แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านพระธรรมทายาททั้งหลาย การบรรยายในครั้งที่ ๓ นี้ ต่อจากการบรรยายครั้งที่แล้วมา ซึ่งได้พูดถึงเรื่องปริยัติ มีความตั้งใจว่าจะพูดครบชุด เรื่องปริยัติ เรื่องปฏิบัติ เรื่องปฏิเวธ ให้เป็นที่เข้าใจอย่างเพียงพอ สำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในฐานะธรรมทายาท
เราต้องเป็นธรรมทายาท ในส่วนปริยัติ คือให้ถูกต้อง และเป็นธรรมทายาทในส่วนปฏิบัติ ให้ถูกต้องอีกเหมือนกัน ในส่วนปฏิเวธก็ต้องตั้งใจสุดความสามารถ เพื่อจะให้มีการสืบไว้อย่างถูกต้อง จะเรียกว่าปริยัติศาสนา ปฏิบัติศาสนา ปฏิเวธะศาสนา ก็ได้เหมือนกัน เป็นศาสนามีระบบพรหมจรรย์ (นาทีที่ 1.30) พูดคุยกันไว้อย่างถูกต้อง
ดังนั้น เราก็ต้องมีความรู้ที่เพียงพอ ในทุกๆเรื่อง ในทุกๆส่วน
ปฏิบัติมีได้ เพราะปริยัติถูกต้อง
ถ้าปริยัติไม่ถูกต้อง ปฏิบัติมันก็ผิด
ถ้าปริยัติไม่มี ปฏิบัติมันก็มีไม่ได้
มันเหมือนกับว่าเดี๋ยวนี้เขาใช้คำพูดว่า วิชาการ ปฏิบัติการ แล้วก็ผลงาน ต้องมีวิชาถูกต้อง มีการปฏิบัติถูกต้อง แล้วก็มีผลงาน ตามที่มันควรจะมี
คำอธิบายในที่บางแห่ง เรียกการปฏิบัติว่า งามในท่ามกลาง คือพรหมจรรย์นี้ งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องใต้ เอาปริยัติ เป็นความงามในเบื้องต้น เอาปฏิบัติ เป็นความงามในเบื้องใต้ เอาปฏิเวธ เป็นความงามใน, เบื้อง เอ้อ, ท่ามกลาง แล้วก็ ปฏิเวธเป็นความงามในเบื้องสุดท้าย มี ต้น กลาง ปลาย
เอาปริยัติ เป็นต้น
เอาปฏิบัติ เป็นกลาง
ปฏิเวธ เป็นปลาย
นี่เราจะต้องดูความที่มันขาดไม่ได้ มันต้องเนื่องกัน เปรียบให้ง่ายๆ ปฏิบัติ นั้น มันเหมือนกับหุงข้าวกิน ปริยัติ มันเหมือนกับมีข้าว แต่ถ้าไม่หุงกิน มันจะได้อะไรล่ะ ไม่มีปฏิบัติ ก็เหมือนกับว่ามีข้าวแต่ไม่ได้หุงกิน ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าดูกันอีกอย่างหนึ่ง มันก็เป็นที่น่าละอาย นอกจากไม่ได้กินข้าวแล้ว มันยังเป็นที่น่าละอายแก่คนที่เขาเห็น นี่, จึงต้องหุงข้าวที่มีอยู่แล้วกิน มีวิชาทางปริยัติถูกต้องแล้วก็หุง ถูกต้อง แล้วก็กิน, ไปกิน มีผลได้ทั้ง ๒ ทาง กินเพื่ออยู่ในโลกนี้ก็ได้ เพื่อเหนือโลกก็ได้
ปฏิบัติเพื่ออยู่ในโลก แล้วก็เพื่อเหนือโลก มันก็ต้องเป็นเรื่องปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยกันทั้งนั้น แล้วก็ไม่ขัดขวางอะไรกัน ให้มีแต่มันสูงขึ้นไป ปริยัติเพื่ออยู่ในโลก กับปริยัติเพื่อเหนือโลก มันก็ไม่ได้ขัดอะไรกัน ถ้ารู้จักจัด เหมือนกับว่าจัดหลีก ให้มัน ให้มันไป ไป สูงขึ้นไปได้โดยไม่ต้องกระทบกัน
ฉะนั้นเราควรจะรู้ ทั้งอย่างที่จะอยู่กันในโลก หรือว่าจะพ้นโลก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มันอยู่ในฐานะที่จะต้องอยู่ในโลก ประชาชนส่วนใหญ่ที่เราจะไปสอนเขา ให้เขา นี่มัน, มัน, ระดับที่จะต้องต่อสู้อยู่ในโลกต่อไป เพราะเขายังชอบโลกนี้อยู่ ในบาลีใช้คำว่า ยึดมั่นในเวทนาอยู่ ในโลกนี้มันมีเวทนาที่เป็นที่ต้องใจของสัตว์ทั้งหลาย ทีนี้สัตว์เหล่านั้น มันยังยึดมั่นในเวทนาเหล่านั้นอยู่ ไม่ต้องการจะไปเหนือโลก
แต่มันมีอีกพวกหนึ่ง แม้จะเป็นส่วนน้อย มันก็เห็นไอ้, ความไร้สาระของสิ่งที่เรียกว่าเวทนา มันก็ไม่ยึดมั่นในเวทนา มันจึงสามารถที่จะออกไป แล้วก็ไปเหนือโลกไป เราก็รู้ดีว่า เราจะสอนคนพวกหนึ่งอย่างไร เราจะสอนคนอีกพวกหนึ่งอย่างไร ก็สอนให้มันถูกวิธี
ทีนี้ก็ดูกันไปตามลำดับว่า การปฏิบัติ การปฏิบัตินี้มันเป็นสิ่งที่ต้องทำเอง พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ชัด
ตุมเหหิ กิจจัง อาตัปปัง ความเพียรเผากิเลส ท่านต้องทำเอง
อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก, บอก ผู้บอก อักขาตาโร ผู้บอก, ผู้บอกทาง บอกวิธี บอกอะไรต่างๆ
ในการปฏิบัติ ก็เป็นหน้าที่ของผู้นั้น จึงไม่มีหลักเกณฑ์ที่ว่า จะให้ใครมาช่วยอุ้มไป ในพุทธศาสนาเราจึงไม่มีพระเป็นเจ้าอย่างบุคคลน่ะ ที่จะมาคอยช่วย มันมีแต่พระเจ้าแบบกฎของธรรมชาติ นั่นคือกฎของธรรมะ กฎของกรรม กฎของอิทัปปัจจยตา เป็นต้น บังคับเลยว่า ต้องทำ ต้องทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างนั้น ก็จะต้องได้รับผลอย่างนี้ คือทนทุกข์ นี่ก็ต้องทำเอง ไม่มีพระเจ้าช่วย มีแต่พระเจ้าสั่ง พระเจ้าที่ออกคำสั่งมี แต่พระเจ้าจะอุ้มพาไปนั้นไม่มี
เราจึงไม่มีเรื่องไสยศาสตร์ ไม่มีเรื่องผีสาง เทวดา พระเจ้าอะไร ที่จะมาช่วย เหมือนกับที่อ้อนวอนกันอยู่เป็นประจำ ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงมาช่วย นี่, คำนี้ ไม่มีในพุทธศาสนา
ลำพัง มีความเชื่อ มีความเลื่อมใสนั้น มันไม่พอ มันต้องปฏิบัติตามนั้นด้วย นี่เรียกว่าปฏิบัติ ปฏิปัตติ คือปฏิบัติธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม ปฏิปัตติศาสนา สำคัญอยู่ที่คำว่า ปฏิบัติ
ในที่นี้มันก็ดูกันถึงคำที่พูดนี่ ดูกันที่คำ คือ คำว่าปฏิบัตินั่นเอง
ปฏิ แปลว่า เฉพาะ
ปะ ปัต ปัต หรือ ปะทะ ก็ตาม มันแปลว่า ไปให้ถึง
คำว่า ไปเฉพาะ ถึงเฉพาะ นั้นมันเฉพาะที่มันถูกต้อง เฉพาะที่ควรจะต้องการ มันไปถูกนั่นเอง มันไปถูกเรื่องที่ต้องการ
ฉะนั้น คำว่าปฏิบัติ ไม่ได้แปลว่าไปเฉยๆ เรียกว่าไปอย่างถูกต้อง เฉพาะ เจาะจง ในสิ่งที่ปรารถนา เรียกว่ามันตรงจุด และตรงจุดประสงค์
เป็นชื่อของการปฏิบัติ ก็เรียกว่า ปฏิปัตติบ้าง ปฏิปทาบ้าง คำดียวกัน ให้ไปเฉพาะ หรือถึงเฉพาะ
ถ้าเป็นชื่อของบุคคล ก็เรียกว่าปฏิปันโน ผู้ไปเฉพาะ ผู้ถึงเฉพาะ
ถ้าเป็นกริยาในประโยค ก็เรียกว่าปฏิปัตติ หรือปฏิบัติอะไร ก็แล้วแต่ ทุกคำมันแปลว่า ไปเฉพาะ หรือ ถึงเฉพาะ
นั้น, เรากำลังพูดกันถึงเรื่องการไปเฉพาะ วิธีการไปให้ถึงเฉพาะจุดประสงค์ มันต้องชัดเจนกันอย่างนั้นแหละ ไปเฉพาะตรงจุดที่ประสงค์ แล้วก็ถึงด้วย
ทำอย่างไรเราจะเป็นอย่างนั้น และช่วยให้ผู้อื่นเป็นอย่างนั้นด้วย จึงป็นการทำเหมือนกับพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าท่านไป และถึงแล้วด้วย แล้วก็ท่านช่วยให้ผู้อื่นไปและถึงได้ด้วย เมื่อเราจะรับทายาท สืบทายาทของพระองค์ก็ต้องทำอย่างเดียวกัน ตัวเองมันก็ต้องไปให้ถึง ไปถึงได้เท่าไร ก็ช่วยหรือสอนผู้อื่นให้ไปถึงได้เท่านั้น จะสอนให้มากกว่าที่ตัวเองได้ หรือตัวเองถึง มันก็ต้องอาศัยปริยัติล้วนๆ อีกแหละ ซึ่งมันไม่ปลอดภัย ฉะนั้นเราไปได้เท่าไร เราช่วยคนอื่นไปได้เท่านั้นแหละ มันปลอดภัย มันแน่นอน
ทีนี้การไป, การเดินไป มันก็มีอยู่เป็นขั้นตอน ตามที่ทราบกันอยู่ดีแล้ว ทุกคนเรียนนักธรรมมาแล้ว การปฏิบัติ มีขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ก็เคยเรียนมาแล้ว เคยรู้มาแล้ว มันก็เข้าใจให้มันถูกต้องว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ พูดโดยวิชาการ พูดได้เป็น ๓ อย่าง ไอ้ที่มันแยกกันอยู่เป็นอย่างๆ มัน ๓ อย่างนี้ ไม่สำเร็จประโยชน์หรอก ธรรมะทั้งหลายมันแยกกันเป็น ๓ อย่าง หรือเป็นกี่อย่างตามใจ ไม่สำเร็จประโยชน์ ต่อเมื่อมันรวมกัน เป็นสิ่งเดียว เขาเรียกว่า สมังคี มีส่วนเสมอกัน เข้าเป็นอันเดียวกัน มันจึงจะสำเร็จประโยชน์
ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าแยกกันอยู่เป็นส่วนๆ แล้ว นอนกลิ้งอยู่ตรงนั้นแหละไปไหนไม่ได้ แต่ถ้ามันรวมกัน แล้วก็ เรียกว่า มรรค มันเปลี่ยนชื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันรวมกัน เป็นเรื่องเดียวแล้ว มันก็เปลี่ยนชื่อเรียกว่า มรรค ก็มีหนึ่ง หรือมีอันเดียว
ฉะนั้น เราต้องบอกให้เขารู้ว่า อย่าไปแยกกัน อย่าไปอุตริทำแยกกัน มันก็หวังพึ่งแต่ศีลบ้าง หวังพึ่งแต่สมาธิ อวดดีทางสมาธิบ้าง หรือปัญญาก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นอย่างเดียว มันก็ไม่รอดหรอก มันต้องมีศีล สมาธิ ส่งท้ายสนับสนุนอยู่นั่นเอง
ลำพังศีล ไม่เกิดประโยชน์ ไปเน้นกันแต่ศีล ก็คือผู้ที่ไม่รู้นั่นเอง มันก็เน้นกันแต่ศีล มันเป็นเพียงรากฐานที่ดีเท่านั้นเอง ศีล
ลำพังสมาธิ ยังค่อยยังชั่ว คือให้มันเกิดปัญญา แต่มันเป็นปัญญาชนิดที่ยังไม่ตัด คือไม่ตัดกิเลส มันต้องบำเพ็ญปัญญานั้นอีกทีหนึ่ง ให้มันสูงขึ้นไป จนมันตัดได้
มันมีคำที่ทำให้กำกวม ความเข้าใจกำกวม คือประโยคที่ว่า เรียกว่า สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามที่เป็นจริง
ปชานาติ แปลว่า รู้ ยังไม่ใช่ ใช้คำว่า เห็น หรือ ญาณ ปชานาติ
ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ สมาหิโต
ยถาภูตัง ปชานาติ ย่อมรู้ตามที่เป็นจริง
ถ้าเราฟังผิวเผิน ก็แปลว่า เราก็ไม่ต้องทำปัญญา เพียงแต่ทำให้เป็นสมาธิ คือ สมาหิโต แล้วมันก็รู้หมดเอง ถ้าอย่างนี้ไม่ถูกหรอก
แต่บางคนยังจะสงสัยอยู่ว่า ทำจิตเป็นสมาธิแล้วจะรู้ได้อย่างไร จะรู้ได้อย่างไร แต่มันก็มีพระบาลีอยู่อย่างนี้ว่า ยถาภูตัง ปชานาติ รู้ตามที่เป็นจริง นี้มันเป็นชั้นต้น ถอยออกมาจากชั้นต้นว่า พอจิตเป็นสมาธินั้นแหละ ไอ้คำถามหรือปัญหานั้น มันจะมีคำตอบออกมา เพราะว่าคำถามนั้นมันมีอยู่โดยอัตโนมัติ มีอยู่โดยไม่รู้สึกตัว อยู่ในใจ คำถามมันจะมีอยู่ในใจโดยไม่รู้สึกตัว พอเราทำจิตให้เป็นสมาธิ เป็นสมาหิโต ขึ้นมา ไอ้คำตอบมันจะออกมา คล้ายๆกับว่านึกออกมา โดยไม่มีปี่ ไม่มีขลุ่ย เหมือนกับเมื่อจิตสบายดี ปกติดี ถูกต้องดี มีความรู้มันพร่างพรูออกมา จากคำถามที่มันอัดไว้ข้างใน คือมันอยากรู้อะไร มันจะออกมา บางทีเราตื่นนอนขึ้นมา นึกอะไรได้ เป็นคุ้ง เป็นแคว มากมายหลายเรื่อง ทั้งหมดนั้นเป็นคำตอบของปัญหาที่มันอัดอยู่ข้างในตลอดเวลา ปัญหา หรือความไม่รู้ที่เราเก็บไว้ พอได้โอกาสเมื่อจิตโปร่งดี มันออกมาเป็นคำตอบได้ ด้วยจิตชนิดนั้น
จิตที่เป็นสมาธิ เราก็มีอีกคำเรียกอยู่อีกคำ ว่า กัมมนียะ กัมมนีโย ควรแก่การงาน ไวต่อการงาน แล้วมันนึกได้ มันคิดออก เมื่อจิตเป็นสมาธิ ไอ้ปัญหาที่ค้างคาอยู่ในจิต มันจะได้รับคำตอบออกมาจากความเป็นสมาธิ นี่เรียกว่า สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ แต่อย่าเอาอะไรมันมาก ถึงที่สุด มันเพียงรู้ตามที่เป็นจริง แต่มันยังไม่ตัดกิเลสนั่น มันต้องบ่ม เจริญ ความรู้ ตามที่เป็นจริงนี้ ต่อไปอีก ต่อไปอีก มันก็รู้ตามที่เป็นจริง มากขึ้น ไกลออกไป ไกลออกไป จนถึงขนาดที่จะตัด, ตัดได้
โดยส่วนใหญ่ ท่านแบ่งญาณเป็น ๒ ขั้น ญาณทั้งหมด
ขั้นแรกเรียกว่า ธรรมฐิติญาณ ญาณที่เห็น ธรรมฐิติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ญาณขั้นที่สอง เรียกว่า นิพพานญาณ คือดับ ดับซึ่งกิเลส
ญาณมีเยอะ มีชื่อเยอะแยะ กี่สิบชื่อ ตามใจ เอาไปจัดหมวดหมู่ดูเถิด มันจะเหลืออยู่เพียง ๒ หมวด ไอ้ญาณกลุ่มหนึ่งเป็น ธรรมฐิติญาณ เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ตามที่เป็นจริง เช่น อนิจจัง ทุกขัง, อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น มันอยู่ในคำว่า ยถาภูตัง ปชานาติ
ทีนี้ ธรรมฐิติญาณ ที่ได้รับการอบรมยิ่งขึ้นไป มันก็จะเป็น นิพพานญาณ คือมันจะดับ จะดับกิเลส จะดับทุกข์
ฉะนั้นเราก็มีสมาธิ แล้วก็มีผลให้รู้ ตามที่เป็นจริงในสังขาร โดยเฉพาะเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ มาได้ ลำพังสมาธิล้วนๆ มันจะ, จะหยุดอยู่แค่นี้ ยถาภูตัง ปชานาติ อยู่ในเพียงแค่ ธรรมฐิติญาณ
ทีนี้ปัญญา มาถึงขั้นปัญญา สูงออกไป มันไกลออกไป มันจะไปถึงการดับ เรียกว่า นิพพานญาณ
ลำพังศีล มันก็ได้แต่เพียงรากฐาน
ลำพังสมาธิ ก็ได้จิตตั้งมั่น
ถ้าปัญญา นั่นแหละ มันจึงจะทำหน้าที่สุดท้าย
แต่มันก็ทำเองตามลำพังไม่ได้ มันต้องมีสมาธิ ต้องมีศีล มันเป็นลักษณะปนกัน รวมกัน เรามักจะสอนกันแต่เป็นอย่างๆ แยกอย่าง แล้วพยายามจะแยกกันให้ออกมา ออกมาจากกันเลย จำไว้เป็นหลักว่า มันไม่มีทางที่จะสำเร็จหรอก ถ้ามันยังแยกอยู่เป็นอย่างๆ เป็นศีล เป็นสมาธิ ปัญญา มันไม่มีทางจะสำเร็จประโยชน์ ต่อเมื่อมาทำให้มันรวมกันได้ มากลายเป็นมรรค มรรคะ แล้วก็มีองค์ ๘ เมื่อนั้นจะสำเร็จประโยชน์ นี้เรียกว่าถ้าเราจะแยกดู
ในที่นี้ยังมีเรื่องที่จะต้องสังเกตุอีก อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าคงจะไม่ค่อยทราบกันนัก ไม่ค่อยจะทราบกันนัก เพราะไม่เอามาสอนกันเลย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็น ๓ อย่างแล้ว เดี๋ยวนี้ เราจะเรียนอย่างปริยัติ เอาไปแยกได้ แยกออกได้ แล้วมันมี๒ ประ, เอ่อ, ๒ พวก หรือ ๒ ประเภท
คือ ประเภทหนึ่ง มัน, มันสักว่าทำ ไปตามความต้องการของคนนั้น ซึ่งโดยมาก ไอ้คนเหล่านั้นมันก็เป็นคนธรรมดา เป็นปุถุชนธรรมดา ยังติดอยู่ในโลก มันก็ทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามประสาโลกๆ ไม่ไปสู่นิพพาน นั้น ที่ว่ามันจะไปสู่นิพพานได้ ท่านตรัสไว้เฉพาะ เป็นคำที่สำคัญมาก ถ้าจะจด จะจำ หรือจะจดจำไว้ดีๆ ถ้ายังไม่เคยทราบ
มันมีคำว่า วิเวกนิสสิตัง
และมีคำว่า วิราคนิสสิตัง
นิโรธนิสสิตัง
โวคสัคคปรินามิง
ให้ทวนอีกทีว่า วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง ๔ คำนี้ ตอนต้น
วิเวกนิสสิตัง อันวิเวกอาศัยแล้ว อันวิเวกอาศัยได้
วิราคนิสสิตัง อันวิราคอาศัยได้
นิโรธนิสสิตัง อันนิโรธอาศัยได้ อาศัยแล้วนะ
โวคสัคคปรินามิง น้อมไปเพื่อการสละลง สละทิ้ง น้อมไปเพื่อการสละทิ้ง
จะเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ชนิดไหน ถ้ามันไม่มีลักษณะ ๔ ประการนี้แล้ว มันไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้นในทางธรรมชั้นสูง ท่านจะกำชับหรือจำกัดความไว้ด้วย ไอ้คำ ๔ คำนี้แหละ
เราจะมีศีล แต่มันไม่ได้, มันวิเวกอาศัยไม่ได้ ราคะอาศัยไม่ได้ นิโรธอาศัยไม่ได้ เพราะมันเป็นศีลที่พูดทำ หากว่าต้องการจะไปสวรรค์ จะไปนอนในวิมานนั้น ให้มันลดลงมาถึงทำทานน่ะ ทายก ทายิกา บำเพ็ญทานนั้น มันจะไปนอนในวิมานกัน
ทาน นี้ วิเวก อาศัยไม่ได้ วิราคะ อาศัยไม่ได้ นิโรธอาศัยไม่ได้ แล้วมันไม่เป็น โวคสัคคปรินามิง คือ ไม่น้อมไปเพื่อสละทิ้ง เขาจะเอาอีก แล้วเขาไม่ชอบวิเวกนี่ เขาจะไปอยู่ในสวรรค์ จะวิเวกอะไร แล้วมันก็ไม่ วิราคะ ไม่นิโรธะ
ฉะนั้น การถือ การทำทั้งบุญ ทำทาน ถืออุโบสถศีล อะไรที่ชาวบ้านเขาทำนั้น มันไม่, ไม่มี ไอ้ ๔ ข้อนี้
ถ้าจะให้ชาวบ้านเป็นพวกที่มาตามทางของนิพพาน มาอยู่กลุ่มนี้ล่ะก็ ให้เขาถือ, เอ่อ ให้เขาให้ทาน หรือรักษาอุโบสถอะไรกันเสียในรูปแบบใหม่ คือแบบที่ว่า วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง
ฉะนั้น เราต้องให้ทาน ก็, ก็ให้เพื่อหมดกิเลสสิ อย่าให้ทานเพื่อแลกเอานิพ, เอาวิมานสิ จะรักษาอุโบสถศีล ก็เพื่อมัน, ให้มันเพื่อ วิเวก มันเพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่อสละทิ้งกิเลส หรือที่ตั้งแห่งกิเลส ถ้าทำได้อย่างนี้ ไอ้ทาน หรืออุโบสถศีลของชาวบ้านนั้น มันจะพาไป, ไปนิพพาน
ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนกัน ต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ถูกต้อง คือ ศีลก็อา,
เป็น วิเวกนิสสิตัง เป็นไปเพื่อวิเวก วิเวกอาศัยได้
วิราคนิสสิตัง ความคลายกำหนัด ความคลายความยึดถืออาศัยได้ ก็เป็นไปเพื่อความคลายยึดถือ
นิโรธนิสสิตัง คือ นิโรธ ความดับทุกข์อาศัยได้ เป็นไปเพื่อนิโรธ
โวคสัคคปรินามิง ศีลนี้เพื่อสละ สละ สละ ไอ้สิ่งที่ไม่ควรจะมี
นี่, ศีลอย่างนี้ถูกต้อง
ที่กล่าวไว้ในลักษณะเป็น โพชณงค์ ทั้ง ๗ มันจะมีคำเหล่านี้ต่อท้ายทั้งนั้นแหละ โพชณงค์ แต่ละ, แต่ละองค์ แต่ละองค์ จะมี ๔ คำนี้ต่อท้าย ในที่นี้ เมื่อเขาเอามาเขียนให้เราเรียนในหลักสูตรนักธรรม เขาไม่ได้เอามา ๔ คำนี้ไม่ได้เอามา มันเลยเข้าใจยากและมันยุ่ง คือ
ศีลก็ต้องเป็น มีลักษณะ ๔
สมาธิก็ต้องมีลักษณะ ๔
ปัญญาต้องมีลักษณะ ๔
รวมกันแล้วเรียกว่า ไตรสิกขา ที่มันเป็น วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง ๔ คำนั้นแหละเป็นหลักใหญ่
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มันทำด้วยความเห็นอย่างอื่น ความหวังอย่างอื่นนั้น ต้องการอย่างอื่น มันก็เพื่อประโยชน์เวียนว่ายในวัฏฏะ เวียนว่ายในวัฏฏะสงสาร ไม่มาทางนิพพาน มีเรียกชื่อผู้หนึ่งว่า วัฏฏคามินี หรือ วิวัฏฏคามินี ถ้ามันไม่ประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ มันก็เป็นวัฏฏคามินี มันไปตามกิเลสตัณหาของคนผู้ทำ แต่ถ้ามันถูกต้องแล้ว มันประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ มันเป็น วิ เติม วิ เข้าไปข้างหน้า วิวัฏฏคามินี มันจะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ ทางโน้นเป็นฝ่าย วัฏ วัฏฏะ ทางนี้เป็นฝ่าย วิวัฏฏ ถ้าเราจะสอนประชาชนชาวบ้านก็ให้เขาเลือกเอาที เขาจะเลือกเอาฝ่าย วัฏฏะ หรือว่าฝ่ายวิวัฏฏะ
ถ้าเขาต้องการบุญ ต้องการกุศล เวียนว่ายตายเกิด หรืออะไรก็ตาม เขาก็เลือกเอาฝ่ายนั้น ถ้าอย่างนั้น มันไม่เป็นอย่างสี่ นี้ ไม่เป็น วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง
ทีนี้ว่า ถ้ามันรวมกันเป็น มรรค นะ ไอ้สามสิกขานี้รวมกันเป็นมรรค มันก็ยังมีอย่างนั้นอีก ไอ้มรรคที่ไม่สมบูรณ์ มัน, มันไม่มี วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง เป็นมรรคของคนธรรมดา มรรคของคนที่ไม่รู้ คือ สัมมาทิฏฐิ ไม่เพียงพอ
ถ้ามันรวมกันเป็นมรรคมีองค์แปด มรรคเดียวแล้วก็, มันก็จะทำ, กำกับไว้ด้วย คำว่า วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง จึงจะเป็น มรรคที่พาไปได้ หรือจะเป็น ปฏิปทาที่จะพาไปได้ ไอ้ สี่หัวข้อนี้เป็นหลัก, หลักใหญ่ แล้วคอย คอย คอยฟังต่อไป คือ ท่านให้คุณศัพท์ประกอบ ประกอบมันอีกทีหนึ่ง ว่าถ้ามันเป็น สี่อย่างนี้แล้ว
มันก็จะเป็น วิปุรัง เพียงเติมไปอีกหนึ่ง วิปุรัง คือ ไพบูลย์ สมบรูณ์
มันจะเป็น มหัคคตัง ถึงซึ่งความใหญ่หลวง, มหัคคตัง
แล้วมันก็จะเป็น อัปปมานัง, อัปปมานัง พ้นประมาณ ไม่มีประมาณ คือพ้นประมาณ
แล้วมันจะเป็น อัพยาปัชฌัง คำนี้ให้ความหมายพิเศษ ไม่ใช่ ไม่ใช่ พยาปัชฌัง ธรรมดาๆ อัพยาปัชฌัง คือ ไม่, เอ่อ, ไม่เบียดเบียน ไม่ถึงซึ่งวิปริต อัพยาปัชฌัง นี้แปลว่าไม่เบียดเบียน คือ มันไม่เบียดเบียนคน ผู้ปฏิบัติเพราะมันไม่มีกิเลส ถ้าไม่, ไม่เป็นอย่างนั้น มันจะยังเบียดเบียนคนนั้นอยู่แหละ จะรักษาศีลไปสวรรค์ มันก็เบียดเบียนคนนั้นอยู่ในสวรรค์
ถ้ามันมาฝ่ายนี้ มาด้วยองค์สี่ข้างต้น และในที่สุด รวมเรียกว่า อัพยาปัชฌัง มันก็หมายความว่า ผู้นั้นจะไม่มีความทุกข์อีกต่อไป
(นาทีที่ 30.38) พยาปัชฌะ วิชชาปัชฌะ นี่ เราจะ ...ยาปัชฌะ มัก, มักหมายถึง เบียดเบียนกันด้วย, ด้วยอาวุธ ด้วยเรี่ยวแรงนี้ มัน, ความหมายมันต่ำ ไม่ถึงซึ่งความวิปริต ไม่ถึง, ไม่มีการถึงซึ่งความวิปริต ก็คือ ไม่เบียดเบียน จะเป็นความเบียดเบียนในความหมายที่สูง สูง สูง เบียดเบียนด้วยกิเลส เบียดเบียนด้วยทุกข์ชั้นละเอียด
ถ้ามันยังเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ของปุถุชนธรรมดา ไม่ประกอบด้วย วิเวกนิสสิตัง มันก็แล้ว, มันจะเบียดเบียนอยู่นั้นแหละ แม้จะมีผลอย่างไร มันก็จะเบียดเบียนอยู่
ทวนคำ, คำ ๔ หลัง นี้ ทีหลังอีกทีว่า ถ้ามันไม่มี วิเวกนิสสิตัง เป็นต้นแล้ว
มันจะ วิปุรัง, วิปุรัง ไพบูลย์น่ะ
มันจะเป็น มหัคคตัง ถึงซึ่งความใหญ่หลวง
มันก็จะเป็น อัปปมานัง พ้นประมาณ ไม่มีประมาณ
แล้วมันก็จะเป็น อัพยาปัชฌัง ไม่มีการเบียดเบียนอีกต่อไป
แปดคำนี้ สำคัญอยู่ที่ สี่คำแรก สี่คำหลัง มันช่วยขยายความ สี่คำแรก ถ้ามันเป็นอย่าง สี่คำแรกแล้ว มันก็จะมีลักษณะเหมือนกับ สี่คำหลัง
ดังนั้น จึงมักจะใช้แต่ สี่คำแรก สี่คำหลัง ไม่ค่อยใช้ก็ได้ มันเป็น วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง แล้วมันจะเป็นอย่าง สี่คำหลังเอง โดยไม่ต้อง, ไม่ต้องเจตนาอะไรอีก
ฉะนั้นก็ให้ประชาชนเขารู้ว่า ไอ้ข้อปฏิบัติทั้งหลาย ทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา อะไรก็ตาม มันแยกอยู่เป็น สองอย่าง อย่างนี้
ถ้าไม่ประกอบด้วย วิเวกนิสสิตัง แล้วก็ มันไม่เอียงไปทางนิพพาน มันไม่เงื้อม ไม่โอนไปทางนิพพาน
ถ้าเขาอยากจะไปนิพาน ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน เขาจงรักษา จงให้ทาน รักษาศีลอุโบสถ หรือว่าอะไรก็ตาม ที่เรียกว่าเป็นเรื่องบุญ เรื่องกุศล โดยมุ่งหมาย วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง
ทีนี้ ไอ้คำเหล่านี้เขายังไม่เคยฟังก็ได้ บางทียังเป็นของใหม่ที่จุดกันได้ ที่เราจะไปพูดให้เขาฟัง ว่าปฏิปทาการปฏิบัตินั้นมีอยู่ ๒ ชนิด อย่างนี้
ผู้ใดใคร่ลาภ ก็จงได้ลาภ
ผู้ใดใคร่บุญ ก็จงได้บุญ
ผู้ใดใคร่นิพพาน ก็จงได้นิพพาน
และข้อปฏิบัติ มันมีอยู่อย่าง นี้
ทีนี้ก็จะพูดกันถึงเรื่องลำดับของข้อปฏิบัติ เราได้ยินแต่คำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา จนชิน จนเป็นหลักตายตัวว่า ต้องมีศีล ต้องมีสมาธิ ต้องมีปัญญา เอาศีลมาเป็นอันที่หนึ่งกันแทบทั้งนั้นแหละ เราไม่ได้ยินคำว่า ปัญญา ศีล สมาธิ
ทีนี้เราก็แยกกันได้ ถ้าเราพูดอย่าง, อย่างวิชาการ อย่างทฤษฎี อย่างวิชาการนั้นเราเรียก, เราเรียงลำดับเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่ถ้าพูดอย่างปฏิบัติ ปฏิบัติกันจริงๆแล้วไม่ได้ ศีล สมาธิ มันมาไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีปัญญา แล้วถ้าขึ้นมาก็ผิดหมด ถ้าโดยปฏิบัติ, ปฏิบัติการแล้วต้องเรียงใหม่เป็น ปัญญา แล้วศีล แล้วสมาธิ เหมือนในองค์มรรค มรรคมีองค์แปด
สององค์แรก เป็นปัญญา
สามองค์ถัดมา คือศีล
สามองค์ถัดมา คือสมาธิ
พระพุทธเจ้าท่านตรัส อริยมรรคมีองค์แปด แปดองค์นี้ ก็เรียงปัญญาก่อน และเรียงศีล และเรียงสมาธิ และนี่, เมื่อพูดโดยปฏิบัติ หรือการปฏิบัติที่จะเป็นได้จริงแล้ว ต้องปัญญามาก่อนทั้งนั้น ทีนี้มันจะเข้ามาสู่ศาสนานี้ก็ดี จะลงมือปฏิบัติก็ดี ปัญญาต้องมาก่อน แล้วมันจึงปฏิบัติศีล ปฏิบัติสมาธิได้ถูกต้อง
พอถึงคราวปฏิบัติต้องเรียงใหม่ เรียงเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ในเมื่อเรียง, เมื่อเรียงอย่างทฤษฎี วิชาการ สำหรับเรียนเท่านั้น ก็เรียง เรียงอย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา
ปัญญา ต้องนำหน้าเขาหมดแหละ เหมือนเช่น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นี้มาก่อน จนถึง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว (นาทีที่ 36.16) ?????????????? ปัญญามันนำมาสู่แนวแห่งความถูกต้อง คือต้องมาก่อน ทำให้เกิดศีล, และให้มีศีลอย่างถูกต้อง ให้มีสมาธิอย่างถูกต้อง
ถ้าปัญญาไม่มาก่อน ไอ้ศีล และ สมาธินั้นจะไม่ถูกต้อง จะกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ไปหมดสิ้น แล้วมันก็ไปไม่รอด เพราะว่าปัญญามันมาก่อน มาควบคุมไว้อย่างดี ศีลนั้นมันก็ผิดไม่ได้ เพราะมันมีปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องควบคุม ก็ไม่เป็น เอ่อ, สีลัพพตปรามาส เดี๋ยวนี้คนเขารักษาศีลบ้าง เจริญสมาธิบ้าง เป็นสีลัพพตปรามาส เพราะไม่มีปัญญาที่ถูกต้อง รักษาศีลหรือเจริญสมาธิ เพื่อเอาผล ซึ่งไม่, ไม่ถูกต้องตามความมุ่งหมาย งมงายหมด ไปหากิเลสกันหมดแหละ
ไอ้ศีล สมาธิ ที่ปัญญาไม่ควบคุมไว้ จะไปหากิเลสอย่างใหม่อีก เป็นสีลัพพตปรามาส ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เป็นสีลัพพตปรามาส ที่เป็นข้อแรกที่สุด ที่จะต้องละ เพื่อความเป็นพระอริยเจ้า
ถ้าอธิบายคำว่า สีลัพพตปรามาส แล้วก็ อธิบายอย่างนี้น่ะถูกที่สุด ถึงจะอธิบายว่า สีลัพพตปรามาส คือวัตรปฏิบัตินอกพุทธศาสนา อย่างนั้นมันหลับตาพูด แล้วมันจะเกี่ยวข้องอะไรกัน กับเรา ถ้ามันอยู่นอกพุทธศาสนา แต่นี้มันในพุทธศาสานานี้ แต่มันกลายเป็นสีลัพพตปรามาสไป เพราะเราไม่รู้เหตุผลของมัน ไม่รู้จุดประสงค์ จึงทำผิดจุดประสงค์อย่างงมงาย รักษาศีลห้า ศีลแปด ศีลอะไรก็ตาม หรือแม้แต่ศีลภิกษุนี้ ถ้าโง่ รักษาอย่างงมงาย มันก็เป็นสีลัพพตปรามาส สมาธิก็เหมือนกัน เมื่อมันเดินผิดทาง เป็นมิจฉาทิฐิแล้ว มันก็เป็นสีลัพพตปรามาส ไม่ใช่เฉพาะไอ้ของนอกศาสนา ประพฤติอย่างวัว ประพฤติอย่างสุนัข ไม่, ไม่, ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนั้นไม่มีใครทำอยู่แล้ว แล้วก็ไม่ดู, ไม่ดูให้ดี ว่าใน, ใน, ในพุทธศาสนาที่กล่าว กล่าวไว้ใน, ถ้าทำไปโดยมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็เป็นสีลัพพตปรามาส ไม่มีส่วนเหลือ กลายเป็นพิธีรีตรองไปหมดแหละ เป็นไสยศาสตร์ไปเลยแหละ ไอ้ศีล สมาธิ มันจะกลายเป็นไสยศาสตร์ไปเลย ถ้ามันไม่มีปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิ ควบคุม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสหลักปฏิบัติให้ ปัญญามาก่อน และก็ศีล และก็สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ,ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญามันนำ ศีล สมาธิ มาถูกต้องแล้ว มันเพิ่มปัญญาขึ้นไปอีก ปัญญามันก็นำ ศีล สมาธิ ให้สูงขึ้นไป, ปัญญามาอีกก็นำ ศีล สมาธิ ให้สูงขึ้นไป มันก็ไปถึงจุดปลายทางได้ นี่เรียกว่าลำดับของไตรสิกขา
ถ้าพูดอย่างวิชาทฤษฎี มันก็ ศีล สมาธิ ปัญญา
ถ้าพูดอย่างเพื่อการปฏิบัติโดยแท้จริง มันกลายเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญา ศีล สมาธิ ซึ่งไม่คุ้นหู และก็ไม่ค่อยจะได้พูดกัน เพราะมันไม่คุ้นหู
จึงบอกให้รู้ไว้ว่า พอถึงคราวปฏิบัติแล้วก็ ปัญญากระโดดออกมาอยู่เป็นตัวหน้า เป็นอันหน้า อันแรก
เดี๋ยวนี้เมื่อเราพูดตามวิชาการ หรือทฤษฎี ศีลมันก็ ก็มาก่อนสิ มันต่ำกว่า เป็นรากฐานเท่านั้นเอง สมาธิก็สูงขึ้นไป ปัญญาก็ยิ่งยาก สูงขึ้นไป มันก็เรียงอย่างนั้น ฉะนั้นเรียง, เรียงไว้สำหรับเรียนรู้จัก แต่พอปฏิบัติทำอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเอาปัญญามาอยู่หน้า เป็นผู้รู้ทาง เป็นผู้มองเห็นทาง เป็นผู้เข้าใจทุกอย่าง
ฉะนั้นจะเปรียบเทียบให้มันเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น อย่างในวิสุทธิมรรค เขาพูดไว้ดี
ไอ้ศีลนี่ เหมือนกับเตรียมพื้นดิน เหยียบพื้นดิน
สมาธิ ก็ลับอาวุธ
ปัญญา ก็ถากถาง
กิเลสรกชัฎนี้ ก็เห็นง่าย อย่างนี้มันก็พูดอย่างทฤษฎี ไม่ได้พูดอย่างปฏิบัติการ ถ้าปฏิบัติการ ต้องปัญญามาก่อน
ทีนี้ผมจะพูดที่ตรงตามหลักพระบาลีมากที่สุด อุปมาว่า
ไอ้ศีลนี่ มันก็เหมือนกับไปเอาแว่นตามา แปลกนะ ศีลนี่ เหมือนกับไปเอาแว่นตามา
แล้วสมาธิ มันก็ เช็ดแว่นตาที่สกปรกนั้น ให้มันใส
และปัญญา ก็คือ ดูด้วยแว่นตาที่ใสแล้ว
มันสำคัญอยู่ที่ดู ที่ดู มันไม่ใช่คิดคำนวณ คำนึง คาดคะเน มันต้องดูลงไปที่ของจริง เดี๋ยวนี้มันดูไม่เห็น เพราะมันมีของสกปรกติดแว่นอยู่ ก็เช็ดด้วยอำนาจสมาธิ คือทำสมาธิแล้ว ถูกต้องดีแล้ว จิตมันจะกลายเป็นแว่นที่เช็ดแล้ว มันก็จะ สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ ได้ อุปมาอย่างนี้มันไม่มีพระบาลี ผมว่าเอาเอง เพราะไม่ค่อยเห็นด้วยกับอุปมาในวิสุทธิมรรคนัก เพราะมันเป็นเรื่อง, นั้นมันเป็นเรื่องวิชาการนะ พูดอย่างนั้น ฉะนั้นมันอยู่ที่ ดู
ทีนี้ ถ้าว่าเรียงกันเสียใหม่ตามแบบปฏิบัติการ ปัญญามาก่อน คือ ดู ดู เห็น แล้วก็เดิน ศีลก็เดินในขั้นต้น สมาธิก็เดินในขั้นต่อไป ให้มัน, มันดู คือ ดู ดู ดู ดูไปตามลำดับ จนเห็นหมด เห็นชัดแจ้ง
ก็อยากจะบอกให้ทราบว่า ทำสมาธิ วิปัสสนา นี่ มันทำเพื่อการดู ไม่ใช่เพื่อการคิด เราเคยใช้คำผิดๆ แม้ผมเองก็เคยใช้คำผิดๆ ว่า วิปัสนา คือการคิดนึกพิจารณา เดี๋ยวนี้รู้แล้ว ว่าไม่ได้, ไม่ใช่พิจารณา พิจารณาไปตามความคิด ไปตามเหตุผล มันน้อมนำไป ต้องเป็นการดู ที่มันเห็นตามที่เป็นจริง ลงไปจริงๆ ไม่มีการน้อมนำไปด้วยความคิดนึก หรือความคิดเห็นอะไร ขอให้มันเป็นการดู
เมื่อดูไม่เห็น เพราะแว่นมันยังไม่ใส ก็ต้องทำให้แว่นมันใส สมาธิก็เหมือนการเช็ดแว่น ศีลมันก็ช่วยให้ทำได้ง่ายขึ้น นี่เรียกว่าลำดับ เรียกสั้นๆ ว่าถ้าเป็นเรื่อง,
ถ้าเป็นเรื่องวิชาการ ทฤษฎี ก็เอา ศีล สมาธิ ปัญญา
ถ้าเป็นเรื่องปฏิบัติกันจริงๆ ก็เป็นเรื่อง ปัญญา ศีล สมาธิ
นี่เป็นการดู และเห็น แล้วทำถูกต้อง ไม่หลงนะ ถ้าเห็นแล้วก็ ไม่ ไม่ ไม่เป็นอวิชชา ก็เป็นวิชชา มันก็ถูกต้องหมด
เอ้า, ทีนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นระบบปฏิบัติ การปฏิบัตินี้มันสำคัญ อยู่ที่ขั้นตอน ปฏิบัติจิต ศีลเป็นอุปกรณ์ในเบื้องต้น เป็นรากฐานในการปฏิบัตินี่ คืออยู่ที่ปฏิบัติจิต คือ สมาธิกับปัญญา ที่เรามักจะเรียกกันว่า สมถะ และ วิปัสสนา สองอย่างเอามารวมกันเข้าเป็นระบบ จิตภาวนา ถ้าเราจะเรียกให้คำเดียว เราเรียก จิตภาวนา รวมกันอยู่ทั้งสมาธิ และทั้งปัญญา ระบบปฏิบัติที่เป็นตัวแท้ ก็คือ จิตภาวนานั้นเอง
ศีล เป็นอุปกรณ์ เป็นฐานรากในเบื้องต้น เหมือนกับแผ่นดินที่เรารองเหยียบ และทำอะไรเมื่อได้เหยียบบนแผ่นดินที่มั่นคง แล้วก็ทำอะไร ให้จริงจัง ให้สำเร็จประโยชน์ นั้นก็เรียกว่า เมื่อเช็ดแว่นตาสะอาดแล้ว มันก็ดู
ต่อไปนี้ ก็จะเป็นเรื่องจิตภาวนา ทำสมาธิ ทำกรรมฐาน ทำกรรมฐาน หรือเรียกว่าทำสมาธิภาวนาก็ได้ ในพระบาลี สมาธิภาวนา กินความหมดแหละ วิปัสสนาก็เป็นสมาธิภาวนา
สมาธิภาวนา มีอยู่ ๔ อย่าง คือ
ทำให้เกิดความสุขเดี๋ยวนี้
ทำให้เกิดอิทธิปาฎิหาริย์
ทำให้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปัชชัญญะ
ทำให้สิ้นอาสวะ
สี่อย่างนี้เรียก สมาธิภาวนา เสมอกันหมด ทีนี้มันไม่, ไม่ตรงกับที่เราเรียนกันในโรงเรียนนักธรรม สมาธิมันหมายแต่ทำจิตให้ตั้งมั่น แต่สมาธิภาวนา การเจริญสมาธิ หรือความเจริญด้วยอำนาจของสมาธินี้มันมีทุกอย่างนั้นมันมีทุกอย่างหมดเกี่ยวกับจิต ก็คือทำ กรรมฐาน ที่จะไปสอนกรรมฐานกันอย่างไรนั้นนะ รับผิดชอบเอง ไปสอนกรรมฐานกันอย่างไร ที่จะพูดถึงเรื่องว่า สอนกรรมฐานกันอย่างไร สอนจิตภาวนากันอย่างไร
ขออภัย พูดตรงๆนะ เพื่อประหยัดเวลา ไม่ได้ตั้งใจจะกระทบ กระทั่ง ประชด ประชันผู้ใด การกระทำกรรมฐาน สมาธิภาวนา เดี๋ยวนี้มันมีแบบมาก ซึ่งไม่เคยพบในพระบาลี กรรมฐานบางแบบ ยกมือ ยกเท้า เหมือนจะรำ แล้วก็มีออกเสียงก็มี ออกเสียงว่า คล้ายๆกับออกเสียงว่า ตุ๊กแก ตุ๊กแก อย่างนี้ก็มี นี่, มันไม่เคยพบในบาลี เดี๋ยวมันจะมีเสียงคล้ายๆกับว่า โคคาโคล่า โว้ย, มันเรียกหา อย่างนี้ไม่เคยมีในบาลี ไม่ต้องยกมือ ยกเท้า คล้ายกับรำท่าเทพพนม ปฐมเทพพนม มันยกมือ ยกเท้า บิดมือ บิดเท้า บิดอะไร แล้วก็มีเสียง คล้ายๆ ทำจังหวะ อย่างนี้ไม่เคยพบ มันเป็นการพัฒนาแบบขึ้นมาใหม่ เราจะไม่ไปวินิจฉัยเขาว่า ผิดถูกอย่างไร แต่จะพูดว่าถ้ามันสำเร็จประโยชน์ ก็ใช้ได้เหมือนกัน มันเป็นสมาธิได้ ก็ใช้ได้ เขาจะประคิษฐ์แบบกันขึ้นมาใหม่ๆ อย่างนั้น อย่างนี้
เอาเป็นว่าเราจะพูดกัน อย่างที่มีอยู่ในพระบาลีก็แล้วกัน ไม่ต้องยกมือ ยกเท้า ไม่ต้องออกเสียงจังหวะ เป็นระบบเงียบกริบ นิ่งๆ และเงียบกริบ ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ มันก็เรียกว่า อานาปานสติภาวนา
กรรมฐานในพระบาลีก็มีหลายแบบ แต่ไม่กี่แบบหรอก ครั้นมาถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรค ตอนหลังๆนี่ มีหลายสิบแบบ มีหลายสิบแบบ ก็ทำใจ เราถือว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงแนะ, แนะให้ คือ ระบบอานาปานสติภาวนา เป็นระบบซึ่งพระองค์เองทรงใช้จนสำเร็จประโยชน์ก่อน แล้วก็แนะให้เราเอาอย่างหรือทำตาม คล้ายกับมอบให้เป็นมรดก ผมเลยถือว่า ระบบอานาปานสติภาวนา คือ ระบบที่พระองค์ทรงมอบให้เป็นมรดก ไปอ่านดูในพุทธประวัติ โดยเฉพาะพุทธประวัติจากพระโอษฐ์นั้น เอาเรื่องนี้มาใว้อย่างครบถ้วน และทรงแสดงอานิสงส์ของอานาปานสติภาวนาไว้ชัดแจ้ง ในเรื่องอานาปานสติ ท่านอ้างเหตุผลว่าระบบนี้มันไม่โลดโผน มันไม่วุ่นวายมันไม่น่ากลัว มันสงบเงียบตลอดเวลา ไม่น่ากลัว ไม่โลดโผน ไม่วุ่นวาย ไม่อะไรต่างๆ ระบบอื่นน่ะ มัน, มันยุ่งยากลำบากกว่า ก็ไปศึกษาเอาเองโดยรายละเอียดจะพูดไม่ไหว ในหนังสืออานาปานสติภาวนา มันก็มีแล้ว
จะบอกกันแต่ใจความ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา เป็น ๔ หมวด นี้เรียกว่า อานาปานสติภาวนา ในบางสูตรเรียกว่า สติปัฏฐาน มีชื่อไม่เหมือนกันนัก แต่ตัวเรื่อง ตัวเดียวกัน จะเรียกว่า กายานุปัสสนา ก็ได้ จะเรียก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างนี้ก็ได้ มันเรียกชื่อต่างกันไปบ้าง ยาวไปบ้าง แต่มันก็คือ เรื่องเดียวกัน
ถ้าเอาเรื่องของกาย มาเป็นอารมณ์สำหรับฝึกจิต ก็เรียกว่า กายานุปัสสนา ตามเห็นซึ่งกาย
ถ้าเอาสิ่งที่เรียกว่าเอาเวทนา เป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า เวทนานุปัสสนา ตามเห็นซึ่งเวทนา
ถ้าจิตมา เป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ตามเห็นซึ่งจิต
ถ้าเอาธรรมะ หรือสัจจะ มาเป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า ธรรมานุปัสสนา ตามเห็นซึ่งธรรม
กายานุปัสสนา กำหนดลมหายใจ ยาว สั้น เข้า ออก จนกระทั่งรู้จักมันดีว่า มันเป็นเครื่องปรุงแต่งกาย กายเนื้อนี้, ไอ้ลมนั้น เป็นเครื่องปรุงแต่งกาย เรียกว่า กายลม ปรุงแต่งกายเนื้อ ถ้าทำกายกายลมให้ระงับ กายเนื้อก็จะพลอยระงับ ร่างกายจะพลอยระงับ นี้หมวดแรกมันมีอย่างนี้
การที่เราบังคับตัวให้ทำนั้น มันเป็นศีล
พอกำหนดอารมณ์นั้น เป็นสมาธิ
พอรู้อะไรบ้าง มันก็เป็นปัญญา ตามสัดส่วน
เพราะตั้งใจทำกรรมฐาน ทำวิปัสสนานี่น่ะ มันก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ เป็นตัวอยู่แล้ว เป็นตัว แต่มันไม่สมบูรณ์ หรือ ศีล อาจจะสมบูรณ์ เพราะว่าบังคับกันเต็มที่ ให้ทำ สมาธิก็เป็นน้อยๆ สักว่ากำหนดอารมณ์ ปัญญาก็รู้ว่าทำอย่างไร สติจะเต็ม, จะเริ่มตั้งต้นเต็มขึ้นมา เพราะว่าทำจริงๆ แม้ในขั้น กายานุปัสสนา สติมันก็มีมาก มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา แต่ปัญญานั้นยังไม่ถึงขนาด ไม่ใช่, ไม่ใช่ขนาดที่เรียกว่าเป็นญาณ ยังไม่เป็นญาณ เป็นอะไร เป็นความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจเท่านั้นเอง
ทีนี้พอเรื่อง, พอได้แล้วนะ เป็นสมาธิในส่วนนี้แล้ว แม้จะเป็นฌาน เป็นอะไรก็ตาม มันก็ยังไม่ใช่จุดสูงสุด ทีนี้ถ้าไม่ได้มุ่งเรื่องสมาธิแบบที่จะไปเป็นพรหม เป็นอะไรกันน่ะ ฉะนั้นก็เลยไม่สนที่จะพูดไปในทางนั้น เรียนมาเป็น กำหนดเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นในการทำสมาธินั่นแหละ ที่เราทำปฐมฌานได้ในหมวดกายา ในหมวดกายาน่ะมันมีได้ จนถึงปฐมฌาน หรือเลยขึ้นไป
ทีนี้ในปฐมฌานนั้น มันมีปีติ เป็นองค์ของปฐมฌาน เรากำหนดปีติแห่งองค์ฌานนี้ มาเป็นเวทนา เรียกว่า กำหนดปีติ รู้จักปีติ รู้จักหน้าที่ของปีติว่าเป็นจิตสังขาร และก็ทำปีติ หรือเวทนานี้ให้ระงับ จิตก็ถูกปรุงแต่งน้อยเข้า แล้วระงับไป นี้เรียกว่า เอาสิ่งที่สำคัญที่สุดมาพิจารณาดูให้เห็นว่า อ้อ, มันเท่านี้เอง มันเช่นนี้เอง เมื่อควบคุมเวทนาได้ บังคับเวทนาได้ รู้แจ้งเวทนาได้นี่ มันเข้ามาเยอะแล้ว เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ที่สูงขึ้นมามาก สติด้วย มาก แต่ยังไม่ถึงกับเกิดญาณ
เมื่อทำอย่างนี้ได้, ได้ตามต้องการแล้วก็เลื่อนเป็นเรื่อง จิตตานุปัสสานา จัดการกับเรื่องจิตกันเสียที ลองบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ อยู่อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนั้น อย่างนี้ ตามต้องการ แล้วบังคับจิตได้เต็มที่ นี่ว่ากำหนดว่าจิตมันต้องเป็นอย่างไร ให้ดูมันซะก่อน แล้วก็บัง, บังคับจิตนั้นให้สัป, เอ่อ, ให้ร่าเริง (นาทีที่ 56.24) ให้ปะโมจะยัง ให้ตั้งมั่น สะมาดะหัง ไม่ให้มันปล่อย, ปล่อยอารมณ์ เอาอารมณ์ออกจากจิต เอาจิตออกจากอารมณ์ ให้มันปล่อย นี่, บังคับให้มันร่าเริงก็ได้ ให้หยุดก็ได้ ให้ปล่อยก็ได้ ก็เรียกว่า เราเป็นนายเหนือจิต พอแล้ว
จิตนี้พร้อมแล้ว เหมือนกับแว่นตาที่เช็ดใสดีแล้ว พร้อมที่จะดู มันก็เลยเลื่อนไปหมวดสุดท้าย คือ ธรรมานุปัสสนา เอาสิ่งที่ควรจะดูนั้น มาดู ไอ้สิ่งที่ควรจะดูก็คือ สิ่งที่ถ้าดูเห็นแล้วมันละกิเลสทันที นั่นเรียกว่า สิ่งที่ควรจะดู
ฉะนั้น ข้อแรก สิ่งแรก ของ ธรรมานุปัสสนา จึงได้แก่ อนิจจานุปัสสี คือ ตามเห็นความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งปวง ดูที่ความไม่เที่ยงแห่งสิ่งทุกสิ่ง นี่, มันจะเลื่อนมาเป็นปัญญา ในอันดับสูง คือเรียกว่า ญาณ ญาณ อนิจจานุปัสสี ขั้นนี้ มันจะเกิด ธรรมฐิติญาณ เต็มที่ เห็นอนิจจัง แล้วมันจะเห็นทุกขัง มันจะเห็นอนัตตา ตามสมควร
แต่ท่านเอามากล่าวไว้เพียงอนิจจัง อย่างเดียวก็พอ เพราะว่าถ้าเห็นอนิจจังกันจริงๆ มันก็เห็นทุกขัง อนัตตาด้วย ไม่เสียเวลาให้มันเป็นหลายเรื่อง สงวนเนื้อที่ไว้พูดเรื่องอื่นต่อไปดีกว่า
พอเห็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวง ก็จะเห็นทุกขัง เห็นอนัตตา เห็นสุญญตา ตถาตา เป็นต้น ของสิ่งทั้งปวง ขณะนี้เรียกว่า ธรรมฐิติญาณ เต็มเปี่ยม ญาณขั้นแรก
พออันนี้เสร็จแล้วก็ไป, เลื่อนไปเป็น วิราคานุปัสสี เห็นความจางคลายแห่งอุปาทาน อุปาทานที่ยึดถือในเบญจขันธ์น่ะ มันคลายออก จะเห็น วิราคะ เห็นวิราคะ จะเห็นนิโรธะ
ทั้งวิราคะ หรือทั้งวิราคานุปัสสี และนิโรธานุปัสสี นี้ มันเป็นนิพพานญาณ หลังจากการเห็น ธรรมฐิติญาณ แล้ว มันคลายออก มันดับไป อาการแห่ง นิพพานญาณ
ทีนี้เสร็จแล้วมันก็มาถึง ปฏินิสสัคคานุปัสสี เห็นว่าเดี๋ยวนี้สลัดทิ้งหมดแล้ว โว้ย, มันเป็น ปัจจเวกขณญาณ
ดังนั้นในหมวดที่ ๔ คือ ธรรมานุปัสสนา นั้นมันมี
เห็นอนิจจัง ในฐานะเป็น ธรรมฐิติญาณ
เห็นวิราคะ เห็นนิโรธะ ในฐานะเป็น นิพพานญาณ
แล้วมันก็เห็น ปฏินิสสัคคะ ในฐานะเป็น ปัจจเวกขณญาณ
เรื่องมันจบ นี่คือ โครงสร้างของสิ่งที่เรียกว่า สมาธิภาวนา หรือ จิตภาวนา แบบอานาปานสติ หรือจะใช้แบบไหนก็ตามใจ มันต้องมาแนวนี้ทั้งนั้นแหละ จะใช้แบบอื่นก็เถิด ถ้าไม่มาถึงแนวนี้ ไม่มาทางนี้นะ ไม่ ไม่ ไม่จบ ไม่ถึงที่สุด มันครึ่งๆ กลางๆ ถ้าแบบไหนสมบูรณ์ถึงที่สุด มันจะต้องมาอย่างนี้ มันต้องมีสมาธิ แล้วมันก็เกิด ญาณ ตามลำดับ
ทีนี้ ถ้าเห็นว่ามันมากนัก มันจะตัดตอนเอาเพียงว่าสุดท้ายก็ได้ หมวดสุดท้ายน่ะ ทำหมวดแรกๆ พอเป็นสมาธิบ้าง แล้วก็ทำหมวดสุดท้ายไปเลย ที่, ที่ท่านกล่าวไว้นี้นะ มันสมบูรณ์แบบ คือ ทำจนเป็นสมาธิสมบูรณ์เป็น อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ นั้น มัน, มันทำอะไรไม่ได้ มันจะเปรียบได้กับก้อนหิน เมื่อเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว มันก็เพื่อฝึกจิตสำเร็จแล้ว
ทีนี้พอจะใช้จิตนั้น ให้ทำอะไรบ้าง มันก็ลดออก ลงมาเหลือแค่ อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่เหลืออยู่ในจิต ไม่, ไม่กำหนดแน่ว, แน่นิ่ง เหมือนกับหลับหรือตายนั้น ในอัปปนาสมาธินั้น มันเอามาใช้งานไม่ได้ แต่ว่าต้องฝึก ถ้าฝึกถึงนั้นแล้ว มันจะเหลืออิทธิพลของสมาธิอยู่ใน อุปจารสมาธิ จนเอามาใช้พิจารณาอะไรได้ จึงเอามาพิจารณา อนิจจัง พิจารณา นิโรธะ เอ่อ, วิราคะ นิโรธะ ปฏินิสสัคคะ ได้ด้วยกันทั้งหมดแหละ ไม่ว่าแบบไหน
นี่เราทำสมาธิไม่ถึงอัปปนาก็ไม่เป็นไร เพราะว่าที่มันจะใช้งานได้จริง มันอยู่แค่อุปจาระสมาธิ ถ้าทำฌานไม่ได้ เป็นอัปปนาไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร อย่าไปเสียใจ ชาวบ้านเขาคงทำไม่ได้ ก็ทำเพียง อุปจารสมาธิ เพียงเท่านี้ จิตนี้ มันก็มีลักษณะที่เรียกว่า
สมาหิโต ตั้งมั่นพอสมควร
ปริสุทโธ บริสุทธิ์พอสมควร
กัมมนีโย พอสมควร
เพราะฉะนั้นจึงพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ทำหมวดที่สี่เลย พิจารณาอนิจจัง จนครบไปหมด แล้วมันก็จะเห็นความจางคลายออก แล้วก็ดับลงไป แล้วก็เสร็จแล้วโว้ย, ปฏินิสสัคคานุปัสสี จบแล้วโว้ย, นี่, โครงสร้างย่อๆ เป็นแบบนี้
การกระทำสำเร็จด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินทรีย์, อินทรีย์ ๕ พละ๕ ในเรื่องสมาธินี้ เขาระบุไปยัง อินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มากกว่า ต้องคอยปรับปรุง อินทรีย์ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ห้าอย่างนี้ ให้, ให้ถูกต้องกับเรื่อง ให้ถูกต้องกับเรื่อง มัน, มัน, มันกล่าวชัดลงไปอย่างใดไม่ได้ คนหนึ่งก็ไปอย่างนึง วิธีหนึ่งก็ไปอย่างหนึ่ง
แต่อินทรีย์ทั้ง ๕ นี้ จะทำถูกต้องและครบถ้วน เหมาะสม ฉะนั้นจึงสอนให้แก้ปัญหาติดขัดของสมาธิ ด้วยการปรับปรุงอินทรีย์ทั้ง ๕ ฉะนั้นจำนวนห้า นั้นมันศักดิ์สิทธิ์
มีใครถามบ่อย ผมขี้เกียจพูดแล้ว ห้า ห้าเสา นั้นคืออะไร ถ้าใครสนใจ เรื่องห้าเสา ก็คือว่าเราอาศัย ห้า มาฆ่า ห้า เสีย แล้วเราก็จะได้ ห้า
อย่างเช่นว่า เราอาศัยอินทรีย์ ๕ นี่แหละ
แล้วก็ฆ่า ห้า คือ ปัญจุปาทานขันธ์ ๕
แล้วเราก็จะได้ ห้า คือ มรรค๔ มรรคผล ๔ นิพพาน ๑
ใช้เครื่องมือ ห้า มาฆ่าไอ้ ห้า เสีย แล้วเราก็จะได้ ห้า ในสุดท้าย
ไม่ใช่ผมคิดเอง ผมไปจำเขามาจากอินเดีย ห้าเสานี้ ผม, ผมสันนิษฐานเอาว่า คงจะเล็งไว้อย่างนี้ หรือจะว่า ห้านิ้วมือก็ได้ ห้านิวรณ์ก็ได้ ล้วนแต่จะต้องใช้ ต้องจัด ต้องทำ แล้วก็เพื่อผล ห้า คือ มรรคผล ๔ และก็นิพพาน ๑
เอาละ เป็นอันว่า ไอ้เรื่องปฏิบัติจิตนี่ มันมีเค้าโครงอย่างนี้ ต้องมีหลักการและเค้าโครงอย่างนี้ เมื่อคนเขารู้ว่าจิตนี้อบรมได้ เขาก็มีกำลังใจที่จะอบรมจิต ฝึกจิต พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เองว่า
จิตนี้ประภัสสร เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสจรเข้ามา
แล้วก็ผ่องใส ถ้าอุปกิเลสไม่จรเข้ามา
ผู้ใดเห็นความเป็นจริงในข้อนี้แล้ว จิตภาวนาจะมีแก่ผู้นั้น
ทีนี้เราเห็นกันหรือยัง ไอ้จิตประภัสสร เห็นจิตประภัสสร แล้วจะเชื่อลงไปได้ ว่าจิตนี้อบรมได้ แล้วก็ทำจิตภาวนา อบรมจิต ถ้าไม่เห็นข้อนี้ จะไม่เชื่อว่าจิตนี้อบรมได้ จะไม่กล้าหรือไม่แน่ใจ มันก็ทำไม่ได้ เห็นว่าจิตธรรมชาติเป็นประภัสสร แต่จะเศร้าหมอง หรือว่าผ่องแผ้ว ก็แล้วแต่อุปกิเลสจะจรเข้ามา หรือไม่จรเข้ามา มันก็เกิดความแน่ใจว่า โอ้, มันก็ทำเพียงว่า อย่าให้กิเลสจรเข้ามา มันก็ประภัสสร คือไม่มีกิเลสและไม่มีทุกข์ ก็ทำให้มันประภัสสรขึ้นมา และให้มันมากขึ้น ให้ประภัสสร มันยาวออกไป ยาวออกไป ยาวออกไป กว้างออกไป จน, จนส่วนที่ไม่ประภัสสร ไม่มี, นี่เรียกว่า จิตภาวนา จะมีแก่ ผู้ที่รู้เรื่องจิตประภัสสร
ทีนี้หลัก, ทีนี้การก้าวหน้า หรือเรียกว่า วิธี กรรมวิธีนั้น ถ้าเราทำสติปัฎฐาน ๔ บริบูรณ์ ได้ตรัสไว้ว่า
เมื่อสติปัฎฐาน ๔ บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ก็บริบรูณ์อยู่ในตัวสติปัฎฐาน ๔ บริบูรณ์
โพชฌงค์บริบูรณ์ วิชชา และวิมุต ก็บริบูรณ์
วิชชา วิมุตบริบูรณ์ มันก็จบ
เรื่องมันก็จบ นี่ว่า ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญา ศีล สมาธิ
ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา มันทำงานอย่างที่เรียกว่า ปัญญา ศีล สมาธิ, ปัญญา ศีล สมาธิ, ไหลเวียนไปอย่างนี้ ปัญญา ศีล สมาธิ แล้วมันก็สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป
ฉะนั้น สมา, สติปัฎฐาน ๔ ก็บริบูรณ์ โพชฌงค์ก็บริบูรณ์ ปัญญา, เอ่อ, วิชชาและวิมุตก็บริบูรณ์ ก็ในลักษณะรวมเป็นสิ่งเดียวกัน องค์มรรคทั้งแปดน่ะ ถ้าไปแยกทำแล้ว มันก็ไม่สำเร็จหรอก ก็ต้องทำให้มันรวมกัน ทั้งแปดองค์ เป็นหนึ่งมรรคแล้ว จะสามารถทำหน้าที่ได้ อย่าลืมว่า แม้มรรคนั้นแหละ มรรคมีองค์แปด ถ้ามันไม่เป็น วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง แล้ว ทำไม่ได้หรอก มรรคมีองค์แปด ที่มันไม่ประกอบด้วยลักษณะสี่นั้นแล้ว มันทำการตัดกิเลสไม่ได้ มันเป็นธรรมะหนึ่งๆ ธรรมดาสามัญไปเสีย
ถ้าใครจะปฏิบัติธรรม หรือทำบุญกุศลอะไรก็ตาม ถ้าจะให้เป็นไปเพื่อนิพพานแล้ว ให้มันประกอบด้วย สี่ความหมายนั่น ฉะนั้นท่องไว้ดีๆ วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง อีก สี่คำไม่ท่องก็ได้ ไอ้สี่คำนี้ ถ้ามันมีได้ แล้วมันก็สำเร็จประโยชน์
ฉะนั้น เราจึงเห็นชัดว่า ไตรสิกขาที่ยังไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวนั้นทำอะไรไม่ได้ พอมันรวมกันเป็นหนึ่งเดียว มันเป็นมรรคไป แล้วก็เป็นชนิด วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง ฉะนั้น มรรคจึงมีองค์เดียว เอ่อ, มีมรรคเดียว (นาทีที่ 1.09.30) เอโกมรรคโก เอกายโนมรรคโก เอกาอายนะ นี่ความหมายดิ้นได้ เป็นมรรคเดียว สำหรับคนๆเดียว ไปสู่จุดหมายอย่างเดียว นั่นแหละมรรค ความหมายของ เอกายนมรรค
ฆราวาส, ทีนี้ก็พูดถึง ฆราวาส ถึงเขามีเรื่องมาก เขาก็ทำได้ตามส่วนที่ฆราวาสจะทำได้ ไม่ใช่มีไว้สำหรับพระนะ อริยมรรคก็ดี ไตรสิกขาก็ดี ไม่ได้มีไว้สำหรับบรรพชิต ฆราวาสน่ะเป็นผู้มีทุกข์ ใครมีทุกข์ คนนั้นต้องดับทุกข์ ฉะนั้น ระบบดับทุกข์ต้องใช้ทั้งแก่พระ และทั้งแก่ฆราวาส ก็บอกเขาว่า ฆราวาสก็ทำได้ อย่า, อย่าเสียใจ อย่าน้อยใจ ผู้หญิงก็ทำได้ มันไม่, ไม่มาบวชเป็นพระได้ แต่มันก็พยายามศึกษาและทำไปตามมีตามได้ แล้วบอกเค้าว่า ทำอะไรสักนิดหนึ่ง ทำบุญกุศลอะไรสักนิดหนึ่ง ขอให้เป็นใน สี่อย่างนี้
ถ้าจะให้ทานข้าวหมากินสักกะลานึง ขอให้มุ่งหมาย วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวคสัคคปรินามิง ที่เขาทำบุญ ทำทานกันเป็นการใหญ่ ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน สร้างอีกตั้งหลายอย่าง แต่ดูจะไม่เคยนึกถึงเรื่องเหล่านี้ก็ได้ ถ้าอย่างนี้มันก็เป็นวัฏฏคามินี เป็นอย่างนั้น เฝ้าอยู่ในวัฏฏะ เป็นหลักตอ อยู่ในวัฏฏะ ไม่ออกมาจากวัฏฏะ ออกมาจากวัฏฏะ ต้องให้มันถูกต้องตามเรื่องของวิวัฏฏะ
ไม่ติดแน่นในเวทนา สัตว์ทั้งปวงมันติดอยู่ในเวทนา ยึดถือในเวทนา มันยึดถือทุกๆ เวทนา สุขเวทนายึดถืออย่าง ทุกขเวทนายึดถืออย่าง อทุกขมสุขเวทนายึดถืออย่าง เรียกว่าสัตว์ทั้งปวงมันติดอยู่ในเวทนา มันออกมาไม่ได้
ฉะนั้น เมื่อไม่ติดแน่น ไม่ถูกจับ ถูกมัด ไว้กับเวทนาแล้ว มันมาเดินตามมรรคได้ มิฉะนั้นมันเหมือนกับติดคุก ติดตะราง มันออกมาเดินไม่ได้ เขาควรจะรู้เรื่องเวทนาที่ผูกพันไว้ในวัฏฏะ พอเห็นว่า โอ้, เช่นนั้นเอง มันก็, ก็, ก็เลิกติดแน่น คือเห็นว่ามันเป็นทุกข์ ก็ยึดมั่น โอ้ย, ก็ไม่เอาแล้วโว้ย อย่างนี้มันผิดแล้ว
จะไม่ยึดมั่น ถือมั่นในอะไร ธรรมะจะสมบูรณ์ง่าย สะดวก เมื่อผู้ปฏิบัติไม่ยึดมั่นในเวทนา ดั่งที่เคยยึดถือมา ตั้งแต่กาลก่อน เราหวังในสุขเวทนากันตลอดเวลา นั่นแหละเป็นเครื่องผูกให้ติดอยู่ในวัฏฏะ ถ้าเห็นว่าเวทนาเป็นของหลอก หลอกให้หลง ให้ยึดติด ก็ไม่, ไม่ยึด นั้นแหละ คือมันพร้อม และมันสะดวก ที่จะออกมา แล้วก็ไปได้เร็ว ตามลำดับของการปฏิบัติ นี่คือโครงสร้างของสิ่งที่เรียกว่า ปฏิปัติ ปฏิปัติสัทธรรมก็ได้ ปฏิบัติศาสนาก็ได้ ฉะนั้นมีหลักไว้อย่างนี้โดยเค้าโครง โดยรายละเอียดมันมากกว่านี้มาก พูด, พูดกี่วันก็ไม่จบหรอก ถ้าโดยรายละเอียด แต่ว่าโดยเค้าโครงมันเป็นอย่างนี้ ดังนั้นถือเอาเค้าโครงให้ได้ แล้วก็ไปใช้ให้ได้ บรรจุรายละเอียดเข้าไปตามที่ต้องการ
นี่, เวลาพอสมควรแล้ว การบรรยายวันนี้ มันก็จะต้องยุติที เรื่องปฏิบัติ ธรรมทายาท รับมรดก การปฏิบัติของพระพุทธเจ้ามา ก็ขอยุติการบรรยายในวันนี้ไม่ค่อยเหนื่อยนัก และเวลายังพอมี ถามปัญหาก็ได้
ถ้าไม่เข้าใจ วิเวกนิสสิตัง อันวิเวกอาศัยแล้ว คือว่าการกระทำนั้น วิเวก วิเวกธรรม คือสงัดกาย สงัดจิต สงัดอุปาทิ ก็คือ ไวพจน์ของนิพพาน คำว่า วิเวก นี้เป็นไวพจน์ของนิพพาน แต่มันแยกมาถึง วิเวกกาย วิเวกจิต เราต้องปฏิบัติชนิดที่มีวิเวกอยู่ในนั้นด้วย ให้วิเวกมันมีอยู่ได้ ก็รียกว่า วิเวกนิสสิตัง คืออันวิเวกอาศัยแล้ว หรือว่า วิเวกอาศัยได้
วิราคนิสสิตัง ก็หมายความว่า วิราคะ ความคลายกำหนัด มันมีอยู่ได้ในนั้น อาศัยอยู่ได้ในนั้น ถ้าเราปฏิบัติชนิดที่ วิราคะ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้แล้ว มันก็ไม่สำเร็จ
นิโรธ ก็ ดับทุกข์ ดับกิเลส การปฏิบัตินั้นต้องเป็นที่ตั้งแห่ง นิโรธ, นิโรธ อาศัยได้
นี้ โวคสัคคปรินามิง มันน้อมไปเพื่อสลัดทิ้งอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของเรานั้น มันไปในทางที่ว่า มันจะสลัดความยึดมั่น ถือมั่นออกไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็ถือมั่นในเบญจขันธ์ ถ้าเราพูดว่า ถือมั่นในเบญจขันธ์ นั้นคือ ถือมั่นในทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นสิ่งใด มันก็เรียกว่า มันน้อมไปสู่ โวคสัคค อยู่เป็นปกติ เป็นธรรมดา
คือว่าให้การปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อวิเวก เป็นไปเพื่อวิราคะ เป็นไปเพื่อนิโรธะ และก็เป็นการสลัดทิ้ง สลัดทิ้ง สลัดทิ้ง อยู่ตลอดเวลา
เช่น ให้ทานนี้ ถ้าเราจะเอาสวรรค์วิมาน มันก็ไม่วิเวก เพราะความหวังในอารมณ์ ในกามคุณ มันยังมีอยู่ มันไม่วิเวก และมันไม่คลายกำหนัด และมันไม่ดับ แล้วมันไม่ทิ้ง มันจะเอามากอีก มันจะเอามากขึ้นไป และมันก็ไม่เป็น โวคสัคคปรินามิง ดีแล้วแหละที่ถามอย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้ไป ไป ไปคิดดูเองเสียก็ได้ แม้เราประพฤติพรหมจรรย์บวชนี้ ดูมันก็จะไม่ใช่ ๔ อย่างนี้นะ ระวังให้ดี
ยิ่งเมื่อไปหลงไหลในปริยัติแล้วมันก็จะไม่เป็น ๔ อย่างนี้ การบวชของเรามันมัวไปติดปริยัติกันเสียหมด มันก็ไม่มา ๔ ใน ๔ ความหมายนี้ ก็ไม่มี, ก็ไม่มีความหลุดพ้น
วิเวก แปลว่า สงัด เราเป็นผู้เดียวอย่างยิ่ง, วิเวก แปลว่า เดียว เดี่ยวอย่างยิ่ง คือ เราไม่มีอะไร นอกจากเรา คือไม่มีอะไรมาผูกพันเรา นั่นเรียกว่า วิเวก คือไม่มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องเป็น เป็นเรื่องที่สอง หรือเป็นคนที่สอง เรียกว่า วิเวก
วิราคะ นะ มันไม่, ไม่, ไม่ผูกมัด รัดรึง
วิโรธะ มัน มันดับลง ดับลง แห่งกิเลส แห่งความยึดถือ
คำ ๔ คำนี้ มีค่ามาก ขอ ขอ ขอ ขอย้ำว่าให้ไปสนใจศึกษาให้ดี ที่มันไม่สำเร็จ ก็เพราะมันไม่มี ๔ อย่างนี้ มันไปตรงกันข้าม แล้วมันก็ยึดติดในเบญจขันธ์ ซึ่งหมายถึง ยึดติดในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึด ยึดกามารมณ์ ยึดโลก กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร มันยึดไปหมดเลย
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.18.34 ) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ที่เขาพูดไว้ ๔ ข้อนี้ให้มันสมบูรณ์ โดยเฉพาะข้อเดียวมีได้ มันก็มีทั้ง ๔ ได้ ถ้ามันมีวิเวกได้แล้วมันก็มี แต่นี้เพื่อจะให้ชัด ขยายลักษณะให้ชัด ใน ๔, ๔ คำพูด แล้วมันก็จะต้องมี
ถ้ามันวิเวกได้ มันก็คือ วิราคะได้ นิโรธะได้ สลัดออกไปแล้วได้ อย่างนี้จะไม่ต้องถาม ถ้าเราไปดูให้เห็นวิเวกนะ เราจะตอบได้เองว่า ได้หรือไม่ได้ ไปศึกษาก็ดี ปฏิบัติก็ดี พบวิเวก นี่ แล้วมันจะพบเอง ไม่ต้องถาม
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.19.32) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : สติ เป็นเครื่องมือทั่วๆ ไป ยังไม่เรียกว่า ญาณ, สติ มันอยู่ในพวกสมาธิ ในกลุ่มสมาธิ ยังไม่เรียกว่าญาณ แต่มันเป็นเครื่องมือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดญาณ, สติ เครื่องขนญาณออกมา สติอยู่ในกลุ่มสมาธิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะ นั้นกลุ่มสมาธิ เรียนนักธรรมตรีมาไม่ชัดเจนนี่ จึงมาถามอย่างนี้ สติไม่ใช่ญาณ อย่าถามว่าอย่างนี้
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.20.44) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : อะไรนะ ไม่ได้ยิน ฟังไม่ถูก ถามใหม่ อย่างนี้ไม่ได้เรียนนักธรรมตรี ศีล๕ พละ๕ ไปเรียนเสียใหม่
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.21.04) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : นั่นมันเป็นรายละเอียด ซึ่งจะต้องไป พูดไปให้มันชัด พูดคลุมๆไม่ได้
ปัญญามาก่อน ศรัทธามาตามหลัง แล้วก็, มันก็ไม่มีทางผิด ศรัทธา เขาก็มีเหมือนกัน แต่ผมก็ไม่ค่อยจำ คู่ปรับ หรือว่า คู่ขยับขยาย คือเรื่องอินทรีย์ ๕ โดยเฉพาะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จะเป็นสมาธิกันหมด เหลือแต่ปัญญาอันเดียว เมื่อเราปฏิบัติชนัดอยู่ ท่านก็แนะให้ตรวจสอบดูว่า อินทรีย์ข้อไหนมันไม่พอ และก็หาวิธีเพิ่มอินทรีย์ข้อนั้น พอมันพอ มันก็ไปได้ต่อไป เป็นหลักกลางๆ ไว้อย่างนี้ แล้วก็ไม่มีใครไปรู้ของใครหรอกว่า อันไหนมันไม่พอ หรืออันไหนมันเกิน หรืออันไหนมันขาด ต้องเฉพาะ เฉพาะกรณี เฉพาะเวลา เฉพาะเรื่องที่ทำ
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.22.45) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ยอมพบหมอ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ตอบไม่ถูก
ไม่ยึดมั่นถือมั่น หมายความว่า ไม่รู้สึกเป็นตัวตน ไม่หมายมั่นให้เป็นตัวตน ก็ไปหาหมอก็ได้ มันเป็นเรื่องของโรค ของกาย ของใจ ไอ้กาย ใจ มันก็ไปหามันเอง ไม่ต้องยึดมั่นเป็นตัวตน, กายใจไม่ใช่ตัวตน ไม่ต้องยึดถือกายใจเป็นตัวตน, กายใจมันก็ไปหาหมอได้ นั่นก็ถูก ไปหาหมอ คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น, ไม่ไปหาหมอ มันยึดมั่นเป็นทิฐิ (นาทีที่ 1.23.56) ?????อย่างหนึ่ง มันตายอย่างนั้นแหละ
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.24.00) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : มันไม่ถึงนะ แต่ว่าลักษณะ มีลักษณะคล้ายกัน คือว่า เมื่อไม่มีกิเลส เอา, เอานิพพานชั่วคราวกันได้ สามายิกนิพพาน นิพพานชั่วคราวนั้น ใช้คำว่าประภัสสรได้ แต่ถ้านิพพานสมบูรณ์ มัน อนุปาทิเสสนิพพาน นั้นน่ะ มันก็ไม่ใช่ประภัสสร ที่เป็นธรรมชาติของจิตซึ่งสามารถจะเศร้าหมองได้ จิตประภัสสรตามธรรมชาติ ธรรมดานี้ มันเศร้าหมองได้ แต่ถ้านิพพานโดยสมบูรณ์แล้วกลับเศร้าหมองอีกไม่ได้ ทีนี้ถ้าเป็นนิพพานที่ไม่สมบูรณ์ เป็นนิพพานชั่วคราว นิพพานชั่วขณะ พอจะเทียบกันได้กับคำ ประภัสสร คือ ว่างจากกิเลสอยู่ กำลังว่างจากกิเลสอยู่
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.25.03) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : มันต้องมีญาณ มีญาณ เหมือนกันแหละ ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ มันก็บรรลุ ธรรมฐิติญาณ นิพพานญาณ ทีนี้ คนบางคนเขามีอะไรแก่ เรียกว่ามีบารมีแก่ มีอุปนิสัยแก่ เขาฟังพระพุทธเจ้า เดี๋ยวเดียว มันเกิดญาณเหล่านั้นขึ้นมาได้ มันก็ได้ผลดับทุกข์ แต่คนที่ไม่ได้ทำอะไรมากมายไป, ไป, ไปฟังพระพุทธเจ้าตรัสไม่กี่คำ บรรลุพระอรหันต์ที่นั่น มันมีอะไรมากอย่างนั้น ในจิตนั้น คือทุกอย่างมันได้ทำมา ทำมา แม้โดยไม่รู้สึกตัว เช่น มันเห็นไอ้ความน่าเบื่อระอา ของไอ้สังขาร ของไอ้ชีวิต ของอะไรมาแล้ว ก็ง่าย
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.26.13) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : เมื่อสติ เมื่อแปลว่า ความระลึกได้ นั่นคือความหมายกว้าง รวมหมดเลย
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.26.30) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : แต่มันมีมิจฉาสติ มิจฉัตตะ ๑๐ น่ะ เคยอ่านไหม ในหลัก(นาทีที่ 1.26.30) .....ธรรม มีไหม มิจฉัตตะ ๑๐, สัมมัตตะ ๑๐ นั้นมี แล้วมิจฉัตตะ ๑๐ มีไหม ไม่มีก็ไปกลับเอาเอง มิจฉาทิฎฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ มิจฉาวิมุตติ แม้แต่วิมุตติยังมีมิจฉา
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.27.23) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสให้เอาใครเป็นอาจารย์
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.27.49) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : มันพูดยาก ถ้าเขาปรารถนาสุจริต ไม่ปรารถนาทุจริต ไม่มีทางจะเป็นบ้า มันปรารถนาทุจริตหรือมันจะเป็นบ้าอยู่แล้ว พอมาปฏิบัตินั้น มีอาจารย์ หรือไม่มีอาจารย์ บ้าทั้งนั้นแหละ อย่ามีเจตนาทุจริต ที่จะปฏิบัติจะเอาเปรียบคนอื่น มีฤทธิ์ มีเดช มีปาฏิหาริย์อย่างนี้ มันจวนจะบ้า พอมาปฏิบัติเข้า จะมีอาจารย์หรือไม่มีอาจารย์ มันบ้าทั้งนั้นแหละ
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.28.33) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : อาจารย์ อาจารย์ที่พูดอย่างนั้นแหละ ระวังให้ดี เขากลัวเขาจะว่างงาน
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.28.53) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ตัวหนังสือ ตัวหนังสือ นั่นมันเรื่องตัวหนังสือ มันเรื่องพูดยาก อย่างนี้ แล้วแต่บัญญัติกันไว้ตามตัวหนังสือ ว่าอย่างไร
ผมจะว่าเอาเองว่า เมื่อมันรู้เรียกว่าใจ เมื่อมันคิดเรียกว่าจิต เมื่อมันรู้เรียกว่าใจ เมื่อมันคิดก็เรียกว่าจิต ก็คือจิตนั้นล่ะ เมื่อมันรับอารมณ์ ก็เรียกว่าวิญญาณ เมื่อมันคิดก็เรียกว่าจิต เมื่อมันรู้อะไรบ้างก็เรียกว่า มโนหรือใจ
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.29.40) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : มัน มันต้องถามเขาว่า กัปป์ของอะไร กัปป์ของอะไร กัปป์ของอะไร กัปป์ของใคร ของอะไร ของโลก หรือว่าของอะไร ต้องรู้ว่าของอะไร ถ้ากัปป์ของชีวิต มันก็คือ ชีวิตที่เต็มอายุขัย กัปป์ของชีวิต ถ้ากัปป์ของโลก ของนี้มันอาจจะนับไม่ไหวก็ได้
กัปป์ นั้น คุณแปลว่า จบเกมส์เหมือนกันหมดแหละ กัปป์ คือจบเรื่องนั้นคือ กัปป์ แหละ แล้วแต่มันจะสั้นยาวของมันแค่ไหน โดยคำพูด โดยหลักเกณฑ์อย่างนี้ที่พระอานนท์จะทูลขอให้พระพุทธเจ้าอยู่กัปป์หนึ่ง ก็คือ ให้อยู่เต็มขีดของชีวิต กัปป์หนึ่ง ซึ่งสมัยพุทธกาลนั้น เขานิยมว่า ๑๒๐ ปี กัปป์หนึ่งของชีวิต ถ้าว่าพระพุทธเจ้ารับนิมนต์ของพระอานนท์ ท่านก็จะอยู่ ๑๒๐ ปี คืออยู่อีก ๔๐ ปี กัปป์นี่เอาแน่ไม่ได้ มันต้องถามว่ากัปป์ของอะไร ของชีวิต หรือว่ากัปป์ของการงาน หรือว่ากัปป์ของ มันจบ จบเกมส์ นี้แหละกัปป์
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.31.25) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ยังไม่เคยพบ มีแต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ถ้าเป็นอยู่โดยชอบ หรือโลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ มันจะกำหนดไปอีก คำพูดในอรรถคาถานั้น ชั้นหลังๆ ที่เขาอธิบายไว้ว่า
ไอ้ธรรมดานี่มี ๕ ขันธ์
พวกพรหมพวกหนึ่ง เขาไม่มีร่างกาย เขาเลยมีแต่นาม มันก็เลยมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ ขันธ์
แล้วพรหมพวกหนึ่ง เขาไม่มีจิต เขามีแต่กาย อย่างนี้มีขันธ์เดียว
ไอ้คำพูดนี้ เขาเป็นคำพูดเผื่อไว้ให้มันหมด ไม่ให้เหลือ แต่ผมไม่อธิบายอย่างนั้น ผมไม่ชอบอธิบายอย่างนั้น ผมว่า เมื่อ เมื่อคนเราสนใจทั้ง ๕ ขันธ์ มันก็มี ๕ ขันธ์ เมื่อเราสนใจแต่เพียง ๔ ขันธ์ เวลานั้นเราก็มี ๔ ขันธ์ เมื่อเราสนใจแต่เพียงขันธ์เดียว เช่นรูปขันธ์ เป็นต้น เราก็มี ๑ ขันธ์ เวลานั้น จิตของเราถือมั่นขันธ์เดียวมันก็เป็นขันธ์เดียว ถือมั่น ๔ ขันธ์ มันก็เป็น ๔ ขันธ์ ถือมั่น ๕ ขันธ์ มันก็มี ๕ ขันธ์ ตามปกติจะมี ๕ ขันธ์
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.33.22) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ใช้ปนเปกัน แต่ถ้าดูตามรูปศัพท์ที่ใช้ๆกันอยู่ ว่ากิเลสมันเต็ม มันเต็มขนาด อุปกิเลส มันยังไม่เต็มขนาด
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.33.56) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ต้องไปถามคนว่านะ ผมไม่ได้ว่า ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ นั่นแหละต้องไปถามคนว่า ก็ไม่ ไม่ ไม่มีใครเคยนับสักที อภิธรรมอาจจะเกิน ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ ถ้าถืออย่างนั้น อภิธรรมสำหรับผมมีเพียงตัวธรรมะที่มันสูง ที่มันสูง ที่มันเข้าใจยาก ไม่รู้กี่ธรรมขันธ์ อภิวินัย อภิธรรม นั้นมัน, หมายถึง ประเภทที่มัน มันสูง เข้าใจยากเกินกว่าธรรมดา มาเสียเวลาเรื่องตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับอภิธรรมนี้
ธรรมะที่สูงถึง สุญญตา นั้นแหละคืออภิธรรม ถ้ายังไม่สูงถึงนั้น ยังไม่ใช่อภิธรรม
นี่พูดว่าอภิธรรม แต่ยังมา, มามัวบ้า มหากุศลกันอยู่นี้ ไม่ใช่อภิธรรม ยังมีตัวตนอย่างนี้ ไม่ใช่อภิธรรม ข้อความในอภิธรรม ยังมีตัวตนก็มี ยังมีมหากุศลเป็นที่ตั้งเป็นที่หวังอยู่ก็มี อย่างนี้ไม่ใช่อภิธรรม
อภิธรรม ต้องอยู่เหนือกุศล เห็นกุศลเป็นของเด็กเล่น และไม่ต้องการ จึงจะเป็นอภิธรรม
เขาใช้คำว่า มหากุศล นั้นมาล่อให้ไปศึกษาอภิธรรม มันจะเป็นได้อย่างไร
เรียนแบบวิทยาศาสตร์ คือเรียนลงไปบนของจริง ถ้าเรียนแบบปรัชญาแล้ว มันคำนวณ สมมุติ สมมุติว่า เป็นปรัชญา สมมติว่ามีอย่างนั้น มันจะเป็นอย่างไร เราเลิกวิธีนั้น ดูไป ดูที่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่อย่างไร เป็นอย่างไร และควบคุมมันให้ได้จะเป็นวิทยาศาสตร์ เรียนอย่างปรัชญาไม่มีจบ ไม่รู้จบ ไม่มีจบ เพราะมัน มัน มันคำนวณออกไปได้ เรียนอย่างวิทยาศาสตร์เดี๋ยวก็จบ เพราะมันเรียนลงไปที่ของจริง
แต่ว่า ธรรมะ หรือ พุทธศาสนา นี้จะเอาไปพูดเป็นปรัชญา มันก็ได้เหมือนกัน และก็ไม่รู้จบ
เรียนพุทธปรัชญาไม่รู้จบ เรียนพุทธธรรม จบ จบได้ ในเวลาอันควร
ถ้าเรียนพุทธปรัชญาแล้วไม่รู้จบ ปรัชญาเขาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไม ตอบแล้วว่า ทำไม ตอบแล้วว่า ทำไม ถามว่าทำไมอีก
ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์เขาจะถามว่าอย่างไร อย่างไร เดี๋ยวมันก็จบแล้ว
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.37.55) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ไม่ตอบ คำถามที่เอาไปดูไม่ได้ สิ้นชีวิตแล้วเอามาดูไม่ได้
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.38.47) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : นี่ผมเอามาให้ดูไม่ได้ แล้วก็ไม่ตอบ ไม่ตอบ สิ่งที่เอามาให้ดูไม่ได้ ไม่เป็นสันทิฏฐิโก
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.39.10) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : เราเคยหลงกันพักหนึ่งว่า ปรินิพพานนั้นใช้กับอนุปาทิเสส ชนิดที่ดับขันธ์ด้วย นิพพานใช้กับคำว่า ที่, ที่ยังไม่ดับขันธ์ พระอรหันต์ยังไม่ดับขันธ์ แต่ตอนหลังเมื่อ, เมื่อก่อนนี้ ไม่ได้, ไม่ได้ตรวจดูในบาลี พอมาดูในบาลี มันใช้แทนกันได้ ปรินิพพานหรือนิพพาน
ปรินิพพุทโต ปรินิพพานได้ โดยที่ไม่ต้องตาย มี มันก็คล้ายๆ กับว่าดับทุกข์ กันเกลี้ยงเกลา เป็น เป็นปรินิพพาน ใช้คำว่า นิพพานนี้ยังไม่ยืนยัน แต่แล้วมันไม่แน่นอน ตรงที่ว่า ถ้ามันเป็นคำ, คำคาถา คาถามันบังคับอย่างนี้แล้วเอาแน่นอนไม่ได้ บางทีนิพพาน บางทีปรินิพพาน ตาม, ตามคาถามันบังคับให้ใช้ครบ ครบ จำนวนของพยางค์ ฉะนั้นแล้วที่แต่งเป็นคาถาแล้ว เอาแน่ไม่ได้
ดับกิเลสสิ้นเชิง ก็จะถือเป็นหลัก ดับกิเลสสิ้นเชิง ไม่มีส่วนเหลือ เขาเรียกว่า ปรินิพพาน
ถ้ามันชั่วขณะ ชั่วคราว มีส่วนเหลือ เป็น สามายิกกะ นี่ก็จะต้องเรียกว่า นิพพาน
แต่พอทดสอบดูจริงแล้วมันสับสน คำนี้ไม่แน่นอน ในพระบาลีที่ใช้อยู่ในพระไตรปิฎกไม่แน่นอน จนกลายเป็นว่าใช้คำไหนก็ได้ แทนกันได้
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.41.05) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ผมไม่ทราบนะ ผมไม่เคยไป ไม่เคยเกี่ยวข้อง และก็จะไม่สนใจด้วย ไปดูเอง
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.41.37) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ผมไม่ได้ตอบตามความเห็นของผม ตอบตามพระบาลี ตัวหนังสือในพระบาลี
นิพพาน ที่ยังไม่เย็นสนิท นิพพานสิ้นกิเลส สิ้นอาสวะแล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่เย็นสนิท เวทนายังไม่เย็นสนิท ยังรู้สึกต่อเวทนาที่มากระทบกระทั่งได้บ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ถ้าเวทนาเย็นสนิท ไม่มีอะไรที่จะเกิดการกระทบกระทั่งได้ ไม่ตาย ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ ก็เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ไปเปิดดูพระไตรปิฎกด้วยตนเอง พระไตรปิฎกไทยก็มีแล้ว ไปดูตรงที่เรื่อง เรื่องนิพพานธาตุ ๒ พุทตัง เหตัง ที่มันขึ้นอย่างนั้น (นาทีที่ 1.42.54) .......กาศ? มีแห่ง บางแห่ง แสดงทำนองคล้ายๆว่า พอมันดับ มันไม่เย็นสนิท เหมือนกับว่าถ่านไฟมันดับ ดับแล้ว แต่มันไม่เย็นสนิท ไปจับเข้ายังไหม้มืออยู่ จนกว่าถ่านไฟนั้นจะเย็นสนิท อีกระยะหนึ่ง
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.43.22) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ได้ทั้ง ๒ อย่างนะ ใครจะไปรู้มัน มันจะหลายอย่าง ที่มันเป็นบ้า โรคเวรกรรมก็ได้ โรคกรรมผิดก็ได้ โรคมันจะบ้าเองก็ได้
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.43.59) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : ผมไม่ได้สนใจ ยังไม่สนใจลงไปถึงขนาดนั้น
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.44.22) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : รู้ว่ามันไม่มีความยึดถือ ไม่มีความยึดถือว่าตัวตนนั้นน่ะ คือ ว่าง บางเวลาก็ไม่ได้ยึดถือ ว่างเอง
ถ้าหมดกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก็ว่าง ว่าง ว่าง ตลอดทาง คือ ไม่มีความยึดถือว่าตัวตนอยู่ในจิต จิตว่างจากตัวตน จิตว่าง ตามแบบพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ จิตว่าง อันธพาล มันก็มีอีก ตามแบบของอันธพาล
สุญญตาวิหาร อยู่ด้วยจิตที่ไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตน ไม่เกิดความยึดถือว่าตัวตนเกิดขึ้นมาได้อีกต่อไป นี่ ว่างแท้
ผู้ฟัง : (นาทีที่ 1.45.49) ไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส : มันมีตัวตนอยู่ในจิต แล้วมันก็ไม่ว่าง แล้วมันจะเกิดเรื่อง มันจะเกิดโลภะ โทสะ โมหะ ตามกรณี
จิตไม่วุ่นวาย จิตว่าง คือ จิตไม่วุ่นวาย
สัตว์เดรัจฉาน มัน, มันคิดนึกไม่เก่ง มันเลยมีจิตว่างมากกว่าคน คนมันถูกสอนให้คิด ถูกอบรมให้คิดเป็นตัวตน มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่แรกเกิดมาเลยทีเดียว อะไรก็ของแก อะไรก็ของแก พ่อแม่ป้อนไอ้ความยึดถือเข้าไปเรื่อย พี่เลี้ยง ใครๆ ทุกคนแหละ มาพูดให้เด็กเกิดความยึดถือ เป็นตัวตน ของตน มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ไอ้ความคิดเรื่องยึดถือตัวตนมันก็หนาแน่น
เอ้า, ไม่มีปัญหาแล้ว ปิดประชุม ปิดประชุม ปิดประชุม คือมันสมควรแก่เวลาแล้ว