แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมะปาฏิโมกข์ของเราครั้งที่แล้วมา หวังว่าคงจะยังจำได้ ธรรมะ ๓ ขา มีการตั้งอยู่ได้ ไม่ถึง ๓ ขา ตั้งอยู่ไม่ได้ ทุกศาสนาจะมีสิ่งที่เปรียบได้กับไม้ ๓ ขา ที่เราจะเรียกว่า ตรีมูรติ หรือ ตรีเทกานุภาพ อะไรก็ตาม แต่ในพุทธศาสนาเราเรียกว่า รัตนทั้ง ๓ เราจะไปเรียกรัตนมันยังฟังยาก พูดว่าไม้ ๓ ขา มันเห็นความหมายง่ายกว่า ฉะนั้นจึงให้ชื่อธรรมะนั้นว่าไม้ ๓ ขา สำหรับจะได้เข้าใจกันโดยรวบรัด ที่นี้วันนี้ก็จะพูดโดยหัวข้อว่า ศาสตรา ๓ เล่ม พูดว่าไม้ ๓ ขา ก็พูดว่าศาสตรา ๓ เล่ม
ศาสนาตั้งอยู่ได้ ก็ให้อะไรแก่สัตว์โลก นี่ผมก็จะตอบว่าให้ศาสตรา ๓ เล่ม แก่สัตว์โลก บางคนอาจจะเดาถูกแล้วว่าผมหมายถึงอะไรศาสตรา๓เล่ม ในพระพุทธศาสนาสาระสำคัญอยู่ที่ศาสตรา ๓ เล่ม ที่เขาเรียกว่าไตรสิกขาๆ การศึกษา ๓ อย่าง ความหมายมันยังไม่ชัดนัก จึงอยากจะพูดว่าศาสตรา ๓ เล่ม ที่พระศาสนาจะมีให้เรา หรือว่าจะเป็นตัวศาสนาเสียเองตลอดไป
ศาสตรา ๓ เล่ม ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามธรรมดาก็ไม่รู้เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา มาก่อน พอได้รับคำอธิบายก็กลายเป็นเรื่องพิเศษ เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องทางศาสนาไป ไม่ใช่ความเข้าใจมันก็ถูกผูกมัด ผูกจำกัด เป็นรูปของเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ไม่มองเห็นเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดา เพื่อจะให้เข้าใจง่าย และก็เข้าใจเต็มที่ ถึงที่สุดขอให้ทุกองค์เข้าใจความหมายของคำว่าไตรสิกขา เสียใหม่ลักษณะที่เป็นศาสตรา ๓ ชนิด คำว่าศาสตราแปลว่า ของที่มีคม เป็นอะไรก็ได้ที่มีคม ตัดอะไรก็ได้ที่มีคม ก็จะเรียกว่า ศาสตราๆ ของมีคม ๓ ชนิด เพื่อจะตัดปัญหาของมนุษย์เรา
ผมพยายามที่สุดที่จะย่นใจความหรือกลั่นกรองเอาแต่ใจความมาพูดให้เข้าใจชัดเจนถูกต้อง กะทัดรัดในเวลาอันสั้น จะพูดถึงศาสตราออกไปหาตัวปัญหาที่จะต้องตัด มีศาสตรา ๓ อย่าง คือ ความถูกต้องทางกาย ทางวาจา ๑ และความถูกต้องในทางจิต ๑ และความถูกต้องในทางสติปัญญา หรือเรียกสั้นๆ ว่าทางวิญญาณอีก ๑ เราต้องมีความถูกต้องในทางกาย ทางวาจา เป็นข้อแรก จะใช้คำว่าทางกายอย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน เพราะทางวาจามันก็อาศัยทางปาก ซึ่งก็เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ตามทางศาสนาจะนิยมแยกกัน ฉะนั้นจึงแยกชื่อออกเป็น ๒ อย่าง คือความถูกต้อง ทางกาย และทางวาจา
อันที่ ๒ ความถูกต้องในทางจิต
อันที่ ๓ ความถูกต้องในทางทิฐิ ก็ได้ หรือสติปัญญาก็ได้ แต่ผมชอบเรียกว่าทางวิญญาณ ให้มันเป็น ๓ เรื่องสั้นๆ ว่า ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ ถ้าพูดให้สั้นเข้ามาก็จะเหลือแต่ว่า ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ พูดให้มันเต็มที่ก็ทางกายอันหนึ่ง ทางวาจาอันหนึ่ง และทางสติปัญญา หรือทางวิญญาณ หรือทางทิฐิ ก็ได้อีกอันหนึ่ง
ถ้าเรามีความถูกต้องครบทั้ง ๓ ทางนี้แล้ว ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่เลย มนุษย์จะไม่มีปัญหาอะไรเหลือเลย ปัญหาส่วนบุคคลของแต่ละคนก็ดี ปัญหาในครอบครัวก็ดี ปัญหาในประเทศชาติก็ดี ปัญหาในโลกทั้งโลกก็ดี มันอยู่ที่ขาดความถูกต้องในสิ่งทั้ง ๓ นี้ ดูโลกนี้กำลังมีวิกฤตการณ์ มันขาดความถูกต้องทางวิญญาณ หรือทางสติปัญญา หรือทางทิฐินั้นมากกว่า แต่มันก็เนื่องมาจากความไม่ถูกต้องทางกาย ทางจิตด้วยเหมือนกัน เดี๋ยวนี้พูดไปตามลำดับ ตามแบบฉบับ ในพระพุทธศาสนา พูดกันไปตั้งแต่ต้นว่า ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ
คุณอย่าเห็นเป็นเรื่องศาสนา เพราะผมก็อยากจะบอกให้เลิกคำว่า ศาสนา หรือ ธรรมะ อะไรเสียที จะได้เหลือแต่เป็นเรื่องของธรรมชาติๆ มันต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ถูกต้องตามเรื่องของธรรมชาติ มันก็จะหมดปัญหา
ที่ว่าให้มนุษย์เรามีความถูกต้องทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ นี่เป็นกฎของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าท่านเป็นแต่ผู้ค้นพบ ท่านจะตั้งกฎอะไรแก่ธรรมชาติไม่ได้ ในธรรมะทั้งหลายที่มีในกฎของธรรมชาติ เรียกกันว่า ตถาตา ตวิตถตา อนัญตถตา อิทัปปัจจยตา เป็นต้น หรือจะเรียกว่า ธรรมนีมายตา คือเป็นกฎของธรรมชาติ มนุษย์จะต้องมีความถูกต้อง ในทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ เป็นกฎของธรรมชาติ พอเราไม่มีความถูกต้องเหล่านี้แล้วมันก็เกิดความยุ่งยากปั่นป่วนขึ้นมาทันที แม้แต่ภายในประเทศ ครอบครัว ดังนั้นศึกษาไว้ให้ดี แม้ผู้ที่จะลาสิกขาออกไป ต้องมองเห็นความสำคัญของสิ่งทั้ง ๓ นี้ ที่เรียกเสียเลิศลอยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เอาลงมาให้เป็น ความถูกต้องทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ สำหรับทุกคนที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้
เอาเรื่องคนธรรมดาสามัญ หรือคนในครอบครัว ต้องมีความถูกต้องทางกาย ทางวาจา เราจะต้องมีการประพฤติ กระทำ ทางกายที่เกี่ยวกับวัตถุต่างๆ ซึ่งมันต้องเนื่องกันอยู่กับกาย ให้ถูกต้อง นับตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน เรื่องบริหารร่างกาย เรื่องประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม นี่เรียกว่าความถูกต้องทางกาย ทางวาจาก็รวมอยู่ในนั้นเพราะต้องมีการกระทำ การพูดจา ที่ถูกต้อง ต่อสิ่งของ ต่อร่างกายของเรา และต่อบุคคลอื่น ที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่ แม้ในครอบครัว หรือนอกครอบครัวออกไป ก็ต้องมีความถูกต้องทางกาย และทางวาจา
ถ้าเราเป็นฆราวาสอยู่ที่บ้านที่เรือน ถ้าเรามาเป็นนักบวชเพื่อประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อธรรมะอันสูงสุด เราก็ต้องมีความถูกต้องทางกาย ทางวาจา ในระบบที่มันสูงขึ้นไป ฉะนั้นจึงมีสิ่งที่เรียกว่า ศีล สำหรับบรรชิตที่มันสูงกว่า ศีลของฆราวาสมาก แต่ถึงอย่างไรก็ดี ทั้งสองพวกนั้นเป็นเหมือนกัน ในข้อที่ว่าความถูกต้องทางกาย และทางวาจา นี่เรียกว่า ศีล เป็นฆราวาส ก็ไปในรูปแบบฆราวาส เป็นบรรพชิตก็ไปในรูปแบบบรรพชิต ความถูกต้องนั้นจะขาดเสียไม่ได้
ที่นี้ก็มาถึงความถูกต้องทางจิต คุณเป็นฆราวาสก็เป็นไปสิ ถ้าไม่มีความถูกต้องทางจิตนั้นมันบ้าแน่ มันจะเป็นโรคประสาทและบ้าแน่ มันต้องมีระบบปฏิบัติในทางจิตให้มันถูกต้อง คือมีจิตปกติอยู่ได้ ไม่ว่าอะไรมันจะเกิดขึ้น เราจะต้องมีความรู้ ส่วนที่เกี่ยวกับจิตให้เพียงพอ ก็จะมีจิตปกติอยู่ได้ ใช้คำภาษาวัดๆ ก็คือไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ พอหวั่นไหวไปตามอารมณ์เมื่อไรมันก็คือล้มละลายเมื่อนั้น มันต้องเกิดเรื่องแน่ ฉะนั้นฆราวาสก็ควรจะมีจิตปกติ ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ ก็ในเรื่องบ้านเรือนมันอยู่ด้วยกันอย่างไรในครอบครัว ในสังคม มันมีอะไรที่มาทำให้จิตหวั่นไหวสูญเสียความเป็นปกติอยู่มาก ฉะนั้นเราต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่องนี้เพียงพอ ดำรงจิตเป็นปกติอยู่ได้ เราก็ไม่เสียความสงบสุข เราไม่พลั้งพลาดในการที่จะทำ จะพูด จะคิด เราจะไม่พลั้งพลาดเพราะเรามีจิตปกติ ถ้าจิตสูญเสียปกติอย่างเดียว การทำ การพูด การคิด ก็จะเสียหาย ยุ่งยาก หรือสับสนวุ่นวาย หรือเป็นในทางร้ายเสมอ ฆราวาสแท้ๆ ก็ต้องมีจิตที่ปกติ ในระบบ ระดับของฆราวาส ที่จะมาเป็นบรรพชิตผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพาน ก็ต้องมีระบบจิตปฏิบัติให้ปกติยิ่งๆ ขึ้นไป นั้นจึงกล่าวได้ว่า เรื่องของสมาธิสิกขา หรือจิตสิกขา ก็เรียกว่า นี่มันเป็นความถูกต้อง เป็นเรื่องความถูกต้องของจิต มีวิธีฝึกอย่างนี้ ที่เขาได้ค้นพบมาแต่โบราณกาล ก่อนพระพุทธเจ้า จนกล่าวได้ว่าเรื่องทางจิตเขาได้ค้นพบกันมาถึงที่สุด คือ เรื่องรูปฌาน อรูปฌาน มันก็สุดกันเพียงเท่านั้น
ทีนี้ชาวบ้านมันไม่ต้องถึงนั้น แต่มันก็ต้องอนุโลมตามนั้น คือมีจิตปกติจากการบีบคั้น ของสิ่งที่บีบคั้นจิต สิ่งที่บีบคั้นจิต ที่เอ่ยถึงในเรื่องสมาธิอันดับแรกก็คือ เรื่องกาม เรื่องอกุศลกรรม วิวิเจวกาเมติ วิวิเจอกุศโลอิ (ไม่แน่ใจนาทีที่ 17.44) จิตกำลังว่าง วิเวก จากความรู้สึกทางกาม และความรู้สึกที่เป็นบาปอกุศลอื่นๆ กำหนดอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาการที่เรียกว่าวิตกวิจารณ์ ก็คือการปฐมฌาน ในบาลีเห็นได้ชัด ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่เคยทรงอธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ เพียงแต่ตรัสบอก ปฐมฌาน ซึ่งเป็นอย่างนั้นๆ เท่านั้น มันเป็นที่เข้าใจได้ว่า แม้ประชาชนก็ฟังออก แม้ในหมู่นักบวชด้วยกันยิ่งฟังออก ยิ่งรู้จักปฐมฌาน มาดีแล้ว นั้นจึงพูดว่ามีปฐมฌาน ก็แล้วกัน
แสดงว่าเรื่องทำจิตให้ถูกต้องนี่เป็นเรื่องธรรมดา ที่มนุษย์ยุคนั้นสนใจกันเป็นอย่างมาก สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน ไม่ได้ทำอยู่เป็นประจำ ก็ทำตามโอกาส ที่จะให้มีระยะเวลาที่จิตวิวิเจวกาเมอิ จิตว่างจากความดิบทั้งของกาม วิวิจอกุศเล ว่างจากการบีบคั้นของวิตกอกุศลอื่นๆ (ไม่แน่ใจนาทีที่ 19.22)
ถ้าเราสังเกตดูให้ดี เราจะเห็นว่า คนธรรมดาสามัญ แม้อยู่ที่บ้านที่เรือน มันก็มีเวลาที่จิตว่างจากการรบกวนของกาม และของอกุศลวิตกอื่นๆ ถ้าจิตของใครไม่มีเวลาว่างจากการรบกวนของกาม หรือการรบกวนของอกุศลวิตกเสียเลย คือทั้งหลับ ทั้งตื่น ทั้ง ๒๔ ชั่วโมง คนนั้นมันบ้าและตายแน่ ยิ่งกว่าเป็นโรคเส้นประสาท ฉะนั้นมันมีเวลาที่ฆราวาสต้องมีจิตใจว่างจากการรบกวนของกาม และอกุศลวิตก ทั้งเขาไม่ได้ทำสมาธิตามแบบฉบับ ไม่ได้เพ่งกสิน ไม่ได้กำหนดอานาปานสติตามแบบฉบับ แต่ก็มีธรรมชาติ เป็นไปได้ตามธรรมชาติที่จิตของเราจะต้องมีเวลาว่างจากการบีบคั้นรบกวนของความรู้สึกทางกาม และอกุศลวิตกอื่นๆ เราจะมีความสดชื่นแจ่มใส มีความสบายอยู่ตามสมควร
ทีนี้เอาความหมายอันนั้นแหละมาขยายให้มันมากขึ้นไป คือมีจิตปกติ ปราศจากสิ่งรบกวน มาทำให้มันมากขึ้นๆ โดยวิธีที่ค้นพบ จนกระทั่งเป็นปฐมฌาน ที่เรียกปฐมฌาน จนกระทั่งว่าขึ้นไปตามลำดับ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน จนกระทั่งขึ้นไปถึงอรูปฌาน มีอากาสานัญจายตนะ เป็นต้น นี่มนุษย์ผู้พอใจในเรื่องความปกติของจิต เขาได้ค้นคว้ากันมาไกลจนถึงขนาดนี้แล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าออกบรรพชาเที่ยวแสวงหาวิชาความรู้นั้น ก็มีผู้สอนเนวสัญญา เนวสัญญา แล้ว คืออุทกดาบสรามบุตร นั่นเอง ไปศึกษาดูจากพุทธประวัติ จะพบว่าในขณะที่พระพุทธเจ้าออกบวชก็มีความรู้ไปตามความถูกต้องของจิตปกติสูงถึงขั้นเนวสัญญา เนวสัญญายตนะ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของอรูปฌาน สรุปความว่าวิชาความรู้ เรื่องความถูกต้องในทางจิต ได้เกิดขึ้นจนถึงระดับนี้ ในสมัยพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ บางทีจะเป็นเรื่องที่พูดจากัน เว้นแต่เรื่องทำมาหากินก็ได้ ในหมู่คนที่เรียกว่าเป็นนักเลงสักหน่อย ไม่เป็นชาวบ้านกันเกินไป ก็จะมีการพูดกันหาเหตุผลในเรื่องสมาธิอยู่ไหน ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ตรัสสอนในเรื่องธรรมะในระบบขององค์ ก็ยอมรับในเรื่องฌาน หรือเรื่องสมาธินี้เข้าไว้ด้วย เป็นองค์อันหนึ่ง เป็นองค์ๆ หนึ่งในระบบใหญ่ ซึ่งเป็นในระบบขององค์ คือระบบมรรคมีองค์ ๘ ในองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิอยู่องค์หนึ่ง มีสัมมาสมาธิอยู่องค์หนึ่ง ซึ่งหมายถึงเรื่องฌานสมาธิสมบูรณ์แบบเหล่านี้ นี่เรียกว่ามีจิตปกติถูกต้องถึงที่สุด โดยวิธีการที่เรียกว่าสมาธิ เป็นรูปฌาน หรืออรูปฌาน ก็ตามใจ
ทีนี้พวกชาวบ้านทั้งหลาย เราก็ไม่มีหลักฐานจะยืนยันว่าเขาเจริญรูปฌาน อรูปฌาน แต่เรามีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเขาก็พยายามทำจิตให้เป็นสมาธิ ไปตามแบบของชาวบ้าน เช่นมีความพอใจในอะไร ในบุญ ในกุศลอยู่ จิตมันก็ปกติไปตามแบบนั้น สงบอยู่ในบุญ ในกุศลนั้น ทีนี้ว่าเขาจะสอนกันเป็นธรรมเนียม เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ประชาชนชาวบ้านเหล่านั้นก็ประพฤติ ปฏิบัติกันอยู่ เขาก็มีความถูกต้องทางจิตขณะนั้น และก็มีความสุขสงบอยู่ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องปฐมฌาน ทุติยฌาน อะไร ชาวบ้านก็สามารถมีสมาธิ สมาธิสิกขาตามแบบของตนๆ คือให้มีใจปกติ ว่างจากการรบกวนของกาม ของอกุศลอยู่ ตามสมควรก็แล้วกัน
ทีนี้สังเกตเห็นว่ารุ่นปู่ย่าตายายเขามีเวลาที่สงบอกสงบใจมากพอสมควร ไม่เหมือนคนปัจจุบันที่คนหาระยะเวลาสงบอกสงบใจได้ยากมันจึงเปลี่ยนแปลงมาก มันจึงมีเรื่องโรคจิต โรคประสาทมาก ฉะนั้นถ้าคนเหล่านี้ รู้จักดำรงจิตให้ถูกต้อง ตามแบบของจิตสิกขา ก็คงจะไม่เป็นโรคประสาท โรคจิตกันมาก เหมือนที่กำลังเป็นอยู่เวลานี้
นี่ผมพูดเพื่อให้เห็นว่าแม้แต่ฆราวาสก็ต้องการการฝึกฝนจิต หรือจิตสิกขา ซึ่งจะเรียกว่าเป็นศาสตราอันที่ ๒ คือความถูกต้องในทางจิต ถ้าเป็นบรรพชิต ก็ยิ่งต้องการมากขึ้นไป เป็นศาสตราที่ ๒ คือความถูกต้องทางจิต ยิ่งไปกว่านั้นๆ จนสมบูรณ์ที่สุด จนกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่มีจิตที่ฝึกไว้ดีแล้ว ดีที่สุด มีความเป็นสมาธิถึงที่สุด สูงกว่าชาวบ้านมาก อย่างที่ชาวบ้านทำได้ก็คือเป็น มนุษธรรม ก็แล้วกัน ที่ชาวบ้านทำได้ แต่ถ้าทำได้มากกว่าชาวบ้าน ก็เรียกว่า อุตริมนุสธรรม แปลว่ามากกว่าที่ชาวบ้านทำได้ ก็ถือเป็นคุณวิเศษ เป็นธรรมะชั้นคุณวิเศษ ไอ้ธรรมะที่เป็นอุตริมนุสธรรม มันเริ่มตั้งต้นของจิตสิกขา คือ เรื่องของสมาธิ ให้ภิกษุพยายามให้มี เสร็จแล้วห้ามอวด เอาเป็นอันว่าศาสตราอันที่ ๒ คือความมีจิตถูกต้อง มีความหมายคำจำกัดความตามลักษณะของสมาธิว่า เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ว่องไวในหน้าที่ของจิต คุณอุตสาห์จำให้แม่นยำว่า จิตสูงสุดของจิตที่เป็นสมาธิคุณจำกัดอย่างไร ท่านนิยามไว้อย่างนี้ว่า มันเป็นจิตที่ตั้งมั่น มันเป็นจิตที่บริสุทธิ์ มันเป็นจิตที่ว่องไวต่อหน้าที่ของจิต แล้วจิตชนิดนี้ไปคิดดูว่า ภายในโลกนี้คนไหนที่ไม่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ จิตที่ตั้งมั่น จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่ว่องไวต่อหน้าที่ของจิตใครในโลกนี้ที่ไม่ต้องการจิตอย่างนี้ หรือจิตอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ต่อคนนั้น จิตอย่างนี้มันเป็นประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นการศึกษาค้นคว้า แม้การค้นคว้าวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ที่มันค้นคว้าอะไรได้ลึกซึ้ง มันจะค้นพบผลของการค้นคว้าของในขณะที่จิตมันเป็นอย่างนี้ เป็นความมั่นคง เป็นสมาธิ เป็นที่สุด จิตบริสุทธิ์จากสิ่งรบกวน จิตแอคติกที่สุด ภาษาบาลีเรียกว่า กัมมนียะ(ไม่แน่ใจนาทีที่ 30.09) แปลว่า สมควรแก่การกระทำกรรม คือสมควรแก่การกระทำหน้าที่ จิตที่เป็นสมาธิแล้วต้องเป็นอย่างนี้ จะเห็นได้ง่ายๆ ว่าเมื่อเรากำลังหงุดหงิดวุ่นวาย มีอะไรรบกวนจิตๆ นั้นมันคิดอะไรได้ ไม่มีความสุขสดใส แจ่มใสเลย จิตต้องมีอะไรเป็นเครื่องรบกวนอย่างนั้น มันถึงจะแจ่มใส คิดนึกอะไรสนุก นึกอะไรได้ลึก นี่ก็ตามธรรมดาแท้ๆ ก็ยังต้องการคุณสมบัติ ๓ ประการ ของจิตที่เป็นสมาธิ ตามแบบฉบับที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ลำดับที่มักพูดสับสนกัน แต่เอาให้ครบก็แล้วกัน เช่น สมาหิโต คำมั่น ปริสุทโธ บริสุทธิ์ กัมมนีโย ว่องไวต่อหน้าที่ ใครมีจิตอย่างนี้ก็เป็นวิเศษทั้งทางโลกและทางธรรม ทำมาหากินตามบ้านตามเรือนก็ควรจะทำด้วยจิตอย่างนี้ เพราะมันทำให้สำเร็จมันมีความสุขพร้อมกันไปในตัว มันเป็นของสากลที่จะเอาไปบอกกับใครก็ได้ ในฐานะที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาก็ได้ ในฐานะที่เป็นเรื่องของมนุษย์ธรรมดา ดูสิมนุษย์ธรรมดาต้องมีจิตอย่างนี้ มันจึงจะสบายที่สุด และมีสมรรถนะมากที่สุด เรียกว่าความถูกต้องทางจิต เป็นศาสตราอันที่ ๒ คู่กันกับศาสตราอันที่ 1 คือความถูกต้องทางกายและวาจา ซึ่งไม่มีใครค้านได้ กล้าท้าให้คอมมิวนิสต์ที่หาว่าศาสนาคือ ยาเสพติด ให้ลองมาพิสูจน์ดู ว่าไอ้สิ่งเหล่านี้เป็นยาเสพติดหรือไม่
ทีนี้ก็เหลืออันที่ ๓ คือ ความถูกต้องในทางทิฐิ ในทางสติปัญญา หรือในทางวิญญาณ จิตปกติเรียกว่าถูกต้องในทางจิต ถ้าความรู้ หรือสติปัญญามันมีความไม่ถูกต้อง มีความวิปริต ก็เรียกว่ามันไม่ถูกต้องทางสติปัญญา ถ้าพูดว่าความถูกต้องในทางสติปัญญาดูจะฟังง่ายในทางภาษาไทย แต่สำหรับภาษาบาลี ท่านนิยมใช้คำว่า ทิฐิ ขึ้นมาเป็นคำแรกเลยว่า สัมมาทิฐิ ทิฐิอันถูกต้อง ก็คือสติปัญญาถูกต้อง ความคิดเห็นถูกต้อง ความเชื่อถูกต้อง วิชาความรู้ถูกต้อง รวมอยู่ในข้อนี้ทั้งนั้น นี่ไม่เรียกว่าจิตเสียแล้ว แต่มันก็ยังเกี่ยวข้องในส่วนของจิต ทิฐิ วิชาความรู้ มันก็อาศัยจิตเป็นที่ตั้ง แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกับจิต จึงแยกออกมาเป็นเรื่องที่ ๓ เป็นสิ่งที่ ๓ มีทิฐิถูกต้อง ทิฐิ แปลว่า ความเห็น เห็นด้วยใจ ทำนองเดียวกับที่เห็นด้วยตา แต่ว่ามันเป็นการเห็นด้วยใจ มีการเห็นด้วยใจถูกต้องก็เรียกว่ามีทิฐิถูกต้อง
มันจะเกิดจากการศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนมันก็ได้ จากศาสนาก็ได้ จากการผ่านชีวิต ผ่านโลกมาพอสมควรแล้วมันก็ได้ ก็ต้องมีทิฐิถูกต้องยิ่งขึ้นๆ ก็เรียกว่าความถูกต้องทางทิฐิ ถ้ามันมาในหมู่มนุษย์ที่มีวัฒนธรรมดี อะไรดี ก็ง่ายๆ เด็กๆ เหล่านั้นก็จะมีทิฐิ สัมมาถูกต้องทางทิฐิ เช่นประชาชนชาวไทยมีพระพุทธศาสนาในเลือดในเนื้อมานมนานแล้ว มีวัฒนธรรมที่อิงอาศัยพระพุทธศาสนาอยู่เต็มที่ มันจึงพูดจากระทำการสอนกันไปตามหลักพระพุทธศาสนา เมื่อได้อบรมกันมาตามวิธีนี้ เด็กๆ เกิดขึ้นมาในพระพุทธบริษัท ก็ง่ายที่จะมีสัมมาทิฐิ นี่ส่วนที่เป็นโชคดี เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมนี้เริ่มจางไป เริ่มสลายไป ไม่เข้มข้นเหมือนแต่ก่อน จนกระทั่งในบางครอบครัวเด็กๆ ยังไม่เคยได้ยินคำว่าบุญ บาป นรก สวรรค์ พระธรรม พระสงฆ์ เลยก็มี กระทั่งในสมัยก่อนโบราณมันหลีกไม่พ้นที่เด็ก จะต้องได้ยินคำว่า บุญ บาป พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เรื่องสิ่งเหล่านี้ ผมจำได้ และก็ไม่ใช่อวดดี ผมจะเล่าให้ฟังว่า สมัยผมเป็นเด็กๆ คำว่าบุญ บาป ยังมีความหมายมาก ถ้าเราตวาดออกไปว่าบาปเท่านั้นแหละ เพื่อนของเราจะหดมือทันที เดี๋ยวนี้มันจะเป็นอย่างนี้หรือไม่ผมก็สงสัยอยู่ เด็กเล็กๆ มันทำอะไรด้วยกันอยู่กันตามธรรมดา ทำอะไรด้วยกันมันจะอะไร หรือขโมยอะไร ทำอะไรที่ไม่น่าดู เพื่อนกันพูดออกมาว่าบาปเท่านั้นมันหดมือทันที มันมีความหมายของคำว่า บุญ ว่าบาปอยู่มาก เดี๋ยวนี้อย่างนั้นมันไม่มี มันจึงยากที่คนจะมีความถูกต้องทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงมีอันธพาลมากขึ้นๆ คำว่าบาป ใช้ตวาดใครให้หยุดไม่ได้เสียแล้ว เพราะไม่มีสัมมาทิฐิ ในเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ อะไรเท่านั้นเอง
แต่ถึงอย่างไรก็ดี เรื่องทิฐิมันใหญ่โตกว้างขวาง มีขอบเขตมากมาย บรรยายกันไม่ค่อยจะหวาดไหว มันมากแขนงนัก ความคิด ความเห็น หรือสติปัญญาที่จะถูกต้องมันมีหลายแขนงนัก ในชั้นนี้ ชั้นต้นที่สุดของชาวบ้านธรรมดาสามัญ ก็ให้มันมีความถูกต้อง เกี่ยวกับคำว่าดี ว่าชั่ว ว่าบุญ ว่าบาป ว่าสุข ว่าทุกข์ อะไรก็ตามให้มันถูกต้อง ยังไม่ต้องขึ้นไปสูงถึงขั้นที่เรียกว่าอนันตา ไม่มีมีตัวตนที่จะหลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ได้ นั่นเป็นสมาทิฐิขั้นสูง จนมองเห็นเรื่องไม่มีตัวตน ชาวบ้านยังมองไม่เห็น ก็มีตัวตนที่ถูกต้องกันไปก่อน แล้วก็รู้ว่าอย่างนี้เรียกว่าดี อย่างนี้เรียกว่าชั่ว เพราะว่าถ้าอย่างนี้ทำลงไปมันดี มีประโยชน์กับทุกคนก็เรียกว่าดี อย่างนี้ทำลงไปเป็นโทษกับทุกคนก็เรียกว่าชั่ว ให้มองเห็นอย่างนี้ เรียกว่า สัมมาทิฐิ
เพียงแต่ไปเห็นเรื่องตัว เรื่องตน มันยาก แม้แต่ชั้นนักบวชก็ยังไม่ค่อยจะมองเห็น และอธิบายไม่ถูก ยกตัวอย่างสักนิดก็ได้ เช่นว่าไม่มีตัวตน ให้เห็นถูกต้องว่าไม่มีตัวตน มันก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาจากคนข้างล่างว่า ไม่มีตัวตนแล้วใครทำบุญ ทำบาป มันก็ไม่มีบาป ไอ้คนนั้นก็หุบปาก ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันยากที่จะมีทิฐิถูกต้องสมบูรณ์ เกี่ยวกับเรื่องลึกๆ ขอให้เข้าใจไว้ว่า ไม่มีอะไรที่ควรจะถือว่าเป็นตัวตน เช่น รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี แต่ละส่วนไม่มีส่วนไหนที่ควรจะถือได้ว่าเป็นตัวตน
ธรรมรูป นามรูป คือกายกับใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวตน แต่สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนนี้มันเคลื่อนไหวได้ มันมีจิตรู้สึกคิดนึก มันเคลื่อนไหวได้ไปตามความรู้สึกคิดนึก ถ้ามันไปเคลื่อนไหวไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือแก่ทุกคน เราก็ถือว่าดี มันเป็นการกระทำที่ดี ไม่ต้องมีตัวตนก็ได้ แต่ว่ามีการกระทำ คือการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันเคลื่อนไหวไปในทางของสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ก็ต้องบัญญัติการกระทำนั้นว่าดี เพราะมันมีสิ่งที่เรียกกันว่าบุญ ถ้ามันเคลื่อนไหวไปในทางที่ให้ทุกคนเสียหายก็เรียกว่าบาป จะมีการกระทำที่เรียกว่าบาป ทั้งที่ไม่ต้องมีตัวตน แต่มีการกระทำของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน กาย และใจที่ไม่ใช่ตัวตน มันก็กระทำไปในทางที่บัญญัติได้ว่า ทำบาป หรือทำบุญ ทำดี หรือทำชั่ว เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีความรู้สึกคิดนึก มีร่างกาย และมีจิต ทั้งกายและจิตไม่ใช่ตัวตน แต่มันมีการเคลื่อนไหวไปตามอำนาจของจิต ซึ่งบังคับกายให้ทำไป ทำอย่างนี้เรียกว่าบุญ ทำอย่างนี้เรียกว่าบาป เพราะฉะนั้นจึงมีการกระทำบาปและทำบุญ ผู้มีสัมมาทิฐิจึงยอมรับว่ามีบาป มีบุญ มีนรก มีสวรรค์ มีนรกคือโลกอย่างนี้คือโลกอย่างนี้ และมีโลกอื่นๆ คือโลกอื่น และในที่สุดก็มีบิดา มารดา มีครู อาจารย์ ทั้งที่ไม่มีตัวตน กลับมีครูบาอาจารย์ ได้ หมายความว่าร่างกายจิตใจกลุ่มหนึ่ง มันมีสมรรถภาพในการที่จะแนะนำสั่งสอนอีกกลุ่มหนึ่งในรู้อะไรได้ มันก็มีครูบาอาจารย์ และมีบิดา มารดา ทั้งที่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตน นี่คือข้อที่เข้าใจอยากของสัมมาทิฐิ
และสิ่งหนึ่งข้อสุดท้าย ว่ามีสมณะพาหรมณ์ผู้ปฏิบัติได้รับผลจากกฎเกณฑ์อันนี้ คือหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ นี่ก็เป็นสัมมาทิฐิเหมือนกัน ในคนที่เชื่อไม่มีใครทำได้ พูดเปล่าๆ นั่นก็เป็นอิฐฉาทิฐิ (ไม่แน่ใจนาทีที่42.32) เข้าใจเห็นจริง มองเห็นจริง มองเห็นว่ามีคนทำได้ มีสำนวนพาหมณ์ อัศมะนะพาหมณ์ ที่ปฏิบัติ (ไม่แน่ใจนาทีที่ 42.39) และดับทุกข์ได้โดยกฎเกณฑ์อันนี้ นี้ก็เรียกว่าสัมมาทิฐิๆ ระดับต่ำสุดสำหรับชาวบ้านก็คือ สัมมาทิฐิที่มีรายละเอียดว่า มีการทำบุญ มีการทำบาป การกระทำที่เป็นบุญมี และมีการกระทำตรงกันข้ามมี มีนรก มีสวรรค์ ซึ่งเป็นผลของการทำบุญ ทำบาป นี่เรียกว่ามีสัมมาทิฐิ จะต้องมีความเข้าใจในสัมมาทิฐิอย่างนี้กันเสียก่อนในระดับต่ำสุด ในโลก หรือในสังคมอย่างโลกๆ จะอยู่กันได้ด้วยศีลธรรมที่ดี ประชาชนจะมีศีลธรรมที่ดีด้วยสัมมาทิฐิอันนี้
ทีนี้มันก็ยากขึ้นไปอีก สูงขึ้นไปอีก แม้ว่าเราทำดี ทุกอย่างทุกประการแล้ว แต่เราก็ยังมีความทุกข์ยากลำบากเกี่ยวกับกิเลส เกี่ยวกับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ที่มันดิ้นขึ้นไป ฉะนั้นจึงต้องมีความรู้ มีทิฐิอันอื่น ที่จะกำจัดทิฐิอันอื่นที่มันเกิดขึ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ตอนนี้มันมาถึงเรื่องอนัตตา ไม่มีตัวตนเต็มที่ จึงจะกำจัดได้ ฉะนั้นจะมีสัมมาทิฐิ หรือสติปัญญาในระดับสูงสุด เรื่องไม่มีตัวตนนั่นเอง ก็ไม่มีความรู้สึกที่เป็นทุกข์ มันก็เป็นหน้าที่ที่ใครประสงค์จะมีศาสตราอันที่ ๓ นี้ ก็ต้องฝึกฝนเรื่องทิฐิ เรื่องสติปัญญา จนกระทั่งมีสัมมาทิฐิ มีสติปัญญาที่ถูกต้อง ก็ตัดปัญหาไปหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลือ ปัญหาสุดท้ายมันถูกตัดไป ไม่มีเหลือสำหรับจะเป็นปัญหา นั่นคือปัญหาเรื่องความเกิดแก่ เจ็บ ตาย มีสติปัญญาในระดับอนัตตา สูญญตา เป็นต้น ก็ตัดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ในระดับนี้เสียได้ มนุษย์ก็ไม่มีปัญหาหรือความทุกข์เหลืออยู่เลย
ถึงแม้ในหมู่มนุษย์ปัจจุบัน ในโลกปัจจุบันนี้ ที่เขาไม่นับถือพระพุทธศาสนา มันก็ยังมีปัญหานี้ ทั้งที่เขาไม่รู้สึก ถ้าเราเอาไปพูดให้เขาฟัง ให้เขาเข้าใจ เชื่อว่าเขาคงจะยินดีรับเหมือนกัน เขายังมีปัญหาประจำวัน ในเรื่องได้ เรื่องเสีย เรื่องแพ้ เรื่องชนะ อะไรต่างๆ ที่เป็นความยึดมั่น ถือมั่น ที่เป็นความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไปเสนอวิธีที่จะขจัดความทุกข์เหล่านี้ให้เขาคงยินดีรับ ผมจึงเชื่อว่าหลักธรรมะ ในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีวันที่จะล้าสมัย มีวันที่จะเจริญก้าวหน้า อยู่ในความต้องการของคนในโลกมากขึ้น เช่น พวกฝรั่งที่ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนา มารู้จักมากขึ้น เข้า และก็พอใจมากขึ้น เพราะประโยชน์อันนี้เอง คือความถูกต้องในทางสติปัญญาสูงสุดของมนุษย์ จนไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นมาในใจได้ คุณควรจะพยายามที่จะศึกษาให้เข้าใจไว้ สำหรับจะใช้ประโยชน์แก่ตัวเอง และให้แก่มนุษย์ในโลกปัจจุบันนี้ ที่มันก้าวหน้าด้วยวิทยาการต่างๆ แต่ยังมีความทุกข์อยู่ โดเฉพาะเพื่อนฝูงที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่เขายากจะรู้ว่าพุทธศาสนามันมีอะไรดีตรงไหน สัมมาทิฐิอันนี้มันมีอะไรดี เหนือดี เหนือชั่วเข้าไปแล้ว ที่รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว ที่ปฏิบัติให้ถูกต้อง มันคือระดับแรก
ทีนี้เมื่อดีอยู่แล้ว ก็ไปยึดถือเรื่องดี มันก็ยังมีความทุกข์ หรือมีความทุกข์เกี่ยวกับธรรมชาติล้วนๆ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็ต้องมีปัญญาสูงสุดในระดับอนันตา สุญญตา เข้ามาขจัดปัญหานั้น เรียกว่าเป็นศาสตราอันสุดท้าย ที่คมเฉียบ คมกริบ อันสูงสุด ที่ตัดปัญหาสุดท้าย นี่คือศาสตรา ๓ อัน ซึ่งก็ต้องรู้จักให้ดีเต็มที่ เหมือนกับไม้ ๓ ขา แต่อันนี้เป็นศาสตรา ๓ อัน เป็นไปตามหลักของธรรมชาติ อย่าไปผูกพันกับพระพุทธศาสนา หรือศาสนาไหนนัก เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตั้งศาสนาเพื่อเป็นของท่าน ท่านบอกถึงความจริง ตามที่ท่านได้ค้นพบว่ามันเป็นอย่างนั้นๆ และก็ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ ถือลิขสิทธิ์ ว่ามันเป็นศาสนาของฉัน มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่ตถาคตได้รู้ได้ค้นพบ และก็เอามาเปิดเผย เอามาชี้ มาบอก มาบัญญัติ มากระทำให้ตื่น ให้เห็นได้ง่าย ท่านว่าอย่างนี้
เมื่อมันเป็นของธรรมชาติอย่างนี้ มันก็ควรจะเป็นของทุกคน ควรจะเป็นของทุกคน ที่เป็นมนุษย์ คือสัตว์ที่มีความรู้สึกผิด ชอบ ชั่วดีได้ เราจะใช้คำว่ามนุษย์ คือสัตว์ที่อาจจะรู้สึก มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้ ถ้าเป็นสัตว์เดรฉานมันรู้ไม่ได้ มันก็ทำไม่ได้ หรือถ้าเป็นมนุษย์ที่บ้าบอ มันไม่อาจจะรู้สึกในความผิดชอบชั่วดีได้ มันก็ไม่ได้เหมือนกัน ธรรมะนี้มันสำหรับคน หรือมนุษย์ ที่มีความรู้สึก คิดนึก ในความดี ความชั่ว ความอะไรต่างๆ และเขาก็ได้รับผล คือมีศาสตราตัดปัญหาที่ ๑ คือความผิด หรือโหดร้ายที่จะเกิดขึ้นทางกายวาจา และก็ได้รับผล ด้วยศาสตราที่ ๒ คือ ตัดความผิดความชั่วร้ายที่จะเกิดขึ้นทางจิต และก็ได้รับผลจากศาสตราที่ ๓ คือความผิด ทุกข์ โทษ ชั่วร้ายอะไรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทางสติปัญญา จึงเรียกว่าเราจงมีความถูกต้องในทางทั้ง ๓ คือ ถูกต้องทางกาย วาจา ทางจิต ถูกต้องทางทิฐิ หรือทางสติปัญญา ผมพยายามพูดในแบบนี้ก็เพื่อว่า ให้คุณมองเห็นชัดลงไปในฐานะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับทุกคน ไม่ใช่สิ่งที่ผูกขาดเอาไว้สำหรับพวกพุทธบริษัท มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่จะใช้กับคนทุกคน ที่จะสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องศึกษา หรือรู้จักได้ เราจะไม่เรียกว่าศาสนานั้น ศาสนานี้ มันทำให้เกิดความผิดพลาดอันอื่นขึ้นมาอีก
ผมเคยพูด บรรยายเรื่องไม่มีศาสนา คือขอยกเลิกคำว่าศาสนากันเสียที ให้เหลือแต่ความจริงของธรรมชาติล้วนๆ อันนั้นมันมีอยู่จริง ทีนี้คำว่าศาสนา ให้คนบ้าๆ บอๆ ทีหลังต่างหาก ที่มันไปตั้งชื่อเป็นศาสนานั้น ศาสนานี้ สงวนลิขสิทธิ์ มีอดอริตี้ (ไม่แน่ใจนาทีที่ 52.50) มันอะไรขึ้นมา พระพุทธเจ้าไม่เคยทำ พระเยซูก็ไม่เคยทำ ผมอยากจะยืนยันว่าแม้แต่พระโมฮัมหมัดก็ไม่เคยทำ ว่านี้คือศาสนาของเรา ของฉันอย่างนี้ๆ ท่านไม่เคยทำ ท่านเคยพูดแต่ว่ามันเป็นอย่างไร ปัญหามันเป็นอย่างไร มันจะดับกันอย่างไร ในที่สุดมันก็ไปรวมอยู่ที่การทำลายความเห็นแก่ตัว มันเป็นกฎของธรรมชาติที่ว่า ถ้ามีความเห็นแก่ตัวเมื่อไร มันมีความเดือดร้อนกันทุกฝ่ายเมื่อนั้น พอไม่มีความเห็นแก่ตัวมันก็เป็นสุขสงบกันทุกฝ่าย นี่คือสัจจะของธรรมชาติ คือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามรูปธมานศร(ไม่แน่ใจนาทีที่ 53.42)
ทีนี้คนชั้นหลังที่มาทำให้เป็นพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาอะไรก็แล้ว จนกระทั่งว่าเป็นข้าศึกต่อกัน ฉะนั้นเราอย่าสนใจเรื่องชนิดนั้น พยายามจะเจาะลึกเข้าไปในทุกๆ ศาสนา ที่เรียกว่าศาสนาทุกๆ ศาสนา เจาะให้ลึกเข้าไปถึงหัวใจชั้นในของมันก็จะพบคำสอนอันนี้ คือหลักที่ว่าต้องไม่เห็นแก่ตัว ต้องไม่ยึดมั่นโดยความเป็นตัวตนของตน และก็ไม่เห็นแก่ผู้อื่น เคยเปรียบเทียบอุปมาง่ายๆ ฟังง่ายๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า มันมีน้ำอยู่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในน้ำฝนก็ดี ในน้ำคลองก็ดี ในน้ำบ่อก็ดี น้ำหนองก็ดี น้ำคลองก็ดี น้ำปัสสาวะก็ดี ในน้ำอะไรก็ดี มันมีเพียงน้ำเดียวเท่านั้น คือในนั้นมันมีน้ำบริสุทธิ์ ถ้าพูดว่าน้ำแล้วต้องเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ที่มีอยู่ในน้ำปลา น้ำส้ม น้ำปัสสาวะ น้ำหมักดอง น้ำคลอง น้ำฝน อะไรก็ตาม มันมีส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำบริสุทธิ์ นั่นเหมือนกับศาสนาทุกศาสนามันมีหัวใจเดียวกันตรงที่ว่า ไม่เห็นแก่ตัว ทำลายความเห็นแก่ตัว ที่มาเรียกว่าศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม นี่มันเหมือนกับมาตั้งชื่อให้ทีหลังว่าน้ำปลา น้ำส้ม น้ำตาล น้ำอะไรต่างๆ จนดูคล้ายๆ กับว่ามันเป็นคนละน้ำ ที่จริงน้ำจะเป็นหลายอย่างไม่ได้ จะเป็นน้ำเดียวเสมอ ไม่ใช่ว่าให้ คือน้ำอันนั้นเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ และมันอยู่ในทุกน้ำ น้ำมันเป็นเพียงอย่างเดียว บางทีของสกปรกที่ไม่ใช่น้ำมันก็ไปปนอยู่ในน้ำก็แยกออกเสีย แล้วเราก็จะพบน้ำ นี่หมายความว่าเราไม่ต้องมีศาสนานั้น ไม่ต้องมีศาสนานี้ ไม่มีลัทธินั้น ไม่มีลัทธินี้ มีแต่ความจริงของธรรมชาติที่ว่าจงทำให้เกิดความถูกต้อง ทางกาย ทางวาจา ทางจิต ทางทิฐิ ทางความคิด ความเห็น และก็อย่าเห็นแก่ตัวตน นั่นเป็นเนื้อแท้ของศาสนา มีศาสนาเดียว มาตั้งชื่อเป็นของใครนั้นไม่ถูก หรือจะตั้งชื่อตามผู้พบ นี้ก็เป็นธรรมเนียมอย่างโลกๆ เกินไป เดี๋ยวนี้ใครพบลัทธิอะไรขึ้นมาก็ต้องตั้งชื่อรัชยา (ไม่แน่ใจนาทีที่ 57.01)แขนงนั้น นั้นลัทธินั้นตามชื่อของคนๆ นั้นไปเลย อย่างที่เขานิยมทำกันอยู่ในโลก นี่มันเป็นเรื่องชาวบ้าน เป็นเรื่องของโลก ได้ชื่อของผู้ค้นพบ ของจริงมันลึกกว่านั้น มันของธรรมชาติ เราจึงใช้คำว่าของธรรมชาติ เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมะๆ คือธรรมชาติ ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือผลที่ได้รับจากหน้าที่ตามธรรมชาติ
เมื่อเรารู้จักธรรมะดี เราก็สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติได้ ดังนั้นจึงเกิดความถูกต้องทางกาย ทางวาจาขึ้นมากลุ่มหนึ่ง เกิดความถูกต้องในทางจิตขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง เกิดความถูกต้องในทางทิฐิในทางเห็นขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ความคิดความเห็นขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งผมเอามาเรียกในทีนี้ว่าศาสตรา ๓ อัน ให้ทุกคนแสวงหาไว้ใช้ ไว้มี ให้ทันแก่เหตุการณ์ ก็โดยเฉพาะในชีวิตประจำวัน ก็ยังมีเหตุการณ์ ยังมีความผิดพลาดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ที่เราทำให้มันถูกต้องเสียเสมอไป เรียกว่ามีศาสตราของธรรมะ เรียกว่าธรรมะศาสตรา สำหรับตัดความผิดพลาดในทางกาย ทางจิต ทางทิฐิ เกิดคำเป็นคู่ๆ ขึ้นมาว่า สัมมาถูกต้อง มิจฉาผิดพลาด แล้วเราก็ทำความถูกต้องเป็นศาสตรา สำหรับตัดมิจฉา ความผิดพลาดเรียกว่ามิจฉัตราเสีย (ไม่แน่ใจนาทีที่ 59.38) เรื่องมันก็มีเท่านี้เอง สำหรับคำว่าศีล สมาธิ ปัญญา โดยใจความ เราเรียกว่าไตรสิกขา และก็มีคำอธิบายมาก วนเวียนไปในทางไหนก็ไม่รู้ จนได้มาเป็นศาสตราสำหรับตัดปัญหา ๓ ประการนี้ ถ้าเรียกว่าไม่ได้อะไร ถ้าใครไม่มีศีล ไม่มีไตรสิกขา ชนิดที่ตัดปัญหาอะไรได้ มันก็เท่ากับไม่มี ฉะนั้นจะเรียนเรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ก็เรียนให้ถึงขนาด ที่ใช้เป็นศาสตราตัดปัญหาได้จริงอย่าได้มีความผิดพลาดทางกาย ทางจิต หรือทางทิฐิ ต่อไปอีกเลย นี่คือเรื่องศาสตรา ๓ อัน ต่อเนื่องมาจากเรื่องไม้ ๓ ขา ศาสตรา ๓ อัน
นี่เวลาก็หมดตามที่กำหนดกันไว้ ก็ขอยุติการบรรยาย และเป็นอันว่าปิดประชุม