แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในพุทธศาสนานี้เหมือนจะไม่มีคำนี้ เอาล่ะยังไงก็ดีไอ้คำนี้ก็ควรวินิจฉัย มายกตัวอย่างง่ายๆ ไม่ว่าเราจะควานหาคำตอบอย่าคิดว่าเราจะตอบคำถามของพุทธศาสนาได้ทุกข้อ แต่โดยธรรมชาติของปัญหาแล้วไม่มีทางที่เราจะเฉลยได้ จนทำวิจัยของเรากระจ่างสิ้นเชิงได้ เหมือนเรายังไม่รู้เรื่องมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจริงๆ เท่านั้น โดยการทำสมาธิภาวนาในการหยั่งรู้ซึมทราบใจของตัวว่าปัญหาที่คุณเฉลยภาพนักศึกษาเฉลยได้ปัญหาหนึ่ง มันยังมีปัญหาอีกร้อยอีกหมื่นปัญหา มันมีปัญหาเดียวเท่านั้นทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจชีวิตของเราหรือที่นักศึกษาเรียกว่าจุดยืนของชีวิต...(01:09) ฟังตัวอย่างนี้ให้ดี ครั้งหนึ่งเราคิดจะย้ายบ้านที่เราเช่าที่เราเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ เราตั้งใจว่าอีกสามวันนี่เราจะย้ายบ้านหลังจากเราอยู่มาได้สามปี วันที่เราตกลงใจที่จะย้ายบ้านอีกสามวันเท่านั้น วันที่เรายังอยู่ช่วงสามวันนั้น เราไม่พรวนดินเราไม่ซ่อมหน้าต่างเราไม่ติดสายยูที่พังไปหรือเก่าไป เราเริ่มไม่ถูพื้นเราคิดว่าอีกสามวันเราจะย้ายเรื่องอะไรเราจะถูนี่เหตุการณ์หนึ่ง ทีนี้คราวหนึ่งสมมติว่านักศึกษาไปต่างประเทศซึ่งต้องใช้เวลาตั้งหกเดือนแต่ไม่ได้คิดจะย้ายบ้าน หกเดือนแห่งการจากไปโดยไม่ได้คิดจะย้ายกับสามวันแห่งการยังอยู่ที่ตกลงใจแล้วจะย้าย ถ้านักศึกษาจับความต่างของวาระกิจ (02:20) ช่วงนี้ได้นักศึกษาจะเริ่มจับประเด็นได้ จุดยืนของเรานี้มันหวั่นไหวกวัดแกว่งซักขนาดไหน หกเดือนที่จากไปต่างประเทศอ้าวแต่ก็ยังอยู่ที่บ้าน แค่สามวันเองนะตกลงใจแม้ยังอยู่มันก็อยู่เสียแล้วไม่ซ่อมไม่ทำอะไรเสียแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้สังเกตเรื่องนี้ให้ดีการที่จะอยู่หรือจะไม่อยู่ขึ้นกับอะไร...(02:55) จะย้ายที่ทำงานไปทำอีกที่หนึ่งเช่นในชนบทเราหมายถึงร่างกายหรือจิตใจ ทีนี้มีเรื่องน่าถกถามเราคิดว่าร่างกายเราจะย้ายไปอยู่ ณ ที่นั้น...(03:11) ที่ดิน เรากำลังตกเป็นเบี้ยล่างของการวินิจฉัยง่ายๆ ของมิติทางวัตถุ เช่น เราคิดว่าเราอยู่บ้านแต่โดยเนื้อแท้เราอยู่ที่ทำงานตั้งหลายเวลา เราก็อยู่ที่บ้านแล้วก็เดินนั่งห้องโน้นห้องนี้ แล้วพอถึงเวลาจริงๆ เราหลับ ในช่วงที่หลับนั้นเราจะอยู่ ณ ที่ไหนด้วย ฉะนั้นเองขอให้นักศึกษาสังเกตให้ดี เมื่อเราพูดว่าเราอยู่ ณ ที่ไหน ส่วนมากจะเอามิติทางกายวัดทีนี้ถ้าเอาใจวัดเดี๋ยวนี้นักศึกษาอยู่ที่ไหนแต่บางคนกำลังคิดถึงบ้าน ทีนี้ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้วจริงไหม แต่เมื่อใดก็ตามลมพัดมาถูกเนื้อเย็นวูบขึ้นมาจนเรียกสมปฤดีขึ้นมา ความรู้สึกว่าอยู่ ณ ที่นี้จะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ต่อคำถามที่ว่าจุดยืนของเราควรจะอยู่ ณ ที่ไหน ไม่สำคัญเท่ากับปัญหาที่ว่าทำอย่างไรถึงจะเรียกชีวิตกลับมาในปัจจุบันนี้ได้ การที่เราปล่อยให้ชีวิตนี้แตกระแหง กายอยู่ ณ ที่หนึ่งจิตวุ่นวายอีก ณ ที่หนึ่งนั้น ช่วงเช่นนี้เป็นช่วงที่จะกำหนดพฤติกรรมของเราให้เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมซ้ำซ้อนเป็นสองบุคคลในคนๆเดียว เราไม่อาจจะมีบุคลิกภาพชีวิตที่ดีได้ มาขอชี้แจงขึ้นไปสู่เรื่องเดิมนิดนึงว่าความหมายของชีวิตนั้นเราจะให้ความหมายมันอย่างไรดี ตอนที่เราจะพูดว่าชีวิตของเรามีจุดยืน ณ ที่ไหนเราเข้าใจความหมายคำว่าชีวิตแล้วหรือ เพราะเราจะพูดกันถึงเรื่องจุดยืนของชีวิตเราต้องเข้าใจตัวชีวิตก่อน เรายังไม่เข้าใจตัวชีวิตเราจะเข้าใจจุดยืนมันเป็นไปไม่ได้เหมือนเราจะพูดว่าเราจะเอางูมาไปกักขังแต่เราไม่เคยรู้จักงูมันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นชีวิตคืออะไรและ...(05:34) ให้คำนิยามไว้นิดนึงแล้วชีวิตก็หมายถึงการดำรงอยู่ แต่ว่าดำรงอยู่ของอะไรคงไม่มีใครที่จะกล้าพูดว่าชีวิตคือความตาย ชีวิตคือการที่ได้ดำรงอยู่และดำรงอยู่ของอะไร ใครๆ ย่อมตอบได้ง่ายว่ามันคือความดำรงอยู่ของความหวังใช่ไหม แต่ว่าหวังอะไรสมมติว่าเราหวังที่เรียนจบ เราหวังที่มีชื่อเสียง เราหวังที่เป็นวีรบุรุษทางการเมืองหรืออะไรก็ตามแต่ เป้าหมายของเราจะต้อง...(06:16) ขึ้นแล้ว ชีวิตจะต้องหมายพฤติกรรมที่เรากำลังกวัดแกว่งอยู่ในท่ามกลางระหว่างสภาพจริงที่เรารู้สึกได้และสถานะที่เรามุ่งมั่นหรือมุ่งมาดปรารถนาที่จะบรรลุถึง ด้วยเหตุนี้สภาพจริงที่เรารู้สึกอยู่ในปัจจุบันนี้สถานภาพที่แท้จริงคือการที่คนที่ยังด้อยความรู้เป็นคนที่ไม่มีชื่อเสียงหรือเป็นคนที่ไม่มีปัญหาคือความมุ่งหวังที่บรรลุถึงชีวิตที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นจะสรุปได้ง่ายนิดเดียวว่าพฤติกรรมของมนุษย์ก็คือการกระทำทางกาย วาจา และใจที่เรียกว่ากรรมทั้งสามนั้นผลักดันอยู่ในช่องว่างระหว่างชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้และชีวิตที่ควรจะเป็นซึ่งมุ่งหวังไว้ สำหรับคนที่กล้าพูดหรือหยิบสูตรสำเร็จทางศาสนามาพูดที่ว่าชีวิตนี้ควรจะหวังอะไรฟังข้อนี้ต้องวินิจฉัยให้ดีว่าคนพูดบางคนนั้นอาจจะเป็นคนโง่เขลาก็ได้ที่ไม่รู้จักหวังอะไรเลยหรือไม่ก็คนๆ นั้นเป็นผู้ที่สิ้นสุดความหวังหรือสมหวังแล้วก็ได้เหมือนกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วชีวิตจะต้องมีความหวัง คนที่พูดว่าฉันไม่รู้จักหวังอะไรนั้นมักจะเป็นคนที่คบยาก เพราะเป็นคนที่ไม่รู้จักปรารถนาดีกับตัวเอง คนเราเมื่อไม่รู้จักปรารถนาดีกับตัวเองแล้วจะปรารถนาดีกับผู้อื่นนั้นค่อนข้างยากสักหน่อย ถ้าหากว่าคราวไหนก็ตามที่นักศึกษาเกิดเมตตาต่อตัวเองขึ้นซึ่งมีโอกาสน้อยมากเรามีแต่พะนอตัวเอง คร่ำครวญโศกเศร้า เคียดแค้นชิงชังเพื่อนมนุษย์ร่วมสมัยในสังคมของเราที่ไม่บันดาลอะไรให้เราสมหวัง ...(08:29) มีความรู้สึกของความผิดหวังจะย้อนมาอยู่มาสู่การเมตตาต่อตัวเอง ความรู้สึกคิดนึกเช่นนี้เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจิตเริ่มหาสุขคติต่อเพื่อนมนุษย์ เราเริ่มเรียกสมปฤดีมาความผิดหวังหรือความสมหวังมันไม่ใช่อะไรอื่นหรือว่าอดีตทำนองนั้น ...(08:55) เป็นของโบราณของเก่า นี่คือจิต...(08:59) สำหรับหนุ่มสาวและอดีต...(09:06) ใคร่ครวญแล้วๆ เล่าๆ เพื่อว่าเราจะได้กระจ่างถึงเรื่องราวของชีวิตแต่หนหลัง ถ้าหมั่นทำเช่นนี้ก็คงมีสักโอกาสหนึ่งที่เรารู้สึกสงสารตัวเอง คนๆ หนึ่งชีวิตๆ หนึ่งดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อแก้ไขปัญหาบางสมัยก็แก้ถูกบางสมัยก็แก้ผิด ความรักความเจ็บปวดอะไรเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่เราควรจะมองใหม่ บางเรื่องเราคิดว่าเรื่องนี้เรื่องธรรมดาแล้ว...(09:49) ร่วมกันนี้คือควานหาว่าจิตที่คิดว่าเรื่องธรรมดานั้นที่จริงไม่ธรรมดา...(09:57) แยกแยะจิตได้ง่ายว่า ในที่นี้ใครกล้าพูดบ้างว่ารู้จักความตาย จริงอยู่ไม่มีใครที่จะกล้าปฏิเสธได้ทุกคนกลัวตาย แต่ว่าเราไม่รู้จริงๆ ว่าความตายคืออะไร ประการเริ่มต้นที่หนึ่งหมดลมหายใจลงนั้นเป็นความตายจริงหรือไม่ ลองฟังตัวอย่างอุปมาง่ายๆ สมมติว่ามีสองคนกำลังนั่งสนทนากันในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะเรื่องความตายแล้ว ถ้าหากว่ามีใครก็ตามเอาปืนมาแล้วก็ยิงตัดขั้วหัวใจของชายคนหนึ่งขาดใจตายคาที่ นักศึกษาต้องตอบคำถามให้ดี ในสองคนที่คุยเรื่องความตายนั้นในเหตุการณ์เช่นนี้ใครสัมผัสภาพของความตายมากกว่ากัน หรือตอบคำถามว่าความตายเป็นคุณสมบัติของคนตายหรือคนที่อยู่ พอมาถึงที่นี่เราก็พบด้วยตัวเองนะว่าความตายนั้นเป็นคุณสมบัติของผู้ที่ยังไม่ได้ตายคือยังดำรงชีวิตอยู่ แล้วรู้สึกถึงอาการหนึ่งในอีกคนหนึ่งที่ล่วงลับไปและความเจ็บจริงๆ ของความตายนั้นกลับอยู่กับคนที่รู้สึกเข้าไปสัมผัสอะไรบางสิ่งและบางสิ่งนั้นคือความกลัวนั่นเอง เราจะสรุปง่ายนิดเดียวว่าคุณค่าของความตายจริงๆ นั้นก็คือความกลัวตายนั่นเอง ทีนี้เราจะกลัวความตายได้ยังไงเมื่อเรายังไม่รู้จักความตาย เด็กคนหนึ่งจะกลัวไฟแกต้องจับไฟสักครั้งนึง ทีนี้เราเคยตายแล้วหรือเราจะสังเกตได้ว่าเราไม่ค่อยกล้านักในเรื่องความตายก็แสดงว่าเราไม่ได้กลัวความตาย แต่กลัวในบางสิ่ง...(12:05) ความตายเรากลัวความเจ็บ...(12:09) แต่ก่อนหน้าที่เราเจ็บทำไมเราเจ็บไปก่อน ขอให้วิเคราะห์ดูดีๆ นะความเจ็บมันเกิดก่อนหรือว่ามันต้องเป็นผลของการที่ผิวถูกกับสิ่งหนึ่ง แต่กลัวเจ็บในความตาย อันนี้เราไม่เคยสัมผัสนี้เป็นไม่ได้เพราะมันจริงเรากลัวอะไร ความตายมันจะต้องได้หมายถึงความเจ็บหรือเป็นคุณสมบัติของผู้พิการให้เรากลัว เพราะฉะนั้นที่จริงเราไม่ได้กลัวความตายแต่เรากลัวความพลัดพรากจากชีวิตของเรา ที่จริงมันก็ดีเพราะชีวิต...(13:04) แต่เรากลัวการที่เราจะไม่ได้...(13:08) คือชีวิตที่มุ่งหวังไว้ในอนาคต อะไรๆ ที่เราเรียนไว้ยังไม่จบ อะไรๆ ที่พ่อแม่ที่เราหวังไว้ยังไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้นเรากลัวตายหรือที่จริงแล้วเรากลัวจะพลัดพรากจากชีวิตที่เราชินซะแล้ว แต่การวิเคราะห์มาถึงที่นี่บทตัดสินที่นักศึกษาถามว่าทำอย่างไรเราจึงเป็นคนไม่ขลาดกลัวต่อเรื่องอย่างนี้ อาจจะช่วยได้ง่ายๆ ว่าถ้าเราวินิจฉัยสิ่งนี้ขึ้นมาเช่นนี้แล้ว การประพฤติขึ้นอยู่เหนือความตายหรือไม่ได้กลัวความตายนั้นแทนที่จะทำเป็นกล้ากับมันกลับกลายเป็นว่าเราต้องทำให้การมีชีวิตอยู่นี้ไร้ความหมายจึงจะไม่กลัวตาย ทีนี้นักศึกษาตั้งใจฟังให้ดีซักหน่อยเราจะคิดว่าเราจะทำเป็นไม่กลัวตายโดยการทำเป็นเก่ง...(14:02) เป็นไปไม่ได้ขณะเรากำลังเก็บดอกเบี้ยความกลัวไว้ฝากไว้ในธนาคาร...(14:09) จ่ายมาเป็นความขี้ขลาดสองเท่าสามเท่า เราพบใช่ไหมในสนามกีฬาพบนักกีฬาตัวยงทำทีเป็นกล้าหาญทำทีเป็นอะไรก็ไม่กลัว ...(14:23) มันไม่อนุญาตให้บุคลิกภาพเหล่านั้นหลบหลีกไปได้ เราพบตั้งหลายครั้งที่เขาเชิญเราขึ้นพูดเวที...(14:32) เรากลัวแต่เราทำปึงปังๆ ทำเป็นกล้าใส่เท่านั้น ความกลัวจะละไม่ได้ด้วยการทำเป็นกล้าแต่ความกลัวจะละได้โดยรู้จักธรรมชาติของมัน รู้จักมูลเหตุที่เป็นเหตุให้รักชีวิตและทำลายการรักชีวิตนั้นออก ถ้าคนไหนไม่อยากกลัวตายอย่ารักชีวิตอยู่ๆ เหมือนจะเป็นกำปั้นทุบดินไปซักหน่อย แต่ว่ามันช่วยไม่ได้จริงๆ คนไหนที่รักชีวิตมากคนนั้นจะกลัวตายมาก คนไหนที่ไม่รักชีวิตคนนั้นจะกลัวตายน้อย อิสรภาพอยู่ที่การพ้นจากความกลัวทุก...(15:18) เรามาย้อนอีกทีหนึ่งถึงคำว่าอิสรภาพและก็ขออย่าหวาดกลัวคำว่าอิสรภาพเป็นอันขาด การเข้าใจอิสรภาพของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เราไปถามเด็กคนหนึ่งอิสรภาพคืออะไรพ่อหนูคนนั้นอาจจะตอบว่าผมได้กินทอฟฟี่วันละสิบห่อโดยใช้เงินวันละยี่สิบบาท โดยแม่ไม่ตีผมเมื่อผมไปเที่ยวกลับบ้านมืดนี่เป็นอิสรภาพของหนู ถ้าเราไปถามคนหนุ่มสาวอีกสักคนหนึ่งอีกประเภทหนึ่งอีกแบบหนึ่งอาจจะหมายความว่า อิสรภาพของข้าพเจ้าไม่ได้ถึง...(16:02) ข้าพเจ้าอาจจะเสวยกามารมณ์ได้...(16:07) นี่คืออิสรภาพ เมื่อไปถามบรรพชิตผู้กำลังเพียรละกิเลสตัณหาท่านอาจจะตีความหมายไปแง่หนึ่ง ฉะนั้นความเข้าใจเรื่องอิสรภาพนั้นจะเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขของโลก...(16:24) เท่านั้น ที่นี้เราคิดว่าโลกคืออะไร...(16:29) นักศึกษาคงไม่ได้หมายถึงไอ้ก้อนกลมใหญ่ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่านั้นเท่านี้ห่างจากดวงอาทิตย์เท่านั้นมาโคจรอยู่ โลกเท่านี้ไม่ได้มีความหมายอะไร มันจะกลมจะแบนไม่มีความหมายอะไรแต่คำว่าโลกในที่นี้ก็หมายถึงว่าทัศนะ โลกทัศน์ที่เรามองชีวิตที่สอดคล้องกับโลก ชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับสังคมของบุคคลที่อยู่ร่วมสมัยกับเราไม่ใช่สังคมในอดีตไม่ใช่สังคมแห่งความฝันในอนาคต การมองเช่นนั้นเป็นแง่ปรัชญาดีอยู่หรอก แต่ว่ามันไม่อาจหาจุดยืนที่คุณประสงค์ได้แม้แต่นิดเดียว อิสรภาพคุณเข้าใจได้...(17:19) สมมติว่าคืนหนึ่งนักศึกษาถูกจับตัวไปนอนในถ้ำ แต่ก่อนที่ผู้จับนั้นจะหนีไปเขาตะโกนบอกว่าที่นี้คือถ้ำ เมื่อเราตื่นขึ้นอะไรเกิดขึ้นของจุดยืนของเรา สิ่งแรกสุดคือเราต้องคาดคะเนว่าเวลานี้ฉันอยู่ที่ไหนและถ้ำที่พวกนั้นตะโกนนั้นกว้างแคบแค่ไหน ประการแรกที่สุดนักศึกษาอย่าเพิ่งคาดคะเนต่อความกว้างแคบของถ้ำนั้นๆ เช่น หนึ่งวาห่างจากหน้าและหลัง ต่อจากนั้นคือการพิสูจน์ความเป็นจริงตามที่เราคิด...(18:05) เมื่อหนึ่งวาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่มีผนังถ้ำ ความเข้าใจต่อขอบเขตของอิสรภาพขยายไปได้อีกต่อจากนั้นการคาดคะเนถึงสิบวา เมื่อสิบวาได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่มีผนังถ้ำอิสรภาพขยายไปอีก เพราะฉะนั้นจุดยืน...(18:30) จริงๆ นั้นขึ้นอยู่กับความตั้งใจของโลกเพื่อชีวิต จะหาจุดยืนอะไรได้ที่คุณบอกว่าเดี๋ยวนี้ที่คุณไปเข้าข้างฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา คือเรายังไม่รู้ว่าฉันนั้นป็นใครแต่เพียงไปเข้าข้างฝ่ายซ้ายหรือขวามันคืออะไรไม่รู้ เพราะเราไม่แน่ใจว่าไอ้ตัวชีวิตมันอยู่ที่ไหนแต่เราก็เอาตัวเองที่เราไม่เข้าใจนั้นไปฝากไว้ฝ่ายไหน นี่คือคำพูดที่เลื่อนลอยและถ้าหากว่าคือการเลื่อนลอยเช่นนี้แล้ว ชีวิตจริงสภาพจริงที่เราเห็นอยู่และสภาพที่เรามุ่งหวังจะเกิดประสานกับภาพนิมิต ความสามารถในการประสานสภาพจริงเหนือชีวิตจะมีขึ้นได้จนกว่าการวิเคราะห์ถึงความรู้สึกภายในใจของเรา...(19:29) สมมติว่าในคืนๆ นั้นมีคนๆ หนึ่งตะโกนบอกไปว่าที่นี่คือถ้ำนะเขาลวงเราเสียแล้ว...(19:41) ไม่ใช่ถ้ำ เราต้องมาถึงจุดตั้งต้นใหม่ว่าที่จริงแล้วตลอดเวลานั้นเราไม่เคยถูกกักขังไว้ใน...(19:57) เพราะฉะนั้นคำตอบของเราเหลืออันสุดท้ายก็คือว่าไม่มีจุดยืนของชีวิต จริงอยู่ในช่วงต้นนั้นเรามี เช่น เราเป็นลูกของผู้ชายคนนี้ จุดยืนความเป็นลูก ฐานะแห่งความเป็นลูก การที่ลูกเรียนเพื่อสนองความต้องการของพ่อแม่ขอให้นักศึกษาดูให้ดี การที่เราทำความมุ่งหวังของพ่อแม่นั้นถ้าเทียบอิสรภาพ...(20:29) ยังเป็นความดีขั้นต่ำมาก...(20:33) ไม่มีความดีไหนที่เทียบได้กับอิสรภาพของจิตใจ อิสรภาพของจิตใจนั้นเป็นตัวกำหนดหรือผลักดัน ตัวกำหนดหรือตัวผลักดันของชีวิตหรือการกระทำของชีวิต สำหรับคนที่จะไม่มีอิสรภาพนั้น...(20:55) เบียดเบียนของเพื่อนมนุษย์...(20:59-22:34) นักเรียนเข้าใจเรื่องศาสนา...(22:36-22:49) ทำไมจุดยืนถึงมีทั้งซ้ายทั้งขวานั้นหรือแม้แต่คำพูดว่าจุดยืนกลางๆ อันนี้...(22:57) หรือแม้แต่ว่าจุดยืนที่จะทำอะไรบางอย่าง หรือจุดยืนที่มุ่งหวังเป้าประสงค์นั้นสุดท้ายของชีวิต หากว่ายังไม่เข้าใจจุดสุดท้ายจริงๆ ชัดเจนแล้ว มนุษย์อาจจะต้องหวัง...(23:21) ที่ศาสนาเรียกว่ากิเลสตัณหานั่นแหละไม่มีทางพ้นไปไหน โดยมากเมื่อยืน ณ ที่ไหนจุดนั้น...(23:36) แม้ว่าจะช่วยให้เราก้าวไปก็ตามสมมติว่าเราปีนขึ้นภูเขาเมื่อเราเหนื่อยเราได้พักนี้ถูกต้องแล้ว...(23:51-23:58) นี้ฉันใดจุดยืนก็คือที่เกาะที่ยึดของคนทั่วไป...(24:05) เคลื่อนช้าของชีวิต เราเป็นนักศึกษาเราคิดว่าการเป็นนักศึกษาที่ดีแต่จุดยืนของเรา...(24:14) แต่เมื่อไรก็ตาม...(24:21) ของชีวิต มันไม่ได้หมาย...(24:27) แต่เราหมายถึงการพัฒนาตัวเองไปสอดคล้องกับกระแสอนิจจัง...(24:34) ฉะนั้นเราจะรู้สึกขึ้นด้วยตัวเองว่าจุดยืนไม่มี ถ้ามีก็แสดงว่าอำนาจกิเลสสอดคล้องกับธรรมชาติของจุดยืน เราจะคิดว่าธรรมชาติไม่ใช่อะไรอื่นนั่นแหละสิ่งนี้คือธรรมะคือธรรม ต่อจากนี้...(24:52) ว่ามาตรการในการตัดสินความก้าวหน้าของชีวิตในสังคมปัจจุบันนี้ เรามักจะตัดสินกันด้วยความยิ่งใหญ่ ความดัง ความเด่น ฐานะ เกียรติยศชื่อเสียง เราไม่เคยตัดสินด้วยการมีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ถ้านักศึกษาเริ่มเปลี่ยนมาตรการที่จะตัดสินคุณภาพของความเป็นมนุษย์โดยชี้ไปที่การที่...(25:22) สอดคล้องกับธรรมชาติได้ เมื่อนั้นจุดยืนเริ่มเปลี่ยนไป ขนาดทิศทางวัดความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ได้เหมือนขนาดของเรือนใหญ่ของนาฬิกา ที่บอกว่านาฬิกาเรือนนี้ดีกว่านาฬิกาเรือนเล็กนี่ไม่สมบูรณ์ ถ้าหากว่านาฬิกาเรือนใหญ่มันเดินผิดๆ จังหวะ แต่เรือนเล็กมันเดินถูก...(25:52) ความถูกต้องจะต้องตัดสินเอาความถูกต้องตามธรรมชาติ ไม่ใช่ถูกต้องของมนุษย์ที่จัดสรรขึ้นสมมติขึ้น ตอนนี้จะสรุปสั้นๆ นิดเดียวเพื่อที่จะได้เข้าสู่...(26:10) ก็คือว่า มนุษย์นั้นฉลาดที่จะเอามาตรการของมนุษย์ไปวัด อันนี้คือมนุษย์เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มันมีสิทธิ์อะไร...(26:24) ยิ่งใหญ่กว่าสัตว์อื่น หรือแม้มีสิทธิอะไรที่พูดว่า...(26:31 -26:42) เช่นตัวโตกว่าแข็งแรงกว่าเป็นพี่...(26:47) เอาขนาดมีกำลังตรงนั้นควายมันเป็นพี่ของเราไหมตัวใหญ่กว่าเรามากมันมีพลังมาก เมื่อเราตัดสินคุณภาพแห่งชีวิตด้วยการที่มนุษย์คนใดก็ตามมีจิตที่ประณีตเข้าใจความลับของธรรมชาติ โดยใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติและความสอดคล้องถึงที่สุดของความรู้ข้อนี้ก็คือว่าเมื่อตายก็ตามเราจะมีการดิ้นรนที่จะอยู่ ความรู้ข้อนี้ยิ่งใหญ่เกิน...(27:26) ว่ามันไม่หมายถึงการคำนึงอยู่บนแก่การตัดทราบเข้าไปรู้สึกเข้าไปโดยกระแสของธรรมชาติ ก่อนหน้าที่เผ่าพันธุ์ของมนุษย์จะอุบัติขึ้นในโลกนี้ธรรมชาติก็ดำเนินอยู่ เมื่อเผ่าพันธุ์ของมนุษย์จะอุบัติขึ้นแล้วสร้างสังคมของมนุษย์ มนุษย์สังคมศักดินา...(27:51) สังคมอะไรก็ตาม ธรรมชาตินั้นกำลังดำเนินอยู่และเมื่อสิ้นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์แล้วธรรมชาตินั้นดำเนินอยู่ต่อไป ฉะนั้นในโลกนี้เอกภพอันเวิ้งว้างไม่มีอะไรที่ใหญ่กว่าธรรมชาติ การค้นพบธรรมชาติก็คือการค้นพบจุดยืนของตัวเราเอง การค้นพบธรรมชาติคือการค้นพบทั้งหมดทั้งสิ้น...(28:20) ธรรมชาติคืออะไรไม่มีมนุษย์คนไหนจะตอบได้ เพราะพระพุทธเจ้าเองก็ยังไม่ได้ตอบคำถามแต่ว่าจะตอบได้คำเดียวว่าไม่มีอะไรที่...(28:34) เหนือธรรมชาติ ส่วนธรรมชาติคืออะไรนั้นไม่มีทางที่จะตอบได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือสมมติว่ามีดอกกุหลาบหรือดอกไม้ถ้าถามว่าจริงๆ มันคืออะไรแล้วไอ้คนที่ไม่ชอบศิลป์เอาความคิดของตัวเอง...(29:02-29:08) ร่ำเรียนมาท่องมาอะไร...(29:10-29:20) มันบอกว่ามีไฟลัมนั้นมีสปีชีส์นั้น...(29:25) นั่นมนุษย์ว่าเอาเท่านั้น แต่โดยแท้จริงๆ เราตอบไม่ได้เรื่องใดก็ตามความรู้ที่เกิดขึ้นเรารู้ว่าตัวเองตอบอะไรไม่ได้ ฉะนั้น...(29:39) ใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้เข้ามาถึงว่ามันก็ทำให้การคุยจ้อของความคิดคุยจ้อของจิตมันหยุดมันไม่ได้หยุดนิ่งไม่ได้ ซุกซนนึกคิดนึกออกไปนอกตัวเรื่อย...(29:59) การเรียนรู้กับใจของตัวเองจะเกิดขึ้น ทีนี้ก็เป็นเหตุผลของภาษาเราเป็นมนุษย์ของความคิด ถ้าไม่เชื่อเรานั่งดูเฝ้าดูตรงไหนเราพบว่ามันคิดเป็นบ้าเป็นหลัง มันคิดจนกระทั่งว่าเราเจ็บปวดจากความคิดและวันเดือนแห่งการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การใช้ความคิดอย่างบ้าคลั่ง แต่ต้องหมายถึงการเฝ้าดูความคิด นั่งดูและใช้ให้ถูกจุด ทีนี้...(30:43-30:53) เป็นต้นเหตุในการตอบคำถามให้เตลิดความคิดออกมาด้วยเตลิดในการอะไร การที่ทำเป็นยืนอยู่ไม่มีทางที่จะสำเร็จได้ด้วยความคิด แต่มีช่องทางที่จะหยั่งรู้ได้ด้วยการสำรวมความคิด วันไหนก็ตามขณะไหนก็ตามโอกาสไหนก็ตามรู้สึกถึงความคิดที่มันไหลไม่เลิก ...(31:22) วุ่นวายน้อยลงและรู้สึกถึงปัจจุบันขณะ...(31:33) เรารู้สึกได้ถึงปัจจุบันขณะทันที ไม่ใช่วันนี้ปีนี้...(31:42) ชีวิตทั้งชีวิตเกิดซ้ำซากอยู่กับสิ่งแวดล้อมในเหตุการณ์นั้นๆ จริงๆ...(31:57) นักศึกษาจะหยั่งรู้จุดยืน...(32:03-32:11) ไม่ใช่อะไรคือความคิดกวัดแกว่งวันนี้เราอาจจะเป็นฝ่ายค้าน แต่พรุ่งนี้เราอาจจะคว่ำบาตรจะเป็นพวกฝ่ายซ้าย...(32:23) ทีนี้วันนี้เราอาจจะเป็นฝ่ายขวาเราเจอนักโต้คารม...(32:31) ฝ่ายซ้ายได้ (32:32-32:38) แต่วันไหนก็ตามที่เราจับปัจจุบันได้มัน...(32:42-32:46) วันนั้นแหละเราพอจะเรียกได้ว่าเป็นจุดยืน เพราะขณะนั้นจิตมันสอดคล้องสภาพรอบด้าน ความคิดมันแคบลงใครคนไหนก็ตามที่ไม่มีนิสัยที่คิดหรือ...(33:00-33:16) ถ้าคนไหนไม่มีสิ่งนี้หรือมีน้อย...(33:20) จะรู้สึกถึงความเงียบ...(33:25-33:36) เราหมายถึงภาวะที่พ้นจากการบีบคั้นของทุกๆ สิ่ง มันจะเกิดการสอดคล้องกับทุกสิ่งข้อนี้ขอให้เข้าใจนิดนึง...(33:49) การที่มนุษย์คนหนึ่งเอาปืนมาจ่อหัวของเด็กทารกคนหนึ่ง โดยตะโกนว่ายกมือขึ้นไม่ยกตายที่จริงถ้าเป็นเราๆ ก็ต้องปาดเหงื่อแล้ว...(34:08-35:00) เช้าวันหนึ่งที่โต๊ะทำงานของ...(35:05) มันจะมีดอกไม้ปักอยู่ในแจกัน...(35:14-35:28) ลูกศิษย์หรือเพื่อนหรือหญิงคนรักเอาดอกไม้มาปักลงในแจกัน...(35:38-35:51) เรารู้รับและก็รู้ไปพลางๆ ทีนี้...(35:58-36:42) เป็นความเจ็บปวดของการพลัดพรากจากการได้ดอกไม้ ...(36:46) ขณะไหนก็ตาม...(36:47-37:08) มันไม่อาจที่จะสนองอะไรได้จริงและถาวรได้ เมื่อเราเข้าใจความลับพวกนี้เราจะได้เริ่มมีจุดยืนเพราะหยั่งรู้ทันทีว่าเรามีสิทธิ์ที่รับรู้เรามีสิทธิ์ที่รู้อะไรได้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะรับอะไรได้อย่างถาวร ถ้าคุณมีเสื้อตัวหนึ่งใส่เรารู้ได้ว่าราคาแพงไซส์ได้แต่ถ้ามีแผนหวงเมื่อไรยึดยื้อเมื่อไรพอมันเปื่อยมันขาดเจ็บปวดเมื่อนั้น การบรรลุถึงคุณธรรมหรือการเข้าใจชีวิตก็คือหยั่งรู้การก็คือเกิดอาการหยั่งรู้ขึ้นคือชีวิตและเป็นเหตุที่ไม่รับอะไรทั้งสิ้น ไอ้ความไม่รับนี้คือความหมายของเหตุว่ามันหมายถึงว่าการที่ปล่อยให้ไหลตามกระแสของธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความไม่รับผิดชอบต่อชีวิต เพราะบรรดาความรับผิดชอบที่ได้มานั้นที่จริงมันเป็นความคดโกงชนิดหนึ่ง...(38:23) มายกตัวอย่างสักนิดนึง เมื่อชายคนใดคนหนึ่งบอกว่าเขารับผิดชอบต่อภรรยาอย่างมากเขาหมายถึงอะไร ...(38:38) เขารักคนๆ นี้มาก เขาหมายถึงว่าการที่เขาละทิ้งไม่ได้หรือคนนั้นพลัดจากสายตาของเขาไม่ได้ หรือเช่นพูดว่ารักน้องมาก ทำไมเราต้องตบหน้าเขาเมื่อเขาไม่ทำตามที่เราต้องการ เมื่อความรักมันเปลี่ยนเป็นความโกรธ ขอให้สังเกตนิดนึงว่าเมื่อเราบอกเรารักอะไรบางสิ่งที่จริงแล้วเรารักตัวเอง ยืมมือคนๆ นั้นสนับสนุนอารมณ์นั้น เมื่อเราพูดว่าเรารักผู้หญิงคนหนึ่งเราไม่ได้รักตัวเองหรือ ถ้าเรารักหญิงคนนั้นจริง...(39:27) เราไม่มีทางที่ตบตีฆ่าได้ ถ้าเรารักประชาชน ทำไมต้องฆ่าประชาชน เพราะฉะนั้นไอ้คำ...(39:43) ถ้าจะมีความรักจริงๆ จะไม่มีอาการ...(39:50) ไอ้ความรักจริงๆ มันไม่ได้หมายถึงการที่สิ่งนั้นจะต้องเป็นของๆ เรา แต่ความรักจริงๆ ก็หมายถึง...(40:02) ความรักจริงๆ ต้องหมายถึงความเมตตากรุณา แต่สิ่งนั้นลึกๆ จำเพาะเจาะจงก็จะหมายความว่าฉันเมตตาคนๆ นี้มาก เด็กคนหนึ่งฉันไม่เมตตาอย่างนี้ไม่ได้ ความเมตตาจริงๆ เป็นคุณสมบัติของใจที่บรรลุถึงซึ่งอิสรภาพและเนื้อแท้ของความเมตตานั้นคือการสิ้นเวรสิ้นภัยเท่านั้น เขาจะเมตตาใครจริงๆ ไม่ได้ ถ้าเมตตาจริง...(40:34-40:45) เมตตาที่แท้ก็คือคุณสมบัติของจิตที่สิ้นเวรสิ้นภัยและเป็นเหตุให้ไม่ประทุษร้าย ดุดันจึงเมตตากันได้ การที่เมตตาอื่นๆ มันถูกแอบแฝงไปด้วยการประทุษร้ายไม่ใช่เมตตาเป็นการต่อสู้เพื่อเมตตาจริงๆ เพราะฉะนั้นเราถึงอดไม่ได้คนที่เรารักที่สุดเถียงคำสองคำเราตบหน้าทีหนึ่งด้วยอำนาจของความรักมันคือความไม่ได้อย่างใจไม่ใช่ความรักมันเป็นการต่อสู้เพื่อที่จะสงบศึก คือการสงบศึกเกิดขึ้นนั้นก็คือการสิ้นเวรสิ้นภัย ไม่ว่าเราจะเป็นพวกฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวาหรือเป็นคู่รักหรือสามีภรรยาหรือกิ๊กก็ตาม ...(41:43) ซึ่งโดยเนื้อแท้เราตัดสินด้วยคุณภาพจริยธรรมแล้วจะสิ้นเวรสิ้นภัย...(41:53) เราตัดสินโดยไม่เอามนุษย์เป็นหลักเอาธรรมชาติเป็นหลักคือการสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่มีทาง...(42:04) เที่ยงถาวร