แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
(เสียงคนพูด)ในบทธรรมทายาทสูตรนี้กระผมคิดว่าถ้าได้มีบทสวดแปลเพื่อความจำอย่างที่เราสวดบทต่างๆเพื่อในบาลีตอนหนึ่ง ภาษาไทยตอนหนึ่งเพื่อความทราบซึ้งก็จะดีกับผม
(เสียงท่านพุทธทาส) หรือ เอามาทำเป็นบทสวดมนต์แปลมันก็ง่าย มันก็ไม่ยากก็มีอยู่แล้วที่เป็นมหาเปรียญก็มีอยู่หลายองค์ทำได้ ดูตัวอย่างไอ้บทสวดแปลที่ทำกันขึ้นไว้แล้วเป็นบทสวดมนต์แปลสำหรับคณะธรรมทายาท แปลให้ แปลกินใจให้หยดย้อยกินใจเหมือนกับคำขอร้องอ้อนวอนของพระองค์ ดีลองทำดู มีปัญหาอะไรอีก
(เสียงคนพูดเบามาก 1:25)
(เสียงท่านพุทธทาส) ว่าดังๆ
(เสียงคนพูดเบามาก) เรื่องเกี่ยวกับว่าจิตว่างครับ ที่สงสัยมานานพอสมควร ที่ทางนักอภิธรรมเขาค้านว่าจิตนี้ปกติไม่ว่าง เพราะว่าถ้าจิตว่างแล้วสัตว์ก็อยู่ไม่ได้ เพราะจะเกิดมาอาศัยหนทางมีมา แต่ว่าตามมติของพระเดชพระคุณผู้มีปัญญาพอฟังดูรู้สึกว่าพระคุณ พระเดชพระคุณมีกรรมเรื่องจิตว่างเป็นปกติที่อาศัยพุทธภาษิต …
(2:05 – 2:07.4 เสียงเบามากฟังไม่ออก) ที่ว่าจิตว่างนั้นหมายถึงว่างในลักษณะไหน
(ท่านพุทธทาส) ว่างจากความคิดว่าตัวกูว่าของกู ถูกแล้วน่ะจิตนี้มันจะว่างจากความรู้สึกคิดนึกไม่ได้ แต่ถ้าความรู้สึกคิดนึกนั้นไม่มีความหมายเป็นตัวกูของกู หรือ ว่างจากตัวกูของกูอย่างนี้เราเรียกว่าจิตว่างตามพระพุทธภาษิต เรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องสำคัญแต่มันก็ยืดยาวผมก็คิดว่าจะพูดเหมือนกันในวันหลังๆน่ะจะพูดให้เข้าใจเรื่องจิตว่างจิตที่ไม่ยึดมั่นถือไม่ไม่ไม่จับฉวย อะไรจิตที่ไม่ไปจับฉวยเอาอะไรนี่เรียกว่าจิตว่าง ถ้าไปจับฉวยอะไรเป็นตัวกูของกูมันก็ไม่ว่างไม่ว่าจะคิดนึกอะไรก็ได้คิดนึกไปในทางที่จะไม่เกิดตัวของกู ความคิดนึกนั้นก็จะดับกิเลส จะทำลายกิเลสจะไปสู่จุดจบคือพระนิพพาน เรียกว่าว่างอย่างยิ่งคือพระนิพพาน เมื่อจิตไม่ยึดถืออะไรเรียกว่าจิตว่าง คิดนึกอะไรก็ได้แต่ไม่เป็นการยึดถือว่าตัวตนว่าของตนก็แล้วกัน อย่างนี้ก็จิตว่าง จิตว่างนี้จะทำงานได้ดี จะทำอะไรได้ดี จะรู้อะไรได้ดี มีประโยชน์ที่สุด เอาละเอาไว้พูดกัน เมื่อถึงตอนนี้ก็ดีกว่า มันยาวนักมันต้องพูดเป็นเรื่องหนึ่งเลย เอ้า,มีปัญหาอะไรอีก จิตว่างเป็นปัจจัยให้ทำการงานสำเร็จไม่ว่าการงานอะไร
(เสียงคนพูดเบามาก 4:12-4:41) ที่พระเดชพระคุณว่า ถ้าเป็นธรรมทายาท...
(เสียงท่านพุทธทาส) ก็ได้เหมือนกันนะ ผมจะลองพยายามแต่อย่าเอาเร็วนัก ผมมันมีนิสัยทำอะไรเร็วไม่ได้ มีปัญหาอะไรอีกที่มันเกี่ยวกับเรื่องนี้สิ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังพูดได้ยิ่งดี เรื่องอื่นไว้คราวอื่น
(เสียงคนพูดเบามาก 5:10) …การปรับตัว...
(เสียงท่านพุทธทาส) มันก็บอกอยู่แล้วงานอุดมคติของงาน งานวางแผนงานโดยมีอุดมคติ อุดมคติของงานก็หมายความว่าไอ้งานนั้นมันดีอย่างไร มันจะนำไปให้ถึงจุดสูงสุดอย่างไร อุดมคติเป็นคำที่ผูกกันขึ้นมาใช้ หมายถึงจุดสูงสุดของความคิด ที่มันจะมีประโยชน์ที่สุด นึกที่เป็นบาลีเดิมๆไม่ออก แต่คำว่าอุดมคตินี้ก็เป็นภาษาบาลีเหมือนกัน เป็นคำที่ผูกกันขึ้นมา ทางให้ถึงหรือเครื่องให้ถึงซึ่งไอ้อุตมะสูงสุด อุดมที่สุด ตั้งแต่แผนแนวความคิดที่จะให้ถึงไอ้จุดสูงสุดนั่นแหล่ะเขาเรียกว่าอุดมคติ เป็นแนวแห่งความคิดทุกอย่างควรจะให้มีอุดมคติไม่ว่าอะไร อุดมคติตามเรื่องของมันน่ะ มันมีแนวคิดด้วยการกระทำให้ไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไรแนวนั้นเราเรียกว่าอุดมคติ ใช้กับชีวิตเป็นเรื่องใหญ่แต่แม้เราจะทำงานเล็กๆน้อยๆก็ขอให้มันมีอุดมคติ เป็นความรู้ความคิดที่ไม่เฟ้อ ถ้าเฟ้อก็ไม่เรียกอุดมคติ ดีเกินไป อุดมคติของพุทธศาสนา อุดมคติของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ไปคิดดูเองสิ ไปคิดดู คิดให้มัน จนมองเห็นว่าอุดมคติของพุทธศาสนา อุดมคติของการบวช อุดมคติของที่เราทำอยู่นี้มีอะไรบ้าง ก็ไปพบอุดมคติของมันเสียให้หมด คือแนวที่ไปจะถึงจุดหมายปลายทางมันมีอยู่อย่างไร รวมทั้งที่ว่าเมื่อได้ทำกันมาแล้วมันจะดีอย่างไร มันเป็นความคิดระบบใหม่คือเมื่อรู้จักคิด รู้จักนึกกันขึ้นมากแล้วมันจึงเกิดการคิดอย่างนี้แล้วก็คำใหม่ๆอย่างนี้ขึ้นมา
(เสียงคนพูด 8:50) คำว่าจึงพลั้งก็จึงเห็น ก็ฟังมานานแล้วเป็นคำที่ไม่สามารถที่จะกระทำไปได้ แต่อันนี้ในอีกความหมายของพระเดชพระคุณหมายถึง....
(เสียงท่านพุทธทาส) อ้อไม่ได้ ไม่ไม่ใช่หรอกหมายความว่าคนในโลกปัจจุบันนี้ส่วนมากมันอยู่ในสภาพที่เหมือนกับช้างที่จะจูงให้รอดรูเข็ม คือความที่มันไม่ไปมันต่อต้านน่ะ มันยากลำบากแก่ผู้จูงเทียบเท่าเทียบเท่าจูงช้างรอดรูเข็ม ชวนคนให้ทิ้งอบายมุขทั้งนั้นน่ะ แม้แต่เพียงให้ทิ้งบุหรี่เท่านั้นน่ะ บางทีมันก็ยากเท่ากับจูงช้างรอดรูเข็ม ไม่ต้องอะไรมากกว่านั้น เป็นการเทียบเป็นมาตราเทียบความยากจูงนายทุนไปหาพระเจ้าพระเยซู พอจูงนายทุนไปหาพระเจ้าเหมือนกับจูงอฐูรอดรูเข็ม
(เสียงคนพูด นาที่ที่ 10.15) แต่ว่าผมจะถามอีกนิดหนึ่งคือเกี่ยวกับเรื่องหัวใจพระศาสนา คือในระบบหนึ่งว่า โอวาทปาติโมกข์เป็นหัวใจพระศาสนาแต่ในหลักมีคนว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ก็เป็นหัวใจพระศาสนา อริยสัจ ๔ โดยมีคำของพระอัสชิที่ตอบพระสารีบุตรก็หัวใจศาสนา ไม่ทราบว่าเอาอย่างไรดี
(เสียงท่านพุทธทาส) นั่นน่ะมันมีให้มากเผื่อเลือกควรจะพูดกับใครว่าอย่างไรเลือก เดี๋ยวนี้ผมชอบพูดกับคนข้างหลังว่าหัวใจพระพุทธศาสนามีสามพยางค์ “เช่นนั้นเอง” เช่นนั้นเองนี่คือหัวใจพุทธศาสนา แกยึดถือไม่ได้ถ้าแกไปยึดถือก็แล้วจะต้องมีความทุกข์มันเช่นนั้นเอง ตถาตา ย่อมาจาก อิทัปปัจจยตา ความที่มันต้องเป็นไปตามปัจจัยอย่างนั้นอย่างนั้นน่ะเรียกว่าเช่นนั้นเอง ตถาตา อวิตถตา อนัญญถตา ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา อิทัปปัจจยตา คำไหนก็ได้เป็นหัวใจพุทธศาสนา นี่ก็จะต้องพูดกันเหมือนกันแหละ ผมคิดอยู่น่ะว่าจะพูดถึงคำว่าหัวใจพุทธศาสนาน่ะ เราจะต้องรู้ไว้อย่างรอบรู้เพื่อไปบอกเขา บอกคนประชาชนน่ะอะไรเป็นหัวใจพุทธศาสนา ไม่ต้องบอกตรงกันว่าโอวาทปาติโมกข์หรืออะไร ไม่ต้องบอกตรงกัน บอกคนนี้อย่างบอกคนโน้นอย่างบอกคนนั้นอย่างก็ได้ ขอให้เขาเข้าถึงหัวใจพุทธศาสนาคือไม่ยึดถือมั่นอะไร แล้วก็ไม่เป็นทุกข์ก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้คำว่าเช่นนั้นเองดูได้ปรากฎได้รับประโยชน์มาก ไอ้คนที่เขาเขาตอบจดหมายเรื่อยมานี่เขาว่าเขาได้รับประโยชน์จากคำว่าเช่นนั้นเองมากที่สุด หยุดร้องไห้ หยุดหัวเราะ หยุดกลัว หยุดอะไรได้ ถ้าเช่นนั้นเองแล้วมันก็ไม่ต้องยินดียินร้าย เช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรที่จะไม่เช่นนั้นเองพระนิพพานก็เช่นนั้นเองตามแบบของพระนิพพาน บุญ บาป กิเลส ความทุกข์ อะไรมันก็เช่นนั้นเองไปตามแบบของมัน เราอย่าไปดึงเอามาให้มาเป็นตามความประสงค์ของเรามันทำไม่ได้ เมื่อเราไม่อยากจะเป็นทุกข์ ก็เราก็ทำให้ถูกต้องตามคำว่าเช่นนั้นเองของความทุกข์ เช่นนั้นเองของความทุกข์ ไม่ต้องยินดียิน้รายมันมันเช่นนั้นเองนี่ ธรรมะมีความเป็นเช่นนั้นเอง ทุกข้อของธรรมะเราเลือกเอาให้ถูกก็เรื่องของเรา ถ้าจะเอามาใช้นะถ้าต้องการหาประโยชน์อะไรชนิดไหน ก็เลือกเช่นนั้นเองไอ้ของไอ้สิ่งนั้นมา ทำให้ถูกต้อง
(เสียงคนพูด 13:40) หลวงพ่อครับ ผมมีความสงสัยเป็นอย่างมาก การมีบารมี ๑๐ ทัศ ของพระพุทธเจ้านี่ความจริงต้องข้ามภพข้ามชาติหรือเปล่าครับ คือว่าผมเห็นในปัจจุบันนี้
(เสียงท่านพุทธทาส) ไอ้ข้ามภพข้ามชาติอะไรกันล่ะเราทำเดี๋ยวนี้แหละ ทำเดี๋ยวนี้ได้ผลเดี๋ยวนี้ ปฏิบัติชนิดที่ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอกาลิโกลองทำดูไม่ว่าอะไรทำทำลงไปเถอะมันจะมีผลขึ้นมาเป็นอกาลิโก ส่วนข้างหน้าในชาติหน้าชาติต่อไปนั้นก็ไม่เป็นไรแล้ว ถ้าชาตินี้มันดีถูกแล้วมันก็ถูกไปหมดน่ะ ไว้ให้เป็นหน้าที่ของธรรมะมันถูกของมันเอง เราที่นี่และเดี๋ยวนี้ทำให้ถูกต้อง แล้วก็มีผลขึ้นมาทันทีได้รับผลเสวยผลกันต็มที่ ชาวบ้านเขามักจะค่อยเอาผลชาติหน้านี่ มันเลยไม่ค่อยได้อะไรชาตินี้ ทำบุญเอาผลชาติหน้าแล้วชาตินี้จะเอาอะไรล่ะเพราะแกก็ไม่ได้คิดจะเอา ไม่ตั้งใจจะเอา นั่นให้ทำให้ถูกให้ได้ผลที่นี่เดี๋ยวนี้กันก่อนเถอะแล้วก็ชาติหน้าไม่ต้องกลัวมันจะได้ของมันเองถ้าผิดก็ผิด ถ้าถูกก็ถูกทีนี่ทำให้มันถูกอย่าให้มันผิด
(เสียงคนพูดเบามาก 15:25) ขออนุญาตที่ว่า...ก้าวจะไปสู่นิพพาน ก้าวไปสู่นิพพาน การงานที่เราจะไปสอนชาวบ้านเขาว่าการจะก้าวไปสู่นิพพานยังไม่ค่อยจะแจ้ง….
(เสียงท่านพุทธทาส) ไปศึกษาดูว่าธรรมะข้อธรรมะมันมีอะไรบ้างนะ เปิดธรรมโอวาทเลยสติสัมปชัญญะ ขันติ โสรัจจะ วิริยะ อะไรก็ตามทั้งหมดนั่นแหละมันต้องมีเมื่อทำงานเพราะเมื่อทำงานเราต้องมีสติสัมปชัญญะมันก็เท่ากับฝึกสสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะมันก็มากขึ้น ความเพียรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินทรีย์ ๕ น่ะสำคัญที่สุด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทำงานถ้าไม่ประกอบด้วยอินทรีย์ ๕ นี้ก็ไม่สำเร็จ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่เอามาพูด ไม่เอามาเรียกมันเงียบหายอยู่ ต้องมีศรัทธา มีวิริยะ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ใครทำงานได้ดีแล้วก็ไปดูเถอะมันจะมีไอ้ห้าอย่างนี้ แต่เขาไม่ได้เรียกเขาไม่ได้เอามาพูด ธรรมะอื่นๆก็เหมือนกันน่ะ กี่ข้อๆที่มันเป็นธรรมะที่เป็นประโยชน์แล้วมันจะมีเมื่อเราทำงาน ทำงานเก่งก็จะมีสติสัมปชัญญะ มิวิริยะ มีสมาธิ มีปัญญา เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น ไม่ว่างานไหน มีธรรมะมากขึ้นน่ะคือการเดินทางไปนิพพาน
(เสียงคนพูด 17:17-17.22) ….
(เสียงท่านพุทธทาส) เขาไม่ทำให้เป็นธรรมะนี่ เขาทำให้เป็นกิเลสจน จะเอาอย่างไรถ้าว่าตั้งใจดี ระมัดระวังสำรวมดีมันจะมีธรรมะอยู่ในการงาน ถ้าทำไม่ดีมันก็เป็นเรื่องของอวิชาเป็นเรื่องของกิเลสตัณหา มันก็ถอยห่างจากพระนิพพาน ผมพูดว่าทำงานทีนี้ก็เหมือนอธิบายให้มันถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ไม่ได้หมายความว่ามันผิดพลาดหรือมันไปส่งเสริมกิเลสตัณหาให้ถอยห่างจากพระนิพพาน การทำงานคือการปฏิบัติธรรมนี่ นี่เอาไปคิดเถอะขอให้ช่วยเอาไปคิดเถอะ การทำงานที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาตินั้นจะเป็นการปฏิบัติธรรมเสมอไม่ต้องไปทำอะไรก็ได้ขอให้ทำงานให้ถูกต้องทุกๆงานมันจะเป็นการปฏิบัติธรรม ตามมาก ตามน้อย ตามสูง ตามต่ำ ของมันอยู่ในตัว เช่นทำนาอย่างสุจริตอย่างถูกต้องนี่มันก็จะเพิ่มนะ เพิ่มกำลัง เพิ่มสติสัมปชัญญะ สมาธิ วิริยะ นี่มันก็เพิ่มเพิ่ม นี้คำว่าการงานมันมันมันสูงขึ้นมาถึงการบวชการเรียนการทำกรรมฐาน อันนี้ก็เรียกว่าการงานเหมือนกันนะ
(เสียงคนพูด 19:20- 19:28) หลวงพ่อครับ คำว่าจริยธรรมตามความหมายของ...เป็นอย่างไรครับ
(เสียงท่านพุทธทาส) เอออันนี้รู้กันไว้เถอะว่ามันเป็นเรื่องลำบากเพราะว่าเราบัญญัติความหมายของภาษาไม่ค่อยตรงกัน ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งก็ไม่ตรงกันแม้ที่ใช้กันอยู่ในวงเรานี้ก็ไม่ค่อยตรงกันกับที่ใช้กันอยู่ในวงราชการหรือในวงกระทรวงศึกษาธิการมันก็ไม่ค่อยตรงกัน ถ้าเราจะพูดกันเราต้องระบุให้ชัดว่าเราจะพูดกันในในวงของใคร ยิ่งขยายออกไปถึงภาษาต่างประเทศด้วยแล้วยิ่งยุ่งใหญ่เลยความหมายมันไม่ตรงกันได้ จริยธรรมเขาว่าสิ่งที่ควรประพฤติ เดี๋ยวนี้ที่มันมองเห็นความจริงอยู่ก็จริยธรรมนั้นน่ะก็คืออุดมคติของศีลธรรม ศีลธรรมทำเพื่อให้เกิดความสงบสุข ก็เรียกว่าศีลธรรม นี้ระบบความรู้หรือทฤษฎีที่จะทำให้เป็นอย่างนั้นได้ก็เรียกว่าปรัชญาของศีลธรรม แล้วผมว่านี่ก็คือสิ่งที่ควรจะเรียกว่าจริยธรรม จริยศึกษาหมายถึงศึกษาปรัชญาของศีลธรรมให้รู้ไว้หมดเลย แล้วพอตัวปฏิบัติลงไปตรงๆแล้วนี่เราจะเรียกว่าศีลธรรมคือทำอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ถูกต้องตามเกณฑ์ของจริยธรรม แต่ที่นี้ที่คนอื่นเขาใช้พูดกันเขาไม่ใช้อย่างนี้เขาไม่มีความหมายอย่างนี้แล้วก็พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วก็มันก็ต่างคนต่างคิดอยู่ในใจไม่เหมือนกันคือขอให้ถือว่ามันมีอยู่สองสิ่งคือตัวศีลธรรมจะต้องปฏิบัติอย่างไร นี้ก็ตัวจริยธรรมคืออุดมคติหรือเหตุผลของการที่จะต้องปฏิบัติอย่างนั้น ถ้าเราเรียนเรื่องจริยธรรมเราก็เรียนเรื่องอุดมคติหรือเหตุผลที่กว้างขวางมากมายไม่ค่อยจะสิ้นสุด แต่ถ้าเราจะเรียนเรื่องศีลธรรมเราจะเรียนแต่เพียงว่าปฏิบัติอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ตามที่มันมีความแน่นอนแล้ว บัญญัติไว้เสร็จแล้วตามกฎเกณฑ์ของจริยธรรม
คำว่าศีลธรรมตามความหมายของเรามันก็ไม่ค่อยเหมือนกับไอ้คำว่าศีลธรรมที่เค้าใช้กันอยู่เป็นสากลน่ะไม่ค่อยเหมือนกัน หรือบางทีเขาเอาไปใช้แทนกันเสียไปปนกันเสียระหว่างจริยธรรมกับศีลธรรม เรารู้ไว้กันแต่ภายในวงของเราน่ะ จริยธรรมเราหมายถึงความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการประพฤติในสิ่งที่มันควรจะประพฤติรวมทั้งศีลธรรมอยู่ด้วย พอพูดว่าศีลธรรมแล้วก็เรามีมีแบบ มีมีระบบตายตัวแล้วว่าปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างนั้น อย่าต้องคิดกันอีกเลย ถ้าต้องคิดต้องสอบสวนต้องอะไรก็ขอให้มันไปอยู่ในระบบจริยธรรม ศีลธรรมเราเคยประพฤติมาแล้วมีผลดีแล้วมันมามีปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราไม่ค่อยจะประพฤติเราไม่ค่อยจะบังคับตนให้ประพฤติในส่วนศีลธรรม ทั้งๆที่เรารู้อยู่แล้วเราก็ยังไม่ค่อยประพฤติ ถ้าโดยเนื้อแท้แล้วก็ไอ้จริยธรรมนี่มันก็เป็นความรู้ที่ต้องศึกษาเหมือนกัน อย่าให้เฟ้อ เรารู้ว่าทำไมเราควรจะเลิกบุหรี่นี่เป็นจริยธรรม เราบังคับจิตให้เลิกมันให้ได้นี่เป็นศีลธรรม นี่คุณไปเทียบกันดู เรารู้แล้วเราบังคับจิตไม่ได้เราก็เลิกไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เราก็ไม่ค่อยคิดจะเลิกแล้วเราก็ควรจะมีจริยธรรม มีปรัชญาของศีลธรรม คือรู้ว่าทำไมเราจะต้องทำอันนี้หรือทำไมเราต้องไม่ทำอันนี้ นี่เรามีความรู้ชนิดจริยธรรม เมื่อเราบังคับจิตไม่ทำหรือว่าทำนี่เป็นศีลธรรมผลมันเกิดขึ้นเป็นความสงบสุข
แต่ดูเขาใช้ปนเปกันหมดจนไม่เหมือนกับที่เราพูดนี่ในกระทรวงศึกษาในอะไรก็ตาม ผมก็ไม่ค่อยจะนั่นกับเขา นั้นเราก็ชวนพูดโดยโดยเนื้อ เนื้อความ เนื้อหาของเรื่อง อย่ายึดถือไอ้คำบัญญัติเหล่านั้นเป็นหลักนัก ถ้าจะยึดถือคำบัญญัติเหล่านั้นเป็นหลักก็มาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าไอ้คำบัญญัตินี้มันหมายความเท่าไร เพียงไหน ก็ความประพฤติหรือว่าเหตุผลของการประพฤติมันเป็นสองตอนอยู่ในนั้น เหตุผลของการประพฤติมันก็เป็นจริยธรรม ไอ้ตัวการประพฤติมันก็เป็นศีลธรรม แล้วมันก็ควรจะไปด้วยกันแหละอย่าแยกกัน ถ้าเราปฏิบัติศีลธรรมอะไรเราก็ต้องมีความรู้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนั้นคือความรู้ในฝ่ายจริยธรรม ทำผิดเขาเรียก morality สำหรับศีลธรรม แล้วปรัชญา philosophy ของ morality เขาเรียกว่า ethic ethic เดี๋ยวนี้ในโลกมันจะมีแต่ ethicist คือนักจริยธรรม พูดน้ำลายท่วมโลกแล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรม นักจริยธรรมน่ะ ethicist น่ะมันพูดกันน้ำลายท่วมโลกแล้วมันก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ส่วนผู้ที่จะมีศีลธรรมจริงๆนี่มันไม่ค่อยมีแล้วก็จะไม่สนใจกันเสียด้วย พวกเรามันมีแต่เรื่องที่จะช่วยกันให้ได้ประพฤติน่ะ ชี้แจงชักจูงเกลี้ยกล่อมกันจนให้ได้ประพฤติน่ะ ประพฤติลงไปก็เป็นเรื่องศีลธรรม
กระทรวงเขาใช้คำว่าจริยศึกษาคู่กับพุทธิศึกษา จริยศึกษา พละศึกษา หัตถศึกษา นี่เป็นเรื่องศึกษา แล้วก็ตายด้านอยู่แค่ศึกษาไม่เคยปฏิบัติ แล้วก็จดไว้ในสมุดด้วย ไม่ได้อยู่ในหัวในสมอง มันจดอยู่ในสมุดในหนังสือนะ จริยศึกษาสำหรับอยู่ในสมุด ดังนั้นเด็กจะต้องประพฤติอยู่ที่เนื้อที่ตัวตลอดเวลานั้นน่ะจึงจะเป็นศีลธรรมหรือจริยศึกษาที่ที่ได้รับการประพฤติแล้ว จริยศึกษาที่ประพฤติแล้วคือศีลธรรม เดี๋ยวนี้ก็มีแต่จดไว้ท่องไว้ไม่ได้ประพฤติ ฉะนั้นคนก็มีความเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมคือ ขาดหายทางศีลธรรม ไม่ขาดทางจริยธรรม เดี๋ยวนี้มันมีหนังสือหนังหามีตำรับตำราอะไรมาก ก็คงเป็นจริยธรรมอยู่ในหนังสือ ผมได้ยินมาสองสามวันนี้จากวิทยุหรือจากอะไรที่ว่าสมัยห้าสิบปีไอ้มีรัฐธรรมนูญนี่มันจะเข้าห้าสิบปีอยู่เหมือนกัน สมัยห้าสิบ มีรัฐธรรมนูญ เขาถามกันว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร ชาวบ้านชาวไร่ชาวนาเขาก็ว่ารัฐธรรมนูญคือลูกของพระยาพหล ลูกของพระยาพหลนี่มันรู้อย่างนี้นะ เสร็จแล้วเขาก็ฉลองรัฐธรรมนูญกันที่สวนสราญรมย์เจ็ดวันเจ็ดคืนไม่มีตำรวจต้องจับใครสักคนเดียวน่ะ สมัยที่รัฐธรรมนูญเป็นลูกพระยาพหลความรู้มีเท่านั้น เดี๋ยวนี้ไม่ว่าที่ไหนไปงานไหนน่ะตำรวจจับไม่หวาดไหวเลย จับจนขี้เกียจจับ จับเด็กหนุ่มๆที่เที่ยวขยำผู้หญิงจับไม่หวาดไม่ไหวเลย นี่สมัยที่รัฐธรรมนูญคืออะไรที่เรารู้ดีแล้ว เดี๋ยวนี้เรารู้ดีแล้วว่ารัฐธรรมนูญคืออะไรศีลธรรมกลับเลวลงอย่างนี้ สมัยที่รู้ว่ารัฐธรรมนูญคือลูกพระยาพหลน่ะไม่มีใครทำผิดจนตำรวจต้องจับ แล้วไปดูเถอะว่าไอ้การศึกษากับการปฏิบัติน่ะมันต่างกันอย่างไร เดี๋ยวนี้การศึกษามันก็ไม่ไม่ต้องได้ประโยชน์ คนไม่ได้เอามาปฏิบัติ เป็นเรื่องจริงนะที่เขาพูดนี่ไม่ใช่ว่าเรื่องเล็กน่ะ ชาวไร่ชาวนาเขาพูดกันอย่างนั้นแหละ รัฐธรรมนูญคือลูกของพระยาพหลแล้วเขาฟังอย่างนั้นก็เชื่ออย่างนั้นศีลธรรมยังดีอยู่ เดี๋ยวนี้รู้อะไรมากในทางจริยศึกษา แต่ศีลธรรมกลับไม่มี เรื่องศีลธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของพวกธรรมทายาท ถ้าทำให้ศีลธรรมมีขึ้นในโลกได้ก็เรียกว่าสำเร็จ ประสบความสำเร็จ
(เสียงคนพูด) มีผู้เขียนถามอาจารย์ คำว่าอุดมการณ์กับอุดมคติ สองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร และมีความลึกซึ้งในการนำไปใช้แต่ละคำแค่ไหน คำว่าอุดมการณ์กับอุดมคติ สองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร และมีความลึกซึ้งในการนำไปใช้แต่ละคำแค่ไหนครับ
(เสียงท่านพุทธทาส) มันเอาแน่ไม่ได้อย่างที่พูดเมื่อตะกี้ คนบางคนมันมันชอบใช้คำนี้ พออุดมคติบางคนมันชอบใช้คำว่าอุดมการณ์ แล้วผู้ที่ชอบบัญญัติคำมันก็มีมาก แล้วมันก็ชอบบัญญัติจนยุ่ง มันก็ต้องไปถามไอ้คนที่บัญญัติน่ะคุณบัญญัติมีหมายความว่าอะไร คำว่าอุดมการณ์น่ะคุณมีความหมายว่าอะไร แล้วคุณจะบัญญัติอุดมคติน่ะคุณมีความหมายว่าอะไร แล้วก็ไปเปรียบกันดู ตามความรู้สึกของผมคำว่าอุดมการณ์น่ะไร้ความหมาย กาลณะ แปลว่าเหตุให้กระทำ มันไม่ใช่การกระทำนะ กาลณะนี่ไม่ใช่ตัวการกระทำแต่ตัวเป็นเหตุให้เกิดการกระทำ แล้วไม่รู้ว่าเหตุอะไรกันอย่างไร เขาอาจจะหมายว่าเหตุที่ให้กระทำให้ถึงอุดมถึงสูงสุดถ้าอธิบายอย่างนี้ก็ ก็เหมือนกันแหละ ก็อุดมคติ อุดมคติแปลว่าทางไปให้ถึงจุดสูงสุด อุดมการณ์ กาลณะ แปลว่าเหตุ เหตุให้กระทำ เหตุให้ถึง เหตุให้กระทำ เป็นเครื่องกระทำให้ถึงอุดม คงจะพอเอามาร่วมกันได้นะ_ คำเหล่านี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆตามความพอใจของคนบางคน พอไปพูดเข้าคนชอบใจเขาก็รับเอาไปพูดแล้วคนเขาชอบคำใหม่ๆ คำที่ใช้มานานๆน่ะเขาไม่ค่อยชอบเขาอยากจะเปลี่ยน บางทีก็คำเดิมทั้งนั้น ไอ้ความหมายเดิมเรียกชื่อใหม่ แต่บางทีก็ไปไกลเป็นความหมายใหม่ มันตอบไม่ได้เพราะว่าเราก็ไม่รู้ว่าอุดมการณ์น่ะเขาหมายถึงอะไร ถ้าอุดมการณ์กาลณะแล้วก็เหตุให้เป็นเครื่องกระทำไม่ใช่ตัวการกระทำสู้อุดมคติไม่ได้ ก็ไปเสีย เป็นแนวที่ไปเลยไปสู่อุดมสูงสุด แต่แล้วก็ต้องรู้กันไว้สักอย่างหนึ่งว่าในโลกนี้คำพูดต้องไปตามความหมายที่เขายึดถือกันที่ชาวโลกเขายึดถือกัน แล้วเขาถือเอาความหมายอย่างไรมันก็ต้องไปอย่างนั้น เราจะไปถือแปลกเขาก็ไม่ได้ เขาฟังไม่ถูก เราก็ฟังไม่ถูกของเขามันทะเลาะกัน อะไรที่เป็นที่รู้กันทั่วไปหมดแล้วก็ต้องอย่างนั้นแหละ คำนั้นต้องอย่างนั้นน่ะจึงจะพูดกันในโลกรู้เรื่อง ดังนั้นเนื้อความนั่นแหละสำคัญ ไอ้ตัวคำแท้ๆไม่สำคัญ ความหมายน่ะสำคัญ ต้องถามถึงความหมายกันก่อน แล้วจึงจะพูดค่อยพูดกันว่ามันมันตรงกันไหม ถ้าเราเอาถ้อยคำของเขามาพูดโดยที่ไม่รู้ความหมายแล้วก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร คำว่าอุดมคติใช้มานมนานแล้ว คำว่าอุดมการณ์นี่เพิ่งเห็นมีขึ้นมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ต่างกันแต่เพียงว่าเป็นคำเก่ากับคำใหม่
(เสียงคนพูด ) เอ้อ เมื่อตะกี๊อาจารย์บอกว่าพระพุทธเจ้ามีความอ้อนวอนให้ภิกษุเป็นธรรมทายาท แต่ในบาลีมีว่าเอ็นดูและอ้อนวอน ในในในคำแปลที่ในพระไตรปิฎกแปลว่าเอ็นดูแล้วก็ให้จงเป็นธรรมทายาท
(เสียงท่านพุทธทาส) ว่าใหม่สิ
(เสียงคนพูด) มีความเอ็นดูแล้วให้ขอให้เป็นธรรมทายาท
(เสียงท่านพุทธทาส) อื้อไม่ใช่เธอจงเป็นธรรมทายาท ถ้าตามบาลีน่ะเธอจงเป็นธรรมทายาทอย่าเป็นอามิสมทายาท
(เสียงคนพูด) ครับมีคำ ประโยคต้น ประโยคก่อนจะถึงนั้นว่ามีความเอ็นดู
(เสียงท่านพุทธทาส) ถ้าเอ็นดูก็เอ็นดูเรื่องอื่นนะไม่ใช่พระเจ้าขอร้องให้เราเอ็นดูท่าน มีไม่ได้ ไปเอาบาลีมาดู
(เสียงคนพูด) คือที่เขาแปลเป็นไทยแล้วมีคำแปลว่ามีความเอ็นดูนำหน้าอยู่
(เสียงท่านพุทธทาส) ใครเอ็นดูใคร
(เสียงคนพูด) นั่นสิฮะ
(เสียงท่านพุทธทาส) ไม่ใช่นี่เราหมายถึงสำนวน สำนวนบาลีนั่นเราจะแปลเป็นสำนวนขอร้องก็ได้ อ้อนวอนก็ได้ หรือเป็นคำสั่งก็ได้ เช่นว่าเธอจงไปสอนธรรมะเถิด เป็นคำสั่งก็ได้ คำขอร้องก็ได้ คำอ้อนวอนก็ได้แล้วแต่เราจะมาดูไอ้ความหมายแล้วเราเรียงตัวหนังสือในภาษาไทย ให้เป็นลักษณะอ้อนวอน หรือเป็นลักษณะขอร้อง หรือเป็นลักษณะบังคับ
(เสียงคนพูด) คือ คือในคำแปลนั้นแสดงคล้าย ๆ กับว่าพระพุทธเจ้าทรงเอ็นดูสาวกแล้วก็ขอร้องให้เป็นธรรมทายาท
(เสียงท่านพุทธทาส) ถ้าพระพุทธเจ้าเอ็นดูสาวกนั้นแน่นอนล่ะ ท่านเอ็นดูสาวก ท่านไม่ได้ขอร้องให้สาวกเอ็นดูท่าน ท่านไม่ขอร้องให้สาวกช่วย ช่วยในลักษณะที่เรียกว่าช่วยให้เกิดความแน่นแฟ้นมั่นคง มีพุทธสุภาษิตตรงๆไม่หวังการช่วยส่งเสริมประคับประคองจากสาวก ที่ท่านมีความแน่ใจของท่านเองท่านพอ คือไม่ได้หาไอ้อะไรล่ะ แนวร่วม ท่านไม่ต้องการให้ใครไปเป็นแนวร่วมกับท่าน ท่านมีความเพียงพอในตัวท่าน โปรแกรมต่อจากนี้มีอะไร ตามโปรแกรมกำหนดการต่อจากนี้มีอะไรโปรแกรมอยู่ที่ไหน ตางราง
(เสียงคนพูด) ไม่ ไม่ได้กำหนดไว้ให้
(เสียงท่านพุทธทาส) ไม่ได้กำหนดไว้
(เสียงคนพูด) แต่ก็มีมีรายการที่สืบต่อมาจากโน้นอีกฮะ ที่ค้างอยู่
(เสียงท่านพุทธทาส) เอาสิก็ประชุมกันแล้วก็ถกเถียงกันทำสัมนากัน ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กว่าจะถึงเวลาจำวัดนี่มันเก้าแล้ว เอาสิจะทำอะไรก็นิมนต์แต่ผมนี้มันต้องกลับล่ะ พรุ่งนี้เขียนเศษกระดาษให้ผมว่าจะให้พูดเรื่องอะไรก็ได้ที่จะได้ตรงกับไอ้ความหมายความมุ่งหมายมากขึ้น นึกไว้สิ พรุ่งนี้เขียนมายื่นว่าพรุ่งนี้อยากจะให้พูดเรื่องอะไร หาเอาเถอะเรื่องแล้วจบแล้ว เอาสิเขียนทุกคนแหละ เอามารวมแล้วว่าเรื่องอะไรต้องการให้พูด