจากศาสนาพุทธหรือไม่ครับ
ท่านพุทธทาส : เอ๊ะ, ทำไมผมจึงฟังไม่ๆถูกนะ เออ, อันนั้นมันไม่ดี
ภิกษุถามปัญหา : ในกรณีที่เราจะยึดถือตถาตาเป็นสิ่งสูงสุด จะผิดจากศาสนาพุทธหรือไม่ครับ
ท่านพุทธทาส : ยึดถืออะไรนะ
ภิกษุถามปัญหา : ตถาตาครับ
ท่านพุทธทาส : เป็นอะไรนะ
ภิกษุถามปัญหา : เป็นสิ่งสูงสุด
ท่านพุทธทาส : เป็นสิ่งสูงสุดสำหรับดับทุกข์ มันก็ไม่ผิดสิ เพราะว่าคำสอนเรื่องตถาตา หรืออิทัปปัจจยตา อะไรก็ตามมันๆอันเดียวกันแหละ ให้เห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง ถ้าเห็นอย่างนั้นเองเสียแล้วมันก็ไม่ต้องไปยึดถือ ไม่ต้องไปบูชา เรายึดถือตถาตานั่นไม่ใช่ยึดถืออย่างของรัก ของอร่อย ของไม่อร่อย ไม่ใช่ ต้องใช้คำว่าเราถือเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดถือด้วยอุปาทานน่ะ มองเห็นเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ เป็นธรรมะซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติสูงสุดเฉียบขาด ถ้าว่ารู้แล้วดับทุกข์ได้
ตถาตานั่นมันๆย่น ย่นย่อมาจาก ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปาโท คำเหล่านี้เป็นคำเดียวกันหมด มีความหมายเหมือนกันหมดคือว่าเช่นนั้นเอง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็คือตรัสรู้อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปาโท ไอ้คำยาวๆนั้นมันสรุปได้เหลือนิดเดียวว่า ตถตา ตถตา ตถตาคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่รู้แล้วดับทุกข์ได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงเคารพธรรมะที่ตรัสรู้เองคืออิทัปปัจจยตาหรือตถตานั้น ฉะนั้นความจริงเรื่องตถตานั่นคือธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงเคารพตั้งแต่วันที่ได้ตรัสรู้แล้ว ในวันนั้นน่ะตรัสรู้แล้วแสวงหาสิ่งที่เป็นที่เคารพ ก็พบว่า โอ้ว, ไอ้ธรรมะที่ตรัสรู้นั่นแหละ คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือเรื่องอิทัปปัจจยตา หรือเรื่องตถตา อวิตถตานั่นเอง มันใช้แทนกันได้ ตถตาก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท มันเป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท เรายึดถือน่ะไม่ๆเป็นทุกข์ ไม่ใช่ยึดถืออย่างจะเป็นทุกข์ คือถือเอาเป็นหลักปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ แต่ไม่ควรใช้คำว่ายึดถือหรอก เพราะคำว่ายึดถือมันทำด้วยอุปาทาน ยึดถือไอ้คู่ๆๆๆนั่นแหละ นั่นน่ะยึดถือด้วยอุปาทาน ไอ้ตถตานี้มันไม่มีอะไรเป็นคู่หรอก เป็นกฎธรรมชาติอันสูงสุดเหนือสิ่งใด
ต่อไปถ้าเราเข้าใจดีในเรื่องตถตานี้ เราจะเข้าใจเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในโลกคือเรื่องพระเป็นเจ้า พระเจ้าหรือพระเป็นเจ้าน่ะมันคือกฎ อ่า, กฎธรรมชาติ ที่ๆชื่อตถตาหรืออิทัปปัจจยตานั้นเอง ผมก็ได้เคยพูดไปแล้วบางครั้ง ไอ้เทศน์วันเสาร์นั่นคุณไม่ฟังกันเอง ที่จะอธิบายให้เห็นว่าไอ้ตถตาหรืออิทัปปัจจยตานั้นน่ะคือสิ่งสูงสุด กฎของธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดเหมือนอย่างกับว่าเป็นพระเจ้าทีเดียว ในการสร้างสิ่งทั้งปวง ในการควบคุมสิ่งทั้งปวง ในการทำลายสิ่งทั้งปวง ในการที่จะมีอยู่ในที่ทั่วไปสำหรับควบคุมสิ่งทั้งปวง มีอำนาจเหนือสิ่งใด และเป็นความไม่สิ้นสุดแห่งความรู้อยู่ในนั้น ถ้าเราจะไปสู้กับพวกที่มีพระเจ้าในศาสนาอื่นแล้วเราก็เอาพระเจ้าอิทัปปัจจยตานี้ออกสู้ ชนะหมดแหละ ตามความรู้หรือความมองเห็นของผม
พระเจ้าสูงสุดคือกฎธรรมชาติอันว่าด้วยอิทัปปัจจยตา หรือตถตาก็ได้ กฎธรรมชาติมีมาตั้งแต่ก่อนมีสิ่งใดนั่นน่ะ ก่อนมีจักรวาล ก่อนมีดวงอาทิตย์ ก่อนมีสิ่งใด กฎของตถตาหรืออิทัปปัจจยตามีอยู่แล้ว นั่นคือพระเจ้า ทีนี้พวกที่มีพระเจ้าเขาถือว่าพระเจ้าสร้างกฎนี้ เราบอกไม่ได้ ไอ้ที่เรียกว่ากฎนั้นใครสร้างไม่ได้ ถ้าเป็นสิ่งที่สร้างได้สิ่งนั้นไม่ใช่กฎ คือจะเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นกฎต้องเป็นตัวมันเองมันจึงจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นซะ พระเจ้าจะมาสร้างกฎของธรรมชาตินี้ไม่ได้หรอก ไอ้กฎของธรรมชาตินั่นมันจะสร้างพระเจ้า สร้างให้เกิดความคิดว่ามีพระเจ้าอย่างนั้นอย่างนี้ นี้ในอนาคตคงจะปะทะกันกับ ระหว่างไอ้พุทธศาสนากับศาสนาอื่นน่ะที่เขามีพระเจ้าน่ะตามแบบของเขา แล้วเขาหาว่าเราไม่มีพระเจ้า เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเรามีพระเจ้าที่เหนือกว่าเลย มีพระเจ้าที่เหนือกว่าพระเจ้าใดๆ คือกฎอิทัปปัจจยตา
เดี๋ยวนี้มันมีอะไรแสดงให้เห็นว่ามันใกล้เข้ามาทุกที มันใกล้เข้ามาทุกที ในการที่จะปะทะกันระหว่างศาสนา ซึ่งมันจะต้อง ต้องล้มละลายไปข้างหนึ่งแหละ เพราะว่ามนุษย์สมัยใหม่สมัยปัจจุบันนี้มันมีสติปัญญามากขึ้นๆ เป็นนักวิทยาศาสตร์มากขึ้น พระเจ้าชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับได้นั่นน่ะจะอยู่ จะเหลืออยู่ ไอ้พระเจ้าที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับไม่ได้นั้นจะตายไปหมดเลย ฉะนั้นเตรียมพุทธ อ่า, พุทธบริษัทก็เตรียมมีพระเจ้าของตนไว้ให้ดีๆ มันต้อง จะต้องปะทะกันวันหนึ่ง
อิทะ อ่า, ตถตาแปลว่าเช่นนั้นเอง ฟังดูคล้ายกับพูดเล่น ถ้าเราไปพูดให้คนชาวบ้านธรรมดาเขาก็ เขาก็ไม่สนใจน่ะ เขาฟังอย่างเสียไม่ได้แล้วเขาไม่สนใจ เขาเห็นเป็นพูดเล่น ไอ้คำว่าเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองน่ะมันจะมีความหมายอะไร แต่ว่านั่นแหละมีความหมายที่สุด มีอำนาจที่สุด มีอะไรที่สุด ความเป็นเช่นนั้นเองตามกฎของธรรมชาตินั้นแหละมีความหมายที่สุด มีอำนาจที่สุด ความตายก็ตถตา ความอยู่ก็ตถตา แล้วจะไปยินดียินร้ายอะไรกับความอยู่หรือความตาย
เอ้า, ใครมีอะไรถามอีก อย่าพูดกับไมโครโฟนนะ คุณพูดเองผมได้ยิน เอ้า, พูดเลย ไมโครโฟนอันนั้นมันบ้า บ้าบออะไรของมันฟังไม่รู้เรื่อง
ภิกษุถามปัญหา : ปัญหานี้อาจจะเป็นแนว ปัญหาในการปฏิบัตินะครับคือว่า ตามความอร่อยที่เกิดจากทางตา ทางหู ทางจมูก หรือยิ่งทางกายด้วยนั้นเราสามารถที่จะหยุดมันได้หรือจะหลบ ไม่เกี่ยวข้องกับมันได้ แต่ทีนี้มีอยู่อย่างหนึ่งคือ ความอร่อยทางลิ้นที่เราจะต้องเจอทุกวัน จะต้องมี นี้อาจจะเป็นเรื่องของผมโดยเฉพาะก็ได้ฮะ คือว่าอาหารถึงเราจะมีอุบายในการที่จะคิดแล้วว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง คล้ายๆเป็นอาหารคุณค่าทางธรรมชาติ แต่ว่ามันก็กระทบลิ้นอยู่ แล้วก็ยังอร่อยอยู่ ไม่ทราบจะแก้อย่างไร... (เสียงเบาและมีเสียงแทรก ฟังไม่ชัดเจน นาทีที่ 98:10-98:13)
ท่านพุทธทาส : ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งที่ถือกันว่าหรือรู้สึกว่าอร่อยนั่นก็คืออย่างนั้นแหละ คืออย่างที่ว่า รู้ว่าอันนี้มันอร่อยนี่ รู้ได้ รู้สึกได้ว่านี้มันอร่อย เช่นกินอาหารก็นี้มันอร่อย ก็รู้สึกได้ว่านี้คือๆที่ ที่เรียกกันว่าอร่อย แล้วเราก็เคยเป็นเด็กเป็นคนเป็นอะไรมา แล้วเคยรู้ว่านี้ที่เรียกกันว่าอร่อย แล้วขอให้มันหยุดๆอยู่แค่นั้นนะ อย่ามาครอบงำใจเรา รู้สึกว่าอร่อยได้นะไม่เป็นไรนะ แต่อย่าให้มันครอบงำใจเรา รู้สึกว่าไม่อร่อยก็ได้นะ ถ้ามันไม่รู้สึกว่าอร่อยหรือไม่อร่อยแล้วมันๆบ้าแล้วแหละ อันนั้นมัน คนนั้นมันไม่ปรกติแล้วแหละ มันรู้สึกว่าอร่อยก็ได้ รู้สึกว่าไม่อร่อยก็ได้ตามเรื่องของมัน ที่ประสาทมันยังปกติอยู่ แต่มันอย่ามาครอบงำจิตใจของเราให้ๆหลงรักที่อร่อยและหลงเกลียดที่ไม่อร่อย
และก็ไม่ใช่เฉพาะทางลิ้นหรอก ทางตา ทางหู ทางอะไรก็ได้ คืออร่อยทาง อ่า, ทางตาก็คือสวยนั่นแหละ อร่อยทางหูก็คือไพเราะ อร่อยทางลิ้นก็อย่างที่ว่า อร่อยทางจมูกก็คือหอมนั่นแหละ กระทั่งอร่อยทางผิวหนัง ทางเพศทางกามารมณ์ก็รู้สึกได้ว่ามันอร่อย ทีนี้ต้องมีสติพอปัญญาพอว่านั้นน่ะคืออร่อย ก็อร่อยไปสิ แต่อย่ามาครอบงำใจฉันก็แล้วกัน แล้วฉันก็มีไอ้ มีๆความสามารถหรือมีสิทธิที่จะกินของที่อร่อย ถ้าเขาเอาขะ เอาของอร่อยมาให้กินก็ไม่ต้องโยนทิ้งหรอก กินเข้าไปเถอะ แล้วก็รู้สึกว่าอร่อยแล้วก็หยุดอยู่แค่นั้นอย่าให้มันครอบงำใจเรา นี่ก็คือวิธีปฏิบัติน่ะเกี่ยวกับอร่อย
ถ้าว่าเผอิญมันไม่อร่อยเพราะว่าสิ่งนั้นมันไม่ถูกกับเรา แม้ว่ามันถูกกับคนอื่นแต่มันก็ไม่อร่อยกับเรา ถ้ามันจะต้องกินน่ะเพราะมันไม่มีอะไรจะกินก็กินได้ แต่อย่าให้ความไม่อร่อยมาครอบงำใจเรา ทำให้เราขัดใจหรือยินร้าย
ภิกษุถามปัญหา : ขออนุญาตเรียนถามต่อปัญหาอีกนิดหนึ่งนะครับ
ท่านพุทธทาส : เอาสิ
ภิกษุถามปัญหา : อุบายบางคนเขาใช้วิธีผสมอาหารด้วยกันจะเป็นประโยชน์หรือไม่ครับ
ท่านพุทธทาส : โอ้, อย่างนี้ก็มีเราเคยเห็นแล้ว ถ้าไอ้ๆสิ่งนี้อร่อยสำหรับเขา ซึ่งเขาเคยอร่อย พอเขาเห็นเข้าเขาก็รู้สึกอร่อยน้ำลายไหลแล้ว อย่างนี้อาจารย์บางคนเขามีวิธีปฏิบัติของเขาเองคือเอาน้ำใส่ลงไปเสียให้มันไม่อร่อยแล้วจึงกิน อย่างนี้ก็เคยมี ถ้ามันเป็นผลดีก็ทำได้ ทำให้มันไม่อร่อยเสีย เติมน้ำส้ม เติมน้ำปลา เติมอะไรให้มันไม่อร่อยเสียมันก็ได้เหมือนกันแหละ มันจะไม่มีเรื่อง ถ้าเขารู้สึกว่ามันจะทำให้เขาอร่อยและลำบากยุ่งยากแก่จิตใจของเขา เขาก็ทำให้มันไม่อร่อยเสียก็ได้ เติมน้ำเติมไอ้สิ่งที่มันจะให้มันสูญเสียให้ๆความอร่อย นี้ก็เคยมีคนทำ
ทีนี้ว่ามันถูกหรือไม่ถูก ทำอย่างนั้นน่ะถูกหรือไม่ถูกก็ดูเอาเองสิ ถ้ามันมีประโยชน์ก็ถูกแหละ คำว่าถูกหรือไม่ถูกนั่นให้ดูที่มันมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นอย่าไปกลัวมัน อย่าไปกลัวมัน หรือว่าอย่าไปให้มันเป็นปัญหาที่ยุ่งยากแก่จิตใจ เราจะกินของอร่อยก็ได้ กินของไม่อร่อยก็ได้ ขอแต่อย่าให้มันครอบงำจิตใจของเรา อย่าไปยินดียินร้าย นี่เป็นหลักปฏิบัติ พอเพียบเข้าไปอร่อย ก็ เอ้า, ก็อร่อย ก็อร่อย แต่อย่ามา อย่ามาทำให้ฉันได้หลงรักหลงพอใจ
เราหลีกไม่พ้นหรอกถ้าอยู่ในโลกนี้ จะไป ที่จะไม่กระทบกับสิ่งที่อร่อยหรือไม่อร่อย มันจะต้องกระทบทั้ง ๒ อย่าง แล้วก็มีสติปัญญา มีกำลังจิต มีสมาธิอะไรพอที่จะไม่ให้มันครอบงำใจของเรา อย่าให้ไปหลงรักที่อร่อย อย่าให้ไปหลงเกลียดที่ไม่อร่อย กินสักว่าอร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม มันเป็นอาหารที่จะให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้ แล้วก็กินเท่าที่ควรกินให้ร่างกายตั้งอยู่ได้ ซึ่งมักจะเปรียบว่ากินเหมือนกินเนื้อบุตรกลางทะเลทรายเพื่อรอดชีวิตได้เท่านั้นแหละ แม้อร่อยก็กินเท่านั้น ไม่อร่อยก็กินเท่านั้น กินเหมือนพ่อแม่จำเป็นต้องกินเนื้อบุตรกลางทะเลทรายเพื่อรอดชีวิต หรือว่ากินเหมือนกับว่าไอ้น้ำมันหล่อลื่นหยอดเพลาเกวียนเพลารถน่ะ เขาหยอดแต่พอๆให้มันลื่นเท่านั้นแหละ เขาไม่ได้หยอดมากให้มันไหลนอง นี่เรียกว่าเหมือนน้ำมันหยอดเพลาเกวียนก็ได้ จะอร่อยหรือไม่อร่อยก็สุดแท้ จะกินเสมือนว่าหยอดน้ำมันเพลาเกวียนน่ะให้มันเป็นไปได้ ให้อัตภาพมันเป็นไปได้ นี่คือวิธีที่จะเอาชนะความอร่อยและความไม่อร่อย
ช่วยกันทำให้รู้เรื่องนี้กันเสียให้ดีๆ โดยเฉพาะลูกเด็กๆ ผู้ที่เป็นบิดามารดาทำให้เด็กเริ่มรู้เรื่องนี้ เข้าใจเรื่องนี้ อย่าเป็นทาสของความอร่อยหรือไม่อร่อย ของอะไรอร่อยเด็กคนหนึ่งมันก็เอาซ่อนเสียไปกินคนเดียว แล้วที่ผมเคยเห็นมานะ ไอ้ๆคนนั้นมันก็เหลือเกินแหละ ไอ้ๆอันนั้นมันอร่อย แกงนั้นมันอร่อย มันบ้วนน้ำลายใส่เสีย แล้วเพื่อนก็กินไม่ได้ มันกินได้คนเดียว นี่เพราะความเห็นแก่ความอร่อยมัน มันทำได้ถึงอย่างนั้นน่ะ แล้วเพื่อนมันก็ลุกขึ้นเตะเอาสิ นี่สมน้ำหน้ามัน นั่นอย่าให้ความอร่อยหรือความไม่อร่อยครอบงำจิตใจมากขนาดนั้น
ไอ้เด็กเล็กๆของเราสองคนนั้น เมื่อวานซืนนี้ไอ้คนหนึ่งถูกตี เพราะมันพาไอ้ๆๆๆอะไรไม่รู้ แกงอร่อยอะไรไม่รู้ มันหนีเสีย มันไม่ให้ ไม่ให้พี่กิน แล้วถูกตีนี่ นี่ก็เพราะความอร่อยเหมือนกันแหละ ความอร่อยทำให้เกิดไอ้สิ่งที่ไม่ควรกระทำขึ้นมาอย่างนี้ ก็ไปดูเถอะ ความเอร็ดอร่อยทำให้เกิดอันธพาลเต็มบ้านเต็มเมือง ความหลงในความเอร็ดอร่อยให้เกิดอันธพาลเต็มบ้านเต็มเมืองโดยเฉพาะในเมืองหลวงแหละ
ทอง กี่โมง จะสามทุ่มหรือ
เอ้า, สรุปความอีกทีหนึ่งว่า สรุปความว่าปัญหาเกิดขึ้นในหมู่มนุษย์มีความอร่อยเป็นเหตุ เมื่อเขารู้สึกอร่อยเขาก็อยากจะมีมากขึ้น เขาก็สะสมปัจจัยแห่งความอร่อย เช่น เงิน เป็นต้น ปัจจัยแห่งความอร่อย เช่นเงิน ถ้ามีเงินเราก็ซื้อหาความอร่อย หรือปัจจัยอื่นๆอีกมากที่จะให้ความอร่อยได้นั่น
ฉะนั้นจึงมีผู้ที่คิดจะกอบโกยปัจจัยแห่งความอร่อย คือนายทุน ที่ชนกรรมาชีพมันก็ไม่ยอม มันก็ยื้อแย่งปัจจัยแห่งความอร่อย แล้วมันก็เกิดเรื่องรบรากันขึ้นระหว่างนายทุนกับชนกรรมาชีพ ซึ่งเป็นเรื่องเดือดร้อนที่สุดในโลกคุณเห็นไหมล่ะ ที่ว่าฝ่ายอเมริกันซึ่งเขาสมมติเป็นฝ่ายนายทุน ฝ่ายรัสเซียนสมมติเป็นฝ่ายชนกรรมาชีพ มันจะรบมันจะล้างกันทั้งโลก ไอ้จะล้างกันฝ่ายหนึ่งให้หมดไปจากโลก ก็เพื่อว่าเขาจะได้ยึดครองปัจจัยแห่งความอร่อยไว้เป็นของเขาผู้เดียว ถ้าเราเป็นเจ้าโลก ปัจจัยแห่งความอร่อยก็เป็นของเราผู้เดียวฝ่ายเดียว ฉะนั้นจึงมีแผนการที่จะครองโลก ที่จะเอาชนะหมดทั้งโลก ให้ทั้งโลกมาอยู่ในอำนาจของเรา แล้วเราก็จะได้ปัจจัยสำหรับความอร่อยทั้งหมด เห็นไหม ทำให้เกิดสงครามโลกได้นะความอร่อยนั่นน่ะ
ส่วนปัญหาเล็กๆน้อยๆอย่างที่ว่ามามันก็ มันก็เป็นธรรมดา ก็เกิดเป็นปัญหายุ่งไปหมดหาความสงบสุขไม่ได้ ไอ้เรื่องยาเสพติดเช่น เฮโรอีน เป็นต้นนี่มันไม่น่าจะมีปัญหาขึ้นมา เดี๋ยวนี้กลับเป็นปัญหาที่ยุ่งยากใหญ่หลวงในโลก อร่อยบ้าๆบอๆน่ะ ไม่ใช่อร่อยโดยแท้จริงไอ้ยาเสพติด ถึงกับไปหลงยาเสพติด ไม่หลงในกามารมณ์ก็มีนี้ อย่างที่ว่าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงเรื่องที่ว่าเมื่อตะกี้นี้ บังคับให้ภรรยาไปเป็นโสเภณีเอาเงินมาให้เขา ให้ผัวน่ะซื้อยาเสพติด แล้วภรรยาไม่ไปเขาเตะหน้าตาแตกเลย นั่นน่ะดูสิความอร่อยชนิดที่บ้าๆบอๆ
สรุปความว่าอร่อย ความอร่อยเป็นปัญหาหรือเป็นเหตุแห่งปัญหาทุกข์ยากลำบาก สมกับที่ว่าไปหลงในความอร่อย หลงในความอร่อยมากเท่าไรมันจะสร้างความปัญ ปัญหาหรือความทุกข์มากขึ้นเท่านั้น ทีนี้เราก็ต้องไม่พ่ายแพ้แก่ความอร่อย โดยไม่ต้องลำบากยุ่งยากอะไรหรอก ไม่ต้องลำบากยุ่งยากอะไร คือว่าอร่อยมันก็อร่อยอยู่แค่ลิ้นนะ หรือแค่ผิวหนังน่ะ อย่าให้มันเข้าไปครอบงำจิต เข้าครอบงำวิญญาณเลย อร่อยธรรมดา หรืออร่อยกามารมณ์ หรืออร่อยชนิดไหนก็ให้มันเพียงรู้สึกอยู่ที่อวัยวะสำหรับรู้สึก อย่าให้มันเข้าไปครอบงำจิตใจเลย เข้าครอบงำจิตใจแล้วก็เรียกว่าฉิบหายหมดแหละ มันเป็นทุกข์ไม่มีเหลือ แล้วมันจะลามปามไปถึงคนอื่นด้วย
ฟังดูแล้วคล้ายกับพูดเล่นว่าเรื่องความอร่อยมันก็อยู่แค่ตรงลิ้นตรงนั้น ไม่ใช่หรอก มัน อ่า, มันสร้างไอ้ปัญหา สร้างความทุกข์มากมายหลายซับหลายซ้อน พอไปถึงอร่อยทางเพศแล้วก็ยิ่งแล้วใหญ่เลย หรืออร่อยทางใดๆก็ตามน่ะมันก็ทำโลกนี้ให้ปั่นป่วนเลย ทั้งโลกเลย อย่างนายทุนกับชนกรรมาชีพแย่งความอร่อยกันให้มันสั่นสะเทือนทั้งโลกน่ะ ไม่ใช่เฉพาะจุด ที่เขาจะเอาชนะก็เพื่อจะได้ปัจจัยแห่งความอร่อยไว้เป็นของเขาให้มากที่สุด ฉะนั้นสงครามทั้งหลายมันก็เพื่อสิ่งนี้เอง
แล้วผมพูดพอเป็นตัวอย่างเท่านั้นแหละ เป็นตัวอย่างสำหรับเปรียบเทียบ สำหรับเป็นแนวคิด ก็เอาไปคิด เอาไปเปรียบเทียบให้เข้าใจทั้งหมดอย่างทะลุปรุโปร่งแหละ แล้วก็ให้ดับทุกข์ได้ คือไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอร่อยหรือเรื่องไม่อร่อย อิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์จะไม่ครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ จิตของเราจะเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้เสมอ ทำไมจึงไม่มีปัญหา
ภิกษุถามปัญหา : อาจารย์ อาจารย์ว่า เอ่อ, ปัญหาทั้งหมดมาจากอัสสาทะ ทีนี้อยากทราบว่าปีติ ปราโมทย์นี้นะครับ ปีติ ปราโมทย์ทำให้เกิดปัสสัทธิ เกิดสุข เกิดสมาธิ
ท่านพุทธทาส : ไอ้นั้นเขาเรียกว่าพวกเนกขัมมสิต ความ ถ้าจะให้มันจัดไว้ในความอร่อย มันก็เป็นพวกเนกขัมมสิต ไม่ใช่เคหสิต ก็ไม่รวมอยู่ในเรื่องร้าย ไม่ ไม่รวมอยู่ในเรื่องเลวร้าย ปีติ ปราโมทย์ อร่อยในพระธรรมก็ควรจะเป็น อร่อยในพระธรรมไม่รวมอยู่ในอร่อยเหล่านี้ ไม่เป็นเหยื่อ มีความทุกข์ทำให้เกิดศรัทธานี่ ความทุกข์เกิดจะทำให้เกิดศรัทธาในๆสิ่งที่เราจะเอาเป็นที่พึ่ง ยิ่งมีความทุกข์มาก เราก็ยิ่งศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือในพระธรรมมาก ความทุกข์กลายเป็นของดีไป
ศรัทธามากก็จะรู้สึกปราโมทย์มาก ปราโมทย์ในการที่ได้มีศรัทธา มีปราโมทย์ก็จะทำให้มีปีติ ปีติก็จะให้มีปัสสัทธิ ปัสสัทธิก็จะให้มีสุข มีสุขก็จะให้มีสมาธิ มีสมาธิก็จะให้มียถาภูตญาณทัสสนะ และวิมุตติญาณทัสสนะ ไอ้ญาณเหล่านี้เพียงพอมันจะเกิดวิราคะ คือๆความถอยหลังน่ะ ถอยหลัง ถอยหลังจากความยึดถือ จะหลุดพ้น มีวิราคะก็มีวิมุติ มีวิมุติแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ในไอ้ปฏิจจสมุปบาทเรียกว่า ขเยญาณัง ในที่อื่นอาจจะเรียกว่าญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว วิมุตติมีติ ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหมะจะริยัง รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
นี้สายของการที่จะชนะความเอร็ดอร่อยซึ่งเป็นอัสสาทะโดยเหตุที่ปราโมทย์ ปีติเป็นต้นอาศัยธรรมะ จึงมิใช่อัสสาทะทำนองเดียวกับอัสสาทะที่เป็นความอร่อยที่ให้เกิดกิเลสตัณหา อัสสาทะทำให้เกิดอุปาทานและเกิดกิเลสตัณหานานาประการน่ะ แต่ว่าไอ้ศรัทธา หรือปีติ เอ่อ, ปราโมทย์ ไอ้ปีติ ปัสสัทธินี้ไม่ใช่ชุดนั้น คนละชุด เพราะมาจากปัญญา มาจากเนกขัมมะ อา อ่าๆ, อาศัยการออกจาก จากกาม อาศัยออก การออกจากบ้านเรือนแล้ว ใช้ได้ ไม่เกี่ยวกับบ้านเรือน ไม่เกี่ยวกับเหยื่อ
ขอให้สังเกตจนพบว่าไอ้ภาษานั่นแหละทำพิษ ภาษาที่เราไม่มีความหมาย ไม่มีคำแปล ไม่มีความหมายที่ตรงกัน ต่างคนต่างมีความหมายคนละอย่างสองอย่างนี้แหละเป็นเหตุให้เข้าใจไม่ได้แล้วก็เถียงกัน แล้วใครๆก็ช่วยไม่ได้เพราะว่าไอ้ภาษาคำแปลนี้มันมีอยู่ในบุคคลที่ต่างๆกันตามที่มันเล่าเรียนมาต่างๆกัน ถ้ามันเกิดมีฝ่ายที่ไม่ถูกอยู่ฝ่ายหนึ่งแล้วมันต้องเถียงกันแหละ ต้องทะเลาะกันแหละ ฉะนั้นพยายามไอ้ศึกษาไอ้คำพูด ภาษาให้เข้าใจถูกต้องแล้วมันจะได้ตรงกัน แล้วเราจะได้ไม่ต้องเถียงกัน ยิ่งภาษาธรรมะในพระพุทธศาสนาด้วยแล้วมีมาก มีคำมากตั้งเป็นร้อยๆคำ หรือพันคำก็ได้ ถ้าเราไม่เข้าใจความหมายที่ตรงกันแล้วก็มีโอกาสที่จะต้องเถียงกัน ทะเลาะกัน มันก็ผิดหรือถูกอยู่โดยไม่รู้สึกตัว ที่มันผู้ที่เถียงกันนั่นแหละ ตัวเป็นฝ่ายผิดก็ไม่รู้ล่ะ หรือแม้ตัวเป็นฝ่ายถูกก็ไม่รู้ก็ได้ มันก็ว่าเอาเองแหละ อาจจะรู้สึกเอาเองว่าเราถูกตามที่เราพูด เพราะฉะนั้นเคารพคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วย เราอย่าทะเลาะ ทุ่มเถียงกันเพราะเหตุแห่งธรรมะที่ใช้คำพูดไม่ตรงกัน อย่าทะเลาะกันเพราะเหตุแห่งธรรมะ พยายามทำความเข้าใจให้มากเข้า เดี๋ยวมันก็พอจะตรงกัน ไม่ต้องทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกันมันก็วินาศหมดแหละ วินาศทุกฝ่ายเลย
คำว่าอัสสาทะที่แปลว่าเสน่ห์หรือความอร่อยนั้นใช้กันแต่ในฝ่ายทางร้ายนะ ฝ่ายผิด ฝ่ายทุกข์ แต่คำว่าปีติ ปราโมทย์นี่ใช้ได้ทั้งสองฝ่าย
ไม่เท่าไรจะออกพรรษาแล้ว โอกาสพูดมีไม่กี่ครั้งแล้ว เพราะฉะนั้นลองไปปรึกษากันเสียบ้างสิว่าจะให้ผมพูดเรื่องอะไรในคราวต่อไป คือเราจะพูดให้สรุปที่สุด ให้สั้นที่สุด ให้สรุปคือว่าให้กินความไอ้เรื่องมากๆแล้วมาเป็นคำพูดอย่างน้อยๆนี้ มันกินความได้มากๆ เรื่องๆๆชนิดนั้นแหละมันมีคุ้มค่าเวลา หรือทันแก่เวลา ถ้าให้พูดให้ละเอียดไปเสียหมดแล้วก็มัน เดี๋ยวก็จะทนฟังไม่ไหว แล้วเดี๋ยวก็จะเวียนหัวเอง พูดให้เป็นดุ้นใหญ่ๆมันดีกว่า จำง่าย กำหนดง่าย
แล้วอีกทางหนึ่งก็ไปพูดกันเองบ้าง การสนทนาธรรมะนี่มันมีประโยชน์ เขาเรียกว่าสากัจฉา กาเลนะ สากัจฉา สากัจฉากันตามควร ตามเวลานั้นมีประโยชน์ แม้เป็นพระอรหันต์แล้วเราก็พบเรื่องในบาลีว่า ท่านทำสากัจฉากันบ่อยที่สุด ผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้วท่านสนทนาธรรม ธรรมะกันมากเหมือนกัน คือว่าในชั้นละเอียด ในชั้นอภิธรรมน่ะที่มันๆๆๆละเอียดกว่าธรรมดานั่นก็เรียกชั้นอภิธรรม พระอรหันต์ก็สนทนากัน แต่ไม่ใช่อภิธรรม ๗ คัมภีร์ ไม่มี มันเป็นอภิธรรมเฉพาะเรื่อง เฉพาะเรื่องนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้น ละเอียดยิ่งขึ้น ก็เป็นอภิธรรมเฉพาะเรื่องนั้นๆ แล้วแต่ท่านจะสนทนากันเรื่องอะไร การอธิบายให้ละเอียดออกไปเกินกว่าระดับธรรมดาเขาเรียกว่าอภิธรรม
ทีนี้ไม่ถูกล่ะ ให้ผมพูดข้างเดียวไม่ถูก คุณต้องพูดบ้าง มันจึงจะเป็นสากัจฉา พูดข้างเดียวมันก็เป็นไอ้ธรรมเทศนา หรือว่าธรรมสวนะไปเลย
เอาแล้วถ้าไม่มีปัญหาแล้วก็ขอปิดประชุม เอาไปทบทวนที่กุฏิ ถ้าไปถึงกุฏิแล้วทบทวนอีกทีแล้วก็จะไม่ จะไม่ลืมน่ะ ไม่มีปัญหาแล้วขอปิดประชุม.