แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันแรกได้พูดกันถึงคำว่าวัตถุนิยม ในวันต่อมาก็ได้พูดกันถึงคำว่ามโนนิยมหรือจิตนิยม ทีนี้ในวันนี้จะได้พูดถึงคำว่าธรรมนิยม การที่จัดลำดับหัวข้อพูดอย่างนี้ก็เพื่อจะให้ฟังง่าย วัตถุนิยมก็เอาวัตถุเป็นใหญ่ เอาวัตถุเป็นหลัก มุ่งหมายผลอย่างวัตถุ ทีนี้มโนนิยมหรือจิตนิยมก็เอาจิตเป็นใหญ่เป็นหลัก มุ่งหมายผลทางจิต นี่มันไปกันคนละทิศกับวัตถุนิยม
ทีนี้เราก็จะพูดถึงอีกสิ่งหนึ่งซึ่งแปลกออกไปจาก ๒ สิ่งนั้น คือ ธรรมนิยม ข้อนี้มันเนื่องจากคนเขาเข้าใจพุทธศาสนาผิดๆ หาว่าพุทธศาสนาทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัตถุนิยมบ้าง หรือว่าเป็น อ้า จิตนิยมประพฤติแต่บ้าง มันไม่ถูกนัก ก็อย่าได้ใส่ความหรือว่าตู่พุทธศาสนากันถึงขนาดนั้นเลย เพื่อให้เข้าใจ เอ่อ ข้อนี้จึงขอเอ่ยถึงคำว่าธรรมนิยม ได้แก่การนิยมในความถูกต้องในการสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งทั้ง ๒ คือ วัตถุและจิต และนี่จะเป็นพุทธศาสนาโดยที่มีเหตุผลซึ่งจะมองเห็นได้โดยไม่ยากเลย ในครั้งที่แล้วมาก็ได้พูดกันคร่าวๆมาแล้วว่า ต้องมีความถูกต้องในระหว่างสิ่งทั้ง ๒ คือ ร่างกายกับจิตใจ แต่ก็ไม่ได้พูดโดยรายละเอียด
ทีนี้ก็จะพูดกันโดยรายละเอียดของสิ่งที่เรียกว่าธรรมนิยม คือนิยมธรรมะ เอาธรรมะเป็นหลัก เป็นใหญ่ เป็นเครื่องกำหนด เป็นบรรทัดฐานสำหรับการคิดค้น หรือว่าการเก็บเกี่ยวผล ในชั้นแรกนี่ เอ่อ เราพูดถึงคำว่าธรรมกันก่อน คำว่าธรรมนี่ มันเป็นคำประหลาด คือแปลว่าอะไรก็ได้ ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม แม้วัตถุนั้นก็เป็นธรรม แม้จิตนั้นก็เป็นธรรม คือสิ่งที่ไม่ใช่จิตไม่ใช่วัตถุก็เป็นธรรม ถ้าพูดอย่างนี้ก็ยิ่งไม่เข้าใจกันใหญ่ คำว่าธรรมในข้อนี้เราจะจำกัดเฉพาะในความหมายสำหรับการประพฤติปฏิบัติโดยตรง เรื่องธรรมใน ๔ ความหมายคือว่านั่นเป็นการสรุปหมด ท่านไปหาอ่านเอาเองจากหนังสือเรื่องนั้นๆที่เคยบรรยายแล้ว ยกมาแต่หัวข้อก็ว่าธรรมก็คือ ปรากฏการณ์แห่งธรรมชาติทั้งหลายนี่ รวมทั้งกายทั้งจิตทั้งวัตถุทั้งอะไรทุกอย่าง แล้วก็ธรรมคือกฎของธรรมชาติ นี่เป็นนามธรรมอย่างยิ่ง คือกฎธรรมชาติ อย่างแรกเป็นตัวธรรมชาติที่ปรามีปรากฏการณ์ อย่างที่ ๒ นี่เป็นตัวกฎที่ทำให้ธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นไป อย่างที่ ๓ ธรรมคือหน้าที่ตามกฎธรรมชาติที่มนุษย์หรือสิ่งที่มีชีวิตจะต้องปฏิบัติ นี้ธรรมในความหมายที่ ๔ คือผลที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัตินั้น เป็นความสุข เป็นความทุกข์ถ้าปฏิบัติผิด ถ้าปฏิบัติถูกยิ่งขึ้นไป ก็เป็นมรรคผลนิพพาน ธรรมทั้งนั้นเลย
เราจะนิยมธรรมไหนกันที่จะเรียกว่าธรรมนิยมในที่นี้ ก็ได้พูดกันแล้วว่าธรรมในที่นี้ได้แก่ความถูกต้องที่จะต้องมีในการสัมพันธ์กันระหว่างกายกับจิต คือการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้วก็มีผลเกิดขึ้นมาอย่างถูกต้อง รวมความแล้วจำกัดความตามที่ อ่า ถือเป็นหลักกันก็ว่า ระบบของการปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้วก็ในทุกขั้นทุกตอนของวิวัฒนาการของคนเรา ระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องในทุกขั้นทุกตอนของวิวัฒนาการของคนเรา นั่นแหละคือธรรม ขอให้จำไว้ให้ดี เป็นคำนิยามพิเศษเขียนไว้ดีที่สุดกว่าคำนิยามใดๆสำหรับสิ่งที่เรียกว่าธรรม สังเกตดูให้ดีอย่าสะเพร่า เพราะระบุลงไปชัดแล้วว่าระบบแห่งการปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงแต่พูดๆสอนๆเรียนๆกันอย่างในโรงเรียนใน มันเป็นระบบของการปฏิบัติ คือตัวการปฏิบัติจริงๆที่ถูกต้องด้วย (8.07) จะสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ เรียกว่าถูกต้อง แล้วก็ในทุกขั้นทุกตอนของวิวัฒนาการ หมายความว่าสิ่งที่มีชีวิตนี้มันมีวิวัฒนาการไปตามลำดับ ไม่ได้หยุดนิ่ง วิวัฒนาการจึงมีขั้นมีตอนเป็นลำดับๆไป นับตั้งแต่ว่าเราเกิดมาเป็นเด็กอ่อนนอนเบาะ แล้วเป็นเด็กโต เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นคนแก่ นี่เรียกว่าขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์ แม้ของสัตว์เดรัจฉานหรือของต้นไม้ก็เหมือนกันแหละ แต่เราไม่พูดถึง เดี๋ยวนี้เราจะพูดถึงกันแต่เรื่องของมนุษย์ ที่ว่าทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์ นี่คือธรรมในที่นี้
วิวัฒนาการทุกขั้นทุกตอนของชีวิตมนุษย์ ก็คือวิวัฒนาการของร่างกายและจิตใจ มันก็ได้แก่สิ่งที่เรียกกันว่าวัตถุและจิตนั่นเอง ร่างกายนี้ก็จัดไว้เป็นฝ่ายวัตถุ มันมีสภาพอย่างวัตถุ ต้องการอาหารและเหตุปัจจัยอย่างวัตถุ ต้องกินข้าวกินปลา ต้องประคบประหงมด้วยเรื่องทางๆวัตถุทั้งนั้น นี้ส่วนจิตนี้มันอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ได้กินอาหารอย่างกินข้าวกินปลา มันต้องการอะไรอย่างหนึ่งต่างหาก ที่จะช่วยให้จิตนั้นมันเจริญ มันจึงส่วนใหญ่มันได้จากการศึกษาความรู้ความก้าวหน้าความเจริญของจิต ทั้งกายและจิตมันเจริญ ก็เรียกว่าเป็นขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์เรา ต้องมีความถูกต้อง นั้นตัวความถูกต้องนั้นเองเรียกว่าธรรมในที่นี้ คำที่เป็นหลักเป็นประธานของบทนิยามนี้ก็คือ ความถูกต้องของระบบปฏิบัติในทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการนั่นเอง เมื่อเราได้ความหมายของบทนิยามอย่างนี้ไปแล้วก็นับว่าสะดวกมากในการที่จะรู้เอาเองว่าธรรมะนั้นคืออะไร เพราะว่าเมื่อถามว่าธรรมะคืออะไรนี้ มันตอบได้มากเหลือเกิน จนไม่รู้ว่ากี่ ๑๐ อย่างกี่ ๑๐๐ อย่าง แต่ก็ตอบอย่างฉลาดที่สุด กินความหมดที่สุด ก็ต้องตอบอย่างที่ว่านี้ ที่กำลังว่าอยู่หยกๆนี้ ว่าระบบของการปฏิบัติที่มีความถูกต้องในทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเรา พูดโดยสมมติก็ว่าของเรา นั้นทุกคนก็ไปแสวงหาความถูกต้องของสิ่งที่ประพฤติหรือกระทำอยู่เป็นประจำวัน อย่าไปอิงอาศัยคนอื่นนัก อย่าต้องถามใครนัก อย่าต้องให้ไปฝากไว้กับตำรา มันจะโง่หนักขึ้น เพราะว่าตำรานั้นเขาก็มีทฤษฎีอย่างหนึ่ง ซึ่งฝังแน่นลงไปแล้ว แล้วก็มีต่างๆกัน เราก็ไปติดอยู่ที่อย่างนั้น มันก็ไม่พบความถูกต้อง อ่า ที่เหมาะสมได้ เราไม่ๆติดตำราขึ้นไปในข้อนี้ แม้จะอ่านบ้างก็เอามาพิจารณาสำหรับใช้เป็นเครื่องเปรียบเทียบแสวงหาความถูกต้องที่แท้จริงด้วยตัวเราเองจากเรื่องของเราเอง อย่าเอาความถูกต้องตามที่เขาเขียนในหนังสือในตำรานัก มันจะติดแน่นอยู่ที่นั่นอย่างหลับหูหลับตา ก็จะกลายเป็นคนโง่คนใหม่ไปอีก
นี่คำว่าความถูกต้องของการกระทำมันมีอยู่อย่างไร ก็หมายความว่ามันเป็นประโยชน์เกื้อกูลหรือความสุขทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ไม่ทำใครให้เดือดร้อน อย่างนี้เราเรียกว่าความถูกต้องในกรณีนั้นๆ ซึ่งบางทีมันไม่มีในตำรา หรือถ้ามันมีในตำรา ซึ่งคนเขียนมันก็ไม่ได้เอาเรื่องของเราไปเขียน มันก็ไม่ค่อยจะถูก เอากันง่ายๆว่าไอ้สิ่งที่มันทำให้เราต้องหายใจด้วยความทุกข์ทรมานนี่ มันเป็นความผิด หรือต้องกระหืดกระหอบต้องเร่าร้อน แต่เนื่องจากว่าความทุกข์หรือความเร่าร้อนนี้มีอยู่เป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นที่โดยตรงเปิดเผยรู้สึกได้ง่ายๆก็มี ที่มันหลอกลวงก็มี ไม่รู้ว่าเป็นความทุกข์ เป็นความเร่าร้อน เห็นเป็นความสนุกสบายไปเสียก็มี เราเห็นคนบางคนมันพอใจที่จะร้องไห้ มีความสุขในการร้องไห้ตีอกชกหัวก็มี มันเป็นคนโรคจิตชนิดหนึ่ง ต้องดูกันให้ดีๆว่ามันเป็น อ่า อะไรกันแน่ นั้นเราต้องรู้เรื่องความร้อนของจิต หรือความเย็นของจิตนี่ให้ชัดเจน ด้วยความรู้สึกที่ปกติ นี่พูดอย่างในภาษาชาวโลกนี้ก็ต้องว่า สิ่งใดที่มันเป็น เอ่อ ประโยชน์เกื้อกูลหรือเป็นความสุข แล้วสิ่งนั้นก็ถูกต้อง ถ้าไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขเกื้อกูลอย่างนี้ ก็ไม่ถูกต้อง นี่เรียกว่าพูดกันระดับชาวบ้าน หรือ (15.29) ถ้าพูดระดับสูงขึ้นไปอีก ยิ่งกว่าที่ชาวบ้านเขาพูดกันตามธรรมดาแล้ว ก็เล็งถึงธรรมะสูงสุด คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือร้อน เหนือเย็น คือว่างไปเลย ว่างตัวตนของบุคคลผู้จะมีความสุขความทุกข์ แล้วก็เหนือความสุขเหนือความทุกข์ อย่างนี้เราไม่ค่อยเคยได้ยินใช่มั๊ย (ไหม?) ในการศึกษาแบบโลกๆแบบสมัยใหม่ แม้จะสูงสุดในระดับมหาวิทยาลัยไหน เขาก็ไม่เคยพูดกันถึงเรื่องที่อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ แล้วไม่มีบุคคลเหนือความมีบุคคล กลายเป็นว่างไปหมดนั้นมันไม่มี
เอาล่ะทีนี้ก็จะถือโอกาส เอ่อ พูดหลักข้อนี้เสียสักหน่อยเป็นเรื่องแทรก ขอให้จำไว้ว่าโวหารสำหรับพูดนี่ มันมีอยู่ ๒ โวหารเป็นอย่างน้อย เรียกว่าโวหารชาวบ้านธรรมดาพูดกันอยู่ นี่โวหาร ๑ เค้าเรียกเป็นบาลีว่า ทิฏฐะธัมมิกัต ทิฏฐะธัมมิกัตโวหารน่ะ (16.45) นี่โวหารคือวิธีพูดจา แบบฉบับหลักเกณฑ์แห่งการพูดจาอย่างที่ประชาชนตามธรรมดาสามัญเขาพูดกันอยู่ มีความหมายบัญญัติไว้เฉพาะ พอพูดออกไปก็รู้เรื่องกันทันทีตามประสาชาวบ้าน ทีนี้ (17.13) ถ้าพูดยิ่งไปกว่าวิธีของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านพูดไม่เป็นหรือบางทีเขาฟังไม่ถูก นี้อย่างๆหลังก็เรียกว่า เอ่อ สัมปรายิกัตโวหาร (17.30) คือมันอื่นไปจากที่ชาวบ้านเขาพูดกันอยู่ ที่ต้องๆเรียนอย่างน้อยก็ต้องเรียน หรือว่ามันได้ผ่านมาจริงๆ จนนึกออกเอง หรือสังเกตเห็นเอง แล้วก็พูดได้เองอย่างนี้ก็มี นั้นตัวอย่างที่จะช่วยให้ อ่า ลืมยากก็จะอย่างยกตัวอย่างเช่นว่า จะตั้งปัญหาขึ้นมาว่า เอ่อ มี เอ่อ คนเรานี้มีตัวมีตนมั๊ย (ไหม?) ถ้าถามอย่างนี้โวหารชาวบ้านหรือทิฏฐะธัมมิกัตโวหาร (18.29) ก็ตอบว่ามี ทุกคนมันมีตัวมีตน มีชื่อนั้นชื่อนี้ มี อ่า คุณสมบัติอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็มีตัวมีตน นี่พูดว่าโวหารชาวบ้านต้องพูดว่ามีตัวมีตน นี่คำถามเดียวกันนั่นแหละ ถ้ามันตอบอย่างโวหารผู้รู้ซะ (18.49) ยิ่งไปกว่าชาวบ้าน อื่นไปจากชาวบ้าน นั้นก็คือว่าไม่มี ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล เป็นสักว่าส่วนประกอบ เอ่อ ตามธรรมชาติ เป็นธาตุต่างๆ เป็นไอ้ขันธ์ เป็นอายะตนะอะไรต่างๆมารวมกันเข้า แล้วก็สมมตเรียกว่าคนอย่างนี้ โดยเนื้อแท้แล้วตัวตนหรือคนนั้นมันไม่มี เห็นมั๊ย (ไหม?) คำถามคำเดียวกัน ตอบได้เป็น ๒ อย่างแล้วตรงกันข้ามเลย คนไม่รู้ก็หาว่าเอ้ามันต้องผิดฝ่ายหนึ่งสิ ถ้าตอบตรงกันข้ามอย่างนี้ ที่ถูกมันไม่เป็นอย่างนั้น มันกลายเป็นถูกทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าถามว่าตัวตนมีมั๊ย (ไหม?) คนธรรมดาตอบว่าไม่มี นี้ก็คือมีๆอย่างนี้ก็ถูก ผู้รู้ธรรมะก็ตอบว่าไม่มี นี้มันก็ถูก เพราะเขาพูดกันคนละโวหาร
นั้นการที่เราจะพูดอะไรออกไปในระดับสูง ในระดับที่เป็นอุดมคติ ไปไหน (20.03) ต้องระวังให้ดี ว่าเรากำลังพูดด้วยโวหารไหน ในระดับไหน นั้นความถูกต้องก็เหมือนกัน ถ้าความถูกต้องอย่างระดับธรรมดาสามัญ เป็นธรรมทิฏฐะธัมมิกัตโวหาร (20.18) ก็อย่างที่พูดกันตามประสาชาวบ้านนั่นแหละ คือมันได้ตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนแต่สักคนเดียว อย่างนี้ก็ถูกต้อง ถ้าผิดจากนี้ คือตรงกันข้าม ก็เรียกว่าไม่ถูกต้อง ที่เรียก (20.41) ว่าถูกต้องอย่างสัมปรายิกัตโวหาร (20.44) แล้วมันยิ่งกว่านั้น คือเขาไม่ต้องการไอ้ความสุขความยินดีปรีดาปราโมทย์อะไร เขาต้องการความเฉยหรือว่างไปเลย คือจิตนั้นมันไม่ขึ้นไม่ลงด้วยความได้อย่างใจ หรือไม่ได้อย่างใจ คือไม่เสียใจ ไม่ดีใจ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ความถูกต้องชั้นยอดสุดมันเป็นอย่างนั้น เป็นเรื่องของพระนิพพาน ซึ่งเหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือบุญ เหนือบาปโน่น มันจึงจะถูกต้อง นี่เรารู้ไว้ว่าการพูดจามันมีอยู่ ๒ โวหารอย่างนี้ โวหารชาวบ้านธรรมดา เรียกว่าทิฏฐะธัมมิกัต (21.27) โวหารที่รู้จริงเห็นจริงยิ่งไปกว่าชาวบ้านธรรมดาเรียกว่า สัมปรายิกัต (21.34) แม้ที่เป็นสัมปรายิกัต (21.38) ก็อาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิดก็ได้คือว่า สัมปรายิกัต (21.42) อย่างระดับแรกๆก็มี สัมปรายิกัต (21.47) อย่างระดับสูงสุดเป็นปรมัตถ์โวหารไปก็มี แต่อย่างเราธรรมดาสามัญนี้เอาเพียง ๒ โวหารก็พอ พูดอย่างโวหารชาวบ้านธรรมดา แล้วก็พูดอย่างโวหารพระอริยเจ้าผู้รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง
เดี๋ยวนี้คนในโลกรวมทั้งเราทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ คือโดยเฉพาะนักศึกษานี่ก็ล้วนแต่มุ่งหมายจะรู้เพื่อจะแก้ปัญหาต่างๆของมนุษย์เรา หรือที่เรียกว่าของสังคม จึงได้พูดกันมากเรียนกันมาก จนมองเห็นว่ามหาวิทยาลัยหนึ่งๆมีความมุ่งหมายที่จะเรียนวิชาอะไร อ่า วิชาหนึ่งในสาขาหนึ่ง แต่ก็ไม่พ้นจะถูกแทรกด้วยเรื่องทางการเมือง คือเรื่องปัญหาของสังคม นี่กลายเป็นของหวานของเอร็ดอร่อยของทุกคน ที่มีปัญญามีหัวสมองสำหรับคิดนึก นั้นเราจึงเห็น เอ้อ นักศึกษาทั้งหญิงทั้งชายของทุกมหาวิทยาลัยนี่ หยิบเอาปัญหาของสังคมขึ้นมา อ้า มาศึกษา อ้า มาวินิจฉัย อ้า เรียกว่าหั่นแหลกกันเลย อยู่ทั่วๆไป ขอให้สังเกตดูให้ดีว่าโลกมันกำลังเป็นอย่างนี้ ทีนี้เขาก็หวังความถูกต้อง โดยเชื่อว่าถ้าถูกต้องแล้วจะแก้ปัญหาได้ ทีนี้มันดัน (23.42) ถูกต้องชนิดที่ต่ำเกินไป ไม่รู้ตัว มันก็น่าสงสาร มันก็แก้ปัญหาไม่ได้ มันก็ทะเลาะกันไม่มีที่สิ้นสุด นั้นขอให้ถือเป็นหลักไว้ทีหนึ่งก่อนว่า ถ้ามันมีการตีกันยุ่ง หรือทะเลาะกัน อ่า แล้วก็ไม่ๆมีส่วนแห่งความถูกต้อง อย่างน้อยที่สุดมันก็ไม่ถูกต้องโดยวิธีการที่จะสะสางปัญหาเหล่านั้นแล้ว มันก็ไม่พบคำตอบที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้นได้ นั้นพวกคุณอย่าไปทะเลาะกัน อย่าไปวิวาทกัน อย่าไป เอ่อ สาดโคลนกัน หรืออะไรทำนองนี้ เกี่ยวกับปัญหาทางสังคมทุกชนิดและทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับวัตถุนิยม จิตนิยม ที่กำลังตีกันยุ่ง เพราะถือเอาคนละทาง แล้วในที่สุดก็เห็นได้ว่าค่อยพ่ายแพ้แก่พวกวัตถุนิยม คือไปหลง อ่า เอออวยกับพวกวัตถุนิยมนี่มากขึ้นมากขึ้น จนไม่รู้เรื่องฝ่ายจิตนิยม หรือรู้น้อยเกินไป แล้ว อ้า ทำไมจะไปรู้ความถูกต้องพอดีระหว่างสิ่งทั้ง ๒ นั้นเล่า
ขอให้เข้าใจตอนนี้ว่า เมื่อไม่รู้ความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้ง ๒ มันก็ไม่มีธรรมนิยมเกิดขึ้นมาได้ เราก็ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ยุ่งยากทางสังคม ดูจะยืนยันกันอยู่เสมอว่าจะต้องแก้ปัญหาทางวัตถุก่อน หรือว่าสำคัญกว่า หรือจำเป็นกว่า หรือด่วนกว่า เช่น ปัญหาทางศีลธรรมที่กำลังมีปัญหาว่าอาชญากรรมมันมากเหลือเกิน เพราะศีลธรรมมันเสื่อม จะแก้อย่างไร นี่พวกที่นิยมทางวัตถุมันก็บอกว่า อ้าว ต้องรีบจัด รีบจัด หาให้มันมีกินมีใช้ให้สบายกันเสียหมดทุกคน แล้วศีลธรรมก็ดีแน่นี่ นี่นักวัตถุนิยมเขาก็แก้อย่างนี้ ไอ้เราอยู่ที่วัดก็บอกไม่ได้ ไม่ได้ อย่างนั้นมันบ้าหนักขึ้นไปอีก มันต้องแก้จิตใจของเขาให้ดีเสียก่อน ให้เขามีศีลธรรมเสียก่อน เขาจะแก้ความยากจนของเขาได้ นี่เราแก้ปัญหาสังคมโดยหลักทางฝ่ายมโนนิยม แต่เมื่อเราพูดอย่างนี้หมายความว่า ไม่ใช่ว่าปฏิเสธวัตถุนิยมโดยสิ้นเชิง คือให้มันถูกต้อง อ่า ในส่วนวัตถุพอดีพอสมควร ก็ต้องทำให้มากหรือทำก่อน เพื่อจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แล้วก็ต้องแก้ที่จิตใจให้เขามีความเข้าใจถูกต้องเสียก่อน ขอให้สังเกตดูสักอย่างหนึ่งว่า ที่เขายากจนอยู่บัดนี้ เพราะเขามีจิตใจผิด คือมีจิตใจที่ตั้งไว้ผิด มันขาดความรู้ทางธรรมะ เขาจึงได้จนลง เกิดปัญหาทางวัตถุขึ้นมาอีก ถ้าเขาเป็นคนมีสัมมาทิฐิมีจิตใจดีถูกต้องดีมาแต่ต้นแล้ว รับรองได้ว่าจะไม่ประสบความยากจน ความยากจนมาจากการขาดแคลนความรู้ แล้วขาดแคลนธรรมะที่จะบังคับตัวเองให้จริงให้จัง จน เอ่อ ต้องการอะไรก็ทำได้ อย่างนักเรียนนักศึกษานี่เข้าใจผิด ไปหลงบูชา อ่า วัตถุ ความสุขสวยงาม สนุกสนาน ทีนี้แล้วไอ้การศึกษานั้นก็ล้มเหลว แม้แต่วัตถุนิยมนี่ระวังให้ดี มันจะทำลายแม้แต่การศึกษา ถ้าเรามีจิตใจดีถูกต้อง อยู่ในระบบของวัฒนธรรมของศาสนาที่ดีบังคับตัวได้ ไอ้อำนาจล่อหลอกยั่วยวนของวัตถุไม่ทำอะไรเราได้ เขาก็เรียนสำเร็จ แม้แต่ปัญหาของนักศึกษาแต่ละคนละคน มันก็ยังเป็นอย่างนี้ ต้องแก้ไขที่จิตใจให้ถูกต้อง แล้ววัตถุหรือร่างกายมันก็จะถูกต้องไปตาม
ทีนี้ก็อยากจะแนะต่อไปอีกถึงความถูกต้องที่เป็นแบบฉบับที่มาอยู่ในรูปของวัฒนธรรม หรือศาสนาแล้วแต่จะเรียก ตัวศาสนาที่เอามาทำเป็นรูปของวัฒนธรรมประจำบ้านเรือนนี่ มันก็คือก็คือศาสนาที่มาอยู่ในรูปของวัฒนธรรม ศาสนาที่เอามาใช้ประจำอยู่ในบ้านเรือนเป็นของประจำวันไป มันมาอยู่ในรูปของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม แล้วก็ลงไปกระทั่งเป็นประเพณี ดูเหมือนมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย ได้จัดหน่วยหรือชุมนุมอะไรขึ้นมา เพื่อจะศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสน์และประเพณี วัฒนธรรมและประเพณี นี่ดีมากถ้าทำได้จริงตามไอ้ชื่อนั้นๆ ที่จะฟื้นฟูขึ้นมารัก อ่า ปฏิบัติและรักษาไว้ ซึ่งหลักพระศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แล้วก็มักจะพิมพ์เป็นตัวโป้งอวดไว้ที่นั่นที่นี่ว่า ชุมนุมพุทธศาสน์ประเพณีก็ตาม นี่ไม่ได้ระบุว่ามหาวิทยาลัยไหนหรือกลุ่มไหน แต่ระบุว่ากำลังมีความสนใจ อ่า ที่ดีกันขึ้นมาแล้ว ก็มีแต่จะขอเตือนว่าให้ระวังให้ดี ให้มันเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม กระทั่งพระธรรมในพระศาสนา ให้มันจริงสมชื่อ
ทีนี้มีปัญหาเฉพาะหน้าหรือขออภัยที่ต้องใช้พูดว่าสิ่งที่ต้องตักเตือนเฉพาะหน้า ก็คือขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมระหว่างเพศหญิงเพศชาย ให้มันถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี อ่า ของไทยหรือของพุทธบริษัทแล้ว รู้สึกว่าน่าเป็นห่วง เพราะบุคคลรุ่นหลังนี่ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงอันนี้ กำลังทำให้เสื่อมลงไป แทนที่จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี มันกลายเป็นทำลายขนบธรรมเนียมประเพณี นี่ขอฝากไว้ให้ยุวชนหญิงชายทั้งหลาย อ่า สอดส่องดูให้ดีในข้อนี้ อย่าให้เกิดความนิยมกันโดยไม่รู้สึกตัว ทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีที่คุ้มครองเรามานานแล้วนี้ให้สูญหายไป คือไม่ถือระบบขนบธรรมเนียมประเพณี อ่า วัฒนธรรมอะไรที่จะต้องประพฤติต่อกันในระหว่างเพศ เราไปตามก้นพวกฝรั่ง ไปนิยมเรื่องสหศึกษา สหเพศศึกษาอะไรจนๆไม่มีศีลธรรมระหว่างเพศ แล้วๆสิ่งเหล่านั้นมันยั่วยวนมาก คนก็นิยมกันมาก นิยมกันเร็ว จนไม่มีความถูกต้องเหลืออยู่ เข้าใจว่าหลายคนรู้เรื่องนี้ว่า ในประๆเทศบางประเทศน่ะ ศีลธรรมส่วนนี้เสื่อมหมด ทรามหมด กลายเป็นจิตทรามไปหมด จนจะยอมรับว่าไม่มีศีลธรรมระหว่างเพศน่ะ ให้คนวัยรุ่นหญิงชายนี้สำมะเลเทเมากันไปได้ แม้จะมีการกระทำที่ผิดศีลธรรม เขาก็ถือว่าไม่ผิด เพียงแต่ว่าอย่าให้มีหลักฐานปรากฎออกมาอย่างอับอายขายหน้าอย่างนี้เป็นต้น นั้นเขาก็ถือว่าเป็นความถูกต้อง ความถูกต้องของพวกนั้นยืนยันเต็มที่เหมือนกัน ก็คือเป็นความถูกต้องความเหมาะสมสำหรับบุคคลในยุคนี้ สำหรับมนุษย์ในโลกปัจจุบันนี้ ต้องเปลี่ยนความถูกต้องให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้เรายอมรับไม่ (32.53) ได้ เพราะว่าอย่างนั้นมันเป็นวัตถุนิยมมากเกินไป จนยิ่งกว่าบ้าบอ มันกลายเป็นเลวทรามไปนู่น เรายอมรับไม่ได้ในฝ่ายพุทธบริษัทหรือวัฒนธรรมไทย หรือที่ยังยึดหลักของพระศาสนาอยู่ ความถูกต้องตามหลักของพระศาสนามันเป็นอย่างนี้ คือมันไม่ตามใจกิเลส ไม่ตามใจความรู้สึกฝ่ายต่ำ เป็นความรู้สึกที่จะต้องเกิดขึ้นในทางเพศ ถ้าไม่รักษาให้ดี ไม่ควบคุมให้ดี มันก็เป็นฝ่ายวินาศ นี้มันเป็นความถูกต้องของเราอย่างนี้ ความถูกต้องมันต่างกันอย่างนี้ มันก็ตีกัน ใครจะชนะก็แล้วแต่ แม้คนทั้งโลกเขาจะนิยมไปฝ่ายนู้น ก็ตามใจเขา แต่เราพุทธบริษัทหรือชาวไทยหรือวัฒนธรรมไทยนี่ยังไม่ยอมรับ ยังจะถือยึดเอาความถูกต้องอย่างนี้ไว้ก่อนเสมอไป
พอมีความถูกต้องไปตามลำดับที่เรียกว่า พรหมจารีย์ วัยนี้คือก่อนๆมีเหย้าเรือนนี้เรียกว่าพรหมจารีย์ มีความถูกต้องเข้มงวดไปตามแบบของพรหมจารีย์ นั้นต่อมาละจากวัยของพรหมจารีย์ไปสู่ความมีเหย้าเรือน เป็นคฤหัสถ์ มันก็มีความถูกต้องตามแบบของคฤหัสถ์ไปอีกแบบหนึ่งชั้นหนึ่ง ต่อไปก็เปลี่ยนเป็นความถูกต้องที่เรียกว่าณประหลัด (34.27) ไม่ยินดีในเรื่อง อ่า โลกๆอย่างนี้ ก็ออกไปหาความสงบในทางธรรม มันก็เป็นความถูกต้องไปอีกระดับหนึ่ง ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังเที่ยวสอนคนอื่นนี้ ก็มีความถูกต้องไปอีกแบบหนึ่งเป็นอสัญญาสี (34.43) เรามีความถูกต้องตายตัวอย่างนี้ เปลี่ยนไม่ได้ ตามแบบของ อ่า พระธรรม ซึ่งเป็นความถูกต้องตรงกลางระหว่างวัตถุกับจิต คือความถูกต้องทั้ง ๒ ดีกว่า เอาแต่ความถูกต้องส่วนที่ถูกต้องของทั้ง ๒ น่ะ คือทั้งทางฝ่ายวัตถุและทางฝ่ายจิต คือเฉลี่ยวัตถุนิยมกับจิตนิยมให้กลมกลืนกันไปเฉพาะในส่วนที่จำเป็นและถูกต้อง แล้วเกิดเป็นระบบที่เรียกว่าธรรมนิยมขึ้นมา เรายืนยันความถูกต้องอย่างนี้ ยิ่งพูดกันเท่าไรก็ยิ่งนิยมความถูกต้องอย่างนี้ เรียกว่าธรรมนิยมดีกว่า ปลอดภัยกว่า ง่ายกว่า ที่จะไปเรียกว่าวัตถุนิยมหรือจิตนิยมลงไปด้านเดียว
เท่าที่กล่าวมานี้ก็พอจะมองเห็นว่า ไอ้ปัญหาเรื่องวัตถุนิยมกับจิตนิยมนั้นควรจะสิ้นสุดกันไปเสียที เมื่อเราจะไปยึดเอาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นแฟ้นนั้นไม่ได้ ต้องเอาความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้ง ๒ นี้ แล้วเอามากลืนเป็นอันเดียวกันเป็นรูปใหม่ขึ้นมาเรียกว่า ธรรมนิยม ทบทวนกันว่าไอ้วัตถุนิยมมันก็เป็นอย่างหนึ่ง สุดโต่งไปข้างหนึ่ง สุดเหวี่ยงไปข้างหนึ่งฝ่ายวัตถุ หรือจิตนิยมมันก็สุดโต่ง สุดเหวี่ยงไปข้างหนึ่งข้างฝ่ายจิต แต่เราไม่เอาที่สุดโต่ง หรือว่าที่ตัวสิ่ง อ่า นั้นล้วนๆ แต่เราจะเอาความถูกต้องหรือภาวะแห่งความถูกต้องที่จำเป็นต้องมี ในเมื่อสัมพันธ์กันระหว่างวัตถุกับจิต คือกายกับใจ นี่เราเรียกใหม่เป็นอันที่ ๓ ว่า ธรรมนิยม นั้นเราท่องไปพร้อมๆกันว่าวัตถุนิยม จิตนิยม ธรรมนิยม มันก็ปนกันไม่ได้ เราอย่าไปเอามาแต่อย่างเดียว เดี๋ยวจะเลือนหรือปนกันหรือว่าขาดไป วัตถุนิยมก็เป็นวัตถุนิยมไป จิตนิยมก็เป็นจิตนิยมไป แต่เราต้องการธรรมนิยม คือความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้ง ๒ นั้น เท่าที่จำเป็นจะต้องมี คือไม่เฟ้อน่ะ ไม่ต้องการไอ้สิ่งที่เฟ้อ เพราะถ้าเฟ้อแล้วมันก็มีแต่ความยุ่งยาก ความพอดีไม่มีความยุ่งยาก
นี่วันนี้ก็ตั้งใจพูดเพียงคำๆเดียวว่า ธรรมนิยม ในฐานะที่เป็นพุทธบริษัทจะยึดนี้จะยึดถือสิ่งนี้เป็นหลัก แต่ทีนี้จะพูดกันแต่ในฐานะพุทธบริษัทมันไม่พอ แล้วมันจะเป็นการเอาเปรียบผู้อื่นมากเกินไป อะไรๆก็จะเอาพุทธบริษัทมาข่มมากดขี่ให้เขายอมรับนี่ไม่ถูก เพราะว่าพุทธบริษัทเราถือหลักธรรมะหรือหลักกระทำ ซึ่งเอาออกมาจากธรรมชาติ กฎเกณฑ์อันนี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ค้นพบจากธรรมชาติ แล้วปฏิบัติไปให้มันคล้อยตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ นี่เมื่อพูดถึงธรรมชาติ มันไม่ใช่เฉพาะพวกไหน อ่า มันๆๆใช้ได้แก่ทุกคนในโลกทุกพวกในโลก นั้นจึงควรดูให้ดีว่า พุทธบริษัทนี้ไม่ใช่ตั้งกฎเกณฑ์อะไรขึ้นเฉพาะพวกของตัวได้ แต่ยึดเอาหลักทั่วไปของธรรมชาติมาพิจารณา ศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติ ให้ได้รับผลการปฏิบัติ เราก็ให้ชื่อว่าพุทธะ แปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะนี่ไม่ใช่ชื่อคน อ่า ไม่ใช่ชื่อวิสามัญนาม มันเป็นนามธรรมดา คือว่าคนที่มีความรู้ แล้วก็ตื่นขึ้นมาเหมือนตื่นจากหลับ คือความโง่ แล้วไปเป็นสุขเบิกบานสดใสอยู่ได้ นั้นคือพุทธะ ทุกคนมีๆสิทธิที่จะทำอย่างนี้ ทำได้อย่างนี้ แต่ขออย่าไปทำให้มันผิดพลาดไปเสีย อย่าไปหลงใหลในอะไรเสีย เดินมาให้ถูกทางเรื่อยๆ ก็จะมาเป็นมนุษย์ที่รู้จักสิ่งเหล่านี้ ได้สิ่งเหล่านี้ เรียกๆว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คนแรกก็คือพระพุทธเจ้า แล้วนอกนั้นก็คือสาวกทั้งหลาย ไม่เกี่ยงงอนว่าจะต้องเรียกว่าศาสนานั้นศาสนานี้ ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามนี้แล้ว ก็เป็นเหมือนกันหมด คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเหมือนกันหมด
นั้นการที่ท่านทั้งหลายมุ่งหมายจะมาศึกษาธรรมะเป็นพิเศษ ในเวลาอันสั้นเพื่อความรวบรัดนั้นน่ะ ควรจะทราบว่าไอ้หลักเกณฑ์อย่างนี้เหมาะสมที่สุด ประหยัดเวลาที่สุด แล้วก็เอาไปใช้ได้กว้างขวาง อ่า ที่สุดอีกเหมือนกัน รู้ความหมายของคำๆว่าธรรมนิยมให้ดีๆ จะแก้ปัญหาข้อสงสัยหรืออะไรต่างๆที่เกี่ยวกับวัตถุนิยมและจิตนิยมได้ เมื่อเป็นผู้ถือธรรมะเป็นหลัก แล้วก็จะต้องเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาทันที ศาสนาไหนเขาก็ต้องการอย่างนี้ แต่ที่เขาได้ไปเรียกชื่อแปลกไปตามชื่อของศาสดาของเขานั้น มันก็เป็นเรื่องความจำเป็นอย่างอื่น เช่น ประชาชนในถิ่นนั้นๆเหมาะที่จะเรียกอย่าง อ่า ใช้คำอย่างนั้น ก็ใช้คำอย่างนั้น ไอ้เราใช้คำกลางๆว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในเรื่องของธรรมชาติก็แล้วกัน เอาละทีนี้เราก็มาเปรียบเทียบกันดูว่า เราจะกระทำอย่างไร ในเมื่อพวกวัตถุนิยมเขาเอาวัตถุเป็นหลัก สำหรับหยิบขึ้นมาศึกษา ค้นคว้า พินิจพิจารณาและปฏิบัติ ไอ้เราก็เอาตัวธรรมะหรือความถูกต้องขึ้นมา เป็นสิ่งที่จะศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติ เอาธรรมะนั่นแหละมาแทนวัตถุ เอาภาวะความถูกต้องหรือธรรมะก็ตามแล้วแต่จะเรียก มาเป็นตัววัตถุสำหรับแยกแยะ ศึกษา ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง อย่างเดียวกับที่พวกนู้นเขาเอาวัตถุเป็นๆเครื่อง เป็นวัต อ่า เอาวัตถุเป็นวัตถุสำหรับศึกษาค้นคว้า เดี๋ยวนี้เราเอาธรรมะสำหรับเป็นเรื่องศึกษาค้นคว้า ทีนี้ อ่า เมื่อต้องการจะวางหลักเกณฑ์ จะบันทึกลงไปเป็นตัวหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อพวกวัตถุนิยมเอาปรากฏการณ์ทางวัตถุ เป็นภาพพจน์สำหรับที่บัญญัติลงไปเป็นตัวอักษร เป็นตำรับตำรา เป็นประวัติศาสตร์ เราไม่เอาอย่างนั้น เราเอามากกว่านั้น คือเอาเรื่องราวของความถูกต้องในจิตใจ พฤติ (43.02) อ่า ของความถูกต้องที่เปลี่ยนไปในระหว่างกายกับใจ หรือของกายกับใจ เอ่อ หรือระหว่างจิตกับวัตถุก็ตาม เรา นั้นมาเป็นภาพพจน์สำหรับที่จะบันทึกอะไรลงไป เรื่องที่บันทึกได้มันจึงต่างกัน นั้นเราได้รูปเป็นพระคัมภีร์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ เบญ อ่า ๘๔,๐๐๐ ข้อ ก็ไม่ๆน้อย เราบันทึกเป็นตัวอักษรได้เหมือนกัน บันทึกเรื่องของธรรมะหรือความถูกต้อง ที่เรียกว่าธรรมนิยม เหมือนกับพวกนู้นเขาบันทึกตำราทางวิทยาศาสตร์ ทางวัตถุ ทางที่ๆเป็นเรื่องของวัตถุ
ทีนี้ เอ่อ มาถึงอันที่เป็นผลที่ควรจะพอใจนี่ วัตถุนิยมเขาเอากามารมณ์เป็นหลักสำหรับพอใจ จิตนิยมก็เอาความเชื่อ ความคิด ความ เอ่อๆ ตั้ง มั่นใจอะไรบางอย่างของเขาเป็นหลัก ที่เรา อ่า ธรรมนิยมเอาความถูกต้อง ความที่ไม่ถูกอะไรกระทบกระทั่ง ความที่ไม่มีอะไรเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เป็นความหลุดพ้น เขาเรียกว่ารอดออกไปจากปัญหาหรือความทุกข์ทั้งหลาย มีรสชาติต่างจากกามารมณ์ แต่เมื่อพูดถึงไอ้ผลหรือความ เอ่อ เอร็ดอร่อยก็ได้ มันไม่แพ้กามารมณ์ เพียงแต่มันคนละรส หรือจะยิ่งไปเสียกว่ากามารมณ์ ถ้าเราหน่วงเอาธรรมนิยมเป็นหลักอยู่ในใจแล้ว เราจะข้ามกามารมณ์ไปได้โดยไม่ลำบาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องติเตียนหรือว่าเหยียดหยามไอ้สิ่งที่เรียกกันว่ากามารมณ์ เราไม่ไปเกี่ยวข้องในลักษณะที่จะทำลายเรา วัตถุแห่งกามารมณ์นั้นไม่ๆใช่ตัวกิเลส คุณก็เกี่ยวข้องได้ ความสวย ความงาม ความสนุกสนานอะไรอะไร เกี่ยวข้องได้ แต่อย่าไปเกี่ยวข้องชนิดที่มันเป็นพิษแก่เรา หรือมันกัดเอาเราเหมือนคนโดยมาก เรากินอาหารอร่อยก็ได้ แต่เราไม่ได้หลงใหลในความอร่อย เรามีอะไรที่สวยงามก็ได้ แต่ไม่ได้หลงใหลในความสวยงาม ถ้าหากว่าความ อ่า สวยงาม ความอร่อย ความ อ่า หอมหวนอะไรก็ตาม มันไม่จำเป็น ก็อย่าไปยุ่งกับมันให้เสียเวลาทำไม นั่นแหละคือกลายเป็นคนโง่ เพราะไปยุ่งกับสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้องไปยุ่งให้เสียเวลา แล้วยังไปหลงใหลไปบูชามันอีก เหมือนกับไอ้พวก อ้า วัตถุนิยม ก็บูชาวัตถุเป็นพระเจ้าไปเลย เขาบูชาวัตถุเป็นพระเจ้าไปเลย แล้วก็ไม่พ้นไปจากความหมายทางกามารมณ์ ถ้าเราถือธรรมนิยม เราก็เอารสแห่งพระธรรมมาเป็น เอ่อ รสสำหรับจะยินดีหรือพอใจ อย่างที่บอกแล้วว่ามันไม่ใช่อย่างเดียวกับกามารมณ์ แต่มันก็เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจหรือยินดีได้ไปตามแบบของพระธรรม
ทีนี้มันก็มาเป็นปัญหาเกี่ยวกับโวหารพูด เพราะถ้าพูดเป็นเรื่องของพระธรรมอย่างนี้ มันต้องเลื่อนขึ้นไปพูดกันด้วยสัมปรายิกะโวหาร คือ วิธีพูดหรือคำพูดอย่างพระอริยเจ้า นี้คนธรรมดามันก็ฟังไม่ถูก พอพูดไปพูดไปมันก็บอกว่ารสของพระนิพพานนี้จืดอย่างกากเดนอะไรอย่างหนึ่ง ไม่ต้องการ พวกชาวบ้านเขาจะรู้สึกอย่างนี้ว่า รสของพระธรรมนี้มันจืดชืดเหมือนกากเดนอะไรอย่างหนึ่ง ไม่ต้องการ เขาต้องการอะไรที่มันเข้มข้น อย่างเรื่องของกามารมณ์เป็นต้น ทีนี้ว่าถ้าให้ฝ่ายโน้นพูดบ้าง หรือให้ฝ่ายพระอริยเจ้าพูดบ้าง ก็จะพูดกลับกัน เรื่องสกปรก เรื่องน่าเกลียดน่าชัง เรื่อง เอ่อ ความหลอกกันวูบวาบอะไร มันเรื่องบ้าที่สุด เรื่องเลวที่สุด เราต้องการไอ้ความบริสุทธิ์ ความไอ้หยุด ความสงบ ความพักผ่อนอันแท้จริง ผลัดพูดกันคนละทีมันก็ด่ากันได้ นั้นต้องพยายามเข้าใจกันให้ดีๆ เพราะว่าเราจะต้องอยู่ร่วมโลกกัน ทั้งพวกที่กำลังหลงในวัตถุนิยม และพวกที่หลงอยู่ในจิตนิยม และพวกที่รู้จักธรรมะและเป็นธรรมนิยมไปแล้ว ขอไปใคร่ครวญทบทวนดูว่ามันเป็นลำดับกันอย่างไร อะไรจะเป็นอันดับแรก แล้วอันดับถัดไป และอันดับสุดท้าย ก็อยากจะพูดว่าไอ้วัตถุที่เป็นที่ตั้งแห่งวัตถุนิยมน่ะ เป็นอันดับแรก เด็กๆเกิดมาก็รู้จักแต่เล่นแต่กินเท่านั้นแหละ ต่อมาถึงรู้เรื่องทางจิตใจ เพราะมันเตลิดเปิดเปิงไปจนไม่สนใจกับเรื่องทางร่างกาย มันก็ไปพวกจิตนิยมสุดโต่ง สุดเหวี่ยง ต่อมาเราก็รู้ทั้ง ๒ ฝ่ายดีขึ้น อ่า รู้จักทำความพอดี ถูกต้องในระหว่างสิ่งทั้ง ๒ ไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมะก็เกิดขึ้น สำหรับเป็นธรรมนิยม
ขอให้เรา อ้า ถือเอาความหมายของคำว่าธรรมนิยมไว้ ในลักษณะอย่างนี้ ซึ่งมีใจความสำคัญอยู่ที่คำว่าธรรมะ คือความ อ่า ถูกต้องของระบบปฏิบัติ ในทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเราซึ่งเป็นมนุษย์ เราเป็นมนุษย์ ต้องมีมาตรฐานอย่างมนุษย์ มีความถูกต้องอย่างมนุษย์ มีวิวัฒนาการอย่างมนุษย์ แล้วมีความถูกต้องทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการ การถูกต้องนั้นอยู่ในรูปของการศึกษาก็ได้ ในรูปของการปฏิบัติก็ได้ อยู่ในรูปของการรับผลของการปฏิบัติก็ได้ เรียกว่าความถูกต้องเป็นอันเดียวกัน นี้คือสิ่งที่เรียกว่าธรรมหรือธรรมะ เรานิยมสิ่งนี้บูชาสิ่งนี้อย่างกับพระเจ้า ถ้าเราอยากจะมีพระเจ้ากันบ้าง ก็ขอให้มีสิ่งนี้เป็นพระเจ้า เดี๋ยว อ้า เราก็จะตอบเขาผิดๆ เมื่อเขาถามว่าพวกพุทธบริษัทนี่มีพระเจ้ามั๊ย (ไหม?) เราก็เคยโง่ตอบไปว่าไม่มีพระเจ้า อาตมาเองก็เคยโง่ตอบไปว่าไม่มีพระเจ้า เพราะมันเล็งกันแต่พระเจ้าที่เป็นคนๆ พระเจ้าหนวดยาวถือไม้เท้านั้นเราไม่มีแน่ พระเจ้าอย่างคนน่ะ อย่างเพอร์ซันแนลก็อดน่ะ เราไม่มีแน่ แต่เรามีพระเจ้าอย่างธรรม อย่างพระธรรม คือสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะรู้จักเคารพนับถือบูชาฝากเนื้อฝากตัวอะไรนี่ คือพระธรรม เราก็มีพระเจ้า เพราะว่าเรามันเคยชินแก่การที่จะมีที่พึ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง เรายังละนิสัยนี้ไม่ได้ เราอยากมีที่พึ่ง เราก็มีที่พึ่ง นั่นน่ะคือพระเจ้า พระพุทธเจ้าก็หมายถึงพระธรรม เพราะว่ามีเพราะว่าท่านมีๆๆพระธรรมสมบูรณ์ พระธรรมก็เป็นพระธรรมอยู่ในตัว อ่า ก็สมกันดี (51.32) แค่ที่มีพระธรรม เอาพระธรรมออกเสียแล้วก็ไม่ๆมีพระสงฆ์น่ะ ไอ้สิ่งสูงสุดมันจึงอยู่ที่พระธรรม
ถ้าเราบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ถูกต้อง มันก็เป็นการบูชาพระธรรม ว่านิยมพระธรรม มันก็คือนิยมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วย นี่เมื่อเป็นนักศึกษาก็ควรจะมีมันสมอง มีสติปัญญา ที่จะมองเห็นสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้อง ให้ลึกซึ้งเพียงพอแก่ความพอเหมาะที่จะต้องมี ถ้าเกินไปก็เหนื่อยเปล่าๆ ถ้ายังไม่ถึง ยังขาดอยู่ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ นั้นเอาที่มันถูกต้อง พอดี พอเหมาะเต็มตามที่มันควรจะมี นี่คือความหมายของคำว่าธรรมะหรือพระธรรม ขอให้ยึดถือเอาคำที่ ๓ ว่า ธรรมนิยมนี้ไว้เป็นหลักสำหรับพิจารณาให้มาก ให้ยิ่งๆขึ้นไปกว่า ๒ คำที่แล้วมา คือ วัตถุนิยมกับจิตนิยม เอาล่ะที่จะพูดเองเป็นการนำเรื่อง เอ่อ พูดเพียงเท่านี้ นั้นต่อไปนี้ใครจะถามอะไร จะอภิปรายอะไรก็เชิญ นี่ขอให้อภิปรายอยู่ในขอบเขตของคำว่าธรรมนิยม
ท่านอาจารย์ครับผมอยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ที่ท่านอาจารย์บอกว่า ธรรมคือระบบการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อที่จะสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ถ้าเผื่อว่าวิธีการสำเร็จประโยชน์เช่นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องสำหรับสังคมหนึ่ง แต่ว่าอีกสังคมหนึ่งเขาไม่ยอมรับ หมายความว่าเป็นความผิดพลาดของอีกสังคมหนึ่ง ผมอยากจะถามท่านอาจารย์ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะตัดสินใจอย่างไรครับ
ที่ว่าความถูกต้องทุกขั้นทุกตอน อ่า ของวิวัฒนาการของมนุษย์ที่วางไว้เป็นหลัก เป็นๆๆหลักประธานน่ะ นี้ความถูกต้องของมนุษย์มันก็อยู่ที่จะขจัดปัญหาได้ ที่เมื่อสังคมหนึ่งเกิดไปมีความถูกต้องต่างจากความถูกต้องของอีกสังคมหนึ่ง มันก็มีปัญหาแต่เพียงว่า ความถูกต้องอันไหนมันเข้ากันกับหลักวิวัฒนาการของมนุษย์ มันคงเป็นไปไม่ได้ล่ะที่จะมีความถูกต้องถึงกับตรงกันข้ามน่ะ ในหมู่มนุษย์ที่มีความถูกต้อง นั้มันต้องมีมนุษย์ที่ไม่มีความถูกต้อง มันจึงมีความถูกต้องที่ไม่ตรงกับความถูกต้องของมนุษย์อีกหมู่หนึ่ง นี้เราสมัครจะไปเข้าทีมไหนก็ลองคิดดูเอาเอง ก็เราก็ศึกษาไอ้ความถูกต้องยิ่งขึ้นไป จนเราเลือกถูกว่าเราควรจะไปอยู่ในกลุ่มไหน ปัญหามันก็จะหมดไป เดี๋ยวนี้มันปัญหามันๆๆๆสางออกไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างมีต่างมีฤทธิ์ มันก็ยืนยันในความถูกต้องที่ตรงกันข้ามอยู่เสมอไป มันก็ได้รบราฆ่าฟันกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ยังดีนะ เอ่อ ถ้าเขารบกันเพราะแย่งความถูกต้องนี้ เดี๋ยวนี้กลัวว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น มันเป็นเรื่องตามใจตัวเอง เป็นกิเลสตัญหาทั้งนั้น แล้วมาอ้างเป็นความถูกต้อง เราเอาข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงแก่สิ่งที่เป็นอยู่จริงๆ เช่นว่าเขารบกันในเวลานี้นี่ เขาอ้างว่าเพื่อความถูกต้อง เพื่อความยุติธรรม เพื่อสันติภาพของมนุษย์ด้วยกันทั้งนั้น แต่คำพูดเหล่านั้นมันซ่อนความเท็จไว้ มันจึงไม่มี เอ่อ ความถูกต้องแม้ทั้ง ๒ ฝ่ายนี่ ฝ่ายหนึ่งถูกต้อง ฝ่ายหนึ่งไม่ถูกต้อง รบกันนี้มันยังดีนะ กลัวว่าทั้ง ๒ ฝ่ายหรือหลายๆฝ่ายนั้น ล้วนแต่เป็นความไม่ถูกต้องทั้งนั้น แล้วก็มารบกัน อย่างนี้ก็ยิ่งลำบาก ถ้าวัตถุนิยมก็รบกันกับจิตนิยม ก็ถือว่าเป็นความถูก เอ้อ ไม่ถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย มันรบกันน่ะ ถ้าเป็นธรรมนิยมมันก็รบไม่ได้ แม้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี้เป็นปัญหาที่ตั้งไว้ล่วงหน้า อ้า แล้วก็ประมาณประเมินเอาด้วยลอจิกว่า อาจจะมีความถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วก็แตกต่างกัน คุณควรจะไปคิดดูใหม่ ไปแสวงหาอะไร (57.32) เสียใหม่ว่าความถูกต้องจะไม่เกิดแก่ ๒ ฝ่าย ถึงกับรบกัน แม้ว่าจะมีวิธีพูดที่ต่างกันอย่างระดับชาวบ้านกับระดับไอ้สูงสุด มันก็ไม่ได้เกิดความแตกต่างกันขนาดที่ว่าจะต้องรบกัน เพราะว่ามันมีทางที่จะเข้าถึงความจริง อ่า ที่จะปรองดองกันได้ พวกหนึ่งว่ามีตัวตน พวกหนึ่งว่าไม่มีตัวตน แล้วจะมาทะเลาะกันนี่ มันก็เพราะว่ามันโง่ทั้ง ๒ ฝ่าย พวกที่ไม่มีตัวตนนั้น จะไม่มีอะไรที่จะไปทะเลากับใครได้ พวกที่มีตัวตนอาจจจะมี มันก็รบกันไม่ได้ มันรบข้างเดียว นี้ก็ชี้แจงให้เขาเข้าใจเสียไอ้ที่มันยังเข้าใจผิดอยู่ ให้มันให้ๆความเข้าใจผิดหรือความผิด มาเป็นความถูกต้องเสีย
นั้นในโลกนี้ ในสังคมของเรานี้ เอ่อ เราควรจะศึกษาเกี่ยวกับความถูกต้องนี้ให้ยิ่งขึ้นไป อย่าให้เกิดความถูกต้องขึ้นมาเป็น ๒ ชนิด จนว่านายทุนก็ถูกต้อง ชนกรรมาชีพก็ถูกต้อง นี้ระวังให้ดี คุณอาจจะหมายถึงสิ่งนี้ก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีความถูกต้องต่างกัน เป็นความถูกต้องของฝ่ายนายทุน ความถูกต้องของฝ่ายชนกรรมาชีพ แล้วก็จะได้ฆ่าฟันกัน นี้เป็นความไม่ถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะว่าความถูกต้องที่แท้จริงนั้น จะไม่สร้างขึ้นมาทั้งนายทุนและชนกรรมาชีพ ถ้าทุกคนถือหลักธรรมนิยมแล้ว ในโลกนี้จะไม่เกิดนายทุนและไม่เกิดชนกรรมาชีพ นั้นปัญหานั้นจะหมดไป มันต้องมีความผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งล่ะ จึงเกิดไอ้สิ่งที่เป็นข้าศึกเผชิญหน้ากันอย่างนี้ แล้วจะทำหายไปได้ด้วยความถูกต้องอย่างแท้จริง ซึ่งมีเพียงอย่างเดียว คือความถูกต้องของธรรมะ อย่าให้ฤทธิ์เดชของวัตถุนิยมเขาเป็นไปสุดเหวี่ยง ฤทธิ์เดชของจิตนิยมก็เป็นไปสุดเหวี่ยง แล้วก็ได้รบกัน เอ่อ หรือว่าวัตถุนิยมด้วยกัน แต่ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แล้วจะต้องมารบกัน อย่างนี้มันก็ไม่ถูก มันควรจะเอาหลักของพระธรรมน่ะเข้ามาไกล่เกลี่ย ให้ความได้เปรียบเสียเปรียบนั้นมันละลายไป มันก็เป็นสันติภาพขึ้นมาได้ นั้นสันติภาพในโลกนี้จะต้องมาจากธรรมนิยม ไม่มาจากวัตถุนิยมหรือจิตนิยม หรือว่าสันติภาพในโลกนี้จะไม่มีขึ้นมาได้จากฝ่ายนายทุนหรือฝ่ายชนกรรมาชีพ แต่จะต้องมีขึ้นได้ในระหว่างคนที่อยู่ตรงกลาง คือเป็นสัตตบุรุษคนดีมีธรรมประกอบด้วยธรรม จนไม่อาจจะบัญญัติว่าเป็นนายทุนหรือชนกรรมาชีพ นี่เข้าใจว่านี้คงจะตอบคำถามอย่างกลางๆลงไปเพียงพอแล้วว่า เมื่อมันมีความถูกต้องแตกต่างกัน เราควรจะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ตอบปัญหานี้แสดงว่า เราจะต้องใช้ธรรมนิยมในการแก้ปัญหาใช่มั๊ย (ไหม?) ครับ
ก็แน่นอนล่ะ จะใช้ธรรมนิยมในการแก้ปัญหาเสมอไป มันจะปัญหามันจะเกิด เพราะไม่มีธรรมะเข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้าธรรมะเข้าไปเกี่ยวข้องปัญหาไม่เกิด แต่เมื่อปัญหาคาราคาซังอยู่ ต้องเห็น อ่า ต้องเห็นได้เลย ต้องค้นพบเลยว่ามันขาดธรรมะ เอาธรรมะเข้าไปแก้ปัญหา ก็ๆสำเร็จประโยชน์ ใช้ธรรมนิยมแก้ปัญหาของวัตถุนิยมและจิตนิยม
ปัญหาต่อไปผมอยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ความถูกต้องในแบบปฏิบัติเรียกว่าอยู่ในรูปของวัฒนธรรมหรือประเพณี ถ้าเผื่อว่าเรายึดวัฒนธรรมหรือประเพณีมากเกินไป มันจะเป็นความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งผมคิดว่าสิ่งนี้พระพุทธศาสนาไม่ต้องการ เพื่อจะบรรลุถึงธรรมขั้นสูงสุด ถ้าเผื่อเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นในระเบียบ วัฒนธรรม และประเพณีอยู่ ผมคิดว่าเราควรจะมีวิธีใช้ระเบียบ วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆอย่างถูกต้องมากกว่านี้ ไม่ใช่ว่าให้เขายึดถือ
นี่ฟังถูกแล้ว คำถามนี้ก็ฟังถูก แล้วก็มองเห็นว่ามันเป็น เอ่อ ปัญหาขึ้นมาเพราะคำที่ใช้พูด นี่ทุกคนช่วยตั้งใจฟังให้ดีหน่อย เพราะปัญหาอีกมากมายรวมถึงปัญหาอย่างนี้ เวลานี้ด้วย มันเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาเพราะคำที่ใช้พูด มันไม่ถูกต้อง หรือมันไม่ตรง หรือบางทีมันก็ไม่เพียงพอ มูลเหตุทีแรกมันเกิดมาจากคำพูดไม่เพียงพอ พอคิดอะไรขึ้นมาได้ใหม่ในทางจิตใจ ไม่มีคำจะเรียก ก็ต้องไปเอาคำเก่าๆมาเรียก มันก็เลยเกิดมีคำๆหนึ่งซึ่งมีความหมายหลายชั้นขึ้นมานี่ ถ้าเราไปพูดกันระหว่างบุคคลที่ยึดถือความหมายต่างชั้นกัน มันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง
เอาล่ะทีนี้ก็มาสู่ปัญหาที่ว่าความยึดมั่นถือมั่น ในพระบาลีเรียกว่าอุปาทาน ก็เกิดมาแปลเป็นไทยว่าความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งมันกำกวม ในภาษาบาลีถ้าเรียกว่าอุปาทาน ไม่กำกวม เพราะจะหมายถึงแต่ความยึดมั่นถือมั่นด้วยความโง่ ทีนี้พอมาถึงภาษาไทย พูดว่ายึดมั่นถือมั่น มันกลายเป็นใช้ได้ทั้งยึดมั่นด้วยความโง่และยึดมั่นด้วยความฉลาดน่ะ มันเกิดเป็นยุ่งยากตอนนี้ ถ้ายึดมั่นในประเพณีด้วยวิชา ด้วยสติปัญญา ด้วยความฉลาดแล้ว ไม่เป็นไร คือ มันไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ถ้ายึดมั่นถือมั่นต้องยึดกันด้วยความโง่ จึงจะเรียกว่ายึดมั่นถือมั่น จะให้ตัวอย่างอีก อ่า คำหนึ่งสำหรับประกอบกันไว้ อ้า เพื่อให้มันไม่ฟั่นเฝือ เช่นว่าความอยากอย่างนี้ ถ้าอยากด้วยความโง่นั้น เรียกว่าตัณหาหรือความโลภ ความอยากนั้นเป็นอันตรายควรละเสีย แต่ว่าความอยากที่มาจากปัญญา มาจากวิชา มาจากความรู้ๆว่าควรอยากอะไร ก็ๆไม่เรียกว่าความโลภ ไม่เรียกว่าตัณหา เราจะต้องใช้ความอยากชนิดนี้ช่วยตัว อ่า ให้เกิดการปฏิบัติก้าวหน้าไป ความอยากอย่างนี้ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ของสกปรกที่จะต้องละ แต่ก็เรียกชื่อว่าความอยากเหมือนกัน นี่ภาษาไทยทำให้เกิดความกำกวมขึ้นในระหว่างคำพูดคำเดียวกัน เกิดความหมาย ๒ อ้า ๒ ๒ทาง แต่ถ้าทางภาษาบาลีเดิมแล้ว ไม่เป็นอย่างนั้น แปลว่าตัณหา แล้วก็อยากด้วยความโง่ ความโลภแล้วก็อยากด้วยความโง่ ถ้าอุปาทานล่ะก็ยึดถือด้วยความโง่ ถ้าเป็นภาษาไทยมันกำกวม นั้นหันไปหาหลักของพระบาลีคำบาลี ถ้ายึดมั่นถือมั่นที่ดีที่มีประโยชน์ แล้วก็ไม่ใช่อุปาทาน นั้นเราก็ต้องไปยึดมั่นถือมั่น เอ่อ วัฒนธรรมประเพณีอะไรที่เป็นจุดตั้งต้นก่อน การยึดมั่นถือมั่นนี้ก็มองเห็นประโยชน์ แล้วก็ยึดๆถือเพื่อปฏิบัติให้จริงจัง ถ้าไม่ยึดถือแล้วก็ไม่ปฏิบัติไม่จริงจัง ครั้นยึดถือแล้วปฏิบัติจริงจังแล้ว มันจะเลื่อนชั้นของมันเอง ไปสู่สิ่งอื่นซึ่งควรจะยึดถือต่อไป เพราะเรายึดถือเพียงให้ปฏิบัติได้ ครั้นปฏิบัติสิ่งนี้ได้แล้ว ก็เลื่อนไปยึดถือสิ่งอื่นต่อไป เพื่อปฏิบัติในสูง เอ่อ ขั้นที่สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนขั้นสูงสุด เหมือนกับเราจะขึ้นต้นไม้ หรือว่าขึ้นพะองบันไดนี่ เราต้องเหนี่ยวขึ้นไปทีละขั้นละขั้น เหนี่ยวกิ่งที่สูงกว่าเพื่อดึงตัวขึ้นไป แล้วก็เหนี่ยวที่สูงกว่าเพื่อดึงตัวขึ้นไป นี่มันยึดมั่นด้วยสติปัญญา ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เราก็ไปถึงยอด แต่ถ้าเรายึดมั่นด้วยความโง่ เราก็ไปอดอยู่ที่โคลน มันไม่ไปไหนได้ มันอยู่ที่ตรงนั้น ก็เป็นความยึดมั่นที่ผิด เอ่อ อย่างที่บอกแล้ว่า นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงของธรรมชาติหรือพระธรรมเลย นี่ไปศึกษาให้เข้าใจภาษานี้ให้ถูกต้อง ปัญหานี้ก็จะหมดไป
นั้นเราควรจะยึดมั่นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งได้ สำหรับประพฤติปฏิบัติให้สูงขึ้นไป แล้วก็ยึด เอ่อ ขึ้นไปตามลำดับ ตามลำดับ ตามลำดับจนไม่มีความยึดมั่นอะไรเหลืออยู่ เพราะไม่ๆๆมีอะไรที่จะต้องไปอีกแล้ว นี่ความยึดมั่นในภาษาไทยเป็นอย่างนี้ มีความหมายเป็น ๒ อย่าง ภาษาบาลีถ้ายึดมั่นต้องด้วยความโง่ และต้องละเสีย อย่ามีความยึดมั่น ส่วนภาษาไทยนี้ยึดมั่นอย่างเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในวาระแรกก็ได้ แล้วก็เลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป จนไม่ยึดมั่นอะไรได้เหมือนกัน อย่า อ่า ตีความแคบไปหรือว่าเขวไป จนทำให้เกิดปัญหาขึ้นเกี่ยวกับคำพูด คือว่าบทบัญญัติเฉพาะในทางศาสนา ต้องระวังหน่อย เลยสรุปความว่าให้ๆยึดมั่นด้วยสติปัญญา เพื่อทำให้ดีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปโดยเร็ว แล้วจะได้เลื่อนชั้นยึดมั่นสูงขึ้นไป จนไม่ต้องยึดมั่น ทีนี้ก็เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ อ่า ขอให้สอดส่องดูให้ดี ถ้ามันถูกต้อง มันมีประโยชน์ แล้วก็เรายึดมั่น อ่า ด้วยการกระทำ คือ ปฏิบัติให้มันเต็มที่ ให้มันถูกต้อง อย่าเผลอ นี่เรายึดมั่นในประเพณี ขนบธรรมเนียม หรือวัฒนธรรมส่วนที่ดี ส่วนที่ไม่งมงาย ถ้าจะลดลงไปอีกนะ ลดลงไปอีกถึงคนงมงายคนโง่ นี่ก็ยิ่งต้องการความยึดมั่น แล้วความยึดมั่นนี้ มันเป็นของคู่กับคนงมงาย หรือคนโง่ ถ้าคนมันงมงายหนักลงไปอีก หนักลงไปอีก มันก็ต้องมีการยึดมั่นที่หนักลงไปอีก จะเป็นการยึดมั่นที่จะหน่วงขึ้นมา ถอนตัวขึ้นมา จนอยู่ในระดับกลาง ระดับ อ้า ที่พอจะหายใจคล่อง แล้วก็ยึดมั่นต่อไป ที่จะสูงขึ้นไป จนไม่ต้องยึดมั่นเลย ไอ้ที่ว่าติดประเพณี ติดไอ้นี่นั่นมันเป็นความหมายติดด้วยความโง่ ทั้งนั้นน่ะ ติดประเพณีน่ะ ประเพณีที่เขาทำไว้ดีแล้ว ถ้าเราไปเกี่ยวข้องน่ะ มันดี แล้วมันจะไม่ติดน่ะ มันจะช่วยผลักต่อไปอีก ผลักให้เลื่อนชั้น นั้นถ้าใครติดประเพณีหมายความว่า เขายึดมั่นไม่เป็น เขาจึงติดประเพณี
ทีนี้อีกทางหนึ่งตรงกันข้าม อย่าสะเพร่า อย่าพรวดพราด อย่าไปประณามประเพณีเสีย ยังจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีที่มีระหว่างเพศ พระพุทธเจ้า เอ่อ ท่านยังได้วางไว้กวดขันที่สุดในระเบียบวินัย เช่น วินัยที่จะต้องประพฤติต่อกันและกันระหว่างภิกษุกับภิกษุณี คุณต้องนึกถึงระดับของภิกษุกับภิกษุณีก่อนว่าไม่ใช่ชาวบ้าน บวชกันแล้วทั้งนั้นทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชาย เป็นภิกษุและภิกษุณี พระพุทธเจ้าท่านยังวางวินัย ในรูปของบทบัญญัติประเพณีไว้อย่างเคร่งครัด ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในปัญหาทางเพศน่ะ นี้ชาวบ้านทั้งหลายยังต่ำกว่านั้น จึงต้องมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี ที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการกระทำระหว่างเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเดี๋ยวนี้พวกวัฒนธรรมใหม่พวกสมัยใหม่ เขาไม่ถือกันแล้ว นี้เราที่เป็นไทยเป็นพุทธบริษัทจะเอาอย่างไร ระวังให้ดี อย่าไปรับเอาวัฒนธรรมที่มันจะกัดเอา ซึ่งมันจะทำลายแหลกไม่มีอะไรเหลือ ยึดมั่นถือมั่นในประเพณีที่ดีไว้ก่อนดีกว่า นั้นจึงขอเตือนเรื่องวัฒนธรรมเกี่ยวกับเพศนี่ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ มันจะเป็นอันตรายแก่การศึกษา แก่การเป็นอยู่ แก่การทุกอย่างน่ะ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเดือดร้อนทั้งนั้น เอาล่ะนี่ตอบได้อย่างนี้ว่า ยึดมั่นนั้นยึดมั่นด้วยสติปัญญาแล้วก็ไม่เป็นไร
ผมอยากจะเรียนถามต่อไปว่า ระเบียบประเพณีนี้มันจะทำให้ชีวิตซึ่งแต่เดิมเป็นชีวิตแบบง่ายๆ ชีวิตเชิงง่ายนี่ กลายเป็นชีวิตเชิงซับซ้อน เพราะฉะนั้นผมคิดว่าระเบียบประเพณี มีความจำเป็นสำหรับสังคมเท่านั้น แต่ว่าถ้าเผื่อเราต้องการจะแสวงหาความหลุดพ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบและประเพณีอยู่
อ้าว นั้นก็เราก็ต้องแยกกันนี่ แยกกันเป็นปัญหาทางสังคม หรือเป็นปัญหาทางส่วนตัวบุคคล โดยมากหรือโดย เอ่อ เกือบทั้งหมดน่ะ ระเบียบประเพณีนี่มุ่งไปทางสังคม แต่ก็มิใช่ว่าจะไม่มีมุ่งมายังส่วนบุคคลเสียทีเดียว เพราะว่ามันง่ายดี ไม่ได้วางเป็นระเบียบประเพณีไว้แล้วแม้ส่วนบุคคลล้วนๆน่ะ ตื่นนอนขึ้นมาจะต้องทำอย่างไรบ้าง มันก็ยังดีกว่าที่จะไม่มีระเบียบประเพณีที่เขาค้นคว้าแล้ว อ้า วางไว้เป็นอย่างดี ขอให้มองดูให้ดีๆ ประเพณีหรือธรรมเนียมหรือ อ่า วัฒนธรรมก็ตามน่ะ ส่วนบุคคลมันก็ยังมีอยู่ส่วนหนึ่ง แม้ว่าไม่มากเท่าส่วนสังคมเพื่อๆสังคมมันมีมาก ไปๆๆดูให้ดีๆ ว่าจะตอบได้เองสำหรับปัญหานี้ จะปฏิเสธเสียว่าส่วนบุคคลแล้วไม่ต้องมีขนบธรรมเนียมประเพณีอะไรก็ไม่ถูก มันยังคงมีอยู่ส่วนหนึ่ง ไปดูให้ดีๆ แล้วจะมีประโยชน์มาก เพราะมันจะง่ายขึ้น มันจะไม่ต้องทำผิดเป็นการทดลอง แล้วจึงค่อยทำถูกทีหลัง อย่าไปอวดดีถึงกับว่าเราจะลองผิดดูก่อน แล้วจึงมาทำถูกทีหลัง ในบางกรณีมันก็ควรอย่างนั้น แต่ว่ามันไม่จำเป็นน่ะ มันไม่ควรจะไปลองผิดก่อน แล้วจึงมาทำถูกทีหลัง ใช้ เอ่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีป้องกันความผิดไว้เรื่อยๆดีกว่า แล้วเรารุดหน้าไปในทางถูกเร็วๆ มันดีกว่า ขอบคุณประเพณีที่ดีกันไว้อย่างนี้บ้าง
ผมได้อ่านในหนังสือเล่มหนึ่งพบว่า พระพุทธศาสนาเป็นรูปนามนิยม ผมอยากจะถามท่านอาจารย์ว่า คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือว่าไม่ถูกต้องครับ
ถ้าตีความไอ้คำนั้นถูกต้อง เอ่อ มันก็ถูกแหละ เพราะรูปนั่นก็คือวัตถุ นามนั้นก็คือจิต รูปนามนิยมก็คือเอาไอ้ๆวัตถุกับจิตมาบวกกันเข้าเลยเป็นสิ่งเดียว ไม่ให้เกิดเป็น ๒ สิ่ง เรียกว่ารูปนามเสียเลย บวกเข้าเป็นสิ่งเดียว นั้นคนเราคนหนึ่งเรียกว่าคนเดียว แต่มันมีทั้งรูปและทั้งนาม รูปนามนิยมนี้หมายถึงความถูกต้อง อ่า ของรูปและนาม ในที่สุดก็จะมาหาไอ้คำว่าธรรมนิยม อยู่ที่ความถูกต้องของสิ่งที่เรียกว่ารูปและนาม ภาษาบาลีเขาเรียกว่านามรูป ถ้าภาษาบาลีเป็นหลักก็จะพบว่า เขาให้ความสำคัญแก่นามยิ่งแก่กว่ารูป ในภาษาบาลีเราจะพบว่านามรูปเสมอ ช่วยจำไว้ด้วย พอมาถึงภาษาไทยมันไปเกิดกลับกันอย่างไรก็ไม่ทราบ เรียกว่ารูปนามเสียโดยมาก แล้วภาษาชาวบ้านแท้ๆเขาใช้พูดว่ากายใจ เสียโดยมาก แทนที่จะพูดว่าใจกาย มันจะพูดว่ากายใจ เอากายมาก่อน เอาใจมาหลัง แต่ถ้าในบาลีแล้วมันก็นามรูป คือใจมาก่อน กายมาทีหลัง
เราจะแสวงหาไอ้ความสำคัญของสิ่งทั้ง ๒ นี้ ถ้าถือๆหลักภาษาบาลีแล้วก็ต้องเอาคำแรก เพราะว่าสำคัญกว่า เช่นเขาจะพูดว่ามารดาบิดาเสมอล่ะ เขาให้ความสำคัญแก่มารดายิ่งกว่าบิดา นี้นามรูปให้สำคัญความสำคัญแก่นามยิ่งกว่าแก่รูป ภาษาบาลีจะถือเอาคำหน้าเป็นสำคัญ ในภาษาไทยจะถือเอาคำหลังเป็นสำคัญ เช่นว่ากายใจ หรือรูปนามอย่างนี้ ก็ไปคิดดูเอง อ่า ไอ้รูปกับนาม กายกับใจ อันไหนจะสำคัญ ถ้าจะถือตามตัวหนังสือกันบ้างก็ว่า ไอ้นามที่มาก่อนนี่สำคัญ ไอ้นามรูปน่ะ นิยมนามรูป นิยมรูปนามก็คือนิยมความถูกต้องของนามรูป แล้วเกิดเป็นธรรมนิยมขึ้นมาได้ ไม่ๆๆๆผิด แต่ถ้าตีความหมายอย่างอื่น แยกรูป เอ่อ แยกนามออกไปเสียจากธรรม คือ ไม่ๆๆเกี่ยวกับความถูกต้องแล้วก็ผิดแน่ มันก็จะกลายเป็นคู่แฝดระหว่างไอ้วัตถุนิยมกับจิตนิยมไป นั้นพระพุทธศาสนา อ่า ก็จะต้องพูดว่าไม่ใช่วัตถุนิยม ไม่ใช่จิตนิยม แต่ถ้าเอามาแปะกันมีความถูกต้องในระหว่างสิ่งทั้ง ๒ นั้น ก็ได้เป็นธรรมนิยม บางทีผู้พูดตั้งใจจะพูดว่าธรรมนิยมน่ะ แต่เขา เอ่อ จำเป็นอะไรบางอย่างที่ต้องพูดอย่างนั้นก่อนว่ารูปนามนิยม คือ วัตถุจิตนิยม นิยมทั้งวัตถุและทั้งจิต ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เอ่อ ถ้าเราตีความหมายถูกต้อง แล้วก็ใช้ได้ทั้งนั้น
ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ
ท่านอาจารย์คะ หนูไม่เข้าใจชัดถึงความแตกต่างระหว่างจิตนิยมและธรรมนิยม คำพูดที่บอกว่าธรรมนิยมนี่ หมายถึงว่าทั้ง ๒ ทั้งวัตถุนิยมแล้วก็ทั้งจิตนิยม ทั้ง ๒ อย่างเหมือนกับเอามารวมกัน
มันก็ได้ เมื่อจิตนิยม เอ้อ รูปวัตถุนิยมเล็งไปถึงตัววัตถุ จิตนิยมเล็งไปถึงตัวจิต ส่วนธรรมนิยมนั้นเล็งไปถึงความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้ง ๒ ของสิ่งทั้ง ๒ อันหนึ่งมันเล็งไปที่ตัว เอ่อ ตัวรูป หรือความถูกต้องแต่ทางรูปอย่างเดียว อันหนึ่งมันเล็งไปถึงจิต หรือความถูกต้องแต่ทางจิตอย่างเดียว นี้ธรรมนิยมนี่เราเล็งถึงความถูกต้องของสิ่งทั้ง ๒ ระหว่างสิ่งทั้ง ๒ ซึ่งมันจะต้องสัมพันธ์กันเสมอ ก็มีเท่านี้ ไม่เล็งไปที่ตัวรูป ไม่เล็งไปที่ตัวจิต แต่เล็งไปที่ไปที่ตัวความถูกต้องของสิ่งทั้ง ๒ ในเมื่อมีการสัมพันธ์กัน หรือประพฤติปฏิบัติอะไรก็ตาม
คือ หนูเข้าใจว่าตอนอาจารย์ตอนแรกได้อธิบายไว้ว่า วัตถุนิยมนี่เราเอาความต้องการทางกามารมณ์เป็นหลัก ซึ่งธรรมนิยมนี่เราคงไม่ๆหมายไม่ได้เอาสิ่งนั้นแน่ใช่ไหม มันคือมันจะเป็นการผสมระหว่าง ๒ สิ่งได้ยังไง (อย่างไร?)
เอ้า นั่นมันเมื่อพูดถึงไอ้ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่มันอยู่ในโลกเวลานี้ วัตถุนิยมมันให้กามารมณ์เป็น เอ่อ ผลสุดท้าย ไม่ได้ไม่ได้หมายถึงกามารมณ์หยาบโลน หรือกามารมณ์อย่างไอ้นั่น เอ่อ หยาบคายอย่างเดียว แม้ที่ถูกต้องหรืออะไรก็ได้ เพราะคนเราก็ต้องมีความถูกต้อง ในการที่จะไปเกี่ยวข้องกับกามารมณ์ การประพฤติหรือการกระทำระหว่างเพศที่เป็นไปอย่างถูกต้องนั้น เขาก็เรียกว่าการประพฤติธรรมด้วยเหมือนกัน แต่มันทำไปอย่างเลวอย่างต่ำนั้น ก็ไม่เรียกว่าประพฤติธรรมเพราะมันทำผิด นี่ว่าการประพฤติทางรูปธรรมทางวัตถุ กระทั่งเป็นเรื่องของกามารมณ์ ถ้าพยายามกระทำให้มีความถูกต้อง อ่า ตามสมควรแก่ชั้นตอนแห่งการวิวัฒนาการของเขา ก็เรียกว่าประพฤติธรรมด้วยเหมือนกัน ในความเป็นภรรยาสามีที่ดี เป็นอะไรที่ดี นี้ก็เรียกว่าการประพฤติธรรมเหมือนกัน
ก็พุทธศาสนาเราก็หมายความว่าเราส่งเราไม่ส่งเสริมว่า เอ้อ คือเราไม่ต้องการให้ละจากสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมันก็จะเหมือนกับเป็นจิตนิยม
พุทธศาสนามีไว้สำหรับแก้ปัญหาทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของสัตว์ ถ้ามันยังอยู่ในระดับที่เกี่ยวกับวัตถุเกี่ยวกับร่างกาย หรือเกี่ยวกับผู้ครองเรือน ซึ่งหลีกจากกามารมณ์ไปไม่ได้ ก็ต้องมีระบบปฏิบัติเพื่อความถูกต้องในการเกี่ยวข้องกับกามารมณ์นั้นๆ สำหรับพวกฆราวาส สำหรับพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน นั้นก็เรียกว่าการประพฤติธรรมด้วยเหมือนกัน ก็บอกแล้วว่ามันแยกกันไม่ได้ไอ้ร่างกายกับจิตนี้ จะมีความถูกต้องทางกามารมณ์ก็มันก็ต้องมีความรู้ในทางฝ่ายจิตเข้ามา อ่า เป็นตัวการอยู่ด้วย แต่นี่เราเล็งถึงไอ้วัตถุที่ยืนรวมอยู่คือกามารมณ์ ต้องการความถูกต้อง อ่า ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกามารมณ์หรือวัตถุ เรื่องวัตถุอื่นๆก็เหมือนกันที่ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ ก็ต้องการความถูกต้อง สำหรับมนุษย์จะได้ใช้หรือมีหรือสิ่งเหล่านี้โดยถูกต้อง เช่น เราจะต้องมีบ้านเรือนน่ะ จะต้องมีเครื่องประดับประดาตกแต่ง นี้ก็ต้องมีกันอย่างถูกต้อง คืออย่าให้มันเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมาเพราะเหตุนั้น นี่ก็เรียกว่าความถูกต้องทางวัตถุได้ แต่เดี๋ยวนี้ตามที่เป็นอยู่จริงนี่ พวกวัตถุนิยมทั้งหลาย มันไม่ทำเพียงเท่านั้นหรอก มันทำเลยเถิด ทำจนเป็นปัญหายุ่งยากไปทั้งโลก จนตัวเองตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสที่เห็นแก่วัตถุ นี่มันจึงทำลายผู้อื่น แสวงหาวัตถุ กอบโกยวัตถุ อย่างหลับหูหลับตา นั่นมันๆเลยเถิดไปมากอย่างนั้น มันไม่เป็นธรรมนิยมไปได้ ถ้าๆไปถึงขนาดนั้น แต่ถ้าเรามีวัตถุ ใช้วัตถุ หรือแม้ในรูปของกามารมณ์อย่างถูกต้อง อย่างมีศีลมีธรรมนี้ก็ใช้ได้ มันก็จะเอียงไปหาไอ้ธรรมนิยม เราก็มีเรื่องจิตนิยมเจืออยู่บ้างไม่มากไม่น้อย เพราะว่าสิ่งทั้ง ๒ นี้แยกกันไม่ได้อย่างที่กล่าวแล้ว แล้วความถูกต้องนั้นก็แยกไปอยู่ต่างหากไม่ได้ มันก็มาๆมีความถูกต้องอยู่ที่กายหรือที่จิตอีกนั่นเอง เลยกลายเป็นสิ่งที่ไม่แยกกัน ถ้าพอแยกกันก็ไม่มีปัญหาอะไร
ทีนี้ปัญหามันเกิดขึ้นเพราะมาถึงกันเข้าระหว่างกายกับจิต นี้ก็มีความผิดหรือความถูก มันก็เกิดเป็นปัญหาอย่างนี้ นั้นถ้าธรรมนิยมก็กวาดลงมาจากข้างบนดีกว่า ให้เป็นความถูกต้องทั้งฝ่ายวัตถุและฝ่ายจิต แม้ในชั้นที่ว่ายังเรียกว่ากามารมณ์ในความหมายที่ถูกต้องเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ความหมายมันเล่นตลกสับปลับกันอยู่อย่างนี้ ทำให้พูดยาก แต่ถ้าพูดภาษาวัด อ่า ภาษาศาสนาเขาก็บอกว่าการบริโภคกาม ถ้าเกี่ยวข้องกับกามหรือการบริโภคกามโดยถูกต้อง ก็เป็นการประพฤติธรรมอย่างหนึ่ง สำหรับบุคลผู้บริโภคกาม อ่า คือ ฆราวาสหรือคฤหัสถ์ตามธรรมดา แล้วยังมีเป็นชั้นๆ อย่างว่าพรหมจารีย์นี้ไม่ควรจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกามารมณ์ คืออย่าไปยุ่งกับมันเสียเลยดีกว่า เป็นผู้ศึกษา เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ฝึกฝนตนเองให้พร้อมที่จะเลื่อนชั้น เดี๋ยวนี้มันยังอยู่ในชั้นการศึกษา ก็บูชาการศึกษา อย่าให้ปัญหาเรื่องวัตถุนิยมวัตถุนิยม (84.19) มา อ่า มาแทรกแซงเป็นเรื่องของปัญหาที่ไม่จำเป็น ขอให้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ อ่า ในรูปอย่างนี้ จะได้ก้าวหน้ากันเร็วๆ มีอะไรอีกล่ะ
ไม่มี ขอบคุณค่ะ
เอ้า เดี๋ยวนี้ก็ เอ้าๆมีอะไรว่ามา ยังว่าได้อีกหน่อย
อาจารย์คะ ที่อาจารย์ว่าความถูกต้องของการกระทำนี่เป็นประโยชน์เกื้อกูลของความสุข ไม่ได้ทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น คือดิฉันมีความสงสัยว่า ถ้าการกระทำนั้นเป็นการที่เกื้อกูลประโยชน์ทางวัตถุหรือทางจิต อันไหนคือความถูกต้อง
เอ้า ทั้ง ๒ แหละ ถ้าเพื่อความถูกต้องที่เป็นธรรมนิยม ก็ถูกต้องทั้งทางวัตถุและทั้งทางจิต ความถูกต้องทางวัตถุที่ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนใคร ก็มีเหมือนกัน หมายถึง เอ่อ การประพฤติการกระทำทางกายเกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุ ซึ่งมีปัญหามาจากวัตถุ การมีวัตถุของเรา การกิน การใช้วัตถุของเรา ไม่ทำอันตรายเรา ไม่ทำอันตรายผู้อื่น เท่านี้ก็พอแล้ว ปฏิบัติถูกต่อวัตถุ ทีนี้เราไปหลงใหลในวัตถุ จนมันครอบงำเรา เป็นนายเรา ลากคอเราไปทำสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้องทำ นี่มันเป็นอย่างนั้น นั่นคือตัวปัญหา ตัดทอนออกไปเสียให้มากที่สุด อิทธิพลของวัตถุน่ะออก ขจัดออกไปเสียให้มากที่สุด ให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็นที่เราจะต้องมีต้องใช้ มีชีวิตอยู่สำหรับการศึกษาในวัยนี้ อย่าไปคิดเหมือนที่เขาคิดกันโดยมาก ว่าเราจะบูชาวัตถุ สร้างวัตถุเพื่อเป็นไอ้เป็นสิ่งดีที่สุดที่เราจะมี เราจะคิดว่าเรามีวัตถุจำเป็นอุปกรณ์แก่ชีวิตดำรงอยู่ได้ เราใช้ชีวิตนี้ทำความก้าวหน้าในทางจิตในทางยิ่งขึ้นไปน่ะ เป็นจนเป็นการ อ่า บรรลุธรรมในขั้นสูงสุด เพราะว่าเรานิยมธรรม เป็นธรรมนิยม ใช้กายกับจิตนี้เหมือนกับเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์ ถ้าว่ากายเหมือนกับลำเรืออย่างนี้ ไอ้จิตนี้ก็เหมือนกับแรงงาน ที่จะทำให้เรือเดินไป ทีนี้เรือมันก็เดินไป เดินไปหาจุดหมายปลายทาง ขึ้นบกน่ะ คือธรรมนิยม ผลของธรรมนิยมมุ่งไปที่บก ไอ้กายกับจิตเลยกลายเป็นพาหนะหรือเครื่องอุปกรณ์เท่านั้น เอ้า มีอะไรก็ถามมานี่ (87.25)
ค่ะ (87.26) ในหลักการดำเนินชีวิตของมหาตมคานธีได้ยึดหลักอหิงสา ความรัก และเสียสละนะคะ และในหลักการอหิงสานั้น มีวิธีทางหนึ่งที่มหาตมคานธีได้ใช้ คือการอดอาหาร ดิฉันอยากทราบว่าการอดอาหารโดยๆในๆหลักอหิงสาที่มหาตมคานธียึดนี่ ถูกต้องโดยธรรมนิยมหรือเปล่าคะ
นั่นน่ะความ เอ่อ ไอ้ความกำกวมของคำพูด ปัญหามันเกิดขึ้นมาเพราะความกำกวมของคำพูด การใช้คำพูด แม้ที่กำลังพูดนี่มันก็กำกวม การอดอาหารนั้นไม่ใช่ตัวอหิงสา ถ้าพูดให้ดีการอดอาหารนั้นเป็นตัวหิงสาเสียอีก คือทำตัวเองให้ลำบาก การอดอาหารน่ะเป็นตัวหิงสา อหิงสาแปลว่าไม่ทำให้ลำบาก นั้นตัวการอดอาหารนั้นเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อแสวงหา เอ่อ ผลที่ต้องการโดยไม่ๆทำร้าย เขาเรียกอีกชื่อหนึ่งเรียกว่าสัตยเคราะห์ สัตยะ อ่า สัจจะคาหะ อ่า สัจจะคาหะนี่ ถือความสัตย์เป็นหลัก มหาตมีมหาตมคานธีถือหลักเกณฑ์อันนี้ ว่าอย่างไรอย่างไรก็ไม่ใช้การเบียดเบียนเป็นเครื่องมือ แต่จะใช้ความสัตย์จริงเป็นเครื่องมือ ท่านจึงประท้วงด้วยการอดอาหาร แทนที่จะไปทำร้ายทำอันตราย หรือบังคับกันด้วยกำลังอาวุธ ท่านบังคับกันด้วยกำลังการอดอาหารเรียกร้องความเห็นใจจากทุกฝ่ายนี่ นั้น (89.20) การอดอาหารของท่านที่แท้เป็นหิงสาต่อท่าน คือทำให้ท่านลำบาก แต่ก็เรียกว่าอุปกรณ์ของอหิงสาของมหาตมคานธีในการที่จะประท้วง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ควรจะได้ อ่า คือความยุติธรรม ถ้าเราใช้ภาษาถูกต้อง ความหมายไม่กำกวมแล้ว ไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ นั้นไปๆใช้เสียใหม่ว่าอดอาหารของมหาตมคานธีนั้น เป็นเพียงอุปกรณ์แห่งนโยบายอหิงสาของมหาตมคานธี เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม
เป็นสิ่งที่ถูกต้องถ้าจะพิจารณาในธรรมนิยมหรือเปล่าคะ
เป็นสิ่งที่ถูกต้องในกรณีนั้น ในโดยเฉพาะในกรณีนั้นไม่มีอะไรดีกว่านี้ ถ้าจะไปหาพวกมาใช้อาวุธ ใช้อะไรเรียกร้องความเป็นธรรมนี้ เขาจะเรียกว่าไม่ถูกต้อง หรือจะใช้ความไม่เบียดเบียนเป็นอาวุธ ก็ต้องคิดดูว่าจะทำอย่างไรดี ในที่สุดสติปัญญาของท่านมองเห็นว่าทำอย่างนี้ดี แล้วท่านก็ทำ แล้วก็ๆประสบความสำเร็จ อ่า เพราะเป็นคนฉลาด ส่วนนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นธรรมนิยม คือมีสติปัญญา
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
เอ้า หมดเวลาแล้วพอดี ก็ปิดประชุม สรุปความในวันนี้เสียทีว่า เราได้เรื่องวัตถุนิยม พูดถึงวัตถุ เรื่องจิตนิยม พูดถึงจิต แล้วก็ได้เรื่องธรรมนิยม พูดถึงความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้ง ๒ นั้น แล้วขอให้ทุกคนเข้าใจ อ่า เรื่องที่ ๓ นี้ เอ่อ แล้วเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด เหมือนมหาตมคานธีด้วย ปิดประชุม