แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมปาฏิโมกข์ ที่สนามหญ้าหน้าโรงหนัง วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2521 หนังเรื่องพระพุทธเจ้า) มีธรรมปาฏิโมกข์วันนี้มาถึงหัวข้อว่า ทางห้ามเดินสองแพร่ง ทุกคนคงจะนึกได้ว่าหมายถึงอะไรเพราะเราเคยอ่านเรื่อง พระบาลีธรรมจักกัปวัฒนะสูตร ท่านพระพุทธเจ้า แสดงธรรมครั้งแรก ท่านก็ตรัสเรื่อง ทางห้ามเดินสองแพร่ง ฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะเป็นเรื่องที่สำคัญแน่นอน ไม่ฉะนั้นไม่ทรงเอามาตรัสเป็นเรื่องแรกแน่นอนในการ แสดงธรรมครั้งแรก ให้อ่านดูบาลีธรรมจัก ก็จะพบขึ้นมาเป็นคำแรก ที่เอ่ยขึ้นมา ว่าที่สุดว่าสองอย่างบรรพชิตไม่ควรเข้าไปข้องแวะ แล้วก็ได้ตรัสถึงทาง ที่ควรเดิน ที่เรียกว่า มัจฉิมาปฏิปทา เป็นทางที่ บรรพชิตควรเดิน แม้แต่บาลีแห่งอื่น ก็มีกล่าวไว้ว่า มันเป็นทางเก่าแก่ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ท่านเคยเดินกันมาแล้ว ทางมีองค์ ๘ ส่วนไอ้ทางสองทางที่ห้ามเดินนี่เป็นของใหม่ เมื่อเกิดความเข้าใจผิดความเห็นผิดขึ้นมา ข้อนี้เราจะสังเกตได้ง่ายๆ จากเรื่องราวของมนุษย์นั่นเอง มนุษย์ก็มีขึ้นมาในโลกเป็นมนุษย์ มันก็ไม่มีอะไรขาดอะไรเกิน มากมายนัก มนุษย์สมัยคนป่า สมัยหิน สมัยอะไรก็ตาม มันมี การปรุงแต่ง ตามแบบฉบับของธรรมชาติอันบริสุทธิ์ดังนั้นมันจึงไม่ผิดอะไรมากมาย เรียกว่ามันไม่ขาดไม่เกินอะไรมากมาย
เราลองศึกษาเรื่องการเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคแรก แม้สมัยหิน มันก็เป็นอยู่อย่างถูกต้อง ตามที่ธรรมชาติมันบอกให้อะไรควรทำ อะไรควรแก้ไข อะไรควรปรับปรุง มันก็ปรับปรุง พออยู่ได้ เพื่อให้อยู่ได้เท่าที่จำเป็น ฉะนั้นเรื่องที่จะไปทำตัวให้ลำบากเหมือน อัตตกิลมถานุโยค มันก็ไม่มี ไอเรื่องที่จะเฟ้อด้วยการกามคุณมันก็ไม่มี ความคิดอันอุตริ โลดโผนมันก็ไม่มี เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เรียกว่ามันเดินมาอย่างถูกต้องกลมกลืนกับธรรมชาติ เหมือนกับที่เราเห็นธรรมชาติทั้งหลาย มันเป็นไปในลักษณะที่ ปกติ หรือว่าสงบ หรือว่าไม่ขาดไม่เกิน ต้นไม้ต้นหญ้านี้มันก็มีการกระทำที่พอดีๆ ไม่ขาดไม่เกิน สัตว์เดรัจฉานมันก็ทำเท่าที่จำเป็นหรือพอดีไม่ขาดไม่เกิน
นี้เมื่อมนุษย์มันมีมานานเข้าๆ มันสมองก้าวหน้า เพราะมันได้เหตุปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่นๆ มันจึงไม่ชะงักงันอยู่เหมือนกับมันสมองของสัตว์ มันก็เลยคิด ไกลหรือว่าคิดรุนแรง นี้มันเกิดแตกแยกออกไปจากหนทางเดิมที่เคยเดิน หนทางที่เคยเดิน ความคิดอันหนึ่งมันเกินไปในทางบำรุงบำเรอไปเล้าไปโลม จนกลายเป็นกามารมณ์ เป็นของจำเป็นหรือว่าเป็นของดีวิเศษขึ้นมา ฉะนั้นจึงมีระบบกามารมณ์เกิดขึ้น ต่างหากจากการสืบพันธุ์ ถ้าโดยธรรมชาติแล้วไอ้เพศนี่มันมีสำหรับสืบพันธุ์ เดี๋ยวนี้เพศมันกลายเป็นที่ตั้งแห่งกามอารมณ์ คนละเรื่องกับการสืบพันธุ์ นี้ก็เรียกว่าแตกแยกออกมาแพร่งหนึ่งนะ ที่ทางหนึ่งมันกลับกัน ซึ่งมันคงจะเห็นโทษของกามารมณ์ และก็ทำอย่างประชดประชัน ทรมานตน ไม่ให้เป็นที่ตั้งแห่งกามารมณ์ ก็เรื่องมันมากเกินไปมันมันไกลออกไปอย่างเกิน เขาควรจะใช้วิธีอย่างอื่นที่จะควบคุมกามารมณ์ นี้ก็ใช้วิธีทรมานร่างกาย จนไม่ให้เป็นที่ตั้งแห่งกามารมณ์ มันก็เรียกว่า แตกแยกออกไปเหมือนกัน มันเกินๆอีกแพร่งนึงออกมา ซึ่งจะเรียกได้ว่าสุดเหวี่ยงหรือว่าสุดโต่งไปทางข้างๆ ข้างซ้ายหรือข้างขวา มนุษย์ที่มีความเห็นไปในทางทรมานตน เพื่อประชดกิเลสหรือกามารมณ์นี้ ก็นับว่า มีความคิดรุนแรง เป็นไปในทางเกลียดมากกว่า
เรื่องของความจริงนี้มันก็เลยเกิดมีทางสองแพร่งแยกออกไปจากไอ้ทางเดิม คือทางสายกลางทางที่พอดีที่ควรจะมีจะเป็น มันเป็นมากขึ้นๆมากขึ้นจนมาถึง สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าท่านได้สังเกตเห็นเรื่องนี้ ที่กำลังมีอยู่ ในหมู่ชน ในสมัยนั้นท่านรู้สึกว่ามันเป็นอุปสรรคกั้นขวางการเดินทางที่ถูกต้อง จึงเอามาเป็นเรื่องแรกที่ห้ามเสีย อย่างที่น่าประหลาดน่าอัศจรรย์ที่ว่าพอเริ่ม เผยพระโอษฐ์ก็ตรัสเป็นเรื่องแรกก็ตรัสเรื่องนี้ ก่อนเรื่องหนทางสองแพร่งที่ไม่ควรจะเดินก่อนเรื่องอะไร คล้ายๆกับว่าพระพุทธศาสนาของเราทั้งหมดตั้งต้นขึ้นมาด้วยเรื่อง ทางที่ไม่ควรเดินสองทาง มันก็มีเรื่องทางที่ถูกที่ควรเดิน นั่นนะเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา ในเมืองไทยเรามีคำพูดเกิดขึ้นว่าทางใหญ่อย่างพึงจร ก็ขึ้นกันว่าเป็นสุภาษิตพระร่วงผมก็จำไม่ค่อยได้นะ แต่ตัวประโยคนี้จำได้แม่นว่า ทางใหญ่ยาวอย่างพึงจร อุ้มลูกอ่อนอย่ากอดรัด เป็นคำสอนทางธรรมะที่เขาผูกขึ้นเป็นกลอน ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีคำว่าทางใหญ่อย่าพึงจร หมายความว่าคนเป็นอันมากในโลก มันนิยมเดินไอสองทางนี้ไอทางผิด ไอ้ส่วนทางที่ถูกกลับไม่นิยมเดิน มันเลยกลายเป็นทางเล็ก เพราะคนส่วนใหญ่เขาไม่เดิน ทางที่คนส่วนใหญ่เดินมากก็คงจะเป็นไอ้ทางกามสุขัลลิกานุโยค มัวเมาพัวพันอยู่แต่ในกาม ทางไหนมีคนเดินมากมันก็ เป็นทางใหญ่ขึ้นมา เหมือนกับในป่า ถ้าทางไหนสัตว์มันเดินมาก ทางเส้นนั้นมันก็เตียนโล่ง นี้ทางใหญ่สองทางนี้ มันก็ชวนฉงนอยู่ว่า ไอ้ทางอัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากนี่ มันมีคนเดินมากเหมือนกันหรืออย่างไร ผมเข้าใจว่า ถ้าเอาประชาชนทั้งหมดเป็นหลักแล้วเห็นจะไม่ใช่ แต่ถ้าเอาบรรพชิตเป็นหลักแล้ว ในพระพุทธกาลนั้นจะพูดได้ว่าบรรพชิตเหล่านั้นนิยมเดินทางอัตตะกิละมะถานุโยคกันเป็นส่วนมากหรือส่วนใหญ่ คือเป็นชื่อแล้วบรรพชิตก็นิยมทรมานตน ก็ดูเรื่องของพระพุทธเจ้าเอง พอออกผนวชแล้วก็ต้องไปเข้าพวกทรมานตน กันเสียยกใหญ่เหมือนกัน เพราะเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่บรรพชิตในสมัยพุทธกาล นี้ฆารวาสทั้งหลายคงไม่นิยมทำอย่างนั้น แต่ถึงอย่างไหร่ก็ดีเขานิยมยกย่องบูชาการกระทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นประชาชนนั้นมันก็ไปนิยมนับถือบรรชิตที่บำเพ็ญอัตตะกิละมะถานุโยค ร่องรอยมันก็เหลืออยู่จนกระทั่งบัดนี้ คือบรรพชิตพวกที่เคร่งครัดทำตัวเองให้ลำบากนี่ ได้รับการยกย่องบูชาเป็นผู้วิเศษเป็นผู้พิเศษเป็นผู้สูงสุดอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
อันนี้ก็เหตุให้กล่าวได้ว่าเป็นทางใหญ่ที่เขานิยมกันเหมือนกันนี้คำพูดที่ว่าทางใหญ่อย่าพึงจรนี่ก็ถูกแล้ว ทั้งสองทางน่ะมันมีโยงกันอย่างเขลาๆ ทีนี้เรามาดูอีกมุมหนึ่งดีกว่า คือดูในทางที่มันมีความจริงให้เห็นอยู่ เขายอมรับกันว่าคนในโลกนี่ ทั้งหมดนี่ คนโง่มาก เทียบเปอร์เซ็นต์กันแล้วคนโง่มีเปอร์เซ็นต์สูงในโลก อย่างเรื่องสาวกของสนชัยที่จะมาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็สอบถามกันถึงเรื่องนี้ ว่าคนในโลกนี่มันโง่มากหรือฉลาดมาก สาวกบอกคนโง่มาก สนชัยก็ว่าคนฉลาดก็ไปหาพระพุทธเจ้า คนโง่ก็อยู่กับเรา เรื่องนี้เอาใจความก็แต่เพียงว่า คนธรรมดาสามัญส่วนมากนั้นเป็นคนโง่ ทางใหญ่ที่เดินมากจนเตียนโล่งคือทางของคนโง่นั่นเอง เพราะมันมาก มันมากมันเดินกันทุกคน มันก็เตียนโล่งเป็นทางใหญ่ ทางใหญ่มันก็เลยเป็นทางของคนโง่ เพราะมันมีอยู่มาก ข้อนี้เราเลยเป็นเหตุให้เราใช้เป็นหลักว่า ไอ้ที่เขานิยมกันมากๆ นั้นมันไม่ได้ถูกเสมอไป แล้วมันจะกลายเป็นเรื่องของคนโง่เสียมากกว่า เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องประชาธิปไตยให้ดีๆ เดี๋ยวมันจะเป็นเรื่องของคนโง่เสีย เรามีหลักมีที่ถือไว้ได้ว่าเราจะไม่เอาตามที่คนส่วนมากเขาชอบกัน เขาพอใจกัน เพราะคนส่วนมากนั้นมันโง่ เราต้องดูให้ดีก่อนว่าที่ถูก ที่แท้นั้นมันเป็นอย่างไร เนื้อเรื่องมันเข้ากันได้ว่า ทางใหญ่อย่าพึงจร ทางใหญ่คนเดินกันมาก ระวังให้ดี มันทางเดินของคนโง่ ก็ได้แต่ทางสองแพร่ง กามสุขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค แนวทางสองแพร่ง ห้ามเดิน ทางที่หนึ่งมันไปจมปลักอยู่ในกามารมณ์ อีกทางหนึ่งมันไปจมปลักอยู่ในความยากลำบากเปล่าๆ เรียกว่าลำบากเปล่า ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทางกามสุขัลลิกานุโยค ก็ยังได้รับความเอร็ดอร่อยสนุกสนานบ้าง แต่ก็ไม่มีประโยชน์ต่อพระนิพพานเหมือนกัน ทางใหญ่ทั้งสองนี้ มันมีลักษณะที่ต่างกันในเบื้องต้น แต่มันจะมีลักษณะที่เหมือนกันในส่วน เอ่อ หลังหรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างบทสวดที่เราสวดกันอยู่ทุกวัน ก็เว้นลักษณะอย่างอื่นของทางสองแพร่งนี้มีตรัสไว้ในพระบาลีเหมือนกัน ทางที่หนึ่งคือ กามสุขัลลิกานุโยค นั้นท่านเรียกว่า ทางเปียกแฉะ ชื้นแฉะ อาคาฬหปฏิปทา ในทางที่สองกามสุออัตตกิลมถานุโยค หนทางไหม้เกรียม คือ นิชฌานปฏิปทา ในยุคคปัจจุบันนี้ ก็ชอบไปไปในทางเปียกแฉะเสียมากเกือบทั้งโลก ทางไหม้เกรียมน้อย มีคนที่มีความคิดเห็นเป็นพิเศษบางคน ยึดมั่นถือมั่นอะไรบางอย่างเท่านั้นที่จะชอบ ในความไหม้เกรียม มีความเป็นอยู่อย่างทรมานตน
ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียก ท่านเป็นท่านเรียกสิ่งทั้งสองนี้ หนทางทั้งสองนี้ว่าอันตรา ถ้าว่าอันตรานั้นแปลว่า สุดโต่ง คือไปทางใดก็ตามก็ไปสุดโต่งก็เรียกว่า อันตรา แปลว่าสูดโต่ง สุดเหวี่ยง ตรัสว่าสุดโต่งสองอย่างนี่อย่าไปข้องแวะ ฉะนั้นสุดโต่งความคิดความเห็นของการกระทำ เราจะต้องมองเห็นว่าไอเรื่องสุดโต่งสุดเหวี่ยงนั้นมัน มันใช้ไม่ได้ ต้องควบคุมให้อยู่ใน ส่วนที่พอดีๆไม่สุดเหวี่ยง จึงๆใช้คำว่าอยู่ตรงกลาง มัชฌิมาปฏิปทา การมาเขียนเป็นลำดับมันก็มีคำว่า อาคาฬหปฏิปทา แล้วมี มัชฌิมาปฏิปทา อยู่ตรงกลาง ก็มี นิชฌานปฏิปทาอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเราดูโลกสมัยปัจจุบันนี้ดูมันสุดเหวี่ยง ในทางกามสุขัลลิกานุโยค แต่มันเป็นการสุดเหวี่ยงที่เขายังขยายได้อีก ไปมองๆดูเองก็แล้วกัน ถ้าที่มันสุดเหวี่ยงในทางกามอารมณ์อยู่เดี๋ยวนี้แล้ว มันก็ยังขยายได้อีกต่อไปในอนาคต มนุษย์มันจะขยายแห่งความสุดเหวี่ยงทางกามอารมณ์นี้ไปได้อีกมาก ขอให้ระวังกันไว้ ไอหลักที่ควรจะยึดถืออีกอันหนึ่งก็คือว่าอย่าให้มันเกิน เกินนี่มันคือสุดเหวี่ยง เพราะฉะนั้นอย่าให้มันเกิน พระพุทธเจ้าท่านวางหลักทางศีลธรรม โดยเฉพาะป้องกันการเกิน ป้องกันส่วนเกิน อย่างอุโบสถศีลอย่างนี้ อย่าให้เกินในทางกามอารมณ์ ให้เว้นเสียบางวัน มันเป็นศีลอพรัมจริยา นั้นอย่าให้เกินหรือกินศีลข้อ วิกาละโกอย่าให้เกินเป็นเรื่องบำรุงบำเรอไอ้ศีลข้อนั้น นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสุกะ ฉะนั้นอย่างให้เกินเครื่องใช้ไม้สอย อุษา มานะ มหาศินา นี้พอจะถือเป็นหลักได้ว่าอย่าให้มันเกินเท่านั้นแหละ ถ้าเกินมันเป็นเรื่องของกิเลส ถ้าไม่เกินไม่อาจจะเป็นเรื่องของกิเลส เพราะไม่ต้องการส่วนเกินกิเลสจึงมีโอกาสจะเกิด ไอ้ความโลภมันก็คือการอยาก อยากด้วยวามโง่ เพราะฉะนั้นมันเกินอยู่โดยอัตโนมัติ ถ้าไม่เกินไม่เรียกว่าโลภหรอก ความปารถนาที่ไม่เกิน โดยเหตุผลโดยอะไรก็ตามไม่เรียกว่าความโลภ นี้มันปรารถนาเกินความพอดี ก็คือโง่ มันก็กลายเป็นเรื่องของกิเลส ฉะนั้นจึงสังเกตเห็นว่าไอ้เรื่องเกินนั้นมันคู่กับเรื่องกิเลส ถ้าอย่าให้เกินไม่มีทางที่จะเกิดกิเลส ทุกเรื่องพอเกินก็จะเกิดกิเลส คืออย่างน้อยก็เป็นเรื่องของ อวิชชา
ฉะนั้นระวังเอาเองก็ได้ อย่าให้มีอะไรที่เกิน จะได้ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ช่องทางกิเลส อะไรที่มันเป็นไปเอง โดยง่ายนั้นคือมากเกิน ส่วนน้อยเกินอย่างนี้ไม่ค่อยเป็นไป มันร้ายแต่ความโง่มันมากขึ้นมาอีกไอ้อวิชชามันมากไปมันจะทำให้เกิดน้อยเกินได้ โดยตามปรกติที่มันจะเป็นไปเองนั้นมันจะเป็นไปในทาง มากเกินเรื่องกินเรื่องอยู่เรื่องนุ่ง เรื่องห่ม เรื่องบริหารกายเรื่องอะไรก็ตามมันเป็นไปในทางเกิน ถ้าป้องกันการเกินได้ก็เท่ากับว่าป้องกันเกิดกิเลสได้ เดี๋ยวนี้มนุษย์ในโลกนี้เขาไม่ๆ พิจารณาเรื่องนี้ด้วยเหตุผลสองอย่างคือว่า ไอ้พวกนึงก็ต้องการความเอร็ดอร่อย ก็เป็นเหยื่อของกิเลส ทีนี้กิเลสมันไม่รู้จักอิ่มจักพอ ใส่เข้าไปๆ จนเกินแล้วก็ยังไม่อิ่ม จนเกินแล้วเกินอีกก็ยังไม่อิ่ม ส่วนบุคคลน่ะมันไม่รู้จักอิ่ม ได้ด้วยกิเลสฉะนั้นจึงเกิดการเกินขึ้นมา เพราะฉะนั้นในโลกนี้จึงมีความเกินหรือการเกิน นี่เกี่ยวกับวัตถุของกามอารมณ์ นี้เรื่องของบุคคลนั้นๆทำให้มันเกิน ทีนี้ทางหนึ่งผู้แสวงหาประโยชน์ คือผู้ผิดวัตถุปัจจัยของกามารมณ์ก็ขายกันอย่างนั้น พวกนี้มันต้องการเงิน มันก็หาวิธีผลิตปัจจัย ของกามารมณ์ให้ผิดให้เกิน มันผลิตกันเป็นเครื่องจักรวัตถุปัจจัยกามารมณ์แล้วก็ยิ่งเกิน ผู้ที่จะทำขายก็ต้องการให้มันมาก ไอคนกินคนใช้มันก็ต้องการให้มันมาก รวมกันทั้งสองฝ่ายมันก็ยิ่งเกิน เพราะฉะนั้นมันจะมีวัตถุปัจจัยของกามารมณ์นี่เกินยิ่งกว่าเกิน
คอยดูหน่อยก็แล้วกัน นี่คือ หนทางที่จะวินาศของมนุษย์ของโลก เพราะเมื่อกิเลสครอบงำแล้วมันก็ไม่รู้ ไม่รู้จักพอดี ไม่รู้จักผิดจักถูก ไม่รู้จักพอดี มันก็ส่งเสริมกิเลส จนเกินจนบาปจนยิ่งกว่าเกินอีก เพราะฉะนั้นในโลกเรามันก็มีแต่กิเลส มันก็ห้ำหั่นกันด้วยอำนาจกิเลส อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เขาไม่มองกันตามหลักของศาสนา เขาจึงไม่เห็นว่าที่มันรบราฆ่าฟันกันอยู่ในโลกนี่ เพื่อกอบโกยเหยื่อของกิเลสทั้งนั้น ทุกฝ่ายมันกอบโกยเหยื่อของกิเลสไปให้พวกของตัว แต่ก็ไปมองในแง่การเมืองแง่ชาวบ้านว่า เรารบกันให้เรามีอำนาจ เพื่อให้เราชนะเพื่อให้เราครองโลก ก็บังหน้าไว้ด้วยคำว่าเราจะจัดโลกให้มีสันติภาพ เรารบกันเพื่อจะจัดโลกให้มีสันติภาพ เป็นคำพูดที่ประหลาด เพราะว่าการรบกันไม่มีคำว่าสันติภาพ นี่เข้าใจว่าเอาน้ำโคลนมาล้างโคลนนี่เป็นเรื่องที่น่าขัน มูลเหตุมันมาจากการที่ไม่รู้จักส่วนเกิน แล้วก็แย่งวัตถุปัจจัย ส่วนเกินสำหรับกามอารมณ์ยิ่งๆขึ้นไป ทำให้มนุษย์วินาศทำให้ธรรมชาติก็วินาศ เดี๋ยวนี้เราจะเห็นไม่ยากนะว่าทรัพยากรของธรรมชาติ บนดินใต้ดินอะไรที่ไหนมันกำลังวินาศไปเพราะมนุษย์ เขาทำลายมัน เอาไปเป็นวัตถุปัจจัยส่วนเกินทางกามอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าจำเป็น อันแท้จริงสำหรับมนุษย์ ส่วนที่จำเป็นก็มีเหมือนกันส่วนที่เป็นหยูกยา เป็นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำสิ่งที่จำเป็นมันก็มี แต่ว่าส่วนใหญ่มันก็เพื่อสนองความรู้สึก กามสุขัลลิกานุโยค คือเฟ้อในทางกามอารมณ์ อย่างเรามีเครื่องมือสื่อสาร อย่างโทรทัศน์หรือวิทยุเป็นต้น เราไม่ได้ใช้เพื่อมนุษย์จะดีขึ้นในทางกาศึกษาหรือว่าศีลธรรม พูดแต่ปากเดี๋ยวนี้มันตกอยู่ในฐานะเครื่องมือ เพราะว่าส่งเสริมกามสุขัลลิกานุโยคทั้งนั้น
แม้กระทั่งเด็กๆก็พลอยฉิบหายพลอยเสียหายในทางจิตใจ นี่คือตัวแท้ของความเกิน นี่คือโทษของความเกินแล้วมันก็มีปัญหาคาราคาซังอยู่ในโลกนี้ คือปัญหาที่เนื่องมาจากการเป็นอยู่ด้วยความเกิน ถ้าศาสนากลับมาได้จริง สิ่งเหล่านี้จะหมดไปเพราะว่าทุกศาสนา เลยเกลียดชังความเกิน มีบทบัญญัติห้ามกันความเกินการเกินลักษณะนี้ทั้งนั้นทุกศาสนา ผมสำรวจดูทุกศาสนา ถือว่าการแสวงหา การมีไว้ การบริโภคการอะไร ที่มันเกินและก็เป็นบาป เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นความโง่ แสวงหาเพื่อตนเองแล้วก็มีไว้เพื่อตนเองแล้วกินด้วยเองนี่ที่มันเกินนั้นคือบาป แต่ถ้าเราแสวงหาเพื่อประโยชน์ ผู้อื่นไม่เอามากินเกินนั่นมันได้ช่วยผู้อื่นอย่างนี้ไม่รวมอยู่ในข้อนี้ นี่ถ้าเราแสวงหาเกินความจำเป็นส่วนตัวเราได้ถ้าเพื่อช่วยผู้อื่น ช่วยเพื่อนมนุษย์อย่างนี้ไม่เรียกว่าเกิน เอาละเป็นอันว่าทางสองแพร่งห้ามเดิน คือทางเกินทางหนึ่งทางขาดทางหนึ่ง เราเดินแต่ทางที่พอดี เมื่อพูดถึงทางที่ห้ามเดินแล้วก็ต้องพูดถึงทางที่ควรเดินด้วย ก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา ให้ถือว่ามัชฌิมาปฏิปทา เป็นหลักสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อเป็นมนุษย์ ไม่ต้องถือว่าเป็นศาสนาก็ได้ ไม่ใช่ว่าลบหลู่ศาสนา แต่ว่าต้องการจะพูดสำหรับทุกคนในโลกแล้วก็เราจะไม่พูดในรูปแบบของศาสนา เราจะพูดในรูปของมนุษย์ หรือมนุษย์สธรรม
เมื่อพูดถึง มัชฌิมาปฏิปทา นี่เป็นแบบ รูปแบบของการ ครองชีวิตดำเนินชีวิตเป็น Mode of life เป็นรูปแบบอันหนึ่งสำหรับการครองชีวิตที่ถูกต้อง แล้วทีนี้มันดีมันสวยสดงดงาม มันมีเหตุผลที่น่ารัก ก็เลยจะถือว่ามันเป็นศิลปะที่เป็น Art เป็นArt Art of life มันเป็นรูปแบบการครองชีวิตเรียกว่า Mode of life ทีนี้มันสวยที่สุด มันดีที่สุด มันลงทุนน้อยที่สุดได้ผลมากที่สุดอย่างนี้เรียกว่า Art of life ถ้ามนุษย์ในโลกทุกคนมันอยู่ด้วย Mode และ Art of life ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาแล้วมันก็เป็นโลกอะไรก็บอกไม่ถูกแล้ว มันเหลือที่จะกล่าวได้ว่ามันดี วิเศษ ประเสริฐ สงบสุขกันซะขนาดไหน เมื่อผลของการที่เดินทางกลางไม่ขาดไม่เกิน เรื่องอริยมรรคองค์๘หรือองค์๘ของอริยมรรค ไม่ต้องพูดกันแล้วกระมัง เพราะทุกคนก็เคยอ่านท่องกันบ้างอยู่แล้ว สัมมาทิฏฐิ ความคิดเห็น ความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อมันรวมอยู่ในข้อนี้ มันถูกต้องอันนี้สำคัญมากมันมาก่อนอันไหนหมด
เดี๋ยวนี้เรามีการศึกษาไม่ถูกต้อง ฉะนั้นเลยมีความเข้าใจถูกต้องไม่ได้ ฉะนั้นความเชื่อของเราก็ผิดในโลกนี้ ความรู้ของเราก็ผิด เราจึงไม่มี สัมมาทิฏฐิ จึงนำชีวิต นำสังคมไปในทางที่ผิด เราต้องมี สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจอันถูกต้องนี้กันเสียก่อน นี้ความเข้าใจถูกต้องนั้นเหมือนกัน มันก็เหมือนกันอีกแหละ คือความเข้าใจที่ไม่เอียงไปสดโต่งหรือสุดเหวี่ยง ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ที่มันไม่เอียงไปสุดโต่ง มัชฌิมาของทิฐิ มันไม่เอียงไปสุดโต่งว่า ตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญมันไม่มี ถ้าเกิดตายแล้วเกิดก็ดี ตายแล้วสูญก็ดี มันเป็นมิจฉาทิฐิ มันสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง หรือแม้แต่มันจะพูดยืนยันลงไปว่า มี มันก็สุดโต่งทางมี อีอย่างว่า ไม่มี มันก็สุดโต่งทางไม่มี นี้ก็เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิที่บัญญัติไว้แล้วเหมือนกันในพระคัมภีร์ (สัพพังอัฏฐิ สัพพังณะฐิ ทางห้ามเดินสองแพร่ง ไม่แน่ใจนาทีที่38:41 – 38:43) ทุกอย่างมีแล้วก็ มิจฉาทิฐิทุกอย่างไม่มีก็มิจฉาทิฐิ ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ อิทัปปัจจยตา อยู่ตรงกลาง ระหว่างมีกับไม่มีที่นี้มันละเอียดบอกว่ามาก
แต่ว่านี้หรืออื่นอันนี้มันก็สุดโต่งทางนี้อื่นมันก็สุดโต่งทางโน้นเราไม่พูดว่านี้หรืออื่น แต่พูดว่า อิทัปปัจจยตา นี่มันกำลังถูกปั่นเป็นกระแสตามเหตุตามปัจจัย ในบางทีเราก็เรียกว่านี้ ถ้าไม่หมายถึงอันนี้ก็เรียกว่าอื่น แต่ไม่อันนี้หรืออื่นอย่างสุดโต่งสุดเหวี่ยงเหมือนความรู้สึกของคนโดยมาก และที่มันประหลาดอยู่หน่อยนึงที่ว่ามันสุดโต่งเป็นมึงเป็นกูนี่ร้ายกาจ ความคิดมันตะล่อมเข้มข้นเข้ามาเป็นสุดทางกูสุดทางนี้ มึงสุดทางโน้น มันไม่อยู่ตรงกลาง นี่ถ้าว่ามี อิทัปปัจจยตาเข้ามา มันก็ไม่ควรจะเป็นมึงเป็นกู ทั้งมึงทั้งกูเป็นกระแสของอิทัปปัจจยตา ถ้าความคิดเห็นมันเป็นอย่างนี้มันก็เป็นสัมมาทิสัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุงฐิ เป็นทิฐิที่อยู่ตรงกลาง ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องปรับปรุงที่สุดให้ได้อยู่ตรงกลาง ให้ได้สมดุลก็คือทิฐินั่นเอง เป็นสิ่งแรก พออันนี้มันถูกต้องมันสมมดุล มันเป็นกลาง แล้วไอ้ที่เหลือนอกนั้นมันเป็นหางมันมันก็ถูกหมด สังคะโตคือความปรารถนามันก็ถูกไปตามสัมมาทิฐิ วาจา กัมมันโต อาชีโว วายาโม สติสมาธิ มันก็ถูกต้องตามอำนาจของสัมมาทิฐิ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วมันก็จะเหวี่ยงซ้ายเหวี่ยงขวาไปสุดโต่งตามอำนาจของมิจฉาทิฐิ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า ความทุกข์ทั้งปวงจะล่วงพ้นไปได้เพราะ สัมมาทิฏฐิ ช่วยจำกันไว้ด้วย มันเป็นบทสรุป คนจะล่วงพ้นความทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะสมาธานสัมมาทิฏฐิ
ยังมีหนังสือหลายเล่มที่ผมพูดหลายหนเขาก็ไปพิมพ์กันหลายหน สัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง นี่เป็นบาลีนี่ ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้เพราะ สัมมาทิฏฐิ สมาทาน สัมมาทิฏฐิ เมื่อคุณมี สัมมาทิฏฐิอยู่กับเนื้อกับตัวเรียกว่า สมาธาน คำว่าสมาธานคือการที่มีอยู่กับเนื้อกับตัว เช่นสมาธานศีลก็มีศีลอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ใช่ว่าจะจางเป็นลมหายไป นี้เรียกว่า สมาธาน สัมมาทิฏฐิ มันจะเป็นผู้พบไอ้ความพอดีหรือความอยู่ตรงกลาง ไม่เกินฝ่ายโน้นไม่เกินฝ่ายนี้ สัมมาทิฏฐิ จึงเป็น องค์มรรคที่สำคัญที่สุดในฐานะเป็นผู้นำ มันนำองค์อื่นๆ พระพุทธภาษิตก็มีตรัสอย่างนี้ให้มี สัมมาทิฏฐิ เป็นตัวนำ แล้วอีก ๗ องค์ที่เหลือก็จะถูกไปหมด แล้วถ้ามี สัมมาทิฏฐิ และก็แน่ใจได้ว่า สำเร็จประโยชน์ จึงทรงเปรียบ สัมมาทิฏฐิ ว่าเหมือนกัน อรุณ แสงทองของอรุณ เคยเห็นแล้วก็เป็นอันแน่ใจได้ว่า จะมีกลางวันคือแสงสว่าง แล้วก็อยากให้สัมมาทิฏฐิ เป็นอรุณของทั้งหมด ก็รับประกันความไม่เกิน พอมี สัมมาทิฏฐิมันก็รับประกันที่ว่ามันจะไม่เดินไปทางสองแพร่ง ที่อันตราย พอมีสัมมาทิฏฐิแน่นอนมันก็เดินทางกลาง เว้นทางสองแพร่งนั้นเสีย หรือเว้นทางใหญ่ในโลกที่คนทั้งโลกเขาเดินกันเสีย
ไอ้คำนี้อธิบายยากเพราะว่าในโลกนี้เขานิยมทำอะไรเหมือนๆกัน เพราะว่าถ้าโลกนิยมก็เป็นอันว่าถูกต้อง ใช้ได้ แต่ทางธรรมะไม่เป็นอย่างนั้นก็ยังถือว่า คนในโลกส่วนใหญ่นั้นเป็นคนโง่ คนไม่รู้ธรรมะ เราจะไม่อ้างสังคม เพราะสังคมเขาทำกันเราก็ตั้งทำ เขาสูบบุหรี่เราก็ต้องสูบบุหรี่ เขากินเหล้าเราต้องกินเหล้า เขาไปเที่ยวสถานบำเรอ เราก็ต้องไป อย่างนี้ๆมันอ้างสังคม เอาเสียงของคนมากขึ้นรถมันก็เป็นคนโง่ มาเป็นหลัก มันก็ใช้กันไม่ได้กับเรื่องพระศาสนา ที่เขาต้องเอาความดี ความจริง ความถูกต้องหรือสติปัญญาเป็นหลัก ไม่เอาคนจำนวนมากเป็นหลักก็เต็มไปด้วยกิเลสด้วยความโง่ นี่คือทางสองแพร่งห้ามเดิน ทางสองแพร่งห้ามเดิน ทางห้ามเดินสองแพร่ง ขอให้รู้จักปรับปรุง หลักเกณฑ์อันนี้มาใช้ทุกเรื่อง ในชีวิตประจำวัน ถ้าไปเข้าในเรื่องที่ว่าอย่าแตะต้องส่วนเกินอย่าบูชาส่วนเกิน แล้วก็ไม่เกิดกิเลส เมื่อไม่อาจจะเกิดกิเลส อนุสัยของกิเลสมันก็สร้างขึ้นไม่ได้ มันก็จะหมดกิเลสลงสักวันหนึ่ง แม้แต่ฉันข้าวก็อย่าให้มันมากเกินอย่าให้มันน้อยเกิน เมื่อได้ฉันข้าว ไอ้เครื่องนุ่งห่มก็อย่าให้มันอะไรอะ อย่าให้มันมากเกินอย่าให้มันน้อยเกิน อย่าให้มันดีเกินอย่าให้มันเลวเกิน อย่าให้มันซอมซ่อเกิน อย่าให้มันเฉิดฉายเกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไม้สอย อย่างเดียวกัน รู้เอาส่วนเกินออกไปเสีย ให้คนที่เขาไม่มี ให้คนที่เขาขาดแคลน แล้วปัจจัยสุดท้ายคือยาแก้โรค ก็อย่าให้มันเกิน ก็ปวดหัวนิดเดียวก็พาไปส่งโรงพยาบาลทีนี้ เห็นมีบ่อยๆ ก็ปวดหัวนิดหน่อยก็ส่งโรงพยาบาลทีนี่มันเกินไป ฉะนั้นอย่าขี้ขลาดให้มันเกิน และก็อย่ากล้าให้มันเกิน แล้วเป็นอันว่าคำบรรยายปาฏิโมก ธรรมปาฏิโมก คือหัวข้อที่เป็นประเด็นหรือเป็นประเด็นของธรรมะในวันนี้ ก็มีอย่างนี้ ทางห้ามเดินสองแพร่ง ฉะนั้นขอยุติการบรรยายไว้เพียงเท่านี้ ก็ไปทำอย่างอื่นต่อไปอีก