แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พิธีกร : มีส.ค.ส. เป็นเล่มแจกด้วยนะ แต่ว่าแจกหลังจากปีใหม่ก่อน
พุทธทาส : เอามาแจกเลย (มีเสียงใต้ พูดปน ...) (เสียงหัวเราะ) ก็มี ส.ค.ส. มาแจก แต่ว่าจะขึ้นปีใหม่เสียก่อน
พิธีกร : มีส.ค.ส.มาจ้างให้อยู่ ด้วยครับ ผมใช้คำว่าอย่างนั้นดีกว่า มี ส.ค.ส.มาจ้างให้อยู่สำหรับปีใหม่ด้วยนะครับ มารับตอนปีใหม่นะครับ
พุทธทาส : (มีเสียงใต้ )พูด
พิธีกร : ทีนี้ ก็เพื่อความแน่นอนคุณธีรวัฒน์เอามาวางไว้เลย วางไว้แต่ยังไม่ให้ วางไว้เลยครับ คือว่าเราต้องมีสินจ้างกันบ้างนะครับ นี่ก็ว่ากันทางโลกๆ ต้องเอาแบบนี้นะครับ ต้องจ้างให้อยู่ จูงกันไห้ไปในทางที่ดีไม่เป็นไรหรอกครับ
ผมใคร่นำต่อไปอีกนะครับ นำการอภิปรายต่อไปอีก เผื่อว่า ตอนนี้ก็ได้ฟังพระเดชพระคุณท่านอาจารย์มาแล้ว ก็คงจะมีใครอยากจะวิจารณ์อะไรบ้างก็ได้ และโดยเฉพาะประเด็นที่ว่าชีวิตนี้ต้องมีการลงทุน
โวหารของชีวิต ชีวิตนี้ต้องมีการลงทุน และโดยเฉพาะเราก็อาจจะ เดี๋ยวนี้ก็ เอะอะ เอะอะ อะไรก็พูดฝ่ายเศรษฐกิจ ทีนี้การลงทุนคุ้มค่าหรือไม่ ทำไมเราไม่คิดเศรษฐกิจของชีวิตกันเสียบ้างนะครับ เราพูดแต่ว่าปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเมือง แต่เศรษฐกิจของตัวเรา ทำไมไม่มาคิดกันเสียบ้าง เพราะฉะนั้น เราหวนกลับเอาเศรษฐกิจที่เราเป็นห่วงกันหนักหนาว่า เศรษฐกิจของบ้านเมืองแย่ มาคิดเศรษฐกิจของบ้านเรา ของตัวเรา ของชีวิตบ้างไม่ได้หรือครับ ว่าชีวิตนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ในการลงทุน สิ่งเหล่านี้ให้มาวิจารณ์กันนะครับ ช่วยกันวิจารณ์สิครับ
แล้วเราปีใหม่ เราจะได้ไม่มัวบ้า ที่จะใช้ชีวิตที่ลงทุนแล้วไม่ได้อะไรคุ้มค่านี่ มีอะไรกี่อย่างนะครับ ที่เราทำๆ กันไปนี้ น่าจะเอามาวิจารณ์กันบ้าง ก่อนที่จะไปถึงขั้นที่ว่าไม่ยึดมั่นอะไร อย่างที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ว่า บ้างครั้งคำพูดนี้จะต้องเก็บไว้ในสวนโมกข์นะครับ นำไปพูดที่อื่น แล้วบางทีก็วุ่นวายกันไปหมดก็มี เพราะเป็นคำ เป็นชีวิตขั้นที่ว่าหมดโวหารแล้วอะไรแบบนี้ มันถึงจุดนั้น มันบางทีต้องอยู่แค่ส่วนโมกข์ก็มีครับ
เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ขอท่านนักศึกษาทั้งหลาย โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่มานะครับ จะมีอะไรช่วยมาวิจารณ์ หรือมาเพิ่มเติม หรือว่ามา, มาซักถามกันให้เข้าใจก็ได้นะครับ พระเดชพระคุณอาจารย์ท่านนั่งอยู่ด้วย จะได้ช่วยกันตอบได้ ชี้แจงกันได้ ในเรื่องโวหารของชีวิตนะครับ มันจะถึงที่สิ้นสุดกันเมื่อไรนะครับ จริงหรือไม่ อย่างที่ว่านี้ ปีหน้าควรจะดีกว่านี้ได้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างอย่างนี้นะครับ เชิญเลยครับที่มานั่งอยู่ที่นี้ อาจารย์ที่มากับท่านนักศึกษาก็ได้ หรือนักศึกษาเองก็ได้ รับฟังไป พระเดชพระคุณอาจารย์มาชั่วโมงกว่าแล้ว ไม่สงสัยอะไรบ้างหรือครับ ไม่สงสัยบ้างหรือครับ นะครับ ถ้าไม่สงสัย ไม่สงสัยบ้างหรือครับ เพราะสวนโมกข์นี้ฟังๆ แล้ว ไม่ขัดๆหูบ้างหรือครับ ที่พระเดชพระคุณอาจารย์ให้ อย่างจะไม่รับอะไรตอบแทน แม้แต่คำว่าขอบคุณ เชิญเลยครับท่าน ลุกขึ้นแล้วเชิญเลยครับ
พุทธทาส : รับบริจาคความโง่ ต้องการรับบริจาคความโง่ เอา, เอาความโง่มาทิ้งไว้ที่นี่เสียให้หมด
ผู้ฟัง (ผู้ชาย ๑) : ผมอยากจะถามตรงที่ว่า อันความเข้าใจความหมายเพิ่มเติมที่ว่า ชีวิตนี้ คือการลงทุนในตัวของมันเอง อธิบายให้, มีแนวอื่นไหมที่จะให้เขาเข้าใจเพิ่มขึ้นครับ
พุทธทาส : ชีวิต เป็น การลงทุนอยู่ในตัวมันเอง มันเป็น, มันเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ เป็นทั้งธรรมะ ชีวิตเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง มันเป็นวิทยาศาสตร์ในแง่ชีววิทยา เราเห็นได้ มันดีขึ้น ดีขึ้น ทุกชีวิต ทุกรูปแบบ ไม่งั้นมันตาย
ถ้าไปนั่งดู ไปดูเมล็ดพืชที่มันงอกออกมา เป็นหน่อ เป็นต้น เป็นโต ขึ้นมาแล้ว มัน, มันเจริญได้อย่างไร นี้จะพบว่ามันเป็นการลงทุน เพื่อจะเติบโตขึ้น กว่าจะถึงที่สุด อย่างนี้ธรรมชาติจัด หรือพระเป็นเจ้าจัด ไม่ใช่มนุษย์จัด จะพูดถึงความพยายามของมนุษย์ก่อน ปล่อยไปตามเรื่องของธรรมชาติก่อน แล้วไปนั่งดู ปลูกต้นไม้ เล็กๆสักต้นสิ ดูง่ายๆว่า ชีวิตนั้นเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง ที่จะเจริญงอกงามยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น นี่ต้นไม้นะ อาการกระทบกระทั่ง อันตรายก็ทำให้ฉลาดขึ้นมา มันจะสะสม ความฉลาดมากขึ้น มากขึ้น ดังนั้น ยิ่งอายุมากมันก็ยิ่งฉลาด สัตว์เดรัจฉานก็เหมือนกัน ตัวไหนอายุมาก ตัวนั้นจะฉลาด เพราะมันได้สะสมไว้มากขึ้น
มนุษย์ก็เหมือนกัน อายุมากมันต้องฉลาดกว่าคนอายุน้อย เมื่ออะไรส่วนอื่นมันเท่ากัน ก็เพราะได้เห็นโลกมานาน มันก็ย่อมฉลาดกว่า
ตัววิวัฒนาการของไอ้สิ่งทั้งปวงนั่นแหละ คือตัวการลงทุนอยู่โดยธรรมชาติ นี่เรียกว่าตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ชีวิตเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง ก็ต้องเรียกว่า เพื่อตัวมันเองนะ แต่ทีนี้ในแง่ของศีลธรรม ในแง่ธรรมะ เขาก็สอนกันอย่างนี้
เราจะต้องได้ความเจริญก้าวหน้า เร็วๆ ให้ทันแก่เวลา ในด้านวัตถุ ก็ให้ได้มีทรัพย์สมบัติ มีอำนาจวาสนา มีเกียรติยศ ชื่อเสียงอะไรให้พอตัว ในด้านจิตใจก็ให้มันมีสติปัญญา อยู่เหนือกิเลส เหนือความทุกข์
ถ้าชีวิตไม่เป็นการลงทุนอยู่ในตัว มันก็ไม่มีความหมาย มัน, คือ, คือไม่มีชีวิต ถ้ามันขาดทุนเรื่อย มันก็ตาย ตายแน่ ไม่รอดไปได้ ดังนั้นมันต้องมีกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย เพิ่มขึ้นเรื่อย มันจึงเจริญงอกงาม นี่เรียกว่า พูดในแง่ของธรรมะที่เขาสอนไว้ในรูปแบบของธรรมะ ที่เป็นธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ มันก็เป็นของมันเอง
พอเรารู้เรื่องนี้ มันจะมีกำลังใจว่ามันมีมาสำหรับอย่างนี้ มันต้องเป็นไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นชีวิตนี้จะต้องดีขึ้นเป็นแน่นอน มันจะมี, มีทิศทาง มีความหมาย มีโครงการ มีอุดมคติอยู่ในตัวมันเอง พร้อมหมด
เพราะฉะนั้น จงจัดชีวิตนี้ให้เป็นการลงทุนที่ราบรื่น ตามธรรมชาติก็ได้ ตามหลักธรรมะก็ได้ ชีวิตมันจะง่ายอย่างนี้ ถึงแม้เราทำการลงทุนการค้าอะไรกัน นั่นก็คือส่วนหนึ่งของชีวิต ตามความต้องการของชีวิต ตามความรู้ ความสามารถของชีวิต ก็ยังรวมอยู่ในคำว่า ชีวิตนี้เป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง อยู่นั่นเอง ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ มันจะถอยหลัง หรือมันจะแตกทำลาย มันไม่ก้าวหน้าไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
คุณกัญญาจะเล่า เมืองจีนให้พวกเพื่อนฟัง เอาสิ ได้บุญนะ
คุณกัญญา : ขอนมัสการพระคุณเจ้า และเพื่อนชาวพุทธทุกท่าน ในวาระดิถีปีใหม่นี้ ทุกๆ ปี ดิฉันก็ต้องมารับพรจากอาจารย์ท่านพุทธทาส แต่ดิฉันเว้นไปสามปี ไม่ได้มานะคะ คือปัญหานี้ที่ไม่ได้มา หมายถึงว่าดิฉันห่างเหินจากธรรมะก็มิได้ คือการค้นคว้าธรรมะ ก่อนที่ดิฉันจะพูดถึงเรื่องเมืองจีนนะคะ คือที่ไปเมืองจีนนี้ไม่ใช่อะไร ไปแบบไปศึกษาและค้นคว้าว่า ประชาชนเขามากมาย เขาอยู่กันได้อย่างไร สรุปลงท้ายคือเวลาอันสั้นนี้ ก่อนที่จะหมดเวลานะคะ ดิฉันก็ขอพูดในที่นี้ และสรุปสั้นๆ เลยว่า ปัญหาที่เขาอยู่ได้ โดยไม่มีเหตุการณ์อะไรเหมือนที่ว่าต่างประเทศเขาเกิดขึ้น ถ้าจะให้ดิฉันเล่ารายละเอียดเดี๋ยวคงจะเป็นรายการสุดท้ายนะคะ
ถ้าท่านต้องการจะฟังในที่นี้ คือดิฉันไปในฐานะ ไม่ใช่เป็นนักท่องเที่ยว คือไปในฐานะที่ไปศึกษาและค้นคว้า และไปสัมภาษณ์กับคนที่อยู่ในภาวะ ที่เหตุการณ์นั้นไม่ค่อยมีความสุขนัก แต่ทำไมเขาอยู่ได้อย่างหน้าตาชื่นบานเหลือเกินนะคะ ไปเข้า แขกบ้านเมือง ใครไปเยี่ยมเขาจะยิ้มแย้มแจ่มใส ดิฉันก็ได้ถามว่า ท่านมีอะไรในจิตใจที่ทำให้ท่าน ไม่หม่นหมอง และไม่ขมขื่น ไม่มีความทุกข์ใจ เขาจะต้องตอบทันทีว่า เขาอยู่ด้วยธรรมะ ส่วนใหญ่เมืองจีนนี่นับถือพุทธนะคะ และนี่ก็ถามไป แต่ดิฉันไปในชนบทนะคะ คือไม่ได้ไปปักกิ่ง การค้นคว้า ต้องไปถามที่ตามชนบทที่เขาอยู่ เดือดร้อน อันนี้ดิฉันก็ขอคร่าวๆ ก่อน เดี๋ยวดิฉันจะเล่ารายละเอียดตอนท้ายนะคะ เพราะว่าเวลาอันสั้น
ดิฉันก็จะขออภัยคุณหมอเมื่อกี้ที่ประกาศไว้นะคะ คือดิฉันขอให้ท่านอาจารย์ และนักศึกษาที่มาวันนี้ ก็ขอให้ได้รับแก่นแท้ของพุทธศาสนาจากท่านอาจารย์เสียก่อน ฉะนั้นดิฉันจึงไม่ได้ขึ้นมานะคะ ดิฉันต้องขออภัยคุณหมอในที่นี้ด้วย และดิฉันคิดว่าท่านอาจารย์และนักศึกษา ท่านผู้รู้ ก็คงได้รับแก่นแท้ของพุทธศาสนา และก็เป็นส.ค.ส.ที่ดิฉันได้รับฟังเมื่อกี้นี้ ขออภัยนะคะ
ที่ดิฉันฟังไปเมื่อกี้นี้ ดิฉันก็ได้แง่คิดไปอย่างหนึ่งที่ว่า การเข้ามาศึกษาและสนใจศาสนา เป็นจุดหมายอันเดียวที่ท่านได้พูดไว้ทุกๆ ปี แต่ท่านอาจารย์ก็ว่า เปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ เช่นปีก่อนๆ นู้นได้พูดฝากไว้เป็น ส.ค.ส. ตั้งแต่ธรรมที่ดิฉันได้มา ก็คือ อิทัปปัจจยตา นะคะ และต่อมาวันนี้ดิฉันก็ได้ส.ค.ส. ซึ่งประเสริฐอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์ไปค้นคว้าไว้ในพระไตรปิฏก ดิฉันคิดว่า หัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญและมีค่าอย่างยิ่งที่จะหาค่ามิได้ คือโวหารที่เราทำการค้าที่ได้กำไร
ในความคิดส่วนตัวนี้ ดิฉันคิดว่าที่ท่านเปลี่ยนคำพูด แต่ว่าเป้าหมายอันเดียว ธรรมะที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่น แต่ท่านใช้โวหารที่ว่า ไม่ให้เกิดความเซ็ง ฉะนั้นการที่จะเข้ามาในหลักพุทธศาสนานี้ ท่านที่ใหม่ๆ ยังไม่เข้าใจดีนั้น ฉะนั้นไอ้การฟังธรรมนี้ ฟังซ้ำๆ ก็เป้าหมายอันเดียวกัน อันนี้ดิฉันก็ไม่อยากจะใช้คำว่า ดิฉันยึดถือท่านอาจารย์ท่านพุทธทาสนะคะ คือท่านเป็นผู้ที่ใช้โวหารที่ว่า ให้ผู้ฟังนี้ไม่เกิดความเซ็ง
ดิฉันอยู่กรุงเทพ ดิฉันฟังท่านที่จะเข้ามาในวัด ดิฉันจะได้รับฟังคำวิจารณ์ว่าไม่อยากไปฟังธรรมะ เซ็งเหลือเกิน พูดกันไอ้เรื่องเก่าๆ นี่ปัญหาอันนี้ดิฉันก็เก็บมาคิดว่า ดิฉันก็สงสารว่าจะทำอย่างไรดี จะใช้คำพูดเช่นไรดี ว่าให้เขาเหล่านั้น เข้ามาสนใจในหลักพุทธศาสนานะคะ อันนี้แหละดิฉันก็มีในกลุ่มนักธรรมะ มีหลายท่านว่าจะทำอย่างไร อย่างอาจารย์ คุณวิโรจน์นะคะ ว่าปัญหานี้ อย่างท่าน เออ, อาจารย์ ครูบาอาจารย์นี้ ก็มีแนวร่วมกันที่ว่า จะทำ ใช้คำพูดเช่นไร ว่าจะให้เขา วัยหนุ่มสาวนี้เข้ามาสนใจนะคะ นี่แหละอันนี้เป็นประเด็นสำคัญ แต่ดิฉันคิดว่า โวหารนี้ ก็คงพรุ่งนี้หรือมะรืนก็อาจจะถึงกรุงเทพนะคะ ก็ยังมีท่านปัญญาชน หรือท่านผู้รู้ที่จะช่วยกันนี้ ก็คงจะรีบเผยแพร่ คือว่าอย่างน้อยก็ไม่ให้คนเกิดความเซ็ง แต่ผู้ปัญญาชนที่ไปพูดตามมหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่างๆ นั้น ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันมากมาย
แต่สรุปลงท้ายแล้ว คำๆอันนี้ก็จะเป็นเป้าหมาย หลักแก่นแท้ของพุทธศาสนา คืออยู่ในอริยสัจ ๔ แต่ดิฉันเชื่อแน่ว่า ถ้าเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเมื่อไร ดิฉันคิดว่า ท่านที่จะเข้ามาสนใจนี้ ก็จะไม่เกิดความเซ็ง จะเป้าหมายอันเดียวกันนะคะ นี่ความคิดเห็นส่วนตัว
อีกประการหนึ่ง ดิฉันก็ไม่ใช่มีความสามารถแต่ประการใด ที่จะใช้โวหารหรือสามารถก้าวก่ายถึงท่านอาจารย์ แต่ว่าเป็นเพียงเม็ดกรวดเม็ดสักเม็ดหนึ่ง ที่พยายามจะจูงให้เราชาวพุทธเข้ามาสนใจในพุทธศาสนา พยายามค้นคว้าว่า อะไรที่ถูกต้อง แต่ท่านก็เป็นแก่น และเป็นหลักที่แท้จริง นะคะ แล้วที่ไปพูดปลีกย่อย คือว่าดิฉันก็ไม่มีความสามารถ ไม่มีโวหารที่ดี ก็เป็นเพียงจะชักจูงให้ว่ามาสนใจอันนี้
อีกประการหนึ่งที่ปัญหาที่ข้อข้องใจก็คือ ถ้าเราเพื่อนชาวพุทธด้วยกัน ไม่ไปทำหน้าที่ช่วยเผยแพร่แล้ว ดิฉันคิดแน่นอนเหลือเกินว่า แก่นแท้ของพุทธศาสนานั้นจะต้องห่อหุ้มด้วยเปลือกอันหนาทึบ ยากเหลือเกินที่จะแกะและขูดออกได้นะคะ เช่น อย่างปัญหาที่เกิดในหน้าหนังสือพิมพ์ สิ่งที่วุ่นวายที่สุดก็คือ ปัญหาในที่เรียกว่าเจริญแล้ว คือกรุงเทพ ทุกซอก ทุกมุม จะต้องมีปัญหาที่เกิดขึ้น ความวุ่นวายจะเกิดขึ้น
และอีกประการหนึ่ง ดิฉันเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ รัฐบาล ดิฉันไม่ได้ตำหนิรัฐบาลนะคะ คือเป็นเพียงว่า ให้เอาธรรมะไปเผยแพร่ทุกๆสถาบัน แต่แล้วทำไมทุกๆสถาบัน ฟังธรรมแล้วหลับกันนี่ อันนี้ปัญหาที่จะขอฝากท่านอาจารย์ และท่านผู้รู้ นี่ปัญหานี้เราจะต้องมาจับเข่าปรึกษากัน ปรับทุกข์กันนะคะ นี่เป็นปัญหาที่สำคัญ แต่ว่าก็มีคนริเริ่มทำบ้างแล้ว ดิฉันก็ดีใจด้วย
และอีกประการหนึ่ง ปีใหม่ในที่นี้ เมื่อกี้พูดข้ามไป คือที่ท่านได้พูดว่า ค้าขาย และโวหารนี้เป็นการค้าที่กำไร หรือขาดทุน ทุกวันนี้ฉลองปีใหม่ด้วยการที่ ไปชวนกันดื่มและอวยพร นี่คนอวยพรก็ขาดทุน คนขายเหล้าขายเบียร์เท่านั้นที่จะได้กำไร ฉะนั้นปัญหานี้ดิฉันก็ขอขอบคุณท่านที่มาในที่นี้ด้วย ว่าเป็นกำไรชีวิตที่ประเสริฐแล้ว ดิฉันเห็นท่านนักศึกษา และท่านอาจารย์ และผู้รู้ทั้งหลายมาในวันนี้ ดิฉันก็ปลื้มใจ และดิฉันก็ไม่ได้ไปทักทายนะคะ ถือว่าท่านมาฟังธรรมท่านอาจารย์แล้วก็คิดว่าปัญญาก็จะเกิดขึ้น และจะมีแนวคิดเหมือนอย่างดิฉันนะคะ ขอขอบคุณค่ะ
พุทธทาส : เอ้า, ไหนว่า เล่าเรื่องเมืองจีน
เอ้า, ใคร ใครก็ได้ มีอะไรที่จะพูดเป็นที่ระลึกแก่ปีใหม่
พิธีกร : เชิญเลยครับ เชิญครับ
ผู้ฟัง (ผู้ชาย ๒) : ในฐานะที่ผมก็ไม่ได้คร่ำหวอดมากนะครับ อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์มีแนวความคิด หรือว่าปฏิบัติที่จะแก้ความโลภโกรธหลงในตัวของคนเราได้อย่างไร
พุทธทาส : แนวปฏิบัติที่จะแก้ความโลภ โกรธ หลง ของตัวเอง หรือของผู้อื่น คุณหมายถึงของตัวเองหรือว่าของผู้อื่น นี้มันเป็นหลักทั่วไป และตลอดกาล ใน, ใน, ในหมู่ธรรมะ ในวงธรรมะ ใน, ใน, ในพระศาสนา มันไม่ว่าศาสนาไหน ถ้าเมื่อดูให้ถึงแก่นแท้ตัวจริง แล้วก็จะพบว่าเขาต้องการจะให้คนเรา ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นไอ้สิ่งร้ายกาจด้วยกันทั้งนั้น
ในหลักพุทธศาสนา ก็สอนให้เห็นโทษของมัน และสอนให้ไปดูโทษของมัน ดูโทษของสิ่งที่เราไม่ต้องการจะให้มาทำอันตรายเรา ฉะนั้นคุณจะต้องศึกษาทุกคราวที่มันเกิดขึ้น ไม่อาจจะศึกษาจากหนังสือหนังหา หรือจากบุคคลอะไรนะ จะต้องศึกษาจากตัวมันเอง เมื่อความโลภมันเกิดขึ้น ก็รีบรู้จักหน้าค่าตามันเสียให้เต็มที่ ก็พลิกดูข้างใต้ของมันว่า มันมีอะไรเป็นรากฐาน หรือเป็นแดนเกิด หรือเป็นแดนงอกออกมา
ดูความที่มันหลอกลวงให้เราหลงได้อย่างไร พร้อมกันนั้น ก็จะเห็นความเลวทรามของมัน ความเป็นอันตรายของมัน ถ้าเราเห็นไอ้ความที่มันหลอกลวงเรา เราก็เห็นอันตรายของมัน เราเห็นในสิ่งที่มันใช้หลอกเรา ความโลภหรือกิเลสนี่ มันมีอะไรหลอกเราให้เป็น, เป็นอย่างนั้นได้ เราต้องกลัวโทษ ที่จะเกิดจากมันนั้นเสียก่อน คือความทุกข์
ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันก็ให้ความทุกข์ ถ้าเรากลัวความทุกข์ เราก็ไม่อยากจะมีความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ก็ดูตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่าชัง นั่นแหละไอ้ความที่อยากจะทำลาย อยากจะละ ก็จะมี ความระมัดระวังสังวรมันก็จะมี นี่เรียกว่าหลักใหญ่ คือ ดู ให้รู้จักมันในทุกแง่ทุกมุม
โฉมหน้าของกิเลสนี่ จะต้องเป็นสิ่งที่หลอกให้หลง ว่ามันสวย มันงาม มันสนุกสนานเสมอ แต่เบื้องหลังของมัน ก็คือความทุกข์ทรมาน ให้พยายามดูตัวของมันจากภายใน คือตัวจริง ตัวจริงมัน, มันอยู่ในใจ ดูจากในใจ ก็ต้องต้อน โดยวิธีว่า ถ้ามีเวลาเมื่อไร ก็มานั่งสำรวม กาย ใจ เพื่อจะดูเข้าไปในใจ ดูเข้าไปในใจ ให้พบว่าในจิตกำลังมีอะไร ในใจกำลังมีอะไร กำลังมีความโลภ หรือกำลังมีความโกรธ หรือกำลังมีความหลง มันมีอยู่อย่างไร มันมีเท่าไร กระทั่งมันมา, มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ทำอย่างนี้ ก็คือเรียกว่าทำวิปัสสนา คือมองให้เห็นโดยแจ้งชัดในสิ่งที่เป็นตัวปัญหา คือกิเลส และความทุกข์ เดี๋ยวนี้เราชอบอ่านหนังสือ Marksizm มากกว่าหนังสือ Buddhism เห็นแล้วมันก็น่าสงสาร Marksizm มีปัญหามากกว่า Buddhism อุตสาห์ซื้อมาจากเมืองนอก ไปซื้อหนังสือ Marksizm มาเกือบทั้งนั้น มันมา, หันมาสนใจพุทธศาสนาให้ยิ่งเสียกว่าก่อน ซึ่งเป็นเพียงวิชาท่องจำ หรือวิชาหนังสือหนังหามากเกินไป
เดี๋ยวนี้จะมาดูที่ตัวจิต ตัวใจ เป็นหนังสือเล่มภายใน หนังสือเล่มข้างใน หนังสือเล่มข้างนอกนั้นมันก็เพื่อสอนวิธีดู อ่านหนังสือเล่มข้างใน ถ้าเราอ่านหนังสือเล่มข้างนอก สามารถจะอ่านหนังสือเล่มข้างใน แล้วก็รีบอ่านหนังสือเล่มข้างใน ดูจิตดูใจ เฝ้าดูจิตดูใจ
แต่ว่าคนสมัยนี้ ไม่ได้รับคำสั่งสอนให้อดกลั้นอดทน เขาทำไม่ได้ เขาจะบังคับจิตของเขาให้ทน เฝ้าดูข้างในนานๆนี้ มันทนไม่ได้ เพราะมัน, มันต้องการความอดทนมาก แล้วมันไม่สนุกด้วย จะสนุกต่อเมื่อเราเริ่มเข้าถึงมันบ้าง เริ่มรู้จักกิเลส เริ่มรู้จักความทุกข์ จะค่อยสนุกมากขึ้น ในการที่จะดูกิเลส ให้รู้จักกิเลส จะค่อยๆสนุกมากขึ้น
ทีนี้ในภายใน คอยดูจิตใจของตัวเองมีกิเลสอย่างไร ไม่มีอย่างไร อยู่, อยู่เป็นประจำ จะรู้จัก ไอ้ตัวโลภ โกรธ หลง กิเลส จะรู้จักสมุฐาน ที่งอก ที่เกิดมูลเหตุของมัน แล้วก็จะรู้จักวิธีทำลายมูลเหตุของมัน ในที่สุด จะชนะ จะเอาชนะได้
มันทำเล่นกับมันไม่ได้ ก็ต้องอดกลั้นอดทนด้วย ศึกษาธรรมะนี่ต้องการความอดทนมาก เพราะมันมาทำผิวๆ ไม่ได้ มันต้องทำอย่างตั้งอก ตั้งใจ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งต้องใช้ความอดทนมาก ฉะนั้นเราเปลี่ยน เราเปลี่ยนมาอดทน เสียสละ อดทนเพื่อจะศึกษาสิ่งนี้ มีเพื่อนมีฝูง มีอะไรก็มาปรึกษาหารือกันที่จะ, จะ, จะเล่นงานกิเลส จะ, จะทำลายกิเลส ศัตรูร้ายกาจของมนุษย์เรา เหมือนกับที่เราได้ทำอะไรจริงๆจังๆบางอย่างอยู่แล้ว นี่เอา, เอาไอ้ความจริงนั้น มาใช้กับไอ้ทำลายกิเลส ศึกษากิเลส
อย่าเห็นว่าสนุกแล้วดี หัวเราะแล้วดี เหมือนพวกฝรั่งสมัยนี้ เขา, มันไม่ได้อดกลั้นอดทนเหมือนฝรั่งสมัยก่อน ต้องการสิ่งประเล้าประโลมใจมากเกินไป ลองเสียสละไอ้สิ่งชนิดนั้นเสีย เอาเวลา เอาจิตใจ เอากำลังสติปัญญามาใช้ ศึกษากิเลส รบพุ่งกับกิเลส มาหาความเป็นวีรบุรุษจากการชนะกิเลส
สรุปสั้นๆ ในหลักธรรมะที่มีอยู่ ก็ข้อที่แรกก็คือว่า ละอาย และ กลัว มองเห็นไอ้ตัวกิเลส หรือตัวความทุกข์ แล้วก็ละอาย แหม, เราแย่มาก ละอายที่ตัวมันพ่ายแพ้แก่กิเลส แล้วก็กลัวไอ้ผลของกิเลส ก็เรียกว่ามี หิริ และ โอตัปปะ อยาก, อยากจะพ้นจากอำนาจของกิเลส ด้วยมีความละอายและความกลัว ช่วยกันให้เกิดความรู้สึกละอายและกลัว
ทีนี้ก็มีแผนการที่จะศึกษา จะทำลาย คือมีปัญญา มีสติ พอรู้เรื่องกิเลสจะเกิดอย่างไรแล้วมันก็ต้องมีสติ ป้องกัน
กิเลสเกิด เพราะคนโง่ ไม่, แล้วก็ไม่มีสติ เอาปัญญามาใช้ให้ทันแก่เวลาเมื่อมันจะเกิดกิเลส ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็ตาม เมื่อกระทบอารมณ์ที่เป็นคู่ของมันแล้ว ไม่มีปัญญาเข้ามาควบคุม มันก็กลายเป็นจิตโง่ มันก็รับอารมณ์ด้วยจิตโง่ มันก็ต้องไปตามแบบของความโง่ และเป็นทุกข์ในที่สุด
ถ้าเรามีสติ แล้วไปเอาปัญญามาใช้ทันท่วงที เมื่อ, เมื่อมีสัมผัส เมื่อมีการกระทบอารมณ์ สติมีพอ ไปค้นเอาปัญญามาทันเวลา มันก็จัดการกับไอ้สัมผัสนั้นไม่ให้เกิด กิเลส ไม่ให้เกิด เอ่อ, ไม่ให้เกิดกิเลส ต้องศึกษาในส่วนปัญญาไว้ให้พร้อม
แล้วเอาตรงส่วนสติ ซึ่งเป็นเหมือนกับขนส่งไว้ให้มากให้เร็ว
สติทำหน้าที่ ขนส่งปัญญา มาทันกรณีที่มีการสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ (นาทีที่ 30.52) ……..ไม่ได้
ฉะนั้นศึกษาทางปัญญาพอ สติให้เร็ว ให้มาก สติที่เร็วและมาก นั้น, มันก็ขนเอาปัญญามาทันเวลาเมื่อมีการสัมผัส ทางอายตนะ มันก็ควบคุมอายตนะนั้นได้ กิเลสก็ไม่มีโอกาสจะเกิด
สรุป ทำได้เท่านี้ ชั้นต้นจะต้องรู้สึกละอาย และเกลียด กลัวมันเสียก่อน อยากจะพ้นมันอย่างเต็มที่ แล้วก็มาฝึกฝนปัญญา ฝึกฝนสติ ใช้ปัญญาและสติทันแก่เวลา นี่หลักใหญ่
รายละเอียดปลีกย่อยก็ยังมีอีก แต่มันก็, มันหลักใหญ่เพียงเท่านี้ เมื่อรู้จักหลาบ รู้จักละอาย ถ้าทำผิดซ้ำอีก ก็รู้จักละอายอย่างยิ่ง กลัวอย่างยิ่ง อย่าให้ทำผิดซ้ำโดยไม่ต้องมีความรู้สึกละอาย หรือกลัว มันก็จะลด ลด ลด ลง ลดลง
พุทธทาส : เอ้า, ใครมีปัญหาอะไรอีก
พิธีกร : เป็นไงครับ อาจารย์ได้สอนวิชาไล่ผีไปแล้ว ผีสามตัวนะครับ ใครยังสงสัยอะไรอีกไหมครับ ผีโลภะ โทสะ โมหะ วิธีการสำหรับไล่ผี จบกันไปแล้วนะครับ ท่านนักศึกษาทั้งหลาย
พุทธทาส : เอ้า, จะไปแล้วไม่, ไม่, ไม่รอรับแจก
พิธีกร : ไม่ยอมรับค่าจ้างเหรอครับ ค่าจ้างให้อยู่ ยังอยู่นะครับ ยังวางอยู่นะครับ ไม่รอรับค่าจ้างเหรอครับ ใครยังมีอะไรครับ รีบฉวยโอกาสเถิดครับ ให้คุ้มค่า
พุทธทาส : เอ้า, ใครจะไปนอน มาเอาหนังสือก่อนสิ
พิธีกร : คุ้มค่าที่มาสวนโมกข์นะครับ เชิญเลยครับ ถามเลยครับ มีอะไรถามได้เลยครับ
ผู้ฟัง (ผู้ชาย ๓) : ใคร่ขอกราบเรียนถามอาจารย์สองประเด็น ประเด็นแรกเกี่ยวกับ เมื่อกี้ตอนเริ่มต้น ท่านอาจารย์ก็ได้เริ่มอธิบายว่า อย่างเช่นว่า ครบรอบวันปีใหม่ ก็เป็นสิ่งสมมติอย่างหนึ่ง ก็อยากจะเรียนถามว่าไอ้สิ่งสมมติที่แท้จริงในทางพุทธศาสนาคืออะไร สำหรับประเด็นที่สอง ก็คืออยากจะทราบ คำสามคำ ที่รู้สึกว่าจะใช้บ่อยในทางพุทธศาสนา คือว่า ธรรมะ ธรรมดา และก็ ธรรมชาติ คืออะไร และมันเกี่ยวพันกันอย่างไร ขออยากเรียนถามสองประเด็นนี้ครับ
พุทธทาส : คำว่า สมมติ กับคำว่า ปรมัติ เป็นของคู่กัน
ที่พูดตามสมมติ ที่ชาวบ้านเขาเรียกกันอยู่ก่อน เขาพูดกันตามประสาปุถุชนที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ตามที่คนก่อนๆ ได้สมมติไว้ ตั้งชื่อไว้ วางอะไรไว้ อย่างนี้เรียกว่าตามสมมติ
นี่ถ้าว่าอีกพวกหนึ่ง เขารู้ความจริงของสิ่งนั้นๆ ให้เขาพูดไปตามความรู้สึก ตามความจริงที่เขารู้นั้น มันก็จะออกมาเป็นคำพูดอย่างอื่น หรือเป็นเรื่องราวอย่างอื่น
ไอ้สมมติที่เป็นมากที่สุด ก็คือภาษาชาวบ้านพูด มีตัว มีตน มีสัตว์ มีบุคคล มีเรา มีเขา มีฉัน มีแก นี่คือสมมติ สมมติ ที่ปึกแผ่นแน่นหนาอยู่ในหมู่ประชาชน
ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านมาสอนใหม่ว่า โอ้, นั้นนะ มันพูดตามความรู้สึกของคนพวกนั้น ที่แท้มันไม่ได้มีตัวมีตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่ธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ เช่นว่ามันมีการเกิดมาเป็นคนอย่างนี้ขึ้นมา มันก็คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งกันขึ้นมา เลยไปเรียกว่ากลุ่มของธรรมชาติ เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม เป็นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวตน ไม่มีฉัน มีแก เมื่อไม่มีตัวตน แล้วมันก็, ก็, ก็ไม่มีท่าน ไม่มีเรา ไม่มีเขา
ถ้าพูดอย่างนี้ ก็เรียกว่าไม่ใช่สมมติ จึงเป็นความจริง ตามความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์
ถ้าสมมติก็พูดตามที่คนก่อนๆ เขาสมมติเรียกกันไว้อย่างไร ก็ผู้รู้เขารู้ ถ้าให้เขาพูด เขาพูดโดยทำอย่างอื่น แต่ถ้าเขาต้องพูดกับผู้ไม่รู้ เขาก็ต้องพูดตามสมมติ เช่น ให้พระอรหันต์มาพูดกับปุถุชนนี้ ท่านต้องพูดภาษาปุถุชนนั่นแหละ มีตัว มีตน มีเรา มีเขา มีอะไรเหมือนที่ปุถุชนพูด แต่ท่านไม่ถือความหมายของคำเหล่านั้นเหมือนกับที่ ปุถุชนถือ หรือยึดถือ
อย่างปุถุชนพูดว่า ฉัน ก็ฉันเสียจริงๆ แต่ถ้าพระอรหันต์พูดว่า ฉัน นั่นก็พูดตามสมมติว่าฉัน ท่านไม่ต้องมีผลอะไรเกี่ยวกับ ฉันหรือแก
หลักใหญ่เกี่ยวกับสมมติ หรือสัจจะ ปรมัติ สัจจะ สมมติ ก็จริงตามที่ชาวบ้านเขาพูดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ โวหารอย่างนั้น พูดอย่างนั้น มีบุญ มีบาป มีสุข มีทุกข์ มีตัว มีตน มีเรา มีเขา มีเวียนว่ายตายเกิด ตามแบบสมมติ
แต่ถ้าว่าแบบปรมัติ คือไม่ใช่สมมติ คือ พูดความจริง แล้วมันไม่มีตัว มีตน มีสัตว์ มีบุคคล อะไรทั้งนั้น มีแต่สังขาร หรือธรรมชาติ หรือตัวธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตามรูปอะไรต่างๆ ไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมัน อย่างนั้น อย่างนั้น
อย่างเช่นว่า คนตายลงคนหนึ่ง ถ้าพูดตามสมมติก็คือว่า คนนั้นตาย นาย ก. ตาย นาย ข.ตาย แต่อย่างไม่สมมติ ก็ โอ้, มันเพียงกลุ่มธรรมชาติกลุ่มหนึ่ง มันมีอาการอย่างนี้แล้ว ที่สมมติเรียกว่าตาย
ฉะนั้นผู้ที่เห็น เห็นความจริงด้านปรมัตถ์แล้ว จะไม่รู้สึกว่ามีคนๆ หนึ่ง หรือคนนั้น คนนี้ได้ตายลง เขาเห็นเป็นความเปลี่ยนแปลงของกระแสธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น อย่างนั้น
แต่ถ้าสมมติก็ต้องเรียกว่า นายคนนั้นตาย นายคนนั้นเกิด นายคนนั้นอยู่
ถ้าเราไม่รู้สมมติ เราก็ยึดถือ สมมติ แล้วมันก็เกิดความทุกข์แก่เรา
ถ้าเรารู้สมมติ เราไม่ยึดถือ สมมติ ความทุกข์ก็ไม่เกิดแก่เรา
เพราะผลมันเป็นอย่างนั้น ถ้าเราพูดอย่างสมมติ เดี๋ยวนี้เป็นเวลากลางคืน อย่างนั้นเป็นเวลากลางวัน อย่างนั้นเป็นเวลากลางคืน นี่เรียกว่าสมมติบัญญัติให้เป็นวัน เป็นคืน แต่ถ้าพูดอย่างความจริงแล้วมันเป็นแต่เพียงเวลาเท่านั้น เป็นเวลาเสมอกัน ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนเป็นเพียงเวลา อย่างนี้ก็เรียกว่าไม่, ไม่สมมติ ให้เป็นกลางวันหรือเป็นกลางคืน ไอ้กลางวันหรือกลางคืน ค่าเท่ากันในฐานะที่เป็นเพียงเวลา
เอ้า, พอพูดเวลามันก็มีสมมติอีกแหละ เวลาที่ในความหมายสมมติ เวลาที่เป็นปรมัติ หรือความจริง เราก็สมมติ เวลาหนึ่งชั่วโมง เวลาหนึ่งนาที เวลาหนึ่งวัน หนึ่งเดือน นี่เราสมมติเวลา ชื่ออย่างนี้ชื่อ
ถ้าเวลาตามธรรมะ ตามปรมัติ ทางธรรมะสูงสุด เวลา ก็คือ จุดห่างระหว่างความต้องการและความสำเร็จ ถ้าภาษาธรรมะ จะบัญญัติเวลาไว้ จุดระหว่างความต้องการและความสำเร็จ นั่นคือเวลา จะสั้น จะยาว จะมาก จะน้อย มันก็อยู่กับความต้องการมาก หรือต้องการ, ความต้องการน้อย ความเคลื่อนระหว่าง ความต้องการไปสู่ความสำเร็จ เรียกว่าเวลา นี่ถ้าดูกันอย่างไม่สมมติ แต่ถ้าดูอย่างสมมติ ก็เอานาฬิกามาจับ ๕ นาที ๑๐ นาที หรือชั่วโมง นั่นมันเวลาอย่างที่ได้สมมติแล้ว
ถ้าเรารู้เวลาว่า คือจุดเคลื่อนระหว่างความต้องการ กับความสำเร็จ นี่คือเวลา พอเราหยุดความต้องการเสีย เวลาก็หมด เวลาก็หมดความหมาย ไม่มีเวลา นี่เรียกว่า เราฆ่าเวลา เราทำลายเวลา เราขจัดเวลาออกไปหมด โดยขจัดความต้องการเสีย มันก็ไม่มีระยะเคลื่อนระหว่างความต้องการกับความสำเร็จ ไอ้คนนี้มันก็ไม่ได้ต้องการอะไร มันก็เป็นอิสระเหนือเวลา เรื่องสมมติกับเรื่องบัญญัติมี, มีหลักเกณฑ์อย่างนี้ ไป, ไปดูเอาเอง จะค่อยๆรู้เพิ่มมากขึ้น มากขึ้น
จะเรียกว่าเวลาไม่มี ก็ต่อเมื่อเรากำจัดความอยาก หรือความต้องการเสียได้
ถ้าเรายังมีความอยาก หรือความต้องการอยู่ มันเป็นจุดตั้งต้นอันหนึ่ง แล้วมันก็จะเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จตามที่ต้องการ ระยะนั้นเรียกว่าเวลา
ถ้าเราไม่มีความต้องการอะไร แล้วเวลาจะไม่เกิดขึ้น เวลาจะไม่มีความหมาย
ทีนี้ เวลาสมมติก็เอาไอ้, เรื่อง, เรื่องที่จะเป็นหลักให้สมมติ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เอาวัน เอาคืน อะไรมาเป็นเครื่องกำหนดเวลา นี่มันก็เป็นเวลา ตามที่สมมติขึ้น เพื่อใช้วัดเวลาตัวจริง ที่เป็นจุดห่างระหว่างความต้องการและความสำเร็จ
เช่น เราต้องการอยู่หนึ่งปี ก็หมายความว่า ไอ้ความสำเร็จมันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อจะนานเท่านั้น ถ้าต้องการมาก มันก็รบกวนมาก ฉะนั้นบรรเทาเวลาเสียได้ ด้วยการบรรเทาความต้องการ
ถ้าเราเกิดไม่ต้องการ เวลาก็ตีกลับ เวลาไม่มีและตีกลับ
เมื่อเรายึดถือเวลา มันก็มีความหมายที่จะทำให้เรารู้สึกว่า เรา ยังไม่ได้ เราไม่ได้ เราเดือดร้อน เพราะเรายังไม่ได้ เพราะเราไม่ได้
เรื่องเวลา ก็เกี่ยวกับกิเลสอยู่เต็มที่ เพราะมันมากับความต้องการ เวลามีความหมายขึ้นมา เพราะความต้องการ ถ้าไม่ต้องการอะไร คือพระอรหันต์ ก็เป็นผู้ไม่มีเวลา พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีเวลา นาฬิกาไม่เดินสำหรับพระอรหันต์
นี่สมมติว่า หนึ่งปี สมมติว่า หนึ่งเดือน สมมติที่แล้วไปว่าปีกลาย สมมติที่จะมาว่าปีใหม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของมนุษย์ ที่มันเสร็จไปแล้วเรียกว่าปีกลาย ที่ยังจะมาก็เรียกว่าปีใหม่ ที่ยังจะต้องการกันต่อไปอีก ที่ผ่านความต้องการไปแล้ว มันก็เป็นปีกลาย
มันสามารถจะศึกษากิเลส และกำจัดกิเลสได้ โดยหลักของเวลาก็ได้เหมือนกัน มันก็จะเกิดระบบใหม่ขึ้นมาอีกระบบ กำจัดกิเลสด้วยความรู้เรื่องเวลา แต่แล้วมันก็ไปรวมอันเดียวกัน กับเรื่องกิเลส คือความต้องการซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวลา ให้เกิดความหมายของเวลา
อยากจะพูดสำหรับพวกเราสมัยนี้ที่ว่า สมัยนี้เรามักจะสอนเด็กๆ ให้อยู่ด้วยความหวัง คือให้เว, ให้เวลา มันทรมานใจเล่นซะอย่างนั้นแหละ พอหวังมันก็ผิดหวังแหละ ไม่ว่าคุณจะหวังอะไร หวังอะไรก็ตามใจ หวังเรื่องกามารมณ์ หวังแล้ว, พอหวัง ก็ผิดหวังทั้งนั้นแหละเพราะว่า พอหวังมันก็ยังไม่ได้ มันก็คือผิดหวังเรื่อยไปจนกว่าจะได้
อย่างนี้ เวลามันทรมาน มันกัด, กัดหัวใจคนหวัง คนที่มีความหวัง
ฉะนั้นอย่าอยู่ด้วยความหวัง
อยู่ด้วยความรู้ อยู่ด้วยความรู้ สติปัญญาว่า เราจะต้องทำอะไร อย่างไร ก็ทำไปก็แล้วกัน
อย่าอยู่ด้วยความหวัง ถ้าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ ก็ทำ อย่าหวัง ถ้าหวังมันจะกัดเอา เวลาจะมากัดเราทันที ถ้าเราอยู่ด้วยความหวัง
ฉะนั้นเรื่องของธรรมะ เรื่องของพุทธศาสนาสอนให้เกลียดชังความหวัง แต่โลกสมัยปัจจุบันนี้ กลับสอนให้อยู่ด้วยความหวัง ให้ตั้งความหวัง ให้มีความเชื่อแน่ว่า หวังที่ไหนสำเร็จที่นั่น นี่ก็ไม่รู้ว่าตลอดเวลามันเกิดทุกข์
ชาวพุทธก็มีศิลปะ มาเหนือด้วยว่า ฉันไม่อยู่ด้วยความหวัง
ฉันอยู่ด้วยการกระทำ กระทำด้วยสติปัญญา ไม่ใช่กระทำด้วยความหวัง
พวกที่กระทำด้วยความหวัง ก็คือ ตกนรก
พวกที่ทำด้วยสติปัญญา มันก็ไม่, ไม่ต้องทรมานอะไร มันก็ทำไป มันก็สนุกสนานไปในการทำ ยิ่งทำ ก็ยิ่งใกล้ความสำเร็จ
ข้อนี้พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบโดยธรรมชาติว่า เหมือนแม่ไก่กกไข่ให้ลูกออกเป็นตัว แม่ไก่นั้นมีหน้าที่เพียงกกลูกให้ถูกวิธี อย่าไปหวังว่าลูกไก่จะออกมา ลูกไก่จงฉีกฟองไข่แตกออกมา
ถ้าไปหวังอย่างนั้น มันเป็นแม่ไก่บ้า ฉะนั้นแม่ไก่มีหน้าที่เพียงกกลูกให้ถูกวิธี แล้วลูกมันก็เป็นลูก เป็นตัว ออกมาเอง นี่คือหลักที่เกี่ยวกับความหวัง
อย่าให้ความหวังมันกัดเรา เราอยู่ด้วยสติปัญญา อย่าอยู่ด้วยความหวัง จะเล่าเรียน หรือจะทำอะไรก็ตาม ทำด้วยปัญญา และความเพียร สติสัมปัญชัญญะ อย่าทำด้วยความหวัง คือกิเลสตัณหา
นี่, นี่คุณธีรวัฒน์ ถ้าคุณไม่แจก คุณก็ไม่ได้มีโอกาสแจกแหละ เขาไปนอนกันทีละคน สองคน หมดแล้ว เอ้า, แจกเถิด แจกก่อน เดี๋ยวไม่มีใครรับแจก เอ้าคุณพยูญแจก ส.ค.ส. คำพูดที่พูดทางวิทยุ วันอาทิตย์ หนังสือนี้ เอ้าแจกคนละเล่มๆ ..(พูดภาษาใต้ฟังไม่ออก แต่น่าจะเป็นการพูดทั่วๆไป นาทีที่ 49.32)
พิธีกร : ผมว่าเพื่อไม่ให้เสียเวลา แล้วก็แก้เซ็งด้วยนะครับ เดี๋ยวนี้เราพบคำว่าเซ็งอยู่เรื่อย แก้เซ็ง พักขึ้นมาหน่อย ก็คงจะต้องถึงคุณกัญญาแล้วล่ะกระมัง สลับฉาก พร้อมกันนั้นก็, ขอเชิญคุณกัญญาครับ
พุทธทาส : ที่ได้ฟังเขาเล่ามา เขาว่าพวกจีน คอมมูนน่ะ, ในคอมมูน คอมมิวนิสต์ที่ประเทศจีน เขาทำงานสนุกสนาน นั่นเขาก็ถือหลัก ไปทำงาน คือการทำหน้าที่ ปฏิบัติธรรมะ ฉะนั้นจะไม่ได้เงิน ไม่ได้รับตอบสนองอะไร เขาก็, เขาก็มีความสนุกซะแล้วในการทำงาน ฉะนั้น รัฐบาลจะ, จะแบ่งให้เท่าไร หรือจะไม่ให้เลยก็ได้
พิธีกร : จนกว่าเราจะได้ฟังเสียง,
พุทธทาส : แต่เราก็มีกิน เราก็มีกิน เพราะว่าไอ้ที่เหลือ ที่ทำไว้นั้นมันมี เหลือกินเสมอแหละ เอ้าๆ ว่าเลย ว่าเลย
คุณกัญญา : ต้องขออภัยด้วยค่ะ คือท่านที่มาที่นี่ก็อยากจะฟังท่าน ที่นี่ท่านที่ว่าจะให้มาสลับรายการ
พุทธทาส : เอ้าสิ เล่าเรื่องเมืองจีน
คุณกัญญา : คือว่า เรื่องเมืองจีนที่เขานับถือพุทธศาสนา และหลายๆ ประเทศก็ยอมรับว่า เมืองจีนนี้มีศาสนาที่ถูกต้อง คือไม่มีใครค้าน ต่างประเทศหลายๆ ต่างประเทศ ว่าเขาทำไม เขาอยู่ด้วยธรรมะ คือดิฉันไปถามผู้ที่ปฏิบัติ เขาจะไม่พูดคำว่า ธรรมะ นะคะ คืออาศัยว่าดิฉันพูดภาษาจีนได้นิดหน่อยนะคะ
ทีนี้ดิฉันก็มาฟังท่านอาจารย์ ท่านพุทธทาสว่า การทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น ไอ้คติพจน์อันนี้ก็ตรงกัน จะเห็นว่าคนจีนนี้ทำงานด้วยจิตว่างจริงๆ แต่เขาไม่เข้าใจคำว่าจิตว่าง ดิฉันก็อธิบาย คืออยู่ในตำบลของจีนแคระ คืออาศัยว่าพูดภาษาจีนได้นิดหน่อย ก็ซักถาม ก็เลยบอกว่าเมืองไทยก็เช่นกัน ฉะนั้นเราจะเห็นว่าคนจีนที่มาเมืองไทยนี่ขยันขันแข็งทำงานด้วย เอ่อ, ใช้คำว่าจิตว่างนี่ บางท่านก็ตกใจนะคะ ว่าเป็นธรรมะที่สูง
คือเห็นท่านนักศึกษาที่นี่ ที่ถามท่านพุทธทาสนะคะ ถามอาจารย์ท่านว่า ธรรมะก็คือธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เป็นธรรมชาติ อันนี้ตรงกัน เขาก็ทำด้วย การปฏิบัติ คือหน้าที่ที่ท่านอาจารย์ท่านพุทธทาสพูดสักครู่นี้ว่า คือทำตามหน้าที่
คือทางเมืองจีน เขาบอกว่า เขาเป็นประชาชน เมื่อทำสิ่งใดไปแล้ว เกิดประโยชน์กับส่วนรวม ไม่เบียดเบียนตนเองกับคนอื่น แม้แต่รัฐบาลแนะนำมาก็ถูกต้อง ไม่มีใครว่าจะไม่เห็นด้วย แต่ก็มีปัญหาขึ้นอีกว่า บางท่านไม่เห็นด้วยว่าเป็นลัทธิที่กดขี่หรือบีบคั้น อันนี้เราจะไม่พูดประเด็นทางโลกนะคะ เขามีความขัดแย้งบ้าง แต่ว่าดิฉันพูดในวันนี้ พูดในหมู่บ้านนี้ ก็คือจะพูดแต่เรื่องธรรมะ ที่คนจีนใช้ภาษาว่า เขาจะใช้ว่า เขาปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ เขาก็ปฏิบัติธรรมนี้ ดิฉันจะไม่พูดถึงลัทธิเหมา หรือลัทธิมาร์กซิสต์ หรืออะไร นี่เป็นอันว่ารู้ๆ กัน ที่ผู้ที่ค้นคว้ากัน ซึ่งดิฉันก็ค้นคว้ามา นี่ก็ไม่ได้ว่าเป็นนักปราชญ์ หรือนักที่เก่งมากนัก แต่ว่า ดิฉันจะเน้นในด้านจิตนะคะ คือไปเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ อันนี้หมายถึงว่า ไปเยี่ยมทั้งๆที่ คนที่เขามีเกิดเหตุการณ์เดือดร้อน แต่ทำไมเขาไม่เดือดร้อน นี่ล่ะ ฉะนั้นศาสนาพุทธนี้ตรงกัน
และอีกประการหนึ่ง ทำไมคนจีนนี่มาอยู่เมืองไทย ดิฉันก็ไปดูว่า ทำไมว่าการเป็นอยู่เขาจะเหมือนคนเมืองไทยไหม ใช่ไหมคะ ก็ไปเล่าให้ฟังว่าคนจีนที่อยู่ประเทศไทยนี่ อยู่ดีกินดีสบาย แต่เขาส่วนใหญ่จะสนใจศาสนาพุทธนี่น้อย มีแต่คนที่ คนเดิมๆ หมายถึงผู้ใหญ่ คือปฏิบัติธรรมบ้าง แต่มาวัยรุ่น คือ สิ่งแวดล้อมวัตถุเจริญขึ้นมากเท่าไร เขาก็สนใจน้อย ขอพูดในที่นี้เลยนะคะว่า ส่วนใหญ่ คนจีนมากในประเทศไทยนี่ อันนี้เป็นปัญหาว่าเพราะอะไร จะโทษว่าสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นอยู่อย่างไร อันนี้ดิฉันก็ไม่ทราบ ท่านอาจารย์ก็คงจะเข้าใจ ถ้าดิฉันพูดมากไป เดี๋ยวก็ท่านผู้ฟัง นี่ก็คงอยากจะฟังท่านอาจารย์ท่านพุทธทาสก็คงจะเสริมให้บ้างนะคะ ขอตัดรายการแค่นี้ก่อนนะคะ
พิธีกร : ขอบคุณ คุณกัญญามากนะครับ ที่ได้ชี้ให้เราเห็นนะครับ
พุทธทาส : คือว่าเมื่อได้ทำงานแล้ว มันพอใจเสียแล้ว มันจะมีปัญหาอะไร จะต้องการจะทำงาน ผลงานไม่รู้ไม่ชี้ เมื่อได้ทำงานมันเป็นสุขแล้ว มันพอใจเสียแล้ว มันจะได้ผลงานหรือไม่ มันก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะมันพอใจ พอใจ อิ่มอก อิ่มใจเสียแล้ว เมื่อได้ทำงาน เพราะเป็นการปฏิบัติธรรมะ ได้กำไรนะ เป็นสุขเมื่อ, เมื่อ, เมื่อทำงานนั้นได้กำไรที่สุด ถ้าว่าได้ผลงานใหม่ก็ยิ่งรวยใหญ่เลย ยิ่งรวยความสุข ทำงานมันก็มีความสุข ทำงานแล้วก็มีความสุข ก็, ก็, ก็ได้มากกว่า
เดี๋ยวนี้คนทั่วไป เมื่อทำงานไม่มีความสุข โกรธ ด่า เรื่อยเมื่อทำงาน ไม่มีความสุข โดยหวังความสุขเมื่อทำงานแล้ว ได้เงินแล้ว ไปเที่ยวแล้ว จึงจะมีความสุข
พวกหนึ่งมันเป็นสุขเมื่อกำลังทำงาน มันก็ได้, ได้กำไรมากกว่า ได้เปรียบมากกว่า มารู้จักหาความสุขเมื่อกำลังทำงานกันดีกว่า ตั้งจิตไว้ถูกต้องเถิด มันจะมีความสุขเมื่อกำลังทำงาน มันเลยไม่มีงาน มันมีแต่ความสุข ทำไปก็มีแต่ความสุขหมด ไม่มีงาน ไม่มีการงาน
พิธีกร : คุณ เป็งฮั้ว??? (ชื่อคน) (นาทีที่ 59.19) จะมีอะไรมาเพิ่มเติมอีกไหมครับ
พุทธทาส : เอ้า, คุณ เป็งฮั้ว ??? (ชื่อคน) (นาทีที่ 59.24) ปีหนึ่งมาทีหนึ่งต้องพูดให้คุ้ม
คุณจับไมโครโฟนหงายขึ้นอีกให้พอดีปาก จับหงายขึ้นอีก
คุณเป็งฮั้ว ?? : ขอนมัสการพระคุณเจ้า ที่บอกว่าคุณกัญญาเล่าเรื่องเมืองจีนนะครับ ไม่ได้เล่าเลย ก็ ผมก็จะมาเล่าแทน เพราะว่าผมก็ไปเมืองจีนมาเหมือนกัน ไป ๑๔ วัน ฉะนั้นการที่ไปเมืองจีนนี่ก็ อยากจะไปดูว่าพระพุทธศาสนาในเมืองจีนมันเป็นอย่างไร ก็ เขาก็ไปดูศพของเหมาเจ๋อตุงกัน ผมก็ไม่ไป ผมไม่ไป เพราะว่า ไปกับคณะเขา คณะเขามีกำหนดเวลา คือกำหนดเวลา เวลานี้ ระหว่างเวลาเท่าไหร่ ถึงเวลาเท่าไหร่ เขาจะไปดูศพของเหมาเจ๋อตุง ผมก็บอกว่า ศพมันไม่น่าดูเลย เราไปดูวัดดีกว่า แล้วเราก็แยกตัวไปดูวัด
ก็ปรากฏว่า วันนั้นเป็นวันที่เขาเปิดวัด คือหมายความว่า วัดนี้ปิดมา ๓๐ กว่าปีแล้ว เขาเอาโซ่ล่ามไว้ ล่ามไว้ ๓๐ กว่าปี แต่วันนั้นพอดี เป็นวันที่โชคดี ผมก็ได้เข้าไปนมัสการพระพุทธรูป แล้วก็นมัสการพระคุณเจ้า ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ก็ถามเจ้าอาวาสว่า ท่านยังมีพระสงฆ์เหลืออยู่เท่าไหร่ แล้วก็ท่านตอบบอกว่าไอ้เก่าๆ ไม่เหลือแล้ว เวลานี้รับลูกศิษย์มาใหม่ เก่าๆ ก็ถามพระคุณเจ้าว่า ท่านเป็นเจ้าอาวาสหรือครับ เมื่อเวลาเขามีการเปลี่ยนแปลงระบบอยู่ ตอนนั้นท่านอยู่ได้อย่างไร ท่านก็ตอบบอกว่า ก็อยู่ได้ อย่างที่อยู่ไม่ได้ ก็ฟังแล้วงงหมด คือ อยู่ได้อย่างที่อยู่ไม่ได้เป็นอย่างไร
คือหมายความว่า ในเวลาเขาเปลี่ยนแปลงน่ะ มันอยู่ไม่ได้นะ มันอยู่ไม่ได้ ทนอยู่ไม่ได้ แต่ท่านก็ทนอยู่ได้ ก็หมายความว่า อยู่ได้อย่างที่อยู่ไม่ได้ เป็นคำ, เป็นศัพท์ที่ฟังยาก ตะนี้ก็บอกว่าที่ท่านเปิดบ้านมานี้ แล้วท่านจะดำเนินอย่างไร เขาก็ตอบว่า พระคุณเจ้าตอบว่า ไอ้การดำเนินวัดนี่นะ มันหน้าที่ของฝ่ายปกครองเขา เขาจะมาดำเนินวัด คือ, คือ แต่ก่อนนี้เป็นของเจ้าอาวาสนะ สิทธิของเจ้าอาวาสที่จะดำเนินวัด เราจะทำอะไรต่างๆ นี่แล้วก็เจ้าอาวาสก็ อย่างพระคุณเจ้า เอ่อ, ท่านทำอยู่ เจ้าอาวาสก็มีสิทธิ์ที่จะทำอะไร อะไรได้ แต่นี่ไม่ คือ ต้องอยู่ในใต้อาณัติของเขามาปกครอง ที่นี้ผมก็ขอดูการที่เขาจะศึกษาดู ว่าเขาจะศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างไร ไอ้หนังสือนี่ เวลานี้เขาเปลี่ยนใหม่ หนังสือจีนเขาเปลี่ยนเป็นตัวย่อ คือย่อให้มันเขียนง่ายเข้า คือเอาตัวหนังสือที่ยากๆ เขียนให้มันง่ายๆ เข้า
พุทธทาส : คล้ายญี่ปุ่นหรืออย่างนั้น
คุณเป็งฮั้ว ?? : ไม่ครับ ญี่ปุ่นก็เอาหนังสือจีนล้วนๆ แต่ว่าเอาตัวอักขระมาแทนเสียง คือใช้ภาษา, อย่างในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นนี่ เราจะเห็นว่าหนังสือจีนที่สมบูรณ์มีอยู่ ๕๐% คืออีก ๕๐% เป็นตัวอักขระที่ผสมแล้ว ออกเป็นเสียง แต่ว่าภาษาจีนนี่ เขาตัดเอาแข้งเอาขา คือ คือ ตัดให้มันเหลือน้อยลง เช่น คำว่าประเทศนี่ข้างในเราจะวงกลมสี่เหลี่ยมนี่ ข้างในเราจะมี, มีเขต แล้วก็มีบัญญัติอยู่ใน อยู่ในวงกลมสี่เหลี่ยม หมายความว่าประเทศอยู่ในการบัญญัติ แล้วก็อยู่ในการที่มีเขต มีแดน มีในขอบเขต แต่ในเวลานี้ ไม่มีนะ ข้างในไม่มี คือประเทศ หมายความว่า เหลือแต่วงกลมสี่เหลี่ยม ข้างในไม่มีอะไรเลย คือตัวหนังสือนี่ถูกตัดหมด แต่พออ่านเขาก็มีหนังสือ เป็น, มา, มาสอบดูกับตัวเก่าเป็นอย่างไร มีหนังสือให้อ่านเล่มหนึ่ง สำหรับคนที่อ่านไม่เป็น พออ่านไป อ่านไป ก็รู้สึกว่า เขากำลังศึกษาปรัชญาของพระพุทธศาสนา ปรัชญา แต่การที่เขาศึกษาปรัชญาของพระพุทธศาสนานี่ เขาศึกษาในด้านของวัตถุ เขาบอกว่า วัตถุต้องเป็นใหญ่
ฉะนั้นเราจะศึกษาอะไร ต้องศึกษาที่วัตถุ เพราะว่าวัตถุเป็นใหญ่ แล้วในที่สุด จิตนั้นต้องตามมาทีหลัง ฉะนั้นเรื่องวัตถุนี่ต้องเป็นใหญ่ แต่ผมอ่านๆ ไปนะ ไม่อย่างนั้น เขาก็ค้นคว้าประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีเข้าไปในประเทศจีนตั้งแต่ในสมัยโบราณ ๒๐๐๐ กว่าปี หรือ ๑๙๐๐ กว่าปีก็มี เขาล้วนแต่เอาวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบมาได้ มาวิจารณ์ วิจัย ในความที่คนจีนเข้ามาเชื่อถือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
ตรงนี้กระผมจับจุดได้ว่า การที่เขาเข้าใจว่าเขาเป็นวัตถุนิยม ที่แท้ก็คือ เขาเป็นจิตนิยมนั่นเอง คือหมายความว่าอาศัยวัตถุ อาศัยวัตถุที่เราได้มานี่ เข้าไปค้นคว้าถึงจิตใจที่สร้างวัตถุนั้น คือหมายความว่า ไม่ว่าอะไรซึ่งเป็นวัตถุเหล่านั้น ต้องประกอบไปด้วยจิตใจซึ่งไป เป็นผู้วิจิตร วิจิตรขึ้นมา
ฉะนั้นการที่เข้าไปค้นคว้า ถึงเรื่องเมื่อ ๒๐๐๐กว่าปี ที่คนจีนเขาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างไรนั้น จึงกลายเป็นว่าจีนคอมมิวนิสต์นี่ เขาอาศัยวัตถุเพื่อจะไปสู่, ไปสู่จิต หมายความ วัตถุนิยมของเขา ไอ้จุดหมายที่แท้จริง คือจิตนิยม
แต่ในปรัชญาซึ่งสุดท้ายของเขา ทั้งวัตถุนิยม ทั้งจิตนิยม มันเป็นการขัดขวาง ซึ่งทำให้หลุดพ้น เพราะว่า จิตนิยมนี่ก็ ก็ ก็ไม่ทำให้ เราไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ วัตถุนิยมก็ทำให้เราไม่สามารรถหลุดพ้นได้ ทั้งสองอย่างนี้ ต้องสละ ต้องสละ จนหมดจด จึงจะ จึงจะหลุดพ้นได้ เพราะว่ามันจะได้ไม่ผูกมัด ฉะนั้นในปรัชญานั้น เน้นไปในเรื่องของ, ของจิตและธรรม ซึ่งในที่สุดท้ายนั้น ต้องสละหมด
อันนี้ผมก็พอมองเห็นว่า ในความหวังที่เขาจะเข้าใจพระพุทธศาสนานั้น มันเป็นสัจธรรมจริงๆ เพราะว่าถึงแม้ว่าเราจะใช้วิธีบิดเบือนอย่างไร แต่ในที่สุดจุดหมายปลายทางอันนั้น มันจะต้องเข้าไปสู่ในจุดหมายอันเดียวกัน จุดหมายอันเดียวกัน ไม่, ไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจว่าเป็น วิญญาณ หรือเป็นอะไรอย่างที่เราเข้าใจ เพราะเวลานี้ที่แก, พวกเขาศึกษาอยู่ เขาทิ้งเรื่อง อิทธิ ฤทธิ อย่างว่า ไอ้สิ่ง ซึ่งเป็นวิญญาณล่องลอย หรืออะไรอย่างนั้นน่ะ เขาไม่สอนกันแล้ว เขาเลิกสอนกันแล้ว อิทธิ ฤทธิเหล่านั้น ไม่สอนกันแล้ว
แต่สอนในหลักที่เรียกว่า อนุส เอ่อ อนุศาสนา อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ของพระองค์ คือหมายความว่า สามารถที่จะนำคำสอนซึ่งประกาศแล้ว ประกาศออกมาแล้วนี่ มันมีอิทธิ ฤิทธิ จริงๆ คือหมายความว่า คนที่ได้ฟังแล้ว เข้าใจธรรมะได้ดีจริงๆ เลย คือเข้าใจได้ ได้ถูกต้อง คือเข้าใจได้จริงๆ ไอ้อย่างนี้ผมก็ดีใจด้วย เพราะว่าไอ้เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์เหล่านั้นน่ะ เลิกกันที มาอนุศาสนีปาฏิหาริย์ กันเถอะ เป็นอย่างนี้ผมก็ดีใจว่า ในความหวังต่อไปภายหน้า พระพุทธศาสนาเขาอาจจะเจริญกว่าเราก็ได้ เอ้า เอาเพียงแค่นี้ครับ
พิธีกร : ขอบคุณครับ นี่ละครับ เรื่องของศาสนามัน, มันจมยากนะครับ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ เอาละครับ ผมขอเตือนท่านที่จะไปนอนทั้งหลาย ระวังนะครับ อย่านอนข้ามปีนะครับ นี่ยังไม่ทันสิ้นปีดีนะครับ ถ้าท่านนอนเอาปีนี้ แล้วมาตื่นเอาปีหน้าแล้ว ชีวิตท่านจะนอนสองปีนะครับ ฉะนั้นขอเตือนก่อนอย่างไรเสีย ก็ให้อยู่กันจนถึงปีใหม่นะครับ
เสียงโฆษกในวิทยุ : ... (ฟังไม่ออก นาทีที่ ๑.๑๑.๔๓) แล้วก็ถึงเวลา ๒๔ นาฬิกาตรง ก็จะเจริญชัยมงคลคาถา เป็นการมอบสิริมงคล...(ฟังไม่ออก นาทีที่ ๑.๑๑.๕๑) แก่พี่น้องประชาชนทั้งประเทศครับ ซึ่งในตอนนั้นก็, เราคงจะได้สนุกสนานรื่นเริงต้อนรับปีใหม่ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ พร้อมๆ กันนะครับ เวลาใกล้เข้ามาเต็มทีแล้วครับ ขณะนี้เหลืออีก ๓๒ นาที ๓๑ นาทีแล้วนะครับ ปี ๒๕๒๔ จะก้าวพ้นเราไป
ในปี ๒๕๒๕ ที่จะผ่านมาถึงนี้ เราจะเห็นได้ว่า รัฐบาลของเรามีโครงการ หลายโครงการทีเดียวครับ ในอันจะเอื้ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ประการที่สำคัญ โครงการเฉลิมฉลองรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ซึ่งเราตอนนี้ มีการเตรียมงานกันอย่างคึกคักมากนะครับ ก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กันกลางปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
แล้วก็โครงการสร้างงานในชนบท ซึ่งเป็นเจตนารมย์ของรัฐบาลอย่างยิ่ง ในอันที่จะยกระดับฐานะความเป็นอยู่ ของพี่น้องเกษตรกรในประเทศของเราให้สูงขึ้น แล้วก็เป็นการ, เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนยากคนจน ได้มีงานทำ มีการสร้างงาน ในชนบทเกิดขึ้น นอกจากนี้โครงการอื่นๆ ก็ยังมีตามมาอีกหลายอย่างหลายประการทีเดียวครับ ในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่งามขึ้น ในปีพุทธศักราช๒๕๒๕ ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้านี้แล้วนะครับ อีกประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ท่านกำลังฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กระจายเสียงจากกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ขณะนี้เวลา ๒๓ นาฬิกา ๓๐นาทีครับ
ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านฟังพระโอวาทและคำอำนวยพรของสมเด็จพระอริยวงศา ...จารย์ (นาทีที่ ๑.๑๓.๒๔) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระสังฆราช (ในวิทยุ) : ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย อีกไม่กี่นาทีต่อไปนี้ ก็จะถึงเวลากำหนดสิ้นปีเก่า๒๕๒๔ และย่างขึ้นสู่ปีใหม่ ๒๕๒๕ ปีต่อไป ชาวเรานิยมนับถือวันหัวต่อ คือวันปีเก่าหมดไป เชื่อมกับวันปีใหม่ เป็นวันสำคัญที่ควรแสดงความไว้อาลัยในวันเก่าที่จะหมดสิ้นไป เพราะชีวิตเรา แต่ละบุคคลได้ผ่านมา ได้ด้วยความสวัสดีโดยตลอดปี และแสดงการต้อนรับปีใหม่ เพื่อให้เกิดความสวัสดี แก่ความเป็นอยู่ของตน ของตน สืบต่อไปอีก
นับว่าเป็นพิธีการที่ควรยึดถือเป็นหลัก เพราะจะได้ย้อนสำรวจชีวิตที่ผ่านมาแล้วตลอดปี๒๕๒๔ นั้นว่า เป็นชีวิตเสื่อมซึ่งตกอยู่ภายใต้อำนาจความฝ่ายต่ำมากน้อยเพียงใด หรือเป็นชีวิตเจริญ ที่เจริญอยู่ในคุณธรรมฝ่ายสูงถึงไหน จะได้เป็นตัวอย่างให้นำมาแก้ไขปรับปรุง ส่วนที่เสื่อมให้ปรับเจริญ ส่วนที่เจริญให้ยิ่งเจริญสืบไป อย่างนี้ เป็นวิธีดำเนินชีวิต ที่นักปราชญ์สรรเสริญส่วนเดียว จะไม่เป็นชีวิตที่รกโลกเลย
อนึ่งในปี๒๕๒๕นี้ ทางราชการประกาศให้ถือเป็นปีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สืบต่อความเจริญรุ่งเรืองมา ได้ครบ ๒๐๐ ปี พร้อมกับราชวงศ์จักรีที่เสวยราชเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศชาติไทย สืบสันติวงศ์ครบ ๒๐๐ ปีในวาระเดียวกัน จึงจัดให้มีพิธีฉลองอย่างมโหฬาร ร่วมกับราษฎรทั่วทั้งประเทศอีกด้วย จึงควรที่ชาวเราผู้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดลูกหลาน จะร่วมน้ำใจ แสดงความยินดีปราโมทย์ต่อความมั่นคงถาวรของกรุงรัตนโกสินทร์ และพระบรมราชจักรีวงศ์ ร่วมกับฝ่ายรัฐบาล ให้ยิ่งกว่าต้อนรับปีใหม่ตามธรรมดาทั่วกัน เพื่อไว้อาลัยปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ร่วมการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์และจักรีบรมราชวงศ์ ในปี ๒๕๒๕ ครั้งนี้ จึงควรแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจ ให้อยู่ภายในขอบเขตของศีลธรรมประเพณี จึงจะเป็นสิริมงคลอันสมควร เพราะส่วนมากมักจะหลงแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจกันเกินขอบเขต ด้วยไม่สนใจระมัดระวังความเสื่อมเสีย กล้าแสดงการย่ำยี เหยียดหยาม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม อันดีงามของชาติ ได้อย่างเต็มอกเต็มใจ
ด้วยสิ่งนี้ความสวัสดีมีชัย จำเริญสุขที่ต่างปรารถนาเพื่อตน และจะส่งเป็น ส.ค.ส.ให้, เพื่อผู้อื่น เพื่อให้มีผลสมปรารถนา เพราะการรื่นเริงบันเทิงใจที่เกินขอบเขตนั้น ไม่ใช่วัฒนธรรม ที่จะนำความสุขเจริญมาให้ แต่กลับเป็นหายนะธรรม ความเสื่อม แม้จะเปล่งวาจาว่า สวัสดี สวัสดี สักเท่าไร ก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ สมปรารถนาได้
เพราะเป็นการรื่นเริงบันเทิงใจด้วยลักษณะของอบายมุข เป็นเครื่องทำลายความสุขเจริญ ก็ต้องประสบแต่ความเสื่อม มีความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ มีความทุกข์และเสื่อมทรัพย์ ยศไมตรีมิตรอยู่ตลอดไป
จะมีใครบ้างหรือ ที่ต้องการ บัตรส่งความทุกข์ ส.ค.ท. ถึงจะส่ง ก็คงไม่มีใครยินดีรับอย่างแน่นอน
อันที่จริง เราไม่ได้ต้องการความสุขเฉพาะแต่ขณะปีใหม่นี้เท่านั้น เราต้องการทุกลมหายใจเสียด้วยซ้ำ และก็ไม่ควรที่จะนั่งคอย นอนคอย รับ ส.ค.ส.อยู่ส่วนเดียวเท่านั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามสร้างสมอบรม ความสุขกาย สบายใจ ซึ่งเป็นผลของ ส.ค.ส.ให้เกิดมีแก่ตัวเราเป็นเบื้องต้นก่อน จึงจะมีความสุขออกส่งให้ญาติมิตรได้
ถ้าเรายังจนความสุข ไม่มีความสุขจนล้นเหลือ พอที่จะส่งให้ญาติมิตรได้แล้ว ท่านว่าเราเป็นคนอนาถา หาที่พึ่งมิได้ ส่งส.ค.ส.แก่ใคร ย่อมไร้ผล จึงสมควรที่จะเริ่มปรับปรุงชีวิตใหม่ ที่จะดำเนินต่อไป ในพ.ศ.๒๕๒๕ ได้แก้ไขส่วนที่ยังบกพร่อง หรือยังไม่เคยประพฤติ ก็ต้องพยายามอดทน บากบั่น ฝึกฝน อย่างหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ส่วนที่มีความเจริญอยู่ ก็เร่งให้ถึงความจริงชั้นสูงยิ่งขึ้นไป ฝึกฝนด้วยวิธีอย่างนี้ ท่านว่าเป็นลักษณะของคนฉลาด เรียกว่า รักตนจริง รักประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จริง ไม่, ไม่ใช่รักแต่ปาก
แนวสำหรับการอบรมใจ ซึ่งถือว่าเป็นพรปีใหม่ในทีนี้ ผู้หวังสุข เจริญแก่ตน อย่างจริงใจ จงเลิกการหวังพึ่ง, พึ่งพาบุญบารมีผู้อื่น เช่น เทพารักษ์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ให้มาช่วยบันดาลให้เสียเถิด
กลับมาพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นพระเจ้าอย่างศักดิ์สิทธิ์ดีกว่า เริ่มมีสติ ตั้งใจ งดเว้นการเบียดเบียน ชีวิตร่างกายผู้อื่นสักที อบรมแต่ความปรารถนาดี เอ็นดู สงสารอยู่เป็นประจำ เว้นเบียดเบียนทรัพย์สมบัติของใครๆ ตั้งใจทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต เว้นการเบียดเบียนเชื้อสายเหล่ากอเขาอื่น สำรวมอยู่แต่คู่ครองของตน เหล่านี้เป็นความประพฤติชอบทางกาย
เว้นการพูดชั่วในลักษณะต่างๆ เช่น พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ตลอดการเขียนหนังสือ ซึ่งนับเข้าในการพูดประการหนึ่ง เหล่านี้เป็นการเว้นความชั่วทางวาจา
คอยฝึกฝนอบรมตนเองเป็นปกติได้เช่นนี้ ย่อมเรียกได้ว่า เป็นผู้มีศีล สำรวมกายวาจาได้เรียบร้อย ไม่มีเวรภัยแต่อย่างใด
ยิ่งพยายามสำรวมระวังใจ ไม่ให้เกิดความทะเยอทะยาน อยากได้ อันจะนำให้เบียดเบียนทรัพย์สมบัติผู้อื่น สำรวมใจให้สงบสุขด้วยอำนาจเมตตากรุณา ซึ่งจะป้องกันมิให้เบียดเบียนชีวิตร่างกายผู้อื่น และสำรวมความคิดเห็น ให้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม อันจะป้องกันความดื้อรั้น เห็นผิดเป็นชอบ
ฝึกฝนอบรมให้ได้ตามขนาดของคุณธรรมเหล่านี้ ย่อมจะได้ชื่อว่า ผู้เจริญความสงบใจ มีความรอบรู้ ครบหลักการปฏิบัติธรรม สมความเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง ขออำนาจแห่งคุณงามความดี โดย... (ฟังไม่ออก นาทีที่ ๑.๒๒.๒๕) ซึ่งประชาชนชาวไทยทั้งหลาย อบรม ประพฤติมาแล้วตามสติกำลัง ถือฤกษ์ในดิถีขึ้นปีใหม่ ฤกษ์ในดิถีขึ้นปีใหม่ ซึ่งรวมการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ฉลองพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งวัฒนาสถาพรครบ ๒๐๐ ปี จึงส่งเสริมให้กรุงรัตนโกสินทร์ และจักรีบรมราชวงศ์ สถิตประทับเป็นมิ่งขวัญ สันติสุข พร้อมทั้งประชาชาวไทย ประสบแต่ความสุขกายสบายใจ เจริญยิ่งด้วยทรัพย์ ยศ ไมตรีมิตร ศุภสิริสวัสดิ์ พิพัฒนอุดมมงคลตลอดปี ๒๕๒๕ ทั่วกัน เทอญ
เสียงโฆษกวิทยุ : ที่ท่านได้ฟังจบลงไปแล้วนี้ คือพระโอวาทและคำอำนวยพรของสมเด็จพระอริยวงศ์.......สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (นาทีที่ ๑.๒๓.๒๕) ที่นี่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ขณะนี้เวลา ๒๓.๔๐ น. เหลือเวลาอีกเพียง ๒๐ นาทีเท่านั้นะครับท่านผู้ฟัง อีก ๒๐ นาทีเท่านั้น ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ ก็จะผ่านพ้นเราไป ปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๒๕ กำลังย่างใกล้เข้ามาทุกที ทุกที แล้วในขณะนี้ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกท่าน ต่อไปนี้ พระธรรมปิฏกราชนพาหรม (นาทีที่ ๑.๒๔.๐๐) และพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน ๘ รูป จะได้เจริญพระพุทธมนต์