แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นักศึกษาผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย ตามหัวข้อที่ท่านกำหนดให้ ๔ หัวข้อ คือธรรมะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของชีวิต เอ่อ ธรรมะเกี่ยวกับการศึกษาของนักศึกษาเอง ธรรมะเกี่ยวกับการสังคม และธรรมะเกี่ยวกับกามารมณ์ นี่ เหล่านี้ เราจะได้พูดกันถึงหัวข้อทีแรก ธรรมะเกี่ยวกับปัญหาของชีวิต ในชั้นแรกนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เข้าใจหรือเชื่อได้ว่า เราเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะว่าคำคำนี้ ส่วนมากที่ยึดถือกันอยู่เป็นหลักนั้น หมายถึงบทบัญญัติที่มีใครบัญญัติขึ้น แล้วก็เป็นเรื่องของศาสนาไป แล้วก็มักจะจัดให้อยู่ที่วัด เป็นเรื่องของคนชาววัด
ถ้าอย่างนี้มันก็ตอบปัญหาข้อนี้ไม่ได้ คือธรรมะที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของชีวิต จึงขอทำความเข้าใจกันในเบื้องต้นว่า ไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมะ นั้นคืออะไร ขอให้สนใจ และจดจำไว้ เป็นความรู้พื้นฐาน สำหรับจะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ต่อไปข้างหน้า สูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงชั้นสูงสุด ธรรมะสูงสุด ก็คือพระนิพพาน คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ ในภาษาบาลีนี่ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ อะไรอะไรที่มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ มันก็เป็นธรรมะทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำว่า ธรรมะ มันจึงรวมไว้ทุกเรื่อง ที่คนเราจะต้องรู้
ข้อแรกที่สุด ความหมายที่ ๑ ของคำว่า ธรรมะ คือธรรมะได้แก่ตัวธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง ทั้งหมดทั้งสิ้น ไอ้ตัวธรรมชาติ ตัวสภาวธรรมที่เป็นอยู่ตามธรรมชาตินี่ เรียกว่า ธรรมะทั้งนั้น ทีนี้กฎของธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวธรรมชาตินั้นๆ เราก็เรียกว่า ธรรมะ คำเดียวกันอีกนั่นเอง ทีนี้หน้าที่ที่สิ่งที่มีชีวิตจะต้องปฏิบัติให้ถูกตามกฎของธรรมชาติ หน้าที่อันนั้น ก็เรียกว่า ธรรมะ อีกเหมือนกัน ทีนี้ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น ก็ยังเรียกว่า ธรรมะอีก สรุปความว่าไอ้ตัวธรรมชาติ ก็เรียกว่า ธรรมะ ไอ้ตัวกฎของธรรมชาติ ก็เรียกว่า ธรรมะ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ก็เรียกว่า ธรรมะ ตัวผลเกิดจากหน้าที่ ก็เรียกว่า ธรรมะ
คนที่แก่ตรรกะ หรือ logic ก็จะร้องคัดค้าน ตะโกนว่าอะไรอะไรก็ธรรมะหมด มันผิดหลักของ logic มันมันมันเป็น logic ของคนที่ไม่รู้ธรรมะ มันเป็นอย่างนั้น นักศึกษาจะยึดถือกฎ logic ของชาวบ้าน ก็จะพลอยงงไปตามชาวบ้าน คือชาวบ้านที่มีการศึกษาอย่างสมัยปัจจุบัน นั้นจึงขอร้องให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ธรรมะ คำนี้มันพิเศษ มันอยู่เหนือกฎของ logic ด้วย จนกระทั่งว่าไม่มีอะไร ที่ไม่ใช่ธรรมะ ดีชั่วผิดถูกอะไร ก็เป็นเรื่องธรรมะเหมือนกันหมด แม้มันจะตรงข้ามอย่างไร ก็เรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมด บาปก็เรียกว่า ธรรม บุญก็เรียกว่า ธรรม กุศลก็เรียกว่า ธรรม อกุศลก็เรียกว่าธรรม นี่คำว่า ธรรมะ มันหมายความอย่างนี้
แต่ที่เรารู้จักกันทั่วๆไปในการศึกษาเล่าเรียนนั้น ก็รู้กันแต่ว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าธรรมะคือสิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติ เพื่อเอาผลอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่มันแคบนิดเดียว ถ้าพูดอย่างนี้มันแคบนิดเดียว เว้นไว้แต่เราจะพูดเอาเปรียบว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น สอน ๔ เรื่องนี้ แล้วก็มีความจริง คือพระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ร่างกาย จิตใจอะไรนี่ก็ดี ตัวธรรมชาติ นี่ก็เรียกว่า ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ แล้วสอนเรื่องกฎ ของธรรมชาติ เช่นว่า มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือมันต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ตามกฎของอิทัปปัจจยตา ปฏิจสมุปบาท ไอ้กฎของธรรมชาตินี้ก็เรียกว่า ธรรมะ พระพุทธเจ้าก็ได้สอน และหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ คือว่าคนโดยเฉพาะ ต้องปฏิบัติอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น จึงจะไม่มีความทุกข์ นี้ท่านก็ได้สอน แล้วผลที่เกิดออกมาจากการปฏิบัติ เป็นความสุขโนโลกนี้ เป็นความสุขในโลกอื่น หรือเป็นมรรคผลนิพพานที่เหนือโลก ท่านก็ได้สอน
ทีนี้สังเกตเห็นว่าในโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นต้นขึ้นมา ครูสอนเด็กว่าธรรมะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็สอนอย่างไร ถ้าถามว่าสอนอย่างไร ก็สอนไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ลักทรัพย์ เป็นต้น นิดเดียว มันแคบนิดเดียว พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องธรรมชาติ เรื่องกฎของธรรมชาติ เรื่องหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ และผลอันเกิดมาจากหน้าที่นั้น เป็น ๔ เรื่องใหญ่ใหญ่น่ะ แล้ว ๔ เรื่องนี้มันครอบหมด ไม่ยกเว้นอะไร
นี่ช่วยทำความเข้าใจในข้อนี้ ว่าธรรมะมันหมายถึงเรื่องทุกเรื่องที่มันมีอยู่ตามธรรมชาติ ที่เรามักจะเข้าใจกันว่า ธรรมะคือคำสั่งสอนให้ปฏิบัติ เว้นความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตให้ผ่องแผ้ว นี่เป็นส่วนน้อยส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่ง ของหน้าที่ทั้งหมด แต่คำว่า ธรรมะ นั้น มันมันมันไม่ใช่อย่างนี้ เรื่องของธรรมชาติในทุกแง่ทุกมุม ตัวธรรมชาตินี่ต้องรู้จักกันก่อน ตัวธรรมชาติแท้ๆภายนอกตัวเรา เช่นโลกทั้งหมดทั้งจักรวาล ทั้งหมดทุกๆจักรวาลนี้ ตัวธรรมชาติ และสิ่งที่อาศัยอยู่ในโลก คน สัตว์ ต้นไม้ ภูเขาเลากา ดินฟ้าอากาศ อะไร มันก็เป็นตัวธรรมชาติ ธรรมชาติทั้งหมดนี้ เรียกว่า ธรรมชาติ ขึ้นอยู่ในคำว่า ธรรมะ คำเดียว ธรรมะคือตัวธรรมชาติ
นี้ที่เป็นภายใน ก็คือตัวของเรานี้ เนื้อหนังของเราก็เป็นธรรมชาติ จิตใจของเราก็เป็นธรรมชาติ การปรุงแต่งกันภายในตัวเราเป็นนั่นเป็นนี่ ร่างกายเจริญความคิดเจริญอะไรก็เป็นธรรมชาติ ความสุขความทุกข์ที่มันเกิดขึ้นในตัวเรา มันก็เป็นธรรมชาติ รวมความว่า ธรรมชาติภายนอกก็ดี ธรรมชาติภายในก็ดี เรียกว่า ธรรมชาติ นี่คงจะขัดกันกับ หลักที่ท่านทั้งหลายเคยเรียนมา
พวกฝรั่งเขาธรรมชาติเขาไม่ได้จัดสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาตินะ สิ่งที่เกี่ยวกับคน เขาจะไม่เรียกว่า ธรรมชาติซะด้วยซ้ำไป เปรียบเทียบความรู้กันดูเถอะ พวกฝรั่งเขาธรรมชาติที่ที่มันปล่อยอยู่ตามธรรมชาติ คือมนุษย์ไม่ไปแตะต้อง แล้วก็ไอ้ตัวคนนี้ เขาไม่เรียกว่า ธรรมชาติ เราเรียกว่า ธรรมชาติหมด เพราะมันเป็นตัวธรรมชาติ ที่เกิดอยู่ในธรรมชาติ เอ่อ ในๆในตัวคนเราทั้งหมดเป็นธรรมชาติ นี่เข้าใจคำนี้ซะก่อน เป็นข้อแรกว่าธรรมะ คือธรรมชาติ
ทีนี้ก็มาถึงข้อที่ว่า ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ นี่ฝรั่งเขาไม่ยอมรับ ไอ้เรื่องไอ้ตัวธรรมชาติ แม้แต่คนนี้เสียแล้ว เขาก็ไม่ยอมรับว่า กฎเกณฑ์ต่างๆเป็นธรรมชาติ แต่ในทางพุทธศาสนาเราถือว่า แม้แต่กฎของธรรมชาติ ก็เป็นตัวธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่บังคับธรรมชาติอยู่ ก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติ เพราะมันมีอยู่ตามธรรมชาติ ฉะนั้นเรียกว่า ธรรมะ ได้ แต่แยกให้เห็น แต่ว่ามันเป็นส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ
ทีนี้ส่วนที่ ๓ มันก็ เดี๋ยวก่อน ไอ้ที่ว่ากฎ กฎของธรรมชาตินั้นน่ะ ต้องรู้ว่า ธรรมชาติมีอยู่ที่ไหน กฎมันจะมีอยู่ที่นั่น เมื่อเนื้อตัวของเราทั้งหมดเป็นธรรมชาติ นั้นในธรรมชาตินี้ ก็ต้องมีกฎของธรรมชาติสิงสถิตอยู่ ขอให้ดูให้ดีว่า ในเนื้อตัวเรานี่ซึ่งเป็นตัวธรรมชาตินี่ มันก็มีกฎของธรรมชาติ เอ่อ กำกับอยู่ ดังนั้นไอ้เนื้อตัวร่างกายจิตใจของเราจึงเปลี่ยนแปลงตามกฎของธรรมชาติ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีเป็นอย่างนั้น มีเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของธรรมชาติ มีกฎของธรรมชาติสิงอยู่ กำกับอยู่ ร่างกายนี้จึงเป็นไปต่างๆนาๆตามกฎของธรรมชาติ ในตัวกฎของธรรมชาติ เราหาพบในตัวเรา เช่นเดียวกับที่มันควบคุมจักรวาลทั้งหลาย กฎของธรรมชาติ
ทีนี้มาถึงอย่างข้อที่ ๓ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ สำหรับสิ่งที่มีชีวิต ทำไมพูดถึงแต่สิ่งที่มีชีวิต เพราะว่าสิ่งไม่มีชีวิต มันไม่มีปัญหา มันเกิด มันตาย มันทุกข์ มัน มันสุขไม่ได้ ที่มันจะรู้สึกสุขทุกข์ได้นี้ก็เฉพาะสิ่งที่มีชีวิต ดังนั้นเราจึงพูดว่า หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ สำหรับสิ่งที่มีชีวิต ถ้าชีวิตตั้งต้นมาจากต้นไม้ ต้นไม้มันก็ต้องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ มีหน้าที่ทำตามกฎของธรรมชาติ ดังนั้นไอ้ต้นไม้มันจึงต่อสู้ ดิ้นรน หาน้ำหาอาหาร หาแสงแดด ปฏิบัติตามหน้าที่ เอ่อ ขั้นต่ำๆ ต้นๆ ของต้นไม้ มันจึงรอดชีวิตอยู่ได้ ลองมันไม่ทำหน้าที่ เอ่อ กฎของธรรมชาติ มันก็ตายหมด เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีชีวิต ก็ต้องทำตาม ทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
สัตว์เดรัจฉานก็เหมือนกัน มันสูงขึ้นมากว่าต้นไม้ สัตว์เดรัจฉานทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามธรรมชาติ มันจึงรอดชีวิตอยู่ได้ นับตั้งแต่ว่าต้องกินอาหาร ต้องถ่ายอุจจาระ ต้องทำทุกๆอย่าง ให้มันรอดชีวิตอยู่ได้ กระทั่งถึงการสืบพันธุ์ ทีนี้คน มนุษย์นี้ มีชีวิตชั้นสูง ยังจะต้องทำตามกฎของธรรมชาติ ฉะนั้นเราจึงรอดอยู่ได้ ไอ้ที่รอดชีวิตอยู่ได้นี่ ต้องทำตามกฎของธรรมชาติหลายอย่าง ทั้งหาอาหารกิน ทั้งต่อสู้ศัตรู ต้องให้รอดชีวิตอยู่ได้ เมื่อรอดชีวิตอยู่ได้แล้ว ยังจะต้องรอดจากความทุกข์ยากลำบาก เช่น ความยากจน โรคภัยไข้เจ็บ ก็ต้องต่อสู้ มีหน้าที่ต่อสู้ ยังมีความทุกข์ คือความบีบคั้นของกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ มันบีบคั้นเหลือประมาณ ก็ต้องต่อสู้ นี่ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องต่อสู้กิเลส ต่อสู้ให้ชีวิตรอด ต่อสู้ให้ไม่มีความลำบาก แล้วก็ต่อสู้ให้ดับกิเลสดับทุกข์ได้ นี่เรียกว่าหน้าที่ ธรรมะคือ หน้าที่นี่สำคัญที่สุดกว่าความหมายอื่น ความหมายว่าตัวธรรมชาติก็ดี ตัวกฎของตัวธรรมชาติก็ดี ไม่สำคัญเท่า คำว่า หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นี่คือธรรมะทั้งหลายทั้งปวงที่เอามาสอน เอามาบัญญัติไว้เป็นศาสนาโดยเฉพาะ
ทีนี้อย่างที่ ๔ ธรรมะคือผลจากหน้าที่ อันนี้ไม่ใช่มีเรื่องลึกลับอะไร เพราะว่าถ้าทำหน้าที่ แล้วก็มีผลเกิดจากหน้าที่ ทำกรรมก็มีผลของกรรม นี่ถือว่าเราทำหน้าที่ก็แล้วกัน พ้นจากทำหน้าที่ ก็ต้องมีขึ้นมา แต่ก็ยังคงเรียกว่า ธรรมะ อยู่นั่นแหละ ธรรมะในฐานะที่เป็นผล เกิดมาจากหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ถ้าเข้าใจ จำไว้ได้ ในคำ ๔ คำนี้ หรือเรื่อง ๔ เรื่องนี้ จะเป็นความรู้พื้นฐานที่ดีที่สุด สำหรับจะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ต่อไปข้างหน้า ทุกแง่ทุกมุม ทบทวนอีกครั้งว่า ธรรมะมีความหมาย ๔ ความหมาย ความหมายที่ ๑ คือตัวธรรมชาติ ความหมายที่ ๒ คือตัวกฎของธรรมชาติ ความหมายที่ ๓ คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ๔ คือผลที่เกิดมาจากหน้าที่
เรา เราก็มีความลำบาก ในการที่จะปรับถ้อยคำเหล่านี้ ให้เข้ากันกับคำที่ใช้ในอยู่ในวงการศึกษา เอ่อ ของนักศึกษายุคปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า เราพูดว่าธรรมชาติ ฝรั่งเขาไม่มีคำที่ตรงกับคำว่า ธรรมชาติ ของเรา ถ้าเราบอกเขาว่า nature ความหมายของเขาก็แคบนิดเดียว แล้วจะไม่หมายอะ จะหมายเอาแต่สิ่งที่มนุษย์ไม่แตะต้อง เรียกว่า ธรรมชาติ ตามธรรมชาตินั้นน่ะ มันมันไม่ได้ แต่ถ้าพูดว่า nature มันมักจะแคบอยู่แต่เพียงที่ ไม่ใช่มนุษย์ คือมนุษย์ไม่แตะต้อง แต่เรารวบเอามนุษย์นี้ ทุกอย่างเกี่ยวกับมนุษย์นี้ เข้าไปอยู่ในธรรมชาติด้วย เราต้องเสียเวลาพูด อธิบาย ให้เขาฟังอีกทีหนึ่งว่า ไอ้ nature ของเรานี้ หมายความว่าอย่างไร
ทีนี้คำที่ ๒ เรียกว่า law เอ่อ law หรือกฎ ใช้คำว่า law ดีกว่าคำอื่น law of nature เมื่อคำว่า nature มันพูดกันไม่ตกลงกันเสียแล้ว ไอ้คำว่า law นี้ มันก็พลอยไม่ตกลงไปด้วย เราก็ต้องอธิบายให้เขาไปพิเศษ ว่าเราหมายถึง law of nature เราไม่รู้คำอื่น
ทีนี้พอมาถึงคำที่ ๓ คือคำว่า หน้าที่ หรือ duty นี่เขาพอจะรู้ พอจะเข้าใจกันได้ง่ายๆ คือสิ่งที่มันต้องทำ ก็เรียกว่า หน้าที่ หน้าที่ที่อนุโลมตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้อันที่ ๔ ผลจากการทำหน้าที่ ถ้าเราจะพูดให้กว้างๆ ครอบงำหมด เราใช้คำกลางๆ เช่นคำว่า result เป็นต้น จะใช้ profit โพรเฟิท อะไร คำอื่นๆนั้น มันจะแคบ แคบไป และเมื่อทำอะไร มีผลเกิดขึ้น คล้ายๆกับเป็น re-action ล่ะก็เรียกว่า ผลจากการปฏิบัติหน้าที่ นี่เราก็มีคำที่ใช้กันอยู่เวลานี้ ว่า nature / law of nature / Beauty in accordance with the law of nature เอ่อ แล้วก็ result of duty of the duty
นี่คำ ๔ คำนี้ แล้วก็รวมเป็นคำเดียวว่า ธรรมะ นี่ ขอให้เข้าใจ ว่ามันมีอยู่อย่างนี้ ทีนี้ในปัญหาอะไร ในหัวข้อที่ยื่นให้นี้ ดูจะไม่ได้หมายถึงอย่างนี้ หมายถึงเพียงที่ใช้กันอยู่ในการพูดจาโรงเรียน ในคนธรรมดา นี่ธรรมะเพื่อการแก้ปัญหาของชีวิต คล้ายๆไประบุ ไประบุ เรื่องของชีวิตในการแก้ปัญหาของชีวิตเท่านั้น
แต่ว่าคำว่า ธรรมะ มันมากกว่านั้น คือมัน มันก็แก้ปัญหาชีวิตน่ะ แต่ลองคิดดูเถอะว่ามันกว้างเท่าไร เรารู้เรื่องธรรมะในฐานะที่เป็นธรรมชาติ แล้วก็แก้ปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติได้หมด เรารู้ธรรมะเกี่ยวกับกฎของธรรมชาติ แล้วก็สามารถจะต่อสู้ เปลี่ยนแปลงแก้ไขธรรมชาติ เอาธรรมชาติมาใช้ตามความประสงค์ของเราได้ และที่เรียกว่า หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นี้ยิ่งดีใหญ่ คือทำให้เราทำถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ไม่มีทางที่จะผิด
นี้ถ้าเรามีความทุกข์ยาก ลำบาก ปัญหา อุปสรรค อะไรกันอยู่แล้ว ก็ขอให้ถือว่าเรากำลังผิด ทำผิด ต่อกฎของธรรมชาติ ไม่ได้ ไม่ได้ทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นี่ผิด ต้องมีความทุกข์แน่ และเมื่อทำหน้าที่ แต่ไม่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ มันก็ผิดอีกเหมือนกัน มันก็ไม่ได้รับผล
ทีนี้ผลจากหน้าที่ ถ้าเรารู้แล้ว เราก็รู้จักเลือก รู้จักทำสิ่งให้มันเกิดผลตามที่เราต้องการ ตรงตามที่เราต้องการ ท่านทั้งหลายจะเห็นได้ว่า ถ้าเรารู้ธรรมะใน ๔ ความหมาย มันหมดเลย มันครอบโลก ครอบจักรวาล ทั้งข้างนอก ทั้งข้างใน ทั้งเรื่องวัตถุ ทั้งเรื่องจิตใจ หมดสิ้น ฉะนั้นไม่ต้องพูดอีกแล้วว่า ที่ว่าไอ้ไอ้ความรู้จะแก้ปัญหาไม่ได้ ไอ้ความรู้ที่สมบูรณ์ขนาดนี้ มันแก้ปัญหาได้หมด นี่ขอให้ทำความตกลงกันในเบื้องต้นว่า ไอ้ธรรมะที่เราพูดถึงกันนี้ คืออย่างนี้ แม้ว่าท่านทั้งหลายจะเล็งให้ ในวงแคบๆ ก็คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ และเมื่อไปใช้คำว่า ธรรมะ กันแล้ว เอ่อ คำๆนี้มันกินความหมด อย่างนี้เอง
เอ้า,ทีนี้เราก็จะขึ้นไปถึงปัญหาของชีวิต ธรรมะจะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของชีวิต ก็ต้องพูดถึงคำว่า ชีวิต กันอีกสักหน่อย เอ่อ ชีวิตคืออะไร ลูกเด็กๆในโรงเรียน เรียนคำว่าชีวิต ตามที่ครูบอก ว่าชีวิตคือความเป็นอยู่ ก็ถูกแล้ว ชีวิตคือความเป็นอยู่ คือความไม่ตาย นี่เรามักจะสอนกันเรื่องด้านนอก คือด้านวัตถุ ชีวิตอย่างวัตถุ ไม่ตายอย่างวัตถุ เป็นคนยังไม่ตาย สัตว์ยังไม่ตาย ต้นไม้ต้นไร่ยังไม่ตาย นี่ล่ะชีวิตด้านวัตถุ แต่ชีวิตด้านจิตใจ ภายใน เป็นชีวิต แล้วก็ชีวิตทางฝ่าย เอ่อ ทางฝ่ายจิตใจ หรือยิ่งไปกว่าฝ่ายจิตใจ นั้นไม่ ไม่ได้พูดถึงเลย ไม่ได้รู้เรื่องเลย ไม่ได้เอามาสอนเลย ฉะนั้นคนจึงไม่เข้าใจ ว่าคนนี้มันตายได้ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่
ชีวิตในด้าน ในด้านร่างกายไม่ตาย ยังอยู่ แต่ชีวิตในความหมายที่ลึกซึ้ง ตามทางธรรมะนั้น มันตายแล้ว เป็นคนเลว คนมีความทุกข์ คนไม่มีอะไรดี อย่างนี้
ชีวิตในแง่ของศีลธรรม ตายแล้ว หรือชีวิตในแง่ของปรมัตถธรรม ก็ตายแล้ว คนไม่มีความดีตามศีลธรรม ก็จะตายแล้วในทางศีลธรรมของเขา ชีวิตในทางศีลธรรมไม่ได้มีอยู่แล้ว ชีวิตในทางฝ่ายปรมัตถธรรม คือเป็นอิสระ กิเลสไม่ครอบงำ สดชื่นเพราะไม่มีกิเลสครอบงำ นี้ชีวิตด้านปรมัตถธรรม แต่ถ้าคนมีกิเลสครอบงำย่ำยี เราถือว่าคนนั้นตายแล้ว เพราะว่าเขาไม่มีความหมายแห่งชีวิต ในชั้นนี้ ให้สรุปรวมเป็นที่เข้าใจกันให้ดีก่อนว่า ชีวิตในด้านวัตถุ ถ้าเซลล์มันยังสด มันยังเป็นไอ้ของสดอยู่ก็เรียกว่าชีวิตด้านวัตถุยังอยู่
ทีนี้ชีวิตด้านการประพฤติทางศีลธรรม สมกับที่เป็นมนุษย์น่ะเรียกว่า เอ่อ ชีวิตในด้านศีลธรรม มันก็สำคัญกว่า แม้เราจะรอดตาย ไม่ไม่ตาย แต่เราเสียหายหมดทางด้านศีลธรรม มันก็คือคนตายแล้ว คือคนประพฤติชั่ว ตือคนตายแล้วในด้านของศีลธรรม
นี้ถ้าไม่มีธรรมะที่ทำให้ปรกติ เยือกเย็น เพราะเต็มไปด้วยกิเลส นี้ตายแล้วในด้านปรมัตถธรรม ที่คนเดี๋ยวนี้เขาเรียกกันว่า spiritual ถ้าคุณอ่านหนังสือ แม้สมัยปัจจุบันนี้ ที่เป็นหนังธรรมะปรัชญาชั้นสูง ก็จะพบคำนี้มากขึ้นๆ ในพวกฝรั่ง พวกฝรั่งเขารู้จักแยกเป็นไอ้ spiritual กับ physical ไอ้ชีวิตวัตถุ ไอ้ชีวิต เอ่อ ด้านวิญญาณ ด้านจิตด้านวิญญาณ แม้แต่วิธีการพูดจา เขาก็ยังแยกเป็นด้านวิญญาณ เอ่อ การต่อสู้ การมีชีวิตอยู่ หรือแม้แต่คำที่สนใจกันมากที่สุด คือคำว่า ความสุข เราจะ เราหมายความกันแต่ว่า มีอะไรกินเล่น หรือว่าสนุกสนาน ก็เรียกว่าความสุข นั้นมันเป็นความสุขอะไรก็ไม่รู้
แต่ถ้ามันเป็นความสุขด้าน spiritual ละก็ หมายความว่า จิตมันสะอาด สว่าง สงบ เยือกเย็น ก็เรียกว่าความสุขในด้านวิญญาณ หรือด้านปรมัตถธรรม หรือที่เรียกว่า spiritual ซึ่งคำนี้จะหนา จะดกมากขึ้น ใน เอ่อ วงการสอนวรรณกรรม เพราะว่าฝรั่งเริ่มสนใจสิ่งที่เรียกว่า spiritual นี้กันมากขึ้นๆ แม้แต่ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันก็มี ขอให้สังเกตดูให้ดีๆ เดี๋ยวจะไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร หนังสือพิมพ์รายวันนี่ มันมันมีคำว่า spiritual เข้ามาใช้มากขึ้นๆ คือมันนิยมกันมาจากภายนอก จากนอกประเทศ จากวงการศึกษาของโลก เริ่มสนใจเรื่องทางจิต ทางวิญญาณมากขึ้น ความสุขทางกายนั้น ก็ทำกันจนเฟ้อ จนเป็นอันตราย มันขาดความสุขทางวิญญาณ หรือทาง spiritual จึงเป็นที่สนใจ
นั้นเมื่อพูดว่า ชีวิต ปัญหาแห่งชีวิตอย่างนี้ มันก็ควรจะรู้กันเสียทีว่าชีวิตชนิดไหน ชีวิตชนิดหญ้าบอน อย่างนั้นน่ะ หรือว่าชีวิตชนิดแมว กา ไก่ สุนัข หรือว่าชีวิตอย่างคน แล้วคนโง่ คนอันธพาล คนปุถุชน หรือว่าคนชั้นพระอริยะเจ้า อย่างนี้แล้ว ชีวิตมันไม่เหมือนกันเลย ไม่ใช่ระดับเดียวกันเลย ถ้าคุณถามว่าปัญหาแห่งชีวิต มันก็ชีวิตอะไร ชีวิตที่สักว่าเนื้อหนังรอดอยู่ได้ ก็ไปถามไอ้พวกกรรมกร พวกเจ๊ก เอ่อ พวกสามล้อก็ได้ ว่าชิวิตแบบเนื้อหนัง มันจะอยู่ได้อย่างไร แต่ถ้ามุ่งหมายชีวิตทางศีลธรรม ชีวิตทางปรมัตถธรรม แล้วก็มาพูดกันที่วัด ก็ถูกกับเรื่อง เพราะฉะนั้นเราจึงเข้าใจว่า ไอ้ชีวิตที่คุณถามนี่ มันเป็นเรื่องด้านจิต ด้านวิญญาณ เป็นอันว่าเราหมายถึงไอ้ ไอ้ชิวิตในระดับสูง ที่จะเป็นมนุษย์ เอ่อ สมกับคำว่า มนุษย์ นี่คือสัตว์มีใจสูง
ทีนี้คุณก็มีคำว่า ปัญหาแห่งชีวิต มันก็ควรจะดูกันต่อไปว่า อะไรที่เรียกว่า ปัญหา และปัญหาแห่งชีวิต ชีวิตมันมีปัญหาอย่างไร ปัญหา มันมากแหละ แต่ว่าเราอาจจะ เอ่อ อะไร ประมวล ประมวลเอามาให้มันจัดเป็นพวกได้ พอพอทำความเข้าใจกันได้ ปัญหาที่มันเป็นไปตามธรรมชาตินี่อย่างหนึ่ง เป็นปัญหาที่ความโง่ของมนุษย์สร้างขึ้นมา นี่อย่างหนึ่ง เช่น คุณเจ็บป่วย เรียกว่าร่างกายไม่อำนวยกับความต้องการของเรานี่ ปัญหาของชีวิตตามธรรมชาติ
ยังมีปัญหาชนิดที่ ความโง่ของเราสร้างขึ้นมาเอง คุณไปหลงใหลในเรื่องเหลวไหล ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ในการดำรงชีวิตนี่ ปัญหานี้คุณสร้างขึ้นมาเอง มันขึ้นมาเอง ไม่ใช่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา เมื่อเราพูดว่าปัญหาแห่งชีวิต ก็ควรจะพูดกันดีๆว่า ปัญหาชนิดไหน ถ้าปัญหาชีวิตที่ชีวิตมัน ที่ธรรมชาติมันทำให้ ก็เรียนเรื่องธรรมชาติ แล้วแก้ไขไป เช่นว่า ให้มีอนามัยดี สติปัญญาดี ตามธรรมชาติ
แต่ถ้าปัญหาที่ความโง่ของเราสร้างขึ้นมา แล้วก็รีบแก้ปัญหา โดยกำจัดความโง่นั้นเสีย นี่ปัญหาชีวิตชนิดนี้ มันมาจากความโง่ของมนุษย์นั่นเอง ความโง่มันก็สร้างกิเลส ความโลก ความโกรธ ความหลง ขึ้นมา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง มันก็เป็นปัญหา หรือสร้างปัญหาให้แก่เรา เราก็ต้องเรียนรู้เรื่อง การที่จะควบคุม กำจัด อวิชชา กิเลส ตัณหา ก็เป็นปัญหาชีวิต เอ่อ ในด้านลึก มัน มันเป็นปัญหาที่ ที่คนสร้างขึ้นมาเอง ที่ธรรมชาติสร้างให้ เป็นส่วนน้อย และก็ไม่ยากที่จะแก้ไข เช่นว่า เราไม่มีสุขภาพอนามัยดี เราก็เรียนรู้ บำรุงร่างกายถูกต้อง เรื่องอาหาร เรื่องเป็นอยู่ เรื่องอะไรต่างๆ มันก็หมดปัญหา แล้วก็มีเงินใช้ ศึกษาเล่าเรียน ได้ทำการงาน มีเงินเดือนมาก มีเงินใช้ มีบ้าน มีเรือน มีทรัพย์สมบัติทั้งหลาย หมดปัญหาหรือยัง
นี่เราจะเห็นว่า ไอ้คนร่ำรวยเหล่านั้นยังมีปัญหา ยังนอนไม่หลับ ยังเป็นโรคประสาท ยังทะเลาะวิวาท ยังฆ่าแกงกัน แม้เป็นเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐี มันก็ยังมีปัญหาแห่งกิเลส ของเขาเอง ความรู้ที่ไม่ถูกต้องของเขาเอง สร้างปัญหาขึ้นมา นี่เป็นปัญหาจริง เป็นปัญหาที่น่ากลัว เราก็ต้องเรียนรู้ส่วนนี้ โดยเฉพาะเรื่องของกิเลส ที่มันไปสรุปรวมอยู่ที่คำว่า อวิชชา เป็นต้นตอ แห่งกิเลสทั้งหลาย เราจะพูดถึงปัญหาชีวิตในระดับนี้ เอ่อ ปัญหาชีวิตระดับที่ไม่มีอะไรกิน ไม่มีอะไรแต่งตัว ไม่มีบ้านเรือนจะอยู่นั้นน่ะ พูดกันที่อื่นได้ แต่ถ้าว่าปัญหาชีวิตที่ต้องมาพูดกันที่วัด ของพระพุทธเจ้า แล้วมันก็ต้องเป็นเรื่องชีวิตในระดับจิต หรือวิญญาณ สติปัญญา แล้วมันไปสรุปรวมอยู่ที่ กิเลส คำเดียว ถ้าไม่มีกิเลสอย่างเดียวแล้ว เราจะไม่มีปัญหาเลย นี่ความสุขทุกข์ทางจิตใจนี่
ทีนี้เรามีกิเลส จะทำอย่างไร คุณเหลวไหลในเรื่องการเล่าเรียน สอบไล่ไม่ได้ มันเรื่องกิเลสของคุณ จะไปโทษคนนั้น โทษคนนี้ โทษครูบ้าง โทษอะไรบ้าง มันไม่ถูก ควรจะมองดูให้รอบด้าน รอบตัว จนเห็นว่า ไอ้เรื่อง ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ มันเป็นเรื่องของกิเลส
เราจะต้องรู้จักตัวกิเลส เราจะควบคุมมันให้ได้เป็นอย่างน้อย นี่เราจะละให้หมดสิ้น ก็ดูจะเหลือวิสัย เอาแต่เพียงว่า ควบคุมมันให้ได้ ก็ยังดี พอที่จะแก้ปัญหาในปัจจุบันนี้ได้ ถ้าละกิเลสหมดสิ้น เป็นพระอรหันต์ จะดีเกินไป สำหรับ เอ่อ คนที่เดี๋ยวนี้ เอาแต่ว่าควบคุมมันได้ อย่าให้มันทำอันตรายแก่เรา ฉะนั้นถ้าเราจะรู้จักปัญหาของชีวิต ก็ควรจะเรียนเรื่องกิเลส ถ้าเราไม่รู้จักปัญหาของชีวิต ป่วยการ ที่เราจะเรียนธรรมะ เพื่อแก้ปัญหาชีวิต ต้องรู้ตัวปัญหาชีวิต ว่ามาจากกิเลส แล้วต้องรู้เรื่องกิเลส และควบคุมกิเลสให้ได้ แล้วปัญหาของชีวิตมันก็จะถูกแก้ไปเอง
มันก็เลยต้องพูดถึงเรื่องกิเลส ขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง ทุกคนมีกิเลส แต่ไม่รู้ ไม่รู้จักกิเลสของตัว โดยเฉพาะเด็กๆ คนวัยรุ่น คนหนุ่มคนสาว ร่ำรวยด้วยกิเลส แต่ก็ไม่รู้จักกิเลส แล้วก็ทำไปในลักษณะที่ส่งเสริมกิเลส ปัญหามันก็แน่นหนาขึ้น จนเป็นคนล้มละลาย
กิเลส คำนี้ เอ่อ มีความหมาย ลึกๆ เป็นเรื่องที่ เป็นเรื่องที่ยืดยาว มนุษย์เพิ่งรู้จักสิ่งๆนี้ แล้วก็ไปยืม ยืมเอาคำที่ใช้อยู่ ใช้พูดอยู่ในบ้าน คือของสกปรก ของสกปรกทั้งหลาย เขาเรียกกันว่ากิเลสอยู่ก่อนแล้ว แต่ว่าสกปรกตามธรรมดา ทีนี้พอพบไอ้กิเลส คือของสกปรกทางจิตใจ ก็ไปยืมคำนั้นมาใช้ คำว่า กิเลส จึงแปลว่า ของสกปรก มีความหมายว่าสกปรก แต่สกปรกในด้าน spiritual โคลน ขี้หมา อุจจาระ มันเป็นสกปรกด้าน physical ตามที่เราสมมติบัญญัติ แต่ว่ากิเลสในจิตใจคนนี่ มันของสกปรกในระดับ spiritual และความสะอาดก็เหมือนกันนะ คุณจะทำให้มันสะอาดเนื้อตัวอย่างไร มันก็สะอาดทาง physical และสะอาดโดยหมดกิเลส มันยังเป็นสะอาดชนิดเป็น spiritual เมื่อพูดถึงกิเลส ก็เป็นที่เข้าใจ เพราะมันเป็นตัวสร้างปัญหากันดีกว่า
คงจะรู้กันแล้วทุกคนนะว่า กิเลสนั้น คือ โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าเดี๋ยวนี้คุณยังไม่รู้ว่ากิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ แล้วไม่ควรอยู่เมืองไทย ไปอยู่ที่อื่นเถอะ เมืองไทยมันเป็นเมืองพุทธ ไอ้คำเหล่านี้ควรจะเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ไม่ต้องอธิบาย ว่ากิเลส มันคือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะนั่นมันต้องการจะเอาเข้ามา ไอ้โทสะแล้ว มันต้องการจะทำลายเสีย จะฆ่าเสีย แล้วจะไปให้พ้นเสีย โมหะนี่มันโง่ มันวนเวียนอยู่รอบรอบนี่
ทีนี้เรารู้สึก เอ๊ย, เรารู้จัก ไอ้กิเลสของเรานี่ ความคิดนึกของเราที่เลวร้ายน่ะ มันมีอยู่ ๓ ชนิดอย่างนี้ ชนิดแรกจะเอาเข้ามาหา จะมาเอาไว้เป็นพวก หรือจะรับ จะรวมกัน หรืออะไรก็ตาม กิเลสประเภทนี้ เป็นประเภทแรก เรียกว่า โลภะ ก็มี ราคะ ก็มี ความหมายอย่างเดียวกันอ่ะ คือจะเอาเข้ามาเป็นของตัว
ทีนี้ความรู้สึกที่เป็นกิเลสประเภทที่ ๒ มันไม่ชอบ มันจะฆ่าเสีย จะทำลายเสีย มันจะเตะ จะตี จะตบ จะต่อย จะไล่ ให้ออกไปเสีย นี่กิเลสประเภทที่ ๒ เรียกว่าโทสะบ้าง โกรธะ หรือชื่ออื่นอีกมาก แต่ที่เรารู้กันโดยมาก ก็คือโทสะ
ทีนี้กิเลสประเภทที่ ๓ เรียกว่า โมหะ มันโง่ มันหลง มันสะเพร่า เอ่อ มันสงสัย ลังเล วิตกกังวล สนใจอยู่แต่เรื่องที่ไม่รู้ มันจึงมีลักษณะวิ่งอยู่รอบๆ วิ่งอยู่รอบๆ ไม่รู้ว่าจะเอาดี หรือไม่เอาดี หรือทำอย่างไรดี มันก็ไม่รู้ แต่ความสงสัย ความสนใจมันก็ยังมีอยู่ มันจึงมีอาการเหมือนกับวิ่งอยู่รอบๆวัตถุประสงค์อันนั้น
นี่มันต่างกันอย่างนี้ จำไว้ให้ดี เอาไปรู้จักกิเลสของตัวเสีย บางคราวเราก็มีโลภะ บางคราวเราก็มีโทสะ บางคราวเราก็มีโมหะ ถ้าเราอยากจะรู้ว่า ไอ้ไอ้กิเลสของเรา คราวนี้เป็นประเภทไหน ก็ดูอาการของมัน ถ้าอาการรัก จะยึดครอง จะเอาเข้ามา นี้ก็เป็นพวกโลภะ ถ้าจะทำลายเสียให้พ้นออกไป ก็เป็นโทสะ ถ้าวนอยู่รอบๆ ก็เป็นโมหะ เรามีกิเลสอย่างนี้ เรียกว่า เต็มที่ที่มนุษย์จะพึงมี แต่เราก็ไม่รู้จัก เราก็ไม่สนใจ รู้ได้ ตรงที่เราไม่เกลียดกิเลสนี่ เรายังทำตามกิเลส เรายังสงวนกิเลส เรายังรักษาความรู้สึกที่เป็นกิเลสอยู่ โลภะ เราก็ชอบ ไอ้โทสะ เราก็ชอบ ได้ด่า ได้ตี ได้ทำร้ายเขา เราก็สนุก ไอ้โมหะนี่ ยิ่งรู้จักมันยาก เราจึงยังหลง เราจึงยังทำอะไรหวัดๆ สะเพร่า ไม่มีสติสัมปชัญญะ อวดดี อวดเด่น ยกหูชูหาง นี่กิเลสประเภทนี้
เพราะฉะนั้นเรา มาศึกษากิเลส จากตัวกิเลสจริงๆ เอ่อ ที่มันมีอยู่ เอ่อ ในตัวเรา ของสกปรก ชนิด ทางวัตถุ มันก็อยู่ที่ตัวเรา เหงื่อไคลที่เราอาบน้ำ ขัดถูอยู่ทุกวัน เอ่อ นี่ของสกปรกฝ่ายวัตถุ แต่ของสกปรก หรือกิเลสนั่น มันเป็นฝ่ายจิตใจ เพราะมันอยู่ในใจ มันไม่ๆ มันไม่สะอาดได้ด้วยอาบน้ำ หรือถูสบู่ มันต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามวิธีของมัน คือตามกฎของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ แล้วก็จะป้องกันกิลเส หรือจะชะล้างกิเลส
นั้นช่วยสนใจให้มาก เมื่อใดความรู้สึกเป็นในทางต้องการ หรือความโง่ ซึ่งเป็นอยู่โดยมาก เป็นอยู่ทั่วไป ขออภัยที่พูดว่า ทุกคนมันเป็นอยู่ มันต้องการด้วยความโง่ นี่คือกิเลส โลภะ หรือราคะ มันรักก็รักด้วยความโง่ มันต้องการ ก็ต้องการด้วยความโง่ นี่กิเลส แต่ถ้ามันต้องการ ประสงค์ หรือรัก ก็ได้ ด้วยปัญญา นี้ ไม่ใช่กิเลส เอ่อ บางแห่ง บาง บางคน บางสำนัก เขาจะ อาจจะสอนว่า ถ้าต้องการแล้ว เรียกว่า กิเลสหมด ถ้าอยากได้ หรือต้องการแล้ว ก็เรียกว่า กิเลส หมด
แต่ที่นี่ เราไม่สอนกันอย่างนั้น เราสอนว่า ต้องการด้วยความโง่ จึงจะเป็นกิเลส คือเป็นโลภะ หรือตัณหา แต่ถ้ามีสติปัญญาถูกต้อง แจ่มแจ้ง สมบูรณ์ รู้ว่าสิ่งนี้ควรมี ควรได้ ควรกิน ควรใช้ ควรกระทำ แล้วก็ต้องการ หรือกระทำไปด้วยสติปัญญา อย่างนี้ไม่ใช่กิเลส เช่น เรารู้ว่านี้เป็นความทุกข์ เราอยากจะดับมันเสียอย่างนี้ อยากจะดับมันเสีย ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ ไม่ใช่ความโลภ แต่เป็นความอยาก หรือเป็นความต้องการ หรือเป็นความประสงค์ ด้วยเหมือนกัน มันด้วยสัมมาทิฎฐิ ด้วยปัญญา เช่น ถ้าคนรู้จักพระนิพพาน และอยากจะไปนิพพาน อย่างนี้ นี่ไม่ใช่กิเลส ความอยากนั้น เป็นความอยากที่ถูกต้อง ที่ควรอยาก
ทีนี้ในโลกนี้ มันดูยากนะ ว่าอะไรควรอยาก อะไรควร เอ่อ ควรดูให้ดีว่า อะไรที่ว่า มันเป็นประโยชน์เกื้อกูล ให้เกิดความสงบสุข ควรจะได้ ควรจะมี แล้วก็เอา ก็อยาก ก็ต้องการ แต่ถ้าได้มาแล้วมันร้อนเป็นไฟ แล้วมันกัดเจ้าของอยู่ตลอดเวลา นี้ก็ ดูให้ดีว่า มันไม่ควรจะได้ แล้ว แต่มันก็อยู่ที่ตัวผู้ผู้จัด ผู้ทำนั้นด้วย
ความโง่ของเรา ทำให้เราอยาก เราไปสถานเริงรมย์ อาบอบนวด เหมือนที่คนหนุ่มชอบไปนี้ นี้ ความโง่มันเป็นไป ความอยากของความโง่ อย่างนี้เรียกว่า กิเลส ถ้าเราต้องการจะทำอะไรที่มีประโยชน์แท้จริง ไม่มีโทษ ความอยากอย่างนี้ไม่ใช่กิเลส อยากจะพูดโดยไม่ต้องกลัวใครด่า หรือว่าใครหาว่าอวดดี อยากไปอาบอบนวด เป็นกิเลสของๆคุณ
ถ้าอยากมาสวนโมกข์นี้ ไม่ใช่กิเลสของคุณ แม้ว่ามันจะมีปริมาณแห่งความอยากเท่ากัน เพราะว่าไอ้ที่ไปอาบอบนวด มันมันเป็นความต้องการของอวิชชา สิ่งที่ไม่ควรอยาก ไม่ต้องการ และเป็นอันตรายด้วย ก็ยังไปอยาก ไปรักมัน นั่นก็เรียกว่าอยากของความโง่ เอ่อ ถ้ามาสวนโมกข์ มันไม่มีสิ่งเหล่านั้นให้นี่ สิ่งเหล่านั้นไม่มีให้ ถ้ามาก็มาพูดเรื่องธรรมะ มีความรู้เรื่องธรรมะ แล้วมันก็ไปแก้ปัญหาแห่งชีวิต เพราะฉะนั้นความอยากชนิดนี้ไม่ใช่ความโลภ ก็มีอีกคำหนึ่ง คือ ราคะ ซึ่งจะเรียกว่า ความรัก หรือความกำหนัดก็ได้ มันต้องทำไปด้วยความโง่ ความโง่ๆ บรมโง่ ที่เรียกว่า ความรักทำให้ตาบอด นั่นน่ะ ถ้ามันให้ ทำให้ตาบอดนั่นน่ะ คือความรักที่ ที่เป็นอันตราย ถ้าความรักด้วยสติปัญญา รู้บุคคลที่ควรรัก รักครูบาอาจารย์ บิดา มารดา อย่างนี้ไม่ใช่ราคะ ไม่ใช่กิเลส ที่เป็นอันตราย แต่คนก็ไม่ค่อยชอบ เดี๋ยวนี้เราหาคนที่รักพ่อ รักแม่ รักครูบาอาจารย์ ได้น้อยเต็มที จะไปรักเพศตรงกันข้ามดกดื่นไปหมด จนมี คดี มีอาชญากรรม อะไร เต็มไปทุกหัวระแหงนี้ นี่กิเลส คือความต้องการ ด้วยความความโง่
ถ้าต้องการด้วยสติปัญญา ไม่ใช่กิเลส เอ่อ ไอ้คำว่า ต้องการ นี้ รักษาไว้ได้ คงไว้ได้ ว่า ต้องการ ต้องการ แต่ว่าต้องการด้วยความโง่ หรือต้องการด้วยสติปัญญา ถ้าต้องการด้วยความโง่แล้ว ไม่เอา ไม่ต้องมี ถ้าต้องการด้วยเหตุผล หรือสติปัญญาถูกต้อง ก็ต้องทำ ต้องมียิ่งๆขึ้นไป อย่าให้เสียชาติเกิดมา เป็นมนุษย์มันจะต้องทำอะไรได้ ต้องทำให้ได้ อย่าให้เสียชาติที่เกิดมา แล้วเราก็ต้องการจะทำให้ได้ ความต้องการนี้ ไม่ใช่ความ ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่ราคะ นี่กิเลสตัวที่ ๑ เรียกว่า ความโลภ คือต้องการด้วยความโง่ บางทีก็เรียกว่า ตัณหา
ทีนี้กิเลสตัวที่ ๒ มันเนื่องมาจากกิเลสตัวที่ ๑ โทสะ หรือ โกรธะน่ะ มันเนื่องมาจากกิเลสตัวที่ ๑ คือโลภะ คือความอยากด้วยความโง่ เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ มันก็โกรธ ถ้าใครมาขัดคอ มันก็ทำร้าย เมื่อไม่ได้ตามต้องการ มันก็เกิดกิเลสตัวที่ ๒ คือความโกรธ ถ้าเป็นไปมาก มันก็ไปประทุษร้ายผู้อื่น นี่กิเลสตัวที่ ๒ มันต้องการจะทำลาย หรือไม่อยากจะเห็นหน้า เมื่อเราเกลียดใคร เราก็ไม่อยากเห็นหน้าคนนั้น ไม่อยากแม้จะได้ยินเสียง ไม่อยากจะคบหาสมาคม
นี่กิเลสตัวที่ ๒ ก็เรียกว่า ไม่ต้องการด้วยความโง่ เพราะความไม่สมประสงค์ของตัว แล้วก็ไปขัดใจ แล้วก็ไปโกรธ บางทีมันก็โกรธตัวเอง เพราะมันไม่ได้อย่างใจ บางทีก็โกรธผู้อื่น ถ้ามันโง่มากไปอีก มันก็โกรธดินสอ ปากกา ที่ไม่มีความผิดอะไร บางคนทำ ทำลายสิ่งของนั่นนี่ ถ้าความโง่มากเกินไป มันโกรธได้แม้ดินสอ ปากกา มันจะโกรธคน โกรธสัตว์ โกรธสิ่งของ โกรธอะไรก็ตาม มันมันมันมาจากที่มันไม่ได้อย่างใจ เรียกว่า โกรธะ คือโกรธ เรียกว่า โทสะ คือประทุษร้าย เพราะความโกรธนั่นเอง
ทีนี้ถ้ามันเป็นเรื่องที่ไม่รู้จริง เป็นเรื่องโมหะ โมหะที่แปลว่า เข้าใจผิด หลงผิด มันทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะรักดี หรือโกรธดี ไม่รู้ว่าจะเอาดี หรือไม่เอาดี มันก็เป็นเรื่องวนเวียน เป็นเรื่องอยู่ด้วยความสงสัย อยู่ด้วยความทึ่ง ความสนใจ แต่ก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจ คืออยู่อย่างปราศจากสติสัมปชัญญะ มันก็ทำอะไรชนิดที่เรียกว่าไม่มีสติสัมปชัญญะ แล้วมันโง่มาก มันก็ยกหูชูหาง ซึ่งเป็นอาการของสัตว์ตามสัญชาติญาณ มันยกหูชูหาง มันไม่รู้จักตัวเอง นี่ก็เรียกว่ามันโง่ เรียกว่า โมหะ ทุกคนมี พูดได้ว่าทุกคนมี บางคนก็มีมาก แล้วมันโง่มากถึงขนาดว่า มันไปฆ่าตัวตาย มันผิดหวัง มันอกหัก มันอะไรก็ตาม เพราะความโง่ของมัน มันก็ไปฆ่าตัวตาย เพราะมันไปอยาก ไปหวัง ที่ไม่ ไม่ควรจะได้ มันก็ไม่ได้ เมื่อไม่ได้แล้ว มันก็โง่ถึงขนาดฆ่าตัวตายอย่างนี้ หมาก็ทำไม่เป็น คนชนิดนี้เกิดมาเสียชาติเกิด น่าละอายหมา น่าละอายแมว น่าละอายสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมันทำอย่างนั้นไม่เป็น
นี่ขอให้สนใจคำนี้ไว้บ้าง อย่าให้ละอายแมว มนุษย์เกิดมาทั้งที ก็อย่าให้ละอายแมว เมื่อแมวมันไม่มีปัญหาที่ต้องฆ่าตัวตาย แมวนี่ ไม่ๆไม่เคยปวดหัว เราเลี้ยงไว้หลายตัว หลายปีเต็มที ไม่เห็นมันปวดหัว แล้วก็ไม่เห็นว่าแมวนี้นอนไม่หลับ แต่คนนี่กินยาทัมใจ ยาแอสไพรินกันเรื่อย แมวไม่ๆๆไม่รู้จัก แล้วแมวนี่ก็ไม่เป็นโรคประสาทนะ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ไปโรงพยาบาลประสาทกันบ่อย แต่แมวไม่เคยเป็นโรคประสาท ได้ยินหมอประกาศสถิติว่า ในประเทศไทยนี้เป็นโรคประสาทจำนวนแสน และเป็นโรตจิตจำนวนหมื่น แมวไม่เป็นสักตัวเดียว ฉะนั้นอย่าให้มนุษย์ต้องละอายแมว ช่วยกันหน่อย ช่วยกันระวังเกียรติของมนุษย์หน่อย อย่าต้องละอายแมว ใครต้องกินยาทัมใจ หรือยากล่อมประสาท หรือยาอะไร ก็ไปจัดการเสียใหม่ อย่าให้ต้องกินเลย มันละอายแมว นั่นน่ะกิเลสมันให้ผล เป็น เอ่อ นอนไม่หลับบ้าง ปวดหัวบ้าง เป็นโรคประสาทบ้าง โรคจิตบ้าง
เมื่อรู้จักกิเลสแล้ว ๓ ชื่อ ชื่อนี้ก็เป็นหัวหน้ากลุ่มน่ะ ที่จริงกิเลสมันนับได้หลายสิบชื่อ หลายร้อยชื่อ แต่ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม มันคือโลภะ โทสะ โมหะ โลภะจะเอาอย่างโง่ๆ โทสะมันก็โกรธ เมื่อมันไม่ได้อย่างที่มันจะเอา นี่ โล โมหะ เอ่อ โทสะมันโกรธ เมื่อมันไม่ได้อย่างที่มันจะเอา แล้วโมหะ มันโง่ มันหลง มันก็ทำไปผิดๆ ตามความโง่ ความหลง ถ้าจะแก้ปัญหา แล้วก็รีบดูตัวปัญหา คือดูข้างในของตัวเอง ให้รู้จักโลภะ โทสะ โมหะ จึงจะแก้ปัญหาได้ ไม่นั้นป่วยการ พูดกันสักปีหนึ่ง ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าคุณไม่พยายามที่จะรู้จักไอ้โลภะ โทสะ โมหะ เอ่อ ที่มันมีอยู่ข้างในนี่
เอ้า,ทีนี้ก็จะดูให้มันลึกลงไปสักหน่อยว่า มันเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างไร เมื่อตะกี้พูดแล้ว อย่าลืมเสียนะ ทุกสิ่งมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ไอ้ไอ้เรื่องเกิดของกิเลส เรื่องดับของกิเลส มันก็ยังคงเป็นเรื่องของธรรมชาติอยู่ดี ธรรมชาติสอนให้ อยู่ในท้องแม่ สมมติว่าอยู่ในท้องแม่ ไม่ๆไม่มีกิเลส ไม่รู้จักกิเลส แต่บางคนเขาก็จะสอนว่า กิเลสติดมาแต่ชาติก่อน ที่นี่น่ะไม่ๆไม่สอนอย่างนั้น เราไม่ว่าอย่างนั้น อยู่ในท้องแม่ยังไม่รู้จักกิเลส เอ่อ ตามคำสัตย์ของพระพุทธเจ้า ที่คลอดออกมาจากท้องแม่ ก็ยังไม่มีกิเลส จนกว่าเขาจะได้กิน ได้สัมผัส ได้ขับกล่อม ได้ทนุถนอมว่า รู้ๆรู้รสของความอร่อย เช่นว่าเขาเกิดมา พอ อายุพอสมควร ก็กินนม กินเอร็ดอร่ยอ แล้วก็ได้ความรู้ที่ธรรมชาติสอนให้ นี่คือความอร่อย ได้ความกล่อมเกลา อบอุ่น ด้วยความกกกอด หรืออะไรก็ตาม มันก็รู้ว่านี้อร่อยอร่อยทางผิวหนัง จนกว่ามนุษย์ ไอ้ๆไอ้เด็กทารกจะรู้จักความอร่อยเสียก่อน แล้วเขาก็พอใจในความอร่อยนี่ ธรรมชาติสอนให้เราเริ่มมีกิเลสประเภทโลภะ เราพออร่อยแล้วก็อยาก ในความอร่อย อยากจะมีความอร่อย ยึดมั่นในความอร่อย นี้ก็เรียกว่า อุปาทาน เมื่อมีโลภะ มี เอ่อ ความต้องการ ก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาเองว่า เรา ความรู้สึกว่าเรามันก็เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ว่ากูต้องการ
นั้นเด็กทารกเมื่อรู้จักความอร่อย สบายในทางสัมผัส ทางอะไร มันก็จะเกิดความโลภ หรือความอยากในสิ่งนั้น ธรรมชาติสอนให้ แล้วมันก็จะเกิดความรู้สึกที่ร้ายกาจที่สุด คือฉัน ตัวฉัน ตัวกู ตัวข้าพเจ้า เรียกง่ายๆว่า ตัวกู ก็แล้วกัน มันก็เกิดตามมา นั้นตัวกู เป็นเรื่องของความคิด ความโง่ รู้สึกอย่างโง่ คิดไปอย่างโง่ๆ สำคัญมั่นหมายอย่างโง่ๆ ตัวกู นี่อันนี้สำคัญมาก จุดตั้งต้นอันนี้สำคัญมาก ที่ว่าไอ้เรื่อง ตัวกู หรือตัวตนนั้น มันไม่ใช่ของจริง มันเกิดขึ้นจากความโง่ เมื่อได้รับสิ่งที่อร่อย ฉะนั้นระวังให้ดี เมื่อเราได้รับอะไรตามที่ต้องการ ตามที่กิเลสต้องการแล้ว จะเกิดความรู้สึกว่า ตัวกูได้ ตัวกูมี ตัวกูยึดครอง อะไรเสมอ และต่อไปมันจะเกิดความรู้สึกว่า ตัวกูเสียไป เพราะมีคนมาแย่งมาชิง มันก็เกิดตัวกูที่โกรธ หรือว่ามันหลงใหลในสิ่งที่อร่อยนั้น มันก็ มันเป็นตัวกูที่หลง โมหะ
นี้ธรรมชาติสอนให้ๆให้คน ให้มนุษย์ ให้คนนี่ สามารถจะมีความรู้สึกโลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาตามลำดับ ตั้งแต่เด็กเด็ก จะอายุกี่ปี ก็ๆๆรู้ไม่ได้ ไปดูเอาเองก็แล้วกันว่า ถ้าเด็กคนนั้นมันรู้สึกอร่อย ติดยึดในความอร่อย แล้วมันก็มีโลๆๆโลภะ ราคะได้ และเมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการ มันก็มีโทสะ โกรธะได้ ในสิ่งที่มันเข้าใจไม่ได้ มันก็หลงใหลอยู่น่ะ เป็นโมหะได้ นี่มันหลีกไม่พ้น เห็นไหม มันไม่มีทางที่จะหลีกได้ ที่เราจะไม่เรียนบทเรียนเกิดกิเลสน่ะ เพราะธรรมชาติมันสอนให้ แล้วมันเกิดมาตามธรรมชาติ มันเติบโตขึ้นมาตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเรา ไม่ต้องมีใครอื่นมาสอนให้ ธรรมชาติสอนให้ เราก็มีกิเลสเป็น มีโลภะเป็น โทสะเป็น โมหะเป็น แล้วก็เจริญงอกงาม ขึ้นตามตัว คือไอ้ไอ้ความโลภ ความโกรธนั้น มันก็จะตัวใหญ่โตขึ้น รุนแรงขึ้น อะไรขึ้น ตามตามชีวิตที่มันเจริญขึ้นมา เมื่อเป็นเด็กทารกน้อยๆ มันก็มีน้อยๆ เมื่อเป็นวัยรุ่น มันก็มีมากกว่า เป็นหนุ่มสาว มันก็มีเต็มที่ นี่ กิเลส ธรรมชาติสอนให้
ถ้าไม่มีความรู้สึกถูกต้อง แจ่มชัดในเรื่องนี้แล้ว ดูจะลำบาก ไอ้การที่จะเรียนเรื่อง แก้ปัญหาของชีวิต เพราะว่าปัญหาชีวิตมันมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งธรรมชาติสอนให้ แล้วก็เจริญมากมายขึ้นตามความเติบโตของร่างกาย ของชีวิตจิตใจ คนยิ่งโตเท่าไร กิเลสมันก็โตเท่านั้น ทีนี้มีกิเลสลงไปทีหนึ่ง มันก็สร้างสมกิเลสไว้ทีหนึ่ง กิเลส เรียกว่า กิเลส โลภะ โทสะ โมหะ พอมีกิเลสลงไปทีหนึ่ง มันสร้างสมความเคยชินแห่งกิเลสไว้หน่วยหนึ่ง ถือว่าเป็นคะแนนหน่วยหนึ่งก็ได้ อันนี้เราเรียกว่า อนุสัย
อนุสัย แปลว่าความเคยชินแห่งกิเลส มันอาศัยอยู่ในสันดาน นี่เรียกว่า อนุสัย กิเลสที่เก็บไว้เป็น ความเคยชิน เรียกว่า อนุสัย ทีนี้เก็บไว้มาก เก็บไว้มาก เก็บไว้มาก มันก็ ต้องมีความแรงที่มันจะดันออกมาก จะไหลออกมานี่ ไหลออกมาเป็นกิเลส ที่เมื่อมีอารมณ์อะไรออกมา ไอ้โอกาสมันก็มีกิเลสออกมารุนแรง เพราะเราสะสมความเคยชินแห่งกิเลสไว้มาก เหมือนตุ่มน้ำตุ่มหนึ่ง เราใส่น้ำลงไป มากเข้าๆๆ ไอ้แรงดันของน้ำจะออกมาข้างนอก มันก็มากเข้าๆ ตามที่เราใส่น้ำมันมากเข้า นั้นถ้ามันมีรั่วสักนิดหนึ่ง มันก็จะมีแรงดันออกมาทันที ไหลออกมาทันที เพราะมันแรงแท้
ทีนี้ตั้งแต่เกิด จากท้องแม่ เราเคยรัก เคยโลภมากี่ครั้ง มันสะสมไว้เท่านั้นหน่วย จะโกรธสักทีหนึ่ง แล้วมันก็สะสมความเคยชินที่จะโกรธไว้หน่วยหนึ่ง นี่เรามี จึงมีอนุสัยสำหรับที่จะโลภมาก มีอนุสัยสำหรับที่จะโกรธก็มาก มีอนุสัยสำหรับจะโง่ก็มาก เราโง่ไปทีหนึ่ง มันมีความเคยชินที่จะโง่ซ้ำหน่วยหนึ่ง เก็บไว้ นั้นรู้จักให้ดีๆว่ากิเลสน่ะมันมีเกิดขึ้นแล้ว ตามๆ ตามเรื่องของกิเลส แต่พอเกิดแล้ว มันไม่ใช่สิ้นสุดเพียงเท่านั้น มันๆสะสมอนุสัย หรือความเคยชินที่จะเกิดอย่างนั้นอีกไว้ หน่วยหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราจึงมีหลายร้อย หลายพันหน่วย หลายหมื่นหน่วยก็ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าว่ามันควรจะเกิด มันมายั่วให้รัก ให้โกรธ ให้อะไร เราบังคับไว้ได้ ไม่โกรธ มันก็จะลดลงไปหน่วยหนึ่ง เพราะฉะนั้นความเคยชินที่จะเกิดกิเลส มันจะเพิ่มขึ้น ถ้ามันได้ๆได้เกิด แต่ถ้ามันไม่ได้เกิด มันจะลดความเคยชินลงไปหน่วยหนึ่ง
เพราะฉะนั้นถ้าเราคอยระวังให้ดี อย่าให้กิเลสอันไหนเกิดขึ้นมาได้ ในเมื่อมัน เอ่อ มันมีอารมณ์มาสำหรับจะเกิด เช่น ของที่น่ารัก จิต เอ่อ ชีวิตจิตใจมาอยู่ต่อหน้าสำหรับจะให้รัก นี้บังคับไม่รัก ถ้าบังคับได้อย่างนี้ก็ ไอ้ความเคยชินที่จะรักมันจะลดลงไปหน่วยหนึ่ง ทุกทีๆ มันจะเพิ่มหรือมันจะลด มันก็อยู่ที่คนๆนั้น ถ้าเขาปล่อยให้กิเลสเกิด อนุสัยมันก็เพิ่มหน่วยหนึ่ง ถ้าบังคับไว้ได้ไม่ให้มันเกิด อนุสัยมันก็ลดไปหน่วยหนึ่ง นี่ไปดูของตัวเอง ว่ามันไปในทางเพิ่ม หรือว่าในทางลด ไอ้ชีวิตของเรานี้ มันเป็นไปในทางลดอนุสัย หรือเพิ่มอนุสัย
เดี๋ยวนี้ทำไมเราจึงรักเร็วนัก โกรธเร็วนัก อะไรเร็วนักกันเพราะว่าเรามันเก็บไว้มากนี่ ฉะนั้นเราไปหาวิธี ลดๆๆๆ ลงไป มันก็เกิดยากเข้า นั้นเราต้องศึกษาปฏิบัติชนิดที่ว่าไม่ให้เกิดกิเลส แล้วก็ลดอนุสัย ลดๆๆๆ จนหมด อาสวะมันก็ไม่มีจะไหลออกมา ถ้าหมดเกลี้ยงก็เป็นพระอรหันต์ ทีนี้ ถ้ายังเหลืออยู่ ก็ ก็เป็นไอ้ ต่ำๆ รองๆลงมา กระทั่งเป็นปุถุชน คนธรรมดา พอทนได้ ไม่ถึงกับเป็นบ้า แล้วก็ควบคุมมันไว้ได้ นี่คือปัญหาของชีวิต มันมาจากกิเลส แล้วกิเลสเป็นของธรรมชาติ ที่ธรรมชาติจะต้องทำให้มันเกิดขึ้น หรือเหมือนๆกับมาสอนให้เกิด หรือกฎของธรรมชาติน่ะ มาทำให้มันเกิดขึ้น นี่ตัวเราเป็นธรรมชาติ จิตใจเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกของจิตใจเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามอำนาจแห่งกฎของกิเลส เอ่อ ของธรรมชาติ มันจะเกิดนั่นเกิดนี่เรื่อยไป กระทั่งว่านี่มันเจริญด้วยกิเลส ธรรมชาติมันสอนให้ ถ้าคุณไปเรียนเรื่องกิเลส การเกิดแห่งกิเลส ก็จะได้รู้ปัญหาของชีวิต ไม่มีปัญหาชีวิตไหน ที่ไม่ที่ไม่มาจากกิเลส ไม่โลภะ ก็โทสะ ไม่โทสะก็โมหะ คุณไปดูให้ดี ที่แล้วมาแต่หลัง ก็เอามาพิจารณาใหม่ได้ และที่กำลังเป็นปัจจุบันนี่ก็ ดูให้ดีๆ อนาคตจะ เราจะควบคุมมันได้ง่ายขึ้น นี่ของที่มาให้รัก ก็อย่าโง่ไปรักเข้า มันจะเป็นกิเลส แล้วก็มีสติปัญญาพิจารณาดู ว่าควรจะทำอย่างไร หรือจะใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไร เอ่อ ถ้าจะรัก จะพอใจ คือจะมีไว้ ก็มีไว้โดยที่ไม่ต้องโง่ ไม่ต้องมีไว้ด้วยกิเลส ไม่ต้องหามาด้วยกิเลส ไม่ต้องยึดครองอยู่ด้วยกิเลส ขอให้มีไว้ หามา ยึดครองอยู่ด้วยสติปัญญา เอ่อ มีความรู้อย่างแจ่มแจ้งในธรรมะ ก็มีได้ มีบุตร ภรรยา สามี มีเงิน มีทอง มีข้าว มีของ มีอะไรได้ แต่มันไม่มีความทุกข์ เพราะไม่มีด้วยกิเลส ไอ้พวกที่มันมีด้วยกิเลส มันก็ต้องมีความทุกข์ แล้วมันก็ต้องเป็นบ้าให้อายแมวน่ะ แล้วมันต้องฆ่าตัวตายด้วยสิ่งที่มันรัก มันโลภมันเอง
เรา เรามีอะไรก็ได้ ตามที่ควรจะมี ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แต่อย่าทำด้วยความโง่ เอ่อ คือกิเลส ถ้ามีกิเลสแล้ว มันก็จะกัดเอา เหมือนกับถูกกัด มันจะเผา แผดเผาเอาเหมือนกับถูกไฟเผา กิเลส มันจะครอบงำ เหมือนกับถูกครอบไว้ใต้กะลา มันจะผูกมัดรัดรึง เหมือนกับผูกมัดไว้ด้วยโซ่ตรวนอย่างนั้น นั่นกิเลส มันมีลักษณะอย่างนั้น นั้นปัญหาชีวิตนี้ มันมีผลอยู่ตรงที่ว่า เรา เราเป็นทุกข์ ถ้าเราไม่เป็นทุกข์ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาทั้งหลาย มันไปรวมอยู่ที่ความทุกข์ ถ้าเราสบายดี ก็เรียกว่าไม่มีปัญหา ร่างกายสบายดี ก็ไม่มีปัญหา จิตสบายดี ก็ไม่มีปัญหา วิญญาณสบายดี ก็ไม่มีปัญหา ปัญหาชีวิตมีขึ้น เมื่อมันไม่สบาย คือมันเป็นทุกข์ เพราะอำนาจของกิเลส คือไม่มี นี่ถ้าว่าคนเป็นศัตรูมาแกล้ง มาหาเรื่องทำร้ายเรา แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราไม่โง่ เราไม่รู้สึกเป็นตัวตนที่ถูกอะไร ทำอัน อันตรายอะไร มีปัญญาพอ ที่เห็นว่าธรรมดาในโลก เป็นอย่างนี้เอง เราก็ไม่ต้องโกรธก็ได้ เราไม่ต้องกลัวก็ได้ เราต่อสู้กับศัตรูได้ โดยที่ไม่ต้องมีกิเลส และไม่ป็นทุกข์ ถ้ามิฉะนั้นเราจะต้องต่อสู้ศัตรูด้วยกิเลส เราก็จะเป็นทุกข์ เราก็จะวินาศ แล้วเราจะฉิบหาย วินาศกันไปทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เป็นผลดีที่ตรงไหน
สรุปว่าปัญหา คือความทุกข์ ในหลายรูปแบบ หลายทิศทาง หลายระดับ นี่คือปัญหาของชีวิต ชีวิตในที่นี้ หมายถึงชีวิตด้านจิตใจ ไม่ใช่เพียงร่างกายล้วนๆ และชีวิตนี้มันเป็น เป็นสิ่งที่เราจัดได้ เราปรับปรุงได้ ให้ไปในทางที่ไม่เป็นทุกข์ก็ได้ แม้ว่าตามธรรมชาติมันจะให้เกิดกิเลส และเป็นทุกข์ ถ้าเรารู้ธรรมะ เราก็ควบคุมมันได้ ให้ชีวิตนี้ไม่ต้องเป็นทุกข์ ถ้าชีวิตไม่เป็นทุกข์ ก็ไม่มีปัญหา ถ้าชีวิตนี้สงบเย็น โดยส่วนเดียว ก็เรียกว่านิพพาน ไม่ต้องตาย ที่เรียกว่า นิพพาน นั้นคือความเยือกเย็นแห่งชีวิตจิตใจ ไม่ใช่ความตาย คงเรียนกันมาผิดๆ ที่นั่งอยู่นี่ คงจะเรียนกันมาผิดๆ จากในโรงเรียน ที่สอนว่านิพพานคือความตายของพระอรหันต์ นิพพานไม่ใช่ความตาย ไม่ต้องตาย แล้วก็มีนิพพานได้ คือมีชีวิตมีชีวิตที่เยือกเย็น ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ เมื่อไม่มีกิเลส มันก็เป็นๆ เป็นไม่ทุกข์ เป็นนิพพาน ถ้ามีกิเลส มันก็เป็นนรก เป็นวัฎฎสงสาร เป็นไอ้ความทุกข์ นั่นมันคือปัญหาของชีวิต
ถ้าเราได้เกิดมาแล้ว มีความรู้เพียงพอ ทำชีวิตนี้ให้เยือกเย็น สงบเย็น เพื่อนมนุษย์ของเราก็สงบเย็น นี่มันก็ควรจะถือว่าหมดปัญหาแล้ว นี่ไปคิดเอง เอาธรรมะมาใช้ให้ชีวิตนี้มันสงบเย็นได้อย่างไร ไม่มีความทุกข์ ก็คือไม่มีปัญหาแห่งชีวิต ธรรมะช่วยได้ ธรรมะคือการปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ตามกฎของธรรมชาตินั่นเอง อย่าลืมความหมายที่ ๓ ของคำว่า ธรรมะ นะ ธรรมะ คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นั่นคือธรรมะ เราทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติให้ถูกต้อง ปัญหาจะไม่เกิด หรือถ้าเกิดก็แก้ไขได้ ในการทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ
มันมีหลักของธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าค้นพบ แล้วก็มาสอน ถ้าทำอย่างนี้ โลภะจะดับไป โทสะจะดับไป โมหะจะดับไป ตามกฎของธรรมชาติ แล้วก็ทำตามนั้น มันก็ดับโลภะ โทสะ โมหะ ได้ในกรณีนั้นๆ แล้วก็ดับทุกข์ได้ในกรณีนั้นๆ สามารถจะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำรอยกันอีก นี่จะทำให้กิเลสมันน้อยลง ความเคยชินแห่งกิเลสมันน้อยลง อนุสัยลดลง อาสวะก็ลดลง หรือไม่มี ไม่มีแรงดันที่จะออกมา การสะสมกิเลสไม่มี ก็ไม่มีแรงดันที่กิเลสจะออกมา ก็เรียกว่ากิเลสก็ไม่เกิด อนุสัยก็ลดลง อาสวะก็ไม่ไหลออกมา คนเราก็ไม่มีความทุกข์ นี่ที่ว่าเรื่องความลับลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ เกี่ยวกับปัญหาของชีวิต ซึ่งคนธรรมดาสมัยนี้เขาไม่สอน เขาไม่เรียนกัน เขาก็ไม่ต้องรู้เรื่องนี้ ก็แก้ปัญหาไปด้วยวัตถุ เดี๋ยวนี้มนุษย์รู้แต่เรื่องวัตถุ เห็นปัญหาเป็นวัตถุ แก้ปัญหาด้วยวัตถุ มันก็แก้ไม่ได้ ไอ้โลกนี้มันก็เต็มไปด้วยปัญหา ด้วยความทุกข์มากขึ้น จนจะเรียกได้ว่าโลกปัจจุบันนี้ไม่รู้เรื่องจิตใจ ไม่รู้เรื่องชีวิตจิตใจ เป็นปัญหาอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร เขารู้แต่เรื่องวัตถุ แล้วก็แก้ปัญหาด้วยวัตถุ กลุ้มใจขึ้นมา ก็แก้ปัญหาด้วยวัตถุ การใช้เฮโรอีนมันก็แพร่หลายสิ เพราะว่าใช้วัตถุเป็นเฮโรอีนมาดับไอ้ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ มันก็แพร่หลายจนปราบกันไม่ไหว
นี้ถ้าเราดับไอ้ความรู้สึกเป็นทุกข์นั้นได้ด้วยวิธีทางจิตใจ เพราะมันเป็นเรื่องทางจิตใจ ก็ไม่ต้องใช้เฮโรอีน ไม่ต้องกินยาปวดหัว ไม่ต้องกินยาแก้นอนไม่หลับ ไม่ต้องเป็นประสาท ไม่ต้องเป็นโรคจิต ปัญหาก็หมดไป นี่คือคำบรรยาย ต่อคำถามที่ว่า ธรรมะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของชีวิต มันก็มีอย่างนี้
นี่เวลามันก็สมควรแล้ว มัน ๑ ชั่วโมงกับ ๔๕ นาทีแล้ว ที่พูดมานี้ การบรรยายนี้ก็หยุดไว้เพียงเท่านี้ แล้วก็เป็นเวลาที่เหลือไว้ นี่สำหรับตอบคำถาม ก็เหมือนในหนังสือที่คุณยื่นมา ต้องการให้มีการตอบปัญหา เอ่อ ตอบคำถามในตอนท้าย ถ้าต้องการถามปัญหาก็ได้
ช่วงถาม-ตอบปัญหา (เสียงคำถามเบามาก ฟังไม่รู้เรื่อง จึงไม่ได้ถอดเสียง)
คำถาม
คำตอบ อะไรนะ ว่าว่าใหม่ ไม่ได้ยิน
คำถาม
คำตอบ เกิดอะไรนะ หา ถ้าเกิดทุกข์ นี่คือ คือพวกฝรั่งเดี๋ยวนี้ พวกฝรั่งเดี๋ยวนี้ไม่มีความทุกข์ หลายต่อหลายคนมาที่นี่ ไม่มีความทุกข์ เขาไม่มีความทุกข์ ทั้งที่ ที่เขาก็จะเป็นบ้าอยู่แล้ว แต่เขาไม่มีความทุกข์ นี่ก็บอกพุทธศาสนาดับทุกข์ เขาไม่มีความทุกข์ เลยเลิกกัน ไม่ต้องพูดกัน เพราะว่าเขาไม่มีความทุกข์
ถ้าคุณไม่มีความทุกข์ ก็ไม่ต้อง ไม่ต้องลำบากเรื่องศึกษาธรรมะ มันต้องมีความทุกข์ที่รู้สึก ว่าเป็นทุกข์ แล้วไม่พอใจเสียก่อน ไอ้ความทุกข์ที่เกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ ต้องรู้จักกันเสียก่อน ต้องมีความทุกข์ก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ ก็ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องพูดกัน
เดี๋ยวนี้เราคิดว่าจะสอนธรรมะลำบาก เพราะคนในโลกเขาไม่มีความทุกข์ เขามีเรื่องทางวัตถุ หามากินมาใช้ เขาแก้ปัญหาได้ด้วยวัตถุ เลยไม่มีความทุกข์ เขาเตรียมพร้อมที่จะไม่มีความทุกข์ เพราะเขามีวัตถุ แล้วก็จะแก้ปัญหาความทุกข์ เพราะเราพูดว่าพุทธศาสนาดับทุกข์ เขาก็ว่า ก็บ้า ฉันไม่มีความทุกข์ ถ้าคุณไม่มีความทุกข์ อย่ามาพูด เรื่องพุทธ เรื่องธรรมะ หรือเรื่องพุทธศาสนาเลย เพราะมันมีสำหรับจะดับทุกข์
ฉะนั้นไปรู้จักความทุกข์เสียก่อน แล้วก็ดูข้างใต้ของมัน ก็พบว่ามันมีรากเป็นกิเลส ไม่มีคำ ไม่มีความทุกข์ ก็ ก็ยังไม่ต้องตอบ กลับไปหาความทุกข์มาให้ดูไปก่อน ไอ้ที่ว่าปัญหาของชีวิต มันไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ได้เป็นทุกข์ ถ้าไม่เป็นทุกข์ จะเป็นปัญหายังไง ก็ปล่อยไปตามเรื่องอย่างนี้ ความร้อนใจ ความไม่สงบในใจ ความร้อนเหมือนกับถูกไฟชนิดหนึ่งเผา เมื่อไม่ได้อย่างใจ โดยเฉพาะ เมื่อมันไม่ได้ตามที่ตัวกูของกู มันต้องการ มันมีความรู้สึกอะไร อันนั้นแหละ มันเป็นความทุกข์ เอากันง่ายๆ เช่นว่า คุณจะต้องเป็นทุกข์ ถ้าสอบไล่ตก หรือว่ากลัวว่าจะสอบไล่ตก ก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าสอบไล่ตกจริงๆ มันก็ต้องเป็นทุกข์ ก็ดูสิมันเป็นปัญหาขึ้นมาอย่างนี้ ทำไมจะต้องสอบไล่ตก เพราะมันเหลวไหล ทำไมเราจึงเหลวไหล เพราะเราเป็น อยู่ใต้อำนาจของกิเลสมากไป ถ้าเราควบคุมกิเลสได้ เราก็ไม่เหลวไหล เมื่อเราไม่เหลวไหล เราก็เรียนดี เรียนดี เราก็สอบไล่ได้ เราไม่ต้องรู้สึกเป็นทุกข์เพราะสอบไล่ตก หรือกลัวว่าจะสอบไล่ตก
นี่ต้องตั้งต้นที่ปัญหา คือความทุกข์นะ เพราะมันไปเรียนเรื่องดับทุกข์ ถ้าไม่มีความทุกข์ ก็ไม่ต้องเรียน จะเรียนทำไมกัน ปัญหานี่ ต้องมีปัญหา มันจึงจะแก้ปัญหา ถ้าปัญหาไม่มีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา คุณมีปัญหาอะไรที่ว่าให้พูดเรื่องปัญหาชีวิต ธรรมะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาชีวิตคืออะไร
คำตอบ ..... (นาทีที่ 81.23 )
ให้โกรธอยู่บ่อยๆก็ได้ แต่ว่าเป็นความทุกข์ได้ เราบังคับความโกรธไม่ได้ เราบังคับความรักไม่ได้ มันก็มีไฟสุมศีรษะอยู่เรื่อยไป อันนี้มันควรจะถือว่าเป็นความทุกข์ หรือเป็นปัญหา ก็ดูเถอะ ใต้นั้นมันมีกิเลสซึ่งเป็นต้นเหตุ ถ้าว่าเอาต้นเหตุลึกๆก็คืออวิชชา เราขาดความรู้อันแท้จริง อวิชชา แปลว่า ปราศจากวิชา ขาดความรู้อันแท้จริงตามกฎของธรรรมชาติ อวิชชานี้จะสร้างอาการอย่างนี้ขึ้นมา ให้เราต้องเป็นทุกข์ คือเราทำไม่ถูกตามที่ควรจะทำ ก็เรียกว่าอวิชชา ก็ต้องได้รับผลเป็นทุกข์
คำถาม ..... (นาทีที่ 82.21)
คำตอบ
หะ
คำถาม .....
คำตอบ คือจะไม่เป็นทุกข์ ทำถูกตามกฎของธรรมชาติ จะไม่เป็นทุกข์ นี่อยากจะบอกให้เลยว่าที่ว่าดี ดีชั่วผิดถูก ให้ๆๆๆ ให้แบ่งกันว่า ถ้ามันไม่เกิดความทุกข์นั่นล่ะคือถูก หรือดี อย่าดีอย่างอื่น อย่าดี ดีชนิดที่ส่งเสริมกิเลส ถ้าว่าอันนี้ถูกต้อง ตัดสินอันนี้ถูกต้อง อันนั้นต้องไม่ให้เกิดความทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น ถ้าเกิดความทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่นเรียกว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ดี ถ้าถูกต้อง หรือดี เอ่อ หรือเป็นสัมมาทิฎฐิ หรือเป็นธรรมอะไรก็ตาม ต้องไม่เกิดความทุกข์ หรือปัญหาแก่ตนเองและผู้อื่น
เดี๋ยวนี้ในโลกเขาไม่ได้ถืออย่างนี้กันนี่ เขาว่าที่กูได้ล่ะดี มันถือแต่กูได้นั่นแหละดี กูได้นั่นแหละถูกต้อง มันถือแต่กันอย่างนี้ แต่ตามหลักธรรมะ เขาไม่ถืออย่างนั้น ที่ไม่ทำความทุกข์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น นั่นแหละคือถูกต้องหรือดี แต่ในโลกนี้ทั้งโลก เขาไม่ถืออย่างนั้น เขาถือว่าฝ่ายเขา หรือตัวเขา พวกเขา ได้นั่นแหละคือดี หรือยุติธรรม หรือคือถูกต้อง
ที่องค์การสหประชาชาติดูเหมือนกับว่าถือกันอย่างนี้ นั่นเขาจึงคุยกันไม่รู้เรื่อง ตกลงกันไม่ได้ เขาว่าดี หรือถูก หรือยุติธรรมน่ะ คือฉันได้ ตามที่ฉันต้องการ แต่ทางธรรมะ ทางศาสนา มันดีหรือถูกต้อง หรือยุติธรรม ต่อเมื่อไม่มีใครเป็นทุกข์ แต่ถ้าเกิดมีใครเป็นทุกข์ขึ้นมา เรียกว่าผิดแล้ว ไม่ถูกแล้ว ไม่ดีแล้ว ไม่ได้บุญแล้ว ไม่ใช่กุศลแล้ว ถ้ามันมีใครเป็นทุกข์
คำถาม ……(นาทีที่ 84.17)
คำตอบ เอ่อ มันคนละ คนละส่วนน่ะ คือว่าถ้าเราไม่รู้จักความทุกข์แล้วก็ ไม่รู้จะเรียนอะไร ไม่มีอะไรต้องเรียน ไม่รู้จักกิเลส แล้วก็ไม่รู้จักตัณหา ก็ดูสิ เมื่อเราต้องการอย่างโง่เขลา ตัวโลตัวสั่น จิตใจสั่น มันเป็นอย่างไรบ้าง นั่นน่ะคือความโลภ เมื่อไม่ได้อย่างที่เราต้องการ มีคนขัดคอ มีอุปสรรค แล้วก็โกรธ เป็นยักษ์เป็นมารขึ้นมา ถ้าใครด่าเรา เราก็โกรธ แล้วก็เรายังไม่รู้จักความโกรธอีกเหรอ
คำถาม .....(นาทีที่ 85.35)
คำตอบ อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่ามีสติสัมปชัญญะ คือว่าต้องฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นอีกระบบหนึ่ง เป็นหลักธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติเหมือนกัน ถ้าเราฝึกดีแล้ว ธรรมชาติจะสอนให้เรามีสติได้ ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะเป็นประจำอยู่แล้ว เราก็ป้องกันการเกิดแห่งกิเลสได้ พอมันมากระทบ ตากระทบหู เรามีสติพอ แล้วมันก็ไม่เกิดเป็นกิเลส
ถ้าไม่มีสติพอ อะไรมากระทบตา หูนี่ มันก็โกรธ คือรัก ไม่รัก ก็โกรธ หรือมิฉะนั้นก็สงสัย วิตกกังวลอยู่ เป็นเรื่องของสติ อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ได้พูดวันนี้ จะป้องกันกระแสแห่งกิเลสได้ด้วยสติ ในโลกนี้เขาเรียนแต่เรื่องอื่นมากเกินไป เรียนเรื่องความทุกข์ หรือดับทุกข์ ไม่ถึง ๑ เปอร์เซนต์ ในโลกนี้
นี่การศึกษาอย่างใหม่ สมัยใหม่ ปริญญายาวเป็นหาง ไม่ได้เรียนเรื่องนี้เลย ไม่ได้เรียนเรื่องไอ้ธรรมชาติ ที่ทุกข์หรือสุขนี่ เรียนเรื่องอื่นทั้งนั้น จบปริญญาแล้วเตะฝุ่นก็ไม่เป็นสมัยนี้ เรียนจบปริญญาแล้ว เตะฝุ่นก็ไม่เป็น การศึกษาที่มันเหลวแหลก จบปริญญาแล้วเตะฝุ่นไม่เป็น จะมารู้เรื่องทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องกิเลสอะไรได้
คำถาม …..(นาทีที่ 87.34)
คำตอบ อะไรเป็นเกณฑ์อะไรนะ ธรรมชาติมันเป็นของมันเอง
คำถาม
คำตอบ นั้นน่ะธรรมชาติมันเป็นของมันเอง ใครไปแต่งตั้งไม่ได้ มี แต่มีคนรู้ แล้วมาบอก ว่าถ้าจะให้ไม่เป็นทุกข์ตามกฎของธรรมชาติแล้ว ทำอย่างนี้ อย่างนี้ๆ มันจะเกิดระบบศีลธรรมขึ้นมาในโลก ระบบศาสนาขึ้นมาในโลก นั่นเขาไปเอากฎของธรรมชาติมาบอกนะ แต่ว่าน้อยคนที่จะเห็นกฎธรรมชาติ แล้วเอามาบอกได้ มันมีแต่พระพุทธเจ้าพวกเดียว
คำถาม .....(นาทีที่ 88.18)
คำตอบ เอ้า,ที่สำคัญที่สุดก็คือว่ามันต้องเปลี่ยนแปลง นี่จะมีการเปลี่ยนแปลงจนโต จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ได้ นี่ทางร่างกาย หรือถ้าเราไม่กินอาหาร หรือถ้ากินอาหารผิด มันก็มีกฎของธรรมชาติ ต้องเป็นอย่างนั้นๆ นี่ทางร่างกาย นี้ทางจิตใจ ถ้าเราทำผิด ก็คือกิเลสขึ้นมาเป็นไฟ เป็นไฟขึ้นมาในภายใน เหล่านี้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ พวกอื่นเขาอาจจะว่าพระเจ้า ตามคำ เอ่อ ตามคำบงการของพระเจ้า แต่ถ้าพุทธศาสนา หรือว่าตามธรรมชาติ หรือว่าตามอำนาจของธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราจะต้องเป็นทุกข์ ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราจะต้องไม่ทุกข์ นี่คือกฎของธรรมชาติ เอ่อ คำว่า ธรรมชาติ เป็นคำที่เข้าใจยาก
คำถาม .....(นาทีที่ 89.20)
คำตอบ เอ้า,ก็ยึดถือคำพูดเกินไป ถ้าเรา เอ่อ ถ้าว่าตามหลัก มันควร ไอ้ศีลธรรมอย่างนี้ มันเกี่ยวกับเจตนา ถ้าเรา เอ่อ พูดปดเพื่อจะเอาประโยชน์ของเขา คือผิดศีลธรรมข้อนี้ ถ้าเราพูดปดเพื่อให้เขาได้ประโยชน์ ไม่ ไม่ผิดศีลธรรมข้อนี้ ไม่ผิดเจตนารมณ์สิกขาบทข้อนี้ พูดปดให้เขาสบายใจ ก็ไม่ ไม่ ไม่ขาดศีลข้อมุสา ถ้าเราพูดปดเพื่อให้เขาเสียหาย หรือเอาประโยชน์ของเขา หรือเพื่อทำลายเขา มันจะขัดศีลธรรมข้อนี้
นี่เรื่องศีลธรรม มันมีคำว่า เจตนา เป็นใหญ่ เจตนาเป็นหลักอยู่อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นต้องดูเจตนา ว่าทำไปด้วยเจตนาอะไร ถ้าทำไปด้วยเจตนาร้าย นี่ก็เรียกว่าผิด ถ้าทำไปด้วยเจตนาดี หวังดี ก็ไม่ผิด ไม่ผิด เอ่อ ศีลข้อนี้
คำถาม …..(นาทีที่ 91.15)
คำตอบ เอ้า,ก็เรียกว่าผิด ทำให้เกิดผลเสียแก่เขา ก็เรียกว่าผิด
คำถาม
คำตอบ หา
คำถาม ถ้าเจตนาดี…(นาทีที่.91.30)
คำตอบ หมายถึงเราผู้ทำ ก็เรียกว่าไม่ผิด ถ้าเป็นเรื่องอื่นเข้ามาแทรกแซง เราเจตนาดี ไม่ผิดเกี่ยวกับศีลข้อนี้
คำถาม .....(นาทีที่ 91.43)
คำตอบ ก็ถูกแล้ว เราไม่มีเจตนาจะฆ่า แล้วก็ไม่ผิดศีลข้อนี้ ไปซื้อปลากระป๋องมากิน นี้ไม่ผิดศีลข้อนี้
คำถาม
คำตอบ ฮึ
คำถาม
คำตอบ ก็เราไม่ได้มี เราไม่ได้ผู้ เป็นผู้ทำ ไม่ได้เจตนาจะทำ ไม่ได้เจตนาจะให้เขาทำ ไม่มีเจตนาสนับสนุนนี้
คำถาม .....(นาทีที่ 92.25)
คำจอบ นั่นน่ะมันเกินไป มันเรารับผิดชอบเกินขอบเขต ถ้าอย่างนี้นะ
คำถาม
คำตอบ นี่ๆ เดี๋ยวก่อนนี่ ถ้า ถ้าพูดอย่างนี้นะ แล้วกินข้าวก็ไม่ได้แล้ว ถ้าพูดอย่างนี้ กินข้าวก็ไม่ได้ เพราะว่ากินข้าวน่ะ มี มีเป็นเหตุให้คนทำนา เป็นเหตุให้คนทำนาต้องมีการไถนา แล้วในรอยไถแดงฉานไปด้วยเลือด เพราะเราเป็นเหตุให้คนทำนา และไถนา เราไม่ควรจะกินข้าวแล้ว ถ้าเรารับรองกัน ถ้าเรายึดถือกันมากขนาดนั้น
คำถาม …..(นาทีที่ 93.05)
คำตอบ ให้มีอะไรนะ
คำถาม
คำตอบ อ๋อ รักอย่างโง่ ก็ดูเองสิ ปัญญาก็คือว่า เอ่อ ตรงกันข้ามแหละกับความโง่ ไปศึกษา คำว่า วิชชา / อวิชชา แต่ถ้า ถ้าตอบชนิดที่ผิดไม่ได้ก็คือว่า ถ้าว่าเกิดทุกข์แล้วก็ไม่มีปัญญา ถ้าไม่เกิดทุกข์แล้วก็มีปัญญา ถ้าการกระทำนั้นมันทำให้เกิดทุกข์ แล้วก็เรียกว่าไม่ถูกต้องแล้ว และไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญา มันจะไม่ทำไปในทางให้เกิดทุกข์ แก่ใครๆ คือไปรักเข้า แล้วตัวเอง เหมือนกับตกนรก มันไม่มีปัญญา ถ้าไปรัก หรือกระทำไปตามความรักที่ไม่โง่แล้ว มันก็ไม่มีใครเป็นทุกข์
คำถาม ......(นาทีที่ 94.19)
คำตอบ อ๋อ ก็คุณฟังไม่ถูกว่า เรามีความเคยชิน ที่จะเกิดโลภ เกิดโกรธ เกิดหลงมาก สะสมไว้มาก ทีนี้พอได้โอกาส ได้อะ อะไรมา ผ่านมา ก็จะมาเป็นอารมณ์สำหรับจะโลภ จะโกรธ มันก็จะโกรธเร็ว เหมือนกับว่ากระโจนออกมาตระครุบ ถ้าเรามีสติพอ มันป้องกันอันนี้ไว้ได้ ในในกรณีนี้
คำถาม
คำตอบ นี้ก็ต้อง เอ่อ ก็ต้องเป็นพื้นฐาน คือไม่ให้ ไม่ให้เกิดความโกรธ ความโลภ ความอะไรอีก ให้มันลดความเคยชินในภายในลงๆๆ นี่ทางหนึ่งนะ และอีกทางหนึ่งก็ทางปัญญา ทางวิปัสสนา ให้มองเห็นไอ้ความที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มันเป็นอย่างนั้นเอง ไปยึดถือไม่ได้ ไปยึดถือก็เป็นทุกข์ กัดเอานี่ นี่เราก็เกลียดกลัวไอ้ๆๆไอ้กิเลสน่ะมากขึ้น เกลียดความโลภ เกลียดความโกรธ ความหลงมากขึ้น มันก็จะเกิด มันก็จะออกมาได้ยากขึ้น เพราะมีอันนี้คอยนั่น คอย คอยนั่นอยู่
พูดง่ายๆว่า รู้จักเกลียดกิเลสกันเสียบ้างเถอะ มันจะลดลงไปเอง เดี๋ยวนี้เราไม่รู้จักกิเลส เราไม่เกลียดกิเลส เราก็จะมีกิเลสมากขึ้น นั้นพอเราเกิดความโลภขึ้นมาทีหนึ่ง เสียใจให้มาก เกลียดตัวเองให้มาก เกลียดกิเลสให้มาก มันก็ค่อยค่อยลดลงนี้ มีหิริโอตตัปปะให้มากๆเข้าไว้ มันจะเกลียดกิเลส เกลียดความชั่ว เกลียดการทำผิด แล้วมันก็จะเกิดยาก และถ้ากลัวด้วยก็ยิ่งดี
หิริ แปลว่า เกลียด โอตตัปปะ แปลว่า กลัว เราเกลียดกลัวความชั่ว แล้วมันก็เกิดไม่ได้ ทางวัตถุนี่ คือว่าเราไม่ชอบอ่ะ ที่ทำผิด ตกร่อง หกล้ม นี่เราเกลียด เรากลัว เราก็ระวังไว้ได้ ไม่หกล้ม ไม่ตกร่อง ไม่อะไร เอ่อ ทางจิตใจก็เหมือนกัน ต้องให้ลึกจนเกลียดกลัวการเกิดแห่งกิเลส เดี๋ยวนี้มันเคยชินกับการไม่เกลียดกิเลส และไม่รู้จักกิเลส มันก็ได้เปรียบฝ่ายกิเลสเรื่อยไป นั้นไปทบ ทบทวนเสียใหม่ เรื่องกิเลสที่ธรรมชาติสอนให้ และเป็นปัญหาอยู่เวลานี้ ไอ้ตัวเราก็ธรรมชาติ ของธรรมชาติ ไม่มีตัวเราที่จะเป็นตัวเราได้ มันของธรรมชาติ ไปตามกฎของธรรมชาติ พระพุทธ เอ่อ พุทธศาสนาถือว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตนของเราที่อยู่ในอำนาจของเรา คือจิตนั้น แม้แต่จิตเองมันก็เป็นธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้จิตมันโง่ขึ้นมา สร้างความรู้สึกว่าตัวเรา ตัวกู ขึ้นมา นี้เป็นความโง่ของจิตเอง ปัญหามันก็ไม่สิ้นสุด ถ้าจิตมันไม่หลงเป็นตัวเรา ไม่ไม่ได้มีกิเลสเกิด มันก็ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความทุกข์ตลอดไป จนกว่าจะถึงวาระสุดท้าย คือสังขารมันดับ ร่างกายนี้มันดับ จิตก็พลอยดับไปด้วย เพราะมันไม่ไม่มีที่ตั้ง แปลว่าไม่มีความทุกข์เลยไปจนตาย จนกระทั่งตาย ไม่มีความทุกข์เลย
คำถาม … (นาทีที่ 98.26)
คำตอบ นั้นแหละ มันๆมันเป็นคำพูด มันเป็นเรื่องของคำพูด ที่จริงตัวเรามีตัวเดียว จะให้เป็น ฝ่ายทุกข์ และฝ่ายดับทุกช์ นี่มันก็เลยน่าขัน จิตเมื่อมีดวงเดียว นี่มันเป็นทุกข์ด้วย แหละดับทุกข์ด้วย มันก็ฟังยาก มันมีเป็นธรรมชาติอย่างนั้นเอง คือว่าจิตเป็นธรรมชาติ แล้วมันก็ได้รับความรู้ความอะไรมากขึ้นทุกทีๆ ตั้งแต่เกิดมา มันก็รู้สึกสุขและทุกข์ มันก็เข็ดหลาบในฝ่ายที่เป็นทุกข์ มันก็ไม่อยากจะให้มีอีก แล้วจิตมันก็เจริญขึ้นไปในทางที่จะ ไม่มีทุกข์ จะดับทุกข์
แต่ถ้าเผอิญมันตรงกันข้าม มันก็โง่ลง โง่ลง เมื่อมีความทุกข์มาก ก็แล้วแต่คนไหนจะเป็นอย่างไร ก็บอกว่ามีแต่จิต ไม่มีตัวตนล่ะ ความคิดแบบตัวตนเพิ่งเกิดเมื่อได้อร่อยไอ้สุขเวทนามากมาก คืออยากมีตัณหามากๆ มีตัณหามากแล้วจะต้องเกิดอุปาทาน คือว่าตัวเรา ตัวกูผู้อยาก ผู้ต้องการ ผู้ได้ ผู้ไม่ได้ นี่เป็นของลมลมแล้งแล้ง ความรู้สึกที่เพิ่งเกิดหลังจากความอยาก ความอยากนั้นเป็นความอยาก นความโง่ ปัญหาก็เลยมี
มันมีแต่จิต ที่จะเป็นไปตามการปรุงแต่งของสิ่งแวดล้อม หรือตาม ไอ้ความรู้ที่จิตมันได้สะสมขึ้นมา สะสมขึ้นมา แข่งกันกับไอ้กิเลส ฝ่ายกิเลส ถ้าฝ่ายกิเลสเหนือกว่า ไอ้ฝ่ายไอ้ดับทุกข์ก็พ่ายแพ้ คนก็มีความทุกข์ เมื่อจิตมันสะสมฝ่ายปัญญา ฝ่ายความรู้ได้มากกว่า เหนือกว่าฝ่ายกิเลส ฝ่ายกิเลสมันก็หลบหนีไป อยู่ด้วยปัญญา มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ก็ไม่มีความทุกข์ ตรงกันข้าม มีชีวิตอยู่ด้วยกิเลส คือไม่มีปัญญา ก็ต้องเป็นทุกข์
ถ้าจับคู่กันว่า กิเลสกับโพธิ ไอ้โพธิน่ะคือปัญญา กิเลสก็คือโง่ ถ้าโพธิเป็นเจ้าของจิต จิตนี่ก็ชนะกิเลส ถ้ากิเลสเป็นเจ้าของจิต ไอ้โพธิก็หนีไป จิตก็ทำไปตามอำนาจของกิเลส ฉะนั้นไอ้ความเคย เอ่อ เคยผ่านมามากๆของจิต ก็ทำให้จิตอยากจะเป็นไปในทางที่...มีโพธิ หรือชนะกิเลส นั้นที่เราอบรม ศึกษาเล่าเรียน ก็เพื่อให้โพธิมัน มันงอกงาม มัน ให้ฝ่ายกิเลสมันลดลงไป
โพธิสัตว์เราทุกคนเป็นโพธิสัตว์กำลังปลูกต้นโพธิ์ ถ้าสำเร็จ ก็ชนะกิเลสได้ ถ้าไม่สำเร็จ กิเลสก็ ขึ้นมา ต้นโพธิ์ก็ไม่มี ไปดูความทุกข์จริงๆ ไปดูตัวปัญหาจริงๆ ไปดูข้างใต้นั้นมันมีอะไร ข้างใต้นั้นมันมีกิเลส ทำอย่างไรมันจึงจะไม่เกิดกิเลส หรือว่าจะมีธรรมะ
นี้พวกฝรั่งเขาไม่มีความทุกข์ เราก็บอกไม่มีเรื่องจะพูด หมด เชิญกลับ คุณไม่มีความทุกข์ ก็เชิญกลับ เขาคิดว่าเขาจะแก้ปัญหาด้วยวัตถุหมด ไอ้ความรู้ เทคโนโลยี อวกาศ ปรมาณู เขาจะแก้ปัญหาหมด โดยไม่ต้องอาศัยธรรมะ พูดกันไม่รู้เรื่อง แต่เดี๋ยวนี้ก็ดูเถอะ ไอ้ความรู้เหล่านั้นไม่ได้แก้ปัญหา เพิ่มปัญหา เพิ่มความทุกข์ให้โลก
เมื่อครั้งวันอาทิตย์ที่ผ่านไป ปาฐกถาทางวิทยุ ฟังหรือเปล่า ใม่ใช่ วันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือน เอ่อ ปาฐกถาที่นี่ส่งไปออกวิทยุประเทศไทย เราบอกว่า ไอ้ ไอ้ความรู้ทางปรมาณู เอ่อ คือความรู้สำหรับสร้างโลงไว้ใส่โลก ปาฐกถา ความรู้ปรมาณูที่กำลังเจริญนี่ คือความรู้สำหรับสร้างโลงไว้ใส่โลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ความรู้เทคโนโลยีทั้งหลาย ก็คือขุดหลุมฝังมนุษย์ลงไปใต้วัตถุนิยม ความลุ่มหลงในวัตถุ
ความรู้เรื่องอวกาศ จรวด พวก พวกอวกาศทั้งหลาย ที่หวังว่าจะมีสร้างสันติภาพ เขาว่าจะช่วยสร้างสันติภาพ มันโกหก ได้รับสันติภาพนิดเดียว เหมือนกับว่าขี่เครื่องบินไอพ่นจับตั๊กแตน ผลมีเท่านั้นน่ะ พูดไปเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว ทางวิทยุ เวลา ๘ โมง โดยหัวข้อว่า การลงทุนของมนุษย์นี่ยัง ไม่ได้ผลคุ้มค่า ลงทุนมากเหลือเกิน เรื่องอวกาศ เรื่องเทคโนโลยี เรื่อง กระทั่งเรื่องศึกษา เรื่องอะไรต่างๆ ลงทุนมากเหลือเกิน แล้วไม่ได้ผล คือว่าในโลกนี้มีความทุกข์มากขึ้น แทนที่จะมีสันติภาพมากขึ้น มีความทุกข์มากขึ้น
ถ้าเรามีธรรมะ เราก็รักผู้อื่น ปัญหาก็ไม่เกิด ไม่ต้องรบราฆ่าฟัน ก็ไม่ต้องมีสิ่งเหล่านี้ ไอ้ความรู้เรื่องอวกาศ เรื่องปรมาณู เรื่องเทคโนโลยี ไม่ต้องมี เพราะเราไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้สร้างเครื่องมือเหล่านี้เพื่อจะทำลายศัตรู ความรู้เรื่องอวกาศนี่ เพื่อทำลายศัตรู ความรู้เรื่องปรมาณู เพื่อทำลายศัตรู อะไรๆก็ล้วนแต่เพื่อทำลายศัตรู ก็แปลว่าเราสาละวนกันอยู่แต่ที่จะทำลายศัตรู ทำ ทำความทุกข์ให้มีขึ้นในโลก
คำถาม ....(นาทีที่ 105.51)
คำตอบ หา
คำถาม
คำตอบ เอาน่า รักผู้อื่นก็แล้วกัน ให้รักผู้อื่น
คำถาม ....(นาทีที่ 106.06)
คำตอบ นั้นมันก็บอกหน่อยสิ ถ้าคุณรับ คุณรับผิดชอบขนาด ขนาดนั้น ข้าวก็อย่ากินเลย เพราะมันก็ฆ่าสัตว์เหมือนกัน
คำถาม ......(นาทีที่ 106.26)
คำตอบ เอ่อ ชาวประมง เขาก็ พูดได้เหมือนกัน เป็นอาชีพ ถ้าอ้างอาชีพ เดี๋ยวนี้การทำนา มันฆ่าสัตว์นะ การไถนา ไปดูเสียบ้างอ่ะ ถ้าไม่เคยเห็น ไปดูเสียบ้าง ไปดูในรอยไถที่ไถนา ไถไถด้วยควายก็ได้ ไถด้วยเครื่องจักรก็ได้ ในรอยไถจะมีสัตว์ตายมากกว่าฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ทีละตัวเสียอีก มันปูบ้าง ปลาบ้าง งูดินบ้าง อะไรบ้าง แดงฉานด้วยเลือด รอยไถ ถ้ามีการไถนา ก็ต้องมีการฆ่าสัตว์มาก นั้นเราเป็นเหตุให้เขาต้องไถนา เราก็ต้องรับผิดชอบด้วย
ตำถาม …..(นาทีที่ 107.15)
คำตอบ อ่ะนี้นี้หมายถึงว่าบาป ถ้าถือว่าเป็นบาป ก็บาปเหมือนกัน ถ้าเรารับผิดชอบว่าบาป ถ้าเราขยายไอ้ความรับผิดชอบออกไปมากกว่าศีลธรรม โดยหลักของศีลธรรม เขาไม่ๆไม่ปรับให้คนกิน ไอ้สิ่งที่มีขายตามปรกติเขาว่ามันไม่บาป เพราะเราไม่มีเจตนา แต่ถ้าเราเจตนาจะไปซื้อปลามากๆ ก็ควรจะบาป ก็ควรจะ ก็ควรจะผิดศีลข้อนี้แต่ใครจะไปเจตนาถึงขนาดนั้น
คำถาม ….(นาทีที่ 108.02)
คำตอบ ก็ๆๆ ข้อ ๓ ธรรมะข้อ ๓ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะ หน้าที่คือธรรมะ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ คือธรรมะ พอเราไปทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ก็คือว่าประพฤติธรรมะแล้ว เช่น หาข้าวกิน ก็เป็นประพฤติธรรมะ หรือว่าจะอาบน้ำ ก็เป็นการประพฤติธรรมะ
หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ทำให้ดีหมด หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ต้องหาเลี้ยงชีวิต และเมื่อเราทำการหาเลี้ยงชีวิตโดยสุจริต โดยถูกต้อง ชื่อว่าเราทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ นั้นคือการประพฤติธรรมะ เราควรจะพอใจ ควรจะนับถือตัวเอง เมื่อได้ทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ แล้วก็ควรจะนับถือตัวเอง ก็เรียกว่า ปีติ มีปีตีในตัวเอง มีความสุข เพราะว่าได้ธรรม ธรรมะ ประพฤติธรรมะ เพราะฉะนั้นเมื่อได้ทำหน้าที่ของมนุษย์แล้ว ขอให้พอใจ ยกมือไหว้ตัวเอง
คำถาม .....(นาทีที่ 109.30)
คำตอบ นี่เราก็ไปสอนให้เขารู้จักกิเลส เขาก็กลัว เขารู้จักกิเลสแล้ว เขาไม่ทำ เขาเกลียด เขากลัว
คำถาม ......(นาทีที่ 110.06)
คำตอบ นั้นน่ะเพราะความเคยชินมันมีมาก เพราะเราสร้างธรรมะให้มาก เอ่อ สร้างความกลัวให้มาก ให้เกลียดกิเลสให้มาก ให้ทันกัน เพราะมันไม่ได้เจ็บปวดเหมือนกะ เอาไม้ไปเฆี่ยนหรือว่า มันเจ็บปวดละเอียดลึกซึ้ง เรื่องของกิเลส คนธรรมดาก็มองไม่เห็นเป็นความเจ็บปวด เมื่อนั่งร้องไห้อยู่ ผิดหวัง นั่งร้องไห้อยู่ เขาเห็นเป็นเรื่องสนุก ไม่ได้เป็นเรื่อง ทุกข์ทรมาน ไม่เข็ดหลาบ รู้เรื่องความทุกข์ เห็นความทุกข์ รู้จักความทุกข์ แล้วเกลียดกลัวความทุกข์ กิเลสจะซาไป เดี๋ยวนี้ความทุกข์ไม่มี คนสมัยนี้ความทุกข์ไม่มี เอาเฮโรอีนมามาดับเสีย ความทุกข์
ตำถาม .....(นาทีที่ 111.30)
คำตอบ ก่อนเขาดับทุกข์โดยการควบคุมกิเลส เดี๋ยวนี้ดับทุก์โดยไปซื้อเฮโรอีนมาสูบ ให้ให้ไม่รู้สึกตัว เสร็จแล้วมันก็จะเพิ่มทุกข์มากขึ้น จนต้องใช้เฮโรอีนมากขึ้นๆ แล้วก็ฉิบหายกันหมด
คำถาม …..(นาทีที่ 112.08)
คำตอบ นี่อ่ะคือปัญหา นั่นน่ะคือปัญหาแหละ นั่นน่ะคือปัญหา และนั่นน่ะคือความเป็นปุถุชน เราก็ออกมาจากปุถุชนไม่ได้ นั่นน่ะคือความเป็นปุถุชน แล้วเราก็ไม่อยากจะออกจากความเป็นปุถุชน เพราะเราไม่รู้จัก เราไม่รู้จักว่าเราถูกครอบ หรือขัง หรือมัด หรืออะไรอยู่ เราก็ไม่ไม่นึกถึงความหลุดพ้น พุทธศาสนาต้องการให้หลุดพ้น เราก็ไม่มี ปัญหาเรื่องหลุดพ้น เพราะเราไม่รู้สึกว่าเราถูกผูกมัด ถูกักขัง ถูกหุ้มห่อ ถูก
วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อเราไม่รู้สึกว่าเรากำลังอยู่ในสิ่งเหล่านี้ เราก็ไม่ฝันถึงความหลุดพ้น ปัญหาชีวิตนั่นน่ะคือสิ่งที่ เอ่อ...
คำถาม .......(นาทีที่ 113.30)
คำตอบ ไอ้คำว่า ดี หรือ ไม่ดี นี้ ไม่ ไม่แน่ ทุกข์หรือไม่ทุกข์ดีกว่า ถ้ามันเป็นทุกข์ มันจะแน่ ไอ้ดี นี่มันก็เป็นคำที่กำกวม เป็นทุกข์อยู่เต็มที่ ว่าดีก็มี ใช้คำว่า ทุกข์ หรือ ไม่ทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ เราไม่ชอบ ก็คือพยายามที่จะดับทุกข์ เช่น ไปเกิดเป็นเทวดานั่นน่ะ พวกหนึ่งก็ว่าดีนะ อีกพวกหนึ่งว่าบ้านะ เกิดในสวรรค์วิมานนี่ เต็มไปไอ้ของพอใจนี้ พวกหนึ่งก็ว่าดี ต้องการกันมากที่สุด แต่พวกที่สูงกว่านั้น เช่น พวกพรหม ว่านั้นบ้า ว่าเรื่องนั้นมันเรื่องบ้า ไม่ต้องการ แล้วคุณจะเอาดี มาเป็น วัดอะไรได้ พวกนั้นว่ามันเป็นทุกข์ เสวยกามารมณ์อยู่ในสวรรค์วิมานของเทวดา คือความโง่ ความหลง ความหลงใหลในอารมณ์ ก็ว่าบ้า ไอ้พวกข้างล่างนี้ว่าดี อยากจะไปเกิดในสวรรค์กันทั้งนั้น พวกที่อยู่ข้างล่าง เพราะว่ามี เขาก็บอกว่ามี มีกามารมณ์เต็มที่ แต่พวกที่อยู่ข้างบนโน้นว่าบ้า ไอ้เรื่องนี้เรื่องบ้า
เอ้า,อีก ๓ นาทีปิด นี่ มีปัญหาอะไรว่าเสียเร็วๆ
คำถาม ….(นาทีที่ 115.15)
คำตอบ ฮะ
คำถาม
คำตอบ อ๋อ เรียนน่ะเรียนจริง แต่ไม่รู้ เรียนจนตัวจะเป็นบ้า แล้วมันไม่รู้ ไม่รู้จักทุกข์ ที่เรียนนี่ยังไม่รู้จักทุกข์ เรียนชีวิต ก็ยังไม่รู้จักทุกข์ มันก็เลยไม่เกลียดทุกข์ ไม่กลัวทุกข์ มันเรียนกันเหลือเกินน่ะเดี๋ยวนี้ แต่ไม่รู้ ไม่รู้ความจริง ไม่รู้ถึงปัญหาโดยแท้จริง
คำถาม .....(นาทีที่ 116.00)
คำตอบ ไอ้นั้นมันๆมันอาจจะคิดอย่างนั้นได้ คือเรารู้แล้ว แต่เราละมันไม่ได้ แต่ว่าไอ้ทางธรรมะ เขาถือว่ายังไม่รู้จริง ยังไม่ถึงขาด ขนาดที่เรียกว่ารู้จริง ถ้ารู้จริง แล้วก็มันจะดับของมันเอง โดยอัตโนมัติ เสร็จแล้วมันจะเกลียดทุกข์กิเลสเหมือนกับผี ถ้าเรารู้จักว่าผีล่ะมันหนีไปเลย ถ้ายังไม่รู้จัก มันหลอกเราเรื่อย ผีนี่
คำถาม .....(นาทีที่ 116.32)
คำตอบ ไม่ใช่ต้องรู้ มันรู้ทีเดียว มันรู้อย่าง อย่างเผาผลาญ รู้อยู่ ไม่ใช่ต้องรู้หรือต้องพยายามรู้ ถ้าอย่างนั้นคือยังไม่รู้ ถ้ามัน มันเผาอยู่ ... (นาทีที่ 117.15)... มันเกินรู้ซะอีก นั่นเราก็ทนไม่ได้ เราก็ต้องหาทางดับมัน ต้องขวนขวายดับมัน เดี๋ยวนี้เราเรายังไม่รู้จักความทุกข์ถึงขนาดนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความได้ ความเสีย ความแพ้ ความชนะ เรายังไม่มองเห็นว่าเป็นทุกข์ ถ้าเราเห็นว่าเป็นทุกข์ แล้วมันจะหยุดเองทันที โดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับผี พอเรารู้ว่านี้ผี มันก็หนีเองล่ะ หยุดหลอก ถ้ายังไม่รู้ มันหลอกเรื่อย นี่คือกิเลส ผีคือกิเลส กิเลสคือผี
เอ้า, หมดเวลา เชิญกลับ เอ่อ พบท่านวรศักดิ์แล้วหรือ ตกลงแล้วหรือ พยายามใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด แล้วหวังว่า