แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมปาฏิโมกข์ วันนี้จะได้กล่าวโดยหัวข้อ ที่ติดต่อกันไปตามลำดับในครั้งที่ ๑ ว่าด้วยไม้ อิง ๓ ขา คือพระรัตนตรัย ที่อิงกันอยู่ให้พระศาสนาตั้งอยู่ได้หรือว่าอิงกันอยู่เพื่อตั้งอยู่ในจิตใจของคนเรา ต้องตั้งอยู่ทั้ง ๓ อันอยู่เหมือนกันจึงจะตั้งอยู่ได้ และครั้งต่อมาก็ว่าศาสตรา ๓ อันคือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีครบสำหรับจะตัดปัญหาทุกระดับ นี่ก็ศาสตราทั้ง ๓ อัน แล้วครั้งต่อมาก็โจรฉกรรจ์ ๓ ก๊กคือกิเลส ๓ กลุ่มได้แก่ ราคะโมหะโลภะ ซึ่งจะรู้ออกไปได้ ฐานะที่เหมือนกับโจร หรือมาร ๓ กลุ่มนี่เราเรียกว่า โจรฉกรรจ์ ๓ ก๊กและก็ป่ารก ๓ ดง มีดงรกอยู่ ๓ ดงได้แก่ มิจฉาทิฎฐิ ๓ ประเภท เข้าไปแล้วออกยากเหมือนกับหลงอยู่ในดงที่รกมากๆ นี่คือ สัสสตทิฐิ ความหลงไปในทางมีตัวตนใหม่ถาวร อุจเฉททิฏฐิ ความหลงว่ามันขาดสูญเท่านี้เอง แล้วก็ นัตถิกทิฏฐิ ความหลงว่าไม่มีอะไรเลยแต่ต้นจนปลาย ความเห็นผิดนี่เต็มด้วยป่ารกก็จำง่าย ป่ารก ๓ ดงจำเป็นกลอนไว้มันสะดวกไม้อิง ๓ ขา ศาสตรา ๓ อัน โจรฉกรรจ์ ๓ ก๊ก ป่ารก ๓ ดง นี้ก็จะว่าเวียนวงอยู่ ๓ วนเวียนวง ๓ วน คือสิ่งที่เรียกว่า วัฏฏสงสารปรุงแต่งเวียนวงอยู่ใน ๓ วงถ้าจะทำเป็นภาพก็ภาพห่วงกลมๆ ๓ ห่วงคล้องกันให้ติดเป็นวงเดียวเรียกว่าเวียนวง ๓ วน วนที่1 คือกิเลส วนที่๒ คือการกระทำตามอำนาจของกิเลส วนที่๓ ก็คือผลที่ได้รับจากการกระทำ ตามอำนาจของกิเลส แล้วก็เกิดกิเลสสำหรับที่จะให้กระทำต่อไปอีก นั้นจึงเป็นวนที่ไม่สิ้นสุดแต่มีอยู่ ๓ ห่วง
กิเลสคือความอยากก็เป็นเหตุให้เกิดการกระทำตามอำนาจของความอยาก การกระทำตามอำนาจของกิเลสนี่เขาเรียกว่า กรรม ถ้าการกระทำนั้นไม่เกี่ยวกับกิเลสก็ไม่เรียกว่ากรรม เรียกว่ากิริยาเฉยๆ แต่ถ้ามีกิเลสเป็นเหตุให้กระทำและการกระทำนั้นก็เรียกว่ากรรม นี่กรรมทำแล้วจะต้องมีผลของกรรมเรียกว่า วิบากแปลว่าความสุขของกรรม นี่คือผลกรรมเมื่อรับผลกรรมอยู่ไม่ใช่ว่ามันจะฉลาดขึ้น นี่ก็ยังคงมีกิเลสเหลืออยู่ และเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของการที่ได้รับผลกรรม เพราะว่าผลกรรมนั้นเป็นที่พอใจก็มี ที่ไม่เป็นที่พอใจก็มี มัวๆสลัวอยู่ก็มี เมื่อมีการรับผลกรรมมันก็ยังมีกิเลสสำหรับจะสืบต่อไปอีกแล้ว เราจึงพูดได้ว่ากิเลสกรรมวิบากกิเลสกรรมวิบากกิเลสกรรมวิบาก เหมือนกับรูปภาพปฏิจจสมุปบาทบนตึกนั้น ต้องสังเกตดูรูปงูกัดหางไก่ไก่กัดหางหมูหมูกัดหางงูวนกันอยู่ อย่างนี้เรียกว่าวัฏฏะ ๓ พูดอย่างภาษาคนที่พูดกันอยู่ทั่วๆไปมาก่อน เขาเอาไว้คนละโลกเลย อยู่กันคนละโลกคนละชาติเกิด อย่างทางเนื้อหนังเพราะว่ากิเลสในชาตินี้เลยว่ากิเลสในชาติก่อนโน้นเหตุให้ทำกรรมในชาตินี้กรรมที่ได้รับผลในชาตินี้ ที่ทำในชาตินี้ก็ผลในชาติหน้าหรือว่าเขาก็จะพูดเป็นเรื่องที่ให้เกี่ยวเนื่องกันว่ากิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม แล้วก็ใปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเปรตอสูรกายเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรก็แล้วแต่ มันเป็นวงใหญ่แล้วเอาบุคคลแต่ละคนมีตัวมีตนเป็นหลักอย่างนั้น เขาก็พูดกันอยู่แล้วเป็นภาษาคนไม่ต้องยกเลิก และมันก็มีความหมายมีประโยชน์ไปทางหนึ่ง เดี๋ยวนี้อยากจะชี้ให้ละเอียดเป็นภาษาธรรมว่าในขณะหนึ่ง ขณะจิตหนึ่งๆก็เป็นวัฏฏะไปได้หรือภายในหนึ่งนาทีก็มีวัฏฏะใน๓นี่ได้ วันหนึ่งวันหนึ่งก็เลยมีวัฏฏะกี่สิบวงกี่ร้อยวงกี่พันวงก็ได้ ไม่ต้องรอก็ตายแล้วถ้าเกิดกิเลส เช่นความโลภขึ้นมามันก็ทำกรรมทางจิตใจ คือการโลภก็มีผลของความโลภขึ้นมา เป็นร้อนอกร้อนใจทันควันไปเลยก็มี กิเลสที่เป็นความโลภเกิดขึ้นก็ทำกรรมคือ คิดอย่างความโลภเป็นมโนกรรมแล้วผลของมันก็คือร้อน เดี๋ยวราคะะเกิดขึ้นก็มีมโนกรรมทำความคิดอย่างกำหนัดมันก็มีผลเกิดขึ้นคือร้อนด้วยอำนาจของกำหนัด ไม่ถึงนาทีก็ได้มันก็ครบรอบวงในขนาดจิตที่ติดต่อกัน ขนาดจิตแรกเป็นกิเลส ขนาดจิตถัดมาเป็นกรรม ขนาดจิตถัดมาเป็นวิบาก
เราอยู่ด้วยอาการอย่างนี้กันทุกคน อาการที่เป็นไปอย่างนี้เขาเรียกว่าเวียนว่ายไปวัฏสงสาร คำว่าวัฏสงสาร ภาษาคนภาษาชาวบ้านนั้นเขาใช้เวลาทีเป็นชาติๆหลังจากตายแล้วหรือตายแล้วหลายๆหนว่ายในวัฏสงสาร ไม่ต้องตายที่นี่เดี๋ยวก็เวียนวนอยู่ในวัฏสงสาร ๓ อาการนี้เรียกว่า ๓ วน ในการนี้ของโลภะก็ดี ของราคะก็ดี ของโทสะก็ดี ความโกรธก็ดี ของโมหะก็ดี ล้วนแต่มีอาการเหมือนกันหมด กิเลสโลภเกิดขึ้นคิดอย่างโลภๆแล้วก็ร้อนร้อนอยู่นี่ไม่ทำให้มันหยุดกิเลสได้ บางทีมันก็ยิ่งร้อนก็ยิ่งคิดเตลิดเปิดเปิง นี่พูดภาษาธรรมในระยะอันสั้น แล้วก็รุนแรงแล้วก็น่ากลัวกว่าที่จะพูดกันอย่างข้ามภพข้ามชาติ
การศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด จะทำให้เข้าใจเรื่องนี่ดีขึ้นเพราะมันเป็นเรื่องเดียวกันในสายแห่งปฏิจจสมุปบาทในตอนหนึ่งมันเป็นกิเลส ตอนหนึ่งเป็นกรรม ตอนหนึ่งมันเป็นวิบาก เช่นได้รับอารมณ์เป็นรูปเสียงกลิ่นรสทางตาหูจมูกลิ้นกายเป็นผัสสะ และก็เป็นเวทนามีเวทนาเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแล้ว กิเลสถูกรุมขึ้นมาจากเวทนาที่เรียกว่าตัณหา ตัณหานี่ก็เป็นกิเลสที่รวมๆ ก็เรียกว่ากิเลส น่ารักก็เกิดการมักตัณหาหรือภวตัณหา ไม่น่ารักก็เกิดวิภวตัณหา พอมีตัณหาก็มีอุปาทานซึ่งเป็นกิเลสตัวถัดมา ร้ายกาจยิ่งขึ้นไปอีก ตัณหาเป็นเพียงความอยาก รู้สึกเป็นความอยาก ตัณหาก็มีอุปาทานรู้สึกรุนแรงขึ้นไป จนรู้สึกมีตัวผู้อยาก ตัวกูผู้อยาก ฟังดูแล้วก็อาจจะขัดๆเชิงอะไรกันอยู่เรื่อย ผิดรอดยิกของชาวบ้านมีความอยากรู้สึก เป็นความอยากก่อนแล้วจึงค่อยรู้สึกเป็นตัวฉันผู้อยาก เขาก็จะไม่มีตัวผู้อยากแล้วจะอยากได้อย่างไรแล้วก็บอกว่านั้นนะถูกแล้ว มันไม่มีตัวผู้อยากอยู่จริงมันเป็นเพียงความรู้สึกนั้น ความรู้สึกอยากมันเกิดขึ้นก่อน แล้วความรู้สึกเป็นตัวผู้อยากเกิดนี่มันเกิดทีหลัง นั้นขอให้เห็นชัดว่าตัวผู้อยากนั้นไม่มี คือตัวตนมันไม่มี ตัวตนที่เป็นผู้อยากนั้นเป็นเพียงปฎิกิริยาออกมาจากความอยากเท่านั้นเอง ความรู้สึกรักก็เหมือนกันแล้วมันรู้สึกรัก แล้วก็ยังรู้สึกมีตัวเราผู้รักโกรธเกลียดกลัวก็เหมือนกันอีก แล้วนี่มีตัณหาแล้ว มีอุปาทานแล้ว เรียกว่ากิเลส พิพบปาทาน(ไม่แน่ใจ) ก็เกิดภพ ภพครึ่งแรกจัดเป็นกรรม ภพครึ่งหลังจัดเป็นวิบาก ชาติ ชรา มรณะโสกะ เทวะ นั้นจัดเป็นวิบากล้วน
อย่าเรียนจากคำพูดอย่าเรียนจากหนังสือเลย ให้เรียนอยากความรู้สึกจริงๆ เมื่อเรามีความรู้สึกที่เป็นกิเลสจริงๆก็ให้มันรู้ลงไป แล้วก็มีมโนกรรมการกระทำในทางจิต คือคิดนึกรุนแรงอย่างนั้น ก็ให้มันรู้สึกลงไป หรือว่ามันจะออกมาเป็นวจีกรรม กายกรรมก็ให้มันเห็นชัดอยู่ อย่ามัวแต่เรียกจากหนังสือท่องก็ได้ แล้วก็จะเรียกว่ารู้ นี่ก็ไม่ถูก ถ้ารู้มันต้องรู้จากของจริงรู้สึกอยู่ที่ใจจริงๆมันก็จะรู้ได้เอง ว่าวันหนึ่งมันเกิดวัดวนนี่เวียนวนนี่กี่วน คนที่ไม่มีสติไอ้คนที่ไม่เกิดสติไม่มีสติเพียงพอให้วน นี่จะมาก ไอ้เวียนวงวัดวนนี้จะมีมาก ถ้าคนไหนมีสติ แล้วสามารถที่จะควบคุมจิตให้อยู่ในสภาพปกติได้มาก มันก็เกิดยาก มันเกิดกิเลสยาก ไม่มีกิเลสมันก็มีกรรมไม่ได้ ไม่มีกรรมมันก็ไม่มีวิบาก นั้นการที่มีสติอยู่ทุกกรณี ที่ตาเห็นรูปฟังเสียงดมกลิ่นลิ้มรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์นี่ มันมีประโยชน์มากอย่างนี้ ไม่ทำให้เวียนว่ายไปในวัฏฏะ หัวหกก้นขวิดหกคเมนแล้วหกคะเมนอีกอยู่ในจิตใจวันหนึ่งวันหนึ่ง เหมือนกับการตีลังกาแล้วก็ไม่รู้กว่ากี่สิบรอบในจิตใจ ที่หกคะเมนด้วยอำนาจของวัฏฏะนี้ ภาษาโบราณเขาเรียกว่าเวียนว่ายไปในวัฏสงสาร ก็หมายถึงเกิดแล้วเกิดอีกไม่รู้กี่ร้อยชาติพันชาติอสงไขยชาตินั่น หมายความว่าตายมาเก้าโลงนับด้วยไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนกี่อสงไขยชาติเดี๋ยวนี้เราพูดในภาษาธรรมว่านี่คือเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร แล้วก็มีหวังที่จะครบหมื่นครบแสนชาติได้จริงเหมือนกันที่เวียนวนวงหนึ่งแล้ว ก็เรียกว่าชาติหนึ่ง แล้วอย่างนี้ชั่วโมงหนึ่งอาจมีหลายวง ได้แล้ววันวันหนึ่งมีได้หลายสิบวงก็ได้ ก็หลายสิบชาติก็ได้ เดือนหนึ่งปีหนึ่งก็มีได้ หลายพันหลายหมื่นก็ได้ถ้าเกิดมีสัก ๗๐ ๘๐ ปีก็เวียนว่ายในวัฏสงสารด้วย หมื่นด้วยแสนชาติก็ได้ แล้วแต่ว่าคนกิเลสหนาหรือคนกิเลสบางคนกิเลสหนาคือสะสมอนุสัยความเคยชินแห่งกิเลสไว้มาก อย่างนี้เราเรียกว่ากิเลสมันหนา ถ้าเราไปโลภไว้ทีหนึ่งก็สะสมไว้ทีหนึ่ง ถ้าเราโลภอีกทีสะสมอีกที โลภหลายสิบหนก็สะสมหลายสิบหน นี้อนุสัยสำหรับจะโลภ มันก็หนามีมาก สำหรับจะโกรธ สำหรับจะโง่ก็เหมือนกัน ถ้าเราสะสมไว้มากก็มีอนุสัยนี้มากอย่างนี้เรียกว่ากิเลสหนา กิเลสหนาหมายความว่ามันเกิดง่ายถ้ามันเกิดความโลภความหลงได้โดยง่าย เพราะมันสะสมมีเชื้อหรือความเคยชินนี้ไว้มาก บางคนกิเลสหนาอะไรนิดก็เอาไปโกรธได้ บางคนกิเลสหนาอะไรนิดหนึ่งก็เอาไปรักไปกำหนัดไปหลงใหลได้ เอาไปโง่เอาไปทำอะไรที่มันเป็นกิเลสได้ บางคนที่ว่ามีกิเลสหนาก็สามารถสร้างวัฏสงสารได้ภายในชาติหนึ่งนี้นับเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสนวัฏฏะวง หลายหมื่นหลายแสนวงก็ได้ขอให้เราสังเกตดู นี่เป็นอย่างละเอียดสุดแล้ว เป็นเรื่องทางจิตใจล้วนขณะจิตแรกเป็นกิเลส ขณะถัดมาเป็นกรรมขณะถัดมาเป็นวิบาก
ที่นี่จะขยายให้มันใหญ่กว่านั้นหน่อย ให้มันเป็นเรื่องทางบุคคลมากขึ้น แต่มันจะเป็นคล้ายๆกับตัวอย่างมากกว่า เหมือนว่าคนชาวนาเขาอยากจะได้เงิน อยากจะได้ข้าวเปลือกส่วนนี้ ก็ต้องจัดว่าเป็นกิเลสเพราะว่าเขาอยากด้วยความไม่รู้จริง ถ้าเขาอยากด้วยความรู้จริงรู้สึกถูกต้อง นี่เราจะไม่เรียกว่ากิเลส ไอ้ชาวนาที่มันอยากทำนา มันอยากด้วยความโง่มันก็ร้อนมาก ถ้ามันอยากด้วยสติปัญญาด้วยความปกติมันก็ไม่ต้องร้อนมาก มันก็ทำไปก็แล้วกัน เขาไม่ได้ทำด้วยอำนาจของกิเลส จะทำงานอย่างอื่นก็เหมือนกันละ จะค้าขาย หรือจะทำอะไรก็สุดแท้ไอ้ความอยากนั้น มีได้ด้วยอำนาจกิเลสได้ ด้วยอำนาจของสติปัญญาก็ได้ เดี๋ยวนี้เราจะหมายความว่าชาวนานี้ไม่มีสติปัญญาเป็นคนธรรมดา มีความอยากตามธรรมดา ก็อยากได้เงินอยากได้ข้าวเปลือกนี้เป็นกิเลสแล้วเขาก็ทำนา ทำนานี้ก็เป็นกรรม ทำนาแล้วไม่เท่าไหร่ก็ได้ข้าวเปลือกมา นี้ก็เรียกว่าวิบากนี้เราจะหมายความว่าชาวนานี้ไม่มีสติปัญญา เป็นคนธรรมดามีความอยากตามธรรมดาก็อยากได้เงินอยากได้ข้าวเปลือกเป็นกิเลส แล้วเขาก็ทำนาทำนานี้ก็เป็นกรรม ทำนาแล้วไม่เท่าไรก็ได้ข้าวเปลือกมานี้ ก็เรียกว่าวิบากคือผลที่ได้รับเป็นข้าวเปลือกขายได้เงิน เอาไปกินเอาไปใช้ แล้วกิเลสก็ไม่ได้หยุดไม่ได้หมด ไม่ได้จบ ไม่อยากทำนารอบที่ ๒ ทำนารอบที่ ๓ รอบที่ 4 เรื่อยไป มันก็เป็นวัฏฏะได้ภายในปีหนึ่งติดต่อกันไปอย่างนี้ก็ได้ ดังนั้นเราอาจจะได้ไอ้วัฏฏะที่เวียนวน นี่ชนิดวงเล็กๆถี่ยิบนับแทบไม่ค่อยจะทัน ก็ได้แล้วเราก็ได้ไอ้วงที่โตขึ้นโต ขึ้นพอจะนับได้ง่ายๆโตเหมือนความรู้สึกการทำนาการค้าขาย การเที่ยวไปในทะเลสำหรับไปหาประโยชน์ กระทั่งว่าตาย จบลงด้วยการตายชาตินี้ มีวิบากชาติหน้า กระทั่งว่าเวียนตายเวียนเกิดเวียนตายเวียนเกิดด้วยร้อยชาติพันชาติหมื่นชาติแสนชาติ อย่างพระพุทธเจ้าตามคำกล่าวในหนังสือประเภทนั้นก็ว่าต้องเวียนว่ายเป็นโพธิสัตว์เฉพาะตอนที่เป็นโพธิสัตว์นี่ตั้ง ๕๐๐ กว่าชาติ ถ้านับมาตั้งแต่แรก ตั้งปณิธานเป็นสุเมธดาบสเซียนสวนใสแสนเสียกลับ นับไม่ไหวนับเลย ก็ไม่สนใจเซียนสวนใสแสนเสียกลับได้เวียนว่ายไปว่ายไปจนมาเป็นพระพุทธเจ้า มันก็น่าศึกษาหลายๆแง่หลายๆมุม โดยแง่ทั่วไปเขาก็ต้องการให้สังเกตว่ามันเป็นทุกข์ การเวียนว่ายไปในวัฏฏะนี้มันเป็นทุกข์ ให้มองเห็นว่ามันเป็นความทุกข์ แล้วจะได้เบื่อหน่ายไม่อยากจะเวียนว่ายแล้วก็ทำเพียรให้เป็นผู้มีสติ ป้องกันให้ไม่เกิดกิเลสไม่เวียนว่ายไปในวัฏสงสาร นี่ก็น่าศึกษาน่าสนใจว่ามีวัฏฏะทีไรมันก็มีความทุกข์ที่นั้น เพียงถือว่าวัฏสงสารนี้เป็นความทุกข์การเวียนว่ายไปในวัฏสงสารคือการเวียนว่ายไปในกองทุกข์ แล้วเราก็กำลังเป็นอย่างนั้น แล้วเราจะทำอย่างไรดี จะทำให้มันสนุกได้อย่างไร ผมว่าได้ เวียนว่ายไปในวัฏสงสารนี้ อย่าทำให้มันเป็นทุกข์ มีสติเพียงพอ ที่จะคอยกำหนดรู้จักความทุกข์ แล้วให้มันสนุกอยู่ด้วยการรู้จักความทุกข์ ก็หมายความว่ามองดูวัฏสงสารในลักษณะที่มันทำให้เราฉลาดยิ่งขึ้นทุกที เกือบจะพูดได้ว่าถ้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เวียนว่ายไปในวัฏสงสารสี่อสงไขยแสนกัปหรือว่าห้าร้อยกว่าชาติในการเป็นประวัติศาสตร์นั้น คงจะไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเพราะการเวียนว่ายไปในวัฏสงสารนั้นทำให้ฉลาดยิ่งขึ้นทุกชาติฉลาดยิ่งขึ้นทุกชาติ บารมีทุกอย่างมันฉลาดเพิ่มขึ้นมาก ทาน ศีล เนกขัมม ปัญญา สัจจะ วิริยะ ขันติ ทิศฐานะ สมาธิ อุเบกขา มันก็แก่ขึ้นแก่ขึ้นแก่ขึ้นเพราะการเวียนว่ายไปในกองทุกข์ แล้วเราอย่าไปโง่นั้นเราอย่าไปโง่กับไอ้เรื่องนี้ ให้มันฉลาดขึ้นทุกทีที่มีความทุกข์ หรือให้ความทุกข์มันสอนให้ทุกทีให้มันฉลาดขึ้น อย่าให้ทุกข์เปล่าๆ ทุกข์เปล่าๆแล้วไม่ฉลาดขึ้น นั้นคือคนโง่ แต่มีความทุกข์มีความผิดพลาดความเสียหาย และฉลาดขึ้นมันก็กลายเป็นการได้ ไม่ได้เป็นการเสีย ประสบความวิบัติอะไรก็ตามมาอย่ามานั่งร้องไห้อยู่ ให้มันสอนไอ้ความเป็นอย่างนี้เอง เราเคยได้ยินมาแต่ว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ก็ไม่เข้าใจเพียงแต่ได้ยินลมๆแล้งๆ แต่ถ้ามันมาเป็นเข้าอย่างนี้ก็รู้ว่ามันจริง จะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาจริง หรือได้ยินได้ฟังมาว่าสิ่งทั้งปวงยึดมั่นถือมั่นว่าเราว่าของเราไม่ได้ ก็มันเกิดเหตุอะไรขึ้นสูญเสียของรักของพอใจอะไรไปมากมาย เออมันก็รู้จริงโว้ย, มันยึดมั่นกันไม่ได้ มันมาสอนให้เราฉลาด เราเลยได้รับประโยชน์มากกว่าทรัพย์สมบัติของรักใคร่พอใจที่สูญเสียไป สมมุติว่าเงินหายไปล้านหนึ่งจะมาร้องอยู่มันก็ไม่ได้อะไรเกิดขึ้น ถ้าเอามาทำความรู้ความเข้าใจว่าในวัฏสงสารนั้น มันเป็นอย่างนี้เองมันเป็นอย่างนี้เอง มันก็ได้เลื่อนชั้นในจิตใจมีความรู้ในทางจิตใจเลื่อนชั้นในทางจิตใจอย่างนี้ ผู้มีปัญญาเขาก็จะตีราคาว่ามันมีค่ามากกว่าเงินล้านหนึ่งเสียอีก แล้วไอ้เงินล้านนี่มันกลายเป็นซื้อความฉลาดที่มีราคามากกว่าล้าน ที่เรียกว่าใช้วัฏสงสารเป็นบทเรียน เป็นโรงเรียน เรียนพร้อมกันไปในตัว มันก็กลายเป็นว่ามาเวียนว่ายในวัฏสงสารนี่ คือการทำให้ใกล้พระนิพพานเข้าไป คนบางคนเขาจะพูดว่าให้แสวงหานิพพานในวัฏสงสาร เหมือนบทกลอนกล่อมลูกเรื่องมะพร้าวนาลิเก ต้นเดียวโดเด กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึงที่นั่น ที่ต้นมะพร้าว แล้วต้นมะพร้าวก็อยู่ท่ามในกลางทะเลขี้ผึ้ง คือวัฏสงสาร วัฏสงสารในความหมายนี้ ก็หมายถึงกิเลสกรรมวิบากกิเลสกรรมวิบากเหมือนกัน แต่ว่าเขาไปเพ่งเล็งในส่วนที่เป็นวิบากมากกว่าอย่างอื่น นั้นจึงใช้คำว่า ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ กุศล อกุศล นั้นก็คือวัฏสงสาร เดี๋ยวได้เดี๋ยวเสียเดี๋ยวได้เดี๋ยวเสียเดี๋ยวได้เดี๋ยวเสียเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ นี่เรียกว่าวัฏสงสาร แล้วค่อยหาความหยุดเสียได้ ที่นั่นเอง กลายเป็นหานิพพานในท่ามกลางวัฏสงสาร หาความดับทุกข์ที่ตัวความทุกข์ นี่เป็นคำที่ควรจะจำไว้ ว่าให้หาความดับทุกข์ที่ตัวความทุกข์ ก่อนที่เขาพูดกันในทางอื่น มันมีความทุกข์อยู่ที่เรา ไปหาความดับทุกข์ที่วัด ไปหาความดับทุกข์ที่สวรรค์วิมานอะไรก็ไม่รู้ ไอ้เรื่องที่ถูกต้องนั้นมันต้องหาอะไรดับทุกข์ที่ตัวความทุกข์นั้นเอง เช่นเราจะหาการดับไฟก็ต้องหาที่ดวงไฟนั้นเอง คือดับดวงไปลงไปมันก็มีการดับไฟเพราะการดับไฟที่ดวงไฟนั้น จึงถือว่าหาความดับทุกข์ไปที่ตัวดับทุกข์ ตัวความทุกข์ก็เลยมีค่ามีราคาที่จะทำให้เราพบความดับทุกข์ ไม่มามัวโง่นั่งร้องไห้อยู่ เพราะมีความทุกข์ ถ้ามันเกิดวัฏสงสารเกิดความทุกข์อะไรขึ้นมา ก็รีบใช้ให้เป็นประโยชน์แก่หน้าที่ของเรา คือหน้าที่แห่งการดับทุกข์ มันต้องยอมรับกันเสียก่อนว่าทุกคนมีหน้าที่ดับทุกข์ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องทำอะไรไม่มีปัญหาอะไร ความทุกข์มันจะเกิดมาจากอารมณ์ไหน ปรุงแต่งอย่างไร มันเป็นความทุกข์ เรามีหน้าที่ที่จะทำให้มันเกิดไม่ได้ แล้วเรามีหน้าที่ที่จะดับมันเสีย เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราต้องมีความสามารถมีสติเพียงพอมีสติปัญญาเพียงพอ รู้เท่าทันอารมณ์ที่มากระทบทำให้เกิดกิเลสหรือความทุกข์ขึ้นมา นี่เรียกว่าป้องกันมันได้ไม่ให้เกิดวัฏสงสาร แต่ถ้ามันเป็นความทุกข์เสียแล้ว วัฏสงสารมันตั้งต้นไปแล้ว ก็ทำให้มันหยุดดับลง โดยที่มีจิตใจอยู่สูงเหนือกว่าที่จะไปเป็นทุกข์ คือไม่ยอมรับวิบาก ถ้ามันกำลังรับวิบากอยู่วิบากนั้นก็ไม่เอามาเป็นตัวตนของตน ไม่เป็นวิบากของเราไม่ใช่ผลกรรมของเรา มันเป็นของนามรูปที่โง่เขลาไปตามเรื่อง เรานั้นคือความโง่เขลาของทิฐิเห็นเป็นเรา เราเกิด เราแก่เ ราเจ็บ เราตาย เราทุกข์เราอะไรไปหมด ถ้ามีความรู้พอไม่ต้องมีเรา ก็มีแต่กายกับใจเป็นนามและรูป มันได้รับการปรุงแต่งอย่างนั้น ๆ เรียกว่าความทุกข์ ได้รับการปรุงแต่งอย่างนั้นเรียกว่าความสุข ซึ่งเป็นความทุกข์หลอกลวง ในความทุกข์เป็นความทุกข์เปิดเผยโดยตรง ไอ้สุขนั้นเป็นความทุกข์หลอกลวงซ่อนเร้นปิดบัง นี่เรียกว่าปัญญามันเพียงพอที่จะเห็นว่าความสุขหรือความทุกข์ ก็เป็นสังขารเหมือนกัน ก็มีลักษณะแห่งความเป็นทุกข์เพราะไม่เที่ยงเป็นอนัตตาเหมือนกัน นี่ขอให้คิดดูเองเถอะว่า เราต้องใช้ความฉลาดเฉลียวสักเท่าไหร่ จึงจะเรียนบทเรียนนี้ได้ นั้นเราต้องใช้ความว่องไวแห่งจิตสักเท่าไหร่จึงจะจับได้ไล่ทัน จิตที่มันเปลี่ยนแปลงปรุงแต่งไปตามอำนาจของเหตุของปัจจัย เขาถือกันเป็นหลักว่าไม่มีอะไรจะเร็วเท่าจิต ไม่มีอะไรจะไปไล่ตามจิต มันก็ต้องจิตอีกชนิดหนึ่ง จิตที่โง่ ที่ประกอบด้วยอวิชา มันก็ไว แต่ว่าจิตที่ประกอบด้วยวิชาหรือปัญญา มันก็ไว นั้นไอ้นามรูปอันนี้มันจะรู้จักแก้ไขในตัวมันเองหรือไม่ โดยที่ไม่ต้องมีตัวมีตนอะไร มันมีสติปัญญาของจิตมีความเคยชินของจิตที่ได้ผ่านปัญหาเหล่านี้มาแล้ว คือจิตที่ได้ประสบกันเข้าได้กับความทุกข์มาหลายรูปแบบแล้ว มากมายแล้ว มันก็ฉลาดขึ้นฉลาดขึ้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สุนัขมันก็ฉลาดขึ้นฉลาดขึ้น คุณไปสังเกตด้วย ว่าสุนัขตัวที่อายุมากๆนั้นมันฉลาดกว่าสุนัขเล็กๆเด็กๆมาก เพราะมันได้ผ่านอะไรมามาก อย่างนั้นอย่างโน้นอย่างนี้มาแล้ว มันจึงแก้ปัญหาต่างๆได้ดีหรือว่าหลบหลีกได้ดีกว่าไอ้สุนัขเด็กๆเล็กๆ มนุษย์นี้ก็เหมือนกัน มันได้ผ่านอะไรไปแล้ว มันก็ควรจะเป็นความฉลาด สามารถจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดกิเลสก็ดี ในการระงับกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี นี่เราก็จะเอาชนะในการเวียนว่ายในวัฏสงสารได้ พอมีสติเพียงพอกิเลสเกิดไม่ได้วัฏสงสารก็หยุดเงียบไป ไม่มีกิเลสมันไม่มีวัฏฏะหรอก นั้นเราก็มีความพร้อม ความถึงพร้อมด้วยคุณธรรมมากพอ ที่จะป้องกันไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่ก็หมายถึงสติสัมปชัญญะ แล้วก็มีปัญญาพอ ที่จะใช้สติสัมปชัญญะ กิเลสก็เกิดไม่ได้ ถ้ากิเลสมันสมบูรณ์สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ กิเลสก็ไม่มีทางเกิด ฉะนั้นการพอกพูนสติสัมปชัญญะนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น และปัญญาก็เป็นสิ่งที่ต้องพอกพูนพร้อมๆ กันไป เพราะว่าถ้าเราไม่มีปัญญา เราก็ทำอะไรไม่ได้ การที่เราจะพอกพูนสติสัมปชัญญะให้เร็วให้มาก มันก็ต้องอาศัยปัญญา การพอกพูนปัญญาเพิ่มกำลังให้ปัญญานี้ มันจะเป็นการเพิ่มกำลังแก่ธรรมะ ที่พึงปรารถนาทุกๆ อย่าง ธรรมะที่จะเป็นไปเพื่อนิพพานเขาเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม มีอยู่ ๗ หมวด รวมกันเป็น ๓๗ ข้อ ไปศึกษาเอาได้จาก นวโกวาทก็จะมี หมวดแรกก็คือ สติ สติปัฏฐาน ๔ นี่ไปทำให้จริงจังเข้าแล้วก็หมวดถัดๆมาจะมีโดยอัตโนมัติ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตามแบบแห่งอานาปานสติสูตร ในนั้นจะมีสัมมัปปธาน ๔ คือทำอยู่อย่างแข็งขัน ในนั้นจะมีอิทธิบาท ๔ คือทำอย่างประสบความสำเร็จ ในนั้นจะมีอินทรีย์ ๕ พละ ๕ อยู่ในตัวการกระทำนั้นมี โพชฌงค์ มีมรรค มีองค์ ๘ อยุ่ในตัวการกระทำนั้น ที่เรียกว่าความพร้อมเพื่อพระนิพพาน ถ้ามันมีมากมันก็ทำได้อย่างนี้ ถ้าเรามีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเหล่านี้ กิเลสไม่มีทางจะเกิด มันจะเหือดหายไปเมื่อไรก็ตามใจมัน เมื่อไม่มีทางจะเกิด มันก็จะต้องเหือดแห้งไปเอง เรียกว่าวัฏสงสารมันสิ้นสุดลงได้เพราะมีสติสัมปชัญญะ ในการสกัดกั้นกระแสแห่งวัฏสงสารนั้นเอง มันไหลวนอีกไม่ได้ เพราะมันมีสติกั้นเสียตั้งแต่ในระยะต้นวิริยะของกิเลส
นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเวียนวง ๓ วน วัฏฏะ ๓ คนโบราณเขาพูดกันมากว่าวัฏสงสาร คนแก่ๆ ก็พูดเป็นเพราะได้ยินได้ฟังจนเคยชิน ในการฟังเทศน์ ถ้าเทศน์ตามแบบโบราณแล้วจะได้ยินคำว่าวัฏสงสารนี้ ในการเทศน์ครั้งหนึ่งไม่รู้กี่คำต่อกี่คำ มันชินหูชาวบ้าน ทำให้เกิดความกลัวในการที่จะเวียนว่ายไปในวัฏสงสาร แล้วก็มีคำแปลที่ดีมากสำหรับคำว่าภิกษุ เขาก็แปลคำว่าภิกษุว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ผู้ใดเห็นภัยในวัฏสงสารผู้นั้นควรจะมีนามว่าภิกษุ มีใครไม่เห็นภัยในวัฏสงสารยังไม่ใช่ภิกษุ นั้นระวังให้ดี คุณก็เซ็นต์ชื่อว่าภิกษุนั้นภิกษุนี้อยู่แล้ว มันเห็นภัยในวัฏสงสารหรือยัง ผมจึงเอามาพูดก็เพื่อประโยชน์อันนี้ ภิกขุภยัง แปลว่าภัย ภยังแปลว่า เห็น (ไม่แน่ใจนาทีที่ 44:55) แปลว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร คำเทศน์โบราณที่เรียกกันว่าเทศน์ธรรมวัตร ถ้าขึ้นว่า ภิกขเว ก็จะมีคำแปลติดท้ายมาว่า ดูก่อนภิกข ดูก่อนภิกษุสงฆ์ ดูก่อนสงฆ์หรือดูก่อนภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ภิกขเวดูก่อนภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ก็แปลแทนผู้ฟังมันจะออกมาอย่างนั้นเสร็จ มันจึงเคยชินที่ว่า ภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ทีนี้เราไหนๆก็เป็นภิกษุ แล้วก็อย่าเป็นภิกษุขอทานอยู่ให้มันตายด้านอยู่เลย ภิกษุแปลว่าผู้ขอ นั้นก็ขอทานแต่ความหมายนี้ไม่ดี ให้เห็นภัยในวัฏสงสาร หยุดวัฏสงสารเสียก่อน จึงจะมีสิทธิที่จะขอทาน รับอาหารของชาวบ้านมาฉัน โดยไม่ต้องไปมีหนี้สินต้องรับผิดชอบเหมือนพระอรหันต์เป็นเจ้าหนี้เหนือโลก รับอาหารมาบริโภคมันก็ไม่เป็นลูกหนี้ ถึงเราก็เหมือนกัน รีบทำอะไรๆให้มันมีค่าสมแก่ภิกษุ ก็คือเห็นภัยในวัฏสงสารแล้วต่อไปการขอทาน ก็จะชอบด้วยเหตุผลไม่ต้องเป็นลูกหนี้ ถ้าไม่ทำอะไรให้ดีไม่มีค่าพอสมควรแล้ว ไปขอทานมาฉัน ท่านถือว่าเป็นลูกหนี้ระวังนะ ก็ขอให้ปฏิบัติทุกอย่างทุกประการตามที่มีไว้สำหรับภิกษุปฏิบัติ ก็มีความสมควรที่จะฉัน บิณฑบาตหรือปัจจัย ๔ ของทายกทายิกา จึงเห็นว่าการเห็นภัยในวัฏสงสาร ก็จะช่วยได้จึงได้พูดเรื่องนี้
เอาละเป็นอันว่าได้พูดออกมาอีกเรื่องหนึ่งต่อท้ายไม้อิงสามขา ศาสตรา ๓ อัน โจรฉกรรจ์ ๓ ก๊ก ป่ารก ๓ ดง เวียนวง ๓ วน ฝนบอกให้หยุดทีเดี๋ยวจะเป็นเรื่องเป็นหวัดเอามาก ยุติ