แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านพุทธทาส: ถาม.. สนทนา นี่มันอยู่ทางนี้เหนือลมใช่ไหม
เสียงบุรุษ: มันมาก (นาทีที่ 0.00.52.4)
ท่านพุทธทาส: เออ ก็อย่าจุดให้มันมากเกิน
เสียงบุรุษ: ครับ
ท่านพุทธทาส: นี่มันมา ๆ มาทางฝ่ายขวา เหนือลม (นาทีที่ 0.01.42.5) ใครมี ใครมีปัญหา
(นาทีที่ 0.01.45.8) เออมันมากเกิน..โอ้แล้วกัน ไม่ประหยัดไว้บ้าง ไปทางโน้น เออต่อไปทางโน้น
เสียงบุรุษ: ครับ ผมอยากจะขอถามอาจารย์นะครับว่าการปฏิบัติใด ๆ ก็ตามจะต้องมีตัวเรากับผู้อื่นเกี่ยวข้องครับ ถ้าหากว่าเราปฏิบัติลงไปแล้วนะ ถ้าตัวเราเองเราสามารถรู้ได้ว่าเราเป็นทุกข์หรือไม่เป็นทุกข์ เราสามารถรู้ได้ ถ้าพอเราปฏิบัติซึ่งมีส่วนผู้อื่นเกี่ยวข้องเป็นปัจจัย ซึ่งการที่ผู้อื่นเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยนั้นมันมีทั้งแต่ ๑ คน, ๒ คน, ๓ คนจนถึงจำนวนมากนะครับ แล้วก็หากมีคนอื่นมีเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องคนอื่นเขา ตัวเราจะทุกข์หรือมีทุกข์คนอื่นไม่เกี่ยวข้องเราก็ไม่สามารถรู้ได้ฮะ เราไม่สามารถรู้ได้ ถ้าเราปฏิบัติไปครับ ถ้าหากว่าเราต้องการแต่ถ้าเราเป็นบวช ๆ เพื่ออรหันต์ถ้าเรา ๆ คิดถึงตัวเราเอง ดังนั้นย่อมทำได้ แต่เมื่อเราบวชเพื่อออกไปปฏิบัติงาน ออกไปข้างนอกต่อไปครับ เราก็ต้องมีส่วนอื่นเกี่ยวข้องผมก็อยากจะให้อาจารย์..
ท่านพุทธทาส: มากนัก (นาทีที่ 0.03.21) รีบไปทางโน้นบ้าง ตรงนี้มันจะทนไม่ไหวมากนัก
เสียงบุรุษ: ผมอยากให้อาจารย์ช่วยแนะว่าเราควรมีหลักเกณฑ์หรือมีแนวทางที่จะคำนึงว่าที่ผู้อื่นเป็นปัจจัยนะ เราควรจะเอามาคิดมากน้อยแค่ไหนฮะ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเขาเห็นว่าเราเห็นแก่ตัวมากนักหรือว่าไม่ต้องเห็นแก่สังคมมากนักจนกระทั่งเราไม่มีความ ๆ สุขมีแต่ทุกข์นะครับ ผมมีคำถามแค่นี้นะครับ
ท่านพุทธทาส: เอ้า เดี๋ยว ๆ ๆ ยังฟังไม่ถูก ยังฟังไม่ถูก สรุปให้สั้นหน่อย สรุปคำถามให้มันสั้นสักหน่อย
เสียงบุรุษ: การ ๆ ปฏิบัติงานซึ่งมีผู้อื่นเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยครับ แล้วผู้ ๆ อื่นที่เป็นปัจจัยนะเขาเป็นผู้กำหนดว่า เป็นผู้กำหนดให้ว่า ๆ สิ่งที่เราทำไปนั้นเป็น ๆ สุข หรือเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีซึ่งอาจจะตรงข้ามกับจิตใจเราหรืออาจจะเหมือนกับจิตใจเราก็ไม่ทราบแน่ ๆ ได้ครับ ถ้าหากว่ามีคนอื่นมีเกี่ยวข้องอย่างนั้นนะครับ ตัวเราเองดำเนินการนะเราก็ต้องอาศัยคนอื่นมา ๆ มาเกี่ยวข้องด้วย ผมก็อยากจะทราบว่าเราจะมีหลักในการ เราจะมีหลักการอย่างไรว่าเราจะทำดำเนินการไปแล้วตัวเราเองก็ไม่ทุกข์ แล้วคนอื่นเขาก็ไม่ทุกข์และก็มีส่วนร่วมกัน เมื่อเราเห็นแก่ตัวมากนักหรือไม่อย่างนั้นนะครับ
ท่านพุทธทาส: ยังจับใจความไม่ค่อยถูก คือว่าเราทำงานร่วมงานกับคนที่เออมีความเห็นเรื่องผิด เรื่องถูก ไม่ตรงกันนี่ เรื่องสุขเรื่องทุกข์ไม่ตรงกัน แล้วจะเอาอย่างไรอย่างนั้นหรือ ถามคุณถามอย่างนั้นหรือ
เสียงบุรุษ: คืออาจจะตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ตามก็คนอื่นเขาเป็นผู้กำหนดเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือไม่ถูก
ท่านพุทธทาส: โอ้..อย่างนี้มันเป็นเรื่องสังคม ไอ้ถูกหรือไม่ถูกก็บอกแล้วนี่ว่า ๆ ขอให้ยึดหลักที่ว่าถ้ามันเป็นประโยชน์นะเป็นไปเพื่อความสงบสุข สันติ นั่นก็เรียกว่าถูกแหละ แล้วเราก็มาประชุมวิจัยกันดูสิว่านี่มันถูกหรือไม่ถูกหละ มันไม่พิสูจน์ไอ้ความมีผลดีมันก็ไม่ถูกอะ แล้วก็มาเป็น (นาทีที่ 0.05.54) มา ๆ ประชุมกันแก้ไขกันเสียใหม่ ปรับปรุงกันเสียใหม่ให้มันเกิดผลเป็นไอ้..เป็นสันติสุขคือเป็นผลที่มีประโยชน์ ในคนอื่นจะมาบงการหรืออะไรนี่มันไม่นั่นนะมัน ๆ เปลี่ยนไอ้กฎของธรรมชาติไม่ได้เพราะมันเกี่ยวกับอำนาจ ถ้าเรามันอยู่ในอำนาจใต้อำนาจของเขามันก็มีปัญหาขึ้นมา ถ้าเราเออเป็นอิสระเราก็ทำไปตามที่เห็นว่ามันถูก ถ้าเขามีอำนาจบังคับเรา ๆ ก็หาทางออกให้มันเหมาะสม ทำร่วมกันไม่ได้มันก็เลิกกันเพราะว่าเรามันต้องการผลที่ดีที่มีประโยชน์ที่เป็นความดับทุกข์ ชวนกันยึดหลักในธรรมะที่ถูกต้องเออของ ๆ ธรรมะไว้นะ ถ้ามันทำกันไม่ได้ก็ ๆ ไม่ต้องทำ เราก็ไม่ยอมทำ ทำเหนื่อยเปล่า ๆ ไม่มีประโยชน์แล้วบางทีกลับเป็นโทษนี้ก็ไม่ทำ ดังนั้นไม่ควรจะเป็นปัญหา มัน ๆ จะเป็นเรื่องสมมติเราก็ศึกษากันมาไม่น้อยแล้วมากพอที่จะรู้อะไรผิด อะไรถูก อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ ถ้ามันมีประโยชน์ก็เรียกว่าถูก ก็ยึดหลักอันนี้กันเรื่อยไป การทำร่วมกันนั้นมันก็ยัง มันก็ยังมีหลายแง่ หลายมุม มันผูกพันกันด้วยเหตุอะไร มันผูกพันกันด้วยมันจำเป็นบังคับ นั่น ๆ นั่นอีกปัญหาหนึ่ง ถ้าว่ามันผูกพันกันที่ว่าต่างคนต่างมีอิสระหาประโยชน์ร่วมกันมันก็ต้อง ๆ ทำให้ถูกให้มันเกิดประโยชน์ ให้เราอยู่ใต้อำนาจเขานั่นมันอีกเรื่องหนึ่งปัญหามันคนละอย่าง เราก็ต่อสู้โดยวิธีที่มันเหมาะสมนี่แหละ จะต่อสู้ จะคัดค้าน จะทำอะไรก็ตามเถอะดูให้มันเหมาะสมให้มันสำเร็จประโยชน์ การต่อสู้แล้วมีผลเป็นการทำลายล้างกันนี่มันก็เรียกว่าไม่ถูกเพราะการที่เราจะไปร่วมมือทำอะไรกันนั้นก็ต้องดูเสียก่อนสิว่ามันจะไปด้วยกันได้หรือไม่ ถ้ามันไปเกิดผิดกันความเข้าใจมันผิดกันทีหลังก็ลองแก้ไขดู หาหนทางแก้ไขดูเมื่อมันไม่ได้ก็ต้อง ๆ แยกทางกันเดิน แล้วทำให้เราก็ไม่มีทุกข์ ให้เพื่อนมนุษย์ของเราก็ไม่มีทุกข์ มันต้องการเพียงเท่านี้ ดังนั้นเรามาเป็นเพื่อนปรับทุกข์กันเสียก่อน ให้เป็นที่เข้าใจกันเสียก่อนแล้วก็ทำไปให้มันได้สำเร็จประโยชน์แก่เออแก่ทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้ามันมีเจตนาดีต่อกัน ก็เข้าใจว่าไม่มีปัญหา ถ้าหวังดีโดยความบริสุทธิ์ใจแล้วเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้มันไม่ได้บริสุทธิ์ใจไม่ได้หวังดีโดยบริสุทธิ์ใจมันมีอะไรซ่อนเร้นหรือว่าไม่ซื่อ เล่นไม่ซื่อ มันก็มีปัญหา เดี๋ยวนี้มันเป็นปัญหาสังคมโดยตรง ปัญหาธรรมะโดยอ้อม ให้เป็นศิลปะแห่งการไอ้ที่เขาเรียกเอาชนะคนเป็นอีกเรื่องหนึ่งหรือเรื่องจิตวิทยาเออเป็นเรื่องศิลปะแห่งการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไอ้เรื่องธรรมะนั่นมันหมายความว่าแต่ละคนมันซื่อ ซื่อตรงต่อธรรมะ ซื่อตรงต่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์และก็ตั้งหน้าตั้งตาทำ ถ้าร่วมมือกันก็ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มันก็มีหวังที่จะสำเร็จได้ตามที่ต้องการ การที่จะเลือกเพื่อนร่วมงานให้ถูกตรงกับเรื่องเออสำคัญมาก คล้าย ๆ (นาทีที่ 0.12.32) จะมีเออภรรยา มีแฟน มีอะไรนั้นมันก็ต้องดูให้ดีนะ ให้มันไปด้วยกันได้ ทำความเข้าใจด้วยกันได้ ไม่ใช่เอามาสำหรับเป็นคู่ทะเลาะวิวาทกัน ไอ้เราจะร่วมมือกับเพื่อนฝูงหรืออะไร สังคมคนใด ๆ หนึ่งก็ต้องดูให้มันดี มุ่งหมายเออจุดมุ่งหมายถูกต้องเหมือนกันมันก็ไปกันได้ เอ้าใครมีปัญหาอะไรอีก คำถามต่อไป..ทอง..พูดช้า ๆ แล้วพูดให้ฟังชัดได้ความว่าปัญหาถามว่าอย่างไร โดยสรุป
เสียงบุรุษ: เออผมอยากจะเรียนทราบว่าความหมายของสติปัฏฐาน ๔ นะฮะ แล้วก็โพชฌงค์ทั้ง ๗ นี่มีความหมายอย่างไรบ้างครับ
ท่านพุทธทาส: ความหมายนี่ ความหมายของตัวหนังสือเออหรือว่าเนื้อหาของเรื่อง เค้าเรื่องมันมีอยู่แล้ว ในพระบาลีนั้นแหละในภาษาบาลี สติปัฏฐาน ๔ ในรูปอานาปานสติ เมื่อทำสติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์เออโพชฌงค์ก็จะสมบูรณ์ โพชฌงค์สมบูรณ์วิชชาและวิมุตติก็สมบูรณ์ ถือว่าหลุดพ้น ก็เพราะพากเพียร (นาทีที่ 0.14.46) ไอ้โพชฌงค์เมื่อครบแล้วทำให้ตรัสรู้เป็นวิชชาแล้วก็หลุดพ้นเป็นวิมุตติ คุณก็ไปศึกษาซิว่าไอ้โพชฌงค์ ๗ นะมันแต่ละอย่าง ๆ มันคือยังไง สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีอยู่ ๗ พระบาลีมีอยู่ ชัดต่อเมื่อ(นาทีที่ 0.15.28) ทำอานาปานสติแล้วสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็ครบบริบูรณ์อยู่ในนั้น สติปัฏฐาน ๔ ครบบริบูรณ์อยู่ในนั้น เออครบแล้วโพชฌงค์ ๗ ก็จะครบริบูรณ์อยู่ในนั้น วิชชากับวิมุตติก็จะเกิดขึ้น และไอ้นี้นะโดยตรง เรื่องนี้โดยตรงก็หมายถึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน เราจะต้องเข้าใจไอ้โพชฌงค์ทั้ง ๗ นั้นให้ถูกต้อง ๑.สติ มีสติ มีความระลึกได้เออรอบครอบทั่วถึงว่าอะไรเป็นอะไร ในธรรมะทั้งหมดเออมันอาจจะระลึกได้หรืออาจจะสรุปความได้ว่ามัน ๆ ๆ ๆ เป็นอย่างไร อะไรมันเป็นอย่างไร อะไรมันเป็นอย่างไร ทุกเรื่องที่มันมากระคนปนกันอยู่ในชีวิต ในจิตใจ ในร่างกาย ในจิตในอะไรก็ตามมันมีอะไร มันพอจะมองเห็นที่เขา ๆ สามารถที่จะธัมมวิจยะ วิจัยธรรมนั่นคือมีการเพ่งดู สอดส่อง จ้องมอง แยกแยะอะไรให้เห็นธรรมะนั้น เมื่อสติมันระลึกได้มันก็ทำได้มันเหมือนกับว่าสติมัน ๆ ระลึกเอาไอ้สิ่งที่ควรจะรู้หรือจะควรจะระลึกหละมา นี้ธัมมวิ..ธัมมวิจยะมันก็เฟ้น ใคร่ครวญ แยกแยะ วิจัยศึกษากันโดยละเอียด มันก็พบ ๆ หลัก พบเกณฑ์ พบหนทาง พบวิธีเออซึ่งเป็นผลของธรรมะวิจัย ธัมมวิจยะ ๑.สติ ๒.ธัมมวิจยะ ๓.วิริยะ นี้มันก็ปฏิบัติ ทุ่มเทในการปฏิบัติเรียกว่าวิริยะ นี้เขาต้องการให้วิริยะมีกำลังก็ต้องพูดถึงปิติ ทุกวิริยะที่ประสบความสำเร็จมันจะเกิดปิติของมันเองได้ เราทำอะไรสำเร็จมันก็จะพอใจอันนั้นคือปิติ ถ้ามันไม่มีความสำเร็จเสียเลยเออมันก็ไม่ ๆ อาจจะพอใจได้เลยอย่างพวกขี้เกียจขี้คร้านเบื่อหน่ายจะทิ้งไปไม่มีวิริยะ (นาทีที่ 0.19.05) อยู่ยืดยาวได้ ดังนั้นความพากเพียรอย่างยิ่งมันคู่กันไปกับความพอใจ เมื่อประสบความสำเร็จพร้อม ๆ กันไปเรื่อย ๆ ไอ้เราก็ต้องมีวิริยะแล้วก็ต่อจากนี้ก็ปัสสัทธิ ระงับ ๆ ระงับลงเออปัสสัทธิก็แปลว่าสงบ ระงับ ผมขอให้คำแปลมาอย่างง่าย ๆ “เข้ารูป” ถ้ามันยังเกะกะ เก้งก้าง ขัดขวางกันอยู่นะมันเออมันไม่อาจจะระงับนะคือมันไม่เข้ารูป ทำไปด้วยความเพียบ..พากเพียรหล่อเลี้ยงอยู่ด้วยปิติเรื่อย ๆ ไปเดี๋ยวมันก็เข้าร่อง เข้ารอย เข้ารูปเออในลักษณะที่มันจะเป็นไปได้เรียกว่าปัสสัทธิ ปัสสัทธิแล้วก็สมาธินี่ มาถึงอันที่ ๖ เรียกว่าสมาธิ กำลังจิตสูงสุดทั้งหมด ทุ่มเทลงไปในการที่มันเข้ารูป เมื่อมันระงับ มันยอมแพ้แล้วก็ทุ่มเทให้กำลังจิตทั้งหมดลงไปที่นั่นให้มันถึงที่สุดนี่ก็เรียกว่าเข้ารูปครั้งสุดท้าย เออทุกอย่างมันเป็นไปอย่างถูก ๆ ต้องที่สุดถึงขนาดนี้มันก็จะเกิดผลอุเบกขาคือปล่อยให้มันให้เป็นไปอย่างนั้น ดูอยู่เฉย ๆ ปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้นไปจนถึงที่สุด ฉะนั้นถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับปลูกต้นไม้นะ ทำนั่น ทำนี่ ทำให้ถูก ทุกอย่าง ทุกประการแล้ว ตั้งแต่ขุดหลุม ใส่ปุ๋ยอะไรก็ตามเราก็ถูกต้องหมดแล้วมันก็ต้องปล่อยไปกว่ามันจะออกดอก ออกผล ถือว่ามันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้อง ไม่ต้องพยายามและก็ในเวลาอันสั้นนะมันจะได้ไม่ว่าง ยืดยาวมันรอไม่ไหว มันเป็นความรู้อันละเอียดถ้าเป็นจิตวิทยาก็ละเอียดมากเออคุณศึกษาให้เข้าใจได้ก็จะดีมาก ไอ้อาการทั้ง ๗ นี่แต่ละอัน ๆ มันคืออะไรแน่ เออแล้วมันจะสัมพันธ์กันอย่างไรเออตั้งแต่ต้นจนจบ ทีนี้ผมกลัวว่าแม้แต่ชื่อ ๗ ชื่อนี้ก็จะจำไม่ได้กระมัง เดี๋ยวนี้ที่นั่งอยู่ในนี้จำชื่อ ๗ ชื่อนี้ให้ได้คล่องแคล่วหรือเปล่า ถ้ายังต้องนึกอีกอัก ๆ อยู่มันก็เข้าใจยากนะ ทำยากนะ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ดังนั้นการที่เราจดจำไอ้หัวข้อหรือหลักอย่างนี้อย่างแม่นยำนะมันมีประโยชน์มาก แต่การศึกษาแบบใหม่เขากลับดูถูกเพราะการท่องจำ การจดจำอย่างแม่นยำมันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรก็คิดเอาได้ อย่าคิดอย่างนั้นเออให้มันช่วยกันดีกว่า ไอ้หลักนี่มันก็ต้องมี จำได้แล้วก็ดูความหมายของมันให้ถูกต้องเออคุณใคร่ครวญให้ดี ให้เห็นชัดแล้วก็เอาไปใคร่ครวญเวลาอื่นอีกนะไม่ใช่เฉพาะพูดกันที่นี่แล้วเลิกกันสติระลึก ๆ ถึงสิ่งที่ควรจะระลึก ควรจะรู้ ควรจะระลึกให้หมด แล้วมาเลือกวิจัยดูเฉพาะไอ้จุดหรือปมหรือข้ออะไรที่มันสำคัญให้มันพบว่าเราจะต้องทำอย่างไรเกี่ยวกับทั้งหมด ไอ้ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ต้องทำทั้งหมดนั่นนะ มันต้องทำแต่บางอย่างบางข้อในลักษณะอย่างนั้น ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า "ธัมมวิจยะ" เขามักจะแปลกันว่าเลือกเฟ้นธรรม คำว่า "วิจัย" เดี๋ยวนี้เขาก็มีใช้ไอ้ ๆ ระบบการศึกษาใหม่ ๆ วิจัยจะแปลว่า analyst หรืออะไรพวกนั้นนะมันเออแต่ในภาษาธรรมะคำว่าวิจัยนี่เราแปลว่า “เลือกเฟ้น” ของมาก ๆ กองอยู่เอามาคัดเลือก ๆ คัดเลือก ๆ ให้ได้ตามที่ต้องการนี่เขาเรียกว่าวิจัย มันก็คล้าย ๆ กันแหละแยกแยะดูแล้วก็เลือกเอา ถ้าเราระลึก สติระลึกมาไม่หมดมันก็ไม่รู้จะวิจัยอย่างไรเพราะมันต้องระลึกให้มากให้หมดมาเผื่อเลือกด้วย แล้วมันก็มากเรื่องอยู่เหมือนกันแหละ ศีล สมาธิ ปัญญาแต่ละอันแล้วก็มีอะไรมากในแง่มากมีอะไรมากมันก็ต้องย่อย ต้องแยะ แยกแยะ ต้องวิจัย ถ้าเป็นเรื่องอานาปานสติมันก็เกี่ยวกับภายในนี้ ความรู้สึกภายในเกี่ยวกับลมหายใจ เกี่ยวกับอะไรทุกอย่างที่มันจะต้องทำไปตามลำดับของอานาปานสติมันก็มีเรื่องให้ระลึกมากและก็เลือกได้มาก เดี๋ยวเราพูดถึงเรื่องทั่วไปกันดีกว่า ในโลกนี่การงานอะไรก็ตามใช้คำว่า "ชีวิต" ก็ได้ เรามีชีวิตอยู่ เรามีสติที่จะรู้จักมันทุกแง่ ทุกมุมเรียกว่า "ระลึกได้" ทีนี้เราก็วิจัย แง่ไหนอย่างไร มุมไหนอย่างไร อะไรเป็นจุดสำคัญ อะไรเป็นปัจจัย อะไรเป็นต้นเหตุ อะไรเป็นหลัก อะไรเป็นอุปกรณ์ นี้ก็เรียกกันว่าวิจัย ธัมมวิจัย นี่ก็พบระบบที่จะต้องปฏิบัติและความจริงที่จะต้องปฏิบัติ ก็วิริยะก็มา เอาความพยายามพากเพียรด้วยความพอใจกล้าหาญร่าเริงนี่เรียกว่าวิริยะ นี้วิริยะต้องมีของหล่อเลี้ยงคือปิติ ถ้าปิติพอใจเข้ามาหล่อเลี้ยงวิริยะก็เข้มแข็งไม่รู้จักเหน็ด ไม่รู้จักเหนื่อย ไม่รู้จักท้อแท้ เออมันต้องการปิติ นี่มันก็ทำกันไปอย่างนั้นแหละ อย่างเต็มที่ อย่างเต็มความสามารถเต็มที่แหละ มันจะเข้ารูป มันจะปรับกันเข้ารูปสำหรับไอ้สิ่งต่าง ๆ ที่มันเป็นปัญหาอยู่ มันจะเข้ารูป ไอ้ของที่มันเกะกะ ยุ่งเหยิง ซับซ้อน เก้งก้าง เกะกะกีดขวางแก่กันและกันมัน ๆ ลงรูปมันก็เข้ารูป ถ้ามันพร้อมที่จะเป็นไปได้เหมือนกับว่าไอ้รถ เรือนั้นก็ปรับปรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงรูปสำหรับจะวิ่งไปได้และนี่ก็สมาธิก็เพิ่มกำลังให้มันถึงที่สุดให้มันวิ่งไป ทีนี้ทุกอย่างมันถูกต้องพร้อมแล้วก็ปล่อยให้มันเป็นไปได้ตามเรื่องของมันเรียกว่า "อุเบกขา" คือรอไปกว่าจะถึงจุด อย่าไปปรับปรุงอะไรเขาอีก เมื่อมันเข้ารูปแล้วอย่าไปปรับปรุงอะไรมันเขาอีก จะทุ่มเทกำลังให้มันวิ่งไป ๆ จนมันถึงที่สุด นี่เรื่องทางจิตมันก็เป็นอย่างนี้ทีนี้เนื้อเรื่องแม้แต่ที่ว่าจะทำไร่ ทำนาอะไรก็ยังต้องอย่างนี้นะ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ก็จะเห็นว่าทุกเรื่องมันจะเป็นอย่างนี้ เวลาจะทำสวนเออแล้วระลึก ๆ ถึง ๆ พันธุ์ไม้ทุกอย่างแล้วเราก็เลือกไอ้ที่ว่าเหมาะสมกับเราคือธัมมวิจัย สติและเลือกทุกอย่างทำวิจัยก็เลือกได้อย่างเหมาะสม ... คุณทอง...ทอง...เมื่อเห็นว่า
เสียงบุรุษ: คุณทองไปห้องน้ำครับ
ท่านพุทธทาส: หือ..เราเลือกแล้วว่าเห็นว่าอะไรมัน ๆ ถูกต้องมันตรงเรื่องก็ ๆ ลงมือทำนะคือวิริยะ ลงมือทำ ปลูก ทำ บำรุงรักษา ทีนี้ก็พอใจเออมีความพอใจในการกระทำนั้นมันก็ทำได้ดีไม่เหนื่อย ไม่เออไม่หยุด ไม่ถอยหลัง ก็แปลว่ามันเข้ารูป มันถูกต้องแล้วแหละ มันเป็นปัสสัทธิคือมันถูกกับเรื่องของมันแล้วเรียกว่าระดมไอ้สมาธิคือว่าการกระทำนั้นให้มันถูกทั้งหมดเต็มที่อีกครั้งหนึ่งก็ปล่อยมันไปเป็นอุเบกขากว่ามันจะออกลูกออกมา นี้เรียกว่าเราปลูกต้นไม้เออทำสวนก็ยังมีหลักแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ในลักษณะอย่างนี้คือมันละเอียดยิ่งไปกว่าไอ้ ๆ อิทธิบาท ๔ นะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มันเพียง ๔ อย่าง ถ้าอย่างน้อยมันยังหยาบ ที่ขยายเป็น ๗ อย่างมันก็ละเอียดมากกว่านั้น คิดจะค้าขายก็เหมือนกันอีกนะถ้าคุณมีความเข้าใจเรื่องนี้คุณก็ไปอธิบายได้นะว่าถ้าค้าขายจะใช้โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้จนตลอดได้อย่างไร นี้จะไปทำราชการก็เหมือนกันอีก มันมีการเออระลึกให้ดี มีการเลือกให้ดี พยายามให้ดี เออพอใจให้ดี ให้เข้ารูปเข้ารอยและระดมทุ่มเทกำลังจิตทั้งหมดแล้วปล่อยมันไปจนมันออกผลออกมา ผมเลยมองเห็นว่าทุกเรื่องนะที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จนะต้องมีหลักแห่งโพชฌงค์ นี้คำว่าโพชฌงค์มันทุกองค์แห่งการตรัสรู้ บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่พอเราเอามาพูดอย่างนี้ก็มีพวกเออพวกอนุรักษ์นิยมยึดหลักถือมั่นเกินไปบอกไม่ได้ บ้าแล้ว แหวกแนวแล้ว ว่าเอาเองแล้ว ที่จะเอาหลักโลกกุตตระมาใช้อย่างโลกียะนี่ เขาว่าไม่ได้ เอ้าหลอกคนแล้ว แหวกแนวแล้ว เอ้าก็ตามใจคุณจะว่ายังไงก็แล้วแต่คุณไปคิดดู และเดี๋ยวนี้ผมกำลังพูดอยู่อย่างนี้นะคุณก็ไปคิดดูมันจะได้หรือไม่ได้ ไอ้หลักที่เป็นอุป..เออสำหรับไปพระนิพพานนะเออมันเป็นธรรมะชั้นอุปกรณ์ ๆ นะไม่ใช่ตัวเรื่องนะ มันเป็นอุปกรณ์นะ ให้เป็นไปได้สำเร็จ ไอ้อุปกรณ์นี่มันเอาไปใช้ได้หมดเลย เอออย่างโพชฌงค์ ๗ นี่จะเอาไปใช้ประสบความสำเร็จในเรื่องโลกก็ได้ อัฏฐังคิกมรรคนะสำหรับทางไปนิพพานมันก็ไปใช้ในเรื่องโลกก็ได้แต่ต้องรู้จักใช้ ให้รู้จักความหมายอธิบายให้ดี เรื่องอิทธิบาท ๔ ก็เหมือนกันแหละ มันเรื่องไปนิพพานเหมือนกันแต่ก็มาใช้อย่างทั่วไปก็ได้ อินทรีย์ ๕, พละ ๕ ไปศึกษาดูเถอะ คงจะได้รับคำอธิบายกันมาแล้วนั่นก็มุ่งหมายถึงสิ่งที่จะดำเนินไปนิพพานเหมือนกัน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มันก็มาใช้ โลกก็จะสำเร็จประสบความสำเร็จในโลกก็ได้ นี้หมายถึงเมื่อเราเข้าใจธรรมะนั้นอย่างถูกต้องแล้วเราจะมองเห็นว่าโอ้มัน ๆ ใช้กันได้เพราะที่แท้แล้วมันก็เรื่องเดียวกันคือเรื่องความก้าวหน้าทางจิตใจ ทางร่างกาย ทางจิตใจนั้นนะทำให้มันก้าวหน้าได้อย่างไร ไอ้หลักใหญ่ ๆ ตามธรรมชาติมันก็ตรงกันหมด เออทีนี้ที่คุณถามว่าไอ้สติปัฏฐาน ๔ กับโพชฌงค์นะมันมีเนื้อหาต่างกันอย่างไร ไอ้สติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติอย่างที่ ๆ พวกท่านนั้นนะ พอปฏิบัติไอ้ ๆ ๔ นี่ ไอ้ ๗ มันจะครบอยู่ในนั้น ฟังดูให้ดีนะ ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติ ๑๖ ขั้นที่สวดนั่นนะ ต้องปฏิบัติให้ดี ให้ครบ ให้ ๆ ดีให้มันเป็นไปได้ด้วยดีนะ โพชฌงค์ ๗ มันจะครบอยู่ในนั้น ก็เราต้องมีสติระลึกนั่น ระลึกนี่เออจึงจะทำ ๆ สติปัฏฐานนี้ได้ แล้วมีการเลือก การเฟ้น การกำหนดแยกแยะนั่นมันมีธัมมวิจยะและมีความเพียรอยู่ตลอดเวลา ปีติ พอใจหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา มันเข้ารูป มันถูกต้อง มันก็เกิดสมาธิ แล้วมีสมาธิเข้ามาระดมทุ่มเทมีความถูกต้องเออแล้วด้วย ไอ้ความถูกต้องมันก็เดินไป ๆ โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเพียงแต่ดูอยู่ ตอนนี้เออก็อุปมาเหมือนกับว่าไอ้รถลากด้วยม้าสมัยโบราณนั้น มันมีแต่รถม้ามันไม่มีรถยนต์นี่ เมื่อปรับปรุงม้า ปรับปรุงรถ ปรับปรุงไอ้บังเหียน ปรับปรุงทุกอย่างเออถนนก็ดีแล้ว ถูกต้องแล้วนี่คนขับรถไม่ต้องทำอะไร ชั่วแต่ถือบังเหียนไว้เฉย ๆ ไอ้ม้าหรือรถที่ปรับปรุงแล้วมันก็ไป ๆ โดยสะดวกเรียบร้อยถึงปลายทางได้ ไอ้ตอนที่ปรับปรุงทุกอย่างหมดแล้วจับบังเหียนไว้เฉย ๆ นี่เขาว่าจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งด้วยเหมือนกันนี่เขาเรียกว่าอุเบกขา เออคือปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน ถ้ามันถูกต้องแล้วก็ปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน set the ball rolling net; set the ball rolling net มีความหมายเหมือนกันอย่างนี้ เราทำทุกอย่างให้ถูกต้องเรียบร้อย ลงรูป มีกำลัง มีแรง เสร็จแล้วก็ปล่อยมันไป มันก็ดีมากนะที่คุณถามไอ้ปัญหาข้อนี้คือมันมีคาราคาซังกันหน่วงอยู่ที่ว่าไอ้ ๆ คนทั้งหลายเขาไม่ยอมให้เอาธรรมะสำหรับปฏิบัติไปบรร..เพื่อบรรลุนิพพานเอาไปใช้อย่างโลก ๆ คุณคึกฤทธิ์นี่เขาค้านผมที่คุรุสภาแล้วยังเขายังเขียนด่าอยู่บ่อย ๆ เมื่อหลายปีมาแล้วนะ อาจารย์คึกฤทธิ์นี่เพราะผมเป็นผู้เอาเรื่องไอ้ ๆ นิพพาน เรื่องโลกุตตระมาพูดให้ชาวบ้านใช้อย่างโลกียะ เขาว่ามันเป็นไปไม่ได้ แล้วเราบอกของมันได้ แล้วเขาล้อผมหรือทำนองด่าว่าไอ้ ๆ ขนมปังทาเนย ๒ หน้านี่ไม่มีใครทำหรอก จะใช้ประโยชน์ทั้งอย่างโลกียะ โลกุตตระนี่เขาไม่มีใครทำ ไม่มีใครทาเนยขนมปัง ๒ หน้า ผมก็จะบอกเขาว่าไม่ใช่ขนมปังทาเนย ๒ หน้า มันเป็นแซนวิชประกบ ๒ หน้า ไอ้ฝ่ายหนึ่งมันจะเป็นอะไรก็ได้ ฝ่ายหนึ่งจะเป็นอีกอย่างหนึ่งก็ได้มันประกบเข้าไปแล้วท่ามันก็คงจะอร่อยดี ฉะนั้นอย่าไปถือว่าไอ้โลกุตตระนะเอามาใช้กับโลกียะไม่ได้ แล้วไม่ใช่ลักษณะบ้า ๆ บอ ๆ ทาเนย ๒ หน้า ไม่ใช่อย่างนั้น นี่คุณเออเอาไปใคร่ครวญดูให้ดีให้เข้าใจไอ้คำว่าโพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเขาจัดไว้สำหรับไปนิพพานโดยตรง เราเอามาใช้เพื่อสำเร็จประโยชน์ในทางโลก ทางโลกียะนี้ก็ได้อย่างที่ว่ามาแล้วเมื่อตะกี้นี้ โพชฌงค์ ๗ นี่จะไปใช้แก้ปัญหาได้หมดแหละ มันเป็นคู่หูกันกับไอ้เออมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ก็อยู่ในโลกนี้ก็ได้ เพื่อไปนิพพานก็ได้ ไอ้ความหมายของธรรมะมันเป็นอย่างนั้น ทีนี้มันอยู่ที่ว่าเราไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจโพชฌงค์นี้โดยละเอียด ไม่เข้าใจธรรมะเอออริยมรรคมีองค์ ๘ โดยละเอียด มันก็ใช้ไม่ได้มันก็ละเมอ ๆ ๆ แล้วก็ใช้ไม่ได้ เออจะขอร้องให้เข้าใจให้มันชัดเผงเข้าไป ไอ้โพชฌงค์องค์สำหรับตรัสรู้เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเอามาใช้ได้ทั่วไป แม้จะอยู่ในโลกนี้ จะหาเงินโดยวิธีใดเออก็ใช้โพชฌงค์ ๗ นี้ได้อย่างดีที่สุด ครบถ้วนที่สุด มันจะเรียกว่าดำเนินชีวิตก็ได้ ชีวิตนี่ต้องดำเนินโดยหลักนี้ สติเลือกมาให้หมดว่ามันจะต้องทำอะไรบ้าง พบวิจัยให้ดี ๆ แล้วก็ทุ่มเทความเพียร หล่อเลี้ยงไว้ด้วยความพอใจมันก็เข้ารูปแล้วก็ทุ่มเทกำลังงานทั้งหมดลงไป ถูกต้องแล้วก็ปล่อยให้มันออกดอก ออกผล ตอนนี้มันเรียกว่าปล่อย นั่งดูอยู่เฉย ๆ นะนี่เรียกอุเบกขา เออทีนี้ใน ๆ ๆ ขณะที่เราเจริญ สติปัฏฐาน ๔ นะจะหาพบทั้ง ๗ นี่ ทั้ง ๗ นี่จะหาพบเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่อย่างถูกต้อง ก็พอพูดมาถึงสติปัฏฐาน ๔ เออกำหนดพิจารณากายคือลมหายใจ แม้เพียงเท่านี้มันก็กว่าจะเป็นสมาธิก็จะต้องครบโพชฌงค์ ๗ เสียแล้ว สติระลึกไปในอารมณ์ของไอ้เออสตินี่มันก็วิจัย ใคร่ครวญ สังเกตแล้วก็พากเพียร ทำไป พอใจอยู่เสมอพอเข้ารูปแล้วก็ระดมเต็มที่ แล้วก็รักษาไอ้ความถูกต้องเต็มที่นั้นไว้เรื่อย ๆ ๆ เดี๋ยวมันก็ถึงที่สุด มีความเป็นสมาธิเกิดขึ้นก็ได้เออหรือว่าจะเลยมาถึงขั้นที่ ๔ เห็นความไม่เที่ยง เห็นความกลับคืน เห็นความดับสนิท เห็นความเออเห็นความไม่เที่ยง เห็นความเบื่อคลายกำหนัด เห็นความดับลง เห็นการกลับคืนนี่ มันก็มีไอ้อาการไอ้โพชฌงค์นี่อยู่ทั้งนั้น ที่มันระลึกอยู่ในสติก็มี ที่มีวิจัยอยู่ด้วยปัญญาก็มี พากเพียรอยู่ตลอดเวลา พอใจอยู่ตลอดเวลา สมาธิอยู่ด้วยตลอดเวลา แล้วมันก็เป็นอุเบกขาเป็น ๆ ออกผลออกมา เป็นผลขั้นใดขั้นหนึ่งนะ โสดาบันก็ได้ สกิทาคาก็ได้ อนาคาก็ได้ อรหันต์ก็ได้ เออคุณต้องไปศึกเออไปปฏิบัติมันเข้าจริง ๆ ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ แล้วก็จะพบว่าไอ้ธรรมะทั้งหลายมันครบอยู่ในนั้นนะ เช่นสติ..เออเซ่นสะ..(นาทีที่ 0.42.44.6) เออเช่นอิทธิบาท ๔ ก็ครบอยู่ในเมื่อ ๆ เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี่มันมีฉันทะ - พอใจ มีเออวิริยะ - พากเพียรเต็มที่ มีจิตตะ -เอาใจใส่ มีวิมังสา - สอดส่อง เดี๋ยวจะดูว่าเมื่อเราทำไอ้ สติปัฏฐาน ๔ อยู่อย่างเต็มที่นะ มันจะมีอินทรีย์ มีพละ มีศรัทธาเต็มที่ในการกระทำนะหรือว่าในต้นตอของพระธรรมอะไรทุกอย่างที่มันควรจะศรัทธาแล้ววิริยะมันก็มีอยู่คือพากเพียรอยู่ ศรัทธา วิริยะ สติเออมันก็มีอยู่ สมาธิมันก็มีอยู่ ปัญญามันก็มีอยู่ หรือจะดูว่าใน ๗ อย่างของโพชฌงค์มันก็มีอยู่ครบอย่างที่ว่า (นาทีที่ 0.43.33.4) เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ มันก็มีครบนะ เมื่อทำให้สติปัฏฐาน ๔ อยู่ให้มันมีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะมีความมุ่งหมายที่ถูกต้อง เออแล้วก็มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันโตนี้มันถูกต้องอยู่โดยอัตโนมัติแหละแม้ว่าเราหุบปากนิ่งภาวนาอยู่ไม่พูด แต่ก็ถือว่าเออมันมีการพูดที่ถูกต้อง มีการทำงานที่ถูกต้องเพราะถ้าพูดออกมามันถูกต้อง หรือว่าเออธรรมะประเภทเจตสิกธรรมที่จะทำให้พูดจาถูกต้องนะมันมีอยู่ในนั้นเต็มที่อยู่ เพียงแต่ปากมันไม่ได้พูดออกมา ดังนั้นจึงถือว่าเมื่อปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อยู่ก็มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันโต มีสัมมาอาชีโว ทีนี้สัมมาเออ วายาโมนั้นมีแน่มานะพากเพียรอยู่อย่างถูกต้อง และสัมมาสติมันก็มีอยู่เต็มที่ สัมมาสมาธิมันก็มีมีอยู่เต็มที่ ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็มีครบเต็มที่เมื่อเราปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ อยู่อย่างเต็มที่ ทีนี้คุณก็ดูเองว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร มันไม่ได้เกี่ยวข้องเหมือนกับว่าของ ๒ อย่างเอามาเกี่ยวกันเข้าอย่างนั้นไม่ใช่ มันประสมประสานกลมกลืนอยู่ในนั้นนะ เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้มันมีไอ้เออมีอะไร ๗, มีอะไร ๘, มีอะไร ๕, มีอะไรนี่ รวมอยู่ในนั้น ประสมกลมกลืนอยู่ในนั้น ถ้ามองเห็นธรรมะได้ขนาดนี้ก็จะดีมาก เหมือนวง ๆ เหมือนว่าเอา ๆ ว่าเราประพฤติพรหมจรรย์ เป็นภิกษุอยู่อย่างเต็มที่นั้นนะแล้วมันมีอะไรบ้างหละ มันมีครบไอ้เหล่านี้แหละ เมื่อเราเป็นพระที่ดีอยู่นี่ อย่างนี้ ว่าอย่างนี้กันดีกว่า มันจะมีสติ มีธัมมวิจยะ มีวิริยะ มีปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาอยู่ในนั้นเสร็จ แล้วถ้าสิ่งใดมันเป็นไปในทางสูง ในทางถูกต้อง แล้วมันจะมีไอ้โพชฌงค์ ๗ นี้อยู่ในนั้นอย่างครบถ้วนแหละ นี้คนมันไม่ดูหรือมันดูไม่เป็น มันก็ไม่เห็น แต่ส่วนมากมันไม่ได้ดูเพราะมันโง่ มันไม่รู้ มันเห็นเป็นคนละเรื่อง มันเป็นเห็นเป็นคนละเรื่องอยู่กันคนละแห่งแล้วมันก็ไม่ได้ดูอ้าวมันอยู่ในนี้เอง ฉะนั้นเมื่อเราทำอะไรให้ถูกต้อง เป็นระบบ แล้วจะมีโพชฌงค์ ๗ อยู่ในนั้นครบถ้วนหมด แม้ในการศึกษาที่เรียกว่าเป็นเบื้องต้นของทุกสิ่งนะมันก็ดูเถอะ ถ้าดีจริงแล้วมันจะมีไอ้ครบ ๗ นี้ในการศึกษา จะศึกษาปฐม มัธยมอะไรก็สุดแท้ ศึกษามหาวิทยาลัยก็ได้ มันต้องมีสติที่จะระลึกอยู่รอบตัว มันมีธัมมวิจยะ เลือกเฟ้นเออถูกต้องอยู่รอบตัว มีวิริยะพากเพียรเต็มที่ มีปีติหล่อเลี้ยงนี่ชีวิตอยู่ตลอดเวลา พอใจในการศึกษานั้นอยู่ พอปัสสัทธิมันเข้ารูป ลงรูป ซึ่งทีแรกมันเกะกะ ขุกขิกเออขัดแย้งอะไรกันอยู่ เออมันก็เข้ารูป ลงรูปเรียบไปเลยก็ทุ่มเทกำลังลงไปเป็นสมาธิแล้วก็รอกว่ามันจะถึงวันสอบไล่หรือว่าสอบไล่ได้ นี้มันเป็นอุเบกขาเออคือรอ เออ..เอาไอ้ทิดไปนอนแล้วเหรอ
เสียงบุรุษ: ยังครับ
ท่านพุทธทาส: เออ..เอ้า ๆ ไปจัดการให้มันปลอดภัย
เสียงบุรุษ: ครับผม (นาทีที่ 0.47.51.2)
ท่านพุทธทาส: เรา ๆ ต้องการเท่านั้นแหละ
ดังนั้นผมจึงบอกทุกคนบอกว่าเออไอ้ธรรมะนี้ ไอ้หลักธรรมะนี้มันช่างเออสารพัดนึกเสียจริง ๆ มันสารพัดนึก คือว่าเราไปใช้ได้ทุกอย่าง จะศึกษา จะเล่าเรียน จะประกอบอาชีพ จะมีครอบครัว จะดำรงอะไรต่าง ๆ กระทั่งว่าจะปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ในที่สุดก็คือธรรมะนี้แหละ และประโยชน์เออไอ้ธรรมเออธรรมะหมวดที่จะเสนอแนะให้ก็คือโพชฌงค์ ๗ นี่เออผมเคยพูดมาตลอดเวลา ถ้าคอยใช้โพชฌงค์ ๗ ให้ ๆ เป็นจะแก้ปัญหาที่จะใช้ได้ในทุกกรณีเออหน้าที่การงานของมนุษย์เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เป็นของประณีต ละเอียด สุขุมและใช้เวลานานนี่ ไอ้งานอะไรที่มันประณีต ละเอียด สุขุม ต้องใช้เวลานานก็เอาไอ้โพชฌงค์ ๗ นี่ยัดเข้าไปเถอะ เออมันจะสำเร็จ ไอ้ที่มันละเอียด สุขุม ใช้เวลานานก็พวกไอ้ศิลปะต่าง ๆ นี่ที่มันยาก ที่มันลำบาก เอาโพชฌงค์ ๗ ยัดเข้าไปเถอะมันก็จะกลายเป็นของง่าย เออเป็นของสั้นเข้ามา แต่ในโรงเรียนเขาไม่ได้สอนอย่างนี้ ในโรงเรียนนักธรรมเขา ๆ เขาก็เก็บไว้เพื่อไปนิพพานอย่างเดียว แล้วก็ในวงการศึกษา ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยมันก็ไม่ได้สอน คุณก็รู้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอ แล้วทีนี้ผมก็มาพูดแหวกแนวแปลกคนอื่นเออเขาก็หาว่าหลอกลวงและอวดดี นอกรีต แต่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ เอาไปคิดดู ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเป็นไปในทางดี ทางสูงและจะต้องแก้ด้วยวิธีการของโพชฌงค์ ๗ เราอย่ามุ่งหมายแต่เพียงว่าจะไปมรรคผลนิพพาน จะมุ่งหมายความสำเร็จทุกอย่าง ทุกประการต้องอาศัยโพชฌงค์ ๗ จะเป็นงานฝีมือ งานละเอียด งานอะไร ยิ่งต้องการ แม้แต่จะทำนา ทบและทวนความเข้าใจอีกทีก็ได้ว่าจะทำนาเป็นชาวนาจะต้องมีสติ ต้องโพชฌงค์คือมีสติสมบูรณ์ในเรื่องที่จะต้องทำนา เขาจะต้องรู้เรื่องดิน เรื่องข้าว ๆ พืช เรื่องน้ำ เรื่องเออโรค เรื่องอะไรต่าง ๆ นี่ต้องรอบรู้ ต้องระลึก ๆ ได้แล้วก็ธัมมวิจัย แยกแยะมันให้ถูกกับเรื่องที่จำเป็นของเราแหละ และก็วิริยะก็ทำ ๆ ด้วยความบากบั่นแหละ กับปีติพอใจยิ้มกริ่มอยู่ตลอดเวลา ไถนาก็ยิ้ม ขุดนาก็ยิ้ม อะไรก็ยิ้มกริ่มอยู่ตลอดเวลาเหมือนชาวนาโบราณ ชาวนาแก่ ๆ โบราณจะยิ้มกริ่มอยู่ตลอดเวลากลางแดด กลางฝน เออปีติและก็โพชฌงค์ สิ่งต่าง ๆ มันดำเนินไปดีเข้ารูป เข้ารอยแน่นอนแล้วก็เรียกว่าปัสสัทธิและโพชฌงค์ ที่มีสมาธิคือแน่วแน่ลงไปในการกระทำนั้นเออก็เป็นอันว่าปล่อยได้ ทีนี้ปล่อยรอเวลาเออกว่าข้าวจะออกรวงได้เพราะทุกอย่างมันถูกต้อง มันเป็นธรรมะวิทยาศาสตร์ มันเป็นศาสนาวิทยาศาสตร์ ทีนี้ผมกำ..กำลังถูกด่าโดยบุคคล (นาทีที่ 0.52.41.6) เขียนหนังสือขึ้นมาด่าว่าผมใช้คำว่าวิทยาศาสตร์แก่พุทธศาสนา เออเขาว่ามันเป็นไปไม่ได้ ว่าเอาเอง (นาทีที่ 0.52.51.7) วิทยาศาสตร์ก็มาสบหลักของธรรมชาติตามวิถีทางวิทยาศาสตร์และมันเป็นไปได้ให้พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เป็นปรัชญาเออเพ้อเจ้อ ถ้าคุณทำอะไรสำเร็จคุณจะพบไอ้ ๖..ไอ้ ๗ ประการนี้ ถ้าคุณเจริญสติปัฏฐานสำเร็จคุณจะพบไอ้ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการหรือพบอื่น ๆ ด้วยแหละที่เขามีไว้สำหรับว่าเป็นอุปกรณ์ให้บรรลุ มรรคมีองค์ ๘ ก็อยู่ในนั้น อิทธิบาท ๔ ก็อยู่ในนั้น พละก็อยู่ในนั้น อินทรีย์ก็อยู่ในนั้น ในบรรดาโพช..เออในบรรดาโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ผมยกเอาไอ้สติปัฏฐาน ๔ นี่เป็นตัวหลักเออเป็นตัวงานที่จะต้องประพฤติจะทำเป็นงานหลัก ทีนี้นอกนั้นเป็นอุปกรณ์ จะมองเห็น จะหาพบ จะสนับสนุนให้สติปัฏฐาน ๔ นี่สำเร็จตามความมุ่งหมาย ที่ตัดกิเลสและบรรลุมรรคผลนิพพาน ทีนี้เขามาอธิบายให้เห็นว่าเมื่อ ๆ ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อยู่โดยถูกต้องแล้ว ไอ้คำว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมันก็เต็มอยู่ในนั้นด้วย ดังนั้นจึงมีอิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ อยู่ในนั้นด้วย หาพบอยู่ในนั้นด้วย นี้พูดอย่างเอาเปรียบก็ว่าคุณดำรงชีวิตอยู่ให้ถูกต้องนะ เท่านี้คำเดียว ดำรงชีวิตอยู่ให้ถูกต้อง แล้วจะหาพบไอ้ทั้งหมดนี้อยู่ในไอ้การดำรงชีวิตที่ถูกต้อง ถ้ามันถูกต้องจริง แล้วพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าดำ..เอออยู่กันให้ถูกต้องเถอะแล้วโลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ คำพูดง่าย ๆ เหลือเกินนะ “สัมมา วิหะเรยยุง” อยู่กันอย่างถูกต้องแล้วโลกนี้ไม่เว้นจากพระอรหันต์ ไม่ ๆ ไม่ว่างจากพระอรหันต์ ก็ไปคิดดูเถอะไอ้ถูกต้องนะมันประกอบด้วยธรรมเยอะแยะไปหมด มีชีวิตอยู่อย่างถูกต้องเท่านั้นแหละ จะมีหมดนี่ มีสติปัฏฐาน ๔ มีเอออิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, เออโพชฌงค์ ๗ มันก็มี ๔, ๔, ๔, มีสติปัฏฐาน ๔, มีเออสัมมัปปธาน ๔, มีอิทธิบาท ๔, มีอินทรีย์ ๕, มีพละ ๕, มีโพชฌงค์ ๗, มีมรรคมีองค์ ๘ ครบ ๓๗ อย่างอยู่ในความมีชีวิตที่ถูกต้อง ดังนั้นอย่าเอาธรรมะไปไว้ที่อื่น ลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ ไกลลิบไป ให้มันอยู่ที่เนื้อที่ตัวของมนุษย์นี่ แล้วมนุษย์ก็จะมีความถูกต้องเออในชีวิตนั้นและความเป็นมรรคผลก็ไม่ ๆ ไม่ไปไหนเสีย แม้แต่ความสำเร็จทางโลก ๆ นี่ก็ไม่ไปไหนเสีย มันจะสำเร็จเออในทางโลกเต็มที่หรือเปล่านี่และพร้อมกันนั้นมันก็มีการดำเนินไปทางฝ่ายโลกุตตระด้วยคือมันเออจิตใจมันจะดีขึ้น สูงขึ้นไปในทางที่อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง อยู่เหนืออิทธิพล เหนือเออความครอบงำของโลก นี่เรียกว่าอยู่อย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นเท่ากับช่วงคุณบวช ๓ เดือนคุณเข้าใจเรื่องนี้แหละก็พอแล้ว จะเข้าใจความมีชีวิตอยู่อย่างถูกต้องและก็ดำเนินชีวิตให้มันถูกต้องไปจนตาย เข้าใจว่ามันจะต้องได้รับผลสูงสุดก่อนตายแน่ ขอให้มีชีวิตอยู่อย่างถูกต้องจึงจะบรรลุเอาไอ้ธรรมะสูงสุดก่อนตายแน่ ๆ ถ้ามันเจริญอยู่ในธรรมะเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือโพชฌงค์ ๗ นี่สนใจให้มาก ปรับปรุงให้มันเป็นโพชฌงค์ ๗ อยู่ทุกกระเบียดนิ้ว ไอ้นี่มันหยาบคาย ความคิดหยาบคาย การกระทำหยาบคาย สติปัญญามันก็หยาบคาย แม้อยู่ในวัด แม้บวชอยู่ มันก็ยังหยาบคาย มีสติปัญญาที่แข็งกระด้างเพราะมันไม่เข้ารูปเข้ารอยกันกับไอ้ธรรมะเหล่านี้ ถ้าคุณเข้าใจไอ้เรื่องของธรรมะชื่อนั้น ๆ แล้วคุณก็มองเห็นได้เองว่ามันต่ำกันอย่างไร คุณไม่ต้องถามกันแล้วว่ามันต่างกันอย่างไร นี้ถ้าว่าคุณเข้าใจหนักเข้าไปอีกคุณจะไม่ถามว่ามันต่างกันอย่างไร จะถามว่ามันฟั่นเกลียวกันอยู่อย่างไร ว่าอย่างนั้นมากกว่า ถ้าคุณเข้าใจเรื่องนี้ดีแล้วคุณจะไปถามไม่ถามอย่างที่ถามเมื่อตะกี้ว่ามันต่างกันอย่างไร โพชฌงค์กับเออสติปัฏฐาน ๔ จะถามว่ามัน สั้นเกลียว (นาทีที่ 0.59.10) เป็นเนื้อเดียวกันอยู่อย่างไรมากกว่า มันจะต่างกันโดยชื่อ โดยความหมายในข้อ ๆ หนึ่งก็ตามแต่พอเออถึงตอนที่มันทำงานจริงมัน ๆ มันกลมกลืนกันเป็น ๆ เป็นสิ่งเดียวกัน เหมือนกับแป้ง กับน้ำตาล กับมัน ไอ้น้ำมันนะ มันไม่ใช่อย่างเดียวกัน แป้งมันอย่างหนึ่ง น้ำตาลมันอย่างหนึ่ง ไอ้มัน ๆ อย่างหนึ่ง แต่พอมากวนกันเข้าเป็นขนมแล้วมันเป็นยังไงคุณคิดดู พอกวนเข้าเป็นขนมแล้วมันจะมา ๆ มาถามว่ามันต่างกันอย่างไรนี่ไม่มีทางแล้ว มัน ๆ ก็จะถามว่าไอ้แป้ง ไอ้น้ำตาล น้ำมันนี่มันสัมพันธ์ ฟั่นเกลียวกันอย่างไร เกิดเป็นขนมขึ้นมากินได้อย่างหนึ่ง เออธรรมะก็อย่างนี้แหละพอถึง ๆ ถึงคราวที่มันสำเร็จประโยชน์ มันผสมกลมกลืนกันสนิทและอริยมรรคมีองค์ ๘ อาจจะเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ต่างกันแต่โดยพฤตินัยที่มันเป็นอยู่จริงมันฟั่นเกลียวกันอยู่ไม่ ๆ แยกกันได้ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะถามว่าต่างกันอย่างไร ทีแรกได้ยิน แรกได้ฟัง สั่งสอนกันให้แยกเป็นอย่างต่างกันอย่างไรก็พูดได้ ในโรงเรียนเขาก็สอนกันอย่างนี้โดย ๆ นิตินัย นี้เราทำจนให้มันเป็นของจริงเกิดขึ้นเป็นพฤตินัย ต่อไปก็โอ้มันฟั่นเกลียวกลืนกลมกันอยู่ผสมกันอยู่ แล้วจะไม่เห็นว่าต่างกันที่ตรงไหน หัวใจของมันเป็นความสะอาด เป็นความสว่าง เป็นความสงบทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าพระพุทธ ไม่ว่าพระธรรม ไม่ว่าพระสงฆ์ เออพอจะสรุปกันได้สักทีกระมังว่าเราจะมีชีวิตชนิดที่ประกอบไปด้วยโพชฌงค์ ๗ ไปจำให้แม่น ๆ นะ ต่อไปนี้จะมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยโพชฌงค์ ๗ แล้วก็เท่านั้นแหละประเสริฐที่สุดแล้วไม่เสียทีบวชหละถ้ารู้เรื่องนี้ เอ้า..ใครมีปัญหาอะไรอีก
เสียงบุรุษ: เออสิ่งที่ผมจะเรียนถามท่านอาจารย์ไม่เชิงเป็นปัญหานะครับ แต่เป็นลักษณะการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาซึ่งเมื่อคืนวันศุกร์ซึ่งมีท่านวีรยุทธ์ได้ถามท่านอาจารย์ ซึ่งหลังจากที่ผมแสดงความคิดเห็นแล้วอยากใคร่ให้ท่านอาจารย์ได้วิจารณ์หรือว่าแสดงความคิดเห็นว่าความคิดเห็นของผมนั้นถูกต้องหรือว่าเออควรปรับปรุงอย่างไร สำหรับปัญหาของท่านวีรยุทธ์ในคืนวันศุกร์ที่ถามว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยให้หนุ่มสาวสมัยนี้สนใจในศีลธรรมมากขึ้นหรือเข้าหาศาสนามากขึ้น ซึ่งอาจารย์ก็ได้ตอบไปหลาย ๆ อย่าง ผมไปพิจารณาดูว่าในความคิดผมเองนั้นมันจะแยกได้เป็น ๓ สาเหตุด้วยกันคือเป็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้ผลเกิดเป็นเช่นที่เราเห็นทุกวันนี้ ประการที่ ๑ คือทางด้านการเมือง ประการที่ ๒ ทางภาวะเศรษฐกิจ และสุดท้ายคือสื่อเข้าถึงศาสนาคือพระสงฆ์นั่นเอง สำหรับทางการเมืองนั้นเราจะมองเห็นได้ว่าขณะนี้ประเทศชาติของเรานั้นโดยกล่าวโดยสรุปคือทางรัฐบาลผู้นำของประเทศไม่ได้มีความตั้งใจหรือว่าพยายามกระทำสิ่งแวดล้อมของประชาชนให้ไปในลักษณะที่จะส่งเสริมให้เข้าถึงศาสนา มีการมอมเมาต่าง ๆ เช่นลอตเตอรี่ก็ดี โรง ๆ ยาสูบหรือสุราและสิ่งอบายมุขต่าง ๆ อย่างที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างกรณีของจีนแดงซึ่งท่านคึกฤทธิ์ได้พูดว่าเออเดี๋ยวนี้หนุ่มสาวเขาสนใจศาสนามากขึ้นอาจจะเป็นลักษณะที่อาจารย์บอกว่าเป็นเผด็จการ ทำให้การควบคุมหรือว่าเออการชี้แนะประชาชนกระทำได้ง่ายขึ้น ในกรณีของเมืองไทยนั้นเราไม่ได้เป็นอย่างนั้นและยิ่งประกอบกับลักษณะพื้นฐานของไทย คนไทยบางอย่างที่อาจารย์หรือพวกเราได้ยิน เคยได้ยินว่าทำอะไรตามใจคือไทยแท้ ซึ่งไม่ชอบมีการบังคับเพราะฉะนั้นทำให้การที่จะชี้แนะประชาชนได้เห็นถึงความเป็นสิ่งที่ดีงามของศาสนาและศีลธรรมนั้นกระทำได้ยาก สำหรับเออทางด้านเศรษฐกิจนะฮะคือทุกวันนี้เราต้องยอมรับอย่างว่ามันไม่เหมือนเมื่ออดีตคือ ๑๐, ๒๐ ปีที่แล้วเพราะฉะนั้นการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดนั้นทำให้คนเราต้องดิ้นรนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โอกาสที่จะมาคิดถึงสิ่งรอบตัวหรือไกลตัวโดยเฉพาะเรื่องศาสนาซึ่งคนส่วนใหญ่แล้วก็มักจะกระทำไปในลักษณะที่ว่าไม่ถูกต้องเช่นทำบุญหวังผลชาติหน้าหรืออะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อการเอาตัวรอดเป็นประเด็นสำคัญการคิดถึงศาสนาจึงทำให้เออเขามองข้ามไปและยิ่งแบบเออขณะนี้อย่างเช่นเมื่อกี้ท่าน ๆ อาจารย์เพิ่งอธิบายปัญหาเมื่อกี้ว่าชาวนาโบราณนั้นทำนาด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสซึ่งเดี๋ยวนี้คงจะหาดูไม่ได้เพราะว่าอะไรมันก็เออบีบรัดทุกอย่าง ในประเด็นสุดท้ายผมใช้คำว่าสื่อเข้าถึงศาสนาหรือพระสงฆ์ จากหน้าใน..จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เราจะเห็นว่ามากมายหลายเรื่องที่พระสงฆ์นี่ได้ทำสิ่งที่แปดเปื้อนพระศาสนา พระอาจารย์หรือว่าเออพระเถระบางองค์ก็ทำสิ่งซึ่งเช่นใบ้หวย หรือมีเครื่องรางของขลัง หรือไม่เร็ว ๆ นี้เมื่อที่วัดเทพศิรินทราวาสนั้น ผมจำชื่อไม่ได้ก็มีการแจกผ้ายันต์ที่ชื่อว่าพระนารายณ์ทรงทัพปราบไตรโลกและให้ชื่อว่ารุ่นปราบโยนกำแหง ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าทำไมสิ่งเหล่านี้จึงเกิดขึ้นหรือแม้แต่ผมอ่านหนังสือพิมพ์เมื่อไทยรัฐฉบับวันที่ ๒๑ ขนาดแปดโมงกว่าแล้วคุณพินิจ สมบัติศิริซึ่งเป็นอธิบดีกรมการศาสนานี่ได้ไปขับรถผ่านไปเขาเห็นว่ามีพระสงฆ์ประมาณ ๕๐-๖๐ รูปกำลังรอรับบิณฑบาตแถวบางลำพูถึงขนาดต้องแจ้งตำรวจมาจับไป แต่ในที่สุดตำรวจก็ปล่อยเพราะหัวหน้าทีมของพระนั้นเป็นอดีตนายตำรวจและอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งคุณพินิจ สมบัติศิริได้ยกตัวอย่างคือที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเองมีวัดใหญ่วัดหนึ่ง ท่านไม่ได้ออกชื่อ เจ้าอาวาสมีแม่ชีเป็นภรรยาถึง ๒ คนและก็มีทีวีดู มีอะไรต่าง ๆ ซึ่งจากตัวอย่างที่เราเห็นนี่เยาวชนและหนุ่มสาวนี่ซึ่งผมเชื่อว่าเขามีความปรารถนาดีแล้วยิ่งในยุคนี้กำลังแสวงหาสิ่งที่ถูกต้อง ที่ดีงามเพื่อเป็นหลักยึด เมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ทำให้เขาเกิดความสับสนไม่แน่ใจว่าศาสนาเป็นอย่างนี้หรือ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าไอ้สาเหตุที่ผมรวบรวมมาทั้ง ๓ ประการนี้อาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้างว่าทำไมเยาวชนหนุ่มสาวถึงได้เออผละจากศาสนาหรือถอยห่างออกไป ฉะนั้นถ้าเอออย่างที่ในกรณีอันสุดท้ายซึ่งว่าพระสงฆ์เองนั้นผมเคยอ่านเจอในที่หนึ่งว่าผู้ที่จะทำลายพระศาสนานั้นคือศิษย์ตถาคตนั่นเอง เมื่อเราพิจารณาทั้ง ๓ ข้อแล้วเราก็พอจะนับเนื่องได้ว่าศาสนานั้นก็คงจะเข้าอยู่ในประเภทที่ว่าเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งเราไม่อาจจะยึดมั่นได้นักว่ามันจะบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเออเหมือนเมื่ออดีตที่ผ่านมา เออก็เลยจะขอเรียนให้ท่านอาจารย์ได้ ๆ ช่วยวิจารณ์หรือว่า..
ท่านพุทธทาส: เออ..สรุปปัญหา สรุปปัญหาว่ายังไง ปัญหาสรุปสั้น ๆ ว่ายังไง
เสียงบุรุษ: ปัญหาที่ว่าเออผมคิดเห็นอย่างนี้ว่าทำไมหนุ่มสาวหรือว่าเยาวชนนี่ไม่เข้าหาเออวัดหรือว่าศาสนาเหมือนเช่นเมื่อก่อน นี้ไม่ทราบว่าจากที่ผมได้..
ท่านพุทธทาส: แล้วก็มีวิธี ๓ วิธี
เสียงบุรุษ: ไม่ ที่ ๆ ผมสรุปว่าสาเหตุมันเป็นอย่างนี้
ท่านพุทธทาส: นั่นแหละ
เสียงบุรุษ: นี้ไม่ทราบว่าอาจารย์จะเห็นด้วยหรือว่า..
ท่านพุทธทาส: ถ้าไม่แก้ไข ๓ วิธี ๓, ๓ สาเหตุ ใช่ไหม
เสียงบุรุษ: ครับ ครับผม
ท่านพุทธทาส: เออฟังดูมันจะสวนทางกันเสียแล้ว เท่าที่ ๆ เราจะพูดนี้ เออคุณจะพูดออกไปหรือผมจะพูดเข้ามาการที่คนไม่สนใจธรรมะหรือศาสนาคงมีหลายสาเหตุนะ เดี๋ยวนี้ที่มันลากออกไปก็เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมือง เรื่องอะไรต่าง ๆ มันลากคนออกไปจากความสนใจธรรมะหรือศาสนา จนกระทั่งว่ามันมีเออการสอนที่ดี อบรมที่ดี วัฒนธรรมดี ยึดมั่นอยู่ได้ไอ้คนมันก็ไม่ไปเหมือนกันนะ ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันก็จะลากคนให้ห่างศาสนาออกไปไม่ได้ เดี๋ยวนี้ไม่มีการศึกษาที่พอที่ ๆ ๆ พอแข็งแรงพอ วัฒนธรรมที่ดีพอ อะไรที่ดีพอ ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันก็ลากคนออกไปจากศาสนา เออคุณมองอย่างนั้นก็ถูกนะ ไม่ใช่ไม่ถูก เออคือมองว่าจะดึงคนกลับไปสู่ศาสนาโดยทางการเมือง ไม่ได้ใช้คำว่าในเออโดยวงการที่ทรงอำนาจคือรัฐบาล เออถ้ารัฐบาลเขาใช้อำนาจในรูปแบบการเมืองก็ได้ให้คนกลับไปสู่ธรรมะหรือศาสนา ทีนี้ผมก็เคยมีความคิดเห็นว่ามันต้อง ๆ มี ๆ ความหมายเป็นเผด็จการอยู่บ้างนะแหละ เออการที่ศีลธรรมจะกลับมานี่ต้องมีการกระทำชนิดที่เป็นเผด็จการอยู่บ้าง ต้องปล่อยมัน ๆ ไม่มีใครเอา ทีนี้เรื่องเศรษฐกิจเออถ้ามันมีเศรษฐกิจดี คนอิ่ม คนสบายดีก็อาจจะดึงเขาเข้ามาสู่ศาสนาแต่ข้อเท็จจริงมัน ๆ ก็ไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้น ถ้าเศรษฐกิจดี สบายดี กินดี อยู่ดี ไอ้มันก็ไปหลงกินดี อยู่ดี ไม่ค่อยมาสนใจกับศาสนาเสียก็มี เออเรื่องเศรษฐกิจนี่เอาแน่ไม่ได้ ที่ว่าอิ่มปาก อิ่มท้องเสียก่อนแล้วธรรมะ แล้วมาสนใจธรรมะหรือธรรมะจะมีเองนี่เออโดยแท้จริงมันจะเป็นไปไม่ได้ อิ่มปาก อิ่มท้องเสียก่อนมันก็เอร็ดอร่อย สนุกสนาน เพลิดเพลินไป ไม่มาสนใจเออศาสนาก็ได้ ไอ้ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเออโดย ๆ โดยตัวมันเองนั้นมันจะไม่ดึงคนมาสู่ศาสนา เออมันจะดึงออกไปหาไอ้ความสุขอย่างโลก ๆ หรือว่าเห็นแก่ตัว ผลของเศรษฐกิจจะทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้นแล้วก็เกิดก่อเออการขูดรีดกระทั่งเกิดสงครามนะไอ้เรื่องเศรษฐกิจนี่ เออถ้าว่าศีลธรรมไม่เข้ามาเศรษฐกิจก็จะเป็นพิษ เป็นโทษอยู่เรื่อยไป เออถ้าศีลธรรมเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจนี่เศรษฐกิจก็จะไม่ ๆ เป็นพิษร้าย ไม่เป็นอันตราย ดังนั้นเรามองดูกลับไปอีกทางหนึ่งว่าถ้าศีลธรรมมี ถูกต้องแล้วจะไม่เกิดปัญหาชนิดนี้ จะไม่ต้องเกิดปัญหาชนิดที่ใช้อำนาจ ใช้เออเศรษฐกิจ ใช้อะไรเพื่อจะแก้ไขสังคม นี่ผมพูดอยู่เสมอเลยว่าไอ้แก้ ๆ ไขปัญหาศีลธรรมให้ตกเสียแล้ว ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปกครอง ปัญหาไอ้ผลิต อุตสาหกรรมอะไรต่าง ๆ จะถูก จะ ๆ ถูกขึ้นมาเองเพราะมันมีศีลธรรม ทีนี้ปัญหามันก็ย้อนกลับว่าเดี๋ยวนี้มันไม่มีศีลธรรมนี่ แล้วจะทำยังไงให้ศีลธรรมกลับมาเพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง การเศรษฐกิจ เดี๋ยวคุณก็ปรับปรุงการเมืองอีก ปรับปรุงเศรษฐกิจอีก มันจะเล่นวัวกินหางหรืออะไรไอ้งูกินหางอะไรกันอยู่ไม่ ๆ ไม่สิ้นสุด ก็เรามามุ่งหมายที่จะทำให้ประชาชนมีศีลธรรม เอาละ แต่ว่าเออปรับปรุงเศรษฐกิจให้ดีขึ้นก็ต้องควบคุมให้ ๆ อยู่นะ ให้เศรษฐกิจดึงคนไปสู่ศีลธรรมหรือให้ ๆ ๆ ให้เศรษฐกิจทำให้คนชอบศีลธรรมหละก็ได้ ดีแน่เพราะเขาก็อิ่มปาก อิ่มท้องแล้วก็ควรจะพอใจศีลธรรม ให้นักการเมืองเห็นประโยชน์ของศีลธรรม นักการเมืองทุ่มเท แก้ไขปัญหาทางศีลธรรมยิ่งกว่าแขนงอื่น นี่นะถูกที่สุดนะ ถ้านักการเมืองเขาระดมทุ่มเทแก้ไปปัญหาทางศีลธรรมให้ประชาชนมีศีลธรรม แล้วปัญหาไอ้การเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาคดโกง ขูดรีดทั้งหลายจะไม่มี เอ้าก็มาถามย้อนดิมา ๆ กลับมาอีกว่าทำไมหละจะให้พลเมืองมีศีลธรรมได้อย่างไรอีกหละ มันเป็นอย่างนี้ มัน ๆ จะตีวงกันอยู่อย่างนี้ ถ้าเช่นนั้นไอ้นักการเมืองก็ดี เออผู้ทรงอำนาจก็ดีจะต้องเห็นความจำเป็นของการที่จะต้องมีศีลธรรม นี้จะมีอุบายอะไร วิธีการอะไร เล่ห์เหลี่ยมอะไรก็เอามาใช้กันให้หมดหละที่พลเมืองมันกลับมีศีลธรรม เออที่ว่าเมื่อตะกี้สำหรับพระเออพระทำอะไรผิด ๆ นั้นคงไม่มีความหมายอะไรนักหละ ถ้ามีประชาชนที่ดีมันไม่เคารพ ไม่นับถือ มันไม่เอาอย่าง มันไม่ถือเอาเป็นหลัก เป็นเกณฑ์นั่นแหละ เพราะว่าพระที่ดีมันก็มีอยู่ เขาสอนอยู่ไอ้คนมันก็ยังไม่เอานะ ไอ้เราก็ทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้เออถ้าว่าพระไม่ดีเกิดขึ้นก็อย่า ๆ ไปส่งเสริม อย่าไปทำให้มันอยู่ได้เฉย ๆ เสียมันก็ละลายไปเอง ก็มาสนใจไอ้พระที่สอนถูกต้องเออให้ได้มีโอกาสสังสอนนะ ให้ทำหน้าที่ ให้พระได้ทำหน้าที่สำเร็จคือประชาชนเข้าใจคำสั่งสอน ยินดีปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นมันก็จะมาเออสู่ต้นตออันแท้จริงคือว่าไอ้การศึกษานี่ การศึกษาวัฒนธรรม ศีลธรรมนี่มันเป็นต้นตอแท้จริง จัดการศึกษาให้ถูกต้อง ปรับปรุงวัฒนธรรมให้กลับไปสู่ความถูกต้องตามแบบที่มันเคยถูกต้อง นี่เป็นการตั้งต้นที่ ๆ ถูก ที่ ๆ หนักแน่น ที่มั่นคง ที่ล่ำสันแข็งแรงที่สุด แต่การศึกษาถูกต้องอย่างเดียวแล้วมันก็ช่วยได้มากเหมือนกัน ผมแกล้งพูด แกล้งตะโกนว่าไอ้การศึกษานั้นไม่ใช่อะไรอื่นนะมันเป็นเพียงการกรอกศีลธรรมลงไปในกะโหลกของประชาชน แต่เดี่ยวนี้เขาไม่ได้เขาไม่ ๆ ไม่พูดอย่างนี้แล้วจะไม่เห็นด้วยก็ได้เพราะการศึกษาคือเตรียมคนให้มันสามารถ ให้มันรอดอยู่ได้ ให้มันมีอาชีพ ให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อเช้าก็ยังได้ยินอย่างนั้น เออเจ้าหน้าที่การศึกษาที่เขามาบรรยายจะจัดการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานของประชาธิปไตย นี่มันกำกวมนักเพราะมันยังไม่รับประกันไอ้ความเห็น..ความไม่เห็นแก่ตน การศึกษานั้นอาจจะทำให้เห็น ๆ แก่ตัวมากขึ้นก็ได้ถ้าประชาธิปไตยชนิดที่เห็นแก่ตัวแล้วมันไปไม่รอดคือประชาธิปไตยที่ไม่มีศีลธรรม มันไปไม่รอด ถ้าประชาชนมันไม่ ๆ ไม่มีศีลธรรมแล้วประชาธิปไตยนั้นก็เน่านะ ประชาธิปไตยโรคร้ายเชื้อ ๆ ๆ เชื้อร้ายทั้งนั้นนะ ต่อเมื่อประชาชนมันมีศีลธรรมประชาธิปไตยนั้นจะดีเออจะถูกต้อง จะมีประโยชน์สำหรับมนุษย์ ต้องพูดว่าประชาธิปไตยของผู้มีศีลธรรม พูดเฉย ๆ ไม่ได้หรอกเพราะมันไม่รับประกัน ต้องเป็นประชาธิปไตยของมนุษย์ผู้มีศีลธรรม ต้องจัดการศึกษาให้ถูกต้องเออเพื่อมนุษย์มีศีลธรรมแล้วประชาธิปไตยมันก็ดีเอง พอพลเมืองมีศีลธรรมแล้วมันก็ทำประชาธิปไตยได้ถูกต้อง นี้มันพูดข้ามกันอยู่ ไขว้กันอยู่ การศึกษาเพื่อประชาธิปไตยถ้าคนมันไม่มีศีลธรรมวินาศหมดเพราะประชาธิปไตยมันมีสิทธิที่จะยื้อแย่ง จะคัดค้าน จะต่อสู้เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง ประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้มันเป็นสิทธิเสรีภาพเพื่อประโยชน์ของตัวเอง นี่มันไม่ใช่ประชาธิปไตย กระผมก็พูดไปในการบรรยายครั้งก่อน ๆ ว่าไอ้ประชาธิปไตยนั่นควรจะแปลว่าประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ อย่าเอาประชาชนเป็นใหญ่กันเลยเพราะมันไม่แน่ ถ้าประชาชนของเราเลวอยู่เป็นส่วนมาก็ได้ ฉะนั้นอย่าเอาประชาชนเป็นใหญ่ ให้เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่คือใครจัด ใครจะทำ ใครจะดำเนินงานก็ขอให้มันยุติลงไปว่าประโยชน์ของประชาชนทั้งหลาย ทั้งหมดไม่ใช่คนเดียว นั้นนะเป็นของสูงสุด เดี๋ยวนี้เขาประชาธิปไตยตัวใคร ตัวมันเพราะมันมีสิทธิเสรีเพื่อจะทำแก่ตัวเรา เพื่อประโยชน์แก่ตัวเรา เดี๋ยวนี้ประชาธิปไตยผีสางที่ไหนก็ไม่รู้ มันไม่มีธรรมะ มันไม่มีศีลธรรม มันไม่มีศาสนาที่ว่าใคร ๆ ก็มีสิทธิจะทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเออเท่านั้นแหละ มันก็กลายเป็นมือใครยาวแหละ สาวเอาก็มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นสมัยโบราณ สมัยขุนรามคำแหงที่หลักการของท่านคือประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ นั่นแหละคือประชาธิปไตยที่ถูกต้องและสมบูรณ์มาแล้วตั้งในยุคขุนรามคำแหง ดูหลักการไว้ ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ เออเป็นประโยชน์ส่วนบุคคลจะไม่มีความหมายนะ ให้มีศีลธรรม มีศึกษาศาสนาอะไรเออแฝงกันอยู่หมด พระราชาเป็นผู้แสดงธรรมเสียเอง พอถึงวันเทศน์ วันพระก็แสดงธรรมเสียเอง เป็นตัวอย่างในทางศีลธรรมแก่ประชาชนเสียเอง พระราชาเป็นอย่างนั้น นี่แหละคือประชาธิปไตยสูงสุด นี้เราคิดว่าเราเพิ่งประชาธิปไตยกันเมื่อ พ.ศ. ..๗๕ นี่และก็ดูผลของประชาธิปไตยนี้เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเป็นเปรียบเทียบกับไอ้ที่เขาดำเนินการกันสมัยโน้นโดยพระราชาชนิดนั้นมันไม่มีความสงบสุขมีความเรียบร้อยถูกต้อง ดังนั้นพระราชาชนิดนั้นแหละเป็นผู้อำนวยเออประชาธิปไตยคือประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ อย่าไปหลงว่าประชาชนเป็นใหญ่ สมัยใหม่นี้คอมมูนิสต์ก็ดี ใครก็ดีมันประชาชนเป็นใหญ่ มันก็ผิดหมด ถ้าเอาประชาชนเป็นใหญ่แล้ว ควบคุมยาก ถ้าประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ให้มันแน่ลงไป ใครจัดก็ได้ นั่นนะคือประชาธิปไตย นี้พอศีลธรรมเข้ามา ศาสนาเข้ามา คนมีธรรมะแล้วมันไม่มีนะที่จะเห็นแก่ตัว แล้วประโยชน์ของตัวเป็นใหญ่มันไม่มี มันทำไปในลักษณะที่ว่าเราเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น สิ่งอะไรทำไปต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทุกคน นั่นนะธรรมะมันมีสปิริตของประชาธิปไตยอยู่ในตัวมันเองอย่างนี้ ดังนั้นผมจึงเห็นว่ามุ่งมั่นให้คนเข้าใจศีลธรรม จนชอบศีลธรรม จนมีศีลธรรมแล้วมันมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ มาแก้ปัญหาการเมืองทีหลัง นี้เราจะไปปรับปรุงปัญหาการเมือง การเศรษฐกิจมันยังขาดศีลธรรม มันไม่มีผู้มีอำนาจนะที่จะปรับปรุงการเมืองให้ถูกต้องได้เพราะเออผู้มีอำนาจนั้นมันไม่มีศีลธรรม ทีนี้จะให้นักเศรษฐกิจมาช่วยแก้ปัญหานี้ไอ้นักเศรษฐกิจมันไม่มีศีลธรรมเพราะนักเศรษฐกิจมันพร้อมจะเห็นแก่ตัวและกอบโกยอยู่เสมอไป ต้องเอาศีลธรรมมาล้างสมองให้นักเศรษฐกิจอันนั้นเสียก่อน ให้เขาบูชาศีลธรรม แล้วนักเศรษฐกิจก็เป็นนักเศรษฐกิจที่มีศีลธรรม มันก็ไม่เห็นแก่ตัวและไม่กอบโกย แล้วมันก็เข้ารูปที่ว่ามันไม่เอาเปรียบ ขูดรีดใคร แล้วเศรษฐกิจมันก็ดี ปัญหาเศรษฐกิจทั้งเมืองมันก็ดี เดี๋ยวนี้เศรษฐกิจทั้งประเทศไม่ดีเพราะนักเศรษฐกิจไม่มีศีลธรรม ดังนั้นทำให้นักเศรษฐกิจมีศีลธรรมปัญหาเศรษฐกิจก็จะหมดไป ทุกคนก็จะมีอิ่มปาก อิ่มท้องเออหรือว่ามีการเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย เราจะใช้อำนาจทางการเมืองมันไม่มีนักการเมืองที่เหมาะคือมีศีลธรรม เราจะใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเราก็ไม่มีนักเศรษฐกิจที่เหมาะคือมีศีลธรรม มันเลยค้างเติ่งหมด มันต้องย้อนกลับขึ้นไปจากทางข้างล่างว่าเอาศีลธรรมขึ้นมา ดันขึ้นมา ดันขึ้นมา แล้วมันก็มีปัญหาอีกแล้วว่าจะดันขึ้นมาได้อย่างไร เอากำลังที่ไหนมา นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งแหละไปคิดดูเถอะว่าทำอย่างไรให้เกิดความนิยมในศีลธรรมกันขึ้นมา ไอ้พวกโน้นเขาก็ว่าปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่เรื่อยไป ผมก็ปัญหาทางศีลธรรมอยู่เรื่อยไป เราเคยเปรียบเทียบกันว่าเออที่ไอ้แม่ค้าวางหาบเร่ฟุตบาทเต็มไปหมด เดินไม่สะดวกนี่ เป็นปัญหาอะไร เขาว่าปัญหาเศรษฐกิจ บังคับให้แม่ค้าเอาแต่หาบมาวางอุดทาง ๆ เดินฟุตบาทหมด ไอ้เราว่ามันไม่มีศีลธรรม ถ้ามันมีศีลธรรมมันทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าคนโบราณเขาไม่กล้าทำอย่างนั้นนะ เขาเห็นว่าบาป ทำขยะอะไรที่อันตรายตกอยู่กลางถนน เขาก็ยังว่าบาปนะ สมัยผมเล็ก ๆ นะมันมียังมีลัทธิอย่างนี้อยู่ เด็ก ๆ จะทำให้เกะกะกลางถนนหรือว่าทำของมีคม เศษกระเบื้องให้ตกกลางถนน นี้มันบาป ไม่ทำ ดังนั้นถ้าคนมีศีลธรรมมันก็คิดว่าไม่ถูกแล้วเอามาวางเกะกะทางเดินจนเดินไม่ได้ บาปเสียแล้วเออมันก็ไม่ทำเหมือนกัน นี้เขาก็มองแต่ว่าเศรษฐกิจบังคับให้คนเอาเปรียบจนถึงกับวางหาบบนทางเท้าก็ ๆ ก็ถูกของเขาเหมือนกันแต่ผมว่ามันไม่ ๆ ไม่แก้ปัญหานี้ได้ แล้วมันจิตใจของมัน ไม่มีศีลธรรม ถ้าจิตใจของมันมีศีลธรรม มันไม่ทำ หรืออันธพาลที่มันข่มขืนแล้วฆ่านั่นนะ มันมีมูลเหตุมาจากเศรษฐกิจนะหรือมันมีมูลเหตุจากไม่มีศีลธรรม ไอ้คนเขาก็มองเศรษฐกิจเรื่อยมันอยากจะได้รสกามารมณ์ มันไม่มีเงินเออมันก็ต้องข่มขืนเอา เพราะปัญหาเศรษฐกิจ เพราะไม่มีเงินไปซื้อกามารมณ์เลยต้องมาข่มขืนเอา นี่มันมองกันอย่างนี้ ไอ้ปัญหาอันธพาลเขาก็ว่ามันมาจากเศรษฐกิจเป็นมูลเหตุ ผมว่าความไม่มีศีลธรรม ถ้ามีศีลธรรมมัน ๆ มันไม่ทำอย่างนั้นนะมันอด กดได้ มันไม่ถึงกับไปเที่ยวข่มขืนหรือข่มขืนแล้วฆ่าเลย เดี๋ยวนี้เราพูดกันไม่เข้าใจกันได้เพราะว่าคนหนึ่งเขามองแต่ทางเศรษฐกิจไอ้เราก็มองแต่ทางศีลธรรมเหมือนกัน ถ้าศีลธรรมมาแล้วแก้ปัญหาได้หมด เขาก็บอกถ้าเศรษฐกิจดีแล้วแก้ปัญหาได้หมด เราว่าไม่ดีเพราะว่าเศรษฐกิจชวนให้คนเห็นแก่ตัว ศีลธรรมชวนให้คนเห็นแก่ผู้อื่น เดินสวนทางกัน
เสียงบุรุษ: เออ ผมอยากจะ..
ท่านพุทธทาส: เออ คุณ ๆ คุณพูดอย่างนั้นมันก็ถูกแหละ โดยนิตินัยมันก็ถูกแหละ มัน ๆ ก็เหลืออยู่ว่าแต่จะทำได้ไหม จะเอาอำนาจการเมืองไหนมา ๆ แก้ไขเออบังคับคนเข้าไปหาศีลธรรม หรือเอาไอ้เศรษฐกิจแบบไหนที่มาดันคนเข้าไปหาศีลธรรม
เสียงบุรุษ: แต่ ๆ ในข้อสุดท้ายที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายถึงพระสงฆ์นะฮะ ท่านอาจารย์ได้พูดตอนหนึ่งว่าเออพระองค์ไหนไม่ดีก็อย่าไปฟัง ก็ดูแต่เคารพเชื่อฟังแต่พระดี ๆ มันก็ เพลิน (นาทีที่ 1.27.47.4) อีกเหมือนกันที่พระดีก็น้อย ส่วนใหญ่จะพระไม่ดี และในหัวข้อของปัญหาของท่านประยุตก์นั้นเขาก็เน้นถึงว่าเยาวชนและหนุ่มสาวเพราะฉะนั้นในเมื่อบุคคลในวัยนี้โอกาสที่จะเข้ามาวัดนั้นก็น้อยกว่าคนแก่หรือเออคนมีอายุ สิ่งที่เขาประสบหรืออ่านจากหน้าหนังสือพิมพ์ในแง่ที่ว่าพระไม่ดีนั้นทำให้เขาเหมาเอาได้ว่าในเมื่อผู้ทรงศีลนุ่งผ้าจีวรอะไรอย่างนี้เป็นผู้ที่ต้องประพฤติตัวให้ดีถูกต้องตามวินัยอะไรก็แล้วแต่นี่ยังเป็นอย่างนี้เลยชักสงสัยว่าไอ้คำสอนศาสนานั้นมันเป็นอย่างไร มัน ๆ ดีจริงหรือในเมื่อเขาไม่มีโอกาสมาเข้าวัดเขาก็ย่อมจะไม่ได้รับความจริงอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมจึงผมมองใน ๆ จุดนี้มากกว่าที่จะเออเป็นไปในลักษณะที่อาจารย์บอกว่าพระไม่ดีก็อย่าไป ๆ เชื่อฟังอะไรอย่างนี้ซึ่งตอนนี้มันก็เหลือไม่เท่าไรแล้ว พระดี ๆ แล้วถ้าเกิดเออเยาวชน หนุ่มสาวนี่ซึ่งจะเป็นผู้ใหญ่หรือว่าเป็นกำลังต่อไปในภายภาคหน้านี่มีศรัทธาต่อศาสนาน้อยลง ผมก็เชื่อว่าศาสนานี่อาจจะอยู่ได้ไม่นานเพราะว่าศาสนาอยู่ได้ด้วยความศรัทธาของประชาชนซึ่งก็เป็น ๆ ที่น่าเป็นห่วงว่าอะไร ๆ มันจะจบสิ้นเร็วกว่าที่เราคาดคิดก็ได้
ท่านพุทธทาส: ผมหมายความว่าประชาชนศึกษาจนรู้ว่าศีลธรรมคืออย่างไร ประชาชนก็รู้ว่าที่พระเหล่านั้นทำอยู่นั้นไม่ ๆ ไม่ถูก ไม่ถูกกับเรื่องของศาสนา ประชาชนรู้เองว่าไอ้ศีลธรรมคือหลักศาสนาเป็นอย่างไร แล้วก็มาสนใจกันในส่วนนี้ให้มาก ไอ้ส่วนพระเหล่านั้นถ้าว่ากำจัดออกไปเสียได้ก็ดีเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้มันไอ้สิ่งที่ด่วนกว่า จำเป็นกว่า เรามารู้เรื่องศีลธรรมและปฏิบัติกันเสียให้ถูกต้อง พระเหล่านั้นก็คงจะหมดไปเอง ไม่มีใครเลี้ยงดูเออเดี๋ยวนี้เขาเลี้ยงดูอยู่เพราะเขาไม่รู้หลักพุทธศาสนาเพราะโดยมากเออในคน ๆ ที่ไปหาพระประเภทนี้ก็ ๆ เรียกว่าปัญหาเศรษฐกิจบีบคั้นได้เหมือนกัน เออเขาจนแล้วเขาคิดว่าจะรอดได้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไปหาความศักดิ์สิทธิ์จากพระเหล่านี้เพื่อมาแก้ความจนอย่างนี้มันก็ยิ่งผิดกันใหญ่ แต่ถ้าเขารู้ว่าถูกต้องว่าไอ้ความจนมันไม่ใช่อย่างนั้นนะมันมาจากความไม่มีศีลธรรม ไม่รักทำงาน ไม่ควบคุมความรู้สึก ไม่ประหยัด ไม่อะไรต่าง ๆ มันจนคือไม่มีศีลธรรม มันก็แก้โจทย์เหล่านี้เสีย ก็หายจนและโดยไม่ต้องไปหาความศักดิ์สิทธิ์จากพระชนิดนั้น ฉะนั้นผมจึงมองไปในว่าการศึกษามันไม่ถูกต้อง การศึกษามันหางด้วน อย่างที่พูดอยู่บ่อย ๆ เรียนแต่หนังสือกับอาชีพ ไม่เรียนธรรมะว่าเราจะใช้ความรู้และอาชีพนั้นกันอย่างไร นี้เอาหละเป็นอันว่าถ้าเดี๋ยวนี้เรามุ่งหมายจะแก้ไขไอ้ความเลวร้ายอันนี้ ก็รีบทำให้ศีลธรรมกลับมา และก็โดยวิธีใด ก็โดยวิธีให้ประชาชนรู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมะหรือศีลธรรมกันเร็ว ๆ ให้มากขึ้น ไอ้ ๆ ไอ้ ๆ ไอ้พระเหล่านั้นก็คงจะมีผู้อื่น นี่ไม่ใช่เราแล้วกัน ตัวเราไม่มีเวลา ไม่มีหน้าที่เออแต่ถ้ามีใครมาถามเรา ๆ ก็บอกว่ามันไม่ถูก เราก็ให้ผู้อื่นพวกอื่นจัดการกับพระเหล่านั้นเออแต่นี่เดี๋ยวนี้มันก็มีปัญหาอย่างคุณว่าพอเขาจะจัดการกับพระเหล่านั้น พระเหล่านั้นแกก็มีอิทธิพล มีอยู่ที่ไหนนี่เออที่ไม่มีใครกล้าไปจัดการกับแก มันเกิดปัญหาซับซ้อน เออถ้าพูดอย่างความรู้สึกของพุทธบริษัทก็มารีบ ๆ รีบนี่รีบเออทำความเข้าใจในศีลธรรม ในพระศาสนา ในธรรมะให้ทุกคนเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง อันนี้แหละจะแก้ปัญหาทั้งปวงได้ ปัญหาเลวร้ายทางเศรษฐกิจก็ดี ปัญหาการเมืองก็ดี การปกครองที่ไม่มีธรรมะก็ดี อะไรก็ดี แม้แต่เรื่องขูดรีด ขูดเนื้ออะไรกัน เออขูดเลือดกันก็ดี มันจะหายไปได้เออด้วยศีลธรรมมันกลับมา ไม่มีใครวางหาบเร่เกะกีดเกะกะทางเท้าอีกต่อไปเป็นต้น จะให้นักการเมืองแก้ไอ้นักการเมืองมันกำลังไม่มีศีลธรรม มันกำลังสร้างปัญหาทางการเมืองยุ่งยากไปหมด จะให้นักเศรษฐกิจช่วยแก้เขาก็กำลังไม่มีศีลธรรมพร้อมที่จะขูดรีดอยู่เสมอ เอ้ามันก็แก้ไม่ได้ ให้นักปกครองก็ยังพร้อมที่จะเอาประโยชน์ตัวอยู่ มันก็แก้ไม่ได้ อะไรมันก็ ๆ แก้ไม่ได้โดยบุคคลที่ไม่มีศีลธรรม เราจะพบว่าปัญหาเผชิญหน้าโดยตรงอย่างรีบด่วนนี่คือปัญหาทางศีลธรรม จะทำได้ด้วยวิธีไหนก็ช่วยกันนะ ระดมกันให้ ๆ คนมองเห็นศีลธรรมว่าเป็นที่พึ่ง เป็นทางรอด มันเป็นเหมือนกับว่าเราจะปราบยักษ์ ปราบมาร ปราบอะไรร้าย ๆ อย่างนั้นนะมันก็ต้องมีอะไรที่เหนือกว่า ลึกซึ้งกว่ามันเป็นของที่มันแก้ได้โดยแท้จริง โดยที่ไม่เผชิญหน้า ไม่ต้องไปเผชิญหน้ากับยักษ์ กับมาร กับอะไรเหล่านั้น เออมัน ๆ มันอันตรายด้วย มันจะไม่สำเร็จด้วย มันจะเจ็บตัวด้วย ใช้วิธีที่แนบเนียนเอายาพิษอะไรที่มันปราบกันได้ใส่เข้าไปสิ่งนี้แหละคือศีลธรรมที่จะแก้ไอ้การเมืองโกง เศรษฐกิจโกง ปกครองโกง อะไรโกงทั้งหลาย ศีลธรรมกลับมามันก็ฆ่าไอ้พวกคนเหล่านี้เอง เออปัญหาเลยเหลือจะทำอย่างไรจะกลับมานี่นะ จนใจอยู่ จะเอาเรื่องการเมืองมาเดี๋ยวนี้ไอ้การเมืองมันกำลังสร้าง ๆ ปัญหาอยู่ในโลก ไอ้เศรษฐกิจนะมันกำลังสร้างปัญหาอยู่ในโลกแล้วมันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร มันจะคล้ายเอาน้ำโคลนล้างโคลน นี่ดูมันสิ (นาทีที่ 1.35.58) ยังหวังยาก ถ้าว่าล้างได้แล้วถึงล้างมันก็ไม่สะอาด ไอ้น้ำโคลนมันก็ล้างโคลน จะเอาน้ำสะอาดมาล้างโคลน จึงจะได้ การศึกษาในโลกไม่ถูกต้อง ไม่เพียงพอนั่นแหละคือปัญหาใหญ่ เมื่อก่อนมีธรรมะ มีศาสนาได้โดยง่ายเพราะมันอยู่ในขนบธรรมเนียน วัฒนธรรม ประเพณีในสายเลือด เด็กพอคลอดออกมาก็ได้รับการแวดล้อมแต่ให้รู้จักกลัวบาป กล้าบุญ พอใจในความดี มีศีลธรรมตั้งแต่อ้อนแต่ออก ทีนี้พอเกิดมามันก็ได้พบสิ่งที่สวยงาม สนุกสนาน เอร็ดอร่อยมันดึงไปเสียก่อนที่จะมีรากฐานทางศีลธรรม ทีนี้พอมาที่โรงเรียนเออก็ไม่ได้สอนอีก วิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้สอนอีก สอนแต่หนังสือกับอาชีพ ดังนั้นคนก็คนมันก็พร้อมที่จะเอาเปรียบนะเพราะว่าไอ้วิชาชีพหรือเศรษฐกิจนี้มัน ๆ ชวนให้เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ ต้องมีศีลธรรมมาควบคุมมันจึงจะไปในทางที่ว่าไม่ ๆ ไม่เป็นภัยแก่ผู้อื่น เมื่อไม่มีศีลธรรมแล้วไอ้ความรู้ ความสามารถ ความเฉลียวฉลาดมันจะกลายเป็นพิษ เป็นภัย เป็นอันตรายขึ้นมา การศึกษาที่มันก้าวหน้ามันก็เพียงแต่รู้หนังสือกับอาชีพ การศึกษาเป็นมนุษย์กันให้ถูกต้องอย่างไรนี้มันไม่มี มันกำลังหายไป หายไป หายไปคือศีล..คือศีลธรรมแท้จริงนะมันไม่มี มีแต่ศีลธรรม ๒ - ๓ ตัวจดไว้ในสมุดแล้วก็เก็บไว้ เด็ก ๆ นะมันเคยมีเท่านั้น มันมีกันเท่านั้น ฉะนั้นผมมานึกทีหลังแล้วเห็นด้วยอย่างยิ่ง นึกบูชาอย่างยิ่งที่ว่ามหาวิทยาลัยในยุคแรกในประเทศอังกฤษนั้นนะเขา ๆ มุ่งความเป็นสุภาพบุรุษนะ การศึกษามันมุ่งความเป็นสุภาพบุรุษ เดี๋ยวนี้การศึกษาให้รู้หนังสือกับอาชีพ เมื่อ น.ม.ส.เออกลับมาจากเรียนเมืองนอกใหม่ ๆ มาปาฐกถาที่ สามัคยาจารย์ ผมแรกบวชเป็นพระอยู่ที่กรุงเทพฯไปฟังด้วยโอ้พอได้ยินคำนี้แล้วก็สะดุ้งว่าทำไมมันมหาวิทยาลัย อ๊อก..เออเคมบริดจ์ที่แกเรียนนะ หรือพวกอ๊อกฟอร์ดก็ดี อะไรก็ดีมันมุ่งสุภาพบุรุษ มุ่งความเป็นสุภาพบุรุษ นี้ไอ้เราก็ยังโง่อยู่ว่าไอ้สุภาพบุรุษนั้นจะใช้อะไรได้ว่าพูด ๆ เอาก็ได้ก็เลยไม่ค่อยเข้าใจ ตอนหลังนี่ก็เข้าใจ อ้าวก็สุภาพบุรุษคือมนุษย์ที่มีศีลธรรม มันก็พอ ถึงแม้ว่าจะมีการกีฬาแทรกเข้าไปด้วยเขาก็มีเออมีวิญญาณแห่งความเป็นผู้มีศีลธรรมเหมือนกันในการกีฬา เขามุ่งความมีศีลธรรม แกพูดเน้นอยู่นั่นแหละ เน้นแล้ว เน้นเล่าอยู่ว่าไอ้ ๆ ไอ้จุดสูงสุดของการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ไปเรียนมานั้นคือความเป็นสุภาพบุรุษ ทุกคนที่ผ่านมหาวิทยาลัยแล้วจะเป็นสุภาพบุรุษ ผมเพิ่งนึกออกเดี๋ยวนี้ว่าเออมันจะหมดปัญหาของมนุษย์เพราะมันมีศีลธรรมนะสิ มันไม่ ๆ ๆ ไม่ใช้คำว่าศาสนา ไม่ใช้คำว่าอะไรโดยตรง ใช้คำว่าสุภาพบุรุษ เดี๋ยวนี้คำว่าสุภาพบุรุษเป็นคำสำหรับล้อเล่นเท่านั้น แต่สมัยโน้นมันคือสิ่งสูงสุดของการศึกษาดังนั้นถ้าว่าทำพลเมืองให้เป็นสุภาพบุรุษได้จริง มันก็หมดปัญหา ให้เป็นโลกพระศรีอารย์ไปเลย เป็นโลกพระศรีอริยเมตตรัยไปเลยถ้าทุกคนมันเป็นสุภาพบุรุษ ทีนี้ในการศึกษาในโลกเวลานี้ไม่มีแล้วแม้ที่อังกฤษเองนะมันก็ไม่มีคำว่าสุภาพบุรุษเป็นจุดมุ่งหมายการศึกษาแล้ว มันมีแต่รู้หนังสือกับรู้อาชีพเหมือนกันทั้งนั้น มหาวิทยาลัยเหล่านั้นนะสอนไอ้อาชีพระดับสูงสุดเป็นเทคโนโลยี่เป็นแขนง ๆ แขนงไว้ไม่เอ่ยถึงความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว มันค่อย ๆ เลือนไปทีละนิด ทีละนิด ๆ ตามเหตุการณ์ของโลกมันจูงไป แล้วพระก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องเดี๋ยวนี้เออสมัยที่ น.ม.ส.ไปเรียนนั้นพระยังเกี่ยวข้องอยู่ยังต้องสวดมนต์แบบภาษาลาตินเวลาจะนอน เวลาจะกินอาหาร เวลาจะอยู่ใน ๆ ในเคมบริดจ์นะ เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้วก็ทิ้งไป ทิ้งไป ๆ ทิ้งไปจนเหลือแต่หนังสือกับอาชีพ รู้หนังสือกับอาชีพ ๆ ก็ก้าวหน้าเออเรื่องเทคโนโลยี่นะก็ไปโลกพระจันทร์ได้ ไปอะไรได้และโลกนี้ก็ไม่ดีขึ้นต่อให้ไปดวงดาวทุกดวงได้โลกนี้ก็ไม่ดีขึ้นเพราะมันไม่มีความสุภาพบุรุษสักคนเดียว นี้การศึกษาเมืองไทยก็ตาม ๆ หลังพวก ๆ ฝรั่ง เขาหมดสุภาพบุรุษเราก็หมดสุภาพบุรุษด้วยเออไอ้ความสูงทางจิตใจไม่ต้องพูดถึง พูดแต่ว่าอาชีพเออสูงสุดก้าวหน้าเออทางอาชีพทางเทคโนโลยี่สูงสุดแล้วก็คิดว่านี้จะแก้ปัญหาได้จึงนำไปสู่ความคิดที่ว่าถ้าเศรษฐกิจดีแล้วมนุษย์ก็ดี นี้คุณก็ดูต่อไปพอเศรษฐกิจดีแล้วมนุษย์จะดีจริงหรือไม่ มันจะเป็นเออตำราคอมมูนิสต์เสียมากกว่าเพราะถ้าทางวัตถุสมบูรณ์แล้วมนุษย์ก็ดีเองในทางจิตใจเพราะว่าจิตใจขึ้นอยู่กับวัตถุ ผมไม่เห็นด้วย ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยที่พูดอย่างนั้น เราจะต้องทำจิตใจให้มันควบคุมวัตถุ มิฉะนั้นวัตถุจะจูงเราไปหาไอ้ความเห็นแก่ตัว เป็นกิเลสลงนรกกันหมด สรุปแล้วเรื่องนี้เออเรื่องนี้เหมาะสมและจำเป็นแน่สำหรับเออคนหนุ่มทั้งหลายของประเทศชาติ จะต้องช่วยกันนึกถึงปัญหาข้อนี้ แก้ปัญหาข้อนี้เพื่อเพื่อนมนุษย์ของเราไม่ใช่ ๆ เพื่อเราคนเดียว มัน ๆ ดีอย่างไง มันจริงอย่างไง มันจะรอดได้ที่ไหนก็ช่วยเอามา เออช่วยเอามาแก้กันนะแก้กันให้ได้ ทีนี้ผมตามความรู้สึกก็เห็นว่าไอ้ปู่ย่า ตาทวดของเราแต่ก่อน ๆ นั้นเขามีความเป็นสุภาพบุรุษเรื่อยขึ้นมาตั้งแต่แรกคลอด แรกเกิดคน ๆ เหล่านี้ไม่รู้หนังสือก็ได้สมัยนั้นไม่มีหนังสือ ไม่รู้หนังสือแต่มีจิตใจนะมันเป็นสุภาพบุรุษ เป็นนักกีฬา เป็นสุภาพบุรุษมาโดย ๆ ๆ โดยขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมแล้วมันจึงไม่ค่อยมีปัญหา เออเขาอยู่กันได้โดยไม่ต้องมีปัญหา พอเดี๋ยวนี้พอไอ้ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมันเข้ามาแย่งเอาไปหมด ความเป็นสุภาพบุรุษไม่มีเหลือ พร้อมที่จะเอา ผิดถูกไม่รู้พร้อมที่จะเอา ฉะนั้นจึง ๆ มีการเอา การ ๆ เอาเปรียบ การขโมย การปล้นจี้ การฆ่ากันตามนั้น ชั่วอายุผมนี่เห็นความแตกต่างกันมาก ๗๐ กว่าปีนี่เห็นความแตกต่างกันมาก เมื่อก่อนผู้หญิงคนเดียว ผู้หญิงสาว ๆ คนเดียวเฝ้าไร่ เฝ้านาคนเดียว ไกล ๆ ลิบนะ ก็ ๆ ไม่มีคนร้าย (นาทีที่ 1.45.33.6) หรือว่าเด็กเล็ก ๆ เฝ้าบ้าน พ่อแม่ไปธุระ ไปนา ไปไร่หมดเด็กเล็กเฝ้าบ้านกันก็ได้ ไม่มีใครมาปล้น จี้ ขโมยเออหรือบางทีว่าไม่ ๆ ต้องมีเด็กเฝ้าก็ได้เพราะไม่มี งับประตูไว้ไม่มีกุญแจ งับไว้ร้องสั่งเพื่อนบ้านข้างบ้านว่าฝากเรือนด้วยเราจะไปนานี่มันก็ยังทำได้ มันทำได้ เราเคยเห็นทำได้ เดี๋ยวนี้มัน ๆ ทำไม่ได้ถ้าทำอย่างนี้ ผู้หญิงสาวคนเดียวไปไหนค่ำคืนมันก็ยังได้แต่เขาไม่ไปหละเขามีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ว่าหญิงสาวคนเดียวจะไม่ออกไปจากบ้านแม้กลางวันมันก็ยังต้องมีเพื่อนต้องมีอะไร ไปวัดยังต้องมีคนแก่ ๆ พาไป ดังนั้นเรื่องมันก็ไม่เกิดไอ้ศีลธรรมมันก็ดีอยู่แล้ว ๆ เขาก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีอีกมันก็ไม่เกิดการข่มขืนหรือข่มขืนแล้วฆ่า เดี๋ยวนี้มันพร้อม มันพร้อมอยู่ทุกขณะที่จะเอาประโยชน์อย่างนั้นโดยอันธพาล เพราะไปหลงในเนื้อหนัง กามารมณ์เออเรียกว่าวัตถุหรือเนื้อหนังเขาไม่มีเงินซื้อหาเขาก็ต้องข่มขืนเอา มันจะมีปัญหาอย่างนี้มากขึ้น ๆ เพราะศาสนามันหายไป ศีลธรรมมันหายไปอันนี้มันก็เข้ามาแทน นักการเมืองไหน นักเศรษฐกิจไหนที่จะแก้มันได้ มันมีความเลวทรามทางจิตใจเออที่ใส่เข้าไป ใส่เข้าไปโดยไม่รู้สึกตัวแล้วแน่น ๆ แฟ้นที่สุด เด็กสมัยผมเออจนผมจำได้เป็นเพื่อนด้วยกัน อยู่วัดด้วยกัน เห็นคนสูบกัญชามาวิ่งหนีหมดเลย หนีหมดเลย ไอ้คนนี้ใคร ๆ ก็รู้จักว่ามันเป็นคนสูบกัญชา ทีนี้คนสูบกัญชามันมาซุกนอนอยู่ใต้ถุนกุฏิ สูง ๆ นะมันไปนอนอยู่บนกองกระดาน เด็ก ๆ มันถึงกับว่ามันวิ่งไปบน (นาทีที่ 1.48.19.4) ถมน้ำลายแล้ววิ่งหนี เออถมน้ำลายตอนนั้นแล้ววิ่งหนี นี่มีอย่างนี้เด็กมันสอนกันเองไม่ใช่มีใครสอนเพราะมันไม่มีหรอกที่มันจะไปลองสูบกัญชา มันก็ไม่มี แล้วเดี๋ยวนี้ทำไมมันถึงไปสูบกัญชากันเป็นฝูง ๆ แล้วเป็นนักเรียนด้วย เป็นนักเรียนนักศึกษาก็มีไปสูบกัญชาเป็นฮิบปี้ ฮิบอะไรกันไป สำหรับคุณก็ไปนึกดูเอาเองเถอะว่าทำไมมันจึงเปลี่ยนไปขนาดนี้ ทำไมเมื่อเด็กไปเห็นคนสูบกัญชาอะไรมามันก็วิ่งหนีไม่คือไม่อยากจะสมาคมด้วย แต่มันก็ได้รับการอบรมชนิดหนึ่งซึ่งสมัยนี้คงจะรับไม่ได้คือต้องไหว้คนแก่ สมัยผมเด็ก ๆ นี่ต้องไหว้คนแก่ถ้าคนแก่ผ่านมาในสายตา ในวัดในวา เราจะเดินอยู่ นั่งอยู่หรือทำงานขุดดินอยู่ก็ต้องลงไหว้คนแก่ที่ผ่านมาในวัดเพื่อจะออกทางฝั่งโน้นทั้งที่เด็กมันก็รู้ว่าไอ้คนนี้เขาว่าบ้านี่ เขาว่าคนบ้านี่ แต่ก็ต้องไหว้เหมือนกันเพราะว่าเขาเป็นคนแก่ มันมีคน ๆ ที่สมมติกันว่าเป็นคนบ้าอยู่คนหนึ่ง มันอยู่ที่นอกนาจะเดินจากตลาดก็ต้องผ่านวัดแล้วไปนอกนา ตาคนนี้ผ่านมาทีไรเด็ก ๆ ก็ต้องไหว้กันทั้งนั้นไม่มีความรู้สึกว่าเป็นคนบ้า เขาจะ..มันต้องไหว้ ไหว้อย่างนี้นะทีหนึ่ง ถ้าไม่ไหว้แล้วมันก็จะถูกตี รู้ไปถึงอาจารย์ไม่ ๆ ไหว้คนแก่เขาก็ถูกลงโทษ (นาทีที่ 1.50.20.7) ถูกตีคนละที สองที เพราะเขาอ่อนน้อมต่อคนเถ้าคนแก่มันก็มีในนิสัย นี่มันก็ไม่ดื้อพ่อแม่ ไม่ดื้อครูบาอาจารย์ ไม่ดื้อดึงไอ้เหล่านี้เพราะว่าแม้แต่คนแก่บ้า ๆ บอ ๆ มันก็ยังไหว้ นั่นนะไอ้สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม มันคืออย่างนั้น มันเพาะนิสัยอย่างนั้น ดังนั้นเด็ก ๆ มันมีอะไรปลูกฝังกันเอง อย่างจะหยิบก้อนหินที่จะขว้างนกนี่มันห้ามกันเด็กเพื่อนเด็กด้วยกันบอกว่ามันบาป มันห้ามกันเอง เออจะมีเด็กเกเรสักคนหนึ่งไม่เชื่อหรือแอบขว้างมันก็มีได้แต่เด็กทั้งหลายมีเป็นเสียงเดียวกันหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งไอ้นกกางเขนได้รับเกียรติพิเศษอะไรไม่รู้ เช่นว่าขว้างไม่ได้ เออจะบาปกรรมลึกซึ้งเขาเรียกว่าใช้ชาติ ฉะนั้นเด็ก ๆ ไม่กล้าขว้างนกกางเขนที่อยู่ตามพระเจดีย์ ไม่ได้สอนในโรงเรียน ไม่ได้อะไรโดยตรงเออสอนกันอยู่โดยเด็ก ๆ กันเอง โดยขนบธรรมเนียมประเพณีประจำบ้าน พื้นบ้าน
เสียงบุรุษ: เออพอท่านอาจารย์พูดถึงว่าเด็กสมัยก่อนของเราเป็นอย่างนั้นเออกระผมเคยมีโอกาสไปต่างประเทศแล้วเคยเห็นเด็กฝรั่งเองเขาพ่อแม่เขาจะพาไปเลี้ยงนก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่านอะไรที่อยู่ตามลำคลองต่าง ๆ หรือนกต่าง ๆ ซึ่งเห็นเป็นกิจวัตรประจำวันซึ่งทำให้เราพูดได้หรือไม่ว่าเขากำลังมีศีลธรรมดีกว่าเรา
ท่านพุทธทาส: ก็ดี เขามีวัฒนธรรมดีซึ่งเข้ากันกับศีลธรรม ไอ้ฝรั่งเขาก็มีดีไม่ใช่มีไม่ ๆ ดีฝรั่งมันเคยดีนะ มันเคยมีศาสนาเคร่งครัดเชื่อพระเจ้าเคร่งครัด เคยดี เคยสูงสุด เคยสอนให้บังคับตัวเองให้ นี่ศีลธรรมที่สมบูรณ์นั่นนะแล้วฝรั่งนะมันนำก่อนในทางลด ๆ ลดศีลธรรมแต่มันคงจะยังเหลืออยู่ในที่บางแห่งแต่ส่วนใหญ่มันลดไป มันลดไป ลดไป ความเมตตากรุณามันเคยมีมากแล้วก็สรรเสริญมาสู่เมืองไทยมาอวดให้คนไทยเลื่อมใสได้เขาเป็นคนสุภาพบุรุษอย่างนี้ ช่วยเหลือผู้อื่น บังคับตัวเอง บังคับกิเลส บังคับเออตัวเองแล้วก็มาอวดมากที่สุด มันเห็นเราเป็นป่าเถื่อนไม่เคยบังคับ เมื่อบังคับมันยากก็ฝืนความรู้สึก เราก็นับถือฝรั่งกันไปพักหนึ่งเพราะเขามาแสดงให้เห็นว่ามันดี แต่ฝรั่งเดี๋ยวนี้มันไม่มีแล้วไม่มีอย่างนั้นแล้ว มันมีฝรั่งที่มาหาโอกาสทั้งนั้น ที่มาชนิดที่ว่าเอาอารยธรรม เอาวัฒนธรรมมาแจกมาสงเคราะห์ มาให้มัน มันหายไปหมด มันหายหมด หรือถ้าเข้ามาก็เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเชื่อว่ามันยังเหลืออยู่ใน ๆ เมืองฝรั่งบ้านนอกคอกนาที่หัวเก่า ๆ หัวใหม่มันเลือกเนื้อหนังหมดทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งลูกอีก ๆ อีกชั่ว ๆ อายุคนนี่มันไม่ใช่จะหมด ถ้าหันมาทางไอ้วัตถุทาง... มหาดำรงฯ เขาบอกว่าคนไทยที่ตกค้างอยู่ในเหมืองเมืองไทรบุรีมันยังมีศีลธรรม วัฒนธรรมโบราณ (นาทีที่ 1.54.40.4) ถึงขนาดไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่อะไรอย่างว่านี่ เออปิดประตูเรือนแล้วก็ไปได้ ไม่มีใครขโมยข้าวของและโดยเฉพาะของวัดนะไม่มีใครขโมยทิ้งเกลื่อนอยู่ได้อย่างนั้น เมื่อผมแรก ๆ บวชผมไปเที่ยวนราธิวาสไปเห็นที่วัดบางนราเขาทิ้งข้าวของไว้เกลื่อนไปหมดไม่มีใครเก็บ ขนาดตะเกียงเจ้าพายุอะไรนี่ไม่ต้องเก็บนะ ทิ้งอยู่ที่ศาลาบ้าง อยู่ที่ทั่ว ๆ ผมก็ประหลาดใจ นี่ทำไมอย่างนี้ เขาบอกมันไม่หายหรอก แต่เดี๋ยวนี้เขาบอกไม่ได้แล้ว ขันน้ำสักใบหนึ่ง แปรงสีฟันสักอันหนึ่งก็ไม่ได้แล้ว จะทิ้งไว้อย่างนั้นนะ เออที่เชียงใหม่ก็เหมือนกันแรกผมไป ผมไปประหลาดใจเห็นไอ้เขาเก็บ ๆ อะไรมันทิ้งอยู่ได้ ตรงใต้ถุนนั้นนะ รถจักรยานก็ดี อะไรก็ดี มันก็วิงพิงอยู่ริมรั้วบ้าง อะไรบ้าง ก็มันไม่หายเลยเขาบอกว่า..เขาหัวเราะ แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้แล้วที่เชียงใหม่แห่งเดียวตรงบ้านเดียวอะไรเดียวก็ไม่ได้แล้ว ขี่ ๆ อยู่บางทีมากระชากเอาไปเลย มันเปลี่ยนขนาดนี้ นี้ประมาณ ๆ ๓๐ ปีได้แล้ว ๓๐ ปีมันเปลี่ยนไปแล้ว แล้วมันเปลี่ยนทุกแห่งแหละทั่วไปในโลกไอ้การเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทางศีลธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมรักผู้อื่นมันเปลี่ยนหมด วัฒนธรรมบังคับไอ้ความรู้สึกเลว ๆ ของเรานี้มันก็เปลี่ยนหมด เอาตามความรู้สึกหมด นึกดูแล้วมันน่าใจหายนะแล้วไปดูไอ้วัฒนธรรมแท้ ๆ มันก็น่าชื่นใจ มนุษย์อยู่กันอย่างมนุษย์ไม่ละเมิดสิทธิของกันแม้แต่นิดเดียว แล้วมันก็ค่อยเริ่มมี เริ่มมี ๆ เริ่มมีมาก ๆ ๆ มากขึ้นคือเลวลงเมื่อ ๆ ถึงยุคที่ว่ามีของเอร็ดอร่อยสนุกสนานมาก พวกอันธพาลตามถนนในกรุงเทพฯ มันก็ต้องการความเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังทางเพศนะ เมื่อก่อนมันไม่ได้ต้องการมากอย่างนั้นมันยังกลัวบาป เดี๋ยวนี้มันต้องการมากเพราะสิ่งนี้มันยั่วมาก ยั่วมากมันยั่วกันทุกอย่างทุกทาง ของ ๆ ที่เข้ามาก็ยั่ว การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ยั่ว อะไรก็ยั่วยวนยั่ว มันไม่ได้มันก็ต้องข่มขืน มันก็ต้องใช้วิธีอันธพาล มันเป็นไปตามธรรมชาติไม่แปลกประหลาดนะ ที่ว่ามันเปลี่ยนไปเป็นอันธพาล แต่มันควรจะเปลี่ยนกลับมาได้ตามธรรมชาตินะ เออความเข็ดหลาบ ความทนไม่ได้ของสังคม ถ้าตกลงกันใหม่ไม่เอาแล้วอย่างนั้น เอากันอย่างนี้เถอะ เออมันก็เกิดอำนาจขึ้นมาในการที่จะเอากันอย่างนี้เถอะ อย่างนั้นไม่เอาแล้ว นี้คงจะเปลี่ยนได้นะตามธรรมชาติ แต่มันจะมันจะกินเวลาอีกเท่าไรก็ไม่ทราบ ถึงพระเกเรที่คุณว่านั่นก็เหมือนกันคือมันทนไม่ได้ ทนไม่ได้กับไอ้ ๆ ไอ้ความอร่อยทางวัตถุ มันต้องการ เมื่อไม่ได้โดย ๆ สุจริตมันก็ต้อง ๆ หาโดยวิธีคดโกง หลอกลวง ฉะนั้นปัญหาใหญ่แท้ ๆ มันอยู่ที่จิตวิญญาณของมนุษย์มันไปหลงในความเอร็ดอร่อยทางวัตถุ ต้นตอแท้จริงมันลึก มันอยู่ลึกอยู่ในหัวใจของมนุษย์ที่หมุนไปหลงความเอร็ดอร่อยทางวัตถุแล้วก็ออกมาเป็นการกระทำที่เป็นอันธพาลมากขึ้น มากขึ้นในโลก ตัณหาของมนุษย์แหละทำลายโลก ทำลายมนุษย์ อะไรโลกทำลายมนุษย์ (นาทีที่ 1.59.44.8) อวิชชาของมนุษย์ทำลายมนุษย์เป็นหลักทั่วไปในทางศาสนาเขาถืออย่างนั้น ฉะนั้นเราช่วยกันทำลายอวิชชาของมนุษย์นี่ เดี๋ยวนี้เรามีกฎหมายชนิดไหนกันก็ไม่รู้ที่มันไม่สะดวกในการที่จะขจัดไอ้สิ่งเลวร้ายหรือว่าส่งเสริมศีลธรรมเช่นพระอย่างที่ว่านั้นถ้า ๆ ถ้าจับมาแล้วไม่มีกฎหมายลงโทษนะ จับมาทำไมหละ ไอ้พระที่ว่านั่นนะไปจับมาตำรวจก็ไม่รู้จะทำยังไงไม่มีกฎหมายลงโทษมันก็ปล่อยอีกแหละ แล้วมันไม่ได้ทำอะไรรุนแรงกันถึงกับว่าเอา ๆ เอา ๆ มีกฎหมายลงโทษนะ อย่างมากก็จับสึกเอาไปขังคุกก็ไม่ได้ไม่มีกฎหมาย จับสึกมันก็ขโมยบวชเอาอีกได้ มันไม่สิ้นสุดนะ เออถ้าไม่แก้ไขในจิตใจของเขา การทำให้ประชาชนรู้ มีความรู้ถูกต้องทางธรรมะทางไอ้นี่ดีมันจะป้องกันได้ในตัวเอง เราก็ไม่มีเสียอีก ในโรงเรียนก็นะไม่มีเสียอีก ไอ้เด็ก ๆ ชั้นอนุบาลที่นี่ก็ดี ที่กรุงเทพฯ ก็ดี ยังน่ารัก น่าเลื่อมใส หัวอ่อน กลัวบาป รักบุญ เออดีนะเรียกว่าดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ก็ได้พอเข้าไปเรียนชั้นประถมหายไป หายไปจนกระด้างและไม่มีศีลธรรม พอขึ้นชั้นมัธยมแล้วหายไปเกือบครึ่งแล้ว พอไปเข้ามหาวิทยาลัยแล้วไม่รู้ไปทางไหนกันทีนี้อิสระหมดไปทางไหนก็ได้ แต่มันก็เป็นไปในทางที่ไม่ ๆ ยึดถือศีลธรรม ยึดถือความคิดอันอิสระของตัว แล้วก็ปรากฏผลออกมาเป็นเรื่องไม่มีศีลธรรมเหมือนกัน ในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเขาบอกหาศีลธรรมยากแล้วโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ดังนั้นเด็กเล็ก ๆ นี่พอมันมาเข้าโรงเรียนชั้นประถมก็เหลือลดลง พอได้มัธยมเหลือกึ่ง ไปกรุงเทพฯ หมดเลย พอไปเรียนกรุงเทพฯ แล้วอะไรหมดเลย มีเพื่อนฝูงชักจูงไปตามอิสระ เขาบูชาความเป็นอิสระ ฝรั่งก็เหมือนกัน ไอ้ไทยเราก็ตามฝรั่งบูชาอิสรภาพอย่างหลับหู หลับตา ที่ไม่นับถือศาสนา ไม่นับถือพระเจ้าเขาก็อ้างเหตุผลว่ามันไม่เป็นอิสระ เพราะมันไม่ได้ตามพอใจ มีห้ามโน่น ห้ามนี่ ห้ามโน่นไปเรื่อย มันก็เลยไม่เอา ความไม่เป็นอิส..ความเป็นอิสระนั้นมันอร่อย ความถูกบังคับไม่เป็นอิสระมันไม่อร่อยคนเขาไม่ชอบ ดังนั้นขึ้นชื่อว่าศาสนาแล้วมัน ๆ เป็นเรื่องบังคับจิต อย่าปล่อยไปตามความอร่อย ทุกศาสนา ก็เป็นอันว่าเดี๋ยวนี้โลกไม่มีศาสนาไม่มีการบังคับจิต ไม่มีการรักผู้อื่น ไม่กลัวบาป ไม่กลัวไอ้สิ่งที่เขาถือกันว่าบาป การได้ตามความอร่อยนั่นแหละคือดี คือบุญ คือถูก คือยุติธรรม คือแล้วแต่จะไปเรียกมัน สรรเสริญก็ได้ ไอ้นี่เราเรียกว่ายุคบูชาวัตถุ บูชาเนื้อหนัง ฉะนั้นไม่มีทางที่จะเออจะมีสันติภาพ ไม่มีทางที่จะมีสันติภาพถ้าอยู่กันอย่างนี้ ปัญหาตะวันออกกลางนั่นก็ไม่มีที่สิ้นสุด ตะวันออกกลางกับพวกฝรั่งมันก็ไม่มีที่สิ้นสุด พวกฝรั่งต่อฝรั่งมันก็ไม่มีที่สิ้นสุด เขากำลังต่อสู้ เดี๋ยวนี้กำลังมีวิกฤตการณ์ที่โปแลนด์คนเป็นแสน ๆ ต้องมาสู้กันกับรัฐบาลและมีตายด้วย ดูมันไม่ควรจะเป็น ที่เมื่อตะกี้ที่ว่าที่ว่าผมว่า........