แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๘ เอ่อ,วันนี้ก็เป็นวันที่สองของการบรรยายในชุดธรรมปาติโมกข์สำหรับพรรษานี้ ขอให้เอ่อ,สำนึกไว้ในใจเสมอว่าธรรมปาติโมกข์นี้เราหมายถึงหัวข้อธรรม คู่กับวินัยปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหัวข้อวินัย หัวข้อวินัยนั้นมันตายตัว อย่างที่มีสวดอยู่ทุกวันอุโบสถ อย่างวันนี้เป็นต้น ส่วนหัวข้อธรรมนั้นมันก็ตายตัวเหมือนกัน แต่มันมีแง่มุมมาก เอ่อ,ซึ่งจะพูดกันได้หลายทิศทางที่จะให้มันเป็นหลักที่สรุปสั้นๆที่จะศึกษาได้โดยง่ายและยึดไว้เป็นหลักปฏิบัติ เอ่อ,ได้โดยง่าย เราจึงต้องมีการสรุปหัวข้อธรรม ทีนี้เมื่อจะให้เป็นการสรุปขนาดที่เรียกว่าเข้มข้นสมกับคำว่าปาติโมกข์นี่มันก็ต้องสรุปกันมาก อย่างที่เรียกว่า เอ่อ, สองหมื่นแปดพันธรรม เอ้ย,แปดหมื่นสี่พันธรรมขันธ์ แปดหมื่นสี่พันธรรมขันธ์นะคิดดู เราจะมาสรุปให้เหลือเป็นหัวข้อสั้นๆนั้นมันว่าอย่างไร มันก็ยังตอบได้ เอ่อ,หลายอย่าง อย่างนั้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ล้วนแต่ถูกไปหมด แล้วนี่เราจะเอาให้มันสั้นที่สุดจะว่าอย่างไร ผมเห็นว่า เอ่อ,เรื่องตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตนนั่นน่ะ เป็นใจความทั้งหมด ถ้าถือตามพระพุทธภาษิตก็มีว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใดใครไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน อย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน มันเป็นภาษาหนังสือ หรือเป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆก็คือเรื่องไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน ถึงเคยพูดมาหลายสิบครั้ง หรือถึงร้อยกว่าครั้งที่ว่าเรื่องตัวกูของกูทั้งนั้นแหละ ไม่มีเรื่องอะไรมากไปกว่านั้น นี่ก็ยิ่งเป็นภาษาชาวบ้านมากขึ้นไปอีก ภาษาชาวบ้านนี้สรุปสั้นๆก็ว่าไม่มีตัวกู เท่ากับภาษา เอ่อ,ธรรมมะธัมโมว่าไม่มีตัวตน นี่ก็ได้พูดให้ฟังมาแล้ว ในครั้งที่แล้วมาว่า เอ่อ,พระพุทธวัจนะนั้นจัดเป็นสองประเภท จัดไว้สำหรับประเภทที่ยังมีการยึดถือว่าตัวตน นั่นประเภทหนึ่ง และอีกประเภทหนึ่งก็เพื่อให้รู้ว่ามันไม่มีตัวตน ทีนี้คนฟังไม่ดีก็เข้าใจไปว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างไม่คงเส้นคงวา ไปโทษพระพุทธเจ้ามันก็ได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะว่าเอ่อ,พระไตรปิฎกนั่นเขาก็มีแต่ เป็นแต่เพียงบันทึก เป็นที่รวบรวมแห่งบันทึกทั้งหลายว่า ครั้งไหนที่ไหนพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่าอย่างไร มันก็มีแต่อย่างนี้ ถึงกับปรากฏขึ้นมาว่าบางครั้งท่านตรัสว่า มีตัวตน เช่นว่าตัว เอ่อ,ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น บางครั้งท่านก็ตรัสว่า ตัวตนไม่มี ทั้งในการบรรยายครั้งที่แล้วมานั้น เรียกว่าเป็นการบรรยายให้เห็นว่าพระพุทธบท พระพุทธภาษิต หรือพระพุทธวัจนะนั้นมีทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน ทีนี้วันนี้ก็จะพูดโดยหัวข้อว่า ตัวตน เอ่อ,เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวจะพูดโดยหัวข้อว่า สิ่งที่มิใช่ตัวตน แต่ถูกสำคัญเอาว่าเป็นตัวตน นี่ฟังดูให้ดีว่า สิ่งซึ่งตามธรรมชาติมิใช่ตัวตน แต่ก็ถูกเอ่อ,สำคัญเอาว่าเป็นตัวตน นี้เป็นหัวข้อทั้งนั้น ทีนี้ก็ดูถึงข้อเท็จจริง ว่าในบรรดาหมู่คนธรรมดาสามัญที่รู้สึกว่ามีตัวตนหรือมีตัวกูนั้น เขาไปทำความรู้สึกเข้าที่ไหนที่ว่าเป็นตัวกู ข้อนี้ต้องเอาตนเองของแต่ละคนละคนน่ะมาเป็นหลักสำหรับดูสำหรับศึกษา โดยภาษาพูดมันก็พูดว่ามีตัวตน นี่ นั้นมันเป็นภาษาพูด ตัวตนในภาษาพูด ก็มีอยู่ทั่วไปหมด หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในภาษาในหนังสือก็มีที่พูดอยู่กันประจำวันนี้ก็มีที่ได้มีการพูดว่า ตน ตัวตน ซึ่งเป็นตัวตนของเราก็มี ตัวตนของเขาก็มี ทีนี้ภาษาพูดนั้นมันเอามาจากไหน ก็จะเห็นได้ทันทีว่า เอ่อ,ภาษาพูดนี้มันพูดไปตามความรู้สึก ที่มันออกมาจากความรู้สึก ทีนี้ความรู้สึกนี่ เอ่อ, มันรู้สึกไป ไปทำนองว่า มีตัวเราและมีตัวตน ฉะนั้นคนจึงพูด ด้วยเอ่อ, ด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเป็นตัวตนมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ถ้ามันเกิดภาษาพูดขึ้นมา สมมติว่าเราเป็นครั้งแรกที่สุดในโลกเมื่อกี่หมื่นกี่แสนปีมาแล้วก็ตามใจ คำพูดที่ว่า ตน ตัวตนนี้มันก็ออกมาจากความรู้สึกของคน คนแรกที่พูดคำๆนี้เป็นครั้งแรก ออกมาจากความรู้สึกซึ่งบรรยาย บรรยายได้ยาก แต่มันมีความหมายในตัวตน พอมีตัวตนมันก็ต้องคู่กันมาด้วยเอ่อ,ความรู้สึกว่าของตน ทีนี้มันถ่ายทอดกันมาอย่างแน่นแฟ้นและไม่ขาดตอน เช่นว่าคนนั้นมันมีลูก เอ่อ,ไอ้ลูกเด็กๆเพิ่งเกิดมา มันก็ถูกสอนให้พูดด้วยคำๆนี้ในความหมายอย่างนี้ จนกระทั่งบัดนี้คุณไปดูเอาเองก็แล้วกัน ในบ้านเรือนที่มีการคลอดบุตรออกมานอนอยู่ในเบาะ สอนพูด ไอ้ครูสอนพูดมันก็ต้องสอนไปตามเอ่อ,ความรู้สึกธรรมดาสามัญ อันนั้นมันจึงเป็นไปในเอ่อ,ลักษณะหรือความหมายที่เรียกว่าตัวตนทั้งนั้น มันแน่นแฟ้นที่สุดก่อนเรื่องใดๆหมด นี่ ก็บ้านของเรา กระทั่งว่าแม่ของเรา พ่อของเรา อะไรก็ของเรา ยิ่งโตขึ้นทุกวันๆก็มียิ่งของเรา ตัวเรา ของเรามากขึ้นๆ ทีนี้คำ คำว่าเราหรือตัวตนนี้มันก็เลยมั่นคงในความรู้สึกและความรู้สึกมันก็จะต้องรู้สึกไปตามความหมายคำๆนั้นเพราะมันมา มันตั้งตนมาด้วยความรู้สึกอย่างนั้น ทีนี้ดูกันต่อไปอีกถึงขั้นที่สอง ในระยะที่สองที่เป็นระยะที่จะต้องดู คือดูให้เห็นว่าถ้ามันเป็นแต่เพียงคำพูด หรือว่าพูดเท่านั้นมันก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่มีความยุ่งยากลำบากอะไร แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ได้เป็นเพียงคำพูด มันเป็น เอ่อ, สิ่งที่มีความหมายและเป็นความรู้สึกแท้จริงอยู่ในใจ ไอ้ที่ปากพูดออกมาเป็นตัวตนมันไม่สำคัญอะไรแต่ความรู้สึกอยู่ในใจมันสำคัญในข้อที่มันทำให้ ทำอะไรต่อไปอีกหลายๆอย่างตามความรู้สึกที่มันเห็นแก่ตน เพราะมีตัวตนจึงเห็นแก่ตน ความเห็นแก่ตนนี้ก็ต้องถือว่ามันเป็นไอ้ความรู้สึกดั้งเดิมตามสันชาตญาณด้วยเหมือนกัน มันคู่กันมากับความรู้สึกแบบตัวตน เพราะว่าชีวิตนี้มันตั้งอยู่บนรากฐานเอ่อ,ของสันชาตญาณที่ว่า มีตัวตนและก็อยากให้มีตัวตนอยู่ คงอยู่ คือไม่ตายอย่างนี้ ฉะนั้นมันจึงต้องรักไอ้สิ่งที่มันเข้าใจว่าตนหรือตัวตนหรือของตน แต่พอมันรักแล้วมันก็ต้องเห็นแก่สิ่งนั้นเป็นธรรมดา ฉะนั้นความรู้สึกประเภทที่มีความหมายมากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งก็คือ ความรู้สึกที่เห็นแก่ตน ทีนี้เห็นแก่ตนนี้มันเอ่อ,ก็มีทางที่จะเป็นไปได้ทั้งในทางที่เป็นอันตราย และทางที่มันมีประโยชน์ อย่างที่เรารู้สึกอยู่เดี๋ยวนี้ว่าที่เราอยากจะได้ดิบได้ดี ก็เพราะ เพราะ เพราะรักตน เพราะเห็นแก่ตน แต่บางเวลาเราก็ทำชั่ว เอาเปรียบผู้อื่นมาเป็นเอ่อ,ประโยชน์ของตนนี่ ความเห็นแก่ตนมันก็ให้ทำชั่ว ทีนี้มาดูอีกทีหนึ่ง มันก็เห็นว่า ในโลกนี้มันเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตนประเภทเอ่อ, ประเภทที่เป็นเหตุให้ทำชั่ว เห็นแก่ตนแล้วก็เกิดเป็นโลภะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ นี่มากกว่าที่ว่าจะเห็นแก่ตนและจะทำความดี เพราะมันยากที่จะรู้ว่าความดีคืออะไร แต่มันรู้ได้ง่ายที่สุดว่าไอ้ที่เราได้นั่นแหละคือดี เราได้ ได้ตามความต้องการของเรานั่นแหละคือดี ได้กิน ได้เล่น ได้สนุกสนานเอร็ดอร่อย ในการศึกษามันไม่พอ คนก็เอาแต่ความรู้สึกว่าได้ตามที่เราต้องการนั้นน่ะเป็นการดี ฉะนั้นในโลกนี้มันจึงมีแต่ความเห็นแก่ตนชนิดที่เป็นอันตราย เป็นพื้นฐานเสียทีเดียว ความเห็นแก่ตนที่จะเป็นเหตุให้ทำดีมันมีน้อย แล้วมันยังไม่รู้ว่าอะไรดี มันจึงทำไม่ถูก มันจึงต้องสอนกันอีกทีว่าอะไรดี อะไรเรียกว่าดี มีประโยชน์อย่างไร และก็เห็นแก่เอ่อ,สิ่งนั้น ทีนี้มันฝืนความรู้สึกที่ว่า ถ้าดีแล้วมันกลายเป็นไม่ ไม่เห็นแก่ตน และเรามัน มีความรู้สึกเป็นพื้นฐาน ที่ว่าจะเอา เอาแต่ตามที่เราชอบหรืออยากจะได้ นี่เป็นเหตุให้ถ้าปล่อยไปตามปกติแล้วมันก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานทั่วๆไป แต่ว่าสัตว์นั้นมันอยู่ในวงแคบ มันทำอะไรได้ในวงแคบ ทีนี้คนมันสามารถมาก ฉะนั้นการเห็นแก่ตนของคนก็เลยเป็นปัญหากว้างขวาง เรื่องนี้มันยังมี เอ่อ,อีกมากที่จะต้องพูด แต่ไม่ ไม่ ไม่จำเป็นจะต้องพูดให้มันหมดในวันนี้ เพราะวันนี้ต้องการจะพูดแต่ในข้อที่ว่าความเห็นแก่ตนหรือความรู้สึกว่าตัวตนนั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร แก่เอ่อ,แก่หรือจากสิ่งที่มิใช่ตน ถ้าเป็นหัวข้อเดิมก็คือว่า เอ่อ,ความรู้สึกว่าตนมันเกิดลงไปในสิ่งที่มิใช่ตน พูดกลับอีกทีก็ว่าสิ่งที่ไม่ใช่ตนน่ะมันให้เกิดความรู้สึกว่าตนได้อย่างไร เราจะไม่ศึกษาข้อนี้ในแง่ของจิตวิทยา หรือในแง่ของปรัชญาอะไรมากมายไป มันไม่ มันป่วยการ ศึกษากันแต่ในแง่ของศีลธรรม เป็นความรู้สึกจริงๆ เท่าที่รู้สึกอยู่จริงแล้วก็เห็นมันตามที่เป็นจริงและปฏิบัติให้ถูกต้อง ฉะนั้นจึงไม่ต้องอาศัยเหตุผลอะไรมากมาย ไม่ต้องคำนวณไปตามไอ้เหตุผลให้มันไกลออกไป ไกลออกไปจนในที่สุดก็ไม่มีประโยชน์ จึงเป็นลักษณะของปรัชญาซึ่งมีแต่จะทำให้เฟ้อ เฟ้อไม่มีที่สิ้นสุด ดูกันแต่ที่ตรงนี้ว่า เอ่อ,จะเป็นส่วนไหนของชีวิต จิตใจของคนเรานี้มันก็เป็นเพียงธรรมชาติ จะต้องไปศึกษารายละเอียดต่อไปข้างหน้าว่าไอ้คนๆหนึ่งนี้มันประกอบขึ้นด้วยอะไร ด้วยหลักทั่วไปก็ว่ามันประกอบขึ้นมาด้วยธาตุทั้ง๖ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และธาตุวิญญาณคือธาตุจิตใจ ถ้าเห็นว่า ๖ อย่างนี้เป็นเพียงธาตุ ปัญหาก็เกือบหมดอาจจะหมดไปได้ทันที มันเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ ทีนี้คนเขาจะไม่ยอมเห็นทันทีได้ในธาตุสุดท้ายที่เรียกว่าธาตุวิญญาณ วิญญาณธาตุ มันจะมองไปในแง่ว่ามันเป็นดวงวิญญาณ เอ่อ,ที่เป็นตัวตนไปเกิดมา เกิด มาเกิด แล้วก็ตั้งอยู่ เป็นตัวตน เป็นดวงวิญญาณนี่แหละ เป็นเอ่อ,ปฏิสนธิจิตมาเกิดแล้วก็ตั้งอยู่เป็นตัวตนตลอดชีวิตนี้แล้วมันก็กลายเป็นจุติจิตคือเป็นจุติวิญญาณเพื่อไปเกิดใหม่ในที่อื่นอีก ถ้าเข้าใจเสียอย่างนี้หรือเชื่อเสียอย่างนี้แล้วมันก็จะเอาวิธีนี้น่ะเป็นตัวตน นี่ขอให้รู้ไว้ว่า เอ่อ,ความเชื่ออย่างนี้นี่มันมีก่อนพุทธกาล แล้วก็เป็นนอก นอกพุทธศาสนา และยังถือว่านี่เป็นความเห็นผิด ความรู้ผิด เข้าใจผิด เรียกว่ามิจฉาทิฐิ ที่ว่ามีตัวตนอย่างที่ว่านั้นมันเป็นของมีอยู่ก่อนพุทธกาล เรา พุทธบริษัทเรานั้นมีหลักว่าวิญญาณนั้นก็เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับดินน้ำลมไฟหรืออากาศ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยพร้อมมันก็ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้กระทั่งเป็นพืชพรรณไม้ กระทั่งเป็นสัตว์ กระทั่งเป็นมนุษย์ ไอ้ธาตุทั้ง ๖ นี้ก็ยังคงอยู่เป็นส่วนประกอบอยู่ สมบูรณ์สำหรับมนุษย์ ทีนี้ไอ้วิญญาณธาตุนี้ตัวที่มันจะทำให้เกิดความเข้าใจหรือสับสน เพราะเหตุว่ามันเป็นธาตุที่รู้สึกได้ วิญญาณธาตุนี่คือธาตุที่มันรู้สึกได้ มันก็ปรุงแต่ง เอ่อ,ลึกซึ้ง มันปรุงแต่งทางจิต ทางเอ่อ,ความคิด ความนึก กระทั่งปรุงแต่งออกมาเป็นความรู้สึกว่าตนน่ะ ว่าตัวเราหรือว่าตัวกูหรือว่าของกู นี่ใจความย่อๆ ของคำพูด เอ่อ,ของประโยคที่เป็นหัวข้อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ตนถูกสำคัญเอาว่าเป็นตัวตน คือความสำคัญว่าตัวตนน่ะมันสำคัญลงไปบนสิ่งที่มิใช่ตัวตน ถ้าใครเข้าใจข้อนี้ก็เข้าใจพุทธศาสนาและก็เห็นแจ้งประจักษ์ในข้อนี้ ก็เห็นแจ้งประจักษ์ในพุทธศาสนา ถ้าใครละความเห็นผิดว่าตัวตนนั้นจะได้ เอ่อ, ได้รับประโยชน์จากหลักของพระพุทธศาสนา ไม่มีความรู้สึกหมายมั่นเป็นตัวตนหรือของตน แม้ปากนี้มันจะต้องพูดไปตามภาษาของชาวบ้านชาวเมือง ว่ามีตัวตนหรือตัวเราตัวเขาอย่างนั้นน่ะล้วนแต่เป็นตัวตนทั้งนั้น ปากก็ต้องพูดไปตามนั้น ข้อนี้อย่าว่าแต่เรา แม้แต่พระพุทธเจ้าเองท่านก็ต้องตรัสด้วยภาษานั้น ภาษาชาวบ้านที่มีตัวตน ตถาคตอย่างนั้นตถาคตอย่างนี้คือมีความหมายแห่งตัวตน นี่ขอให้มองให้เห็นข้อเท็จจริงอันนี้ว่ามันมีความรู้สึกว่าตัวตนลงไปบนสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ชาวบ้านไม่รู้ก็พูดไปอย่างมีตัวตน ฉะนั้นคำสอนหรือการปฏิบัติมันก็ไปในรูปหนึ่งคือมีตัวตนเป็นหลัก ปฏิบัติอย่างนั้นแหละปฏิบัติอย่างมีตัวตนเป็นหลักเรื่อยๆไปให้มันละตัวตนที่ชั่วมีตัวตนที่ดี ให้ในที่สุดมันจะรู้ในตอนสุดท้ายว่ามิได้มีตัวตนอยู่เลย นี่มันก็มาถึงไอ้จุดที่ว่าไม่มีตัวตนได้ ถ้าหมดความรู้สึกประเภทตัวตนอย่างนี้มันก็เป็น เอ่อ,การถึงที่สุดของมนุษย์น่ะ จะเรียกว่าที่สุดของธรรมะในพระพุทธศาสนาและทำมนุษย์ให้ถึงที่สุดของความเป็นมนุษย์คือเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติแล้วก็ไม่มีความทุกข์อีกต่อไป เลยเรียกบุคคลนี้ว่าเป็นบุคคลสุดท้าย ไม่มีอะไรดีกว่านี้อีกหรือบางทีก็เรียกว่าเป็นบุคคลที่สมบูรณ์คือเป็นพระอรหันต์นั่นแหละ ความหมายของพระอรหันต์นี่เป็นผู้สมบูรณ์ถึงยอดสุดของความเป็นมนุษย์ มีจิตใจปราศจากความรู้สึกว่าตัวตนหรือว่าของตนโดยสิ้นเชิง ทีนี้คนที่ยังไม่ถึงเอ่อ,พระอรหันต์มันก็ต้องมีตัวตนไปตามเรื่องตามมากตามน้อยตามลำดับชั้นแห่งบุคคลนั้นๆ เราก็เลยถือเอาเสียว่าปุถุชนธรรมดาสามัญมีตัวตนร้อยเปอร์เซ็นไหม เต็มที่ของความมีตัวตนพอลดน้อยลงมันก็เป็นปุถุชนที่ดี ที่ดี ที่ดีใช่ไหม จนกระทั่งมันลดมากถึงขนาดที่จะเรียกว่าพระโสดาบันเอ่อ,ชั้นพระอัยบดินทร์ (นาทีที่ 23.25) เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระเอ่อ,อนาคามีที่มีตัวตนเบาบางลง พอเป็นพระอรหันต์ก็หมดแล้ว หมดความรู้สึกแห่งตัวตน ส่วนปากพูดนี้ต้องพูดเหมือนชาวบ้านพูด ต้องพูดว่ามีตัวตนแต่ในใจนั้นไม่รู้สึกอย่างนั้น อย่างพระพุทธเจ้าเองท่านก็ตรัสว่าแม้ตถาคตมันก็พูดโดยเอ่อ,โวหารชาวเมือง ที่ชาวเมืองเขาใช้พูดกัน ถ้าไม่อย่างนั้นมันพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่ว่าเอ่อ,ตถาคตหาได้ถือเอาความหมายแห่งคำพูดนั้น เอ่อ,เหมือนกับ เหมือนกับที่ชาวเมืองเขาถือเอาไหม ต่างกันอยู่ตรงนี้ พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ก็ตามท่านตรัสพูด เอ่อ,ตรัสหรือพูดว่ามีตัวตน ถ้าไม่รู้สึกอย่างนั้น (นาทีที่ 24.27) ไม่อย่างนั้นไม่มีความรู้สึกแห่งตัวตน ก็พูดเพียงให้ชาวบ้านรู้เรื่อง เลยตั้งชื่อให้ท่านใหม่ว่า เป็นคนปากอย่างใจอย่าง ผมแนะขึ้นอย่างนี้ไม่มีคนเห็นด้วย เพราะว่าไอ้ปากอย่างใจอย่างเขาจัดไว้เป็นคนเลวคนพูดไม่จริง เดี๋ยวนี้ปากอย่างใจอย่างกลายเป็นคนดีที่สุดไปเลย ปากพูดว่าตัวตนแต่ความรู้สึกไม่มีว่าตัวตน พูดว่าของตนก็ไม่มีความ ไม่มีความรู้สึกว่าของตน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงจำเป็นที่จะต้องมีคำพูดเป็น ๒ประเภทอย่างที่ได้กล่าวแล้วแต่ครั้ง เอ่อ,การบรรยายครั้งแรก คือภาษาที่มีตัวตน ถ้าพูด เมื่อต้องพูดอย่างมีตัวตนเช่นว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ที่นี้เมื่อต้องถึงพูดถึงความจริง ก็พูดว่ามันไม่มีตัวตน อัตตาหิ อัตโนนัตถิ ตนของตนไม่มี ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าไม่ขัดกัน พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสอย่างที่เรียกว่าโลเลไม่คงเส้นไม่คงวา ท่านตรัสอย่างชัดเจนถูกต้องเที่ยงแท้ที่สุด แล้วแต่ว่าท่านจะพูดกับพวกที่มีตัวตนหรือจะพูดกับพวกที่ไม่มีตัวตน หรือว่าแม้แต่จะชักจูงเขาให้ไปสู่ความจริงที่ว่าไม่มีตัวตน ในพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ เราก็จะพบว่ามีทั้ง ๒ประเภท ประเภทที่พูดภาษามีตัวตนเอ่อ,อย่างชาวเมืองทั่วไปก็มี ประเภทที่ไม่มีตัวตนพูดเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ไปล้วนๆไม่มีตัวตนนี้ก็มี แต่เรายังไม่มีความอดทนพอที่จะไปสำรวจเอามาทำสถิติดูให้มันแน่นอนว่า เอ่อ,คำพูดประเภทไหนมันมีมาก ผมสันนิษฐานเอาเองว่าไอ้คำพูดประเภทจำนวนที่ว่ามีตัวตนนี้จะต้องมากเพราะท่านพูดตามสะดวก แต่จะจริงหรือไม่นี่ต้องไป เอ่อ,ต้องไปทดสอบกันอีกที เวลานี้ยังไม่มีโอกาสที่จะทดสอบ เอ้า,เป็นอันว่าเอ่อ,มีคำพูดอยู่ ๒ ประเภทในพระพุทธวัจนะ คือประเภทที่มีตัวตนและประเภทที่ไม่มีตัวตน ทีนี้ความเอ่อ,รู้สึกว่าตนนี่ มันถูกใช้ทับลงไปบนสิ่งที่มิใช่ตนหรือสิ่งที่มิใช่ตนมันถูกใช้ด้วยคำพูดว่าเป็นตัวตนมันก็เลยเป็นการถูกต้องทั้งสองฝ่าย เมื่อเราพูดอย่างมีตัวตนมันก็ถูกต้องอย่างมีตัวตนเมื่อเราพูดอย่างไม่มีตัวตนมันก็ถูกต้องอย่างไม่มีตัวตน ไม่ใช่ว่าดูที่บุคคลคนหนึ่งแต่ว่าแยกออกเป็นธาตุ ๖อย่าง มันก็อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วเมื่อตะกี้นี้ว่า ไอ้วิญญาณธาตุนั้นแหละมันทำพิษ มันกำกวมมันทำให้เกิดความเข้าใจไปว่ามันเป็นตัวตน ทีนี้ถ้าจะพูดว่ามีขันธ์ทั้ง ๕ คือคนเรานี้ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ คือรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่ ๕ขันธ์ คือจัดเป็นกลุ่มๆที่เราอาจจะรู้สึกมันได้ว่ามันเป็นกลุ่มหนึ่งๆก็เลยเป็น ๕กลุ่ม กลุ่มรูปคือร่างกาย กลุ่มเวทนาคือความรู้สึกต่อสัมผัสที่มากระทบ กลุ่มสัญญานั้นคือสำคัญมั่นหมายต่อสิ่งนั้นว่าเป็นอะไร กลุ่มสังขารน่ะคิดนึกกระทำสิ่งนั้น ไอ้กลุ่มวิญญาณนั้นก็คือรู้แจ้งในระยะแรกที่ เอ่อ,มีอะไรมากระทบทางตา ทางหู เป็นต้น กระทำการรู้แจ้งในระยะหลังคือรู้แจ้งต่อเวทนาขันธ์อีกทีหนึ่ง นี่ตอนนี้สำคัญมากฉะนั้นวิญญาณจึงมาอยู่รั้งท้ายมันทำหน้าที่สำคัญตอนรั้งท้าย มีเวทนาเกิดขึ้นใน ใน ใน ในจิตหรือในความรู้สึกแล้วมันมีมโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้สึกต่อเวทนานั้นอีกทีหนึ่ง มันก็สร้างสัญญามั่นหมายลงไปในเวทนานั้นอีกทีหนึ่งนั่นแหละจะเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกว่าเราว่าของเราขึ้นมา โดยเนื้อแท้มันก็เป็นเพียงความรู้สึกทั้งนั้นน่ะ ใน ใน ๔กลุ่มหลัง คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เป็นเพียงความรู้สึกหรือพฤติของจิตนั้น เพราะกลุ่มแรกนั้นก็หมายถึงรูปกาย ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งรองรับสำหรับให้กลุ่มที่เป็นพวกจิตพวกนามนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันได้ มันจึงถูกสมมติว่าเป็นเหมือนกับบ้านเรือน ร่างกายเหมือนกับบ้านเรือนไอ้จิตก็เหมือนกับคนที่อยู่ในเรือน ถ้าพูดทำนองนี้มันก็ชักจะเอียงไปหาวิญญาณขันธ์เป็นดวงวิญญาณ เป็นเจตภูตสิงร่างกายเข้าออกอีก มันก็เป็นไปได้ แต่ถ้าเราศึกษากันอย่างนักศึกษาในพุทธศาสนาจะไม่เกิดความรู้สึกอย่างนั้น นี่ยังรู้สึกว่าไอ้ ไอ้ร่างกายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุทางร่างกาย จะเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ทีนี้ไอ้ธาตุไอ้จิตน่ะที่เป็นตัวจิตเป็นความรู้สึกนี่มันก็ธาตุจิตหรือประกอบขึ้นเป็นธาตุจิต มันได้เข้าอาศัย เอ่อ,ที่ สิ่งที่เรียกว่าร่างกายมันจึงมีพฤติคือมี มีวิวัฒนาการแล้วก็มีพฤติไปตามวิวัฒนาการจนรู้สึกนึกคิดได้อย่างประหลาด วิวัฒนาการไม่มีที่สิ้นสุดน่ะ เอ่อ,สมรรถภาพของสิ่งที่เรียกว่าธาตุ ธาตุจิตนี้มันจึงเกิดความรู้สึกกันไปที่ ไปชั้นหนึ่งก่อนว่ามีตัวตนเพราะยังไม่รู้อะไรมาก เราต้องยอมรับว่าครั้งแรกมันก็ไม่มีใครรู้อะไรมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกไม่มีใครรู้เรื่องจิตเรื่องวิญญาณเรื่องข้อเท็จจริงอะไรทั้งหมด มันก็ต้องปล่อยมันตามธรรมชาติ เราก็มีความรู้สึกประเภทตัวตนมา รู้สึกว่าตัวตนในสิ่งที่มิใช่ตัวตน คือในสิ่งที่เป็นสรรพธรรมชาติล้วนๆเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยตามลักษณะของธรรมชาติล้วนๆ แต่ถ้าในสิ่งนั้นมันมีความรู้สึกเกิดขึ้นว่าเป็นตัวตนแล้วใครจะไปห้ามมันได้ ไม่มีใครจะไปห้ามกันได้เพราะมัน มันรู้สึกอย่างนั้นเหมือนๆกันหมด จนกว่ามนุษย์เรานี้จะมีความก้าวหน้าทางความคิดหรือการศึกษา เข้าใจได้ทีหลัง ตอนหลัง ระยะหลังว่าเกิดบุคคลประเภทพระพุทธเจ้าขึ้นมานี้จึงจะค่อยมองเห็นว่าเป็นธรรมชาติตามธรรมชาติเป็นธาตุนั้น ธาตุนี้ ธาตุนี้ เอ่อ,ธาตุโน้นพบมากขึ้นแล้วก็เลยบัญญัติว่าแม้แต่ไอ้ความรู้สึกมันก็ยังเป็นธาตุ ธาตุแห่งความรู้สึก เช่นว่าวิญญาณธาตุ แล้วที่พวกคุณ ไม่ อาจจะไม่เคยได้ยินก็ได้นะ ก็ไม่ๆค่อยจะได้มาเกี่ยวข้องกันนี้ เขาไม่ ก็จะไม่เคยได้ยินว่ารูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุเป็นต้น เป็นธาตุไปหมด อ้าว,เมื่อมัน สิ่งเหล่านี้มันเป็นธาตุ แล้วผลิตผลต่างๆที่มันออกมาจากสิ่งเหล่านี้ก็เลยเรียกว่าธาตุไปหมดเลย กระทั่งว่ามันเป็นธาตุดี ธาตุชั่ว เอ่อ,ธาตุที่ไม่เรียกว่าดีไม่เรียกว่าชั่ว เป็นกุศลธาตุ อกุศลธาตุ อพยากตธาตุ(นาทีที่34:00) เอ้า,เป็นธาตุไปหมด มีพุทธบริษัทที่แท้จริงมันมองเป็นธาตุไปหมดไม่ว่าอะไรแม้แต่สิ่งสูงสุดที่สุดคือพระนิพพานก็คือธาตุ ยังมีคำว่านิพพานธาตุขึ้นมาใช้ จะยกอะไรขึ้นมา เอ้า,ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุ ต่ำสุดมันก็เป็นธาตุขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งสูงสุดคือนิพพานก็คือธาตุ ดังนั้นจะเห็นว่าเป็นธาตุเต็มไปหมดนะ แล้วแต่จะจัดไว้เป็นหมวดไหนเรียกชื่อว่าอย่างไร มันจึง เอ่อ,จึงเห็นได้ชั้นหนึ่งว่า ไอ้ความรู้สึกว่าตัวตนน่ะมันสำคัญมั่นหมายลงไปบนสิ่งที่มิใช่ตัวตน มันก็คือธาตุนี่เอง ถูกสำคัญว่าเป็นตัวตน ทีนี้จะดูถึงวิธีที่มันเกิดความสำคัญมั่นหมาย เอ่อ,ขึ้นมาอย่างผิดๆนี้สักนิดหนึ่งก็ได้ มันมีรายละเอียดมากพูดครั้งเดียวไม่พอ ก็อย่างที่เมื่อ เอ่อ,กล่าวมาแล้วเมื่อตะกี้นี้ว่าธาตุทั้งหลายนี่ มันล้วนแต่มีคุณสมบัติของมัน ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ซึ่งหมายถึงคุณสมบัติ เอ่อ,แห่งวัตถุนั้นๆ คุณสมบัติที่ทำให้เกิดเนื้อที่ เอ่อ,เกิดการกินเนื้อที่ขึ้นมาเรียกว่าของแข็ง นี่ก็เรียกว่าธาตุดิน คุณสมบัติที่ทำให้เกาะกลุ่มกันไม่แยกออกจากกันนี่เขาเรียกว่าธาตุน้ำ คุณสมบัติที่มันเผาไหม้ ร้อน ก็เรียกว่าธาตุไฟ คุณสมบัติที่ระเหยเคลื่อนที่ไปมาได้ นี่ก็เรียกว่าธาตุลม ในวัตถุก้อนหนึ่งมีทั้ง ๔ธาตุ ทีนี้ถ้าว่าในสิ่งที่มีชีวิตมันก็มีวิญญาณธาตุเข้าไปด้วย ส่วนอากาศธาตุที่ว่างนั้นเป็นเหมือนกับพื้นฐาน สำหรับให้เป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งธาตุทั้งหลาย ถ้าไม่มีอากาศธาตุคือที่ว่างแล้วสิ่งทั้งหลายมันจะตั้งอยู่บนอะไรได้ มันต้องมีที่ว่างเรียกว่าอากาศธาตุเป็นธาตุพื้นฐานอีกธาตุหนึ่ง เมื่อมันได้เข้ากลุ่มกันอย่างนี้แล้วมันก็มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น แม้รูปธาตุล้วนๆมันก็ยังวิวัฒนาการ ทีนี้มันมีไอ้วิญญาณธาตุเข้าไปเจือมันก็ยิ่งวิวัฒนาการ มันมีสิ่งที่มีชีวิตระดับพืช ระดับสัตว์ ระดับคน ทีนี้มาถึงระดับคนนี้ ไอ้ธาตุเหล่านี้มันมีคุณสมบัติ เอ่อ,สูงสุด โดยเฉพาะในด้านความรู้สึกคิดนึก มันคิดนึกอย่างไรก็ได้ มันก็ต้องคิดนึกไปตามสิ่งแวดล้อมให้คิดนึกอย่างไร สิ่งแวดล้อมมันก็ต้องคิดนึกเป็นทำนองให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตนว่าของตน มันเป็นธรรมดาที่เราจะต้อง ที่สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความรู้สึกว่าตัวตน ฉะนั้นความรู้สึกว่าตัวตนนี้มันก็เป็นธาตุๆหนึ่งด้วยเหมือนกัน ที่เรารู้สึกว่าตัวตน ว่าตัวกูว่าของกูนี้ ความรู้สึกอันนี้ก็เป็นธาตุๆหนึ่งด้วยเหมือนกัน คุณไม่เคยเล่าเรียนคุณก็ไม่รู้ว่าธาตุอะไร อย่างผมเคยเรียนเคยทำมามากก็รู้ อ้าว,มันสัญญาธาตุ เรียกว่าสัญญาธาตุ เป็นธาตุหนึ่งในธาตุทั้ง ๕ คือ รูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุ ถ้ามันทำหน้าที่ของมันมากกว่านั้นในขณะที่สำคัญจะมีความรู้สึกจริงจังน่ะก็ไปเรียกมันว่าขันธ์ใช่ไหม เป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่างนี้ตามธรรมดาเขาเรียกว่าธาตุ คงจะแปลกสำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินแต่ในพระบาลีมันมีอย่างนั้น เอ่อ,เขาเรียกว่า จักษุธาตุ โสตธาตุ ฆานะธาตุ ชิวหา เอ่อ,จักษุธาตุ โสตธาตุ ชิวหาธาตุ เอ่อ,จักษุธาตุสำหรับเห็น โสตธาตุสำหรับได้ยิน ฆานะธาตุ เอ่อ,สำหรับรู้กลิ่น ชิวหาธาตุสำหรับรู้รส กายธาตุสำหรับรู้สัมผัสทางผิวหนัง แล้วก็ มโนธาตุ ธาตุใจรู้อารมณ์ที่เป็นนามธรรมโดยการ แม้แต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ถูกจัดเป็นธาตุ จะเอ่อ,จะไม่มีที่ตั้งแห่งตัวตนตรงไหนเลย ทีนี้พอมันทำหน้าที่รุก(นาทีที่ 39.04)จากความเป็นธาตุเข้ามาความ มาสู่ความเป็นอายตนะ เขาก็เรียกอายตนะทางตา อายตนะทางหู คือจักขุ อายตนะโสต อายตนะฆานะ อายตนะชิวหา อายตนะ อายตนะกาย อายตนะมโน อายตนะ พอเป็นอายตนะเราก็ทำหน้าที่ให้เกิดความรู้สึกเต็มที่แล้ว ไอ้กายนี่ก็กลายเป็นรูปขันธ์ไปในขณะนั้นเฉพาะขณะนั้น มันก็เกิดไอ้ความรู้สึกประเภท เอ่อ,เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งก่อนหน้านั้นมันเป็นเพียงรูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุเท่านั้นเอง นี่ธาตุตามธรรมชาติมีอยู่อย่างนี้ มันเดี๋ยวก็ถูกกระทำขึ้นมาเป็นอายะตะนะภายในภายนอก เดี๋ยวก็ถูกปรุงขึ้นมาเป็นสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ในบุคคล ทีนี้ถ้าไปยึดถือในขันธ์แต่ละขันธ์เข้ามันก็เป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นมา สำหรับหนักแก่จิตใจที่ยึดถือนั้นนั่นน่ะคือตัวความทุกข์ ทีนี้คนเราจะไปเอาส่วนไหน ธาตุไหน หรืออายตนะไหนเป็นตัวตนก็ได้มันแล้วแต่ความรู้มากรู้น้อยของคนเหล่านั้น บางคนโง่มากก็ไปยึดเอาร่างกายเป็นตัวตน คนฉลาดกว่านั้นมันก็เห็นว่าสังขารนี้ไม่มีอะไรหรอกไปยึดเอาทางจิตใจดีกว่า เอาทางจิตใจเป็นตัวตน แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่รู้ว่าจะไปยึดเอาเวทนาหรือเอาสัญญาหรือเอาสังขารหรือเอาวิญญาณ ส่วนมากมันจะนึกและจะไปยึดเอาไอ้สังขารคือความคิดนึกเป็นตัวตน พอเราคิดได้ว่า เออ,มันต้องมีตัวตนกูคิด อย่างพวกฝรั่งที่มีหลักของเขาว่าฉันคิดได้ของฉัน มีอยู่ คนที่ชื่อเดสกา(นาทีที่ 41.18) เมื่อสัก ๒-๓ร้อยปีมานี้ แสดงว่าเขามันอนุมานเอานี่ คือความคิดนั้นมันเป็นความสำคัญมั่นหมายคืออนุมานเอา มันก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าตัวตนได้ นี่ผมอาจจะพูดมากเกินจำเป็นไปแล้วก็ได้สำหรับพระบวชใหม่นะ แต่มันก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรว่านี่คือหัวใจพุทธศาสนา คือความไม่รู้มันจะทำให้ไปสำคัญมั่นหมายเอาสิ่งที่ไม่ใช่ตนมาเป็นสิ่งที่เรียกว่าตัวตนขึ้นมา ทีนี้มันไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นนี่ ว่ารู้สึกตัวตนว่ารู้สึกเห็นแก่ตนมันก็มีกิเลส ตัวตนมันอยากได้ขึ้นมามันก็โลภๆมันก็ทำไปตามความรู้ เมื่อตัวตนไม่ได้อย่างใจมันก็โกรธขึ้นมา บันดาลโทสะขึ้นมามันก็ทำอย่างโทสะ หรือมันไม่รู้ว่าทำอย่างไรดีมันก็หลงใหลสงสัยบ้าง วิตกกังวลบ้างมันก็เป็นโมหะ นี่โลภะ โสทะ โมหะมันก็เป็นปัญหาทำให้ผู้นั้นเดือดร้อนทำให้สังคมเดือดร้อน ปัญหาของมนุษย์มันก็อยู่ที่ไอ้กิเลสนี่เอง แม้แต่กิเลสนี้ก็เป็นธาตุเรียกได้เลยล่ะว่าธาตุโลภะ ธาตุโทสะ ธาตุโมหะ แต่เราจะไม่เห็นจะไม่รู้สึกว่ามันมีตัวกูเดือดจัดอยู่ด้วยความโลภบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง มันก็เป็นทุกข์ไปทั้งที่ได้รู้ ทุกๆคนมันก็เหมือนกันหมดมันก็เลยเป็นเหมือนกับว่ากลุ่มแห่งบุคคลผู้ไม่รู้และมีความทุกข์ ไม่มีความรู้อยู่ในนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นพุทธะ ต่อเมื่อมีความรู้จึงจะเรียกว่าเป็นพุทธะ พระพุทธ พระพุทธเจ้าก็เป็นจอมโจก(นาทีที่ 43.11)ของพุทธะ ผู้ที่รู้น้อยๆต่ำลงมาก็เป็นพุทธะตามธรรมดา แต่ถ้ารู้จนขนาดดับทุกข์ได้นี้ก็จะเรียกว่าเป็นพุทธะเต็มขีดนะ พระพุทธเจ้านั่นท่านมีคำประกอบว่าสัมมาสัมพุทธะนะ นี่เราเอาแต่เพียงพุทธะเฉยๆก็พอ ไม่รู้ ไม่ ไม่โง่เขงาด้วยอวิชชา แม้แต่เริ่มรู้ว่าไม่มีตนที่แท้จริงมีแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เท่านี้ก็เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม เป็นจุดตั้งต้นของการรู้โดยสมบูรณ์ รู้จุดตั้งต้นของความถูกต้องขนาดนี้เขาจัดไว้เป็นพระโสดาบันเลยนะ แม้ว่าจะยังละไอ้ความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ แต่เมื่อเริ่มรู้แล้วว่าไม่มีอะไรนอกจากไอ้สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย มันก็มีความเกิดเป็นธรรมดามีความดับเป็นธรรมดา นี่มันจะเริ่มรู้ไปในทางที่ไม่ใช่ตัวตนไม่มีตัวตน แต่รู้ไม่ถึงที่สุดเป็นจุดตั้งต้น ฉะนั้นคนที่จะละจากความเป็นปุถุชนเข้าไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าก็คือเริ่มรู้จุดตั้งต้นที่ว่า มันไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน การรู้สึกที่ว่าตัวตนน่ะมันตั้งลงไปบนสิ่งที่ไม่ควรจะเรียกว่าตัวตน ฉะนั้นการที่เรารู้ว่าไอ้ความโง่ว่าตัวตนนี้มันสวมทับลงไปบนสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน นี้ก็เป็นความรู้ที่มีค่ามาก เป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์มากที่จะดำเนินเรื่องราวไปให้ถูกต้อง ขอให้ถือเอาว่าเป็นธรรมปาฏิโมกข์ข้อหนึ่ง เป็นหัวข้อสูงสุดในทางธรรมที่ต้อง ที่จะต้องตั้ง เอ่อ, ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติให้อย่างดีที่สุดอย่าให้เสียทีที่ประกาศตัวเองออกมาเป็นผู้บวช พวกบวชใหม่เหล่านี้ก็เป็นผู้ประกาศตัวตนออกมาว่าเป็นผู้บวชเพื่อแสวงหาไอ้ความรู้หรือปฏิบัติธรรมะในชั้นที่มันเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา ฉะนั้นก็จะพูดเสียเลยวันละเล็กวันละน้อยพร้อมกันไปทีเดียวว่าคุณจะมีชีวิตเป็นอยู่กันอย่างไร มันจึงจะเป็นการศึกษาสิ่งนี้พร้อมกันไปในตัว มันก็อย่างที่พูดมาแล้วหลายครั้งหลายหนว่าให้มีสติสัมปชัญญะคอยกำหนดรู้ หรือรู้สึก หรือรู้จัก ไอ้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองเป็นประจำวันแล้วความรู้สึกชนิดไหนล่ะมันที่มันเป็นตัวตนหรือเป็นตัวกูขึ้นมาอย่างโง่เขลาที่สุด เมื่อรู้สึกเป็นตัวตนขึ้นมาอย่างโง่เขลาที่สุดมันก็พูด มันก็ทำ แล้วมันก็คิดไปตามความโง่เขลาอันนั้น มันยังมีการพูด การทำ การคิดที่เป็นการเห็นแก่ตน ทำตนให้เป็นทุกข์เดือดร้อน แล้วก็กระทบกระทั่งกันกับบุคคลอื่น ก็ทำให้เดือดร้อนกันทั้ง ๒ ฝ่าย แม้เป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังทะเลาะวิวาทกัน ฉะนั้นถ้ามีการกระทบกระทั่งกันในหมู่ภิกษุสามเณรแล้วก็ควรจะรู้สึกละอายให้มาก ละอายอย่างที่ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปซ่อนไว้ที่ไหน เพราะตัวกูของกูมันเดือดขึ้นมาจนถึงขนาดกระทบกระทั่งวิวาทกันนี้มันไม่สมควรแก่ความเป็น เอ่อ,สมณะของเราเลยนี่ นุ่งผ้ากาสายะ นุ่งห่มผ้ากาสายะ เครื่องหมายของพระอรหันต์โกนผมอะไรต่างๆซึ่งล้วนแต่แสดงตัวเป็นสมณะ แต่แล้วมันไม่สมณะคือมันไม่สงบมันมีตัวกูของกูพลุ่งขึ้นมาถึงขนาดร้อนเร่าๆอยู่บ้าง ขนาดไปกระทบกระทั่งผู้อื่นบ้าง ขอให้ถือโอกาสนี้นะเป็นโอกาสที่ประเสริฐที่สุดสำหรับศึกษาเรื่องนี้ และ ขอ ขอให้ถือโอกาสนี้เป็นโอกาสที่ประเสริฐที่สุดสำหรับฝึกฝนการบังคับตัวเอง การบังคับเอ่อ,ความอด ให้เกิดความอดกลั้นอดทน อย่างได้เผลอพูดหรือทำไปด้วยการบันดาลโทสะแห่งตัวกูของกู เพียงแต่มันระอุอยู่ในใจคนเดียวมันก็เลวเต็มทีแล้ว มันเลวมากแล้ว มันทุกข์มากร้อนมากแล้ว ถ้ามันทะลุออกมาข้างนอกจนไปกระทบกระทั่งผู้อื่นนั้นมันเลวๆเกิน เกินที่จะพูดละทีนี้ นี่ นี่ นี่พูดในมาตรฐานของภิกษุของสมณะของบรรพชิตนะ ถ้าพูดอย่างชาวบ้านอย่างปุถุชนคนธรรมดาเขาก็พูดไปอีกระดับหนึ่งนะ คือเขาอาจจะไม่จัดว่าเลวมากก็ได้ แต่ถ้าสำหรับเราผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะปลงผมถ้าอะไรต่ออะไรอย่างนี้ละก็ มันต้องถือว่าในระดับที่เลวมาก ถ้าตัวกูของกูมันขึ้นกันมา เป็นไฟอยู่ภายในแล้วมันร่วงลงมาภายนอกไปเผาคนนั้นคนนี้เสีย แล้วบางทีก็ทำให้ร้อนกันไปทั้ง ทั้งหมดเลย นี่ก็ดูไปอีกหน่อยว่าทั้งโลกมันก็เป็นอย่างนี้ ในหมู่คนที่มิใช่สมณะ มิใช่นักบวชมันก็อาการอย่างนี้ แต่แล้วเขาก็ไม่ได้ควบคุมกันเลยเขาปล่อยไปตามความรู้สึกของเขาแล้วมันจะมีการเบียดเบียนกันมาก แม้ว่าจะรักดี มันก็ดีไปแต่ในทางที่มีตัวกู มีของกู เห็นแก่ตัวกู เห็นแก่ของกู จึงทำให้โลกนี้มีวิกฤตการณ์เต็มไปหมด คือความเดือดร้อนระส่ำระสาย ไม่พึงปรารถนา ผิดไปจากปกติธรรมดา นี่เรียกว่าวิกฤต ก็เพราะเหตุสิ่งเดียว มูลเหตุสิ่งเดียวจากสิ่งๆเดียวคือความรู้สึกว่าตัวตน ที่มันเดินไปสวมทับเข้าแล้วบนสิ่งที่ตามธรรมชาติแท้ๆก็ไม่ใช่ตัวตนอะไร ไปดูให้ดี เอ่อ,คนที่มันร่ำรวยมาก มีอำนาจมาก มีเกียรติยศชื่อเสียงมาก มันมีตัวตนจัดมากมันก็ยิ่งมีความโง่มาก นี่โลกเรานี้มันก็เดือดร้อนอยู่ด้วยพิษสงอันร้ายกาจของตัวตนที่ควบคุมไว้ไม่ได้ ทีนี้หลักปฏิบัติมันก็คือจะต้องควบคุมไอ้ความรู้สึกตัวตนนี้ให้ได้ นี่เป็นหลักกำปั้นทุบดินนะ คือว่ามันมีมูลเหตุมาจากความรู้สึกว่าตัวตน ฉะนั้นหลักปฏิบัติมันจึงมีอยู่ที่ว่า เอ่อ,ควบคุมตัวตนให้ได้ ทีนี้มันก็มีปัญหาเกิดขึ้นมาเยอะแยะไปหมด พอเมื่อตัวตนมันเป็นเสียเองอย่างนี้แล้วจะเอาตัวตนไหนเล่ามาควบคุมตัวตนนั้น จะเอากำลังอะไรที่ไหนมา คำพูดมันก็ย้อนมาเป็นกำปั้นทุบดินอีกทีหนึ่ง ก็เอาตัวตนนั่นแหละควบคุมตัวตน อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสอย่างนั้นท่านไม่ได้ตรัสอย่างอื่น ที่ว่า “อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน” คนก็ถามว่าไอ้ตัวตนนี่มันเห็นแก่ตน มีกิเลสแล้วมันจะเป็นที่พึ่งของตนได้อย่างไร นี่คำตอบมันหลายระดับมาก แม้มันทำผิดๆอยู่มันก็พูดว่าทำที่พึ่งแก่มันนั้นแหละ ไอ้ตัวตนอันธพาลนั้นมันก็รู้สึกว่ามันมีตัวตนมันน่ะเป็นที่พึ่งแล้วมันก็อย่างนั้นจริงด้วย เดี๋ยวนี้เราจะพูดกันแต่ในตัวตนฝ่ายดี และเราก็ต้องอบรมตัวตนเรานี่ให้มันดี ดีขึ้น ดีขึ้น นี่ละไอ้ตัวตนที่เลวความรู้สึกที่เป็นตัวตนที่เลวน่ะมันจะค่อยๆหายไป มันมีความรู้สึกที่ดีกว่า ดีกว่า เกิดขึ้นมาแทน มีคำที่ เอ่อ,ควรจะจำไว้ตั้งแต่เนิ่นๆก็ได้แม้จะไม่ใช่พุทธภาษิต เป็นคำของพระอานนท์มาอาศัยความอยากนี่ละความอยากเสีย เอ่อ,อาศัยความถือตัวนั่นแหละละความถือตัวเสีย ถ้าเป็นบาลีก็ว่าอาศัยตัณหาละตัณหา อาศัยมานะละมานะ ตัณหานี่คือความอยากด้วยอำนาจของความโง่ ความอยากด้วยอำนาจแห่งความโง่เรียกว่าตัณหา เอาอะไรมาละมัน มันก็ต้องเอาความอยากนั่นแหละละความอยากเสีย แต่มันเป็นความอยากที่ถูกกว่าหรือดีกว่าขึ้นมาสักนิดหนึ่ง ถ้าเราอยากจะทำเลวก็เอาความอยากที่อยากจะดีกว่าหรือเลวน้อยนั่นแหละมาละไอ้ความอยากนี้เสีย อย่างนี้ขึ้นไปเป็นลำดับ ลำดับไป ความอยากนั้นมันก็จะถูกละไปด้วยความอยาก แต่ท่านอธิบายไว้แยบคายกว่านั้นว่าเราเต็มไปด้วยความอยากที่ทำให้เกิดความทุกข์ เรามีความทุกข์อยู่ด้วยความอยาก ทีนี้ก็เหลือบไปดูอีกทางหนึ่งเห็นบุคคลบางคนเขาละความอยากได้ เป็นพระอรหันต์ปรากฎอยู่ไม่มีความทุกข์เลยเราก็เลยอยากเป็นพระอรหันต์อย่างเขาบ้าง ก็คือความอยากที่จะเป็นพระอรหันต์นั้นน่ะช่วยกำจัดไอ้ความอยากอย่างอันธพาลของผู้นั้นเสีย อย่างนี้ก็เรียกว่าอาศัยความอยากละความอยากในระดับสูงสุด ที่ว่าอาศัยมานะละมานะเหมือนกันนั่นแหละ เรามีมานะทิฐิกิเลสทั้งนั้น กิเลสกระด้างเรียกว่ามานะกิเลสที่ทำให้เรากระด้าง ทุกชนิดแหละเขาเรียกว่ามานะ ยิ่งมองเห็นว่าท่านที่ละมานะได้เป็นผู้เป็นสุขสบายเป็นพระอรหันต์ก็มีอยู่ ฉะนั้นเราสร้างมานะในทางที่ดีกว่า สร้างมานะในทางที่จะแข่งขันกับพระอรหันต์ให้เราก็เป็นพระอรหันต์ได้ด้วยสักคนหนึ่ง ฉะนั้นมานะอันนี้ก็ช่วยละมานะที่เลวๆ ก็ใช้คำๆเดียวกันว่าตัณหาละตัณหา มานะละมานะ เดี๋ยวนี้เมื่อมาถึงคำว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตน หรือว่าตนที่เป็นความรู้สึกของกิเลสนี้ มันจะเอาอะไรเป็นที่พึ่ง มันก็เอาตนที่ค่อยๆลืมหูลืมตามาในทางของความถูกต้อง ก็เอานั่นแหละเป็นหลักสำหรับจะทำที่พึ่งให้แก่ตน ทีนี้มันมีความหมายที่ละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า ถ้าไม่ทำเองแล้วใครจะทำให้ ไอ้ตัวตนไหนมันเป็นทุกข์ตกนรกเป็นร้อนเป็นไฟอยู่ ถ้ามันไม่ช่วยตัวมันเองแล้วตัวตนที่ไหนจะมาช่วยมัน พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ มันก็เข้าในรูปว่าตนน่ะต้องทำที่พึ่งแก่ตน แล้วตนที่มันเป็นทุกข์อยู่มันเกิดสำนึกขึ้นมาบ้างแม้จะเล็กน้อยมันก็เปลี่ยน เอ่อ,เปลี่ยนความหมายเปลี่ยนไอ้หลักการที่มันผ่านเข้ามาทำเป็นตัวตนในทางถูกต้อง ทีนี้ก็ยังมีพระพุทธภาษิตที่ต่อเนื่องกันไปว่า “อัตตาหิ อัตตโนคติ ตนนั่นแหละเป็นคติของตน” คตินี้ ถ้าตัวหนังสือแท้ๆมันแปลว่าการไป แต่ความหมายของมันก็คือ บทสำหรับจะศึกษาหาข้อเท็จจริงให้รู้ทางไป อะไรที่จะช่วยให้เรารู้ทางไป อันนั้นเป็นคติ ทีนี้เรามีตนนั่นแหละเป็นคติของตน ดังนั้นก็ต้องเอาความเลวของเรานั่นแหละเป็นคติก่อน ความผิดของเรานั่นแหละเป็นคติก่อน ความทุกข์ที่เราได้รับอยู่น่ะเป็นคติก่อน แล้วก็ค่อยไต่ขึ้นมาหาสิ่งที่มันตรงกันข้าม ฉะนั้นตนที่เลวมันก็เป็นคติแก่ตนได้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วคนมันเข็ดหลาบไม่ได้ คนมันกลับตัวไม่ได้ เดี๋ยวนี้คนมันกลับตัวได้รู้จักเข็ดหลาบก็เพราะมันมีตนที่เลวของมันเองแหละเป็นคติของมัน ตนนั้นก็เป็นคติแก่ตนนั้นได้ ดังนั้นตนนั้นก็เป็นที่พึ่งของตนได้ นี่ก็เป็นหลักของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญที่สุด เอ่อ,อีกข้อหนึ่งต่อจากข้อที่แล้วมา ข้อที่แล้วมาก็ว่าความรู้สึกว่าตนนั้นสวมทับไปบนสิ่งที่มิใช่ตนมันจึงทำผิดความจริง เดี๋ยวนี้เมื่อจะแก้ปัญหานั้นก็ให้ตนนั่นแหละเป็นคติแก่ตนเป็นบทเรียนแก่ตน แล้วก็ทำที่พึ่งให้แก่ตน เราจึงเห็นได้ว่าไม่มีข้อขัดขวางอะไรเลยในพระพุทธวัจนะทั้งหมดทั้งสิ้น แม้ว่าบางคราวจะตรัสว่ามีตนเป็นที่พึ่งของตน แต่แม้ว่าเราจะตรัสว่าตนของตนนั้นมิได้มี ที่มันเห็นว่าเป็นของขัดกันเข้ากันไม่ได้นี้เพราะความไม่รู้ของเราเอง นี้ก็เป็น ถือเป็นหลักไว้อย่างหนึ่งว่าอย่าใช้ความไม่รู้ของตนเองนั้นให้มันพรวดพลาดนักมันจะโง่หนักขึ้นไปอีก ฉะนั้นถ้าเราไม่รู้อะไรก็ต้องยับยั้งไว้บ้างเพื่อจะเป็นโอกาสให้มันรู้ เพราะฉะนั้นเราอาจจะรู้ได้ เอ่อ,จากสิ่งที่เราเห็นว่าไม่น่าจะสนใจ ถ้าสมมติว่าเราจะฟังคำพูดของเด็กๆด้วยความรู้สึกไอ้ยกหูชูหางของเราเอง คือมีมานะจัด ยกหูชูหางตัวเองเต็มที่เป็นคนแก่เป็นคนเล่าเรียนมากมีอะไรมาก และเราก็จะไม่ฟังคำพูดของเด็กๆ หรือว่าถ้าเราจะฟังคำพูดของเด็กๆก็ฟังอย่างไม่เป็นการฟังเลย แล้วมันอวดดีมันๆจะไม่ได้รับความหมายหรือจะไม่รู้สึกต่อความหมายคำพูดแม้ของเด็กๆนั้นอย่างเต็มเปี่ยม เราจะโง่กว่าเด็กๆโดยไม่ทันรู้ก็ตรงนี้ ฉะนั้นพระแก่ก็จงฟังคำพูดของพระหนุ่มๆให้ดีๆ แม้พระหนุ่มๆที่มีปริญญาลากหางมา มาบวชนี้ก็จงฟังคำพูดของพระหนุ่มๆที่ไม่มีหางเลยนั่นแหละให้ดีๆมันก็อาจจะรู้อะไรได้มากเหมือนกัน ถ้าเราเป็นผู้ เอ่อ,ตั้งตัวเป็นผู้สูงมีมานะทิฐิด้วยตัวกู ของกู เสียเต็มที่แล้ว มันยากเหลือเกินน่ะที่มันจะรับอะไรเข้ามาได้ กระทั่งมันไม่รู้จักแม้แต่ตัวเองก็เลยไม่รู้จักแม้แต่ผู้อื่น ไม่รู้จักแม้แต่คำพูดหรืออะไรของตัวเองก็ไม่รู้จักคำพูดของผู้อื่น ฉะนั้นบทเรียนสำหรับที่จะขจัดไอ้ตัวกูของกูนี้มันมีอย่างละเอียดประณีตสุขุมที่สุดแม้ในชีวิตประจำวัน จึงขอร้องว่าอย่าประมาทเลย อย่าเล่นหัวกันอยู่เลย อย่าหัวเราะซนระริกซิกซี้กันอยู่เลย ไม่ใช่มารยาทแห่งบรรพชิตแล้ว การบวชนี้จะละความเป็นฆราวาสโดยสิ้นเชิง จริตกริยาอาการของฆราวาสต้องละโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการเล่นหัวตามสบายใจ ขอให้รีบละเถอะมันจะติดมาและมาประพฤติกระทำอยู่แม้เมื่อบวชแล้ว เช่นเมื่อฉันอาหารก็คุยกันฟุ้งไปนั้นน่ะ มันเป็นเรื่องผิดพลาดที่มันติดมาแต่สมัยฆราวาส ฉะนั้นก็หยุดพูดเลย (นาทีที่ 1.01.22) ค่อยฉันอาหารมันผิดวินัยด้วย และมันทำความประมาทในทางธรรมด้วย เมื่อใดมีการหัวเราะเมื่อนั้นก็มีประมาทคือมีอวิชชา เพราะฉะนั้นเราจึงระมัดระวังอย่าให้ อย่าให้มีการปล่อยไปตามอำนาจของกิเลสเลย ไปอาบน้ำกันหลายๆองค์ก็เล่นหัวกัน จะดื่มน้ำปานะพร้อมๆกันหลายองค์ก็เล่นหัวกัน หรือมีโอกาสที่จะเล่นหัวกันเมื่อไรก็ยังเล่นหัวกัน ขอให้ถือว่านั้นเป็นเวลาที่ประมาทแล้ว ไม่รู้จักตัวกูไม่อาจจะรู้จักความรู้สึกประเภทที่เป็นอวิชชาได้ เพราะว่าตัวกูมันถือโอกาส เอ่อ,ถือโอกาสตามใจตัวกูมากเกินไป อยากหัวเราะเมื่อไรก็หัวเราะเมื่อนั้น อยากหยอกกันเมื่อไรก็หยอกกันเมื่อนั้น อยากจะโกรธกันเมื่อไรก็โกรธกันเมื่อนั้น อยากจะด่ากันเมื่อไรก็ด่ากันเมื่อนั้น นี่ตัวกูมันได้ถือโอกาส เอ่อ,เอามากเกินไปแล้ว มันก็กลบไอ้ มันก็ทับถม มีอาการมันก็กลบไว้ กลบไว้ กลบไว้ คือนิสัยหรืออนุสัยแห่งกิเลสนี่มันจะถูกหมักหมมไว้ หมักหมมไว้ หมักหมมไว้ มันก็เลยยิ่งแก้ยากขึ้นทุกที เราหวังกันอยู่ว่าในการที่เข้ามาบวชนี้เราจะเป็น ถือเอาเป็นโอกาสเพื่อจะละอนุสัย อนุสัยคือความเคยชินในการทำผิด คำว่าอนุสัยนี่แปลก ใช้แต่ฝ่ายชั่วฝ่ายเลวน่ะ ที่จริงมันก็คือความเคยชินของสิ่งที่เราทำอะไรซ้ำๆซากๆ ถ้าเราทำบุญซ้ำๆซากๆก็เป็นอนุสัยฝ่ายบุญเหมือนกันแต่เขาไม่เรียก แต่เขามาเรียกฝ่ายบาป เขาทำผิดเล็กผิดน้อย เอ่อ,กี่ครั้งมันก็เพิ่มความเคยชินอย่างนั้นมากขึ้น ทีนี้เรารู้สึกว่าเราควรจะมาบวชเสียสักที สามวันสามเดือนก็ยังดี จะเป็นโอกาสแคะไอ้อนุสัยที่หมักหมมนี้ ก็นับว่าเป็นความคิดที่ดีมากนะ ทีนี้พอบวชเข้าแล้วเราก็ไม่ได้ทำอย่างนั้นและยังเพิ่มความเคยชินอย่างเดิมๆผิดๆอีก มันก็ไม่ไหวสิ มันก็ยิ่ง เอ่อ,ยิ่งขาดทุนหนักขึ้นไปอีก ฉะนั้นขอให้สังเกตุ ให้เอ่อ,ศึกษาพิจารณาให้พบ แล้วก็มีบทเรียนสำหรับจะแกะอนุสัย แต่ต้องใช้คำว่าแกะอนุสัยสักหน่อย ก็ยังจะมากไปด้วยซ้ำไอ้แกะอะไรเป็นชิ้นๆนี่แล้วเรา(นาทีที่ 1.04.23)เก่งมากเร็วมาก แต่นี้เพียงแต่จะขูดผิวๆออกไปมันก็ยังไม่ค่อยจะได้ ถึงอย่างไรก็ดีขอให้ถือเป็นโอกาสที่จะขูดหรือจะแกะหรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก ให้อนุสัยคือการสะสมแห่งกิเลสมัน มันน้อยลงไป น้อยลงไป น้อยลงไป ด้วยการเป็นอยู่อย่างบรรพชิต การกินอาหาร การนุ่งห่ม การอยู่อาศัย การเจ็บไข้ที่มีการบำบัดอะไรก็ตามให้มันเป็นการขูดเกลาอนุสัยอยู่เสมอ อย่างกินอาหารนี่ขอให้กินอาหารอย่างที่เป็นการปฏิบัติธรรม ถ้าไปหัวเราะกันเสียที่โรงฉันหรือที่ฉันอาหารแล้วไม่มีการปฏิบัติธรรมในขณะที่มีการกินอาหาร ฉะนั้นเราจะกินอาหารอย่างที่เป็นการปฏิบัติธรรมคือตามบทที่ท่านมีไว้ก็ขอให้พิจารณายะถา ปัจจะยังก็ดี ปะฏิสังขาโยก็ดี รู้ความหมายแล้วพิจารณาไปตามนั้น อย่าให้มันเป็นเรื่อง เป็นเรื่องที่มัวเมาหรือว่าเป็นเรื่องไม่มี เอ่อ,ไม่มีโอกาสแห่งการปฏิบัติธรรม เพราะไปหัวเราะกันเสียเวลากินอาหารบ้าง ไปขัดใจว่าอาหารไม่ถูกปากบ้าง ไปหลงใหลว่าอาหารมันถูกปากบ้าง ในทางวินัยก็เสียหมด ในทางธรรมก็เสียหมด ไม่ได้กินอาหารด้วยความรู้สึกว่า นี้กินอย่างสักว่ากินเนื้อลูกกลางทะเลทราย หรืออีก อีก อีกบทหนึ่งก็ว่าเหมือนกับอย่างน้ำมันที่หยอดเพลารถเพลาเกวียน เมื่อได้อาหารที่ไม่ถูกปากบางเวลานะ คือน้อยด้วยเลวด้วยชืดด้วย ภิกษุสามเณรองค์ไหนทำความรู้สึกได้ว่านี้มันเป็นการกินอย่างหยอดน้ำมันให้แก่เพลารถหรือเพลาเกวียนเท่านั้น นี่ถูกแล้ว เมื่ออยู่ที่บ้านเป็นฆราวาสเราไม่ไปกินอาหารอย่างหยอดน้ำมันเพลารถหรือเพลาเกวียนเลยเรากินด้วยความตะกละ แล้วโอกาสไหนล่ะที่เราจะมาฝึกฝนไอ้การกินอาหารชนิดที่ว่าเพียงเพื่อชีวิตนี้อยู่ได้ อย่างกับเขาหยอดน้ำมันให้เพลารถเพลาเกวียนนั้น จาระบีอะไรก็ตามเถอะเขาใส่เท่าที่จำเป็นเท่านั้นแหละ เขาไม่ได้ราดลงไปหรือเทลงไปอย่างท่วมท้นอะไร ไอ้โวหารที่ว่ากินเนื้อลูกในทะเลทรายนั้นคงไม่ทราบ คือว่าต้องจำใจกินเนื้อลูกที่ตายลงในการเดินทางไกลในทะเลทรายออกไม่ได้ ถ้าพ่อแม่นั้นไม่ยอมกินเนื้อลูกแล้วมันก็ต้องตายตามลูกไปด้วย เพราะลูกมันตายก่อนแล้ว ทางก็ยังไม่ถึง มันก็จำใจกินเนื้อลูกพอประทังชีวิตสำหรับเดินออกไปให้พ้นทะเลทราย ใครมันจะกินให้อร่อยได้ ใครมันจะกินอย่างตะกละหรือมูมมามได้ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ใช่อย่าง ไม่ได้อยู่กลางทะเลทรายนะ เราอยู่ที่นี่ มันก็คือทะเลทรายแห่งวัฏสงสาร ทะเลทรายแห่งกองทุกข์ ก็กินอาหารบิณฑบาตนี้ในลักษณะที่ว่ากินเนื้อลูกกลางทะเลทรายบ้าง หยอดน้ำมันเพลาเกวียนบ้าง ฉะนั้นขอให้เตรียมตัวสำหรับความรู้สึกคิดนึกอันนี้นับตั้งแต่ออกไปบิณฑบาต แล้วก็กลับมาแล้วก็ฉันจนฉันเสร็จแล้วก็ยังไปนั่งนึกอยู่ ถ้าทำได้อย่างนี้ไม่กี่วันหรอกการประพฤติพรหมจรรย์นี้จะมีผล แต่ถ้าหากว่าไปบิณฑบาตก็คุยกัน สูบบุหรี่กันอะไรกันเหมือนที่เห็นๆอยู่ กลับมาก็หัวเราะกัน ไปอาบน้ำก็หัวเราะกัน กินอาหารก็หัวเราะกัน เสร็จแล้วก็ไปนอนเพราะว่ากินเข้าไปมาก มันก็เลยไม่มีระยะหรือไม่มีโอกาสแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ ขอให้ เอ่อ,ถือเอาตัวเองการเป็นอยู่ของตัวเองทุกกระเบียดนิ้วเป็นโอกาสแห่งการศึกษา เรื่องตัวตนเรื่องของตนความรู้สึกที่เป็นตัวตนเป็นของตนคืออย่างนี้นะ คือที่เป็นเหตุให้ เอ่อ,คือไอ้สิ่งที่มันเป็นเหตุให้เราต้องทำอย่างนั้นแหละ เราตามใจตัวและหัวเราะเรื่อยแหละ นี่อย่าได้มีเลย พยายามเป็นผู้ไม่ประมาทอย่าเห็นอะไรเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่มีอะไรเป็นเรื่องเล็กน้อยในทางธรรมะ ไม่มีอะไรเป็นเรื่องเล็กน้อยท่องไว้ด้วย เป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้นแหละ ไอ้เรื่องทางวินัยก็ยิ่งต้องถือมากเลย อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยเดี๋ยวไม่มีวินัยเหลือเลย ทีนี้ทางธรรมก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยแม้ว่ามันจะไม่รุนแรงอย่างทางวินัยเพราะเราเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยเราประมาทเป้าหมายก็เลยเลือนไป ลืมไป เลือนไปจนไม่มีอะไรเหลือในที่สุดเหมือนกัน ฉะนั้นขอให้ตั้งใจทำให้ดีที่สุด ให้เวลาที่เราบวชสามเดือนก็ดี หนึ่งปีก็ดี คือให้มันเป็นประโยชน์มากที่สุด ในสามเดือนนี้ก็ไม่มากไม่น้อยนะว่าที่จริง ไอ้บวชเจ็ดวันสิบห้าวันอาจจะน้อยไป แต่สามเดือนนี้ไม่ควรจะเห็นว่าน้อย แต่มันจะไม่น้อยก็ต่อเมื่อเราตั้งใจใช้ให้เป็นประโยชน์ทุกเวลานาทีทุกชั่วโมงทั้งวันทั้งคืนจะไม่น้อย ก็ด้วยบทที่ว่าเพราะตัวตนนี้เป็นบทเรียน ตนเป็น เอ่อ,ตนแหละ เป็นที่ เอ่อ, ตนนั่นแหละเป็นคติของตน หรือว่าตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตนเรื่อยๆไปจนจะ กว่าจะรู้ว่า อ้าว,ตัวตนมันไม่มีโว้ย, มันไปสำคัญมั่นหมายลงบนสิ่งที่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติล้วนๆมาเป็นตัวตนนี้มันเป็นคนโง่สักเท่าไร นี่เป็นอวิชชาสักเท่าไร ที่ว่าเราเผลอไปอย่างนั้นเราละอาย ละอาย ละอายจนไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปซ่อนไว้ที่ไหน แม้ไม่มีใครมารู้ในใจของเรา เราก็สมมติว่ามีคนรู้แล้วเราก็ละอายแก่ตัวเอง นี่ข้อปฏิบัติที่จะเป็นการขูดเกลาไปพลางๆนับตั้งแต่วันแรกบวช บวชใหม่ๆนี้ขอให้พยายามให้ดีให้เต็มที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับจะเป็นผู้มีศีลมีอะไรดี ในโอกาสต่อไปมันควรจะทำไปตามลำดับ ควรจะไปทำสมาธิวิปัสสนา เอ่อ,สูงขึ้นไปตามลำดับมันจะรู้ธรรมะอย่างที่พูดนี้ยิ่งขึ้นไปอีก คือมันรู้จักทำจิตใจให้ฉลาดให้สอดส่องดีกว่าที่จะนึกคิดด้วยจิตธรรมดานี้อีก ฉะนั้นเตรียมตัวไว้สำหรับทำสมาธิวิปัสสนาในเดือนต่อไปหรือเดือนหลังๆไปโน้นด้วย ฉะนั้นวันนี้ก็พอกันทีธรรมปาฏิโมกข์ข้อที่สอง