แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อืม, ไม่ดังนี่...
อ่า, เพื่อนสหธรรมิก และกัลยาณมิตรทั้งหลาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
โดยวินัย เราเป็นสหธรรมิกแก่กันและกัน โดยธรรมะ เราเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
กระผมขอแสดงความยินดีอย่างยิ่ง ในการมาของท่านทั้งหลาย สู่สถานที่นี้ ในลักษณะอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จะได้พิจารณาธรรมะของพระพุทธองค์โดยละเอียด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การที่เลือกเอาเวลาหัวรุ่งอย่างนี้ เป็นเวลาพูดกัน มีเหตุผลอยู่หลายอย่าง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันเป็นเวลาที่จิตใจสดชื่นและเบิกบาน เราจะเห็นได้ว่า ดอกไม้โดยมาก มันก็จะบานเวลาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้เวลาอย่างนี้ แล้วก็ เวลานี้เป็นเวลาของพวกเรา น้ำชายังไม่ล้นถ้วย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สำหรับผมเองนั้น เวลาอย่างนี้พอจะมีกำลังบ้าง เวลาอื่นอ่อนเพลีย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอได้จัดให้เวลาทุกนาทีน่ะ เป็นการศึกษา แม้ว่าจะเดินมาที่นี่ ก็ไม่ใช่เดินมาโรงเรียน หรือกลับไปที่พัก ก็ไม่ใช่กลับบ้าน แต่ให้เวลาทุกนาทีเป็นการศึกษา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สำหรับเรื่องที่จะพูดกันในวันนี้ ผมมีหัวข้อว่า ปริทัศนธรรม ปริทัศนธรรม แห่งพระพุทธศาสนา คือสิ่งที่จะต้องดูโดยคร่าวๆ ทั่วๆไป เหมือนกับ Bird eye view ของพระพุทธศาสนาก่อน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะพิจารณากันถึง ปริทัศนธรรม คือการมองดูรอบๆ รอบๆ ของสิ่งที่เรียกว่าธรรม ที่เรียกว่าศาสนา และที่เรียกว่าพุทธ ๓ เรื่องด้วยกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วจึงจะได้พิจารณากันถึงเรื่องอื่นๆ ที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับคำ ๓ คำนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรื่องที่จะพูดก่อนก็คือ เรื่องธรรม ธรรมะ โดยหัวข้อว่า ธรรมะคืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
โดยสรุปแล้วเรากล่าวได้ว่า ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ แล้วก็นำมาเปิดเผย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่คำว่า กฎ กฎ หรือคำว่า Law นี่ มันมีอยู่ ๒ ความหมาย กฎที่ใช้กับธรรมชาตินั้น เป็นกฎของธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นกฎที่เกี่ยวกับมนุษย์นี้ พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติ ต่างกันมาก คือว่าบัญญัติได้ เพิกถอนได้ แต่กฎของธรรมชาตินั้น ไม่มีทางที่จะบัญญัติขึ้นเองหรือเพิกถอนได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำว่า กฎของธรรมชาติ เราจะเรียกโดยบาลีว่า สัจจะ สัจจะ นั่นแหละ คือคำว่า กฎ หมายถึง กฎของธรรมชาติ แต่ถ้ากฎที่ทรงบัญญัติขึ้นนี้ เราเรียกว่า วินัย ของให้สังเกตดูความแตกต่างกันของคำว่า Law ของคำว่า Rule
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในภาษาไทยใช้คำว่า กฎ กฎ เหมือนกัน แต่โชคดีที่ว่า ภาษาอังกฤษคงจะแยกกันได้ โดยเป็น Law หรือเป็น Rule
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สัจจะ สัจจะ คำนี้แปลว่า ความจริง แล้วมีเพียงอย่างเดียว ตายตัวเพียงอย่างเดียว พระบาลีว่า เอกัง หิ สัจจัง น ทุติย มัตติ... เอ่อ, มัตถิ สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่ ๒
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ส่วนสิ่งที่เรียกว่า วินัย นั้น พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติขึ้น ถ้าท่านไม่ ไม่บัญญัติขึ้นมันก็ไม่มี สิ่งที่ท่าน บัญญัติขึ้นท่านก็ถอนได้ พระพุทธเจ้าบางองค์ไม่บัญญัติวินัยอะไรไว้เลย พระพุทธเจ้าบางองค์ก็บัญญัติวินัย ไว้มากพอสมควร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็จะได้มาพูดกันถึงคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ ซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะต้องเล็งให้ลึก ลงไปถึงสิ่งที่เรียกว่า ธาตุ ธา-ตุ หรือธาตุ แล้วธาตุนี่มันก็ประกอบขึ้นด้วย ส่วน ประกอบหลายๆอย่าง เอาทางวิทยาศาสตร์ธรรมดากันก็ได้ว่ามันไปสิ้นสุดอยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า ปรมาณูหรืออะตอม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในปรมาณูหนึ่งๆ ล้วนๆ มันก็มีกฎ กฎของมันอย่างตายตัว ปรมาณูเดียว มันก็มีกฎของมันตายตัว หลายๆปรมาณูมาประกอบกันเข้า มันก็ยังมีกฎของมันอย่างตายตัว มันจะมาประกอบกันเป็นโมเลกุล เป็นอะไร เรื่อยๆขึ้นมา มันก็ยังมีกฎ กฎๆๆ ขึ้นมา จนกระทั่งมันประกอบกันขึ้นเป็นธาตุ ธาตุใดธาตุหนึ่ง มันก็ยังมีกฎ ประจำอยู่นั่นแหละ นี่ถึงเรียกว่ากฎ มันตั้งต้นมาตั้งแต่จุดเล็กที่สุด คือปรมาณู หรืออะตอม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้สิ่งที่เรียกว่า ธาตุ มันยังมีอย่างชนิดที่มันเป็นวัตถุธาตุ หรือทางฟิสิกส์ แล้วมันยังมีส่วนที่เป็น นามธาตุ คือทางจิตใจ ซึ่งไม่ใช่ฟิสิกส์ มันก็มีกฎ กฎ ติดตามมาเรื่อย ติดตามมาเรื่อย จนมารวมกันเป็นชีวิต ร่างกาย ซึ่งมีทั้งธาตุวัตถุ และธาตุจิตใจ มันก็ยังคงมีกฎ กฎอยู่นั่นเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ธาตุทั้งหลายก็ยังมาประกอบกันเข้า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แปลกๆทางวัตถุก็มี ซึ่งเรียกว่าทางร่างกายนี้ก็มี แล้วยังมีทางจิต รู้สึกคิดนึกได้ก็มี มันเลยมีกฎที่ใช้รวมกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ดังนั้นกฎที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา จึงเกิดขึ้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเราใช้รวมกัน กฎนั้นเมื่อเราใช้รวมกันทั้งที่เป็นวัตถุ และเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ เราเรียกว่า กฎอิทัปปัจจยตา แล้วถ้าเราแยกออกมาเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต จิตใจคิดนึกได้ เราเรียกว่า กฎปฏิจจสมุปบาท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอใด้โปรดให้ความสนใจ และกำหนดกันไว้อย่างแม่นยำว่า ถ้ามันเป็นกฎที่ใช้กับทั่วไปทุกสิ่ง เป็นวัตถุหรือเป็นจิตใจ มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ทั่วไปทุกสิ่งเราจะเรียกว่า กฎอิทัปปัจจยตา แต่ถ้าจะพูดกันเฉพาะ สิ่งที่มีชีวิต รู้สึกคิดนึกได้ คือเป็น อ่า, คนหรือเป็นสัตว์นี่ เราจะเรียกว่า กฎปฏิจจสมุปบาท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เป็นที่น่าสังเกตว่า เราไม่ระมัดระวังกันในการใช้คำพูด ๒ คำนี้ แล้วไปปนกันยุ่ง จนบางทีในลักษณะที่ กลับตรงกันข้าม แม้ในประเทศไทย ขออภัยที่จะพูดว่าแม้ในประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศเขมร ซึ่งผมได้ประสบมาแล้วว่า เขาใช้คำ ๒ คำนี้กันอย่างไม่มีกฎเกณฑ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ที่ปรากฏอยู่ในพระบาลีนั้น ค่อนข้างจะทำความยุ่งยาก คือถ้าว่าพูดถึงสิ่งที่ไม่มี เอ่อ, มีชีวิต และไม่มีชีวิตรวมกันหมดแล้ว ก็ใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา แต่ถ้าไปใช้เฉพาะสิ่งที่มีชีวิต รู้สึกสุขทุกข์ได้ ท่านเรียกมันยาวไปว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท มันยาวเฟื้อยเลย เราตัดเอามาเฉพาะ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ก็สะดวกแล้ว แต่อย่าลืมว่าในบาลีใช้ยาว อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ไอ้ที่เราจะเรียกกันว่า ปฏิจจสมุปบาท อย่างสั้นๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็มาดูกันถึงสิ่งที่เรียกว่า กฎ ไอ้สิ่งที่เรียกว่ากฎ นี่แหละ เฉียบขาดสูงสุด ยุติธรรมที่สุด จนเราควรจะเรียกว่า พระเจ้า พระเจ้า หรือพระเป็นเจ้า แต่ว่าเป็นอย่างชนิดที่มิใช่บุคคล เป็น Impersonal God กฎนี่แหละคือพระเจ้าอันแท้จริง เป็นพระเจ้ายิ่งไปกว่าพระเจ้าที่เขามีๆกันอยู่ตามธรรมดา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระเจ้าอย่างที่เป็นบุคคล ตามที่เราได้ยินได้ฟังมา ก็ว่ามีอารมณ์ มีความรู้สึก คือพอใจก็ได้ ไม่พอใจก็ได้ โกรธก็ได้ พระเจ้าอย่างที่เป็นบุคคล อยู่ใต้อำนาจเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จะเรียกว่าพระเจ้าได้สักกี่มากน้อย พระเจ้าอย่างที่เป็นกฎนั้น ไม่อยู่ภายใต้อำนาจเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่รู้สึกพอใจ หรือว่าไม่พอใจ เฉียบขาดและยุติธรรม ตามแบบของพระเจ้าที่แท้จริง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผมมีความเห็น เลยอยากจะขอร้องว่า พวกเราอย่าพูดว่า พุทธศาสนาไม่มี God ไม่มีพระเจ้า แต่เรามีพระเจ้าที่ยิ่งกว่าพระเจ้า คือกฎของ อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท นั่นเอง ขอเอากฎนี้เป็นพระเจ้า แต่เป็นอย่าง Impersonal รู้กันไว้อย่างนี้จะถูกตรงกับความเป็นจริง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้พวกชาวตะวันตกเขาถือกันว่า ถ้าเป็น Religion ต้องมี God ถ้าไม่มี God ไม่ใช่มี...ไม่ใช่ Religion เพราะฉะนั้นเขาจึงจัดพุทธศาสนาว่าไม่ใช่ Religion ข้อนี้ไม่ ไม่ถูก ไม่ใช่ความจริง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามี God ที่ยิ่งกว่า God ดังนั้นเราต้องมี Religion ที่ยิ่งกว่า Religion
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำว่า Religion เมื่อเถียงกันยุ่ง ว่าหมายความว่าอะไรแน่ แต่ในที่สุดก็ขอให้เป็นที่ยุติกัน โดยอาศัย รากศัพท์ของคำนั้นว่า Observation หรือการปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดความผูกพันกันเข้า กับ ระหว่างมนุษย์และ สิ่งสูงสุด การปฏิบัติที่ให้เกิดความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุด นี่คือ Religion ถ้าอย่างนี้ พุทธศาสนา ยิ่งเป็น Religion เพราะทำให้ผูกพันกันกับ นิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบกฎนี้ กฎนี้ คือกฎของธรรมชาติ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า มันเริ่มมา ตั้งแต่ กฎของอะตอมเดี่ยว มาถึงประกอบกันขึ้นเป็นสากลจักรวาล พระพุทธองค์ทรงค้นพบกฎนี้ จึงทรงค้นพบ ไอ้ความจริงที่ว่าจะอาศัยกฎนี้แล้วดับทุกข์ได้อย่างไร จะดับทุกข์ได้อย่างไรเพราะอาศัยกฎนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตั้งแต่ระดับเล็กที่สุด น้อยที่สุด ต่ำที่สุด จนถึงระดับสูงสุด มันก็อยู่ใต้อำนาจของกฎของธรรมชาติ นี้ถ้าเราจะเอากันที่สูงสุดสำหรับมนุษย์ มันก็คือเรื่องของความทุกข์ทางจิตใจ ทางจิตใจ ซึ่งสัตว์เดรัจฉาน มันไม่มีปัญหานี้ มนุษย์เรามีปัญหานี้ เราต้องใช้กฎของธรรมชาติในชั้นลึก ในชั้นสูงสุดมาดับความทุกข์ ของมนุษย์ โดยอาศัยกฎของธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ทั้งปวงมันเกิดขึ้นตามกฎ โดยเฉพาะตามกฎอิทัปปัจจยตา ฝ่ายที่จะให้เกิดทุกข์ ถ้าความทุกข์ทั้งปวงจะดับ มันก็จะดับลงตามกฎอิทัปปัจจยตา ฝ่ายที่ตรงกันข้าม ฉะนั้นเราจึงมีกฎธรรมชาติ อันสูงสุด ที่เรียกว่า กฎอิทัปปัจจยตา นี่ เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง เราจึงต้องรู้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะพิจารณากันให้ละเอียดสักหน่อยก็ได้ว่า อะไรทำให้เกิดกฎขึ้นมา และอะไรเป็นตัวกฎ แล้วใครเป็น ผู้ค้นพบกฎนี้ แล้วเปิดเผย แล้วใครจะเป็นผู้รู้เรื่องกฎนี้แล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ นี่ที่เราจะต้องเข้าใจกันให้ชัดเจน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บางลัทธิศาสนา เขาพูดเหมาหมดเลยว่า พระเจ้า พระเจ้า เป็นผู้ทำให้เกิดกฎ เป็นผู้ใช้กฎ แต่แล้วเราก็ เห็นว่า บางทีก็ใช้กฎตามพอใจ อ่า, ของความรู้สึกอย่างบุคคล คือชอบก็ใช้อย่าง ไม่ชอบก็ใช้อย่าง อย่างนี้มันไม่ถูก เราไม่ถือว่าพระเจ้าในชนิด...ลักษณะนั้นให้เกิดกฎ แต่เราจะถือว่า พระเจ้าคือกฎของธรรมชาติ ในตัวธรรมชาติ นั่นแหละ ทำให้เกิดกฎ เป็นตัวกฎ และพระพุทธเจ้าท่านรู้ ท่านเปิด...ท่านค้นพบและมาเปิดเผย พวกเราคือ พระสงฆ์นี้จะต้องรู้ตาม และก็จะต้องปฏิบัติตามกฎ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้สอนศาสนาที่มีพระเจ้าอย่างบุคคล เขาสอนว่าพระเจ้าเป็นผู้บัญญัติกฎปฏิจจสมุปบาท ใช้คำว่า “บัญญัติกฎปฏิจจสมุปบาท” นี่มันบ้าสิ้นดี มันบัญญัติได้เมื่อไหร่ กฎปฏิจจสมุปบาท นั้นออกมาตามกฎของ ธรรมชาติ ตั้งแต่จุดตั้งต้นคือ ปรมาณูหนึ่ง หนึ่งๆๆ มี กฎๆๆๆ กี่ปรมาณู กี่ธาตุ กี่อย่าง ก็รวมกันเป็นกฎ กฎๆๆ แล้วมันจึงสำเร็จรูปเป็น กฎปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ไม่ใช่พระเจ้าอย่างบุคคลบัญญัติ หรือแต่งตั้งกฎนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะพูดว่า กฎอิทัปปัจจยตานั่นเสียอีก ที่ทำให้เกิดพระเจ้า คือปรุงแต่งความคิดของบุคคลในความรู้สึก ของบุคคล ตามกฎอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิด Concept ว่า God God ขึ้นมา อย่างนี้กฎอิทัปปัจจยตา นี่สร้างพระเจ้าขึ้นมา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เขาไม่ควรจะฉวยโอกาส ไปเที่ยวตบตาผู้อื่นว่า พระเจ้าอย่างบุคคลนั้น ????(42.10) สร้างกฎอิทัปปัจจยตา คือเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นการตบตากันอย่างยิ่ง
(เสียงผู้บรรยายแปล) ตบตา…
ตบตาน่ะ หลอกน่ะ หลอก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราได้พูดมาแล้วข้างต้นว่า ธรรมะคือกฎของธรรมชาติโดยธรรมชาติ ก็ควรจะพูดกันให้หมดจด เกลี้ยงเกลาเสียเลยว่า ไอ้ธรรมชาติ ธรรมชาตินี้มันแบ่งออกได้เป็น ๔ ความหมาย คือตัวธรรมชาติเอง ตัวธรรมชาติเองนั้นก็ เรียกว่า ธรรม ธรรมะ ในภาษาบาลีคำเดียว ธรรม ธรรมชาตินี้ ตัวธรรมชาติก็คือธรรม ตัวกฎของธรรมชาติที่มีอยู่ในธรรมชาติ ก็เรียกว่า ธรรม ตัวหน้าที่ที่สิ่งมีชีวิตจะต้องปฏิบัติตามกฎ ก็เรียกว่าธรรม ผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ก็เรียกว่าธรรม ดังนั้นเราจึงมีธรรม ๔ ความหมาย คือ ตัวธรรมชาติ ตัวกฎ ธรรมชาติ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ และผลที่ได้รับจากหน้าที่ ธรรมะคือธรรมชาติมี ๔ ความหมาย อย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อพระพุทธเจ้าท่านตรัสสอน เรื่องธาตุ ธา-ตุ ธาตุ ธาตุทั้งหก ประกอบกันเป็นอายตนะ อะไรเหล่านี้ ก็เรียกว่าท่านสอนเรื่องธรรมชาติ เพราะท่านบอกว่า สิ่งเหล่านี้จะต้องมีกฎเกณฑ์อย่างไร ก็เรียกว่าท่านสอนเรื่อง กฎของธรรมชาติ ท่านสอนว่าเราต้องปฏิบัติควบคุม ความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้อง นี่ท่านสอนเรื่องหน้าที่ ตามกฎของธรรมชาติ และท่านสอนจะได้รับผลเป็นความดับทุกข์ เป็นมรรคผลนิพพานอะไรก็ตาม เป็นความ ดับทุกข์ นี่เรียกว่าท่านสอน เรื่องผลที่เกิดจากหน้าที่ พระพุทธเจ้าท่านได้สอนครบทั้ง ๔ ความหมายอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเราใช้คำบาลีเป็นหลัก มันก็กระทัดรัดและจำง่าย ตัวธรรม อ่า, ตัวธรรมชาติ ตัวธรรมชาติทั้งหลายน่ะ เราเรียกว่า สภาวธรรม ธรรมที่เป็นเอง เป็น In Itself เป็นเอง สภาวธรรม ตัวกฎของธรรมชาติเราเรียกว่า สัจธรรม สัจธรรม ความจริงของธรรมชาติ ตัวหน้าที่ตามกฎธรรมชาติเราเรียกว่า ปฏิปัติธรรม ปฏิปัติธรรม หรือผลที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติ เราเรียกว่า ปฏิเวธธรรม ก็ได้คำพูดสั้นๆ กระทัดรัดอีกคำว่า สภาวธรรม สัจธรรม ปฏิปัติธรรม ปฏิเวธธรรม นี่คือความหมายทั้งหมด ทั้ง ๔ ความหมาย ของคำว่าธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้หน้าที่ของเรา ก็จะต้องรู้จักทั้ง ๔ ความหมายนี้ แล้วมันก็เป็นตัวเรานะ เป็นตัวเรา อวัยวะร่างกาย ธาตุต่างๆนี่ก็เรียกว่าเป็นสภาวธรรมอยู่ในตัวเรา แล้วมันก็จะมีกฎเกณฑ์แห่งธรรมเหล่านั้น ก็มีอยู่ในตัวเรา ซึ่งเรา จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์นั้น เพราะกฎเกณฑ์นั้นมันควบคุมอยู่ แล้วเราก็ต้องปฏิบัติ ปฏิบัติๆ ให้ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ แล้วเราก็ได้รับผลของการปฏิบัติ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง แล้วแต่ว่าเราปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูก ทั้ง ๔ ความหมายของธรรมะ รวมอยู่ในตัวคนๆหนึ่งนี่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็มองดูข้างนอกตัวเราออกไป เป็นสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย เป็นเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย มันก็ตกอยู่ใน กฎเกณฑ์เดียวกัน ต้องรู้ธรรมะทั้ง ๔ แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง ทั้งในตัวเราทั้งนอกตัวเรา มันถูกบังคับควบคุม อยู่โดยกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเราสอนหรือบอกให้เพื่อนมนุษย์ของเราทุกคนรู้เรื่องนี้ รู้เรื่องนี้ แล้วเขาก็จะรักกันทั้งหมด รักกันอย่าง เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตาย ไม่มีใครทำอันตรายใคร ถ้าเขารู้กฎข้อนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แม้ว่าเราจะพูดให้ประหลาด หรือน่าขัน น่าขันที่สุดเราก็พูดได้ว่า ไอ้จักรวาลทั้งหมดน่ะ ไอ้ Cosmos หรือ Universe ทั้งหมด มันก็เป็นอย่างนี้ จักรวาลมันก็เป็นตัวธรรมชาติ มันมีกฎของธรรมชาติควบคุมจักรวาล เหล่านี้ อยู่ แล้วจักรวาลเหล่านี้จะต้อง อ่า, ในสมาชิกจักรวาลจะต้องปฏิบัติถูกตามกฎหมาย ไม่อย่างนั้นมันก็ สลาย ตายหมด เมื่อมันปฏิบัติกันถูกต้องอย่างนี้ มันยังคงมีอยู่ได้ เป็นจักรวาลนั้นจักรวาลนี้ จักรวาลทุกๆจักรวาล มีอยู่ ได้เมื่อมันเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ดูซิมันมีอำนาจกว้างขวางสักเท่าไร สำหรับกฎของธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในลักษณะกฎของธรรมชาติอย่างนี้แล้ว ก็จะเห็นได้เองว่า พุทธศาสนาเป็น วิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ กฎอันลึกซึ้งของธรรมชาติ ตามหลักเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นจง อ่า, บอก เพื่อนมนุษย์ของเราให้รู้ เพื่อนมนุษย์ของเราที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาจะเข้าใจ พุทธศาสนาได้โดยง่าย มันไม่ใช่ วิทยาศาสตร์ทางวัตถุ แต่มันเป็นเรื่องทางจิตใจ ??????(56.59) ฟิสิกส์ยิ่งๆขึ้นไป ของให้ศึกษาพุทธศาสนา อย่างวิทยาศาสตร์เถิด อย่าศึกษาอย่าง Philosophy หรืออะไรทำนองนั้น ไม่มีทางที่จะรู้พุทธศาสนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทั้งหมดนี้ ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้เองแล้วว่าคำว่า ธรรม ในภาษาไทย ธรรมะ ในภาษาบาลี ธรฺม ในภาษาสันสฤต เป็นคำเดียวกันนี่ เป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุด ประหลาดที่สุด คือมันกินความหมายถึงทุกสิ่ง จนไม่สามารถจะแปลเป็นภาษาอื่นๆโดยเฉพาะคำต่อคำได้ ปรากฎว่าได้มีผู้พยายามที่จะแปลคำว่า ธรรมะนี้ เป็นภาษาอังกฤษ คิดไป คิดไป แปลได้ ๓๘ คำแล้ว มันยังไม่หมด เลยยอมแพ้ ยอมแพ้ ไม่แปล ไม่แปล ใช้คำว่า ธรรมะ ธรรมะ ภาษาบาลีดีกว่า ดังนั้นคำว่า ธรรมะ มันจึงเข้าไปอยู่ในภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไรได้ เป็น Vocabulary ในภาษาใดก็ได้ ต้องใช้คำว่า ธรรมะ ธรรมะ ไปตามเดิม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทั้งหมดนี้เป็น ปริทัศนธรรม ของคำว่าธรรมะ ในเมื่อเราตั้งปัญหาขึ้นว่า ธรรมะคืออะไร ธรรมะคืออะไร ก็ตอบว่าธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ ดังที่กล่าวมาแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้เราก็จะได้พูดโดยหัวข้อที่ ๒ ว่าศาสนา ศาสนานี้คืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำนิยามที่ชัดเจนที่สุด สั้นๆที่สุด เกี่ยวกับคำว่าศาสนา เราก็จะต้องพูดว่า ศาสนาคือวิธีการ วิธีการที่จะ ออกมาเสียจากความทุกข์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
วิธีที่ออกมาเสียจากความทุกข์นี่ เป็นที่ต้องการของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด มีชีวิตทุกชนิดต้องการศาสนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะมองเห็นได้ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทุกระดับ มันมีวิธีการที่จะรอดจากความทุกข์ของมันเอง ทุกชนิดของชีวิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หนูหรือปู มันก็มีวิธีที่จะวิ่งหนีลงรู แล้วก็พ้นจากอันตราย ไอ้นกมันก็มีวิธีหนีขึ้นไปบนอากาศ สัตว์บางชนิดก็วิ่งหนีเข้าไปเสียในป่าหรือในอะไรที่มันจะเป็นความรอดของมัน สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ก็ต้องมีวิธีการเพื่อรอดของชีวิต นั้นแหละมันเป็นศาสนาของสัตว์เดรัจฉาน ต้องยอมรับกับมันด้วย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามี Instinct แห่งความกลัว กลัวตาย มีความคิดที่วิ่งหนี หนีภัย หนีอันตราย Instinct อันนี้แหละ คือรากฐานของสิ่งที่เรียกว่าศาสนา ถ้าไม่มี Instinct อันนี้สิ่งที่เรียกว่าศาสนาไม่เกิดหรอก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความทุกข์มันมีทั้งเรื่องของร่างกาย และเรื่องของจิตใจ สัตว์เดรัจฉานมันได้เปรียบมันรู้แต่เรื่องร่างกาย มันมีปัญหาแต่เรื่องร่างกาย มันก็ทำได้ง่าย ไอ้มนุษย์มันมีเรื่องจิตใจอันลึกลับซับซ้อนแสนยาก มันจึงไม่สามารถ จะเอาความทุกข์ออกไปได้โดยสิ้นเชิง นี่คือความแตกต่างกัน ระหว่างศาสนาของสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สัตว์เดรัจฉานมันโชคดีกว่าเรา กว่าคน มันมีปัญหาในเรื่องทางกาย ไอ้คนมีทั้งทางกายและทางจิต ทางจิตยุ่งยากแก้ไม่ได้ ยังเหลือคาราคาซังอยู่จนบัดนี้ นี่เราจะต้องยอมรับว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ศาสนา แม้แต่เป็นเรื่องทางกายล้วนๆ อย่าพูดว่าสัตว์เดรัจฉานไม่มีศาสนา ถ้าพูดอย่างนั้น หมายความว่า คนนั้นไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าศาสนา คือสิ่งบำบัดทุกข์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรากำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าศาสนา ด้วยกันทั้งหมด ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดาหรือว่า เทวดาที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็มีปัญหา เกี่ยวกับไม่รู้ศาสนาเพียงพอที่จะดับความทุกข์ของตน ฉะนั้นขอให้มาสนใจ ให้รู้อย่างถูกต้อง อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะดับความทุกข์ของตน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บางศาสนามีแต่พิธีรีตอง พิธีรีตอง แล้วจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับกฎของธรรมชาติได้อย่างไร พิธีรีตอง จะไปบังคับกฎของธรรมชาติได้อย่างไร บางศาสนาฝากไว้กับพระเจ้า แล้วแต่พระเจ้า ศาสนาก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ ทำให้มนุษย์ต้องประจบพระเจ้า อย่างนี้มันก็ไปไม่รอด ศาสนาคืออะไรกันแน่ ขอให้สนใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ศาสนา เอ่อ, ของคนป่า คนที่แรกเจริญขึ้นมา มันก็ต้องอยู่ในระดับนั้น ดังนั้นมันก็ต้องเป็นพิธีรีตองบ้าง เป็นไสยศาสตร์บ้าง แล้วก็ยังเหลืออยู่จนทุกวันนี้ ศาสนาไสยศาสตร์ของคนสมัยนู้น น่ะมันยังคงเหลืออยู่จนถึง ทุกวันนี้ เป็นศาสนาที่เรียกว่า ไสยศาสตร์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราถ้าอาศัยภาษาบาลีเป็นหลักแล้วง่าย ไสยศาสตร์ กับ พุทธศาสตร์ ๒ คำนี้ ถ้าอาศัยภาษาบาลีเป็นหลัก แล้วมันง่าย ไสย แปลว่าหลับ ไสยศาสตร์แปลว่าศาสตร์ของคนหลับ พุทธ แปลว่าตื่น พุทธศาสตร์แปลว่า ศาสตร์ของคนตื่น ถ้าอาศัยภาษาบาลีเป็นหลังก็ได้เป็นว่า ศาสตร์ของคนหลับ หรือศาสนาของคนหลับ ศาสตร์ของคนตื่น หรือศาสนาของคนตื่น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เอ่อ, พุทธ พุทธศาสนาเรา เป็นพุทธบริษัทหรือพุทธศาสนา มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า ถือศาสนาของคนตื่น ไม่ใช่หลับ เราจงทำตัวให้สมกับที่เราเป็นผู้ตื่น ผู้ตื่นไม่เป็นผู้หลับ นี่สำคัญมาก ขอให้เป็นพุทธศาสตร์ เป็นพุทธศาสนิก กันโดยแท้จริงเถอะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่มีสิ่งที่ลำบากอยู่อย่างหนึ่ง คือว่า สิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์ นี่มันเกิดอยู่ก่อนแล้ว เกิดอยู่ อย่างยิ่ง อย่างเข้มแข็ง เข้ม ลึกซึ้งที่สุด ในหมู่มนุษย์ แล้วพอความรู้อย่างพุทธศาสตร์เกิดขึ้น ไอ้มนุษย์ที่มัน เข้าใจไม่ได้ มันก็เอาพุทธศาสตร์ไปทำเป็นไสยศาสตร์ ไปปรับปรุงเป็นไสยศาสตร์ ข้อนี้ก็ไม่ยกเว้นพุทธศาสนา พุทธศาสนา ถูกเอาไปทำเป็นไสยศาสตร์เสียมากมาย แล้วก็เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่จนเดี๋ยวนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทุกแห่งในโลก อเมริกาก็ดี ยุโรปก็ดี เอเชียก็ดี มนุษย์เริ่มต้นขึ้นมาจากการไม่รู้อะไร ถือไสยศาสตร์กัน มาก่อนแล้วทั้งนั้น จึงค่อยๆมาพบ ไอ้ พุทธศาสตร์ หรือที่สูงกว่า แต่แล้วมันปนกัน มันจน...จนว่ายากที่จะ แยกกันออก พวกฝรั่งวิทยาศาสตร์ ฉลาดทำเรือขึ้นอย่างวิเศษลำหนึ่งแล้ว ทำไมพอจะเอาลงน้ำ จะต้องเสีย แชมเปนขวดหนึ่ง มาฟัดให้แตกกระจายเสียโดยที่ไม่มีประโยชน์อะไร ไสยศาสตร์มันยังเหลืออยู่อย่างนี้แหละ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องนี้ มันยังมีเรื่องอื่นๆอีกมาก ที่ไสยศาสตร์มันยังคงเหลืออิทธิพลอยู่ สำหรับจะล้อ ล้อเลียนพุทธศาสตร์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทางที่จะเปรียบเทียบแล้วเห็นได้ง่ายๆว่าต่างกันอย่างไรนั้น ก็คือว่า ไสยศาสตร์นั้นมีลักษณะพึ่งสิ่งอื่น พึ่งพาอาศัยสิ่งอื่นนอกไปจากตน ถ้าพุทธศาสตร์จะต้องพึ่งพาอาศัยตนเอง ไสยศาสตร์ไม่ต้องการเหตุผล ต้องการ แต่ความเชื่อ ต้องการแต่ความเชื่อ ไสยศาสตร์ไม่ต้องการเหตุผล ต้องการแต่ความเชื่อ พุทธศาสตร์ต้องการเหตุผล ต้องการสติปัญญา ไสยศาสตร์มีความกลัว กลัวๆ เป็นรากฐาน พุทธศาสตร์มีความฉลาดเป็นรากฐาน นี่ ต่างกัน อย่างนี้ เห็นได้ชัดว่าต่างกันอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ชาวพุทธจะถือว่าพึ่งสิ่งอื่นนอกจากตน พึ่งผี พึ่งเทวดา เทวดายิ่งๆขึ้นไป แม้แต่พระเจ้า ถ้าพึ่งผู้อื่นแล้ว ขอจัดเป็นไสยศาสตร์ไม่ใช่พุทธศาสตร์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ถ้าพวกที่พึ่งพระเจ้า เปลี่ยนความหมายของคำว่าพระเจ้าเสียให้ถูกต้อง มาเป็นกฎของธรรมชาติ คือเป็น Impersonal God แล้ว ก็ยกเว้นไป เราไม่ถือว่าเป็นไสยศาสตร์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เพราะฉะนั้นเราจงเป็นพุทธศาสตร์ให้เป็นพุทธ อย่าให้เป็นไสยศาสตร์ มาเกี่ยวข้องอยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่มันมี ไอ้ ไอ้, สิ่งที่ขบขันหรือตลก ของภาษาบาลีอยู่อย่างหนึ่ง คือคำว่า ไสย ไสย นั้นน่ะ นอกจากจะแปลว่าหลับ หลับ แล้วมันยังมีอีกความหมายหนึ่งนะ ความหมายนี้ว่า ดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า หมายความว่า ดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย ดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย มีไสยศาสตร์ มีก็ยังดีกว่าที่ไม่มีอะไรเสียเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) ไสย แปลว่าดีกว่า...
ดีกว่า ดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คนป่าสมัยนู้น คนป่าเขายังไม่นุ่งผ้า เขาก็มีไสยศาสตร์ เพราะว่าก็ดีกว่าที่จะไม่มีอะไรเสียเลย ไสยศาสตร์ก็มีประโยชน์ในระดับนั้น ในชั้นนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พุทธศาสนาจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลาย สิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์ ขอให้สังเกตดูให้ดีๆ พวกเราทุกคน คำว่า สีลัพพตปรามาส เป็นชื่อของ สังโยชน์ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ที่ ๓ สีลัพพตปรามาส ในที่นี้หมายถึงไสยศาสตร์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำนี้ สีลัพพตปรามาส คำนี้หมายความว่า เข้าใจหรือปฏิบัติธรรมะ ผิดจากความหมายที่ถูกต้อง ผิดจากความหมายที่ถูกต้อง เข้าใจหรือปฏิบัติผิดจากความหมายที่ถูกต้อง นี่จะเป็น สีลัพพตปรามาส คือเป็นไสยศาสตร์ที่ต้องละ จึงจะเป็นพระโสดาบัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เช่นคำว่าทาน ทา-นะ ทาน การให้นี่ มีความมุ่งหมายแท้จริงจะลดความเห็นแก่ตัว จะลดความเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว คนก็เอาไปปฏิบัติผิดความมุ่งหมายว่าจะแลกสวรรค์ จะซื้อเอาสวรรค์ด้วยสิ่งที่เรียกว่าทาน อย่างนี้เป็นสีลัพพตปรามาส
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำว่า ศีล ศี-ละ ศีล มุ่งหมายจะกำจัดความเห็นแก่ตัว จะกำจัดความเห็นแก่ตัว ไอ้คนถือศีลน่ะ มันอยาก จะดีกว่าผู้อื่นอยากจะมีชื่อเสียง อยากจะมีเกียรติยศ มันอยากจะอวดผู้อื่น มันถือศีลด้วยคิดว่าจะอวดผู้อื่น ศีลของมันก็เลยเป็นไสยศาสตร์ เป็นสีลัพพตปรามาส
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สมาธิ สมาธิ มุ่งหมายจะกำจัด หรือควบคุมความเห็นแก่ตัว ควบคุมความเห็นแก่ตัวด้วยสมาธิ เขาก็มาทำสมาธิว่า ฉันจะมาเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้มี Magic power มีอะไรต่างๆ บ้าๆบอๆ ไปเสีย นี่ก็เป็นไสยศาสตร์ หรือเป็นสีลัพพตปรามาส
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปัญญาหรือวิปัสสนา ต้องการจะตัดรากเหง้า ตัดเหตุของ ไอ้, ความเห็นแก่ตัว ก็มาศึกษาปฏิบัติกัน สำหรับอวดว่าเคร่ง อวดว่าฉันเป็นนักปราชญ์ ฉันเป็น Sage เป็นนักปราชญ์ อะไรทำนองนั้น นี่เป็น สีลัพพตปรามาส เป็นไสยศาสตร์โดยไม่รู้สึกตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้นเมื่อถามว่า ศาสนาคืออะไร ศาสนาคืออะไร เราสรุปความสั้นๆว่า ศาสนาคือเครื่องมือกำจัด หรือทำลายความเห็นแก่ตัวทุกๆระดับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
โลกเรากำลังจะวินาศเพราะความเห็นแก่ตัว นายทุนก็เห็นแก่ตัว ชนกรรมาชีพก็เห็นแก่ตัว นายจ้างเห็นแก่ตัว ลูกจ้างเห็นแก่ตัว บางทีรัฐบาลก็เห็นแก่ตัว สภาก็เห็นแก่ตัว มันเห็นแก่ตัวกันไปหมด โลกกำลังจะวินาศเพราะความเห็นแก่ตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
UN หรือ UNO มันเป็นที่ประชุมกัน ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน แห่งผู้เห็นแก่ตัว ฉะนั้น UNO หรือ UN จึงแก้ปัญหาในโลกไม่ได้ เพราะไม่สามารถทำลายความเห็นแก่ตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราเลิก UN เสีย United Nation น่ะเลิกเสีย มามี United Religion หรือ UR จะได้มีการกำจัดความ เห็นแก่ตัว ให้ UR นี่ ควบคุม UNO ก็ยังดี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่ศาสนาทุกศาสนามุ่งหมายกำจัดความเห็นแก่ตัว มีวิธีต่างๆกันเพราะอยู่กันคนละระดับ พุทธศาสนานี่ต้องการจะกำจัดความรู้สึกว่า มีตัว Self Soul อัตตา นี่ มันมีตัว กำจัดความรู้สึกว่ามีสิ่งนี้เสีย มันก็กำจัด Selfishness ได้เอง ง่ายมาก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ข้ามการถอดเสียง นาทีที่ 1.35.21 – 1.36.30 เพราะมีการตัดต่อเสียงซ้ำ
ศาสนาที่เน้น เน้นเรื่องความมีตัว มีตัวมีตน มีตัวถาวรนี้ ศาสนานั้นลำบากมากที่จะสอนเรื่อง ความไม่เห็นแก่ตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทั้งหมดนี้คือคำตอบของคำถามที่ว่า ศาสนาคืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ศาสนาคือวิธีการ ออกมาเสียจากความทุกข์ มีแม้ทั้งทางกายและทั้งทางจิต ดังนั้นแม้สัตว์เดรัจฉาน ก็ต้องมีศาสนา สงสารสัตว์เดรัจฉาน ช่วยให้เขาออกจากความทุกข์ง่ายๆ อย่าได้ไปทำลายมันเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็มาถึงหัวข้อที่ ๓ หัวข้อที่ ๓ ว่า พุทธคืออะไร ขอให้ทนอีกนิดหน่อยเถอะ ได้พูดเสียให้มันเสร็จ ทั้ง ๓ เรื่อง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พุทธ พุทธ คืออะไร นี่เป็นปัญหาสำหรับพวกเรา ว่าเรารู้จักพุทธแท้จริงหรือไม่ เรามีพุทธ แท้จริงหรือไม่ นี่ขอให้สนใจ ฟังและใคร่ครวญดูโดยละเอียดว่า เรามีพุทธแล้วหรือยัง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เองว่า “ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นฉัน ผู้ใดเห็นฉัน ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ที่ไม่เห็น ธรรมะ ถึงแม้จับตัวฉัน จับจีวรฉันไว้ก็ไม่ชื่อว่าเห็นฉัน” มันจึงมีพระพุทธเจ้า ๒ องค์ พระพุทธเจ้าองค์ธรรมะ องค์หนึ่ง กับตัวร่างกายของคนนี่อีกองค์หนึ่ง พระพุทธเจ้ามี ๒ องค์อย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วก็มีคำตรัสไว้ต่อไปว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็น ปฏิจจสมุปบาท” การเห็นธรรมะกับการเห็นปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละคือสิ่งเดียวกัน เห็นธรรมะคือเห็นฉัน ก็คือเห็นปฏิจจสมุปบาท จึงจะเห็นฉัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปฏิจจสมุปบาท คืออาการที่ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร อาการที่ความทุกข์ดับลงไปอย่างไร ความทุกข์ อาศัยปัจจัยอะไรๆให้เกิดขึ้น ความทุกข์อาศัยปัจจัยอะไรแล้วจึงดับลง นี่อาการที่ความทุกข์ดับลงอย่างไร อ่า, เกิดขึ้นอย่างไร ดับลงอย่างไรนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ก็คือกฎของธรรมชาติที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สิ่งที่แสดงให้เราเห็นอาการ ที่ความทุกข์เกิดขึ้น และความทุกข์ดับลง สิ่งนั้นแหละคือพระพุทธเจ้า คือปฏิจจสมุปบาท หรือกฎของปฏิจจสมุปบาท สิ่งนั้นแหละคือพระพุทธเจ้าในความหมายนี้ คือเห็นธรรม เห็นธรรมก็คือเห็นฉัน เห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นธรรม เห็นธรรมก็คือเห็นฉัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคล เป็นชื่อสิทธัตถะ เป็นลูกคนนั้น เป็นหลานคนนี้ เกิดในอินเดียเมื่อนั้นเมื่อนี้ เป็นพระพุทธเจ้า อย่างบุคคลในประวัติศาสตร์ บุคคลในประวัติศาสตร์ ขอให้จำคำนี้ใว้ดีๆ แต่พระพุทธเจ้า พระองค์จริง ที่แสดงให้เห็นปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นบุคคลนอกประวัติศาสตร์ อยู่นอกประวัติศาสตร์ อยู่นอก ประวัติศาสตร์ พระพุทธเจ้าองค์นี้มีประสูติ มีตรัสรู้ มีนิพพาน เพราะท่านเป็นบุคคล พระพุทธเจ้าองค์นี้ ท่านไม่มีประสูติ ไม่มีตรัสรู้ ไม่มีนิพพาน แต่มีอยู่ตลอดอนัตกาล เป็นพระพุทธเจ้า ๒ องค์อยู่อย่างนี้ เรามีองค์ไหนเป็นพระพุทธเจ้า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามีพระพุทธเจ้า ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่ในประวัติศาสตร์ องค์หนึ่งอยู่นอกประวัติศาสตร์ ขออภัย หน่อยนะ เพราะพวกฝรั่งสนใจแต่พระพุทธเจ้าองค์ที่อยู่ในประวัติศาสตร์ ไม่สนในองค์ที่อยู่นอกประวัติศาสตร์ ขอโทษ พูดอย่างนี้มันตรงๆหน่อย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เพราะหนังสือที่เขาเขียนให้ท่านเรียนเยอะแยะๆ ไปหมด พูดกันแต่พระพุทธเจ้าองค์ในประวัติศาสตร์ Historical Buddha ทั้งนั้นเลย ท่านจึงรู้จักกันแต่พระพุทธเจ้าองค์ในประวัติศาสตร์ ไม่รู้จักองค์ที่อยู่นอก ประวัติศาสตร์ ไม่ประสูติ ไม่ตรัสรู้ ไม่นิพพาน แต่มีอยู่ตลอดกาล
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เอ้า, ทีนี้เราจะพูดให้มันฟังง่าย เข้าใจง่ายกันอีกสักหน่อย ก็จะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าพระ องค์หนึ่งเป็นตัวกฎ เป็นตัวกฎของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นตัวกฎของ ของธรรมชาติ พระพุทธเจ้า อีกองค์หนึ่งเป็นตัวผู้บอก ผู้เปิดเผย ผู้สอนกฎของธรรมชาติ องค์นี้เป็นตัวกฎธรรมชาติ องค์นี้เป็นตัวผู้บอก กฎของธรรมชาติ เป็น ๒ องค์อยู่อย่างนี้ เรามีพระพุทธเจ้าองค์ไหน หรือว่าเราหมายมั่นในพระพุทธเจ้า พระองค์ไหน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
องค์หนึ่ง องค์หนึ่ง คือตัวกฎเป็นนิรันดร องค์หนึ่งผู้บอกกฎนั้น เป็นชั่วคราว ชั่วคราว มีตาย มีเกิดแล้วก็ มีมากๆๆๆองค์ องค์หนึ่งมีองค์เดียว เป็นตัวกฎ เป็นนิรันดร องค์หนึ่งเป็นชั่วคราว เป็นพระพุทธเจ้า ๒ องค์ เราเข้าถึงพระพุทธเจ้าองค์ไหนกันแล้ว ขอให้คิดดูให้ดีๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้ก็มาถึงการปฏิบัติต่อพระพุทธเจ้า ถ้าท่านศึกษากาลามสูตร ให้เข้าใจชัดเจนจริงๆ กาลามสูตร ชัดเจน จริงๆนั้น มันจะมีผลเป็นการทำให้ท่าน ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า และก็ไม่เชื่อ อ่า, คำสอน คำพูด คำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่เชื่อ พระไตรปิฎกซึ่งเป็นที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า กาลามสูตร ข้อที่ ๘ ไม่เชื่อผู้พูดที่น่าเชื่อ ข้อที่ ๙ ข้อที่ ๑๐ ว่า ไม่เชื่อว่า สมณะผู้พูดนี้เป็นครูของเรา หมายความว่าอาศัย หลักกาลามสูตรแล้ว เราไม่เชื่อ ไม่เชื่อคำที่พระพุทธเจ้าพูด ไม่เชื่อตัวพระพุทธเจ้าเอง ไม่เชื่อ Collection คำสอนต่างๆ เหล่านั้น แต่เราเชื่อพระพุทธเจ้าองค์จริง คือกฎของธรรมชาติ หรือกฎของปฏิจจสมุปบาท ที่มีอยู่ ในคำพูดนั้น ในคำพูดของพระพุทธเจ้าทุกองค์ มีกฎเรื่องปฏิจจสมุปบาทอยู่ที่นั่น เราเชื่อพระพุทธเจ้าองค์นี้ เราจึงไม่เชื่อคำสอน คำพูด และไม่เชื่อพระพุทธเจ้าอย่างบุคคล มันลึกลับ แล้วฟังดูแล้วมันคล้ายๆกับว่า ดูถูกพระพุทธเจ้า แต่ความจริงเรื่องนี้จริงมาก ขอให้สนใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าทันที ที่เราได้ยินเสียแล้ว เราจะไม่เห็นปฏิจจสมุปบาท ที่มีอยู่ในคำพูด ของพระพุทธเจ้าเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ช่วยแค่ฟังดูให้ดีๆ ฟังดูให้ดีๆ ไม่เชื่อคำที่พูด ไม่เชื่อผู้พูด ไม่เชื่อประมวลคำสอนของผู้พูด แต่จะเชื่อกฎ ของความจริง ของปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นเหตุผลๆๆอย่างยิ่ง ที่มีอยู่ในคำพูด มุ่งไปที่จุดนั้น ที่เหตุผลที่แสดงอยู่ ในคำพูด ตัวคำพูดไม่สนใจ ตัวผู้พูดไม่สนใจ ตัวพระไตรปิฏก ก็ไม่สนใจ นี่คือคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ที่มีอยู่ในกาลามสูตร จะเชื่อเหตุผลที่แสดงอยู่ในคำพูด ขอย้ำอีกทีหนึ่งว่า จะเชื่อเหตุผลที่แสดงอยู่ในคำพูด โดยไม่ต้องเชื่อคำพูด ผู้พูด หรือประมวลแห่งคำพูด นี่พระพุทธเจ้าพระองค์จริง แสดงอยู่ที่คำพูด คำสอนทุกคำของพระพุทธเจ้าองค์ชั่วคราว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเราเชื่อคำพูด มันก็จะติดอยู่ที่คำพูด ติดตันอยู่ที่คำพูด ถ้าเราเชื่อผู้พูด มันก็ติดตันอยู่ที่ผู้พูด ถ้าเราเชื่อ พระไตรปิฎกมันก็ติดตันอยู่ที่พระไตรปิฎก ไม่ติดตันอยู่ที่ไหนหมด แต่มองเห็น ไอ้, ความจริง ที่เรียกว่า เหตุผลที่ ทรงแสดงไว้ที่ตัวคำพูด นั่นแหละเราจะเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วก็จะมีผลนำ ให้ลุถึงนิพพาน นิพพานอันสูงสุด ซึ่งยืดยาวมาก พูดกันวันหลังเถอะ แต่เราจะต้องรู้ว่า เราจะต้องพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ที่มีอยู่ในคำพูดของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระองค์บอก ผู้บอก กับความจริงที่บอก ความจริงที่บอกเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ผู้บอกเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง เราจงถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นองค์จริง นี่พระพุทธเจ้าคืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในคำพูดหรือคำตรัสของพระพุทธเจ้า จะต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างเสมอ สิ่งที่แรก สิ่งแรกคือ ความเป็นของใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก นี่ คือเรื่องดับทุกข์ แล้วสิ่งที่ ๒ เหตุผลที่ว่าจะทำเช่นนั้นได้ เหตุผลที่ทำ เช่นนั้นได้ และอันที่ ๔ ปาฎิหาริย์น่ะคือหนทาง หนทางที่จะทำได้แน่ ทำอย่างนั้นได้แน่ไม่เหลือวิสัย ในคำพูดของ พระพุทธเจ้ามีการแสดงของใหม่ แสดงเหตุผล แสดงความเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติให้ได้ผลได้ แสดงเหตุผลที่ว่า ดับทุกข์ได้อย่างไรนี้ พระพุทธเจ้าองค์นี้มาอยู่ในคำพูด ของพระพุทธเจ้าองค์ชั่วคราว เราจงพบพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ มีพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ให้ได้ ก็จะได้สำเร็จตามที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นฉัน ผู้ใดเห็นฉัน ผู้นั้นเห็นธรรม” หมดปัญหาเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลาย อ่า, เป็นผู้ฟังที่ดี ด้วยความอดทนมา ๒ ชั่วโมงเต็มๆแล้ว ขอโทษๆ ถ้าทำให้ลำบากบ้าง แต่ก็ขอขอบพระคุณในการเป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยายในวันนี้ไว้เพียงเท่านี้ ขอปิดการบรรยาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/